+++Premium พระเครื่องราคาพิเศษ(ปิดกระทู้ชั่วคราว)

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย dekdelta2, 13 กันยายน 2009.

  1. ToPiCaL

    ToPiCaL เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    1,475
    ค่าพลัง:
    +4,585
    รายการที่ 436 ให้บูชาเท่าไรครับ
     
  2. สุทธิธรรม

    สุทธิธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +259
    ไว้จะไปรับนะครับ แจ้งความพร้อมภายหลัง

    ขอบคุณมากครับ สำหรับวัตถุมงคลดีๆ
     
  3. kitti_2ut

    kitti_2ut Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2010
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +52
    รายการที่ 427 ลูกอมฝังตะกรุดเงิน หลวงปู่หมุน = ขอจอง 1 ลูกคับ
     
  4. Tukkyy

    Tukkyy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +1
    ถามหน่อยเด้อ...ตะกรุดในกระทู้คุณ กับ กระทู้ด้านล่าง ทำไมรูปเหมือนกันเด๊ะๆ เลยอ่ะ..ใครเอารูปใครมา

    เป็นไปได้ไง คนขายเป็นคนละคน แต่รูปเหมือนกันเด๊ะๆ.

    <table id="post3245481" class="tborder" align="center" border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td class="thead" style="border-style: solid none solid solid; border-color: rgb(255, 255, 255) -moz-use-text-color rgb(255, 255, 255) rgb(255, 255, 255); border-width: 1px 0px 1px 1px; font-weight: normal;">[​IMG] 29-04-2010, 10:28 AM </td> <td class="thead" style="border-style: solid solid solid none; border-color: rgb(255, 255, 255) rgb(255, 255, 255) rgb(255, 255, 255) -moz-use-text-color; border-width: 1px 1px 1px 0px; font-weight: normal;" align="right"> #2250 </td> </tr> <tr valign="top"> <td class="alt2" style="border-style: none solid; border-color: -moz-use-text-color rgb(255, 255, 255); border-width: 0px 1px;" width="175"> <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->dekdelta2<!-- google_ad_section_end --> <script type="text/javascript"> vbmenu_register("postmenu_3245481", true); </script>
    สมาชิก PREMIUM

    วันที่สมัคร: Aug 2008
    ข้อความ: 1,360
    Groans: 2
    Groaned at 2 Times in 2 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 108
    ได้รับอนุโมทนา 3,256 ครั้ง ใน 1,012 โพส
    พลังการให้คะแนน: 289 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </td> <td class="alt1" id="td_post_3245481" style="border-right: 1px solid rgb(255, 255, 255);"> <center><!-- google_ad_section_start -->รายการที่ 373 ตะกรุดมงกุฎพระพุทธเจ้า เจ้าคุณเฒ่า<!-- google_ad_section_end -->

    </center>
    <hr style="color: rgb(255, 255, 255); background-color: rgb(255, 255, 255);" size="1"> <!-- google_ad_section_start -->[​IMG]

    ตะกรุดมงกุฎพระพุทธเจ้า มีเอกลักษณ์ที่ตะกรุดขนาด 5 นิ้ว
    อายุเป็น 100 ปี ทองแดงเก่ากลืนเป็นเนื้อเดียวกัน จนจะเป็นสำริดอยู่แล้ว
    สภาพใช้งานมาอย่างสมบุกสมบัน เชือกที่เกือบยุ่ยเป็นไม้และรักกลืนเป็นเนื้อเดียวกันยังเหลือประมาณ 50 %

    ยันต์มงกุฎพุทธเจ้าเป็นยันต์ที่มีความขลังเเละศักดิ์สิทธิ์มากมีการนับถือกันมาแต่โบราณ และ เป็นยันต์หนุนดวงชะตา ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่อาราธนาตะกรุดนี้ติดตัวจะไม่มีการตกต่ำ ถ้าเวลาดวงตกให้ภาวนาคาถามงกุฏพระพุทธเจ้าวันละ ๑๘ จบ โดยว่าดังนี้/// อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ /// อานุภาพของตระกรุดนี้ ยังสามารถป้องกันภัยอันตรายต่างๆได้อย่างเยี่ยมยอด ทั้งภูติผีปีศาจและสัตว์ร้าย เมื่อตกอยู่ในอันตรายให้นึกถึง คุณพระรัตนตรัยและภาวนาพระคาถามงกุฎพระพุทธเจ้าภัยอันตรายต่างๆจะไม่สามารถเข้ามากล้ำกลายได้

    ท่านเคยถวายคาถามงกุฎพระพุทธเจ้าแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเก้ลาเจ้าอยู่หัว ว่าพระองค์จะมีภัยโดยสัตว์จตุบาท จึงใช้คาถานี้เสกหญ้าให้ม้ากิน เป็นที่มาของพระบรมรูปทรงม้าในปัจจุบัน


    ให้บูชาๆเบาที่ 3199 บาท ถ้าสวยกว่านี้หลักหมื่นแน่นอนครับ<!-- google_ad_section_end -->
    <fieldset class="fieldset"> <legend>รูปขนาดเล็ก</legend> [​IMG] [​IMG]
    </fieldset>
    <hr style="color: rgb(255, 255, 255); background-color: rgb(255, 255, 255);" size="1"> แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย dekdelta2 : 29-04-2010 เมื่อ 10:36 AM
    </td> </tr> <tr> <td class="alt2" style="border-style: none solid solid; border-color: -moz-use-text-color rgb(255, 255, 255) rgb(255, 255, 255); border-width: 0px 1px 1px;"> [​IMG] [​IMG] <script type="text/javascript"> vbrep_register("3245481")</script> [​IMG] </td> <td class="alt1" style="border-style: none solid solid none; border-color: -moz-use-text-color rgb(255, 255, 255) rgb(255, 255, 255) -moz-use-text-color; border-width: 0px 1px 1px 0px;" align="right"> [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]</td></tr></tbody></table>

    <table id="post3189732" class="tborder" align="center" border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td class="thead" style="border-style: solid none solid solid; border-color: rgb(255, 255, 255) -moz-use-text-color rgb(255, 255, 255) rgb(255, 255, 255); border-width: 1px 0px 1px 1px; font-weight: normal;">[​IMG] 14-04-2010, 08:57 PM </td> <td class="thead" style="border-style: solid solid solid none; border-color: rgb(255, 255, 255) rgb(255, 255, 255) rgb(255, 255, 255) -moz-use-text-color; border-width: 1px 1px 1px 0px; font-weight: normal;" align="right"> #23 </td> </tr> <tr valign="top"> <td class="alt2" style="border-style: none solid; border-color: -moz-use-text-color rgb(255, 255, 255); border-width: 0px 1px;" width="175"> <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->อโศ<!-- google_ad_section_end --> <script type="text/javascript"> vbmenu_register("postmenu_3189732", true); </script>
    สมาชิก PREMIUM

    [​IMG]

    วันที่สมัคร: Jun 2009
    ข้อความ: 182
    Groans: 11
    Groaned at 2 Times in 2 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 88
    ได้รับอนุโมทนา 547 ครั้ง ใน 171 โพส
    พลังการให้คะแนน: 57 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </td> <td class="alt1" id="td_post_3189732" style="border-right: 1px solid rgb(255, 255, 255);"> <center><!-- google_ad_section_start -->รายการที่ 13 ตะกรุดมงกุฏพระพุทธเจ้า หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง<!-- google_ad_section_end -->

    </center>
    <hr style="color: rgb(255, 255, 255); background-color: rgb(255, 255, 255);" size="1"> <!-- google_ad_section_start -->ตะกรุดระดับตำนาน วัดหนัง<!-- google_ad_section_end -->

    หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ท่านเป็นผู้เรืองวิทยาคมด้านไสยเวทย์
    เป็นที่เคารพศรัทธายิ่งของเสด็จล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๕
    ได้ทรงเสด็จมาขอรับคำพยากรณ์และขอคำแนะนำ
    ก่อนที่จะเสด็จประพาสยุโรป จนเป็นที่เลื่องลือถึงบุญญฤทธิ์
    บารมีของพระองค์ จนเป็นที่ประจักษ์เลื่องลือแก่สายตา
    ชาวยุโรปในสมัยนั้น


    สูตร ตะกรุดมงกุฏพระพุทธเจ้า
    หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง

    ตะกรุดเก่าอายุกว่าร้อยปี
    โลหะทองแดงเก่าลึกจนเป็นสำริด สีชมพูอมแดง
    หัวท้ายตะกรุดโลหะหลอมเป็นเนื้อเดียวกัน
    รักไทยสีดำหดรวมตัว กลืนกับเชือก
    เชือกกรอบจนกลายเป็นไม้
    ขนาดตะกรุดเท่ากับมวนบุหรี่ ยาว ๕ นิ้ว

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ตะกรุดมงกุฏพระพุทธเจ้า
    หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง

    บูชา 3499 บาท
    ปิดรายการ


    โอนเงินบัญชีออมทรัพย์ นายวิสุทธิ์ วรรณวงษ์ศิริ
    ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา อิมพีเรียลเวิลด์(สำโรง)
    เลขบัญชี 332-257130-3
    <!-- google_ad_section_end -->
    <hr style="color: rgb(255, 255, 255); background-color: rgb(255, 255, 255);" size="1"> แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย อโศ : 25-04-2010 เมื่อ 12:11 AM
    </td></tr></tbody></table>
     
  5. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอบคุณ Tukky นะครับ ผมเช่าตัดจากกระทู้ข้างล่างมาครับ
     
  6. สุทธิธรรม

    สุทธิธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +259
    ท่านอโศ ปล่อยราคา 3499 แล้วท่านdekdelta2 บูชาต่อมา

    แล้วนำมาปล่อยต่อที่ 3199

    ธรรมดาของการตลาด ซื้อมาต้องขายราคาสูงกว่า จึงจะมีกำไร

    นี่เอามาขายต่ำกว่า อันนี้ผมว่าน่าจะเป็นผลดีต่อผู้บริโภค หรือผู้บูชาคนต่อไปนะครับ :cool:
     
  7. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    รายการที่ 437 สมเด็จปิลันทร์วัดระฆัง พิมพ์ปรกโพธิ์ตื้น

    ประวัติพระปิลันท์ วัดระฆังฯ
    [​IMG]
    .....จะขอกล่าวประวัติโดยย่อของเจ้าพระคุณหม่อมเจ้าพระสมเด็จฯ องค์นี้สักเล็กน้อย เพื่อรู้เรื่องคำว่า “ปิลันท์”
    เมื่อผู้เขียนเป็นเด็กยังไม่ได้บวชเณร เคยได้ฟังมาจากโอษฐของหม่อมเจ้าหญิงสืบ พระธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์(พระองค์เจ้าเกต) รับสั่งเล่าถึงเรื่องสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แล้วเลยรับสั่งถึงหม่อมเจ้าพระสมเด็จพุฒาจารย์ (ทัด เสนีวงศ์) ต่อไปให้พวกผู้ใหญ่ฟัง ซึ่งผู้เขียนก็ฟังอยู่ในที่นั้นด้วยเพราะมีหน้าที่คอยตำหมากถวาย รับสั่งเล่าว่า “เจ้าพระทัดนี้เป็นเจ้าวังหลัง รูปร่างขี้ริ้ว มีพี่ชายชื่อเจ้าพยอม บวชอยู่วัดบางหว้า เป็นท่านเจ้าฯ พี่พระสังวรประสาท” จะลำดับถ้อยคำของเสด็จฯ จำไม่ได้จะเขียนเอาแต่ความที่ท่านรับสั่ง พอได้เค้าต่อเนื่องกันเท่าที่จำได้ ความว่า หม่อมเจ้าพระสมเด็จฯ องค์นี้ เมื่อเป็นฆราวาสได้ไปสู่ขอกุลสตรีผู้หนึ่ง บิดามารดาทางฝ่ายหญิงเขาติว่าขี้ริ้วและเป็นเจ้าจนๆ อายุมากแล้วเสียพระทัยจึงออกผนวชเป็นนาคหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ใครจะเป็นพระอุปัชฌาย์สืบไม่ได้ ทราบแต่ว่าเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เมื่อครั้งยังเรียกกันว่าพระมหาโต เปรียญหก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ผนวชแล้วมาประทับอยู่วัดระฆังฯ ทรงเล่าเรียนภาษาบาลีกับพระอาจารย์มหาโตแต่ผู้เดียว จนถึงสอบไล่ได้เป็นเปรียญ ๗ ประโยค เมื่อเจริญด้วยพระชนมายุพรรษา จึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะสามัญที่พระพุทธบาทปิลันท์

    อันนามสัญญาบัตรที่พระพุทธบาทบิลันท์นี้ เป็นสมณศักดิ์ที่สงวนเฉพาะแต่พระราชวงศ์ ตั้งแต่หม่อมราชวงศ์ขึ้นไป ถ้าเป็นพระภิกษุสามัญชนย่อมไม่พระราชทานสมณศักดิ์ที่เหล่านี้
    สมณศักดิ์ที่สงวนไว้สำหรับราชวงศ์นั้นมีดังนี้คือ
    ๑. ราชานุพัทธมุนี (สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ม.ร.ว. เจริญ อิศรางกูร) สมเด็จพระอุปัฌาย์ของผู้เขียน เมื่อได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะสามัญ ก็ได้รับพระราชทานที่พระราชานุพัทธมุนี
    ๒. ศรีวราลังการ
    ๓. สังวรประสาท
    ๔. พุทธบาทปิลันท์
    เมื่อปีที่หม่อมเจ้าพระทัด เสนียวงศ์ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่พระพุทธบาทปิลันท์นั้น ท่านจึงได้คิดสร้างพระผงใบลานเผา โดยขอให้สมเด็จพระอาจารย์ของท่านร่วมมือช่วยสร้างด้วย จึงเรียกพระนี้ว่าพระสองสมเด็จมาแต่โบราณกาล

    [​IMG]
    ที่เรียกว่าพระปิลันท์นั้นก็เกิดจากผู้เขียนเอง เรื่องมีอยู่ว่าในเวลานั้นโยมป่วยอยู่ที่ศาลาการเปรียญ ผู้เขียนต้องไปอยู่ที่ศาลาการเปรียญ เพื่อพยาบาลไข้ วันหนึ่งเข้าไปตัดใบตองที่บริเวณพระอุโบสถ เพื่อทำกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง กำลังนั่งเลื่อยใบตองอยู่ สามเณรรูปหนึ่งวิ่งเข้ามาหาใกล้ๆ ในมือทั้งสองข้างมีพระอยู่เต็มทั้งสองฟายมือสามเณรพูดว่ามหาเอาพระบ้างไหม ด้วยความไม่สนใจ จึงร้องบอกไปว่า “ข้าไม่เอา” สามเณรก็ยังคงพูดว่า “เอาน่า” เมื่อสามเณรเห็นว่าไม่เอาจึงเดินกลับเอาพระสองฟายมือนั้น ไปกองไว้บนแท่นหิน ซึ่งมีอยู่ตรงที่ที่สร้างหอไตร ฯ เดี๋ยวนี้ เมื่อเลื่อยใบตองม้วนมัดเสร็จแล้ว จึงเดินไปดูเห็นพระเจดีย์ที่มุมกำแพงโบสถ์ ตรงกับกุฏิพระครูสังฆ์รักษ์ประทีป เดี๋ยวนี้ถูกเจาะเอาออกเป็นช่องกว้าง พระถูกโกยออกมาข้างนอกมากมายังอยู่ในพระเจดีย์อีกก็มาก มีพระภิกษุและสามเณร ๓-๔ รูปนั่งเลือกเก็บเอาแต่พระที่เรียบร้อยไม่หักไม่บิ่น และนึกรู้ทันที่ว่าผู้ที่เจาะเป็นคนแรกเขาไม่ได้ต้องการพระ เขาต้องการของมีค่าที่ผู้สร้างพระเจดีย์มักเอาบรรจุไว้ เมื่อรู้เห็นดังนั้นแล้วก็เดินกลับโดยไม่ได้แต่ต้องพระเลย กลับมาพบพระที่สามเณรเอากองไว้ที่แท่นหิน นึกว่าจะเรี่ยราดทุเรศ จึงทำชายพกให้โตแล้วกอบพระใส่ไว้ในพกกลับศาลาการเปรียญ เก็บใบตองเรียบร้อยแล้วเกิดอยากรู้ขึ้นมาว่าเป็นพระอะไร จึงเอาพระไปหาท่านเจ้าคุณเฒ่าคือ ท่านเจ้าคุณพระธรรมถาวรนั่นเอง และเรียนถามท่านว่าหลวงปู่นี่พระอะไร พอท่านรับไปดูท่านออกอุทานว่าอ๋อ พระพุทธบาทปิลันท์นั่นเอง เมื่อรู้แล้วกลับมาใครถามว่าพระอะไร ก็บอกเขาไปว่าพระพุทธบาทปิลันท์ ตามคำบอกเล่าเจ้าคุณเฒ่า ต่อมาคำว่า “พุทธบาท” หายไปคงเหลือเรียกว่าปิลันท์ จึงเรียกกันว่าพระปิลันท์มาจนบัดนี้ ตามความเป็นจริงแล้วท่านเจ้าคุณเฒ่าท่านเรียกว่าพระพุทธบาทปิลันท์เป็นการเรียกชื่อตามสมณศักดิ์ของท่านผู้เป็นต้นคิดสร้างไว้ต่างหาก หาได้มีใครตั้งชื่อตั้งเสียงพระแต่อย่างใดไม่
    หม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันท์นี้ ท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นลำดับจนถึงเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ แทนสมเด็จฯอาจารย์ของท่าน
    สำหรับพระปิลันท์ที่แตกออกมาจากพระเจดีย์นั้นท่านเจ้าพระคุณธรรมทานาจารย์ (แนบ สิงหเสนี) ซึ่งอยู่ที่หอไตรฯ ในสระ ท่านเป็นเจ้าคณะและควบคุมดูแลในพระอุโบสถ เมื่อท่านทราบว่าพระแตกออกจากพระเจดีย์ ท่านจึงให้พระมาเก็บรวบรวมเอาขึ้นไปไว้บนหอไตรฯ ทั้งหมด และจะเป็นในปีนั้นหรือปีต่อมาจำไม่ได้ เกิดสงครามอินโดจีน ท่านเจ้าคุณพระธรรมทานาจารย์ยังได้เอาพระปิลันท์เหล่านี้ใส่ถุงไปมอบให้แก่กระทรวงกลาโหม เพื่อแจกจ่ายแต่ทหารที่จะไปปฏิบัติราชการในสนาม

    ฉะนั้น เมื่อเกิดสงครามอินโดจีน ไม่ปรากฏว่าพระอาจารย์รูปใดได้สร้างพระเครื่องในสมัยนั้น มีผู้สร้างบ้าง ก็คือท่านเจ้าคุณธรรมทานาจารย์ แต่ก็สร้างก่อนได้พระปิลันท์ สร้างจากพระผงหักๆ แตกๆ ที่ได้จากพระเจดีย์ที่ถูกเจาะซึ่งอยู่ใกล้ต้นโพธิ์ทางทิศตะวันตก เดี๋ยวนี้เป็นหมู่บ้านไปหมดแล้ว จะเขียนต่อไปอีกเรื่องยืดยาวนัก จึงขอยุติเรื่องพระปิลันท์ไว้เพียงเท่านี้ ฯ
    ป.ล. ในหนังสือพระหลายๆเล่มจะมีความเห็นแยกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายแรกว่าเจ้าประคุณสมเด็จฯโตช่วยสร้าง อีกฝ่ายก็ว่าสร้างหลังจากสมเด็จฯท่านมรณภาพแล้วอย่างเช่น หนังสือคุณประชุมบอกว่าสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘ ก็ไม่ทราบว่าท่านได้ข้อมูลจากที่ไหน
    แต่จากหนังสือเล่มนี้ท่านเขียนว่า สร้างเมื่อได้รับพระราชทานเป็นพระราชาคณะที่พระพุทธบาทปิลันท์ ซึ่งขณะนั้นท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯโตยังอยู่ ผมเชื่อว่าท่านต้องมีส่วนช่วยสร้างพระอย่างแน่นอน และท่านเจ้าคุณธรรมถาวรก็เป็นลูกศิษย์สมเด็จฯโตอีกองค์หนึ่งที่รู้เห็นการสร้างพระปิลันท์
    ถ้าใครหาพระสมเด็จไม่ได้ก็ใช้พระปิลันท์นี่ล่ะครับแทนได้เลย

    เขียนโดยพระราชธรรมภาณี รองเจ้าอาวาสวัดระฆังสมัยนั้น (หลวงปู่นาคเป็นเจ้าอาวาส)




    สมัยก่อนเชื่อว่าเป็นพระสมเด็จ คือน่าจะสร้างสมัยปี 2415 ซึ่งทันสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสีปลุกเสกด้วย จึงเรียกว่าเป็นพระสองสมเด็จ แต่บางคนแย้งว่าน่าจะสร้างปี 2440 ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ผงส่วนใหญ่ของปิลันทร์ นั้นผงหลักเป็นผงพุทธคุณเก่าของสมเด็จโต

    องค์สวยๆราคาเป็นแสน แต่องค์นี้มีบิ่นด้านบนนิดหน่อย
    ให้บูชา 8500 บาทเท่านั้น มีองค์เดียวครับ พิมพ์นี้

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  8. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    รายการที่ 438 หายากกว่าพระเจ้าห้าพระองค์ ปิดตาคู่หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา

    พระเนื้อผงขุดสระเล็ก ที่ในบรรดาเนื้อผงเป็นรองเฉพาะตระกูลสมเด็จ หลวงปู่ทอง ท่านเป็นผู้ปลุกเสก แต่ทำให้ศิษย์ท่าน คือ หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว ดัง ประวัติของท่าน แค่สหธรรมิกท่านคือ
    หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง
    หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
    หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก
    หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
    หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ
    ฯลฯ

    ลูกศิษย์ท่านคือ หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว

    แต่ละองค์กิตติคุณไม่ธรรมดา ทั้งหลวงปู่ทองยังมีอายุยืนถึง 117 ปี
    พระองค์นี้เนื้อดินผสมผงสูตรเดียวกับผงของสมเด็จโต (หลวงปู่ทองเป็นศิษย์รุ่นน้องของสายหลวงปู่แสง วัดมณีชลขันธ์)


    ให้บูชา 2199 บาท

    จองแล้วครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 12.jpg
      12.jpg
      ขนาดไฟล์:
      30 KB
      เปิดดู:
      154
    • 34.jpg
      34.jpg
      ขนาดไฟล์:
      32.4 KB
      เปิดดู:
      142
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2010
  9. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    รายการที่ 439 ตะกรุดหลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ เนื้อตะกั่ว 4 นิ้ว ยุคต้น

    [​IMG]
    หลวงพ่อมุ่ย พุทฺธรักฺขิโต

    พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ หรือที่รู้จักกันดีในนาม หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่
    พระคณาจารย์ยุคกึ่งพุทธกาลที่เกียรติคุณชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของจังหวัดสุพรรณบุรีอีกรูปหนึ่ง
    ปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านทุกรุ่นได้รับความนิยมกันมาก
    เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2431 ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 13 ค่ำ เดือนอ้าย ปีฉลู
    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 ณ.บ้านดอนไร่ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
    เป็นบุตรของพ่อเหมือน แม่ชัง มีศรีไชย มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน

    วัยเด็ก

    เนื่องด้วยครอบครัวของท่านมีอาชีพทำไร่ทำนา ในวัยเด็กของท่านจึงมีชีวิตตามประสาเด็กชนบททั่วไป
    โดยช่วยเหลือครอบครัวในการเลี้ยงควาย เป็นต้น



    วัยหนุ่ม

    เมื่อวัยหนุ่มท่านได้เข้ารับการเกณฑ์ทหาร
    ผลว่าท่านถูกเกณฑ์เป็นทหารและทางอำเภอได้ส่งตัวท่านไปยังจังหวัด
    แต่ท่านก็ต้องถูกส่งตัวกลับมาด้วยเหตุผลประการใดไม่ทราบ สรุปคือท่านไม่ได้เป็นทหารแน่นอน



    อุปสมบท

    ภายหลังจากการเกณฑ์ทหารเรียบร้อยแล้ว ท่านได้เข้ารับการอุปสมบทตามธรรมเนียมประเพณีของคนไทย
    เมื่อประมาณปี พ.ศ.2452 ณ. พัทธสีมาวัดท่าช้าง ตำบลท่าช้าง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมี
    พระครูศีลกิติ ( หลวงพ่อกฤษณ์ ) วัดท่าช้าง เป็นพระอุปัชฌาย์
    หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    พระอนุสาวนาจารย์ไม่ทราบชื่อ
    ในช่วงนี้ท่านได้เข้ารับการศึกษาเล่าเรียนวิชาต่างๆจากพระอาจารย์ต่างๆอยู่พอสมควร

    ท่านอุปสมบทได้ประมาณ10กว่าพรรษา ท่านก็ได้ลาสิกขาบท เพื่อมาช่วยบิดามารดาซึ่งชราทำไร่นา
    ในช่วงนี้ท่านได้เกิดล้มป่วยแทบเอาชีวิตไม่รอด ยากจะดูแลรักษาให้หายได้
    ท่านจึงได้ตั้งสัจจะอธิษฐานไว้ว่า หากหายจากอาการเจ็บป่วย จะฝากกายถวายชีวิตในพระพุทธศาสนาตลอดไป
    เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนักต่อมาอาการเจ็บป่วยของท่านก็ได้หายไป และช่วงนี้ท่านก็ได้เปลี่ยนชื่อจาก
    เชื่อม มาเป็น มุ่ย สรุปแล้วท่านลาสิกขาบทมาได้ไม่กี่เดือนก็อุปสมบทใหม่เป็นครั้งที่สอง

    ท่านได้อุปสมบทเป็นครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2465 เวลา 15.30 น. ณ.
    พัทธสีมาวัดตะค่า(วัดดอนบุบผารามในปัจจุบัน) ตำบลบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมี

    พระครูธรรมสารรักษา (หลวงปู่อ้น) วัดดอนบุบผาราม เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระอาจารย์ทวน วัดบ้านกร่าง เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    พระอาจารย์กุล วัดดอนบุบผาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์


    ได้รับชื่อทางพระพุทธศาสนาจากพระอุปัชฌาย์ว่า พุทฺธรักฺขิโต

    [​IMG]
    ครูบาอาจารย์


    เนื่องด้วยหลวงพ่อมุ่ยท่านเป็นผู้คงแก่เรียน หมั่นขวนขวายหาความรู้อยู่เสมอๆ
    จึงทำให้ท่านชำนาญและเชี่ยวชาญในศาสตร์หลายแขนง การเรียนรู้ในศาสตร์หลายแขนงของท่าน
    ได้พากเพียรเรียนรู้มาตั้งแต่การอุปสมบทครั้งแรก
    เมื่อกลับมาอุปสมบทอีกครั้งด้วยพื้นฐานที่รอบรู้อยู่แล้วและศึกษาเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลาจึงทำให้ท่านรอบรู
    ้และแตกฉานยิ่งขึ้น ครูบาอาจารย์ที่หลวงพ่อมุ่ยไปศึกษามานั้นมีอยู่มากมายเกิน10ท่านขึ้นไป
    แต่ก็สืบเสาะได้ยากยิ่งเนื่องจากหลวงพ่อมุ่ยท่านไม่เคยเล่าให้ลูกศิษย์ฟัง
    แต่เท่าที่สืบค้นได้ก็มีดังนี้


    1. พระครูธรรมสารรักษา หรือ หลวงปู่อ้น วัดดอนบุบผาราม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
    หลวงปู่อ้นท่านเป็นพระอาจารย์ยุคเดียวกันกับหลวงพ่อเนียม วัดน้อย ท่านมีอายุน้อยกว่าหลวงพ่อเนียม 9 ปี
    ในยุคนั้นหลวงปู่อ้นท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากในแถบจังหวัดสุพรรณบุรี ท่านเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรีในยุคสมัยนั้น ท่านขึ้นชื่อมากในด้านแพทย์แผนโบราณ การรักษาโรคภัยไข้เจ็บ และพุทธาคมก็ยังเป็นเลิศ
    ท่านมีลูกศิษย์ลูกหาและพระอาจารย์ต่างๆมาศึกษาและแลกเปลี่ยนความรู้กับท่านที่วัดมากมาย
    ลูกศิษย์ของท่านที่มีชื่อเสียงโด่งดังอย่างเช่น ท่านเจ้าคุณเชียง วัดราชบูรณะ ,
    หลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน , หลวงพ่อสม วัดดอนบุบผาราม เป็นต้น
    ในการอุปสมบทครั้งที่สองของหลวงพ่อมุ่ยท่าน เมื่อปี พ.ศ.2465
    ท่านได้เดินทางมาที่วัดดอนบุบผารามเพื่อให้หลวงปู่อ้นทำการอุปสมบทให้ และหลังจากการอุปสมบทแล้ว หลวงพ่อมุ่ยก็ได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาอาคมจากหลวงปู่อ้นต่ออีกสักพักหนึ่ง หลวงปู่อ้นจึงนับเป็นพระอาจารย์รูปแรกของท่านเท่าที่มีการบันทึกมา


    2. หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
    หลวงพ่อมุ่ยสนใจในวิปัสสนากรรมฐานมาก
    ซึ่งในยุคนั้นพระอาจารย์วิปัสสนากรรมฐานของเมืองสุพรรณที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ก็มี หลวงพ่อโหน่ง
    วัดคลองมะดัน , หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา และหลวงพ่อปลื้ม วัดพร้าว
    หลวงพ่อมุ่ยได้เลือกศึกษาวิปัสสนากรรมฐานและคาถาอาคมต่างๆจากหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขาในช่วงที่บวชครั้งที่สอง ศึกษาจากหลวงพ่ออิ่มเป็นระยะเวลา1พรรษาเต็ม หลังจากศึกษาจากหลวงพ่ออิ่มหมดแล้ว หลวงพ่ออิ่มก็ได้พาไปศึกษาต่อกับหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ซึ่งอยู่ห่างออกไปไม่ไกลกันมากนัก


    3. พระครูวิมลคุณากร หรือ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท
    ในยุคนั้น หลวงปู่ศุข ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศ
    มีลูกศิษย์ลูกหามาขอศึกษาวิชาต่างๆกับท่านมากมาย หลวงพ่อมุ่ยก็เช่นกัน
    ภายหลังจากที่ศึกษาวิชาต่างๆจากหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา จนหมดแล้ว
    หลวงพ่ออิ่มจึงแนะนำให้ไปศึกษาเพิ่มเติมอีกที่หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
    หลวงพ่ออิ่มเคยเล่าให้ลูกศิษย์ของท่านฟังว่า ตัวท่านเองแก่แล้ว จึงศึกษาเวทมนต์
    คาถาอาคมต่างๆจากหลวงปู่ศุขได้ครึ่งเล่ม ส่วนหลวงพ่อมุ่ยท่านยังหนุ่มสามารถศึกษาได้ถึงเล่มครึ่ง
    หลวงพ่อมุ่ยท่านเป็นที่รักใคร่ของหลวงปู่ศุขมาก เป็นศิษย์ชั้นแถวหน้าของหลวงปู่ศุขเลยทีเดียว
    กล่าวกันว่าท่านได้รับถ่ายทอดวิชาอาคมมาจากหลวงปู่ศุขมาก รองมาจากกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์


    4. อาจารย์กูน วัดบ้านทึง อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
    อาจารย์กูน วัดบ้านทึง เป็นฆราวาสที่โด่งดังที่สุดของจังหวัดสุพรรณบุรี
    เดิมท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านทึง แต่ต่อมาท่านได้ลาสิกขาบท ท่านเชี่ยวชาญมากในด้านไสยศาสตร์
    และแพทย์แผนโบราณ สามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆได้ดี เป็นที่พึ่งของชาวบ้านตลอดมา
    อาจารย์กูนเป็นผู้ที่ขึ้นชื่อเลื่องลือมากในยุคนั้น หลวงพ่อมุ่ยท่านสนใจในด้านแพทย์แผนโบราณมาก
    จึงได้เดินทางไปขอฝากตัวเป็นศิษย์ต่ออาจารย์กูนในสมัยที่อาจารย์กูนท่านยังดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านทึงอยู่ และอาจารย์กูนยังได้มอบตำราการทำยาหอมให้ท่านมาด้วย ซึ่งต่อมาท่านก็มอบต่อให้ศิษย์ท่านเอาไปทำยาหอม ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันดีคือ ยาหอม ตราฤาษีทรงม้า นั่นเอง


    5. หลวงพ่อปลั่ง วัดวิมลโภคาราม อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
    ท่านเชี่ยวชาญในด้านคาถาอาคมมากผู้หนึ่ง
    หลวงพ่อมุ่ยจึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อศึกษาวิชาอาคมต่างๆจากท่าน


    6. นอกจากนี้ยังมีพระอาจารย์ของท่านอีกซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าหลวงพ่อมุ่ยได้ศึกษาอะไรไปบ้าง อย่างเช่น หลวงพ่อกฤษณ์ วัดท่าช้าง (พระอุปัชฌาย์ในการบวชครั้งแรกของหลวงพ่อมุ่ย) ฯลฯ

    ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดอนไร่

    หลังจากชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างวัดดอนไร่ขึ้นมาแล้วแล้ว
    ก็ได้นิมนต์หลวงพ่อปลั่ง วัดวิมลโภคารามมาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก อยู่ช่วยสร้างวัดได้1พรรษา
    หลวงพ่อปลั่งก็ได้ย้ายกลับไป

    ปี พ.ศ.2458 หลวงพ่อพลอยได้มาเป็นเจ้าอาวาสรูปที่สองอยู่ได้5พรรษาก็ลาสิกขาบท
    จึงทำให้วัดดอนไร่ว่างเว้นเจ้าอาวาสอีกครั้งหนึ่ง

    ปี พ.ศ.2466 ภายหลังจากการอุปสมบทครั้งที่สองของหลวงพ่อมุ่ย
    ชาวบ้านได้นิมนต์ท่านมาพำนักจำพรรษาที่วัดดอนไร่ ท่านก็ได้ริเริ่มพัฒนาวัดตั้งแต่นั้นมา

    ปี พ.ศ.2476 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลหนองสะเดา
    ท่านจึงมีภาระมากขึ้นด้วยว่ามีเขตการปกครองขว้างขวาง วัดใดเสื่อมโทรมก็ต้องเข้าไปดูแลพัฒนาซ่อมแซม รวมไปถึงวัดภายนอกเขตปกครองด้วย แต่ท่านก็ไม่ย่อท้อ ขยันหมั่นเพียรดูแลรักษาและพัฒนาจนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

    หลวงพ่อมุ่ยได้สร้างพระอุโบสถหลังเก่าของวัดดอนไร่ ก่อด้วยอิฐไม่ได้ฉาบปูน หลังคามุงหญ้าแฝก
    ซึ่งได้ฝังลูกนิมิตไปในปี พ.ศ.2482 กุฏิสงฆ์ หอสวดมนต์ สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ซึ่งสร้างจากไม้เป็นหลัก
    ซึ่งไม้ดังกล่าวหลวงพ่อมุ่ยท่านจะเป็นผู้นำกองเกวียนของบรรดาชาวบ้านเข้าป่าเพื่อไปตัดไม้ดังกล่าวมาสร้างวัดเองโดยตลอด จึงเป็นภาระอันหนักยิ่งของท่านในสมัยนั้น

    ปี พ.ศ.2496 ท่านได้รับแต่งตั้งจากคณะสงฆ์เป็นพระอุปัชฌาย์ มีกุลบุตรมากมายมาให้ท่านอุปสมบทให้
    รวมทั้งลาสิกขาบทจากท่าน ซึ่งในสมัยนั้นทั้งอำเภอมีพระอุปัชฌาย์แค่เพียง2รูปเอง จึงกล่าวได้ว่าในสมัยนั้นชาวสามชุกค่อนอำเภอบวชโดยหลวงพ่อมุ่ย

    อุปนิสัย

    หลวงพ่อมุ่ยท่านเป็นพระสมถะ ปฏิบัติตนอยู่ในกรอบของพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัดเสมอต้นเสมอปลาย ทำสิ่งใดแต่พอเหมาะพอควร มีความเมตตาแก่สัตว์โลกทั่วไปทุกหมู่เหล่า
    ท่านทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อพระพุทธศาสนาอย่างเต็มที่ด้วยเคยตั้งมั่น อธิษฐานชีพนี้เพื่อพระพุทธศาสนา

    และหลวงพ่อมุ่ยท่านไม่เคยโอ้อวดตน อย่างเช่นครั้งหนึ่งสมเด็จพระสังฆราช จวน วัดมกุฏกษัตริยาราม เสด็จมาเป็นประธานในการปลุกเสกพระเครื่องยุทธหัตถีที่พระวิสุทธิสารเถระ หรือหลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เป็นแม่งานจัดสร้าง สมเด็จฯพบหลวงพ่อมุ่ย จึงตรัสถามหลวงพ่อมุ่ยว่า ทำไมจึงขลังนัก หลวงพ่อมุ่ยก็ตอบว่า หากท่านจะขลังก็คงขลังที่ความดี เพราะตั้งแต่ท่านบวชมา ท่านไม่เคยทำชั่วเลย
    สมเด็จฯได้ยินดังนั้นทรงชื่นชอบในคำตอบของหลวงพ่อมุ่ยเป็นอย่างมาก

    ...............................................


    องค์นี้ใช้ปอถัก ลงรักรักษาสภาพตะกรุด แต่ผ่านการใช้งานพอสมควร ทำให้รักร่อนออกบ้าง ความสวยจึงหย่อนลงไป
    ผมไปดูที่พันธ์ทิพย์งามวงศ์วาน ชมรมมรดกไทยที่ติดกับบันไดเลื่อน ก็ออกดอกละ 6000 แล้ว ดอกฟอร์มเดียวกันเป๊ะๆ สภาพไม่ห่างกันเกิน 10 % (เค้าเปิดเผื่อต่อมั้งครับ)


    ดอกนี้ให้บูชา 2000 เท่านั้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • fd.jpg
      fd.jpg
      ขนาดไฟล์:
      22.4 KB
      เปิดดู:
      269
  10. goldenpond

    goldenpond เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    92
    ค่าพลัง:
    +313
    คุณDEKDELTA2
    ขอจองรายการที่ 438 ปิดตาคู่หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา
    goldenpond
     
  11. มะขามป้อม

    มะขามป้อม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2008
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +1,547
    ได้รับพระเรียบร้อยแล้วครับ
     
  12. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    รายการที่ 440 ปิดตายอดแห่งสำนักเขาอ้อ อ.ปาล วัดเขาอ้อ (ติดรางวัลที่1)

    [​IMG]
    พระครูปาล ปาลธัมโม (อาจารย์ปาล)

    ศิษย์เอกท่านปรมาจารย์ทองเฒ่า เจ้าสำนักวัดเขาอ้อ


    พระเกจิอาจารย์ผู้เข้มขลังทางวิทยาคุณ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังต่อจากท่านปรมาจารย์ทองเฒ่า เจ้าสำนักเขาอ้อ คือ พระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม ศิษย์เอกรูปหนึ่งของท่านปรมาจารย์ทองเฒ่า

    สำหรับประวัติพระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม นั้น ไม่ค่อยจะมีหลักฐานเป็นลาย ลักษณ์อักษรให้อ้างถึงได้มากนัก เนื่องจากพระอาจารย์ปาลท่านเป็นพระที่หนักไปในทางสันโดษ ชอบอยู่เงียบๆ ไม่ค่อยสุงสิงกับสังคมภายนอก ประกอบกับการบันทึกหลักฐานในสมัยท่านยังไม่แพร่หลายมากนัก และที่สำคัญตัวท่านไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหลักฐานทางบ้านเมืองมากนัก กล่าวคือไม่เข้าสู่ระบบการปกครองของคณะสงฆ์

    จากคำบอกเล่าของคุณตามงคล ซึ่งมีศักดิ์เป็นญาติใกล้ชิดกับพ่อท่านปาล ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติพระอาจารย์ปาลมาว่า บรรพบุรุษของพระอาจารย์ปาลเป็นชาวระโนด จังหวัดสงขลา ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่บริเวณบ้านเขาอ้อ แต่ก็ไม่แน่ใจว่าพระอาจารย์ปาลท่านมาเกิดที่เขาอ้อ หรือเกิดที่ระโนดแล้วอพยพตามครอบครัวมา แต่ว่าแม้จะเกิดที่ระโนด ก็คงจะมาตั้งแต่เล็กๆ อย่างน้อยก็ก่อนจะเข้าโรงเรียน

    พระอาจารย์ปาลเป็นญาติกับพระอาจารย์ทองเฒ่า ส่วนจะเป็นญาติใกล้ชิดกันแค่ไหนก็ไม่สามารถระบุได้ แต่ก็เข้าใจว่าใกล้ชิดกันพอสมควร เพราะพระอาจารย์ทองเฒ่าก็มีพื้นเพเดิมเป็นชาวระโนดเช่นกัน ครอบครัวของพระอาจารย์ปาลคงจะใกล้ชิดและเคารพนับถือพระอาจารย์ทองเฒ่ามาก ด้วยเหตุนี้ เมื่อพระอาจารย์ปาลมีอายุพอที่จะเรียนหนังสือได้ พ่อแม่จึงได้พาไปฝากให้อยู่ศึกษาเล่าเรียนในสำนักวัดเขาอ้อ ซึ่งสมัยนั้นเป็นสำนักใหญ่และสำคัญที่สุดในละแวกนั้น มีลูกศิษย์มากมาย

    พระอาจารย์ปาลอยู่ที่สำนักวัดเขาอ้อจนกระทั่งชราภาพ พระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร รองเจ้าอาวาสวัดดอนศาลา ซึ่งเป็นศิษย์เอกฝ่ายบรรพชิตของท่านได้นิมนต์ท่านมาอยู่ที่วัดดอนศาลา เพื่อจะดูแลปรนนิบัติรับใช้

    พระอาจารย์ปาลอยู่ที่วัดดอนศาลาหลายปี จนกระทั่งเข้าสู่ภาวะเกือบจะสุดท้ายแห่งชีวิต ท่านทราบวาระของตัวเอง จึงขอให้ศิษย์นำกลับไปที่วัดเขาอ้ออีกครั้ง เพื่อที่จะกลับไปมรณภาพที่สำนักวัดเขาอ้อ เหมือนกับเจ้าสำนักรูปก่อนๆ คณะศิษย์เห็นใจ สนองตอบความต้องการของท่าน นำท่านกลับไปอยู่ที่วัดเขาอ้อ พระอาจารย์ปาลกลับไปอยู่ที่วัดเขาอ้อในสภาพอาพาธหนักด้วยโรคชราไม่ถึงสองเดือน ก็ถึงแก่มรณภาพ

    การสร้างวัตถุมงคล
    พระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม เป็นศิษย์พระอาจารย์ทองเฒ่า เริ่มสร้างวัตถุมงคลตั้งแต่ปี พ.ศ.2483 - 2519 ระยะแรกสร้างที่วัดเขาอ้อ แต่หลังปี พ.ศ.2503 ท่านได้ย้ายไปอยู่ที่วัดดอนศาลา ระยะหลังจึงสร้างที่วัดดอนศาลา วัตถุมงคลที่สร้างมีดังต่อไปนี้
    4.1 พระปิดตามหาลาภ มหาอุด สร้างด้วยโลหะผสม ตะกั่ว เงินยวง ผงมหาว่านเคลือบครั่ง
    4.2 พระกลีบบัว เนื้อโลหะผสม ปรอท เงินยวง
    4.3 พระกลีบบัว เนื้อผงผสมว่าน สร้างที่วัดเขาอ้อ พ.ศ. 2500 และ สร้างที่วัดดอนศาลา เมื่อปี พ.ศ. 2511
    4.4 เหรียญรุ่นแรก พ.ศ. 2519 สร้างด้วยเนื้อเงิน และ ทองแดง
    4.5 ตะกรุดเนื้อตะกั่ว มี 1 ดอก 3 ดอก 5 ดอก 7 ดอก และ 16 ดอก ฯลฯ
    4.6 ลูกอม สร้างด้วยลูกดีควาย ลูกสวาท ลูกอมปรอท เงินยวง ฯลฯ
    4.7 แหวนพิรอด เนื้อโลหะผสม





    ....................................................................................


    <TABLE style="TABLE-LAYOUT: fixed" cellSpacing=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width="85%" height="100%">สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันถึงพระปิดตาสายใต้กัน สายพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงมากของทางใต้นั้นก็ไม่พ้น สายเขาอ้อครับ ซึ่งสำนักเขาอ้อนั้นเป็นสำนักเก่าแก่โบร่ำโบราณ มีศิษย์ของสำนักนี้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากมาย ในสมัยรัตนโกสินทร์เท่าที่ยังพอสืบค้นได้ก็คือพระอาจารย์ทองเฒ่า ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุด ลูกศิษย์ของท่านก็มีชื่อเสียงโด่งดังมากอีกหลายองค์ เช่น พระอาจารย์เอียด กับ พระอาจารย์นำ แห่งวัดดอนศาลา เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีศิษย์ของท่านอีกหลายองค์ที่เข้มขลังในพุทธาคม และมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ในวันนี้เราจะมาพูดถึงพระอาจารย์ปาล วัดเขาอ้อกันครับ
    [​IMG]
    พระอาจารย์ปาล ท่านเป็นลูกศิษย์เรียนวิชาสายเขาอ้อกับพระอาจารย์ทองเฒ่า รุ่นน้องของพระอาจารย์เอียด และพระอาจารย์นำ ท่านได้ศึกษาวิชาต่างๆ จากพระอาจารย์ทองเฒ่าไว้มากทีเดียว เช่นพิธีกรรมอาบน้ำว่านแช่ยา พิธีป้อนน้ำมันงา หรือพิธีหุงข้าวเหนียวดำ ซึ่งจัดขึ้นในสมัยท่านอาจารย์ทองเฒ่านั้น ก็มีพระอาจารย์ปาลคอยช่วยเหลือในการประกอบพิธีด้วยทุกครั้ง และหลังจากท่านอาจารย์ทองเฒ่ามรณภาพแล้ว ท่านอาจารย์ปาลก็เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน

    พระอาจารย์ปาลนอกจากจะมีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิทยาคมของสายเขาอ้อแล้ว ท่านยังมีพลังจิตกล้าแข็งมาก ท่านสามารถกำหนดจิตให้เป็นสมาธิรวดเร็วมาก ที่กุฏิของท่านจะมีอ่างล้างเท้าและมีผ้าเช็ดเท้าเก่าๆ อยู่ผืนหนึ่ง ท่านเคยฉีกผ้าเช็ดเท้าออกมาริ้วเล็กริ้วหนึ่ง แล้วท่านก็กำไว้ในมืออธิษฐานจิตเพียงอึดใจแล้วส่งให้ลูกศิษย์ลองนำไปเผาไฟดู ปรากฏว่าเผาไฟไม่ไหม้ และมีคนเคยดูถูกท่านและมาลองของ ท่านก็ไม่ว่าอะไร เพียงแต่บอกว่าให้ลองเอาปืนยิงไปที่จีวรของท่านที่ตากเอาไว้ที่ราวไม้ไผ่ ปรากฏว่ายิงจนลูกปืนหมดโม่ก็ยิงไม่ถูกผ้าจีวร ลูกปืนกลับตกลงอยู่ที่หน้าจีวรของท่านเท่านั้น

    ในสมัยที่ท่านยังอยู่นั้นหากวัดที่อยู่ในสายเขาอ้อจะจัดพิธีกรรมหรือปลุกเสกวัตถุมงคลขึ้นคราใดก็จะต้องนิมนต์ท่านอาจารย์ปาลไปด้วยทุกครั้ง วัตถุมงคลของท่านที่สร้างในยุคแรกๆ นั้น ส่วนมากจะเป็นตะกรุด ซึ่งก็มีอยู่หลายชนิด ท่านจะพิจารณาทำให้เป็นรายๆ ไป และท่านมักจะกำชับว่าไม่ให้ไปผิดลูกผิดเมียใครเป็นอันขาด ส่วนพระปิดตานั้นท่านสร้างในปี พ.ศ. 2490 เป็นต้นมา ท่านจะเริ่มสร้างตามเท่าที่มีโลหะเท่า นั้น เมื่อมีเวลาว่างท่านก็จะสร้างขึ้นทีละไม่มากนัก แล้วจะปลุกเสกเดี่ยว และแจกชาวบ้านไปเรื่อยๆ เมื่อหมดแล้วท่านก็จะสร้างใหม่

    พระปิดตาของท่านอาจารย์ปาลนั้น ส่วนมากประสบการณ์มักเด่นทางด้านมหาอุด อยู่ยงคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด ปัจจุบันหาพระปิดตาแท้ๆ ของท่านยากครับ ใครมีต่างก็หวงแหนกันมาก

    ในวันนี้ผมได้นำรูปพระปิดตายุคแรก เนื้อโลหะผสมของท่านมาให้ชมกันทั้งด้านหน้าและด้านหลังครับ

    ด้วยความจริงใจ แทนท่าพระจันทร์

    ปกติแล้ว ปิดตาของสำนักเขาอ้อ ทั้งอาจารย์ทองเฒ่า อาจารย์เอียด และ อาจารย์ปาล เล่นกันหลักหมื่นทั้งนั้นครับ มีน้อยมากที่จะหลักพันปลาย

    องค์นี้ผมเปิด 4700 เท่านั้น ติดแชมป์รางวัลที่ 1 งานลำปางล่าสุด(สมาคมสนับสนุน) พร้อมใบประกาศครับ

    </TD></TR><TR><TD class=smalltext vAlign=bottom width="85%"></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. j999

    j999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    4,968
    ค่าพลัง:
    +5,381
    ได้โอนเงิน๕๓๐๙ บาทเมื่อ๓๑พค.เวลา๑๓.๐๒ น.เป็นค่าพระ ๗รายการที่อยู่ดูในpmครับ
     
  14. อัสดงส์

    อัสดงส์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,319
    ค่าพลัง:
    +3,697
    วันนี้ 10/06/10 โอนเงิน 500 บาท เวลา 14.42 น. เพื่อบูชารายการ 399 และ 417

    กรุณาจัดส่ง

    ฉัตรชัย ขวัญขจรวงศ์ 120/22 ถ.เทพารักษ์ ต.บางเมือง อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 10270
     
  15. ศ.รุ่งเรือง

    ศ.รุ่งเรือง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2007
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +719
    ขอจองไว้ครับ ราคาตามที่ตกลง
     
  16. ศ.รุ่งเรือง

    ศ.รุ่งเรือง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2007
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +719
    โอนเงินแล้วครับ ที่อยู่จัดส่งตาม pm
     
  17. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    รายการที่ 441 ปิดตาหลวงพ่อเนียม วัดน้อย (สวยแชมป์ที่ 1)

    ก่อนอื่นก็มาคุยกันถึงชีวประวัติของท่านสักหน่อย หลวงพ่อเนียม ท่านเป็นคนชาวบ้านส้อง ตำบลมดแดง อำเภอศรีประจันต์ สุพรรณบุรี หลวงพ่อท่านเกิดในราว พ.ศ.2372 ตอนเด็กๆ ท่านได้ติดตามพระอาจารย์องค์หนึ่งเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ เพื่อศึกษาเล่าเรียน สืบความได้ไม่ชัดว่าอยู่ที่วัดใด บางท่านกล่าวว่ามาอยู่ที่วัดระฆังฯ และเคยได้ศึกษากับ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี การศึกษาของหลวงพ่อเนียมนั้นหนักไปทางวิปัสสนาธุระ ดังนั้นท่านจึงมีความเชี่ยวชาญทางด้านวิปัสสนาธุระเป็นเยี่ยมยอด

    พ.ศ.2413 หลวงพ่อเนียมอายุ 40 พรรษา ท่านกลับมาอยู่ที่วัดรอเจริญ และได้มีชาวบ้านไปอาราธนาท่านให้ไปช่วยบูรณปฏิสังขรณ์วัดน้อย ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า ซึ่งขณะนั้นเป็นวัดร้าง ท่านก็ไม่ขัดข้อง เมื่อท่านได้มาอยู่ที่วัดน้อยแล้วท่านก็เริ่มบูรณะวัดให้มีสภาพเป็นวัดสังฆาวาสทันที มีพระภิกษุมาจำพรรษามากขึ้นทุกวัน วัดน้อยเจริญขึ้นอย่างทันตาเห็น
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ครั้งหนึ่งในงานแซยิดของท่าน พอใกล้ค่ำเมฆฝนดำทะมึน พายุพัดตึง ร้านค้าเก็บของกันกุลีกุจอ ท่านก็ออกมามองดูท้องฟ้าแล้วพูดว่า "ไม่ต้องเก็บ ไม่ต้องเลิก ขายของต่อไป ที่นี่ไม่มีฝนตก" เหมือนคำประกาศิต ฝนไม่ตกจริงๆ ในบริเวณวัด แต่กลับตกรอบนอกของวัด

    เคยมีฝรั่งสองคนทราบข่าวว่าหลวงพ่อเนียมถ่ายรูปไม่ติด จึงอยากทดลอง มาอาราธนาหลวงพ่อเนียมนั่งอันดับแล้วถ่ายรูป ปรากฏว่าไม่มีรูปหลวงพ่อเนียม ถ่ายถึงสองครั้งก็ไม่มีรูปของหลวงพ่อเนียมอีก

    เรื่องน้ำมนต์ของหลวงพ่อเนียมก็มีประสบการณ์ให้เห็นคือ มีชาวจีนชื่อโต้ผ่วย ไปขอน้ำมนต์หลวงพ่อ ขณะนั้นท่านกำลังทำงานอยู่บนหลังคาศาลาการเปรียญ ท่านบอกว่าให้ไปตักน้ำที่ท่าน้ำวัดมา พอส่งให้ท่านรับขวดโหลไว้แล้วก็ส่งคืนให้พร้อมบอกว่า "เอ้อเสร็จแล้ว" จีนคนนั้นนึกโมโหอยู่ในใจ อะไรหวาทำน้ำมนต์เสร็จแล้ว จึงกลับบ้านด้วยความไม่พอใจ พอไปถึงหลังวัดก็เทน้ำมนต์ทิ้ง ปรากฏว่าเทเท่าไรก็เทไม่ออก

    พระยาศิริชัยบุรินทร์ (ทองสุข) ปลัดเทศาภิบาลมาขออาบน้ำมนต์ ท่านก็ให้ไปอาบที่ท่าวัด พระยาศิริชัยฯก็อาบเสร็จแล้วก็ลากลับ นึกตะขิดตะขวงใจตงิดๆ ให้เราข้าราชการผู้ใหญ่ไปอาบน้ำที่ท่าวัดปนกับประชาชนทั้งหลาย แต่พอกลับไปไม่นานนัก ก็ได้เลื่อนเป็นเทศาภิบาลจังหวัดนครสวรรค์

    มีอยู่ครั้งหนึ่งตอนกลางคืน หลวงพ่อเนียม เดินไปกลางลานวัด เหยียบเอางูเห่าแว้งกัด ท่านนั่งท่องคาถาเป่าอยู่พักเดียวก็หาย หลวงพ่อปาน วัดบางนมโคอยากได้คาถานี้ ท่านก็บอกว่าในเจ็ดตำนานทั้งเล่มใช้ได้ทั้งนั้นแหละฯ

    หลวงพ่อเนียมท่านมรณภาพในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 สิริอายุได้ 80 ปี วันที่ท่านมรณภาพลงนั้นมีตัวชีปะขาวตายเกลื่อนแม่น้ำไปหมด

    ในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นท่านได้สร้างพระเครื่องและเครื่องรางของขลังไว้ให้แก่ศิษย์หลายอย่างเป็นพระพิมพ์เนื้อตะกั่วผสมปรอท พิมพ์ทรงต่างๆ เช่นพิมพ์เศียรโล้น พิมพ์เศียรแหลม พิมพ์งบน้ำอ้อย พิมพ์ปรุหนัง พิมพ์พระเจ้าห้าพระองค์ พิมพ์กริ่งคลองตะเคียน พิมพ์นาคปรก พิมพ์พระประธานใหญ่-เล็ก พิมพ์ถ้ำเสือ ฯลฯ และยังมีตะกรุดและลูกอมเป็นต้น พระเครื่องของท่านนั้นล้วนแล้วแต่มีประสบการณ์ต่างๆ มาก มาย เด่นทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพันชาตรีครับ

    ในวันนี้ผมได้นำพระเครื่องพิมพ์งบน้ำอ้อยพิมพ์กลาง และพระพิมพ์พระประธานใหญ่และเล็กมาให้ชมกันครับ พระเครื่องของหลวงพ่อเนียมนั้นมีสนนราคาสูงมาก แต่พิมพ์พระประธานนั้นสนนราคายังย่อมกว่าพิมพ์อื่นๆ ถึงแม้ว่าจะมีขนาดใหญ่หน่อยแต่ก็น่ามีไว้บูชาครับ

    ด้วยความจริงใจ

    แทน ท่าพระจันทร์ [​IMG]


    ภาพวัตถุมงคลจากเว็บ moohin


    <TABLE id=table1 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=middle>[​IMG]
    รูปของ หลวงพ่อเนียม วัดน้อย

    </TD><TD vAlign=bottom align=middle>
    [​IMG]
    พระเนื้อชิน หลวงพ่อเนียม วัดน้อย พิมพ์เศียรแหลม เนื้อชิน

    </TD><TD vAlign=bottom align=middle>
    [​IMG]
    พระเนื้อชิน หลวงพ่อเนียม วัดน้อย พิมพ์เศียรแหลม เนื้อชิน

    </TD><TD vAlign=bottom align=middle>
    [​IMG]
    พระเนื้อชิน หลวงพ่อเนียม วัดน้อย พิมพ์เศียรโล้น เนื้อชิน

    </TD></TR><TR><TD vAlign=bottom align=middle>
    [​IMG]
    พระเนื้อชิน หลวงพ่อเนียม วัดน้อย พิมพ์เศียรโล้น เนื้อชิน

    </TD><TD vAlign=bottom align=middle>
    [​IMG]
    พระเนื้อชิน หลวงพ่อเนียม วัดน้อย พิมพ์งบน้ำอ้อย

    </TD><TD vAlign=bottom align=middle>
    [​IMG]
    พระเนื้อชิน หลวงพ่อเนียม วัดน้อย พิมพ์พระเจ้าห้าพระองค์

    </TD><TD vAlign=bottom align=middle>
    [​IMG]
    พระปิดตา หลวงพ่อเนียม วัดน้อย พิมพ์พระปิดตา

    </TD></TR><TR><TD vAlign=bottom align=middle>
    [​IMG]
    พระพุทธชินราช หลวงพ่อเนียม วัดน้อย พิมพ์พระประธานใหญ่

    </TD><TD vAlign=bottom align=middle>
    [​IMG]
    เครื่องราง- รูปถ่าย- ล็อคเกต หลวงพ่อเนียม วัดน้อย ตะกรุด

    </TD><TD vAlign=bottom align=middle>
    [​IMG]
    เครื่องราง- รูปถ่าย- ล็อคเกต หลวงพ่อเนียม วัดน้อย ลูกสะกด

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ปกติแล้ว ค่านิยมวัตถุมงคลของหลวงพ่อเนียมจะสูงมากๆ มากกว่าพระกรุบ้านกร่างของสุพรรณบุรีซะอีก โดยพระพิมพ์เศียรโล้นนั้นทะลุหลักแสนมาเป็นเวลานานแล้ว เพราะพุทธคุณพระของหลวงพ่อนั้น ขึ้นชื่อว่า หยุดมัจจุราจ อีกทั้งท่านยังเป็นอาจารย์ของหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน ซึ่งเป็นอาจารย์ของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ที่ทั้ง 2 องค์ก็มีวัตถุมงคลทะลุหลักแสน รวมถึงหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

    พุทธคุณแบบพระอรหันต์ยุคเก่าสุดยอดมากๆ

    องค์นี้มาพร้อมกับตลับเงิน + เกียรติบัตรรางวัลที่ 1

    ปกติแล้วในพื้นที่มีค่านิยมถึงหลักหมื่นกลางๆ

    องค์นี้ให้บูชาพิเศษ 13500 ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2010
  18. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    รายการที่ 442 พระตุ๊กตาเล็กตัดหกเนื้อทรายกรุพระธาตุนาดูน

    พระกรุสร้างสมัยทราวดีที่มีประสบการณ์ลือลั่นที่สุด ผู้หลักผู้ใหญ่ชอบเก็บกรุนี้กันมาก เพราะมีพุทธคุณที่แปลกอย่างไม่น่าเชื่อ คือสร้างความก้าวหน้าในหน้าที่การงานและเรื่องความปลอดภัยในการเดินทาง
    อภินิหารที่เกี่ยวข้องกับพญานาคในกรุนาดูนหาอ่านได้ทั่วไป

    และแม้ครูบาอาจารย์ยังศรัทธาพระจากรุนี้มากนัก เช่น พ่อท่านเมือง วัดป่ามัชฌิมกาวาส ที่หลายๆท่านเชื่อว่าเป็นพุทธภูมิ เมื่อเห็นพระกรุนาดูนก็ก้มกราบอย่างศรัทธาล้นพ้น


    ของแท้หายากขึ้นทุกวัน ใครมีก็เก็บหมดครับ

    องค์นี้ให้บูชา 2099 ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มิถุนายน 2010
  19. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    รายการที่ 443 โคนสมอกรุวังหน้า พิมพ์ซุ้มปราสาท (นิยมสุด สวยมากกกก)

    พระโคนสมอเนื้อดินกรุวังหน้ากรุงเทพ ความนิยมเป็นรองเพียงพระปิดตากรุวังหน้าเท่านั้น เนื่องจากพระมีขนาดใหญ่ เป็นพระสมัยที่รุ่นคุณปู่นิยมมาก มักถักลวดไว้คล้องคอ จนพระสวยๆนั้นหายากมาก องค์นี้ปิดทองเดิมแต่ในกรุ เดิมทีประวัติการสร้างพระกรุวังหน้าไม่สามารถหาผู้สร้างได้ จนในที่สุดสืบประวัติพบว่าวังหน้าเป็นศิษย์เอกของหลวงปู่เทพโลกอุดร อาจารย์ปถม อาจสาคร ผู้คร่ำวอดในวงการพระเครื่องเกินกว่า 60 ปี จึงสรุปว่าเป็นพระที่หลวงปู่ใหญ่อธิษฐานให้ ประกอบกับมีผู้ที่มีตาในหลายท่านตรวจสอบพระกรุวังหน้า พบว่าเป็นพระที่มีรังสีคล้ายฉัพรรณรังสี จึงเชื่อว่าไม่ใช่พระอรหันต์ระดับธรรมดาที่จะอธิษฐานพระได้เป็นแบบนี้

    องค์นี้สอบถามทาง PM นะครับ(ไม่ถึงหลักหมื่น แต่ต้องรอก่อนเพราะจะส่งประกวดงานที่ศาลปกครองให้ด้วยครับ)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. ปัญจ

    ปัญจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2009
    โพสต์:
    27,318
    ค่าพลัง:
    +87,993
    จองนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...