<VSN><<<พระสายใต้ Gallery! by Mo Palungjit>>><NSV>

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย momotaro67, 23 ธันวาคม 2014.

  1. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    บันทึกไว้กันลืม ของดีอีกชิ้น

    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]

    พระพรหมผงว่านมหามงคล
    ชุดนี้ทางคณะผู้จัดสร้างเหรียญรุ่นแรก หลวงปู่แสวง วัดโพธิ์ผักไห่ อยุธยา ได้จัดสร้างขึ้นเพื่อ
    1.เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงคุณธรรมที่ทำให้เป็นพรหมตามคติของพระพุทธศาสนา
    2.เพื่อระลึกถึงบิดามารดาผู้เป็นพรหมของบุตร
    3.เพื่อถวายให้กับวัดช้าง อ่างทอง (ซึ่งเป็นสถานที่ที่ทางคณะได้รับเมตตาให้ใช้โบสถ์มหาอุดในการปลุกเสกเหรียญรุ่นแรกหลวงปู่แสวง) ได้แจกจ่ายแก่ผู้มีจิตศรัทธา และ
    4.ในการนี้ทางคณะได้จัดสร้างพระพรหมเกศาเนื้อพิเศษจำนวน ๒๓๙ องค์เพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมบุญเพื่อนำปัจจัยที่ได้ร่วมสมทบทุนหล่อพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ พระเจ้าห้าพระองค์ประดิษฐาน วัดทุ่งยาว พัทลุง และหล่อพระพุทธรูปอีก 1 องค์ถวายวัดช้าง อ่างทอง
    โดยนำผงว่านที่ทางคณะเก็บรักษาไว้และมวลสารเก่าต่างๆ รวมถึงมวลสารศักดิ์สิทธิ์อื่นที่มีผู้มอบให้เพราะต้องการร่วมบุญเพื่อให้วัตถุประสงค์ในการจัดสร้างที่วางไว้ได้บรรลุผลสำเร็จ ซึ่งมีมวลสารสำคัญ คือ
    -ผงว่าน108พ่อท่านนอโม วัดท่าสำเภาใต้(ว่านมีชีวิต) พัทลุง
    -ผงหลวงพ่อโต วัดเนินสุทธาวาส ชลบุรี
    -เพชรหน้าทั่ง ปลุกเสกโดยพ่อท่านแก้ว วัดท่าสำเภาใต้ พัทลุง และพ่อท่านเอื้อม วัดบางเนียน นครศรีธรรมราช
    -ไม้มงคลปลุกเสกโดยพ่อท่านแก้ว วัดท่าสำเภาใต้ พัทลุง และพ่อท่านเอื้อม วัดบางเนียน นครศรีธรรมราช
    -ตะกรุดเงินเก่าพ่อท่านแก้ว วัดท่าสำเภาใต้ พัทลุง
    -เกศาพ่อท่านแก้ว วัดท่าสำเภาใต้ พัทลุง, พ่อท่านทอง วัดเขาป้าเจ้ พัทลุง, พ่อท่านท้วง คลองแคว นครศรีธรรมราช ,พ่อท่านหวง วัดโพธิ์ตำนาน พัทลุง
    -ผงว่านเก่าพ่อท่านท้วง คลองแคว นครศรีธรรมราช โดยความอนุเคราะห์จากน้องรงค์ คลองแคว
    -ผงหินเขี้ยวหนุมาน วัดท่าสำเภาใต้ พัทลุง
    -สายสิญจ์มงคล หลวงปู่นนท์ วัดเหนือวน ราชบุรี


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG][​IMG]

    เหรียญรุ่นแรก พระครูสังฆรักษ์พิพัฒน์เดช(พระอาจารย์ช้าง สุธีโร) วัดควนเคร็ง นครศรีธรรมราช เนื้อทองคำ หมายเลข9 จำนวนสร้าง 9เหรียญ

    เนื้อนาบุญเขาอ้อ ยุคปัจจุบัน พิธีพุทธาภิเษก เสาร์5 แรม5ค่ำ เดือน10 วันที่ 13 กันยายน 2557 ณ อุโบสถวัดโพธาราม(ควนเคร็ง) เกจิที่มาร่วมปลุกเสก อ.ผล วัดทุ่งนารี อ.เพิ่ม วัดตะเขียนบางแก้ว อ.เอียด วัดขันประชาสรรค์ อ.สมนึก วัดหรงบล อ.ช้าง วัดโพธาราม(ควนเคร็ง) ทางวัดโพธารามจัดสร้างเอง วาระการจัดสร้างเพื่อหาปัจจัยสำหรับสร้างศาลาการเปรียญวัดโพธาราม

    ประวัติ พระครูสังฆรักษ์พิพัฒน์เดช สุธีโร(อาจารย์ช้าง สุธีโร) เกิดเมื่อวันที่ 8 เดือน กุมภาพันธ์ 2525 ขึ้น15 ค่ำ เดือน 3 วันศุกร์ คุณทวดชื่อ ทวดชูเฒ่า คุณปู่ชื่อขิก บิดาชื่อโยมทบ มารดาชื่อโยมเนย จันทร์ทอง มีพี่น้อง10คน พระอาจารย์ช้างเป็นคนที่ 6 บรรพชาเมื่ออายุ18ปี เป็นเจ้าอาวาสเมื่อ วันที่6 เมษายน 2552 และเป็นเลขาเจ้าคณะตำบลเคร็งด้วย ได้รับแต่งตั้งพระครูเมื่อวันที่6 เมษายน 2552 วิทยาฐานะ น.ธ เอก วุฒิทางโลก ป.ตรี
    บวชพระกับพระครูโชติปัญญาคุณ พระอุปัชฌาย์ วัดท่าเสม็ด พระครูสังฆรักษ์จรูญ วัดเขมารามควนยาว พระกรรมวาจาจารย์ พระคลื้น ฐานจาโร วัดท่าเสม็ด พระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา ว่า สุธีโร แปลว่าผู้มีปัญญาดี
    ทางด้านไสยศาตร์ พระอาจารย์ช้าง สุธีโร ได้เรียนภาษาขอมเกย นอโม กอ ข้อ กับคุณปู่ขิกตั้งแต่ยังอายุ10ปี
    บรรพบุรุษคุณทวดชื่อทวดชูหนวด ฆาราวาสเป็นศิษย์อาจารย์ทองหูยาน วัดเขาอ้อ
    คุณปู่ชื่อ ขิก เป็นฆาราวาส เป็นศิษย์อาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ
    ตำราเขาอ้อของทวดชูเฒ่าได้สืบทอดมายังคุณปู่ขิก และตอนนี้ตกทอดมาอยู่ที่อาจารย์ช้าง สุธีโร วัดควนเคร็ง
    พระอาจารย์ช้าง สุธีโร เลยได้ร่ำเรียนสืบทอดคาถาอาคมจากโยมปู่มามากพอสมควรครับ และท่านอาจารย์ช้าง สุธีโร ยังได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อเรียนศึกษาวิชาอาคมกับพระอาจารย์คล้อย วัดภูเขาทอง(อาจารย์คล้อย หลาน อาจารย์เอียด วัดดอนศาลา แท้ๆ) ท่านคล้อยได้สอนสอนการเล่นกสิน น้ำ ลม และคาถาอื่นๆอีกมากมาย จนสำเร็จวิชา
    ท่านอาจารย์ช้าง สุธีโร ชอบเรื่องคาถาอาคมเป็นย่างมาก ต่อมาท่านก็ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และยังได้ศึกษาวิทยาคมกับพระครูมานิตสมณวัตร (พ่อท่านเนื่อง วัดสวนจันทร์)อีกด้วย จะเรียกท่านว่าเส้นสายเขาอ้อก็ไม่ผิดครับ เพราะตั้งแต่รุ่นทวด มารุ่นปู่ของพระอาจารย์ช้าง ก็คลุกคลีกับวัดเขาอ้อ มาโดยตลอด และตอนนี้ท่านอาจารย์ช้างก็ยังหมั่นศึกษาตำราตกทอดของคุณทวดมาโดยตลอด และตลอด2-3ปีที่ผ่านมาท่านได้ทำเครื่องราง จำพวกตะกรุต สายคาดเอว ลูกอม ลูกตะกร้อใบลาน แจกจ่ายแก่ลูกศิษย์ที่แวะเวียนไปกราบไหว้ท่านครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    เครื่องราง ที่พระครูสังฆรักษ์พิพัฒน์เดช(พระอาจารย์ช้าง สุธีโร) วัดควนเคร็ง นครศรีธรรมราช สร้างโดยทำด้วยตนเองตามวิชาโบราณสายเขาอ้อที่ท่านได้ศึกษามา มีตะกรุต สายคาดเอว ลูกอม ลูกตะกร้อใบลาน จีวรควั่น แจกจ่ายแก่ลูกศิษย์ที่แวะเวียนไปกราบไหว้ท่านครับ เพื่อนๆท่านไหนผ่านไปแวะไปกราบท่านได้ครับ ปฏิปทาท่านน่าเคารพ กราบได้อย่างสนิทใจเลยครับ​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_5902_3.jpg
      IMG_5902_3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      128.9 KB
      เปิดดู:
      1,910
    • IMG_5903_3.jpg
      IMG_5903_3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      127.4 KB
      เปิดดู:
      1,864
    • IMG_5904_3.jpg
      IMG_5904_3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      127.8 KB
      เปิดดู:
      1,875
  4. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    ชั่วโมงนี้ไม่มีใครไม่รู้จักท่าน!!!!

    [​IMG]
    พ่อท่านแสง แสงแห่งธรรมกลางไฟชายแดนใต้
    แสงแห่งธรรมกลางไฟชายแดนใต้
    พระครูมงคลประภาต (แสง จนฺทวณฺโณ) สิริอายุ 94 ปี
    วัดประเวศน์ภูผา(บ้านตรัง) ต.ตรัง อ.มายอ จ.ปัตตานี

    พระบริสุทธิ์สงฆ์ที่ดำรงตนอยู่อย่างสมถะ ประพฤติปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดตามพระธรรมวินัย ตลอดถึงทุ่มเทพัฒนา อบรมสั่งสอนพุทธศาสนิกชนให้ดำรงตนตามแนวทางแห่งศาสนายังคงมีอยู่มากมายหลาย องค์ภายใต้ชายธงแห่งพระพุทธศาสนา และที่วัดแห่งหนึ่งในจำนวน2วัดของอำเภอมายอ จ.ปัตตานี มีพระเถราจารย์สุปฏิปันโณรูปหนึ่งซึ่งดำรงตน เป็นที่พึ่งของพุทธศาสนิกชนมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน พ่อแก่เจ้าแสง จนฺทวณฺโณเจ้าอาวาสวัดประเวศน์ภูผา(บ้าน ตรัง) สิริอายุ 94 ปี 74 พรรษาพระบริสิทธิ์สงฆ์ผู้อาวุโสที่สุดแห่งสามจังหวัดชายแดนใต้ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส

    พ่อท่านแสง ท่านมีนามเดิมว่า แสง นามสกุลแก้วทอง เกิดวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2462 บิดาชื่อนายบุญทอง มารดาชื่อนางแมะ แก้วทอง อุปสมบทเมื่ออายุ 21 ปี ที่วัดประเวศน์ภูผา เมื่อวันที่26 มิถุนายน 2483 โดยมีท่านพระครูสุวรรณไพบูลย์ (จันทร์ทอง)เจ้าอาวาสวัดตะเคียนทอง อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากบวชแล้วได้อยู่จำพรรษาที่วัดบ้านตรัง หมั่นศึกษาพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด จนสามารถสอบได้นักธรรมเอกในเวลาไม่นานนัก ตลอดถึงยังได้ศึกษาเวทย์มนต์ คาถาอาคมจากพ่อท่านทองแก้ว พระสงฆ์ผู้ทรงศักดิ์สิทธิ์แห่งวัดบ้านตรัง และไม่ลืมที่จะหาเวลาเดินทางไปกราบสักการะเยี่ยมเยียนองค์อุปัชฌาย์พ่อท่าน จันทร์ทอง อยู่เสมอ พ่อท่านจันทร์ทอง อริยะเถราจารย์อาคมขลังแห่งวัดตะเคียนทอง ปัตตานี เป็นพระผู้ทรงแก่เรียน อุดมไปด้วยมหาบารมี เวทย์วิทยาคมของท่านเป็นที่เลื่องลือไปไกลทั้งพุทธศาสนิกชนหรือศาสนิกต่าง ศาสนาให้ความยอมรับ พ่อท่านแสง ท่านหมั่นไปกราบพ่อท่านจันทร์ทองและศึกษาวิชาอาคมมาจากองค์อุปัชฌาย์ของท่าน มาอย่างเต็มที่ เต็มกำลัง พ่อท่านแสงท่านเป็นศิษย์ผู้พี่ของพ่อท่านหวาน วัดลานควาย พระอริยะเถราจารย์แห่งเมืองใต้ ผู้สร้างพระปิดตาอันโด่งดังประสบการณ์มากมาย ตลอดถึงท่านเป็นพระสหายกับพ่อท่านแดง วัดบูรพาราม ยอดพระเถราจารย์ผู้ทรงคุณอีกรูปหนึ่งของเมืองปัตตานี ท่านแลกเปลี่ยนภูมิรู้ ภูมิธรรมกันเสมอมา

    เมื่อครั้งยังเป็นภิกษุหนุ่ม ท่านมีความคิดที่มุ่งมั่นและตั้งใจที่จะบูรณะวัดบ้านตรังและสร้างเสนาสนะ ถาวรวัตถุต่างๆ ท่านจึง นำพาชาวบ้านและเพื่อนภิกษุไปเลื่อยไม้ เพื่อนำมาสร้างหอพระไตรปิฏก ศาลาโรงธรรมและโรงครัว ท่านเป็นพระนักพัฒนา นำพาชาวบ้านสร้างศาลากลางทุ่งนาเพื่อใช้เป็นที่พักผ่อนชองชาวบ้าน ในการทำนาตลอดถึงเป็นผู้นำชาวบ้านในการทำถนนหนทางไปสวน ไปนา เพราะในอดีตนั้นการเดินทางเป็นไปด้วยความยากลำบาก ยวดยานพาหนะไม่ต้อง ต้องใช้การเดินเท้าเท่านั้น ท่านมุ่งมั่นตั้งใจนำพาชาวบ้านพัฒนาวัด พัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่องมี ผลงานเป็นที่ประจักษ์มากมายจวบจนพ.ศ.2487 ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดประเวศน์ภูผา(บ้านตรัง) ตลอดชั่วชีวิตท่านได้สร้างคุณประโยชน์ต่อชาวบ้านตรังมากมายซื้อที่ดินมอบให้ สร้างโรงเรียนบ้านตรังเพื่อเป็นสถานที่ศึกษาของเหล่าลูกหลานในละแวกนั้น นับเป็นประโยชน์อย่างสูงที่ลูกหลานบ้านตรังได้รับ พ่อท่านแสง ท่านเป็นพระบริสุทธิ์สงฆ์ที่เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านตรังตลอดถึง พื้นที่ใกล้เคียงด้วยวัตรปฏิบัติที่เรียบง่าย ดำรงตนอยู่อย่างสมถะเคร่งครัดในพระธรรมวินัย เจริญรอยตามครูบาอาจารย์อย่างเคร่งครัดตามแบบฉบับพระโบราณ นอกจากท่านจะเป็นพระนักพัฒนาแล้ว ท่านยังสืบทอดสายวิชา อาคมขลังมาจากครูบาอาจารย์ต่างๆมากมายหลายองค์

    ท่านสืบทอดวิชา”นะปถมัง”และ”นะปัดตลอด”มาจากสุดยอดพระเถราจารย์แห่งเมืองปัตตานีนามพ่อท่านจันทร์ทอง วัดตะเคียนทอง เทพเจ้าแห่งยะหริ่ง ท่านศึกษษเล่าเรียนวิชามาจากพ่อท่านจันทร์ทอง องค์อุปัชฌาย์ ของท่านมาอย่างเจนจบครบถ้วน ท่านจึงมีความสามารถเขียนอักขระเลขยันต์ ลบถบ ทำผงนะปถมังและนะปัดตลอดได้อย่างเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ประดุจดังองค์อาจารย์ ของท่าน ตามตำราทางไสยศาสตร์อิทธิคุณอานุภาพของผงปถมังหนักไปทางด้านอิทธิฤทธิ์อยู่ยงคงกระพัน ชาตรีจังงังกำราบศัตรูหมู่ปัญจามิตรสะกดทั้งมนุษย์และสัตว์ให้ตกอยู่ในอำนาจและเป็นกำบังล่องหนหายตัวถึงทางเมตตามหานิยมก็ใช้ได้เหมือนกันใช้ผสมทำเครื่องรางเมื่อพกพาติดตัวทำให้อยู่ยงคงกระพันหรือนำผงทาตัวเป็นล่องหนกำบังหายตัวได้ครูบาอาจารย์โบราณได้กล่าว อุปเท่ห์สืบต่อกันมาว่าอันผงปถมังที่ทำถึงเพียงองการมหาราชน้อยใหญ่นั้นถ้าเอาผงนั้นไปโรยใส่เข้าที่ไหนเช่นโรยใส่ใต้ถุนบ้านเรือนมิช้านานบ้านเรือนนั้นจะยุบหายกลายเป็นป่าไปถึงบ่อน้ำที่มีน้ำเต็มเมื่อเอาผงปถมังโรยเข้ามิช้าน้ำก็จะถึงกับแห้งเหือดหายไปถ้านำไปทาที่เสาเรือนใครอาจทำให้คนบนเรือนถึงกับเป็นบ้าได้เมื่อทำผงสำเร็จถึงสูญนิพพานแล้วตำราให้นำเครื่องยามาผสมปั้นแท่งมีกฤษณา กะลำพัก ขอนดอก จันทน์ทั้งสอง ชะมดและพิมเสน ฯลฯครูบาอาจารย์ยุคโบราณนิยมนำผงปถมังมาผสมทำพระ-เครื่องรางพระเครื่องที่มีชื่อเสียงหลายสำนักก็สร้างขึ้นโดยมีส่วนผสมของผงชนิดนี้ตลอดถึง ยังมีครูบาอาจารย์นำผงไปผสมหมึกสำหรับที่กระหม่อมตามความเชื่อว่าจะทำให้ อยู่ยงคงกระพันชาตรี คุณวิเศษมากมาย อีกท่านยังได้ศึกษาวิชาอาคมจากองค์อุปัชฌาย์ท่านมาอีกมากมาย ทั้งวิชาเล่นแร่ แปรธาตุ ตั้งธาตุ หนุนธาตุ ตลอดถึงวิชาดานของ เชี่ยวชาญวิชามนต์ธรณีสารใหญ่ ทำน้ำพระพุทธมนต์พลิกแผ่นดิน วิชากัน แก้คุณไสย์ ถอนของ ถูกกระทำย่ำยี ท่านศึกษามาอย่างมากมายและได้นำมาช่วยสงเคราะห์ลูกศิษย์ ลูกหา ญาติโยมที่เดือดร้อนมาขอบารมีท่านให้ช่วยขจัดปัดเป่าสิ่งร้ายๆเหล่านั้น

    นอกจากที่ท่านศึกษามาจากพ่อท่านจันทร์ทอง แล้วท่านยังได้ศึกษาวิชาอาถรรพณ์โบราณมาจากพ่อท่านไชย อดีตเจ้าอาวาสของวัดบ้านตรังอีกมากมาย ทั้งจากตำรับตำราโบราณของคู่วัดบ้านตรังที่สืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่องและยาว นาน โดยเฉพาะวิชาสั่งสูญ(ธนูสั่ง) วิชาสั่งสูญเป็นยอดวิชาชั้นสูงที่หาผู้สืบทอดและปฏิบัติได้จริงน้อยมาก สมาธิจิตที่กล้าแข็งผนวกพลังจิตสุดอัศจรรย์ กับการภาวนากำกับอักขระเลขยันต์คาถาอาคมขลังลงสู่ลูกธนู ก่อนที่จะยิงออกไปให้ถูกต้องตามที่ต้องการ วิชากายะพัน มหาอุดหยุดปืนเป็นอีกสรรพวิชาโบราณที่ท่านมีความเชี่ยวชาญและทำได้ขลังนัก ผู้นำไปบูชาต่างมีประสบการณ์มากมาย อุปเทห์วิธีใช้หากพาดทางซ้ายอุดมไปด้วยเมตตามหานิยม พาดทางขวาเป็นมหาอุดหยุดปืน แคล้วคลาดคงกระพันชาตรี

    ตลอดถึงวิชาอาถรรพณ์ผูกหุ่นพยนต์ ควายธนูท่านก็เชี่ยวชาญเข้มขลังยิ่งนัก อีกทั้งวิชาอาถรรพณ์ส่งผี แก้ชิน แก้มบ เหยียบเสน(ปาน) เจ็บป่วย ไข้ ไม่สบายหาสาเหตุไม่เจอ เป็นต้องมาหาท่านให้ช่วยรักษา เพราะการที่จะเดินทางไปยังโรงพยาบาลนับเป็นเรื่องใหญ่ของชาวบ้านย่านนั้น และต่อมาท่านได้เรียนวิชาอุดปืน จาก พ่อหลวงพุม และเรียนวิชาเมตตามหานิยมใหญ่ วิชาเสกทรง จากพ่อหลวงสีนวล วัดบ้านตรัง วิชาเบิกป่า เปิดไพร ปิดป่าจากพ่อหลวงทอง วัดบ้านตรัง จะเห็นได้ว่า วัดบ้านตรังไม่เคยขาดซึ่งพระเถราจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษ มหาอาคมขลัง เปรียบประดุจดังตักศิลาแห่งหนึ่งของเมืองปัตตานี และพ่อท่านยังมีดี สืบสายวิชาทางด้านมโนราห์ โดยได้ศึกษาจาก โนรานุ่ม โนรานิ่ม โนราแคล้ว ซึ่งมีชื่อเสียงมากในขณะนั้นในหัวเมืองปัตตานี ได้ศึกษาเรียนวิชาสืบทอดมหามนต์แห่งมโนราห์ มาอย่างเจนจัด วิชาเสกหวาย วิชามงกุฎพระพุทธเจ้าวิชาหุงสีผึ้งเมตตามหานิยม วิชาทำเชือกครองหงส์ วิชาคันธนูพรานบุญ เรียกได้ว่าครบถ้วน

    พระเถราจารย์ที่ลูกหลานมโนราห์ต่างให้ความเคารพนับถือแลศรัทธาเป็นที่สุด สายวิชามโนราห์นั้นว่ากันว่าเป็นยอดแห่งเมตตามหานิยมอย่างเอกอุ เครื่ององค์ ทรงเครื่อง แต่งกายทุกครั้งต้องเสกคาถาภาวนามนต์ตรา แป้งที่ใช้ผัดหน้า ทาตัวต้องเสกด้วยคาถา ว่ามนต์ลงอักขระเลขยันต์ วิชาสายมโนราห์เป็นอีกสายวิชาที่แน่น แรง ลึก เด็ดขาดเป็นที่ประจักษ์ชัดมาอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน

    พ่อท่านแสง เป็นพระบริสุทธิ์สงฆ์ วาจาสิทธิ์นักพัฒนา ผู้ทรงแก่เรียนแม้ว่าท่านจะสืบสายวิชามาอย่างมากมายแต่ท่านไม่เคยอวดอ้าง คุณวิเศษ ซึ่งหากท่านคิดอย่างเด่นดังทางด้านนี้รับรองว่าทุกวันนี้ชื่อเสียงบารมีท่าน คงดังสะท้านไปทั่วแผ่นดิน ท่านยังคงดำรงตนอยู่อย่างสมถะเรียบง่าย เป็นที่พึ่ง เป็นหลักธรรมหลักชัยของพุทธศาสนิกชนท่ามกลางความไม่สงบของเหตุการณ์ไฟใต้ที่ คุกรุ่นในปัจจุบัน วัตถุมงคลต่างๆท่านสร้างขึ้นมาเพื่อสืบทอดวิชาตามที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาและ เมตตามอบให้กับศิษยานุศิษย์นำไปบูชาเพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการดำเนินชีวิต และย้ำเสมอให้อยู่ศีลธรรมอันดีงาม ทุกวันนี้แม้วัยจะล่วงเลยมาถึง 94 พรรษาแต่ท่านยังคงแข็งแรง ปฏิบัติศาสนากิจอย่างเคร่งครัด
    ทุกวันนี้แม้จะเกิด เหตุการณ์ร้ายขึ้นแทบทุกวันในพื้นที่แต่ชาวบ้านที่นั่นต่างดำรงชีวิตกัน อย่างปกติ แม้จะต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นกว่าเดิมแต่ทุกคนที่อาศัยอยู่ในหมู่ บ้านต่างยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่ว่าเหตุการณ์จะทวีความรุนแรงเพียงใด พวกเขาทุกคนก็จะยืนหยัดต่อสู้จะไม่ยอมทิ้งถิ่นฐานแผ่นดินบ้านเกิดเมืองนอน ไม่หนีหรืออพยพโยกย้ายไปไหนแน่นอน เพราะพื้นที่ทุกตารางนิ้วบรรพบุรุษปู่ย่า ตายายของเขาเกิดที่นี่ โตที่นี่และก็ตายที่นี่ ทุกชีวิตของคนที่นี่จึงต้องช่วยกันรักษา ต่อสู้ต่อทุกสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อรักษาผืนแผ่นดินไว้ให้ลูกหลานรุ่นต่อไปได้ อยู่อาศัย และพวกเขาทุกคนต่างมีขวัญกำลังใจที่ดีเยี่ยม

    เพราะมีพระเดชพระคุณพ่อแก่เจ้าแสงเป็นธงชัยแห่งธรรมที่หล่อหลอมรวมดวงใจของพุทธศาสนิกชนให้ร่วมกันฟันฝ่า เหตุการณ์อันเลวร้ายในพื้นที่ ผมมีโอกาส มีวาสนาได้รู้จักท่านมาตั้งแต่ปี2539 แม้จะไม่ค่อยมีเวลาและโอกาสได้ไปกราบสักการะท่านที่วัด แต่ทุกครั้งที่ไปกราบสักการะขอพร ขอบารมีท่านที่วัด จะได้รับความเมตตาอย่างสุดประมาณจากท่านทุกครั้ง ท่านผู้อ่านหากมีโอกาสลองหาเวลาไปกราบสักการะท่านสักครั้ง ไปสัมผัสพระบริสุทธิ์สงฆ์ผู้ดำรงตนอยู่อย่างราชสีห์ในดงแดนแห่งเมืองลังกาสุ กะ แล้วท่านจะได้รู้ว่าพระบริสุทธิ์สงฆ์สุปฏิปันโนวัตรปฏิบัติงดงามผ่องแผ้วยัง มีให้เราชาวพุทธได้กราบไหว้ยังมีอยู่จริง สวัสด

    ขอบคุณพี่หลวงปอย สำหรับข้อมูล รูปถ่ายและคำแนะนำที่มีให้มา ขอบคุณครับ

    โดย วานุราธ


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    [​IMG]

    หน้าพราน เนื้อโลหะชนวนอาถรรพณ์ อุดผงแป้งเสก ครูใหญ่มโนราห์ รุ่นแรก สร้าง 500หน้า ที่เป็นตำนานไปแล้ว


    "รูปกูนั้นไม่งามดั่งมึงคิด แต่จิตกูกล้าแข็ง แรงไม่แรง มึงลองแล"

    รูปไม่งามแต่เลขงามนะจะบอกให้ อิอิ

    ...ยอยศ..หน้าพรานบุณ พ่อท่านแสง...

    "รูปกูไม่งามดั่งมึงคิด แต่จิตกูกล้าแข็ง" .........."แรงไม่แรง มึงลองแล"...........

    ..........กูก็เคยนั่งเมืองเรืองชัย............
    ......รับรางวัลยิ่งใหญ่ไกลเกินฝัน........
    ...กูซ่อนปีกนางมโนราห์เลิศลาวัลย์.....
    .....ธ พระราชทานกูนั้นเป็นเจ้านาย......

    คือพรานบุณวัยเขื่องเรืองอำนาจ
    พ่อท่านแสงเปรื่องปราชญ์ศาสตร์ขยาย
    มหาโชคโภคทรัพย์รับเรืองราย
    มิ่งความหมายวัตถ์มงคลบนเครื่องราง

    วัดบ้านตรังปัตตานีธานีใต้
    ปลุกเสกไว้นิรันตรายไล่ขัดขวาง
    ทั้งขอได้-ไหว้รับนานับวาง
    พุทธคุณหนุนนำทางสว่างวงศ์

    ไม้จันทันโบสถ์เก่าเอาสรรค์สร้าง
    จึงแตกต่างชวนพินิจพิศวง
    แกะเป็นหน้าพรานบุณอุ่นจำนงค์
    เพื่ออยู่ยั้งยั่งยืนยงบ่งตำนาน

    แม้นรูปกูไม่งามตามมึงคิด
    แต่จิตกูกล้าแข็งแรงโกฏฐาน
    มึงไม่เชื่อมึงลองแลแม้รุกราน
    ไม่มีเหลือเชื้อวิญญาณกานต์ชีวี

    นับถือเถิดจักบังเกิดเลิศสรรพสิ่ง
    ทุกวาดหวังปลั่งเปล่งจริงมิวิ่งหนี
    บูชาเถิดจักบังเกิดเลิศเปรมปรีดิ์
    มีกูไว้..นับแต่นี้..ศรีสุขนัก.!!

    เกียรตินคร
    ๓ สิงหาคม ๒๕๕๘
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1398257299.jpg
      1398257299.jpg
      ขนาดไฟล์:
      148.6 KB
      เปิดดู:
      3,381
  6. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    [​IMG]

    [​IMG]

    มารู้จัก “พรานบุญ” ที่ถูกต้องควรเรียกว่า “พรานบัวขาว” “ พรานบุณ” หรือ “พรานบุณฑริก” ซึ่งเป็น ชาติในอดีตของท่านพระอานนท์ พุทธอนุชา

    พรานบัวขาว หรือ พราน บุณฑริก (อ่านว่า บุน-ดะ-ริก แปลว่าดอกบัวสีขาว) เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า พรานบุญ ในวรรณคดีเรื่องพระสุธนมโนราห์ ซึ่งได้แต่งขึ้น และนิยมเล่นเป็นนาฏศิลป์แต่ครั้งยุคกรุงศรีอยุธยาคำว่า “พรานบุญ” หากจะเขียนให้ถูกกับเค้าที่มาของเรื่องนี้ ก็ควรเขียน “พรานบุณ” ซึ่งหมายถึง “พรานบุณฑริก” หรือ ชื่อที่แปล แบบไทยๆว่า “พรานบัวขาว” นั่นเอง
    เรื่องพระสุธนมโนราห์นี้ มีเค้ามาจากปัญญาสชาดก ซึ่งแต่งขึ้นเพื่อ เสริมศรัทธา ในพุทธศาสนาว่า แต่งขึ้นในระแวกสุวรรณภูมินี้เองเป็นเรื่องเล่าอดีตชาติของพระสมณโคดมที่เพิ่มเติมจากที่แสดงไว้ในพระไตรปิฏก ซึ่งเรียกว่า นิบาตชาดกเป็นชาดกในพระไตรปิฎกมี ๕๐๐ เรื่อง แบ่งออกเป็นหมวดๆ ตามจำนวนคาถา นับตั้งแต่ ๑ คาถาถึง ๘๐ คาถา ชาดกที่มี ๑ คาถาเรียกว่า เอกนิบาตชาดก ๒ คาถาเรียกว่า ทุกนิบาตชาดก ๓ คาถาเรียกว่า ตักนิบาตชาดก ๔ คาถาเรียกว่า จตุคนิบาตชาดก ๕ คาถาเรียกว่า ปัญจกนิบาตชาดก ชาดกที่มีเกิน ๘๐ คาถาขึ้นไปเรียกว่า มหานิบาตชาดก ซึ่งมี ๑๐ เรื่อง เรียก ทศชาติ หรือ พระเจ้าสิบชาติ ส่วนปัญญาสชาดกที่มาของต้นเค้าเรื่องพรานบุณหรือพรานบัวขาวนี้เป็น ชาดกนิบาตใน ๕๐ เรื่อง พระภิกษุชาวเชียงใหม่แต่งขึ้นเมื่อประมาณพ.ศ. ๒๐๐๐-๒๒๐๐ เป็นภาษามคธ โดยเลียนแบบนิบาตชาดก ครั้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๓-๒๔๔๘ พระบรมวงศ์เธอกรมพระสมมตอมรพันธ์ ดำรงตำแหน่งองค์สภานายก หอพระสมุดสำหรับพระนคร ได้ทรงแปลเป็นภาษาไทย เรื่องปัญญาสชาดก จึงแพร่หลาย องค์ประกอบของชาดก มักจะมีอยู่สามส่วนคือ
    คำปรารภเรื่อง ทำนองว่า เหตุใดต้องเล่าชาดกเรื่องนั้น
    อดีตนิทาน หรือ เล่าเรื่องย้อนอดีต
    ประชุมชาดก คือบทสรุป ซึ่งจะกล่าวว่า สุดท้ายในเรื่องอดีตนิทานที่เล่ามานั้น ใครมาเกิดเป็นใคร ในชาติที่พระสมณโคดมแสดงชาดกเรื่องนี้ซึ่งการเล่าชาดกถือเป็นเทคนิคในการสั่งสอนศาสนาที่พุทธศาสนานำมาใช้ทำนองเดียวกับปกรณัม ของศาสนาพราหมณ์ที่มักมีเรื่องเล่าความเป็นไปของเทพเจ้าต่างๆ ซึ่งท้ายสุดพยายามปลูกฝังความเชื่อ และศรัทธาในเทพองค์นั้น ส่วนพุทธศาสนาก็นำมาผูกกับคำสอน ในทำนองว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิด จากบุญมีกรรมบัง บุญทำกรรมแต่งนั่นเอง สำหรับเรื่องสุธนชาดก หรือ สุธนกุมารชาดก นี้ถือเป็นปัญญาสชาดกที่แม้แต่งขึ้นเป็นชาดกนอกนิบาตก็มีองค์ประกอบครบทั้งสามประการของการเล่าเรื่องชาดกซึ่งมีการดำเนินเรื่องดังนี้(ข้อมูจาก th.wikisource.org/wiki/)

    สุธนกุมารชาดก พระศาสดาประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้กระสันรูปหนึ่งเที่ยวบิณฑบาตอยู่ ได้พบสตรีสาวสวยนางหนึ่งเกิดปฏิพัทธ์ พอกลับจากบิณฑบาต ก็วางบาตรไว้นั่งก้มหน้าเสียใจ คราวนั้นพระสหายของท่านเห็นจึงถามว่าไม่สบายอะไร ท่านจึงเล่าเรื่องให้ทราบ พวกภิกษุจึงพาท่านไปเฝ้าพระศาสดา พอพระองค์ตรัสว่า ทำไมจึงได้ทำอย่างนี้ ทั้งที่เธอก็บวชด้วยศรัทธา ละสมบัติมาบวชในพระศาสดา ยังหวนคืนถึงเรื่องสตรีได้ และตรัสถึงเรื่องสตรีว่าเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ ดังเรื่องอดีตที่แม้บัณฑิตในครั้งก่อน เพราะสตรีจึงได้ละทิ้งบิดามารดารัชสมบัติ แม้ชีวิตตนเองก็มิได้คำนึง จนประสบทุกข์มากมาย ทรงนำอดีตนิทานมาเล่าว่า พระเจ้าอาทิจวงศ์ครองราชย์อยู่ในเมืองอุตตรปัญจาลนคร มีพระมเหสีพระนามว่าจันทาเทวี สมัยนั้นพระโพธิสัตว์จุติจากดาวดึงส์มาถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของนาง พระนางก็ประสูติพระโอรสมีพระฉวีดังพระปฏิมาทอง ก็ในวันที่ประสูติทั้งสี่ด้านของปราสาทได้มีขุมทรัพย์เกิดขึ้นทั้ง ๔ ทิศ เพราะเห็นอัศจรรย์นั้นพระราชาจึงขนานพระนามว่า สุธนกุมาร ต่อมาได้เรียนธนูศิลป์ มีพละกำลังมาก ก็ในทิศตะวันออกของเมืองอุตตรปัญจาละ มีสระอยู่สระหนึ่ง ณ ที่นั้นเป็นที่อยู่ของพญานาคชื่อท้าวชมพูจิต เพราะฉะนั้นนครจึงมีความอุดมสมบูรณ์มาก ในครั้งนั้นทางทิศตะวันออกของเมืองอุตตรปัญจาละยังมีอีกเมืองหนึ่งชื่อว่า มหาปัญจาลนครได้เกิดทุพภิกขภัยแสนสาหัส ชาวเมืองต่างขัดสนจนยาก ต่างอพยพออกไปทีละ ๑๐๐ ทีละ ๕๐๐ ทีละ ๑,๐๐๐ หนีไปเมืองอุตตรปัญจาละมากขึ้น เมืองมหาปัญจาละ จึงมีผู้คนร่อยหรอลงทุกที ในพระนครมีพระราชาพระนามว่านันทะครองราชย์อยู่ พระองค์ได้ทรงทราบข่าวความเดือนร้อนผู้คนอพยพไป จึงถามพวกอำมาตย์จนได้ความแล้ว ทราบว่าเมืองอุตตรปัญจาละอุดมสมบูรณ์เพราะพญานาคชมพูจิต จึงมีความประสงค์จะฆ่าพญานาคเสีย จึงคิดหาอุบาย พวกอำมาตย์ทูลว่าจะฆ่าด้วยคนธรรมดาไม่ได้ ต้องใช้ผู้มีเวทมนต์ จึงรับสั่งให้ตีกลองป่าวประกาศให้ชุมนุมพราหมณ์ผู้ทรงเวทย์ คัดพราหมณ์จาก ๑,๐๐๐ ให้เหลือ ๕๐๐ และลดลงมาจนได้พราหมณ์ผู้ทรงเวทย์คนเดียว ทรงสั่งว่าหากฆ่าได้จะยกรัชสมบัติให้ครึ่งหนึ่ง พราหมณ์เองก็มีวิชาและมีความโลภด้วยจึงรับพระดำรัส พราหมณ์ก็พอใจในความสำเร็จ สะกดมนต์ไว้แล้วนอนหลับไป รุ่งเช้าจึงเข้าป่าหายา ฝ่ายพญานาคออกจากนาคพิภพแปลงเพศเป็นพราหมณ์ยืนอยู่ริมสระน้ำ คราวนั้นยังมีพรานชื่อบุณฑริก (พรานบุญ) บังเอิญผ่านไปถึงเขตนั้น พญานาคจึงถามได้ความว่าเป็นชาวอุตตรปัญจาละ มีความเคารพในตน พญานาคจึงแสดงตนและขอร้องให้ช่วยเหลือ พรานก็เต็มใจช่วย พญานาคพอพ้นจากมนต์ก็สบายขึ้น คิดถึงการช่วยเหลือของพรานจึงนำไปชมนาคพิภพ กาลเวลาผ่านไป วันหนึ่งพราหมณ์เข้าป่าล่าสัตว์จนถึงเขตป่าหิมพานต์ พบอาศรมหลังหนึ่ง พระฤๅษีถามความเป็นมาก็บอกกล่าวเรื่องราว จากนั้นก็ลาท่านเดินทางต่อไป คราวนั้นเป็นวันพระจันทร์เต็มดวงอุโบสถ ธิดาทั้ง ๗ ของพระเจ้าทุมราชแห่งเขาไกรลาสพาบริวาร ๑,๐๐๐ มาลงเล่นน้ำในสระ นายพรานเห็นนางกินรีรูปงามนางหนึ่ง เพราะไม่เคยเห็นมาก่อนจึงตกตะลึง คิดจะพานางกินรีนั้นมาถวายพระสุธนกุมารหวังจะได้บรรณาการ จึงกลับไปถามพระฤาษีว่าจะทำอย่างไรจึงจะได้ พระดาบสตอบว่าต้องได้บ่วงนาคบาศ พรานถามว่าจะได้บ่วงจากที่ใด พระฤาษีตอบว่าอยู่ที่นาคพิภพ พรานพอได้ฟังก็ดีใจ ขอลาไปยังสระน้ำแล้วระลึกถึงพญานาคชมพูจิตขอบ่วงนาคบาศ พญานาคจึงมอบให้ยืมไป พรานบุณเมื่อได้นาคบาศก็ไปจับนางกินรี ขว้างนาคบาศแต่ บ่วงนาคนั้นมิได้ไปคล้องนางอื่นๆ คล้องแต่มือของนางมโนราห์เท่านั้น นางกินรีทั้งหมดเห็นนายพรานต่างกลัว บินหนีไป พรานคิดว่าจะพาไปถวายพระสุธนกุมาร วันนั้นพระโพธิสัตว์ทรงช้างสมุททกหัตถีที่สง่างามเสด็จออกประพาสอุทยานพร้อมด้วยข้าราชบริพาร ได้ทอดพระเนตรเห็นมโนห์ราตามมาข้างหลัง พอได้เห็นเท่านั้นได้เกิดความรักขึ้นมาอย่างจับใจ ฝ่ายพระโพธิสัตว์ได้อยู่ร่วมกับนางมโนราห์อัครชายาอย่างมีความสุข เมื่อกาลเวลาล่วงเลยไป พราหมณ์ผู้ทรงเวทคนหนึ่งอยากจะรับใช้พระมหากษัตริย์ จึงเข้าไปเสนอตัวรับใช้ กล่าวว่าหากพระราชบิดาองพระองค์ทิวงคตแล้ว ตนเองขอเป็นปุโรหิตคนต่อไป พระมหากษัตริย์ก็รับคำ ทีนั้นปุโรหิตที่เป็นบิดาของเขา ได้ฟังเรื่องจากคนอื่น จึงผูกใจเจ็บผูกเวรในพระโพธิสัตว์ ได้ยุยงให้แตกกันกับพระบิดาว่า พระสุธนกุมารจะลอบปลงพระชนม์ยึดรัชสมบัติ พระราชามิได้ทรงเชื่อเลย แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปเมื่อเมืองรอบนอกเกิดกำเริบขึ้น พระราชาเสด็จไปปราบปรามด้วยพระองค์เอง แต่ไม่สามารถปราบได้ เมื่อพบปุโรหิตจึงตรัสถามวิธีที่จะจัดการให้สงบ ปุโรหิตได้ทีทูลว่าให้ส่งพระโอรสไป พระราชาทัดทานว่าพระโอรสไม่รู้เรื่องการรบ แต่ไม่อาจทานได้จึงยอมตามคำปุโรหิตส่งพระโอรสไป วันนั้นเองพระราชาอาทิจวงศ์ได้สุบินนิมิตเห็นว่า ลำไส้ของพระองค์ออกมาจากพระอุทร พันรอบชมพูทวีปสามรอบแล้วกลับเข้าไปดังเดิม ทรงสะดุ้งตื่นบรรทม รับสั่งให้หาปุโรหิตแต่เช้าเล่าสุบินนิมิตให้ฟัง ปุโรหิตได้ทีคิดว่าเป็นไปตามใจมุ่งหวังของตนแล้ว วันนี้จะได้จัดการกับพระกุมารเสีย จึงทูลด้วยความกระหยิ่มใจว่า สุบินนิมิตนั้นไม่ดี จะเป็นเหตุให้พระเทวี รัชสมบัติ พระโอรส หรือพระองค์เองพินาศ พระราชาได้สดับก็ตกพระทัยตรัสถามว่าจะทำอย่างไรดี พราหมณ์ทูลว่าควรบูชายัญด้วยสิ่งมีชีวิตทุกอย่างเคราะห์จึงจะหาย พระราชาพอได้สดับก็ให้รับสั่งให้จัดหาให้คบทุกอย่างเพื่อบูชายัญ ฝ่ายปุโรหิตว่ายังมีอีกอย่างหนึ่งที่ขาดไปคือกินระ พระราชาตรัสว่ากินระหาได้ยาก ปุโรหิตทูลว่ามีอยู่ก็คือพระสุณิสาของพระองค์นั่นเอง

    พระราชาก็ทรงทัดทานด้วยเหตุผลว่าเป็นสิ่งที่รักของพระกุมาร พระราชาไม่สามารถทัดทานได้จึงทรงนิ่งอยู่ ปุโรหิตจึงให้ทหารไปจับนาง นางจึงให้พระเทวีช่วยบอกที่เก็บปีกให้แล้วสวมปีกบินไปยังป่าหิมพานต์ ไปหาพระกัสสปะฤาษี แจ้งเรื่องราวต่างๆ ให้ทราบ และฝากบอกพระสุธนกุมารด้วยว่า หากเสด็จตามหาให้มอบผ้ากัมพลและธำมรงค์เพชรให้เสด็จกลับเสีย เพราะว่าหนทางที่จะไปตามหานางนั้นมีอันตรายมากมาย แล้วมุ่งหน้าไปทางใต้ เดินทางถึงเขาไกรลาสเข้าเฝ้าพระบิดา คราวนั้นพระเจ้าทุมราชได้สดับการมาของธิดาดำริว่า ธิดาไปอยู่กับมนุษย์นาน จะกลับมาอยู่กับกินนรอีกไม่สมควร จึงสร้างปราสาทให้นางอยู่ต่างหาก คราวนั้นพระโพธิสัตว์ปราบปัจจันตประเทศราบคาบแล้ว พระมารดาทอดพระเนตรเห็นพระโอรสเสด็จมาต้อนรับพระโอรสสวมกอดกรรแสงร้องไห้ พอพระกุมารถามก็ได้บอกเรื่องราวให้ฟัง หลังจากได้ฟังพระมหาสัตว์ปานประหนึ่งใจจะขาด จะออกตามหานางให้ได้ แม้พระมารดาจะห้ามปรามอย่างไรก็มิอาจทัดทาน พระโพธิสัตว์ออกจากพระนครไปกับพรานป่า ได้เดินทางไปถึงที่อยู่ของกัสสปฤาษีจึงเข้าไปถาม พระฤาษีทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ และมอบผ้ากัมพลแดงธำมรงค์ให้ พระมหาสัตว์พอได้เห็นเท่านั้นก็โศกสลดพระทัยประหนึ่งว่าได้พบหน้า มโนห์ราอีกครั้ง พระดาบสทูลให้เสด็จกลับ แต่พระกุมารตั้งพระทัยเด็ดเดี่ยวที่จะติดตามนางต่อไป

    พระดาบสเห็นถึงความรักมีพลานุภาพจึงบอกตามที่นางมโนห์ราบอกไว้ให้ทราบโดยละเอียด พระโพธิสัตว์จึงลาพระฤาษีเดินทาง ได้พบกับสิ่งต่างๆ ตามที่นางมโนห์ราบอกไว้ นางพอทราบว่าพระสวามีมาถึงแล้ว นางจึงเข้าเฝ้าพระบิดา พระบิดาจึงซักถามเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้น แล้วถามว่าสวามีของนางเป็นเช่นไร นางมโนห์ราก็ทูลตามความจริงว่าสวามีเป็นบุรุษผู้มีบุญญาธิการ พระบิดาจึงว่าทำไมไม่ติดตามนางมาเล่า พระธิดาทูลว่าพระสวามีมาถึงแล้ว พระเจ้าทุมราชแปลกพระทัย เพราะหนทางมานั้นแสนยากยิ่งนัก เมื่อมาแล้วให้รีบพามา สาวใช้ไปเชิญพระกุมารเสด็จมา พอพระสุธนกุมารเสด็จมาถึง เหล่าวิทยาธรกินนรต่างจ้องมองอย่างสนใจ พระโพธิสัตว์ทูลว่าใช้เวลาถึง ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน จึงมาถึง พระเจ้าทุมราชตรัสถามถึงความสามารถอื่น โดยเฉพาะวิชายิงธนู รับสั่งให้ทดลองด้วยการให้ยิ่งให้ทะลุต้นตาล ๗ ต้น กระดานไม้มะเดื่อ ๗ แผ่นซึ่งกว้างยาวถึง ๓ ศอก แผ่นทองแดง ๗ แผ่น เกวียนบรรทุกทราบ ๗ เล่มวางต่อกัน พระสุธนกุมารก็ยิ่งได้ทะลุ ตรัสทดสอบอีกว่านี้เป็นแผ่นหินที่คนตั้งพันจึงจะยกได้ให้พระโพธิสัตว์ยก แล้วให้พระธิดาทั้ง ๗ แต่งพระองค์เหมือนกันให้นั่งตามลำดับ พระมหาสัตว์ตรวจดูแต่จำนางไม่ได้จึงคิดหาวิธี จึงอธิษฐานว่าหากมิได้ทำผิดในภรรยาผู้อื่นในที่ไหน ขอให้เทวดาช่วยบอกให้ทราบด้วย ร้อนถึงท้าวสักกะต้องลงมาบอกให้ทราบว่า หากกินรีนางใดเป็นมโนห์รา จะแปลงเป็นผึ้งบินรอบนางนั้น พระโพธิสัตว์จึงทราบว่านางคือมโนห์รา พระเจ้าทุมราชพอพระทัยจึงจัดพิธีอภิเษกที่พระลานหลวงมอบรัชสมบัติให้ พระโพธิสัตว์จึงได้อยู่ร่วมกับมโนห์รา ต่อมาได้คิดถึงมารดาบิดา รุ่งเช้าจึงเข้าเฝ้า พระบิดามารดาแจ้งเรื่องทั้งหมด พระเจ้าทุมราชก็อำนวยตามได้พากันมายังมนุษย์โลกอยู่ได้ ๗ วันก็ลากลับ พระเจ้าอาทิจวงศ์ได้อภิเษกในรัชสมบัติ ส่วนพระองค์ออกผนวชเจริญฌานสมาบัติ ไปเกิดในพรหมโลกแล้ว พระโพธิสัตว์ทำบุญถวายทาน เลี้ยงมารดาบิดา สิ้นพระชนม์ไปเกิดในดุสิตภพแล้ว มหาชนตั้งอยู่ในพระโอวาท จนสิ้นชีพตักษัยไปบังเกิดในสวรรค์ พระศาสดาครั้นนำเทศนานี้มาแล้วประชุมชาดก ประกาศอริยสัจแล้ว พระที่กระสั้นนั้นได้บรรลุโสดาปัตติผล พระศาสดาเมื่อจะประกาศความนั้นจึงตรัสว่า พระเจ้าอาทิจวงศ์ครั้งนั้นคือพระเจ้าสุทโธทนะ พระนางจันทาเทวีคือพระนางมหามายาเทวี ทุมราชาคือพระสารีบุตร ดาบสกัสสปฤาษีคือพระมหากัสสปะ นาคราชคือพระมหาโมคคัลลานะ พรานบุณฑริกคือพระอานนท์ ท้าวสักกะคือพระอนุรุทธ ปุโรหิตคือพระเทวทัต มโนห์ราคือราหุลมารดา ที่เหลือคือเหล่าพุทธบริษัท สุธนกุมารคือตถาคตผู้เป็นเลิศประเสริฐในหมู่มนุษย์ ท่านทั้งหลายจงทรงจำชาดกอย่างนี้

    เรื่องสุธนกุมารชาดกนี้นำมาแต่งเป็นวรรณคดีคำประพันธ์ ประเภทฉันท์และเผยแพร่กันต่อๆมา ซึ่งก็น่าแปลกประหลาดที่กลับไปนิยมในภาคใต้ ที่นำมาแสดงเป็นนาฏศิลป์ที่มีลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งจากเอกสารวรรณคดีพุทธศาสนาพากย์ไทย ของ ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดพิมพ์ขึ้นเป็นที่ระลึกในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๔๕. หน้า ๑๑๘) ได้กล่าวไว้ว่า แต่งเป็นคำฉันท์ ผู้แต่งเป็นกวีในรัชกาลที่ ๔ คือพระยาอิศรานุภาพ (อ้น) ซึ่งตอนที่แต่งนั้นมีบรรดาศักดิ์เป็นพระพิพิธสาลี เรื่องสุธนชาดกเป็นวรรณคดีเก่าแก่ที่สุดเรื่องหนึ่ง มีอยู่ในฉบับภาษาสันสกฤตและตกไปอยู่ในที่ไกลจนถึงแคว้นโขตานในประเทศเปอร์เซีย สุธนชาดกมีที่มาหลายบทหลายตอนที่อาจจะเปรียบเทียบได้กับเรื่องใน พงศาวดารของจีนและวรรณคดีบาลีเรื่องพระสุธนกับนางมโนราห์แพร่หลายไปอยู่ภาคใต้ช้านาน และเป็นที่นิยมกันมาก จนนำไปสร้างเป็นโนราห์ หรือโนราห์ชาตรี

    สำหรับโนราชาตรีหรือการแสดงมโนราของทางภาคใต้นั้นก็มีประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์ชนิดนี้แยกจากเรื่องสุธนชาดก แม้ว่า ส่วนใหญ่จะแสดง เกี่ยวกับพระสุธนและมโนราก็ตามที คติเรื่องครู โนราส่วนหนึ่งจึงมาจากการสืบสายต่อกันมาของ คณะละคร มโนราห์และถือสืบต่อกันในเชื้อสายมีการ ประทับทรงครูมโนราห์ ที่เรียกว่าการลงครูซึ่งคติของ ครูพรานบุณจึงมีสองนัยคือประการหนึ่งอ้างอิงคติ ของสุธนชาดกที่เป็นพื้นเรื่องถือว่าเป็นเบื้องสูงพรานบุณ ก็ได้แก่พราณบุณฑริก ในสุธนชาดก ซึ่งต่อมาท่านก็คือ พระอานนท์ ผู้สำเร็จมรรคผลไปแล้ว ถือเป็นครูเบื้องสูง อีกประการหนึ่ง ครูพราน นั้นหมายถึง ครูทางนาฏศิลป์ ซึ่งหมายถึงครูรุ่นก่อนๆที่แสดงเป็นพรานบุณและ สั่งสอนวิชาการแสดงสืบๆมาบางท่านเรียกวิญญาณครู หรือ กล่าว ง่ายๆแบบ ภาคอื่นๆก็คือหมายถึง ผีครู นั่นเอง ส่วนนี้ เป็นสิ่งที่ปรากฏ ในการลงครู หรือประทับทรงตามคติ นาฏการทางสายมโนราห์นั่นเองเป็นเรื่องแปลกอยู่ประการหนึ่งที่บุคคลที่มีเชื้อสายมโนราห์ เมื่อได้ยินเสียงคนตรีมโนราห์ก็จะแสดงอาการ แปลกๆ บางคนสามารถร่ายรำท่ามโนราได้แม้ไม่เคยฝึกหัดก็มีครูมโนราถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก หากถามว่า ครูมโนราคือใคร ? ก็ขอนำประวัติการเกิดการเล่นมโนรา มาแสดงประกอบจากคำบอกเล่าของขุนอุปถัมนรากร(พุ่ม เทวา) โนราใหญ่หรือโนราอาวุโสที่มีผู้นับเคารพนับถือมากที่สุดท่านได้เล่าความเป็นมาของโนราไว้ดังนี้

    พระยาสายฟ้าฟาดเป็นกษัตริย์ครองเมืองๆหนึ่ง มีมเหสีทรงพระนามว่าพระนางศรีมาลา ทั้งสองพระองค์มีบุตรด้วยกันองค์หนึ่งทรงพระนามว่า นวลทองสำลี วันหนึ่งหลังจากนางนวลทองสำลีตื่นจากบรรทมและ ยังไม่ทันที่จะชำระพระพักตร์ก็ได้ไปยืนระลึกถึงใน สุบินนิมิตที่ได้มีมา และพระนางก็สามารถจำได้จนหมดสิ้น จากการทรงยืนนิ่งอยู่เช่นนั้น ทำให้พวกสาวใช้สงสัยและถามพระนางว่า เพราะเหตุอันใดพระนางจึงไม่ทรงชำระพระพักตร์ ทั้งๆที่ตื่นบรรทมแล้ว พระนางตรัสว่า เมื่อคืนนี้ฝันแปลกมาก ฝันแปลกอย่างที่ไม่เคยฝันมาก่อนเลย แล้วพระนางก็ทรงเล่าความฝันนั้นให้พวกสนมฟังว่ามีเทพธิดามาร่ายรำให้ดู การร่ายรำนั้นรำทั้งหมด ๑๒ ท่า เป็นท่ารำที่สวยงามมากน่าชม มีเครื่องประโคมดนตรี คือ กลอง ทับ โหม่ง ฉิ่ง ปี่ และ แตร การประโคมดนตรีลงกับท่ารำเป็นจังหวะ และบัดนี้พระนางก็ยังจำท่าต่างๆเหล่านั้นได้ แล้วพระนางนวลทองสำลีก็ทรงร่ายรำตามแบบที่ในฝันนั้นทันทีเป็นที่ชอบใจของพวกสาวใช้เป็นอย่างยิ่ง และพระนางก็ได้สั่งให้สาวใช้ทำเครื่องประโคมตามที่เห็นในฝันนั้น การประโคมก็ทำตามจังหวะการรำเหมือนในฝันทุกอย่าง พระนางได้ฝึกสอนให้พวกสาวใช้ได้ร่ายรำเพื่อเป็นคู่รำกับพระนาง จากนั้นมีการประโคมเครื่องดนตรีและร่ายรำเป็นที่ครื้นเครงในปราสาทของพระนางเป็นประจำทุกวันอยู่มาวันหนึ่งพระนางอยากเสวยเกสรดอกบัวที่ในสระหน้าพระราชวัง จึงรับสั่งให้นางสนมไปหักเอามาให้ เมื่อพระนางได้ดอกบัวแล้วก็ได้เสวยดอกบัวนั้นจนหมด กาลต่อมาพระนางก็ทรงครรภ์ แต่การเล่นรำโนราก็ยังคงสนุกสนานครื้นเครงกันเป็นประจำทุกวันมิได้เว้น อยู่มาวันหนึ่งการเล่นประโคมและความครึกครื้นนี้ทราบไปถึงพระยาสายฟ้าฟาด พระองค์ทรงสงสัยว่าด้วยเหตุใดที่ปราสาทของพระธิดาจึงมีการประโคมดนตรีอยู่เป็นประจำ พระองค์จึงได้เสด็จไปทอดพระเนตรให้เห็นจริง เมื่อเสด็จไปถึงก็รับสั่งถามพระนางนวลทองสำลีว่านางไปได้ท่ารำตางๆนี้มาจากไหน ใครสอนให้ พระนางก็กราบบังคมทูลว่า ไม่มีใครสอนให้ เป็นเทพนิมิต พระองค์จึงได้รับสั่งให้พระนางรำให้ดู เสียงดนตรีก็ประโคมขึ้นพระนางออกร่ายรำไปตามท่าที่ได้ฝันรวม ๑๒ ท่า ขณะที่พระนางร่ายรำท่าต่างๆอยู่นั้น พระยาสายฟ้าฟาดทรงเห็นว่าที่ครรภ์ของพระธิดาผิดสังเกตสงสัยว่าจะตั้งครรภ์ จึงมีรับสั่งให้หยุดรำแล้วทรงถามพระนางว่า นางมีครรภ์กับใคร รักชอบกับใคร ใครเป็นสามีของเจ้า ทั้งๆที่ไม่มีผู้ชายคนใดสามารถเข้ามาในพระราชฐานได้เลย พระองค์ทรงถามซ้ำๆ แบบนี้หลายต่อหลายครั้งพระนางก็กราบทูลว่า นางมิได้มีชู้สู่สาวกับชายใดเลย เหตุที่ทรงครรภ์อาจเป็นเพราะเสวยดอกบัวในสระหน้าพระราชวังเข้าไป พระยาสายฟ้าฟาดไม่ทรงเชื่อและว่ามีอย่างที่ไหนกินดอกบังเข้าไปมีท้องขึ้นมาได้ เรื่องไม่สมจริง และยังได้กล่าวคำบริภาษพระธิดาต่างๆนานา เช่นว่า เป็นลูกกษัตริย์ไม่รักศักดิ์ศรี ทำให้อัปยศขายหน้า นางนวลทองสำลีก็ได้แต่โศกเศร้าร่ำร้องต่อมาด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ พระยาสายฟ้าฟาดก็ทรงสอบสวนโดยรับสั่งให้พวกสาวใช้ทั้ง ๓๐ คนเข้าเฝ้าทีละคนและถามว่ามีผู้ชายใดเข้ามาในเขตพระราชฐานนั้นบ้างหรือไม่ นางสนมกำนัลก็กราบบังคมทูลเช่นเดียวกันว่า ไม่มีผู้ชายใดเข้าไปเลย และพระนางก็มิได้รักชอบกับใคร และยืนยันว่าพระนางได้เสวยดอกบัวในสระหน้าพระราชวังเข้าไป พระยาสายฟ้าฟาดยิ่งทรงพระพิโรธหนักขึ้น ถึงกับคิดที่จะฆ่าพระธิดาและสาวสนม แต่เนื่องจากพระนางเป็นลูกในไส้จึงมิได้ทรงกระทำเช่นนั้น เพียงรับสั่งให้อำมาตย์ข้าราชการทำแพ แล้วก็ให้จัดเสบียงอาหารใส่แพเรียบร้อย เมื่อถึงเวลาก็ลอยแพพระนางและสนมทั้ง ๓๐ ไปในทะเล ขณะที่แพลอยไปนั้นลมได้พัดแพไปติดที่เกาะกะชัง เป็นอันว่าพระนางและสาวใช้รอดตายจากธรรมชาติด้วยอำนาจบารมีของเด็กในครรภ์ ที่เกาะกะชังเทวดาได้ชบ (เนรมิต) บรรณศาลาให้อยู่อาศัย พวกสาวใช้ก็ปลูกฟักแฟงแตงกวากินกันไปตามเรื่องพอดำรงชีวิตอยู่ได้ส่วนนางนวลทองสำลีครรภ์ก็ยิ่งแก่ขึ้นๆทุกวัน (ในบทกาศครูจึงว่าไว้ว่า เพื่อนๆเขานับปี แต่นางนวลสำลีนับเดือนจนประสูติพระโอรสและให้นามว่า ด.ช.น้อย (ชื่อสมมุติ) พระนางและพวกสนมอยู่ที่นั่นจน ด.ช.น้อยอายุได้ ๑๐ ปี ระยะ ๑๐ ปีนั้น ด.ช.น้อยได้หัดการร่ายรำโนราจนเป็นที่ชำนาญดี และต่อมา ด.ช.น้อยก็ถามแม่ว่าที่นี่ไม่มีผู้ชายเลยมีแต่ผู้หญิง คนอื่นๆนอกจากนี้ไม่มี แล้วแม่เองแต่ก่อนเคยอยู่ที่ไหน พระนางนวลทองสำลีก็เล่าเรื่องแต่หนหลังให้ฟังแต่ต้นจนจบ ด.ช.น้อยก็อยากไปเมืองของพระอัยกาจึงถามว่าจะไปได้โดยวิธีใด แม่จึงบอกว่าเมื่อลูกอยากไปแม่ไม่ห้ามแต่แม่เองไม่ไปตลอดชีวิตนี้ลูกจะไปก็จงเอาผ้าผูกไม้แล้วปักยกเป็นธงขึ้น เรือผ่านมาเขาจะแวะรับ ด.ช.น้อยก็ทำตามและเรือก็ได้มารับไปทางเมืองพระอัยกา เมื่อไปถึงท่าเรือซึ่งยังไกลกับพระราชวังมาก ด.ช.น้อยก็ได้เที่ยวรำโนราไปเรื่อย เนื่องจากโนราเป็นของแปลกและไม่เคยมีใครเคยเห็นมาก่อนเลย กอปรด้วยการรำก็ชดช้อยน่าดู คนจึงไปดูกันมาก ยิ่งนานคนก็ยิ่งชวนกันไปดูมากขึ้นทุกที จนข่าวนี้เลื่องลือไปถึงพระราชวัง พระยาสายฟ้าฟาดทรงทราบแล้วก็เรียกประชาชนมาถามว่า โนราเป็นอย่างไร เป็นคนหรือสัตว์ ดีมากเทียวหรือที่คนนิยมไปดูกันมาก แล้วในที่สุดพระองค์ก็ทรงปลอมพระองค์ไปในกลุ่มชนเพื่อไปทอดพระเนตรโนรา จากการที่พระองค์ได้ทอดพระเนตรนั้นสังเกตเห็นว่า ด.ช.น้อยมีหน้าตาละม้ายคล้ายคลึงกับพระธิดา ซึ่งได้ลอยแพไปเมื่อ ๑๐ กว่าปีมาแล้ว จึงรับสั่งให้หา พระองค์ตรัสถามว่า เจ้าเป็นลูกเต้าเหล่าใคร ด.ช.ก็ตอบว่า แม่ชื่อนางนวลทองสำลี ส่วนพ่อนั้นไม่ทราบ แม่เล่าว่าได้ตั้งครรภ์เพราะกินดอกบัวพระองค์เห็นว่าเรื่องราวตรงกัน จึงพา ด.ช.น้อยและคณะโนราเข้าไปในพระราชวัง ตอนนี้คนอื้อฉาววิพากษ์วิจารณ์กันต่างๆนานาว่า ต่อไปจะไม่ได้ดูโนราอีกแล้ว เพราะนายจับไปแล้ว พระยาสายฟ้าฟาดไม่ทรงฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ใดๆทั้งสิ้น คงพาโนราไปพระราชวังท่าเดียว (ตอนนี้พระยาสายฟ้าฟาดทรงทราบแล้วว่า ด.ช.น้อยคือหลาน หรือพระราชนัดดา ส่วน ด.ช.น้อยนั้นรู้มาจากแม่ก่อนแล้ว เป็นอันว่าต่างก็รู้กันทั้งสองฝ่าย) เมื่อถึงพระราชวัง พระยาสายฟ้าฟาดก็ทรงถามว่า แม่เจ้าเดี๋ยวนี้อยู่ที่ไหน ด.ช.น้อยทราบทูลว่าอยู่บนเกาะกะชังเมื่อพระองค์ทรงทราบเช่นนั้น จึงมีพระบัญชาให้อำมาตย์จัดเรือไปรับ เมื่ออำมาตย์ไปถึงและเชิญให้พระนางเสด็จกลับพระนครตามพระบัญชา แต่นางปฏิเสธว่าพระราชบิดาได้ตั้งใจจะลอยแพไปเพื่อให้ตาย เหตุไฉนจึงมาเชิญตัวกลับเล่า พระนางจึงสั่งกับอำมาตย์ว่าชาตินี้จะไม่ขอไปเหยียบย่างผืนแผ่นดินของพระราชบิดาอีก และจะขอตายอยู่ที่นี่ พวกอำมาตย์จึงจำต้องกลับไป เมื่อกลับมาถึงพระนครแล้วก็กราบทูลเรื่องราวให้พระยาสายฟ้าฟาดทราบ พระยาสายฟ้าฟาดจึงมีพระบัญชาให้จัดเรือไปรับอีกครั้งหนึ่งและพร้อมรับสั่งว่าถ้าเชิญเสด็จไม่กลับก็ให้จับมัดมาให้ได้ เมื่อพวกอำมาตย์กลับไปเกาะกะชังอีกและได้เชิญเสด็จแต่โดยดีไม่ยอมกลับ พวกอำมาตย์ก็จับพระนางมัดขึ้นเรือ (ตอนนี้ในการเล่นโนราในสมัยหลังจึงมีการรำเรียกว่าคล้องหงส์ คือรำเพื่อจับนางนวลทองสำลีเป็นการร่ายรำที่น่าดูมาก) แล้วพามาเฝ้าพระราชบิดา เมื่อเรือมาถึงจะเข้าปากน้ำก็มีจระเข้ขึ้นลอยขวางปากน้ำอยู่ (จระเข้สมัยก่อนชุกชุมมากทุกน่านน้ำ เป็นที่เกรงกลัวของชาวเรือทั่วไป) พวกลูกเรือก็ทำพิธีแทงจระเข้จนถึงแก่ความตายแล้วเรือจึงเข้าปากน้ำได้ เมื่อนำนางนวลทองสำลีเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชบิดาแล้ว พระราชบิดาได้ทรงขอโทษในเรื่องที่ได้กระทำไปในอดีต ขอให้พระนางลืมเรื่องเก่าๆเสียแล้วยกโทษให้พระองค์ด้วย จากนั้นทำขวัญ และจัดให้มีมหรสพ ๗ วัน ๗ คืน ในการมหรสพนี้ก็ได้จัดให้มีการรำโนราด้วย พระยาสายฟ้าฟาดได้พระราชทานเครื่องทรง ซึ่งคล้ายคลึงกับของกษัตริย์ให้กับพระราชนัดดา เพื่อรำทรงเครื่องในงานนี้ ในการนี้พระยาสายฟ้าฟาดก็ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ลูกของนางนวลทองสำลี (เจ้าชายน้อย) เป็น ขุนศรีศรัทธา
    เครื่องต้นที่พระราชทานคือ เทริด กำไลแขน ปั้นเหน่ง สังวาล พาดเฉียง ๒ ข้าง ปีกนกแอ่น หางหงส์ ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่เป็นเครื่องทรงของกษัตริย์ทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่าโนราแต่เดิมก็เป็นเชื้อพระวงศ์ ขุนศรีศรัทธาได้สอนรำโนราให้ผู้อื่นเป็นการถ่ายนาฏศิลป์แบบโนราไปเรื่อยๆ ทั้งนี้ในพระบรมราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระอัยกาโนราจึงได้แพร่หลายต่อไป และต่อมาหลายชั่วคน จนบัดนี้จากหนังสือ ประวัติโนรา โดย อ.ภิญโญ จิตธรรม อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ขุนอุปถัมภ์นรากร ๒๗ กันยายน ๒๕๒๗

    เห็นได้ว่า ครูมโนราเป็นตำนานที่แยกจาก สุธนชาดกโดยเป็นเรื่องเล่าที่ไปที่มาของการแสดงโนรา มีบรรพบุรุษต้นเค้าของโนราอย่างเช่น พระยาสายฟ้าฟาดขุนศรีศรัทธาโดยเฉพาะ นางนวลทองสำลีซึ่งได้วิชาการร่ายรำมาจากความฝัน ซึ่งบันทึกคำบอกเล่าของท่านขุนอุปถัมภ์นรากรที่นำมาเล่าในฉบับที่แล้วว่า ..สุบินนิมิตที่ได้มีมา และพระนางก็สามารถจำได้จนหมดสิ้น จากการทรงยืนนิ่งอยู่เช่นนั้น ทำให้พวกสาวใช้สงสัยและถามพระนางว่า เพราะเหตุอันใดพระนางจึงไม่ทรงชำระพระพักตร์ ทั้งๆที่ตื่นบรรทมแล้ว พระนางตรัสว่า เมื่อคืนนี้ฝันแปลกมาก ฝันแปลกอย่างที่ไม่เคยฝันมาก่อนเลย แล้วพระนางก็ทรงเล่าความฝันนั้นให้พวกสนมฟังว่ามีเทพธิดามาร่ายรำให้ดู การร่ายรำนั้นรำทั้งหมด ๑๒ ท่า เป็นท่ารำที่สวยงามมากน่าชม มีเครื่องประโคมดนตรี คือ กลอง ทับ โหม่ง ฉิ่ง ปี่ และ แตร การประโคมดนตรีลงกับท่ารำเป็นจังหวะ และบัดนี้พระนางก็ยังจำท่าต่างๆเหล่านั้นได้ แล้วพระนางนวลทองสำลีก็ทรงร่ายรำตามแบบที่ในฝันนั้นทันทีซึ่งการได้ท่าร่ายรำมานั้น แม้ไม่ได้บอกว่าเทวดาแสดงท่ารำให้จดจำ นั้นท่าน มี ชื่อว่าอะไร กำเนิดนาฏศิลป์ ลักษณะทำนองนี้คล้ายคลึงกับนาฏยศาสตร์ที่มาจากฮินดู ตรงที่ว่า ท่าร่ายรำ ทั้งปวงมาจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งก็ต้องนับถือการมีพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องตามมาด้วยอีกทั้งขั้นตอนพิธีกรรมอุปกรณ์การสืบต่อท่ารำ ก็ต้องมีความศักดิ์สิทธิ์ จากอำนาจเทพยดาผู้เป็นเจ้าของ วิชาที่ร่ายรำนั้นนอกจากนี้โนรา ยังประสานความเชื่ออย่างแนบสนิทกับ การนับถือ คติ ผีบรรพบุรุษ จึงมีการกล่าวถึง ครูโนรา หรือ โนราที่มีชื่อเสียง ในการไหว้ครูด้วย ซึ่งปรากฏในบทเชิญครู เช่นบทเกริ่นบทเชิญพ่อเทพสิงขรบทเชิญครูตาหลวงสิทธิ์บทเชิญครูโนรามีบทเชิญครูตาหลวงอินทร์

    ขอขอบคุณข้อมูล
    คุณโอ๋ ปีนัง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. momotaro67

    momotaro67 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    7,026
    ค่าพลัง:
    +5,457
    วันนี้พามาชมเครื่องรางของเก่า

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    นกสาริกา หลวงพ่อน่วม วัดหลวงครู จ.นครศรีธรรมราช แบบจุ่มรัก
    **องค์นี้พิเศษมีเกษาที่หลังนก ด้วยครับ

    สาริกาอันเลื่องชื่อ แดนใต้ หลวงพ่อน่วม วัดหลวงครู อุบัติขึ้น เมื่อวันอังคาร 9ค่ำ เดือน 6ปีเถาะ วันที่ 1 เมษายน ปี2517 การสร้างครั้งแรก ของท่านนั้น จะอมไว้ในปาก คราวละ 7ตัว แล้วลงไปในแม่น้ำ 3แพร่ง ดำดิ่งลึก เพื่อเสก สาริกา ให้ได้ตามตำรา ว่ากันว่า เมื่อผ่านพ้นคราวแรกนี้ไปแล้ว สาริกาหลวงพ่อน่วม ก็มีการสร้างมาเรื่อยๆ แต่ได้คราวละน้อยๆ เพียงไม่กี่ตัว แต่การดำน้ำเสก ลูกศิษย์ที่ไกล้ชิดได้ขอให้ท่าน ให้ยกเลิกเสีย เพราะเกรงว่าจะเป็นอันตรายกับหลวงพ่อได้ หลวงพ่อน่วม จึงได้มาเสกในโบทถ์แทน และ ครั้งนี้เอง การเสกในโบทถ์นั้น ทำให้สาริกาของหลวงพ่อน่วมโด่งดังไป ทั่วพืนที่ เพราะระหว่างที่ท่านเสก ชาวบ้านลูกศิษย์ที่อยู่ข้างนอกได้ยินเสียงนกร้องในโบทถ์ชนิด ชลมุนวุ่นวายไปหมด เมื่อประจักษ์แก่สายตา และ หู แล้ว ชาวบ้านต่างเสาะแสวงหามาบูชา หลวงพ่อน่วม สร้างสาริกา ต้องสร้างตามฤกษ์ยาม วันนี้ คราวนี้ ได้กี่ตัวเอาเท่านั้น สูตรว่านก็จะมีเฉพาะตามสูตรโบราณ ส่วนผสมที่ใช้ในการสร้างสาริกาก็เป็นเนื้อชันดรงเป็นส่วนสำคัญในการสร้างนก เพราะชันโรงเป็นสิ่งที่เป็นมงคลและหายากมาก คติโบราณท่านถือว่านอกจากชันโรงจะช่วยปกปักรักษาของดีแล้ว ด้วยความที่ชันโรงเป็นแมลงไม่ดุร้าย จึงมีเสน่ห์ทางเมตตามหานิยมอีกด้วย

    นกสาริกา พ่อท่านน่วมท่านทำไว้ไม่มาก รูปทรงเลียนแบบมาจากนกกระเต็น หรือ นกพังกะ ซึ่งมีจงอยปากแหลม มีทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก เป็นเนื้อว่านผสมชันโรงแบบเดียวกับพระปิดตาของท่าน มีทั้งแบบชุบรักและไม่ชุบรัก

    พุทธคุณ เด่นในเรื่องเมตตามหานิยม เจราจาค้าขาย และโชคลาภ และงานต่างๆที่ต้องใช้ปาก เป็นตัวเจรจา ค้าขาย ธุระกิจที่ต้องมีการเจราจา สาริกานั้นเด่นชัดมาก

    พระคาถาสาริกาลิ้นทอง ตั้งนะโม 3 จบ แล้วว่า พุทธา อะเนนา มะลิยา สุสังคะเยมิ พุทธา อิริมะลิยา สุสังคะเยมิ พุทธา อิรปะโย เคมะคุณนะ ปักเขสะเมมะมิ อุนาโลมา ปันนะ วิชายะเต พระคาถานี้มีเคล็ดอยู่ว่า ตอนท่องถึงคำว่า มิ ก็ให้แตะที่ลิ้นด้วยทุกครั้ง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1509_3118_3.jpg
      1509_3118_3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      128.9 KB
      เปิดดู:
      2,504
    • 1509_3118_1.jpg
      1509_3118_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      127.2 KB
      เปิดดู:
      3,048
    • 1509_3118_2.jpg
      1509_3118_2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      128.8 KB
      เปิดดู:
      2,410

แชร์หน้านี้

Loading...