เงินเฟ้อที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นแล้ว??? รู้ทันโลก (โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 11 พฤศจิกายน 2010.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    <TABLE style="BACKGROUND-COLOR: #f8f8ff" width=720 border=0><TBODY><TR><TD>เจาะขุมทรัพย์ "ทองคำดำ" โดมิโนอาหรับเปิดแผลใหม่โลกน้ำมัน ทำไมถ้า "กัดดาฟี" ลาออก ราคาน้ำมันจะดิ่งลง?
    </TD><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD><TD>วันที่ 01 มีนาคม พ.ศ. 2554 เวลา 19:00:21 น.
    </TD><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD><TD>

    ไม่ว่าบทสรุปการจลาจลใน "ลิเบีย" จะจบลงอย่างไร นอกเหนือจากชาวลิเบียแล้ว อีกหนึ่งผู้ได้รับผลกระทบเต็ม ๆ คงหนีไม่พ้น "อุตสาหกรรมน้ำมัน" เพราะจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา การเกิดวิกฤตการเมืองในประเทศสมาชิกโอเปก หรือกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน ล้วนสร้างรอยแผลให้กับอุตสาหกรรมนี้ทุกครั้ง
    โดย เอมี่ เจฟฟี ผู้เชี่ยวชาญด้านตะวันออกกลาง จากมหาวิทยาลัยไรซ์ ในฮูสตัน แสดงความคิดเห็นผ่าน รอยเตอร์สว่า ความวุ่นวายทำให้การผลิตน้ำมันและกลั่นน้ำมันของลิเบียหยุดชะงัก ปัจจุบันลิเบียเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับ 3 ของทวีปแอฟริกา ทั้งยังเป็นแหล่งน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดของทวีป หรือประมาณ 44 พันล้านบาร์เรล และผลิตน้ำมันคิดเป็น 2% ของกำลังการผลิตทั่วโลก
    ผู้ที่ได้รับผลกระทบทันทีจากวิกฤตลิเบีย คือ ยุโรป เพราะ 85% ของการส่งออกน้ำมันของลิเบียมีปลายทางอยู่ที่ยุโรป และกว่า 1 ใน 3 ของปริมาณดังกล่าวถูกส่งไปยังอิตาลี ขณะที่น้ำมันส่งออกที่เหลือส่วนใหญ่ถูกส่งไปยังเอเชีย และราว 5% ส่งไปสหรัฐ ทั้งนี้ลิเบียถือเป็นผู้ส่งน้ำมันรายสำคัญที่ยุโรปไว้วางใจ นับตั้งแต่การประท้วงได้ปะทุและลุกลามในตะวันออกกลางตั้งแต่เดือนมกราคม จนทำให้ประธานาธิบดีของตูนิเซียและอียิปต์ต้องหลุดจากเก้าอี้
    อุตสาหกรรมน้ำมันส่วนใหญ่อยู่ในมือของต่างชาติ เช่น อีนิ จากอิตาลี และเร็พโซล จากสเปน ขณะที่บริษัทน้ำมันของลิเบียอยู่ภายใต้การคุมเข้มของผู้นำลิเบีย โมอัมมาร์ กัดดาฟี และมีการประเมินว่าหลังจากบริษัทน้ำมันทยอยอพยพพนักงานออกจากลิเบียและหยุดผลิตน้ำมันชั่วคราว ทำให้กำลังการผลิตของลิเบียหายไป 3 แสนล้านบาร์เรลต่อวัน จากทั้งหมด 1.6 ล้านบาร์เรล
    </TD><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD><TD style="TEXT-ALIGN: center">
    [​IMG]
    </TD>
    <TD> </TD>​
    </TR><TR><TD> </TD><TD>
    ทั้งนี้ สำหรับประเทศกลุ่มโอเปก "น้ำมัน" คือกุญแจสู่อำนาจและแหล่งรายได้ ดังนั้นสงครามหรือวิกฤตการเมืองสำคัญแบบอื่น ๆ ต่างส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทำให้เกิดภาวะชะงักงันของซัพพลายน้ำมัน และอาจต้องใช้เวลานับปีหรือทศวรรษกว่าที่จะฟื้นตัว
    อาทิ การปฏิวัติปี 2522 ในอิหร่านที่ทำให้กำลังการผลิตน้ำมันของประเทศลดลงกว่าครึ่ง และไม่เคยฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่เลยนับจากนั้น ขณะที่สมัยที่อิรักบุกคูเวตเมื่อปี 2533 ตัดกำลังการผลิตของทั้งสองประเทศนานหลายปี อีกทั้งยังทำลายบ่อน้ำมันของคูเวตด้วย ส่วนการสไตรก์ของอุตสาหกรรมน้ำมันครั้งใหญ่ในเวเนซุเอลาเมื่อปี 2545 ส่งผลให้กำลังการผลิตลดลง และไม่เคยปรับขึ้นสู่ระดับก่อนการประท้วงได้อีกเลย
    อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความหวาดหวั่นว่าวิกฤตโลกอาหรับจะดึงราคาน้ำมันให้พุ่งต่อไป ผู้ผลิตน้ำมันเบอร์ 1 ของซาอุดีอาระเบียได้ประกาศว่า พร้อมเพิ่มกำลังการผลิตหากจำเป็น ซึ่งคนส่วนใหญ่มั่นใจว่าซาอุฯสามารถทำได้ แต่ก็มีบางเสียง เช่น เจฟฟรีย์ บราวน์ วิศวกรน้ำมันในดัลลัส ที่แย้งว่ากำลังการผลิตของซาอุฯลดลงในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาหลังจากแตะระดับสูงสุดในกลางทศวรรษก่อน และมีการบริโภคน้ำมันในประเทศเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นประเทศบริโภคน้ำมันอันดับ 15 ของโลกเมื่อปี 2551 นอกจากนี้ยังประเมินว่าการบริโภคน้ำมันของซาอุฯจะเพิ่มเป็น 3 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีนี้ หรือเพิ่มจากปี 2548 ราว 50%
    และแม้ว่าซาอุฯจะป้อนน้ำมันได้อย่างเพียงพอ แต่คุณสมบัติน้ำมันดิบจาก "ลิเบีย" ที่ใช้ในการผลิตน้ำมันเบนซิน ดีเซล และน้ำมันสำหรับเครื่องบิน ก็ไม่ได้หาทดแทนกันได้ง่าย ๆ โดยเฉพาะโรงกลั่นเอเชียและยุโรปหลายแห่งที่ไม่ได้ติดตั้งอุปกรณ์เพื่อกลั่นน้ำมันดิบที่มีซัลเฟอร์ผสมอยู่มาก (sour crude) ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่พบในน้ำมันดิบส่วนใหญ่จากซาอุฯ
    หากความวุ่นวายในลิเบียยืดเยื้อไปหลายสัปดาห์ ผู้เชี่ยวชาญในวงการน้ำมันคาดว่า โรงกลั่นยุโรปจำเป็นต้องซื้อน้ำมันสวีตจากแอลจีเรียและไนจีเรีย ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันดิบสำคัญสำหรับสหรัฐในปัจจุบัน โดย ลอว์เลนซ์ เจ. โกลด์สไตน์ ผู้อำนวยการของมูลนิธิวิจัยนโยบายพลังงานชี้ว่า ภาวะดังกล่าวจะกดดันให้โรงกลั่นน้ำมันดิบสวีตทั้งหมดต้องเปิดสงครามประมูลแย่งน้ำมันดิบ เพราะคุณภาพสำคัญกว่าปริมาณ
    นอกจากวิกฤตที่ใกล้เข้าสู่ภาวะสงครามกลางเมืองในลิเบียแล้ว หลายคนเริ่มปรายตามองประเทศเพื่อนบ้านอย่าง "แอลจีเรีย" ที่มีประวัติความวุ่นวายหลายครั้ง และเป็นแหล่งน้ำมันดิบอันดับ 7 สำหรับสหรัฐ ทั้งนี้ในช่วงไม่ กี่สัปดาห์ที่ผ่านมามีการประท้วงเรื่องราคาอาหารแพงและปัญหาว่างงานในแอลจีเรีย
    อีกทั้ง 2 ครั้งใหญ่ล่าสุดผู้ประท้วงได้เรียกร้องให้ประธานาธิบดี อับเดลาซิซ บูเตฟลิก้า ให้ลาออก ซึ่งไมเคิล โล นักวิเคราะห์จากโนมุระ เตือนว่า หากลิเบียและแอลจีเรียหยุดผลิตน้ำมัน ราคาน้ำมันอาจพุ่งทะลุ 220 ดอลลาร์
    ขณะเดียวกัน ริตเตอร์บุช แอนด์ แอสโซซิเอทส์ ระบุในรายงานว่า ราคาน้ำมันในตลาดล่วงหน้าอาจถูกกำหนดจากความเสียหายครั้งใหญ่ในลิเบียไปอีกหลายสัปดาห์ และการขาดเสถียรภาพอย่างต่อเนื่องในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือทำให้ตลาดอยู่ในภาวะกระทิงไปถึงฤดูใบไม้ผลิ
    ทั้งนี้ บรรดาเทรดเดอร์วิตกว่า กระแสความวุ่นวายจะขยายวงไปถึงยักษ์น้ำมันอย่างซาอุฯและอิหร่าน โดย เอพีอ้างความคิดเห็นในรายงานของ คาเมรอน ฮาโนเวอร์ ว่า นอกจากลิเบียแล้ว เสถียรภาพของอีกหลายประเทศมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อซัพพลายน้ำมันของประเทศตะวันตก และที่เห็นชัดเจนคือซาอุฯ ขณะที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คูเวต กาตาร์ และอิรักก็ติดอยู่ในลิสต์เช่นกัน
    อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ประเมินว่าวิกฤตลิเบียจะส่งให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นอีก 15 ดอลลาร์ และราคาน่าจะดิ่งลงอย่างรวดเร็วหากกัดดาฟีลาออก และการต่อสู้ยุติลงหลังจากล่าสุดราคาน้ำมันดิบเบรนต์ตามสัญญาส่งมอบเดือนเมษายนพุ่งแตะระดับ 119.79 ดอลลาร์เมื่อวันที่ 24 ก.พ. ก่อนจะปรับลดลงแต่ยังเหนือระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
    </TD><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD><TD style="TEXT-ALIGN: center">................
    </TD><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD><TD>ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ </TD></TR></TBODY></TABLE>

    เจาะขุมทรัพย์ "ทองคำดำ" โดมิโนอาหรับเปิดแผลใหม่โลกน้ำมัน ทำไมถ้า"กัดดาฟี"ลาออก ราคาน้ำมั
     
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    มีนาคม 3, 2011

    เมืองไทยควรมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไหม

    Filed under: Uncategorized — ป้ายกำกับ:ประเทศไทย, สืบ นาคะเสถียร, เมืองไทย, โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ — Mr.Vop @ 08:59
    [​IMG]
    <TABLE align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD bgColor=#efefef>(1)–โรงเก็บเครื่องปฏิกรณ์</TD><TD bgColor=#ffdead>(2)–โรงระบายความร้อน-หอเย็น</TD><TD bgColor=#efefef>(3)–เครื่องปฎิกรณ์</TD></TR><TR vAlign=top><TD bgColor=#ffdead>(4)–แท่งควบคุมนิวตรอน</TD><TD bgColor=#efefef>(5)–ส่วนควบคุมแรงดันน้ำ</TD><TD bgColor=#ffdead>(6)–หม้อต้มน้ำ</TD></TR><TR vAlign=top><TD bgColor=#efefef>(7)–แท่งเชื้อเพลิง</TD><TD bgColor=#ffdead>(8)–กังหันผลิตไฟฟ้า</TD><TD bgColor=#efefef>(9)–เครื่องกำเนิดไฟฟ้า</TD></TR><TR vAlign=top><TD bgColor=#ffdead>(10)–หม้อปลงไฟฟ้า</TD><TD bgColor=#efefef>(11)–คอนเคนเซอร์</TD><TD bgColor=#ffdead>(12)–แก้ส</TD></TR><TR vAlign=top><TD bgColor=#efefef>(13)–น้ำหลังควบแน่น</TD><TD bgColor=#ffdead>(14)–อากาศจากภายนอก</TD><TD bgColor=#efefef>(15)–อากาศชื้น-ไอหมอก</TD></TR><TR vAlign=top><TD bgColor=#ffdead>(16)–แม่น้ำ</TD><TD bgColor=#efefef>(17)–วงจรน้ำทำความเย็น</TD><TD bgColor=#ffdead>(18)–วงจรน้ำแรงดันสูง</TD></TR><TR vAlign=top><TD bgColor=#efefef>(19)–วงจรน้ำเดือด-ไอน้ำ</TD><TD bgColor=#ffdead>(20)–ไอน้ำ</TD><TD bgColor=#efefef>(21)–ปั๊มน้ำ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยที่จริงคือ กาต้มน้ำ ขนาดยักษ์แล้วเอาไอน้ำที่ได้ไปเป่ากังหันผลิตไฟฟ้า เสียแต่ว่า เชื้อเพลิงที่เอามาต้มน้ำ ไม่ใช่เชื้อเพลิงฟอซซิลแบบถ่านหินหรือน้ำมัน แต่เป็นเชื้อเพลิงที่มีพิษร้ายแรง นั่นคือเชื้อเพลิงนิวเคลียร์
    ทำไมต้องใช้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์
    ถ้าเราต้องการต้มน้ำให้ได้ปริมาณไอน้ำเท่ากัน เราต้องเผาเชื้อเพลิงฟอซซิลเช่นน้ำมันหรือถ่านหินในปริมาณที่มากกว่าความร้อนที่เกิดจากแท่งนิวเคลียร์เทียบอัตราส่วนแล้วต่างกันหลายแสนเท่า และเชื้อเพลิงฟอซซิลเหล่านั้นก็ก่อเกิดมลพิษมากมายอย่างที่รู้กันอยู่
    จะกลายเป็นระเบิดนิวเคลียร์ไหม
    ชื่อมันคล้ายกัน แต่น่าขำที่มันเป็นไปไม่ได้ อัตราส่วนของยูเรเนียม 235 ในอาวุธนิวเคลียร์นั้นต้องมากกว่า 90% ขึ้นไป แต่สำหรับโรงไไฟฟ้า แท่งเชื้อเพลิงมีอัตราส่วนของยูเรเนียม 235 เพียงแค่ 2% ถึง 3% เท่านั้น ทำยังไงก็กลายเป็นอาวุธร้ายไม่ได้
    แล้วไปต่อต้านมันทำไม
    ก็บอกแล้วว่ามันเป็นเชื้อเพลิงพิษ และพิษนั้นเดินทางไปในอากาศได้ด้วย ถ้าควบคุมไม่ดี มันรั่วออกมา ก็มีโอกาสเป็นมะเร็งกันเป็นหมู่คณะ อีกทั้งโรงไฟฟ้านี้ ต้องการแหล่งน้ำสำหรับระบายความร้อนส่วนเกิน ก็เลยต้องตั้งอยู่ติดแม่น้ำหรือทะเลสาบ ทำให้หาทำเลยาก หน้าตาก็ดูน่ากลัว แต่จริงๆหมอกขาวๆที่ลอยออกมาจากปล่องที่เห็นในรูปนั่น (หมายเลข 20) ไม่มีพิษนะครับ เมฆธรรมดานะแหละ และถ้าควบคุมพิษดีๆ มันจะหลายเป็นโรงไฟฟ้าที่โคตรสะอาด เพราะไม่ปล่อยควันเสียจากการเผาเลย ปล่อยแต่ก้อนเมฆออกมาจากปล่องยักษ์
    [​IMG]
    แล้วเมืองไทยควรมีไหม
    พูดตรงๆผมว่าไม่แฟร์ที่คนเราใช้ไฟฟ้ามาก แล้วไปสร้างเขื่อนกั้นน้ำ เวลาสร้างเขื่อนมันต้องกั้นแม่น้ำทั้งสาย ธรรมชาติก็เปลี่ยนไป ตอนสร้างก็จะเกิดน้ำท่วมต้นเขื่อน จนสืบ นาคะเสถียรต้องลอยเรืออกไปจับกวางที่จะจมน้ำตายหลายตัวตอนสร้างเขื่อนเชี่ยวหลาน หรือไปซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้าน พอมีความขัดแย้งเราก็จัดการไม่ได้ พูดไม่ออก เดี๋ยวโดนเพื่อนบ้านตัดไฟ
    แต่ยังก่อน เมืองไทยยังไม่ควรมี เพราะอะไรนะหรือ เพราะ “ความมักง่าย” ไง ขยะธรรมดายังเอาออกจากเกาะล้านเกาะสมุยไม่ได้ กากเชื้อเพลิงนิวเคีลยร์ที่เป็นขยะพิษ เราจะเอาไปทิ้งที่ไหน แหล่งน้ำระบายความร้อน รับประกันได้ไงที่จะไม่แห้ง ตอนที่เขียนบล็อกนี้ น้ำในแม่น้ำมูล แม่น้ำเพชรบุรี บางจุดแห่งเหลือ 33 cm เท่านั้น
    แล้วอุบัติเหตุที่เคยเกิดมาจากประเทศอื่นล่ะ
    โลกนี้มีโรงไฟ้าตระกูลนี้มี 40 กว่าปี เดี๋ยวนี้มี 400 กว่าโรงทั่วโลก ไฟฟ้า 1 ใน 6 ของโลกเกิดจากโรงไฟฟ้าตระกูลนี้ เกิดอุบัติเหตุ 9 ครั้ง มีคนตาย 1 ครั้ง ตามนี้
    นอกนั้นก็เป็นอุบัติเหตุแนวๆนี้ เช่น 2 มี.ค.2544 สหราชอาณาจักร รถไฟบรรทุกขวดแก้วนิวเคลียร์ตกรางขณะที่เดินทางไปยังโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทอร์เนสในสก็อต เป็นต้น
    อุบ้ติเหตุพวกนี้ ฆ่าคนน้อยกว่าเมาแล้วขับเดือนเมษาของไทย นับจำนวนคนตาย 40 ปี กับ ปี เดียวของสงกรานต์ที่เมาตกมอเตอร์ไซค์ก็ห่างเป็นร้อยเท่าแล้ว
    แต่ฟังให้ดีนะครับ เมืองไทยยังไม่ควรมี นิสัยคนไทยนั้น อีกกี่ปีกี่ชาติก็มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่ได้ มะเร็งกินกันหมดประเทศแน่ถ้ายอมให้ใช้ อ๊ะๆ มูลค่าการสร้างมันหลายสตางค์ นักการเมืองอยากได้เพราะมีค่าขนมล่ะสิ …คิดดีๆนะ….

    2011 มีนาคม
     
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    คลังออกบอนด์50ปียอดจองล้น1.8เท่า รู้สึกมั้ย?สินค้าขึ้นราคาทุกวัน
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>3 มีนาคม 2554 10:53 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ปัญหาเรื่องน้ำมันปาล์มบรรจุขวดตอนนี้ เริ่มบรรเทา เบาบางลงมาบ้างแล้ว "ฝาจุกสีฟ้า สีชมพู" ก็เริ่มออกวางขายกันให้เกลื่อน มองเห็นได้ง่าย หาซื้อไม่ยาก ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า เวลาจะทำให้ของมี ก็ทำได้อย่างกะเสกพรึ่บ! ร่ายมนต์ปุ๊บ มาปั๊บ! มันคงเหมือนกับตอนที่ทำให้มันหายไปจากตลาดนั่นแหละ "เสกปุ๊บ ของหายปั๊บ ยังไง ยังงั้นเลย???"

    "เจ๊วา พรทิวา นาคาศัย" ที่เกือบจะเปลี่ยนเสียงร้องเวลาตกใจ เป็น แบะ แบะ แบะ...ในช่วงที่ปัญหาน้ำมันปาล์มรุมเร้า มาวันนี้ควันหลงก็ยังมีอยู่ ขึ้นหัว BB สุดเริ่ด “ผวาปาล์ม” ท่ามกลางข่าว “สวาปาล์ม” ร้อนๆ เหตุผลก็ไม่ใช่อะไรมาก เรื่องปาล์มนี่มันทำให้เสียวหลังจริงๆ..ไม่เพียงแค่นั้น ยังถูกรุมกินโต๊ะ ทั้งจากนายกฯ มาร์ค เทือก ดีเอสไอ มะรุมมะตุ้มไปหมด เลยเปลี่ยนหัวBBอีกรอบเป็น "มึน จัง ปาล์ม" ออกเทรนด์เกาหลีไปเลย ฮ่าๆๆ!!..

    เคยรู้สึกมั้ยว่า ทุกวันนี้ แม้พาณิชย์จะบอกว่า อยู่ในช่วงตรึงราคาสินค้า แต่ในความเป็นจริง ทำไมยังรู้สึกว่าสินค้ามันขึ้นเอาๆ ถ้าใครไม่เชื่อ ลองไปสำรวจของกินของใช้ในบ้านตัวเองดูละกันว่าไอ้ที่เคยซื้อๆ นะ ราคามันขยับไปมากน้อยแค่ไหนแล้ว หรือถ้าให้ดี ใครที่เก็บบิลไว้ "ลองเอาสินค้าชนิดเดียวกันที่ซื้อมาเทียบราคาย้อนหลังดู" ไม่ตกใจให้มันรู้ไป ก็ไม่รู้ว่าคุมราคากันยังไง เฮ้อ!!!

    สืบไปสืบมา สินค้าที่อยู่ในบัญชีดูแลของพาณิชย์นะ มันมีกว่า 200 ชนิดก็จริง แต่ใน 200 กว่าชนิดนั่นนะ แต่ละชนิดมีรายการย่อยเยอะแยะไปหมด อันไหนที่อยู่ในบัญชีดูแล ผู้ผลิตก็ไม่ค่อยผลิตออกมา เพราะขึ้นราคาได้ยาก หันไปผลิตขนาดอื่นแทน ปรับส่วนผสมนิดหน่อย ก็ขึ้นราคาได้ตลอด ถึงบางอ้อกันแล้วยัง "นี่แหละวิธีบริหารแบบพาณิชย์ๆ...."

    ส่วนที่เราๆ ท่านๆ เห็นเป็นข่าวอยู่นั้น และบางรายการก็ขึ้นยากขึ้นเย็น ก็เพราะมันถูกควบคุมอยู่ไง ถ้าไม่ถูกคุม มันฉลุยขึ้นราคาไปนานแล้ว ชัดๆ ตอนนี้ "น้ำมันถั่วเหลือง ปุ๋ยเคมี นมสดพาสเจอร์ไรซ์ น้ำตาลทราย" แต่ว่าก็ว่านะ ทั้งๆ ที่คุมอยู่นะเนี่ย ขนาดพิเศษ ส่วนผสมพิสดาร หีบห่อสุดหรูอะ ราคามันพุ่งไปไหนต่อไหนแล้ว "พูดจริง ไม่ได้โม้!!!"

    ***พูดถึงน้ำตาลทราย "มาร์ค" ดูเหมือนจะเพิ่งตื่น เพราะปัญหาหาซื้อได้ยาก ราคาแพง เกิดขึ้นมาเป็นปีแล้ว "ไม่รู้มัวงมโข่งอะไรกันอยู่" ฝั่งพาณิชย์บอกว่า ในห้างยังขาย 23.50 บาทตามราคาควบคุมเป๊ะๆ แต่ดันไม่เคยไปดูนอกห้าง ราคาทะลุ 28-30 มาเป็นชาติแล้ว แถมในห้างก็มีขายมั่ง ไม่มีขายมั่ง ถามผู้ผลิตทำไมถึงไม่ส่งน้ำตาลทรายถุงเข้าห้าง ผู้ผลิตตอบตรงๆ เพราะค่าแพกเก็จจิ้งแพง ทำแล้วไม่คุ้ม เลยเอาไปขายนอกห้างฟันกำไรดีกว่า เออ เพิ่งรู้นะเนี่ย มาตรการคุมราคาของพาณิชย์ "คุมแค่ในห้าง นอกห้างรั่ว!@!@!"***

    "นานๆ จะออกมาให้ข่าว" สำหรับ "มนัส สร้อยพลอย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ" ออกมางวดนี้ไม่ผิดหวัง พูดชัด ตรงๆ ฟันธงโป้งๆๆๆ ราคาข้าวไทยมีแต่จะขึ้น เพราะความต้องการมีมาก "อินโดนีเซีย บังคลาเทศ ฟิลิปปินส์" มีความต้องการซื้อเพียบ แม้แต่พี่เบิ้มอย่างจีน ก็ต้องซื้อ แล้วที่กำลังขาย G2G ก็มีคนติดต่อซื้อมากมายจนเจรจาไม่ทัน แถมผลผลิตในประเทศที่กำลังจะออกก็อาจลดลงจากภัยแล้ง แบบนี้ราคาไม่ขึ้นก็ไม่รู้จะว่าไงแล้ว ก่อนปิดท้าย "ฝากถึงผู้ส่งออกบางราย" ที่คิดปั้นข่าว ทุบราคาข้าว ระวังตัวให้ดี เปิดหน้าชกกันตรงๆ อย่าเอาเกษตรกรมาเป็นตัวประกัน ไม่ดี ไม่ทำ...

    มติ ครม. 1 มี.ค. จู่ๆ ก็ดอดอนุมัติ "ย้ายและขยายโรงงานน้ำตาลเพิ่มเติมอีก 7 แห่ง" โดยย้าย 1 แห่ง อีก 6 เป็นการยื่นขอย้ายและขยายกำลังการหีบอ้อย โดยล็อตนี้ค้างมาจากสมัย "ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง" ที่ขณะนั้นอนุมัติรวดเดียว 11 แห่ง เตรียมดันล็อต 2 อีก 10 แห่ง แต่พลาดไปก่อนหลังถูกปรับพ้น ครม. จน "ชัยวุฒิ" เข้ามาสานต่อและดันสำเร็จอย่างที่เห็น...

    แว่วมาว่า การระดมทุนพรรค ปชป. 6 มี.ค.นี้ "โรงงานน้ำตาล 47 แห่งคงได้รับเชิญเป็นพิเศษ" ว่าแต่อย่าลืมจ่ายค่าโต๊ะหนักๆ ด้วยละ "หุหุหุ!@!"

    Business - Manager Online -
     
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    กลุ่มอาหรับลีกเร่งหารือร่วมสหภาพอาฟริกา: ระงับสถานะสมาชิกและปิดน่านฟ้าลิเบีย

    March 3, 2011

    กลุ่มอาหรับลีกออกมติระงับสถานะสมาชิกของลิเบีย และอาจกำหนดเขตห้ามบินในเขตของลิเบีย โดยจะร่วมมือกับสหภาพแอฟริกาเพื่อต่อต้านลิเบียอย่างต่อเนื่อง การประชุมรัฐมนตรีแห่งอาหรับลีก ณ กรุงไคโร เมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า ไม่เห็นด้วยหากจะมีกองกำลังทหารจากภายนอกเข้าแทรกแซงลิเบีย แม้ว่าจะมีการพยายามปฏิวัติเพื่อให้กัดดาฟีลงจากตำแหน่งที่ครอบครองมาถึง 4 ทศวรรษ นำไปสู่การปราบปรามโดยการใช้กำลัง
    มติของอาหรับลีก เห็นควรที่จะให้รัฐบาลลิเบียตอบสนองประชาชน “ด้วยความชอบธรรม” และยุติการนองเลือด ผู้กุมอำนาจนำในลิเบียจะต้องยกเลิกมาตรการเคร่งครัดที่มีต่อสื่อและเครือข่ายเคลื่อนที่ต่างๆ และยินยอมให้สามารถส่งความช่วยเหลือเข้าไปในลิเบียได้
    [​IMG]
    อาหรับลีกมีความต้องการให้ “ธำรงรักษาไว้ซึ่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของแผ่นดินลิเบียและสันติภาพแด่พลเมือง” ซึ่งเป็นภาษาที่เคยใช้เมื่อครั้งสหรัฐฯ บุกอิรักในปี 2003
    นอกจากนี้ยังมีมติยืนยันในการระงับความเป็นสมาชิกของลิเบียจากองค์กร จนกว่าจะตอบสนองประชาชนด้วยเสรีภาพ Amr Moussa เลขาธิการอาหรับลีกกล่าวว่า “ขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งต่อสถานการณ์ในลิเบีย และเห็นว่าเป็นสิ่งไม่ถูกต้องและไม่สามารถยอมรับได้”
    [​IMG]
    “อาหรับลีก จะไม่ยืนเคียงข้างฝ่ายที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นองเลือดในลิเบีย”
    Al Jazeera รายงานว่า ขณะนี้การหารือระหว่างอาหรับลีกยังคงดำเนินต่อไป เพื่อหารือกับรัฐสมาชิกสหภาพแอฟริกา ในการหาทางออกและความเป็นไปได้ที่จะปิดน่านฟ้าเหนืออาณาเขตของลิเบีย ทั้งนี้ ต้องขึ้นอยู่กับศักยภาพทางทหาร

    Al Jazeera

    กลุ่มอาหรับลีกเร่งหารือร่วมสหภาพอาฟริกา: ระงับสถานะสมาชิกและปิดน่านฟ้าลิเบีย | Siam Intelligence Unit
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    สรุปมติ UN ต่อสถานการณ์วิกฤตในลิเบีย

    March 3, 2011

    สรุปมติองค์การสหประชาชาติต่อสถานการณ์ลิเบีย จากการหารือระหว่างประธานาธิบดีโอบามากับเลขาธิการสหประชาชาติ บัน คีมูน และการลงมติในองค์การสหประชาชาติ
    ทูตสหรัฐฯ ประจำองค์การสหประชาชาติ ซูซาน ไรซ์ สรุปการประชุมเกี่ยวกับประเด็นลิเบีย “อย่างที่พวกคุณได้ทราบถึงวิกฤตในลิเบียตั้งแต่เริ่มต้น บัดนี้ ได้มีมติขององค์การสหประชาชาติต่อสถานการณ์ลิเบียแล้ว”
    ประการแรก ให้นำสถานการณ์ในลิเบียขึ้นศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศ (ICC) ซึ่งเป็นครั้งแรกที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีเสียงมติไม่เป็นเอกฉันท์ กรณีการกระทำอันรุนแรงที่กระทบต่อสิทธิมนุษยชน
    ประการที่สอง คือการงดเดินทางเข้าไปยังลิเบีย และอายัดทรัพย์สินของผู้นำลิเบีย รวมทั้งการสั่งห้ามการขายอาวุธให้แก่ลิเบีย ตลอดจนการต่อต้านทหารรับจ้างที่รัฐบาลลิเบียใช้ให้ทำร้ายประชาชนของตนเอง และทางสหประชาชาติจะอำนวยความสะดวกและให้ความช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยธรรม
    การคว่ำบาตรนี้ถือเป็นกลไกที่รัฐสมาชิกแห่งองค์การสหประชาชาติต้องกระทำต่อระบอบลิเบีย
    รัฐบาลลิเบียต้องยุติความรุนแรงและเคารพต่อการข้อเรียกร้องของชาวลิเบียที่ต้องการความเปลี่ยนแปลง
    <IFRAME title="YouTube video player" src="http://www.youtube.com/embed/t0d0-xZnCEg" frameBorder=0 width=480 height=390 allowfullscreen></IFRAME>
    ขณะเดียวกัน รัฐสมาชิกแห่งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งองค์การสหประชาชาติควรมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการกำหนดโทษเพื่อคว่ำบาตรอย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม คณะมนตรีความมั่นคงยังคงไม่ถือว่างานนี้เสร็จสิ้นแล้ว และยังเกาะติดสถานการณ์ในลิเบียอย่างใกล้ชิด
    ดิฉันจะขอย้ำคำพูดของประธานาธิบดีโอบามาที่กล่าวไว้มากว่าสัปดาห์แล้วอีกครั้งว่า “บัดนี้ พันเอก (พิเศษ) กัดดาฟี ถึงเวลาที่จะต้องยุติการนองเลือดจากการใช้ความรุนแรงต่อข้อเรียกร้องของประชาชนได้แล้ว”
    “กัดดาฟีต้องยุติการเข่นฆ่าประชาชน เขาขาดซึ่งความชอบธรรมในการปกครองแล้ว นี่คือสาเหตุในการระงับสถานะของลิเบียในการเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ เนื่องจากมีการกระทำที่หยาบช้าและโหดร้ายทารุณ และละเมิดต่อสิทธิมนุษยชน”
    “เขาจะต้องออกไป ต้องออกไปเดี๋ยวนี้”
    Whitehouse

    สรุปมติ UN ต่อสถานการณ์วิกฤตในลิเบีย | Siam Intelligence Unit
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    [​IMG]
    อิมามียะฮ์ เจอร์นัล : หนังสือพิมพ์มีชื่อเสียงบางฉบับของอเมริกา และอิสราเอล ได้วิเคราะห์ต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลางขณะนี้ว่า คือสิ่งยืนยันถึงการมีอำนาจที่เพิ่มสูงขึ้นของอิหร่าน

    สำนักข่าวของฟารส์นิวส์รายงานว่า การปฏิวัติที่เกิดขึ้นในประเทศตูนีเซีย และประเทศอียิปต์ ซึ่งเป็นพันธมิตรของตะวันตกในตะวันออกกลาง การที่ประชาชนสามารถโค่นล้มผู้นำประเทศทั้งสองลง ได้สร้างความหวาดผวาแก่รัฐบาลต่างๆ ในตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และอิสราเอลไม่น้อย

    หนังสือพิมพ์ลอสแองเจลิสไทม์ ได้ตีพิมพ์บทวิเคราะห์หนึ่ง เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลางว่า ผู้มีชัยหนึ่งเดียวต่อการปฏิวัติต่างๆ ภาคประชาชนที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ คืออิหร่าน
    หนังสือพิมพ์อเมริกันฉบับนี้ได้ชี้ให้เห็นสิ่งยืนยันหนึ่งนั่นคือ การส่งเรือรบสองลำของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านไปยังทะเลเมดิเตอร์เรเนียนผ่านคลองสุเอซไปเทียบชายฝั่งของประเทศซีเรียเป็นครั้งแรกในเวลา 32 ปีที่ผ่านมา นั่นคือพยานยืนยันต่อข้ออ้างดังกล่าว

    "ลอสแองเจลิสไทม์" ได้ตีพิมพ์ว่า การที่เรือรบสองลำของอิหร่านสามารถแล่นผ่านคลองสุเอซ และไปเทียบที่ชายฝั่งของประเทศซีเรียได้อย่างไม่มีปัญหาใดๆ คือหลักฐานที่ชัดเจนที่สุดต่อการที่จะบอกให้โลกได้รับรู้ว่าอิหร่านได้รับประโยชน์ที่สุดต่อการเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคนี้ เนื่องจากในสมัยการดำรงตำแหน่งของฮุซนี่ มุบาร๊อก อิหร่านไม่เคยมีโอกาสได้ดำเนินการเช่นนี้มาก่อนเลย
    "ลอสแองเจลิสไทม์" ได้เขียนต่อไปอีกว่า อิหร่านคือผู้ชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของความไม่สงบในตะวันออกกลาง และสิ่งนี้คือสิ่งยืนยันที่ว่า อิหร่านจะแสดงความเห็นอกเห็นใจ และแสดงความยินดีต่อประเทศต่างๆ ที่สามารถโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการของตนเองลงได้

    "การเปลี่ยนแปลงต่างๆ เปรียบเสมือนแผ่นดินไหวแห่งอาหรับ ซึ่งสร้างผลประโยชน์แก่อิหร่าน และสร้างความเสียหายแก่ซาอุดิอาระเบีย" คือประโยคหนึ่ง ซึ่งหนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทม์ได้ตีพิมพ์อยู่ในบทความดังกล่าว และได้ยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงที่ได้เกิดขึ้นในภูมิภาคตะวันออกกลาง ได้สร้างผลประโยชน์แก่อิหร่าน และสร้างความเสียหายแก่พันธมิตรของสหรัฐอเมริกา

    ตามรายงานข้างต้น น่าแปลกใจยิ่งนักเมื่อ "ฟารีด ซะการียา" นักวิเคราะห์ชาวอินเดียเชื้อชาติอเมริกัน ซึ่งเขาได้วิเคราะห์การปฏิวัติต่างๆ ในโลกอาหรับขณะนี้เพียงแค่ว่า "คือการตื่นตัวครั้งแรกสุดของประชาชนในศตวรรษที่ 21" แตกต่างจากการวิเคราะห์ของ "ไมเคิล ซิลก์แมน" นักวิเคราะห์กิจการตะวันออกกลางในหนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทม์ ที่ได้วิเคราะห์ต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า "จะยังประโยชน์ต่ออิหร่าน และสร้างความเสียหายแก่ซาอุดิอาระเบีย และชาติพันธมิตรของอเมริกา"
    [​IMG]

    ไมเคิล ซิลก์แมน ได้เขียนว่า รัฐบาลต่างๆ ซึ่งพบกับความสั่นคลอนคือชาติต่างๆ ที่เป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา ในลักษณะที่ประเทศทั้งหมดเหล่านี้ อาธิเช่นกองทัพของฮุซนี่ มุบาร๊อก(อดีตผู้นำอียิปต์) ซัยนุลอาบิดีน บินอาลี (อดีตผู้นำตูนีเซีย) อาลี อับดุลลอฮ์ซอและห์ (ผู้นำเยเมน) และอับดุลอาซีซ บูตัฟลีเกาะฮ์ (ผู้นำแอลจีเรีย) มีความร่วมมือในการทำสงครามต่อต้านการก่อการร้ายกับสหรัฐอเมริกา และมากไปกว่านั้นรัฐบาลต่างๆ ของกษัตริย์แห่งอาหรับได้มีการสื่อสาร และให้ความร่วมมืออย่างถาวรกับสหรัฐอเมริกาในทุกๆ กรณี

    ในบทความของไมเคิ่ลได้เขียนต่อไปอีกว่า แม้แต่ทางกองทัพของซูดาน และลิเบียก็ยอมให้ความร่วมมือกับสหรัฐอเมริกาในช่วงหลังมานี้ มีรายงานว่ารัฐบาลของอุมัร อัลบะชีรในซูดาน ได้ให้ความร่วมมือกับสหรัฐอเมริกาในการทำสงครามกับการก่อการร้ายทางด้านข้อมูลข่าวสารอย่างสมบูรณ์แบบ

    ไมเคิลได้เขียนต่อไปอีกว่า มุอัมมาร์ กัดดาฟีย์ ผู้นำแห่งลิเบีย คือผู้นำคนเดียวของโลกอาหรับที่ได้ปราบปรามการเคลื่อนไหวต่างๆ ของอิสลาม และเป็นประเทศเดียวซึ่งได้ส่งมอบโครงการนิวเคลียร์ของตนให้แก่สหรัฐอเมริกา

    ไมเคิลได้เขียนอีกว่า สถานการณ์สำหรับซาอุดิอาระเบียเป็นสิ่งที่ยากลำบากยิ่ง และด้วยความกลัวว่าประชาชนในชาติจะลุกขึ้นชุมนุมเหมือนที่อื่นๆ รัฐบาลซาอุดิอาระเบียจึงเตรียมอนุมัติงบประมาณกว่าหนึ่งร้อยล้านล้านริยาลซาอุดี้ ณ เวลานี้เมืองริยาฎตกอยู่ในสภาพของผู้ที่กลัวความไม่สงบมั่นคง

    จากข้อเขียนนี้ของไมเคิลในหนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทม์ แสดงว่าปัญหาต่างๆ ทั้งหมดชี้ให้เห็นว่าซาอุดิอาระเบียกำลังอยู่ในความกดดันอย่างยิ่ง และอำนาจของอิหร่านกำลังแผ่ขยายเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ทั้งสองประเทศนี้กำลังแข่งขั้นกันแผ่ขยายอำนาจของตนในภูมิภาคตะวันออกกลาง
    [​IMG]

    "ฟะรีด ซะการียา" นักวิเคราะห์ชาวอินเดียเชื้อชาติอเมริกัน ได้เขียนในหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ว่า เกือบสิบปีมาแล้วที่อเมริกาเพิ่งรู้ตัว ว่าการสนับสนุนของกรุงวอชิงตันต่อระบอบเผด็จการต่างๆ คือสาเหตุนำไปสู่การกำเนิดลัทธิหัวรุนแรงทางศาสนาขึ้น ซึ่งจะเป็นตัวคุกคามภูมิภาคตะวันออกกลาง และสหรัฐอเมริกา

    เช่นเดียวกัน "ฮาเรตซ์" หนังสือพิมพ์มีชื่อฉบับหนึ่งของอิสราเอล ได้ตีพิมพ์บทความหนึ่งซึ่งเขียนโดย "อูรเยชาเว็ต" ความว่า นอกเหนือจากความสำเร็จจากการปฏิวัติต่างๆ ในประเทศอาหรับ ซึ่งบางส่วนจากเผด็จการในภูมิภาคได้ถูกโค่นล้มไปแล้ว แต่ทว่ายังมีอีกอันตรายหนึ่ง ซึ่งใครสักคนก็ไม่ได้สังเกตุมัน

    อูรเยชาเว็ต ได้ใช้ชื่อบทความนี้ของเขาว่า "พายุแห่งการเปลี่ยนแปลง" เขาได้บรรยายสรุปว่า สิ่งที่อันตรายที่สุด คือการเพิ่มขึ้นของอำนาจอิหร่านภายหลังจากการปฏิวัติต่างๆ ในโลกอาหรับ ซึ่งจะเป็นอำนาจที่ยิ่งใหญ่ในตะวันออกกลาง

    เขาได้สรุปต่อไปอีกว่า อเมริกาคือผู้อยู่เบื้องหลังความหายนะทั้งหมดนี้โดยทางอ้อม และเขาได้เน้นย้ำว่าการที่สหรัฐอเมริกาตัดการสนับสนุนรัฐบาลอียิปต์ บะฮ์เรน ลิเบีย ตูนีเซีย เป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดยิ่ง
    แปลเรียบเรียง เชคมาลีกี ภักดี

     
  7. obs2553

    obs2553 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,289
    ค่าพลัง:
    +176
    พูดถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ บอกตรงๆว่า กลัวเรื่องกากนิวเคลียร์เป็นที่สุด!
    ยิ่งถ้าเป็นระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบไทยๆ ยิ่งน่าห่วง

    ขนาดต่างประเทศอย่าง เยอรมัน และสหรัฐ ยังมีปัญหาเรื่องกากนิวเคลียร์ที่ต้องตามแก้กันอยู่ หาที่ทิ้ง ที่เก็บกันให้วุ่น
     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    นักศึกษา 540 คน ถูกลักพาตัวในลิเบีย


    [​IMG]



    อิมามียะฮ์ เจอร์นัล : นักศึกษามหาวิทยาลัยถูกลักพาตัวจากหอพักที่ตั้งอยู่ในคณะวิศวกรรมการบินและอวกาศในเมืองมิสรอต้า ขณะที่พลเรือนชาวลิเบียจำนวนหนึ่งก็ได้ถูกลักพาตัวไปจากเมืองอัล-ซาวียาด้วย "แหล่งข่าว" บอกกับอัล-อาลัม สถานีข่าวภาคภาษาอาหรับของอิหร่าน
    ผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลจำนวนหนึ่งในทริโปลี เมืองหลวงของลิเบีย ก็ถูกกองกำลังสนับสนุนกัดดาฟีลักพาตัวไปด้วยเช่นกัน
    ไม่มีใครรู้ถึงชะตากรรมของผู้ที่ถูกลักพาตัวไปเหล่านี้ และความไม่มั่นคงในภาวะวิกฤติของประเทศในแถบแอฟริกาเหนือแห่งนี้กำลังน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง
    ประชาชนเสียชีวิตไปแล้วหลายพันคนจากการปราบปรามสลายการประท้วงของรัฐบาลลิเลียในรอบสองสัปดาห์ที่ผ่านมา
    ความรู้สึกต่อต้านรัฐบาลรุนแรงยิ่งขึ้นเมื่อวันจันทร์ หลังจากที่กองกำลังของรัฐบาลลิเบียได้ยิงผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลเสียชีวิตสองคนในเมืองทริโปลี
    การต่อสู้ยังได้ลุกลามขึ้นในเมืองต่างๆ เช่นมิสราต้า และอัล-ซาวิยา มีผู้ประท้วงเสียชีวิตอย่างน้อยสองคนในเมืองมิสราต้า ก่อนหน้านั้น ผู้ประท้วงได้ยิงเฮลิคอปเตอร์ตกลำหนึ่งในเมืองนี้
    กองกำลังสนับสนุนกัดดาฟีได้เคลื่อนไปทางตะวันตกของประเทศ เตรียมการที่จะยึดเมืองนาลุตกลับคืนจากผู้ชุมนุม
    ประชาชนในเมืองหวาดกลัวการโจมตีโดยกองกำลังของรัฐบาล ฝ่ายปกครองได้เพิ่มการปราบปรามการปฏิวัติของประชาชน ขณะที่เมืองต่างๆ ในภาคตะวันตกและตะวันออกตกอยู่ใต้การควบคุมของผู้ประท้วงเพิ่มมากขึ้น
    องค์กรเพื่อสิทธิมนุษย์ชนอัล-รอกิบ ในลิเบียได้ประณามความโหดร้ายและการละเมิดสิทธิมนุษยชนของระบอบปกครองลิเบีย โดยเตือนว่าจะมีการใช้ผู้ที่ถูกลักพาตัวไปเป็นโล่มนุษย์ให้กัดดาฟี่ในกรณีที่จะมีการโจมตีเขา
    องค์กรสิทธิ์ของลิเบียนี้ยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลลิเบียและองค์กรด้านความมั่นคงของประเทศหยุดการลักพาตัวประชาชน

    Source : islamtimes.org

     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    การ์ตูนล้อเลียน / ทัศนะของโอบามาเกี่ยวกับการปฏิวัติในลิเบีย เยเมน และ ในประเทศอื่น ๆ
    [​IMG]
    อิมามียะฮ์ เจอร์นัล : การแสวงหานโยบายในการแทรกแซงของสหรัฐในเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวต่าง ๆที่เกิดขึ้นในภูมิภาคตะวันออกกลางโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อประเทศอิหร่าน
    ความหมายการสนทนาในภาพระหว่างผู้บัญชาการทหารของอเมริกากับ นายบารัก โอบามา :
    ผู้บัญชาการทหาร : "ท่านครับ ประชาชนในประเทศเยเมน บะห์เรน และลิเบีย ลุกฮือกันออกมาประท้วงในท้องถนนอีกแล้ว และพวกเขากำลังจะถูกฆ่านะครับ ท่านจะไม่แสดงปฏิกริยาใด ๆ บ้างหรือครับ???"
    นายบารักโอบามา : " ขณะนี้ยังไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง แล้วคุณมีข่าวคราวอะไรเกี่ยวกับอิหร่านบ้างไหม? หากมีข่าวคราวอะไรเกี่ยวกับอิหร่านแม้เพียงเล็กน้อยก็บอกผมด้วย เพื่อว่าผมจะได้แสดงปฏิกิริยาตอบโต้"

     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ฮาซัน มาชีมะอ์ : หากมีการแทรกแซงของซาอุดิอาระเบีย เราจะขอความช่วยเหลือจากอิหร่าน
    [​IMG]

    อิมามมียะฮ์เจอร์นัล : สำนักข่าวอับนารายงานว่า "ฮาซัน มาชีย์มะอ์" ในฐานะผู้นำการเคลื่อนไหวคนสำคัญหนึ่งของบะฮ์เรน ซึ่งเพิ่งจะเดินทางกลับมาบะฮ์เรนเมื่อสามวันก่อน หลังจากการลี้ภัยอยู่ต่างประเทศนานหลายปี

    มาชีย์มะอ์ได้กล่าวกับหนังสือพิมพ์ "อัลอัคบาร" ของประเทศเลบานอนว่า "ถ้าหากกองทัพของซาอุดิอาระเบียเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในของประเทศบะฮ์เรน หากเป็นเช่นนั้นจริงกองทัพของอิหร่านก็จะเข้ามามีส่วนร่วมช่วยเหลือการเรียกร้องของประชาชนได้ด้วยเช่นเดียวกัน"

    มาชีย์มะอ์ยังได้กล่าวอีกว่า "ถ้าหากรัฐบาลของบะฮ์เรนที่มีอำนาจอยู่ในเวลานี้ได้ร้องขอความช่วยเหลือทางกองทัพต่อซาอุดิอาระเบีย ซึ่งการแทรกแซงนั้นเพื่ออำนวยประโยชน์แก่พวกเขา เวลานั้นประชาชนที่กำลังชุมนุมก็มีสิทธิที่จะร้องขอความช่วยเหลือไปยังประเทศอิหร่านเช่นเดียวกัน"
    มาชีย์มะอ์ ยังได้กล่าวต่ออีกว่า "แม้แต่กรณีการแทรกแซงในเรื่องของจิตวิญญาณต่อประเทศหนึ่งประเทศใด ก็ยังถือว่าเป็นการแทรกแซงกิจการภายในของประเทศนั้นๆ นับประสาอะไรกับการแทรกแซงทางทหาร ซึ่งแน่นอนเป็นเรื่องที่ชัดเจนที่สุด"

    เขาได้กล่าวต่ออีกว่า "โดยปกติแล้วการแทรกแซงทางทหารจะต้องดำเนินการผ่านสภาความร่วมมือในอ่าวเปอร์เซียเท่านั้น"

    ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ "อัลอัคบาร" ได้ถามต่อ "ฮาซัน มาชีย์มะอ์" อีกว่า "ในทัศนะของท่าน อะไรคือการแทรกแซงของซาอุดิอาระเบียต่อการเปลี่ยนแปลงในประเทศบะฮ์เรน? และซาอุดิอาระเบียมีการแทรกแซงจริงหรือไม่?"

    มาชีย์มะอ์ได้ตอบว่า "ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยืนยัน หรือปฏิเสธ ต่อข่าวเล่าลือต่างๆ ที่ชี้ไปยังการแทรกแซงของซาอุดิอาระเบียได้ ข้าพเจ้าไม่มีข้อมูลเชิงลึกในเรื่องดังกล่าว แต่ทว่าไม่ว่าการดำเนิกการใดๆ จากซาอุดิอาระเบีย ไม่ว่าจะเป็นการส่งกองกำลังทหาร หรือมีการเซ็นสัญญาด้านความร่วมมือทางทหารกับรัฐบาลของบะฮ์เรน นั่นหมายความว่า กรุงริยาฎกำลังก้าวก่ายแทรกแซงกิจการภายในของบะฮ์เรนแล้ว และรัฐบาลบะฮ์เรนกำลังละเมิดอำนาจอธิปไตยของตน ที่ชัดเจนไปกว่านั้น จะเป็นการละเมิดกฏหมายระหว่างประเทศอีกด้วย"
    [​IMG]

    มาชีย์มะอ์ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับการก่อตั้งกลุ่มเคลื่อนไหวกลุ่มใหม่ มีชื่อกลุ่มว่า "กลุ่มชุมนุมแห่งชาติสุนนี่" โดยการนำของ "อับดุลฏัยฟ์ มะฮ์มูด" ซึ่งเขาได้เรียกร้องให้ผู้ต่อต้านรัฐบาลทั้งหมดเข้าสู่การเจรจากับรัฐบาลบะฮ์เรนว่า "ข้าพเจ้าไม่ต้องการที่จะให้ทัศนะในเชิงบวกได้"

    มาชีย์มะอ์ ได้กล่าวเสริมอีกว่า "เนื่องจากว่ากลุ่มเคลื่อนไหวดังกล่าว คือหนึ่งมาตรการจากการดำเนินการต่างๆ ของรัฐบาลบะฮ์เรน แค่เพียงต้องการยุติการเคลื่อนไหวของพี่น้องประชาชนเท่านั้น และรัฐบาลบะฮ์เรนมีความเคยชินกันเทคนิคเดิมๆ แบบนี้มาช้านาน"

    มาชีย์มะอ์กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า "ข้าพเจ้าเชื่อ และมีความหวังว่าเกียรติยศและศักดิ์ศรีของพี่น้องสุนนี่อยู่เหนือกว่านั้น ขอให้การเรียกร้อง การเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นไปเพื่อชาติแผ่นดิน ไม่ใช่เป็นไปเพียงเพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติตระกูลหนึ่งเท่านั้น"
    ผู้สื่อข่าวของหนังสือพิมพ์ "อัลอัคบาร" ได้ถามต่อมาชีย์มะอ์ต่อไปอีกว่า "ความต้องการของท่านแต่แรกเริ่มคือ ต้องการโค่นล้มรัฐบาล หรือโค่นล้มระบอบกษัตริย์?" มาชีย์มะอ์ได้ตอบว่า "ก่อนการลุกขึ้นชุมนุม และมีการเคลื่อนไหวอยู่ในขณะนี้ เราต้องการเพียงต้องการให้มีการปฏิรูประบอบกษัตริย์ ทว่าหลังจากที่พี่น้องชุมนุมเคลื่อนไหว
    และมีการสังหารผู้บริสุทธิ์ไปจำนวนหนึ่ง ซึ่งพวกเขาได้รับชะฮีด แม้ว่าจะเป็นแค่จำนวนหนึ่ง แต่เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรแล้วก็ถือว่ามาก และคุณค่าของชีวิตผู้บริสุทธิ์เหล่านั้นมันมีค่ามากยิ่งกว่า การโค่นล้มรัฐบาลของบะฮ์เรนเสียด้วยซ้ำ ประชาชนมีสิทธิที่จะล้มล้างรัฐบาล และขาดความมั่นใจในการปกครองของราชวงศ์ หมายถึง ราชวงศ์อาลิคอลีฟะฮ์"
    มาชีย์มะอ์ได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า "รัฐบาลบะฮ์เรน ได้แสดงความป่าเถื่อนต่อพี่น้องประชาชนผู้ชุมนุม และได้ทำการสังหารหมู่ประชาชน ถือเป็นความผิดมหันต์ในขั้นต้น ระบอบกษัตริย์ที่แท้จริง ต้องเป็นเหมือนกับกษัตริย์ของสหราชอาณาจักร พระราชวงศ์เป็นแค่ตระกูลราชวงศ์เพียงพิธีการ และเป็นจุดศูนย์รวมจิตใจเพื่อความเป็นปึกแผ่นของประชาชนใชชาติ และไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวใดๆ ในอำนาจของรัฐ และไมมีคนใดสักคนจากราชวงศ์นั้นเข้ามาเป็นรัฐมนตรีและมีอำนาจใดๆ ในการบริหารบ้านเมือง"
    แปลและเรียบเรียง เชคมาลีกี ภักดี

     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ผู้ประท้วงในลิเบียเข้ายึดฐานทัพทหาร
    [​IMG]
    ผู้ประท้วงสนับสนุนประชาธิปไตยชาวลิเบีย ผู้ซึ่งขณะนี้เป็นส่วนหนึ่งกองกำลังต่อต้านมุอัมมาร์ กัดดาฟี่ ผู้ปกครองลิเบีย
    กำลังจัดเก็บกระสุนปืนที่ฐานทัพแห่งหนึ่งในเมืองเบนกาซี ทางตะวันออกของลิเบีย เมื่อวันจันทร์ (28/2/54)
    อิมามียะฮ์ เจอร์นัล : ชาวลิเบียหลายร้อยคน รวมทั้งเด็กและคนชรา ได้เข้าควบคุมฐานทัพอากาศแห่งหนึ่งทางตอนใต้ของเมืองเบนกาซี ด้วยความหวังที่จะเริ่มฝึกซ้อมเพื่อต่อต้านการโจมตีจากกำลังทหารของมุอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบีย
    พันเอกมาราอี ลอกนี กล่าวเมื่อวันจันทร์ว่า "เราได้รับพลเรือนหลายคนที่ต้องการเข้ารับการฝึกซ้อมแล้วสมัครเป็นทหาร เราพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อปกป้องเมืองเบนกาซีและชานเมืองโดยรอบ เราอยู่นี่เพื่อช่วยเหลือพี่น้องของเราในทริโปลีถ้าพวกเขาขอการสนับสนุนจากเรา แต่ผมมั่นใจว่าพวกเขาสามารถป้องกันตัวเองได้" รอยเตอร์รายงาน
    ผู้สมัครเข้าเป็นทหารที่ฐานทัพอากาศในเมืองนี้ จะได้รับการฝึกซ้อมอย่างหนักในการใช้ปืนใหญ่ขนาดใหญ่และอาวุธต่อต้านอากาศยาน
    "ผมขอเรียกร้องให้เยาวชนชาวลิเบียเข้าสมัครเป็นทหารเพื่อเผชิญหน้ากับเผด็จการผู้กดขี่คนนี้ เพื่อปกป้องประเทศ เลือดเนื้อ และชีวิตของเรา" ซอเลห์ อัล-อาบิดี ผู้สมัครเข้าเป็นทหารกล่าว
    เยาวชนจำนวนมากรีบไปยังฐานทัพทหารทั่วประเทศเพื่อป้องกัน และพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับการโจมตีจากกำลังทหารที่อยู่ใต้อำนาจผู้นำลิเบีย
    "ผมมาที่นี่เพื่อร่วมกับกองทัพลิเบีย เพราะเราต้องการโค่นล้มมุอัมมาร์ผู้ที่ฆ่าประชาชน" สุลัยมาน มิฟตาห์ เด็กชายชาวลิเบียกล่าว
    การปราบปรามอย่างรุนแรงที่รัฐบาลลิเบียกระทำต่อผู้ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อเกือบสองสัปดาห์ที่แล้ว ได้ทำให้ประชาชนเสียชีวิตไปแล้วประมาณ 2,000 คน
    ตามรายงานจากข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHCR มีประชาชนเกือบ 100,000 คน หลบหนีวิกฤติความรุนแรงที่เกิดขึ้นในลิเบียในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
    กัดดาฟี่ ผู้นำทหารทำการรัฐประหารกษัตริย์อิดริส ได้ก้าวขึ้นสู่อำนาจและสถาปนา "สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย" (the Great Socialist People's Libyan Arab Jamahiriya) ขึ้นเมื่อปี 1969 ผู้นำลิเบียคนนี้ได้ปกครองประเทศที่ตั้งอยู่บนแอฟริกาเหนือมาเกือบ 42 ปี เขามีบุตรชายเจ็ดคนและบุตรสาวหนึ่งคนจากการแต่งงานสองครั้ง
    กัดดาฟี่และสมาชิกครอบครัวของเขาได้เข้าถือครองอุตสาหกรรมต่างๆ ของประเทศอย่างเหนียวแน่น มีรายงานกล่าวว่า พวกเขามีบัญชีลับในธนาคารต่างชาติประมาณ 32.5 พันล้านดอลล่าร์
    สหรัฐฯ และรัฐบาลชาติอื่นๆ ได้หารือกันถึงทางเลือกที่จะใช้กำลังทหารจัดการกับลิเบียเมื่อวันจันทร์ ขณะที่กัดดาฟี่ยังคงเย้ยหยันภัยคุกคามรัฐบาลของเขาที่มาจากการปฏิบัติประชาชนที่กำลังขยายวางไปทั่ว

    Source : Press TV

     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ชาเวซเสนอให้มีการเจรจากับลิเบีย


    [​IMG]
    ประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซ แห่งเวเนซูเอล่า




    อิมามียะฮ์ เจอร์นัล : ประธานาธิบดีเวเนซุเอล่าเรียกร้องให้มีการประนีประนอมระหว่างกันเพื่อยุติภาวะวิกฤติในลิเบีย ขณะที่สหรัฐฯ และชาติมหาอำนาจอื่นๆ กลับให้น้ำหนักกับทางเลือกที่จะใช้กำลังทหาร



    ประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซ แห่งเวเนซุเอล่า ได้เรียกร้องให้ใช้ความพยายามไกล่เกลี่ยระหว่างประเทศ เพื่อหาทางออกที่สงบสันติในการแก้ปัญหาการลุกฮือของประชาชนที่ต่อต้านนายมุอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบียที่เตรียมการสู้รบ

    ข้อเรียกร้องของนายชาเวซเมื่อวันจันทร์(28/2/54) เกิดขึ้นขณะที่สหรัฐฯ และรัฐบาลตะวันตกชาติอื่นๆ ได้ปรึกษากันที่จะใช้ปฏิบัติการทางทหารเพื่อยุติความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้ประท้วงต่อต้านกัดดาฟี่ ที่กำลังผลักดันเพื่อขับไล่เขา

    ทางเลือกที่ได้จากการปรึกษากันประกอบด้วยความเป็นไปได้ที่จะกำหนดใช้เขตห้ามบินเพื่อปกป้องพลเรือน

    กระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ยังได้กล่าวเมื่อวันจันทร์อีกด้วยว่า สหรัฐฯ กำลังเคลื่อนกองกำลังทั้งทางน้ำและทางอากาศเข้าประจำการใกล้กับลิเบีย

    ชาเวซกล่าวว่า เขาได้ปรึกษาเรื่องความคิดนี้กับประเทศในแถบละตินอเมริกาแล้ว รวมทั้งประเทศยุโรปบางประเทศด้วย

    "ข้าพเจ้าหวังว่าเราจะสร้างคณะกรรมมาธิการที่จะสามารถเข้าไปยังลิเบียเพื่อเจรจากับรัฐบาลและบรรดาแกนนำฝ่ายต่อต้านได้" เขากล่าวในคำปราศรัยสดทางโทรทัศน์

    "เราต้องการการแก้ปัญหาอย่างสันติ... เราสนับสนุนความสันติสุขในโลกอาหรับและทั่วโลก"

    ชาเวซไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องคณะทูตผู้ทำการไกล่เกลี่ยที่เขาเสนอ แต่เขากล่าวว่ามันเป็นการดีกว่าที่จะแสวงหา "การแก้ปัญหาทางการเมือง แทนที่จะส่งกองทัพเรือไปยังลิเบีย และการส่งคณะทูตเจรจาที่มีความปรารถนาดีไปจะเป็นการดีกว่าการส่งไปเพื่อให้การเข่นฆ่ายังดำเนินต่อไป"

    ผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวอัลจาซีร่ารายงานจากกรุงคาราคัสว่า ข้อสังเกตที่ได้จากแนวคิดของนายชาเวซคือ ภาคใต้สามารถหาทางแก้ปัญหาให้แก่ภาคใต้ได้ และเขายังกล่าวว่า "ประตูนี้เปิดไว้สำหรับชาติ 'ที่เป็นมิตร' ทุกชาติ"

    เป็นเรื่องน่าสนใจที่จะติดตามดูว่าหลังจากนี้ มีประเทศใดบ้างที่สนใจจะเข้าร่วมในคณะกรรมคณะกรรมมาธิการสันติภาพระหว่างประเทศนี้


    "สหรัฐฯ ต้องการน้ำมันของลิเบีย"

    ชาเวซได้กล่าวย้ำเตือนว่า สหรัฐฯ ต้องการรุกรานลิเบียเพื่อให้ได้มาซึ่งน้ำมัน ความเห็นนี้ได้รับการประสานเสียงจากทั้งคิวบาและนิคารากัว

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาเวซเป็นห่วงว่าสหรัฐฯ อยากจะได้น้ำมันของลิเบียเหมือนที่เคยอยากได้น้ำมันของอิรัก เขากล่าวว่าที่พวกเขาคุ้มคลั่งก็เพราะน้ำมันของลิเบีย มันทำให้พวกเขาเป็นบ้า

    เขายังสงสัยด้วยว่าทำไมโลกจึงไม่ประณามการสังหารหมู่ในฟัลลูจา ในอัฟกานิสถาน และในปากีสถาน

    ชาเวซเป็นพันธมิตรที่สำคัญของกัดดาฟี่ในแถบละตินอเมริกา และผู้นำทั้งสองมักจะประณาม "ลัทธิแผ่อำนาจ" ของสหรัฐฯ อย่างเปิดเผยเสมอ และแลกเปลี่ยนการเยือนประเทศกันหลายครั้งในหลายปีนี้

    [​IMG]

    ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำทั้งสองประเทศมีความใกล้ชิดกันมาก จนถึงขนาดมีข่าวลืออยู่ช่วงหนึ่งว่ากัดดาฟี่ได้หลบหนีไปยังกรุงคารากัสแล้ว ถึงแม้ต่อมาจะมีการปฏิเสธข่าวลือนี้ก็ตาม

    ชาเวซกล่าวว่า มันจะเป็นการลวงโลกสำหรับเขาที่จะเข้าร่วมประสานเสียงกับนานาชาติในการประณามกัดดาฟี่ขณะนี้

    เขากล่าวว่าสิ่งนี้(การประณาม) ได้เคยเกิดขึ้นกับเขา(ชาเวซ) มาก่อนในอดีต เขาเคยถูกกล่าวหาว่าให้ที่หลบซ่อนแก่อัล-กออิดะฮ์ เขาเคยถูกกล่าวหาต่างๆ นานาโดยไม่มีหลักฐาน

    ชาเวซได้โพสต์ข้อความบนทวิตเตอร์เมื่อวันพฤหัสบดีว่า "ขอให้ลิเบียและเอกราชของลิเบียจงเจริญ! กัดดาฟี่กำลังเผชิญหน้ากับสงครามกลางเมือง!"

    นี่คือปฏิกิริยาครั้งแรกของเขาต่อการลุกฮือของประชาชนที่ได้สร้างความสั่นสะเทือนให้แก่ลิเบียนับตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์

    ฝ่ายตรงข้ามของนายชาเวซกล่าวว่า ความสัมพันธ์ของชาเวซกับกัดดาฟี และการปฏิเสธการประณามความรุนแรงที่เขากระทำต่อฝ่ายตรงข้าม แสดงให้เห็นถึงนิสัยเผด็จการที่เหมือนกัน
    หนังสือพิมพ์ที่สนับสนุนฝ่ายค้านได้ลงภาพของบุคคลทั้งสองที่ถ่ายด้วยกันในการพบปะกันในอดีต



    Source : aljazeera.net

     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    กัดดาฟีทุ่มเงินระดม “ทหารรับจ้าง” จากทั่วแอฟริกา
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>3 มีนาคม 2554 13:38 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    เอเอฟพี - ผ่านมาหลายทศวรรษที่ มูอัมมาร์ กัดดาฟี ให้เงินสนับสนุนกลุ่มกบฏ และส่งเสริมขบวนการปลดแอกประเทศต่างๆ ในแอฟริกา ทว่า ณ ปัจจุบันผู้นำลิเบียรายนี้กลับใช้อิทธิพลต่างๆ รวบรวมกำลังทหารรับจ้าง จากประเทศทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา (sub-Saharan Africa) เพื่อปราบปรามกลุ่มกบฏภายในประเทศของตัวเอง

    ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งภายในประเทศ กลุ่มกบฏ หรือจอมเผด็จการ ทั้งในไลบีเรีย เซียร์ราลีโอน ยููกันดา ชาด มาลี และซิมบับเว ล้วนได้รับการสนับสนุนด้านการเงิน การฝึกอาวุธ หรือการหนุนหลังจาก พ.อ.กัดดาฟี ตลอดช่วงเวลา 41 ปีแห่งการครองอำนาจ เขายังให้ความช่วยเหลือปฏิบัติการรักษาสันติภาพ และส่งเสริมการสร้างโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเหล่านี้

    แม้เขาจะเจียดรายได้จากน้ำมันช่วยประเทศตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา แต่ก็มีเสียงร่ำลือกันหนาหูว่า กัดดาฟี ใช้เงินเป็นเหยื่อล่อให้ทหารรับจ้างกว่า 25,000 คน ทำงานให้เขา เพื่อปราบปรามกลุ่มปฏิวัติต่อต้านระบอบในลิเบีย

    อาลี เซอีดาน ผู้อำนวยการสันนิบาตสิทธิมุนษยชนลิเบีย เปิดเผยว่า ชาดเป็นแกนนำนักรบต่างชาติพวกนี้ ซึ่งประกอบไปด้วยนักรบชาวไนเจอร์ มาลี ซิมบับเว และไลบีเรีย ทหารรับจ้างแต่ละคนจะได้รับค่าจ้างประมาณ 300 - 2,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 9,000 - 60,000 บาท) ต่อวัน

    มูอัมมาร์ กัดดาฟีเคยเลี้ยงดูปูเสื่อขบวนการกบฏในชาด รวมทั้งประธานาธิบดีไอดริสส์ เดบี ผู้นำชาดคนปัจจุบัน ทุกวันนี้ยังมีอดีตกบฏชาดอาศัยอยู่ในลิเบีย

    อย่างไรก็ตาม แม้รัฐบาลส่วนใหญ่ของประเทศแถบนี้ต่างปฏิเสธว่า ไม่มีนักรบจากชาติตนเข้าร่วมปราบปรามผู้ประท้วงลิเบีย ในฐานะทหารรับจ้าง แต่ทางการมาลีได้ออกมายืนยันว่า คนหนุ่มจากชนเผ่าตูอาเรกหลายร้อยคน ในมาลี และไนเจอร์ได้เข้าร่วมกับกองกำลังของมูอัมมาร์ กัดดาฟี

    อับดู ซาลัม อัก อัสซาลัต ประธานสมัชชาระดับภูมิภาคไคดัล (Regional Assembly of Kidal) ของมาลี กล่าวว่า คนหนุ่มจำนวนมากกำลังมุ่งหน้าสู่ลิเบีย เขาอธิบายต่อว่า ทางการท้องถิ่นพยายามห้ามปราบกลุ่มคนหนุ่ม โดยเฉพาะพวกอดีตกบฎ ไม่ให้เข้าร่วมกับกัดดาฟี แต่คำขอดังกล่าวเหมือนจะไม่เป็นผล เนื่องจากมีทั้ง “เงินดอลลาร์ และอาวุธ” กำลังรอท่าอยู่

    มูอัมมาร์ กัดดาฟี มีบทบาทสำคัญในสนธิสัญญาสันติภาพ เพื่อยุติสงครามกบฏตูอาเรก ในมาลี และไนเจอร์เมื่อปี 2009 ทว่าเขาก็ถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้อยู่เบื้องหลังเงินสนับสนุนจำนวนหลายล้านดอลลาร์ของกลุ่มผู้ก่อการดังกล่าว

    “มีนักรบตูอาเรกอย่างน้อย 3,000 คนที่ร่อนเร่พเนจรไปทั่วตั้งแต่ปี 2009 ดังนั้นไม่ต้องสงสัยเลยว่า พวกเขาต้องเข้าร่วมกับกองกำลังกัดดาฟี ซึ่งเป็นหนี้บุญคุณกลุ่มกบฏแน่นอน” แหล่งข่าวชาวตูอาเรกในไนเจอร์ให้ข้อมูล

    กัดดาฟียังเคยสนับสนุน กองกำลังป้องกันประชาชน ของยููกันดา แนวร่วมเอกภาพเพื่อการปฏิวัติ (อาร์ยูเอฟ) ของเซียร์ราลีโอน รวมทั้งชาร์ลส์ เทย์เลอร์ อดีตประธานาธิบดีไลบีเรีย ซึ่งถูกดำเนินคดีอาชญากรสงคราม ณ กรุงเฮก อยู่ในขณะนี้
    Around the World - Manager Online -
     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    นักวิเคราะห์กระตุ้นปักกิ่งปกป้องผลประโยชน์ในโลกอาหรับ

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 มีนาคม 2554 14:08 น.

    [​IMG]

    แรงงานจีนอพยพหนีเหตุจลาจลในลิเบียเดินทางถึงสนามบินนานาชาติกรุงปักกิ่งเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2554 - ซินหัว

    เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์ - นักวิเคราะห์บนแผ่นดินใหญ่กระตุ้นรัฐบาลออกมาเคลื่อนไหวกระฉับกระเฉงกว่านี้ในการรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของจีนในโลกอาหรับ แหล่งน้ำมันดิบมหาศาลของโลก ที่กำลังเกิด “การปฏิวัติดอกมะลิ” ลุกลามไปในหลายประเทศ ล่าสุดที่ลิเบีย ระบุจีนต้องเพิ่มแสนยานุภาพกองเรือในเขตทะเลหลวง

    ศาสตราจารย์ หวัง ซัวเหลา ผู้เชี่ยวชาญด้านกิจการตะวันออกกลางของมหาวิทยาลัยปักกิ่งเสนอว่า รัฐบาลปักกิ่งควรเตรียมพร้อมเข้าแทรกแซงลิเบีย ภายหลังจากพันเอก มูอัมมาร์ กั๊ดดาฟี ผู้นำลิเบียหล่นจากอำนาจ และเข้าร่วมกับนานาชาติในการฟื้นฟูลิเบีย เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจไปมากกว่านี้ หลังจากจีนได้ขาดทุนไปแล้ว ถึง 18,000 ล้านดอลลาร์จากสัญญาการก่อสร้าง ซึ่งยังไม่ทันเสร็จเรียบร้อย ก็เกิดการจลาจลในลิเบียเสียก่อน นอกจากนั้น รัฐบาลปักกิ่งควรศึกษาการบริหารความเสี่ยงในการลงทุนในชาติอาหรับ ซึ่งสถานการณ์การเมืองมักไร้ความแน่นอน ให้มากขึ้น และเรียนรู้การตอบโต้กับสถานการณ์ ที่เกิดขึ้นให้เร็วกว่าที่เป็นอยู่

    ขณะที่ดร. เหอ เหมาฉุน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อการศึกษาด้านการทูตเชิงเศรษฐกิจของมหาวิทยาลัยชิงหวาเห็นว่า จีนควรส่งเสริมขีดความสามารถของกองทัพเรือจีนในเขตทะเลหลวง และหาทางขยายอิทธิพลทางการเมือง เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของจีนในภูมิภาคนั้น

    ทั้งนี้ มีรายงานว่า เรือฟริเกต “ซู่โจว ซึ่งติดตั้งขีปนาวุธ ได้เปลี่ยนภารกิจจากปฏิบัติการลาดตระเวนป้องกันโจรสลัดนอกชายฝั่งโซมาเลีย แล่นเข้ามาในน่านน้ำลิเบีย เพื่ออพยพพลเมืองจีน ซึ่งนับเป็นการใช้เรือรบในการขนพลเมืองจีนในต่างแดนเป็นครั้งแรกของกองทัพเรือแดนมังกร

    ด้าน โกลบอล ไทมส์ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์กึ่งทางการถึงกับเรียกร้องให้เร่งสร้างเรือบรรทุกเครื่องบิน เพื่อรักษาผลประยชน์ของจีนในทั่วโลก

    นักวิเคราะห์บนแผ่นดินใหญ่ระบุว่า แม้การฟันธงว่าสถานการณ์นองเลือดในลิเบียจะกระตุ้นให้รัฐบาลปักกิ่งล้มเลิกนโยบายต่างประเทศ ซึ่งยึดหลักการไม่เข้าแทรกแซงกิจการภายในของชาติอื่นอย่างที่จีนยึดถือมาโดยตลอดหรือไม่นั้น อาจเป็นเรื่องที่เร็วเกินไป แต่สถานการณ์ในลิเบียก็กำลังบีบบังคับให้รัฐบาลจีนต้องประเมินกันใหม่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ภูมิศาตร์การเมืองในภูมิภาค ซึ่งขายน้ำมันดิบให้จีนมากถึงราวครึ่งหนึ่งของการนำเข้าน้ำมันดิบทั้งหมดของจีนในปีที่แล้ว

    อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติลงมติคว่ำบาตรรัฐบาลลิเบีย จีน ซึ่งตามปกติมักคัดค้านการลงมติคว่ำบาตร แต่คราวนี้ก็ยกมือเห็นชอบด้วย

    ด้านผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำมันของจีนมองในแง่ร้ายมากกว่านักวิชาการเหล่านั้นสำหรับประเด็นที่ว่าจีนจะทำอะไรได้บ้าง เพื่อบรรเทาผลกระทบจากเหตุการณ์ประชาชนลุกฮือประท้วงขับไล่ผู้นำในชาติผู้ผลิตน้ำมัน

    นายหวัง จวิน นักวิจัยอาวุโสและผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำมันของศูนย์เพื่อการแลกเปลี่ยนด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศของจีนระบุว่า ราคาน้ำมันในจีนจะต้องพุ่งขึ้น หากราคาน้ำมันดิบโลกยังคงพุ่งทะยาน หลังจากปรับขึ้นไปแล้วอย่างน้อยร้อยละ 4 ในช่วง 22 วัน ที่ผ่านมา

    ขณะที่นักวิเคราะห์อีกผู้หนึ่งมองว่า อาจเกิดวิกฤตน้ำมันโลกขึ้นอีกครั้ง ถ้าสถานการณ์ขับไล่ผู้นำในลิเบีย บานปลายเป็นสงครามกลางเมือง และหากกองกำลังของชาติอื่นเริ่มเข้ามาแทรกแซงลิเบีย

    นอกจากนั้น ไม่ว่าจีนจะเข้าแทรกแซงลิเบียหรือไม่ก็ตาม ภาพสถานการณ์โดยรวมสำหรับจีนก็จะไม่เปลี่ยนแปลง กล่าวคือจีนยังต้องพึ่งพาน้ำมันดิบในตลาดโลกถึงร้อยละ 50 ของการใช้น้ำมันดิบในประเทศทั้งหมด และจีนยังต้องนำเข้าน้ำมันในปริมาณที่มากจากประเทศ ซึ่งมีความไม่แน่นอนทางการเมืองสูงเหล่านั้นต่อไป
     
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    นที่ 3 มีนาคม 2554 01:00

    อรวรรณ หอยจันทร์
    นักข่าวโต๊ะตลาด - อสังหาริมทรัพย์ฯ คอลัมภ์จับกระแส
    ปาล์ม-ถั่วเหลือง-น้ำตาล คิวต่อไป..'ไข่..จ่อขาด'

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    สถานการณ์ราคาสินค้าในประเทศวันนี้ ช่างตรงกับสำนวนที่ว่า "ความวัวยังไม่ทันหาย.. ความควายก็เข้ามาแทรก!"
    เพราะราคาสินค้า ณ ต้นเดือนมี.ค.2554 ในวันที่รัฐบาลใกล้ครบวาระ สู่ยุคเปลี่ยนผ่านทางการเมือง เตรียมเปิดสนามเลือกตั้งใหม่ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ดูเหมือนทุกภาคส่วน ต่างพร้อมใจกันนำเสนอปัญหาราคาสินค้าเป็นประเด็นธง ทั้งเพื่อชี้นำให้คนคล้อยตาม และใช้เป็นบทพิสูจน์ฝีมือรัฐบาลแบบไม่ให้มีเวลาตั้งตัวกันเลยทีเดียว

    เห็นชัดที่สุดคงหนีไม่พ้น กรณีวิกฤติน้ำมันปาล์ม ที่ปั่นป่วนเรื่องผลผลิตปาล์มดิบลดลงกว่าครึ่ง จนทำให้สินค้าน้ำมันปาล์ม มีราคาแพงและวิกฤติถึงขั้นสินค้าขาดตลาด ต้องนำเข้าน้ำมันปาล์มจากต่างประเทศมาแก้ปัญหา แต่ก็ดูเหมือนจะไม่ตรงจุด เพราะแม้รัฐบาลเปิดน้ำเข้าปาล์ม 2 ล็อตใหญ่แล้ว แต่สถานการณ์ก็มีแต่ทรงกับทรุด ปัญหาน้ำมันปาล์มในตลาดมีราคาแพง 70-80-90 บาท/ลิตร ยังคงมีอยู่ในตลาดทั่ว ขณะที่จำนวนสินค้าน้ำมันปาล์มแบบบรรจุขวด ที่ถูกคุมราคาจำหน่ายที่ขวดลิตรละ 47 บาท ก็ดูจะไม่พอกับความต้องการของตลาด

    เรื่องนี้กลายเป็นตอบคำถามกันคนละประเด็น เพราะสินค้าที่ขายในห้างถูกคุมราคาที่ 47 บาท แต่สินค้าในตลาดทั่วไปกับราคาพุ่งไปถึง 90 บาท ส่วนต่างมีมากเป็นเท่าตัว เอกชนมองว่าเรื่องนี้ รัฐจะคุมอย่างไร จัดซัพพลายลงห้างมากแค่ไหนก็คงไม่พอ เมื่อสินค้าที่ว่านั้น สามารถนำไปทำกำไรต่อได้ ปัญหาของน้ำมันปาล์มวันนี้ จึงไม่ใช่แค่ปัญหาการบริโภค แต่เป็นปัญหาเก็งกำไรทับซ้อนเข้ามาด้วย

    จากน้ำมันปาล์ม ก็ต่อเนื่องมาถึง น้ำมันถั่วเหลือง ที่วันนี้เริ่มออกมาร้องขอปรับราคาด้วยอีกราย เพราะที่ผ่านมา เคยขายได้ในราคาสูงกว่าน้ำมันปาล์ม เพราะอ้างคุณสมบัติที่เหมาะแก่การบริโภคมากกว่า แต่หลังจากน้ำมันปาล์มได้ปรับราคารวดเดียว 9 บาท จากเดิม 38 บาท/ลิตร เพิ่มเป็น 47 บาท/ลิตร กลายเป็นสูงกว่าน้ำมันถั่วเหลือง ซ้ำในตลาดยังได้ราคาสูงกว่าอีกเท่าตัว น้ำมันถั่วเหลืองก็อยากได้ราคาสูงขึ้นด้วย ถึงกับทำหนังสือชี้แจงภาระต้นทุน และร้องขอความชอบธรรมในการคุมราคาจำหน่าย

    ปัญหาน้ำมันปาล์มยังแก้ไม่ตก น้ำมันถั่วเหลืองก็ปะทุซ้ำขึ้นมา เป็นโจทย์ซ้อนปมให้รัฐบาลต้องเข้ามาดูแล พัวพันกันไม่รู้จบ

    ล่าสุดมาอีกราย ปัญหา "ไข่" ที่ส่อเค้าจะซ้ำรอยน้ำมันพืช เมื่อพี่ใหญ่อย่างเครือซีพี และคนในคณะกรรมการไข่ ส่งสัญญาณมาแล้วว่า ... เหตุเพราะ ภาวะอากาศแปรปรวน จึงส่งผลกระทบผลผลิตไข่ไก่เสียหายทั้งระบบ! แถมยังมีปัญหาต้นทุนการผลิตพุ่ง

    ขณะที่ราคาขายไข่ไก่หน้าฟาร์มยังถูกควบคุม ทั้งที่เป็นสินค้าเกษตรต้นทาง ว่าแล้วผู้เลี้ยงไก่ไข่ จึงทยอยปลดแม่ไก่และปิดเล้าเลิกกิจการกันไปหลายราย งานนี้ "มงคล พิพัฒสัตยานุวงศ์" นายกสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ ออกมาวิงวอนรัฐบาล ขอให้มีการทบทวนการคุมราคาไข่ เพราะหากยังเป็นเช่นนี้ต่อไป ท้ายที่สุดคนไทยอาจต้องซื้อไข่ไก่ในราคาแพง และอาจมีปัญหาไข่ไก่ขาดตลาด

    จะว่าไปจากปัญหาน้ำมันปาล์ม มาถึงน้ำมันถั่วเหลือง และล่าสุดไข่ไก่ ที่มีแนวโน้มราคาแพง-ขาดตลาด ช่างเป็นโมเดลปัญหาที่เดินซ้ำมาบนเส้นทางเดียวกัน แต่ก็น่าแปลกใจ ทำไมหน่วยงานผู้รับผิดชอบของรัฐจึงแก้ไขไม่ได้สักที

     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    การเมือง : สถานการณ์โลก
    วันที่ 3 มีนาคม 2554 20:58
    ศาลอาชญากรรมโลกเปิดไต่สวนกัดดาฟี

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    [​IMG]

    ศาลโลกเปิดไต่สวนอาชญากรสงคราม"กัดดาฟี"
    นายหลุยส์ โมเรโน-โอแคมโป อัยการประจำศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศ (ไอซีซี)ที่กรุงเฮก เผยว่า พันเอกกัดดาฟี บุตรชายและคนสนิทจะถูกไต่สวนเกี่ยวกับข้อกล่าวหาที่ต่างๆที่ระบุว่าพวกเขาก่ออาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติในช่วงที่มีสถานการณ์ความไม่สงบในลิเบีย
    "สำนักงานอัยการตัดสินใจที่จะเปิดไต่สวนคดีก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติในลิเบียของผู้นำลิเบีย บุตรชายและเหล่าคนสนิท ในฐานะที่ใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วง"อัยการประจำศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศ กล่าว และว่า เตรียมออกหมายจับผู้นำลิเบียและพรรคพวกในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    โอบามาลั่น'กัดดาฟี'หมดความชอบธรรม เตือนตรองทุกทางยุตินองเลือดลิเบีย

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 มีนาคม 2554 04:25 น.


    [​IMG]



    บารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ


    เอเอฟพี/เอเจนซี - บารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯเมื่อวันพฤหับดี(3) โมอัมมาร์ กัดดาฟี สูญเสียความชอบธรรมทางกฎหมายแล้วและต้องลาออกจากตำแหน่ง พร้อมเตือนกำลังศึกษาทุกทางเลือกสำหรับจัดการกับวิกฤตที่ยืดเยื้อยาวนาน 3 สัปดาห์ อันรวมไปถึงกำหนดเขตห้ามบินด้วย

    "สหรัฐฯและทั่วโลกล้วนแต่เจ็บปวดต่อเหตุทำร้ายประชาชนชาวลิเบีย" โอบามา แถลงต่อผู้สื่อข่าว ณ ทำเนียบขาว "เรายังคงส่งสารที่ชัดแจ้งว่า จงหยุดความรุนแรงเดี๋ยวนี้ โมอัมมาร์ กัดดาฟี สูญเสียความชอบธรรมทางกฎหมายสำหรับตำแหน่งผู้นำแล้วและเขาต้องไป" ประธานาธิบดีสหรัฐฯกล่าวหลังจากหารือกับ เฟลิเป กัลเดรอน ประธานาธิบดีเม็กซิโก

    สถานการณ์การสู้รบล่าสุดในลิเบีย กลุ่มกบฏนักรบได้ตีโต้กองกำลังผู้ภักดีกัดดาฟีจนถอนร่นออกจากเมืองบรีกา อันเป็นเมืองท่าส่งออกน้ำมันแห่งสำคัญของประเทศเมื่อวันพุธ (2) แม้ฝ่ายหลังจะโจมตีอย่างหนักหน่วงทั้งทางบกและทางอากาศจนทำให้มีผู้เสียชีวิตไป 12 รายก็ตาม แต่กระนั้น ฝ่ายกัดดาฟีได้บุกจู่โจมเมืองยุทธศาสตร์แห่งนี้อีกครั้งด้วยเครื่องบินขับไล่เมื่อวานนี้ (3) โดยที่ฝ่ายกบฏได้กำลังมาเสริมจากเมืองอัจดาบียะห์ ซึ่งเป็นเมืองติดกัน

    การโจมตีดังกล่าวจุดชนวนความกังวลว่าอาจมีความพยายามรอบใหม่ของกองกำลังผู้จงรักภักดีต่อกัดดาฟีในการยึดคืนเมืองท่าสำคัญแห่งนี้ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเบนกาซี เพียง 200 กิโลเมตร

    ระหว่างแถลงต่อผู้สื่อข่าว โอบามา ยังบอกอีกว่ารัฐบาลของเขากำลังพิจารณาทุกทางเลือกอย่างเต็มรูปแบบสำหรับจัดการกับวิกฤตในลิเบีย เพื่อหลีกเลี่ยงตัวเลือกที่ผิดพลาด พร้อมกันนั้นก็ระบุด้วยว่าหากสถานการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป สหรัฐฯอาจจำเป็นต้องหาทางส่งมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ชาวลิเบีย

    เมื่อถามว่าทางเลือกต่างๆเหล่านั้นรวมไปถึงการกำหนดเขตห้ามเหนือน่านฟ้าลิเบียด้วยหรือไม่ โอบามาตอบว่า "มันเป็นหนึ่งในหลายๆทางเลือกที่เรากำลังพิจารณาอยู่"

    อย่างไรก็ตาม โอบามา กล่าวว่าเวลานี้เป้าหมายแรกคือการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมขณะที่ประชาชนหลายหมื่นคนต้องอพยพหนีเหตุความไม่สงบในลิเบีย กระนั้นประธานาธิบดีรายนี้เน้นว่า กัดดาฟี สนับสนุนการใช้ความรุนแรงต่อพลเมืองที่ไม่มีอาวุธ

    "ผมไม่ต้องการให้เราก่อความผิดพลาด ผมต้องการให้เราตัดสินใจภายใต้พื้นฐานที่เชื่อว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับประชาชนชาวลิเบีย และภายใต้การปรึกษาหารือกับประชาคมนานาชาติ เราจะไม่หารือกันเฉพาะหน่วยงานของเราในสหรัฐฯ แต่เราจำเป็นต้องปรึกษากับนาโตด้วย" เขากล่าว

    ในวันพฤหัสบดี(3) ประธานาธิบดีฮูโก ชาเบซของเวเนซุเอลา ผู้เป็นพันธมิตรเหนียวแน่นของกัดดาฟี เสนอแผนสันติภาพโดยจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากละตินอเมริกา, ยุโรป และตะวันออกกลาง เพื่อมาเป็นตัวกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ยระหว่างผู้นำลิเบียกับกลุ่มกบฏ อยางไรก็ตามล่าสุดความพยายามดังกล่าวทำท่าจะเป็นหมันเมื่อทั้งสองฝ่ายล้วนไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้

    โฆษกของกลุ่มกบฏที่เพิ่งจัดตั้งสภาแห่งชาติลิเบียทางตะวันออกของประเทศ บอกว่าการเจรจาจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ กัดดาฟี ลาออกจากตำแหน่งหรือลี้ภัยไปต่างแดนเพื่อหยุดยั้งการนองเลือด ส่วน ซาอีฟ อัล อิสลาม ลูกชายของกัดดาฟี ชี้ว่าไม่จำเป็นต้องให้ต่างชาติเข้ามามีบทบาทในการยุติวิกฤตของลิเบีย

    ซาอีฟ กล่าวว่า "เราขอขอบคุณ แต่เรามีความสามารถพอที่จะคลี่คลายประเด็นของเราด้วยประชาชนของเราเองและตัวเราเอง และไม่จำเป็นต้องให้ชาติไหนเข้ามาแทรกแซง"

    Around the World - Manager Online -
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    'กัดดาฟี'รับแผนสันติภาพ'ชาเบซ'แม้ยังโจมตีกบฏในเมืองยุทธศาสตร์

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 มีนาคม 2554 22:22 น.


    [​IMG]





    เอเจนซี/ เอเอฟพี - ผู้นำมูอัมมาร์ กัดดาฟีแห่งลิเบีย ดอดขานรับแผนสันติภาพที่ผุดโดยประธานาธิบดีฮูโก ชาเบซของเวเนซุเอลา ผู้เป็นพันธมิตรเหนียวแน่นของตน ขณะที่สันนิบาตอาหรับระบุกำลังพิจารณาข้อเสนอนี้อยู่ ถึงแม้ผู้นำคนหนึ่งของฝ่ายกบฎประกาศจะไม่ยอมเจรจาใดๆ กับรัฐบาล ในส่วนของการสู้รบนั้น กองกำลังกัดดาฟีได้ส่งเครื่องบินรบโจมตีทางอากาศใส่เมืองท่าส่งออกน้ำมันอันเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญอีกระลอกเมื่อวันพฤหัสบดี (3)

    โทรทัศน์อัลญะซีเราะห์รายงานเมื่อวันพฤหัสบดี (3) โดยอ้างแหล่งข่าวรัฐมนตรีกระทรวงการข่าวสารของเวเนซุเอลา ระบุว่า ผู้นำกัดดาฟีได้ตกลงยอมรับในหลักการของแผนสันติภาพซึ่งนำเสนอโดยประธานาธิบดีชาเบซ โดยที่มีการเปิดเผยรายละเอียดบางส่วนของแผนดังกล่าวว่า จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากละตินอเมริกา, ยุโรป และตะวันออกกลาง เพื่อมาเป็นตัวกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ยระหว่างผู้นำลิเบียกับกลุ่มกบฏโค่นล้มระบอบที่เวลานี้ยึดครองเกือบทั้งประเทศยกเว้นเพียงกรุงตริโปลีและปริมณฑลด้านตะวันตก รวมถึงดินแดนรกร้างทางใต้

    ขณะที่อามะร์ มูสซา เลขาธิการองค์การสันนิบาตชาติอาหรับ ออกมาระบุว่า เขาได้รับแจ้งไอเดียนี้จากทางทางฝั่งรัฐบาลเวเนซุเอลาแล้ว ทว่ายังไม่มีการตอบรับข้อเสนอดังกล่าวแต่อย่างใด กระนั้นแผนการนี้ก็กำลังอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณากลั่นกรองของทางองค์การแล้ว

    อย่างไรก็ตาม อัลญะซีเราะห์ ระบุว่า มุสตาฟา อับเดล จัลอิล ประธานคณะกรรมการแห่งชาติลิเบียซึ่งเป็นแกนนำฝ่ายค้าน ได้ออกมาปฏิเสธทันควันว่าจะไม่มีการพูดคุยเจรจาใดๆ กับกัดดาฟีทั้งสิ้น
    ความเคลื่อนไหวของกัดดาฟีคราวนี้มีขึ้นหลังจากเขาเพิ่งประกาศกร้าวในพิธีเฉลิมฉลองวันครบรอบ 34 ปีแห่งพลังประชาชนเมื่อวันพุธ (2) ระบุว่า เขาจะต่อสู้ยื้ออำนาจไปจนถึงที่สุดแม้จะเหลือผู้ชายและหญิงคนสุดท้ายก็ตามที นอกจากนี้เขายังส่งคำเตือนไปถึงสหรัฐฯ และชาติตะวันตกอื่นๆ ด้วยว่า หากอเมริกาหรือนาโตรุกรานลิเบีย พวกเขาก็จักต้องตระหนักว่าสมรภูมิที่นั่นจะกลายเป็นนรกและจะมีการนองเลือดที่เลวร้ายยิ่งกว่าในอิรักโดยที่ประชาชนจำนวนหมื่นๆ ต้องตาย

    นอกจากนี้เขายังระบุว่า เขามีอาวุธยุทโธปกรณ์พร้อมที่จะแจกจ่ายให้แก่คนนับล้าน, หรือ 2 ล้าน หรือ 3 ล้าน พร้อมกับเตือนว่า การสู้รบแบบในสงครามเวียดนามที่สหรัฐฯ พ่ายแพ้จะบังเกิดขึ้น

    ด้านสถานการณ์การสู้รบในลิเบีย ก่อนหน้านี้กลุ่มกบฏนักรบได้ตีโต้กองกำลังผู้ภักดีกัดดาฟีจนถอนร่นออกจากเมืองบรีกา อันเป็นเมืองท่าส่งออกน้ำมันแห่งสำคัญของประเทศเมื่อวันพุธ (2) แม้ฝ่ายหลังจะโจมตีอย่างหนักหน่วงทั้งทางบกและทางอากาศจนทำให้มีผู้เสียชีวิตไป 12 รายก็ตาม แต่กระนั้น ฝ่ายกัดดาฟีได้บุกจู่โจมเมืองยุทธศาสตร์แห่งนี้อีกครั้งด้วยเครื่องบินขับไล่เมื่อวานนี้ (3) โดยที่ฝ่ายกบฏได้กำลังมาเสริมจากเมืองอัจดาบียะห์ ซึ่งเป็นเมืองติดกัน

    ทางด้านกระทรวงการต่างประเทศของจีนออกมาแถลงจุดยืนของรัฐบาลต่อกรณีการใช้มาตรการทางทหารกับลิเบีย ระบุว่า ทุกชาติควรเคารพในหลักบูรณภาพแห่งดินแดนของลิเบีย และว่ามาตรการลงโทษใดๆ ก็ตามของนานาชาติถัดจากนี้ควรมาจากการตัดสินใจของกลไกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเท่านั้น ท่ามกลางกระแสข่าวโหมกระพือว่ามีความเป็นไปได้ที่องค์การนาโต จะส่งกำลังเข้าไปแทรกแซงลิเบีย

    อย่างไรก็ตาม อันเดอร์ส รัสมุสเซน เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ได้ปฏิเสธวานนี้ว่า ทางองค์การไม่มีจุดมุ่งหมายที่จะแทรกแซงรัฐอาหรับดังกล่าว ทว่าเพียงแค่วางแผนเผื่อไว้รับมือกับสิ่งต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้เท่านั้น

    ขณะที่รัฐมนตรีการต่างประเทศฮิลลารี คลินตันของสหรัฐฯ ก็ได้ระบุว่า การวางบทลงโทษบังคับให้น่านฟ้าลิเบียเป็นเขตห้ามบินนั้นเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากเป็นพิเศษ และจนถึงตอนนี้องค์การนาโตก็ยังไม่ได้ตกลงเห็นพ้องกันในเรื่องนี้รวมถึงการจะใช้กำลังกับลิเบียอีกด้วย

    เธอเตือนด้วยว่า การแทรกแซงทางทหารใดๆ โดยฝ่ายตะวันตก จะก่อให้เกิด “การโต้เถียงขัดแย้ง” ขึ้นในโลกอาหรับ และฝ่ายค้านของลิเบียก็ต้องการที่จะถูกมองว่าเป็นผู้ขับไล่กองกำลังกัดดาฟีด้วยตัวพวกเขาเองมากกว่า

    ส่วนรัฐมนตรีการต่างประเทศฝรั่งเศส อแลง ชูปเป ก็ยืนกรานว่า การประกาศให้น่านฟ้าลิเบียเป็นเขตปลอดการบินนั้น ควรมาจากมติของสหประชาชาติ

    Around the World - Manager Online - '
     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ฝรั่งเศสเมินแผนสันติภาพชาเบซ ลั่น'กัดดาฟี'ต้องออกสถานเดียว

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 มีนาคม 2554 02:25 น.


    [​IMG]


    ฝ่ายต่อต้านรบ.ลิเบีย แบกศพขับไล่กัดดาฟี


    เอเอฟพี - ฝรั่งเศสเมื่อวันพฤหัสบดี(3) ไม่เห็นด้วยต่อแผนสันติภาพที่ผุดโดยประธานาธิบดีฮูโก ชาเบซของเวเนซุเอลา พร้อมปฏิเสธถึงการเจรจาแก้ปัญหาใดๆที่จะเป็นการเปิดทางให้มูอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำแห่งลิเบียอยู่ในตำแหน่งต่อไป

    "การไกล่เกลี่ยใดๆที่เป็นการเปิดทางให้นายพลกัดดาฟี สานต่ออำนาจของเขาเป็นสิ่งที่ไม่น่ายินดีอย่างยิ่ง" อแลง จุปเป รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสระบุหลังจากเข้าหารือกับ วิลเลียม เฮก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของอังกฤษ

    แหล่งข่าวรัฐมนตรีกระทรวงการข่าวสารของเวเนซุเอลา ระบุวานนี้ว่ากัดดาฟีได้ตกลงยอมรับในหลักการของแผนสันติภาพซึ่งนำเสนอโดยประธานาธิบดีชาเบซ โดยที่มีการเปิดเผยรายละเอียดบางส่วนของแผนดังกล่าวว่า จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากละตินอเมริกา, ยุโรป และตะวันออกกลาง เพื่อมาเป็นตัวกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ยระหว่างผู้นำลิเบียกับกลุ่มกบฏโค่นล้มระบอบที่เวลานี้ยึดครองเกือบทั้งประเทศยกเว้นเพียงกรุงตริโปลีและปริมณฑลด้านตะวันตก รวมถึงดินแดนรกร้างทางใต้

    รัฐมนตรีรายหนึ่งของเวเนซุเอลาอ้างกับเอเอฟพีว่าลิเบียและองค์การสันนิบาตชาติอาหรับ อยู่ระหว่างพิจารณาข้อเสนอไกล่เกลี่ยของชาเวซ เพื่อแก้ไขวิกฤตในลิเบียด้วยสันติวิธี หลังจากก่อนหน้านี้ทาง อามะร์ มูสซา เลขาธิการองค์การสันนิบาตชาติอาหรับ ออกมาระบุว่าเขาได้รับแจ้งไอเดียนี้จากทางทางฝั่งรัฐบาลเวเนซุเอลาแล้ว ทว่ายังไม่มีการตอบรับข้อเสนอดังกล่าวแต่อย่างใด

    ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าทั้ง กัดดาฟี และ ชาเบซ มีความใกล้ชิดอย่างมากและมักออกมาประณามลิทธิจักรวรรดินิยมของสหรัฐฯต่อสาธารณชนบ่อยครั้ง นอกจากนี้ผู้นำทั้งสองคนต่างไปมาหาสู่กันบ่อยครั้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และด้วยความใกล้ชิดสนิทสนมนี้เองทำให้ช่วงหนึ่งมีข่าวลือถึงขั้นที่ว่า กัดดาฟี หลบไปยังเวเนซุเอลาเลยทีเดียว

    ขณะเดียวกันอีกด้านหนึ่งทางเอเอฟพีรายงานว่ามาตรการคว่ำบาตรของสหภาพยุโรปต่อ กัดดาฟี ครอบครัวตลอดจนที่ปรึกษาวงในของเขาอีก 25 คนซึ่งถูกกล่าวหาว่าทำทารุณต่อพลเรือนมีผลบังคับใช้แล้วนับตั้งแต่วันพฤหัสบดี(3) เป็นต้นไป

    ทั้งนี้วารสารรายวันของอียูระบุว่ามาตรการคว่ำบาตรทั้งการอายัดทรัพย์สิน ห้ามขายสินค้าที่อาจใช้เล่นงานปราบปรามมผู้ประท้วง และห้ามเดินทางมายังดินแดนของอียูต่อ กัดดาฟีและคนอื่นๆอีก 25 คน ซึ่งเห็นพ้องเมื่อวันจันทร์(28) มีผลบังคับใช้ในทันที

    Around the World - Manager Online -
     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    โลกไซเบอร์ร้องจัดชุมนุม'วันแห่งความโกรธแค้น'ในซาอุฯ

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 มีนาคม 2554 00:23 น.


    [​IMG]



    การชุมนุมประท้วงเรียกร้องเปลี่ยนระบอบการปกครองในบาห์เรนกำลังลุกลามสู่ซาอุดีอาระเบีย


    เอเอฟพี - นักเคลื่อนไหวในโลกไซเบอร์รวมกลุ่มกันบนเฟซบุ๊คเรียกร้องจุดชุมนุม "วันแห่งความโกรธแค้น" วันศุกร์นี้(4) ในแคว้นทางตะวันออกของซาอุดีอาระเบียซึ่งมีชาวชีอะห์เป็นชนกลุ่มใหญ่ตามหลังการจับกุมนักเทศน์ชีอะห์รายหนึ่ง

    คนกลุ่มนี้ซึ่งมีสมาชิกอยู่กว่า 500 คน ร้องขอประชาชนออกมาชุมนุมประท้วงหลังเสร็จสิ้นพิธีสวดมนต์เย็นประจำวันศุกร์(4) ในเมืองอัล-โฮฟัฟ เขตผู้ว่าอัล-อิชซา ของแคว้นอีสเทิร์น เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวชีค ตอฟิก อัล-อาเมอร์

    เว็บไซต์ข่าวแห่งหนึ่งรายงานว่า อาเมอร์ ถูกจับกุมหลังเรียกร้องการปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ภายในประเทศที่ชนกลุ่มใหญ่เป็นชาวสุหนี่

    ขณะที่ชาวชีอะห์ คิดเป็นร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมดของซาอุดีอาระเบียและส่วนใหญ่รวมกลุ่มกันอยู่ในแคว้นอีสเทิร์น คร่ำครวญถึงการถูกหมางเมินภายในประเทศ

    ทั้งนี้แคว้นอีสเทิร์น มีพรมแดนติดกับบาห์เรนซึ่งมีชาวชีอะห์เป็นชนส่วนใหญ่และมีการชุมนุมต่อต้านราชวงศ์สุหนี่นับตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์เป็นต้นมา เพื่อเรียกร้องขอให้มีการปฏิรูป

    Around the World - Manager Online -
     

แชร์หน้านี้

Loading...