ใครหาทางหลุดพ้นได้แล้วบ้างช่วยแนะนำที

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย nunnapath, 26 มีนาคม 2009.

  1. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ใครหาทางหลุดพ้นได้แล้วบ้างช่วยแนะนำที...ประโยคต้น

    แตกต่างจาก ใครหลุดพ้นแล้ว แสดงว่า เพียงแต่หาทางได้ แต่ยังไม่หลุดพ้น

    ก็สามารถแสดงความคิดเห็นได้น่ะ
     
  2. nunnapath

    nunnapath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    280
    ค่าพลัง:
    +256
    ขอถามหน่อยค่ะ มีมั้ยค่ะผู้ปฏิบัติธรรมแล้วไม่เกิดซึ่งปัญญา
     
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    มีครับ ส่วนใหญ่จะเป็นแบบ ทำกรรมฐานใดก็ได้ จะวิปัสสนา หรือ สมถะกรรมฐาน
    ก็ได้ ทำแล้ว แทนที่จะเห็นตามจริง ณ ขณะปฏิบัติเป็นหลัก จะมีลักษณะออกมา
    จากการปฏิบัติแล้ว แล้วก็มานั่งคิดทบทวน

    ว่าตะกี้มีอย่างนั้น เมื่อขณะนั้นมีอย่างนี้ มีแบบนี้ไปตรงพระสูตรนั้น มีแบบนั้น
    ฉันได้ทำตามพระสูตรนี้

    เรียกว่า เกิดอภิสังขารมาร หรือ ความคิด มาช่วยเราหาทางพ้นทุกข์ แบบนี้จะ
    ไม่เกิดปัญญาอะไรที่จะเอาไปใช้ทำการหลุดพ้น

    มันจะทำได้แค่ปลอบประโลมเป็นครั้งคราวไป ทั้งพาไปจมทุกข์ และพาไปนิ่งๆว่างๆ
    หรือไม่ก็พาฝุ้งซ่านไปเลย

    ปัญญา หากเกิด มันจะเงียบ ไม่มีการตรึก มีแต่ความเข้าใจ ยอมรับความพลัดพราก
    โดยที่ไม่เลือกเอาอะไรอย่างหนึ่ง ทิ้งไว้อย่างหนึ่ง ฉวยเอาอย่างหนึ่ง แต่มันจะเป็น
    กลางเพราะเข้าใจลึกๆ ด้วยสติ สัมปชัญญะ

    * * * *

    แต่มีบางกรณี ผมเคยเห็น จขกท เคยปรารภว่า ได้ผ่านจุดที่เห็นอะไรเป็นจำนวนมาก
    ผุดให้รู้ ให้เห็น แต่หลังจากนั้นก็รู้สึกว่า ไม่ได้อะไรมา แถมยังต้องเห็นแบบเดิมๆอีก

    คล้าย เห็นอยู่ลึกๆ ว่า ขาดอะไรไปอย่างหนึ่ง เพราะขาดอะไรบางอย่างนั้นไป เลยทำ
    ให้ไม่เห็นจริง ก็ต้องชี้ว่า ภาวะนี้ คือการเข้าสู่เจโตวิมุตติ แต่ขาดปัญญาวิมุตติ ที่ขาด
    ปัญญาวิมตติ เพราะขาดการทำวิปัสสนา สติปัฏฐาน จึงทำให้ขาดการเห็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญ

    คือ การเห็นอริยสัจจ มันเหมือนเห็นว่านั่นทุกข์ แต่ยังไม่แจ้งพอว่านั่นคือทุกขสัจจ

    ทีนี้ การเห็นทุกขสัจจ อริยสัจจ หรือ การเข้าไปยังภาวะการเห็นอันวิเศษ มันไม่ใช่ว่าจะ
    เข้าไปเห็นได้ง่ายๆ ด้วยการจงใจทำ

    เราจึงต้องเพียร ปฏิบัติแบบถวายชีวิตให้กับพระพุทธองค์

    ภาวนาง่ายๆแต่ทำกันปางตายครับ จงใจก็ไม่ได้ ไม่ทำเลยก็ไม่ได้

    :)

    * * *

    ถ้าสภาวะที่ผมอุปทานบรรยายไป มันใกล้เคียง ก็ต้องบอกเพิ่มนะครับว่า อย่าไปยึดมั่น

    หากเคยพลาดไปแล้ว ส่วนใหญ่ต้องเริ่มต้นภาวนากันใหม่หมด คนที่เดินเข้าไปสู่สังขารุเบกขาญาณ
    แล้ว ไม่เกิดมรรคผลตัดสิน จะล่วงลงมานับ 0 กันใหม่ หลายท่านทีเดียวที่ไปอาลัยสภาวะที่เคย
    เห็น ไปพยายามจดจำสภาวะนั้นเพื่อให้ได้อย่างเดิม ตรงนี้จะโดนนิวรณ์หลอกให้เห็นอยู่ครับ

    จึงควรยอมปฏิบัติใหม่ โดยทำใจว่า เริ่มจาก 0 ทุกวันที่ตื่นขึ้นมาในเช้าวันใหม่

    * * * *

    เมื่อมาถึงวรรคนี้แล้ว ดูลงไปนะครับว่า ตอนนี้กำลังคิดอยู่หรือเปล่า กำลังตรึก
    หรือเปล่า กำลังตามใจอภิสังขารมารอยู่หรือเปล่า หากมี ก็ต้องอราถนาคำครู
    บาอาจารย์มาให้ฟังครับ

    "ผู้รู้ ผู้รู้ สงสัยอะไร ปฏิบัติไปเถอะ"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2009
  4. nunnapath

    nunnapath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    280
    ค่าพลัง:
    +256
    เป็นการรู้ ละ วาง และพร้อมที่จะว่างหรือเปล่าค่ะ สภาวะตนเองตอนนี้รู้สึกทุกอย่าง เดี๋ยวเกิดและก็ดับ หาใช่ความยั่งยืนไม่ รอบตัวเราบางทีก็เห็นว่ามี แต่บางทีก็หายไป เราเป็นเรา
    เห็นเป็นเห็น ไม่อยากปรุงแต่ง เพราะถ้าปรุงแต่งเป็นทุกข์ทันที
    (ปัญญา หากเกิด มันจะเงียบ ไม่มีการตรึก มีแต่ความเข้าใจ ยอมรับความพลัดพราก
    โดยที่ไม่เลือกเอาอะไรอย่างหนึ่ง ทิ้งไว้อย่างหนึ่ง ฉวยเอาอย่างหนึ่ง แต่มันจะเป็น
    กลางเพราะเข้าใจลึกๆ ด้วยสติ สัมปชัญญะ) เป็นคำตอบที่ชอบมาก
     
  5. Srijun

    Srijun Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    437
    ค่าพลัง:
    +71
    เหอๆ ตามมาอ่าน

    ในนี้มาอ่านอย่างเดียว เพราะ
    ในนี้ต้องการหลุดพ้น
     
  6. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ถ้ากล่าวออกมาว่า ชอบมาก ก็แปลว่าน่าจะเข้าใจธรรมครับ

    แต่มันติดตรงไหน หากดูตามคำพูด ไปเกิด วิภวตัณหาเข้า ไม่อยากปรุง

    ตรงนั้นคือการดีดไปอีกข้าง แต่เป็นตัณหาตัวเดิม แต่มันทำกริยา ไม่เอาแทน
    การเอา ซึ่งมันก็คือ เอาความไม่เอา

    นี่กิเลสมันร้ายครับ อย่าไปกลัวครับ รู้ทุกข์ไปตามจริงเท่านั้น คือทาง

    อย่าไปปฏฺเสธการเห็น ไม่เป็นกลางต่อมัน อย่าเอามือไปผลักมัน หากเรา
    เอามือไปผลักมัน มันก็ติดมือเราอยู่ครับ แม้จะไม่ได้กำก็เถอะ
     
  7. Srijun

    Srijun Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    437
    ค่าพลัง:
    +71
    ใครไม่อยาก หลุดพ้น ขอให้ยกมือขึ้น


    ล้อเล่นคับ
     
  8. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ก็ยังไม่ไวนี่เล่า จึงเห็นอย่างนั้น
    ก็ ใครไปห้ามว่า ปัญญาเกิดแล้วจะต้องอยู่อย่างนั้นหละ
    ปัญญาเกิดแล้วดับไปแล้ว จะใช้สังขารหรือสัญญาต่อจากนั้น จะไปห้ามทำไม
     
  9. nunnapath

    nunnapath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    280
    ค่าพลัง:
    +256
    อืมเข้าใจแล้วค่ะ ทำไมต้องต้องหนี ทำไมต้องไม่อยากเห็น แล้วถ้าผลักออกไปก็ต้องติดอยู่ที่มือเราเองยิ่งลำบากเข้าไปอีก เราต้องหยิบมาพิจารณาสิ ต้องพิจาณาแล้วจะเห็น....อืมเข้าใจแล้วทุกอย่างต้องพิจารณาแล้วปัญญาจะตามมา...เริ่มเบาแล้วสิตอนนี้..ขอบคุณค่ะ
     
  10. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    แต่ถ้า ยังเกิดความกลัวอยู่นะครับ มีอุบายในการซ้อมชก อุบายทำให้ใจแข็งแกร่ง
    มีกำลัง

    คือ การภาวนาในขณะที่ใช้ชีวิตประจำวัน มันจะมีกิเลส สังขารปรุงแต่งทั้งดี และ
    ไม่ดีเต็มไปหมด เราก็เอามาซ้อมระลึกดู ระลึกเห็นการมีสังขารเหล่านั้น ซึ่งการ
    ใช้รูปแบบชีวิตประจำวันนั้น เราจะปล่อยไปตามเหตุ ตามผลของการใช้ชีวิต

    ตรงนี้จะช่วยขจัดการจัดเตรียมเหต การปรุงเหตุขึ้นมาดู เพราะปัจจัยชีวิตนั้นส่วน
    น้อยครับที่จะได้อย่างใจ เราก็อาศัยการเกิดของมันมาเป็นอุบายเรียนธรรมะซะ

    เราก็จะเหมือนคนที่ไม่จงใจจะระลึก จงใจจะปฏิบัติ จะออกแนวเผลอแล้วรู้ ก็ต้อง
    ระวังเรื่องผิดศีลไว้ หากมันปรุงแต่ในใจเราก็ดูมันไป ซ้อมชำเลือง ซ้อมเป็นกลาง
    ต่อการปรุงแต่ง หากรู้ทันการปรุงแต่งแล้วเราก็ไม่แทรกแซงไปดับมัน เราทำอย่าง
    มีสติรู้ตัว แค่นี้ก็พอแล้ว จะเห็นว่านี่จะเป็นสมถะเล็กๆ น้อยๆ ที่ใช้เป็นวิหารธรรมได้
    เหมือนกัน แต่เป็นแบบ ลักขณูปณิชฌาณ แปรไปตามลักษณะความไม่เที่ยง ซ้อม
    ทีเดียวเห็นได้ทั้งไตรลักษณ์ และความเป็นกลางต่อสังขารธรรม
     
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    แจ่ม ที่เหลือก็เอาไปปฏิบัติให้เห็นจริงนะครับ ( จะเกิดความสว่างจริงๆ )

    ตอนนี้ความแจ่มมันเกิดจาก ความเข้าใจที่อาศัยคิด ( มันแค่ให้ความเบาจากการละทิฏฐิอะไรสักอย่าง )

    "เมื่อไหร่รู้ เมื่อนั้นไม่คิด เมื่อไหร่คิด เมื่อนั้นไม่รู้ แต่ก็ต้องอาศัยคิด"
     
  12. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ของอะไรที่ เรารู้จักใช้ ก็ต้องรู้จักมัน
    คือ จิตนี้แหละ ต้องรู้จักใช้มัน

    เวลามันมีกำลังมาก ก็ให้รู้จักธรรมที่ระงับมัน
    เวลามันมีกำลังน้อย ก็ให้รู้จักธรรมที่ กระตุ้นมัน

    เมื่อ เข้าใจสภาวะมัน จากที่มันเคยวิ่งไปทางนั้นทางนี้ ก็ค่อยๆ ดับ ลงๆ
    ด้วยปัญญา ที่เห็น ไตรลักษณะในจิตนั้น เมื่อดับมาย่นย่อเข้ามา ก็ลงเหลือ สมาธิ คือ สภาวะนิ่งอยู่ รู้อยู่เห็นอยู่ แต่มันก็เป็นเอกคตาจิต มันจะมองมันจะเห็นอะไร มันก็เหมือนไม่ได้เห็น ไม่ได้มอง เพราะใจนี้มันเป็นเอกคตาอยู่ ไม่ต้องไปเตือนตนว่า รู้เฉยๆ เห็นเฉยๆ
    มันต้องเป็นของมันเอง เพราะมันเป็นเอกคตาอยู่

    แต่หากว่า จิตยังไม่เป็นเอกคตา ยังมีกำเริบ แล้วบอกว่า ให้รู้เฉยๆ ดูเฉยๆ เรียกว่า ประมาท
    และ หากว่า เพิกทุกอย่างไป เรียกว่า สมถะ คือ พยายาม อยู่กับความไม่มีอะไร นั่นแหละ เรียกว่า อาิกิญจัญญา ของแท้ เพราะว่า การจะเพิกทุกอย่างไป แล้ว จิตนิ่งอยู่มันจะต้องมีอะไรที่ให้จิตนั้นยึด การที่จิตปัด สิ่งที่เป็นนามธรรมออกไปทั้งหมด แสดงว่า จิตจะต้องมี ที่ตั้ง คือ อากิญจัญญายตนะ ซึ่งเป็น อรูป แต่ ปัญหาคือ อรูปนั้นผิดทางเพราะไม่ได้ตั้งอยู่ด้วย สมาธิ ด้วยความฟุ้ง
     
  13. nunnapath

    nunnapath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    280
    ค่าพลัง:
    +256
    ขอบคุณท่านอ.ขันธ์น๊ะค่ะ เพราะจิตมันซน เลยต้องหมั่นดูแล ก็คงไม่แตกต่างจากเด็กอยากรู้อยากเห็นน๊ะค่ะ
     
  14. nunnapath

    nunnapath เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    280
    ค่าพลัง:
    +256
    ข้าพเจ้ามีความสนใจเรื่องของสภาวะจิตหากมีการตายเกิดขึ้นเมื่อตายแล้วจิตของเราจะไปอยู่ที่ไหน แล้วจะเกิดเลยหรือว่าลอยอยู่อย่างนั้น แล้วจิตมีวันดับหรือไม่ แล้วจะจุติในเวลานานหรือไม่ รบกวนผู้รู้ช่วยให้ความกระจ่างด้วยน๊ะค่ะ
     
  15. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ในทางอภิธรรม หรือ พุทธศาสนา จิตไม่ใช่ดวง ไม่ใช่วิญญาณเที่ยวล่องลอย

    ไม่ใช่จตดวงหนึ่ง ไปเกิดเป็นหมู ไปเกิดเป็นคน ไปเกิดเป็นเทพ ไปเกิดเป็นเทวดา

    สิ่งที่เรียกว่า หมู เทวดา คน ทั้งหมดเรียกว่า ชาติ-ภพ

    ก่อนจะพูดถึง ชาติ ขอ ย้อนไปชี้คำว่า ภพ ก่อน

    เมื่อก่อน จขกท ก่อนที่จะพบความเบาสบายของจิต จะเห็นว่า เป็นเพราะตอนนั้น
    จิตยึดมั่นการเห็นบางอย่างอยู่ และเมื่อพบสภาวะจิตที่เบา นั่นคือ บางสิ่งที่ยึดถือ
    ก่อนหน้านั้นได้วางลงไป อะไรก็ตามที่ละ คลายออกไปจากการยึดมั่น การหยั่งลง
    ไปถือโดยจิต เรียกว่า ภพ

    ดังนั้น เมื่อเราปฏิบัติได้ถูกต้อง ความเบาจะเกิด นั่นแปลว่า เราได้ทำลาย ภพ ที่
    หนักแก่จิตลงไปแล้ว เมื่อปล่อยๆไปมากๆ ภพหนักๆเหล่านั้นจะไม่ปรากฏให้จิต
    หยั่งลงไปอีก ทำให้ไม่เกิดการเกิด ชาติ ที่ครองภพเล็ก น้อยๆ ที่หนักเหล่านั้น

    ภพ ชาติที่เหลือจึงค่อยๆ เบาขึ้น ลอยขึ้น เรียกว่า มีภพ และ ชาติ เป็นสุคติ

    จะเห็นว่า จะเป็นลักษณะของ จิต ที่หยั่งลงไปใน รูป-นาม บางอย่าง แล้วทันที
    ที่จิตหยั่งลงไปในรูปนาม จะทำให้เกิด ขันธ์5 อัตโนมัติทันที และความหนัก
    นั้นคือ สภาพของขันธ์5 นั่นเอง

    แต่ทำไมเห็น ขันธ์5 หนักแล้ว เรายังวางขันธ์5 ไม่ได้ ก็เพราะ เรายังไม่แจ้ง
    ในจิตว่าแท้จริง จิตมันคือของหนัก เพราะว่า หากมีจิต ก็ต้องมีขันธ์5 การที่
    เราภาวนามาได้ ก็จะทำได้แค่เห็นขันธ์5 เป็นของหนัก แต่เราจะยังไม่มีทางเห็น
    ราชรถอันวิจิตรอันเนื่องมาจากการมีจิตเป็นของหนัก เรายังหวงแหน และลังเล
    และสงสัย และกลัวจะไม่มีจิต ตรงนี้จะเรียกว่า ภวภูตญาณ อาทีนวญาณ หรือ
    หากเบื่อในการมีสังขาร มีขันธ์5 ก็เรียกว่า เกิด นิพพิททาญาณ ซึ่งญาณหรือ
    ความรู้นี้จะปรากฏแก่นักปฏิบัติธรรมที่เจริญสติ ยกวิปัสสนาญาณมาได้ถูกต้อง

    สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือ หากเกิดสภาวะธรรม เบื่อการมีสังขารก็ดี กลัวไม่มีจิตก็ดี
    เห็นภัยในการมีสังขารก็ดี ให้ระลึกรู้ลงไปว่ามันมีอารมณ์ปรากฏ เอามาระลึกรู้
    ไปเหมือนๆ กับ สังขาร ตัวหนึ่ง ที่เกิดจากจิตไปรู้เข้า ดูไปเรื่อยๆ จะค่อยๆเข้า
    สู่ความเป็นกลางต่อการปรุงแต่งทั้งอกุศล และ กุศล เป็นกลางด้วยปัญญาที
    ละเล็ก ละน้อย
     
  16. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    ตามที่ข้าพเจ้าเข้าใจและศึกษามา

    จิตนี้เองเป็นตัวบันทึกข้อมูลต่างๆไว้ แล้วนำไปเกิดในภพภูมิต่างๆตามกรรมที่ได้กระทำมา ขึ้นอยู่กับว่ากรรมใดให้ผลก่อนหลัง กรรมใดมีกำลังมากน้อย
    ดังนั้นจิตของเราไม่อาจไปอยู่ที่ไหนได้ นอกจากสังสารวัฏแห่งนี้นี่เอง

    จิต เมื่อตายหรือละออกจากรูปขันธ์ ก็จะเกิดเลยทันที ที่เรามักเรียกกันว่าสัมภเวสีนั้น แท้จริงแล้วก็คืออีกภพภูมิหนึ่ง ดังนั้นจิตจึงลอยอยู่อย่างนั้นไม่ได้ ต้องเกิดเป็นสัตว์ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเท่านั้น

    จิต ที่มีอวิชชา ส่งผลให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยมีเชื้อให้พาเกิดพาตาย ที่เรียกว่า อาสวะกิเลส (อาสวะขยญาณเป็นปัญญาที่ประหารตรงนี้) จิตในแง่ของอภิธรรม มีเกิดดับอยู่ตลอดเวลา สืบต่อกันเป็นสันตติ ซึ่งมีการถ่ายทอดความรู้ความจำต่อๆกันไป ความเกิดดับเร็วมากจนเห็นว่ามันเหมือนเป็นจิตเดียวกัน
    หากคำถามที่ว่า จิตมีวันดับไหมในแง่ที่ว่า ดับสนิท ไม่เกิดมาอีก ก็น่าจะตอบว่า มี นั่นคือ การสืบต่อกันเป็นสันตติได้ขาดออกจากกันไปแล้ว ไม่มีจิตที่เกิดต่อไปอีก ดับสนิทไม่เหลือ นี่คือสภาวะ นิพพาน(อนุปาทิเสสะนิพพาน) เป็นของเที่ยง ส่วนที่เหลือนอกจากนิพพาน ไม่เที่ยงทั้งหมด

    การจุติ-อุบัติ เกิดขึ้นต่อกันทันที ไม่ต้องรอเวลาอะไรเลย...
     
  17. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    โหยยย มาแย้งตอบก่อนเรา หุๆๆๆ
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ลองฟังธรรมของพระอาจารย์ปราโมทย์ ดูนะคะ

    พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช
    ถาม: เคยได้ยินหลวงพ่อเล่าพระสูตรหนึ่งว่า
    มีเทวดาไปถามพระพุทธเจ้าว่าพระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร
    พระพุทธองค์ตอบว่าพระองค์ไม่พัก และพระองค์ไม่เพียร
    อยากจะเรียนถามว่า โอฆะคืออะไรคะ

    กิเลสที่เราต้องข้ามให้ได้ เค้าเรียกว่าโอฆะ จะเรียกอาสวะก็ได้ มีอยู่ ๔ ตัว
    โอฆะแปลว่าห้วงน้ำ หมายถึงกิเลสที่เหมือนเราหล่นลงไปแล้วจมน้ำตายอยู่ในนั้นเลย
    พาให้เราจมตายอยู่ในสังสารวัฏ เวียนตายเวียนเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกนั่นเอง
    อาสวะเป็นกิเลสที่ยั่วย้อมใจทำให้กิเลสอย่างอื่นเข้ามาครอบงำจิตใจได้

    องค์ธรรมของโอฆะหรือองค์ธรรมของอาสวะเป็นอันเดียวกัน
    คือมีกาม มีทิฏฐิ มีภพ มีอวิชชา มี ๔ อย่างนี้
    มันเหมือนทะเลใหญ่ ๔ ทะเล เราจะต้องข้ามให้ได้ถ้าจะข้ามสังสารวัฏนะ
    ข้ามห้วงมหรรณพอันใหญ่ ในทะเลใหญ่นี้มีทะเลย่อยๆ อยู่ ๔ อัน ต้องข้ามให้ได้
    แต่ละอันข้ามยากมากเลย

    ทะเลอันที่ ๑ ชื่อว่าทิฏฐิ โอฆะอันที่ ๑ ชื่อ ทิฏฐิ
    ทิฏฐิคือความเห็นผิด เช่น เราเห็นผิดว่าตัวเรามีอยู่จริงๆ
    พอร่างกายนี้ตายไป จิตใจที่ไปเกิดใหม่ ยังเป็นจิตใจคนเก่าอยู่
    จิตใจดวงเดิมไปเกิดใหม่ อันนี้เป็นมิจฉาทิฏฐินะ ชื่อสัสสตทิฏฐิ
    แท้จริงจิตไม่ได้ไปเกิดใหม่ จิตเกิดขึ้นตรงนี้ก็ดับตรงนี้
    เกิดตรงตาก็ดับที่ตา เกิดที่หูก็ดับที่หู เกิดที่ใจก็ดับที่ใจนั่นเอง จิตเกิดดับอยู่อย่างนี้ตลอด
    เหมือนเวลาที่เราตาย จิตดวงสุดท้ายในชีวิตนี้เรียกว่าจุติจิตดับลงไปปั๊บ
    มันเกิดจิตดวงใหม่ในชีวิตใหม่ เรียกว่า ปฏิสนธิจิต
    มันเกิดสืบเนื่องไปเรื่อยๆ มันไม่ใช่จิตดวงเก่า ไม่ใช่ตัวนี้ถอดออกจากร่างนะ
    ส่วนใหญ่ชอบคิดว่า วิญญาณเราออกจากร่างไปหาที่เกิดใหม่ อันนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ
    ถ้าเราหัดภาวนาก็จะเห็นว่าจิตเกิดดับตลอดเวลา
    ไม่มีหรอกจิตที่อยู่นานๆ ถึงขนาดถอดออกจากร่างไปเกิดใหม่ได้ ไม่มี
    มิจฉาทิฏฐิอีกอย่างนึงคือคิดว่าถ้าตายแล้วสูญไปเลย
    พวกนี้เชื่อทางวัตถุ คิดว่าตายแล้วสูญไปเลย มองไม่เห็นความสืบต่อของจิต
    ถ้าเราจะข้ามมิจฉาทิฏฐิพวกนี้ได้ต้องมาดูที่กายที่ใจของเรา
    จนเห็นความจริงของกายของใจนี้ จึงจะข้ามมิจฉาทิฏฐิได้ ข้ามความเห็นผิดได้

    มิจฉาทิฏฐิมีเยอะนะ เช่น ไม่เชื่อเรื่องกรรมกับผลของกรรม
    ไม่เชื่อเรื่องการกระทำกับผลของการกระทำ ไม่เชื่อเรื่อง action กับ reaction
    พวกหนึ่งก็เชื่อว่าสัตว์มีเฉพาะที่เรามองเห็น เทวดา สัตว์นรก เปรต อสุรกาย พวกนี้ไม่มี
    เพราะตัวเองไม่เห็นก็ว่ามันไม่มี พวกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งนั้นเลย
    มันไม่เชื่อในปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านะ มันเป็นพวกมิจฉาทิฏฐิ
    ทีนี้เราจะข้ามมิจฉาทิฏฐิได้ยังไง

    มิจฉาทิฏฐิเป็นทะเลที่กว้างที่สุด ลักษณะของทะเลมิจฉาทิฏฐิคือทะเลที่กว้างมากเลย ไม่เห็นฝั่ง
    คนทั้งหลายที่ตกอยู่ในมิจฉาทิฏฐิจะเวียนว่ายตายเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกอยู่อย่างนั้นเอง
    เพราะไม่รู้ว่าฝั่งอยู่ตรงไหน ขึ้นฝั่งไม่ได้
    พระพุทธเจ้าท่านถึงสอนบอกว่าเราตถาคตไม่เห็นว่าอะไรจะมีโทษเท่ากับมิจฉาทิฏฐิเลย
    มิจฉาทิฏฐิมีโทษมากที่สุด ตัวศาสนาพุทธแท้ๆ นั่นแหละคือตัวสัมมาทิฏฐิ

    แล้วเราจะข้ามทะเลที่กว้างนี้นั้น เราไม่มีปัญญาจะข้ามด้วยตนเองเพราะเราไม่ใช่พระพุทธเจ้า
    อาศัยพระพุทธเจ้าท่านบอกทางให้ เหมือนท่านอยู่บนบกนะ ท่านตั้งประภาคารขึ้นมา
    เราเห็นแสงไฟแล้ว เรารู้ทิศทางแล้วว่าต้องเข้ามาทางนี้นะ ถึงจะเข้าฝั่งได้
    ผู้ที่ข้ามทะเลทิฏฐิที่กว้างขวางอันนี้ได้คือพระโสดาบันเท่านั้น
    จะเป็นโสดาบันได้จะต้องเห็นความจริงของกายของใจ
    ถ้าเห็นความจริงก็จะล้างความเห็นผิดได้ เห็นความจริงของกายของใจ
    มันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันเป็นอนัตตานะ มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป
    มันเป็นสิ่งที่ถ้ามีเหตุมันก็เกิดอีก ถ้าไม่มีเหตุมันก็ไม่เกิดอีก มันจะเห็นอย่างนี้
    เพราะฉะนั้นมันจะไม่มีตายแล้วเกิดหรือตายแล้วสูญหรอก
    มันมีแต่ว่ามันสืบเนื่องไปเรื่อยๆ ถ้ามันมีเหตุ
    ถ้าไม่มีเหตุ คือไม่มีกิเลสแล้ว มันจะไม่สืบเนื่องไป
    แต่ก็ไม่ได้แปลว่าสูญนะ อย่าไปแปลว่าสูญนะ
    มันมีธรรมชาติอย่างหนึ่งซึ่งมีแต่ไม่มี หรือไม่มีความมี
    เป็นธรรมะอีกชนิดนึงซึ่งเรายังไม่รู้จัก มันไม่ใช่สาบสูญไปเลย
    เพราะฉะนั้นให้คอยมาดูกายมาดูใจมากๆ
    วันนึงละความเห็นผิดได้ ได้โสดาบัน ข้ามทะเลอันที่หนึ่งได้แล้ว คือทะเลของทิฏฐิ

    ทะเลตัวที่สองคือทะเลกาม ถ้าบอกว่าทะเลทิฏฐิคือทะเลที่กว้างหาขอบเขตไม่เจอนะ
    ทะเลกามนี้มีขอบมีเขต ขอบเขตของกามอยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เอง
    อยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ทะเลกามเป็นทะเลน้ำวนนะ
    จิตเราจะวนเที่ยวแสวงหาอารมณ์อยู่ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อยู่ตลอดเวลา
    มันหิวตลอด มันหิวอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะหมุนติ้ว ติ้ว ติ้ว อยู่ทั้งวัน
    เดี๋ยวก็อยากได้อารมณ์ทางตา เดี๋ยวอยากทางหู เดี๋ยวอยากทางลิ้น ทางจมูก ทางกาย ทางใจ
    จะหมุนจี๋ จี๋ จี๋ อยู่ทั้งวันทั้งคืน เป็นทะเลตัณหานั่นเอง ทะเลของกาม หมุนติ้ว ติ้ว ติ้ว ไม่หยุด

    คนที่จะข้ามทะเลกามได้หรือทะเลน้ำวนนี้ได้ ต้องเห็นความจริงลงมาในกายนี้ได้
    เห็นถ่องแท้เลย ตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เนื่องด้วยตา หู
    จมูก ลิ้น กาย ล้วนเป็นของไม่เที่ยง ล้วนเป็นของเป็นทุกข์ ล้วนเป็นของไม่ใช่ตัวเรา
    ถ้าเห็นอย่างนี้แจ่มแจ้ง เห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆได้นะ
    ปล่อยวางความยึดถือกายได้ก็จะข้ามกามได้

    แต่คำว่ากามนี้ ในตำรานะ ตำราชั้นหลังๆ อธิบายมากกว่านี้
    กามไม่ใช่แค่กามราคะ ถ้ากามราคะนี่ แค่พระอนาคามีละได้
    ถ้าไปถือเอารูปราคะ อรูปราคะเป็นกามด้วย ก็จะมีแต่พระอรหันต์ถึงจะละได้เด็ดขาด
    ทีนี้พวกเราเข้าใจยากอย่างนี้ ก็จะพูดแค่กามที่พวกเรารู้จักก็แล้วกัน พระอนาคาก็ละได้แล้ว
    เพราะฉะนั้นทะเลน้ำวนนี้ข้ามยากนะ ถูกดูด เห็นมั้ยมันดึงดูดใจเรา กามมันดึงดูดนะ
    ใครเคยได้ยินชื่อเจ้าคุณนรฯ บ้างมั้ย เจ้าคุณนรฯ แต่งกลอนไว้อันนึงนะ
    แต่งไว้เจ็บๆ แสบๆ นะ เออ..คนสมัยนี้อาจจะว่าไม่ค่อยสุภาพ
    ท่านบอกว่า บ่อน้อยเท่ารอยโค รอยโค คือบ่อน้อยเนี่ยเท่าตีนวัวเท่านั้นแหละ เท่ารอยตีนวัว
    บ่อน้อยเท่ารอยโค หรือจะโผข้ามพ้น หมายถึงข้ามยาก เป็นมหาเปรียญก็ยังเวียนไปหาก้น
    ท่านบอกอย่างนี้ ท่านว่าแสบนะ กามไม่ใช่ของสู้ได้ง่ายนะ
    ถ้าใจไม่ถึงจริงๆ สติปัญญาไม่แก่รอบจริงๆ รู้ลงมาไม่เห็นความจริงของกายนี้
    มันยังรักกาย ยังหวงแหนกายอยู่ มันจะรักรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ไปด้วย
    ถ้าเราเห็นกายเรา มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ มันจะไม่รักรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
    ยกตัวอย่าง อย่างเราชอบอะไรที่นุ่มๆ ใช่มั้ย อย่างหนุ่มๆ นี่ ชอบสาวๆ ตัวนุ่มๆ
    ถ้าตัวเราเป็นแผลนะ เป็นแผลเหวอะหวะ ทั้งตัวเลย ใครมาถูกเรา เราก็เจ็บก็แสบ
    เราจะไม่อยากสัมผัสทางกายแล้ว
    ถ้าสติปัญญาเราแก่รอบจริงๆ เห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ เลยนะ มันจะไม่เอากาม มันจะไม่เอากาม
    เพราะฉะนั้นทะเลน้ำวนมันจะดูดเราไม่ได้ เพราะเรารู้แล้วว่ามันทุกข์นะ มันทุกข์

    ทะเลที่สามนะมีชื่อว่าภพ ภวโอฆะ
    ภพก็คือ การทำงานของจิต มันก็เนื่องมาจากตัณหานั่นแหละ
    จิตของเรามันทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยหยุดพักเลย
    ปรุงแต่ง คิดนึกปรุงแต่ง ปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงสุข ปรุงทุกข์ มันปรุงทั้งวันทั้งคืน
    ทันทีที่จิตปรุงแต่งอะไรขึ้นมา จิตก็มีความทุกข์ขึ้นมาทุกที
    ทะเลภพนี้เป็นทะเลที่ไม่ใช่หมุนวนแล้ว มีลักษณะอีกชนิดหนึ่ง เป็นทะเลที่น้ำเชี่ยว
    มันพัดพาเราจากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่งตลอดเวลาเลย
    จิตเราจะเปลี่ยนภพตลอดเวลานะ จากภพอันนึงไปสู่ภพอีกอันนึง จากภพหนึ่งไปสู่ภพอีกอันหนึ่ง
    เราจะเวียนตายเวียนเกิดไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายใดๆ ในสังสารวัฏนี้
    แม้กระทั่งในชีวิตเดียวของเราขณะนี้ จิตของเราก็เปลี่ยนภพย่อยๆ อยู่ในใจตลอดเวลา
    เดี๋ยวเราก็เป็นคนดี เดี๋ยวเราก็เป็นคนร้าย เดี๋ยวเราเป็นนักปฏิบัติ เดี๋ยวเราเป็นจอมเจ้าเล่ห์แสนกล
    เดี๋ยวเราเป็นคนเมตตา เดี๋ยวเราเป็นคนขี้โมโห จิตใจเราเปลี่ยนภพอยู่ตลอดเวลา
    เวลาเราโมโหทีนะ เราก็เป็นสัตว์นรกที เพราะมันเป็นโทสะ
    เวลาเราโลภขึ้นมาทีนะ เราก็เป็นเปรตทีนึง
    เวลาเรายึดถือในความคิดความเห็น เราก็ไปอยู่ในภพของอสุรกายทีนึง
    เวลาเราใจลอยไป เผลอไป เหม่อไป เราไปภพของเดรัจฉาน
    ถ้าเราเป็นคนมีศีลมีธรรมนะ เราก็ไปภพมนุษย์
    ถ้าเราเป็นคนที่มีหิริโอตตัปปะ ละอายบาป กลัวผลของบาป เราก็ไปภพของเทวดา
    ถ้าเรามีใจสงบ มีใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว เราก็ไปภพของพรหม
    จิตใจของเราหมุนเวียนอยู่ตามภพต่างๆ ภพทั้งหมดเป็นทุกข์ทั้งหมดนะ
    ไม่มีนะภพที่ไม่ทุกข์ ถึงเป็นพรหมเป็นเทวดาก็มีความทุกข์ ทุกข์แบบเทวดา ทุกข์แบบพรหม
    ไม่ว่าภพอะไรก็ลำบากหมดเลย มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย
    นี่ถ้าสติปัญญาของเราแก่กล้าไม่พอ เราจะมองไม่ออก
    การจะข้ามทะเลน้ำเชี่ยวอันนี้ได้ มีทางเดียว ต้องละอวิชชาได้
    เพราะฉะนั้นการข้ามภพ กับการละอวิชชานี้จะควบกันไป เป็นเรื่องของพระอรหันต์ที่จะเห็น

    ทะเลของอวิชชานี้ไม่เหมือนทะเลของทิฏฐิที่เป็นทะเลกว้างไม่มีขอบมีเขต หาฝั่งไม่เจอ
    ไม่เหมือนทะเลกามที่เป็นทะเลน้ำวน ไม่เหมือนทะเลภพที่เป็นทะเลน้ำเชี่ยว
    ทะเลของอวิชชาเป็นทะเลน้ำตื้น คลื่นลมสงบ แต่หมอกลง เป็นทะเลหมอกนะ
    เพราะฉะนั้นเราว่ายน้ำมาจนถึงริมฝั่งแล้ว ขึ้นฝั่งไม่ได้หรอก
    ว่ายไปว่ายมานะมันหลุดออกไปทะเลลึกได้อีกนะ
    เพราะฉะนั้นอย่างปุถุชนหลายคนนะ ที่คิดจะสู้อวิชชา ไม่ได้กินหรอก แป๊ปเดียวก็กลับไปมีทิฏฐิอย่างเดิม
    อย่างถ้าเราไม่ใช่พระอนาคานะ จะมาริหาญสู้อวิชชา มวยคนละชั้นนะ แป๊ปเดียวก็หลงกามไปอีกแล้ว
    หลงในกาม หลงในทิฏฐิอีกแล้ว ถ้าไม่ใช่พระอนาคานะ
    ทีนี้เราจะละอวิชชา ทะเลน้ำตื้นหรือทะเลหมอกนี้ได้ต้องมีวิชชา คือรู้แจ้งอริยสัจจ์ก่อน
    การรู้แจ้งอริยสัจจ์นี้ทำให้เราขึ้นฝั่งได้ ถ้ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ได้นะ จะขึ้นฝั่งไม่ได้
    พระไตรปิฎกสอนไว้ว่า ตราบใดที่ไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ยังข้ามภพไม่ได้ ยังวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ
    เพราะฉะนั้นการเรียนธรรมะนะ ต้องรู้แจ้งอริยสัจจ์ถึงจะข้ามภพข้ามชาติได้ ข้ามทุกข์ได้
    ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์ซะอย่างเดียว ทิฏฐิก็ไม่มี กามก็ไม่มีนะ ภพก็ไม่มี อวิชชาก็ไม่มี

    การรู้แจ้งอริยสัจจ์ตัวที่ ๑ เรียกว่า ทุกขสัจจ์
    ทุกขสัจจ์คืออะไร คือกายกับใจนี้เอง
    เพราะฉะนั้นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติ ตั้งแต่เบื้องต้นเลย จนสุดท้ายมีแต่การรู้กายรู้ใจตนเอง
    รู้ลงมาเรื่อยๆ กายของเราเป็นยังไง รู้สึกไว้ จิตใจของเราเป็นยังไง คอยรู้สึกไว้
    อย่าลืมกาย อย่าลืมใจ ถ้าลืมกายลืมใจเรียกว่าขาดสติ
    แต่ก็ห้ามเพ่งกายเพ่งใจ ให้รู้กายรู้ใจ ไม่ได้ให้เพ่งกายเพ่งใจ
    ไม่ได้ให้กำหนดกายกำหนดใจ คนละเรื่องเลยนะ
    รุ่นหลังๆ นี้ชอบกำหนดนะ กำหนดเป็นสมถะ กำหนดลงไป จิตจะไปแน่วไปนิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว
    บังคับให้อยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้าบังคับไม่เป็น หรือบังคับแบบฝืนใจ ก็จะหนักๆ ขึ้นมา
    แน่นๆ แข็งๆ ทื่อๆ เครียดๆ ขึ้นมา
    ถ้าน้อมใจเก่ง จะสงบ จะสบาย จะโปร่ง โล่ง เบานะ จะเป็นสมาธิไปอีกแบบนึง
    แต่ส่วนใหญ่ที่พวกเราทำจะเป็นมิจฉาสมาธิแท้ๆ เลย
    เป็นสมาธิที่หนักๆ แข็งๆ ตัวก็เกร็งๆ กายก็เกร็งๆ ใจก็เกร็งๆ ใช้ไม่ได้จริงนะ
    เราคอยรู้สึกนะ คอยรู้ รู้ลงมาในกาย รู้ลงมาในใจ
    ร่างกายของเราเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจของเราเคลื่อนไหวเราคอยรู้สึก
    แต่อย่าไปเพ่งให้นิ่ง ไม่ใช่คอยบังคับกายให้นิ่ง
    จะเดินก็เดินไม่เหมือนคนธรรมดา คล้ายๆ ผีดิบนะ เดินต้องตัวทื่อๆ อย่างนั้นใช้ไม่ได้นะ
    จิตใจก็อย่าไปข่มให้มันซึมกะทือซื่อบื้ออยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน
    เราต้องการเห็นความจริงของกายของใจ เพราะฉะนั้นอย่าไปบังคับมัน แต่คอยดูมันไป
    แต่ถ้ามันจะเอากายเอาใจไปทำผิดศีลห้าไม่เอานะ ตรงนี้ต้องฝืนใจ
    ศีลห้านี้มาตรฐานปราการขั้นสุดท้ายแล้ว มาตรฐานของเราเลย
    ถ้าขาดศีลห้าเราไม่ใช่มนุษย์แล้ว ต้องระมัดระวังนะ
    ขนาดพระโพธิสัตว์ยังตกนรกได้เลย นับประสาอะไรกับพวกเราจะไม่ตก ยังเชื่อใจตัวเองไม่ได้นะ
    อย่าประมาทกิเลสนะ

    ที่มา http://dungtrin.com/mag/?19.pra

    [​IMG][​IMG][​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มีนาคม 2009
  19. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ตัวอย่างของ ชาติ และ ภพ ในอีกมุมหนึ่ง

    สำหรับเราๆ ตอนนี้ มีชาติใหญ่ คือ มนุษย์

    แต่เชื่อหรือไม่ เราไม่ได้เป็น มนุษย์โดยตลอดตามที่ตาเห็น

    หากเรากำลังเห็น หมาน่ารั มันวิ่งมาเลียเรา เรายินดีกับอากัปกริยาของหมานั้น

    ตอนนั้น จิต เรากำลังเสวย ภพ เป็น หมา

    หากมีอะไรมาตัดรอนแบบฉับพลันในขณะที่กำลัง หัวเราะเล่นกับหมาอย่างลืม
    ระลึกดูความยินดี ยินร้าย จิตผู้รู้ไม่เกิด เราจะจุติและไปเกิดในท้องหมาทันที

    บางครั้ง เราไปปฏิบัติธรรมมาอย่างดี มีสุข มีสงบ แต่พอมาเจอสหายธรรม
    ก็นึกยินดีที่จะได้บอกสหายธรรมเพื่อให้เพื่อนได้อนุโมทนา หากเราแสดงออก
    ไปด้วยแรงจิตยินดีที่จะได้เห็นอาการของเพื่อนแสดงกริยาอนุโมทนา หากมีอะไร
    มาตัดรอนตอนนั้น จะเกิดเป็น เปรต ทันที แต่ถ้าการกล่าวชักชวนให้เพื่อได้
    อนุโมทนา เราเพียงแต่กล่าวไปตามวาระ ไม่มีใจยินดีที่จะได้เห็นอะไร เพื่อนจะ
    ยินดี หรือ ยินร้าย หรือ เฉยๆ เราก็ไม่ได้ใส่น้ำหนักลงไปในรูป-นาม นั้น เราก็จะ
    มีจิตผู้รู้ ตื่นอยู่ แบบนี้จะได้บุญทั้งผู้บอกบุญ และ ผู้กล่าวอนุโมทนา

    แต่ถ้าจิตผู้บอกบุญมีอุปทานในรูปกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะกลับกัน จะพา
    คนร่วมไปเป็นเปรตทันที เพราะจะต่างยินดีในการเห็นภาพของการมีอากัปกริยา
    จากกันและกัน

    * * * *

    ศึกษาเพิ่มเติมเรื่อง ชาต-ภพ ด้วยภาษาง่ายๆ จากหนังสือ คู่มือมนุษย์ ของ
    ท่านพุทธทาสได้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มีนาคม 2009
  20. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456


    [​IMG][​IMG][​IMG]


    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...