ใครต้องการถามเป็นการส่วนตัว ไปถามที่อื่น กลัวคนอื่นว่าให้มาที่นี่

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย nilakarn, 20 เมษายน 2013.

  1. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    มันไม่มีหรอกครับ ไอ้การเห็นผู้รู้ แล้วเปลี่ยนใจไม่อยากเห็น มันอยู่ห่างชั้นมากเลย ในระดับของการปฏิบัติครับ

    ถ้าเปรียบระดับปฏิบัติ ที่ยังมีความอยากเห็น ไม่อยากเห็น เหมือนระดับเชิงเขา
    การเห็นผู้รู้ ก็อยู่ระดับยอดเขาหละครับ
     
  2. ggg107

    ggg107 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มกราคม 2013
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +23
    ที่ท่านเเนะนำมาที่ว่า จะเห็นผู้รู้ได้ด้วยสติ สติมันก็คือความระลึกได้
    เเละที่นี้จะทำอย่างไรให้เห็นผู้รู้ครับ เเนะนำวิใช้สติให้เห็นผู้รู้ทีขอครับ
     
  3. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    มันไม่มีวิธีขั้นตอนการทำให้เห็นนะ เพราะถ้าเรามีเจตนา "กระทำ" การอะไรสักอย่าง มันจะเป็นการก่อกวนการทำงานของสังขารขันธ์ และ ขันธ์อื่นๆ ตามธรรมชาติ เมื่อมันถูกรบกวน ไม่ได้ทำงานตามธรรมชาติ มีเจตนาของเราเข้าไปแทรกแซง โดยธรรมชาติของมนุษย์ มันเกิดการบดบัง ไม่ให้เห็นตัวผู้รู้ครับ

    ดังนั้นแล้วที่ต้องทำจริงๆ มีแค่อย่างเดียว คือ ฝึกสติ ระลึกรู้ไปเรื่อยๆ ปล่อยไปตามธรรมชาติ ไม่ต้องไปพยายามทำอะไรให้เห็น แล้วเดี๋ยวมันจะได้เห็นเอง
     
  4. ggg107

    ggg107 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มกราคม 2013
    โพสต์:
    17
    ค่าพลัง:
    +23
    ผมนั้งภาวนาจนนิ่งในระดับหนึ่งคือลมหายใจเบามากๆ หูเหมือนจะอื้อนะเเต่มันไม่ได้อื้อ
    ผมอธิบายเป็นคำพูดไม่ถูกสำหรับกรณีหู จะถามว่าเเล้วเอาไงต่อครับหรือนั้งมันไปอย่างงี้
     
  5. kmitl_29

    kmitl_29 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +83
    เพ่งแสงแล้วปวดหัว


    ขอถามค่ะ
    ไปทำนะหน้าทองมา
    ที่หน้าผาก บางเวลา จะรู้สึกไฟช็อตที่หน้าผาก
    เวลาเพ่ง กสิน เอาจิตไปที่หน้าผาก รู้สึก
    ปวด หน่วงๆ
    ไม่รุ้ว่าเครียดไป หรือ ได้ อภิญาอะไรหรือเปล่า
    เราจะตรวจตัวเองได้อย่างไรค่ะ
    เวลา สวนมนต์ ก็ปวดหน่วงที่หน้าผาก
    รู้สึกเครียด แก้อย่างไรค่ะ
     
  6. kmitl_29

    kmitl_29 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +83
    1.เวลาเพ่ง ปวดหน่วงที่หน้าผาก แยกไม่ออก ว่าเครียดหรือ กำลังจะได้ฌาณ
    ท่องชินบัญชร และคาถาเงินล้านสลับกัน แล้วเพ่งนะค่ะ แต่พอรู้สึกเครียดเลยหยุด
    ขอวิธีแก้หน่อยค่ะ
    2.เป็นคนนิสัยไม่ดี คือใครเอาเปรียบแล้วมักโกรธ เพราะคิดว่าทำไมต้องทำเรา
    เรามีเมตตาให้ ตลอดและไม่เบียดเบียน
    หรือ แฟนขี้บ่น เราก็เงียบ เค้าก็โมโห ว่าเราไม่สนใจ จนเค้า บ่น 2-3 ครั้งสติเราแตก
    พอโกรธ แล้วแทบจะทุบตีเค้าเลยโวยวายเลย
    จะเจริญสติ ด้วยคาถาบทใด ถึงแก้นิสัยไม่ดีนี้ได้ ค่ะ
     
  7. kmitl_29

    kmitl_29 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +83
    สู้สู้

    มีแต่คนลองของกับ คุณ
    ืnilakarn
    เป็นเรา โกรธ นะ เพราะ เมตตายังไม่ถึง
    เป็นกำลังใจให้นะค่ะ:cool::cool:
     
  8. kmitl_29

    kmitl_29 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    35
    ค่าพลัง:
    +83
    รบกวนช่วยสอนด้วยค่ะ

    เป็นเหมือนกันเลยค่ะ รบกวนช่วยสอนด้วยค่ะ
     
  9. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014
    Originally Posted by ชอบบุญ View Post
    ปรกติจะเจริญสมาธิกรรมฐานเป็นประจำอยู่ค่ะ แต่ก็ไม่ได้เป็นผู้ชำนาญแต่ประการใด จากสิ่งที่ประสบมาในวันนี้ ก็งงเหมือนกันเพราะไม่เคยเป็นค่ะ คือ วันนี้ได้ไปกราบพระสรีระ ร่างของเกจิอาจารย์ท่านหนึ่ง คือ หลวงพ่อหยอด ที่อัมพวา สมุทรสงคราม เมื่อกล่าวคาถาเสร็จก็หลับตาแล้วภาวนา พุธโธ อธิษฐานขอบารมีท่านเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ เพียงครู่เดียว น่าจะไม่ถึงเสี้ยวนาที ก็เกิดอาการตัวลอยขึ้นจากเหนือพื้นที่นั่ง เป็นพักหนึ่ง ดิฉันจึงรีบกราบท่าน แล้วละจากสมาธิ อาการเช่นนี้เรียกว่าอะไรหรือคะ ขอกราบเรียนถามท่านผู้รู้ด้วยค่ะ




    สมัยที่เรา ประมาณ 8 - 9 ขวบ ได้อ่านหนังสือ
    เกี่ยวกับพระอภิญญาสายต่างๆ โดยเฉพาะ สายหลวงปู่มั่น
    ที่สอนให้กำหนดลมหายใจ รู้สึกถูกใจมาก จึงได้ลองทำตาม ฝึกนั่งสมาธิ
    แล้วกำหนดลมหายใจก่อนเข้านอน
    ผลปรากฏว่า เราหลับไปแล้วตื่น ขึ้นมา รู้สึกได้ว่า
    ตัวของเราไม่ได้นอนอยู่ที่พื้นแล้ว
    มันกลับไปติดอยู่ทีเพดานของบ้าน ตอนนั้นก็ไม่ได้นึกอะไร
    เพราะคิดว่าฝันไป


    ต่อมาทุกครั้งที่นั่งสมาธิ เรารู้สึกว่า ตัวเราไปติดอยู่ตรง
    เวิ้งว่างเปล่าในอากาศนั้น ไม่สามารถลงมาได้ แต่ก็รู้สึกสนุกดี
    ไม่ได้นึกอยากเปลี่ยนแต่อย่างใด
    บางวัน ก็เหมือนอาการของคนตกเหว
    บางวัน มีอาการคล้ายนกปีกหัก ลอยในฟากฟ้า บินไปไหนไม่ได้
    บางวัน เหมือนอยู่ในน้ำแล้วทำท่าว่ายน้ำอยู่ในอากาศ
    บางวัน วูบไปโผล่ที่เขา
    บางวันวูบไปโผล่ที่วัด
    บางวันก็เที่ยวไปดูที่นั่นที่นี้ บนฟากฟ้า
    บางครั้งยังเคยไปหาพระที่เราชื่นชอบ ไปดูวัดว่าอยุ่ที่ไหน
    ท่านยังสบายดีไหม


    จนเรามาเข้าใจในตอนโต เมื่อเราต้องการฝึก อรูปญาน
    จึงได้เข้าใจว่า เราเคยผ่านอากาสมาแล้วนั่นเอง แต่เราเป็นเด็ก
    ยังไม่อาจเข้าใจได้ด้วยตนเอง
    หลังจากนั้นเราจึงฝึกจิตของเราเอง ด้วย การสอนจิตของตนให้ดี
    ไม่ทำบาปแม้แต่การฆ่าสัตว์ ต่อจากนั้นก็ถือศีลห้าเรื่อยมา
     
  10. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014
    ปัจจุบันนี้ การฝึกอรูปญาน จะไม่ได้ผลเท่าที่ควร
    ถูกต้องไหมครับ
    เพราว่าการเรียงวิธีฝึกอาจจะผิดก็ได้
    ถ้าจะให้ถูกน่าจะเรียงอย่างนี้ครับ

    เนวสัญญา + สัญญา
    วิญญาน หรือ จิต
    อากาส
    อากิญจิ

    ให้ผู้ที่ฝึกอรูป ลองวิเคราะห์ข้อนี้ดูนะครับ
    ระหว่าง วิญญาน กับ อากาส
    ใครจะใหญ่กว่ากัน
    และที่สำคัญ หากโผล่ไปที่อากาสแล้ว
    กลับมาโผล่ที่ วิญญาน ในร่างกายอีก
    แล้วก็ไปโผล่ที่ ดำๆมืดมิดอย่างเดียว
    แล้วก้ไปโผล่ที่ความจำอีก
    อันนี้มั่วๆ ไปหมดเลยครับ
    จุดที่สิ้นสุดที่อรูป ควรจะอยู่ที่ไหนกัน
    ลองวิเคราะห์มาดูนะครับ

    ไม่แน่ว่า อรูป อาจจะไม่เรียงเป็น 1 2 3 4 เหมือนกับ รูป
    แต่สามารถเข้าได้ ญานไหนก็ได้ โดยไม่ต้องเรียงญาน
     
  11. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014
    Originally Posted by nopphakan View Post
    ขอบคุณครับที่สนทนาด้วยครับ..เมื่อก่อนส่วนตัวก็เคยงงๆเหมือนกันครับ
    และก็ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไรคล้ายๆกันครับ..เอาว่าคุยแลกเปลี่ยนแล้วกันนะครับ..
    ลองๆอ่านดูก่อนนะครับ..บางครั้งอาจจะยังไม่ต้องรีบตัดสินใจในสิ่งที่อ่านก็ได้ครับ

    อันดับแรกถ้าเราจะไปเล่นอรูปฌานจริงๆ.เราควรจะต้องไต่ระดับจากการสร้างรูป
    ให้ได้ก่อนครับ..เพราะไม่งั้นถ้าเรานั่งสมาธิ ด้วยอารมย์จิตจากความเคยชินมัน
    หรือจากสัญญาเก่าๆในอดีตที่เคยมีในจิต.พออารมย์สมาธิมันเข้าถึงได้แบบไม่ตั้ง
    ใจหรือว่าจะตั้งใจมันจะสามารถพรวดพราดขึ้นไปอรูปฌานเลย.
    แล้วมันจะไปโผล่ที่มืดๆคล้ายมองผ่านกล้องมองสัตว์
    ตอนกลางคืน.บ้างคนก็เห็นดวงดาวเล็กๆเต็มท้องฟ้าไปหมด
    คล้ายเหมือนอยู่ในอวกาศนั่นหละครับ..แต่ลองสังเกตุดูได้ครับ.
    .แต่ว่าเราจะไม่สามารถยกเรื่องขึ้นวิปัสสนาในโหมดนั้นได้จริงๆ..
    และมันกลับไม่มีผลต่อการพัฒนากำลังจิตของเราตลอด
    จนเครื่องรู้ต่างๆที่ควรจะมีบังเกิดก่อนที่เราจะเข้าถึง
    ในโหมดอรูปฯด้วยครับ.เผลอๆมันจะโน้มให้เราหลงตัวเอง
    ว่าตัวเราเก่งเรื่องสมาธิด้วยครับนี่หละประเด็นหลัก.

    เพราะสาเหตุที่เราเผลอมองข้ามเรื่องการเน้นสร้างกำลังสติ
    ทางธรรมแบบต่อเนื่องส่วนมากคนจะลืมช่วงเอี่ยว
    (คือช่วงที่ร่างกายเราทำเป็นปกติจนเคยชินแล้วเราเลยลืมเจริญสติ)
    เช่นเราเดินไปทำธุระที่ห้องน้ำ หรือ ทำความสะอาดพื้น ฯลฯ เป็นต้น
    และลืมเรื่องการรักษาอารมย์(คือเคยคิดไว้แล้วลืมๆไม่สนใจ)ของเรื่องที่เราจะพิจารณาในโหมดอรูปครับ
    และที่สำคัญอีกอย่างที่เราไม่สามารถรักษาอารมย์ให้อยู่ในโหมดนั้นได้นานๆเหตุ
    เพราะว่ากำลังสมาธิสะสมเรายังไม่เพียงพอในการที่จะรักษาสภาวะอารมย์ในโหมด
    อรูปฌานนั่นเองครับ...

    นี่หละครับที่บอกว่าต้องมาสร้างรูปก่อนเพื่อเอากำลังสมาธิจากการที่จิตสร้างรูป
    ถึงขั้นในระดับที่บังคับภาพให้ได้.เพื่อให้มีกำลังสมาธิเพียงพอในการรักษาอารมย์
    ในอรูปฯ.และกำลังสติทางธรรมต้องมากพอ.ไม่งั้นพอถึงโหมดนั้นจะนึกเรื่องที่เรา
    จะพิจารณาไม่ออกครับหรือนึกได้ก็จะกลายเป็นความคิดเป็นนิวรณ์ครับ
    และเข้าโหมดอรูปฯไปแล้วมันก็จะเป็นงงๆ.แบบไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไร
    หรือทำไมมันทำอะไรไม่ได้เลย และทำไม่มันถึงนิ่งๆไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ
    นั่นหละครับ...ทั้งๆที่อรูปฯก็ถือว่าเป็นระดับฌานระดับสูง
    แต่ไงเราเข้าไปแล้วกลับไม่มีผลกับกำลังจิตหรือมีพัฒนา
    การทางด้านเครื่องรู้พิเศษอะไรกับเราเลย..นี่ทั่วๆไปนะครับ...
    ส่วนอรูปฌานนั้น ตามตำราที่เราดูได้จากมุมขวามือของห้องอภิญญาสมาธิลำดับ
    การไล่อรูปฌาน.ท่านได้เขียนถูกต้องแล้วครับ..เนื่องจากว่าในมุมก่อนที่เราจะไป
    ลำดับที่ ๒ ของอรูปฌานในโหมดวิญญาณฯ นั้น..มีความจำเป็นต้องอาศัย
    อากาศฯเป็นตัวเชื่อมโยงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ..
    นึกภาพง่ายๆนะครับยกตัวอย่าง..เราจะไปเชื่อมโยงอะไรก็ตามภายนอกนะครับ
    ไม่ว่าจะเป็นวิญญาน รูป วัตถุ อะไรก็ตาม ในรูปของคลื่น หรือ พลังงาน ที่ข้าม
    ส่วนของภาพไป.ที่การเชื่อมออกจากร่างกายเราไป.ตัวกลางที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ
    ที่เป็นตัวเชื่อมโยงตรงนี้ก็คือ อากาศ นั่นหละครับ.บ้างก็ว่าลม.ซึ่งก็ไม่เป็นไร
    เพราะว่าลม กับ อากาศมันก็แยกกันได้ยาก.เพียงแต่พูดถึงลม
    เราจะมองเห็นอากาศเป็นรูปธรรม มาม้วนๆรวมกันไงครับ..
    และวิธีง่ายๆในการตรวจสอบว่าเราเข้าถึงโหมดวิญญาณฯหรือยังก็คือ
    เราสามารถมองเห็นกระแสหรือเชื่อมกระแส.กับพระพุทธรูปหรือวัตถุ
    ต่างๆในลักษณะที่เป็นแผ่นคลื่นคล้ายๆน้ำได้ด้วยตาเปล่าหรือยัง
    เป็นตัวตรวจสอบผลการปฏิบัติของเราในเบื้องต้นครับ.
    พูดง่ายมองเห็นอากาศได้ก่อนเป็นรูปธรรมนั่นหละครับ
    และมีการเคลื่อนไหว เชื่อมโยงได้ถึงจะพิจาณามันได้ไงครับ.

    อืมอีกเรื่องครับ.เรื่องของความสามารถทางจิตที่เราสามารถไปไหนมาไหนได้นั้น
    ในความเข้าใจเราอาจคิดว่าเป็นเรื่องที่ ค่อนข้างสนุก แปลก แม้ว่าปัจจุบันเราจะไม่
    สนใจแล้วก็ตาม...แต่ในความเป็นจริงนะครับ..การไปได้แบบที่เราไม่สามารถควบ
    คุมจิตก่อน หรือ เราไม่รู้ตัวก่อน แล้วจิตไปปรากฏอยู่สถานที่แห่งนั้นเลย.ก็คือกำลัง
    สติทางธรรมตอนนั้นเรายังไม่พอควบคุมจิตเรา ณ ตรงนี้และล้วนแล้วแต่เป็นการส่งออกทั้งนั้นครับ.เป็นเรื่องไม่ควรใส่ใจ..
    แต่ไปแล้วเข้าใจแล้ว รู้แล้ว ไม่สนใจแล้ว ณ เวลานี้ถือว่าดีครับ...
    ส่วนถ้าสร้างกำลังสติทางธรรมได้ สะสมกำลังสมาธิจากการสร้างรูปจนถึงขั้น
    บังคับเปลี่ยนแปลงรูปได้ และเพิกรูปที่เราสร้างขึ้นจากจิตได้..ตรงนี้เราถึง
    จะขึ้นไปโหมดอรูปฌานและสามารถยกเรื่องขึ้นวิปัสสนาตามตำราที่ครูบาร์
    อาจารย์ท่านได้เขียนไว้ และถึงจะก่อเกิดประโยชน์ต่อตนเอง.และจะเกิดปัญญา
    ทางธรรมตลอดจนเครื่องรู้ต่างๆ.ที่มันจะเข้ามาได้เองครับ...
    และการพิจารณาลำดับในโหมดอรูปฯนั้นก็จะไปเป็นตามลำดับของเค้าเองครับ
    ตามแนวทางด้านมุมขวาของห้องอภิญญาเลยครับ...
    ส่วนใครที่กำลังสมาธิสูงเดินขั้นแรกตามลำดับได้แล้วจนถึงขั้นสุดท้ายแล้ว
    จะมีลูกเล่นอะไรได้.ก็ถือว่าเป็นความสามารถเฉพาะตน.เป็นบารมีของบุคคล
    นั้น.ก็ขอโมทนาด้วยครับ..แต่ทำอย่างนั้นแล้ว.เครื่องรู้ทางจิตจะไม่ใช่ธรรมดาแล้วครับ.
    ปล.ยังลองพิจารณาสิ่งที่เขียนดูก่อนนะครับ..




    หุหุุหุหุ

    เรื่องอรูปญาน เป็นเพียงเรื่องเดียวที่ยัง สกิดความอยากรู้
    ของเราได้อยู่ นอกเหนือจากนี้ ยังไม่สามารถทำให้เราอยากได้
    กระทู้ต่างๆ ก็เช่นเดียวกัน หากกระทู้ไหน เราพิจารณาแล้วว่า
    จะเป็นหนทางให้เค้าพ้นทุกข์ได้ เราก็จะช่วย
    แต่นอกจากนี้คงต้องให้คนที่มีมานะจริงๆ มา
    ช่วยตอบแล้ว หากได้ช่วยกันตอบแล้ว


    ให้ถือว่า เป็นการสร้างบารมีเพื่อให้ตนเองบรรลุธรรม
    ขั้นต่อไปก็แล้วกัน
     
  12. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014
    Originally Posted by xeforce View Post
    ขอเล่าการปฏิบัติอานาปนสติของผมตั้งแต่ต้นจนจบให้ลองอ่าน
    หากบุคคลที่เห็นโทษภัยในการเกิดแล้ว มุ่งต่อ พระนิพพาน ได้ลอง
    หยิบบางช่วงไปปฏิบัติ แล้วได้ประโยชน์บ้างจาก ประสบการณ์นี้

    ก่อนอื่นผมถามตัวเองก่อนว่าให้ความสำคัญแค่ไหนกับการปฏิบัติ
    และเอาจริงบนเส้นทางแห่งมรรคผลนี้แค่ไหน ผมบอกกับตัวเองเลยว่า
    จะปฏิบัติอย่างเอาจริงทั้งวัน แล้วจะรู้และสนใจแค่ลมที่เข้า-ออก ที่จมูกนี้




    อานาปานสติ

    ยกที่ 1 (อึดอัด)
    วันแรกของการปฏิบัติ ตั้งใจว่าทำทั้งวัน มีสติเมื่อไหร่ กลับมารู้สึกที่
    ลมหายใจนี้ คอยถามตัวเองเสมอว่า ตอนนี้หายใจเข้า หรือ ออก ในตอนแรก
    สติยังน้อย ก็ยังหลงไปกับการใช้ชีวิตอยู่ทั้งวัน กลับมารู้ลมได้ไม่กี่ครั้ง พอรู้
    ได้ไม่กี่ครั้ง สติก็กระโดดไปเรื่องอื่น แต่ด้วยความที่ตั้งใจจะเอาจริงในการปฏิบัติ
    อานาปานสติ ก็ทำให้มีความเพียร แล้วก็กลับมารู้ที่ลมบ่อยขึ้น แต่จริตผมที่เคย
    บริกรรมว่า พุท-โธ อยู่นั้นใจมันอยากไป บริกรรม พุท-โธ เพราะเป็นสิ่งที่
    คุ้นเคยกับจิต แต่ก็ต้องฝืนกลับมารู้สึกที่ลม

    ในการรู้สึกที่ลมของผมนั้น ยก อานาปานสติ มาหนึ่งท่อน ดังนี้
    "เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า"

    ผมทำความรู้สึกที่ลมนั้นว่ามันเข้า หรือออก หากลมเข้า ก็ทำความรู้สึก
    ถึงลมที่กำลังเข้า ช่วงแรกของการรู้ลม รู้สึกอึดอัดมาก เป็นเพราะการบังคับลม
    ให้เข้า-ให้ออก คือไม่ได้มีสติไปรู้ที่ปัจจุบันจริง ผลก็คือ อึดอัด แน่นหน้าอก
    ทุกครั้งที่มีสติมารู้ลม แต่เมื่อปฏิบัติไปจะทราบเองว่าจะวางจิตแค่ไหนจะเหมาะ
    กับเรา พระพุทธองค์เปรียบเทียบถึงการจับนก จับแรงไปนกก็ตาย จับเบาไป
    นกก็บินหนีหลุดมือไป แต่เมื่อเรามีความเพียร ทดลองวางจิตแค่ไหนว่าพอดี
    เราจะรู้ได้เอง และเห็นสมดุลแห่งธรรมเอง เมื่อผมพบจุดที่เป็นสมดุลขณะการรู้ลม
    ต่อมาสติก็กลับมารู้ที่ลมนี้บ่อยขึ้น ช่วงที่ผมทำช่วงแรก สติยังพร่าเลือน ไม่ชัดนัก
    ไม่่ค่อยรู้สึกอาการของลมที่เข้าหรือออก ผมใส่คำให้กิริยาของลมที่เข้าว่า "เข้า"
    กิริยาของลมที่ออกว่า "ออก" แล้วทำความรู้สึกที่ข้างใน ถึงอาการอย่างนั้นเอา

    ทำอย่างนี้ตลอดวันที่ว่างจากการทำงาน ขับรถ หรือกิจกรรมที่ต้องใช้ความคิด
    สติจะกลับมาที่ลมเสมอ

    ช่วงแรกยังไม่เห็นความคิดที่ผุดขึ้นเนื่องจากยัง พะวงอยู่กับการรู้ลม และสติยังไม่
    มากพอ ช่วงเวลาการปฏิบัตินี้ ไม่ได้ทำสมาธิเลย มีเพียงการรู้สึกที่ลมอย่างเดียวท้งนั้น


    .............................................


    ยกที่ 2 (ปล่อยคำบริกรรม)
    วันต่อมาด้วยความตั้งใจจริงในการปฏิบัติ ตื่นขึ้นมาตอนเช้า ลุกจากที่นอนสติ
    เตือนมาที่ลมเลย รู้ได้ซักพัก สติหลุดไปกับกิจกรรมประจำวัน
    ระหว่างวันนั้นเมื่อเห็นว่าสติชัดขึ้น บ่อยขึ้น โดยไม่ต้องพยุงมากนัก ก็เริ่มปล่อย คำว่า
    "เข้า ออก" ทำความรู้สึกที่ลมเข้า แล้วรู้สึกถึงว่าตอนนี้ลมเข้า ทำความรู้สึกที่ลมออก
    แล้วรู้สึกถึงว่าตอนนี้ลมออก ช่วงที่ปล่อยคำบริกรรม ต้องพยายามพยุงจิต แต่เมื่อสติ
    แข็งแรงขึ้น ก็ไม่ต้องคอยพยุง มันจะง่ายขึ้น สบายขึ้น ทั้งหมดนี้หากนักปฏิบัติ ได้ลอง
    ปฏิบัติดูจะเห็นธรรมชาติของจิต มีมันจะพิจารณาธรรมในการปฏิบัติ เราจะวิเคราะห์เอง
    ว่า จิตเรามาถึงตรงนี้ ควรทำอะไรต่อ


    .............................................


    ยกที่ 3 (ยาวก็รู้สั้นก็รู้)
    เมื่อสติชัดขึ้น ถี่ขึ้น พอจะรู้ทั่วถึง จะเห็นช่องว่างแห่งสติ ยกตัวอย่าง ผมรู้สึก
    ที่ลมเข้า-ออกแล้วมันเหลือช่องว่าง ซึ่งตอนแรกของการปฏิบัติ สติตามระลึกแทบไม่ทัน
    แต่ตอนนี้มันทันจนเหลือ ตอนนี้ผมจึงยกจิตขึ้นอานาปานสติอีกขั้น ขั้นนี้เราจะรู้เองว่า
    พร้อมเมื่อไหร่ ขั้นนี้ เมื่อเราหายใจ เข้า-ออก ก็สังเกตุว่ามัน สั้นหรือยาว ส่วนตัวผม
    ยึดเอาว่า หายใจเข้าครั้งนี้ มันสั้นหรือยาว กว่าครั้งที่แลัว ช่วงแรกพยุงจิตตามเคย
    แต่เมื่อสติดีขึ้น ก็เห็นชัดขึ้น รู้สึกที่ลมอยู่อย่างนี้ เป็นการเจริญทั้งสมถะ และวิปัสสนา
    จิตที่จดดจ่ออยู่ที่ลมจะได้สมาธิ ผมสังเกตุอย่างนี้ว่า ผมเจริญอานาปานสติในระหว่างวัน
    อายาตนะตาที่เปิดอยู่เมื่อเรามีสมาธิและสติจดจ่อที่ลม มีผมผลทำให้สมาธิและสติกล้าแข็ง
    มากกว่าตอนที่นั่งทำสมาธิหลับตาเป็นชั่งโมงซะอีก


    ............................................


    ยกที่ 4 (ความคิดผุดขึ้น)
    พอสติมารู้ที่ลมชัด จิตจะตั้งมั่น ซึ่งเป็นองค์หนึ่งของอานาปานสติ พอจิตตั้งมั่นแล้ว
    ก็จะเห็นความคิดที่ผุดขึ้นมาแทรกระหว่้างการรู้สึกที่ลม พอกลับไปที่ลม ความคิดก็แทรกอีก
    เห็นอย่างนี้ไปเรื่อย ช่วงเห็นความคิดผุดขึ้นช่วงแรก จะรู้แค่ว่ามีความคิดเข้ามาแทรก แต่
    เมื่อสติกล้าแข็งแล้วนั้นจะเห็นเป็นภาพขึ้นมาบ้าง เห็นว่าจิตคิดอะไรบ้าง จะเห็นเรื่องราว
    ชัดเจน เรื่องราวที่ผุดขึ้นมัทั้งเกี่ยวกับปัจจุบันบ้าง เรื่องในอดีตบ้าง เรื่องที่ไม่เคยเจอบ้าง
    บุคคลที่ไม่รู้จักบ้าง ผุดขึ้นมาแทรกอยู่ตลอด ผมเองเมื่อความคิดผุดขึ้นก็ละมาที่ลม ไม่ไหล
    ไปในความคิด ไม่พิจารณาอะไร รู้ที่ปัจจุบันขณะ


    .............................................


    ยกที่ 5 (บังคับจิต)
    วันนั้นเองตอนเย็นผมนอนเล่นบนที่นอน แล้วก็คิดอย่างนี้ว่า จะลองบังคับไม่ให้จิต
    เคลื่อนไปไปไหน ให้รู้ที่ลมนี้อย่้างเดียว พอตั้งใจอย่างนั้น ก็สู้เต็มที่ รู้ลมได้ซักพัก ความคิด
    เจ้ากรรมผุดขึ้นอีก ดึงจิตไปที่ลมทันที พยายามทรงตัว ทรงสติไว้ที่ลม ... แต่ไม่ว่าจะพยายาม
    ซักแค่ไหนก็เห็นจิตที่เคลื่อนไปถี่ขึ้นๆ และเห็นมันอย่างนี้ ซ้ำแล้วซ้ำอีก จนจิตแจ้งในความเป็น
    อนิจจัง ที่มันบังคับไม่ได้ มันไม่มีตัวตน มันเป็นเพียงสิ่งหนึ่งที่มันกระทบ กันอยู่ภายใน
    มันทำงานไปเอง เมื่อเหตุ ส่วนขณะจิตที่แจ้งนี้ขอไม่กล่าวในที่นี้ เพราะอาจเป็นการขัดขวาง
    การปฏิบัติของท่านได้เพราะจิตที่คาดไปถึงแจ้งเห็นธรรมนี้ จะทำให้จิตไม่เป็นกลาง อย่างที่ผม
    เคยแนะนำไปถึงการวางจิต ก่อนการปฏิบัติ จะทำให้การหาสมดุลของตนเอง เนิ่นช้าไป



    สิ่งสำคัญในการปฏิบัติ ต้องหาสมดุลแห่งธรรม วิเคราะห์็ตนเองว่า ควรยกระดับสติหรือยัง พร้อม
    กับสภาวะที่ปฏิบัติหรือเปล่า สิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล ที่จะรู้ได้ด้วยตนเอง ว่าควรทำอย่างไร
    ธรรมะนี้ ท้าให้มาลองพิสูจน์ ขาดแค่คนจริง ทำจริง มีความเพียรจริง ปฏิบัติให้ถูกตามสติปัฏฐาน4
    รักษาตนให้อยู่ในมรรค8 แล้วมรรคผลนิพพานก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่คนธรรมดาคนหนึ่ง
    จะรู้แจ้งในธรรมได้ และขณที่เจริญอานาปานสติอยู่นั้น จิตขณะนั้น ก็มี โพชฌงค์บริบูรณ์ ขณะจิต
    นี้เองสามารถ จะรู้แจ้งได้ในทุกขณะจิตที่เจริญอานาปานสติ เราแค่ตั้งใจทำด้วยความเพียร


    เพียงขณะจิตเดียวข้ามจากโครตปุถุชนธรรมดาเป็นอริยะชนได้ ก็เพียงแค่ขณะจิตเดียวแห่งการ
    เจริญอานาปานสตินี้







    สาธุครับ
    การพิจารณาลมหายใจเข้าออก
    เป็นสิ่งที่เป็นกลางๆ ครับ
    เหมาะสำหรับ การฝึกของพระป่าอย่างแท้จริง
    เพราะใช้ทุนน้อยและประหยัด ที่สำคัญ
    ยังฝึกได้ตลอดเวลา ไม่ต้องมีพิธีรีตองให้มากความ
    พระพุทธองค์ ทรงสรรเสริญว่า
    การฝึกสายนี้เป็นกลางที่สุด
    มีผู้บรรลุธรรมมากที่สุด
    ฝึกได้เร็วที่สุด ฝึกได้แล้ว
    ก็สามารถทรงได้ดีที่สุด เสื่อมยาก
    เสื่อมแล้วก็ฝึกใหม่ได้อีกทันที


    แต่มีข้อควรพิจารณาอยู่ สองอย่างคือ
    1 หากฝึกแล้ว ได้ถึงจิตว่างล้วนๆ อันนี้ได้ญานสี่ธรรมดา เป็นสมถะ เสื่อมได้
    2 หากฝึกแล้ว ได้พิจารณาลงที่ไตรลักษณ์ด้วย อันนี้เป็นญานของวิปัสสนา
    พิจารณาเห็นการเกิดดับ เป็นวิปัสสนา หากบรรลุแล้ว ไม่เสื่อมเด็ดขาด
     
  13. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014
     
  14. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014




    อาการของท่านนั้น เรียกว่า ติดในญาน หรือ
    อาการของอุเบกขา ที่สามารถทรงอยู่ในญานสี่ได้
    หรือ ขั้นอุเบกขารมณ์ หรือ อุเบกขาญาน
    คือ อาการที่ทรงญานสี่นานๆ แล้วเราก็รู้สึกว่า
    ตัวตนของเราไม่มี ลมหายใจก็ไม่เหลืออยู่
    หากตายในตอนที่ทรงญานอยู่ จะไปเกิดที่พรหมโลกทันที


    แต่ยังไม่ใช่อาการของผู้ที่บรรลุธรรม
    เป็นเพียงรูปญานสี่นั่นเอง หรือผู้ที่สำเร็จญานสี่แล้ว
    สามารถทรงไว้ได้นานหลายชั่วโมง


    แต่ความรู้สึกกับเหมือน ตันๆ ตื้อๆ
    ไม่สามารถสำเร็จในขั้นต่อไปได้ มีความรู้สึกราวกับว่า
    สมาธิของเราไม่ไปไหนสักที วนเวียนอยู่ที่เดิมจนบางครั้ง
    รู้สึกปวดอยู่ที่กระหม่อม หรือ ระหว่างคิ้ว


    วิธีแก้ ก็คือ จับความรู้สึกเป็นสุข หรืออุเบกขา
    ความเฉยนั้น มาเป็นอารมณ์ เพื่อฝึกกรรมฐาน
    เมื่อมีสุขหรือทุกข์ มากระทบจิต ก็ให้นึกถึงอารมณ์เฉย
    แล้วปล่อยวาง สุขทุกข์นั้น เมื่อทำอย่างนี้บ่อยๆ
    ก็จะสามารถละโลกธรรมแปดได้


    วิธีต่อมา ให้ละลมทิ้งเสีย แล้วเอาจิต
    ไปกำหนดที่อากาศ หรือ บนฟ้า ดู
    แต่ถ้ายังทำไม่ได้ ให้ลองเอาจิตไปกำหนดที่อื่น เช่น ที่มือ เท้า ดู

    วิธีต่อไป ให้ละทิ้งการทำสมถะ หรือการจับลม
    ไปพิจารณาที่กายแทน ให้พิจารณา โดยไม่ต้องนั่งทำสมาธิ
    แต่เปลียนไปเดินจงกลมเยอะๆ


    ให้บอกกับท่านว่า ขั้นต่อไปคือ ให้เน้นลงไปที่วิปัสสนาได้แล้ว
     
  15. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014




    ให้เพ่งลมหายใจ จะถูกที่สุด ง่ายที่สุดครับ
     
  16. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014
    มีสมาธิมากไป หรือ ไม่มีสติ ถึงทำให้ตกใจง่าย

     
  17. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014
    ไม่ได้มาซะนาน ตอนนี้กลับมาแล้วครับ
    ผมย้ายไปเมืองกาญจน์แล้ว
    เปลี่ยนอาชีพใหม่ที่ไม่ขัดกับมรรคแปดได้แล้ว
    ปฏิบัติธรรมได้คล่องขึ้น ดีครับ
     
  18. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014



    เราอ่านกระทู้ หรือ ประสพการณ์ของผู้อื่น ก็เพื่อ
    เอาไว้เปรียบเทียบกับประสพการณ์ของเราเอง
    ว่าเราปฏิบัติถึงขีั้นไหนแล้ว โดยการพิจารณา
    ลงที่จิต หรือ ใ่จของเรา เมื่อเราอ่านแล้ว
    รู้สึกชอบ หรือ รู้สึกเกลียด หรือ
    รู้สึกเฉยๆเพราะไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรา
    หรือ รู้สึกเฉยๆเพราะสภาวะธรรมของเรานั้น
    สามารถทนต่อโลกธรรม หรือ โลกกระทำได้แล้วนั่นเอง

    ส่วนผู้ที่เขียนกระทู้ หากสามารถทนต่อ
    คำติติงว่ากล่าวต่างๆได้แล้ว ก็แสดงว่า
    สภาวะธรรมของผู้เขียนก็ไม่ใช่ธรรมดาเช่นกัน
    ส่วนผู้อ่านที่ฉลาดนั้น ก็ควรจะหาแนวทาง
    หรือประสพการณ์ของคนอื่นที่คล้ายๆกับของเรา
    แล้วลองปฏิบัติไปตามนั้น หรือ ปรึกษาแนวทางการ
    ปฏิบัติของเค้า เพื่อมาเป็นต้นแบบสำหรับการปฏิบัติของเรา

    ส่วนการถกเถียงในธรรมนั้น มันอนิจจังอย่างหนึ่งเหมือนกัน
    ก็คือ เกิดกระทู้ขึ้น แล้วก็ถกเกียงกันจนเกียจกันไปข้างหนึ่ง
    แล้วก็เลิกเขียนกระทู้นั้น จนกระทู้นั้นหายไป
    แล้วก็จะมีคนเขียนกระทู้ขึ้นมาใหม่
    แล้วก็จะโดนรุมอีก จนผู้เขียนหมดกำลังใจ
    ในการเขียนไปเลย มันวนเวียนอย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด


    ส่วนคนที่เข้ามาแล้ว ออกไป ไม่ช้าก็จะต้อง
    กลับมาใหม่ เพราะไม่เห็นว่า จะมีที่ไหน
    มีการสอนได้ครอบคลุมเหมือนที่นี่
    พอมาอยู่นานๆไป ก็จะหายไปอีก
    แล้วก็จะกลับมาอีก เป็นอย่างนี้ตลอด
    แม้กระทั่ง โสดา สกิทาคา อนาคา
    ทุกคนต้องหาทางกลับมาอีกจนได้
    เพราะหนทางปฏิบัติเพื่อที่จะบรรลุธรรม
    ได้อยู่ในนี้หมดแล้ว เพียงแต่คุณจะต้อง
    หาให้เจอด้วยตัวคุณเอง เท่านั้น
     
  19. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014
    มีข้อที่ควรสังเกตอยู่หน่อยครับ
    ก็คือ ถ้าตัวเรายังไม่เป็นธรรมะ
    ก็อย่าพึ่งไปโพสต์ธรรมะ
    เพราะธรรมที่เราโพสต์ไป
    ด้วยจิตอกุศล จะก่อกรรมกับ
    ผู้อื่นที่เข้ามาอ่านได้
     
  20. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014


    การได้ยินเสียงสวดมนต์
    เป็นกันเกือบทุกคนครับ
    โดยเฉพาะพวกที่ฝึกสมถะจนได้ฤทธิ์
    ผมก็เคยได้ยิน ตั้งแต่เด็กๆ
    นานๆก็ท่องตามไป จนกระทั่ง 10 ขวบ
    ก็สวด 7 คัมภีร์ได้
    แต่กับโดนผู้ใหญ่ด่าเอา
    ว่าเอาบทสวดมนต์มาสวดเล่นๆ เดี๋ยวบาปนะ
    ก็เลยเลิกไป

    มันคือการที่จิตของเรา ที่เราฝึกได้แล้ว
    จูนคลื่นไปตรงกับจิตของผู้อื่น
    ที่ฝึกอภิญญามาเหมือนกัน
    จึงได้ยินเสียงกันเอง
    โดยเค้าสวดจากที่อื่น แต่เรากับได้ยินชัดเจน
    เหมือนกันพระสองรูปส่งกระแสจิตคุยกัน

    แต่ที่่ว่า มันเป็นมารนั้น
    ก็เพราะว่า เรายังสามารถไปติดอยู่ในเสียง
    อาจจะเป็นเพราะว่าเสียงเพราะ
    มันเป็นวิปัสสนูปกิเลส
     

แชร์หน้านี้

Loading...