เงินเฟ้อที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นแล้ว??? รู้ทันโลก (โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 11 พฤศจิกายน 2010.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    โห...เจอตอ ของจริงซะงั้น
    ยินดีที่มาเยี่ยมกระทู้นี้ค่ะ และยินดีที่ได้รู้จักคุณ benz_sudta ค่ะ
    คือว่าเป็นคนชอบอ่าน แต่ไม่ชอบเขียนค่ะ แต่ชอบอ่านความคิดของคนอื่น
    ที่ลากกระทู้มายาวไกลขนาดนี้ ก็เพราะอยากรู้สถานการณ์ตามที่มีกูรูพยากรณ์ไว้
    อย่างเรื่องเศรษฐกิจโลกจะล่มสลายหรือเสื่อมถอยหรือจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
    ก็เลยตามดูไปเรื่อยๆ จับโน่นจับนี่มาแปะไปเรื่อย ยังไงก็ขอขอบคุณนะคะที่อนุญาติให้
    ก๊อปมาแปะ แหะ แหะ หรือจะมาแนะนำ มาเพิ่มเติมข้อมูลอะไรก็ยินดีนะคะ เพราะ
    เป็นกระทู้สาธารณะ ไม่มีเจ้าของ มาช่วยกันให้ความรู้คนไทยด้วยกันให้รู้ทันสถานการณ์โลก
     
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ตุรกี : หมากยุทธศาสตร์ตัวสำคัญของจีน
    ตุรกี : หมากยุทธศาสตร์ตัวสำคัญของจีน

    โดยเบ๊นซ์ สุดตา

    ประเทศจีนและตุรกีต่างเป็นประเทศที่มีความสำคัญในเวทีโลกมากด้วยกันทั้งคู่ ด้านหนึ่งจีนก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจใหม่ของโลกในแทบทุกด้านอย่างไม่ต้องสงสัย เป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลกแซงหน้าญี่ปุ่นในปี 2010 เป็นประเทศที่มีทุนสำรองมากที่สุดในโลกอย่างต่อเนื่องและนั่นย่อมทำให้จีนถือครองเงินสกุลหลักและสินทรัพย์ต่างๆมากที่สุดในโลกซึ่งย่อมหมายถึงการเป็นเจ้าหนี้แทบทุกประเทศในโลกด้วย จีนมีการส่งออกมากที่สุดในโลกและมีการนำเข้ามากเป็นอันดับ 2 ของโลกทำให้จีนมีฐานะเป็นคู่ค้ารายใหญ่กับทุกประเทศในโลกด้วย

    ขณะเดียวกันในฟากของตุรกีนั้นนับวันก็มีความสำคัญมากขึ้นในทุกๆด้านเช่นกัน หากมองในแง่เศรษฐกิจแล้ว ประเทศตุรกีที่มีประชากรราว 70 ล้านคนถือว่ามีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกมุสลิม ใหญ่กว่าซาอุดิอาระเบียที่มีน้ำมันมหาศาล และใหญ่กว่าอินโดนีเซียที่มีประชากรมากกกว่า 200 ล้านคน เศรษฐกิจตุรกีที่มีฐานการผลิตและตลาดภายในประเทศที่ค่อนข้างเข้มแข็งทำให้เมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปด้วยกันแล้ว ตุรกีมีเศรษฐกิจใหญ่อยู่ในอันดับ 6 หรือ 7 ของยุโรปเลย ขณะที่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจตุรกีมีการขยายตัวในระดับที่น่าพอใจคือ โดยเฉลี่ยมากกว่า 5-6% ต่อปี ซึ่งเป็นการเติบโตบนฐานที่ค่อนข้างใหญ่มากด้วย ขณะเดียวกันตุรกีถือว่าเป็นประเทศที่เสียงดังมากในเวทีโลกในฐานะ 1 ในสมาชิกของกลุ่ม G20 ซึ่งถือว่าเป็นเวทีระหว่างประเทศที่ทรงอิทธิพลที่สุดในปัจจุบันนับแต่หลังวิกฤตการเงินปี 2008 เป็นต้นมา

    ปี 2010 ถือว่าเป็นปีที่จีนเปิดฉากพัฒนาความสัมพันธ์กับตุรกีอย่างมีนัยสำคัญ ผู้นำระดับสูงของทั้ง 2 ประเทศมีการไปมาหาสู่ระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ ขณะเดียวกันประเทศจีนเองได้ให้ความสำคัญกับตุรกีลึกถึงระดับวัฒนธรรมและประชาชนอย่างมาก ทั้งนี้หากสังเกตแนวโน้มในปี 2010 และต่อเนื่องในปี 2011 จีนมีการเดินเกมรุกอย่างมากในแง่ของนโยบายทางวัฒนธรรมและการเปิดเกมรุกในสงครามสื่อครอบโลกหรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นโยบายด้านอำนาจละมุนหรือ Soft Power นั่นเอง ปี 2010 จีนได้มีการจัดมหกรรมทางวัฒนธรรมครั้งยิ่งใหญ่ในตุรกีที่ชื่อ “สัมผัสประสบการณ์จีนในตุรกี” หรือ “Experience China in Turkey” ณ นครอังการา เมืองหลวงของตุรกีซึ่งมีการแสดงทางวัฒนธรรมจากทุกชนชาติของจีนและการแสดงจากฟากตุรกีเอง นอกจากนั้นแล้วยังมีการพบปะและแลกเปลี่ยนทางวิชาการของนักวิชาการและคนในวงการวัฒนธรรม สื่อสารมวลชน และด้านวรรณกรรมของทั้ง 2 ประเทศด้วย

    ความสำคัญของตุรกีที่มีต่อจีนนั้นสามารถมองได้ใน 2 แง่มุมนั่นคือ ความสำคัญภายในและความสำคัญภายนอก โดยความสำคัญภายในนั้นตุรกีจะเข้ามามีบทบาทสำคัญทั้งนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและเสถียรภาพทางการเมืองด้วย ขณะที่ภายนอกนั้นแน่นอนว่าเป็นเรื่องของกิจการระหว่างประเทศและยุทธศาสตร์ในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ของจีนในระยะยาว

    ความสำคัญภายในสำหรับความสำคัญของตุรกีที่มีต่อนโยบายภายในประเทศจีนนั้นไม่อาจนำมาเปรียบเทียบกับประเทศชั้นนำทางเศรษฐกิจของโลกอย่างสหรัฐฯ สหภาพยุโรป หรือประเทศเพื่อนบ้านอย่างญี่ปุ่น เกาหลีใต้ หรือไต้หวัน ทั้งนี้เนื่องจากประเทศตุรกีไม่ใช่ประเทศทีมีความพร้อมทั้งด้านทุน เครือข่าย การจัดการ และเทคโนโลยี ขณะเดียวกันยังเป็นประเทศเกิดใหม่ทางเศรษฐกิจเหมือนจีนด้วย นอกจากนั้นยังไม่ใช่ประเทศที่เป็นบ้านใกล้เรือนเคียงเหมือนประเทศอื่นๆในเอเชีย

    แต่ความสำคัญของตุรกีที่มีต่อจีนนั้นกลับโยงมาทางทิศตะวันตกของจีนนั้นคือ เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ซึ่งเป็นมณฑลที่มีประชากรมุสลิมอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุด ซินเจียงมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชนชาติอุยกูร์ซึ่งถือเป็นสายหนึ่งของชนชาติเติร์กที่กระจายอยู่ทั่วไปในแถบเอเชียกลางและในหลายๆมณฑลทางภาคตะวันตกของจีน บ่อยครั้งที่จีนเองมีปัญหากับมณฑลนี้บ่อยครั้งซึ่งหนีไม่พ้นปัญหาด้านความมั่นคง รองลงมาก็คือปัญหาความขัดแย้งที่มีต่อชาวฮั่นที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ จีนเองให้ความสำคัญอย่างมากกับนโยบายการปราบปราม “3 กองกำลังแห่งความชั่วร้าย” ซึ่งได้แก่ กลุ่มผู้ก่อการร้าย พวกแบ่งแยกดินแดน และพวกสุดโต่ง ซึ่งจีนนี้เน้นย้ำเรื่องนี้มากในระหว่างหารือกับตุรกีและที่ประชุมองค์การความร่วมมือแห่งเซี่ยงไฮ้หรือSCO (Shanghai Cooperation Organization) ด้วย

    ทั้งนี้ระหว่างการพบปะกันระหว่างนายสี่ จิ้นผิงรองประธานาธิบดีจีนและนายอาเหม็ต ดาวูโทกลู (Ahmet Davutoglu) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของตุรกีที่กรุงปักกิ่งช่วงเดือนพฤศจิกายน 2010 จีนได้แสดงความขอบคุณตุรกีในการช่วยจัดการกับกลุ่มเตอร์กิสถานตะวันออกที่จีนมองว่าเป็นกลุ่มก่อการร้ายที่คุกคามเสถียรภาพของจีนเอง และนายสี่ยังได้ย้ำถึงความร่วมมือในด้านความมั่นคงที่จีนต้องการจากตุรกีในเรื่องนี้ด้วย มณฑลซินเจียงนั้นถือว่ามีความสำคัญต่อยุทธศาสตร์ในการขยายอิทธิพลของจีนในเขตยูเรเชีย ขณะเดียวกันจีนเองก็เล็งเห็นถึงความสำคัญของมณฑลซินเจียงในการพัฒนาเศรษฐกิจจีนด้วย มณฑลซินเจียงเป็นมณฑลขนาดใหญ่ที่มีทรัพยากรมากมายมหาศาลทั้งทองแดง ถ่านหิน ยูเรเนียม ทองคำ หรือโปแตชที่มีความสำคัญต่อการผลิตปุ๋ยด้วย

    นอกจากนั้นแล้วจีนเองให้ความสำคัญต่อการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในซินเจียงและมณฑลด้านในมากขึ้นด้วย ที่น่าสนใจมากก็คือ จีนได้เชิญตุรกีให้มาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาภาคตะวันตกด้วย การเข้ามาของทุนตุรกีในอนาคตย่อมมีบทบาทสูงในการเปลี่ยนโฉมการเมืองในภูมิภาคนี้ให้ทิศทางลมมาอยู่ทางฝั่งจีนมากขึ้น จีนจะมีความสะดวกในการจัดการกับความขัดแย้งที่มีต่อชนกลุ่มน้อยต่างๆและกลุ่มคนมุสลิมในประเทศก่อให้เกิดเสถียรภาพในภาคตะวันตกและยกระดับภาพลักษณ์ของพรรคในสายตาชนกลุ่มน้อยและคนมุสลิมด้วย

    ความสำคัญภายนอก ความสำคัญของตุรกีที่มีต่อกิจการระหว่างประเทศของจีนเองนั้นสัมพันธ์กับพลวัตภายในของการเมืองและเศรษฐกิจภายในจีนเองด้วย ซินเจียงนั้นถือว่าเป็นฐานที่มั่นสำคัญในการดำเนินนโยบาย “Yuan Internationalization” หรือการพาเงินหยวนขึ้นสู่เงินสกุลสำคัญของโลกในอนาคตด้วย ทั้งนี้ในฝั่งตะวันออกจีนใช้ความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์และระบบต่างๆในการให้หยวนปักธงนอกประเทศผ่านฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ บทบาทของซินเจียงในภาคตะวันตกนั้นสัมพันธ์กับการค้ากับเพื่อนบ้านในแถบเอเชียกลางซึ่งจีนสามารถอาศัยกรอบความร่วมมือผ่านองค์กรSCO ในการผลักดันเงินหยวนสู่ตลาดโลกทั้งนี้บทบาทหลักจะอยู่ที่การค้าทรัพยาการหรือการดันให้เป็น “เปโตรหยวน”นั่นเอง อีกด้านหนึ่งก็คือการค้าและการลงทุนในภาคการผลิตซึ่งจะเชื่อมโยงกับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเช่นทางรถไฟระหว่างซินเจียงและเอเชียกลางด้วย การมีตุรกีเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาและความมั่นคงย่อมเป็นประโยชน์ต่อยุทธศาสตร์ของจีนในด้านนี้ด้วย

    จีนเองยังมีข้อตกลงที่จะค้ากับตุรกีเป็นเงินท้องถิ่นของแต่ละประเทศด้วยซึ่งนั่นหมายถึงการเชื่อมต่อเขตอิทธิพลของเงินหยวนตลอดเส้นทางสายไหมอันยาวไกลตั้งแต่ฝั่งแปซิฟิกไปสุดจนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน นอกจากนั้นแล้วการที่จีนสามารถใช้ตุรกีเชื่อมโยงซินเจียง เอเชียกลางและตุรกีเข้าด้วยกันทั้งภายในและภายนอกจีนยังเป็นผลดีต่ออิทธิพลเงินหยวนให้เป็นที่ยอมรับในโลกมุสลิมด้วย ตุรกีเองก็มีผลประโยชน์และต้องการมีบทบาทและอิทธิพลมากขึ้นทั้งในตะวันออกกลางและโลกมุสลิมโดยรวม ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นในทุกๆระดับทั้งผู้นำและประชาชนยังทำให้จีนสามารถพึ่งพาตุรกีให้ช่วยเป็นเสียงให้จีนในโลกมุสลิมและประสานผลประโยชน์ในด้านอื่นๆของจีนในโลกมุสลิมได้โดยเฉพาะการยืมมือตุรกีในแง่ของบทบาทที่จีนจะเล่นในแง่ของความมั่นคงในตะวันออกกลางที่มีความสำคัญต่อจีนในทั้งแง่ของการค้าและด้านพลังงาน

    เมื่อเป็นเช่นนี้นับว่าตุรกีถือเป็นสมการทางยุทธศาสตร์ที่เหมาะเจาะและสำคัญต่อจีนอย่างยิ่งในหลายๆด้าน การดำเนินความสัมพันธ์กับตุรกีของทางฝั่งจีนจึงเป็นไปอย่างค่อนข้างลึกซึ้งเมื่อเทียบกับที่อื่นทั้งนี้นอกจากการประโคมข่าวและให้ความสำคัญต่อมหกรรมวัฒนธรรมจีนตุรกีเป็นพิเศษแล้ว จีนยังได้ออกนิตยสาร China Today ฉบับภาษาเติร์กเป็นการเฉพาะด้วยเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลทางตรงและเวทีความคิดที่เชื่อมโยงประชาชน 2 ประเทศเข้าด้วยการ การสื่อสารทางตรงเช่นนี้ย่อมส่งผลสำคัญในระยะยาวต่อฐานะทางยุทธศาสตร์ที่มีต่อกันทั้ง 2 ประเทศในด้านการค้า การเงิน การลงทุน ความมั่นคง และ วัฒนธรรมและการสื่อสาร

    หากตุรกีมีความสำคัญต่อจีนมากจนถึงจุดๆหนึ่งเป็นไปได้ว่าจีนอาจขยายความร่วมมือทางความมั่นคงแบบเต็มพิกัดในรูปของการเชิญตุรกีเข้าเป็นสมาชิกถาวรของSCO ก็เป็นไปได้ ทั้งนี้การเชิญตุรกีเข้า SCO นั้นต้องสัมพันธ์กับขอบข่ายผลประโยชน์และอิทธิพลของจีนที่ต้องแผ่ขยายมากขึ้นในเอเชียกลางและเชื่อมโยงกับกลุ่มอำนาจและเศรษฐกิจนอกทางสายไหมทั้งในยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกาด้วย ซึ่งนั่นจะทำให้ตุรกีมีความสำคัญสูงขึ้นมาทันทีและส่งผลสำคัญต่อทิศทางนโยบายการต่างประเทศและความมั่นคงของจีนและSCO โดยรวมด้วยจากปัจจุบันที่บทบาทของ SCO มุ่งไปที่เอเชียกลางเป็นหลัก

    Muslim Today -
     
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เสียงเตือนภัยจากรัสเซีย : สัญญาณเตือนภัยล่าสุดวิกฤตอาหารโลก
    เสียงเตือนภัยจากรัสเซีย:สัญญาณเตือนภัยล่าสุดวิกฤตอาหารโลก

    ตลาดเกษตรโลกปั่นป่วนอย่างหนักอีกครั้งหลังจากที่รัฐบาลรัสเซียโดยนายกรัฐมนตรีวลาดิเมียร์ ปูตินประกาศห้ามการส่งออกข้าวสาลีและเมล็ดพืชที่จำเป็นต่อการดำรงชีพอื่นๆออกนอกประเทศเมื่อวันที่5สิงหาคม2010โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่15สิงหาคม2010เป็นต้นไปจนถึง31ธันวาคม2010ส่งผลให้ราคาข้าวสาลีรวมถึงข้าวโพดพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว สร้างความตื่นตระหนกไปทั่วโลก ข้าวสาลีซื้อขายในตลาดล่วงหน้าชิคาโก้ในสหรัฐฯทำสถิติสูงสุดในรอบ23เดือน พุ่งขึ้นมากกว่า 90%ในเวลาไม่ถึง2เดือนนับแต่ช่วงมิถุนายน หลายฝ่ายคาดว่าปัญหาภัยแล้งจากคลืนความร้อนในรัสเซีย รวมถึงปัญหาในพื้นที่อื่นๆทั้งอากาศแห้งในยูเครน คาซัคสภาน และสหภาพยุโรป และน้ำท่วมในแคนาดาจะส่งผลกระทบซ้ำเติมราคาอาหารในปัจจุบันได้ในอนาคตเช่นกัน
    ผลกระทบที่เกิดขึ้นทันทีก็คือ คำสั่งซื้อข้าวสาลีจากอิยิปต์ที่ผู้ค้ารัสเซียประมูลและรับมาทำนั้นต้องถูกยกเลิกอย่างกระทันหันเพราะคำสั่งของรัฐบาลจนบรรดาภาคเอกชนรัสเซียในธุรกิจเกษตรต่างโอดครวญกันถ้วนหน้า ถึงกับที่ประธานสหภาพธุรกิจเมล็ดพืชของรัสเซีย นายอาร์คาดี้ สโลเชฟสกี้บ่นเลยว่า เหตุการณ์ครั้งนี้จะทำให้รัสเซียเสียความน่าเชื่อถือในฐานะผู้ผลิตและผู้ส่งออกข้าวสาลีที่เชื่อถือได้
    ไม่เฉพาะอิยิปต์เท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แต่ประเทศอื่นๆอย่างอินโดนีเซีย บังคลาเทศ และลูกค้าในตะวันออกกลางที่พึ่งข้าวสาลีรัสเซียและจากประเทศรอบๆทะเลดำในฐานะที่มีราคาถูกกว่าข้าวสาลีจากสหรัฐฯและออสเตรเลียและเป็นที่ไว้ใจกันมานานในฐานะคู่ค้าที่ใกล้ชิดต่างได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า แม้ไม่ได้ถูกยกเลิกคำสั่งทันที แต่ในอนาคตก็ย่อมหมดสิทธิ์สั่งสินค้าเมล็ดพืชจากรัสเซียและจำต้องจ่ายเงินแพงขึ้นมากในการนำเข้าข้าวสาลีและเมล็ดพืชจากสหรัฐฯ
    เหตุการณ์ครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าประเด็นด้านอาหารเป็นเรื่องที่สุ่มเสี่ยงและพร้อมจะปะทุเป็นปัญหาใหญ่ได้ขนาดไหน และเรื่องการห้ามการส่งออกก็ไม่ได้เพิ่งเกิดครั้งแรก โดยรัสเซียและประเทศอื่นๆทั่วโลกเคยออกนโยบายในลักษณะนี้มาแล้วในช่วงวิกฤตอาหารปี2007-2008ภาวะอากาศซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติสามารถนำมาสู่ความเสี่ยงจากน้ำมือมนุษย์อันเนื่องมาจากการตัดสินใจของผู้ดำเนินนโยบาย อีกทั้งต้องไม่ลืมปัจจัยสำคัญอย่างภาคการเงินซึ่งมีความรวดเร็วในแง่ข้อมูลข่าวสารและการเคลื่อนตัวของเงินทุนซึ่งจะยิ่งซ้ำให้ทุกอย่างเลวร้ายได้ ทั้งนี้ในช่วงที่รสเซียประกาศเรื่องนี้ออกมา การซื้อขายข้าวสาลีในสหรัฐฯและยุโรปคึกคักมาชัดเจน โดยเพียงแค่สัปดาห์เดียวคือ วันที่ 2-6สิงหาคม2010ราคาได้มีการเหวี่ยงตัวมากกว่า20%ขณะที่การทะยานขึ้นมากกว่า90%ใช้เวลากว่า2เดือน ทั้งนี้ก่อนจะเกิดปัญหาบรรดาวงการผู้ค้าเมล็ดพืชในตลาดการเงินในยุโรปและสหรัฐฯดูเหมือนจะเริ่มรับทราบสถานการณ์เป็นอย่างดีและเริ่มคาดการณ์ถึงมาตรการของทางการรัสเซียเอาไว้บ้างแล้ว
    และสุดท้ายเมื่อทุกอย่างชัดเจนในวันที่5สิงหาคม ตลาดการเงินก็เคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วเพราะเห็นโอกาสในการเข้าทำกำไรที่มีมหาศาลในตลาดสินค้าเกษตร ท่ามกลางภาวะความไม่แน่นอนของการลงทุนในตลาดเงินและตลาดทุนอันเนื่องมาจากผลตกค้างของวิกฤตการเงินในสหรัฐฯและยุโรปนับแต่ปี2007และด้วยธรรมชาติอันรวดเร็วของทุนการเงินรวมถึงสัญชาตญาณแบบอีแร้งที่ฉวยโอกาสแบบไม่รั้งรอ ทำให้หลังจากราคาข้าวสาลีทำสถิติพุ่งทะลุ8ดอลลาร์ต่อบูเชลในชิคาโก้ ก็เริ่มมีบรรดานักวิเคราะห์เริ่มออกมาคาดการณ์และให้เป้าหมายราคาใหม่ชนิดแพงลิ่วที่10ดอลลาร์ต่อบูเชล ซึ่งแค่ราคาในปัจจุบันก็แทบจะจ่ายกันไม่ไหวแล้ว
    ผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้จึงนับว่าจะสะเทือนทั้งระบบการเกษตรและระบบการเงินโลกมากขึ้นในอนาคต บรรดาชาติมุสลิมซึ่งต่างต้องพึ่งพาการนำเข้าข้าวสาลีและอาหารอื่นๆจากต่างประเทศคงจะต้องคิดหนักมากขึ้น วิกฤตจากรัสเซียซึ่งมาประดังในช่วงใกล้เทศกาลรอมฎอนครั้งนี้จะเป็นการปลุกให้บรรดาประเทศมุสลิมโดยเฉพาะผู้ส่งออกน้ำมันในตะวันออกกลางที่มีความพร้อมด้านเงินทุนต้องเร่งการไล่ซื้อทรัพยากรทางการเกษตรมากขึ้น ทั้งนี้การไล่ซื้อทรัพยากรการเกษตรจะไม่กระจุกตัวแค่ในแอฟริกาเท่านั้น แต่จะมีการกระจายตัวไปยังพื้นที่ที่มีความแน่นอนในด้านผลผลิตมากขึ้นด้วย ซึ่งจริงอยู่แอฟริกามีความได้เปรียบในด้านภูมิศาสตร์และเป็นประเทศมุสลิมด้วยกันก็ตาม แต่ก็มีความเสี่ยงด้านการเมืองและการลงทุนภาคเกษตรในแอฟริกาจำต้องทำการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามไปด้วย ทำให้ต้นทุนที่ได้แพงและสุ่มเสี่ยงต่อปัญหาการแย่งอาหารจากคนในพื้นที่ด้วย
    การไล่ซื้อสินทรัพย์ทางการเกษตรในอนาคตจึงต้องมุ่งเป้าหมายเพื่อเพิ่มความแน่นอนในด้านความมั่นคงทางอาหารที่มากขึ้น ปัจจุบันตะวันออกกลางยังไม่มีการเคลื่อนตัวไปยังอเมริกาเหนือและละตินอเมริกาซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์มากและมีอาหารเหลือกินเหลือใช้กันมาก อีกทั้งยังมีระบบโครงสร้างพื้นฐานและธุรกิจอาหารและการเกษตรรองรับไว้มากมาย จึงสามารถรองรับการซื้อแบบ “เหมาทั้ง Supply Chain” ได้ทั้งหมดไล่ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ยันปลายน้ำ โดยอาจซื้อในลักษณะสินทรัพย์ในวงจรต่างๆของSupply Chainแล้วนำมารวมกันภายใต้บริษัทเพียงบริษัทเดียวซึ่งอาจเป็นบริษัทลงทุนของรัฐหรือที่มีรัฐสนบัสนุนเบื้องหลัง หรืออาจซื้อหรือขอร่วมทุนกับบริษัทที่มีธุรกิจครบวงจรอยู่แล้วเลยก็ได้ซึ่งมีเครือข่ายและความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว
    แต่ถึงอย่างไรเสียการเข้าไปไล่ซื้อที่ดินและสินทรัพย์การเกษตรในประเทศพัฒนาแล้วอาจจะยังเป็นเรื่องที่มีข้อจำกัดอยู่พอสมควรเพราะกลุ่มทุนในประเทศที่มีความแข็งแกร่งและครองตลาดอยู่แล้ว ระดับรายได้ที่สูงและสามารถพึ่งตัวเองได้ของเกษตรกรในประเทศและที่สำคัญประเทศเหล่านี้ก็มีนโยบายปกป้องภาคการเกษตรและไม่จำเป็นต้องง้อต่างชาติมากเมื่อเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาซึ่งแม้จะมีความแน่นอนทางการเมืองน้อยกว่าแต่ก็ต้องง้อประเทศอาหรับมากกว่าอยู่แล้ว ยิ่งในปัจจุบันประเทศพัฒนาแล้วทั้งยุโรป อเมริกาเหนือ หรือประเทศกำลังพัฒนาในแถบละตินอเมริกาก็เป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ของโลกคงไม่ต้องการที่จะปล่อยให้ธุรกิจตัวเองตกไปอยู่ในมือผู้อื่น
    ดังนั้นแล้วอาหรับก็ยังคงต้องมุ่งสู่การลงทุนที่กระจายตัวไปทั่วโลกต่อไปโดยปรับกลยุทธ์การลงทุนให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ การเข้ามาโดยตรงอาจจะเป็นรูปแบบที่เข้ามาในประเทศกำลังพัฒนาและพยายามประนีประนอมกับคนในพื้นที่มากขึ้น ขณะที่ในประเทศพัฒนาแล้วอาจต้องมาทางอ้อมผ่านกองทุนในตะวันตกและการร่วมกับภาคเอกชนในประเทศตะวันตกหรือผ่านการอุดหนุนภาคเอกชนของประเทศตัวเอง
    Muslim Today -
     
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เผาเมืองที่แอลจีเรีย : เมื่อวิกฤตอาหารโลกจุดชนวนความเสี่ยงรับทศวรรษใหม่
    เผาเมืองที่แอลจีเรีย : เมื่อวิกฤตอาหารโลกจุดชนวนความเสี่ยงรับทศวรรษใหม่

    โดย เบ๊นซ์ สุดตา

    ประเด็นเรื่องวิกฤตอาหารและระบบการเกษตรโลกนั้นเป็นหนึ่งในประเด็นใหญ่ที่Mtoday ติดตามข้อมูลข่าวสารและนำเสนอบทวิเคราะห์และแนวทางการแก้ไขมาอย่างต่อเนื่องนับแต่Mtoday เริ่มทำหน้าที่สื่อสารมวลชนตั้งต้นแต่ปี 2010 และดูเหมือนว่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลกจะยืนยันถึงสิ่งที่เราคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้

    หลังจากผู้คนทั่วโลกเบิกบานและสนุกสานกับเทศกาลคริสต์มาสและต่อเนื่องจนถึงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่ ปี 2011 เป็นต้นมา แทบไม่มีใครคาดคิดเลยว่า ไม่ถึง 1 สัปดาห์หลังงานรื่นเริงนี้จบลงจะเกิดเหตุการณ์จลาจลขึ้นในประเทศแอลจีเรียซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกาเนื่องจากความไม่พอใจของประชาชนวัยรุ่นซึ่งตกงานเป็นทุนเดิมอยู่แล้วกลับต้องเผชิญภาวะข้าวยากหมากแพงจากการที่ราคาอาหารต่างๆพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว สุดท้ายทนไม่ไหวจนต้องออกมาก่อการจลาจล เผาเมือง ปล้นสะดมเพื่ออาหารเลี้ยงปากท้อง เกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตั้งแต่คืนวันพุธที่ 5 มกราคม 2011 เป็นต้นมา จนกระทั่งท้ายที่สุดรัฐบาลแอลจีเรียต้องตัดสินใจลดราคาน้ำตาลและน้ำมันพืชลง 41% เมื่อวันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2011 ที่ผ่านมาเพื่อควบคุมไม่ให้เหตุการณ์บานปลาย

    เหตุการณ์จลาจลหลังจากราคาอาหารและสิ่งยังชีพอื่นๆพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร ตอนวิกฤตอาหารปี 2008 มีประเทศกว่า 30 ประเทศทั่วโลกที่มีการจลาจลครั้งใหญ่หลังจากประชาชนไม่พอใจกับราคาอาหารที่พุ่งขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว ล่าสุดปี 2010 ก่อนเกิดกรณีที่แอลจีเรียก็เกิดการจลาจลเผาเมืองและปะทะกับเจ้าหน้าที่ความมั่นคงอย่างรุนแรงในนครมาปูโต้ เมืองหลวงของประเทศโมซัมบิกช่วงต้นเดือนกันยายน 2010 หลังจากรัฐบาลตัดสินใจขึ้นราคาขนมปัง 30% และสุดท้ายเหตุการณ์ก็จบลงหลังจากรัฐบาลตัดสินใจยกเลิกการขึ้นราคาขนมปังและรับภาระการแทรกแซงราคาผ่านการอุดหนุนแทน

    หากมองดูผิวเผินจะพบว่า ปัญหาวิกฤตอาหารในช่วงทีผ่านมานั้นจะกระจุกตัวเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะประเทศในทวีปแอฟริกา อีกทั้งยังมีความเสี่ยงของการปะทุขึ้นของความเสี่ยงทางการเมืองเนื่องจากราคาอาหารและสิ่งยังชีพในประเทศอาหรับและประเทศยากจนในที่อื่นๆด้วย เนื่องจากปัญหาการว่างงานและความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่สูงมาก แต่เนื่องจากประเทศอาหรับโดยเฉพาะกลุ่ม GCC มีทรัพยากรทางการเงินมากและรัฐบาลมีเสถียรภาพสูงเพราะเป็นรัฐบาลที่นำโดยกลุ่มชนชั้นนำในราชวงศ์ ทำให้การเมืองมีเสถียรภาพและประสิทธิภาพในการจัดการปัญหาดีกว่าประเทศยากจนที่เป็นประชาธิปไตย

    แต่หากมองให้ไกลกว่านั้นก็ใช่ว่าความเสี่ยงทางการเมืองจากวิกฤตอาหารนี้จะกระจุกตัวอยู่ในเฉพาะประเทศยากจนหรือประเทศที่ไม่สามารถผลิตอาหารเลี้ยงตัวเองได้เท่านั้น ประเทศพัฒนาแล้วหรือแม้แต่ประเทศผู้ส่งออกอาหารเองก็สามารถเผชิญปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองนี้ได้เช่นกัน ทั้งนี้ในส่วนของประเทศพัฒนาแล้วไม่ว่าจะเป็นยุโรปหรือสหรัฐฯต่างมีปัญหาของอัตราการว่างงานที่ยังคงสูงอยู่ ในสหรัฐฯเองซึ่งอัตราการว่างงานยังคงอยู่เหนือระดับ 9% มานานหลายไตรมาสส่งผลให้เศรษฐกิจยังไม่สามารถฟื้นตัวได้เต็มที่นัก ในสหรัฐฯยังคงมีผู้คนจำนวนมากที่ยังรับแสตมป์อาหารเพื่อยังชีพ

    ขณะที่ปัญหาวิกฤตการเงินในยุโรปก็ส่งผลให้มีการตัดลดงบประมาณมหาศาลของรัฐบาลในหลายๆประเทศเพื่อลดการขาดดุลและหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ซึ่งจะเป็นผลร้ายแรงต่อความน่าเชื่อถือของประเทศมาก นั่นส่งผลให้เกิดการปลดคนงานครั้งใหญ่ในรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานภาครัฐจำนวนมาก นอกจากนั้นแล้วยังมีการทบทวนภาระค่าใช้จ่ายในด้านสวัสดิการสังคมด้วย ในยุโรปเองก็เผชิญกับการประท้วงของประชาชนและบรรดาสหภาพแรงงานอันเนื่องมาจากความไม่พอใจที่รัฐบาลเลือกอุ้มสถาบันการเงินด้วยภาษีประชาชนแต่มาตัดผลประโยชน์ด้านสวัสดิการและการปลดคนงานแทน ซึ่งถ้าหากราคาอาหารยังคงพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประเทศที่มีระดับรายได้สูงในยุโรปและสหรัฐฯเองก็อาจเผชิญปัญหาทางการเมืองจากการไม่พอใจอย่างรุนแรงของประชาชนในประเทศได้

    อีกด้านหนึ่งเมื่อวิกฤตอาหารปะทุขึ้นอย่างรุนแรง นั่นกลับกลายเป็นโอกาสของประเทศที่มีศักยภาพในการส่งออกอาหารหรือแม้แต่ประเทศยากจนแต่โดยพื้นฐานแล้วสภาพทรัพยากรต่างๆทั้งดินและน้ำสามารถปรับปรุงและเปลี่ยนโฉมเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารได้เช่นกัน เหล่านี้ได้ก่อให้เกิดกระแสที่เรียกว่า “การไล่ล่าที่ดิน” หรือ Land Grab ขึ้นทั่วโลก ทำให้เกิดการไล่ซื้อหรือทำสัญญาเช่าระยะยาวกับที่ดินที่อุดมสมบูรณ์ไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นในแอฟริกา ละตินอเมริกา ยุโรปตะวันออก อาเซียน หรือแม้แต่ในสหรัฐฯเองซึ่งบรรดาเฮดจ์ฟันด์ไล่ประมูลที่ดินกันแบบรายสัปดาห์

    การที่กองทุนทั้งภาครัฐและเอกชนไล่ซื้อหรือเช่าที่ดินเกษตรทั่วโลกนั้นแง่หนึ่งก็เพื่อสนองต่อความต้องการในการบริหารความมั่นคงทางอาหารระยะยาวและเพื่อความมั่งคั่งของนักลงทุน แต่ในอีกแง่หนึ่งก็กลายเป็นการสร้างความหวาดวิตกกับประเทศเจ้าของที่ดินถึงจุดประสงค์และผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศผู้รับการลงทุนเช่นกัน กรณีที่เกิดการรัฐประหารที่มาดากัสก้านั้นหลายฝ่ายสันนิษฐานกันว่า สาเหตุหนึ่งน่าจะมาจากความไม่พอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริษัทเกาหลีใต้เช่าที่ดินระยะยาว

    ในด้านนี้นอกจากจะเกิดความเสี่ยงในแง่ของความไม่พอใจของคนท้องถิ่นที่วิตกว่าอาหารของตัวเองจะถูกส่งออกหมดและอาชีพการเกษตรจะตกในมือต่างชาติ ความเสี่ยงของการปิดกั้นการลงทุนจากต่างประเทศและมาตรการกีดกันทางการค้าต่างๆก็เป็นความเสี่ยงอีกรูปแบบหนึ่งที่จะมาพร้อมกับวิกฤตอาหารได้ ซึ่งในอนาคตบรรดาความเสี่ยงต่างๆดังที่กล่าวมานี้จะปกคลุมสภาพเศรษฐกิจและการเมืองโลกไปอย่างน้อยอีก 10 ปีข้างหน้านับจากนี้อย่างแน่นอน
    Muslim Today -
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ตุรกี : หมากยุทธศาสตร์ตัวสำคัญของจีน
    บทความนี้จะทำการวิเคราะห์ฐานะสำคัญในทางยุทธศาสตร์ของตุรกีที่มีต่อจีนทั้งด้านนโยบายและพัฒนาการภายในประเทศจีนและในด้านการดำเนินยุทธศาสตร์ในระดับโลก

    ทุนการเงินกับวิกฤตอาหารโลก
    บทความนี้วิเคราะห์เจาะลึกถึงกลยุทธ์และกลไกลการสร้างความหายนะต่อคนทั้งโลกผ่านการปั่นราคาสินค้าเกษตรจนลุกลามเป็นวิกฤตอาหารโลกรอบใหม่ของกลุ่มทุนการเงินประเภทต่า่งๆที่มีความหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น

    สิ่งที่ไม่มีวันพูดถึงในที่ประชุมดาวอส
    มาดูกันว่า ที่จริงแล้วที่ประชุมสุดยอดผู้นำเศรษฐกิจโลกชอบพูดถึงเรื่องอะไรกัน และสิ่งที่คนพวกนี้คนจะพูดแต่ไม่เคยคิดจะพูด

    อิสลามควรเอาอย่างจีนเรื่องสงครามสื่อครอบโลก
    บทความนี้มุ่งวิเคราะห์จุดบอดของโลกอิสลามในสงครามสื่อโลก และแจกแจงถึงยุทธศาสตร์การผงาดของสื่อจีนในเวทีโลกซึ่งโลกอิสลามควรนำไปปรับใช้ ตลอดถึงข้อเสนอแนะในการยกระดับขีดความสามารถด้านสงครามสื่อของโลกอิสลาม

    เผาเมืองที่แอลจีเรีย : เมื่อวิกฤตอาหารโลกจุดชนวนความเสี่ยงรับทศวรรษใหม่
    บทความนี้ขอนำเสนอมุมมองล่าสุดที่มีต่อสถานการณ์ร้อนอย่าง เหตุจลาจลเผาเมืองที่แอลจีเรียหลังราคาอาหารพุ่งขึ้นอย่างมาก โดยจะเป็นการฉายภาพถึงความเสี่ยงในระดับโลกที่จะปกคลุมภาวะเศรษฐกิจและการเมืองโลกอันเนื่องมาจากวิกฤตอาหารโลกที่กลับมาปะทุและลุกลามอีกครั้ง และทำท่าจะเรื้อรังยาวนาน

    เมื่อนวัตกรรมการเงินอิสลามเริ่มล้ำเส้นหลักศาสนา : หายนะอาจเป็นคำตอบสุดท้าย
    วิเคราะห์เส้นทางนวัตกรรมทางการเงินอิสลามซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างรากฐานระบบการเงินทางเลือกนี้และอนาคตของการสร้างนวัตกรรมซึ่งส่อเค้าลางไปสู่กิจกรรมการเก็งกำไรมโหฬารและละเมิดหลักศาสนาซึ่งอาจนำมาซึ่งวิกฤตการเงินจากโลกอิสลามได้

    สหภาพการเงินอาหรับ : ล้มอีกรอบอาจลุกไม่ขึ้น
    วิเคราะห์ปัจจัยชี้เป็นชี้ตายของความสำเร็จในการตั้งสหภาพการเงินและเงินสกุลเดียวของอาหรับในทศวรรษหน้า ซึ่งขึ้นกับการต่อรองทางการเมืองภายในกลุ่ม GCC และบทบาทของเงินหยวนที่เพิ่มขึ้นในเวทีโลก

    ผู้หญิงกับการเงินอิสลาม
    วิเคราะห์บทบาทใหม่ของผู้หญิงในโลกของการเงินอิสลามทั้งในด้านโครงสร้างอุตสาหกรรมและตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ

    เอเชียกลาง : ฐานที่มั่นของเงินหยวนในโลกมุสลิม
    วิเคราะห์เกมสุดลึกของจีนในการปักฐานเงินหยวนในประเทศมุสลิมแถบเอเชียกลางโดยใช้ซินเจียงเป็นฐานในการรุกคืบผ่านกลไกความมั่นคงและความสัมพันธ์ในฐานะชนชาติเติร์กด้วยกัน

    เปโตรหยวนปะทะเปโตรดอลลาร์ : เมื่อสงครามการเงินปะทุนอกโลกอาหรับ
    บทความนี้วิเคราะห์ว่า เงินหยวนจีนจะกลายสภาพเป็นเปโตรหยวนในอนาคตหลังจากรัสเซียตกลงให้เงินรูเบิ้ลกับเงินหยวนซื้อขายกันโดยตรงได้ เป็นการกรุยทางเงินหยวนให้มีอิทธิพลในระบบการค้าน้ำมันโลกมากขึ้น ซึ่งเปโตรหยวนจะมีฐานใหญ่อยู่นอกโลกอาหรับที่เปโตรดอลลาร์ปักฐานอยู่ รวมถึคงวิเคราะห์ผลกระทบของการผงาดขึ้นของเปโตรหยวนบนทางสายไหม

    QE 2 : จากสงคราค่าเงินสู่สงครามระบบการเงินโลก
    การประกาศมาตรการ QE 2 ของเฟดก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และรุนแรงลึกถึงระดับโครงสร้างระบบการเงินโลก สิ่งที่เกิดขึ้นมันมากกว่าวิกฤตค่าเงินธรรมดาและความเสี่ยงฟองสบู่ แต่ลึกๆแล้วคือภาคต่อของการทำสงครามแย่งชิงและโค่นล้มระบบการเงินโลกซึ่งมีแกนกลางอยู่ที่การเป็นเงินตราสกุลหลักของโลกระหว่างเจ้าของระบบเดิมคือ สหรัฐฯและพรรคพวก และกลุ่ม BRIC ที่นำโดยจีน

    ตลาดเงินอิสลาม : นวัตกรรมใหม่ในการบริหารสภาพคล่อง
    บทความนี้จะวิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาการสำคัญในระบบตลาดเงินอิสลาม และแนวโน้มในอนาคตของตลาดเงินอิสลามว่าจะเป็นอย่างไีร

    ทำไมไทยควรเป็นพันธมิตรเกษตรโลกกับกาตาร์
    บทความนี้จะวิเคราะห์ศักยภาพรอบด้านของกาตาร์ในการเป็นพันธมิตรกับไทนในการบุกตะลุยภาคเกษตรโลกในอนาคต

    ทุนเกาหลีผงาดในตะวันออกกลาง
    บทความนี้จะมาวิเคราะห์กันว่า ทำไมกลุ่มทุนเกาหลีใต้ถึงได้ตีคู่แข่งจากต่างชาติกระเจิง และกำลังผงาดอย่างยิ่งใหญ่และกำลังมีความสำคัญมากขึ้นกับพัฒนาการทางเศรษฐกิจในตะวันออกกลาง

    หยวน-ดอลลาร์ ปะทะเดือดในโลกมุสลิม
    วิเคราะห์ฉากล่าสุดของสงครามค่าเงินระหว่างหยวนกับดอลลาร์ในโลกมุสลิม

    โลกอิสลามจะช่วยให้เงินหยวนท้าทายดอลลาร์ได้
    วิเคราะห์พลวัตโลกอิสลามที่จะหนุนเงินหยวนเป็นเงินตราสกุลหลักของโลกแข่งกับดอลลาร์

    จีนรุกต่อเนื่อง (อีกแล้ว) แนวรบสื่อโลกในตะวันออกกลาง
    การเปิดตัวนิตยสาร China Today เป็นภาษาเติร์กมีนัยที่สำคัญต่อการต่อสู้ของจีนกับมหาอำนาจตะวัีนตก บทความนี้จะมีวิเคราะห์ถึงพัฒนาการล่าุสุดของสงครามสื่อครอบโลกในยุคนี้

    เมื่อวิกฤตอาหารโลกลามเหมือนไฟป่า โอกาสของไทยอยู่ที่ไหน
    วิกฤตอาหารโลกลามเหมืิอนไฟลามทุ่งและอาจกลายเป็นวิกฤตการเมืองไปทั่วโลก แต่ขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสสำคัญที่ประเทศจะสามารถฉกฉวยได้ในครั้งนี้

    เมื่อเงินจีนและเงินอาหรับอยากเป็นเงินตราสกุลหลักของโลก
    วิเคราะห์พลวัตเงินหยวนของจีนต่ออนาคตของเงินดอลลาร์และความเชื่อมโยงกับการตั้งเงินตราสกุลเดียวของชาติอาหรับ

    ฤา วิกฤตอิหร่านจะกลับมาทำร้ายเงินดอลลาร์
    วิกฤตอิหร่านอาจกลายเป็นโอกาสให้จีนเพิ่มอิทธิพลเงินหยวนและลดบทบาทเงินดอลลาร์ในระยะยาว

    ดุลยภาพใหม่การเกษตรโลก (The New Normal of Global Agriculture)
    ระบบเกษตรและอาหารโลกเข้าสู่ยุคใหม่ที่ใหม่เหมือนเดิมและยากลำบากกว่าเดิม บทความนี้วิเคราะห์อนาคตที่อาจเกิดขึ้นของระบบเกษตรและอาหารโลกภายใต้ยุค "New Normal"

    เสียงเตือนภัยจากรัสเซีย : สัญญาณเตือนภัยล่าสุดวิกฤตอาหารโลก
    วิกฤตแล้งในรัสเซียจะทำให้อาหรับตระหนักถึงความเร่งด่วนด้านนโยบายความมั่นคงด้านอาหารมากขึ้น

    ประเทศไทยกับความพร้อมด้านการเงินอิสลาม
    ประเทศไทยเริ่มเอาจริงแล้ว มาดูกันว่าไทยควรทำอะไรบ้างในการดันการเงินอิสลาม

    ทำไมญี่ปุ่นสนใจการเงินอิสลาม
    มาดูเหตุผลเบื้องหลังทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองของญี่ปุ่นในการกระโจนสู่การเงินอิสลาม

    จาก Al Jazeera ถึง CNC : พัฒนาการ สงครามสื่อครอบโลกระหว่างตะวันออกกับตะวันตก
    ดูการขับเคี่ยวและกลยุทธ์การตอบโต้กันในสงครามสื่อของตะวันตกกับตะวันออก

    แนวโน้มทุนอาหรับในภาคอสังหาริมทรัพย์
    จับตากระแสเงินอาหรับในภาคอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลก

    ผลลัพธ์ของประชาธิปไตย : วิกฤตการเงินและหนี้สาธารณะ
    ระบอบการเมืองที่เรียกว่าประชาธิปไตยก็มีส่วนสำคัญที่ให้ดอกผลเป็นวิกฤตการเงินและวิกฤตหนี้สาธารณะอย่างที่เห็น

    อำนาจในการคุมทุนสำรองทั้งโลกของสหรัฐฯ
    ดูกันจะๆ ทำไมสหรัฐฯสามารถยึดทุนสำรองรัฐบาลต่างชาติได้

    เมื่อทรราชย์สื่อข้ามชาติรวมหัวกับโจรการเงินโลก
    มาดูว่าทุนการเงินโลกหากินด้วยการใช้สื่ออย่างไร

    อุปสรรคของการเงินอิสลามท่ามกลางวิกฤตการเงินยุโรป
    วิกฤตในยุโรปเสี่ยงต่อการชะลอตัวของตลาดการเงินอิสลาม แต่ระยะยาวอนาคตยังดีอยู่

    อุทธาหรณ์จากปักกิ่ง : อย่าไว้ใจพวกตะวันตก
    วิเคราะห์เบื้อหลังธนาคารต่างชาติทุบเงินยูโรหวังฟันกำไรข้ามคืนและเล่นงานจีน

    ระวังวิกฤตยุโรปลุกลาม
    วิกฤตยุโรปอาจลุกลามจนนำมาสู่วิกฤตดูไบภาค 2 ได้

    การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคตะวันออกกลาง – ตอนจบ
    วิเคราะห์และนำเสนอยุทธศาสตร์ประเทศไทยภายใต้แนวโน้มการรวมกลุมทางเศรษฐกิจในแถบตะวันออกกลาง

    การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคตะวันออกกลาง – ตอนที่ 4
    วิเคราะห์ปัญหาความแตกแยกในกลุ่ม GCC

    การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคตะวันออกกลาง – ตอนที่ 3
    ทำความเข้าใจประเด็นด้านการค้าของการรวมกลุ่ม GCC

    การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคตะวันออกกลาง – ตอนที่ 2
    วิเคราะห์ประโยชน์ของการรวมกลุ่มดดยเฉพาะในด้านภาคการเงิน

    การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคตะวันออกกลาง – ตอนที่ 1
    การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของ GCC มีสาเหตุหลายๆประการ ประการที่น่าสนใจคือ เรื่องของค่าเงินดอลลาร์

    การลงทุนด้านอาหารของชาติอาหรับ ตอนจบ – ยุทธศาสตร์ของประเทศไทย
    ประเทศไทยกับภาพรวมของอาหารโลกในอนาคตที่มีทั้งโอกาสและความเสี่ยง ตอนจบขอนำเสนอยุทธศาสตร์ในระยะยาวที่เหมาะสม

    การลงทุนด้านอาหารของชาติอาหรับ ตอนที่ 2 – การรุกในพื้นที่อื่นๆ
    ตอนนี้บรรดาชาติอาหรับปรับกลยุทธ์ใหม่หันมาลงทุนในแถบเอเชีย ยุโรป และละตินอเมริกามากขึ้น พร้อมขยับการลงทุนไปทั้งระบบ Supply Chain ของภาคเกษตร

    การลงทุนด้านอาหารของชาติอาหรับ ตอนที่ 1 - การลงทุนในแอฟริกา
    ปัญหาวิกฤตอาหารกลายเป็นปัญหาระดับโลกและกำลังเป็นประเด็นที่สำคัญในด้านการเมืองระหว่างประเทศด้วย อาหรับในฐานะชาติที่มีทรัพยากรการเงินมหาศาลแต่ขาดความมั่นคงทางอาหารกำลังเคลื่อนไหวในเรื่องนี้จนเป็นที่จับตามองอย่างมาก การวิเคราะห์การลงทุนด้านอาหารของอาหรับจึงเป็นเรื่องที่ต้องติดตาม

    การเงินอิสลามในระบบการเงินโลกตอนจบ – กลับสู่รากเหง้าและยุทธศาสตร์ประเทศไทย
    ในตอนสุดท้ายนี้เราจะมาร่วมกันหาทางออกในระยะยาวของการเงินอิสบามรวมถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาการเงินอิสบามบนรากฐานที่ประเทศไทยมีศักยภาพ

    การเงินอิสลามในระบบการเงินโลกตอนที่ 5 – ปัญหาของการเงินอิสลามในปัจจุบัน
    ในตอนนี้จะมาทำความเข้าใจกับปัญหาเชิงโครงสร้างของระบบการเงินอิสลามในช่วงที่ผ่านมาและเหตุใดจึงเกิดวิกฤตการเงินอิสลามในตะวันออกกลางด้วย

    การเงินอิสลามในระบบการเงินโลกตอนที่ 4 – การพัฒนาการเงินอิสลามในแถบเอเชีย
    เอเชียเป็นอีก 1 ภูมิภาคที่ให้ความสนใจในการพัฒนาการเงินอิสลามและดูจะมีภาษีดีกว่ายุโรปและตะวันออกกลาง

    การเงินอิสลามในระบบการเงินโลกตอนที่ 3 – การพัฒนาการเงินอิสลามในตะวันตก
    ไม่เพียงแต่ในตะวันออกกลางอันเป็นต้นกำเนิดของศาสนาอิสลามเท่านั้น แต่ในยุโรปก็ยังสนใจที่จะพัฒนาการเงินอิสบามด้วย

    การเงินอิสลามในระบบการเงินโลกตอนที่ 2 – การพัฒนาการเงินอิสลามตะวันออกกลาง
    ในตอนที่ 2 เราจะมาดูกันต่อถึงแนวทางการพัฒนาระบบการเงินในตะวันออกกลางว่าเป็นอย่างไร และอะไนเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการมุ่งสู่ภาคการเงิน

    การเงินอิสลามในระบบการเงินโลก – ตอนที่ 1 พื้นฐานของการเงินอิสลาม
    บทความนี้เป็นตอนแรกที่ผู้เขียนมีความตั้งใจนำเสนอภาพรวมเกี่ยวและการวิเคราะห์การเงินอิสลามในปัจจุบัน และพัฒนาการในอนาคตท่ามกลางสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปหลังวิกฤตการเงินและการผงาดขึ้นมาของจีนและมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอื่นๆในประเทศกำลังพัฒนา

    มุสลิมประเทศไทย จุดยืนอย่างไรในสงครามอัฟกานิสถาน
    อยากให้ทุกคนแสดงความเห็นกันหน่อยว่า ระหว่างตอลีบัน-อัลกออิดะห์ กับฝ่ายคาไซ อเมริกา อังกฤษ ปากีฯ คุณมีจุดยืนฝ่ายไหน

    อ่านรายละเอียดบทความทั้งหมดได้ที่นี่ค่ะ
    Muslim Today -
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มีนาคม 2011
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    สหรัฐส่งเรือรบเสริมระบบป้องกันภัยขีปนาวุธในยุโรป

    วอชิงตัน 2 มี.ค. - กองทัพสหรัฐจะส่งเรือรบไปยังทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในสัปดาห์หน้า ซึ่งเป็นขั้นแรกของการสร้างระบบป้องกันขีปนาวุธปกป้องยุโรปจากการถูกโจมตีด้วยขีปนาวุธของอิหร่าน

    เรือรบยูเอสเอส มอนเตเรย์ ซึ่งเป็นเรือลาดตระเวนติดขีปนาวุธนำวิถีและมีเรดาร์เอจิสที่ถูกออกแบบมาเพื่อตรวจจับขีปนาวุธจะเดินทางออกจากฐานทัพเรือนอร์ฟอล์ค รัฐเวอร์จิเนีย ในสัปดาห์หน้า เพื่อปฏิบัติภารกิจเป็นเวลา 6 เดือน

    นับเป็นการแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรมครั้งแรกของนโยบายป้องกันขีปนาวุธ ซึ่งประธานาธิบดีบารัค โอบามา ประกาศเมื่อปีที่แล้วว่าจะสร้างระบบเพื่อปกป้องกองทัพสหรัฐและชาติพันธมิตรในยุโรป

    เรือยูเอสเอส มอนเตเรย์ อยู่ในชั้นติคอนเดโรกา จะมีหน้าที่เข้าร่วมการซ้อมรบกับกองทัพสหรัฐในยุโรป ซึ่งหลังจากหมดภารกิจที่ได้รับมอบหมาย 6 เดือน ก็จะมีเรือประเภทเดียวกันมาสับเปลี่ยนหมุนเวียนเพื่อคงระบบ นอกจากนี้ กองทัพสหรัฐมีแผนจะประจำการเรดาร์ภาคพื้นดินในปลายปีนี้ที่ทางใต้ของยุโรป โดยสถานที่ยังอยู่ในระหว่างการเจรจา หลังจากนั้นจะนำจรวดเอสเอ็ม-3 ที่ใช้ต่อต้านขีปนาวุธเข้าประจำการในฐานทัพที่โรมาเนียในปี 2558 และโปแลนด์ในปี 2561

    รัฐบาลประธานาธิบดีบารัค โอบามา กล่าวว่า ระบบป้องกันขีปนาวุธมีเป้าหมายเบื้องต้นคือรับมือภัยคุกคามจากโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน ซึ่งมีขีปนาวุธพิสัยกลางเพิ่มขึ้น. - สำนักข่าวไทย

    วันพุธ ที่ 2 มี.ค. 2554


    เรือรบสหรัฐ 2 ลำเข้าสู่คลองสุเอซไปทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

    อิสไมเลีย 2 มี.ค.-เรือสนับสนุนการยกพลขึ้นบก 2 ลำของสหรัฐเดินทางเข้าสู่คลองสุเอซของอียิปต์แล้ว เพื่อไปยังทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

    เรือยูเอสเอส เคียร์ซาร์จ และยูเอสเอส ปอนเช่ อยู่ที่บริเวณปากคลองด้านใต้ โดยมีเรือโยงคอยช่วยเหลือ คาดว่าเรือทั้งสองลำจะเคลื่อนตัวผ่านคลองเข้าสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในเวลา 15.30 น.หรือ 16.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น (20.30-21.00 น.ตามเวลาประเทศไทย)

    สหรัฐกล่าวเมื่อวันจันทร์ว่า กำลังเคลื่อนย้ายเรือและเครื่องบินหลายลำเข้าใกล้ลิเบีย และเรือยูเอสเอสเคียร์ซาร์จบรรทุกนาวิกโยธิน 2,000 นาย การเคลื่อนพลครั้งนี้ถูกจับตามองอย่างกว้างขวางว่าเป็นสัญลักษณ์แสดงแสนยานุภาพ ซึ่งทั้งสหรัฐและพันธมิตรนาโตแสดงความปรารถนาที่จะเข้าแทรกแซงทางทหารโดยตรงในเหตุการณ์ความปั่นป่วนที่ลิเบีย

    ก่อนหน้านี้ในวันจันทร์ เรือพิฆาตยูเอสเอส แบร์รี ได้แล่นผ่านคลองสุเอซ และขณะนี้ลอยลำอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทำเนียบขาวกล่าวว่า เป็นการเตรียมพร้อมเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม แต่ก็ส่งสัญญาณว่าอาจมีการดำเนินการทางทหารเกิดขึ้นได้.-สำนักข่าวไทย

    วันพุธ ที่ 2 มี.ค. 2554


    รัสเซียเสริมกำลังทหารบนเกาะที่เป็นข้อพิพาทกับญี่ปุ่น

    โตเกียว 2 มี.ค. - บรรษัทกระจายเสียงของญี่ปุ่น หรือเอ็นเอชเค รายงานว่า รัสเซียจะเสริมกำลังหน่วยทหารบนเกาะทางตอนเหนือซึ่งรัสเซียยึดครอง แต่ญี่ปุ่นยังคงอ้างกรรมสิทธิ์ ซึ่งความเคลื่อนไหวนี้เป็นความพยายามที่จะแสดงให้เห็นว่าเกาะดังกล่าวอยู่ในอาณาเขตของรัสเซีย

    เจ้าหน้าที่ทหารรัสเซียกล่าวว่า กองทัพมีแผนจะประจำการระบบจรวดทอร์-เอ็มทู ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันภัยทางอากาศ ไปพร้อมกับประจำการจรวดป้องกันชายฝั่งที่สามารถโจมตีเรือรบของศัตรูได้ นอกจากนี้ จะนำเฮลิคอปเตอร์ประจัญบานรุ่น มิล-28 ซึ่งสามารถทำลายรถถังและยานเกราะของข้าศึกเข้าประจำการบนเกาะอีโตโรฟุด้วย

    นายอนาโตลี เซิร์ดยูคอฟ รัฐมนตรีกลาโหมรัสเซีย กล่าวในเดือนที่แล้วว่า รัสเซียจะเสริมกำลังทหารบนเกาะดังกล่าวด้วยระบบเรดาร์และการสื่อสารรุ่นล่าสุด ขณะที่ พล.อ.นิโคไล มาคารอฟ หัวหน้าคณะเสนาธิการทหารรัสเซีย เผยว่า จะนำเรือสนับสนุนการยกพลขึ้นบกที่ต่อจากฝรั่งเศสเข้าประจำการในบริเวณนี้ด้วย
    รัสเซียได้เข้ายึดครองหมู่เกาะทางเหนือสุดของเกาะฮอกไกโดมาตั้งแต่ครั้งที่ญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นอ้างว่าหมู่เกาะดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของญี่ปุ่นและได้ดำเนินการทวงคืนเรื่อยมา.- สำนักข่าวไทย

    วันพุธ ที่ 2 มี.ค. 2554


    กองทัพกัดดาฟีรุกกลับเพื่อยึดคืนเมืองทางตะวันออกจากฝ่ายกบฏ

    เบงกาซี 2 มี.ค.- กองกำลังของพ.อ.มูอัมมาร์ กัดดาฟี ได้เข้ายึดเมืองเบรกา ทางตะวันออกของลิเบียซึ่งเป็นสิ่งแรกที่บ่งชี้ว่ากัดดาฟีระดมกำลังโต้กลับเพื่อยึดพื้นที่คืนจากกลุ่มกบฏทางตะวันออกของลิเบีย

    เจ้าหน้าที่ของกองกำลังต่อต้านกัดดาฟี ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองเบรกาประมาณ 75 กิโลเมตร กล่าวกับสำนักข่าวต่างประเทศว่า เมืองเบรกาถูกโจมตีทางอากาศและทหารกัดดาฟีได้เข้ายึดเมือง รายงานนี้ได้รับคำยืนยันจากเจ้าหน้าที่อีก 2 คนในเมืองทางตะวันออก

    ทางด้านสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมของอาหรับ รายงานว่ากองกำลังของกัดดาฟีกำลังเคลื่อนพลเข้าสู่ 2 เมืองทางตะวันออกของลิเบีย ซึ่งแต่เดิมอยู่ในการควบคุมของฝ่ายกบฏ สถานีโทรทัศน์อัล-อราบิยา รายงานว่า มีประชาชน 14 คนถูกสังหารในเมืองมาร์ซา เอล เบรกา ส่วนสถานีโทรทัศน์อัล-จาซีรารายงานอ้างผู้สื่อข่าวว่า ได้ยินเสียงระเบิดที่เขตชานเมืองอัจดาบิยาห์ ซึ่งกองทัพกัดดาฟีกำลังเข้าจู่โจม.-สำนักข่าวไทย

    วันพุธ ที่ 2 มี.ค. 2554


    สันนิบาตอาหรับเตรียมหารือการแทรกแซงทางทหารต่อลิเบีย

    ไคโร 2 มี.ค.-รัฐมนตรีต่างประเทศของชาติสมาชิกสันนิบาตอาหรับเตรียมหารือที่กรุงไคโรในวันนี้ เพื่อพิจารณาร่างมติปฏิเสธกองทัพต่างชาติเข้าแทรกแซงในลิเบีย

    นายอาเหม็ด เบน เฮลลี รองเลขาธิการสันนิบาตอาหรับ กล่าวว่า ผู้แทนถาวรประจำสันนิบาตอาหรับได้เสนอร่างมติดังกล่าวให้รัฐมนตรีต่างประเทศของชาติสมาชิกร่วมกันพิจารณา นอกจากนี้ ยังคาดว่าที่ประชุมจะเน้นย้ำการประณาม พ.อ.มูอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบีย ที่ใช้ความรุนแรงต่อผู้ประท้วง แต่ยังคงเห็นพ้องที่จะต้องเคารพในเอกภาพและบูรณภาพเหนือดินแดนของลิเบีย

    ก่อนหน้านี้ สันนิบาตอาหรับได้ตัดสินใจสั่งพักผู้แทนจากลิเบียเข้าร่วมกิจกรรมของสันนิบาตอาหรับ เพื่อประท้วงรัฐบาลกัดดาฟี ที่ใช้ความรุนแรงต่อประชาชนสร้างความสงบขึ้นในลิเบีย.-สำนักข่าวไทย

    วันพุธ ที่ 2 มี.ค. 2554


    พายุฝุ่นกระหน่ำเมืองไครสต์เชิร์ช

    ไครสต์เชิร์ช 2 มี.ค. - กระแสลมแรงพัดพาฝุ่นละอองกลุ่มใหญ่ปกคลุมเมืองไครสต์เชิร์ชของนิวซีแลนด์ในวันนี้ ขณะที่เจ้าหน้าที่ออกมาปกป้องมาตรฐานการก่อสร้างอาคารในเมือง

    กระแสลมแรงราว 70 กม./ชม. พัดกระหน่ำเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ฉุกเฉินในเมืองไครสต์เชิร์ช ทำให้ปฏิบัติการค้นหาร่างผู้เสียชีวิตต้องหยุดชะงักชั่วคราว โดยกระแสลมแรงได้พัดพาตะกอนและทรายราว 200,000 ตันขึ้นจากพื้น หลังเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงเมื่อวันที่ 22 ก.พ.ที่ผ่านมา ทำให้ทรายแยกตัวออกจากกัน ทำให้คณะค้นหาและกู้ภัยต้องสวมหน้ากากป้องกันเมื่อเข้าไปยังซากปรักหักพังของอาคาร ขณะที่ทั่วประเทศเร่งส่งหน้ากากอนามัยมาให้แก่ประชาชนในเมืองไครสต์เชิร์ช

    นับจนถึงวันนี้ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวเพิ่มเป็น 159 คนแล้ว ขณะที่ตำรวจคาดว่า ยอดผู้เสียชีวิตในท้ายที่สุดอาจสูงกว่า 240 คน โดยเจ้าหน้าที่กู้ภัยยอมรับว่าพวกเขาไม่คิดว่าจะพบผู้รอดชีวิตเพิ่มอีก

    รายงานระบุว่า อาคารในเมืองไครสต์เชิร์ชราว 1 ใน 3 จะต้องถูกรื้อถอน หลังแผ่นดินไหวทำให้อาคารแตกร้าวไม่มั่นคง อาคารสำนักงานสองช่วงตึกพังถล่มลงมาทั้งหมด ในจำนวนดังกล่าวรวมถึงอาคารแคนเทอร์เบอรี่ เทเลวิชั่น หรือซีทีวี ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งคาดว่ามีนักเรียนชาวญี่ปุ่น จีน และประเทศอื่น ๆ กว่า 60 คนเสียชีวิตแล้วในซากอาคารที่พังถล่มลงมา ด้านรัฐบาลนิวซีแลนด์ให้การรับรองต่อญี่ปุ่นและจีนว่า นิวซีแลนด์จะสอบสวนสาเหตุการพังถล่มของอาคารซีทีวี

    นายสตีฟ แมคคาร์ธี ผู้จัดการด้านอาคารของสภาเทศบาลเมืองไครสต์เชิร์ช เปิดเผยว่า แผ่นดินไหวในครั้งนี้ค่อนข้างรุนแรง และนับว่าโชคดีที่อาคารสูงหลังอื่น ๆ ไม่ได้ถล่มลงมา และว่าคณะวิศวกรของเมืองเคยตรวจสอบสภาพภายนอกของอาคารดังกล่าว หลังเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.0 ริกเตอร์ เมื่อเดือน ก.ย.ปีที่แล้ว และได้แจ้งต่อเจ้าของอาคารว่าต้องมีการตรวจสอบโครงสร้างเพิ่มเติม แต่กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องของเจ้าของอาคารที่จะปฏิบัติตามหรือไม่ เขาเชื่อว่ามีการตรวจสอบโครงสร้างจนแล้วเสร็จ แต่สภาเทศบาลฯ ไม่ได้ติดตามผล โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขาดแคลนทรัพยากร. - สำนักข่าวไทย

    วันพุธ ที่ 2 มี.ค. 2554

    เครดิต คุณเกษม http://palungjit.org/threads/ประเทศไทยจะเกิดอุบัติภัยอย่างที่ทำนายกันจริงๆหรือไม่.3906/page-1179
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    องค์กรสิทธิฯคาดยอดตายเซ่นนองเลือดลิเบียทะลุ6,000ศพ!!

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 มีนาคม 2554 04:28 น.

    [​IMG]



    รถของกองกำลังกบฏลิเบียแล่นผ่านผู้สนันสนุนท่ามกลางเสียงโห่ร้องยินดีในเมืองเบรกา ก่อนที่จะถูกเครื่องบินรบสมุนกัดดาฟีโจมตี


    เอเอฟพี - องค์กรสิทธิมนุษยชนลิเบียระบุเมื่อวันพุธ(2) มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 6,000 ราย นับตั้งแต่เหตุจลาจลนองเลือดขับไล่ประธานาธิบดีมูอัมมาร์ กัดดาฟี เริ่มต้นขึ้นเมื่อสองสัปดาห์ก่อน

    "จำนวนเหยื่อทั่วประเทศอยู่ที่ 6,000 ศพ" อาลี เซดัน โฆษกของฮิวแมนไรท์ลีกของลิเบียกล่าว "อย่างไรก็ตามข้อมูลนี้เป็นเพียงตัวเลขที่ชาวบ้านบอกกับเรา และมันน่าจะมากกว่านี้"

    คณะทูตบอกก่อนหน้านี้ว่ามีประชาชนระหว่าง 1,000 ถึง 2,000 คน เสียชีวิตในเหตุความไม่สงบ อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาตัวเลขที่ถูกต้องสืบเนื่องจากสถานการณ์ที่ผันผวน

    ขณะเดียวกันเมื่อวันพุธ(2) มีรายงานว่าเครื่องบินรบของฝ่ายสนับสนุนกัดดาฟี ยิงขีปนาวุธ 2 ลูกตกห่างจากจตุรัสแห่งหนึ่งในเมืองเบรกา ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่กี่นาทีกลุ่มกบฏเพิ่งใช้เฉลิมฉลองเค้ารางแห่งชัยชนะเหนือนักรบฝ่ายรัฐบาล

    การโจมตีครั้งนี้ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต แต่ก่อหลุมขนาดใหญ่สองแห่งบนถนนสายหนึ่งซึ่งอยู่ห่างจากจตุรัสไปเพียง 20 เมตร

    ปฏิบัติการดังกล่าวมีขึ้นไม่นานหลังจากฝ่ายกบฏลิเบียซึ่งควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตะวันออกของประเทศเมื่อวันพุธ(2) เรียกร้องสหประชาชาติออกคำสั่งโจมตีทางอากาศนักรบรับจ้างของกัดดาฟี

    "เราขอเรียกร้องไปยังยูเอ็นหรือองค์กรสากลใดๆที่เกี่ยวข้องสำหรับโจมตีทางอากาศต่อพื้นที่และป้องปราการของนักรบรับจ้าง" โฆษกของฝ่ายกบฏบอกกับผู้สื่อข่าวในเมืองเบนกาซี"

    ทั้งนี้เขาพาดพิงถึงนักรบรับจ้างที่กองกำลังกัดดาฟีเกณฑ์มาจากหลายๆชาติทั้งไนเจอร์ มาลีและเคนยา ในความพยายามยึดคืนการควบคุมหลังจากฝ่ายต่อต้านประธานาธิบดีสามารถควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตะวันออกไว้ได้เกือบหมดแล้ว

    Around the World - Manager Online - ͧ
     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เหตุปะทะ'ลิเบีย'ทำน้ำมันพุ่งต่อ ฉุดหุ้นสหรัฐฯบวกเพียงเล็กน้อย

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 มีนาคม 2554 05:23 น.

    [​IMG]






    เอเอฟพี - ราคาน้ำมันโลกดีดตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อวันพุธ(2) หลังเหตุปะทะระหว่างฝ่ายสนับสนุนและต่อต้านมูอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำเผด็จการแห่งลิเบียก่อความกังวลต่อกระบวนการผลิตน้ำมันในประเทศแห่งนี้ ขณะที่ปัจจัยเชื้อเพลิงแพงก็ฉุดให้วอลล์สตรีท ปิดในแดนบวกเพียงเล็กน้อย

    น้ำมันดิบ เวสต์ เทกซัส อินเตอร์มิเดียต (WTI) ของสหรัฐฯ เพื่อการส่งมอบเดือนเมษายน เพิ่มขึ้น 2.60 ดอลลาร์ ปิดที่ 102.23 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

    ทั้งนี้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว น้ำมันชนิดนี้ซึ่งเรียกอีกอย่างว่าไลต์สวีตครูต ทะยานขึ้นเหนือ 103 ดอลลาร์ สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2008 ขณะที่ช่วง 2 วันที่ผ่านมา สัญญาซื้อขายน้ำมันล่วงหน้าชนิดนี้ขยับขึ้นถึง 5.23 ดอลลาร์เลยทีเดียว

    ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเมษายน เพิ่มขึ้นอีก 93 เซนต์ ปิดที่ 116.35 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

    "ตลาดมีความกังวลอย่างแสนสาหัสและราคายังคงพุ่งขึ้นเรื่อยๆ" ทอม เบนท์ซ นักวิเคราะห์จากบีเอ็นพี พาริบาสกล่าว

    ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯวานนี้(2) ปิดบวกได้เพียงเล็กน้อย เหตุตลาดยังคงอยู่ใต้แรงกดดันของราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นอันจุดชนวนความกังวลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

    ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 8.10 จุด (0.07 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 12,066.04 จุด แนสแดค เพิ่มขึ้น 10.26 จุด (0.37 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 2,747.67 จุด เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 2.10 จุด (0.16 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 1,308.43 จุด

    Around the World - Manager Online -
     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    กัดดาฟีลั่นจะเปิด'สงครามนองเลือด'แม้กองเรือรบUSจ่อคอหอย'ลิเบีย'

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 มีนาคม 2554 22:22 น.


    [​IMG]



    ผู้นำลิเบีย มูอัมมาร์ กัดดาฟี โดยออกมากล่าวปราศรัยวันพุธ(2) จะเปิดฉาก “สงครามที่เลือดนองมากๆ” ซึ่ง “ชาวลิเบียนับหมื่นๆ จะต้องตาย”


    เอเจนซี/เอเอฟพี - ผู้นำลิเบีย มูอัมมาร์ กัดดาฟี ยังคงพยายามปลุกกระแสชาตินิยมเพื่อหวังยืดชีวิตระบอบปกครองของเขา โดยออกมากล่าวปราศรัยวันพุธ(2) เตือนฝ่ายตะวันตกว่าอย่าได้เข้ามาแทรกแซงสนับสนุนการลุกฮือก่อกบฎต่อตัวเขา พร้อมระบุว่า จะเปิดฉาก “สงครามที่เลือดนองมากๆ” ซึ่ง “ชาวลิเบียนับหมื่นๆ จะต้องตาย” การออกโรงของเขาคราวนี้ มีขึ้นในช่วงเวลาไล่เลี่ยกับที่กองกำลังผู้ภักดีต่อกัดดาฟีบุกจู่โจม2 เมืองทางภาคตะวันออกซึ่งถูกพวกกบฏยึดไว้ ขณะที่ทางด้านกองเรือรบของสหรัฐฯ ได้แล่นผ่านคลองสุเอซในวันเดียวกันเพื่อเดินหน้าประชิดลิเบียตามแผนยุทธศาสตร์กดดันผู้นำกัดดาฟีให้ลาออกด้วยกำลังทางทหาร ในขณะที่ชาติมหาอำนาจตะวันตกกำลังถกเครียดหาข้อสรุปที่ยังไม่ลงรอยเกี่ยวกับมาตรการกำหนดให้น่านฟ้าลิเบียเป็นเขตห้ามบิน

    กัดดาฟีออกมาปรากฏตัวต่อสาธารณชนในกรุงตริโปลี โดยห้อมล้อมด้วยกลุ่มผู้สนับสนุนเขาจำนวนมาก ระหว่างพิธีเฉลิมฉลองครบรอบ 34 ปีแห่งอำนาจประชาชนลิเบีย ที่มีการแพร่ภาพสดไปทั่วประเทศผ่านโทรทัศน์ทางการ ผู้นำลิเบียกล่าวสุนทรพจน์ยืนยันว่า พวกลุกฮือก่อความไม่สงบล้วนมาจากนอกประเทศลิเบียทั้งสิ้นและผู้ที่อยู่เบื้องหลังก็คือกลุ่มอัลกออิดะห์ โดยจุดประสงค์คือการเข้าควบคุมดินแดนและน้ำมันของลิเบีย แต่เขาให้คำมั่นสัญญาว่าชาวลิเบียจะต่อสู้จนกระทั่งถึง “ผู้ชายคนสุดท้าย ผู้หญิงคนสุดท้าย”

    พิธีการดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นไม่นานนักหลังจากกลุ่มกบฏโค่นล้มระบอบระบุว่า ทหารกัดดาฟีได้อาศัยขบวนรถถังและปืนใหญ่บุกโจมตีเข้าไปในเมืองมาร์ซา เอล บรีกา ซึ่งเป็นศูนย์ส่งออกน้ำมันแห่งสำคัญ ตั้งอยู่ห่างจากกรุงตริโปลีไปทางตะวันออกราวๆ 800 กิโลเมตร ทางฝ่ายกลุ่มกบฎได้ปะทะกันอย่างดุเดือดกับกองกำลังกัดดาฟีในช่วงค่ำคืนที่ผ่านมา และสามารถขับไล่สมุนกัดดาฟีออกไปได้อีกครั้งตลอดจนยึดเมืองได้ตามเดิม โดยที่ชาวบ้านผู้อยู่ในเหตุการณ์ระบุว่า มีพลเรือนเสียชีวิตไปจากเหตุปะทะคราวนี้ 2 ราย

    นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า ที่เมืองอัจดาบียะห์ ทหารของกัดดาฟียังได้โจมตีทางอากาศโดยเครื่องบินใส่พวกกบฏอีกด้วย

    [​IMG]

    กองเรือรบของสหรัฐฯ ได้แล่นผ่านคลองสุเอซ เดินหน้าประชิดลิเบียตามแผนยุทธศาสตร์กดดันผู้นำกัดดาฟีให้ลาออกด้วยกำลังทางทหาร


    ก่อนหน้านี้ฝ่ายกบฏนักรบได้ออกมาประกาศว่าเวลานี้ฝ่ายตนกำลังได้เปรียบอย่างมาก และแสดงความมั่นใจเต็มเปี่ยมว่าพวกเขาจะได้รับชัยชนะในศึกครั้งนี้อย่างแน่นอน “พวกเราทวีความเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ และเราก็ได้รับอาวุธเพิ่มขึ้นอีก พวกเรากำลังจะจู่โจมด่านตรวจทั้งหลาย” ยูเซฟ ชอกัน โฆษกในเมืองซอวิยะห์ ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากกรุงตริโปลี 50 กิโลเมตร กล่าว

    ส่วนทหารแปรพักตร์คนหนึ่งในเมืองอัจดาบียะห์ ทางภาคตะวันออกของประเทศ ก็บอกว่า กลุ่มกบฏที่ก่อนหน้านี้กระจัดกระจายเป็นหลายพวก ตอนนี้ก็เริ่มที่จะรวมเป็นกลุ่มเป็นก้อนมากขึ้นแล้ว

    “คณะกรรมการทหารปลดแอกลิเบียทุกกลุ่มกำลังอยู่ในระหว่างประชุมหารือเพื่อที่จะจัดตั้งคณะกรรมการทหารชุดใหม่ที่มีโครงสร้างเป็นหนึ่งเดียวขึ้นมาวางแผนสู้ศึกกับหน่วยกองกำลังรักษาความมั่นคง, ทหารและทหารรับจ้างของกัดดาฟี” ร้อยเอก ฟอริส ซวีอิห์ เปิดเผย โดยที่ยังบอกด้วยว่าในเมืองแห่งนี้มีนักรบอาสาสมัครมากกว่า 10,000 คน พร้อมด้วยพวกทหารหนีทัพกัดดาฟี

    นอกจากนี้หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ ของสหรัฐฯ ยังรายงานว่า คณะกรรมการปฏิวัติของพวกกบฏเหล่านี้กำลังอภิปรายกันถึงกรณีที่จะขอให้ชาติตะวันตกเข้าช่วยเหลือโจมตีทางอากาศใส่ฐานที่มั่นอาวุธยุทโธปกรณ์ของกัดดาฟีอีกด้วย

    ทางด้านเรือพิฆาตยูเอสเอส แบร์รี ของสหรัฐฯ ซึ่งเข้าสู่คลองสุเอซเมื่อวันจันทร์ (28 ก.พ.) ได้เคลื่อนออกสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนแล้วเมื่อวันพุธ (2) เพื่อไปจังก้ากดดันลิเบียแบบชนิดหายใจรดต้นคอ ขณะที่เรือโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก 2 ลำ ซึ่งก่อนหน้านี้ป้วนเปี้ยนอยู่ในทะเลแดง อันประกอบด้วย ยูเอสเอส เกียร์ซาร์จซึ่งทุกทหารนาวิกโยธินราว 800 คน พร้อมฝูงเฮลิคอปเตอร์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ครบครัน และเรือยูเอสเอส ปอนซ์ ก็ได้เข้าสู่คลองสุเอซในวันเดียวกันเพื่อตามไปสมทบกับเรือพิฆาตข้างต้น นอกจากนี้เรือบรรทุกเครื่องบินยูเอสเอส เอนเตอร์ไพรซ์ พร้อมด้วยฝูงบินขับไล่ที่ประจำการบนนั้น ก็สแตนบายรอฟังคำสั่งอย่างใกล้ชิดอยู่ในบริเวณเขตน่านน้ำตอนเหนือของทะเลแดง

    [​IMG]

    กองกำลังฝ่ายกบฏเตรียมพร้อมสำหรับสู้รบกับทหารฝ่ายภักดีต่อกัดดาฟี


    รัฐบาลวอชิงตันเตือนว่า ลิเบียกำลังยืนอยู่บนทางสองแพร่งที่ต้องเลือกระหว่างการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยอย่างสันติหรือไม่ก็สงครามกลางเมือง โดยที่ลิเบียนั้นอาจจมดิ่งอยู่ในห้วงแห่งสงครามนองเลือดเช่นนี้ไม่รู้จักจบสิ้นหากกัดดาฟียังดื้อดึงไม่ยอมก้าวลงจากเก้าอี้ ท่ามกลางความหวาดวิตกจากนานาประเทศว่าเหตุการณ์ความไม่สงบคราวนี้จะนำไปสู่วิกฤตด้านมนุษยธรรมที่ร้ายแรงยิ่งขึ้นไปอีก

    “ลิเบียอาจกลายเป็นประเทศระบอบประชาธิปไตยที่สันติ หรือไม่ก็เผชิญกับศึกสงครามการเมืองที่ยืดเยื้อไม่รู้จบ” รัฐมนตรีการต่างประเทศ ฮิลลารี คลินตัน ของสหรัฐฯ กล่าวต่อบรรดาสมาชิกรัฐสภาอเมริกัน

    ด้านนายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ของอังกฤษ ซึ่งเป็นตัวตั้งตัวตีในการเชิญชวนให้นานาชาติร่วมกันกำหนดบังคับให้น่านฟ้าลิเบียเป็นเขตปลอดการบินเพื่อป้องกันไม่ให้กัดดาฟีสามารถใช้เครื่องบินรบ หรือเฮลิคอปเตอร์บอมบ์ใส่พลเรือนได้อีก ก็ได้ระบุว่า เขตห้ามบินดังกล่าวสามารถประกาศใช้ได้โดยที่ไม่ต้องรอผ่านการอนุมติจากองค์การสหประชาชาติ แต่กระนั้นก็ตาม อแลง ชูปเป รัฐมนตรีการต่างประเทศใหม่ถอดด้ามของฝรั่งเศส ได้ออกมาคัดค้านปฏิเสธ โดยไม่เห็นด้วยกับการใช้มาตรการทางทหารใดๆ ที่ปราศจากมติเห็นชอบจากยูเอ็นเสียก่อน นอกจากนี้รัสเซีย ขาใหญ่ในคณะมนตรีความมั่นคงก็ยังมีท่าทีลังเลอีกด้วย

    Around the World - Manager Online -
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วิกฤตลิเบียทำราคาทองพุ่งทุบสถิติ2วันติดต่อกัน

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 มีนาคม 2554 23:23 น.

    [​IMG]


    เอเอฟพี - ราคาทองพุ่งทำสิถติสูงสุดเป็นประวัติกาลสองวันติดต่อกันเมื่อวันพุธ(2) หลังได้ตัวขับเคลื่อนจากแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความไม่สงบในลิเบีย และดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่นๆ

    ราคาทองคำในตลาดลอนดอน พุ่งขึ้นไปแตะ 1,436.80 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ณ เวลา 13.30 จีเอ็มที ทุบสถิติเดิม 1,434.93 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ที่เพิ่งทำไว้เมื่อวันอังคาร(1)
    ขณะเดียวกันเงินก็ขยับขึ้นไปที่ 34.88 ดอลลาร์ต่อออนซ์ นับเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 30 ปีเลยทีเดียว

    "ราคาทองคำทำสถิติใหม่อีกครั้งในวันนี้ ขณะที่ปัจจัยความเสี่ยงเข้าปกคลุมตลาด โดยดูเหมือนว่า ลิเบีย กำลังดำดิ่งเข้าสู่สงครามกลางเมือง" เอียน โอซุลลิแวน นักวิเคราะห์จากสปรีด โค.กล่าว

    "นอกจากนี้ดอลลาร์ที่อ่อนค่าและอุปสงค์สำหรับแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยที่ไม่ปกติจากสถานการณ์ในตะวันออกกลางและความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อ ก็ช่วยผลักให้ราคาทองพุ่งสูงขึ้นด้วย" เขากล่าว "ขณะที่ราคาเงินก็ทำสถิติสูงสุดในรอบ 30 ปี จากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ"

    Around the World - Manager Online -
     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    กัดดาฟีกล่าวต่อผู้สนับสนุน ไม่มี “อำนาจที่แท้จริง” ในมือ

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 มีนาคม 2554 20:20 น.

    [​IMG]




    ภาพจากสถานีโทรทัศน์ลิเบีย มูอัมมาร์ กัดดาฟีได้กล่าวปราศรัยต่อผู้สนับสนุน วันนี้ (2)




    [​IMG]

    พ.อ.มูอัมมาร์ กัดดาฟี


    เอเอฟพี - พ.อ.มูอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำจอมเผด็จการ กล่าวย้ำระหว่างปราศรัยในพิธีรำลึกปีที่ 34 ของคณะกรรมการประชาชนลิเบีย ณ กรุงตริโปลี วันนี้ (2) ว่า เขาไม่ได้ครอบครองอำนาจที่แท้จริง ขณะที่ฝ่ายกบฏสามารถป้องกันเมืองเบรกา และขับไล่กองกำลังของกัดดาฟี ที่พยายามบุกยึดคืนเมือง

    “โลกต้องทำความเข้าใจข้อเท็จจริง ว่า ไม่มีตำแหน่งประธานาธิบดี กษัตริย์ หรือผู้นำในระบอบปกครองของลิเบีย” มูอัมมาร์ กัดดาฟี ปราศรัยต่อกลุ่มผู้สนับสนุนจำนวนมากในวันครบรอบ 34 ปี ของการก่อตั้งคณะกรรมการประชาชนลิเบีย

    ทั้งนี้ มีการถ่ายทอดสดการปราศรัยดังกล่าวผ่านทางสถานีโทรทัศน์ลิเบีย ไม่นานหลังจากกลุ่มกบฏ เปิดเผยว่า ได้ขับไล่กองกำลังของกัดดาฟี ที่บุกเข้าไปยังเมืองเบรกา ทางตะวันออกของลิเบีย วันนี้ โดยพยานให้ข้อมูลว่า มีพลเรือนเสียชีวิตไป 2 คน

    พิธีดังกล่าวเป็นการรำลึกถึงวันครบรอบการก่อตั้ง “คณะกรรมการประชาชน” ซึ่งกัดดาฟีอ้างเป็นผู้มีอำนาจที่แท้จริง ข้อมูลจากสถานีโทรทัศนลิเบีย ระบุ

    กัดดาฟี กล่าวสุนทรพจน์ด้วยข้อความที่ตระเตรียมมาในกระดาษ คำปราศรัยของเขาต้องหยุดเป็นช่วงๆ เนื่องจากเสียงโห่ร้องชื่นชมในตัวผู้นำลิเบียคนนี้

    กัดดาฟี กล่าวว่า “ประชาชนชาวลิเบียเรียกร้อง ... ทั้งๆ ที่ มูอัมมาร์ กัดดาฟี คนนี้ไม่มีอำนาจ” อนึ่ง เขาขึ้นครองอำนาจในลิเบีย หลังการปฏิวัติเมื่อปี 1969

    “เมื่อคณะกรรมการประชาชนประกาศอะไรออกมา สิ่งนั้นย่อมกลายเป็นกฎหมาย และมีผลบังคับใช้ต่อชาวลิเบียทุกคน ไม่มีใครสามารถประกาศสงคราม หรือ สันติภาพ หากคณะกรรมการประชาชนยังไม่ได้พิจารณา” กัดดาฟี กล่าว

    “มูอัมมาร์ไม่มีอำนาจที่แท้จริงที่จะประกาศยอมแพ้ได้”

    การโจมตีกลุ่มกบฏของกองกำลังกัดดาฟีวันนี้ เป็นหนึ่งในการตอบโต้ครั้งใหญ่ที่สุด ตั้งแต่ประชาชนลุกฮือขึ้นต่อต้านระบอบการปกครองเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์

    ฝ่ายต่อต้านกัดดาฟี สามารถยึดเมืองต่างๆ แทบทุกแห่งทางฝั่งตะวันออกของประเทศ ตั้งแต่เริ่มการปฏิวัติ และอาจมีความเป็นไปได้ที่กลุ่มกบฏจะเดินหน้าตั้งรัฐบาลขึ้นปกครองตนเอง ทว่า ขณะเดียวกัน ยังคงต้องระวังการบุกยึดเมืองคืนของกองกำลังกัดดาฟี

    พ.อ.มูอัมมาร์ กัดดาฟี ยังตั้งมั่นอยู่ในกรุงตริโปลี เมืองหลวงของลิเบีย ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศเศรษฐีน้ำมันแห่งนี้

    [​IMG]

    วันนี้ (2) กลุ่มกบฏสามารถป้องกันเมืองเบรกา และขับไล่กองกำลังของกัดดาฟี ที่บุกตีเมืองที่ถูกฝ่ายต่อต้านยึดครอง

    Around the World - Manager Online -
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อิหร่านเตือน “ชาติตะวันตก” อาจเปลี่ยนลิเบียเป็นฐานทัพทหาร

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 มีนาคม 2554 17:54 น.

    [​IMG]




    รามิน เมห์มันปารัสต์ โฆษกกระทรวงต่างประเทศอิหร่าน


    เอเอฟพี - อิหร่านออกโรงเตือนชาติตะวันตก อย่าเลือกวิธีใช้กำลังทหารบีบ มูอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบีย ให้ออกจากตำแหน่ง มิเช่นนั้นลิเบียทั้งประเทศอาจกลายเป็นฐานทัพของทหารโลกตะวันตก

    แม้ว่า รามิน เมห์มันปารัสต์ โฆษกกระทรวงต่างประเทศอิหร่าน ได้ร่วมประณาม “การใช้ความรุนแรงอย่างไร้มนุษยธรรม” เข่นฆ่าประชาชนผู้รวมตัวเคลื่อนไหวขับไล่ผู้นำจอมเผด็จการ แต่เขาได้สำทับว่า “นั่นไม่ใช่ข้ออ้างให้ประเทศอื่นส่งทหารเข้าไปแทรกแซงลิเบีย”

    “พวกเขา (ชาติตะวันตก) ไม่ควรเข้าไปเปลี่ยนประเทศอื่นๆ ให้กลายเป็นฐานทัพทหารของตัวเอง” เว็บไซต์เพรสทีวี ภาคภาษาอังกฤษของอิหร่านรายงานคำกล่าวของโฆษก เมห์มันปารัสต์ วานนี้ (1)

    การแสดงความคิดเห็นของ รามิน เมห์มันปารัสต์ เกิดขึ้นหลังจากมีรายงานว่า ชาติตะวันตก ซึ่งรวมทั้งสหรัฐฯ กำลังประเมินสถานการณ์การใช้กำลังทหารเข้าโค่นล้ม พ.อ.มูอัมมาร์ กัดดาฟี อย่างไรก็ตาม การแทรกแซงทางทหารดังกล่าวมีท่าทีอ่อนลงวันนี้ (2) เมื่อ โรเบิร์ต เกตส์ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ออกมาเปิดเผยว่า “เสียงในนาโตยังไม่เป็นเอกฉันท์ให้ใช้กำลังทหารบุกเข้ากอบกู้ลิเบีย”

    “เรายังต้องตระหนักถึงการใช้กำลังทหารสหรัฐฯ ในประเทศอื่นๆ ของตะวันออกกลางด้วย” โรเบิร์ต เกตส์ กล่าว

    แม้ว่า กำลังทหารสหรัฐฯ และนาโตจะมีมากกว่ากองกำลังของกัดดาฟีมากมายเหลือคณานับ แต่รัฐบาลลิเบียยังคงครอบครองขีปนาวุธต่อสู้อากาศยานจำนวนมาก ซึ่งสามารถต่อกรกับเครื่องบินรบทุกลำที่รุกรานประเทศได้

    ขณะนี้มีประชาชนมากกว่า 100,000 คน อพยพลี้ภัยการปราบปรามผู้ประท้วงของกลุ่มผู้ภักดีต่อกัดดาฟี ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1,000 รายแล้ว ข้อมูลจากการประเมินของยูเอ็นระบุ

    การปฏิวัติต่อต้านระบอบกัดดาฟี ซึ่งปกครองลิเบียมา 41 ปี เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างความโกรธแค้นที่ประชาชนมีต่อผู้นำเผด็จการในโลกอาหรับ ซึ่งกำลังขจรขจายไปทั่วตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ รวมทั้งประเทศบริเวณอ่าวเปอร์เชียอย่าง คูเวต และ โอมาน อยู่ในขณะนี้

    การลุกฮือของประชาชนขึ้นขับไล่ผู้นำเป็นเปลวเพลิงที่พัดโหมมาจากตูนิเซีย และอียิปต์ ซึ่งประธานาธิบดีจอมเผด็จการล้วนต้องลงจากอำนาจด้วยพลังของประชาชน

    Around the World - Manager Online -
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    รัฐมนตรีอิตาลีเตือน 1.5 ล้าน แห่อพยพออกจาก “ลิเบีย”

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 มีนาคม 2554 17:26 น.

    [​IMG]



    โรแบร์โต มาโรนี รมว.มหาดไทยอิตาลี


    เอเอฟพี - โรแบร์โต มาโรนี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอิตาลี กล่าวเตือนซ้ำในวันนี้ (2) ว่า ผู้อพยพลิเบียราว 1.5 ล้านคน อาจกำลังมุ่งหน้ามายังอิตาลี

    “ลิเบียมีผู้อพยพผิดกฎหมายประมาณ 1.5 ล้านคน ซึ่งขณะนี้พวกเขากำลังหนีความวุ่นวายไปยังตูนิเซียและอียิปต์ ผมเชื่อว่า ในอนาคตพวกเขาจะเดินทางขึ้นเหนือมายังอิตาลี” มาโรนี แถลงต่อรัฐสภา

    มาโรนี เสริมว่า ชายแดนลิเบียในขณะนี้ไม่มีตำรวจคอยตรวจตราผู้อพยพ

    องค์การสหประชาชาติ เปิดเผยว่า ผู้อพยพกว่า 100,000 คน ได้เดินทางออกจากลิเบียแล้ว เพื่อหลบหนีการปรามปราบผู้ประท้วงโดยทหารผู้ภักดีต่อ กัดดาฟี ซึ่งสังหารประชาชนไปแล้วกว่า 1,000 คน

    มาโรนี ซึ่งสังกัดพรรค นอร์เทิร์น ลีก ที่สนับสนุนนโยบายประชานิยมและต่อต้านผู้อพยพ เคยอ้างตัวเลขผู้ลี้ภัย 1.5 ล้านคน ระหว่างการประชุมร่วมกับรัฐมนตรีมหาดไทยของสหภาพยุโรปที่กรุงบรัสเซลส์ เมื่อสัปดาห์ก่อน

    อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีบางประเทศยังคงคลางแคลงกับคำเตือนของ มาโรนี ที่ว่า จะมีผู้อพยพหลั่งไหลมาจากแอฟริกาเป็นจำนวนมาก

    “เวลานี้ยังไม่มีคลื่นผู้อพยพมากมายขนาดนั้น กรุณาอย่ายั่วยุด้วยการพูดถึงมันเลย” โทมัส เด ไมเซียร์ รัฐมนตรีมหาดไทยเยอรมนี กล่าวขณะร่วมประชุม

    นอกจากนี้ ฟรอนเท็กซ์ ซึ่งเป็นหน่วยงานจัดการชายแดนของสหภาพยุโรป ยังแย้งว่า จำนวนผู้อพยพลดลงเหลือเพียงไม่มากแล้ว

    “ขณะนี้การอพยพยังไม่เริ่มต้นอีกก็จริง แต่ทุกอย่างก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในลิเบียว่าจะคลี่คลายหรือไม่ ซึ่งก็ยังเป็นปัญหาอยู่” มาโรนี กล่าวกับผู้แทนของอิตาลีวันนี้ (2)

    คลื่นผู้อพยพจากแอฟริกาทยอยเดินทางเข้ามายังอิตาลี ตั้งแต่เกิดการประท้วงขับไล่ประธานาธิบดี ซิเน เอล อาบิดีน เบน อาลี ในตูนิเซียเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ติดตามมาด้วยการลุกฮือในอียิปต์ที่ส่งผลให้อำนาจกว่าทศวรรษของ ฮอสนี มูบารัค ต้องสิ้นสุดลง

    อิตาลีต้องรองรับผู้อพยพจากตูนิเซียแล้วไม่ต่ำกว่า 6,000 คน ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา

    Around the World - Manager Online -
     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    US เตรียมส่งเรือรบเข้า “เมดิเตอร์เรเนียน” อ้างช่วยยุโรปป้องกัน “มิสไซล์อิหร่าน”

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 มีนาคม 2554 15:50 น.


    [​IMG]



    เรือยูเอสเอส มอนเตร์เรย์ เตรียมประกาศศักดาในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เพื่อป้องกันขีปนาวุธจากอิหร่าน ตามคำกล่าวอ้างของกองทัพสหรัฐฯ





    เอเอฟพี - กองทัพสหรัฐฯ เตรียมส่งเรือรบเข้าประจำการยังน่านน้ำเมดิเตอร์เรเนียนในสัปดาห์หน้า ตามขั้นตอนอันดับแรกในการเสริมความมั่นคงให้ภาคพื้นยุโรป ด้วยการป้องกันขีปนาวุธจากอิหร่าน เจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เปิดเผยวานนี้ (1)

    เรือยูเอสเอส มอนเตร์เรย์ เป็นเรือตรวจการณ์ติดอาวุธนำวิถี ซึ่งมีระบบเรดาร์เอจิสที่ออกแบบมาเพื่อตรวจจับขีปนาวุธนำวิถีโดยเฉพาะ เรือรบอเมริกันลำนี้มีกำหนดเดินทางออกจากท่าในเมืองนอร์ฟอล์ก รัฐเวอร์จิเนีย สัปดาห์หน้า เพื่อปฏิบัติภารกิจในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นเวลา 6 เดือน จอห์น พลัมบ์ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายการป้องกันนิวเคลียร์และขีปนาวุธ สหรัฐฯ กล่าว

    ภารกิจของเรือยูเอสเอส มอนเตร์เรย์ เป็นไปตามเป้าประสงค์ของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ต้องการส่งยุทโธปกรณ์เข้าประจำการ เพื่อเป็นเกราะป้องกันยุโรปในปี 2011 ทั้งนี้ ประธานาธิบดี บารัค โอบามา เคยประกาศยุทธศาสตร์ป้องกันขีปนาวุธฉบับใหม่เมื่อปี 2009 ผอ.จอห์น พลัมบ์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “ขณะนี้ สหรัฐฯ ได้แสดงออกอย่างเป็นรูปธรรมถึงพันธกรณีในการช่วยป้องกันขีปนาวุธให้กับกำลังทหารของเราที่ประจำการอยู่ประเทศต่างๆ ประเทศพันธมิตร รวมทั้งมิตรประเทศในยุโรป … เราเคยบอกว่าเราจะทำ และตอนนี้เราทำแล้ว”

    เรือตรวจการณ์ชั้นติคอนเดอโรกาลำนี้จะได้ซ้อมรบกับกำลังทหารสหรัฐฯ ในภาคพื้นยุโรป และร่วมลาดตระเวนกับเรือลำอื่นๆ เพื่อสนับสนุนแผนการป้องกันขีปนาวุธนำวิถี

    พันธมิตรของนาโตได้ลงนามรับรองมาตรการป้องกันมิสไซล์ฉบับนี้ ระหว่างการประชุมในกรุงลิสบอนเมื่อปีที่แล้ว ทว่ายังมีผู้ตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพของระบบป้องกันขีปนาวุธนี้ รัสเซียก็เป็นอีกชาติหนึ่ง ที่คัดค้านแผนการของสหรัฐฯ โดยต่อไปในอนาคตยังจะมีการสร้างสถานีเรดาร์ภาคพื้นดิน รวมทั้งการติดตั้งระบบป้องกันมิสไซล์บนเรือรบระบบเอจิสเหล่านั้น

    จอห์น พลัมบ์ อธิบายต่อไปว่า สหรัฐฯ ยังมีแผนสร้างสถานีเรดาร์ภาคพื้นดินอีกหลายแห่งในยุโรปใต้ภายในปีนี้ โดยขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการเจรจา ทว่าเขาไม่ได้ระบุถึงประเทศที่อาจเป็นสถานที่ตั้งของเรดาร์ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ตามแผนของกองทัพพญาอินทรี จะดำเนินการติดตั้งระบบสกัดขีปนาวุธ เอสเอ็ม-3 ในโรมาเนียภายในปี 2015 และในโปแลนด์ภายในปี 2018 ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำมากยิ่งขึ้นในอนาคต

    รัฐบาลโอบามา ระบุว่า มาตรการป้องกันขีปนาวุธดังกล่าวเป็นผลมาจากท่าทีคุกคามของอิหร่าน ทั้งจากโครงการพัฒนานิวเคลียร์ และการครอบครองขีปนาวุธพิสัยปานกลางที่กำลังเพิ่มมากขึ้น

    Around the World - Manager Online - US
     
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    น้ำมันพืชในไทยขาดแคลน เวียงจันทน์ราคาพุ่ง 50%

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 มีนาคม 2554 21:11 น.


    [​IMG]




    ภาพแฟ้มวันที่ 31 มี.ค.2551 ร้านเฝอริมทางเท้าแห่งหนึ่งที่สี่แยกถนนตลาดเช้า-ธาตดำ นครเวียงจันทน์ ลูกค้าเริ่มบางตาในยามสาย น้ำมันพืชซึ่งเป็นสินค้านำเข้าจากไทยราคาปรับตัวขึ้นถึง 50% ในนครเวียงจันทน์ หลังจากในไทยประสบปัญหาเรื่องนี้ได้ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านเดิอดร้อนไปด้วย.--ภาพ: ASTVผู้จัดการออนไลน์.



    ASTVผู้จัดการออนไลน์-- ราคาน้ำมันพืชในตลาดเวียงจันทน์พุ่งขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ หลังจากไทย ประสบปัญหา สิ่งนี้เกิดขึ้นควบคู่กับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวขึ้นสัปดาห์ที่แล้ว ทำให้น่าวิตกว่าราคาสินค้าอุปโภคบริโภคชนิดอื่นๆ ปรับตัวขึ้นตามไปด้วยสื่อของทางการกล่าว

    ราคาน้ำมันพืชมีปัญหาในขณะนี้เนื่องจาก "ประเทศผู้ส่งออกกำลังประสบปัญหาน้ำมันพืชขาดตลาด ซึ่งส่งผลกระทบต่อบ้านเราที่เป็นประเทศนำเข้า" หนังสือพิมพ์เศรษฐกิจ-สังคมกล่าว

    สำรวจจากแม่ค้าในตลาดทุ่งขันคำในนครเวียงจันทน์ได้พบว่า ราคาจำหน่ายปลีกน้ำมันพืช พุ่งขึ้นเป็น 16, 000-19,000 กีบต่อลิตร (60-71 บาท) หรือแพงขึ้นประมาณครึ่งหนึ่งของราคาเมื่อประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา แม่ค้ารายหนึ่งบอกว่าราคาสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ลูกค้าหายหน้าไปและยอดขายก็ลดลงมาก ส่วนหนึ่งลดปริมาณซื้อลง

    ขณะเดียวกันบริษัทน้ำมันเชื้อไฟลาวได้ปรับราคาจำหน่ายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นอีกในวันที่ 25 ก.พ.ที่ผ่านมา ทำให้หลายฝ่ายวิตกว่าราคาน้ำมันพืชและน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นทุนการผลิตจะทำให้ราคาสินค้าชนิดอื่นๆ พุ่งขึ้นตาม เศรษฐกิจ-สังคมกล่าว

    ปัจจุบันราคาจำหน่ายปลีกน้ำมันเบนซินในบางแขวง (จังหวัด) พุ่งขึ้นเป็น 10,000 กีบ (37.50 บาท) ต่อลิตร และ ดีเซล 9,000 กีบ (33.6 บาท)

    ปีที่แล้วลาวเผชิญกับเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นในอัตราสูงอย่างเป็นประวัติการณ์ ตามรายงานของสื่อทางการเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นสูงสุดถึง 8.14% ในเดือน ก.ย.2553

    ธนาคารพัฒนาเอเชียออกรายงานในเดือน ม.ค.ปีนี้ เตือนรัฐบาลลาวให้ระวังภัยเงินเฟ้อ ขณะที่คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวประมาณ 7.5% ในปี 2554 นี้ เงินเฟ้อเฉลี่ยตลอดทั้งปีอาจขยับขึ้นเป็น 6% จาก 5.6% เมื่อปีที่แล้ว เนื่องจากราคานำมัน ราคาอาหาร สินค้าและบริการต่างๆ ที่จะเพิ่มสูงขึ้น.

    IndoChina - Manager Online -
     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ภาคใต้แล้งทำชาวลาวหลายพันคนหางานในประเทศเพื่อนบ้าน

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 มีนาคม 2554 17:41 น.


    [​IMG]

    ภาพแฟ้มวันที่ 27 มีนาคม 2553 เด็กชายนั่งอยู่บนผืนดินแห้งแล้งระหว่างรอพ่อจับปลาในแอ่งน้ำ ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งชานนครหลวงเวียงจันทน์ ทางการแขวงจำปาสักระบุว่า ในปีนี้ ภาคใต้เข้าสู่ฤดูแล้งเร็วขึ้นทำให้ชาวลาวหลายพันคนต้องเดินทางไปหางานในประเทศเพื่อนบ้าน -- AFP PHOTO/HOANG DINH Nam



    ซินหัว - สื่อท้องถิ่นของลาว รายงานว่า เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งในภาคใต้ของลาว ส่งผลให้ชาวลาวจำนวนหลายพันคนต้องเดินทางไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้านปีนี้ หลังขาดแคลนข้าวและน้ำสำหรับใช้ในการเกษตรนานหลายเดือน

    หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ไทม์ส ระบุว่า ชาวลาวกว่า 3,400 คน จากแขวงจำปาสัก เดินทางไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน และมีเพียง 600 คนจากทั้งหมดที่ทำงานอย่างถูกกฎหมายในไทย

    นายสวนมะนี แก้วเวียงสมัย รองหัวหน้าสำนักงานอำเภอมูลปาโมกข์ (Mounlapamok) แขวงจำปาสัก กล่าวว่า แรงงานส่วนใหญ่ไม่มีทางเลือกจึงต้องทำงานในต่างประเทศช่วงขาดแคลนข้าว และไม่สามารถผลิตพืชผลอื่นๆ เลี้ยงครอบครัวได้เพียงพอ และชาวลาวมากกว่า 2,400 ครอบครัว จาก 36 หมู่บ้านของอำเภอ จะขาดแคลนข้าวในปี 2554 นี้ บางครอบครัวมีข้าวเพียงพอแค่ 9 เดือน ขณะที่บางครอบครัวอาจหมดหลังผ่านไป 6 หรือเพียงแค่ 3 เดือนเท่านั้น

    อำเภอมูลปาโมกข์ เป็นอำเภอหนึ่งใน 10 อำเภอของแขวงจำปาสัก มีพรมแดนติดกับจังหวัดสตึงเตร็งของกัมพูชา และจังหวัดอุบลราชธานีของไทย มีประชาชนอาศัยอยู่เกือบ 34,000 คน จากทั้งหมด 36 หมู่บ้าน

    IndoChina - Manager Online -
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 3 มีนาคม 2554 01:00
    กาแฟดำ
    กัดดาฟีจะไปอย่างไร?

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    โลกตะวันตกนำโดยสหรัฐ จะต้องเข้าแทรกแซงลิเบียทางทหารหรือไม่ หากกัดดาฟียังเข่นฆ่าประชาชนของตนต่อเนื่อง?
    กัดดาฟีจะอยู่หรือไป? ถ้าอยู่จะอยู่อย่างไรและถ้าไปจะไปในลักษณะไหน?
    เกือบจะฟันธงได้เลยว่ากัดดาฟี อยู่ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว ส่วนจะไปเมื่อไหร่ และไปอย่างไรนั้น อยู่ที่ความ “อึด” ของเจ้าตัว และวิธีการกดดันของโลกตะวันตกที่กำลังโดดเดี่ยวเขารอบด้าน
    อเมริกาสลับกำลังทางทะเล และอากาศรอบๆ ลิเบียแล้ว
    อังกฤษเตรียมเสนอให้น่านฟ้าเหนือลิเบียเป็น "เขตห้ามบิน" เพื่อป้องกันไม่ให้กัดดาฟี ส่งเฮลิคอปเตอร์ ติดอาวุธขึ้นกราดยิงผู้ประท้วง
    ฝรั่งเศส ส่งเครื่องบินสองลำขนยา และอาหารไปให้ฝ่ายต่อต้านที่เมืองเบงกาซี อันเป็นฐานที่มั่นของฝ่ายที่ต้องการโค่นกัดดาฟี
    ถึงขั้นที่เรียกว่าเป็น "เขตปลดแอก" แล้ว
    อิตาลี บอกยกเลิกสัญญาที่เซ็นมาแล้วสองปีกับกัดดาฟี ที่ระบุว่าอิตาลีจะไม่คุกคามหรือยอมให้ประเทศอื่นใช้ดินแดนอิตาลีเพื่อรุกรานลิเบียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
    เพราะอิตาลีรู้ว่าอาจจะมีความจำเป็นในอนาคตอันใกล้ ที่ตนต้องยอมให้สหประชาชาติใช้เป็นทางผ่านเพื่อปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อกัดดาฟี
    นายกฯ อังกฤษ เดวิด เคมารอน ถึงกับบอกว่าหากสถานการณ์เสื่อมทรามลงจริงๆ อาจมีความจำเป็นที่จะต้องส่งอาวุธให้ฝ่ายขบถ เพื่อสู้กับกองกำลังของกัดดาฟีด้วยซ้ำไป
    ผู้นำสมาชิก 27 ชาติของสหภาพยุโรปเตรียมประชุมฉุกเฉินกรณีลิเบียแล้ว หลังจากที่คณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติมีมติ 15 ต่อ 0 ให้คว่ำบาตรรัฐบาลของกัดดาฟี ที่ใช้ความโหดเหี้ยมในการจัดการกับผู้ต่อต้านรัฐบาล ทั้งๆ ที่ตัวเองอยู่ในอำนาจเบ็ดเสร็จมาแล้ว 42 ปี
    กัดดาฟี ยังอยู่ในโลกแห่งความฝันของตัวเอง เพราะอ้างกับนักข่าวต่างชาติวันก่อน ว่าประชาชนยังรักเขาและพร้อมที่จะตายเพื่อปกป้องเขา เพราะพวกประท้วงนั้นคือ "วัยรุ่นที่ถูก 'อัลไกดา' มอมยา"
    คณะมนตรีความมั่นคงจะมีมติส่งกองกำลังทหารสหประชาชาติเข้าสกัดกั้นการฆ่าล้างโคตรของกัดดาฟีหรือไม่?
    คำตอบคือไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะจีนกับรัสเซีย ตั้งท่าว่าจะคัดค้าน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น มะกันกับอังกฤษก็อาจจะจับมือตั้งเป็นพันธมิตรร่วมใจ ที่จะอาสาเข้าไปปกป้องชีวิตของผู้ถูกปราบปราม ด้วยเหตุผลทางด้านมนุษยธรรม
    ชาติตะวันตกอาจจะใช้ NATO หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ เป็นเกราะนำพลเข้าลิเบีย ในนามของการช่วยเหลือเหยื่อของการเข่นฆ่าอย่างรุนแรงครั้งนี้
    กัดดาฟี ได้ประกาศ "สู้ตาย" และมีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูง ที่เขาจะปักหลักพลีชีพอยู่ในฐานทางทหารของตัวเอง เพราะหนีออกนอกไปลี้ภัยต่างประเทศค่อนข้างยาก และอุปนิสัยเป็นลักษณะยอมตายดีกว่าแพ้
    กระทรวงการคลังของสหรัฐ ได้สั่งอายัดทรัพย์สินของรัฐบาลลิเบีย ในอเมริกาแล้ว มูลค่าสูงถึง 30,000 ล้านดอลลาร์ (หรือเกือบหนึ่งล้านล้านบาท)
    สะท้อนว่าโลกตะวันตกทั้งโดดเดี่ยวและตัดท่อน้ำเลี้ยงกัดดาฟีแล้วทุกวิถีทาง
    หนทางของกัดดาฟีกำลังตีบตัน เขาประกาศว่าจะสู้จดเลือดหยาดสุดท้าย ประเด็นคือเลือดหยาดสุดท้ายของเขาหรือของประชาชนกันแน่?
    <!-- Tags Keyword -->
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 3 มีนาคม 2554 01:00
    ความไม่สงบทางการเมืองในภูมิภาคแอฟริกาเหนือ/ตะวันออกกลาง

    โดย : ดร.อาภรณ์ ชีวะเกรียงไกร

    เศรษฐกิจโลกที่กำลังฟื้นตัวไปด้วยดีในปีนี้กำลังเผชิญหน้ากับปัจจัยเสี่ยงใหม่ ที่เพิ่งเกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์นี้เอง

    อันเกิดจากเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมืองในทวีปแอฟริกา มีการประท้วงเรียกร้องของประชาชนให้มีการเปลี่ยนแปลงผู้นำรัฐบาล เริ่มตั้งแต่ประเทศตูนิเซีย และนำไปสู่ประเทศที่ใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา คือ อียิปต์ ประธานาธิบดี ฮอสนี มูบารัก ที่ปกครองประเทศมายาวนานกว่า 30 ปี ในขั้นแรกไม่ยอมลงจากอำนาจ และมีการใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงจนมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากที่จบลง ด้วยการที่ประธานาธิบดียอมออกจากตำแหน่ง เรียกกันว่าการปฏิวัติดอกมะลิ และสถานการณ์ได้ลุกลามไปสู่ประเทศลิเบีย ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ พันเอกกัดดาฟี ที่ปกครองลิเบียมายาวนานกว่า 40 ปี ถูกประชาชนลุกขึ้นขับไล่ แต่ด้วยความที่อยู่ในอำนาจมายาวนานที่มีฐานอำนาจแผ่กระจายถึงครอบครัวและพรรคพวก จึงทำให้ยังไม่ยอมที่จะสละอำนาจที่มีอยู่และยังใช้กำลังเข้าปราบปรามประชาชนที่มีผู้คนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก

    สหประชาชาติและประเทศมหาอำนาจตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ เริ่มมีมาตรการในการคว่ำบาตรผู้นำของลิเบีย นับตั้งแต่การยึดทรัพย์สินของผู้นำและสมาชิกในครอบครัว ซึ่งถ้าหากสถานการณ์ความรุนแรงยังไม่ยุติ ก็อาจจะถึงขั้นต้องมีการใช้กองกำลังนานาชาติเข้าระงับเหตุความรุนแรงนี้ได้เช่นที่เคยดำเนินการในคดีของอิรัก ซึ่งเหตุความไม่สงบทางการเมืองได้ขยายตัวเพิ่มขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกในสองมิติ คือ

    หนึ่ง การลุกลามของการประท้วงขับไล่ผู้นำของประเทศที่จะบานปลายไปสู่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคแอฟริกาและตะวันออกกลาง ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ที่เริ่มมีกระแส ก็คือ แอลจีเรีย ซีเรีย บาห์เรน และเยเมน เป็นต้น ซึ่งยังมีนักวิเคราะห์จำนวนหนึ่งที่มองว่าอาจจะลุกลามถึงประเทศมหาอำนาจในตะวันออกที่มีการปกครองต่อเนื่องยาวนาน เช่น ซาอุดีอาระเบียได้ (แต่ก็มีนักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งที่ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยว่าโอกาสการเกิดขึ้นในซาอุดีอาระเบีย มีน้อยมาก) หรือประเทศปกครองในระบอบสังคมนิยม เช่น จีน ที่ได้เริ่มมีประชาชนกลุ่มหนึ่งออกมาชักชวนให้ประชาชนลุกขึ้นเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง การลุกขึ้นประท้วงของประชาชนที่เกิดขึ้นนั้น พอจะประเมินได้ว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ 1. ความเดือดร้อนทุกข์ยากของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้า โดยเฉพาะราคาอาหารและพลังงานในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา และ 2. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและสารสนเทศ ที่เชื่อมโยงประชาชนทั่วโลกเข้าด้วยกัน ที่เห็นระบอบการปกครองและเสรีภาพในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก และสามารถสื่อสารในการระดมประชาชนเข้ามาเป็นแนวร่วมได้อย่างกว้างขวาง

    จะเห็นได้ว่ายังมีโอกาสการเปลี่ยนแปลงการปกครองในอีกหลายประเทศที่จะเกิดติดตามมาในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งมีความไม่แน่นอนภายหลังการเปลี่ยนแปลงว่าใครจะเป็นผู้นำประเทศคนใหม่ และนโยบายเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากที่จะประเมินได้ ณ วันนี้ แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างเกิดขึ้นกับหลายประเทศในแอฟริกาและตะวันออกกลางที่กำลังจะเกิดขึ้น

    สอง ความเสี่ยงที่สำคัญต่อเศรษฐกิจโลกอีกประการ คือ ผลกระทบต่อราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ทั้งนี้ นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในทวีปแอฟริกา ราคาน้ำมันดิบโดยเฉพาะน้ำมันดิบเบรนท์ที่ใช้อ้างอิงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ในเดือนกุมภาพันธ์ได้ปรับตัวสูงขึ้นจาก 101.01 ดอลลาร์/บาร์เรล ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 111.94 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์นี้ หรือคิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้น 11% ในช่วงระยะเวลา 1 เดือน ซึ่งถ้าหากเหตุการณ์ความไม่สงบบานปลายไปประเทศอื่น หรือหากสถานการณ์ยืดเยื้อยาวนาน เช่น 3-6 เดือน ก็อาจจะทำให้เกิดขาดแคลนน้ำมัน และฉุดให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นได้ และส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจทั่วโลกซ้ำเติมปัญหาอัตราเงินเฟ้อทั่วโลก ซึ่งหลายหน่วยงานได้ปรับเพิ่มประมาณการราคาน้ำมันดิบสำหรับปี 2554 ใหม่ แต่ก็ยังยากที่จะคาดการณ์ได้ถูกต้อง เพราะมีปัจจัยความไม่แน่นอนสูงอยู่อีกหลายประการ

    ในกรณีของประเทศลิเบียนั้นจะมีผลกระทบต่อราคาน้ำดิบ ค่อนข้างชัดเจนกว่าประเทศอียิปต์ เนื่องจากเป็นผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่ลำดับที่ 8 ของกลุ่มโอเปค ที่มีกำลังการผลิตอยู่ที่เฉลี่ย 1.55 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2553 (ซาอุดีอาระเบียที่เป็นประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของกลุ่มโอเปคผลิตเฉลี่ยวันละ 8.13 ล้านบาร์เรลต่อวัน) และนอกจากนี้ ยังเป็นน้ำมันดิบเบาที่มีคุณภาพสูงที่ใช้สำหรับการขนส่งโดยเฉพาะสำหรับเครื่องบิน ซึ่งในปัจจุบันแม้ว่าในช่วงที่เกิดเหตุความรุนแรงแต่การผลิตไม่ได้หายไปทั้งหมด แต่จะลดลงประมาณวันละ 600,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งกำลังการผลิตที่หายไปจำนวนนี้ไม่ได้เป็นปัญหามากนัก เนื่องจากประเทศซาอุดีอาระเบียมีกำลังการผลิตเหลืออยู่ 4-5 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพียงแต่หากสถานการณ์ลุกลามไปประเทศอื่น เช่น แอลจีเรีย หรือประเทศอื่นๆ ในตะวันออกกลาง ก็อาจจะมีผลกระทบต่ออุปทาน

     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    รัสเซียทุ่มงบ 6.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ จัดซื้ออาวุธ

    March 2, 2011

    รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมรัสเซียประกาศซื้อเรือ 100 ลำ เครื่องบิน 500 ลำ เฮลิคอปเตอร์ 1,000 ลำ ภายใต้โครงการจัดหาอาวุธปี 2011-2020 รวมทั้งซื้อระบบป้องกันทางอากาศรุ่น S-500 อีก 10 ชุด (สามารถทำลายขีปนาวุธระยะไกลและเครื่องบินรบล่องหนได้) เพื่อมาแทนระบบ S-400 ที่มีอยู่เดิม
    รัฐมนตรีช่วยกระทรวงกลาโหม นาย Vladimir Popovkin กล่าวว่า รัสเซียมีแผนจะจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์กว่า 100 ลำในปีนี้ รวมทั้งเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงขนาดใหญ่แบบ Mi-26, เฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบ Mi-28 และแบบ Ka-52
    [​IMG]
    กระทรวงกลาโหมรัสเซียอนุมัติเงินจำนวน 19 ล้านล้านเหรียญรูเบิล (หรือ 6.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ) ในโครงการจัดหาอาวุธตามแผนปี 2011-2020 นำเงินทุนกว่า 80% มาใช้จ่ายสำหรับการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ และ 10% ใช้จ่ายสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์​
    ทางการรัสเซียยืนยันว่าจะจัดซื้อเรือโจมตีสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก 2 ลำจากฝรั่งเศส ขณะที่อีก 2 ลำจะสร้างภายในรัสเซีย
    นอกจากนี้รัสเซียกำลังวางแผนจะสร้างยุทธศาสตร์สำหรับเรือดำน้ำนิวเคลียร์ในปี 2020 และรื้อแผนการพัฒนาขีปนาวุธหนักแบบใหม่แทนที่แบบเก่าที่มีอยู่เดิมตั้งแต่สมัยยังเป็นโซเวียต SS-18 และ SS-20 Saber ICBMs
    RIANOVOSTI

    รัสเซียทุ่มงบ 6.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ จัดซื้ออาวุธ | Siam Intelligence Unit
     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    <TABLE style="BACKGROUND-COLOR: #f8f8ff" width=720 border=0><TBODY><TR><TD style="TEXT-ALIGN: center">“โลกมุสลิมร้อนระอุ” ไฟใต้ยิ่งโหมกระหน่ำ!

    </TD><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD><TD>
    กระแสการประท้วงและความไม่สงบที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในตะวันออกกลางและแอฟริกาบางส่วนอย่างน้อย 15 ประเทศ และ 1 เขตปกครองตนเองของปาเลสไตน์

    ไฟประท้วงที่เกิดขึ้นต้องการที่จะเรียกร้องเพื่อให้ได้มาซึ่งการเปลี่ยนแปลงและวิถีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นลุกลามมาจากตูนิเซียไปยังอียิปต์ จนสามารถโค่นล้มผู้นำเผด็จการที่ปกครองประเทศมายาวนานกว่า 30 ปีอย่าง ฮอสนี มูบารัก ให้พ้นจากตำแหน่งไปได้ในเวลาไม่นานนัก

    ปรากฏการณ์การต่อต้านผู้นำกำลังคุกรุ่นดุเดือดอยู่ในลิเบีย ระหว่างชาวลิเบียและกัดดาฟี การประท้วงได้ทวีความรุนแรงและบานปลายเป็นการขับไล่ผู้นำให้พ้นจากอำนาจ ความฝันที่จะเห็นโลกใหม่ที่เปลี่ยนไปจากเดิม ประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงความเห็น และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและเท่าเทียม

    ลิเบีย ภายใต้การปกครองของเผด็จการโมอัมมาร์ กัดดาฟี นานหลายทศวรรษ แต่ความเป็นอยู่ของประชาชนกลับไม่ดีขึ้น โดยมีอัตราการว่างงานสูงสุดในแอฟริกาเหนือ และยิ่งหมดหวังเมื่อท่านผู้นำหวังจะให้บุตรชายของตนขึ้นสืบทอดอำนาจ นอกจากนี้การอยู่ระหว่าง 2 ชาติตูนิเซียและอียิปต์ที่ประชาชนล้มเผด็จการสำเร็จ ทำให้ชาวลิเบียพร้อมต่อสู้จนถึงที่สุดเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศ

    เมื่อประเทศอาหรับดังที่กล่าวมานั้นเกิดความต้องการที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลงในแง่การเมือง สิทธิเสรีภาพ ด้านสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ซึ่งมีคนมุสลิมอาศัยอยู่ ถูกมองว่ากระแสการปฏิวัติจากฝั่งแอฟริกาและตะวันออกกลาง จะมีส่วนผลักดันให้การก่อเหตุร้ายในสามจังหวัดชายแดนใต้ซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นหรือไม่ ติดตามได้ในรายการ Intelligence….

    </TD><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD><TD style="TEXT-ALIGN: center">

    </TD><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD><TD style="TEXT-ALIGN: center">




    <EMBED src=http://www.voicetv.co.th/flowplayer/flowplayer.commercial-3.2.5.swf width=640 height=360 type=application/x-shockwave-flash bgcolor="#000000" flashvars="config=http%3A%2F%2Fwww.voicetv.co.th%2Fcontent%2Fembedconfig%2F%3Fid%3D1%2511t%259F%2516%25FA%253F%25B1%2581%25E6%25B7N%2560%25CF%2588%2581%26embed%3D1" allowfullscreen="true"></EMBED></TD><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD><TD>



    </TD><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD><TD>Produced by VoiceTV
    </TD><TD> </TD></TR><TR><TD> </TD><TD>1 มีนาคม 2554 เวลา 20:47 น. </TD></TR></TBODY></TABLE></P>INTELLIGENCE --- "โลกมุสลิมร้อนระอุ" ไฟใต้ยิ่งโหมกระหน่ำ ! - FO3P.NET : บ้านสามจังหวัด
     

แชร์หน้านี้

Loading...