คลังเรื่องเด่น
-
“พวกยิ่งโกงยิ่งรวย เดี๋ยวกรรมก็ตามมันทัน” (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
“พวกยิ่งโกงยิ่งรวย เดี๋ยวกรรมก็ตามมันทัน”
(คติธรรม หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
คนบางพวกนั้นโกงจนรวย แต่พอรวยแล้ว ก็ยิ่งโกง แต่เหตุที่คนพวกนี้ยังไม่ได้รับผลกรรมชั่ว ก็เป็นเพราะคนพวกนี้มีบุญเก่าเยอะ ผลกรรมชั่วจึงยังส่งผลไม่ถนัด แต่ในไม่ช้าเดี๋ยวผลกรรมชั่วนั้นก็จะตามทันในที่สุด
หลวงพ่อพุธท่านจะเตือนสติ ไม่ให้นึกว่าบาปกรรมไม่มีจริง เพียงแต่มันยังไม่ส่งผล เราต้องเข้าใจ และอย่าไปนึกโกรธแค้นว่าทำไม คนเช่นนั้นยังได้ดิบได้ดีอยู่ เพราะจะเป็นทุกข์กับตัวเราเสียเอง ครั้งหนึ่งท่านสอนลูกศิษย์ เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
“พอเห็นเขามีบ้านสวย ก็สาธุ! ท่านมีบุญ ท่านจึงมีบ้านสวยๆ อยู่ เห็นเขารวย ก็สาธุ! ท่านร่ำรวย เพราะท่านมีบุญท่านจึงร่ำรวย แล้วถ้าเขารวยเพราะโกงมาล่ะ? ยังจะสาธุไหม?
หลวงพ่อท่านหยุดให้คิด ก่อนจะเฉลย
“ก็สาธุสิ เขามีบุญจึงโกงแล้วรวย เราโกงทีเดียวติดตารางจ้อย นี่ที่จริงเขารวยก็เพราะบุญเก่า (ซึ่งมีวันหมดได้) ของเขา”
____________________________________
หมายเหตุ: ถ้าคนเราไม่สร้างความดีให้เป็นนิสัย บุญเก่าย่อมมีวันหมดลงได้ แล้วถ้าใครมีญาณหยั่งรู้ สามารถตามรู้ตามไปดูพวกพาลชนเหล่านั้นที่ตายไปแล้ว... -
ประโยชน์และวิธีใช้คาถา "สุนักขัตตัง"
ประโยชน์และวิธีใช้คาถา "สุนักขัตตัง"
เอาล่ะตอนนี้ที่พูดกันมาก็เพื่อจะเตือนลูกเตือนหลาน ท่านพูดไปตามเสียงผมพูดว่า
ลูกหลานถ้าจะเจริญพระกรรมฐานให้มีผลและมีกำลังจริงๆ เวลายามว่างก็หมั่นปลุกตนปลุกตัวให้มันขึ้นตามลำดับ นั่นก็คือเป็นการหัดฝึกสมาธิที่เป็นการดึงกำลังใจให้เป็นสมาธิได้ง่ายและรวดเร็ว
เพราะการปลุกตัวนี่เป็นจริยาคล้ายทำเล่นๆ แต่ทว่าผลจริงๆ คือกำลังสมาธิจะตั้งมั่น การฝึกทิพพจักขุญาณก็ดี การฝึกทางด้านฤทธิ์ก็ดี เช่น มโนมยิทธิหรืออภิญญา ถ้าฝึกตนได้ดีแล้วจะฝึกด้านนี้ได้ง่ายๆเป็นของง่ายและก็แจ่มใสรวดเร็ว
การปลุกตัวนี่เขาก็จะต้องใช้กำลังปลุกตัวด้วยกำลังของใครคนใดคนหนึ่งที่เราพึงมีความชอบใจ เช่นในสมัยนั้นเขานิยมพระสยามเทวาธิราช แต่ความจริงสมัยนั้นเขาไม่เรียกว่าพระสยามเทวาธิราช อย่างว่าในสมัยพระพันวษานี่ เขานิยมปลุกคือเชิญวิญญาณของพระเจ้าอู่ทองบ้าง เชิญวิญญาณของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์บ้าง เชิญวิญญาณของพ่อขุนผาเมืองบ้าง เชิญวิญญาณของพ่อขุนรามคำแหงบ้าง อย่างนี้เป็นต้น
เมื่อนึกถึงท่านแล้วก็ปลุกตน ท่านถามนะว่า หัวใจที่ปลุก จะให้ท่านผู้นี้ใช้กำลังจิตของท่านมาสู่ในตน... -
อยู่บ้านเจริญกรรมฐานต้องสมาทานไหม
อยู่บ้านเจริญกรรมฐานต้องสมาทานไหม
ลูกศิษย์ : หลวงพ่อคะ พอเวลาเราเจริญพระกรรมฐานที่บ้าน เราต้องสมาทาน
พระกรรมฐานทุกครั้ง ใช่ไหมคะ
หลวงพ่อ : ก็ตามใจ เวลามีก็สมาทาน ถ้ามีความมั่นคงดีก็ไม่เป็นไนะ ก็ไม่แน่นักบางคนที่มีความคล่องตัว ไม่ทันจะสมาทาน จิตเป็นสมาธิเลย นี่ใช้ได้แน่นอนนะ
ถ้าทางที่ดีใหม่ๆ ยังไม่มั่นคง ตอนเช้าก็สมาทานเสียก่อน สมาทานครั้งเดียวในวันนั้น ทำกี่ครั้งก็ได้ ไม่ต้องทำไม่ต้องสมาทานบ่อยๆนะ ทางที่ดีเช้าว่าเสียก่อนเลย ถ้าไม่รีบเกินไป
เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ตอนตื่นถ้าไม่สายเกินไป ก็สมาทานเลย คุ้มไปยันถึงวันพรุ่งนี้ สมาทานครั้งเดียว แล้วต่อไปไม่ต้อง ตลอดวันตลอดคืนนะ สมาทานนะ
สมาทานในตอนต้นว่ามอบกาย ถวายชีวิต นั่นก็หมายความว่าคำสั่งสอนใดที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ จะไม่ฝืน ให้เป็นไปตามขั้นตอนนะ
อันดับแรกเราก็จับอารมณ์ พระโสดาบันก่อน พยายามเอาให้ได้ พระโสดาบัน มีความสำคัญที่ศีล 5 เท่านั้นเอง ถ้าทรงศีล 5 ได้อย่างเดียว อารมณ์ตั้งใจ พระนิพพาน เป็นของไม่ยากใช่ไหม เพราะมีอยู่แล้ว เท่านั้นแหละ
(จากหนังสือ รวมคำสอนธรรมปฏิบัติ เล่ม 10 หน้า 513) -
การเจริญมหาสติปัฏฐาน
การเจริญมหาสติปัฏฐาน
ผู้ถาม : แล้วเรื่อง "มหาสติปัฏฐานสูตร" หมายความว่าบุคคลนั้นจะต้องเจริญอยู่เป็นนิจใช่ไหมครับ?
หลวงพ่อ : อ๋อ..ใช่ๆ มหาสติปัฏฐานสูตร หมายความว่าเป็นทางตรงแนวไปนิพพาน ถ้าเราจะอ่านทั้งหมดมันก็พัง จำไม่ได้
เขาต้องดูจุดท้ายคือใช้อารมณ์ตัดจริงๆ เขาใช้อารมณ์ไม่หนัก เบาๆ ถ้าเราไม่เข้าใจก็มาอ่านหนังสือทุกตัว ไปไม่รอด ในมหาสติปัฏฐานทั้งหมดแหละลงท้ายตัวเดียว พอลงท้ายก่อนจะสอนว่า
"เธอทั้งหลายจงอย่าสนใจกายในกาย คือ กายของเราเอง"
คำว่า "ไม่สนใจ" นี่เวลามีชีวิตอยู่เราสนใจ เราเลี้ยงมัน เรากินยาหาอาหาร มันหนาวมันร้อนเราก็ต้องประคับประคองอีก ถือว่าเป็นของธรรมดา
แต่ไอ้คำว่า "ไม่สนใจ" ในที่นี้หมายความว่า ถ้ามันสิ้นลมปราณแล้วเมื่อไรเราไม่สนใจมันอีก ถือว่ามันมีโทษ เวลานี้เราถือว่าเรามาเกิด เรามาเกิดเพราะถูกขัง เพราะทำความผิดมา แล้วไอ้ความผิดเช่นนี้การตัดสินใจผิด มันจะไม่มีข้างหน้า เรายอมรับโทษที่เราหลงผิดมาในกาลก่อนแค่ชาติเดียว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ตัดสินใจแค่นี้และต้องการพระนิพพาน
ความจริงเขาดูตัวสุดท้าย พระพุทธเจ้าสอนต้องดูตัวลง บางทีท่านเทศน์ชาดก เทศน์เสียยาวเหยียด... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
"คนแจวเรือ" (ท่านพ่อลี ธัมมธโร)
"คนแจวเรือ"
" .. "ร่างกายเปรียบเหมือนกับเรือ ดวงจิตเปรียบเหมือนคนที่แจวเรือ" ต่างคนต่างทำหน้าที่คนละอย่าง แต่ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน "มีแต่เรือไม่มีคนแจว ก็ไม่สำเร็จประโยชน์" มีคนแจวแต่ไม่มีเรือก็ไปไม่รอด
ฉะนั้น "จึงจำเป็นต้องรักษาเรือไว้ให้ดี ถ้าจิตดีกายก็ดีด้วย ถ้าจิตเสียกายก็เสื่อม" ต้องรักษาไว้ให้ดีทั้งสองอย่าง "เราจึงจะข้ามไปถึงฝั่งได้" .. "
ท่านพ่อลี ธัมมธโร -
ธรรมฤทธิ์แห่งพระมหาสาวกโมคคัลลานะ
อนุโมทนาและขอบพระคุณที่มา https://youtube.com/@tripitaka-th?si=uQO5Ap8f9Exk0lfU -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
ใจของใครคนนั้นต้องขัดเกลาเอง ครูบาอาจารย์เป็นเพียงผู้ชี้แนะเท่านั้น
เรื่องของการปฏิบัติธรรม จุดที่สำคัญที่สุดก็คือสร้างสติให้เกิด ให้ตัวเราตื่นรู้อยู่ตลอดเวลา ทั้งหลับและตื่นมีสติรู้เท่ากัน ถ้าทำยังไม่ถึงจุดนี้ การปฏิบัติธรรมของเราแทบจะไม่มีผล เนื่องเพราะว่าสิ่งที่เราระมัดระวังรักษาเอาไว้ในช่วงกลางวัน จะไปหลุดหมดเกลี้ยงตอนกลางคืน
บางคนกิเลสงอกงามมากกว่าปกติอีก กลางวันระมัดระวังศีลทุกสิกขาบท แม้แต่มดยังพยายามที่จะเลี่ยงไม่เหยียบ กลางคืนเผลอหน่อยเดียว ฝันว่าเขาฆ่าเขาทั้งกองทัพเลย..! บางคนกลางวันสำรวมมาก แม้แต่เพศตรงข้ามยังไม่กล้ามองตรง ๆ กลางคืนฝันว่าปล้ำลูกชาวบ้านเขาไปเรียบร้อยแล้ว..!
นั่นคือการที่เราขาดสติ ถ้าหากว่าสติเราสมบูรณ์อยู่ หลับและตื่นจะมีความรู้สึกเท่ากัน หลับอยู่ก็รู้ว่าตัวเองตอนนี้กำลังหลับ หลายคนได้ยินเสียงตัวเองกรนด้วย..! เพียงแต่ว่าต้องรักษาเอาไว้ให้ต่อเนื่องตามกัน ถ้าเผลอสติหลุดไป เดี๋ยวสภาพจิตที่โดนเก็บกดมาตอนกลางวัน ก็จะไปอาละวาดอีก..!
บุคคลที่ทำได้คล่องตัวแล้วจึงได้ชื่อว่า พุทโธ คือ ผู้ตื่น ภัทเทกะรัตโต คือ ผู้มีราตรีอันเจริญ เพราะว่าสภาพจิตอยู่กับคุณงามความดีตลอดเวลา ไม่ปรุงแต่งไปในด้าน รัก โลภ โกรธ หลง... -
"บางคนก็นับถือด้วยความกลัว" (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ)
"บางคนก็นับถือด้วยความกลัว"
" .. ในอนุสติ ๑๐ ข้อ "เทวตานุสติ" นั้นก็ไม่ใช่ให้คิดให้นึกถึงเทพยดาเป็นที่เคารพนับถืออย่างใด "ท่านให้ระลึกถึงคุณธรรมความดีอันใดที่ส่งผลให้ได้ไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม" นั้น ๆ "คนทั้งหลายยังตีความหมายในคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ไม่ถูกนะ" มีเยอะแยะอยู่ อาตมาก็ยังหมั่นพูดให้คนฟังได้เข้าใจ ไปเทศน์ที่ไหนก็พยายามสอนให้เข้าใจ
การนับถือเทวดา อินทร์ พรหมหรือภูตผีปีศาจเหล่านี้ "บางคนก็นับถือด้วยความกลัว อย่างนี้แหละ ความกลัวนี้เป็นเหตุ" ทำให้คนเราเที่ยวนับถือในสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้โดยการเล่าลือกันว่า "ผีตรงนั้นดุนะ ถ้าไม่กราบไหว้ หรือไม่บูชาด้วยดอกไม้ธูป เทียนไม่ได้เชียวนะ" พอมีผู้หนึ่งโฆษณาไว้อย่างนี้ "คนอื่นก็พากันกลัวตามตื่นกลัวโดยไม่ใช้ปัญญา" ได้แต่ทำตามอย่างกันไป เมื่อจะไปที่นั่นต้องมีดอกไม้ ธูปเทียนไปบูชา จึงผ่านไปได้
อย่างทางที่จะไปอำเภอหล่มสักจากจังหวัดเพชรบูรณ์ เคยมีคนพูดว่า "ริมแม่น้ำเลยนั้นใสนิ่งน่ากลัวอยู่เหมือนกันแหละ" แต่ต่อมามีการสร้างศาลเจ้าที่ริมฝังแม่น้ำเลยตรงนั้น "ก็มีธรรมเนียมใหม่ขึ้นมา ใครเดินทางไปถ้าไม่มีพวงมาลัย ไม่มีดอกไม้ไปบูชาไม่ได้เลย... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
ตัวตายแต่จิตไม่ตาย
ตัวตายแต่จิตไม่ตาย
ผู้ถาม : ดูหนังทีวีเรื่องหนึ่ง เขาตายแต่จิตยังไม่ถึงคราวตาย ก็วนเวียนและไปเข้าร่างหนึ่งที่ตายใหม่ๆไปอยู่แทน จะเป็นไปได้ไหมคะ ?
หลวงพ่อ : ก็ต้องไปถามทีวีดู
ผู้ถาม : ถามหลวงพ่อดีกว่าเจ้าค่ะ
หลวงพ่อ : หลวงพ่อไม่รู้จะตอบยังไงน่ะซิ เรื่องจริงก็มีอยู่รายเดียว
เจ้าคุณราชสุทธาจารย์ ท่านตายแล้ว วิญญาณของท่านมาช่วยงานเผาศพตัวท่านเอง
เวลาเขาเผาเสร็จ เขาก็เดินทางกลับบ้าน ท่านก็เดินกลับด้วย ก็นึกถึงน้องสาวว่าเมื่อเราป่วยใหม่ๆ น้องสาวกำลังคลอดบุตรกำลังอยู่ไฟ ก็แวะเข้าไปเยี่ยมน้องสาว
น้องสาวเห็นหน้าเข้า ก็บอก "พี่เล็งตายแล้วไปสู่ที่ชอบๆเถิด อย่าได้มากวนเลย"
ท่านก็เลยบอกว่าเวลานั้นรู้สึกอายน้องสาว เราไปเยี่ยมแต่เขากลับเห็นว่าเราเป็นศัตรู ก็
ถอยหลังออกมา พอถอยหลังออกมาประตู ก็หมุนติ้วทรงตัวไม่อยู่ล้มลง ล้มลงก็ไปเข้าร่างกายของเด็กซึ่งเป็นลูกของน้องสาว
ทีนี้ก็มีปัญหาถามท่านว่า ไอ้คนเราเกิดมาก่อน จิตวิญญาณมันมีอยู่แล้วใช่ไหม แล้ว
จิตวิญญาณดวงนี้มันเข้าไปซ้อนกันได้ยังไง
ท่านก็บอกว่ามีบาลีในอภิธรรมบอกว่า "ปุเร ชาโต ปัจฉา ชาโต"
เขาแปลว่าเกิดก่อนหรือเกิดหลัง
"ปุเร ชาโต"... -
พระจับสตางค์
พระจับสตางค์
มีอีกข้อหนึ่งบรรดาญาติโยมพุทธศาสนิกชน มาพูดเรื่องพระหยิบสตางค์ว่า มีสำนักหนึ่งหลายสำนักทีเดียว ถ้าเข้าไปปฏิบัติในสำนักนั้นล่ะ ห้ามหยิบสตางค์ ถ้าใครเขานำเอาสตางค์มาถวาย มีทายกเก็บไว้ใช้ ความจริงข้อนี้น่าจะอ่านพระวินัยให้เข้าใจชัดไม่ใช่ของลี้ลับ
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงบอกไว้แล้วว่า
"รับเงินเองก็ดี ให้บุคคลอื่นรับก็ดี หรือให้บุคคลอื่นเก็บไว้เพื่อตนก็ดี เป็นอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์เหมือนกัน"
ถ้าอย่างนั้นละก็จะไปนั่งหลอกชาวบ้านเพื่อประโยชน์อะไร ทำตนเป็นเคร่ง ใครเขาถวายสตางค์เข้ามาหยิบไม่ได้ แต่ก็รู้อยู่ว่าสตางค์อยู่ที่ตาคนนั้นตาคนนี้ ตาคนนั้นตาคนนี้เก็บไว้ให้ อาบัติมันเท่ากัน นี่ทำแบบนี้มันก็เป็นมายาเป็นอุปกิเลส นี่มันเสีย 2 ทาง
อาบัติ "นิสสัคคิยปาจิตตีย์" ก็เป็นด้วย และก็เสียในด้าน "มุสาวาท" โกหกชาวบ้านอีกด้วย จิตใจทำเพื่อโอ้อวด เป็น "อุปกิเลส" ฝ่ายธรรมะ
โดนเข้าไป 3 ต่อ กระสุดนัดเดียวได้ นกระยำ 3 นก เรียกว่าได้ทั้งแร้ง ทั้งเหี้ย ทั้งกามาเลย ดีไหม...อย่างนี้ก็เจริญพรซิ หรือบรรลัยพรก็ไม่แน่ ไม่เป็นเรื่อง ไม่ควรแก่การปฏิบัติจริงๆ... -
"การอุทิศบุญ" (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
"การอุทิศบุญ"
" .. การอุทิศนี้เป็นของสำคัญนะ อุทิศด้วยการกรวดน้ำก็ดีไม่กรวดน้ำก็ได้ "สำคัญที่อุทิศทางใจ" น้ำนี้เป็นสักขีพยานกายนอกต่างหาก "หลักอันใหญ่โตจริง ๆ คือใจ น้ำใจต่างหาก" นี้หลักของธรรมแท้เป็นอย่างนี้ .. "
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน -
โมทนาบุญ ได้อานิสงส์ไม่น้อยกว่า 90 เปอร์เซ็นต์
โมทนาบุญ ได้อานิสงส์ไม่น้อยกว่า 90 เปอร์เซ็นต์
ผู้ถาม : สมมุติว่าคนอื่นเขากำลังถวายสังฆทานหลวงพ่อ ลูกก็แอบไปจับข้างหลัง เพื่อเป็นการถวายไปในตัวด้วย แบบนี้จะมีอานิสงส์เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์หรือไม่เจ้าคะ ?
หลวงพ่อ : บาปซิไปจับเขานี่ เป็นบาปนะนี่ เฉพาะยกทรงทำ บาป คนอื่นเขาทำไม่บาป
นี่นะแสดงว่เขายินดีด้วย ใช่ไหมล่ะ ก็เป็น "ปัตตานุโมทนามัย" แต่ความจริงไม่ต้องเหนื่อยก็ได้นะ นั่งยินดีเฉยๆจะดีกว่า พนมมือไหว้ก็แล้วกัน
ผู้ถาม : อ๋อ ไม่ต้องแตะหน้าแตะหลัง
หลวงพ่อ : ไปแตะเข้าคนนั้นรำคาญเขาจะเตะเอาล่ะซิ
ผู้ถาม : ทีนี้เวลาที่คนอื่นเขาทำบุญกับหลวงพ่อ เราก็ยกมือโมทนา โมทนาๆ อย่างนี้เราก็ได้อานิสงส์เต็มที่
หลวงพ่อ : โมทนานี่ อานิสงส์เขาได้ ไม่น้อยกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ที่ตั้งใจจริงๆนะ
ถ้าเจ้าของทานเป็นพระอรหันต์ชาติไหน คนนั้นก็เป็นพระอรหันต์ชาตินั้นเหมือนกัน ไม่ใช่เรื่องเล็ก ใหญ่มาก
แต่ว่าถ้าโมทนาแบบยกทรงนะ นั่งโมทนาๆๆ อย่างนี้ถูกเตะ เขารำคาญ ยกมือเฉยๆ ตั้งใจเรียบๆ ใช่ไหม เวลานั้นเขามีพระพุทธรูปไปด้วย ควรจะนึกถึงพระพุทธเจ้า ที่ฉันไหว้เวลาเขาถวายสังฆทาน ฉันไห้วพระพุทธเจ้าท่าน
ผู้ถาม :... -
ทำไมวิมานของหลวงพ่อจึงมี 3 หลัง
ทำไมวิมานของหลวงพ่อจึงมี 3 หลัง
เออ นี่เขาถามมากแล้ว ฉันจะคุยบ้างนะ เมื่อคืนวานซืนนี้ฉันว่าง เพราะอะไรรู้ไหม ไข้มันกิน ไข้กินตอนตี 2 เราก็ว่างจะไปไหนดี
ท่านสหัมบดีพรหมท่านพาไปที่นิพพาน ท่านบอกว่า คุณทราบไหมว่าวิมานของคุณทำไมจึงมี 3 หลัง
บอก ยังสงสัยนานแล้วหลายปีแล้ว มาทีไรก็ใช้หลังนี้หลังเดียว สองหลังไม่ได้ใช้
ท่านบอกว่า ใช่ ท่านบอก คุณสังเกตหรือเปล่า มาทีไรคุณใช้หลังนี้นะ
อีกหลังข้างหน้านั่นคือพระพุทธเจ้าประทับ จริงๆแล้วพระพุทธเจ้าท่านประทับหลังนั้น
อีกหลังใหญ่ พระอรหันต์มารวมพร้อมเลย เจ้าของไม่รู้หลายปีแล้ว เพิ่งรู้เมื่อคืนนี้เอง
"แล้วบริวารไว้ไหนล่ะครับ ไม่มีอีกหลังให้บริวาร ?"
หลังใหญ่นั่นให้บริวาร บริวารที่นั่นต้องเป็นอรหันต์ ที่อื่นไม่มีหรอก
(จากคอลัมภ์ "สนทนาที่สายลม" ธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ 139 เดือนกันยายน 2535 หน้า 35) -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
ท้าวสักกะ(พระอินทร์)กับพระพุทธเจ้า/ เรื่องของท้าวสักกะทั้ง๑๗เรื่องในพระไตรปิฏก
ท้าวสักกะ(พระอินทร์)กับพระพุทธเจ้า
เรื่องของท้าวสักกะทั้ง๑๗เรื่องในพระไตรปิฏก
ที่มา https://www.youtube.com/@Tripitaka-TH -
จับลมหายใจไปพระนิพพาน
หายใจเข้าครั้งหนึ่ง หายใจออกครั้งหนึ่ง นึกถึงภาพพระองค์ท่าน นึกถึงคำภาวนา ก็คือเราใกล้พระนิพพานไปก้าวหนึ่ง หายใจเข้าใกล้พระนิพพานไปก้าวหนึ่ง หายใจออกใกล้พระนิพพานไปก้าวหนึ่ง
ให้ตั้งใจว่า...ขึ้นชื่อว่าร่างกายที่เต็มไปด้วยความทุกข์นี้ เราไม่ขอเกิดมามีมันอีก ขึ้นชื่อว่าโลกที่เต็มไปด้วยความทุกข์ยากเร่าร้อนนี้ เราไม่ขอมาเกิดอีก การเป็นเทวดาเป็นพรหม ที่มีสุขชั่วคราว เราก็ไม่ปรารถนา ตายเมื่อไร เราขอไปอยู่พระนิพพาน กับพระองค์ท่านเท่านั้น
.....................................
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. วัดท่าขนุน
www.watthakhanun.com -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
ใจของใครคนนั้นต้องขัดเกลาด้วยตนเอง
เรื่องของการปฏิบัติธรรม จุดที่สำคัญที่สุดก็คือสร้างสติให้เกิด ให้ตัวเราตื่นรู้อยู่ตลอดเวลา ทั้งหลับและตื่นมีสติรู้เท่ากัน ถ้าทำยังไม่ถึงจุดนี้ การปฏิบัติธรรมของเราแทบจะไม่มีผล เนื่องเพราะว่าสิ่งที่เราระมัดระวังรักษาเอาไว้ในช่วงกลางวัน จะไปหลุดหมดเกลี้ยงตอนกลางคืน
บางคนกิเลสงอกงามมากกว่าปกติอีก กลางวันระมัดระวังศีลทุกสิกขาบท แม้แต่มดยังพยายามที่จะเลี่ยงไม่เหยียบ กลางคืนเผลอหน่อยเดียว ฝันว่าเขาฆ่าเขาทั้งกองทัพเลย..! บางคนกลางวันสำรวมมาก แม้แต่เพศตรงข้ามยังไม่กล้ามองตรง ๆ กลางคืนฝันว่าปล้ำลูกชาวบ้านเขาไปเรียบร้อยแล้ว..!
นั่นคือการที่เราขาดสติ ถ้าหากว่าสติเราสมบูรณ์อยู่ หลับและตื่นจะมีความรู้สึกเท่ากัน หลับอยู่ก็รู้ว่าตัวเองตอนนี้กำลังหลับ หลายคนได้ยินเสียงตัวเองกรนด้วย..! เพียงแต่ว่าต้องรักษาเอาไว้ให้ต่อเนื่องตามกัน ถ้าเผลอสติหลุดไป เดี๋ยวสภาพจิตที่โดนเก็บกดมาตอนกลางวัน ก็จะไปอาละวาดอีก..!
บุคคลที่ทำได้คล่องตัวแล้วจึงได้ชื่อว่า พุทโธ คือ ผู้ตื่น ภัทเทกะรัตโต คือ ผู้มีราตรีอันเจริญ เพราะว่าสภาพจิตอยู่กับคุณงามความดีตลอดเวลา ไม่ปรุงแต่งไปในด้าน รัก โลภ โกรธ หลง... -
"ท่านปฏิบัติไม่ยึดไม่หมาย" (หลวงปู่ชา สุภัทโท)
"ท่านปฏิบัติไม่ยึดไม่หมาย"
" .. พระรูปหนึ่งบอกว่า "เป็นนักปฏิบัติ เมื่อมาขออยู่กับอาตมา" ถามถึงระเบียบปฏิบัติ อาตมาจึงอธิบายให้ฟ้งว่า "เมื่อมาอยู่กับผม จะสะสมเงินทองและสิ่งของไม่ได้ผมถือตามวินัย" ..
ท่านพูดว่า : "ท่านปฏิบัติไม่ยึดไม่หมาย"
อาตมาบอกว่า : "ผมไม่ทราบกับท่าน"
ท่านเลยถามว่า : "ถ้าผมจะใช้เงินทอง แต่ไม่ยึดไม่หมายจะได้ไหม"
อาตมาตอบว่า : "ได้ ถ้าท่านเอาเกลือมากินดูแล้วไม่เค็มก็ใช้ได้"
ท่านจะพูดเอาเฉย ๆ เพราะท่านขี้เกียจรักษาของ จุก ๆ จิก ๆ นี่มันยาก "เมื่อเอาเกลือมากินท่านไม่เค็มแล้ว ผมจึงเชื่อ" ถ้ามันไม่เค็มจะเอามาให้กินสักกะทอ (เข่งเล็ก) ลองดู มันจะไม่เค็มจริง ๆ หรือ "เรื่องไม่ยึดไม่หมายนี้ ไม่ใช่เรื่องพูดเอง คาดคะเนเอา" ไม่ใช่ "ถ้าท่านพูดอย่างนี้อยู่กับผมไม่ได้" ท่านจึงลาไป .. "
"หมือนกับใจคล้ายกับจิต"
พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภัทโท) -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๗ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๗
หน้า 12 ของ 412