เจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ : หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 26 กรกฎาคม 2010.

  1. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    อยากรู้ก็เพียรไปดิ จะได้รู้ว่าจริงหรือไม่จริง
    ไม่ใช่หมึกพอล จะได้มาตัดสินว่าเข้ารอบ หรือไม่เข้ารอบ
     
  2. dokrakthai

    dokrakthai สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +11
    ศาสนาพุทธ อธิบายสิ่งต่างๆ ด้วยเหตุผลเสมอ ขาดเหตุผลก็ไม่ต่างกับลัทธิความเชื่ออื่นๆ ที่ว่า ไม่เชื่ออย่าหลบหลู่

    ขอโมทนา
     
  3. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ผู้หลุดพ้นด้วย เจโตวิมุตติ หมายถึง ผู้บำเพ็ญสมาธิ
    ทำจิตให้เป็นสมาธิอย่างละเอียด
    แล้วสามารถตัดกระแสแห่งกิเลสให้ขาดสิ้นจากขันธสันดานได้
    โดยไม่ต้องพิจารณาหาเหตุผลใดใดทั้งสิ้น


    ตรงส่วนนี้น่าจะนะครับ ที่บอกว่าไม่ต้องพิจารณาหาเหตุผลนั้นเพราะไม่ได้ติดอยู่ในส่วนใดไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ หรือแม้แต่ไม่สุขไม่ทุกข์ ฌานสมาธิของอาฬารดาบสกับอุทกดาบสนั้นเป็นฌานสมาธิปกติมีความละเอียดก็เป็นเพียงแค่รูปหรืออรูปเท่านั้น แต่ทั้งหมดยังคงมีสิ่งหนึ่งอยู่โดยปกติคือ สุข ทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์ ต่างกันกับความหมายของเมื่อทรงจิตโดยละเอียดแล้วเหตุที่ไม่ต้องพิจารณาเพราะ ในทางของพระศาสดาหรือสมาธิที่เรียกว่าสัมมาสมาธินั้น เหตุการณ์ต่างๆถูกพิจารณามาแล้วตั้งแต่ต้นจนจบด้วยสติอันบริสุทธิ์ เพราะเมื่อถึงที่สุดแล้วก็เท่านั้นเพราะเหตุมันมาจากที่เดียวกันทั้งนั้น คือที่จิต กิเลสจึงขาดออกจากขันธสันดานโดยปริยายครับ อย่าไปคิดมากครับ หลักๆคือ เจโตวิมุตินั้นอาศัยจิตอันเป็นสัมมาสมาธิอันบริสุทธิ์ด้วยสติสัมปัชชัญญะเป็นเหตุครับ และผลคือ สิ้นอาสาวะ ครับ
    อนุโมทนากับท่านเจ้าของกระทู้ครับ
     
  4. ด้อยค่า

    ด้อยค่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +143
    ปัญญาวิมุติ

    ในยุคนี้สมัยนี้ ผู้ปฏิบัติยังไม่รู้ตัวเองว่ามีนิสัยอะไร เมื่อตัวเองมีนิสัยปัญญาวิมุติ แต่ไปปฏิบัติในวิธีของผู้มีเจโตวิมุติ จะไม่เกิดผลในทางปฏิบัติแต่อย่างใด หรือผู้มีนิสัยเจโตวิมุติจะไปปฏิบัติในวิธีของผู้มีปัญญาวิมุติ การปฏิบัติก็จะไม่ได้รับผลเช่นกัน

    ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติต้องศึกษาวิธีสังเกตตัวเองว่าเรามีนิสัยอะไร เมื่อเข้าใจแล้ว ก็ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนิสัยของตัวเองได้ ผลของการปฏิบัติจึงจะเกิดขึ้น จะไม่ทำให้เสียเวลา

    ในสมัยครั้งพุทธกาล ส่วนมากจะเป็นนิสัยปัญญาวิมุติ การปฏิบัติได้หลุดพ้นด้วยปัญญาถึง ๗๐ เปอร์เซ็นต์ ให้ศึกษาดูในพระสูตรในเรื่องของพระอริยเจ้าผู้ได้บรรลุธรรม ทั้งพระและฆราวาส ในระดับภูมิธรรมพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ จะรู้ได้ทันทีว่าบรรลุธรรมด้วยปัญญาวิมุติเป็นส่วนมาก เมื่อได้ฟังธรรมอยู่ในขณะนั้น บางท่านบางกลุ่มก็ได้สำเร็จเป็นพระอริยเจ้าได้เลย หรือใช้ปัญญาพิจารณาปฏิบัติต่อไป ไม่นานก็ได้บรรลุเป็นพระอริยเจ้าเช่นกัน

    ฉะนั้น ขอให้ผู้ปฏิบัติได้ทบทวนในวิธีการปฏิบัติของตัวเองเสียใหม่ เพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไขในอุบายวิธีในการปฏิบัติของตัวเอง จะได้ไม่เสียเวลาในการปฏิบัติธรรม ในยุคนี้ผู้สอนและผู้ปฏิบัติจะทำกันในวิธีเจโตวิมุติเท่านั้น ถ้าผู้มีนิสัยปัญญาวิมุติไปปฏิบัติอย่างนี้ จะไม่เกิดผลของการปฏิบัติแต่อย่างใด

    ผู้ปฏิบัติต้องสังเกตดูใจตัวเองว่า ในช่วงขณะเรานึกคำบริกรรม ใจมีความตั้งมั่นได้แล้ว ในขณะนี้ ใจเรามีความต้องการความสงบ หรือใจเราชอบในการคิด ถ้าใจเราชอบอยู่ในความสงบก็น้อมใจให้ลงสู่ความสงบต่อไป เมื่อใจได้ถอนออกจากความสงบแล้ว ก็น้อมใจไปในการพิจารณาด้วยปัญญาได้เลย นี้เป็นพวกเจโตวิมุติ

    พวกปัญญาวิมุติ เมื่อจิตมีความตั้งใจมั่นได้แล้ว ชอบมีความคิดเกิดขึ้น ถ้าเป็นในลักษณะนี้ ก็ให้หยุดในการทำสมาธิน้อมใจใช้ปัญญาพิจารณาในสัจธรรมต่อไปได้เลย เพราะนิสัยเราเป็นอย่างนี้ จะบังคับให้ใจมีความสงบก็จะไม่มีความสงบอยู่นั่นเอง

    การทำสมาธิในยุคนี้มีหลายสำนัก ที่สอนภาคปฏิบัติมีความแตกต่างกันไปและต่างกันกับในสมัยครั้งพุทธกาลอยู่มาก ในยุคนั้นทำสมาธิไม่ให้มีความอยาก ที่ในยุคนี้ทำสมาธิ เพื่อให้เกิดความอยาก เช่น อยากให้ฌานอภิญญาเกิดขึ้น อยากให้ใจมีความบริสุทธิ์ อยากละกิเลสตัณหาให้หมดไปจากใจ อยากให้ปัญญาเกิดขึ้นจากสมาธิ เข้าใจว่าถ้าปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว ก็จะไปละกิเลสตัณหาน้อยใหญ่ให้หมดไปจากใจได้ ก็จะสำเร็จเป็นพระอริยเจ้าเกิดขึ้นมาเอง

    ความเห็นในลักษณะนี้มีความแตกต่างจากคำสอนเดิมของพระพุทธเจ้าอยู่มาก ในสมัยครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนใครที่ไหน ไม่มีใครเกิดปัญญาขึ้นมาจากความสงบนี้เลย ไม่มีพยานบุคคลเป็นตัวอย่าง ขอให้ศึกษาประวัติของพระอริยเจ้าให้เข้าใจ ไม่เช่นนั้น จะมีคนเกิดความเข้าใจผิดและความเห็นผิดต่อไป ทำไมจึงสอนและปฏิบัติอยากรู้เห็นในนิมิตนั้น ๆ เมื่ออกจากสมาธิแล้วครูสอนจะถามว่าเป็นอย่างไร เห็นอะไรบ้างไหม เห็นเป็นลักษณะใด

    ถ้าผู้มีนิมิตให้เห็นก็พูดไปตามนั้น เห็นเป็นท้องฟ้าบ้าง เห็นเป็นเทวดาบ้าง เห็นนรกเห็นเปรตบ้าง และเห็นลูกกลม ๆ ใส ๆ บ้าง และเห็นแตกต่างกันไป ผู้ที่ยังไม่เห็นก็อยากจะเห็น เป็นอันว่าทำสมาธิเพื่ออยากเห็น ในบางแห่งก็สอบอารมณ์ว่าอารมณ์อย่างนั้นเป็นฌานนั้นได้ขั้นนี้ไป

    ในครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงตั้งพระสาวกองค์ไหนไปสอบอารมณ์อย่างนี้ และมีอีกหลายวิธีในการทำสมาธิแตกต่างกันไป ในสมัยครั้งพุทธกาล ทำสมาธิเพื่อนำมาเสริมปัญญาเท่านั้น มิใช่ว่าทำสมาธิเพื่อให้เกิดเป็นอย่างนั้น มีนิมิตเป็นอย่างนี้เหมือนยุคปัจจุบัน

    คัดลอกจาก หนังสือเรื่อง ปัญญา ๓
    โดยหลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ<!-- google_ad_section_end -->
     
  5. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    เพิ่มความเห็นส่วนตัวหน่อยครับ หาได้ยกธรรมมาข่มธรรมไม่ ทำความเข้าใจนิดหนึ่งนะครับ ครูอาจารย์เทศน์สอน ต่างกรรม ต่างวาระ ต่างจริต ผู้ฟังเองก็ต่างกลุ่ม ต่างฐานะ ต่างภูมิธรรม จะเอามาใช้เหมือนกันคงเป็นเรื่องยากในการทำความเข้าใจ ยากในการควบคุมความเห็นต่าง แต่ถ้าลงมือปฎิบัิติปัญหาคงหมดไป เพราะธรรมเป็นอกาลิโก

    แยกให้ดีนะครับ ระหว่างสมาธิ กับฌาน แม้ว่ามันจะมาด้วยกันก็ตาม

    ฌาน ภวังค์มันเป็นบาทฐาน เป็นการสะสมพลัง

    ส่วนสมาธิที่ถูกต้อง มันก็เกิดปัญญาได้ ความสงบนี้แหล่ะคือบ่อเกิดแห่งปัญญา เมื่อมีสมาธิ จิตสงบ ความเห็นก็ย่อมกระจ่างใส จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ผู้รู้เด่นดวง หรืออะไรก็ตาม เมื่อกำลังสมาธิสูง มีความสงบ ผู้รู้ ตัวตน กิเลสตัณหาต่าง ๆ เราก็จะสามารถเห็นมันได้โดยง่าย ใช่ว่าการทำสมาธิ มันจะเกิดปัญญาไม่ได้ หรือมันไม่มีทางเกิด อาสวักขยญาณ มันขึ้นอยู่กับรู้จักสมาธิแค่ไหน และใช้สมาธิเป็นหรือเปล่า (วิปัสสนาในสมาธิ)



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กรกฎาคม 2010
  6. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ถ้านำภาคปฏิบัติมาเทียบเคียงก็น่าจะหายสงสัย
    เพราะถึงแม้พระอรหันต์เอง บางองค์ก็ไม่ใช่เจโตวิมุตติ
    ในลักษณะที่หลวงพ่อพุธกล่าวถึง
    คือผู้เป็น ขิปปาภิญญา
    ซึ่งในยุคปัจจุบันเรียกว่าแทบไม่มี

    ผมจะนำภาคปฏิบัติของตนเองมาบอกต่อ
    เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนธรรมระหว่างผู้ปฏิบัติด้วยกัน
    ไม่ได้เป็นไปเพื่อความโอ้อวดตนแต่อย่างใด

    ผมจะยกตัวอย่างการรู้ไตรลักษณ์
    ซึ่งเป็นไปได้หลายแบบในนักปฏิบัติ

    อย่างเช่นบางทีรู้ไตรลักษณ์
    แต่จิตยังไม่ทะลุถึงวิปัสสนาญาณ
    เมื่อรู้ไตรลักษณ์ในขณะนั้น
    จิตจะสงบรวมลง

    แต่บางทีรู้ไตรลักษณ์แล้วจิตทะลุถึงวิปัสสนาญาณ
    จิตพุ่งไปถึงสังขารุเปกขาญาณ เช่นนี้ก็มี
    และหากบางคนกำลังสมาธิพร้อม
    อย่างเช่นเจโตวิมุตติ ด้งที่หลวงพ่อกล่าว
    ก็สามารถทะลุถึงอรหัตตผลได้ในครั้งเดียว
    นี่เรียกว่า ผู้เป็น ขิปปาภิญญา รู้ได้อย่างรวดเร็ว

    ส่วนกรณีที่ทำให้รู้ไตรลักษณ์
    เท่าที่ผมเคยสัมผัสสัมพันธ์มามี 2 กรณี

    กรณีที่ 1 คือการเห็นเหตุการที่เป็นไตรลักษณ์
    แล้วยกเหตุการณ์ขึ้น แล้วพิจารณาบอกจิตตนว่า
    เป็นไตรลักษณ์
    เมื่อจิตรู้ไตรลักษณ์อย่างแจ่มแจ้งในขณะนั้น
    จิตสงบรวมตัวลง

    ตัวอย่าง ผมจะยกเหตุการณ์ของตนมากล่าว
    เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาว่ามาจากแหล่งข้อมูลใด
    คือ ตอนฝนตกผมเห็นหยดน้ำฝนหยดลงมาจากหลังคา
    กระทบพื้นดิน เมื่อกระทบผืนดิน หยดน้ำที่ตกลงมา
    ก็จะกระจายออกเป็นวงกว้าง แล้วหายไป
    รอหยดน้ำหยดใหม่ตกลงมาอีก แล้วก็กระจายออก
    แล้วหายไปอีกเช่นเคย
    เมื่อเห็นเหตุการณ์ของไตรลักษณ์เช่นนั้น
    ผมก็พิจารณาว่าอาการของหยดน้ำที่ตกลงมาแล้วกระจายหายไปนี้
    เป็น อนัตตา เมื่อพิจารณาว่าเป็นอนัตตา
    ปรากฏว่าจิตสงบรวม หยุดกึ้ก นิ่ง ทันที
    นี่คือการเห็นไตรลักษณ์ด้วยการยกขึ้นพิจารณาให้จิตเข้าใจ
    ซึ่งต้องใช้การพิจารณา

    ส่วนกรณีที่ 2 เมื่อเห็นเหตุการณ์ที่เป็นไตรลักษณ์
    แต่ไม่ต้องยกขึ้พิจารณาว่าเป็นไตรลักษณ์
    แต่เมื่อเห็นจิตจะเป็นไปเอง ไม่ต้องใช้การพิจารณา
    จิตจะรู้ถึงไตรลักษณ์เองสงบรวมลงเอง โดยไม่ต้องพิจารณาแม้นิดเดียว

    ตัวอย่าง ตอนฝนตกวันนั้นผมมองที่สระน้ำ
    ฝนตกลงสระน้ำ แล้วเกิดคลื่นเป็นวงจากเม็ดฝนที่ตกมากระทผิวน้ำ
    อย่างมากมาย เกิดวงแล้ววงเล่า แล้วก็หายไปวงแล้ววงเล่า
    เมื่อผมมองวงคลื่นในสระน้ำที่เกิดแล้วหายไปอย่างมากมาย
    ในขณะเดียวนั้น จิตรู้ถึงไตรลักษณ์ทันที ด้วยอาการสงบรวมลงของจิตทันที
    โดยที่ไม่ต้องพิจารณาแม้แต่นิดเดียวว่า
    สิ่งที่เกิดแล้วดับไปของวงคลื่นเป็นไตรลักษณ์เช่น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นต้น

    จากตัวอย่างที่ผมยกมา
    ก็พอจะเทียบเคียงได้ว่า
    ผู้ที่มีกำลังสมาธิพร้อมอยู่แล้ว
    สามารถที่ตัดกิเลสอวิชชาขาดสบั้นไปจากใจ
    ด้วยปัญญาที่รู้แจ้งชัดในขณะเดียว
    โดยที่ไม่ต้องยกขึ้นพิจารณาแม้นิดนึง
    ก็สามารถเป็นไปได้

    การอ่านมากรู้มาก โดยที่การปฏิบัติยังไปไม่ถึง
    ก็สามารถยังให้นักปฏิบัติ
    มีความยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิตนว่าถูกต้องแต่ผู้เดียว
    โดยที่ไม่ยอมฟังผู้อื่นใดเลยก็ได้...

    แต่ก็เข้าใจไม่ว่าเราว่าท่านก็มีกิเลสเช่นเดียวกัน....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กรกฎาคม 2010
  7. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918


    จากตัวอย่าง ไม่ใช่การพิจารณาไตรลักษณ์แต่อย่างใด แถมยังเป็นการตก
    จากการวิปัสสนา เรื่องที่ว่าจะเป็นปัญญาวิมุตติก็หลุดพ้นไปด้วย

    เหตอะไรที่ทำให้เห็น หยดน้ำเพียง 1 หยด 2 หยด ก็เห็นซึ่งความที่ควบ
    คุมไม่ได้ ก็เพราะ น้ำนั้นเป็นเพียงสัญลักษณ์อย่างหนึ่งภายในใจที่ภูมิใจว่า
    มี แต่มันมีแค่ 1 หยด และ 2 หยด ก็หมดไป จะให้มีหยดที่ 3 ก็ยาก
    เต็มที หยดที่ 4 ไม่ต้องพูดถึง หมดสิทธิจะไปกะเกณฑ์สิ่งเหล่านั้นให้มีได้
    มากอย่างใจ เลยสลด หดหู่ คลายอัตตาที่คิดว่ามีที่หมายจะภูมิใจ

    แท้จริงแล้วการเห็น หยดน้ำ นั้นมีปรากฏอยู่ในพุทธพจน์ เป็นการยกเปรียบ
    เทียบขันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งการที่มีพุทธพจน์เปรียบเทียบขันธ์นั้น ก็คือ เมื่อเห็น
    หยดน้ำแล้วต้องนมสิการมาที่การเห็นสภาพขันธ์ชนิดนั้นๆ ปรากฏให้เห็นด้วย
    ตามธรรม มีสภาพเปรียบเปรยไม่ต่างจากหยดน้ำ ซึ่งไม่ใช่เรื่องการเห็นภาพ
    เป็นหยดน้ำแต่อย่างใด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กรกฎาคม 2010
  8. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    จากตัวอย่าง ก็ไม่ใช่การพิจารณาไตรลักษณ์อีกเช่นกัน เหตุผลก็คือ
    ไม่มีการนมสิการมาพิจารณาขันธ์อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งในพุทธพจน์ปรากฏ
    การเปรียบเปรยไว้ แต่นี่ไม่มีการพูดถึงขันธ์ชนิดนั้นๆเลย จึงไม่ใช่การ
    นมสิการมาเห็นธรรมด้วยตาธรรมเป็นแน่ เป็นเพียงนัทธิราคะที่พอใจกับ
    ภาพที่ปรากฏเป็นสัญลักษณ์ของการคลายกำหนัด สสัดสาดน้ำให้พุ่ง
    กระจายไป อาศัยภาพภายนอกมาคลายความกลัดกลุ้มในใจ เหมือนกับ
    คนที่มีกามราคะหวลระลึกถึงสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจ แต่ทำอะไรไม่ได้ อยู่
    ห่างไกล เวลาฝนตกก็มักจะมองพรายละอองน้ำ เพื่อคลายความหดหู่
    หรือเพิ่มความหดหู่จนถึงจุดอิ่มตัวมันก็คลายออกไป รู้สึกสงบกับภาพที่
    เห็น ซึ่งไม่มีสาระอะไร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กรกฎาคม 2010
  9. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ก็มีผู้บรรลุอรหันต์ด้วยการพิจารณาหยดน้ำฝนตกกระทบพื้นนะครับ
    ลองอ่านดูนะครับ
    <O:p</O:p
     
  10. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ก็ใครบอกว่าไม่มีหละ เราก็ระบุให้เห็นแล้วไม่ใช่เหรอว่า
    พุทธพจน์เองก็มี แต่มันมีรายละเอียดของการเห็น ไม่ใช่
    ไปเห็นอะไรข้างนอกนั่นซะเมื่อไหร่ มันต้องมีโยนิโสมนสิการ
    เข้ามาแจ้งภายในกายหน้าคืบกว้างศอกนี่ ภายในใจนี่ ที่
    ขันธ์5นั่น

    บทที่คุณไปคัดมาก็อ่านเสียหน่อยสิ ท่านก็พูดว่า ภายในหาก
    เหมือนกันก็ไม่ต้องถาม

    แล้วอะไรหละที่เป็นภายใน ตุ้มๆ ต่อมๆ ตุ้มๆ ต่อมๆ รู้จักหรือเปล่า

    แล้วได้โยงเข้ามาภายในแบบหลวงตาหรือยัง นี่ไม่มี

    ไม่มีก็โดนเล่นสิ นี่ดีนะ ขี้เกียจเล่น กรณีนิพพานสีชมพูในกระทู้
    เมื่อคืนอีก ....ไม่ไหว
     
  11. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ธรรมะนี่เป็นปัจจัตตังนะ

    ถ้าไม่เคยรู้เคยเห็นด้วยตัวเองอย่าพูดดีกว่า
    มันน่าอาย....
     
  12. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ปัตจัตตัง ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่า ของใครของมันใครทำใครรู้

    เขาไม่ได้ยกขึ้นเพื่ออวดหลอกนะ

    เรื่อง อาย ไม่อาย นั้นพวก โง่ๆ มักยกพูด

    คำๆนี้ เขาให้สังวรณ์ระวัง
     
  13. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    <TABLE class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 3 คน ( เป็นสมาชิก 2 คน และ บุคคลทั่วไป 1 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>นิวรณ์*, เตชพโล </TD></TR></TBODY></TABLE>

    นี่ยัง ขำ ไม่หายเลยนะ

    นิพพาน บ้านคุณ กลายเป็นที่ กลับไปสมสู่ของคู่ชายหญิง

    พูดออกมาได้ ....เวรกรรม นิพพานสีชมพู

    เชิญเบ่งปัตจัตตังไปเถอะนะ....เวรกรรมแท้ๆ
     
  14. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    แล้วอย่างพระอัญญาโกญทัญญะล่ะ

    "สิ่งใดเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นย่อมดับเป็นธรรมดา"

    ท่านรู้ธรรมขั้นโสดาบัน
    ท่านได้น้อมเข้ามาพิจารณาในขันธ์ 5 อีกมั้ย
    ก็ไม่.....
    ปัญญาตัดสังโยชน์ 3 ในทันที

    พระอัญญตรภิกขุก็เช่นเดียวกัน
    ท่านพิจารณาหยดน้ำ
    ท่านก็ไม่ได้น้อมมาในขันธ์ 5
    ท่านก็บรรลุธรรมอรหัตตผล

    แล้วอย่างเจโตวิมุตติที่หลวงพ่อพุทธกล่าว
    เรียกว่าไม่ต้องพิจารณาเลย ไม่ต้องโยนิโส...เลย
    ปัญญาชั่วขณะตัด อวิชชา ขาดสบั้นปั๊บ เป็นไงล่ะ
    ต้องพิจารณามั้ย ขันธ์ 5 น่ะ

    ผมบอกแล้วว่าคุณไม่รู้เองเห็นเองอย่าพูดดีกว่า....
    มันไม่มีประโยชน์กับใครทั้งนั้นแหละ
    มันมีแต่โทษ....
     
  15. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ถ้าจะเพี้ยน

    นิพพานเป็นที่สมสู่ชายหญิง
    นิพพานสีชมพู

    มันมีด้วยเหรอ......
     
  16. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เอ้า ก็คุณไง โพสตอบเมื่อคืนว่า พระสมณะ กับ คู่บารมี
    ไปรวมตัวกันในนิพพาน พูดซะหวานแหววหยดย้อยสีชมพู
    คู่แท้ไม่มีวันจากไม่มีพลัดพราก

    เห้อ ....นี่อย่าบอกนะ ตอนพูดหนะ ไม่ทันคิด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กรกฎาคม 2010
  17. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อย่ามั่วเลยคุณ

    เอางี้ คุณบอกว่า ตัดสังโยชน์ใช่ไหม

    มาตัดอวิชชาใช่ไหม

    คราวนี้ ถามหน่อย

    สังโยชน์ กับ อวิชชา บ้านคุณ มันอยู่ข้างนอก อยู่ที่หยาดฝน
    หรือ มันอยู่ข้างในกายในใจ นี่ให้คำง่ายๆนะ ตอบแค่นี้แหละ

    หรือ จะดิ้นก็ได้นะ เกรงใจ เลยให้คำง่ายๆเอาไว้ให้ดิ้น
     
  18. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ถ้าอยากจะแถเพื่อไม่ให้โพสต์ที่ผ่านมาของตัวเองมัดตัวเองจนดิ้นไม่หลุดล่ะก็
    เฉย ๆ ไว้ดีกว่า....

    ถ้าดิ้นเพื่อจะแถมากไปกว่านี้
    ตอมันจะผุดขึ้นมานะ

    เงียบไปเถอะ

    ผมไม่อยากตอบกับคนที่ไม่ต้องการความจริง....
     
  19. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เราขี้เกียจเสวนากับพวก ปากไม่ตรงกับใจ เหมือนกัน

    แทนที่จะตอบตรงกับใจที่เห็น ก็ไม่รู้ไปหยิบอะไรมากล่าว...เห้อ

    นิพพานสีชมพูจริงๆคุณนี่
     
  20. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ก็สร้างบารมีมาตามรอยเบื้องพระบาทของพระพุทธองค์มาทำไมจะไม่รู้ล่ะ

    พระพุทธองค์ไม่เคยลืมบุญลืมคุณของพระนางพิมพา
    ที่ช่วยให้พระพุทธองค์ทรงสร้างพระบารมีจนสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า
    พระนางพิมพาทรงเสียสละเพื่อพระพุทธองค์อย่างมากมาย

    เห็นมั้ยครั้นเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร กับพระนางมัทรี
    พระอินทร์ปลอมตัวมาขอพระนางมัทรี กับ พระเวสสันดร
    พระเวสสันดรทรงยกให้
    เห็นมั้ย พระนางมัทรี เสียสละเพื่อพระพุทธองค์เพียงใด
    เมื่อพระสวามีทรงยกตนให้ผู้อื่น พระนางมัทรี ก็ทรงยินยอม
    ทั้งที่ไม่รู้ว่าตัวเองจะต้องเจออะไรอีกข้างหน้า
    เห็นมั้ยทรงเสียสละเพื่อพระพุทธองค์เพียงใด
    และไม่ใช่ชาตินี้ชาติเดียวด้วยนะ

    นี่ไงพระพุทธองค์ซึ่งเป็นผู้มีความกตัญญู
    ไม่เคยลืมบุญลืมคุณพระนางพิมพา
    เมื่อพระองค์ทรงตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว
    ทรงกลับมารับพระนางพิมพา ไปนิพพานด้วยกัน
    ทรงกลับมาโปรดพระนางพิมพา
    ด้วยความทราบซึ้งในบุญในคุณที่
    พระนางพิมพาช่วยพระองค์ในการสร้างพระบารมี
    เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าจนสำเร็จ

    จิตแต่ละดวงเมื่อถึงนิพพานก็เป็นธรรมธาตุเหมือนกันหมด
    เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว เป็นวิมุตติ
    ไม่ได้แยกเขาแยกเรา เหมือนในสมมติ

    ถ้าผมจะบอกว่าเป็นสุดท้ายคือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว
    เป็นธรรมธาตุอันเดียวกันแล้ว มันจะผิดไปไหน

    หากจะหวานหยดย้อย ก็ต้องหวานหยดย้อยสิ
    ธรรมะจะหวานหยดย้อยไม่ได้เหรอ

    รสแห่งธรรมชำนะรสทั้งปวง ไม่ใช่เหรอ.....
     

แชร์หน้านี้

Loading...