คลังเรื่องเด่น
-
ดูที่ใจของเรา แก้ที่ใจของเรา
พระพุทธเจ้าท่านให้มองตัวเอง ดูที่ใจของเรา แก้ที่ใจของเรา ใจของเรามีความชั่วอยู่หรือไม่ ? ถ้ามีก็ขับไล่ออกไป แล้วระมัดระวังไว้อย่าให้เข้ามา ใจของเรามีความดีอยู่หรือไม่ ? ถ้าไม่มี ก็ทำให้มีขึ้นมา ถ้ามีอยู่แล้ว ก็ทำให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป ต่างกันอยู่แค่นี้เอง ก็คือ แนวคิดทางโลก คิดแล้วไม่จบ จะกว้างบานปลายไปเรื่อย ๆ แนวคิดทางธรรมคิดแล้วจบ เป็นการย้อนเข้าหาต้นน้ำ
สรุปว่าปฏิบัติธรรมทั้งชีวิต เอาแค่นั้นก็พอ หาความชั่วให้เจอ ละความชั่วให้ได้ สร้างความดีให้เกิด ทำให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป ดูแล้วงานปฏิบัติธรรมมีนิดเดียว แล้วทำไมทำกันยากเย็นนัก ? สำคัญตรงที่ว่าเราต้องทำจริง ดูที่ตัวเอง แก้ที่ตัวเอง อย่าไปดูที่คนอื่น
เก็บตกบ้านเติมบุญ ต้นเดือนตุลาคม ๒๕๖๓
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. วัดท่าขนุน
www.watthakhanun.com
#ชุมชนคุณธรรม #วัดท่าขนุน #watthakhanun
#ig: wat.thakhanun #tiktok: @watthakhanun
#ชุมชนคุณธรรมวัดท่าขนุน
#ชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลื่อนด้วยพลังบวร
#พระพุทธศาสนาช่วยโลก #พระสงฆ์ช่วยสังคม
#พระครูวิลาศกาญจนธรรมดร... -
"เจตนา เป็นตัวศีล" (หลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถระ)
.
"เจตนา เป็นตัวศีล"
" .. "เจตนาหํ ภิกฺขเว สีลํ วทามิ เจตนา เป็นตัวศีล" เจตนา คืออะไร เจตนานี้ต้องแปลงอีกจึงจะได้ความ ต้องเอาสระ เอ มาเป็น อิ เอา ต สะกดเข้าไป "เรียกว่า จิตฺต คือจิตใจ คนเราถ้าจิตใจไม่มี ก็ไม่เรียกว่าคน" มีแต่กายจะสำเร็จการทำอะไรได้
ร่างกายกับจิตต้องอาศัยซึ่งกันและกัน "เมื่อจิตใจไม่เป็นศีล กายก็ประพฤติไปต่าง ๆ จึงกล่าวได้ว่าศีลมีตัวเดียว" นอกนั้นเป็นแต่เรื่องโทษที่ควรละเว้น โทษ ๕ โทษ ๘ โทษ ๑๐ โทษ ๒๒๗ "รักษาไม่ให้มีโทษต่าง ๆ ก็สำเร็จเป็นศีลตัวเดียว รักษาผู้เดียวนั้นได้แล้วมันก็ไม่มีโทษ" เท่านั้นเอง
ก็จะเป็นปกติแนบเนียนไม่หวั่นไหว "ไม่มีเรื่องหลงมาหาหลงขอ คนที่หาขอต้องเป็นคนทุกข์ ไม่มีอะไรจึงเที่ยวหาขอ" เดี๋ยวก็กล่าวยาจามิ ๆ "ขอแล้วขอเล่าขอเท่าไรยิ่งไม่มียิ่งอดอยากยากเข็ญ" .. "
"มุตโตทัย"
หลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถระ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๖ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๖ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๖ -
ทาน ศีล ภาวนา กระทำได้ด้วย กาย วาจา ใจ
สังฆทานคือการสละออกทางกาย
รักษาศีลเป็นการควบคุมกาย วาจา
ทำสมาธินี่ได้ทั้งกาย วาจา และใจ
....................................
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. วัดท่าขนุน
www.watthakhanun.com -
"ไม่สุขไม่ทุกข์ เรียกความสงบ" (หลวงปู่ชา สุภทฺโท)
.
"ไม่สุขไม่ทุกข์ เรียกความสงบ"
" .. มีความสุขเกิดขึ้นมา มีความทุกข์เกิดขึ้นมา "ท่านให้เห็นความสุขความทุกข์นี้มีราคาเท่ากัน" และก็เมื่อไปติดมัน ๆ ก็มีโทษเท่า ๆ กัน "สุขนี้ก็เป็นกิเลส ทุกข์นี้ก็เป็นกิเลส" ถ้าเราเห็นเช่นนี้เราจะอยู่ตรงไหน
"เราไม่อยู่ในสุขนี้ เราไม่อยู่ในทุกข์นี้ เราอยู่ตรงนี้ นี้คือความสงบ" ความสุขนี้ไม่ใช่ความสงบ ความทุกข์นี้ไม่ใช่ความสงบ "ความไม่สุขไม่ทุกข์นี้เรียกว่าความสงบ" นั่นพระพุทธเจ้าให้ตรัสรู้นั้น คือความสงบ นี้ถูกแล้ว .. "
"สุภัททานุสรณ์"
พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภทฺโท) -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๖ -
เราแก้กรรมไม่ได้ แต่.....เรา.............ตัดสายใยกรรมได้
ตัดสายใยกรรม
อะไรคือสาเหตุที่ชีวิตคนเราไม่เหมือนกัน?
วิธีการตัดสายใยกรรม
ชีวิต (ทุกคน) สามารถเปลี่ยนด้วยบทสวดจักรพรรดิ
อะไรคือสาเหตุที่ชีวิตของคนเราไม่เหมือนกัน?
ทำไมคนเราเกิดมาบางคนร่ำรวยบางคนยากจน บางคนสบายบางคนลำบาก บางคนเจอคนอิจฉาริษยาให้ร้ายอยู่เป็นประจำบางคนทำคุณคนไม่ขึ้น แล้วอะไรคือสาเหตุความต่างของชีวิตของคน?
หลวงตาตอบว่ามาจาก "กรรม"
กรรมคือ การกระทำการกระทำของตัวเองที่เกิดขึ้นจากอดีตส่งถึงปัจจุบัน รวมถึงปัจจุบันกรรม คนเราทุกคนล้วนแต่มีกรรมเป็นเหตุและปัจจัย สิ่งที่เกิดขึ้นทุกอย่างในชีวิตไม่มีคำว่าบังเอิญเกิดจากกรรมเป็นที่ตั้ง เราแก้กรรมไม่ได้แต่ "เราตัดกระแสสายใยแห่งกรรมได้"
หลวงตาอธิบายง่ายๆ ว่า เราเมื่อเกิดกรรมต่อกันจะเกิดสายใยแห่งการพัวพันกันอยู่ การตัดสายใยกรรมคือการตัดกระแสความพยาบาทความอาฆาตความจองเวรที่เราเคยทำต่อผู้ใดผู้หนึ่งหรือผู้ใดผู้หนึ่งมีต่อเรา เรากระทำเช่นนี้หมายความว่าเราตัดเหตุปัจจัย กรรมและสิ่งที่มีสายใยผูกพันกับเรา "อโหสิกรรมและอภัย" ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นที่เป็นกรรมที่มีต่อเรา รูปวิญญาณที่มีต่อเราและเรามีต่อเขา
วิธีการตัดสายใยกรรมทำได้ดังนี้
-... -
น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันปิยมหาราช
วันปิยมหาราช 23 ตุลาคมของทุกปี พสกนิกรชาวไทยน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ผู้มีพระราชสมัญญานาม “สมเด็จพระปิยมหาราช” อันหมายถึง พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน
วันนี้ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระเจ้าแผ่นดิน รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
...ผ่านมาแล้ว 113 ปี นับจากวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 จนถึง 23 ตุลาคม พ.ศ. 2566..
วันนี้ วันจันทร์ ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2566
ตรงกับ "วันปิยมหาราช" วันคล้ายวันเสด็จสวรรคตของของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
พระองค์ได้พัฒนาสยามประเทศจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็น การไฟฟ้า การไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ ฯลฯ ด้วยพระราชกรณียกิจที่ยังความผาสุกให้เกิดแก่ประชาชน ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงน้อมใจแสดงความจงรักภักดี ด้วยการถวายพระนามว่า “พระปิยมหาราช” หรือพระพุทธเจ้าหลวง
กราบสาธุ ...การเลิกทาส และ การเลิกไพร่ เป็นพระราชกรณียกิจอันสำคัญยิ่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นการยกเลิกระบบที่คนชั้นสูงตั้งขึ้น... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๖ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๖ -
พระเสลาเถรี | ผู้โต้ตอบกับมาร
พระเสลาเถรี | ผู้โต้ตอบกับมาร | มหาบุรุษ มหาสตรี ชุดที่ ๒ | เถรีคาถา
**********************************
อนุโมทนาและขอบพระคุณที่มา https://www.youtube.com/@Uttayarndham -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๖ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๖ -
อานิสงส์กฐินสำคัญที่ผ้าไตร
ในส่วนของงานกฐินนั้น ที่สำคัญอีกอย่างก็คือผู้ครองผ้ากฐิน ถ้าว่ากันโดยพระธรรมวินัยแล้ว ท่านให้บุคคลที่มีจีวรเก่าที่สุดในวัดได้ผ้านั้นไป แต่ว่าระยะหลัง ส่วนใหญ่เจ้าอาวาสมักจะเป็นผู้ครองผ้ากฐิน
เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ บางท่านถือว่าผู้ครองกฐินจึงมีสิทธิ์ที่จะรับบริวารกฐินทั้งหมด ผู้อื่นไม่มีสิทธิ์รับ เจ้าอาวาสก็เลยมักจะครองกฐินเสียเอง แต่ความจริงแล้วเป็นการเข้าใจผิด เพราะว่าบางวัดมีพระไม่ครบ ๕ รูป ไม่สามารถที่จะรับกฐินได้ ต้องไปยืมพระวัดอื่นมา
การไปยืมพระวัดอื่นมานั้น พระวัดอื่นที่มานั้น ไม่มีสิทธิ์ไม่มีส่วนในกฐินนั้นทั้งสิ้น ให้เฉพาะบุคคลที่จำพรรษาในวัดนั้นเท่านั้น ดังนั้น...จึงมีการเข้าใจผิดกันว่า ถ้าไม่ครองกฐินแล้วจะไม่มีโอกาสได้รับบริวารกฐิน ซึ่งก็คือไม่มีสิทธิ์รับเงิน ก็ขอให้เข้าใจให้ถูกเสียใหม่
สำหรับวัดท่าขนุนของเรานั้น ครองกฐินกันไปตามอายุพรรษา ก็คือถ้าปีนี้ไปถึงใคร ปีหน้าท่านถัดไปก็จะรู้เองว่าถึงคิวของตนเองครองกฐินแล้ว สำหรับผู้ครองกฐินนั้นต้องรับภาระหนัก เพราะว่าต้องเป็นผู้รักษาผ้าครองแทนพระทั้งวัด ในเมื่อเป็นผู้รักษาผ้าครองแทนพระทั้งวัด... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๖ -
"สติทำอะไรไม่ผิด" (หลวงปู่ขาว อนาลโย)
.
"สติทำอะไรไม่ผิด"
" .. "แก่นของธรรมแท้อยู่ที่สติ" ให้พากันหัดทำสติให้ดีให้สำเหนียกให้แก่กล้า "สติทำอะไรไม่ผิด" สตินี่ทำให้มันมีกำลังดีแล้ว "จิตมันจึงจะล่วง เพราะสติคุ้มครองจิต ตัวสติก็คือจิตนั่นแหละ" แต่ว่าลุ่มลึกกว่า
"ครั้นใจนึกขึ้นจึงเป็นตัวสติ ก็ใจนั่นแหละเป็นผู้นึกขึ้น เรียกว่าตัวสติ" ถ้ารู้นึกขึ้นนั่นแหละสติ "ตัวสติก็เป็นใจอันเดียวกันนั่นแหละ"
เพราะเหตุนั้น "เราควรอบรมสติ ครั้นทำสติให้แก่กล้า" ทำให้มันดีแล้วไม่มีพลาด "พูดก็ไม่พลาด คิดก็ไม่พลาด" ย่อมถูกไม่ผิด เพราะการทำเอาเอง .. "
"สติ"
หลวงปู่ขาว อนาลโย -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๖๖ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๖ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๖ -
"เห็นธรรมะ คือเห็นความเป็นจริง" (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
.
"เห็นธรรมะ คือเห็นความเป็นจริง"
" .. คำว่า "ธรรมะ" ในที่นี้หมายถึง "ของมีอยู่เป็นอยู่ในโลกนี้ทั้งหมด มันเป็นอยู่อย่างนั้น มีอยู่อย่างนั้น เรียกว่า ธรรมะ"
คำว่า "เห็นธรรมะ" คือ "เห็นจริงตามของที่มันเป็นเอง นั่นเอง มันเป็นอยู่อย่างไร" ให้เข้าใจว่า "มันเป็นอยู่อย่างนั้น เรียกว่า เห็นสภาพของธรรมะ"
ตรงนี้แหละ "เป็นของสำคัญเห็นได้ยาก" เพราะคนเรานั้นเห็นอะไร ดูอะไร ก็อยากจะดูของใหม่เรื่อยไป ของเก่าเลยลืมเสีย มันก็เลยไม่ซัดไม่เจนขึ้นมา "หากันไปเถิดหาธรรมะ หาเท่าไรก็หาไป ถ้าไม่เห็นสภาพตามเป็นจริงแล้ว" ก็ไม่เห็นธรรมะอยู่นั่นเอง .. "
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๖ -
สุมังคลชาดก ว่าด้วยคุณธรรมของกษัตริย์
" พระราชาเหล่าใด ทรงยินดีแล้วในทศพิธราชธรรม อันพระอริยเจ้าประกาศไว้ พระราชาเหล่านั้นเป็นผู้ประเสริฐด้วยกาย วาจา และใจ
พระราชาเหล่านั้น ทรงดำรงมั่นอยู่แล้วในขันติ โสรัจจะ และสมาธิ ย่อมถึงโลกทั้งสองโดยวิธีอย่างนั้น "
.
--- สุมังคลชาดก ว่าด้วยคุณธรรมของกษัตริย์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกายชาดก ภาค ๑
ขอบคุณที่มา
https://www.facebook.com/1000646029...ZpgbtDjahfKwwHsS3h6zy7QK39Kl/?mibextid=cr9u03 -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๖ -
"วันนวมินทรมหาราช" ครั้งหนึ่งที่พระมหาโพธิสัตว์มาเกิดเป็นกษัตริย์ไทย
เมื่อหลายสิบปีก่อน ครั้งที่มีข่าว
ในหลวงรัชกาลที่ 8 เสด็จสวรรคต
หลวงปู่เคยเล่าว่า
ท่านเกิดความสลดสังเวชมาก ว่าคนไทยหลายคน
"ยังขาดกตัญญูกตเวทิตาคุณต่อพระเจ้าอยู่หัว"
ท่านคิดอยู่เสมอว่า
ทำอย่างไรจะให้คนไทยมีความรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
องค์ท่านเองนั้น ตั้งแต่บัดนั้นจนกระทั่งทุกวันนี้
แม้กาลเวลาล่วงเลยไป
หลายสิบปี กิจวัตรอันหนึ่งที่ท่านทำอยู่มิได้ขาด
คือ การสวดมนต์ถวายพระพรแด่ในหลวงทุกวันตลอดมา
ขอให้พระองค์มีพระชนมายุยิ่งยืนนานเป็นมิ่งขวัญคนไทยตลอดไป
หลวงพ่อยังได้กล่าวไว้อีกว่า
"เพราะพระเจ้าแผ่นดิน(ร.9) ท่านปฏิบัติ(ธรรม)
ต่อไปพุทธศานาในเมืองไทยจะเจริญขึ้น
เพราะท่านเป็นผู้นำเป็นแบบอย่าง"
สมัยหนึ่งเมื่อหลวงปู่ดู่ ยังทรงสังขารอยู่นั้น
บ่ายของวันที่แดดร่มลมตก จู่ ๆ ท่านก็เปรย
กับคณะศิษย์ที่ประกอบด้วย "คนตาดี" หลายคนว่า
"พวกแกลองดูทีซิว่า มีพระรูปไหนอยู่กับในหลวงบ้าง"
เข้าใจว่าท่านคงหมายถึง กายทิพย์ หรือ บารมี
ที่พระมหาเถระแต่ละองค์อธิษฐานพิทักษ์รักษาในหลวง
ศิษย์ท่านหนึ่งก็ "เข้าที่" ตามหลวงปู่สั่ง พักหนึ่งก็ลืมตาแล้วตอบว่า
"หลวงพ่อเกษมครับ"
หลวงปู่ยิ้มแล้วว่า "นั่นองค์หนึ่งละ... -
กฐิน จัดเป็นสังฆทานที่จำกัดด้วยเวลา จึงมีอานิสงส์มาก
ช่วงนี้ต้องบอกว่าเป็นช่วงของบุญของกุศล โดยเฉพาะกฐินจัดเป็นสังฆทานและเป็นสังฆทานพิเศษเพราะจำกัดด้วยเวลา ทั้งปีมีสิทธิ์ทำได้แค่ ๒๙ วัน ก็คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ จนถึงกลางเดือน ๑๒ ข้างแรมนั้นมีแค่ ๑๔ วัน ข้างขึ้น ๑๕ วัน รวมแล้วแค่ ๒๙ วันเท่านั้น ในเมื่อเป็นสังฆทานจำกัดเขต ถ้าหากว่าใครได้ทำอานิสงส์ก็จะมีมาก โดยเฉพาะถ้าตั้งใจเป็นเจ้าภาพ ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปโดยยาก
ในส่วนของกฐินนั้น แบ่งออกเป็นหลายประเภท ถ้าแบ่งอย่างเป็นทางการ ท่านว่ามีกฐินหลวงกับกฐินราษฎร์
สำหรับกฐินหลวงนั้นมีทั้งกฐินต้น คือ กฐินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปทอดด้วยพระองค์เอง มีกฐินพระราชทานที่พระองค์ท่านพระราชทานผ้าให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จไปทอดแทน
ในส่วนของกฐินราษฎร์นั้นมีจุลกฐิน เป็นกฐินที่ต้องเตรียมการให้เสร็จภายในวันเดียว โดยเก็บฝ้าย ดีดฝ้าย ปั่นด้าย ทอและย้อม ตัดเย็บเป็นจีวรหรือสบงผืนใดผืนหนึ่ง สมัยก่อนไม่ได้มีผ้าให้ซื้อง่ายดายเหมือนสมัยนี้ สมัยเราต้องบอกว่าบุญดี ตอนอาตมาเด็ก ๆ กว่าจะทอได้แต่ละคืบแต่ละศอก ต้องว่ากันเป็นวันเป็นเดือน ยิ่งถ้าเป็นจุลกฐินด้วยแล้ว ต้องระดมกันมาทั้งหมู่บ้านหรือว่าทั้งตำบล... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๖ -
"เมืองไทยขโมยเยอะ" (หลวงปู่ชา สุภัทโท)
.
"เมืองไทยขโมยเยอะ"
" .. "หลวงพ่อเล่าถึงประสบการณ์ครั้งหนึ่งในอเมริกา" ให้ญาติโยมฟังว่า ..
อาตมาเคยไปสหรัฐ เขาให้ไปพูดในบ้านชาวคริสต์ ก็พูดตามภาษาเรานั่นแหละ เมื่อพูดจบลง คริสต์แก่ ๆ คนหนึ่งถามว่า "ท่าน .. ศาสนาพุทธอยู่เมืองไทย แต่ทำไมขโมยเยอะ" ใช่ .. จริง .. ยอมรับร้อยเปอร์เซ็นต์เลย .. "แต่ว่าขโมยเหล่านั้นไม่ใช่ศาสนา .. มันเป็นคน .. คนเป็นขโมย .. ไม่ใช่ศาสนาเป็นขโมย"
คนที่สอนศาสนาก็ไม่ให้ทำอย่างนั้น .. "ศาสนาก็ไม่ให้ทำอย่างนั้น .. แต่คนทำ .. ไมใช่ศาสนาทำ .. เขาตบมือให้เหมือนกัน" .. อาตมาอึงถามบ้างว่า "สหรัฐมีขโมยหรือเปล่า เขาไม่อยากตอบเหมือนกัน เพราะขโมยก็เยอะเหมือนกัน" .. "
"ใต้ร่มโพธิญาณ"
พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภัทโท) -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๖
หน้า 35 ของ 418