เหตุที่ผมออกจากวัดพระธรรมกาย เพราะ...

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย วงบุญพิเศษ, 30 ธันวาคม 2011.

  1. makigochan

    makigochan ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    6,247
    ค่าพลัง:
    +68,041
    จริงของคุณค่ะ ถ้าถือศีลได้จริง ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบร่มเย็นได้ สมาธิ คือการนั่งสมาธิใช่ไหมคะ จากการที่ได้อ่านได้ฟังมาหลายทางมาก บ้างก็ว่านั่งสมาธิมากๆจิตจะว่างแล้วก็เพี้ยนไปหรือไม่ก็เห็นภาพแปลกๆ ไม่รู้ว่าจริงหรือคิดไปเอง ทำให้ไม่กล้านั่งสมาธิค่ะ แล้วก็ถ้าเราเป็นชาวพุทธ แต่ไม่ค่อยได้เข้าวัด ตักบาตร
    สวดมนตร์ ก็ไม่บ่อยมาก แต่เรายึดคำสอนของพระพุทธเจ้าในการใช้ชีวิต คิดว่ามีคนจำนวนไม่น้อยเลยที่เป็นอย่างนี้ค่ะ แนวทางนี้ถือว่าเป็นชาวพุทธอยู่หรือไม่คะ
     
  2. ธรรมเกิน

    ธรรมเกิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    487
    ค่าพลัง:
    +140
    ตามความเห็นส่วนตัว คงต้องแบบนั้นครับ ผมไม่มีความรู้ด้านนี้มากนัก แต่อาศัยประสบการณ์ชีวิตทำให้เรียนรู้จากพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเพียงข้อเดียวที่ว่า " ละกิเลส " เท่านั้น คนที่เข้าใจคำนี้ ย่อมทราบดีว่า ควรดำเนินชีวิตอย่างไร ส่วนคนที่ไม่เข้าใจ ย่อมถูกชักจูงจากบางคน โดยอาจอ้างในสิ่งที่มองไม่เห็น เช่น สวรรค์ มาหลอกล่อ หรือ อาจอวดอุตริ ว่า เคยไปมาแล้ว แต่ไม่เคยแสดงหลักฐานให้ดูได้ว่าเคยไปมาจริงๆ แต่ก้อยังมีคนที่หลงไปกับความสวยงามของสวรรค์ ที่เขาหลอกล่อทำให้ต้องหมดเนื้อ หมดตัวกันเลยที่เดียว
    ขอขอบคุณคุณ afseven ที่ช่วยมาตอบแทนครับ..
     
  3. ธรรมเกิน

    ธรรมเกิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    487
    ค่าพลัง:
    +140
    จริงอย่างที่คุณบอกครับ... แต่ด้วยเหตุใดไม่ทราบ อาจเป็นเรื่องของอิทธิพลต่างๆ ทำให้เขายังยืนอยู่ได้ แต่ไม่เป็นไรครับ ผมเชื่อว่า " สวรรค์มีตา " ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มีนาคม 2012
  4. ธรรมเกิน

    ธรรมเกิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    487
    ค่าพลัง:
    +140
    ผมว่าเรื่องแบบนี้พิจารณาจากจริตของเราเองดีกว่าครับ พิจารณาจากความจริงที่เกิดขึ้น บางครั้งมีอย่างอื่นแอบแฝงทำให้ มติของสงฆ์ไม่สามารถทำอะไรได้
     
  5. afseven

    afseven เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2010
    โพสต์:
    782
    ค่าพลัง:
    +510

    นี่สิจริงแท้แน่นอน เด็ดขาดมุ่งมั่นไม่เสื่อมคลาย
    ขอล่วงเกินถือวิสาสะนะครับ
     
  6. ธรรมเกิน

    ธรรมเกิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    487
    ค่าพลัง:
    +140
    สวัสดียามดึกครับคุณ afseven ผมชอบความเป็นจริงครับ เพราะเราต้องอยู่กับความจริง แต่ผมไม่ใช่คนเครียดนะครับ..
     
  7. afseven

    afseven เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2010
    โพสต์:
    782
    ค่าพลัง:
    +510
    ฐานของสมาธิคือศีล ถ้ารักษาศีลโดยสม่ำเสมอจนเป็นนิสัยแล้ว ไม่ต้องกลัวว่านั่งสมาธิแล้วจะเพี้ยน
    ถ้าจะเพี้ยนสาเหตุก็อาจมาจากศีลเราพ่องไปหรือ มีความวิตกกังวลมากเกินจำเป็นในเรื่องเล็กๆน้อยๆ บอกตัวว่าอย่ากลัวเพราะนี่เป็นความดีเป็นกุศล การเกิดมาเป็นมนุษย์ในชาตินึงนั้นเป็นของยากมาก และยังไม่รู้ว่าต่อไปจะได้มาเกิดอีกหรือเปล่า นี่เป็นเกร็ดเล็กๆที่ปลุกความฮึกเหิมของจิตได้ ถ้ายังไม่อุ่นใจก็อาราธนาพระรัตนตรัยมาเป็นที่ตั้งแห่งจิตเลยก็ได้ครับ

    การไม่ค่อยจะได้เข้าวัดหรือตักบาตร สแดงว่ายังตักบาตรเข้าวัดบ้างตามโอกาส อันนี้มันเป็นคำตอบในตัวอยู่แล้วครับ
    สิ่งที่คุณทำถูกต้องแล้วครับ
    อนุโมทนาสาธุครับ
     
  8. afseven

    afseven เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2010
    โพสต์:
    782
    ค่าพลัง:
    +510
    แหมแซวหน่อย ตอบซะผมกลัวเลย 555
     
  9. ธรรมเกิน

    ธรรมเกิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    487
    ค่าพลัง:
    +140
    555+++ ตัวตนผมเป็นคนแบบ ฮา ฮา ถ้ารู้จักผมเป็นการส่วนตัว จะรู้ว่าผม ฮา จิงๆ แต่บางเรื่องก้อชอบคุยเเบบเป็นเรื่องเป็นราว ตามความถูกต้อง แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานความจริงครับ...ผมเชื่อว่าความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย แต่ก้ออาจตายเพราะความจริงได้เหมือนกัลลล..555+++
     
  10. afseven

    afseven เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2010
    โพสต์:
    782
    ค่าพลัง:
    +510
    ครับผมเชื่อตามนั้นครับ. มันก็จริงนะ รู้จักกันในเว็บนี้มาตั้งนานแต่ก็ยังไม่ได้เป็นการส่วนตัว เอาไว้อะไรๆส่วนตัวผมเข้าที่เข้าที่เข้าทางก่อน จะพาครอบครัวมารู้จักบ้าง ถ้าไม่รังเกียจนะครับ ใหนๆเราก็มีโครงการเข้าหาด้วยกันอยู่แล้วนี่นา ( เอะยังไง ):cool:
     
  11. ธรรมเกิน

    ธรรมเกิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    487
    ค่าพลัง:
    +140
    ยินดีครับ...ว่าแต่ว่า มีเงินให้ยืมสักห้าพันไหมครับ....5555++++
     
  12. afseven

    afseven เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2010
    โพสต์:
    782
    ค่าพลัง:
    +510

    เอาจริงหรือเปล่าครับ ถ้าจริงมีครับ
    ไม่มีดอก ไม่เรียกเก็บล่วงหน้า ไม่ทำสัญญา ใช้ใจวัดใจเท่านั้นพอครับ
     
  13. ธรรมเกิน

    ธรรมเกิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    487
    ค่าพลัง:
    +140
    ล้อเล่นครับ...ไม่ขัดสนขนาดครอบครัวไม่มีอะไรกิน ไม่กล้าบากหน้ายืมตังใครครับ... ขอบคุณครับ:cool::cool:
     
  14. afseven

    afseven เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2010
    โพสต์:
    782
    ค่าพลัง:
    +510
    งั้นผมขอตัวพักผ่อนก่อนนะครับ
    อ้อ อย่าลืมเข้าไปอ่านเจ้าลัทธิใหม่ด้วยนะครับ. น่าสนใจเหมือนกัน แต่อย่าไปทักทายเขาตรงๆนา เดี๋ยวกระทู้จะติดดาวเร็วเกินไป
    ไปละ่ครับ
     
  15. rravikran

    rravikran เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2011
    โพสต์:
    297
    ค่าพลัง:
    +151
    ใกล้แล้วละครับ เดี๋ยวไชยบูลย์ตายไปทุกอย่างมันจะค่อยๆเผยความจริงออกมา แล้วถึงตอนนั้นผมว่าสาวกบางคนที่ศรัทธามากๆพอรู้ความจริง ตอนนั้นไม่แน่ว่าอาจมีข่าวคนฆ่าตัวตายกันมากเลยทีเดียวเพราะรู้ความจริงที่บุคคลที่ตนศรัทธาจนสุดหัวใจทำไว้นั้นมันคือ ความหลอกลวง

    ผมคิดว่าตอนนี้ ใครทำกรรมใดไว้ ย่อมได้ผลของกรรมนั้นครับ ความจริง คือ ความจริง คนที่เข้าวัดเป็นสาวกหลงงมงายอยู่ ซักคนเค้าก็คงคิดได้ แต่ตอนนี้คงต้องปล่อยให้ไชยบูลย์จูงจมูกไปก่อน เดี๋ยวเจ็บจมูกแล้วคงคิดได้เอง
     
  16. ธรรมเกิน

    ธรรมเกิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    487
    ค่าพลัง:
    +140
    น่าสงสารคนอีกหลายๆคนทีตกเป็นเหยื่อของเขา เพราะเพียงแค่ อยากไปสวรรค์ ยามเมื่อชีวิตดับสิ้นลงไป คงทำได้แต่ชี้แนะเท่าที่จะทำได้ ไม่ได้หวังอะไรจากคนเหล่านั้น แค่ทุกคนตาสว่างขึ้นมาเท่านั้นก้อพอครับ เหมือนกับ จขกท ที่เคยตอบโต้ทางความคิดกับผมมาก่อน จนทุกวันนี้ถอนตัวจากวังวนออกมาได้ ผมก้ออนุโมทนากับคุณวงบุญด้วยครับ แค่กระทู้ที่คุณวงบุญเสียสละเวลาตั้งขึ้นมา ก้อเป็นบุญสำหรับบุคคลทั่วไปแล้วครับ ที่เผยแผ่ความจริงที่เคยเกิดกับ จขกท
     
  17. makigochan

    makigochan ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    6,247
    ค่าพลัง:
    +68,041
    [​IMG]
    จากการเข้ามาอ่านกระทู้นี้ทำให้อยากรู้ว่าอะไรใช่อะไรไม่ใช่ ก็เลยไปหามาได้ดังข้างล่างนี้ค่ะ เพื่อจะได้เป็นแนวทางให้แต่ละท่านพิจารณาเอาเอง สำหรับตัวเองก็เพิ่งจะมารู้ ได้ในวันนี้เองค่ะ ขอให้ธรรมะคุ้มครองทุกท่านในกระทู้นี้และท่านอื่นๆที่อยู่ในเว็บนี้ด้วยค่ะ
    อนุโมทนาค่ะ


    วินัยสงฆ์

    วินัยสงฆ์ หรือพระวินัย เป็นกฎหมายของพระภิกษุ เป็นเครื่องควบคุมความประพฤติการปฏิบัติตนของภิกษุให้เป็นนักบวชที่น่าเคารพเลื่อมใส ทำให้ผู้พบเห็นเกิดความศรัทธาชื่นชม และมีใจโน้มเข้าหาเพื่อฟังธรรมต่อไป

    พระวินัยนั้นพระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติตามเหตุที่บังเกิดขึ้น เมื่อมีภิกษุทำสิ่งที่ไม่เหมาะสมหรือทำความเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าก็ทรงประชุมสงฆ์ ตรัสถามเรื่องราวจากภิกษุผู้กระทำผิดให้ได้ความกระจ่าง แล้วทรงชี้ให้เห็นโทษของความประพฤติผิดนั้นๆ พร้อมกับทรงชี้ทางที่ควรประพฤติให้สงฆ์ได้ทราบ


    <IFRAME style="Z-INDEX: 100000; BORDER-BOTTOM: 0px; POSITION: absolute; BORDER-LEFT: 0px; WIDTH: 1px; HEIGHT: 1px; BORDER-TOP: 0px; TOP: 0px; BORDER-RIGHT: 0px; LEFT: 0px" id=_atssh262 title="AddThis utility frame" height=1 src="//s7.addthis.com/static/r07/sh078.html#iit=1331646279711&tmr=load%3D1331646273898%26core%3D1331646274138%26main%3D1331646279705%26ifr%3D1331646279714&cb=0&kw=%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%2C%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B0%2C%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%2C%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B0%2C%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B0%2C%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C%2C%E0%B8%A8%E0%B8%B5%E0%B8%A5%2C%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%2C%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4%2C%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%2C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%8A%2C%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%2C%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%2C%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%2C%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%2C%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B9%8C%2C%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9B%2Cdhamma%2Cdhrama%2Cbuddha%2CConcentration%2Cmeditation%2C&ab=-&dh=www.dhammajak.net&dr=&du=http%3A%2F%2Fwww.dhammajak.net%2Fforums%2Fviewtopic.php%3Ff%3D30%26t%3D22785&dt=%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B9%89%20-%20%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%86%E0%B9%8C-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%81%20%E2%80%A2%20%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3&md=0&cap=tc%3D0%26ab%3D0&inst=1&jsl=0&lng=th&ogt=&pc=men&pub=dhammajak&ssl=0&sid=4f5f4f427f3f5d22&srd=1&srf=0.02&srp=0.2&srl=1&srx=1&ver=250&xck=0&xtr=0&og=&rev=110436&ct=1&xld=1&xd=1" frameBorder=0 width=1 name=_atssh262></IFRAME>
    ข้อห้ามนั้นจึงบัญญัติขึ้นเป็นพระวินัย ห้ามมิให้ภิกษุทำอีกต่อไป การทำผิดพระวินัยเรียกว่า อาบัติ พระภิกษุที่อาบัติต้องรับโทษหนักเบาตามความรุนแรงของอาบัติที่กระทำ

    พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติชั้นความผิดที่รุนแรงมากน้อยตามลำดับ ดังนี้ คือ ความผิดขั้นสูงสุด เรียกว่า ปาราชิก ชั้นรองลงมาตามลำดับคือ สังฆาทิเสส อนิยต นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ แต่ละขั้นมีจำนวนและรายละเอียดต่างกันไป แต่รวมแล้วเป็นข้อห้ามทั้งหมด ๒๒๗ ข้อ การไม่ทำสิ่งที่ทรงห้ามทั้ง ๒๒๗ ข้อ ก็คือการรักษาศีล ๒๒๗ ข้อ ที่พระภิกษุทุกรูปต้องถือปฏิบัติให้เคร่งครัดนั่นเอง

    อาบัติ

    คำว่า อาบัติ มาจากภาษาบาลีว่า อาปตติ หมายถึง “การทำผิดทางวินัยของพระสงฆ์” พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติวินัยแก่พระภิกษุสงฆ์ไว้เป็นสิกขาบท ๑๕๐ ข้อ ให้พระภิกษุปฏิบัติเพื่อควบคุมความประพฤติของภิกษุทั้งทางกาย วาจา และใจ เพื่อการปฏิบัติธรรม ขจัดอาสวะกิเลสตามที่พระพุทธเจ้าเทศนาไว้ หากภิกษุละเมิดวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ก็เรียกว่า อาบัติ หรือต้องอาบัติ เมื่อวินัยมีจำนวนมากดังนี้ ในบางครั้งพระภิกษุจึงอาจเผอเรอ กระทำผิดไปโดยเจตนาบ้าง ไม่เจตนาบ้าง จึงได้ทรงบัญญัติวิธีแก้ความผิดนั้น คนทำผิดต้องรับโทษตามความผิดเพื่อจะได้รู้สำนึกและไม่กระทำผิดอีกต่อไป เมื่อความผิดมีความหนักเบาต่างกัน โทษก็ต้องหนักเบาต่างกันไปด้วย การทำผิดทางวินัยหรืออาบัติของพระภิกษุสงฆ์ จำแนกตามหมวดหมู่ได้ดังนี้

    อาบัติขั้นสูงสุด เรียกว่า ปาราชิก เป็นความผิดที่ละเมิดข้อห้ามใดข้อห้ามหนึ่งในจำนวน ๔ ข้อ คือ เสพเมถุน ถือเอาของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้หรือลักขโมยนั่นเอง ฆ่ามนุษย์ให้ตาย หรืออวดอุตริมนุสสธรรม ภิกษุผู้กระทำผิด เรียกว่า ต้องอาบัติปาราชิก โทษที่ได้รับเป็นโทษหนัก คือ การขาดจากความเป็นภิกษุ

    อาบัติขั้นรองลงมา คือ สังฆาทิเสส หมายถึง ความผิดในการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งในจำนวน ๑๓ ข้อ เช่น มีความกำหนัดอยู่แล้วจับต้องกายหญิง มีความกำหนดอยู่แล้วพูดเกี้ยวหญิง เป็นสื่อชักให้ชายหญิงเป็นสามีภรรยากัน ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน เป็นต้น ภิกษุผู้กระทำผิดเรียกว่า ต้องสังฆาทิเสส เป็นโทษระดับกลาง ต้องรับโทษ “อยู่กรรมทรมานตน” จึงจะพ้นอาบัติ การอยู่กรรมทรมานตน คือ การอยู่ในที่สงบในช่วงเวลาหนึ่ง สำรวมกายใจ ใคร่ครวญพิจารณาโทษของตนแล้วตั้งใจไม่กระทำความผิดเช่นนั้นอีก

    อาบัติขั้นรองลงไป คือ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ มีจำนวน ๓๐ ข้อ ปาจิตตีย์ มีจำนวน ๙๒ ข้อ เป็นโทษเบา เรียกชื่อเช่นเดียวกับความผิดนั้นเช่นเดียวกัน คือ ผิดขั้นนิสัคคิยปาจิตตีย์ ก็เรียกว่าต้องอาบัตินิสัคคิยปาจิตตีย์ อาบัติขั้นต่ำลงไปเป็นโทษเบา คือ ปาฏิเทสนียะ มีจำนวน ๔ ข้อ การปฏิบัติผิดเสขิยวัตรข้อใดข้อหนึ่งใน ๗๕ ข้อ จัดเป็นโทษเบา ผู้ที่ทำผิดโทษเบาจะต้องแสดงความผิดของตนต่อคณะสงฆ์

    อนิยต มีจำนวน ๒ ข้อ เป็นความผิดที่ไม่กระจ่างชัด ว่าควรจัดเป็นโทษระดับใด จึงต้องมีการไต่สวนและพิจารณากำหนดขั้นโทษตามพยานหลักฐาน

    อธิกรณสมถะ มีจำนวน ๗ ข้อ เป็นวิธีการพิจารณาว่าจะตัดสินความผิดนั้นหรือไม่อย่างไร เช่น ตัดสินตามเสียงข้างมาก การประนอมยอมความ เป็นต้น

    ความผิดที่มีโทษขั้นเบา เรียกเป็นคำศัพท์ว่า อาบัติถุลลัจจัยบ้าง อาบัติทุกกฎบ้าง และอาบัติทุพภาษิตบ้าง เป็นสิกขาบทที่ไม่ได้มีอยู่ในพระปาติโมกข์

    เมื่อภิกษุรูปใดรูปหนึ่งอาบัติ ก็ถือกันว่าภิกษุรูปนั้นไม่บริสุทธิ์ จะไม่สามารถลงโบสถ์ร่วมทำสังฆกรรมกับภิกษุอื่นๆ ได้ จะต้องแก้อาบัติให้ตนกลับมีความบริสุทธิ์เสียก่อน การไม่กระทำความผิดข้อใดๆ ก็คือการรักษาศีลให้บริสุทธิ์อย่างเคร่งครัดนั่นเอง

    การปฏิบัติตนเพื่อแก้อาบัตินั้นมีต่างๆ กันไป สุดแท้แต่ความหนักเบาของศีลที่อาบัติ มีตั้งแต่การประกาศความผิดของตนต่อภิกษุอื่น การอยู่ในบริเวณจำกัด เฉพาะเพื่อสำนึกผิด ยกจนถึงการขาดจากความเป็นภิกษุ เช่น ภิกษุที่ต้องอาบัติปาราชิกจะต้องสึกออกไปใช้ชีวิตเป็นฆราวาส ไม่สามารถดำรงเพศเป็นภิกษุต่อไปอีกได้

    ปาราชิก

    คำว่า ปาราชิก สันนิษฐานว่าแปลว่า “ผู้แพ้” อาจหมายถึง “ผู้แพ้แก่วิถีชีวิตการเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาปาราชิกเป็นอาบัติขั้นที่ร้ายแรงที่สุด ภิกษุไม่ว่ารูปใด ถ้าหากอาบัติถึงขั้นปาราชิกแล้วจะสิ้นสภาพการเป็นภิกษุทันที แม้ว่าจะยังครองผ้าเหลืองหรือปฏิบัติตนอย่างภิกษุอื่นๆ อยู่ก็ตาม ภิกษุที่รู้ตนเองว่าอาบัติปาราชิกแล้วสามารถลาสิกขาไปใช้ชีวิตอยู่อย่างฆราวาสทั่วไปได้ แต่หากยังคงดื้อครองผ้าเหลืองหลอกให้ผู้คนกราบไหว้อยู่อีก ก็จะยิ่งเป็นบาปหนาที่พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ

    อาบัติปาราชิกมี ๔ ประการ ได้แก่ การเสพเมถุน การลักทรัพย์ การฆ่ามนุษย์ และการอวดอัตริมนุสธรรม

    ๑. การเสพเมถุน คือ การร่วมประกอบกิจกรรมทางเพศ ไม่ว่าจะกระทำกับผู้หญิงหรือผู้ชาย หรือกระทำกับสัตว์ก็ตาม ปาราชิกข้อการเสพเมถุน บางทีก็เรียกกันว่า ปฐมปาราชิก แปลว่า “ปาราชิกข้อแรก”

    ๒. การลักทรัพย์ คือ การนำทรัพย์ของผู้อื่นไปเป็นของตนโดยเจตนา ในเมืองไทยกำหนดว่า การลักทรัพย์มีมูลค่าตั้งแต่ ๑ บาทขึ้นไป เป็นการผิดหรือเป็นอาบัติขั้นปาราชิก การเจตนาแอบอ้างความคิดหรือผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน หรือการเบียดบังเอาเงินในกองทุนที่มีผู้ศรัทธาถวายเป็นทานเพื่อใช้ในกิจของสงฆ์ หรือกิจของศาสนามาใช้ส่วนตัว ก็ถือว่าเป็นอาบัติปาราชิกเช่นกัน

    ๓. การฆ่ามนุษย์ คือ การเจตนาทำให้มนุษย์ถึงแก่ความตาย ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดๆ ไม่ว่าจะลงมือฆ่าเองหรือใช้ให้คนอื่นฆ่าให้ก็ตาม ถือเป็นความผิดปาราชิกข้อที่ ๓ ทั้งสิ้น

    ๔. การอวดอุตริมนุสธรรม คือ การพูดอวดผู้อื่นว่าตนได้บรรลุธรรมะระดับสูง เช่น บรรลุโสดาบัน บรรลุอรหันต์ เป็นต้น ไม่ว่าตนจะได้บรรลุธรรมตามที่ตนได้อวดอ้างไปจริงหรือไม่ก็ตาม

    อาบัติปาราชิก หากผิดแม้แต่เพียงข้อเดียวก็ถือว่าภิกษุผู้อาบัติสิ้นสภาพการเป็นภิกษุแล้ว แม้จะไม่มีใครล่วงรู้หรือจับได้ก็ตาม การกราบไหว้บูชาภิกษุที่อาบัติปาราชิก นอกจากจะไม่เป็นบุญเป็นกุศลแล้ว ยังผิดมงคลที่พระพุทธเจ้าทรงเทศนาไว้ที่ว่า บูชาบุคคลที่ควรบูชาอีกด้วย


    ข้อมูล :: - <!-- m -->ยินดีต้อนรับเข้าสู่สกุลไทยออนไลน์<!-- m -->

    ::
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มีนาคม 2012
  18. ธรรมเกิน

    ธรรมเกิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    487
    ค่าพลัง:
    +140
    เยี่ยมครับ คุณ makigochan ที่หาข้อมูลมาให้เพื่อนสมาชิกได้อ่านกัน
     
  19. makigochan

    makigochan ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    6,247
    ค่าพลัง:
    +68,041
    [​IMG]
    ขอบคุณค่ะ คุณธรรมเกิน
     
  20. GUYTHUM

    GUYTHUM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2008
    โพสต์:
    1,354
    ค่าพลัง:
    +1,088
    อาบัติขั้นรองลงมา คือ สังฆาทิเสส หมายถึง ความผิดในการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งในจำนวน ๑๓ ข้อ เช่น มีความกำหนัดอยู่แล้วจับต้องกายหญิง มีความกำหนดอยู่แล้วพูดเกี้ยวหญิง เป็นสื่อชักให้ชายหญิงเป็นสามีภรรยากัน ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน เป็นต้น ภิกษุผู้กระทำผิดเรียกว่า ต้องสังฆาทิเสส เป็นโทษระดับกลาง ต้องรับโทษ “อยู่กรรมทรมานตน” จึงจะพ้นอาบัติ การอยู่กรรมทรมานตน คือ การอยู่ในที่สงบในช่วงเวลาหนึ่ง สำรวมกายใจ ใคร่ครวญพิจารณาโทษของตนแล้วตั้งใจไม่กระทำความผิดเช่นนั้นอีก
    แบบนี้เรียกว่าเข้ากรรมปาริวาส
    คำว่า ปาราชิก สันนิษฐานว่าแปลว่า “ผู้แพ้” อาจหมายถึง “ผู้แพ้แก่วิถีชีวิตการเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาปาราชิกเป็นอาบัติขั้นที่ร้ายแรงที่สุด ภิกษุไม่ว่ารูปใด ถ้าหากอาบัติถึงขั้นปาราชิกแล้วจะสิ้นสภาพการเป็นภิกษุทันที แม้ว่าจะยังครองผ้าเหลืองหรือปฏิบัติตนอย่างภิกษุอื่นๆ อยู่ก็ตาม ภิกษุที่รู้ตนเองว่าอาบัติปาราชิกแล้วสามารถลาสิกขาไปใช้ชีวิตอยู่อย่างฆราวาสทั่วไปได้ แต่หากยังคงดื้อครองผ้าเหลืองหลอกให้ผู้คนกราบไหว้อยู่อีก ก็จะยิ่งเป็นบาปหนาที่พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ
    แบบนี้เป็นได้แค่เณร
     

แชร์หน้านี้

Loading...