เงินเฟ้อที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นแล้ว??? รู้ทันโลก (โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 11 พฤศจิกายน 2010.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2554 18:01

    ยุโรปงัดมาตรการแก้น้ำมันแพง

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    [​IMG]

    ประเทศในยุโรปหาทางรับมือวิกฤติน้ำมัน ท่ามกลางความวุ่นวายทางการเมืองของประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน

    ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ทะยานขึ้น 20 ดอลลาร์ภายในเวลาเพียง 1 สัปดาห์ สืบเนื่องจากการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในลิเบีย ทำให้บริษัทขุดเจาะน้ำมันในยุโรปเตรียมหาทางรับมือการสูญเสียน้ำมันดิบคุณภาพสูง หลังจากการส่งออกน้ำมันจากลิเบียระงับลงอย่างสิ้นเชิง
    ขณะเดียวกัน ผู้นำชาติยุโรปลงความเห็นว่า การพึ่งพาน้ำมันจากตะวันออกกลาง และกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) กำลังตกอยู่ในภาวะอันตราย เมื่อการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยลุกลามไปหลายประเทศ
    สเปน หาทางออกในการรับมือภาวะน้ำมันแพง ด้วยการกำหนดความเร็วของรถยนต์บนทางหลวงเหลือ 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จากเดิม 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลดราคาตั๋วรถไฟเพื่อเพิ่มจำนวนผู้โดยสาร และส่งเสริมการใช้พลังงานชีวภาพมากขึ้น
    ทางด้านรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจของอิตาลี กล่าวว่า อิตาลีเริ่มนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากนอร์เวย์ แอลจีเรีย และรัสเซียมากขึ้น จึงไม่น่าจะเกิดปัญหาในการบริโภคน้ำมัน

     
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    Libya - Fighter Jets Ordered To Fire On Protesters - Air Force Commanders Defect !!!

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=Lm2LSUdAB74&NR=1]YouTube - Libya - Fighter Jets Ordered To Fire On Protesters - Air Force Commanders Defect !!![/ame]

    SurvivalWithBushcraf | 21 ก.พ. 2011 |
    Libya - Fighter Jets ordered to Fire On Protesters - Air Force Commanders Defect !!!

    Libya made good on its threats to get bloody today, sending fighter jets to fire on protesters in Tripoli, Al Jazeera reports, though it cautions that reports are difficult to verify because Libyan intelligence has shut down all landline and wireless communications. But two military pilots seem to confirm the story: They landed in Malta, declaring that they'd been ordered to bomb protesters, but had refused to do so and defected instead. Security forces on the ground are also reportedly using live ammunition, and witnesses told Al Jazeera that at least 61 have been killed today.

    Despite the crackdown, protesters say they're gaining momentum, and have captured several key towns, including Benghazi. The country's justice minister has also reportedly resigned in protest over the deadly force being used against demonstrators, as have several ambassadors. Meanwhile, Britain's foreign secretary said he had intelligence that Moammar Gadhafi himself had fled to Venezuela, but Venezuela denied the report.

    ลิเบีย -- เจ็ทไฟต์เตอร์สั่งให้ยิงผู้ประท้วง -- ข้อบกพร่องบัญชาการกองทัพอากาศ!

    ลิเบียทำดีกับภัยคุกคามในการได้รับเลือดในวันนี้การส่งเครื่องบินรบไปยิงใส่ผู้ประท้วงใน Tripoli, อัลจาซีรารายงานแม้ว่าจะรายงานข้อควรระวังที่ยากต่อการตรวจสอบเพราะปัญญา Libyan ได้ปิดตัวลงโทรศัพท์พื้นฐานทั้งหมดและการสื่อสารไร้สาย แต่สองนักบินทหารดูเหมือนจะยืนยันเรื่อง : พวกเขามีที่ดินในมอลต้าประกาศว่าพวกเขาต้องการได้รับสั่งให้ระเบิดประท้วง แต่ได้ปฏิเสธที่จะทำเช่นนั้นและบกพร่องแทน กองกำลังรักษาความปลอดภัยบนพื้นดินนอกจากนี้ยังมีรายงานการใช้กระสุนจริงและพยานบอกอัลจาซีราว่าอย่างน้อย 61 วันนี้ได้รับการฆ่า

    แม้จะมีการปราบปราม, ผู้ประท้วงกล่าวว่าพวกเขากำลังดึงดูดโมเมนตัมและมีการจับเมืองสำคัญหลายแห่งรวมถึง Benghazi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของประเทศยังได้ลาออกรายงานในการชุมนุมเกินกำลังร้ายแรงที่ใช้กับผู้ชุมนุมตามที่มีทูตหลาย ในขณะที่เลขานุการต่างประเทศสหราชอาณาจักรกล่าวว่าเขามีสติปัญญาที่ Moammar Gadhafi ตัวเองได้หลบหนีไปยังเวเนซูเอลา แต่เวเนซูเอลาปฏิเสธรายงาน


    libya gadaffi libian lybia protest portesters fire air force jet fighters ordered upon protester colonel defects commanders political asylum 2011 update breaking news mainstream media middle east revolution food inflation riots world wide global uprising
     
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    LYBIA NEWS 26.02.2011 TODAY FROM AL JAZIRA ! MUST SEE !

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=D7h5SuKenRQ]YouTube - LYBIA NEWS 26.02.2011 TODAY FROM AL JAZIRA ! MUST SEE ![/ame]

    BOMBASTIK2011 | 26 ก.พ. 2011 |
    LYBIA NEWS 26.02.2011 TODAY FROM AL JAZIRA ! MUST SEE !
    GADDAFIS SOLDIERS ARE KILLING !!!
     
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    TUNIS 25.02.2011 A DRAMA GHANNOUCHI ?? MUST SEE RIGHT NOW !!!

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=W596ObFKtcM&feature=related]YouTube - TUNIS 25.02.2011 A DRAMA GHANNOUCHI ?? MUST SEE RIGHT NOW !!![/ame]

    BOMBASTIK2011 | 25 ก.พ. 2011 |
    TUNIS 25.02.2011 A DRAMA GHANNOUCHI ?? MUST SEE RIGHT NOW !!!
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    On the Edge with Max Keiser-Global insurrection-02-25-2011-(Part1)

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=ny6YI2JCP9Q"]YouTube - On the Edge with Max Keiser-Global insurrection-02-25-2011-(Part1)[/ame]

    On the Edge with Max Keiser-Global insurrection-02-25-2011-(Part2)

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=4Z5c8pg1xsY"]YouTube - On the Edge with Max Keiser-Global insurrection-02-25-2011-(Part2)[/ame]

    On the Edge with Max Keiser-Global insurrection-02-25-2011-(Part3)

    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=-FnEogia1GE&feature=related"]YouTube - On the Edge with Max Keiser-Global insurrection-02-25-2011-(Part3)[/ame]

    PressTVGlobalNews | 26 ก.พ. 2011 | http://www.presstv.com/Program/167132...

    Gerald Celente, the man behind the famous Trends Journal, is Max Keiser's guest for this edition of Press TV's On the Edge. The main focus of today's show is on the relationship between Middle East uprisings and financial changes as a result of such political transformations. Enjoy.


    Gerald Celente, ผู้ทำงานเบื้องหลังวารสารที่มีชื่อเสียงTrends Journal เป็นแขกรับเชิญของ Max Keiser สำหรับรายการ TV's On the Edge เป้าหมายหลักของการแสดงวันนี้เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง uprisings ตะวันออกกลางและการเปลี่ยนแปลงทางการเงินที่เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองดังกล่าว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2011
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    Jimmy Siri
    UPDATE สถานการณ์เศรษฐกิจและความเคลื่อนไหวของสหรัฐ !!!

    Jimmy Siri การประท้วงของประชาชนในรัฐวิสคอนซินยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐได้เข้าร่วมประท้วงกับผู้ชุมนุม ณ ตึกที่ทำการรัฐบาลท้องถิ่นแล้ว [ame=http://www.youtube.com/watch?v=Q_PA3X7RUtA]YouTube - BREAKING NEWS - Wisconsin Police Have Joined Protest Inside State Capitol[/ame]

    Jimmy Siri โพรวิเดนซ์ เมืองหลวงของรัฐโรด ไอร์แลนด์ของสหรัฐ ร่อนจดหมายปลดครูอีก 1,926 ตำแหน่ง เนื่องจากปัญหาขาดแคลนประมาณของรัฐบาลท้องถิ่น Providence faces shortfall, teachers to get dismissal notices - Projo 7 to 7 News Blog | Rhode Island news | The Providence Journal

    Jimmy Siri นายทอม ริดจ์ เลขานุการความมั่นคงภายใน เริ่มรณรงค์ในระดับประเทศให้ประชาชนเตรียมพร้อมรับมือการก่อวินาศกรรม โดยให้เตรียมน้ำดื่มจำนวนมากพอสำหรับสมาชิกในครัวเรือน และให้สังเกตุหากมีซากนกตายอาจจะมีการโจมตีด้วยอาวุธเคมี หรืออาวุธชีวภาพ Ridge urges Americans to be ready, not afraid - Chicago Tribune

    Jimmy Siri เงินเฟ้อ...เริ่มคุกคามสหรัฐแล้ว Inflation has arrived despite what the Fed says

    Jimmy Siri ม๊อบอเมริกันซึ่งเป็นม๊อบฝรั่งอาจจะใช้เวลาก่อตัวนานซักหน่อยครับ แนวร่วมก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แรกเริ่มเดิมทีก็เริ่มต้นจากสหภาพแรงงาน ในประเด็นเดียวกับฝั่งยุโรปคือ Austerity Measure หรือการโดนปลดออกจากงานและการตัดลดรายจ่ายต่างๆของรัฐบาลท้องถิ่น ซึ่งตอนนี้ก็กำลังขยายตัวและคนทั่วไปก็เริ่มเข้าร่วมแล้ว น่าสนใจครับว่าถ้าจุดติดแล้วจะรุกลามไปแค่ไหน และถ้ามีมือที่มองไม่ค่อยเห็นบงการอยู่ตรงนี้ก็คงเป็นจุดเริ่มต้นครับ [ame=http://www.youtube.com/watch?v=a1Ey951OvBU]YouTube - Wisconsin Unions and Non-union join forces and do WAR DANCE in capital building[/ame]

    Jimmy Siri moveon.org ซึ่งเป็นอีกเครือข่ายทางสังคม เรียกร้องให้คนอเมริกันในเมืองใหญ่ในอีก 50 รัฐทั่วประเทศ ร่วมกันออกมาแสดงพลังสนับสนุนการประท้วงในรัฐวิสคอนซิน โดยใช้ชื่อเรียกการรณรงค์นี้ว่า "Rally to save the American Dream" หรือเป็นการรวมตัวเพื่อปกป้องความฝันของชาวอเมริกัน MoveOn.org Political Action เลื่อนลงมาดูล่างๆนะครับ เพื่อดูขุมกำลังในเครือข่ายของเค้า ท่าทางงานนี้จะยาวอีกแล้วเช่นกัน ซึ่งถ้าเป็นมือระดับนี้แล้วล่ะก็น่าจะเป็นเครือข่ายของโซรอสที่วางไว้ อย่างที่ผมเคยนำเสนอไปเมื่อนานมาแล้ว วันนี้คงได้นำออกมาใช้งานซะทีครับ You Are Wisconsin: Rally to Save the American Dream, Saturday Feb. 26 | blue cheddar. /// MoveOn.org: Democracy in Action

    Jimmy Siri และถ้ายังจำกันได้จุดประสงค์ที่ของเค้าที่ผมเคยให้ไว้คือ NWO จะทำเรื่องนี้ให้รุกลามบานปลายไปเป็น Civil Unrest หรือสงครามประชาชนหรือสงครามกลางเมืองเพื่อเปิดทางให้บังคับใช้ Martial Law หรือกฏอัยการศึกเพื่อเข้าควบคุมอำนาจบริหารบริหารประเทศอย่างเบ็ดเสร็จ ซึ่งจะมีการระงับใช้รัฐธรรมนูญในทันที โดยอ้างการต่อต้านและความไม่สงบดังกล่าว หรือก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในตะวันออกกลางนั่นเองครับ เรื่องนี้ผมได้เขียนไว้ในบล๊อกเมื่อปีที่แล้วและเกลน เบ๊คก็นำนำประเด็นนี้มาเล่นด้วยเช่นกัน ค่อยๆ ตามดูกันไป ส่วนใครที่อยู่ในสหรัฐก็ต้องดูเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดหน่อยครับ เพราะมันใกล้เข้ามาแล้ว และสถานการณ์เกือบทุกด้านยังมุ่งไปที่ปี 2012 เหมือนเดิมครับ

    Jimmy Siri
    เห็นแผนที่อันนี้ชัดดีครับ เป็นการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งของโลกในอดีตที่บริเวณรอยเลื่อน New Madridid นี้ ที่ขนาดความรุนแรง " 8.6 ริกเตอร์ " เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม คศ.1811

    และ เจ้า Plate หรือรอยเลื่อนของแผ่นเปลือกโลกแผ่นนี้ล่ะครับ ที่จะส่งผลไปทางฝั่งซ้ายหรือตะวันตกทั้งหมด โดยเฉพาะจะส่งผลต่อเนื่องไปยังอีกรอยเลื่อนหนึ่งทางซ้าย สุดแถบชายฝั่งของแคลิฟอเนีย หรือ Pacific Plate ที่ไปต่อกันตรงเมืองชายฝั่งรัฐแคลิฟอเนียพอดี ในลักษณะเดียวกับที่เราเห็นในหนัง 2012 นั่นเลยครับ " คือถล่มลงไปทั้งแถบ " ดูจากเทคโนโลยีที่เค้ามีอยู่และศักยภาพของพวเค้าในวันนี้แล้ว มีลุ้นครับ !!!

    จาก ข้อมูลที่ผมมีและศึกษาอยู่ เค้าจะสร้างแผ่นดินไหว "ครั้งร้ายแรงที่สุดในโลก" ขึ้นในบริเวณนี้ครับ คือภาคตะวันตกของสหรัฐ ซึ่งมันก็ตรงกับสิ่งที่กำลังเป็นอยู่และชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ครับ และอีกอย่างที่มองข้ามไม่ได้เลยก็คือ...ภูเขาไฟ...ยุคดึกดำบรรพ์ที่รอเวลาปะทุในอุทยานแห่งชาติเยลโลสโตน เพียงแค่มีแรงระเบิดขนาดใหญ่ไปเปิดปากปล่องมันเท่านั้น ก็จะกลายเป็น "หายนะ" ที่ยิ่งกว่านรกแตกเลยครับ

    [​IMG]

    Jimmy Siri ยังไงก็อย่าตัดประเด็นนี้ครับ ....."The Gold War phase II" by Jimmy Siri: Subliminal Messages 13 of 14....... " เขื่อนแตก " เผื่อมีการหลอกล่อให้เราหลงทาง เพราะถ้าเป็นเหตุการณ์ก่อการร้ายเค้าจะใช้ต่อยอดได้มากกว่า แล้วใกล้ครบกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งในเทอมแรกของโอบาม่าที่คะแนนนิยมกำลังเพลี่ยงพล้ำระดับนี้ เค้าต้องสร้างเหตุการณ์บางอย่างครับ ซึ่งก็เป็นการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ชั้นครูอีกหลายๆคนด้วยเช่น Gerald Celente ที่คาดการณ์ไว้เรื่อง Falseflag หรือการสร้างสถานการณ์โดยคนของรัฐบาลเอง ในลักษณะเดียวกับ 911หรือเหมือนกับที่คลินตันทำและใช้เรื่อง Oklahoma Bombing หรือ OKBOMB หรือการลอบวางระเบิดที่ทำการรัฐบาลในรัฐโอคลาโฮม่า แล้วใช้เหตุการณ์นั้นเป็นเหตุให้ชนะการเลือกตั้งเข้ามาดำรงตำแหน่งในสมัยที่ 2 นั่นเองครับ

    เข้าสู่ระบบ | Facebook
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    คณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นสั่งห้ามขนส่งอาวุธเข้าลิเบีย-ยึดทรัพย์ตระกูล “กัดดาฟี”

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 27 กุมภาพันธ์ 2554 11:10 น.

    [​IMG]

    อิบรอฮีม ดับบาชี รองทูตลิเบียประจำองค์การสหประชาชาติ กล่าวถึงแนวทางแก้ปัญหาความขัดแย้งในทวีปแอฟริกา หลังคณะมนตรีความมั่นคงฯลงมติคว่ำบาตร กัดดาฟี และพวกวานนี้(26)

    เอเอฟพี - คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีมติเป็นเอกฉันท์วานนี้(26) ห้ามขนส่งอาวุธทุกชนิดเข้าไปยังลิเบีย และให้อายัดทรัพย์สินของ มูอัมมาร์ กัดดาฟี ตลอดจนตั้งข้อหาอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ เนื่องจากการปราบปรามผู้ประท้วงด้วยความรุนแรงจนเกิดการนองเลือด

    คณะมนตรีความมั่งคงแห่งสหประชาชาติออกแถลงการณ์เรียกร้องครั้งล่าสุด ให้บรรดาผู้ภักดีต่อ กัดดาฟี หยุดทำร้ายพลเมืองตามคำยั่วยุของ “บุคคลระดับสูงสุดในรัฐบาล”

    องค์การสประชาชาติเปิดเผยว่า เหตุรุนแรงในลิเบียทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วไม่ต่ำกว่า 1,000 คน

    สมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงฯทั้ง 15 คนต่างสนับสนุนให้มีการบังคับใช้ข้อมติปี 1970 ระหว่างการประชุมเมื่อคืนวันเสาร์(26)ที่ผ่านมา โดยมีคำสั่งห้ามเดินทางและยึดทรัพย์บุคคล 16 คน ได้แก่ กัดดาฟี วัย 68 ปี, บุตรชาย 7 คน, อาอิชา บุตรสาว, บุคคลในครอบครัวกัดดาฟี รวมถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงในกระทรวงกลาโหมและหน่วยข่าวกรองลิเบีย

    การเสียชีวิตของพลเมืองลิเบียถูกส่งฟ้องศาลอาญาระหว่างประเทศ(ไอซีซี) โดยคณะมนตรีความมั่นคงฯให้เหตุผลว่า “การสังหารพลเมืองลิเบียอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ อาจเปรียบเสมือนอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ”

    ตามข้อมติปี 1970 การขนส่งอาวุธทุกชนิดเข้าไปยังลิเบียจะต้องยุติลงทันที

    ระหว่างการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงวานนี้(26) สหรัฐฯยังแสดงท่าทีสนับสนุนเป็นครั้งแรกให้ส่งกรณีของลิเบียขึ้นสู่ศาลอาญาระหว่างประเทศ(ไอซีซี)

    สหรัฐฯไม่ได้เป็นชาติสมาชิกของไอซีซี และเคยงดออกเสียงเมื่อกรณีสงครามดาร์ฟูร์ในประเทศซูดานถูกส่งฟ้องศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในข้อหาอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ เมื่อปี 2005

    Around the World - Manager Online -
     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554 11:30
    ตระเวนหลายเมืองช่วยคนไทยตกค้างในลิเบีย 465คน

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
    โฆษกกระทรวงแรงงาน เผย นำรถไปรับ223คนไทยตกค้างกรุงทริโปลี ตะเวนรับอีก 2เมือง 242คน ฝากกระจายข่าวให้เดินทางไปชายแดนตูนีเซีย เพื่อขึ้นเครื่อง
    นายสุธรรม นทีทอง โฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ได้เปลี่ยนแผนการอพยพแรงงานไทยในประเทศลิเบียข้ามทวีป เนื่องจากสถานการณ์ในกรุงทริโปลี กำลังวิกฤตอย่างหนัก จึงไม่สามารถนำเครื่องบินเช่าเหมาลำไปรับแรงงานไทยจำนวน 223 คนได้ จึงเปลี่ยนเป็นการเช่าเหมารถเพื่อเดินทางไปยังชายแดนประเทศตูนีเซียแทน ซึ่งจะต้องใช้เวลาเดินทางไปรับ 6 ชั่วโมง

    ขณะเดียวกันในจุดดังกล่าวจะมีแรงงานไทยเดินทางไปรอ จำนวนกว่า 2,000 คน ขณะที่มีแรงงานไทยจำนวน 1,300 คน เดินทางถึงประเทศอียิปต์แล้ว และกำลังเดินทางข้ามแดนมาเพิ่มอีก 800 คน ส่วนแรงงานไทยอีก 600 คน ที่เมืองเบงกาซี กำลังรอขึ้นเรือแต่ติดปัญหาการข้ามแดน ซึ่งสถานทูตไทยที่ตุรกีกำลังเร่งดำเนินการช่วยเหลือ อย่างไรก็ตาม ภารกิจต่อไปในวันพรุ่งนี้(28ก.พ.) จะเดินทางไปชายแดนประเทศลิเบียที่เมืองซาซีดและเมืองรัชอาเดีย เพื่อรับแรงงานไทยอีก 242 คน ทั้งนี้จากการติดต่อกับแรงงานไทยผ่านโทรศัพท์ก็ได้รับทราบว่าแรงงานไทยทุกคนปลอดภัย

    นอกจากนี้ ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ จะมีเรือไปรับแรงงานไทยที่กรุงทริโปลี ซึ่งกำลังประสานกับนายจ้างเพื่อพาแรงงานไทยออกมาขึ้นเรือในวันเวลาที่กำหนดอย่างไรก็ตามขณะนี้กองกำลังองค์การสหประชาชาต (ยูเอ็น) ได้มาประจำอยู่ที่ชายแดนประเทศลิเบียฝั่งที่ติดกับประเทศตูนีเซียแล้ว จึงอยากฝากถึงแรงงานไทยที่กระจัดกรัจายตามแคมป์ต่างๆ ให้รีบเดินทางที่ชายแดนดังกล่าว ตนและเจ้าหน้าจะช่วยประสานให้เข้าประเทศ เพื่อหาเที่ยวบินให้เดินทางกลับประเทศไทย
     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2554 17:51
    บุชเมินร่วมเวทีอัสซานจ์

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    http://www.bangkokbiznews.com/home/media/2011/02/26/images/news_img_379265_1.jpg
    อดีตประธานาธิบดีสหรัฐยกเลิกงานกะทันหัน หลังทราบว่าผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์ได้รับเชิญด้วย

    นายเดวิด เชียร์เรอร์ โฆษกประจำตัวนายจอร์จ ดับเบิลยู บุช อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ แถลงว่า นายบุชยกเลิกการกล่าวปาฐกถาในงานประชุมสุดยอดผู้บริหารรุ่นใหม่ ที่เดนเวอร์ อย่างกะทันหัน หลังจากทราบว่า นาย จูเลียน อัสซานจ์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์วิกิลีกส์ ได้รับเชิญให้ร่วมงานด้วย

    นายบุชให้เหตุผลว่า ไม่ต้องการร่วมเวทีเดียวกับผู้ที่จงใจทำลายผลประโยชน์ของสหรัฐ โดยนายบุชตอบรับคำเชิญเข้าร่วมงานนี้ตั้งแต่เมื่อ 6 เดือนก่อน

    ส่วนนายอัสซานจ์ ขณะนี้ถูกคุมขังอยู่ที่อังกฤษ เพื่อรอส่งตัวไปสวีเดน เพื่อดำเนินคดีล่วงละเมิดทางเพศ
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2554 17:51
    บุชเมินร่วมเวทีอัสซานจ์

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    http://www.bangkokbiznews.com/home/media/2011/02/26/images/news_img_379265_1.jpg
    อดีตประธานาธิบดีสหรัฐยกเลิกงานกะทันหัน หลังทราบว่าผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์ได้รับเชิญด้วย

    นายเดวิด เชียร์เรอร์ โฆษกประจำตัวนายจอร์จ ดับเบิลยู บุช อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ แถลงว่า นายบุชยกเลิกการกล่าวปาฐกถาในงานประชุมสุดยอดผู้บริหารรุ่นใหม่ ที่เดนเวอร์ อย่างกะทันหัน หลังจากทราบว่า นาย จูเลียน อัสซานจ์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์วิกิลีกส์ ได้รับเชิญให้ร่วมงานด้วย

    นายบุชให้เหตุผลว่า ไม่ต้องการร่วมเวทีเดียวกับผู้ที่จงใจทำลายผลประโยชน์ของสหรัฐ โดยนายบุชตอบรับคำเชิญเข้าร่วมงานนี้ตั้งแต่เมื่อ 6 เดือนก่อน

    ส่วนนายอัสซานจ์ ขณะนี้ถูกคุมขังอยู่ที่อังกฤษ เพื่อรอส่งตัวไปสวีเดน เพื่อดำเนินคดีล่วงละเมิดทางเพศ
     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ดมิโนตัวต่อไปแห่งตะวันออกกลาง: เริ่มประท้วงในอิหร่าน เยเมน บาห์เรน

    [​IMG]

    แผนที่แสดงประเทศในเขตตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือที่มีการประท้วงต่อต้านรัฐบาล สีแดง = ไล่รัฐบาลสำเร็จ, สีน้ำเงิน = เกิดการประท้วงรอบล่าสุด, สีฟ้า = เคยประท้วงเมื่อเร็วๆ นี้


    February 16, 2011
    หลังจากชัยชนะของประชาชนในตูนิเซีย ตามด้วยอียิปต์ กระแสลมแห่งความเปลี่ยนแปลงก็เริ่มแพร่กระจายออกไปยังประเทศอิสลามใกล้เคียง โดยเฉพาะประเทศที่มีการปกครองแบบเผด็จการและประสบปัญหาเศรษฐกิจเหมือนกับสองประเทศก่อนหน้า

    อิหร่าน
    ที่อิหร่าน ฝ่ายค้านได้เชิญชวนฝูงชนให้ออกมาต่อต้านรัฐบาลอีกครั้ง หลังจากที่เคยประท้วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2009 แต่ล้มเหลว การประท้วงรอบล่าสุดจบลงด้วยผู้เสียชีวิต 2 ราย ส่วนสาเหตุของการเสียชีวิตยังสับสน ฝ่ายรัฐบาลบอกว่าผู้เสียชีวิตโดนกลุ่มหัวรุนแรง People’s Mujahedeen of Iran ฆ่า ในขณะที่กลุ่มนี้ปฏิเสธ และบอกว่าเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของรัฐบาลใช้แก๊สน้ำตาจัดการ

    การประท้วงเกิดขึ้นในกรุงเตหะราน และอีกหลายเมืองอย่าง Isfahan และ Shiraz ตามรายงานบอกว่ามีผู้บาดเจ็บหลักสิบคนในเตหะราน

    ประธานาธิบดี Mahmoud Ahmadinejad ออกแถลงการณ์ว่า “ศัตรูของอิหร่าน” อยู่เบื้องหลังการวางแผนประท้วงครั้งนี้ แต่พวกเขาก็ไม่ประสบความสำเร็จ ส่วนปฏิกริยาจากรัฐสภาอิหร่านเรียกร้องให้ลงโทษสมาชิกฝ่ายค้าน Mir Hossein Mousavi กับ Mehdi Karroubi ในฐานะที่ปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวายในประเทศ

    ที่มา – Al Jazeera, New York Times

    บาห์เรน
    ประเทศเล็กๆ ในอ่าวอาระเบียก็เกิดการประท้วงเช่นกันที่กรุง Manama ผู้ประท้วงหลักพันออกมาเดินตามท้องถนนเพื่อไล่รัฐบาล แต่ก็ต้องเผชิญกับแก๊สน้ำตาและการยิงกระสุนขึ้นฟ้าของตำรวจปราบจราจล มีรายงานว่าผู้บาดเจ็บ 25 คน และเสียชีวิต 2 คน

    หลังจากผู้ประท้วงจัดงานศพให้กับผู้เสียชีวิตคนหนึ่ง ก็เกิดเหตุการณ์รุนแรงคือตำรวจเปิดฉากยิงใส่ประชาชนจนมีผู้เสียชีวิตอีกราย ทางกษัตริย์ Sheikh Hamad bin Isa Al-Khalifa ได้ออกแถลงการณ์ทางโทรทัศน์แสดงความเสียใจต่อผู้เสียชีวิตทั้งสอง และตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง ในขณะที่พรรคฝ่ายค้าน al-Wefaq ซึ่งเป็นมุสลิมนิกายชีอะห์ประกาศไม่เข้าร่วมกิจกรรมของรัฐสภา และอาจประท้วงโดยลาออกจากการเป็น ส.ส.

    ที่มา – Al Jazeera

    เยเมน
    กลุ่มผู้ประท้วงหลักพันได้ออกมาประท้วงต่อเนื่องเป็นวันที่หก เพื่อเรียกร้องให้ปฏิรูปการปกครองและไล่ประธานาธิบดี Ali Abdullah Saleh ผู้ประท้วงในกรุง Sanaa ได้เผชิญหน้ากับกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาล และเกิดปะทะกันจนมีผู้บาดเจ็บ 3 ราย

    ผู้สื่อข่าวจาก Al Jazeera รายงานว่าสถานการณ์ในกรุง Sanaa มีความตึงเครียดมาก เพราะผู้สนับสนุนและต่อต้านรัฐบาลมีจำนวนพอๆ กัน ส่วนผู้สนับสนุนรัฐบาลมีอาวุธและร่วมมือกับตำรวจ การประท้วงในเยเมนมีการใช้ social media ช่วยติดต่อสื่อสารเช่นเดียวกับในอียิปต์

    ประธานาธิบดี Ali Abdullah Saleh ซึ่งปกครองประเทศมายาวนาน เคยประกาศว่าจะลงจากตำแหน่งในปี 2013 แต่ก็ไม่ช่วยให้สถานการณ์การประท้วงดีขึ้น

    ที่มา – Al Jazeera

    ประเทศอื่นๆ ที่อาจได้รับผลกระทบจาก “โดมิโนแห่งการปฏิวัติ” ได้แก่ จอร์แดน ซีเรีย และอัลจีเรีย ส่วนนักวิเคราะห์ที่ติดตามสถานการณ์ในตะวันออกกลางระบุว่า ทุกประเทศมีโอกาสเผชิญการลุกฮือของประชาชน ยกเว้นประเทศเล็กๆ ที่ร่ำรวยอย่างกาตาร์และอาบูดาบี

    ที่มา – CNN, USAToday

     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วิกฤต "อาหรับ-แอฟริกา" 11 ชาติเสี่ยง โค่นระบอบเผด็จการ สู่ระเบียบโลกใหม่


    วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เวลา 15:00:45 น.




    กระแสการประท้วงและความไม่สงบที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในตะวันออกกลางและแอฟริกาบางส่วนอย่างน้อย 15 ประเทศ และ 1 เขตปกครองตนเองของปาเลสไตน์

    ไฟประท้วงเพื่อให้ได้มาซึ่งการเปลี่ยนแปลงและวิถีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นลุกลามมาจากตูนิเซียไปยังอียิปต์ จนสามารถโค่นล้มผู้นำเผด็จการที่ปกครองประเทศมายาวนานกว่า 30 ปีอย่าง ฮอสนี มูบารัก ให้พ้นจากตำแหน่งไปได้ในเวลาไม่นานนัก

    ล่าสุดปรากฏการณ์การต่อต้านผู้นำกำลังคุกรุ่นดุเดือดอยู่ในลิเบีย เช่นเดียวกับที่ปรากฏในเยเมน บาห์เรน จอร์แดน อิหร่าน อิรัก ซีเรีย คูเวต หรือแม้กระทั่งเขตปกรองตนเองต่อเนื่องไปยังแคเมอรูน แอลจีเรีย ดาจิบูติ ซูดาน และโมร็อกโก


    มีคำหลาย ๆ คำถูกหยิบยกมาอธิบายปรากฏการณ์เหล่านี้ เพื่อให้เห็นภาพของการเปลี่ยนแปลงไปสู่โลกอย่างฉับพลันและรวดเร็ว อาทิ "เฮอร์ริเคนของการเปลี่ยนแปลง" (Hurricane of change) และระเบียบโลกใหม่ (new world order) ซึ่งปรากฏอยู่ในบทวิเคราะห์ล่าสุด เผยแพร่เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ของเดอะ เดลี่ มาร์เวริก (The Daily Maverick) หรือการปฏิวัติในอาหรับ (Arab revolution) เป็นต้น

    ในเว็บไซต์ซีเอ็นเอ็นได้ตั้งข้อสังเกตถึงที่มาของการรวมตัวประท้วง และข้อเรียกร้องในแต่ละประเทศ อาทิ ในลิเบีย ซึ่งการประท้วงได้เริ่มต้นมาตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมาหลังจากไม่พอใจต่อความล่าช้าในโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้ประท้วงได้บุกเข้าไปในที่ตั้งของโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง และยึดครองพื้นที่ดังกล่าวไว้ ในครั้งนั้นผู้นำลิเบีย โมอัมมาร์ กัดดาฟี แก้ไขปัญหาด้วยการอนุมัติเงินทุนก่อสร้างโครงการที่อยู่อาศัย และการพัฒนา 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์

    แต่จุดแตกหักระหว่างชาวลิเบียและกัดดาฟีเริ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ควบคุมตัวญาติของประชาชนที่ถูกสังหารหมู่ในคุกอาบู ซาลิมเมื่อปี 2539 จาก จุดนั้นการประท้วงได้ทวีความรุนแรงและบานปลายเป็นการขับไล่ผู้นำให้พ้นจากอำนาจ

    หรือในกรณีของบาห์เรน ซึ่งเริ่มต้นจากข้อเรียกร้องให้รัฐบาลนำระบอบการปกครองแบบรัฐธรรมนูญอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมาใช้ และประท้วงรัฐบาลภายใต้การนำของคนในนิกายสุหนี่ เนื่องจากไม่พอใจที่รัฐบาลชุดนี้เลือกปฏิบัติ และไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาคอร์รัปชั่นหรือการว่างงาน

    นาดิม เชฮาดิ นักวิจัยจากชาแธม เฮาส์ ตั้งข้อสังเกตไว้ในเว็บไซต์ chathamhouse.org.uk ว่า แม้อาจเร็วเกินไปที่จะคิดว่าอะไรจะเกิดขึ้นตามมาหลังจากเหตุการณ์เหล่านี้ รวมถึงประเด็นที่ว่ารัฐบาลของนานาชาติควรมีปฏิกิริยาสนองตอบต่อกรณีเหล่านี้อย่างไร และจะเข้ามาแทรกแซงในระเบียบโลกใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในโลกอาหรับได้อย่างไร แต่เขาเชื่อว่าสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วในตูนิเซีย และอียิปต์ เป็นแรงบันดาลใจให้ประเทศอื่น ๆ ในโลกอาหรับทำตาม

    "แต่ระยะนี้ในตูนิเซียและที่อื่น ๆ ยังไม่ใช่บทอวสาน แต่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น"

    ในมุมมองของเชฮาดิ บทต่อไปของปรากฏการณ์ปลดแอกในโลกอาหรับ จะต้องตามมาด้วยการเจรจาและการสร้างระเบียบโลกใหม่ เพื่อป้องกันการเกิดสุญญากาศของอำนาจ และสร้างสถาบันต่าง ๆ ที่สามารถรับรองได้ว่า การปกครองที่ดีกว่าเดิมจะเกิดขึ้น ซึ่งหากสถานการณ์เช่นนั้นมาถึง เขาคิดว่านั่นจะเป็นช่วงที่โลกอาหรับจะเผชิญกับปัญหาท้าทายใหม่ ๆ และจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากโลกภายนอก

    ความฝันที่จะเห็นโลกใหม่ที่เปลี่ยนไปจากเดิม ประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงความเห็น และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและเท่าเทียมจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ นักวิเคราะห์เชื่อว่าสถานการณ์นั้นไม่เกินความจริง โดยเฉพาะเมื่อพลังของประชาชนประสบความสำเร็จในการสร้างการเปลี่ยนแปลงในอียิปต์ เพราะในฐานะชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลกอาหรับ อียิปต์ถูกมองว่าเป็นผู้นำเทรนด์ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ดังนั้นหลังการลงจากอำนาจของอดีตประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัก หลายคนจึงเริ่มตั้งคำถามว่าใครจะเป็นรายต่อไป

    หากวิเคราะห์ปรากฏการณ์ในอียิปต์ จะพบว่าปัจจัยที่ผลักดันให้ประชาชนออกมาบนท้องถนนไม่ใช่การปกครองแบบ ทุนนิยมเผด็จการอันยาวนานเพียงอย่างเดียว แต่มีแรงบีบคั้นจากค่าครองชีพและอัตราการว่างงานที่สูงร่วมด้วย บวกกับการเข้าถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการระดมคนอย่างมีประสิทธิภาพ

    บิสซิเนส อินไซเดอร์ดอทคอม ชี้ว่า เมื่อเทียบเคียงกับบทเรียนในแดนฟาโรห์มีอีก 11 ชาติที่ตกอยู่ในสถานการณ์ ล่อแหลมดังต่อไปนี้

    ลิเบีย ภายใต้การปกครองของเผด็จการโมอัมมาร์ กัดดาฟี นานหลายทศวรรษ แต่ความเป็นอยู่ของประชาชนกลับไม่ดีขึ้น โดยมีอัตราการว่างงานสูงสุดในแอฟริกาเหนือ และยิ่งหมดหวังเมื่อท่านผู้นำหวังจะให้บุตรชายของตนขึ้นสืบทอดอำนาจ นอกจากนี้การอยู่ระหว่าง 2 ชาติตูนิเซียและอียิปต์ที่ประชาชนล้มเผด็จการสำเร็จ ทำให้ชาวลิเบียพร้อมต่อสู้จนถึงที่สุดเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศ

    โมร็อกโก แม้อัตราเงินเฟ้อที่ 2.6% เมื่อธันวาคมปีกลายจะไม่สูง แต่อัตราว่างงานกลับอยู่ในระดับเสี่ยง โดยรวมอยู่ที่ 9.1% แต่ในหมู่คนที่จบปริญญาตรีมีถึง 1 ใน 4 ที่ไร้อาชีพ นอกจากนี้การใช้สื่อออนไลน์ยังเป็นส่วนสำคัญของชีวิตคนรุ่นใหม่ แต่เพราะรัฐบาลโมร็อกโกดำเนินการปฏิรูปประชาธิปไตยมาระยะหนึ่งแล้ว แรงกดดันทางการเมืองที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จึงมุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นไม่ใช่การล้มล้างระบอบเดิม ประเทศนี้จึงค่อนข้างปลอดภัยในระยะนี้

    จอร์แดน ด้วยเงินเฟ้อที่ 6.1% การว่างงานที่ 14% และมีคนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเกือบ 40% การประท้วงจึงเกิดขึ้นแล้ว รัฐบาลหาทางบรรเทาความไม่พอใจโดยการให้เงินอุดหนุนอาหารและพลังงาน ด้าน กษัตริย์อับดุลเลาะห์ที่ 2 ซึ่งเป็นราชาใต้รัฐธรรมนูญประกาศแต่งตั้งรัฐบาลใหม่ ซึ่งมีภารกิจด้านปฏิรูปเป็นอันดับแรก จำนวนผู้ประท้วงในครั้งหน้าขึ้นอยู่กับว่าการเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปอย่างรวดเร็วเพียงใด

    ซีเรีย ภาวะทางเศรษฐกิจยังไม่ดิ่งเหวเท่าประเทศใกล้เคียง แม้การปกครองของ ประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อัสซัด จะเหี้ยมโหดกว่าในอียิปต์ ผู้นำประเทศเชื่อว่าการเป็นพันธมิตรกับอิหร่านและสนับสนุนรัฐปาเลสไตน์จะช่วยค้ำจุนบัลลังก์ของตน คาดว่ารัฐบาลยังแข็งแกร่งเกินกว่าผู้ประท้วงจำนวนน้อยนิดจะสั่นคลอนได้

    ซาอุดีอาระเบีย รายได้มหาศาลจากน้ำมันและกองทัพที่ เข้มแข็ง ทำให้เป็นไปได้ยากที่ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เพียงพอหรือการใช้จ่ายงบประมาณอย่างไม่เหมาะสมจะล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ แต่ความไม่พอใจในกลุ่มคนหนุ่มสาวซึ่งมีอัตราว่างงานสูงถึง 42% และการเข้าถึงเฟซบุ๊ก ราว 3 ล้านคนอาจทำให้ผู้นำหนาว ๆ ร้อน ๆ ได้ในอนาคต

    อิหร่าน แม้รัฐบาลจะปราบปรามการประท้วงครั้งก่อนอย่างรุนแรง แต่ถ้าอัตราเงินเฟ้อและการว่างงานซึ่งอยู่ในระดับเลข 2 หลักยังสูงต่อเนื่อง ประกอบกับแรงบันดาลใจจากอียิปต์ ชาวอิหร่านอาจลุกฮือขึ้นมาอีกครั้ง

    เยเมน ผู้ประท้วงเริ่มก่อหวอดจากความไม่พอใจเรื่องปัญหาว่างงานที่สูงถึง 40% รัฐบาลอยู่ในภาวะอ่อนแอเนื่องจากประเทศเป็นแหล่งชุมนุมของผู้ก่อการร้าย มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในประเทศนี้

    ปากีสถาน สถานการณ์ทางเศรษฐกิจอยู่ในภาวะวิกฤต ความล้มเหลวของกลไกภาครัฐเห็นได้จากการรับมืออุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปีกลาย และยังถูกซ้ำเติมด้วยการโจมตีของกลุ่มตาลิบันและการแทรกแซงของสหรัฐ ปัจจัยเหล่านี้อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้

    เวียดนาม ปัญหาทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะเงินเฟ้อและการว่างงาน คือสาเหตุหลักที่ผลักดันให้ประเทศอยู่ในฐานะชาติเอเชียที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการชุมนุมประท้วง

    จีน มีองค์ประกอบพร้อมทุกอย่างยกเว้นการว่างงาน คนในแถบชนบทอาจโกรธแค้นที่ข้าวของแพงและไม่มีงานทำแต่ยากที่กระแสความไม่พอใจจะแพร่ไปถึงเมืองใหญ่ ต้องเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขนานใหญ่ที่กระทบถึงคนทุกหย่อมหญ้าจึงจะสั่นคลอนฐานอำนาจของรัฐบาลปักกิ่งได้
    ..................


    วิกฤต "อาหรับ-แอฟริกา" 11 ชาติเสี่ยง โค่นระบอบเผด็จการ สู่ระเบียบโลกใหม่ : มติชนออนไลน์

    เครดิต วิกฤต "อาหรับ-แอฟริกา" 11 ชาติเสี่ยง โค่นระบอบเผด็จการ สู่ระเบียบโลกใหม่ - FO3P.NET : บ้านสามจังหวั
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วิกฤต "อาหรับ-แอฟริกา" 11 ชาติเสี่ยง โค่นระบอบเผด็จการ สู่ระเบียบโลกใหม่


    วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เวลา 15:00:45 น.




    กระแสการประท้วงและความไม่สงบที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในตะวันออกกลางและแอฟริกาบางส่วนอย่างน้อย 15 ประเทศ และ 1 เขตปกครองตนเองของปาเลสไตน์

    ไฟประท้วงเพื่อให้ได้มาซึ่งการเปลี่ยนแปลงและวิถีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นลุกลามมาจากตูนิเซียไปยังอียิปต์ จนสามารถโค่นล้มผู้นำเผด็จการที่ปกครองประเทศมายาวนานกว่า 30 ปีอย่าง ฮอสนี มูบารัก ให้พ้นจากตำแหน่งไปได้ในเวลาไม่นานนัก

    ล่าสุดปรากฏการณ์การต่อต้านผู้นำกำลังคุกรุ่นดุเดือดอยู่ในลิเบีย เช่นเดียวกับที่ปรากฏในเยเมน บาห์เรน จอร์แดน อิหร่าน อิรัก ซีเรีย คูเวต หรือแม้กระทั่งเขตปกรองตนเองต่อเนื่องไปยังแคเมอรูน แอลจีเรีย ดาจิบูติ ซูดาน และโมร็อกโก


    มีคำหลาย ๆ คำถูกหยิบยกมาอธิบายปรากฏการณ์เหล่านี้ เพื่อให้เห็นภาพของการเปลี่ยนแปลงไปสู่โลกอย่างฉับพลันและรวดเร็ว อาทิ "เฮอร์ริเคนของการเปลี่ยนแปลง" (Hurricane of change) และระเบียบโลกใหม่ (new world order) ซึ่งปรากฏอยู่ในบทวิเคราะห์ล่าสุด เผยแพร่เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ของเดอะ เดลี่ มาร์เวริก (The Daily Maverick) หรือการปฏิวัติในอาหรับ (Arab revolution) เป็นต้น

    ในเว็บไซต์ซีเอ็นเอ็นได้ตั้งข้อสังเกตถึงที่มาของการรวมตัวประท้วง และข้อเรียกร้องในแต่ละประเทศ อาทิ ในลิเบีย ซึ่งการประท้วงได้เริ่มต้นมาตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมาหลังจากไม่พอใจต่อความล่าช้าในโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้ประท้วงได้บุกเข้าไปในที่ตั้งของโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง และยึดครองพื้นที่ดังกล่าวไว้ ในครั้งนั้นผู้นำลิเบีย โมอัมมาร์ กัดดาฟี แก้ไขปัญหาด้วยการอนุมัติเงินทุนก่อสร้างโครงการที่อยู่อาศัย และการพัฒนา 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์

    แต่จุดแตกหักระหว่างชาวลิเบียและกัดดาฟีเริ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ควบคุมตัวญาติของประชาชนที่ถูกสังหารหมู่ในคุกอาบู ซาลิมเมื่อปี 2539 จาก จุดนั้นการประท้วงได้ทวีความรุนแรงและบานปลายเป็นการขับไล่ผู้นำให้พ้นจากอำนาจ

    หรือในกรณีของบาห์เรน ซึ่งเริ่มต้นจากข้อเรียกร้องให้รัฐบาลนำระบอบการปกครองแบบรัฐธรรมนูญอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมาใช้ และประท้วงรัฐบาลภายใต้การนำของคนในนิกายสุหนี่ เนื่องจากไม่พอใจที่รัฐบาลชุดนี้เลือกปฏิบัติ และไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาคอร์รัปชั่นหรือการว่างงาน

    นาดิม เชฮาดิ นักวิจัยจากชาแธม เฮาส์ ตั้งข้อสังเกตไว้ในเว็บไซต์ chathamhouse.org.uk ว่า แม้อาจเร็วเกินไปที่จะคิดว่าอะไรจะเกิดขึ้นตามมาหลังจากเหตุการณ์เหล่านี้ รวมถึงประเด็นที่ว่ารัฐบาลของนานาชาติควรมีปฏิกิริยาสนองตอบต่อกรณีเหล่านี้อย่างไร และจะเข้ามาแทรกแซงในระเบียบโลกใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในโลกอาหรับได้อย่างไร แต่เขาเชื่อว่าสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วในตูนิเซีย และอียิปต์ เป็นแรงบันดาลใจให้ประเทศอื่น ๆ ในโลกอาหรับทำตาม

    "แต่ระยะนี้ในตูนิเซียและที่อื่น ๆ ยังไม่ใช่บทอวสาน แต่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น"

    ในมุมมองของเชฮาดิ บทต่อไปของปรากฏการณ์ปลดแอกในโลกอาหรับ จะต้องตามมาด้วยการเจรจาและการสร้างระเบียบโลกใหม่ เพื่อป้องกันการเกิดสุญญากาศของอำนาจ และสร้างสถาบันต่าง ๆ ที่สามารถรับรองได้ว่า การปกครองที่ดีกว่าเดิมจะเกิดขึ้น ซึ่งหากสถานการณ์เช่นนั้นมาถึง เขาคิดว่านั่นจะเป็นช่วงที่โลกอาหรับจะเผชิญกับปัญหาท้าทายใหม่ ๆ และจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากโลกภายนอก

    ความฝันที่จะเห็นโลกใหม่ที่เปลี่ยนไปจากเดิม ประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงความเห็น และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและเท่าเทียมจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ นักวิเคราะห์เชื่อว่าสถานการณ์นั้นไม่เกินความจริง โดยเฉพาะเมื่อพลังของประชาชนประสบความสำเร็จในการสร้างการเปลี่ยนแปลงในอียิปต์ เพราะในฐานะชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลกอาหรับ อียิปต์ถูกมองว่าเป็นผู้นำเทรนด์ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ดังนั้นหลังการลงจากอำนาจของอดีตประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัก หลายคนจึงเริ่มตั้งคำถามว่าใครจะเป็นรายต่อไป

    หากวิเคราะห์ปรากฏการณ์ในอียิปต์ จะพบว่าปัจจัยที่ผลักดันให้ประชาชนออกมาบนท้องถนนไม่ใช่การปกครองแบบ ทุนนิยมเผด็จการอันยาวนานเพียงอย่างเดียว แต่มีแรงบีบคั้นจากค่าครองชีพและอัตราการว่างงานที่สูงร่วมด้วย บวกกับการเข้าถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการระดมคนอย่างมีประสิทธิภาพ

    บิสซิเนส อินไซเดอร์ดอทคอม ชี้ว่า เมื่อเทียบเคียงกับบทเรียนในแดนฟาโรห์มีอีก 11 ชาติที่ตกอยู่ในสถานการณ์ ล่อแหลมดังต่อไปนี้

    ลิเบีย ภายใต้การปกครองของเผด็จการโมอัมมาร์ กัดดาฟี นานหลายทศวรรษ แต่ความเป็นอยู่ของประชาชนกลับไม่ดีขึ้น โดยมีอัตราการว่างงานสูงสุดในแอฟริกาเหนือ และยิ่งหมดหวังเมื่อท่านผู้นำหวังจะให้บุตรชายของตนขึ้นสืบทอดอำนาจ นอกจากนี้การอยู่ระหว่าง 2 ชาติตูนิเซียและอียิปต์ที่ประชาชนล้มเผด็จการสำเร็จ ทำให้ชาวลิเบียพร้อมต่อสู้จนถึงที่สุดเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศ

    โมร็อกโก แม้อัตราเงินเฟ้อที่ 2.6% เมื่อธันวาคมปีกลายจะไม่สูง แต่อัตราว่างงานกลับอยู่ในระดับเสี่ยง โดยรวมอยู่ที่ 9.1% แต่ในหมู่คนที่จบปริญญาตรีมีถึง 1 ใน 4 ที่ไร้อาชีพ นอกจากนี้การใช้สื่อออนไลน์ยังเป็นส่วนสำคัญของชีวิตคนรุ่นใหม่ แต่เพราะรัฐบาลโมร็อกโกดำเนินการปฏิรูปประชาธิปไตยมาระยะหนึ่งแล้ว แรงกดดันทางการเมืองที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จึงมุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นไม่ใช่การล้มล้างระบอบเดิม ประเทศนี้จึงค่อนข้างปลอดภัยในระยะนี้

    จอร์แดน ด้วยเงินเฟ้อที่ 6.1% การว่างงานที่ 14% และมีคนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเกือบ 40% การประท้วงจึงเกิดขึ้นแล้ว รัฐบาลหาทางบรรเทาความไม่พอใจโดยการให้เงินอุดหนุนอาหารและพลังงาน ด้าน กษัตริย์อับดุลเลาะห์ที่ 2 ซึ่งเป็นราชาใต้รัฐธรรมนูญประกาศแต่งตั้งรัฐบาลใหม่ ซึ่งมีภารกิจด้านปฏิรูปเป็นอันดับแรก จำนวนผู้ประท้วงในครั้งหน้าขึ้นอยู่กับว่าการเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปอย่างรวดเร็วเพียงใด

    ซีเรีย ภาวะทางเศรษฐกิจยังไม่ดิ่งเหวเท่าประเทศใกล้เคียง แม้การปกครองของ ประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อัสซัด จะเหี้ยมโหดกว่าในอียิปต์ ผู้นำประเทศเชื่อว่าการเป็นพันธมิตรกับอิหร่านและสนับสนุนรัฐปาเลสไตน์จะช่วยค้ำจุนบัลลังก์ของตน คาดว่ารัฐบาลยังแข็งแกร่งเกินกว่าผู้ประท้วงจำนวนน้อยนิดจะสั่นคลอนได้

    ซาอุดีอาระเบีย รายได้มหาศาลจากน้ำมันและกองทัพที่ เข้มแข็ง ทำให้เป็นไปได้ยากที่ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เพียงพอหรือการใช้จ่ายงบประมาณอย่างไม่เหมาะสมจะล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ แต่ความไม่พอใจในกลุ่มคนหนุ่มสาวซึ่งมีอัตราว่างงานสูงถึง 42% และการเข้าถึงเฟซบุ๊ก ราว 3 ล้านคนอาจทำให้ผู้นำหนาว ๆ ร้อน ๆ ได้ในอนาคต

    อิหร่าน แม้รัฐบาลจะปราบปรามการประท้วงครั้งก่อนอย่างรุนแรง แต่ถ้าอัตราเงินเฟ้อและการว่างงานซึ่งอยู่ในระดับเลข 2 หลักยังสูงต่อเนื่อง ประกอบกับแรงบันดาลใจจากอียิปต์ ชาวอิหร่านอาจลุกฮือขึ้นมาอีกครั้ง

    เยเมน ผู้ประท้วงเริ่มก่อหวอดจากความไม่พอใจเรื่องปัญหาว่างงานที่สูงถึง 40% รัฐบาลอยู่ในภาวะอ่อนแอเนื่องจากประเทศเป็นแหล่งชุมนุมของผู้ก่อการร้าย มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในประเทศนี้

    ปากีสถาน สถานการณ์ทางเศรษฐกิจอยู่ในภาวะวิกฤต ความล้มเหลวของกลไกภาครัฐเห็นได้จากการรับมืออุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปีกลาย และยังถูกซ้ำเติมด้วยการโจมตีของกลุ่มตาลิบันและการแทรกแซงของสหรัฐ ปัจจัยเหล่านี้อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้

    เวียดนาม ปัญหาทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะเงินเฟ้อและการว่างงาน คือสาเหตุหลักที่ผลักดันให้ประเทศอยู่ในฐานะชาติเอเชียที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการชุมนุมประท้วง

    จีน มีองค์ประกอบพร้อมทุกอย่างยกเว้นการว่างงาน คนในแถบชนบทอาจโกรธแค้นที่ข้าวของแพงและไม่มีงานทำแต่ยากที่กระแสความไม่พอใจจะแพร่ไปถึงเมืองใหญ่ ต้องเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขนานใหญ่ที่กระทบถึงคนทุกหย่อมหญ้าจึงจะสั่นคลอนฐานอำนาจของรัฐบาลปักกิ่งได้
    ..................


    วิกฤต "อาหรับ-แอฟริกา" 11 ชาติเสี่ยง โค่นระบอบเผด็จการ สู่ระเบียบโลกใหม่ : มติชนออนไลน์

    เครดิต วิกฤต "อาหรับ-แอฟริกา" 11 ชาติเสี่ยง โค่นระบอบเผด็จการ สู่ระเบียบโลกใหม่ - FO3P.NET : บ้านสามจังหวั
     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ประท้วงลิเบียจะจบอย่างไร? ความเป็นไปได้ 4 แบบ
    February 25, 2011
    Omar Ashour อาจารย์ด้านการเมืองตะวันออกกลางจากมหาวิทยาลัย Exeter ในอังกฤษ เขียนบทความแสดงความเป็นไปได้ (scenario) แบบต่างๆ ของลิเบีย 4 แบบ ลงในเว็บไซต์ BBC
    SIU เห็นว่าการวิเคราะห์สถานการณ์ด้วยกรอบแบบ scenario จะช่วยให้เตรียมรับมือกับอนาคตของลิเบียได้ดีขึ้น จึงคัดมาลง ณ ที่นี้
    กัดดาฟีถล่มด้วยอาวุธเคมี
    แม้ว่าอำนาจของฝ่ายกัดดาฟีจะอ่อนลงมามาก แต่การโค่นกัดดาฟีให้สำเร็จอาจยังต้องแลกมาด้วยชีวิตอีกไม่น้อย กัดดาฟีอาจตัดสินใจใช้อาวุธเคมีปราบฝ่ายต่อต้าน ซึ่งในอดีตซัดดัม ฮุสเซน แห่งอิรักเคยใช้ยุทธการนี้มาแล้วในปี 1988 กับผู้ต่อต้านชาวเคิร์ด นอกจากนี้อาจเป็นการทิ้งระเบิดปูพรมถล่มผู้ชุมนุม ซึ่งเป็นยุทธการที่ซีเรียใช้เมื่อปี 1982
    ถ้ากัดดาฟีเลือกเส้นทางนี้จริง การแทรกแซงจากกองกำลังนานาชาติก็เป็นไปได้สูงมาก กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะโดนฆ่าล้างพันธุ์คือชาวลิเบียที่มีเชื้อสายต่างชาติ เช่น อียิปต์
    รัฐประหารโค่นกัดดาฟี
    ความเป็นไปได้อีกประการคือฝ่ายทหารในลิเบียลุกขึ้นมาก่อรัฐประหารตลบหลังกัดดาฟี แนวทางนี้มีจุดอ่อนคือทหารของลิเบียแตกเป็นเสี่ยงๆ มีความเคลื่อนไหวแตกต่างกัน ซึ่งไม่เหมือนกับตูนิเซียหรืออียิปต์ที่ฝ่ายทหารมีเอกภาพมากกว่า
    ฝ่ายทหารอีกไม่น้อยยังจงรักภักดีต่อกัดดาฟี และกัดดาฟีเองก็มีกองกำลังส่วนตัวที่ไม่ใช่ทหารอีก 20,000 คน
    สงครามชนเผ่า
    ฉากทัศน์นี้อาจจะเกิดขึ้นหลังกัดดาฟีถูกโค่นลงจากอำนาจไปแล้ว เหตุเพราะลิเบียมี “ความเป็นชนเผ่า” สูงมาก และผู้นำชนเผ่าต่างๆ อาจเปิดศึกต่อกันเพื่อแย่งกันเป็นผู้นำประเทศคนใหม่
    อย่างไรก็ตาม ปรากฎการณ์ที่ผ่านมากลับแสดงว่าชนเผ่าต่างๆ โดยเฉพาะจากภาคตะวันออก กลับมีการจัดตั้งที่เป็นระบบมาก และมีความร่วมมือต่อกันเป็นอย่างดี ตัวอย่างของอิรักที่แตกเป็นเสี่ยงๆ อาจทำให้โลกอาหรับมีต้นแบบความล้มเหลวไม่ให้เดินรอยตาม ทั้งนี้ ประเด็นเรื่องสงครามชนเผ่าเป็นสิ่งที่ยังต้องจับตามองต่อไป
    การแทรกแซงจากต่างชาติ
    มิติที่สำคัญที่สุดจากต่างชาติคือการกดดันทางกฎหมาย โดยเฉพาะการเข่นฆ่าประชาชนที่ดำเนินมาในช่วงหลายวันนี้ ถ้าองค์กรนานาชาติขึ้นบัญชีดำกัดดาฟีและผู้นำระดับสูงของรัฐบาลว่าเป็น “อาชญากรสากล” ก็อาจทำให้ลูกน้องและผู้ใต้บังคับบัญชาของกัดดาฟีเกิดความลังเลที่จะปฏิบัติตามคำสั่ง
    การประท้วงทางวาจาและการทูตถือว่ามาถึงทางตันแล้ว จากนี้ไปโลกนานาชาติโดยเฉพาะโลกตะวันตก อาจต้อง “เริ่มดำเนินการ” มาตรการบางอย่างที่จับต้องได้เสียที
    ที่มา – BBC

    เครดิต ประท้วงลิเบียจะจบอย่างไร? ความเป็นไปได้ 4 แบบ | Siam Intelligence Unit
     
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    สหประชาชาติลงมติ “แซงค์ชัน” ลิเบียแล้ว
    February 27, 2011

    [​IMG]

    คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ 15 ชาติประชุมกันและลงมติเอกฉันท์ให้แซงค์ชันลิเบียทั้งด้านการทหารและการเงิน
    มาตรการของสหประชาชาติคือห้ามค้าขายอาวุธกับลิเบีย แช่แข็งทรัพย์สินของกัดดาฟีและครอบครัว และเสนอเรื่องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC ศาลเดียวกับที่นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมยื่นฟ้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ในฐานะก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (อ่านรายละเอียดจาก UNSC) ผู้แทนของลิเบียในสหประชาชาติซึ่งเป็นคนเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงออกมาตรการต่อลิเบีย ก็ออกมาสนับสนุนมาตรการนี้
    การโหวตครั้งนี้ถือเป็นการลงมติเอกฉันท์ครั้งแรก นับตั้งแต่มีคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมา

    คณะมนตรีความมั่นคงขณะโหวตแซงค์ชันลิเบีย ภาพจาก UNSC
    ส่วนประธานาธิบดีสหรัฐก็ออกมาเรียกร้องให้กัดดาฟีลาออก และเดินทางออกจากประเทศทันที นี่เป็นครั้งแรกที่สหรัฐมีท่าทีทางการทูตต่อลิเบียระดับนี้ นับตั้งแต่มีเหตุการณ์ความวุ่นวายในลิเบีย สหรัฐนั้นแซงก์ชันลิเบียอยู่ก่อน และปิดสถานทูตในลิเบียแล้ว
    ความเคลื่อนไหวของลิเบียขณะนี้ นาย Mustafa Abdel-Jalil อดีตรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมที่ลาออกจากรัฐบาลกัดดาฟี เปิดเผยว่าฝ่ายต่อต้านกัดดาฟีทั้งทหารและพลเรือนคนสำคัญ กำลังจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว ซึ่งจะเตรียมการเลือกตั้งได้ภายใน 3 เดือน
    ฝ่ายผู้ต่อต้านรัฐบาลอ้างว่าครอบครองพื้นที่ 80% ของประเทศ ในขณะที่ลูกชายของกัดดาฟีก็ตอบโต้ว่าชาวลิเบีย 75% ยังมีชีวิตตามปกติ ไม่ได้ออกมาเรียกร้องอะไร หนังสือพิมพ์ FT ของอังกฤษรายงานว่าฝ่ายกองกำลังของกัดดาฟีได้สูญเสียที่มั่นบางส่วนในกรุง Tripoli ไปบ้างแล้ว แต่ก็อาจเป็นเพราะถอนกำลังเพื่อรวมศูนย์ปกป้องใจกลางนครหลวง
    ที่มา – Washington Post, BBC

    สหประชาชาติลงมติ “แซงค์ชัน” ลิเบียแล้ว | Siam Intelligence Unit
     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    สหประชาชาติลงมติ “แซงค์ชัน” ลิเบียแล้ว
    February 27, 2011

    [​IMG]

    คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ 15 ชาติประชุมกันและลงมติเอกฉันท์ให้แซงค์ชันลิเบียทั้งด้านการทหารและการเงิน
    มาตรการของสหประชาชาติคือห้ามค้าขายอาวุธกับลิเบีย แช่แข็งทรัพย์สินของกัดดาฟีและครอบครัว และเสนอเรื่องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC ศาลเดียวกับที่นายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัมยื่นฟ้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ในฐานะก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (อ่านรายละเอียดจาก UNSC) ผู้แทนของลิเบียในสหประชาชาติซึ่งเป็นคนเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงออกมาตรการต่อลิเบีย ก็ออกมาสนับสนุนมาตรการนี้
    การโหวตครั้งนี้ถือเป็นการลงมติเอกฉันท์ครั้งแรก นับตั้งแต่มีคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมา

    คณะมนตรีความมั่นคงขณะโหวตแซงค์ชันลิเบีย ภาพจาก UNSC
    ส่วนประธานาธิบดีสหรัฐก็ออกมาเรียกร้องให้กัดดาฟีลาออก และเดินทางออกจากประเทศทันที นี่เป็นครั้งแรกที่สหรัฐมีท่าทีทางการทูตต่อลิเบียระดับนี้ นับตั้งแต่มีเหตุการณ์ความวุ่นวายในลิเบีย สหรัฐนั้นแซงก์ชันลิเบียอยู่ก่อน และปิดสถานทูตในลิเบียแล้ว
    ความเคลื่อนไหวของลิเบียขณะนี้ นาย Mustafa Abdel-Jalil อดีตรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมที่ลาออกจากรัฐบาลกัดดาฟี เปิดเผยว่าฝ่ายต่อต้านกัดดาฟีทั้งทหารและพลเรือนคนสำคัญ กำลังจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว ซึ่งจะเตรียมการเลือกตั้งได้ภายใน 3 เดือน
    ฝ่ายผู้ต่อต้านรัฐบาลอ้างว่าครอบครองพื้นที่ 80% ของประเทศ ในขณะที่ลูกชายของกัดดาฟีก็ตอบโต้ว่าชาวลิเบีย 75% ยังมีชีวิตตามปกติ ไม่ได้ออกมาเรียกร้องอะไร หนังสือพิมพ์ FT ของอังกฤษรายงานว่าฝ่ายกองกำลังของกัดดาฟีได้สูญเสียที่มั่นบางส่วนในกรุง Tripoli ไปบ้างแล้ว แต่ก็อาจเป็นเพราะถอนกำลังเพื่อรวมศูนย์ปกป้องใจกลางนครหลวง
    ที่มา – Washington Post, BBC

    สหประชาชาติลงมติ “แซงค์ชัน” ลิเบียแล้ว | Siam Intelligence Unit
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ดดาฟี่ ประณามการนำเสนอข่าวลิเบียของสื่ออาหรับ
    February 26, 2011
    ความขุ่นเคืองของกัดดาฟี่ที่มีต่อสื่ออาหรับ น่าสงสัยว่า เป็นเพราะเกาะติดสถานการณ์ไม่ปล่อย หรือนำเสนอความจริงมากเกินไป..“ไม่น่าเชื่อว่าจะมีการนำเสนอข่าวที่บิดเบือนเช่นนั้น”
    กัดดาฟี่ไม่ได้อ้างถึงสำนักข่าว CNN และ BBC แต่กลับประณามไปที่สถานีโทรทัศน์ของโลกอาหรับเสียเองคือ
    Al Jazeera และ Al Arabiya เนื่องจากมีการถ่ายทอดภาพของผู้ประท้วงตลอดเวลา แสดงให้เห็นถึงบทบาทหลักของสื่อที่ทำให้ประเทศทั้งตูนิเซียอียิปต์ และเยเมนต้องสั่นสะเทือน กัดดาฟี่เรียกพวกเขา (สื่อของโลกอาหรับ) ว่าเป็น “ศัตรูตัวฉกาจ” (Big enemy)ในอียิปต์ สำนักข่าว Al Jazeera ที่ประจำ ณ กรุงไคโร ถูกรัฐบาลสั่งปิดหลังจากเริ่มพยายามเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องประท้วงให้ประธานาธิบดีมูบารัคลงจากตำแหน่ง
    การฉายภาพผู้ประท้วงและการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องถือเป็นปัจจัยเร้าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ แม้ว่าจะมีการถ่ายทอดออกมาทั้งภาษาอังกฤษและภาษาอาหรับ ซึ่งมีผู้เข้าไปมีส่วนร่วมมากกว่าจะเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ ทำให้นำไปสู่การเข้ามาให้ความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาและยุโรป
    <object style="height: 390px; width: 640px"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/L5rRVDL_OpE?version=3"><param name="allowFullScreen" value="true"><param name="allowScriptAccess" value="always"><embed src="http://www.youtube.com/v/L5rRVDL_OpE?version=3" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="390"></object>

    อย่างไรก็ตาม หากสำนักข่าว Al Jazeera ได้รับความน่าเชื่อถือมากขึ้น อาจนำมาซึ่งชัยชนะ อย่าง Time Warner Inc ของสำนักข่าว CNN ที่พยายามเกาะติดข่าวการรุกรานในสงครามอ่าวเมื่อ 1991
    ขณะที่สำนักข่าวอาหรับอีกช่องหนึ่งคือ Al Arabiya เคยมีอิทธิพลอย่างมากจากกรณีของ กัดดาฟี่ ในวัย 68 ปี ทำให้สัญญาณการถ่ายทอดขัดข้องนานนับชั่วโมง
    ด้าน Human Rights Watch ระบุว่า มีผู้เสียชีวิตจากเหตุปราบปรามประชาชนแล้วอย่างน้อย 300 ราย นับจากวันเริ่มประท้วงภายใน 10 วัน
    สำนักข่าว Al Jazeera ได้รับการสนับสนุนจาก Emir of Qatar ในการเผยแพร่ข่าวของผู้ประท้วง “นี่คือการยกระดับการรับรู้ของประชาชนให้ได้รับรู้บริบทความเป็นไปในตะวันออกกลางที่กว้างขึ้น” Claire Enders ผู้ก่อตั้งสำนักงานให้คำปรึกษาสื่อมวลชนลอนดอน เขาวิเคราะห์ว่า “สิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ณ ขณะนี้ จะเกิดแรงกระตุ้นให้นำไปสู่ผลกระทบอย่างรวดเร็วมาก”
    ขณะเดียวกันผู้สื่อข่าวประจำสำนักข่าว Al Jazeera ณ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ กล่าวว่า “สาเหตุที่ทำให้มูบารัคลงจากอำนาจได้ ก็เพราะมีผู้ประท้วงจำนวนมหาศาล ราว 2 ล้านคนรวมตัวประท้วง ณ จัตุรัสตาหรีร์”
    สำนักข่าว Al Jazeera ก่อตั้งขึ้นในปี 2006 ออกอากาศกว่า 220 ล้านครัวเรือนในกว่า 100 ประเทศ และมีบทบาทหลักในการเผยแพร่ข่าวสารภายในภูมิภาคนี้ ให้บริการด้วยภาษาอาหรับและอังกฤษ ทำให้มีศักยภาพเหนือคู่แข่งอย่างมาก ขณะที่ BBC ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐของอังกฤษ แพร่กระจายเสียงเป็นภาษาอาหรับทางวิทยุมาตั้งแต่ 1938 และถ่ายทอดผ่านสถานีโทรทัศน์ในปี 2008 อย่างไรก็ตาม ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ทาง BBC ได้ประกาศว่าจะลดจำนวนการถ่ายทอดกว่า 400 สถานีเพื่อเป็นการตอบสนองมาตรการประหยัดงบประมาณของภาครัฐ
    Bloomberg
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    สถานการณ์ลิเบีย 25 ก.พ. – ผู้ชุมนุมถูกกราดยิงในเมือง Tripoli
    February 25, 2011
    กลุ่มผู้ต่อต้านประธานาธิบดีกัดดาฟียังชุมนุมกันอยู่ที่เมืองหลวง Tripoli และมีรายงานว่าขณะที่ผู้ชุมนุมทำละหมาดช่วงเที่ยง กลับถูกกราดยิงโดยทหารที่ยังจงรักภักดีต่อกัดดาฟี จนมีผู้เสียชีวิต 6 ราย
    เขตที่มีรายงานการยิงในกรุง Tripoli ได้แก่ Fashloum, Ashour, Jumhouria และ Souq Al ตัวเลขผู้เสียชีวิตรวมยังไม่ชัดเจน แต่ตัวแทนจากกลุ่มสิทธิมนุษยชนในฝรั่งเศสประเมินว่าอาจสูงถึง 2,000 ราย
    ก่อนหน้านี้ กัดดาฟีได้แถลงการณ์ทางโทรทัศน์อีกครั้ง กล่าวโทษกลุ่มก่อการร้ายอัลเคด้า ที่อยู่เบื้องหลังการลุกฮือครั้งนี้
    ส่วนฟากตะวันออกของประเทศที่หลุดจากอำนาจควบคุมของรัฐบาลกัดดาฟีได้แล้ว ประชาชนเรือนหมื่นได้ออกมาชุมนุมกันที่เมือง Benghazi และเมืองอื่นๆ เพื่อส่งกำลังใจให้ผู้ชุมนุมที่ Tripoli ส่วนขุนทหารที่อยู่ในภาคตะวันออก กล่าวกับสำนักข่าว Al Jazeera ว่าขุนทหารภาคตะวันตกเริ่มถอนตัวออกจากฝ่ายกัดดาฟีแล้ว อย่างไรก็ตาม กองกำลังพิเศษของกัดดาฟี Khamis Brigade ยังจงรักภักดี และมีอาวุธหนักครบมือไล่ฆ่าฝ่ายตรงข้ามอยู่บ้างในภาคตะวันออกของประเทศ
    ฝ่ายผู้ชุมนุมในภาคตะวันออกสามารถยึดสนามบิน (เพื่อป้องกันการโจมตีจากเครื่องบิน) และแท่นขุดเจาะน้ำมันอีกหลายแห่ง และตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลกิจการในเมืองที่ปราศจากรัฐบาลกลางแล้ว
    [​IMG]
    ภาพแสดงพื้นที่ครอบครองของฝ่ายต่างๆ ในลิเบีย (ภาพจาก BBC)
    สำหรับความเคลื่อนไหวจากต่างประเทศ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติได้ประชุมกันที่สวิตเซอร์แลนด์ เพื่อคุยถึงปัญหาในลิเบีย ส่วนโครงการอาหารโลกของสหประชาชาติให้ข้อมูลว่าลิเบียจะเกิดวิกฤตอาหารในเร็วๆ นี้ เพราะไม่สามารถนำเข้าอาหารไปยังลิเบียได้ ตอนนี้ชาติต่างๆ ทั่วโลกเริ่มขนคนของตัวเองออกจากลิเบียแล้ว
    ที่มา – Al Jazeera, BBC
     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    AREA แถลง ฉบับที่ 16 วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2554 ราคาบ้านในสหรัฐอเมริกายังคงตกต่ำ น่าเป็นห่วง
    February 25, 2011
    ดร.โสภณ พรโชคชัย
    ประธานกรรมการบริหาร
    ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอส้งหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส
    จากผลการรายงานล่าสุดต่อสถานการณ์ราคาที่อยู่อาศัยในสหรัฐอเมริกาพบว่ายังตกต่ำต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึงความเปราะบางทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่ยังไม่ฟื้นตัวและส่งผลต่อเศรษฐกิจทั่วโลก
    ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอส้งหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ได้รวบรวมข้อมูลจากสำนักงานการเงินเคหะการแห่งสหรัฐอเมริกา และพบว่า ในเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคมที่ผ่านมา ราคาตกต่ำลง 0.3% ราคาบ้านในไตรมาสที่ 4/2553 ตกต่ำลงกว่าไตรมาสที่ 3/2553 ในอัตรา 0.84% และราคาบ้านในช่วง 1 ปีคือ 2552-2553 ตกต่ำลง 3.35% ราคาที่อยู่อาศัยในวันนี้ใกล้เคียงกับราคาที่อยู่อาศัยในไตรมาสที่ 3ของ พ.ศ.2548
    เดือนเมษายน 2550 เป็นเดือนที่ราคาบ้านในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นถึงจุดสูงสุด อย่างไรก็ตามราคาที่อยู่อาศัยตกต่ำมาโดยตลอดในช่วงปี 2550, 2551, 2552, และ 2553 ในอัตรา 1.3%, 8.5%, 1.5% และ 3.9% ตามลำดับ แสดงว่าสถานการณ์ได้ดีขึ้น แม้จะมีบางเดือนที่ราคาบ้านเพิ่มขึ้นเล็กน้อยก็ตาม
    ในรายละเอียดของราคาที่อยู่อาศัยในเดือนธันวาคม 2553 พบว่า ราคาตกต่ำลงในแทบทุกพื้นที่ยกเว้นมลรัฐที่ติดกับเทือกเขา ได้แก่ มลรัฐมอนทานา ไอดาโฮ ไวโอมิง เนวาดา ยูทาห์ โคโลราโด อะริสโซนา และนิวเม็กซิโก ซึ่งราคากลับเพิ่มขึ้น 3% ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ยังไม่ทราบสาเหตุ แต่หากไม่นับรวมพื้นที่นี้แล้ว แทบทุกภูมิภาคทั่วสหรัฐอเมริกา ราคายังตกต่ำอยู่มาก เชื่อว่าเมื่อมีการปรับค่าใหม่ในเดือนถัดไป ราคาบ้านจริงที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาในเดือนธันวาคมอาจจะมีการปรับลดลงเพิ่มเติมอีก
    อย่างไรก็ตามมลรัฐที่ยังตกต่ำหนักในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาได้แก่ ออรีกอน (10%) อะลาบามา (10%)จอร์เจีย (12%), อะริสโซนา (13.38%) และ ไอดาโฮ (15.82%) ในขณะที่รัฐที่ราคาบ้านเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 1 ปี ได้แก่ มลรัฐนอร์ทดาโกตา (5%), อะลาสกา (2.58%) ดิสทริกออฟโคลัมเบีย 1.39% และเวสต์เวอร์จิเนีย (0.03%)
    เมืองหลายแห่งในสหรัฐอเมริกามีปรากฏการณ์ที่อสังหาริมทรัพย์ตกต่ำหนักมาก ได้แก่ เมืองเมอร์เซต มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ราคาตกต่ำลง 60% เกาะเนเปิล มาโค มลรัฐฟลอริดา ราคาตกต่ำลง 44% จะสังเกตได้ว่าเมืองหรือมลรัฐที่ราคาบ้านตกต่ำลงมากเป็นพิเศษ ได้แก่พื้นที่ที่มีการเก็งกำไรในตลาดมากเป็นพิเศษ
    การซื้อขายบ้านในสหรัฐอเมริกาส่วนมากเป็นการซื้อขายบ้านมือสอง โดยบ้านมือหนึ่งปีหนึ่งมีการซื้อขายกัน 1.5-2.0 ล้านหน่วยต่อปี แต่ในช่วงตกต่ำ ลดลงเหลือประมาณ 0.5 ล้านหน่วยต่อปี ในขณะที่การซื้อขายบ้านมือสองมีอยู่ประมาณ 4 ล้านหน่วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การผ่องถ่ายขายบ้านในสหรัฐอเมริกา มีมากกว่าในประเทศไทยเป็นอย่างมาก
    ที่อยู่อาศัยที่มีปัญหาและถูกยึดโดยสถาบันการเงินในไทยมีเป็นจำนวนมาก บ้างก็ตกอยู่ที่กรมบังคับคดี แต่กระบวนการซื้อขายบ้านผ่านการประมูลของไทยยังมีประสิทธิภาพที่ไม่ดีพอ ทำให้บ้านเหล่านี้กลายเป็นความสูญเสีย และยิ่งทื้งนานวันไป ก็จะทำให้กลายเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจ ประเทศไทยจึงควรปรับปรุงระบบการจำหน่ายบ้านมือสอง เพื่ออำนวยประโยชน์แก่ประชาชนในการหาซื้อบ้านในราคาถูกกว่าบ้านใหม่ ซึ่งประชาชนจะมีเงินเหลือเพื่อไปซื้อเฟอร์นิเจอร์ การตกแต่งต่อเติมต่าง ๆ ตลอดจนการเฉลิมฉลองการซื้อ-ขายบ้านใหม่ ทำให้เศรษฐกิจสะพัดกว่าการให้ประชาชนซื้อขายกันแต่บ้านมือหนึ่ง
    การลดภาษีและค่าธรรมเนียมโอน การลดดอกเบี้ย หรือการลดภาษีอื่น อาจให้ประโยชน์ต่อประชาชนผู้ซื้อบ้านในระดับหนึ่ง แต่ก็ค่อนข้างจำกัด และอาจต้อง “กินน้ำใต้ศอก” ผ่านผู้ประกอบการพัฒนาบ้านมือหนึ่ง แต่การให้ประชาชนเข้าถึงบ้านมือสองจากการประมูล อาจทำให้ประชาชนได้ส่วนลดมหาศาล ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย
    ผู้แถลง:
    ดร.โสภณ พรโชคชัย (sopon@area.co.th) ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (www.area.co.th): ซึ่งเป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามขนาดใหญ่ที่สุดและปรับปรุงให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความเป็นกลางทางวิชาการ และเป็นอิสระทางวิชาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ สมาชิกของศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น First-hand information ในเวลาเดียวกัน

    http://www.siamintelligence.com/season-of-real-estate-9/
     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ถอดบทเรียนวิกฤตอียิปต์: เมื่อตะวันออกกลางเริ่มปรับตัวสู่ความทันสมัย


    February 15, 2011



    ศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ Siam Intelligence Unit ร่วมจัดรายการเสวนาโต๊ะกลม “วิกฤตอียิปต์: ผลกระทบต่อตะวันออกกลางและไทย” เมื่อวันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 08.30 – 12.00 น. ที่ห้องประชุมจุมภฏ–พันธุ์ทิพย์ ชั้น 4 อาคารประชาธิปก–รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    สรุปเนื้อหาบางส่วนจากการสัมมนา และรอชมวิดีโอฉบับเต็มในเร็วๆ นี้


    [​IMG]

    ภาพจากการสัมนาเมื่อวันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554



    ดร. ศราวุฒิ อารีย์ รองผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    จะเห็นว่ายังมีการประท้วงกันอยู่ แม้มูบารักจะลงจากตำแหน่งไปแล้ว เพราะประชาชนต้องการเห็นการเปลี่ยนผ่านอำนาจที่เป็นรูปธรรมกว่านี้ การลงจากอำนาจของมูบารัก ทำให้ทุกฝ่ายเริ่มโล่งใจ เพราะก่อนหน้าจะลงตึงเครียดมาก เพราะรองประธานาธิบดีเคยบอกว่าถ้าไม่เลิกชุมนุม อาจมี รัฐประหารอีกครั้ง

    วิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้ประธานาธิบดีมูบารัคลงจากอำนาจ ได้แก่

    1. แรงกดดันจากนานาชาติ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา

    2. การสนับสนุนจากกองทัพ เพราะรัฐบาลอียิปต์มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับกองทัพ

    3. ความยืดเยื้อของการชุมนุมที่ยาวนานขึ้นเรื่อยๆ

    ถ้ามองให้ไกลกว่าอียิปต์ เราจะเห็นปรากฎการณ์ people uprising ของโลกอิสลาม ซึ่งแต่ละประเทศมีปัจจัยร่วม (common issue) สองประการ คือ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ความยากจน การว่างงาน กรณีของอียิปต์มีลักษณะพิเศษคือคนหนุ่มสาวเป็นแกนหลัก และความไม่เป็นประชาธิปไตยของหลายๆ ประเทศ ผู้นำครองอำนาจยาวนาน ยึดติดอำนาจ คอร์รัปชัน

    ประวัติศาสตร์อียิปต์รอบ 100 ปีหลังมีการประท้วงใหญ่ๆ (nation wide protest) ทั้งหมด 3 ครั้ง ครั้งแรกปี 1919 ต้องการเอกราชจากอังกฤษ นำโดยพรรค Wafd (ประท้วงสำเร็จในปี 1922 ได้เอกราชทางนิตินัยจากอังกฤษ) ครั้งที่สองปี 1977 เกิดจากอาหารแพง รัฐบาลตัดการช่วยเหลือด้านอาหาร (จึงมีชื่อเรียกว่า Bread Revolution) มีการปะทะ สุญเสียมาก รัฐบาลยอมยกเลิกมาตรการตัดอาหาร และครั้งที่สามก็คือ 2011 รอบล่าสุดนี้ ความจริงแล้วคนอียิปต์ไม่ได้ประท้วงแบบไม่มีเหตุผล แต่มีปัญหาเกิดขึ้นจนประชาชนทนไม่ได้จริงๆ

    การประท้วงในตะวันออกกลางเกิด impact ขึ้นคือ

    1. พฤติกรรมการเลียนแบบ หลายประเทศเกิดแล้ว มีแนวโน้มว่าจะเกิดการลุกฮือ เช่น จอร์แดน อัลจีเรีย เยเมน

    2. เกิดการปรับตัวของรัฐบาลประเทศต่างๆ เริ่มปฏิรูปการเมือง เริ่มฟังเสียงคนอาหรับมากขึ้น

    3. โลกอาหรับจะมีความสัมพันธ์เชิงอำนาจใหม่ (เดิม subject & ruler เหมือนยุโรปยุคกลาง) เปลี่ยนมาเป็น government & citizen ประชาชนเข้าใจสิทธิ์ของตัวเองมากขึ้น

    อีกประเด็นที่คนพูดกันมากคือ Muslim Brotherhood หรือขบวนการภราดรภาพมุสลิม

    Muslim Brotherhood เป็นขบวนการอิสลามที่เก่าแก่ที่สุดของอียิปต์ เมื่อแรกก่อตั้งไม่ค่อยยุ่งการเมือง แต่เน้นการฟื้นฟูศาสนา ช่วยเหลือสังคม แต่ระยะหลังมีบทบาททางการเมืองด้วย ในสมัยมูบารัค Muslim Brotherhood โดนปราบปรามมาตลอด แต่อยู่รอดมาได้ และเริ่มเข้ามายังการเมืองในระบบ ได้ที่นั่งในสภา 88 ที่นั่งในปี 2005 (คิดเป็น 20% ของรัฐสภา) แม้จะถูกกีดกันอย่างหนักจากรัฐบาล จึงน่าจับตาว่าหลังจากนี้ Muslim Brotherhood จะเป็นอย่างไร


    พันเอก ดร. ธีรนันท์ นันทขว้าง รองผู้อำนวยการกองการเมือง วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

    ขอให้จับตา “คลองสุเอซ” ให้ดี เพราะเรือสินค้า 14% ของโลกต้องผ่านคลองสุเอซ (แต่ยังน้อยกว่าช่องแคบมะละกาของบ้านเรา คิดเป็น 20% ของเรือสินค้าโลก) ปัจจัยนี้ทำให้มหาอำนาจโลกอย่างสหรัฐต้องลงเข้ามาเกี่ยวข้องโดยตรง ถ้าย้อนดูประวัติศาสตร์ กรณีของสงครามอิรักอิหร่าน เรือสินค้าที่ผ่านคลองสุเอซโดนโจมตี เบี้ยประกันพุ่งสูงขึ้น 200% ส่งผลต่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภคมาก

    บริบทของอียิปต์อย่างเดียวไม่พอสำหรับการเปลี่ยนแปลงในภูมิภาค แต่เป็นผลมาจากอิทธิพลของมหาอำนาจโลกต่อพื้นที่บริเวณนั้นด้วย ถ้าทำสำเร็จจะทำให้ geopolitics ของตะวันออกกลางเปลี่ยนไป

    ส่วนพฤติกรรมการเลียนแบบไม่น่าจะหยุดที่อียิปต์ประเทศเดียว แต่ถ้ากระจายมากจนภูมิภาคทั้งหมดมีความระส่ำระสาย อาจมีผลต่อปัจจัยอื่นๆ เช่น ราคาน้ำมัน หรือ การเปลี่ยนนโยบายการต่างประเทศของกลุ่มประเทศมุสลิม อาจจะรบกับอิสราเอลอีกครั้งได้

    คำถามที่น่าสนใจคือ “ทำไมถึงส่งมอบอำนาจจากประธานาธิบดีไปสู่ทหาร?” นี่เป็นรูปแบบใหม่ของรัฐประหารหรือเปล่า จริงๆ แล้วมันคือ “ปฏิวัติเงียบ” อาจเป็นตัวแบบใหม่ของการรัฐประหารในอนาคต

    พลังของ social media ประมาทไม่ได้ จุดเริ่มต้นคือการประท้วงอิหร่านเมื่อปี 2009 ส่วนในอียิปต์ดูเหมือนจะเริ่มในปีนี้ แต่จริงๆ แล้วมีกลุ่ม April 6 Youth Movement เริ่มใช้ Facebook มาตั้งแต่ปี 2008 และสามารถปลุกเร้าคนได้ ช่วงท้ายๆ จะเห็นว่ารัฐบาลอียิปต์ปิดอินเทอร์เน็ตและตัดสัญญาณมือถือ ซึ่งทาง Twitter แก้เกมด้วย Speak2Tweet (ประเทศตะวันตกอยู่เบื้องหลัง ไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวตรงๆ แต่ใช้วิธีสร้างช่องทางในการสื่อสารให้แทน)

    อยากสรุปว่า จุดเริ่มต้นของอียิปต์มาจาก “การห้ามขายผัก” ในตูนิเซีย นี่เป็นปรากฎการณ์ของทฤษฎีไร้ระเบียบ


    รองศาสตราจารย์ ดร. จรัญ มะลูลีม ภาควิชาการระหว่างประเทศและการทูต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    สังคมอียิปต์โดยรวมสงบ น่าอยู่ มีเดินขบวนเป็นระยะ แต่รอบนี้ยิ่งใหญ่กว่าทุกครั้ง มีผลกระทบมาก

    อียิปต์เป็นศูนย์กลางความรู้ของโลกอิสลาม เอาเฉพาะแค่มหาวิทยาลัยที่คนไทยไปเรียนกัน มีนักศึกษาจาก 105 ประเทศทั่วโลกมาเรียน โดยได้เงินทุนสนับสนุนจากหลายประเทศ อียิปต์เป็นเลขาธิการของสันนิบาตอาหรับมานาน แต่หลังจากเจรจาสันติภาพกับอิสราเอลเลยถูกขับออกไปช่วงหนึ่ง ก่อนจะกลับมาอยู่ในสันนิบาตอีกครั้งได้ภายหลัง

    อียิปต์เป็นประเทศที่มีเสรีภาพในการใช้ชีวิตไม่น้อย ถ้าเดินไปถามถนน ป้ายรถเมล์ จะเห็นคน 4 แบบ 1) คลุมทุกส่วน 2) ไม่คลุมจมูก 3) คลุมแค่หน้า 4) ไม่คลุมอะไรเลย ทั้งหมดอยู่ด้วยกันได้

    ในประวัติศาสตร์อียิปต์ นัสเซอร์ (หมายถึง Gamal Abdel Nasser ประธานาธิบดีคนแรกของอียิปต์ยุคสาธารณรัฐ) เป็นวีรบุรุษของทุคน โดยเฉพาะซัดดัมและกัดดาฟี เป็นคนที่นำศักดิ์ศรีกลับมาสู่อียิปต์ นำคลองสุเอซกลับคืนมา ปฏิรูปประเทศ เป็นหัวหอกในการรบกับอิสราเอล นัสเซอร์เคยพูดว่าจะผลักไสให้อิสราเอลลงไปสู่ท้องทะเล ซัดดัมกับอาราฟัตก็เคยพูด แต่คนที่ทำได้จริงคือขบวนการอิสลามของอิหร่านที่จัดตั้งเฮสบัลเลาะห์มาสุ้กับอิสราเอลได้

    สำหรับประเทศอื่นๆ เยเมนกำลังตามมา แต่เยเมนผ่านเหตุการณ์มาเยอะ มีการแยกประเทศ รวมประเทศ มีประสบการณ์จัดการกับความวุ่นวายเยอะ ส่วนลิเบียยังมีเศรษฐกิจดี ประชาชนเข้าถึงทรัพยากรได้บ้างระดับ ยังมีความเข้มแข็งอยู่ ซาอุดิอาระเบียมีบางกลุ่มที่ต้องการปกครองนครศักดิ์สิทธิ์ แต่รัฐบาลสามารถปราบปรามได้ การประท้วงไม่น่าจะไปถึงซาอุ ลิเบีย (แต่ซาอุมีปัญญหาคนนิยมบินลาเดนแทน ซึ่ง รบ. กำลังจัดการอยู่)

    อียิปต์ถือเป็น top 6-7 ประเทศแรกที่มีเศรษฐกิจดีในทวิปแอฟริกา รายได้ของอียิปต์เกิดจากการทำงานนอกประเทศและการท่องเที่ยว เพียงแต่ความมั่งคั่งกระจุกตัว เลยเกิดประท้วง อีกประเด็นปัญหาของอียิปต์คือวิธีการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่ต้องให้สภารองรับก่อน ทำให้ไม่มีคู่แข่งมากนัก และการลงโทษคู่แข่งอย่างรุนแรง ทำให้เป็นบาดแผลสำคัญที่คนแค้นรัฐบาล

    จุดสังเกตที่น่าสนใจคือ มูบารัคลงจากอำนาจแล้วยังอยู่ในประเทศได้ ไปอาศัยอยู่ที่เมืองตากอากาศ น่าจะมีการตกลงกันกับฝ่ายทหารไว้แล้ว ไม่งั้นอยู่ในประเทศไม่ได้ และถ้าทหารเปลี่ยนถ่ายอำนาจไม่สำเร็จ ใช้เวลานานเกินไป เราอาจเห็นประชาชนออกมาประท้วงอีกครั้ง



    [​IMG]

    ผู้เข้าร่วมการสัมนา


    คุณทรงศักดิ์ สายเชื้อ รองอธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ กระทรวงการต่างประเทศ

    อยากจะแบ่งเรื่องที่พูดออกเป็น 3 ส่วน

    1) ความสำคัญของอียิปต์ในเชิง geopolitics

    อียิปต์ที่ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญ เชื่อม 3 ทวีป คลองสุเอซมีน้ำมันผ่าน 7 แสนบาร์เรลต่อวัน อียิปต์มีบทบาทสำคัญในสันนิบาตอาหรับ (Arab League) และสหภาพแอฟริกา (African Union) สององค์กรหลักของภูมิภาคนั้น

    อียิปต์มีนโยบายต่างประเทศสำคัญคือเชื่อมกับเอเชีย (Look East) ประเทศที่อียิปต์ให้ความสำคัญคือ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย สิงคโปร์ ไทย จะเห็นว่ามีไทยอยู่ด้วย อียิปต์เป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทยอันดับ 2 ของทวิปแอฟริกา (คู่ค้าอันดับ 1 คือแอฟริกาใต้)

    2) ภูมิหลังความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับอียิปต์

    ในภาพรวมทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด อียิปต์เป็นแกนหลักในการแก้ปํญหาอิสราเอล-ปาเลสไตน์ และเป็นหุ้นส่วนสำคัญสำหรับสันติภาพในโลกมุสลิมที่สหรัฐต้องการ แต่ในรายละเอียดก็มีปัญหา เพราะรัฐสภาสหรัฐมีความคิดแตกเป็น 2 ฝ่ายมานานมาก ฝ่ายแรกมองว่าสหรัฐต้องเข้าไปเปลี่ยนแปลงประชาธิปไตยในอียิปต์มากกว่านี้ (แนวทางอุดมคติ) กับอีกฝ่ายที่มองว่าต้องรักษาอียิปต์ไว้แบบนี้ ให้มีเสถียรภาพเพื่อเป็นตัวกลางเจรจากับประเทศอาหรับ (แนวทางรักษาผลประโยชน์ของสหรัฐ) รัฐบาลโอบามาพยายามประสานทั้งคู่

    เดิมทีสหรัฐยังไม่พอใจกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของอียิปต์ ส่วนอียิปต์ไม่พอใจที่สหรัฐกดดันอิสราเอลไม่มากพอ

    3) ปฏิกริยาของสหรัฐต่อสถานการณ์อียิปต์

    สิ่งที่สหรัฐอยากเห็นในอียิปต์

    1. ฝ่ายทหารล้มเลิกรัฐธรรมนูญฉบับเดิมที่สกัดกั้นการเติบโตของฝ่ายค้าน

    2. เลิกภาวะฉุกเฉินโดยทันที

    3. กำหนดวาระของประธานาธิบดีให้มีระยะเวลาจำกัด

    ความสัมพันธ์ทางทหารของอียิปต์กับสหรัฐแนบแน่นมาก เรือของสหรัฐที่ผ่านคลองสุเอซได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษจากรัฐบาลอียิปต์ เช่น เรือที่ขนขีปนาวุธนิวจะเคลียร์ให้ผ่านคลองได้เร็วพิเศษ ตั้งแต่ปี 1979 อียิปต์ได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐมากเป็นอันดับ 2 ของโลก แต่ตกลงมาเป็นอันดับ 5 หลังสงครามอิรัก-อัฟกัน เพราะประเทศพวกอิรักกับอัฟกานิสถานได้มากกว่า แต่โดยรวมแล้วยังถือว่าอียิปต์ได้ประโยชน์มากอยู่

    สหรัฐเซ็น MOU ด้านการทหารกับอิสราเอลและจอร์แดน แต่กรณีของอียิปต์ไม่ได้เซ็น MOU คาดว่าเพื่อความยืดหยุ่นในการเพิ่ม-ลดงบประมาณของสหรัฐ ประเทศในตะวันออกกลางที่จะเพิ่มความสำคัญมากขึ้นในสายตาสหรัฐ คือ ตุรกีและจอร์แดน

    สหรัฐสนับสนุนการเดินขบวนของอียิปต์ แต่ก็ระวังเพราะกลัวภาวะอนาธิปไตย (anarchy) จึงอยากให้เปลี่ยนแปลงแบบช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป โอบามาเคยเตือนอียิปต์ในการเลือกตั้งคราวก่อนว่าเลือกตั้งไม่ยุติธรรม ควรเปิดโอกาสให้ฝ่ายค้านบ้าง ในช่วงการประท้วงครั้งนี้ จะเห็นว่าสหรัฐมีแถลงการณ์รายวัน ทั้งจากประธานาธิบดีเอง รองประธานาธิบดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ มีส่งอดีตทูตเข้าไปเจรจา

    สหรัฐกำลังร่างแผนฟื้นฟูและช่วยเหลืออียิปต์ จะประกาศในเร็วๆ นี้ เช่น ช่วยร่างรัฐธรรมนูญ ช่วยจัดระบบเลือกตั้ง ช่วยฟื้นฟูภาคประชาสังคม

    Think Tank ในสหรัฐมีการพูดถึงผลกระทบที่ออกไปนอกตะวันออกกลาง อาจไปไกลถึงละตินอเมริกา คิวบา เวเนซุเอลา นิคารากัว น่าสังเกตว่าตอนนี้อิตาลีเริ่มมีประท้วงแล้ว ว่าสัมพันธ์กับเหตุการณ์ในอียิปต์หรือเปล่า


    คุณชาติชาย นักศึกษาไทยจากมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร ประเทศอียิปต์

    อียิปต์ก่อนเกิดเหตุการณ์น่าอยู่มาก เปิดรับคนต่างชาติมาก คนไทยในอียิปต์มี 2,000 คนว่าเยอะแล้ว ต้องเจอมาเลเซีย 20,000 คน รัฐบาลมาเลเซียไปซื้อที่ปลูกอพาร์ทเมนต์ให้คนมาเลย์อาศัย แต่ความจนมีอยู่จริงในอียิปต์ คนจนอาศัยอยู่ในสุสาน อยู่ทั้งครอบครัว อยู่กันได้ วันนึงใช้เงินไม่เกิน 100 บาท ช่องว่างมันเยอะขึ้นเรื่อยๆ

    คำด่าในอียิปต์คือ “คุณเป็นแอฟริกัน” บางคนจบการตลาดแต่ต้องไปขายน้ำผลไม้ปั่น คนเรียนหมอวิศวะต้องมีเงินจริงๆ เป็นลูกท่านหลานเธอเท่านั้น เงินทุนที่รัฐบาลได้จากต่างประเทศ เอาไปลงการทหารหมด อาวุธยุทธโปกรณ์ทันสมัย มีอุโมงค์เต็มไปหมด ส่วนอันดับสองจะไปลงที่การท่องเที่ยว ยามสงบสุข คนต่างชาติมีเกียรติมาก นักท่องเที่ยวได้รับการปฏิบัติอย่างดี ในขณะที่คนอียิปต์จะเดินทางข้ามเมืองต้องถูกค้นทั้งรถ

    วันที่ 25 ม.ค. มีข่าวเล็ดลอดออกมาเล็กน้อย มีข่าวว่านักศึกษาจะนัดประชุมเรื่องราคาอาหารแพง แต่สถานการณ์โดยรวมยังปกติ บ้านเมืองมีรถวิ่ง เพื่อนอาหรับเล่าให้ฟังว่าเริ่มมีคนคุยกันถึงการประท้วงใน Facebook

    วันที่ 26 ยังปกติ แต่วันที่ 27 เริ่มแรง เพราะคนเอาข่าวไปโพสต์ใน Facebook ว่าคนเริ่มออกไปชุมนุม ตอนแรกไม่เยอะประมาณ 100 คน ออกไปพูดเรื่องอาหารแพง ตอนแรก Muslim Brotherhood ไม่ใช่แกนนำ เป็นนักศึกษานำ

    เหตุการณ์เริ่มแรงวันศุกร์ที่ 28 (มุสลิมจะต้องละหมาดวันศุกร์) ปกติมุสลิมห้ามพูดเรื่องการเมืองในการเทศน์ บทธรรมจะต้องถูกตรวจก่อนละหมาด แต่วันศุกร์มีคนพูดถึงในการรวมพลังของประชาชนในบทธรรม

    นักศึกษาที่นั่นโดนกดเอาไว้ จึงอยากแสดงความคิดเห็น แสดงออก รวมกลุ่ม พอบทธรรมเริ่มขึ้นในวันศุกร์ จึงออกไปรวมตัวกัน ไคโรมีคน 20 ล้าน การระดมคน 1-2 แสนใน 24 ชั่วโมง ไม่ใช่เรื่องยาก มีการปะทะในตอนกลางคืน และลุกลามตอนมีการเผาห้าง เผาที่ทำการพรรค ขโมยกระทั่งประตูห้าง การเผาทุกหย่อมหญ้า ไม่เฉพาะจัตุรัส Tahir เฉพาะที่ออกทีวี คนออกมาเป็นร้อยทุกซอย นักศึกษาไทยติดต่อกันไม่ได้เพราะถูกตัดเน็ต

    ชาวบ้านบอกไม่ต้องการอยู่ใต้ทหารอีกแล้ว ที่อียิปต์มีค่ายทหารเยอะมาก 15 กิโลเจอค่ายหนึ่ง ตำรวจต้องอพยพจากป้อมเพราะประชาชนจะทำร้าย ผู้ชุมนุมประกาศว่าไม่มีกฎหมายอีกแล้วในอียิปต์ ถ้าเป็นคนต่างชาติให้ขึ้นบ้านไปเลย

    วันที่ 29-30 ของเริ่มขาดตลาด มีเงินอยู่ในมือแต่ซื้อของไม่ได้ นศ. หญิงไทยอยู่ข้างป้อมทหาร ไม่กล้าออกไปเพราะกลัวถูกเผา มีอยู่ช่วงหนึ่งเงินหมด นักศึกษาไทยต้องจับฉลากกันว่าใครจะเป็นคนออกไปกดเงิน สุดท้ายผมอายุมากที่สุดเลยอาสาไปเอง แต่ปัญหาคือธนาคารแถวบ้านไม่เปิด ต้องเดินข้ามแม่น้ำไปกด คิวยาวมาก และต้องเดินผ่านผู้ประท้วง แต่ก็ไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงอะไร ช่วงที่ติดอยู่ไปไหนไม่ได้ มองไปทางไหนมีแต่ควันไฟ มีแต่ข่าวฆ่ากันตาย พอติดต่อโทรศัพท์ได้ก็ได้ข่าวว่าจะมีเครื่องบินมารับ ก็ดีใจมาก

    วันแรกๆ ประชาชนไม่มีแกนนำ ไม่มีเวที ไม่มีคนพูดปลุกใจ เวทีมาตั้งกันวันหลังๆ แต่ Muslim Brotherhood อยู่เป็นคลื่นใต้น้ำมาตลอด

    แม้จะผ่านเหตุการณ์ร้ายๆ แต่ก็ยังอยากกลับไปอียิปต์ กลับไปเรียนต่อให้จบ


    มัลติมีเดีย

    คลิปบางส่วนของการเสวนาจาก Voice TV








    ถอดบทเรียนวิกฤตอียิปต์: เมื่อตะวันออกกลางเริ่มปรับตัวสู่ความทันสมัย | Siam Intelligence Unit

    ถอดบทเรียนวิกฤตอียิปต์: เมื่อตะวันออกกลางเริ่มปรับตัวสู่ความทันสมัย และบทความอื่นๆ - FO3P.NE
     

แชร์หน้านี้

Loading...