เงินเฟ้อที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นแล้ว??? รู้ทันโลก (โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 11 พฤศจิกายน 2010.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    บทความอัลจาซีรา: วิธีปฏิวัติให้สำเร็จ: 5 บทเรียนสำหรับอียิปต์


    Tue, 2011-02-15 16:56


    [​IMG]




    14 ก.พ. 2554 - อัลจาซีราลงบทความเรื่อง "อะไรที่ทำให้การปฏิวัติสำเร็จ" เขียนโดย Roxane Farmanfarmaian ซึ่งเปรียบเทียบระหว่างการปฏิวัติอิหร่านในปี 1979 กับการประท้วงใหญ่ในอียิปต์ครั้งล่าสุด ว่าแม้จะมีความแตกต่างกัน แต่ก็มีอยู่ 5 บทเรียนที่อียิปต์เรียนรู้จากการปฏิวัติอิหร่านในปี 1979

    Roxane Farmanfarmaian เป็นอาจารย์ภาควิชารัฐศาสตร์และต่างประเทศของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ นักวิชาการของศูนย์ตะวันออกกลางมหาวิทยาลัยยูทาห์ เขามีชีวิตอยู่ในอิหร่านในช่วงที่เกิดการปฏิวัติและเกิดวิกฤติตัวประกัน (ช่วงปี 1979- 1981 ที่มีชาวสหรัฐฯ หลายสิบคนถูกจับเป็นตัวประกัน 444 วัน จากความขัดแย้งทางการทูตระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่าน)

    เนื้อหาของบทความมีดังนี้

    ------------------------------------------------

    ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ เมื่อ 32 ปีที่แล้วชาวอิหร่านได้ประกาศความสำเร็จในการปฏิวัติ พระราชาอิหร่าน (ชาห์) ลงจากอำนาจถูกทำลายย่อยยับ ยุคสมัยใหม่คืบคลานเข้ามา

    แม้ว่าสิ่งที่ตามมาจะแตกต่างจากสิ่งที่ชาวอียิปต์คาดหวังไว้มาก แต่อิหร่านก็ถือเป็นการปฏิวัติที่ประสบความสำเร็จอย่างมากสำหรับยุคศตวรรษที่ 20 และชาวอียิปต์ก็คงได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องนี้ในการโค่นล้มอำนาจรัฐบาลและเรียกร้องสิทธิ

    ในตอนนี้เป็นฝ่ายทหารอียิปต์ที่เข้ามามีอำนาจ โดยสัญญาว่าจะจัดการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม หมายความว่าผู้ชุมนุมจะเชื่อถือกองทัพแล้วกลับบ้านได้ล่ะหรือ อียิปต์กับอิหร่านต่างกันมาก ทั้งแรงดลใจของพวกเขาและเรื่องสื่อที่ห่างกันหลายปีแสง และด้วยความหวังว่าโครงสร้างของอียิปต์จะมีความเป็นประชาธิปไตยและปลอดภัยสำหรับผู้ที่ต้องการชัยชนะที่มาจากคะแนนเสียงประชาชน

    อย่างไรก็ตาม สำหรับชาวลุ่มน้ำไนล์ที่ประสบกับการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน การปฏิวัติของอิหร่านได้ให้บทเรียนสำคัญบางอย่างไว้


    บทเรียนที่ 1: การปฏิวัติต้องใช้เวลา

    จากวันที่คนทั่วไปคิดว่าเกิดการปฏิวัติอิหร่านขึ้นแล้ว โดยเริ่มปะทุจากเหตุการณ์ประชาชนกว่า 400 รายเสียชีวิตจากเหตุเพลิงไหม้โรงละครในอบาดาน เมืองน้ำมันของอิหร่าน จนกระทั่งถึงการประกาศชัยชนะในวันที่ 12 ก.พ. 1979 ซึ่งกินเวลาหลายเดือน หลายปี

    การประท้วงเกิดขึ้นทั้งในช่วงฤดูหนาวที่มีหิมะ และช่วงฤดูร้อนที่อบอ้าว มีประชาชนถูกยิง เกิดการลุกฮือหลังจากเรื่องราวของพวกเขาที่ควรเป็นข่าวไม่ได้รับการนำเสนอในสื่อต่างชาติ แต่การประท้วงก็ยังคงดำเนินต่อไปและใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆ ผู้คนยังคงสู้ต่อไป และความสูญเสียที่เกิดขึ้นผลักดันให้พวกเขาล้มล้างระบอบทหาร

    ในอียิปต์ พวกเรายังมองเห็นความต้องการเปลี่ยนแปลงหลังจากที่มีจุดมุ่งหมายในการประท้วงแน่ชัดแล้ว คือเพื่อล้มล้างระบอบ ไม่เพียงแค่ล้มล้างผู้นำหลายคนในนั้น การลาออกของมูบารัคและการเปลี่ยนขั้วอำนาจไปสู่กองทัพอาจเป็นแค่การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย การเปลี่ยนระบอบต้องอาศัยกระบวนการยาวนาน ต้องมีวิสัยทัศน์และการจัดการ รวมถึงสิ่งที่ค้นพบในการประท้วงของอิหร่านคือ ความดื้อดึง


    บทเรียนที่ 2: ระบอบที่หยั่งรากไม่จากไปอย่างเงียบๆ

    3 สัปดาห์หลังจากการเปลี่ยนแปลง ตัวมูบารัคจะหมดอำนาจอย่างแท้จริงหรือไม่ก็ไม่อาจทราบ ที่สำคัญกว่าคือเขายังคงอยู่ในอียิปต์ ประธานาธิบดีที่ลงจากตำแหน่งเช่น เบน อาลี ของตูนีเซียจะยังไม่พ้นจากอำนาจจนกว่าพวกเขาจะถูกเนรเทศ แม้แต่ชาห์ก็ยังคงอยู่ต่อถึงปีหนึ่งแม้จะมีผู้คนยังคงเปล่งคำขวัญร่วมกันว่า "ชาห์จงตายไปเสีย" ในวันสุดท้ายของชาห์ก็เช่นเดียวกับมูบารัคคือมีความพยายามเปลี่ยนผ่านรัฐบาลโดยยังคงอาศัยระบอบเดิมที่มีอยู่ เปลี่ยนจากนายกรัฐมนตรีของเขาเป็นคนหน้าใหม่ที่เขาไว้ใจ

    ในความจริงแล้วชาห์ผ่านช่วงนายกรัฐมนตรี 3 คน คนแรกมาจากกระบวนการที่เป็นประชาธิปไตย จากนั้นจึงเป็นนายพล สุดท้ายเป็นสมาชิกคนหนึ่งของชนเผ่าใหญ่ของอิหร่านและเป็นหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านพรรคเนชันแนลฟรอนท์

    ประชาชนบนท้องถนนไม่ยอมรับนายกฯ คนใดเลย เช่นเดียวกับที่ชาวอียิปต์รู้สึกต่อรองประธานาธิบดี โอมาร์ สุไลมาน ผู้นำจากการคัดเลือกของชาห์มีความยินยอมเพียงเล็กน้อยแต่มาพร้อมกับคำขู่อย่างเช่น ประชาชนควรจะกลับบ้านได้แล้ว, ทหารอยู่ควบคุมอยู่และกำลังจะเริ่มหมดความอดทน, ประชาธิปไตยแบบตะวันตกไม่เหมาะกับชาวตะวันออกกลาง

    สำหรับชาวอิหร่านก็เช่นเดียวกับอียิปต์ เป้าหมายสำคัญคือการกำจัดชนชั้นนำ ระบอบที่ฉ้อฉล รวมถึงใครก็ตามที่สวมหัวด้วยสิ่งเหล่านี้ ทำให้การชุมนุมยังคงดำเนินต่อไปแม้หลังจากชาห์หนีไปแล้ว ยังคงมีมรดกหลงเหลือจนกระทั่งถูกขจัดทิ้งไปหมดในที่สุด


    บทเรียนที่ 3 กองทัพไว้ใจอะไรไม่ได้

    ต่างจากที่อียิปต์จนถึงตอนนี้ กองทัพอิหร่านในช่วงนั้นถือเป็นกองทัพที่ทรงอำนาจเป็นอันดับที่ 5 ของโลก แล้วก็ไม่ยอมละเว้นการทำร้ายประชาชนชาวอิหร่าน

    เหตุการณ์ "สังหารหมู่วันศุกร์" ในเดือนตุลาคม 1978 เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่ทหารยิงกระสุนจริงเข้าไปในฝูงชน และแม้ในวันเวลานี้กองทัพอียิปต์จะเลิกการโจมตีอย่างตรงไปตรงมาแบบนั้นแล้ว ก็ยังคงมีความเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรงต่อเนื่องกับประชาชนบนท้องถนน

    กองทัพอียิปต์ซึ่งตอนนี้เป็นผู้ควบคุมรัฐบาลอยู่เรียกร้องอย่างหนักแน่นให้เกิดเสถียรภาพ โดยบอกว่าเสี่ยงต่อการเกิดความวุ่นวายหากการชุมนุมยังคงดำเนินต่อไป แต่แม้จะมีถ้อยแถลงคล้ายๆ กันมาจากกองทัพอิหร่าน การชุมนุมก็ยังคงดำเนินต่อไป แม้จะมีการนองเลือด ฝ่ายผู้ชุมนุมก็ปฏิเสธไม่ยอมอ่อนข้อต่อกองทัพ จนในที่สุดพวกเขาก็ทำให้ทหารอ่อนแรงลง

    มีการเสียบดอกไม้ที่ปลายปืน ครอบครัว มิตรสหายและเพื่อนบ้าน ต่างเข้ากอดและพูดคุยกับทหารขณะที่พวกเขาเดินขบวนไปตามท้องถนน เอาป้ายประท้วงไปแขวนไว้ที่รถถังที่จอดอยู่ริมทางเท้า ฉีดสเปรย์เป็นคำขวัญข้างรถถัง บ้างก็วางโปสเตอร์ไว้ข้างๆ

    สำหรับชาวอียิปต์แล้ว นี่เป็นบทเรียนที่สำคัญ กองทัพสะสมกำลังอาวุธไว้แล้ว และในวันนี้ก็ให้สัญญาณหลายอย่างปนกันซึ่งเป็นช่วงที่อันตราย มีรายงานว่ากลุ่มคนรุ่นใหม่ในกองทัพเข้าร่วมการชุมนุม การปักหลักชุมนุมอย่างสงบต่อหน้ากำลังทหารน่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่ผู้ชุมนุมมีอยู่ และก็อย่างได้ใช้มันอย่างเปลืองเปล่า


    บทเรียนที่ 4: การนัดหยุดงานเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จ

    ในอียิปต์ สิ่งที่ทำให้รูปเกมเปลี่ยนไปในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาคือการประท้วงหยุดงานในหลายๆ ที่ตามเมืองต่างๆ โดยคนงานโรงงานที่เรียกร้องค่าแรงที่ดีกว่า

    ในอิหร่าน การประท้วงหยุดงานที่เริ่มต้นจากคนงานบ่อน้ำมันต่อมาได้ลามไปทั่วประเทศเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ระบอบล่มลง การขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันก๊าซ (ซึ่งบ้านเรือนชาวอิหร่านต้องใช้ในการสร้างความอบอุ่นช่วงฤดูหนาวที่ทารุณกว่าอียิปต์) ทำให้มีคนต่อคิวเติมน้ำมันในปั๊มยาวเหยียดบางคนต้องรอถึง 48 ชั่วโมง

    ผู้ใช้รถรวมถึงผู้ใช้จักรยานยนต์นั่งคอยอย่างอดทนในรถผ่านค่ำคืน แม้รัฐบาลจะบอกว่าชาวอิหร่านไม่ใยดีกับการประท้วงรูปแบบนี้ แต่มีเพียงชนชั้นนำและกองทัพเท่านั้นที่ได้ใช้น้ำมัน พวกเขาขับขี่ยวดยานอย่างโอ่อ่าบนถนนที่แทบโล่ง การประท้วงรูปแบบนี้จึงเป็นการต่อต้านพวกเขา

    การนัดหยุดงานแม้จะไม่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ ก็มีการกระจายตัวไปตามโรงงาน ตามนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ และที่สำคัญคือโรงไฟฟ้า ซึ่งทำการตัดไฟทุกๆ 4 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งไปตัดไฟตรงกับช่วงที่มีข่าวจากโทรทัศน์ของรัฐบาลทุกครั้ง ซึ่งถือเป็นยุทธวิธีมี่ดี ชาวอิหร่านกินอาหารเย็นใต้แสงเทียนและอาศัยฟังข่าวจากวิทยุ ส่วนใหญ่จากบีบีซี

    การนัดหยุดงานถือเป็นกระดูกสันหลังของการเคลื่อนไหว ขณะเดียวกันก็เอื้อให้คนหยุดงานมาร่วมชุมนุม มันส่งผลทั้งทางด้านเศรษฐกิจและในเชิงจิตวิทยา และชาวอิหร่านก็เช่นเดียวกับชาวอียิปต์ที่แสดงความยินยอมในการมีชีวิตอย่างลำบากเพื่อให้รัฐบาลออกจากตำแหน่งไป


    บทเรียนที่ 5: การเบี่ยงเบนสื่อที่ถูกควบคุมโดยรัฐเป็นความสำเร็จสำคัญ

    การลุกฮือในอียิปต์ได้สะท้อนถึงยุคสมัยเมื่อการประท้วงเริ่มต้นจากการใช้บล็อกและทวิตเตอร์ รวมถึงมีแรงสะสมจากรายการโทรทัศน์บนอินทอร์เน็ต เฟซบุ๊ก และโทรศัพท์มือถือ แม้ว่ามูบารัคจะสั่งตัดอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ แต่การสื่อสารด้วยเทคโนโลยีก็ยังคงมีอยู่

    เป็นธรรมดาที่อิหร่านในยุคนั้นจะไม่ได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม การเบี่ยงเบนสื่อของรัฐถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของเหตุการณ์ หนังสือพิมพ์ Kayhan และ Etela'at ของอิหร่านเป็นเสมือน al-Ahram ของอียิปต์ คือเป็นปากกระบอกเสียงของรัฐบาล ขณะที่ในช่วงแรกๆ Kayhan และ Etela'at แสดงให้เห็นว่าประชาชนบนท้องถนนเผาทำลายรูปของชาห์ซึ่งมีอยู่ไปทุกที่ ติดอยู่ในทุกที่ทำงานและทุกครัวเรือน ก็ถึงจุดที่รัฐทราบดีว่ามีอะไรรั่วจากภายในแล้ว

    สิ่งเดียวกันเกิดขึ้นกับ al-Ahram ซึ่งในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาก็เสนอข่าวอย่างไม่เอียงข้างมากขึ้น สำหรับชาวอียิปต์แล้วนี่ถือเป็นหลักไมล์สำคัญสำหรับการมีเสรีภาพสื่ออย่างแท้จริง สำหรับสิทธิหลายอย่างที่พวกเขาเรียกร้อง มีเรื่องเสรีภาพสื่อกับเสรีภาพในการชุมนุมที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างแรกๆ

    ปรากฏการณ์ "เดอะ ไนล์ เวฟ" อาจดูเหมือนได้รับชัยชนะ แต่จนถึงตอนนี้มีสิ่งที่ยืนยันถึงการเปลี่ยนแปลงด้านชีวิตความเป็นอยู่ชาวอียิปต์น้อยมาก แม้จะมีความน่ายินดี แต่นายทหารหน้าเก่าๆ ก็ยังคงอยู่ หากการเคลื่อนไหวในครั้งนี้คิดว่าได้รับผลตอบแทนแล้ว เรื่องราวในอดีตของอิหร่านอาจช่วยให้เห็นความเป็นจริงในปัจจุบัน และหากโชคดีก็จะช่วยทำให้อนาคตของอียิปต์สดใสขึ้น แม้ตัวอิหร่านเองก็ยังคงอยู่ใต้เงามืดก็ตาม


    แปลและเรียบเรียงจาก

    What makes a revolution succeed? , Roxane Farmanfarmaian, Aljazeera

    What makes a revolution succeed? - Opinion - Al Jazeera English

    ถอดบทเรียนวิกฤตอียิปต์: เมื่อตะวันออกกลางเริ่มปรับตัวสู่ความทันสมัย และบทความอื่นๆ - FO3P.NE
     
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

    ติดตามสถานการณ์การลุกขึ้นขับไล่เผด็จการในลิเบียและในโลกอาหรับ

    [​IMG]

    พ.อ. มูอัมมาร์ อัล-กัดดาฟี (อายุ 69 ปี) ก้าวขึ้นสู้อำนาจในปี 2512 ในวัย 27 ปี ในฐานะหัวหน้าคณะนายทหารหนุ่มที่ทำการรัฐประหารเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศจากระบบกษัตริย์มาสู่ระบบทหาร

    โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
    23 กุมภาพันธ์ 2554


    สำนักข่าว Al Jazeera รายงานวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ถึงสถานการณ์ในลิเบีย เกี่ยวกับการออกมาพูดทีวีของ พ.อ.มู อัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบีย เมื่อคืนวันอังคารที่ผ่านมา ที่ยืนยันว่า "จะสู้จนถึงที่สุดและจะตายอย่างนักบุญบนพื้นแผ่นดินลิเบีย" เขาได้เรียกร้องให้ผู้สนับสนุนของเขาออกมาชิงพื้นที่คืนจากกลุ่มผู้ประท้วง รวมทั้งยังกล่าวว่า "เขายังไม่ได้สั่งการให้มีการใช้กำลังกับกลุ่มผู้ประท้วง และถ้าเขาสั่งจริงๆ แล้วละก็ ทุกอย่างจะถูกเผาราบเป็นหน้ากอง"

    [​IMG]

    ในขณะที่ทูตลิเบียที่ประจำการอยู่ในประเทศต่างๆ รวมทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ทยอยล่าออกเพื่อเป็นการประท้วงการใช้ความรุนแรงกับผู้ประท้วงครั้งนี้ และประกาศจุดยืนอยู่ข้างผู้ประท้วง

    แม้ว่ากัดดาฟี จะยืนยันว่าประเทศลิเบียยังแข็งแกร่ง แต่ผู้นำนานาชาติ ได้ส่งสัญญาณเตือนกัดดาฟีว่าความรุนแรงต่างๆ และการแสดงความไม่เห็นด้วยกับกัดดาฟีของทหารและคนในรัฐบาลของเขา แสดงให้เห็นว่าโครงสร้างการเมืองของประเทศลิเบียกำลังอยู่ในสภาวะที่หล่อแหลมและอันตรายอย่างยิ่ง

    [​IMG]

    คนงานต่างชาติในลิเบียรอเดินทางกลับประเทศ

    *******************
    สำหรับการติดตามสถานการณ์การลุกขึ้นเรียกร้องประชาธิปไตยในตะวันออกกลาง Siam Intelligence Unit หรือ SIU ได้เกาะติดสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้อ่านไทยอีนิวส์สามารถติดตามได้ทีเกาะติดสถานการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือได้ที่ Siam Intelligence Unit

    SIU วันที่ 21 ก.พ. 2554 ได้รายงาน "สถานการณ์ในเยเมนยังตึงเครียด โมร็อคโคและคูเวตเริ่มมีการประท้วง ส่วนบาห์เรนฝ่ายต่อต้านยังประชุมไม่เสร็จว่าจะรับการเจรจาสันติภาพหรือไม่"

    ลิเบีย
    ติดตามสถานการณ์ในลิเบียได้จาก ลิเบียยังเดือด 233 ศพ, ลูกกัดดาฟีออกทีวีเตือน “สงครามกลางเมือง”

    [​IMG]

    แผนที่แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง แสดงประเทศที่เกิดความไม่สงบ
    บาห์เรน
    ฝ่าย ต่อต้านรัฐบาลของบาห์เรน ซึ่งประกอบด้วยพรรคฝ่ายค้านและกลุ่มทางการเมืองอีกหลายกลุ่ม จะประชุมกันอีกครั้งในวันนี้ เพื่อหาข้อสรุปว่าจะยอมรับการเจรจาสันติภาพกับฝ่ายรัฐบาลหรือไม่
    เมื่อวานนี้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลมาร่วมประชุมกันเป็นวันแรก แต่ก็ไม่สามารถหาข้อสรุปที่ลงตัวได้สำหรับการเจรจาสันติภาพ
    Ebrahim Sharif จากสมาคม National Democratic Action ให้สัมภาษณ์ว่า “เราต้องการเจรจากับรัฐบาลมา 10 ปีแล้ว และเราคงเป็นคนสุดท้ายที่ไม่รับข้อเสนอนี้ แต่ก่อนอื่นเราต้องเตรียมข้อเสนอของฝ่ายเราให้พร้อม คิดเห็นตรงกันเสียก่อน”
    หลังจากตำรวจและทหารยอมถอนตัวออกจากกรุง Manama ผู้ชุมนุมก็กลับมาตั้งเต๊นท์อีกครั้ง และเริ่มมีการสไตรค์ของคนงานรวมถึงครูและนักเรียน – Wall Street Journal
    เยเมน
    ประธานาธิบดี Ali Abdullah Saleh ของเยเมนปฏิเสธข้อเสนอที่จะให้เขาลงจากอำนาจ และยื่นข้อเสนอต่อผู้ประท้วงให้เกิดการเจรจาแทน เขาบอกว่าข้อเรียกร้องของฝ่ายต่อต้าน “เป็นไปไม่ได้” และยังบอกให้ผู้ต่อต้านลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในการเลือกตั้งครั้งหน้าปี 2013
    Saleh ให้สัมภาษณ์ในการแถลงข่าวว่าเขาสั่งกองทหารไม่ให้ทำร้ายผู้ประท้วง เว้นเสียแต่ว่าเป็นการป้องกันตัวเองเท่านั้น นับถึงปัจจุบันมีผู้เสียชีวิต 11 รายจากการประท้วงในเยเมน ขณะนี้ผู้ชุมนุมในหลายเมืองออกมาเรียกร้องให้ Saleh ออกจากตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นเมืองท่า Aden, Taiz และเมืองหลวง Sanaa
    เยเมน ถือเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในตะวันออกกลาง และประสบปัญหาการแบ่งแยกดินแดนจากผู้ก่อการร้ายเยเมนใต้ อย่างไรก็ตามประธานาธิบดี Saleh ที่ครองอำนาจมายาวนาน 30 ปีได้รับการหนุนหลังจากสหรัฐ – AP
    โมร็อคโค
    โดมิโนแห่งการประท้วงแพร่ไปยังโมร็อคโค ประเทศทางตะวันตกสุดของแอฟริกาเหนือที่ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ผู้ชุมนุมเริ่มออกมาเรียกร้องให้ปฏิรูปการเมืองและต้องการให้กษัตริย์ Mohammed VI ยอมปล่อยอำนาจบางส่วน การชุมนุมเริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์ และในวันจันทร์นี้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 5 รายในเมือง Al Hoceima ทางตอนเหนือของประเทศ ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดว่าเสียชีวิตได้อย่างไร
    ผู้ชุมนุมประกอบด้วยสหภาพแรงงาน องค์กรเยาวชน และกลุ่มสิทธิมนุษยชน ออกมาชุมนุมใน 6 เมืองทั่วประเทศ การชุมนุมส่วนมากยังอยู่ในความสงบและไม่มีอาวุธ มีการประเมินว่าผู้ชุนนุมในเมืองหลวง Rabat มีประมาณ 2,000 คน
    โฆษกรัฐบาลให้สัมภาษณ์กับสถานีทีวีของรัสเซียว่าการประท้วงเป็นเรื่อง ปกติในโมร็อคโค และการประท้วงครั้งนี้อยู่ในกรอบของกฎหมาย รวมถึงเป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตย – CNN, BBC
    คูเวต
    ประชาชนชาวคูเวตออกมาเดินขบวนตามท้องถนนตั้งแต่วันที่ 18 ก.พ. และล่าสุดมีรายงานว่ามีผู้บาดเจ็บจำนวนหนึ่ง และถูกจับกุมโดยรัฐบาลอีกจำนวนหนึ่ง
    องค์กรสิทธิมนุษยชน Human Rights Watch ได้เรียกร้องให้รัฐบาลคูเวตปล่อยตัวผู้ชุมนุมเหล่านี้ทันที ส่วนรัฐบาลคูเวตได้ออกคำเตือนให้ประชาชนอยู่ในเคหสถาน ไม่ต้องออกมาร่วมชุมนุม
    ผู้ชุมนุมชาว Bidun มีประมาณ 300-500 คน ยังอยู่ในความสงบแต่มีบางส่วนที่ขว้างก้อนหินใส่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมคือขอสัญชาติและสถานะของประชากร ส่วนเจ้าหน้าที่ได้ใช้ปืนน้ำ ระเบิดควัน และแก๊สน้ำตาเพื่อสลายการชุมนุม – Human Rights Watch
    จอร์แดน
    แม้การประท้วงในจอร์แดนจะเริ่มสงบลงชั่วคราว แต่กษัติรย์อับดุลลาห์ที่สองก็บอกแก่รัฐบาลใหม่ที่เพิ่งแต่งตั้งให้เริ่มการปฏิรูปประเทศอย่างจริงจังและรวดเร็ว พระองค์ขอให้รัฐบาลใหม่ทำงานหนักและแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น
    กษัตริย์อับดุลลาห์ยังบอกว่าการปฏิรูปดำเนินไปบ้างแล้วในรัฐบาลก่อนหน้า นี้ แต่บุคคลระดับสูงบางคนต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ซึ่งพระองค์บอกว่าจะไม่ยอมให้เกิดขึ้นอีก – CNN
    อัพเดตสถานการณ์ตะวันออกกลาง ตอนก่อนหน้านี้
    16 ก.พ. โดมิโนตัวต่อไปแห่งตะวันออกกลาง: เริ่มประท้วงในอิหร่าน เยเมน บาห์เรน
    19 ก.พ. สถานการณ์ในตะวันออกกลางเริ่มบานปลาย ประท้วงในเยเมน บาห์เรน ลิเบีย
    20 ก.พ. ประท้วงบาห์เรนเริ่มสงบ รัฐบาลถอนทหาร ฝ่ายค้านเตรียมเจรจา
    20 ก.พ. ทหารลิเบียปราบผู้ชุมนุมโหด! ยอดผู้เสียชีวิตพุ่งถึง 140 ศพแล้ว
    21 ก.พ. ลิเบียยังเดือด 233 ศพ, ลูกกัดดาฟีออกทีวีเตือน “สงครามกลางเมือง”
    เกาะติดสถานการณ์การลุกขึ้นเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนชาวตะวันออกกลางกับ Siam Intelligence

    *********

    kunginternews: ติดตามสถานการณ์การลุกขึ้นขับไล่เผด็จการในลิเบียและในโลกอาหรับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2011
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    แรงงานภารตะในลิเบียเล่า “วิธีเอาตัวรอด” หลังกลับถึงอินเดีย

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 27 กุมภาพันธ์ 2554 15:22 น.

    [​IMG]

    หนึ่งในแรงงานอินเดียกำลังบรรยายถึงสภาพการณ์ในลิเบีย

    เอเอฟพี - ชาวอินเดียกลุ่มแรกที่ลี้ภัยจากลิเบียได้พรรณนาถึงความทรมานทรกรรม วิธีเอาตัวรอดจากเหตุนองเลือด วันนี้ (27) ขณะที่รัฐบาลกรุงนิวเดลีวางแผนส่งเที่ยวบินรายวันไปยังลิเบีย เพื่อรับตัวพลเรือนอีกหลายพันคนที่ยังคงติดค้างในประเทศที่กำลังคุกรุ่นด้วยสงครามกลางเมือง

    สายการบินแอร์อินเดียได้ส่งเครื่องจำนวน 2 ลำไปรับผู้อพยพจำนวน 530 คน ออกจากลิเบีย และกลับถึงท่าอากาศยานในกรุงนิวเดลีแล้ว เมื่อช่วงค่ำวานนี้ (26) โดยมี นิรูปามา เรา รัฐมนตรีต่างประเทศ คอยให้การต้อนรับ

    “ผู้รู้สึกราวกับขึ้นสวรรค์ เมื่อหนีออกมาได้” โมฮัมเหม็ด ซาลี วิศวกรชาวอินเดียวัย 63 ปีกล่าว “มีคนเอามีดจ่อคอหอยผม เขาเอาของๆ ผมไปหมด ทั้งคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก สร้อยคอ แม้กระทั่งรถยนต์”

    “เราได้ยินเสียงปืนทุกวัน ผมมุดเข้าไปใต้ตู้สินค้า และซ่อนตัวอยู่ในนั้น เราทำทุกอย่าง เพื่อให้หนีรอดออกมาได้ … ผู้คนอยู่โดยไม่มีอาหาร และน้ำ 3 - 4 วัน ตอนเหตุการณ์มันเลวร้ายลง ชาวลิเบียอยู่กันเต็มถนน สถานีตำรวจถูกเผา ไม่มีความปลอดภัย ไม่มีตำรวจ”

    ทั้งนี้ มีชาวอินเดียประมาณ 18,000 คนอยู่ในลิเบีย คาดว่าในจำนวนนี้มี 3,000 คนทำงานให้กับบริษัทรถยนต์ บริษัทก่อสร้าง และโรงพยาบาลในเมืองเบนกาซี ขณะที่ชาวอินเดียที่เหลือกระจัดกระจายไปตามเมืองต่างๆ ของประเทศเศรษฐีน้ำมันแห่งนี้

    ประเทศต่างๆ ทั่วโลกกำลังเร่งดำเนินการอพยพพลเรือนของตนออกจากลิเบีย เนื่องจากมีความกังวลว่า จะเกิดสงครามกลางเมืองเต็มรูปแบบ ขณะที่ พ.อ.มูอัมมาร์ กัดดาฟี สูญเสียอำนาจผู้นำประเทศ

    “การส่งเครื่องบินไปรับชาวอินเดียเป็นเรื่องเร่งด่วนที่สุด” โมเบน คูเรชี คนงานวัย 27 ปี กล่าว เขาเป็นหนึ่งในแรงงานชาวอินเดียกลุ่มแรกที่ลี้ภัยออกจากลิเบีย “คนที่อยู่ไกลจากกรุงตริโปลีกำลังเผชิญปัญหาหนัก เพราะชาวต่างชาติถูกข่มเหงรักแกมาก เราถูกปล้นที่สนามบิน มีอย่างน้อย 3 กลุ่ม รวมทั้งตัวผม ถูกแย่งเอาโทรศัพท์มือถือไปตรงจุดเช็คอิน … สถานการณ์ของชาวอินเดีย โดยเฉพาะพวกที่พักอยู่ตามแคมป์คนงาน เลวร้ายมาก เพราะตอนนี้แคมป์คนงานถูกเผาวอด ไม่มีที่หลบภัย ไม่มีอาหาร และไม่มีน้ำกิน”

    ทางการอินเดียเปิดเผยว่า เที่ยวบินอพยพจะมุ่งหน้าสู่ลิเบียทุกวันอย่างน้อยเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ขณะที่เรือช่วยเหลือจะล่องถึงภูมิภาคแอฟริกาเหนือภายในวันนี้ (27) เพื่อรับตัวชาวอินเดียจากเมืองอเล็กซานเดรีย ของอียิปต์ นอกจากนี้ กองทัพเรืออินเดียได้ ส่งกองเรือ ซึ่งมีห้องผ่าตัด แพทย์ และเครื่องไม้เครื่องมือครบครัน ออกเดินทางจากนครมุมไบ และจะถึงลิเบียภายใน 10 วัน

    “ตัวเลือกอันดับแรกของผู้อพยพชาวอินเดีย จะเป็นกลุ่มผู้หญิง เด็ก คนชรา และผู้ที่ต้องได้รับการช่วยเหลือจากแพทย์เร่งด่วน” วิศณุ ประกาศ โฆษกกระทรวงต่างประเทศอินเดีย แถลงต่อนักข่าว “หากเราสามารถช่วยพลเรือนของประเทศเพื่อนบ้านได้ เราจะช่วย”

    ทั้งนี้ บังกลาเทศ ประเทศยากจนเพื่อนบ้านของอินเดียมีพลเรือนประมาณ 60,000 คนขายแรงงานอยู่ในลิเบีย ส่วนใหญ่รับจ้างเป็นกรรมกรก่อสร้าง โดยอินเดียกำลังพิจารณาหาทางช่วยชาวบังกลาเทศเช่นกัน อนึ่ง วานนี้ (26) ญาติพี่น้องของแรงงานชาวบังกลาเทศได้ชุมนุมประท้วง เพื่อเรียกร้องให้ทางการเร่งดำเนินการช่วยเหลือชาวบังกลาเทศในลิเบีย

    [​IMG]

    ชาวอินเดียกลุ่มแรกเดินทางถึงกรุงนิวเดลีวันนี้ (27) หลังจากอพยพออกจากลิเบียด้วยสายการบินแอร์อินเดีย

    Around the World - Manager Online -
     
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เตรียมพร้อมสำหรับปรากฏการณ์ช็อกโลก!! จากตะวันออกกลาง


    February 24, 2011


    จากการปฏิวัติในตูนิเซียและอียิปต์ ต่างก็ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงผ่านแรงบันดาลใจของวัยหนุ่มสาวที่แพร่สะพรัดไปทั่วแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับประเด็นของการเมืองและสังคมเป็นอย่างยิ่ง ทั้งยังมีนัยต่อเศรษฐกิจโลกและส่งผลต่อชาติตะวันตก

    เป็นที่เข้าใจได้ว่าสถานการณ์อียิปต์และตูนิเซียมีนัยสำคัญแม้จะไม่ส่งผลกระทบต่อขนาดตลาดนัก เนื่องจากทั้งสองประเทศไม่ใช่ตัวแสดงหลักที่มีอิทธิพลในระดับเศรษฐกิจโลก เพราะไม่ได้เป็นผู้ส่งออกสินค้าขนาดใหญ่ทั้งยังไม่ได้มีส่วนแบ่งตลาดกับรัฐบาลชาติตะวันตก

    ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า อียิปต์และตูนิเซียถือเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เกิดการขยายตัวของปรากฏการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางระบบที่มีนัยสำคัญ นานนับสัปดาห์แล้วที่มีภาพผู้ประท้วงเกิดขึ้นในหลายประเทศของภูมิภาคนี้ จากอัลจีเรีย, โมร็อคโค ขณะที่ฝั่งตะวันตกก็แพร่ไปยังบาห์เรน และเยเมนในทางฝั่งตะวันออก

    ผู้ส่งออกน้ำมันอย่างลิเบียที่มีการประท้วงและถูกปราบปรามขนานหนักจากรัฐบาล ทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นมาก ซึ่งเป็นผลสะท้อนอันเนื่องมาจากตัวแสดงสำคัญในการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์มีสภาวะไม่แน่นอน






    ภาพการประท้วงที่ถูกฉายในบาห์เรน ทำให้เกิดความเสี่ยงสูงในแง่ภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะประเทศอื่นๆ ที่อยู่ในภูมิภาคดังกล่าว จะเห็นได้ว่าระยะเปลี่ยนผ่านทางการเมืองดังกล่าวถือเป็นพลวัตรที่น่าสลดใจ โดยเฉพาะความสูญเสียและความอันตรายจากเหตุรุนแรงดังกล่าวที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้

    ในระยะสั้น การพัฒนาภายในภูมิภาคนี้จะเกิดภาวะชะงักงัน อันเนื่องมาจากปัจจัยสำคัญ 3 ประการ ดังนี้ ประการแรก ราคาน้ำมันที่ถีบตัวสูงขึ้นจะยิ่งเพิ่มต้นทุนในการผลิตมากขึ้นและส่งผลต่ออัตราภาษีของผู้บริโภค ประการที่สอง จะเกิดภาวะตื่นกลัวด้วยการตั้งป้อมระวังความเสี่ยงจากสถานการณ์ดังกล่าวที่อาจรุนแรงมากขึ้น และนำไปสู่การกักเก็บสินค้าไปทั่วโลก แรงกดดันจะเพิ่มขึ้นจากสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งมวล ส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลขึ้น ประการที่สาม ในภูมิภาคจะเป็นตลาดที่มีขนาดเล็กกว่าประเทศส่งออกรายอื่น

    ทั้งนี้ ระดับเศรษฐกิจจะได้รับการสนับสนุนจากชาติตะวันตกน้อยลง และทางเลือกในการตอบสนองต่อสถานการณ์ที่ผันผวนจะลดลงไปด้วย


    Financial Times

    เตรียมพร้อมสำหรับปรากฏการณ์ช็อกโลก!! จากตะวันออกกลาง | Siam Intelligence Unit
    เตรียมพร้อมสำหรับปรากฏการณ์ช็อกโลก!! จากตะวันออกกลาง และ บทความติดตามสถานการณ์ ที่เกี่ย
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    บทความ/ทัศนะ


    ผลกระทบจากการปฏิวัติดอกมะลิ
    (Jasmine Revolution’s Effect)

    ยุทธ อยู่ณรงค์
    สำนักคิดอิสระไท


    ภาค ๑

    ถอดรหัส




    ในขณะที่สถานการณ์ในประเทศไทยอยู่ในภาวะตึงเครียดจากปัญหาชายแดนด้านเขมร รวมทั้งการเมืองในประเทศก็อยู่ในระยะเข้มข้น ทั้งจากการขับเคลื่อนของขบวนพันธมิตร และขบวนเสื้อแดง โดยมีรัฐบาลอภิสิทธิ์ เป็นเป้าหมายร่วม โดยมิได้นัดหมาย

    ขบวนการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทุกขบวน ก็อยู่ในระยะปรับตัว ขยับให้เข้าที่เข้าทาง อย่างคึกคัก เช่นเดียวกับสำนักคิด ทฤษฏี เริ่มเบ่งบาน พร้อมแข่งขันประชันเสียง...

    สำนักคิดอิสระไท ตั้งใจ มีใจ ใส่ใจ ในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ของขบวนการต่อสู้ของประชาชน มุ่งแสวงหาหนทาง นวัตรกรรม การค้นพบใหม่ ในแนวทางการเคลื่อนไหว ต่อสู้ของขบวนการประชาชนทั่วโลก ที่น่าจะนำมาประยุกต์กับการเคลื่อนไหวทางสังคมไทย ได้อย่างเหมาะสม สอดคล้อง

    เพื่อสร้างเสริมเติมเต็มขบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เสมือนโดน “แช่แข็ง” ใว้ในตู้เกียรติยศแห่งประวัติศาสตร์ภาคประชาชน ยาวนานมาแล้วไม่น้อยกว่าสามสิบปี และเพิ่งจะกลับมามีชีวิตชีวา ในความพยายามจะฟื้นชีวิตองค์กรนำที่เคยมีบทบาทสูงเด่นนั้นอีกครั้ง

    เมื่อฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาจริง จะได้ไม่เห็นแต่เพียงสิ่งที่เป็น อดีตอันเคยรุ่งโรจน์ กับ ความคิดชี้นำดั้งเดิม ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีชุดเดิม องค์ความรู้บทเดิม ตำราเล่มเดิม ซึ่งแม้มีสาระสำคัญที่ยังคงเป็นสัจธรรมสัมบูรณ์อยู่ก็ตาม แต่สภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปไกลในระยะกว่าสามสิบปีที่ผ่านมา จึงมีความจำเป็นต้องเพิ่มเติมองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อความรู้เท่าทัน การเปลี่ยนแปลงอันเป็นสัจจธรรมนิรันด์กาล...

    ดังเช่นสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในอีกซีกโลกหนึ่ง ใช้เวลาบ่มเพาะปัญหาสั่งสมยาวนานกว่าสามสิบปี ด้วยประกายไฟแวบเดียวก็จุดติด และใช้เวลาอีกเพียง ๒๘ วันในการลุกขึ้นสู้ของประชาชนแห่งตูนิเซียจนโค่นล้มผู้นำจอมเผด็จการที่ครองอำนาจยาวนานได้ด้วยพลังใหม่ในทางสังคม และด้วยเครื่องมือการต่อสู้ใหม่ล่าสุด ก่อนที่จะลามไปยังประเทศข้างเคียงอีกกว่าสิบประเทศ...อันเป็นที่มาของปรากฏการณ์ใหม่ที่เรียกว่า “การปฏิวัติดอกมะลิ” ดังมีสาระที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้....


    ที่มา ; จากดอกกุหลาบ ถึง ดอกมะลิ

    เมื่อไล่เรียงที่มาของ “การปฏิวัติดอกมะลิ” ที่แสดงกระบวนการเชิงวาทกรรม กับ การใช้สัญญลักษณ์ในการเร่งเร้า อารมณ์ และระดมผู้คนเข้าร่วมการขับเคลื่อนทางสังคม เพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทางสังคมในภูมิภาคหนึ่งๆ ดังนี้..

    จากเหตุการณ์ในตูนิเซีย เริ่มจาก นาย Mohamed Bouazizi วัย 26 ปี ตกงานและต้องหารายได้เลี้ยงดูคนในครอบครัว 8 คน เขาจึงเข็นรถขายผักที่ไม่มีใบอนุญาตไปตามเมือง Sidi Bouzid ทางตอนใต้ของตูนิเซีย จนเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2010 โดนตำรวจหญิงยึดรถเข็นขายผักไป ด้วยไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นจึงพยายามจ่ายเงิน 10 ดีน่า แต่กลับโดนตำรวจหญิงคนนั้นตบหน้า ถ่มน้ำลายใส่หน้า และดูถูกพ่อของเขา เขาก็เลยไปร้องเรียนที่ provincial headquarters แต่สิ่งที่ได้รับคือ การไม่สนใจและการได้รับการปฎิบัติแบบกากเดน ไม่มีค่า เป็นพลเมืองขยะ เขาจึงโมโห แล้วไปพ่นสี เขียนข้อความด่าตามที่สาธารณะ ก่อนจะจุดไฟเผาตัวเองเสียชีวิต เพื่อประท้วงเจ้าหน้าที่ทางการนั่นเอง

    เหตุการณ์ดังกล่าวนำสู่การรวมตัวของประชาชนเพื่อประท้วงในวันถัดมาในเมือง Sidi Bouzid และเริ่มขยายใหญ่ขึ้น เมื่อมีการส่งข่าวกันทาง facebook youtube จนลุกลามนำไปสู่การประท้วงขับไล่ประธานาธิบดี Zine el Abidine Ben Ali จนต้องขอลี้ภัยที่ประเทศซาอุ และเปลี่ยนรัฐบาล

    ปรากฎการณ์การขับไล่รัฐบาลนี้ สื่อต่างๆ ในประเทศตะวันตก พากันเรียกว่า "jasmine revolution" หรือบางทีก็เรียกว่า "Sidi Bouzid Intifadah"" แปลว่า การประท้วงการกดขี่ในเมือง Sidi Bouzid

    คำว่า jasmine revolution" จึงเป็นสัญลักษณ์การเรียกตนเองในการประท้วงหรือสื่อเป็นผู้ตั้งให้ ดังที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในหลายประเทศ โดยเรียกกันว่า "colour revolution" ที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ส่วนใหญ่มักเรียกร้อง ขับไล่รัฐบาล ตามท้องถนนเรื่องการคอรัปชั่น การว่างงาน การอดอยาก เสรีภาพในการคิดการพูด ประชาธิปไตย และมักต่อต้านความรุนแรงด้วย คือ

    - ปี 2003 ปรากฎการณ์ "rose revolution" ใน Georgia ที่มีการประท้วงการเลือกตั้ง โดยนายMikheil Saakashvili เค้าเชื่อว่าเค้าชนะการเลือกตั้งโดยดูจากผล EXIT POLL แต่กลับไม่ได้จัดตั้งรัฐบาล เค้าจึงนำทีมประท้วง ที่ freedom square ในวันเปิดสภาวันแรกเค้าได้ลุกขึ้นขัดขวางการกล่าวสุนทรพจน์ของประธานธิบดี Eduard Shevardnadze โดยนายMikheil Saakashvili ได้ถือดอกกุหลาบอยู่ในมือ หลังจากนั้นก็นำไปสู่การเปลี่ยนอำนาจ สื่อจึงตั้งชื่อการประท้วงว่า rose revolution

    - ในปี 2004 เกิด "orange revolution" ใน ยูเครนในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ก็คล้ายๆ กับการโกงการเลือกตั้งในเจอเจีย แต่ครั้งนี้เค้าใช้ริบบิ้นสีส้มในการต่อสู้

    - ในปี 2005 เกิด "tulip revolution" ใน Kyrgyzstan หรือบางครั้งก็เรียกว่า pink revolution

    - ในเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม 2005 เกิด "cedar revolution" ในเลบานอน ประท้วงเรื่องสิทธิของชาว syrian ในเลบานอน โดยใช้สีขาวและสีแดงของไม่ซีด้าเป็นสัญลักษณ์

    - เดือนมีนาคม 2005 เกิด "blue revolution" ในคูเวต ที่กลุ่มผุ้หญิงประท้วงเรื่องสิทธิการเลือกตั้ง

    - ปี 2005 เกิด "purple revolution" ในอีรัก เรื่องการเลือกตั้งที่มีอเมริกาหนุนหลัง

    - ปี 2009 เกิด "green revolution" ในอิหร่าน ประท้วงเรื่องการเลือกตั้ง

    ล่าสุด คือ jasmine revolution ในตูนิเซีย ที่ใช้สัญลักษณ์สีขาวในการประท้วง ในการประท้วงแบบ "colour revolution" ตามประเทศต่างๆ นั้น มีคำหนึ่งที่เค้าใช้คือคำว่า "wider Arub world" คือ ทั้งหมดที่มีการประท้วงนั้น ล้วนอยู่ในกลุ่มโลกอาหรับทั้งสิ้น


    ถอดรหัส ปรากฏการณ์ดอกมะลิ

    แม้จนทุกวันนี้ ก็ยังไม่มีการระบุความหมายชัดเจนของวาทกรรมเชิงสัญญลักษณ์ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่ก่อการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มประเทศอาฟริกาเหนือ ในนามของ ปรากฏการณ์ดอกมะลิ หรือ Jasmine Effects แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศอาฟริกาเหนือ ที่เริ่มจาก ตูนิเซีย ก่อนลุกลามสู่ประเทศอื่น ได้แก่ ซูดาน อียิปต์ จอร์แดน ฯลฯ พอที่จะจับกฏเกณฑ์ที่เป็น “ปัจจัย” แวดล้อม หรือ เหตุปัจจัยสำคัญร่วมกันได้จำนวนหนึ่งดังต่อไปนี้

    ปัจจัยที่ ๑ การปกครองต่อเนื่องยาวนาน

    ผู้นำตูนิเซียอยู่ในอำนาจ ยาวนานกว่า ๒๓ ปี ขณะที่ผู้นำอียิปต์ครองอำนาจมายาวนานกว่า ๓๐ ปี เป็นสองประเทศแรกที่เกิดผลจาก Jasmine Effect ในช่วงระยะเวลาห่างกันเพียง ๑ เดือนเท่านั้น และประเทศที่อยู่ในคิวความปั่นป่วนระลอกถัดไป เช่น เยเมน , ชาด และ จอร์แดน เป็นต้น ต่างล้วนมีผู้นำที่ครองอำนาจต่อเนื่องยาวนานเกินช่วงทศวรรษที่ผ่านมาทั้งสิ้น

    ประการนี้ คือ ปัจจัย หรือ “เหตุ” พื้นฐานที่สร้างเงื่อนไขให้มีการสั่งสมความไม่พอใจในสภาพการเมือง การบริหาร การปกครองของประเทศ เบื่อหน่ายผู้นำ และเป็นไปโดยหลักจิตวิทยามวลชนพื้นฐานที่ทำให้ผู้คน สังคม มีความต้องการ “การเปลี่ยนแปลง”

    ปัจจัยที่ ๒ ปกครองโดยการเผด็จอำนาจ

    ลักษณะทางการเมืองที่เป็นลักษณะร่วมประการหนึ่งของประเทศที่อยู่ในภูมิภาคแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง แถบนี้ คือ มีการปกครองในลักษณะ เผด็จการ ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เช่น ปกครองโดยเผด็จการทหาร เผด็จการโดยรัฐสภา เผด็จการโดยระบอบกษัตริย์ เป็นต้น

    ลักษณะพื้นฐานของรัฐที่ปกครองโดยเผด็จการยาวนาน มีการริดรอนสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หากยิ่งมีการกดขี่ ข่มเหง ผู้ถูกปกครองมากเท่าไหร่ ยิ่งสร้างความโหยหา ประชาธิปไตย มากกขึ้นเท่านั้น และนั่นก็คือ เหตุปัจจัยหนึ่งของ “การเปลี่ยนแปลง”

    ปัจจัยที่ ๓ สภาพบ้านเมืองมีปัญหาสะสม โดยเฉพาะความยากจน และการทุจริต คอรัปชั่น

    นอกจากความเป็นเหตุเป็นผลของประเทศที่มีผู้ปกครองเผด็จอำนาจ เป็นรัฐเผด็จการอย่างต่อเนื่องยาวนานย่อมนำประเทศไปสู่ปัญหาสะสมภายในประเทศ โดยเฉพาะปัญหาความยากจน และการทุจริตคอรัปชั่น ดังเห็นได้จาก คำขวัญของผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลตูนิเซีย คือ “ขนมปัง และ ประชาธิปไตย” และใช้เวลาการเคลื่อนไหวต่อเนื่องอีกรวมทั้งสิ้น ๒๘ วัน ก็สามารถก่อการเปลี่ยนแปลงในประเทศได้

    ข้อเท็จจริงประการหนึ่งของประเทศที่เป็นแนวที่ได้รับผลสะเทือนต่อเนื่องของ การปฏิวัติดอกมะลิในแถบอาฟริกาเหนือ และบางประเทศในตะวันออกกลาง ที่มีทรัพยากรสำคัญ คือ น้ำมัน หรือเป็นเส้นทางขนส่ง หรือ แนววางท่อน้ำมัน ซึ่งทำให้ มีรายได้ประชาชาติอยู่ในเกณฑ์สูง ก็ตาม แต่ประชาชนส่วนใหญ่กลับมีฐานะยากจน เช่น ในกรณีในแอลจีเรียนั้น กระแสความไม่พอใจของประชาชนต่อความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายความมั่งคั่งที่ได้จากการขายน้ำมันกำลังทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ เพราะในทุกวันนี้รายได้กว่า 95 เปอร์เซ็นต์จากการส่งออกน้ำมันกลับไปกระจุกตัวอยู่ในมือของผู้มีอำนาจทางการเมืองเพียงไม่กี่รายในประเทศ ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศกว่า 35 ล้านคนยังคงทุกข์ยากกับภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองแร้นแค้นต่อไป

    ในกรณีของเยเมนนั้น ถือเป็นประเทศที่ยากจนข้นแค้นที่สุด และพัฒนาน้อยที่สุดในโลกอาหรับ มีอัตราการว่างงานที่สูงลิ่วถึงร้อยละ 65 ของประชากร ซ้ำร้ายยังมีเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะใกล้ล่มสลายจากการที่ “น้ำมัน” ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของประเทศกำลังจะหมดไปภายในปี 2017 อีกทั้งชาวเยเมนจำนวนมากยังไม่พอใจการบริหารประเทศภายใต้การนำของประธานาธิบดีอาลี อับดุลลาห์ ซาเลห์ ที่แทบไม่มีผลงานเลยนับตั้งแต่ก้าวขึ้นมาครองอำนาจเมื่อเดือน ต.ค. 1994

    สิ่งที่เป็นความเกี่ยวข้อง สัมพันธ์กันเสมอ ก็คือ ปัญหาความยากจน ทุกข์ยาก สะสมของประชาชนในประเทศด้อยพัฒนา มักจะมีที่มาจากการบริหารประเทศของชนชั้นปกครองที่ไม่โปร่งใส มีการทุจริต คอรัปชั่น

    ไม่เพียงแค่ ตูนีเซีย เยเมน และอียิปต์ เท่านั้น แต่ยังเป็นรหัสร่วมในปรากฏการณ์ ดอกมะลิ ในอีกหลายประเทศ

    ปัจจัยที่ ๔ มีพลังสะสมของเยาวชน ชนชั้นกลาง และปัญญาชน

    ปัจจัยที่ว่าด้วยการสะสมพลังที่ “ปฏิบัติการ” ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสังคม ที่ดำเนินการอย่างทุ่มเท กล้าหาญ อยู่ในขณะนี้นั้น ได้แก่องค์ประกอบของผู้คน ๓ ส่วน คือ กลุ่มชนชั้นนำ(Elite)ในส่วนที่เป็นปัญญาชนในประเทศนั้นๆ ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการศึกษา ติดตาม และวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งภายใน และภายนอกประเทศ เพื่อมากำหนด “วาระ” ในการปฏิบัติการเปลี่ยนแปลงสังคม ในกรณีของอียิปต์ และตูนีเซีย ชนชั้นนำที่เป็นปัญญาชนที่มีบทบาทสำคัญในการชี้นำนั้น ได้แก่ อาจารย์มหาวิทยาลัย สื่อมวลชน และบุคลากรจากภาคธุรกิจเอกชน ขณะที่ ผู้นำทางศาสนากลุ่มเข้มข้น เช่น กลุ่มภราดรภาพ ซึ่งเคยมีบทบาทสำคัญในการนำมวลชนต่อสู้ กลับเข้าร่วมช่วงระยะสุดท้าย

    การเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลาง ทั้งที่เป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน ราชการ ในองค์กรต่างๆ พนักงานในภาคธุรกิจเอกชน ผู้ประกอบการค้าอิสระ รายย่อย รวมทั้งผู้จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ แต่ไม่มีงานทำ ต้องเป็นแรงงานแฝงในกิจการของครอบครัวและมีการสั่งสมยาวนาน ชนชั้นกลางเกือบทั้งหมดนี้ได้รับผลกระทบจากการที่ประเทศของตนมีปัญหาเศรษฐกิจ ท่วมทับทวี จึงเป็นพลังสะสมของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เติมเชื้อไฟใว้ยาวนานนับสิบๆปี

    นอกจากนั้น ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามสถานการณ์โลกที่แวดล้อมกลุ่มประเทศเหล่านี้อยู่ รวมทั้งความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ โดนเฉพาะด้านการสาธารณสุข มีผลให้โครงสร้างประชากรเปลี่ยนไป ผู้สูงวัย เพิ่มขึ้น และที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วคือ ประชากรในช่วงวัยหนุ่มสาว หรือเยาวชนนั่นเอง

    การขยายตัวทั้งในเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณของกลุ่มปัญญาชน กลุ่มคนชั้นกลาง และกลุ่ม เยาวชน เหล่านี้ เป็นปัจจัยสำคัญของการเปลี่ยนแปลง ที่กำลังย่างกรายเข้ามา

    ปัจจัยที่ ๕ มีประกายไฟ

    เมื่อความพร้อมทางภววิสัย อันประกอบด้วยปัจจัยข้างต้นทั้งหมดลงตัว และประจุแน่นพร้อมรอการระเบิด นั้น การเกิดประกายไฟที่จะจุดติดการระเบิดขึ้นของพลังทางสังคมในประเทศนั้น ในความหมายนี้ หมายถึง การเกิดขึ้นของเหตุการณ์ที่มีผลกระทบทางสังคมอย่างกว้างขวาง เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับนาย Mohamed Bouazizi ในตูนีเซีย หรือ การเชื่อมโยงกับกระแสการเปลี่ยนแปลงทางภววิสัย เช่น ในกรณีอียิปต์ เหล่านี้ล้วนต้องการ ประกายไฟ ที่มีแรงจุดระเบิดปัญหาที่สะสมยาวนาน อย่างเหมาะสม “ถูกที่ ถูกเวลา” จึงจะสามารถ จุดติด หรือ ก่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้

    ปัจจัยที่ ๖ เป็นประเทศมุสลิม

    ปัจจัยร่วมประการสุดท้ายนี้ คือ Jasmine Effect นี้เกิดขึ้นครั้งแรกในตูนิเซีย ลามไปยังอียิปต์ และกำลังส่งผลสะเทือนยังกลุ่มประเทศภูมิภาคอาฟริกาเหนือ ได้แก่ เยเมน ชาด ลีเบีย ฯลฯ และข้ามไปยังตะวันออกกลาง ได้แก่ บาร์เรน อิหร่าน จอร์แดน ซาอุดิ อาระเบีย อิรัก และ อาฟริกานิสถาน

    ความเชื่อมโยงของสถานการณ์นี้ คือ การส่งผลสะเทือนต่อเนื่องไปตามประเทศที่นับถือศาสมุสลิมเท่านั้น คำถามคือทำไมต้องเป็นไปเพียงประเทศมุสลิมเท่านั้น? ทำไม จากอาฟริกาเหนือ ไม่ลุกลามต่อเนื่องไปในพื้นที่อาฟริกาตอนกลาง ทำไมโดดข้ามไปยังกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง จนถึงอาฟริกานิสถาน ?

    สมมุติฐานที่ ๑ คือ การส่งผลสะเทือนต่อเนื่อง เป็นไปตามลักษณะตามธรรมชาติ คือ ตามความสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งเป็นสังคมมุสลิม

    สมมุติฐานที่ ๒ คือ มีการแทรกแซง จากงานลับใต้ดินของประเทศมหาอำนาจที่เป็นศัตรูของขบวนการก่อการร้ายมุสลิมหัวรุนแรงที่ฝังตัวอยู่ในภูมิภาคนี้ภายใต้การสนับสนุนอย่างลับๆของประเทศเหล่านี้ รวมถึงเหตุผลการทำลายความมั่นคงของการผูกขาดอำนาจทางเศรษฐกิจพลังงาน

    สมมุติฐานที่ ๓ คือ มีการฉวยโอกาส ช่วงชิงดอกผลการต่อสู้ของประชาชน โดยขบวนการมุสลิมหัวรุนแรง ที่พยายามใช้แรงเหวี่ยงจากสถานการณ์ในตูนิซีย อียิปต์ มาสู่ความพยายามในการล้มรัฐบาล ในประเทศตน

    อย่างไรก็ตามแรงเหวี่ยงของสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่เรียกว่า Jasmine Revolution’s Effect ยังคงแสดงผลอย่างต่อเนื่องภูมิภาคดังกล่าวนั้น เท่าที่ผ่านมา กระบวนการเคลื่อนไหวอย่างมีพลังนี้ ใช้เวลา ๒๓ วัน ล้มผู้ปกครองตูนิเซีย และใช้เวลาเหลือเพียง ๑๘ วันก็คว่ำ รัฐบาลอียิปต์ได้ และกำลังก่อหวอดอยู่ในอีกหลายประเทศนั้น สมควรจะถอดบทเรียน องค์ความรู้ ในการต่อสู้ของภาคประชาชน ในลำดับต่อไป




    ภาค ๒

    ว่าด้วยกลยุทธ




    ข้อสังเกตุที่ ๑ เงื่อนไขภววิสัย และอัตวิสัยพร้อม

    ข้อสังเกตุที่ ๒ ความคิดชี้นำ คือ NSM ; New Social Movement

    ข้อสังเกตุที่ ๓ กลยุทธ คือ “ไร้กระบวนท่า”

    · ไร้กลยุทธ ; ไร้แบบแผน ไร้ร่องรอย

    · ไร้การนำ ; การจัดตั้งแนวนอน

    · กำหนด วัน ว. เวลา น. ; Setting Agenda

    · เคลื่อนไหว ใน ไซเบอร์ สเปซ

    · เชื่อมการเคลื่อนไหวใน ๒ โลก

    · หัวใจ คือ เชื่มโยง และ ถักทอ

    · สู่ความสำเร็จ




    democracymove -
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ความมั่นคงศึกษา Social Media - Social Network ตัวเร่งในการปฏิวัติประชาชน


    แก้ไขโดย ทอทหาร

    วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554

    [​IMG]

    จากเหตุการณ์ที่เรียกว่า “การปฏิวัติดอกมะลิ” หรือ (Jasmine Revolution) ที่เกิดขึ้นในตูนีเซียที่มีการปฏิวัติเพื่อล้มล้างการปกครองของ ประธานาธิบดี เบน อาลี (Ben Ali) และได้ขยายตัวไปยังการล้มล้างการปกครองของประธานาธิบดี ฮุสนี มูบารัก (Hosni Mubarak) ของอียิปต์ และปัจจุบันสถานการณ์ได้ลุกลามบานปลายไปสู่ประเทศอาหรับอีกหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศ ลิเบีย บาห์เรน เยเมน และ อีกหลายประเทศ และสถานการณ์นั้นนักวิชาการหลายคนเชื่อว่า คงไม่ได้หยุดอยู่ที่ประเทศอาหรับ แต่กลับจะมีการกระเพื่อมไปยังประเทศในกลุ่มลาตินอเมริกา และ จีนนอกจากนี้มีนักวิชาการบางคนยังมีความเชื่อว่า สถานการณ์เหล่านี้อาจจะเลยมายังประเทศไทย

    นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการหลายคน พยายามเชื่อมโยงปรากฏการณ์ที่แพร่กระจายการปฏิวัติประชาชน นี้ไว้กับ Social Network ผ่านบทความและข้อคิดเห็นหลายบทความ อย่างไรก็ตามก็มีผู้วิพากษ์จำนวนมากที่กล่าวว่า สาเหตุที่แท้จริงไม่ใช่ Social Network แต่กลับเป็นเรื่องของเงื่อนไข ในเรื่องของ ปัญหาการว่างงาน ความยากจน ปากท้องของประชาชน และที่สำคัญ คือการขาดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ที่ทำการเรียกร้องต่อผู้ปกครองของตน

    ส่วนหนึ่งของการกล่าวถึง Social Network กันมากเพราะการโตขึ้นของประชากร Social Network ต่างๆ ที่ใช้งานกันอยู่ มีอัตราการขยายตัวที่เร็วมาก มีประชาการโดยรวมแล้ว มากกว่า 1,000 ล้านคน โดยคนกว่าพันล้านคนเหล่านี้ สามารถสื่อสารกันได้โดยตรง ตลอดเวลา 24 ชม. 7 วัน และที่สำคัญคือการสื่อสารเหล่านี้ไม่จำกัดเฉพาะสังคมใดสังคมหนึ่ง หรือ พลเมืองประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่คนแต่ละคนสามารถที่จะสื่อสารอะไรกับใครก็ได้ หากเขาเหล่านั้นสามารถเชื่อมต่อเข้าอินเตอร์เน็ตหรือโลกไซเบอร์ได้ ซึ่งจะมีความแตกต่างจากในอดีตที่ บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะรับรู้ข้อมูลข่าวสารมาเป็นทอดๆ ในขณะที่ปัจจุบันนั้นการรับรู้สามารถรับรู้ได้โดยตรง แต่บุคคลทั่วไปก็ยังถูกแบ่งโดยสังคมและความเป็นพลเมืองของประเทศ และในอนาคตมีความเป็นไปได้ว่าเส้นแบ่งเขตต่างๆ จะมีความสำคัญน้อยลง และเป็นไปได้ที่จะจางหายไป ดังแสดงในภาพที่ 1

    [​IMG]

    ภาพที่ 1 การรับรู้ของปัจเจกบุคคล ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

    ดังนั้นหากจะมาดูถึงปรากฏการณ์ต่างที่เกิดขึ้นนั้น การลุกฮือของประชาชนแล้วทำการล้มล้างรัฐบาลของตนเองนั้น มีความเชื่อมโยงอย่างเด่นชัดของความไม่สมดุลย์ระหว่างปัญหาความเป็นจริงที่เป็นอยู่ กับการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ที่ผ่านมาทาง สื่อกระแสหลัก และ สื่อใหม่ อย่าง Social Network เช่น Facebook และ Twitter หรือแม้กระทั่ง การใช้ search engine ค้นหาข้อมูลข่าวสารต่างๆ ซึ่งความไม่สมดุลย์ฯ นี้เองสามารถแสดงได้ตามภาพที่ 2 โดยการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วจะก่อให้เกิดประชาคม หรือ Community ที่รวบรวมคนที่มีความคิดเห็นเหมือนๆ กันเข้าด้วยกัน การรวมตัวเหล่านี้จะกลายเป็นการแสดงความคิดเห็น การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และในที่สุดได้กลายมาเป็นแรงกดที่ถาโถมเข้าสู่สังคม

    [​IMG]

    ภาพที่ 2 ความไม่สมดุลย์ระหว่างการรับรู้กับความเป็นจริงในสังคมตนเอง

    ในขณะเดียวกันเมื่อการรับรู้ในสิ่งต่างที่เกิดขึ้นในโลกเป็นไปอย่างรวดเร็ว ประชาชนเริ่มหันมามองบริบทของสังคมตนเองทำให้เห็นถึงความแตกต่างจนเกิดเป็นแรงดันในสังคมที่พยายามจะปรับฐานความเป็นจริงของตนเองให้มายังจุดที่คิดว่าพอใจ แต่ความพยายามนี้ก็จะเจอกับแรงต้านจากข้อจำกัดที่มีอยู่ในสังคมนั้นๆ เช่น การปกครองที่มีลักษณะเผด็จการ ความต้องการรักษาอำนาจของผู้ปกครอง แรงต่างๆ เหล่านี้จึงกลายมาเป็น ช่องว่าระหว่างการรับรู้จากภายนอกกับความเป็นจริง ที่นำไปสู่ความไม่สมดุลย์ของสังคมแต่ละสังคม

    จากความไม่สมดุลย์ของสังคมนี้เองจะนำไปสู่ความพยายามในการปรับตัว เพื่อให้เกิดสภาวะที่สมดุลย์ขึ้นสังคม ช่วงเวลาที่ปรับตัวนี้เราจะเรียกว่า การเปลี่ยนผ่าน (Transition Period) โดยการเปลี่ยนผ่านนี้ มีความเป็นไปได้ที่จะมีการเปลี่ยนผ่านไปอย่างราบรื่น ไม่มีความรุนแรง การเปลี่ยนผ่านลักษณะนี้จะเรียกว่า การปฏิรูป (Reform) แต่หากการเปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้นมีความรุนแรง จะถูกเรียกว่า การปฏิวัติ (Revolution)


    ดังนั้นการที่สังคมใดสังคมหนึ่งจะมี การเปลี่ยนผ่านที่เป็น การปฏิรูป หรือ การปฏิวัติ จะอยู่ที่ตัวแสดงที่มี นั่นคือ ประชาชน และ ผู้ที่มีอำนาจปกครอง เป็นผู้ที่จะเลือก ว่าต้องการผลเช่นไร แต่ที่แน่ๆ แม้ Social Network จะไม่ใช่พระเอกที่เป็นผู้นำไปสู่การเปลี่ยนผ่าน แต่ก็เป็นผู้ช่วยพระเอกที่ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่าน เหมือน มี Batman ก็ต้องมี Robin หรือ มี สมบัติ เมทะนี ก็ต้องมี ลักษณ์ อภิชาติ ………...เอวัง ครับ

    http://tortaharn.net/contents/index.php?option=com_content&task=view&id=182
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    การปฏิวัติดอกมะลิกำลังก่อตัวขึ้นในจีน


    February 21, 2011




    เกิดการปฏิวัติดอกมะลิ (Jasmine Revolution) ของกลุ่มเคลื่อนไหวในจีน ทางการจีนได้บล็อคการเข้าถึงเว็ปไซต์และ Social networks ต่างๆ ทั้ง Facebook หรือ Twitter เนื่องจากมีการแพร่กระจายของบางกลุ่มที่พยายามปลุกเร้าให้ชาวจีนรวมตัวกันใน 13 หัวเมืองใหญ่

    สถานการณ์ดังกล่าวถูกเรียกว่า การปฏิวัติดอกมะลิของชาวจีน (Chinese Jasmine Revolution) อันเนื่องมาจากการว่างงาน ความต้องการอาหารและที่อยู่อาศัย รวมทั้งความต้องการให้ปฏิรูปการเมืองและการยุติการเซ็นเซอร์สื่อมวลชนหลายต่อหลายครั้งในการใช้อินเตอร์เน็ตของชาวจีนถูกบุคคลนิรนามโจรกรรมข้อมูล

    คำว่า “ปฏิวัติดอกมะลิ” (jasmine revolution) ถูกหยิบยืมมาจากการปฏิวัติสำเร็จในตูนิเซีย ได้ถูกทางการบล็อคทั้งใน Twitter และ search engines นอกจากนี้ ผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือยังไม่สามารถส่งข้อความไปยังผู้อื่นได้ จากนั้นตำรวจนับร้อยรายได้ตรึงกำลังไว้ในบริเวณย่านการค้า แม้ยังไม่ชัดเจนว่าแกนนำที่แท้จริงเป็นใคร

    [​IMG]

    msnbc

    ความสงสัยเคลือบแคลงถูกก่อตัวขึ้นและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าสัดส่วนในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตของชาวจีนจะมีอยู่เป็นจำนวนน้อย และพรรคคอมมิวนิสต์จีนยังคงใช้อำนาจในการเซ็นเซอร์ หรือบล็อคเว็ปไซต์ที่มีเนื้อหาต่อต้านระบอบการปกครอง –Russia Times

    ยังไม่มีการรายงานข่าวถึงจำนวนของผู้ประท้วง และการตอบโต้ของรัฐบาลจีน แต่เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลจีนกำลังเป็นกังวลต่อปรากฏการณ์ประท้วงโดยมีเป้าหมายเพื่อล้มล้างระบอบการปกครองแบบเผด็จการของผู้กุมอำนาจรัฐที่แพร่สะพรัดในตะวันออกกลาง

    เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา นักกฎหมายกว่า 10 ราย และกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิได้ชุมนุมกัน จากนั้น นักกฎหมาย 2 ราย นาย Tang Jitian และ นาย Jiang Tianyong ได้หายตัวไป

    ผู้คนที่เรียกร้องเพื่อประท้วงต่างพากันตะโกน “เราต้องการอาหาร!! เราต้องการทำงาน!! เราต้องการบ้าน!! เราต้องการความยุติธรรม!!”

    [​IMG]

    Reuters

    เป็นเหตุให้ประธานาธิบดี หู จิ่นเทา ได้เรียกประชุมกลุ่มผู้นำอย่างเร่งด่วน เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาและร่วมหารือถึงปัญหาที่ได้เผชิญ ก่อนที่ประเด็นดังกล่าวจะกลายเป็นสิ่งคุกคามเสถียรภาพของประเทศ โดยพยายามตระหนักถึงสิ่งที่จำเป็นทั้งมวลที่จะช่วยขยายและสร้างนวัตกรรมในการจัดการสังคม ด้วยการกระตุ้นและเพิ่มพูนช่องทางที่จะทำให้สังคมจีนมีความกลมเกลียวกัน ขณะเดียวกัน ทางการจีนพยายามลดปัจจัยที่จะทำให้เกิดความแตกแยก –Xinhua

    การปกครองของผู้นำประเทศที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน อำนาจดังกล่าวอาจถูกนำมาใช้ได้ผลในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถเป็นอำนาจที่ปกครองประชาชนได้อย่างแท้จริง ทุกระยะของการปิดกั้น ย่อมมีคนพยายามแสวงหาทางออก หากจีนต้องเผชิญการปฏิวัติดอกมะลิอย่างเข้มข้น อย่างที่เคยเกิดขึ้นทั้งในตูนิเซียและอียิปต์

    ผลของการประท้วงดังกล่าวในขั้นต้น ในยุคเปลี่ยนผ่านที่การประท้วง การปฏิวัติสำเร็จในหลายประเทศ คงทำให้อำนาจของผู้นำประเทศระส่ำระสาย แรงกระทบจากกระแสปฏิวัติอาจส่งผลผู้นำในหลายประเทศที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนต้องตระหนักถึงบทบาท หน้าที่ และนำไปสู่การแก้ไขระบอบการปกครองให้มีความเป็นเสรีและเป็นธรรมขึ้นบ้างไม่มากก็น้อย


    NYTimes
    <object width="640" height="390"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/TOUEhto3kJ8&hl=en_US&feature=player_embedded&version=3"></param><param name="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowScriptAccess" value="always"></param><embed src="http://www.youtube.com/v/TOUEhto3kJ8&hl=en_US&feature=player_embedded&version=3" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="390"></embed></object>

    การปฏิวัติดอกมะลิกำลังก่อตัวขึ้นในจีน | Siam Intelligence Unit
     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    รายงานพิเศษ

    นภาพร แจ่มทับทิม

    สังคม 'หลังชาวนา' สังคมกึ่งเมืองกึ่งชนบท
    ก่อเกิดขบวนการเสื้อแดง




    การชุมนุมครั้งใหญ่ของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือขบวนการเสื้อแดงใจกลางกรุงเทพฯ ในระยะ 2-3 ปีมานี้ เป็นอันต้องปิดฉากลงด้วยโศกนาฎกรรมความสูญเสีย ไม่สำเร็จตามเป้าหมายข้อเรียกร้อง

    แต่แล้วเหตุใด 'คนเสื้อแดง' จึงเติบโตและขยายตัวทั้งในเชิงสัญลักษณ์และความคิด เมื่อประกาศระดมพลครั้งใด เครือข่ายคนเสื้อแดงหลายกลุ่ม หลายเฉด ยังรวมพลอย่างเหนียวแน่น โดยมีฐานมวลชนหลักอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือและอีสาน รวมถึงมวลชนในกรุงเทพฯ ที่มีอยู่ไม่น้อย ที่ผ่านมา ได้มีงานศึกษาและอธิบายปรากฏการณ์การก่อตัวของมวลชนเสื้อสี ท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงของชนบท ที่แตกต่างกันออกไป

    ผศ.ดร.สมชัย ภัทรธนานันท์ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในชนบทอีสาน ภายใต้กรอบคิดที่ว่า การรวมตัวของคนเสื้อแดงเป็นผลมาจากรากเหง้าการเปลี่ยนแปลงของสังคมชนบท ซึ่งมีมิติทางเศรษฐกิจ สังคมและการเปลี่ยนแปลงทางประชาธิปไตย อันเป็นองค์ประกอบในการอธิบายพฤติกรรมคนชนบทที่แตกต่างไปจากอดีต

    จากความสนใจตั้งแต่ต้น เกิดจากภายหลังการลงประชามติรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ที่ชาวบ้านไม่พอใจกับการรัฐประหารมากกว่าครั้งก่อนๆ ต่างจากเดิมที่มวลชนรากหญ้าไม่มีปฏิกิริยาต่อต้านอำนาจรัฐในลักษณะนี้มาก่อน

    โดยกลุ่มคนหลักที่เขาไปศึกษาจะไม่ใช่ 'แดงพันธุ์แท้' แต่เป็นกลุ่มชาวบ้านที่มีความคิดเอียงในอารมณ์ร่วมกับมวลชนเสื้อแดง และส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาวนาอีสาน ขณะที่เขาได้พูดคุยกับคนเสื้อเหลืองอยู่บ้าง ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์มายาวนาน และเป็นกลุ่มคนที่กล้าประกาศตัวเป็นเสื้อเหลืองอย่างชัดเจน

    "ผมจะไม่ไปสัมภาษณ์คนที่อยู่ในกลุ่มคนเสื้อแดง แต่ผมจะสัมภาษณ์เฉพาะชาวบ้านที่เขาชอบเสื้อแดง เขาชอบเพราะอะไร ซึ่งน่าจะเป็นตัวสะท้อนอารมณ์ความรู้สึกของคนชนบทได้เป็นอย่างดี การที่ไม่ได้ไปสัมภาษณ์มวลชน หรือผู้นำเสื้อแดง เพราะคงจะได้คำตอบสำเร็จรูป โดยส่วนใหญ่จะศึกษาในจังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดอื่นๆ ใกล้เคียง"

    เขาพบว่าชนบทคือฐานสำคัญของคนเสื้อแดง อยู่ในหลากหลายระดับฐานะ มีทั้งรากหญ้า มีต้นหญ้า มียอดหญ้า และพวกที่ไม่ใช่หญ้า ผนวกรวมเป็นมวลชนที่มีฐานกว้างขวาง


    สังคมหลังชาวนา

    ผศ.ดร.สมชัย เริ่มต้นอธิบายภาพการเมืองในชนบทไทย ที่คนเมืองมักมองแบบหยุดนิ่ง และมีคำอธิบายว่าคนชนบทอยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์ ไม่มีความคิดทางการเมืองเป็นของตัวเอง การแสดงออกทางการเมืองแสดงออกตามจำนวนเงินที่ถูกซื้อ ซึ่งสมมติฐานดังกล่าวไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของชนบทในปัจจุบัน ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม และการเมืองที่ควบคู่กันไป ในสองช่วงเวลาสำคัญ คือ พ.ศ.2522-2533 และหลังพฤษภาคม 2533 โดยในยุค 2520 พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี แม้จะไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่ขณะนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลบ่อย มีการเลือกตั้ง มีกระบวนการใช้สิทธิชองชาวบ้าน ขณะเดียวกัน การประกาศนโยบาย 66/2523 ก็ทำให้รัฐเริ่มผ่อนคลายการควบคุมชาวบ้านในแบบเดิม แต่ก่อนชนบทถูกควบคุมโดยรัฐ ควบคุมโดยลูกเสือชาวบ้าน กลุ่มไทยอาสาป้องกันชาติ (ทสปช.)

    "ขณะเดียวกัน การปกครองประเทศในรูปแบบรัฐสภาอย่างต่อเนื่อง เกิดกระบวนการเลือกตั้ง เริ่มทำให้เกิดเครือข่ายทางการเมือง เกิดหัวคะแนนของกลุ่มต่างๆ ตั้งแต่ระดับ อบต. ไปถึง ส.ส. ส.ว. ล้วนแต่มีการแข่งขันเป็นกลุ่มการเมืองในหลายระดับ จึงเป็นเรื่องยากที่กลุ่มการเมืองใดการเมืองหนึ่งจะไปควบคุมชาวบ้านได้

    "ในแง่ทัศนคติทางการเมือง ชาวบ้านเริ่มถูกสอนและรับรู้ว่าพวกเขามีสิทธิ ทุกคนมีหนึ่งเสียงที่เท่าเทียมกัน ประชาชนรับรู้ว่าแหล่งที่มาของรัฐบาล ต้องมาจากการเลือกตั้ง จากนั้นหลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2553 เกิดกระแสการรณรงค์ประชาธิปไตยและหยิบยกความคิดเรื่องรัฐประหารเป็นมะเร็งร้ายของสังคม ทำให้ประเทศล่มจม ส่งผลให้การรัฐประหารถูกปลูกฝังกับชาวบ้านว่า เป็นสิ่งที่ไม่ชอบธรรม และพวกเขายังตระหนักว่าผู้ที่มีความชอบธรรมในการบริหารประเทศต้องมาจากการเลือกตั้ง การใช้สิทธิ ใช้เสียงของตัวเองเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เขามีมุมมองใหม่ๆ มีความกล้าหาญในการแสดงออกทางการเมืองมากขึ้น"

    ลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ สังคมชนบทมีการประกอบอาชีพที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งในและนอกภาคการเกษตร เป็นสังคมที่คนไม่ได้ทำมาหากินแบบปลูกข้าว ทำนาอย่างเดียว แต่พวกเขายังประกอบอาชีพหาบเร่ แผงลอย เป็นผู้ประกอบการรายย่อย ทั้งในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้าน ในกรุงเทพฯ ต่างประเทศ ทำให้คนเหล่านี้มีความเป็นอิสระ มีความเป็นปัจเจกสูง

    "วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทำให้ความคิดความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนบ้าน อำนาจรัฐเปลี่ยนแปลงไป ความใฝ่ฝันในชีวิตของพวกเขาเปลี่ยนไป อาชีพดั้งเดิมอย่างการทำนา ไม่มีแรงดึงดูดที่ทำให้คนรุ่นใหม่อยากทำอีกต่อไป เกิดการจ้างทำนา วิถีชีวิตคนชนบทเป็นอิสระมากขึ้น ทำให้รสนิยมการบริโภคมีรูปแบบคล้ายคนเมือง

    "ด้านการเข้าถึงการสื่อสารก็เพิ่มมากขึ้นด้วย ถนนมีความสะดวกสบายเพิ่มมากขึ้น มีไฟฟ้า ทุกบ้านดูทีวีเหมือนคนกรุงเทพฯ ดูทีวีดาวเทียม ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่ทำใหคนเหล่านี้รับรู้ข่าวสารอย่างรวดเร็ว เช่น หากมีการชุมนุมที่กรุงเทพฯ คนในหมู่บ้านก็จะรับรู้ได้ทั้งหมด เพราะว่ามีโทรศัพท์มือถือ ที่พร้อมโทรหาข่าวจากญาติ หรือฟังเสียงอภิปรายจากกรุงเทพฯ ได้สดๆ

    "คนในชนบทมีความเป็นปัจเจกสูงขึ้น เขาเริ่มรับความเชื่อใหม่ๆ ส่งผลให้การควบคุมของรัฐ ทำได้ยากขึ้น ความคิดความสัมพันธ์ระหว่างเขากับเพื่อนบ้าน เขากับอำนาจรัฐเปลี่ยนแปลงไปด้วย การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคม จึงทำให้ชนบทมีแนวคิดที่แปลกใหม่"

    ลักษณะการเปลี่ยนแปลงในชนบท ทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมืองดังที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นสังคมที่ ดร.สมชัย เรียกว่า 'สังคมหลังชาวนา' คือคนในชนบทเปลี่ยนจากสังคมชาวนา เป็นสู่สังคมอีกประเภทหนึ่ง

    "ไม่ได้มีลักษณะเป็นสังคมเมืองเต็มที่ แต่ก็ไม่ใช่สังคมชาวนาแบบดั้งเดิมอีกต่อไป โดยมีลักษณะสังคมชาวนา บวกกับสังคมสมัยใหม่ และเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดขบวนการเสื้อแดงในชนบท

    "การทำความเข้าใจกับพฤติกรรมการเมืองของสังคมหลังชาวนา และวิถึชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของคนในชนบท เป็นส่วนสำคัญที่เมื่อมีพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งมีนโยบายสอดคล้องกับความใฝ่ฝันกับรูปแบบชีวิตใหม่ ที่เปลี่ยนไปจากเดิม พวกเขาก็พร้อมจะสนับสนุนพรรคการเมืองนั้นๆ"


    ประชาธิปไตยคนเสื้อแดง

    งานวิจัยชิ้นนี้ ไม่ได้เน้นศึกษากลุ่มคนที่เข้าร่วมชุมนุม แต่เป็นกลุ่มผู้ติดตามข่าวสารของคนเสื้อแดง และมีทัศนะโน้มเอียงไปทางความคิดเห็นของคนเสื้อแดง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่มีคนจำนวนมากให้การสนับสนุนการเคลื่อนไหวทางการเมือง

    คำถามสำคัญของนักวิชาการผู้นี้คือ ทำไมมวลชนจึงให้การสนับสนุน บางทีเราอาจมีสมมติฐานว่ามองว่าชาวบ้านถูกนักการเมืองปั่นหัว เพื่อจะพิสูจน์ชาวบ้านมีความคิดความอ่านแบบนี้ด้วยตัวเองหรือไม่ เมื่อเขาไปซักถามจากประชาชนทั่วไปก็จะพบว่า คนเขารู้ทันข่าวสารกันหมดแล้ว เพราะการสื่อสารมีอย่างทั่วถึง ทำให้คนรับรู้ข่าวสารได้อย่างรวดเร็วและไม่ต่างไปจากกรุงเทพฯ

    ส่วนการรัฐประหารมันผิดตรงไหน ทำไมเขาจึงคัดค้านการรัฐประหาร คำตอบที่ได้รับจากชาวบ้าน คือทุกวันนี้บ้านเมืองที่เป็นประชาธิปไตย รัฐบาลต้องมาจากการเลือกตั้ง กาารยึดอำนาจมันเป็นสิ่งที่ผิด พวกเขามีความเชื่อและพยายามที่จะอธิบายความคิดเหล่านี้

    "คำตอบอย่างนี้มันถูกต้องหรือไม่ มันถูกต้องแน่นอน เพราะการรัฐประหาร ไม่ใช่วิถีทางประชาธิปไตยถูกต้อง ไม่ว่าเขาจะรู้มาจากไหน แต่เชื่ออย่างนั้น ซึ่งก็เป็นความเชื่อที่ถูกต้อง การที่ชาวบ้านพูดอย่างนี้ อาจจะได้รับมาจากการอบรมเรื่องประชาธิปไตย หรือจากการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ก็ได้"

    เขาอธิบายเพิ่มเติมว่า "จากเดิมที่มองว่าชาวบ้าน อยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์อยู่กับนักการเมือง ปัจจุบันเราอาจจะมองเขาอย่างนั้นไม่ได้ แล้วเหตุใดเขาจึงมีความคิดเห็นเหล่านี้ แสดงว่ามันมีความเปลี่ยนแปลงในวิธีคิดของพวกเขา ซึ่งผมเชื่อมโยงเข้าไปกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ทำให้ชนบทเปลี่ยนแปลงไปแล้ว คนกรุงเทพฯ อย่าไปเข้าใจผิดว่าเขาเลี้ยงควาย ความเข้าใจแบบนั้น มันไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริงอย่างสิ้นเชิง

    "ผมเคยพบนักวิจัยชาวญี่ปุ่นมาทำเรื่องสตรี ศาสนากับบทบาทของผู้หญิง เขาเคยลงในพื้นที่เมื่อหลายปีก่อน หากพูดเรื่องการเมืองชาวบ้านจะบอกว่าไม่รู้ ไม่สนใจ แต่หลังการรัฐประหาร คนเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปมาก เขาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอย่างเอาจริงเอาจัง เมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงทางความคิดกับชาวบ้าน ย่อมทำให้กำนัน - ผู้ใหญ่บ้าน ควบคุมการแสดงออกทางการเมืองของพวกเขาไม่อยู่แล้ว แต่ก่อนชาวบ้านควบคุมได้ ต้องเกรงใจ แต่ตอนนี้เขาไม่เกรงใจแล้ว ถ้าเอาแบบเป็นรูปธรรมคือ เดิมหากมหาดไทยสั่งมาถึงผู้ใหญ่บ้าน - กำนัน ห้ามชาวบ้านอย่าไปยุ่งหรือร่วมชุมนุมกับเสื้อแดง ตอนนี้ก็ห้ามไม่อยู่ เพราะชาวบ้านก็จะยังเข้าร่วมอย่างเปิดเผยและไม่เกรงกลัว"


    ปชป.ขั้วตรงข้ามแดง

    ดร.สมชัย กล่าวถึง การรวมกลุ่มของคนเสื้อแดงในพื้นที่ จ.มหาสารคามนั้น มีความหลากหลาย มีลักษณะกระจายตัวตามหมู่บ้าน การรวมกลุ่มชุมนุมส่วนใหญ่ก็จะร่วมกับเครือข่ายกับเสื้อแดงในจังหวัดใกล้เคียง โดยเฉพาะ จ.ขอนแก่น ที่อยู่ติดกัน

    ส่วนการขยายตัวของมวลชน ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2553 ในบางจังหวัดมีมากถึง 20 กลุ่ม โดยมีลักษณะการรวมตัวกันโดยธรรมชาติ และมีความเป็นอิสระ

    สำหรับการชุมนุมร่วมกับในส่วนกลางนั้น พวกเขาก็จะร่วมชุมนุมตามโอกาส เมื่อพวกเขาได้รับทราบข่าวสารการประกาศรวมตัวชุมนุม เขาก็จะเดินทางไป ซึ่งไม่มีลักษณะของการจัดการอย่างแน่นอน และไม่ได้เชื่อมโยงกับแกนนำหลักที่อยู่ในกรุงเทพฯ โดยตรง

    "เขาก็มีการรับรู้และทำให้เกิดการรวมกลุ่มกันโดยตลอด เมื่อก่อนติดต่อกันยาก แต่ปัจจุบัน ติดต่อกันง่ายขึ้น ชาวบ้านรับรู้ข่าวสาร ด้วยช่องทางการติดต่อระหว่างญาติพี่น้องคนอีสาน เพื่อนฝูง ที่อยู่ในกรุงเทพฯ มีเยอะ"

    เขาย้ำว่า เงื่อนไขเรื่องสองมาตรฐาน ความไม่เป็นธรรมในสังคม ยังหล่อเลี้ยงให้มวลชนเติบโต

    "คนเสื้อแดงยังมีทั้งความไม่พอใจ ความโกรธแค้นอยู่มาก เพราะชาวบ้านได้เรียนรู้จากเหตุการณ์การสลายการชุมนุมมาอย่างต่อเนื่อง เป็นส่วนสำคัญที่ตอกย้ำให้ 'สองมาตรฐาน' ฝังใจพวกเขามากขึ้นไปอีก และเหตุการณ์ดังกล่าวยิ่งเป็นตัวย้ำถึงความไม่ยุติธรรม เขาจะพูดเรื่องนี้ ว่าเขาไม่พอใจเรื่องการใช้กำลังของทหารและการใช้อำนาจที่ไม่ชอบของรัฐบาล

    "ขณะเดียวกัน ความสัมพันธ์ระหว่างคนเสื้อแดงกับพรรคประชาธิปัตย์ยังมีลักษณะการเป็นคู่ตรงข้าม และยังเป็นเรื่องยากที่พรรคประชาธิปัตย์ จะเอาชนะใจกลุ่มคนเหล่านี้ได้ เพราะในช่วงการต่อสู้อย่างแหลมคม ชาวบ้านรับรู้อยู่เสมอว่าที่พรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมกับพันธมิตรเพื่อต่อต้านพรรคที่พวกเขาชื่นชอบ"

    เงื่อนไขนี้ยังคงเป็นโจทย์การเมืองสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์

    ที่สุด ดร.สมชัย มองว่า การเกิดขึ้นและการดำรงอยู่ของคนเสื้อแดงโดยปราศจากความารุนแรง ยังเป็นผลดีต่อประชาธิปไตยไทย

    "สำหรับผมคิดว่า เป็นสิ่งที่ดีมาก คนในสังคมตื่นตัวทางการเมือง เขาพูดเรื่องประชาธิปไตย สิทธิ ความเท่าเทียม แต่ก่อนในสถาบันการศึกษาเราก็เคยพยายามจะทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ ทำให้คนทุกคนจากไพร่ฟ้ากลายมาเป็นพลเมือง ซึ่งมันไม่เคยมีครั้งไหนที่กระแสเหล่านี้ ลงไปถึงชาวบ้าน เขามาสนใจเรื่องการเมือง จากเดิมที่ผู้หญิงไม่เคยสนใจเรื่องการเมืองเลย แต่ในเวลานี้ผู้หญิงสนใจการเมืองกันมาก ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นทุนทางสังคมที่สำคัญมาก ทุนทางสังคมสำหรับประชาธิปไตย

    "อย่างน้อยหลังจากการเลือกตั้ง ชาวบ้านก็จะมีส่วนสำคัญในการตรวจสอบประเด็นต่างๆ ว่ามีความถูกต้องหรือไม่ มันเกินขอบเขตหรือไม่ แต่ในปัจจุบัน นอกเหนือจากแวดวงปัญญาชน คนชั้นกลาง เรื่องการเมืองเป็นเรื่องที่ประชาชนคนทั่วไปให้ความสำคัญ และมองข้ามความคิดเห็นเหล่านี้ไปไม่ได้"


    คัดจากเนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 977 วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2554 หน้า 22-23
    สังคม 'หลังชาวนา' สังคมกึ่งเมืองกึ่งชนบท ก่อเกิดขบวนการเสื้อแดง - FO3P.NET : บ้านสามจังหวัด
     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    จาก Al Jazeera ถึง CNC: พัฒนาการสงครามสื่อครอบโลกระหว่างตะวันออกกับตะวันตก

    February 14, 2011

    โดย เบ๊นซ์ สุดตา



    ในระบบทุนนิยมนั้น ทุนสื่อถือเป็นทุนที่มีลักษณะที่พิเศษกว่าทุนอื่นๆ เพราะนอกจากลักษณะทั่วๆ ไปของทุนที่มุ่งเน้นการทำกำไรสูงสุดตามแบบแผนของธุรกิจทั่วๆ ไปในระบบทุนนิยมแล้ว ทุนสื่อยังมีลักษณะของการทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการครอบงำในเชิงสัญลักษณ์ การสร้างอัตลักษณ์ทางความคิดทั้งในทางวัฒนธรรมและการเมืองด้วย ทุนสื่อถือเป็นทุนที่มีบทบาทในทางความคิดไม่ต่างจากสถาบันทางสังคมอื่นๆอย่างระบบการศึกษาหรือแม้กระทั่งศาสนา

    ด้วยอานุภาพที่มหาศาลของอำนาจสื่อนี่เองที่ส่งผลให้ประเทศมหาอำนาจต้องการที่จะมีอำนาจในวงการสื่อเพื่อครอบโลก โดยเฉพาะโลกทางความคิดของคน การที่มหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ หรืออังกฤษเป็นเจ้าของสื่อครอบโลกได้นั้น ส่งผลต่อการชี้นำเรื่องของอุดมการณ์ทางการเมือง ลักษณะการใช้ชีวิต และความชอบธรรมในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศ เมื่อมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ และอังกฤษเป็นเจ้าของสื่อครอบโลกได้ ก็ทำให้ปริมณฑลทางอำนาจทั้งในทางเศรษฐกิจและการเมืองแผ่ขยายไปทั่วโลก และหยั่งรากลึกไปในความคิดจิตใจของทุกๆ คน ทำหน้าที่ผลิตซ้ำอุดมการณ์ทางการเมือง เป็นเครื่องมือในการยึดครองตลาดผ่านการยึดครองความคิดจิตใจผู้บริโภคให้จดจำ ศรัทธา หรือแม้แต่คลั่งและภักดีในตราสินค้าต่างๆ บทบาทในทางการเมืองของสื่อนั้นถือว่าเข้มข้นมาตั้งแต่ยุคสงครามเย็นแล้วที่สหรัฐฯ และโซเวียตต่างใช้การโฆษณาชวนเชื่อใส่ร้ายฝ่ายตรงข้าม

    การต่อสู้ทางสื่อดูจะเข้มข้นอย่างมากและบทบาทของสื่อครอบโลกก็ทำหน้าที่อีกครั้งหนึ่งในฐานะผู้มีบทบาทสำคัญต่อชัยชนะของกองทัพและนโยบายการต่างประเทศสหรัฐฯหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001 ภายใต้การสร้างวาทกรรมผู้ก่อการร้ายและมีกระบวนการเชื่อมโยงผู้ก่อการร้าย อิสลาม และ คนตะวันออกกลาง/อาหรับ ให้เสมือนหนึ่งเป็นสิ่งเดียวกัน จนกระทั่งเกิดกระแสหวาดกลัวและเกลียดชังคนมุสลิมและชาวอาหรับอย่างรุนแรงไปทั่วสหรัฐฯ และในส่วนอื่นๆ ของโลก ขณะเดียวกันก็ได้ทำให้สหรัฐฯ มีความชอบธรรมในการยกกำลังทหารนับแสนนายพร้อมแสนยานุภาพของกองทัพเรือและกองทัพอากาศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกยกพวกถล่มทั้งอัฟกานิสถานและอิรักแบบไม่มีใครกล้าขัดขืน ทั้งๆ ที่สหรัฐฯ เคยสนับสนุนทั้งตาลีบันและซัดดัมมาก่อน แต่สื่อครอบโลกของสหรัฐฯก็ปิดหูปิดตาประชาคมโลกและบิดเบือนเรื่องนี้อย่างชัดเจน

    แต่ 11 กันยายน 2001 ก็กลายเป็นจุดเปลี่ยนของสงครามสื่อครอบโลกเช่นกัน ครั้งหนึ่งสื่อของสหรัฐฯ และอังกฤษภายใต้เครืออภิมหาบริษัทสื่อโลกอย่าง News Corp, Walt Disney, Time Warner, New York Times, Viacom, Financial Times, Reuters ซึ่งครอบครองทุกปริมณฑลข่าวไปทั่วโลกก็มีคู่แข่งใหม่ที่พุ่งขึ้นมาตอบโต้กระแสข่าวที่โหมกระหน่ำมาจากศูนย์กลางอำนาจโลกนั่นก็คือ Al Jazeera สถานีโทรทัศน์ของกาตาร์ที่รายงานข่าวตอบโต้กับ CNN และ Fox News อย่างดุเดือดช่วง 11 กันยายน 2001 และสงครามต่อต้านการก่อการร้ายในอัฟกานิสถานและอิรัก และทำให้ผู้คนทั่วโลกรู้จักและหันมาสนใจการรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อกระแสทางเลือกจากคนตะวันออกมากขึ้น โดยความนิยมในตัว Al Jazeera สามารถวัดได้จากการค้นหาชื่อสถานีใน google ที่พุ่งพรวดเป็นหนึ่งในคำที่มีการค้นหาสูงที่สุดในโลกในช่วงสงครามอิรัก

    นั่นถือเป็นครั้งแรกของสหรัฐฯ ที่พ่ายแพ้เกมสื่ออย่างยับเยินในยุคโลกาภิวัตน์ซึ่งน่าจะยิ่งสร้างอำนาจในการใช้สื่อครอบโลกให้กับสหรัฐฯ และพรรคพวกได้มากขึ้น แต่ขณะเดียวกันปัจจัยโลกาภิวัตน์นั้นกลับเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้คนทั่วโลกสามารถมองหาและสัมผัสเนื้อหาสื่อทางเลือกอื่นๆนอกเหนือจากสื่อกระแสหลักได้ นี่เองจึงเป็นจุดเปลี่ยนที่ Al Jazeera ฉวยโอกาสและลุกขึ้นมาพลิกกระแสต่อต้านสงครามและสามารถทำให้ประชาคมโลกรับฟังและทำความเข้าใจโลกมุสลิมมากขึ้น


    [​IMG]

    ห้องส่งอันแสนทันสมัยของ Al Jazeera ภาคภาษาอังกฤษ (ที่มา Wikipedia)



    หลังจากสหรัฐฯ พังยับในเชิงของภาพลักษณ์จากการที่รัฐบาลบุชตัดสินใจถล่มอิรักในปี 2003 สหรัฐฯก็กลับมาเปิดเกมสื่อใหม่อีกครั้งหลังจากระบบเศรษฐกิจโลกเกิดการพลิกผันครั้งใหญ่จากการพุ่งทะยานของจีนและประเทศเกิดใหม่ทางเศรษฐกิจ ทั้งกลุ่ม BRIC เอเชีย และทุนอาหรับ หากดูหน้าข่าวในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมาจะพบว่า สหรัฐฯ และตะวันตกใช้สงครามโฆษณาชวนเชื่อไม่ต่างจากยุคสงครามเย็นในการบ่อนทำลายภาพลักษณ์ของจีนในแง่ของประเทศที่พยายามครอบงำและกำจัดคู่แข่งในระบบเศรษฐกิจโลก แต่ด้วยเทคโนโลยีใหม่จากอินเตอร์เน็ตหรือสื่อพวก Social Networking ทำให้สหรัฐฯเปิดฉากโจมตีในวงกว้างกว่าเดิม สหรัฐฯพยายามปัดภาระของปัญหาในระบบเศรษฐกิจของตัวเองโดยการอ้างว่าจีนมีการบริโภคต่ำเกินไปและตรึงค่าเงินอ่อนเกินจริง ขณะเดียวกันในทางการเมืองสหรัฐฯ ใช้การโฆษณาชวนเชื่อของตัวเองผ่านการระดมผู้เชี่ยวชาญและการออกมาให้ความเห็นของนักการเมืองมาพูดในทำนองว่า จีนพยายามจะกลืนทรัพยากรทั้งโลก จีนเป็นต้นเหตุของราคาน้ำมันที่แพง มีการสร้างภาพหลอนของการแผ่ขยายอำนาจทางทหารของจีนที่พยายามจะครอบงำภูมิภาคเอเชียและเป็นภัยความมั่นคง ทั้งๆที่สหรัฐฯ คือ ประเทศที่มีงบประมาณทหารและกองทัพที่ใหญ่ที่สุดในทุกๆภูมิภาคของโลกรวมถึงเอเชีย

    ไม่เพียงเท่านั้นสหรัฐฯยังโหมกระแสถล่มจีนในการเข้าไปลงทุนในแหล่งทรัพยากรในแอฟริกา ว่าจีนละเมิดสิทธิมนุษยชนและส่งเสริมผู้นำเผด็จการและการคอรัปชั่น การโจมตีจีนในช่วงก่อนโอลิมปิกทั้งเรื่องคุณภาพสินค้าและทิเบต แต่ด้วยอินเตอร์เน็ตนี่เองที่คนจีนและสื่ออย่าง China Daily ออกมาแฉว่าสถานี CNN จงใจตัดต่อภาพในทิเบตว่าประชาชนถูกเจ้าหน้าที่รัฐบาลจีนทำร้าย ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงคนในทิเบตกำลังก่อจลาจลอย่างหนักและรัฐต้องเข้าไปปรามตามหน้าที่ สร้างกระแสความโกรธแค้นและไม่พอใจต่อชาวจีนกว่าพันล้านคนอย่างรุนแรง

    ปัจจุบันแนวรบสงครามสื่อของสหรัฐฯ และตะวันตกได้ผันเกมเข้าสู่ส่วนหนึ่งของสงครามเศรษฐกิจและการเงินอย่างเต็มตัวหลังเกิดวิกฤตการเงินตั้งแต่ปี 2007 โดยสื่อของสหรัฐฯและตะวันตกได้ใช้การโฆษณาชวนเชื่อโจมตีการเข้ามาไล่ซื้อกิจการสถาบันการเงิน บริการ ธุรกิจโทรคมนาคมและทรัพยากรของกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของจีนและอาหรับว่า กองทุนเหล่านี้คิดจะเข้ามายึดระบบเศรษฐกิจและเป็น “ภัยต่อความมั่นคงของชาติ” จนเกิดกระแสต่อต้านกองทุนรัฐบาลเหล่านี้ไปทั่ว ต่อมาสหรัฐฯใช้สงครามข่าวสารเล่นงานจีนอย่างหนักอีกครั้งในเรื่องเงินหยวน และคราวนี้เล่นแรงถึงขั้นที่ว่า จีนคิดจะทุ่มเงินดอลลาร์ทิ้ง

    เมื่อจีนและประเทศอื่นๆที่สหรัฐฯมองว่าเป็นคู่แข่งทางการเมืองและเศรษฐกิจถูกถล่มอย่างหนักในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา หลังสหรัฐฯ พ่ายแพ้เกมสื่อยับเยินหลังสงครามอิรัก ประเทศเหล่านี้จึงเล็งเห็นความจำเป็นในการหาช่องทางในการคานอำนาจสื่อตะวันตกในการสื่อสารกับคนทั้งโลก ซึ่งปรากฏการณ์ของ Al Jazeera ได้จุดประกายเรื่องนี้ และจีนเองก็ดูจะมุ่งมั่นในการทำสงครามสื่อกับสหรัฐฯอย่างมาก ปัจจุบันจีนมีกระบอกเสียงหลักใน 4 กลุ่มธุรกิจสื่อที่รัฐเป็นเจ้าของโดยศูนย์กลางของแนวรบสื่อจีนก็คือ ข่าวซินหัว นอกจากนั้นยังมีพันธมิตรอย่างหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ China Daily และ People’s Daily และสถานีโทรทัศน์ CCTV ในการผลิตรายการและความเห็นของจีนที่มีต่อจีนเองและต่อสถานการณ์ทั่วโลกในปัจจุบันด้วย

    จีนแสดงความชัดเจนในการตอบโต้การโหมกระแสของสื่อครอบโลกตะวันตกด้วยการอนุมัติเงิน 45,000 ล้านหยวนให้กับ CCTV ซินหัว และ People’s Daily คนละ 15,000 ล้านหยวนเมื่อช่วงมกราคม 2009 ในการเสนอโครงการสื่อเพื่อแผ่อิทธิพลในเวทีโลก ขณะเดียวกันในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2009 จีนได้สร้างความฮือฮาจากการที่รองหัวหน้าบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ China Daily ไปสั่นระฆังในตลาดหุ้น Nasdaq ของสหรัฐฯ และประกาศวางจำหน่ายหนังสือพิมพ์ China Daily ฉบับสำหรับคนสหรัฐฯโดยเฉพาะ โดยเริ่มที่ศูนย์กลางเศรษฐกิจในนิวยอร์กเพื่อให้คนสหรัฐฯรับรู้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการทำธุรกิจในจีน ซึ่งจุดนี้จีนได้ใช้อำนาจทางเศรษฐกิจที่คนยุคนี้ต่างต้องมาลงทุนในจีนในการขยายอิทธิพลของสื่อจีน โดยพ่วงไปกับการขยายตัวของเศรษฐกิจด้วย

    [​IMG]

    โลโก้ของ CNC World (ที่มา Wikipedia)



    วันที่ 1 กรกฎาคม 2010 จีนได้ทำการเปิดสถานีโทรทัศน์ช่องใหม่ของโลกใต้ร่มเงาของซินหัวภายใต้ชื่อ CNC World โดยออกอากาศเป็นภาษาอังกฤษและภาษาจีน เพื่อนำเสนอข่าวในมุมมองของจีนทั้งข่าวจีนและข่าวต่างประเทศ โดย CNC World มีโครงการจะออกอากาศเป็นภาษาฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส รัสเซีย อาหรับ และญี่ปุ่นในอนาคตด้วย ทั้งนี้ซินหัวซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ CNC จะมีการปรับธุรกิจการนำเสนอข่าวของ ช่อง CNC และซินหัวอย่างครบวงจรทั้งโทรทัศน์ เคเบิ้ล อินเตอร์เน็ต และในมือถือด้วย รวมถึงบริการข้อมูลทางการเงินซึ่งในทุกวันนี้ Bloomberg และ Reuters กำลังครอบครองตลาดโลกในด้านนี้

    ปัจจัยทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการเคลื่อนแนวรบสื่อครอบโลกในปัจจุบัน ตอนนี้หากสังเกตดีๆจะเห็นได้ว่าประเทศอย่างจีน รัสเซีย และอาหรับ กำลังตอบโต้สหรัฐฯและตะวันตกด้วยการโจมตีระบบทุนนิยมเสรีและความล้มเหลวของระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ และมีแนวโน้มว่ามหาอำนาจเศรษฐกิจอื่นๆในอนาคตเช่น บราซิล อินเดีย จะพยายามหาพื้นทีของตัวเองในสงครามสื่อโลกมากขึ้น โดยในปัจจุบันนอกจากจีนและอาหรับจะเป็นสื่อโลกตะวันออกที่โดดเด่นแล้ว สื่อจากรัฐบาลรัสเซียก็ถือว่ากำลังมาแรงเช่นกัน โดยขณะนี้หัวหอกของสื่อรัสเซียที่เป็นกระบอกเสียงของประเทศและโจมตีสหรัฐฯทุกด้านก็คือ สถานีโทรทัศน์ Russia Today หรือ ช่อง RT ซึ่งกำลังได้รับความนิยมในหมู่ผู้ชมทั่วโลก

    และเมื่อโลกมีความเชื่อมโยงกันมากขึ้นและสื่อตะวันตกกำลังมีปัญหาในการสื่อสารมากขึ้น ขณะที่ปัจจัยทางเศรษฐกิจเข้ามามีบทบาทในสงครามสื่อมากขึ้น แนวโน้มอีกอย่างจึงเกิดขึ้นนั่นคือ สื่อตะวันตกพยายามเสนอข่าวเป็นภาษาท้องถิ่นโดยเฉพาะภาษาจีนมากขึ้น เพื่อช่วงชิงพื้นที่ข่าวสาร ขณะเดียวกันก็เป็นตลาดใหญ่โตที่น่าสนใจด้วย ดังนั้นในอนาคตสงครามสื่อคงยกระดับความเข้มข้นและรุนแรงมากขึ้นจากพลวัตทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจที่มีความผันแปรอย่างรวดเร็ว


    จาก Al Jazeera ถึง CNC: พัฒนาการสงครามสื่อครอบโลกระหว่างตะวันออกกับตะวันตก | Siam Intelligence Unit
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    LIBYA 2011
    <object style="height: 390px; width: 640px"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/QfWEYmXUBXs?version=3"><param name="allowFullScreen" value="true"><param name="allowScriptAccess" value="always"><embed src="http://www.youtube.com/v/QfWEYmXUBXs?version=3" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="390"></object>

    tromaktikos3 | 27 ก.พ. 2011
     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เกาะติด ลิเบีย กับ ชัยรัตน์ ถมยา P1

    <object style="height: 390px; width: 640px"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/AOrwKjTj6Kk?version=3"><param name="allowFullScreen" value="true"><param name="allowScriptAccess" value="always"><embed src="http://www.youtube.com/v/AOrwKjTj6Kk?version=3" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="390"></object>

    เกาะติด ลิเบีย กับ ชัยรัตน์ ถมยา P2

    <object style="height: 390px; width: 640px"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/gazL4Ai3L-E?version=3"><param name="allowFullScreen" value="true"><param name="allowScriptAccess" value="always"><embed src="http://www.youtube.com/v/gazL4Ai3L-E?version=3" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="390"></object>


    Lee20102553 | 27 ก.พ. 2011 |
    การประท้วงนองเลือดในลิเบีย//กัดดาฟี่ ปกครองลิเบีย ด้วยกฎเหล็ก! ตลอด 40 ปี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2011
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ข่าว ลิเบีย 27 กพ 54

    <object style="height: 390px; width: 640px"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/D5MbFUkFqeU?version=3"><param name="allowFullScreen" value="true"><param name="allowScriptAccess" value="always"><embed src="http://www.youtube.com/v/D5MbFUkFqeU?version=3" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="390"></object>

    gigcode | 27 ก.พ. 2011
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    Libya Revolution 17 February 2011- انتفاضة فيراير 17 للتغيير - ليبيا

    <object style="height: 390px; width: 640px"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/GVfdN6RSDMI?version=3"><param name="allowFullScreen" value="true"><param name="allowScriptAccess" value="always"><embed src="http://www.youtube.com/v/GVfdN6RSDMI?version=3" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="390"></object>

    TheLibyaFreedom | 27 ก.พ. 2011
     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    Libya Revolution 17 February 2011- انتفاضة فيراير 17 للتغيير - ليبيا

    <object style="height: 390px; width: 640px"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/wroPA6QZ-WE?version=3"><param name="allowFullScreen" value="true"><param name="allowScriptAccess" value="always"><embed src="http://www.youtube.com/v/wroPA6QZ-WE?version=3" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="390"></object>

    TheLibyaFreedom | 27 ก.พ. 2011
     
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    Libya - Women Protest in Derna call for ouster of Gaddafi

    <object style="height: 390px; width: 640px"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/URoAm8NT6Ts?version=3"><param name="allowFullScreen" value="true"><param name="allowScriptAccess" value="always"><embed src="http://www.youtube.com/v/URoAm8NT6Ts?version=3" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="390"></object>
    LAKOMTUBE | 23 ก.พ. 2011 | ชอบ 11 คน ไม่ชอบ 0 คน
    Benghazi Libyan Egypt Mubarak Libya Gaddafi Thugs Libya Demonstration Protests Gaddafi Speech Tripoli Rebel Qaddafi Benghazi Arab Libya Unrest Uprising Libya Revolution Democracy Now Aljazeera Tahrir Square Algeria Police Mubarak Step Down CNN Fox News Aljazeera English Egyptian Reolution Tunisian Revolution Benali Mubarak Obama Police Shoot Fire Tears Gaz Revolution Arabs Islam Libya Protests Qaddafi Libyan Demonstration Revolution Egypt Tahrir Square Al Jazeera Mubarak Step Down Islam
    مظاهرات مدبنة بنغازي ضد نظام القذافي - انتفاضة 17 فبراير 2011 لنجعله يوم للغضب في ليبيا - جيش غريان يعتقل المرتزق انتفاضة 17 فبراير 2011- لنجعله يوم للغضب في ليبيا - وصول قافلة المساعدات من مصر المرتزقة ذو القبعات الصفراء في شارع شمسة - بنغازي‬‎ مستشفى المركزي في طرابلس محرقة لجنود جيش ليبي استشهاد من شباب غريان ليبيا من العسكريين نساء درنة تتظاهر ضد القدافي

    [​IMG]

    Benghazi ลิเบียอียิปต์ลิเบีย Mubarak Gaddafi Thugs ลิเบียประท้วงการสาธิตการพูด Rebel Gaddafi Qaddafi อาหรับลิเบีย Tripoli Benghazi จลาจลความไม่สงบลิเบียประชาธิปไตยการปฏิวัติขณะนี้ Aljazeera แอลจีเรียตำรวจ Tahrir Square Mubarak ขั้นตอนที่ลงข่าวซีเอ็นเอ็น Fox Aljazeera ภาษาอังกฤษ Reolution การปฏิวัติอียิปต์ Tunisian Benali Mubarak โอบามายิงตำรวจดับเพลิงการปฏิวัติ Gaz น้ำตา อิสลามชาวอาหรับลิเบียลิเบียประท้วงสาธิตการปฏิวัติอียิปต์ Tahrir Square Qaddafi Mubarak Al Jazeera ขั้นตอนที่ลงศาสนาอิสลาม

    การสาธิต Mudbnp Benghazi กับระบบการปกครองของ Gaddafi -- การจลาจลของเดือนกุมภาพันธ์ 17, 2011 เพื่อให้วันของความโกรธในลิเบีย -- ทหารบก Gheryan จับกุมการจลาจลทหารรับจ้างของ 17 กุมภาพันธ์ 2011 -- เพื่อให้วันของความโกรธในลิเบีย -- การมาถึงของขบวนเรือสินค้าของความช่วยเหลือจากทหารรับจ้างอียิปต์กับหมวกถนน Shamsa สีเหลือง -- Benghazi ‬กลางโรงพยาบาล ล้างเผ่าพันธุ์ใน Tripoli สำหรับทหารของกองทัพของความทุกข์ทรมานของหนุ่ม Libyan Arab Jamahiriya Libyan Arab Jamahiriya Gheryan ของหญิงทหารตีหัวต่อ Kadhafi
     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    Libya : Libyan Army arresting Gaddafi Mercenaries in Gharyan / Gharian

    <object style="height: 390px; width: 640px"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/Ccw21k8ov_8?version=3"><param name="allowFullScreen" value="true"><param name="allowScriptAccess" value="always"><embed src="http://www.youtube.com/v/Ccw21k8ov_8?version=3" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="390"></object>

    LAKOMTUBE | 22 ก.พ. 2011 | ชอบ 5 คน ไม่ชอบ 1 คน
    Libya Demonstration Protests Gaddafi Speech Tripoli Benghazi Libyan Egypt Mubarak Libya Gaddafi Thugs Rebel Qaddafi Benghazi Arab Libya Unrest Uprising Libya Revolution Democracy Now Aljazeera Tahrir Square Algeria Police Mubarak Step Down CNN Fox News Aljazeera English Egyptian Reolution Tunisian Revolution Benali Mubarak Obama Police Shoot Fire Tears Gaz Revolution Arabs Islam Libya Protests Qaddafi Libyan Demonstration Revolution Egypt Tahrir Square Al Jazeera Mubarak Step Down Islam

    مظاهرات مدبنة بنغازي ضد نظام القذافي - انتفاضة 17 فبراير 2011 لنجعله يوم للغضب في ليبيا - جيش غريان يعتقل المرتزق
    [​IMG]
    LAKOMTUBE | 22 ก.พ. 2011 |
    ลิเบียประท้วงการสาธิตการพูด Gaddafi Benghazi Tripoli ลิเบียอียิปต์ลิเบีย Mubarak Gaddafi Thugs Rebel Qaddafi อาหรับลิเบียลิเบีย Benghazi ความไม่สงบจลาจลการปฏิวัติประชาธิปไตยในขณะนี้ Aljazeera แอลจีเรียตำรวจ Tahrir Square Mubarak ขั้นตอนที่ลงข่าวซีเอ็นเอ็น Fox Aljazeera ภาษาอังกฤษ Reolution การปฏิวัติอียิปต์ Tunisian Benali Mubarak โอบามายิงตำรวจดับเพลิงการปฏิวัติ Gaz น้ำตา อิสลามชาวอาหรับลิเบียลิเบียประท้วงสาธิตการปฏิวัติอียิปต์ Tahrir Square Qaddafi Mubarak Al Jazeera ขั้นตอนที่ลงศาสนาอิสลาม

    สาธิต Mudbnp Benghazi กับระบบการปกครองของ Gaddafi -- การจลาจลของเดือนกุมภาพันธ์ 17, 2011 เพื่อให้วันของความโกรธในลิเบีย -- กองทัพทหารรับจ้างจับ Gheryan
     
  17. โกมีนัม

    โกมีนัม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    362
    ค่าพลัง:
    +440
    ว้า..มากวนกระทู้พี่เคอีกละ...
    เรื่องชักตื่นเต้นนะเนี่ย
    เออ....
    ถามนอกเรื่องได้มั๊ยคะ
    ว่าแต่ว่าพี่สันโดษหายไปไหนล่ะคะเนี่ย
    กระทู้พี่สันโดษก็หายไปด้วย:'(
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    UN Sanctions Libya, also Inside Gaddafi's Palace | 27 Feb 2011 - ABC News AU

    <object style="height: 390px; width: 640px"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/E2Y5Bvp3bMU?version=3"><param name="allowFullScreen" value="true"><param name="allowScriptAccess" value="always"><embed src="http://www.youtube.com/v/E2Y5Bvp3bMU?version=3" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="390"></object>

    NewsAustralia | 27 ก.พ. 2011 |
    ABC News AU 19:00 AEDT - The UN Security Council has unanimously adopted an arms embargo against Libya, a travel and assets ban on Moamar Gaddafi's regime and ordered a crimes against humanity investigation into the bloodshed.

    The council made a new demand for an immediate end to attacks on civilians by Mr Gaddafi's loyalists which it said had been incited "from the highest level of the Libyan government."

    The UN says more than 1,000 people have been killed in the unrest.

    The travel ban and assets will target the 68-year-old Libyan leader, seven of his sons and daughter Aisha, other family members and top defence and intelligence officials accused of playing a role in the bloodshed.

    ABC News Victoria - ABC1
    27 Feb 2011 19:00 AEDT
    Australian Broadcasting Corporation

    [​IMG]

    ABC News AU 19:00 AEDT -- คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้นำอาวุธมีมติเป็นเอกฉันท์ห้ามส่งสินค้ากับลิเบีย, บ้านการท่องเที่ยวและสินทรัพย์ในระบบการปกครอง Moamar Gaddafi และสั่งการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติในการตรวจสอบการนองเลือด

    สภาทำให้ความต้องการใหม่สำหรับการสิ้นสุดทันทีการโจมตีพลเรือนโดยนาย Gaddafi 's loyalists ซึ่งก็กล่าวว่าได้รับการ incited"จากระดับสูงสุดของรัฐบาลลิเบีย."

    UN says กว่า 1,000 คนได้ถูกฆ่าตายในเหตุการณ์ความไม่สงบ

    ห้ามเดินทางและทรัพย์สินจะกำหนดเป้าหมายผู้นำลิเบีย 68 ปี, เจ็ดของบุตรชายและบุตรสาวของเขา Aisha สมาชิกในครอบครัวอื่น ๆ และการป้องกันด้านบนและเจ้าหน้าที่ข่าวกรองกล่าวหาว่ามีบทบาทในการนองเลือด
     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ไม่ได้หายไปไหนหรอกค่ะ มาอยู่เป็นพักๆ
    ส่วนกระทู้หาย รู้สึกว่าจะเป็นคุณแฮคเกอร์ที่รัก เขาช่วยลบให้ อะจะ
    สงสัยเขาจะกลัวสันโดษดังเกินพิกัด เลยตามบล๊อคสันโดษทุกลมหายใจเลยแหละ
    สงสัย คุณแฮคเกอร์ที่รักเขาจะหวงสันโดษ มากกกก
    ลองพีเอ็มไปคุยกะสันโดษอีกทีนะ หรือรอกระทู้ใหม่ของสันโดษก็ได้
    อิอิ
     
  20. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    มีคนหวังดีช่วยลบกระทู้ให้บ่อยๆเพราะกลัวเบื่อค่ะ

    ส่วนอันนี้เป็นคำตอบที่พี่ตอบให้น้องโกมีนัมนะคะ


    <iframe title="YouTube video player" width="640" height="390" src="http://www.youtube.com/embed/fUw6OrZzkbY" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     

แชร์หน้านี้

Loading...