คลังเรื่องเด่น
-
ทุกข์เมื่อไร เราต้องค้นหาสมุทัย
ทุกข์เมื่อไร เราต้องค้นหาสมุทัย คือ เหตุของทุกข์นั้น ซึ่งเรียกว่าตัณหา
ตัณหา คือ อยากได้ อยากมี อยากเป็น ไม่อยากได้ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น
อาการของตัณหามีมากมายก่ายกอง เช่น อยากได้ความสุขจากการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การได้รส การได้สัมผัส การคิดปรุงแต่ง อยากได้ส่ิงที่ชอบให้มาก อยากได้คนเดียว อยากได้มากกว่าคนอื่น อยากได้เร็ว อยากได้ทันใจ อยากได้ยศ อยากได้เกียรติ อยากได้ชื่อเสียง อยากได้สิ่งที่เกินกำลังที่จะหามาได้ อยากได้สิ่งที่เกินวิสัยของมนุษย์ที่จะหามาได้หรือครอบครองได้ เช่น กายที่ไม่ต้องแก่ ไม่ต้องเจ็บ ไม่ต้องตาย ไม่อยากต้องมีสิ่งที่มีแล้ว ไม่อยากคบคนที่จำเป็นต้องคบ ไม่อยากอยู่ในชุมชนในสิ่งแวดล้อมของตน ไม่อยากให้ชีวิตเป็นอย่างที่มันเป็น อยากให้มันเป็นอย่างอื่น ไม่อยากให้คนรอบข้างทำอย่างนี้ พูดอย่างนี้ มองเราอย่างนี้ อยากให้เขาเป็นเหมือนที่เราคาดหวังเอาไว้ เหมือนที่เราชอบ
เราไม่ต้องกลัวว่าละตัณหาได้ชีวิตจะจืดชืด เพียงความอยากที่เร่าร้อนจางไปแล้ว ความอยากที่เป็นบุญเป็นกุศลสามารถเกิดขึ้น ทำหน้าที่ดลบันดาลใจแทนมันได้
พระอาจารย์ชยสาโร
ขอบคุณที่มา -
เคล็ดลับการสวดมนต์ให้ได้ผลดี
การสวดมนต์นั้น พวกเราต้องตั้งใจประกอบไปด้วยเมตตาธรรม ต้องการจะสงเคราะห์แก่สรรพสัตว์จริง ๆ ก็คือเสียงสวดของเราสามารถแผ่ไปได้กี่โลกธาตุ ก็ให้สรรพสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นได้รับประโยชน์ ได้รับความสุขด้วย ท่านที่อยู่ในกองทุกข์ ก็ขอให้ล่วงพ้นจากกองทุกข์ ท่านที่มีความสุข ก็ขอให้มีความสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป
กระแสที่ส่งออกไปพร้อมกับเสียงสวดต้องไปด้วยกัน ลักษณะเหมือนกับสายน้ำไหลเอื่อย ๆ ไปเรื่อย ไม่ได้สนใจว่าสองฝั่งน้ำจะมีใครดีใครชั่ว ตั้งใจอยู่อย่างเดียวว่าผู้ใดสามารถรับประโยชน์ได้ ก็ขอให้เขาเหล่านั้นได้รับ ถ้าสามารถสวดในลักษณะอย่างนี้ ท่านทั้งหลายจะพัฒนาตนเองขึ้นไปได้อีกหลายขั้น หลังจากนั้นจะพัฒนาไปเป็นการสวดมนต์เพื่อสร้างทิพจักขุญาณ สวดมนต์เพื่อทรงฌานสมาบัติ หรือว่าจะสวดมนต์เพื่อความหลุดพ้นเข้าสู่พระนิพพาน เมื่อทำได้แล้วจะค่อย ๆ ควานหาเจอเอง
....................................
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. วัดท่าขนุน
www.watthakhanun.com -
"ทุกข์ยากอยู่ที่กายกับใจนี้" (หลวงปู่ฝั้น อาจาโร)
.
"ทุกข์ยากอยู่ที่กายกับใจนี้"
" .. เดี๋ยวนี้คนเราไม่รู้จัก "ความชั่วสำคัญว่าดี" คนที่ดื่มสุราสาโท เล่นพ่งเล่นไพ่ การพนัน ขโมยโพยโจร "มันไม่รู้จักว่าดีว่าชั่ว" เมื่อลักเขาแล้ว เขาฆ่าไม่ใช่เหรอ มันดีที่ไหน เขาใส่คุกใส่ตะราง เรื่องมันเป็นอย่างงั้น "นั่นแหละไม่รู้จักความผิด" เหมือนกับแมลงเม่าบินเข้ากองไฟ "เรามีพุทธะ เรารู้แล้ว สิ่งใดชั่วเราก็ไม่ทำ เราทำแต่คุณงามความดี"
เพราะฉะนั้น "ให้เข้าถึงศาสนา" ชั้นศาสนา "แก่นศาสนา คือเข้าถึงศาสนา คือ เข้าถึงกาย เข้าถึงใจของเราที่กระทำ" นี่คือการประพฤติปฏิบัติ นี่เราเกิดมาก็มีเท่านี้ มีกายกับใจเท่านี้ "ทุกข์ยากก็ไม่มีอื่นยาก ยากกายกับใจนี้" .. "
"อาจาริยบูชา"
(หลวงปู่ฝั้น อาจาโร) -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๖ -
"ละความยึดถือได้ ทุกข์ใจมันก็ดับ" (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ)
.
"ละความยึดถือได้ ทุกข์ใจมันก็ดับ"
" .. บุคคลจะพ้นทุกข์ได้นั้น "ก็เพราะมาพยายามภาวนา ทำจิตใจให้สงบ" ทวนกระแสจิตเข้ามาในปัจจุบัน เห็นตามว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่ตัวตน อะไรเมื่อมันมาเห็นแจ้ง "มันก็ตื่นตัว รู้ว่าตนนั้นมาหลงอาศัยอยู่ในของไม่เที่ยง" มาอาศัยในสิ่งที่ บังคับไม่ได้ ไม่เป็นไปตามใจหวัง
เมื่อมันรู้ดังนี้ "มันก็ปล่อยวาง นี่แหละ ไม่ยึด ไม่ถือ" ไม่สำคัญว่าเป็นตัวเป็นตน "ก็เป็นอันว่า รู้จักต้นเหตุแห่งทุกข์ คืออุปาทานความยึดถือ" เมื่อละความยึดถือนี่ได้ "ทุกข์ทางใจมันก็ด้บไปหมดเลย" เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นเมื่อทราบ "ความจริงอย่างนี้แล้ว พึงพากันตั้งใจ ปาเพ็ญทางจิตใจนี้ให้เป็นไป" ดังแสดงมา .. "
"ธรรมโอวาท หลวงปู่เหรียญ"
พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ) -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๖ -
"ปฏิบัติธรรมเข้าถึงที่สุด คือใจ" (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
,
"ปฏิบัติธรรมเข้าถึงที่สุด คือใจ"
" .. พระพุทธศาสนาสอนให้ "เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม" ผู้ใดทำกรรมดีย่อมได้รับผลของกรรมดี ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลของกรรมชั่ว คนอื่นจะรับแทนไม่ได้ ๑
สอนให้ "ทำทาน" การสละสิ่งของของตนให้แก่สัตว์ อื่นแลบุคคลอื่น ด้วยจิตเมตตาปรารถนาความสุขแก่บุคคลอื่น ถึงวัตถุที่ให้นั้นจะเป็นของน้อยนิดเดียวก็ดี หากมากด้วยจิตเมตตาของก็จะเป็นของมากเอง ๑
สอนให้ "รักษาศีล" ด้วยจิตวิรัติเจตนางดเว้นตัวเดียว โดยมี "หิริ-โอตตัปปะเป็นมูลฐาน" จะเป็นศีล ๕-๘-๑๐-๒๒๗ ก็ตาม ถ้ามี "จิตวิรัติเจตนางดเว้นตัวเดียว" โดยมีหิริ-โอตตัปปะเป็นมูลฐานแล้ว เป็นอันถึงที่สุดของการรักษาศีลได้ทั้งนั้น ๑
"สมาธิ" สอนให้เห็นโทษของอารมณ์ที่เกิดมาอายตนะ ๖ ซึ่งมันแส่ส่ายไปยังโลกธรรมทั้งแปด เป็นทุกข์เดือดร้อน ไม่มีที่สิ้นสุด แล้วย่อมสละปล่อยวาง แล้วย้อนเข้ามาอยู่ที่จิตแห่งเดียว ๑
"ปัญญา" สอนให้ค้นคว้าสิ่งทั้งหมดที่มาปรากฏอยู่ที่จิต ทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดีให้เห็นเป็นแต่เกิดจากปัจจัย เมื่อปัจจัยในสิ่งนั้น ๆ ดับไปแล้ว สิ่งเหล่านั้น ๆ ก็ดับไปหมด จะเหลืออยู่แต่ธรรมสิ่งเดียว ๑... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๖ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๘ กันยายน ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๘ กันยายน ๒๕๖๖ -
"การพูดสำคัญจริง" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า)
.
"การพูดสำคัญจริง"
" .. "การพูดสำคัญจริง ๆ" เมื่อนึกถึงที่กล่าวมา "ถ้าเป็นการพูดจริง เป็นธัมมะจริง" แม้ผู้พูดจะยังไม่ถึงกับปฏิบัติได้จริงตามคำที่นำไปพูด "แต่ถ้าพูดได้ตรงตามความจริง จะเป็นเพียงท่องจำมา ก็ย่อมยังประโยชน์ให้เกิดได้" ไม่มากก็น้อย
"ผู้พูดจึงเป็นผู้มีบุญมีกุศลในระดับความตั้งใจที่เป็นบุญเป็นกุศล" ที่มุ่งเผยแผ่พระพุทธธรรม "มุ่งให้ผู้ได้ยินได้ฟังได้มีความรู้ ความเข้าใจในพระพุทธธรรม" ที่นำออกพูดให้ใคร ๆ ทั้งหลายได้ยินได้ฟังได้รับรู้ด้วย .. "
"แสงส่องใจ" ๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๖ -
บุคคลที่โกหก จักไม่กระทำความชั่วอื่นเลยนั้นไม่มี
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน เมื่อวันที่ ๑ ก.ค. ๒๕๖๖
วันนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ ๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ มีคนเก่าคนแก่ แต่ว่าไม่เก่าและไม่แก่มาก ก็คือท่านนายอำเภอนภเดช เกลียวศิริกุล พาครอบครัวมาเยี่ยม ในฐานะที่รู้จักคุ้นเคยและร่วมงานกันมาก่อน ต้องบอกว่าอำเภอทองผาภูมิของเราโชคดีมาก เพราะว่านายอำเภอแต่ละท่านที่มาอยู่ที่ทองผาภูมินั้น ล้วนแล้วแต่เอาการเอางานทั้งสิ้น แม้แต่บางท่านที่มาเพื่อรอเวลาเกษียณแท้ ๆ แต่ก็ยังทุ่มเททำการทำงานจนกระทั่งวินาทีสุดท้าย
เรื่องพวกนี้ เราทั้งหลายจำเป็นจะต้องดูและทำเป็นแบบอย่าง ท่านนายอำเภอนภเดช เกลียวศิริกุลก็ดี หรือว่าในปัจจุบันนี้ ท่านนายอำเภอชาคริต ตันพิรุฬห์ก็ตาม เมื่อรับหน้าที่อยู่นั้น ไม่ค่อยจะได้กลับบ้านกลับช่องกับใคร แม้กระทั่งวันเสาร์วันอาทิตย์ก็ออกไปคลุกคลีตีโมงอยู่กับชาวบ้าน
เมื่อทักท้วงว่าเป็นวันหยุดราชการ ท่านก็ยังบอกว่า "ผมรับเงินเดือนเต็มทุกวัน..!" ดังนั้น..ขึ้นชื่อว่าวันหยุดนั้นไม่มี มีแต่วันที่ต้องทำหน้าที่ถวายการรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท ดูแลความสุขความทุกข์ของประชาชน..!
ในเมื่อเป็นเช่นนั้น กระผม/อาตมภาพจึงกล่าวได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า... -
"การภาวนาคือ น้ำดับไฟ" (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
.
"การภาวนาคือ น้ำดับไฟ"
" .. เวลามันยุ่งมาก เราจดจ่อทางคำภาวนาของเราให้มาก "เช่นพุทโธ" ใครชอบคำไหนก็ตาม ตามแต่จริตนิสัยชอบ "พุทโธ หรือธัมโม หรือสังโฆ" หรือธรรมบทอื่นใดก็ตาม "ขอให้ถูกกับจริต ให้นำมาบริกรรม" ให้จิตเกาะอยู่กับคำบริกรรมนั้น
ให้รู้อยู่กับนั้น เช่น "พุทโธ ๆ ก็ให้รู้อยู่กับพุทโธ" สติควบคุมอยู่นี้ มันอยากคิดไปไหน บังคับไว้ไม่ให้คิด "คำว่า อยากคิดคือกิเลสละมันลากออกไป ให้อยาก ๆ นี่ละกำลังของกิเลส" มันอยากให้คิดนั้นคิดนี้
มันอยากเราก็ไม่ออกไป "เราบังคับไว้ไม่ยอมให้มันออก นี่เรียกว่าบังคับกัน" ในเบื้องต้นเป็นอย่างนั้น บังคับไม่หยุด เอ้าทางนั้นอยากมาก ทางนี้ตั้งใจบังคับมากเข้า "สักเดี๋ยวสู้ทางธรรมไม่ได้ แล้วค่อยสงบเข้ามา" สงบเข้ามาแล้วแน่วนิ่งนะ สงบแน่ว "ความคิดความปรุงที่เป็นเรื่องของกิเลสสงบตัวไปด้วยอำนาจของการภาวนา"
"นี้แหละที่เรียกว่าน้ำดับไฟ" คือจิตฟุ้งซ่านรำคาญ ผสมกับกองทุกข์ไปในขณะเดียวกัน "เราภาวนาบีบบังคับ พอจิตสงบมันก็เป็นน้ำดับไฟ ใจสบาย โล่ง" พากันจำทุกคน .. "
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๖ กันยายน ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๖ กันยายน ๒๕๖๖ -
ทำพุทธานุสติให้เป็นสมาบัติ
ทำพุทธานุสติให้เป็นสมาบัติ
-------------------------------------------
ที่มา https://www.youtube.com/@YorDhamma -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๕ กันยายน ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๕ กันยายน ๒๕๖๖ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๔ กันยายน ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๔ กันยายน ๒๕๖๖ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๓ กันยายน ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๓ กันยายน ๒๕๖๖ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๒ กันยายน ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๒ กันยายน ๒๕๖๖ -
สังเกตอารมณ์ใจเพื่อทิ้งนิวรณ์ / พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีฯ)
สังเกตอารมณ์ใจเพื่อทิ้งนิวรณ์
-------------------------
https://www.youtube.com/@buddhistsociety3720 -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๖ -
ข่าวชุมชนคุณธรรมวัดท่าขนุน (พระอาจารย์เล็ก) เดือนกันยายน ๒๕๖๖
ชุมชนคุณธรรมออนไลน์ Palungjit.org
เครือข่ายชุมชนคุณธรรมวัดท่าขนุน
ขอรวบรวมข่าวกิจกรรมการดำเนินงานของ
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. (พระอาจารย์เล็ก)
เจ้าอาวาสวัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
เพื่อให้ทุกท่านได้โมทนาบุญในการทำงานของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
และเพื่อให้ทุกท่านได้ศึกษารูปแบบการดำเนินงานของพระอาจารย์
ซึ่งท่านเป็นต้นแบบการทำงานของ ชุมชนคุณธรรมออนไลน์ Palungjit.org
ข่าวการดำเนินงาน เดือนกันยายน ๒๕๖๖ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๖
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๖ -
ความตายอยู่ใกล้ตัวเราแค่ลมหายใจเข้าออกเท่านั้น
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน เมื่อวันที่ ๔ ก.ค. ๒๕๖๖
วันนี้ตรงกับวันอังคารที่ ๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ มีข่าวที่น่าเสียใจของคณะสงฆ์อำเภอทองผาภูมิ ก็คือหลวงพ่อจอน (พระอธิการพรพจน์ กิตฺติวณฺโณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดดงโคร่ง มรณภาพด้วยโรคมะเร็ง ทั้งที่ก่อนหน้านั้นท่านไปผ่าตัดและให้คีโม บอกว่าอาการดีขึ้นแล้ว
กระผม/อาตมภาพก็ย้ำแล้วย้ำอีกกับญาติโยมหลายครั้งว่า เรื่องของมะเร็ง ถ้าหากว่าพูดกันตามแบบของเรา ไม่ใช่แบบของหมอ ก็คือ "มะเร็งนั้นมีตัว" ก็แปลว่าก้อนมะเร็งนั้นเป็นรัง เหมือนกับรังมดหรือว่ารังผึ้ง ถึงเวลาเราไปทำลายรังมดหรือว่ารังผึ้ง มดหรือผึ้งนั้นก็จะแตกฮือออกไป ก็แปลว่าถ้าไม่ได้ทำด้วยความระมัดระวัง จนสามารถกำจัดเชื้อได้หมดจริง ๆ โอกาสตายมีสูงมาก..! เพราะว่าเมื่อเชื้อแตกฮือออกไปทั่วตัว ก็กลายเป็นว่ามีการแพร่ระบาดหนักยิ่งขึ้น
เรื่องพวกนี้พูดไปแล้วหมอสมัยใหม่มักจะไม่เชื่อ เนื่องเพราะว่าหมอสมัยใหม่ไม่มีความเข้าใจ แม้กระทั่งเรื่องปกติ อย่างเช่นธาตุภายในร่างกายของเรา การเจ็บไข้ได้ป่วยคือธาตุใดธาตุหนึ่งบกพร่อง หมอสมัยใหม่ไม่ได้ศึกษาเรื่องพวกนี้มา ก็จ่ายยาให้มาตามอาการ... -
ปกิณกธรรมก่อนทำวัตรเย็น วันอาทิตย์ที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๖
ก่อนทำวัตรเย็น วันอาทิตย์ที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๖
ความเคยชินคือการยึดติดในรูปแบบหนึ่ง ฟังแล้วน่าตกใจไหม ? ทางด้านจิตวิทยาเขาบอกว่า ถ้าเราทำอะไรซ้ำ ๆ กันถึงสามวัน จะทำให้เราเริ่มเกิดความเคยชิน
ในการปฏิบัติธรรมนั้น ความเคยชินหมายถึงการทรงฌานได้ เขาถึงให้พวกเราสวดมนต์บ่อย ๆ ไหว้พระบ่อย ๆ ทำบุญใส่บาตรบ่อย ๆ พอถึงเวลาเคยชินแล้วไม่ได้ทำ จะรู้สึกผิดปกติจนระลึกถึงขึ้นมาได้เอง นับว่าเราทรงฌานในเรื่องนั้นแล้ว อย่างเช่นว่าทรงฌานในการรักษาศีล ทรงฌานในการให้ทาน
แต่ความเคยชินอย่างเรื่องของถิ่นที่อยู่ หรือว่าบรรดาวัตถุสิ่งของต่าง ๆ เป็นความเคยชินที่ทำให้เรายึดติด อย่างแค่อาสนะที่เรานั่งอยู่นี้ พอถึงเวลาตอนเช้าเรานั่งตรงนี้ ตอนบ่ายมีคนนั่งแทน เราจะรู้สึกว่าคนนั้นนั่งที่ของกู นี่คือความเคยชินที่เป็นการยึดติด..!
การยึดติดเป็นเรื่องที่อันตรายสำหรับนักปฏิบัติ เพราะว่าถ้าเป็นนักปฏิบัติธรรมแล้ว ยึดติดมากเท่าไร โอกาสหลุดพ้นก็น้อยลงเท่านั้น เหมือนแมลงติดใยแมงมุม เส้นสองเส้นยังพอมีหวังว่าจะดิ้นหลุดไปได้ แต่ถ้าติดทีทั้งกระจุกเลยก็จบ เสียชาติเกิดไปฟรี ๆ..!
ดังนั้น..ในเรื่องของความเคยชิน... -
ปกิณกธรรมก่อนทำวัตรเย็น วันเสาร์ที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๖
ปกิณกธรรมก่อนทำวัตรเย็น วันเสาร์ที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๖
ปีแรกที่อาตมภาพจำพรรษาเป็นหลักเป็นฐานที่ทองผาภูมิคือปี ๒๕๓๖ ฝนตกวันแรกวันที่ ๑๒ มิถุนายน ไปหยุดวันที่ ๒๐ ตุลาคม..! ตกทั้งวันทั้งคืนไม่หยุดเลยสักวันเดียว นั่นคือสภาพป่ายุคนั้น ยุคนั้นเขายังมีพวกทำไม้กันเยอะมาก
สมัยก่อนเขาบอกว่าข้าราชการมาอยู่ทองผาภูมิต้องยุ่งกับ สาม ม. ไม่ ม.ใดก็ ม.หนึ่ง ไม่ก็เอาหมดเลย คือ ม้า ไม้ มอญ
ม้า ก็คือ ค้ายาม้า (ยาบ้า)
ไม้ ก็คือ ทำไม้เถื่อน
มอญ ก็คือ วิ่งพวกต่างด้าวเข้าประเทศ ก็น่าคิดนะ..หัวละ ๒๐,๐๐๐ บาท รถกระบะหนึ่งคันยัดเข้าไปเกือบ ๒๐ คน..!
ไม้เถื่อนตอนนั้นยกละ ๑,๗๐๐ บาท - ๑,๘๐๐ บาท อาตมภาพสร้างเกาะพระฤๅษี วิ่งลงไปซื้อไม้ในเมืองกาญจน์ ยกละ ๗,๐๐๐ บาท ใคร ๆ ก็ว่าพระอาจารย์เล็กบ้า ไม้แค่ ๑,๗๐๐ บาท - ๑,๘๐๐ บาท มีเต็มป่า แต่วิ่งลงไปซื้อไม้ยกละ ๗,๐๐๐ บาทจากในเมือง แล้วกว่าจะขนขึ้นมาอีกล่ะ ?
แต่เขารู้ไหมว่า พระเราต้องรักศีล รักความเป็นพระของเรามากกว่ารักผลประโยชน์ เพราะพระเรามีราคาไม่เกิน ๙๙ สตางค์ ถึง ๑ บาทเมื่อไร ขาดความเป็นพระทันที..!
ไม้เถื่อนแปลว่าไม่ได้ตีตราชักลาก ไม่ได้เสียภาษี แล้วภาษีเท่าไร... -
ปกิณกธรรมก่อนปฏิบัติธรรมช่วงบ่าย วันอาทิตย์ที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๖
ก่อนปฏิบัติธรรมช่วงบ่าย วันอาทิตย์ที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๖
วันนี้นิสิตระดับปริญญาตรีที่มาเก็บข้อมูลชุมชน ต้องทำพรีเซนต์ร่วมกับเด็กอนุบาลในชุมชน ปรากฏว่าเด็กอนุบาลของเราพรีเซนต์ได้ดีกว่า เพราะนิสิตมัวแต่สั่น ส่วนเด็กอนุบาลของเราชั้นประถม ๔ ถึง ประถม ๖ พูดจ๋อย ๆ เป็นต่อยหอย ที่นิสิตสั่นก็เพราะว่าปกติเจอแต่อาจารย์ เต็มที่ก็แค่คณบดี แต่คราวนี้อธิการบดีก็มา รองอธิการบดีก็มา เจ้าของทุนวิจัยก็มา เลยสั่นไปหมด
อาตมาสอบสัมภาษณ์ครั้งแรกตอนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ พอให้สัมภาษณ์เสร็จ
ครูถามว่า "เคยให้สัมภาษณ์แบบนี้มาก่อนหรือเปล่า ?"
ตอบไปว่า "ไม่เคยครับ"
ครูบอกว่า "ท่าทางของเธอเหมือนคนให้สัมภาษณ์เป็นประจำ เพราะไม่ประหม่าเลย"
ก็เลยบอกไปว่า "อ๋อ..ครูสอนให้ผมพูดหน้าชั้นตั้งแต่ ป.๕ ครับ"
ครูถามต่อว่า "แล้วครูเขามีหลักการอะไร ?"
ตอบไปว่า "ครูเขาบอกว่า เพื่อนนั้นคือคนตาย เรากำลังพูดให้คนตายฟัง ไม่เห็นมีอะไรต้องไปประหม่าเลย..!"
แต่ปรากฏว่าทำไม่ได้ คนตายอะไรวะ มองตาแป๋วทุกคนเลย..?! ท้ายสุดก็เลยต้องใช้วิธีของตัวเอง คิดว่า "กูเก่งกว่ามึง กูถึงได้มาพูดหน้าชั้น..!"... -
ปกิณกธรรมก่อนปฏิบัติธรรมช่วงเช้า วันอาทิตย์ที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๖
ก่อนปฏิบัติธรรมช่วงเช้า วันอาทิตย์ที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๖
การซึมเศร้าเกิดจากการที่เราคิดแล้วหยุดความคิดไม่เป็น สังเกตดูสิว่าความคิดของเราจะมา ๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐ ครบรอบแล้วก็จะกลับมา ๑ ใหม่ ไม่ได้ไปไหนไกลเลย เรื่องเดิม ๆ วนไปวนมาสัก ๓ - ๕ รอบก็เริ่มคิดได้อย่างลึกซึ้ง..ก็คือคิดแล้วได้อารมณ์..ก็เริ่มซึม..แล้วเดี๋ยวก็จะเศร้า..+
อาตมาเองบวชใหม่ ๆ ความคิดก็ชวนให้สึก เดี๋ยวเราสึกไป แล้วทำงานหาเงิน ซื้อบ้านสักหลัง ซื้อรถสักคัน แต่งงานมีเมีย มีลูกสักสองคน แล้วก็กลับมาบวชใหม่ สักพักก็เอาใหม่อีกแล้ว ถ้าเราสึกไปนะ""เราก็ไปทำงานนี้ ซื้อรถยี่ห้อนี้ ซื้อบ้านหมู่บ้านนี้ แต่งงานกับสาวคนนี้ มีลูกสักสองคน แล้วเดี๋ยวมาบวชใหม่ พอจะวนรอบที่สามนึกขึ้นมาได้ "ไอ้เหี้..มึงกำลังบวชอยู่ไม่ใช่หรือ""!? แล้วมึงจะออกไปทำอะไร..!?" บังเอิญรู้ตัวเร็ว..เลยวนได้แค่สองรอบ รอบที่สามกำลังจะวน รู้ตัวก่อน..ด่าไปทีหูตาสว่างเลย..!
แล้วก็รู้ด้วยนะว่าถ้าพาไปไกลวัด เราจะไม่ไปด้วย ก็เลยอุตส่าห์ให้โอกาสกลับมาบวชใหม่ "แล้วมึงจะไปลำบากลำบนตั้งหลายปีทำไม ? ก็มึงบวชอยู่แล้ว..!" ลองกลับไปดูตัวเองนะ ที่นอนไม่หลับนั้น... -
ปกิณกธรรมก่อนปฏิบัติธรรมช่วงบ่าย วันเสาร์ที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๖
ก่อนปฏิบัติธรรมช่วงบ่าย วันเสาร์ที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๖
(หลังจากเสียงตามสายจบ) เมื่อครู่นี้หลวงพ่อฤๅษีฯ ท่านบอกเรื่องวาจาส่อเสียด มีศัพท์อยู่คำหนึ่งก็คือ "ไอ้หมอนั่น" เด็กรุ่นใหม่ ๆ ไม่ค่อยได้ยินคำนี้กัน ต้องเข้าใจว่าคนรุ่นเก่าถ้าถนัดหรือชำนาญอะไร เขามักจะเรียกเป็น "หมอ" แม้กระทั่งควาญช้างก็เรียกว่า "หมอช้าง" ทนายความก็เรียกว่า "หมอความ" แต่พอเอามาเรียกคนเข้าความหมายก็เพี้ยน ก็คืออยู่ในลักษณะเป็นคนกะล่อน "ไอ้หมอนั่น" ก็แปลว่าเขามีความเชี่ยวชาญในการกะล่อนมากเป็นพิเศษ
คำพูดเก่า ๆ หลายคำ พอไม่ได้ใช้ก็เลือนหายไป อย่างปัจจุบันนี้อาตมาไม่ได้ยินคำว่า "กระถ็อก" แล้ว มีใครเคยได้ยินไหม ? อย่างเช่นกระถ็อกน้ำปลา คือปกติแล้วจะตัดจุกขวดน้ำปลาให้รูใหญ่ไม่ได้ เดี๋ยวเทแล้วน้ำปลาจะออกมาเยอะเกินไป ต้องตัดรูเล็ก ๆ แต่พอรูเล็กเททีน้ำปลาก็ไม่อยากจะออก ถ้าเป็นเราก็เรียกว่าเขย่า..ใช่ไหม ? แต่ภาษาโบราณเขาเรียกว่า "กระถ็อก"
กลายเป็นว่าศัพท์บางคำหายไป ในขณะเดียวกันศัพท์ใหม่ ๆ ก็ปรากฏขึ้นมา แต่ศัพท์รุ่นใหม่ฟังแล้วเครียด เขาสามารถบัญญัติศัพท์ที่เราฟังไม่รู้เรื่องได้... -
ปกิณกธรรมก่อนปฏิบัติธรรมช่วงเช้า วันเสาร์ที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๖
ก่อนปฏิบัติธรรมช่วงเช้า วันเสาร์ที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๖
เรื่องแรก..ใครเอาร่มเจ้าอาวาสไปตั้งแต่เช้า ? อาตมาเดินตากฝนมา ๒ รอบแล้ว จะหยิบจะจับอะไรก็ให้มองดูเสียก่อน ว่าใช่ของตัวเองหรือเปล่า ? เพราะว่าร่มที่ทิ้งเอาไว้แล้วไม่ใช่ของตัวเองพระหยิบไม่ได้ ภิกษุหยิบฉวยสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ เคลื่อนจากฐานเศษ ๑ ส่วน ๑๖ ของเส้นผมต้องอาบัติปาราชิก..!
ไม่ใช่คิดว่า "เออ..ทิ้งของเราไว้ คนอื่นจะได้ใช้แทน" ไม่รู้ว่าป่านนี้รู้ตัวหรือยังว่าหยิบของเจ้าอาวาสไป อุตส่าห์กางไว้กับพื้นเพื่อให้ต่างไปจากคนอื่นเพราะว่าส่วนใหญ่เขาจะวางไว้บนที่วางรองเท้า แสดงว่าการปฏิบัติธรรมไม่ได้ช่วยให้ดีขึ้นเลย ยังมักง่ายอยู่เหมือนเดิม..!
เคยบอกเอาไว้หลายต่อหลายครั้งแล้วว่า การปฏิบัติธรรมเป็นการกระทำสิ่งที่ซ้ำ ๆ กันอยู่ทุกวัน แต่ว่าเราสามารถทำวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานได้ไหม ? แล้วก็มีเป้าหมายต่อไปว่า "เราต้องทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่าวันนี้" ไม่ใช่ว่าเมื่อไร ๆ สภาพจิตก็ยังหยาบอยู่เหมือนเดิม ทำอะไรก็ขาดความระมัดระวัง
เป็นโทษอื่นไม่เท่าไร แต่ถ้าโทษปรามาสพระรัตนตรัยจะปิดมรรคปิดผล ทำให้ตายก็ไม่มีประโยชน์...
หน้า 31 ของ 412