เหตุการณ์ใน-นอกโลก VS ภัยธรรมชาติ และupdate พายุสุริยะ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Falkman, 10 มกราคม 2011.

  1. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟส อ.ก้องภพ อยู่เย็นครับ

    สำหรับผู้ที่สนใจติดตามสถานการณ์อวกาศนอกโลกในช่วงนี้จะพบว่า ในวันที่ 29-30 พฤศจิกายน เกิดปฏิกริยาดวงอาทิตย์มากกว่าปกติ ส่งพลังงานออกมาเป็นมุมกว้าง โดยมีทิศหลักออกไปทางตะวันตก ไม่ตรงกับโลก
    https://www.youtube.com/watch?v=gpF0a_KRcW4 ในช่วงเดียวกันนี้ยังพบปริมาณจุดดับลดลงต่ำสุดในรอบหลายสัปดาห์ และส่งรังสี X-ray ออกมาสูงสุดในระดับ C3

    นอกจากนั้นแล้วในช่วงนี้ยังเป็นช่วงที่มีความสำคัญทางดาราศาสตร์ โดยมีการเรียงตัวระหว่าง ดวงอาทิตย์ โลก และ ดาวเสาร์ และ ระหว่าง ดวงอาทิตย์ ดาวอังคาร และ ดาวพฤหัส เป็นเส้นตรง

    ในช่วงเดียวกันบนโลกจะพบความเปลี่ยนแปลงที่มากกว่าปกติเช่น เกิดภูเขาไฟระเบิดที่ประเทศนิคารากัว เป็นครั้งแรกในรอบหนึ่งร้อยปี
    Nicaragua's Momotombo Volcano Has Erupted For the First Time in 100 Years | WIRED

    และมีรายงานฝนตกหนักสุดในรอบ 20 ปี ทางตอนใต้ของที่ประเทศอินเดีย Chennai, India, Flood Threat Continues After City Records Wettest November in Over 20 Years

    เมื่อมีทั้งการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ คือมีปริมาณน้ำมากกว่าปกติ บวกกับการคลายพลังงานใต้โลกในรูปแบบภูเขาไฟแล้วจะพบว่าจะเป็นช่วงมีจะสงบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ชั่วคราว ( ซึ่งสามมารถตรวจสอบได้จาก Latest Earthquakes in the world )
    ทั้งนี้เป็นเพราะพลังงานได้กระจายตัวในชั้นบรรยากาศ และปลดปล่อยผ่านทางปฏิกริยาภูเขาไฟระเบิด ส่งผลให้พลังงานไม่มีการสะสมในชั้นหินมากพอให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้ แต่แผ่นดินไหวที่มีมากกว่าปกติก็สามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงวันดังกล่าว

    ในภาพรวมแล้วหลักการสังเกตยังเป็นรูปแบบเดิม นั่นคือความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติบนโลก จะมีมากกว่าปกติในช่วงที่ดวงอาทิตย์มีปฏิกริยามากกว่าปกติในรูปแบบของการแกว่งตัวของปริมาณจุดดับ และพายุสุริยะ แต่จะไม่แปรตามขนาดความเข้มของรังสี X-ray หรือ Solar flare เสมอไป

    จึงเรียนมาให้ทุกท่านที่สนใจรับทราบเป็นกรณีศึกษา เพื่อช่วยในการคาดการณ์ภัยธรรมชาติ และเตือนภัยในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถเผยแพร่ให้ความรู้กับผู้อื่นที่มีความสนใจในเรื่องนี้ต่อได้ครับ
     
  2. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟส อ.ก้องภพ อยู่เย็น ครับ

    ในช่วงวันที่ 10-12 ธันวาคม พบปฏิกริยาดวงอาทิตย์ที่มากกว่าปกติ โดยปริมาณจุดดับเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบหลายสัปดาห์ โดยส่งรังสี X-ray ออกมาสูงสุดในระดับ C7 โดยการเปลี่ยนแปลงในช่วงนี้ไม่รวดเร็วหรือฉับพลันเมือเทียบกับช่วงที่ผ่านมา

    ในช่วงเดียวกันนี้เองยังเป็นช่วงที่มีความสำคัญทางดาราศาสตร์ โดยมีการเรียงตัวระหว่าง ดวงอาทิตย์ พุธ อังคาร พฤหัส และ ดาวเนปจูน และ ระหว่าง ดวงอาทิตย์ โลก และ ดวงจันทร์ เป็นเส้นตรงโดยประมาณ

    ในขณะที่สถานการณ์บนโลกพบว่ามีปริมาณน้ำในอากาศเพิ่มสูงขึ้น
    โดยที่แผ่นดินไหวทั่วโลกได้ลดระดับความรุนแรงลงจากช่วงที่ผ่านมา เพราะความรุนแรงของแผ่นดินไหวจะแปรผกผันกับปริมาณความชื้นในชั้นบรรยากาศรอบโลก

    โดยความชื้นในชั้นบรรยากาศนั้นจะมีมากก็มีเหตุปัจจัยจากภายนอกได้เช่นกัน โดยในช่วงนี้เป็นช่วงที่มีมวลพลาสม่าจากพายุสุริยะเข้ามาที่โลก ซึ่งเป็นผลมาจากปฏิกริยาดวงอาทิตย์ที่เป็นมุมกว้างรอบด้านในวันที่ 7 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยพลังงานได้เข้ามากระทบในวงโคจรของโลกในระหว่างวันที่ 10-11 ธันวาคม (หรือนับเวลา 3-4 วันหลังจากเกิดเหตุโดยประมาณ) http://sidc.oma.be/…/LAS…/2_5_0/qkl/2015/12/CME0021/CME.html
    และจะเป็นช่วงที่มีพายุก่อตัวมากขึ้นบนโลกตามมา เช่น พายุ Melor RSOE - Emergency and Disaster Information Service

    การที่แผ่นดินไหวทั่วโลกลดลงในช่วงนี้นั้น สามารถอธิบายได้โดยใช้ ทฤษฏีทางไฟฟ้า โดยอุปมาว่าโลกเป็นตัวเก็บประจุขนาดใหญ่ ที่มีชั้นบรรยากาศเป็นฉนวน เมื่อมีน้ำในอากาศมากจึงส่งผลให้พลังงานที่ได้รับจากภายนอกโลกมีการถ่ายเทในชั้นบรรยากาศมากกว่าลงสู่ใต้พื้นดิน จึงมีพายุก่อตัวได้มากกว่าปกติมากกว่าแผ่นดินไหวครับ

    จะเห็นได้ว่าทุกอย่างเกิดขึ้นเป็นชั่วขณะและดับลงไปชั่วขณะ ดูเป็นเหตุการณ์ที่สืบเนื่องกัน ตามเหตุปัจจัยระยะใกล้
    ถ้าทราบถึงเหตุปัจจัยที่อยู่รอบๆ และเข้าใจถึงกลไกการทำงานของมันก็จะสามารถคาดการณ์แนวโน้มของภัยธรรมชาติบนโลกได้ นอกจากนั้นแล้วก็ยังสามารถคาดการณ์ปฏิกริยาดวงอาทิตย์ที่จะมีมากกว่าปกติในช่วงใดล่วงหน้าได้อีกด้วยครับ
     
  3. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,428
    ค่าพลัง:
    +3,208
    บางอย่างก็มีเรื่องบังเอิญเข้ามาอย่างไม่น่าเชื่อ
     
  4. Spammer

    Spammer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    976
    ค่าพลัง:
    +3,498
    ไม่โพสต์ต่อแล้วเหรอครับท่าน เสียดายจังผมติดตามตลอดเลย :(
     
  5. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    บางที อ.ไม่ค่อยอัพเดทครับ เจออีกทีก็ผ่านไปแล้ว

    จากเฟส อ.ก้องภพ อยู่เย็นครับ

    วัน ที่ 23-24 มกราคม นี้ จะเป็นวันสำคัญดาราศาสตร์ในระบบสุริยะอีกครั้ง โดยมีการเรียงตัวระหว่าง ดาว พุธ ศุกร์ และ ดาวเสาร์, ระหว่าง ดวงอาทิตย์ ดาวพุธ และ ดาวพฤหัส
    และ ระหว่าง ดวงอาทิตย์ โลก และ ดวงจันทร์ เป็นเส้นตรง
    ส่วนในวันที่ 19 มกราคม ที่ผ่านมานั้น พบว่าปริมาณจุดดับเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบสัปดาห์
    หลังจากนั้นจะสังเกตเห็นว่า มีสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงมากกว่าปกติทั่วโลก โดยเฉพาะเรื่องความหนาวเย็น
    และมีแผ่นดินไหวขนาด 6.5 เกิดขึ้นในวัน 21 มค ที่ประเทศเม็คซิโก Earthquake - Magnitude 6.5 - OFF COAST OF JALISCO, MEXICO - 2016 January 21, 18:06:58 UTC
    และมีพายุก่อตัวบริเวณมหาสมุทรอินเดีย http://hisz.rsoe.hu/alertmap/database/index.php…

    สำหรับสภาพอากาศในช่วงนี้นั้นว่าจะมีพายุหิมะเกิดขึ้นสูงสุดในระหว่างวันที่ 23-24 มกราคม
    http://www.cnn.com/…/…/winter-snowstorm-washington-blizzard/
    ทุกท่านที่สนใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ปฏิกริยาดวงอาทิตย์ และภัยธรรมชาติบนโลก
    โปรดติดตามสังเกตดูความสัมพันธ์เหล่านี้ได้ระหว่างวันนี้ถึงวันที่ 27 มกราคม ครับ
     
  6. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟส อ.ก้องภพ อยู่เย็นครับ

    ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พบว่าปริมาณจุดดับที่ดวงอาทิตย์เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบเกินกว่า 3 เดือน นอกจากนั้นแล้วยังพบว่า มีแนวสนามแม่เหล็กเปิดที่ดวงอาทิตย์โคจรมาเรียงตัวกับโลกเป็นเส้นตรง ในช่วงต้นวันที่ 5 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยในช่วงนี้เองยังเป็นวันสำคัญทางดาราศาสตร์เกี่ยวกับโลก โดยมีการเรียงตัวระหว่าง โลก ดวงจันทร์ ดาวศุกร์ และ ดาวพูลโต เป็นเส้นตรงโดยประมาณ

    สำหรับเหตุการณ์บนโลกในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พบว่า เกิดภูเขาไฟระเบิดที่ประเทศญี่ปุ่น Sakurajima volcano in Japan erupts | World news | The Guardian และ เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่ประเทศใต้หวันขนาด 6.3 ในเวลา 19:57 UT Earthquake - Magnitude 6.4 - TAIWAN - 2016 February 05, 19:57:27 UTC
    โดยทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา มีการก่อตัวของพายุหิมะขึ้น https://weather.com/forecast/regional/news/wind-snow-blizzard-plains-upper-midwest-february-2016
    ในอีก 2-3 วันข้างหน้า ที่เป็นช่วงที่แนวสนามแม่เหล็กเปิดอีกแนวหนึ่ง จะโคจรเข้ามาเรียงตัวกับโลกเช่นกัน

    ทุกท่านที่ส่นใจเกี่ยวกับเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาตินอกโลกที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์บนโลก สามารถติดตามสังเกตการณ์ต่อเนื่องได้ถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ครับ
     
  7. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟส อ.ก้องภพ อยู่เย็น ครับ
    https://www.facebook.com/KongpopUyen/posts/1038865259507306

    สำหรับกรณีศึกษาเกี่ยวกับภัยธรรมชาติในช่วงนี้ จะพบว่าปริมาณจุดดับบนดวงอาทิตย์ อยู่ในช่วงต่ำสุดในรอบ 12 วัน ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ เวลา 0 UT และเกิดการปะทุที่ดวงอาทิตย์ส่งพลังงานออกมาในทิศทางด้านเดียวกับโลก โดยพลังงานจะเดินทางเข้ามาในแนววงโคจรของโลกในระหว่างวันที่ 14-15 กุมภาพันธ์
    http://iswa.ccmc.gsfc.nasa.gov/IswaSystemWebApp/StreamByDataIdServlet?allDataId=897341931

    และเป็นช่วงที่สนามแม่เหล็กเปิดที่ดวงอาทิตย์ (บริเวณสีดำตามภาพที่แนบมา) เรียงตัวในแนวเดียวกับโลก

    สำหรับเวป CACTUS (CACTus Diagostics) ซึ่งมีหน้าที่รายงานการปะทุที่ดวงอาทิตย์ในแต่ละครั้ง ได้หยุดให้ข้อมูลการปะทุระหว่างวันที่ 10-15 กุมภาพันธ์ แม้ว่าภาพถ่ายดาวเทียม STEREO สามารถจับภาพการปะทุครั้งนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ ก็ตาม http://stereo.gsfc.nasa.gov/browse/2016/02/11/ahead_20160211_cor2_512.mpg

    ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่กว่าปกติที่ประเทศนิวซีแลนด์ ขนาด 5.8 และมีรายงานดินถล่มเกิดขึ้น
    นอกจากนั้นแล้วยังพบว่ามีพายุลูกใหม่ก่อตัวขึ้นในบริเวณมหาสมุทรอินเดีย RSOE - Emergency and Disaster Information Service
    Earthquake - Magnitude 5.8 - SOUTH ISLAND OF NEW ZEALAND - 2016 February 14, 00:13:43 UTC

    ในขณะที่ทางฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา ได้มีพายุหิมะก่อตัวขึ้น https://weather.com/storms/winter/news/winter-storm-olympia-forecast

    จึงเรียนมาให้ทุกทานทราบ เป็นกรณีศึกษาสำหรับการสังเกตเฝ้าระวังภัยและคาดการณ์ภัยธรรมชาติในครั้งต่อไปครับ
     
  8. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟส อ.ก้องภพ อยู่เย็นครับ
    https://www.facebook.com/KongpopUyen/posts1043163505744148

    วันที่ 21 กุมภาพันธ์ เวลา 11:48 UT เกิดปฏิกิริยาดวงอาทิตย์เป็นมุมกว้าง ส่งพลังงานออกมารอบทิศทาง โดยมีทิศทางหลักในทางตรงกันข้ามกับโลก CACTUS CME Details และในช่วงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พบปริมาณจุดดับบนดวงอาทิตย์ลดลงต่ำสุดในรอบ 21 วัน

    จากการคำนวณพบว่าคลื่นพลังงานจากปฏิกิริยาครั้งนี้จะเดินทางมาถึงในแนววงโคจรของโลกในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ เวลา 18 UTC +/- 12 ชั่วโมง

    http://iswa.gsfc.nasa.gov/IswaSystemWebApp/iSWACygnetStreamer?timestamp=2038-01-23+00%3A44%3A00&window=-1&cygnetId=261

    ในช่วงนี้บนโลกพบว่าทางกรมอุตุนิยมวิทยาา ได้แจ้งเตือนเกี่ยวกับสภาพความหนาวเย็นที่จะเกิดขึ้นอีกครั้งในระหว่างวันที่ 24-27 กพ นี้

    http://disaster.tnews.co.th/contents/180556/

    ดังนั้นทุกท่านที่สนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงบนโลกที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์ นอกโลก โปรดติดตามสังเกตการณ์ได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ครับ
     
  9. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟส อ.ก้องภพ อยู่เย็น ครับ
    https://www.facebook.com/KongpopUyen/posts/1047974381929727

    วันที่ 1 มีนาคม เกิดปฏิกิริยาดวงอาทิตย์มากกว่าปกติ โดยส่งพลังงานออกมาในทิศทางไม่ตรงกับโลก ในขณะที่ แนวสนามแม่เหล็กเปิดที่ดวงอาทิตย์ เรียงตัวในแนวตรงกลางกับโลกในวันที่ 2 มีนาคม และเป็นช่วงที่ปริมาณจุดดับเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 20 วัน โดยคลื่นพลังงานได้เข้ามาที่โลกในวันนี้ แนะคาดว่าจะเดินทางเข้ามาในแนววงโคจรของโลกอีกครั้งในวันที่ 4 มีนาคม เวลา 12 UT +/- 7 ชั่วโมง http://iswa.gsfc.nasa.gov/IswaSyste...mp=2038-01-23+00:44:00&window=-1&cygnetId=261

    ในเชิงดาราศาสตร์จะพบว่าเป็นช่วงที่มีการเรียงตัวของดาวระหว่าง ดวงอาทิตย์ ดาวพุธ และ ดาวศุกร์ เป็นเส้นตรง

    สำหรับบนโลกในช่วงนี้พบว่า ปริมาณน้ำชั้นบรรยากาศอยู่ในระดับต่ำ ในช่วง 3 วันที่ผ่านมาและ ไม่มีพายุขนาดใหญ่ก่อตัวบนโลก จึงเป็นช่วงที่เหมาะสมที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่

    โดยในวันที่ 2 มีนาคม 12:49 UT เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.9 ทางตะวันตกเฉียงใต้ของ ประเทศอินโดนีเซีย Earthquake - Magnitude 7.9 - SOUTHWEST OF SUMATRA, INDONESIA - 2016 March 02, 12:49:46 UTC

    ทุกท่านที่สนใจเกี่ยวกับสถานการณ์ภัยธรรมชาติ โปรดสังเกตการณ์ต่อเนื่องจนถึงวันที่ 6 มีนาคม ครับ
     
  10. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟซ อ.ก้องภพ อยู่เย็นครับ

    https://www.facebook.com/KongpopUyen/posts/1052678448125987

    ในวันที่ 4 มีนาคม ที่ผ่านมา พบปริมาณจุดดับเพิ่มขึ้นสูงสุดอย่างฉับพลันในรอบหลายสัปดาห์ โดยมีความแปรปรวนในทิศทางที่ไม่ตรงกับโลก ในขณะที่เกิดพายุสนามแม่เหล็กอย่างรุนแรงบนโลกในวันที่ 7 มีนาคม

    โดยในวันที่ 8-9 มีนาคม ทีผ่านมายังเป็นวันที่มีปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง โดยมี การเรียงตัวระหว่าง ดวงอาทิตย์ โลก และ ดาวพฤหัส และ ดวงจันทร์ เป็นเส้นตรง

    สำหรับเหตุการณ์การภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนโลกนั้นจะพบว่า มีความเปลี่ยนแปลงมากกว่าปกติในวันที่ 8-9 มีนาคม ตัวอย่างเช่น เกิดสภาพอากาศร้อนขึ้นอย่างฉับพลัน และ มีพายุทอร์นาโดก่อตัวขึ้น เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ในรัฐ เทคซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา https://weather.com/storms/severe/news/south-severe-weather-flooding-impacts
    นอกจากนั้นแล้วปฏิกริยาภูเขาไฟทั่วโลกเพิ่มจำนวนขึ้นหลังจากวันที่ 5 มีนาคม โดยพบว่าปฏิกิริยาภูเขาไฟเกิดสูงสุดในระหว่างวันที 8-9 มีนาคม (Volcano news: reports and updates on volcanic activity woldwide / 1-10 Mar, 2016) และพบแผ่นดินไหวเกิดขึ้นมากกว่าปกติทั่วโลก โดยขนาดไม่ใหญ่มากนัก

    สาเหตุหลักที่แผ่นดินไหวไม่เกิดใหญ่นั้น เป็นเพราะโลกเกิดการแกว่งตัวของสนามแม่เหล็กในชั้นบรรยากาศสูง บ่งบอกถึงพลังงานที่มีมากในชั้นบรรยากาศกว่าในใต้ดิน ผลจึงออกมาในรูปแบบของสภาพอากาศแปรปรวนเป็นหลัก โดยที่ไม่มีฝนมากนัก เนื่องจากปริมาณรังสี x-ray จากดวงอาทิตย์ อยู่ในระดับต่ำ ทำให้การเร่งการก่อตัวของน้ำในชั้นบรรยากาศมีไม่มากนัก เหตุการณ์ภัยธรรมชาติต่างๆ จึงสามารถอธิบายได้ เมื่อเข้าใจถึงเหตุปัจจัยต่างๆนอกโลก ทีให้ผลกระทบต่อโลกในแต่ละช่วงเวลาที่ไม่เท่ากัน

    จึงเรียนให้ทุกท่านทราบเป็นกรณีศึกษาอีกอันหนึ่ง ในการคาดการณ์ภัยธรรมชาติในครั้งต่อไปครับ
     
  11. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟส อ.ก้องภพ อยู่เย็นครับ

    https://www.facebook.com/KongpopUyen/posts/1058033874257111

    วันที่ 20 มีนาคม นี้จะเป็นวันสำคัญทางดาราศาสตร์อีกวันหนึ่ง โดยมีการเรียงตัวระหว่างดาวหลายแนว เช่น โลก-ศุกร์-เนปจูน, ดาวพุธ-ศุกร์ และ พลูโต, และ ดาวพุธ-ดวงอาทิตย์-ดาวพฤหัส เป็นเส้นตรง

    นอกจากนั้นแล้ว ยังเป็นช่วงที่ โลก ดวงอาทิตย์ และ ทางช้างเผือก จะอยู่ในแนวตั้งฉากกัน หรือ Spring Equinox ในเวลา 4:30 UT หรือประมาณ 11:30 UT ในเวลาประเทศไทย March Equinox

    สำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ระหว่างปรากฏการณ์นี้ กับสิ่งต่างๆทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนโลก สามารถติดตามได้ในช่วงวันดังกล่าวครับ
     
  12. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,116
    ค่าพลัง:
    +10,246
    กราฟตรวจจับระดับค่าดัชนี KP
    [​IMG]

    กราฟแสดงค่าดัชนี kp ทุก 3 ชั่วโมง กรณีมีค่ามากกว่า 5 แสดงว่าเริ่มเกิดพายุแม่เหล็กในบรรยากาศโลก ผลกระทบที่ระดับสูง หากค่า kp ไปถึง 8 หรือ 9 คือดาวเทียม การสื่อสารวิทยุ จะเริ่มถูกพายุแม่เหล็กรบกวน อาจขัดข้องไม่ทำงาน หรือในขั้นรุนแรงอาจเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลในวัตถุที่มีลักษณะยาวบนผิวโลกได้ เช่นท่อส่งน้ำมัน หรือขอลวดในหม้อแปลง อาจทำให้หม้อแปลงระเบิดเกิดไฟฟ้าดับได้
     
  13. Spammer

    Spammer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    976
    ค่าพลัง:
    +3,498
    ความแรงแค่นี้ ทำเอาดาวเทียมสื่อสารบางดวงรับสัญญาณอัพลิงค์ไม่ได้ไปหลายนาที (ไม่แน่ใจว่ามาถึงช่วงสามทุ่มกว่าของเมื่อวานรึเปล่า)
     
  14. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟซ อ.ก้องภพ อยู่เย็น ครับ
    https://www.facebook.com/KongpopUyen/posts/1080170268710138

    สำหรับกรณีศึกษาแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่ประเทศพม่าในวันที่ 13 เมษายน เวลา 13:55 UT ที่ผ่านมานั้นมีลางบอกเหตุล่วงหน้าจากปฏิกริยาดวงอาทิตย์ และสามารถคาดการณ์ได้อย่างมีรูปแบบ ตามกรณีศึกษาในอดีตที่ได้เคยเสนอไว้ใน facebook แห่งนี้ โดยในวันที่ 11 เมษายน นั้น เป็นช่วงที่ปริมาณจุดดับเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบกว่า 3 สัปดาห์ ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่ปริมาณจุดดับลดลงต่ำสุดในรอบกว่า 8 สัปดาห์ ในวันที่ 2 มีนาคม

    นอกจากนั้นแล้วในวันที่ 12 เมษายน เวลา 3 UT ได้เกิดปฏิกริยาดวงอาทิตย์ เป็นมุมกว้าง ด้านเดียวกับโลก โดยพลังงานได้เคลื่อนตัวเข้ามาในแนววงโคจรของโลกในวันที่ 13 เมษายน เวลา 13 UT และในวันเดียวกันนั้นเอง ยังเป็นวันสำคัญทางดาราศาสตร์ โดยมีการเรียงตัวระหว่าง ดาวศุกร์ ดวงอาทิตย์ และ ดาวพฤหัสเป็นเส้นตรง

    Earthquake - Magnitude 6.9 - MYANMAR - 2016 April 13, 13:55:17 UTC
    CACTUS CME Details

    จึงเรียนมาเพื่อให้ทุกท่านทราบเป็นแนวทาง ในการใช้คาดการณ์แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ครั้งต่อไปครับ
     
  15. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟซ อ.ก้องภพ อยู่เย็นครับ
    https://www.facebook.com/KongpopUye...764186763/1081828471877651/?type=3&permPage=1

    ในช่วงนี้ ทุกท่านจะพบว่ามีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ได้แก่ แผ่นดินไหวที่ประเทศญีปุ่น ขนาด 7.0 ในวันที่ 15 และ ที่ประเทศ เอกวาดอร์ ขนาด 7.8 ในวันที่ 16 เมษายน

    Earthquake - Magnitude 7.0 - KYUSHU, JAPAN - 2016 April 15, 16:25:07 UTC

    M7.8 - 27km SSE of Muisne, Ecuador

    โดยสองเหตุการณ์นี้ เกิดขึ้นประมาณ 2-3 วัน หลังจากที่ปริมาณจุดดับได้เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบกว่า 4 สัปดาห์ ในวันที่ 13 เมษายน หลังจากที่ได้ลงต่ำสุดในรอบ 8 สัปดาห์ในวันที่ 2 เมษายน ที่ผ่านมา
    จะเห็นได้ว่า แผ่นดินไหวขนาดใหญ่สุดในช่วงนี้จะเกิดขึ้นเนื่องจากมีเหตุปัจจัยเสริมเกี่ยวกับสนามแม่เหล็กเปิดที่ดวงอาทิตย์มาเกี่ยวข้อง โดยแนวสนามแม่เหล็กเปิดจากดวงอาทิตย์ ได้โคจรเข้ามาเรียงตัวกับโลกในวันที่ 15 เมษายน ที่ผ่านมา

    รูปแบบแผ่นดินไหวที่สัมพันธ์กับปฏฺิกริยาดวงอาทิตย์ครั้งนี้ เป็นรูปแบบที่เคยเกิดซ้ำในหลายครั้งสำหรับแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ในอดีตจนถึงปัจจัย และผมได้รายงานการค้นพบนี้ทางวารสารวิชาการ NCGT ในเตือนกันยายน ที่ผ่านมา

    http://www.ncgt.org/newsletter.php?action=download&id=149

    จึงรายงานในทุกท่านทราบเป็นกรณีศึกษา คาดการณ์แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในครั้งต่อไปครับ
     
  16. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟซ อ.ก้องภพ อยู่เย็นครับ
    https://www.facebook.com/KongpopUyen/posts/1082680671792431

    สำหรับเหตุการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงสัปดาห์ที่ผ่าน หลายๆท่านจะเห็นได้ว่ามีภัยธรรมชาติเกิดขึ้นหลายรูปแบบด้วยกัน

    เช่น เแผ่นดินไหวที่ประเทศพม่า ญี่ปุ่น และ เอควาดอร์ รวมถึงภูเขาไฟปะทุหลายๆแห่ง ในวันที่ 16 เมษายน ที่ผ่านมา
    3 volcanoes erupt simultaneously on April 16, 2016: Villarrica, Cleveland, Colima - Strange Sounds

    รวมถึงสภาพอากาศที่มีความแปรปรวนตามมาในหลายแห่งทั่วโลกเช่นในประเทศออสเตรเลีย และทางตะวันออกกลาง

    สิ่งเหล่านี้แสดงถึงอาการที่โลกตอบสนอง อย่างหลากหลาย ต่อเหตุปัจจัยจากภายนอกอันหลากหลายทางพลังงาน โดยเราสามารถสังเกตถึงการแกว่งตัวของพลังงานในรูปแบบที่ง่ายที่สุดจากการแกว่งตัวของปริมาณจุดดับ บนดวงอาทิตย์

    การจะเข้าใจสิ่งเหล่านี้ได้นั้น สามารถอุปมา เหมือนกับโลก คือ ร่างกายเรา ที่มีพลังงานอยู่ภายใน แต่ตอบสนองกับสิ่งที่มากระตุ้นจากภายนอกตลอดเวลา โดยเฉพาะลมและอากาศที่มีความแปรปรวน โดยต้องอาศัยเวลายาวนานต่างกันในการตอบสนองขึ้นอยู่กับสภาวะตั้งต้นของร่างกายในขณะนั้น

    ยกตัวอย่างเช่น

    เมื่อมีลมหนาวมากระทบ มีความชื้นต่ำ ร่างกายก็เกิดอาการสั่นขึ้นมาได้หลายจุด โดยจุดที่สั่นไหวง่าย คือจุดที่ร่างกายอ่อนไหวที่สุดในเวลานั้น อุปมาเหมือนกับ การเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่มักจะเกิดขึ้น (บริเวณวงแหวนไฟ) หลังจากปริมาณจุดดับลดลงต่ำสุดในรอบหลายสัปดาห์ แล้ววกกลับมาเป็นขาขึ้น นอกจากนั้นจะสังเกตได้ว่า สภาพอากาศตอนที่เกิดแผ่นดินไหว จะมีสภาพแห้งแล้ง โดยรวม

    เมื่อมีลมร้อนมากระทบ เหงื่อจะออกง่าย ร่างกายมีความชื้นสูง อุปมาเหมือนกับ ปริมาณจุดดับขึ้นสู่ค่าสูงสุด, solar flares ขนาดใหญ่, หรือมีพายุสุริยะเดินทางมาในทิศทางที่ตรงกับโลก อีก 3-5 วันต่อมา จะพบการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศตามมามากกว่าปกติ

    ดังนั้น เราจึงสามารถคาดการณ์ได้ว่าร่างกายเราจะตอบสนองอย่างไร โดยคราวๆ จากการสังเกตเหตุปัจจัยภายนอกที่มากระทบ โดยการดูปริมาณจุดดับบนดวงอาทิตย์ เป็นหลัก บวกกับการสังเกตสิ่งต่างรอบๆตัว ตามความถนัดของแต่ละท่านครับ

    การสังเกตปริมาณจุดดับดวงอาทิตย์สามารถดูได้จาก เวปข้างล่างนี้
    EISN | SILSO
     
  17. Spammer

    Spammer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    976
    ค่าพลัง:
    +3,498
    29/04/59 กลุ่มเมฆฝนเริ่มมีมาให้เห็นจากดาวเทียมแล้วครับ

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. Spammer

    Spammer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    976
    ค่าพลัง:
    +3,498
    02/04/59 19:30.02น. 6Kp มาอีกแล้ว เมื่อเวลา 13:05.02น.

    [​IMG]

    Solar X-rays: Active
    Geomagnetic Field: STORM!

    อ้างอิงจาก NOAA
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤษภาคม 2016
  19. Spammer

    Spammer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    976
    ค่าพลัง:
    +3,498
    08/05/59 กลุ่มเมฆฝนเริ่มมีมาแล้วครับ ยกเว้นภาคเหนือ ภาคตะวันตกตอนบน และภาคกลางตอนบน

    โดยอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์ มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. Spammer

    Spammer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    976
    ค่าพลัง:
    +3,498
    09/05/59 ยังไม่แรงพออีกหรือ

    [​IMG]
    http://services.swpc.noaa.gov/

    [​IMG]
    ref.: http://prop.hfradio.org/

    เส้นสีแดงแสดงแนวปลดปล่อยพลังงานออกจากดวงอาทิตย์
    [​IMG]
    ref.: SOHO

    ที่ 3 นาฬิกา ไม่ทราบคืออะไร แต่ก็น่าจะเป็นผลมาจากพลังงานดังกล่าว
    [​IMG]
    ref.: SOHO

    [​IMG]
    ref.: SOHO

    ref.: http://www.astro.uni.wroc.pl/index.php/9-informacje/43-slonce-na-zywo-filmy
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2016

แชร์หน้านี้

Loading...