เงินเฟ้อที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นแล้ว??? รู้ทันโลก (โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 11 พฤศจิกายน 2010.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ผู้นำเผด็จการ'อาหรับ'เพิกเฉยไม่สนใจสัญญาณเตือนภัย

    โดย ซามี โมวบายเอด 13 กุมภาพันธ์ 2554 22:30 น.




    (เก็บความจากเอเชียไทมส์ออนไลน์ Asia Times Online :: Asian news hub providing the latest news and analysis from Asia)

    Warning signals ignored
    By Sami Moubayed
    08/02/2011

    ประชาชนกำลังลุกฮือขึ้นมาโค่นล้มเหล่าผู้นำอียิปต์และตูนิเซีย ไปจนถึงจอร์แดน, เยเมน, และไกลโพ้นไปจากนั้น พวกเขาไม่ได้ถูกขับเคลื่อนด้วยแรงจูงใจทางอุดมการณ์หรือทางศาสนาใดๆ ทั้งนั้น มีเพียงช่องว่างช่วงห่างทางด้านความมั่งคั่ง และความแตกต่างทางด้านวัย ซึ่งพวกผู้ปกครองที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนของพวกเขามากกว่า ย่อมจะสามารถลดทอนให้หดแคบและเข้าใกล้ให้มากขึ้นได้ ปัจจัยร่วมอีกประการหนึ่งที่เรียงร้อยตัวโดมิโนที่กำลังล้มครืนลงมาเหล่านี้เข้าไว้ด้วยกัน ก็คือทุกๆ รายต่างได้รับความสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาอย่างทั่วหน้า ทว่าความผูกพันโยงใยเช่นนี้กำลังถูกพิสูจน์ให้เห็นว่าไม่ได้เป็นประโยชน์อะไรต่อเหล่าจอมเผด็จการ หรือต่อกลุ่มนักเลงอันธพาลติดอาวุธของพวกเขา

    ดามัสกัส – ในเวลาไม่ถึงเดือน มีผู้นำชาติอาหรับ 4 คนได้เรียงหน้ากันก้าวออกมาแถลงให้คำมั่นสัญญาว่า พวกเขาจะไม่ลงเลือกตั้งต่ออีกแล้ว เมื่อวาระการดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญของพวกเขาสิ้นสุดลง

    คนแรกคือ ซิเน เอล อาบิดิเน เบน อาลี (Zine el-Abidine Ben Ali) แห่งตูนิเซีย ผู้พยายามทำการต่อสู้ในสมรภูมิแห่งความพ่ายแพ้กับพวกเยาวชนคนหนุ่มสาวชาวตูนิเซียผู้โกรธเกรี้ยว แล้วก็ต้องลงจากอำนาจไปในวันที่ 14 มกราคม เพียงแค่ 24 ชั่วโมงหลังจากกล่าวคำปราศรัย “ผมเข้าใจพวกคุณ” ที่เวลานี้มีชื่อเสียงฉาวโฉ่ของเขาแล้ว เบน อาลี ผู้อยู่ในวัย 74 ปี ได้ครองอำนาจมาตั้งแต่ปี 1987 และแต่เดิมมีกำหนดจะลงเลือกตั้งอีกสมัยหนึ่งในปี 2014

    ถัดจากนั้นก็เป็นประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค (Hosni Mubarak) แห่งอียิปต์ ซึ่งชราและสุขภาพย่ำแย่ในวัย 83 ปี ภายหลังเผชิญกับการก่อการแข็งข้อทำนองเดียวกัน มูบารัคก็ประกาศว่าเขาจะไม่ขอรับการเสนอชื่อเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 6 เมื่อวาระการดำรงตำแหน่งสมัยปัจจุบันของเขาสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน

    มูบารัคได้ปลดคณะรัฐบาลของ อาหมัด นัซซิฟ (Ahmad Nazzif), สัญญาที่จะให้เสรีภาพเพิ่มมากขึ้น, และประกาศว่าเขาจะไม่มีการยกอำนาจให้ กามัล (Gamal) บุตรชายของเขาที่อยู่ในวัย 50 ปีและเป็นนักธุรกิจทรงอิทธิพล รับทอดสืบต่อ ภายหลังที่ได้ยึดครองอำนาจอย่างเหนียวแน่นและเด็ดขาดมาตั้งแต่ปี 1981 การที่มูบารัคเพิ่งจะมาคิดดำเนินการ “ปฏิรูป” อะไรต่ออะไร ก็ดูจะน้อยเกินไปและล่าช้าเกินไปเสียแล้วสำหรับประชาชนชาวอียิปต์ผู้โกรธแค้น (ในที่สุด มูบารัคก็ต้อง “สละ” ตำแหน่งไปในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ -ผู้แปล)

    จากนั้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ อาลี อับดุลเลาะห์ ซาเละห์ (Ali Abdullah Saleh) ประธานาธิบดีเยเมนวัย 69 ปี ก็ประกาศว่าเขาจะก้าวลงจากตำแหน่งในปี 2013 และเขาจะไม่ยกอำนาจให้แก่ อาหมัด ซาเละห์ (Ahmad Saleh) บุตรชายของเขา ทั้งนี้เขาครองอำนาจมาเป็นเวลา 33 ปีแล้วนับตั้งแต่ปี 1978

    และคนสุดท้าย นายกรัฐมนตรี นูริ อัล มาลิกิ (Nuri al-Maliki) แห่งอิรัก ที่มีอายุ 61 ปี ได้ออกมาแถลงว่าเขาจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งอีก เมื่อชาวอิรักไปลงหย่อนบัตรลงคะแนนครั้งต่อไปในปี 2014

    ขณะที่เหตุการณ์ทั้งหมดดังที่กล่าวนี้ทยอยบังเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาไม่ถึงเดือนนั่นเอง พลังตามท้องถนนในโลกอาหรับยังส่งผลทำให้รัฐบาลในอีก 2 ประเทศต้องล้มคว่ำไปด้วย นั่นคือ รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ซามีร์ อัล ริไฟอิ (Samir al-Rifaii) แห่งจอร์แดน และของนายกฯ ซออัด อัล ฮาริรี (Saad al-Hariri) แห่งเลบานอน

    อะไรบางอย่างกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในโลกอาหรับ รวดเร็วมากๆ และบางทีอาจจะรวดเร็วเกินกว่าที่พวกจอมเผด็จการซึ่งแก่เฒ่าและเจ็บออดๆ แอดๆ จะสามารถเข้าใจหยั่งรู้ ทั้งนี้ผู้ที่ก่อการลุกฮือต่อต้านและโค่นล้มระบอบปกครองของพวกเขา (หรือบังคับให้พวกเขาต้องดำเนินการปฏิรูปอย่างเอาจริงเอาจัง) ก็คือบรรดาคนหนุ่มคนสาวทั้งหลาย ที่ส่วนใหญ่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี

    ในกรุงตูนิส เบน อาลี ได้พยายามที่จะขับไล่ปราบปรามคนหนุ่มคนสาวเหล่านีโดยใช้กำลัง และจากนั้นก็กวาดล้างจับกุมพวกเขาไปเป็นจำนวนมาก ส่วนในอียิปต์ มูบารัคส่งกลุ่มนักเลงอันธพาลของเขาเข้าทุบตีผู้ประท้วงวัยหนุ่มสาวด้วยไม้กระบองและฟันพวกเขาด้วยดาบ เมื่อการกระทำเช่นนี้ไม่ได้ผล ตำรวจก็ได้รับคำสั่งให้เปิดฉากยิงใส่ แต่นั่นก็เช่นกันไม่สามารถที่จะทำลายความเด็ดเดี่ยวแน่วแน่อย่างชนิดไม่มีอะไรหยุดยั้งได้ของพวกเขา หรือทำให้ความปรารถนาออย่างแรงกล้าที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพวกเขาต้องอ่อนแรงลงไป

    ช่องว่างช่วงห่างทางอายุที่น้อยที่สุดระหว่างพวกเขากับเหล่าผู้นำของพวกเขาก็คือในอิรัก กระนั้นก็ยังเป็นผลต่างที่สูงกว่า 35 ปี สำหรับในอียิปต์ มูบารัคแก่ชราขนาดเป็นคุณปู่คุณตาของผู้ชุมนุมประท้วงที่กริ้วโกรธแทบทุกคนในจัตุรัสตอห์รีร์ (Tahrir Square) ในกรุงไคโร และเป็นที่ชัดเจนว่าพวกเขาสุดเซ็งสุดระอาใจที่จะต้องรับมือกับเขา

    มูบารัคเปิดปากหล่นถ้อยคำที่คนหนุ่มคนสาวไม่ต้องการได้ยินได้ฟังอีกต่อไปแล้ว ขณะเดียวกันพวกเขาก็พูดจาด้วยภาษาที่เขาไม่สามารถเข้าใจได้ แล้วยังมีสิ่งที่ตามกระหน่ำซ้ำเติม เป็นต้นว่ารายงานของสื่อหลายกระแสที่ว่า มูบารัคมีทรัพย์สมบัติเป็นมูลค่าถึง 70,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งต้องถือเป็นตัวเลขที่โด่งทะลุฟ้าสำหรับประเทศที่ผู้คนหลายล้านคนมีรายได้วันละไม่ถึง 2 ดอลลาร์ ตลอดระยะเวลา 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ระบอบปกครองของมูบารัคได้รับเงินช่วยเหลือจากสหรัฐฯราวๆ 30,000 ล้านดอลลาร์ ทว่ากลับไม่มีเศษเงินสักเล็กสักน้อยเลยที่เผื่อแผ่มาถึงกระเป๋าของสามัญชนชาวอียิปต์ คงไหลเวียนกันอยู่แต่ในหมู่ชนชั้นปกครองที่แวดล้อมประธานาธิบดีผู้นี้เท่านั้น

    คนหนุ่มคนสาวที่ออกมาชุมนุมประท้วงเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วยังไม่ได้แต่งงาน ไม่มีภรรยาและลูกให้คอยห่วงใย และทุกคนต่างเหม็นเบื่อสุดเซ็งกับการทุจริตคอร์รัปชั่น, ความยากจน, การเล่นพรรคเล่นพวก, และการเพิกเฉยไม่แยแสอย่างสิ้นเชิงต่อเสียงเรียกร้องซ้ำๆ ซากๆ ของพวกเขา

    น่าสังเกตว่าทั้งในอียิปต์และตูนิเซีย พวกผู้ชุมนุมประท้วงไม่ได้มีผู้นำเดี่ยวโดดเด่นให้พวกเขาคอยเดินตามแต่อย่างไร ไม่เหมือนกับในกรณีของการปฏิวัติส่วนใหญ่ที่เคยเกิดขึ้นในโลก ไม่มีบุคคลอย่างวลาดิมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin) ในกรณีของรัสเซีย ไม่มีบุคคลอย่าง รูโฮลเลาะห์ โคไมนี (Ruhollah Khomeini) ของอิหร่าน หรือกระทั่งบุคคลอย่าง กามัล อับเดล นัสเซอร์ (Gamal Abdel Nasser) แห่งอียิปต์ยุคทศวรรษ 1950 เป็นผู้นำพาหนุ่มสาวชาวอาหรับเหล่านี้

    นอกจากนั้นยังไม่มีแรงขับดันทางอุดมการณ์หรือทางศาสนาใดๆ อีกด้วย การลุกฮือคราวนี้ไม่ใช่การปฏิวัติอิสลาม หรือการปฏิวัติของคอมมิวนิสต์ ไม่ใช่ทั้งการปฏิวัติมาร์กซิสต์ หรือการปฏิวัติทุนนิยม เราไม่เห็นพวกนักการศาสนาสวมผ้าโพกศีรษะกำลังพยายามโค่นกษัตริย์ชราและเผด็จการ เหมือนกรณีที่เกิดขึ้นในอิหร่านเมื่อปี 1979 และเราไม่พบพวกนายทหารหนุ่มหรูหรามากสีสันกำลังพยายามโค่นกษัตริย์หนุ่มที่หรูหรามากสีสันพอๆ กัน อย่างที่เกิดขึ้นในอียิปต์ในปี 1952

    นอกจากนั้นแล้ว เรายังไม่พบขบวนรถถังอเมริกันแล่นทะยานพุ่งเข้าไปในเมืองหลวงต่างๆ ของชาติอาหรับ โค่นล้มผู้เผด็จการซึ่งแท้ที่จริงแล้ววอชิงตันเองนั่นแหละได้อุปถัมภ์ชุบเลี้ยงมานมนานหลายปี เหมือนกับกรณีที่เกิดขึ้นในอิรักเมื่อปี 2003

    ดูเหมือนว่าไม่มีหนังสือหนังหาที่สร้างแรงบันดาลใจหรือที่ทรงอิทธิพลอย่างพิเศษ ซึ่งพวกผู้ประท้วงเหล่านี้กำลังอ่านกันอยู่ เมื่อตอนที่พวกเขาตัดสินใจที่จะลุกขึ้นยืนท้าทายจอมเผด็จการ นอกจากนั้นก็ไม่ได้มีคำประกาศแถลงการณ์ลับใดๆ, ไม่มีโรงพิมพ์ลับที่แอบซ่อนอยู่ในห้องใต้ดินคอยตีพิมพ์หนังสือเล่มเล็กๆ ชี้นำการต่อสู้, และก็ไม่มีคำปราศรัยอันดุเดือดเผ็ดร้อนให้ได้ยินกันทางสถานีวิทยุหรือสถานีทีวีของพรรคฝ่ายค้าน สิ่งที่จุดชนวนให้แก่การลุกฮือขึ้นมาเหล่านี้ก็คือ ข้อความที่ส่งกันทางเอสเอ็มเอส, ข้อความทางทวีตเตอร์ และทางกลุ่มต่างๆ ในเฟสบุ๊ก ข้อความในโลก “เสมือนจริง”ทั้งหมดเหล่านี้ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อที่ในเวลาอีกไม่นานก็จะถูกลบทิ้งไป หรือถูกปล่อยจมปลักอยู่ในซอกหลืบที่ถูกหลงลืมในโลกออนไลน์

    โลกอาหรับอย่างที่เราๆ ท่านๆ ทั้งหลายรู้จักกัน โลกที่ประชาชนถูกกดขี่บังคับให้ต้องยึดมั่นปฏิบัติตามระบอบเผด็จการรวบอำนาจอย่างมืดบอดนั้น ได้จบสิ้นลงไปแล้ว และมันก็ไม่มีท่าทีว่ากำลังจะกลับมาได้อีก ในช่วงเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมา ผู้คน 3 ชั่วอายุคนทีเดียวเติบโตขึ้นมาด้วยความเชื่อที่ว่า พวกเขาไม่มีทางเลยที่จะเปลี่ยนแปลงความเป็นจริงอันน่าสลดหดหู่ของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่า ระบอบปกครองในประเทศของพวกเขาเหล่านี้สามารถที่จะก้าวขึ้นสู่อำนาจและประคับประคองรักษาอำนาจเอาไว้ได้ ก็เนื่องจากได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา

    ปัจจัยเรื่องสหรัฐฯนี้ เป็นลักษณะร่วมที่เชื่อมโยงมูบารัค, ฮาริรี, เบน อาลี, มาลิกิ, และ ซาเละห์ เข้าด้วยกัน พวกเขาทั้งหมดต่างก็ได้กระทำตัวเองให้มีประโยชน์แก่คณะรัฐบาลสหรัฐฯชุดแล้วชุดเล่า ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้กับลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุคสงครามเย็น, การต่อสู้กับลัทธิโคไมนีภายหลังการปฏิวัติอิหร่านปี 1979, และการต่อสู้กับลัทธิอิสลามเคร่งจารีตภายหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001

    พวกเขาทั้งหมดต่างแสดงจุดยืนซึ่งไม่เป็นที่นิยมชมชื่นอย่างยิ่งของประชาชนของพวกเขาเอง ในการคัดค้านขัดขวางกลุ่มต่อต้านที่แสนจะเป็นที่นิยมชนชื่นในปาเลสไตน์และในเลบานอน และจุดยืนของพวกเขาก็ถูกถ่ายทอดเข้าไปในบ้านเรือนชาวอาหรับทุกหนทุกแห่งโดยผ่านสถานีโทรทัศน์ภาษาอาหรับ อย่างเช่น อัลญะซีเราะห์ (al-Jazeera) สืบเนื่องจากลักษณะร่วมกันเหล่านี้เอง ผู้นำเหล่านี้ทั้งหมดจึงต้องเผชิญกับชะตากรรมคล้ายคลึงกันในเดือนมกราคมแห่งการตัดสินชี้ชะตาของปี 2011

    บางทีอาจจะมีประเทศที่ถือเป็นกรณียกเว้นอยู่เพียงประเทศเดียว นั่นคือ ซีเรีย เมื่อต้นเดือนนี้ มีกลุ่มนักเคลื่อนไหวไม่ประกาศชื่อกลุ่มหนึ่ง พยายามอาศัยเฟสบุ๊กเพื่อเรียกร้องให้ผู้คนออกมาชุมนุมประท้วงใน “วันแห่งความโกรธแค้น” ในกรุงดามัสกัส เฉกเช่นเดียวกับที่มีกลุ่มเคลื่อนไหวจัดกันขึ้นทั้งในตูนิเซีย, จอร์แดน, และอียิปต์ พวกนักหนังสือพิมพ์ชาติตะวันตกหลายต่อหลายคนทีเดียว รีบบินเข้ามาในซีเรียเพื่อคอยเฝ้าชมละครอันน่าตื่นเต้นที่ประชาชนช่วยกัน “โค่นล้มรัฐบาลของพวกเขา”

    ทว่าพวกเขากลับต้องประสบกับความเซอร์ไพรซ์ครั้งใหญ่ ตลอดทั่วทั้งซีเรียไม่ได้มีการชุมนุมเดินขบวนอะไรกันเลย บางผู้คนในโลกตะวันตกคาดหมายเอาไว้ว่าพวกผู้ชุมนุมจะปรากฏตัวขึ้นตามท้องถนน และปะทะกับกองกำลังความมั่นคงของซีเรีย ทว่าเหตุการณ์เช่นนี้มิได้บังเกิดขึ้น และเหตุผลของเรื่องนี้ก็มีหลายอย่างหลายประการ

    ประการหนึ่งคือ ไม่เหมือนกับ มูบารัค หรือ เบน อาลี ประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อัสซาด (Bashar al-Assad) ของซีเรีย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในวัย 44 ปี เป็นผู้นำที่ได้รับความนิยมชมชอบอย่างสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่คนหนุ่มคนสาว คนหนุ่มสาวชาวซีเรียจึงไม่เหมือนกับคนหนุ่มสาวชาวตูนิเซียหรือชาวอียิปต์ พวกเขาไว้เนื้อเชื่อใจในประธานาธิบดีของพวกเขา และมองเขาว่าเป็นคนหนึ่งในหมู่พวกเขา เป็นคนหนึ่งที่ทำงานอย่างหนักมาตลอด 10 ปีที่ผ่านมาเพื่อยกระดับรายได้ของพวกเขา, จัดหาตำแหน่งงานใหม่ๆ ให้แก่พวกเขา, และสร้างสังคมที่ดีงามลึกซึ้งยิ่งขึ้น ถึงแม้จะมีสหรัฐอเมริกาคอยหาเรื่องสร้างอุปสรรคนานาเพื่อขัดขวางการทำงานของเขาก็ตามที

    พูดกันอย่างย่นย่อ อัสซาดเป็นบุคคลที่อยู่เบื้องหลังมหาวิทยาลัยภาคเอกชนและธนาคารภาคเอกชน ซึ่งได้ส่งผลทำให้เกิดการปรับขึ้นค่าจ้างและหว่านเมล็ดพันธุ์ชนชั้นกลางที่เวลานี้กำลังก้าวผงาดขึ้นมาของซีเรีย, ความรุ่งเรืองเฟื่องฟูของการกีฬา, อินเทอร์เน็ต, สื่อมวลชนภาคเอกชน, และองค์กรนอกภาครัฐบาลที่ขับดันโดยภาคสังคม

    ตัวอย่างเช่น เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลของเขาจัดตั้งกองทุนขึ้นมาเพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ครอบครัวที่ยากจนข้นแค้น 450,000 ครอบครัว และเขาได้ทำให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างรวมกันแล้วมากกว่า 100% ในรอบ 1 ทศวรรษที่ผ่านมา ยิ่งไปกว่านั้น ขณะที่มูบารัคใช้ชีวิตอยู่เบื้องหลังแนวกำแพงสูงลิ่วของวังของเขาในกรุงไคโร อัสซาดกลับเป็นประธานาธิบดีที่ประชาชนเข้าถึงได้อย่างง่ายดาย โดยบ่อยครั้งมักเห็นเขาปะปนอยู่ในหมู่สามัญชนชาวซีเรีย, รับประทานอาหารค่ำกับภรรยาและลูกๆ ของเขา, ขับรถด้วยตัวเองไปรอบๆ เมือง, ปรากฏตัวไปชมการแสดงละครและนิทรรศการต่างๆ

    เขาพบปะกับผู้คนจากทุกชนชั้นทุกอาชีพแทบจะเป็นประจำทุกวัน รับฟังความคิดเห็นของพวกเขา และคอยติดตามเพื่อทำให้ความวิตกกังวลของพวกเขาได้รับการแก้ไขคลี่คลายโดยรวดเร็ว จุดยืนของเขาต่อกลุ่มฮามาส ในดินแดนฉนวนกาซา และต่อกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ ในเลบานอน ทำให้เขาได้รับความนิยมอย่างมหาศาลจากประชาชนคนเดินถนนชาวซีเรีย และยิ่งได้รับการเสริมส่งมากขึ้นอีกจากข้อเท็จจริงที่ว่า เขาปฏิเสธไม่ยอมค้อมหัวแม้เผชิญแรงกดดันจากสหรัฐฯ ในระหว่างช่วงปีอันยากลำบากแห่งยุค จอร์จ ดับเบิลยู บุช ครองทำเนียบขาว

    ซามี โมวบายเอด เป็นนักวิเคราะห์การเมือง และศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยชาวซีเรีย เขายังเป็นบรรณาธิการใหญ่ของนิตยสาร ฟอร์เวิร์ด แมกกาซีน (Forward Magazine)




    Around the World - Manager Online -
     
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 15:27
    ไทยยันหลักฐานแน่น ย้ำยูเอ็นให้น้ำหนักคำชี้แจง

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    [​IMG]

    นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงต่างประเทศ

    "ธานี"สายตรงจากนิวยอร์ก มั่นใจข้อมูลไทยแจงคณะมนตรีฯหลักฐานแน่น กรณีปะทะไทย-กัมพูชา ส่วน"กษิต"แจงช่อง11พรุ่งนี้(15ก.พ.)เวลา 06.30 น.
    <SCRIPT type=text/javascript> google_ad_channel = '8724309246'; //slot number google_ad_type = 'text'; //media image, text, html, flash google_max_num_ads = '3'; //amount Ads //google_image_size = '338X280'; //google_skip = '3'; var ads_ID = 'Google-adsense-indetail'; // set ID for main Element div var displayBorderTop = false; // default = false; //var displayLandScape = true; // false=Default, true=landscape *** if set Landscape not arrow ad type image var position_ad_detail ='in'; // ''=Default, in=Intext, under=TextUnderDetail </SCRIPT><SCRIPT src="http://www.bangkokbiznews.com/home/main/js/adsense/AdsenseJS.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/r20101117/r20110208/show_ads_impl.js"></SCRIPT>นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์จากนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ถึงรูปแบบการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ( UNSC ) ซึ่งนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย จะเข้าชี้แจงในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เวลา 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งตรงกับประเทศไทยเวลา 22.00 น. ว่า การประชุมดังกล่าวเป็นรูปแบบปิดจะมีเพียงประเทศคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และประเทศคู่กรณีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้กล่าวนำที่มาที่ไปของการประชุมจะเป็นเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสหประชาชาติ จากนั้นเป็นการกล่าวของนายฮอร์ นัมฮง รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา ตามด้วยนายกษิต และปิดท้ายด้วยนายมาตี้ นาตาเลกาวา รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย ในฐานะประเทศประธานอาเซียน เป็นผู้ปิดท้าย ซึ่งคาดว่าแต่ละคนจะใช้เวลาพูดประมาณ 15 - 30 นาที
    นายธานี กล่าวว่า ส่วนผลการประชุมจะออกมาได้หลายรูปแบบ ทั้งเป็นข้อมติ แถลงการณ์ของประธาน คำให้สัมภาษณ์ของประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอสซี) ซึ่งขณะนี้เป็นประเทศบราซิล โดยส่วนตัว คาดว่าผลออกมาจากเป็นลักษณะการให้สัมภาษณ์ของประธานยูเอ็นเอสซี เมื่อประชุมแล้วเสร็จคาดว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องจะให้สัมภาษณ์หน้าห้องประชุม ( Stag Out ) ขณะเดียวกันมีรายงานว่านายกษิตมีกำหนดการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการภายหลังการประชุมเวลา 15.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งตรงกับวันที่ 15 กุมภาพันธ์ เวลา 03.00 น. ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งสามารถติดตามการแถลงข่าวได้ที่ www.un.org / webcast ทั้งนี้นายกษิตให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์มายังสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ในเวลา 06.30 น. ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ตามเวลาประเทศไทยด้วย ส่วนการหารือกันแบทวิภาคีระหว่างนายกษิต และนายฮอร์ นัมฮง ในขณะนี้ยังไม่มีกำหนดการที่แน่นอน แต่จะเจอกันก่อนประชุมระยะเวลาหนึ่งก่อน
    เมื่อถามว่า การเดินทางไปชี้แจงกับองค์การศึกษาวิทยาศาตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชน ( UNESCO ) ของนายอัษฎา ชัยนาม ประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม ( JBC ) ไทย - กัมพูชา ฝ่ายไทย ผลการชี้แจงเป็นอย่างไร นายธานี กล่าวว่า นายอัษฎาได้พบกับ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ UNESCO ได้ชี้แจงถึงประเด็นปัญหาการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ที่ยังไม่มีความชัดเจนระหว่างสองประเทศ โดยขอให้ชะลอการทำแผนบริหารจัดการก่อน เพราะทำให้เกิดปัญหาความตรึงเครียด ซึ่งหลังการชี้แจงทาง UNESCO ได้รับทราบข้อมูล ทั้งนี้ ทาง UNESCO เองก็เพิ่งเปลี่ยนทีมบริหารที่ดูเรื่องนี้ คงต้องให้เวลากับยูเนสโกได้พูดคุยเรื่องนี้ก่อน
    ต่อข้อถามถึงกรณี UNESCO เตรียมส่งทูตพิเศษมาสำรวจพื้นที่ปราสาทพระวิหารบริเวณแนวชายแดนไทย - กัมพูชา นายธานี กล่าวว่า เป็นข้อเสนอของฝ่าย UNESCO มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงเข้ามาดูแล หากประสานมาขอพบปะฝ่ายไทยเราต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมว่าไทยสะดวกที่จะพบหรือไม่ แต่ในขณะนี้ยังไม่มีการประสานมาอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตามหากเข้ามาในลักษณะไกล่เกลี่ยเราคงไม่ยอมรับ แต่ถ้ามารับฟังข้อมูลเราก็จะพิจารณาให้ความร่วมมือว่าจะสามารถที่จะเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด
    เมื่อถามว่า เรื่องดังกล่าวมีการล็อบบี้ ให้ UNSC คล้อยตามข้อมูลของฝ่ายไทยหรือไม่ นายธานี กล่าวว่า เป็นเรื่องปกติที่ทั้งสองประเทศจะดำเนินการ ซึ่งไทยได้แจ้งท่าทีของตนกับประเทศที่เกี่ยวข้องกับ UNSC ล่วงหน้า ซึ่งเป็นสิ่งที่เราได้ดำเนินการมาตลอด
    เมื่อถามว่า สื่อมวลชนในต่างประเทศให้ความสนใจเกี่ยวกับกรณีพิพาทไทย - กัมพูชา อย่างไรบ้าง นายธานี กล่าวว่า ดูจากการรายงานข่าวทั่วไป ไม่ได้ให้ความสนใจมากเท่าไหร่นัก มีการติดตามสถานการณ์ปะทะกันระหว่างไทย - กัมพูชาบ้าง ไม่ถือว่าเป็นประเด็นใหญ่ระหว่างประเทศ
    นายธานี กล่าวอีกว่า ฝ่ายไทยมีความมั่นใจเกินร้อยเปอร์เซ็นต์ ในข้อมูลหลักฐานที่แน่นหนักและน่าเชื่อถือได้ และเชื่อว่า ยูเอ็นเอสซี จะให้น้ำหนักในคำชี้แจงและข้อมูลของฝ่ายไทย ที่อธิบายถึงที่มาที่ไป รวมไปถึงเหตุการณ์ปะทะที่เกิดขึ้นล่าสุด อย่างไรก็ตาม กระทรวงการต่างประเทศเตรียมจะแปลถ้อยแถลงของนายกษิตต่อยูเอ็นเอสซีในครั้งนี้ เป็นภาษาไทย เผยแพร่ทางเว็ปไซด์กระทรวงการต่างประเทศ

     
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 15:07
    อังกฤษตามล่าหาขุมทรัพย์"มูบารัก"

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    [​IMG]

    อังกฤษถูกบีบให้ค้นหาขุมทรัพย์มูบารัก
    <SCRIPT type=text/javascript> google_ad_channel = '8724309246'; //slot number google_ad_type = 'text'; //media image, text, html, flash google_max_num_ads = '3'; //amount Ads //google_image_size = '338X280'; //google_skip = '3'; var ads_ID = 'Google-adsense-indetail'; // set ID for main Element div var displayBorderTop = false; // default = false; //var displayLandScape = true; // false=Default, true=landscape *** if set Landscape not arrow ad type image var position_ad_detail ='in'; // ''=Default, in=Intext, under=TextUnderDetail </SCRIPT><SCRIPT src="http://www.bangkokbiznews.com/home/main/js/adsense/AdsenseJS.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/r20101117/r20110208/show_ads_impl.js"></SCRIPT> เว็บไซท์หนังสือพิมพ์เดลี่ เมล ของอังกฤษ รายงานว่า รัฐบาลอังกฤษกำลังตกอยู่ภายใต้กระแสกดดันให้อายัดทรัพย์ของนายฮอสนี มูบารัก ประธานาธิบดีอิยิปต์ ที่อยู่ในสหราชอาณาจักร
    ทั้งนี้ สำนักงานตรวจสอบการฉ้อโกงร้ายแรง(เอสเอฟโอ)ที่มีหน้าที่จัดการคดีที่เกี่ยวกับการทุจริตของหน่วยงานรัฐของของอังกฤษ กำลังติดตามหาเงินสุดจำนวนมหาศาล และทรัพย์สินมีค่าอื่น ๆ ที่ผู้นำอิยิปต์วัย 82 ปี และครอบครัวสะสมไว้นอกประเทศ ในช่วงที่ปกครองอิยิปต์นานเกือบ 30 ปี
    เชื่อกันว่า ครอบครัวนายมูบารัก ร่ำรวยมหาศาลและมีเงินสดมากกว่า 40 ล้านดอลลาร์ ส่วนใหญ่ฝากไว้กับธนาคารของอังกฤษและสวิตเซอร์แลนด์ หรือไม่ก็อยู่ในรูปของอสังหาริมทรัพย์ในลอนดอน ปารีส นิวยอร์ค ดูไบ และสถานตากอากาศในทะเลแดง
    โฆษกของเอสเอฟพี เปิดเผยว่า มีความเป็นไปได้ที่นายมูบารักจะมีเงินฝากจำนวนมากอยู่ในสหราชอาณาจักร แต่ไม่ทราบตัวเลขที่แท้จริง
    ก่อนหน้านี้ สวิตเซอร์แลนด์ ได้ประกาศอายัดทรัพย์ของนายมูบารักและครอบครัว ราวหลายร้อยล้านดอลลาร์
    ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง หลังการลาออกของเขา โดยให้เหตุผลว่า ต้องการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงเก็บรักษาทรัพย์สินของอิยิปต์ไว้อย่างไม่เหมาะสม แต่นายอลิสแตร์ เบิร์ต รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ กล่าวว่า อังกฤษไม่อาจขัดขวางการเคลื่อนไหวของทรัพย์สินของนายมูบารักได้ เว้นแต่ว่า จะได้รับการร้องขออย่างเป็นทางการจากรัฐบาลอิยิปต์
    นายเบิร์ต กล่าวด้วยว่า หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการลุกฮือทั้งในตูนิเซียและอิยิปต์ คือ ระดับของ
    การคอรัปชั่น ที่เหล่าผู้ปกครองประเทศฉ้อฉลอย่างเป็นระบบ เพื่อกอบโกยเงินไปเป็นจำนวนมาก อดีตประธานาธิบดีซีน เอล อาบิดีน เบน อาลี ของตูนิเซีย และนางไลล่า ภรรยา กอบโกยเงินหลายล้านดอลลาร์จากประเทศแอฟริกาเหนือที่ยากจนแห่งนี้ และต้องสงสัยว่า จะขนทองหนึ่งตันครึ่งออกไปด้วย

     
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    “กษิต” แจงไทยพร้อมทุกเมื่อทำข้อตกลงหยุดยิง รอพิสูจน์ความจริงใจเขมร
    “กษิต” เผยไทยพร้อมทำข้อตกลงหยุดยิง แค่ให้รัฐมนตรีกลาโหมไทยและกัมพูชามาคุยกัน ชี้การร่วมประชุมกับ UNSC เป็นการประกาศพันธะต่อประชาคมโลก เมื่อได้ข้อสรุปให้กลับไปเจรจาทวิภาคี ก็ต้องขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์ของผู้นำสองประเทศว่าจะจริงแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างไร

    ภายหลัง UNSC ประสานเสียงให้ไทยกับกัมพูชากลับไปเจรจาทวิภาคี และเสนอให้ทำข้อตกลงหยุดหยิง เมื่อเวลา 06.30 น. นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ถ่ายทอดผ่านสถานีโทรทัศน์ NBT ถึงผลการร่วมประชุมกับคณะมนตรีความมั่นคง 15 ประเทศ หรือ UNSC ว่า สมาชิกทุกประเภทล้วนแสดงความเห็นอยากให้ไทยกับกัมพูชาเจรจาทวิภาคี โดยให้ประชาคมอาเซียนเป็นพี่เลี้ยง ซึ่งในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ในวันที่ 22 ก.พ.นี้ที่จาการ์ตา ก็จะพูดคุยกันว่าจะมีแนวทางอย่างไรต่อไป ทางไทยก็คงจะไปชี้แจงว่าขณะนี้มีกลไกและกรอบการเจรจาทวิภาคี ทั้งเอ็มโอยู 2543 และเจบีซี ให้สมาชิกอาเซียนได้เข้าใจ โดยไทยก็พร้อมจะประชุมเจบีซีกับทางกัมพูชาในวันที่ 27 ก.พ.นี้ ก็ต้องขึ้นอยู่กับทางกัมพูชาจะว่าอย่างไร

    ส่วนเรื่องการทำข้อตกลงหยุดยิงถาวรก็สามารถทำได้ โดยให้รัฐมนตรีกลาโหมของทั้งไทยและกัมพูชามาเจรจากัน ซึ่งฝ่ายไทยได้แสดงท่าทีชัดเจนว่าต้องการให้มีสันติภาพและความสงบสุข เราประกาศต่อประชาคมโลกแล้วว่าเราพร้อมเจรจาตลอดเวลา ก็ต้องขึ้นอยู่กับทางกัมพูชาจะพิจารณาเรื่องนี้อย่างไร

    การที่กัมพูชานำเรื่องเสนอที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ แล้วที่ประชุมให้กลับไปเจรจากันเองสองฝ่าย ก็ต้องขึ้นอยู่กับทางกัมพูชาที่มีพันธะต่อสหประชาชาติ ต่ออาเซียนในฐานะสมาชิกว่าจะมีความจริงใจแค่ไหน ต้องขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์ของผู้นำทั้งสองประเทศที่จะต้องไปกำชับดูแลในส่วนของตนเองไม่ให้เกิดการปะทะกันขึ้นอีก

    นายกษิตกล่าวว่า กลไกการเจรจาทวิภาคีมีอยู่มากมาย ซึ่งต้องการความร่วมมือจากทางกัมพูชาด้วย ควรจะมาช่วยกันทำแผนดูแลว่าจะรักษาความปลอดภัยตามแนวชายแดนอย่างไร ซึ่งรวมถึงเรื่องของอาชญากรรมข้ามชาติ การตัดไม้ การค้าอาวุธ และยาเสพติด ซึ่งต้องร่วมมือกัน

    นอกจากนี้ ไทยได้เสนอว่า เรื่องการขึ้นทะเบียนมรดกโลก และการพิจารณาแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหาร ควรจะชะลอไว้ก่อน เพราะเป็นต้นเหตุแห่งการปะทะกัน ควรจะรอให้กลไกการเจรจาปักปันเขตแดนคืบหน้าจนแล้วเสร็จเสียก่อน คือต้องมีการทำภาพถ่ายทางอากาศ มีการสำรวจหลักเขตทั้งหมด ส่วนผู้ที่มาคัดค้านจะต้องเข้าใจประเด็นปัญหาว่าคัดค้านเรื่องอะไร ถ้าไม่มีเอ็มโอยูแล้วทางเลือกอื่นมีหรือไม่อย่างไร

    Politics - Manager Online -
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    “ฮอร์ นัมฮง” แถลงต่อ UNSC ขอให้เข้าแทรกแซง-ร้องศาลโลกตัดสินใหม่
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>15 กุมภาพันธ์ 2554 03:56 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ถ้อยแถลงของ “ฮอร์ นัมฮง” ต่อ UNSC ระบุว่า ไทยรุกรานกัมพูชา อ้างเดิมๆ ไทยยอมรับแผนที่อัตราส่วน 1 ต่อ 200,000 รวมถึงระวางดงรัก แต่กลับอ้างสิทธิบนพื้นที่ 4.6 ตร.กม.รอบๆปราสาทพระวิหาร เรียกร้อง UNSC ส่งผู้สังเกตการณ์หรือกองกำลังรักษาสันติภาพ หรืออย่างน้อยสุดก็คณะพิสูจน์ความจริงลงพื้นที่ และเรียกร้องให้ส่งคำพิพากษาศาลโลกกลับไปตีความใหม่

    เมื่อเวลา 02.16 น. เว็บไซต์ฟิฟทีนมูฟ ได้เผยแพร่ถ้อยแถลงของนายฮอร์ นัมฮง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ที่มีต่อคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ หรือ UNSC โดยนายฮอร์ นัมฮง ระบุว่าไทยเป็นฝ่ายรุกรานกัมพูชาก่อน ทำให้ปราสาทพระวิหารและวัดแก้วสิกขาฯได้รับความเสียหาย ชาวกัมพูชาเสียชีวิต 6 ราย และบาดเจ็บ 71 คน พร้อมทั้งอ้างถึงอนุสัญญา 1904 และสนธิสัญญา 1907 รวมถึงเอ็มโอยู 2543 โดยระบุว่าไทยยอมรับแผนที่อัตราส่วน 1 ต่อ 200,000 รวมถึงระวางดงรักด้วย นอกจากนี้เขายังได้อ้างถึงคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อปี 2505 ที่ระบุว่าปราสาทพระวิหารอยู่บนพื้นที่ของกัมพูชา แต่ไทยอ้างสิทธิเหนือพื้นที่ 4.6 ตร.กม.รอบๆ ปราสาทพระวิหารตั้งแต่กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก

    นายฮอร์ยังได้กล่าวว่าไทยได้รุกรานกัมพูชาก่อนหน้านี้ตั้งแต่เดือน ก.ค.2551 ด้วยกำลังทหารและอาวุธที่เหนือกว่า จนมาในปัจจุบันเมื่อเดือน ม.ค.2554 ไทยได้เรียกร้องให้กัมพูชาปลดธงที่วัดแก้วสิกขาฯ มีการซ้อมรบ รวมถึงการข่มขู่จะใช้กำลังทหาร จนในที่สุดนำไปสู่การปะทะกันในวันที่ 4-7 ก.พ.2554 ซึ่งไทยได้ละเมิดกฎบัตรของสหประชาชาติ ทางกัมพูชาจึงต้องการให้สหประชาชาติช่วยยุติการรุกรานของไทย และขอให้มีผู้สังเกตุการณ์หรือตัวแทนสหประชาชาติเข้ามาค้นหาความจริงในพื้นที่ โดยกัมพูชามองว่าการเจรจาทวิภาคีนั้นล้มเหลว แต่กัมพูชาก็ยังจะยึดการเจรจาตามกรอบภูมิภาคคือระดับอาเซียน แต่ถ้าเกิดความล้มเหลวอีก ก็อยากให้ UNSC เข้ามามีส่วนร่วม และส่งเรื่องให้ศาลโลกตีความคำตัดสินเมื่อปี 2505 อีกครั้ง

    ดูต้นฉบับถ้อยแถลงของนายฮอร์ นัมฮง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ในที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคง วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 ได้ที่ http://www.15thmove.net/files/2011/02/hor-numhong-unsc.jpg
    ฟิฟทีนมูฟแปลเรียบเรียงดังนี้...
    ————————————————-
    – ประการแรกสุด ผมใคร่ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้โอกาสผมเพื่อบรรยายสรุปต่อคณะมนตรีความมั่นคงกรณีสงครามรุกรานกัมพูชาโดยประเทศไทย เมื่อวันที่ 4, 5, 6, และ 7 กุมภาพันธ์ 2011 หลายสถานที่ เหล่านี้รวมถึงพื้นที่ดังต่อไปนี้ซึ่งอยู่ในเขตของกัมพูชา

    ปราสาทพระวิหาร
    วัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ และพื้นที่ขมุม ซึ่งอยู่ห่าง 300 เมตร และ 500 เมตร ตามลำดับจากปราสาทพระวิหาร
    แถบช่องคานม้าและภูมะเขือ ตั้งอยู่ห่างโดยประมาณ 1,120 เมตร และ 1,600 เมตร ตามลำดับจากพรมแดน พื้นที่ตาเส็มและอื่นๆ

    – ในการโจมตีด้วยกระสุนปืนใหญ่ต่อกัมพูชา ประเทศไทยได้ใช้อาวุธทันสมัยประกอบด้วย ระเบิดพวง และกระสุนปืนใหญ่ขนาด 105, 120, 130 และ 155 ไกลถึง 20 กิโลเมตรภายในเขตแดนกัมพูชา การโจมตีของประเทศไทยนับแต่ 4 กุมภาพันธ์ 2011 ได้สร้างความเสียหายร้ายแรงต่อวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ และปราสาทพระวิหาร แหล่งมรดกโลก ตลอดจนเสียชีวิต 6 ราย และบาดเจ็บ 71 ราย ในหมู่ทหารและประชาชนกัมพูชา จากความสูญเสียต่อมนุษย์ทั้งหมด 2 คน ถูกสังหารและอีก 8 คน ได้รับบาด เจ็บจากระเบิดพวงซึ่งใช้โดยทหารไทย แม้จะมีการห้ามใช้อาวุธชนิดนี้ทั่วโลก

    - แม้มีการเจรจาตกลงหยุดยิงสองครั้ง สถานการณ์ปัจจุบัน อย่างไรก็ตามยังมีความเปราะบางอย่างสูง การต่อสู้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกขณะโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า ขณะที่ ทหารไทยซึ่งติดอาวุธหนัก กระสุนปืนใหญ่และรถถังได้ถูกประจำการตามแนวชายแดน สร้างความกดดันต่อกัมพูชา

    – อนุญาตให้ผมได้เตือนความจำถึงรากสาเหตุที่นำไปสู่สงครามรุกรานขณะนี้ของประเทศไทยต่อกัมพูชา ดังต่อไปนี้ :

    – ฝรั่งเศสและสยามลงนามในอนุสัญญา 1904 และสนธิสัญญา 1907 เพื่อตั้งคณะกรรมการผสมปักปันเขตแดนระหว่างอินโด-จีนและสยาม ในช่วงระหว่างปี 1905 ถึง 1908 คณะกรรมการฝรั่งเศส-สยามซึ่งตั้งโดยอนุสัญญา 1904 ได้จัดทำแผนที่ชุดหนึ่งจำนวน 11 ฉบับ (ทั้งหมดเป็นมาตราส่วน 1/200,000) รวมถึงระวางหนึ่งที่เรียกว่า “แผนที่ดงรัก” ซึ่งแบ่งเขตตอนที่ 6 ซึ่งเป็นบริเวณปราสาทพระวิหาร (กัมพูชาอยู่ภายใต้การอารักขาของฝรั่งเศสจากปี 1863-1953)

    – นับแต่การจัดทำแผนที่ดงรักในปี 1908 ประเทศไทยได้ยอมรับแผนที่นี้อย่างเป็นทางการโดยการขอให้เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสส่งสำเนาแผนที่จำนวนมากสำหรับการใช้งานของผู้ปกครองจังหวัดชายแดนติดกับกัมพูชา

    – ในปี 1954 หลังการประกาศอิสรภาพของกัมพูชาในเดือนพฤศจิกายน 1953 กำลังทหารไทยได้รุกล้ำดินแดนกัมพูชาและยึดครองปราสาทพระวิหาร กัมพูชาด้วยความอด กลั้นและความปรารถนาที่จะหลีกเลี่ยงสงครามได้ฟ้องคดีไปยังศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 1959 ตามหลักของแผนที่ดงรักซึ่งอ้างถึงข้างต้น อ้างถึง โดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศว่าแผนที่ “ผนวก 1” ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ตัดสินเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 1962 ดังนี้

    “ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนพื้นดินภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา”

    “ประเทศไทยอยู่ภายใต้พันธกรณีที่จะต้องถอนทหารหรือกำลังตำรวจหรือยามหรือผู้ดูแลที่ประจำการโดยประเทศไทยที่ปราสาทพระวิหาร หรือบริเวณใกล้เคียงบนเขตของ กัมพูชา”

    “ประเทศไทยอยู่ภายใต้พันธกรณีที่จะต้องส่งคืนกัมพูชาในวัตถุใดๆ ตามที่ระบุในคำร้องที่ห้าซึ่งอาจจะ นับแต่วันเข้ายึดครองปราสาทโดยประเทศไทยในปี 1954 ถูกเคลื่อน ย้ายออกไปจากปราสาทหรือบริเวณปราสาทโดยเจ้าหน้าที่ไทย”

    – ในเรื่องเขตแดนระหว่างกัมพูชาและประเทศไทยในบริเวณปราสาทพระวิหาร ฐานคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ในปี 1962 กล่าวอย่างชัดเจนในบรรดา เรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้

    “ศาล อย่างไรก็ตามเห็นว่าประเทศไทยในปี 1908-1909 ได้ยอมรับแผนที่ผนวก 1 ในฐานะผลงานการปักปันเขตแดน และได้รับรู้เส้นบนแผนที่ว่าเป็นเส้นเขตแดน ผลคือได้วาง พระวิหารในเขตกัมพูชา” …

    “อย่างไรก็ตาม ไม่มีเหตุผลที่จะคิดว่าคู่ภาคีได้แนบสิ่งใดเป็นพิเศษไปยังเส้นสันปันน้ำ …ด้วยเหตุนี้ ศาลรู้สึกถึงขอบเขต เป็นเรื่องของการตีความสนธิสัญญา เพื่อที่จะประกาศ ความชอบของเส้นดังวาดในพื้นที่พิพาท” …

    – ขอให้ผมได้นำความสนใจของคณะมนตรีความมั่นคงว่า เหล่านี้ล้วนเป็นส่วนเล็กน้อยของฐานคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

    – ควรตั้งข้อสังเกตว่านับจากการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในปี 1962 ประเทศไทยได้ยอมรับที่จะถอนทหารจากพื้นที่ปราสาทพระวิหารและบริเวณใกล้เคียง

    – ในเดือนมิถุนายน 2000 กัมพูชาและประเทศไทยได้ลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลของราชอาณาจักรกัมพูชาและรัฐบาลของราชอาณาจักรไทยในการสำรวจและ จัดทำหลักเขตทางบก ซึ่งได้ยอมรับ “แผนที่ดงรัก” ซึ่งอ้างถึงโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศสำหรับคำตัดสินในปี 1962 ว่าแผนที่ “ผนวก 1” พร้อมด้วยเอกสารที่ชอบด้วย กฎหมายอื่น เป็นฐานทางกฎหมายสำหรับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างกัมพูชาและประเทศไทย

    – ประเทศไทยได้เริ่มเรียกร้องว่าเป็นเขตแดนของตนซึ่งเรียกว่าพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ในบริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหารเฉพาะเมื่อคณะกรรมการมรดกโลกเริ่มพิจารณา การขึ้นทะเบียนปราสาทในบัญชีมรดกโลกในปี 2008 การอ้างของไทยนี้อาศัยแผนที่ซึ่งลากเองเพียงฝ่ายเดียวซึ่งไม่มีคุณค่าทางกฎหมายใด

    – ในการพยายามเรียกร้องผิดทำนองคลองธรรม ประเทศไทยได้กระทำการรุกรานกัมพูชาในสามโอกาสก่อนหน้า คือ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2008, 10 ตุลาคม 2008 และ 3 เมษายน 2009 ในพื้นที่วัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ ช่องคานม้า ภูมะเขือ และตาเส็มซึ่งอยู่ใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร การรุกรานเหล่านี้เป็นผลให้เกิดความสูญเสียต่อมนุษย์ตลอด จนความเสียหายต่อทรัพย์สิน โดยเฉพาะปราสาทพระวิหาร

    – ในการเผชิญหน้าต่อการรุกรานอย่างครึกโครมเหล่านี้ กัมพูชาได้ใช้ความอดทนอดกลั้นอย่างที่สุดแลรักษาความอดทนอย่างมากในการเจรจากับประเทศไทยเพื่อแก้ปัญหา อย่างสันติ เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการปะทะทางทหารขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ความพยายามของกัมพูชานั้นเปล่าประโยชน์ เพราะประเทศไทยฮึกเหิมด้วยอาวุธยุทธภัณฑ์ที่ทัน สมัยและขนาดใหญ่กว่า

    – ควรเตือนความจำด้วยว่าเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2011 คู่ขนานกับการซ้อมรบของประเทศไทยด้วยปืนใหญ่ตามแนวพรมแดนติดกับกัมพูชา แต่ในความเป็นจริงคือการเตรียม สงคราม นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ของประเทศไทย เรียกร้องให้กัมพูชาต้องปลดธงชาติออกจากวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระของกัมพูชาใกล้ปราสาทพระวิหารซึ่งสร้าง ตั้งแต่ปี 1998 สามวันให้หลัง เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2011 เขาได้กล่าวว่า “การใช้กำลังจะเป็นตัวเลือกสุดท้าย….รัฐบาลไม่ได้กลัวที่จะทำสงครามกับกัมพูชา” หลังจากนั้นไม่กี่ วัน ผู้บัญชาการกองทัพบก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้กล่าวคล้ายกันว่า “การใช้กำลังจะเป็นทางสุดท้าย”

    – อีกครั้ง เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2011 นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ บอกกับผู้สื่อข่าวว่า “ผมยืนยันว่าการถอนทหารตามข้อเสนอของกัมพูชาไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อ เราต้องรักษาสิทธิ์ของเรา (เหนือพื้นที่) แม้ว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดการปะทะกันอีก” ขณะที่กัมพูชาเสนอให้ถอนกำลังทหารทั้งสองฝ่ายห่างจากแนวพรมแดนเพื่อหลีกเลี่ยงการ เผชิญหน้าด้วยอาวุธรอบใหม่

    – คำกล่าวเหล่านี้ คู่ขนานกับการเตรียมสงครามสร้างเหตุทำสงครามเดือนกุมภาพันธ์กับกัมพูชาในวันที่ 4, 5, 6 และ 7 แม้ในปัจจุบัน ตามรายงานของสื่อไทยซึ่งท่านทั้งหลาย อาจจะทราบ ประเทศไทยยังคงเสริมกำลังรถถัง ปืนใหญ่และทหารอย่างต่อเนื่องตลอดแนวพรมแดนกัมพูชา

    – การทำการรุกรานซ้ำต่อกัมพูชาโดยประเทศไทยล่วงละเมิดเครื่องมือทางกฎหมายอย่างโจ่งแจ้งดังนี้

    ข้อ 94.1 ของกฎบัตรสหประชาชาติ ในเรื่องพันธกรณีของแต่ละชาติสมาชิกของสหประชาติที่จะต้องปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในทุกคดีที่ซึ่งประเทศ นั้นเป็นภาคี

    ข้อ 2.3, 2.4 และ 94.1 ของกฎบัตรสหประชาชาติ

    สนธิสัญญาทางไมตรีและความร่วมมือ (TAC) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ข้อ 2 ซึ่งกัมพูชาและประเทศไทยเป็นภาคี มีดังนี้

    มีความเคารพต่อกันในความเป็นเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณภาพแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ของชาติของทุกชาติ

    ยุติความแตกต่างและข้อพิพาทด้วยสันติวิธี

    สละสิทธิที่จะคุกคามหรือใช้กำลัง

    ข้อตกลงซึ่งคำนึงต่ออธิปไตย ความเป็นเอกราช บูรณภาพแห่งดินแดน การไม่อาจล่วงล้ำ ความเป็นกลาง ความเป็นเอกภาพของชาติของกัมพูชา ข้อ 2.2c, 2.2d ของข้อตกลง สันติภาพปารีส ในปี ค.ศ.1991

    – ด้วยเหตุนี้ ผมร้องขออย่างจริงจังต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาติให้ใช้มาตรการตามข้อ 35.1, 36, 39 และ 94.2 ของกฎบัตรสหประชาชาติ เพื่อยุติการรุกรานของ ประเทศไทยซึ่งอันตรายร้ายแรงต่อสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค จนกว่าจะมีการแก้ปัญหาที่ชัดเจน รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาเห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะ ต้องมีผู้สังเกตการณ์หรือรักษาสันติภาพของยูเอ็น หรืออย่างน้อยที่สุด คณะเจ้าหน้าที่ค้นหาความจริงในพื้นที่พรมแดนนี้ เพื่อให้ความมั่นใจว่าจะไม่มีการต่อต้านด้วยอาวุธเกิด ขึ้นอีก

    – แม้ว่าความอดทนอดกลั้นและความพยายามโดยกัมพูชาเพื่อหาข้อยุติความขัดแย้งอย่างสันติผ่านการเจรจาทวิภาคีได้ล้มเหลว กัมพูชายังคงปรารถนาทางออกอย่างสันติ ผ่านกรอบการทำงานระดับภูมิภาคอย่างเช่นอาเซียน ที่ทั้งกัมพูชาและประเทศไทยต่างเป็นสมาชิกองค์กรนี้

    – ในกรณีของข้อยุติความขัดแย้งที่ไม่เป็นไปอย่างสันติ ทั้งที่มีการเป็นตัวกลางรับฟังของอาเซียน กัมพูชาใคร่ขอเสนอว่า ยูเอ็นเอสซีควรยังคงร่วมเพื่อหาทางออกที่ชัดเจนตาม กฎบัตรของยูเอ็น

    – ยูเอ็นเอสซีอาจส่งเรื่องนี้ต่อให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเพื่อตีความคำตัดสิน ปี 1962 ตามข้อ 96.1 ของกฎบัตรยูเอ็น เนื่องจากรากสาเหตุของความขัดแย้งอยู่ในความเข้า ใจผิดต่อคำตัดสิน ปี 1962

    – ขอบคุณการตัดสินใจของยูเอ็นเอสซีเมื่อต้นสัปดาห์ที่แล้วที่เรียกประชุมในวันนี้ กองทัพบกไทยได้ปลดเปลื้องการโจมตีด้วยอาวุธขนาดใหญ่ต่อกัมพูชาและได้ตกลงหยุดยิง รัฐบาลของผมหวังที่จะใช้โอกาสนี้แสดงความขอบคุณอย่างสุดซึ้งต่อสมาชิกคณะมนตรีทุกท่าน สำหรับการดำเนินการให้ซึ่งได้ปกปักชีวิตและความขัดสนจำนวนมาก ไม่เฉพาะ ต่อประชาชนของกัมพูชาแต่ของประเทศไทยด้วยเช่นกัน

    ขอบคุณ
    Politics - Manager Online -
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศเผยแพร่ถ้อยแถลงของ “กษิต” ต่อ UNSC แจงกัมพูชายิงก่อน ใช้ปราสาทพระวิหารเป็นฐานทำการรบ ขณะที่ไทยรักสันติภาพ ยึดมั่นการเจรจาตามกลไกทวิภาคีที่มีอยู่ทั้ง เอ็มโอยู 2543 และเจบีซี

    เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ ได้เผยแพร่ถ้อยแถลงของนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือ UNSC ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 โดยสรุป นายกษิตระบุว่า ไทยและกัมพูชาเป็นเพื่อนบ้านกัน จะย้ายประเทศหนีกันไม่ได้ มีอะไรก็ควรพูดคุยกัน ส่วนเหตุการณ์ปะทะกัน ในวันที่ 4-7 ก.พ. ทั้งๆ ที่ตนยังอยู่ในกรุงพนมเปญ เกิดจากทหารกัมพูชายิงก่อน แต่นายกฯ กัมพูชากลับมาบอกว่า “ไม่สำคัญว่าใครยิงก่อน” ซึ่งไทยก็ต้องปกป้องตนเอง นอกจากนี้ ภายหลังจากที่ทหารทั้งสองฝ่ายเจรจาหยุดยิงแล้ว แต่กัมพูชาก็ยังโจมตีต่ออีก 2 ครั้ง ทำให้บ้านเรือนเสียหาย ทหารไทยตายไป 2 นาย ชาวบ้านเสียชีวิต 2 ราย และผู้คนต้องอพยพหนีถึง 20,000 คน ซึ่งเป็นเรื่องน่าสะเทือนใจที่คนไทยต้องเป็นผู้อพยพในประเทศของตัวเอง

    นายกษิตยังแถลงต่อ UNSC ว่า กัมพูชาได้ใช้ปราสาทพระวิหารเป็นฐานการรบ ซึ่งมีหลักฐานเผยแพร่ตามสื่อมากมาย สำหรับเหตุจูงใจที่อยู่เบื้องหลังการรุกรานครั้งนี้ถูกวางแผนไว้ล่วงหน้า เพราะกัมพูชาต้องการดึงนานาชาติเข้ามาแทรกแซงการเจรจาทวิภาคีเกี่ยวกับเรื่องการปักปันเขตแดน กัมพูชาต้องการยืมมือสหประชาชาติเข้ามาช่วยผลักดันแผนการบริหารจัดการปราสาทพระวิหาร นอกจากนี้ กัมพูชามักจะใช้ยุทธวิธีทางทหารเพื่อหวังผลการเมืองในประเทศ ขณะที่ไทยยึดมั่นสันติภาพ มุ่งที่จะลดความตึงเครียด และรักษาสัญญาตามกรอบการเจรจามาโดยตลอด โดยกรณีนี้ไทยและกัมพูชาสามารถยึดกรอบการเจรจาทวิภาคี ตามกลไกเอ็มโอยู 2543 และเจบีซี

    ทั้งนี้ เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศเปิดเผยถ้อยแถลงดังกล่าว สามารถดูได้ที่ http://www.mfa.go.th/web/3036.php

    ...

    รายละเอียด ถ้อยแถลงของ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก 14 กุมภาพันธ์ 2554 (คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)

    “ท่านประธานที่เคารพ

    ผมในนามคณะผู้แทนไทย ขอแสดงความยินดีอย่างจริงใจต่อการเข้ารับตำแหน่งประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ของท่าน อีกทั้งขอส่งความปรารถนาดีมายังมิตรทั้งหลายในคณะมนตรีความมั่นคงฯ ทุกท่านด้วย

    ผมขออนุญาตส่งคำทักทายของคณะผู้แทนไทยไปยัง ฯพณฯ ฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ผู้ซึ่งกระผมรู้จักคุ้นเคยเป็นอย่างดีในฐานะเพื่อนร่วมงานในอาเซียน และได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดมาหลายปี คณะผู้แทนของผมใคร่ขอทักทาย ฯพณฯ มาร์ตี นาตาเลกาวา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนในขณะนี้ด้วย

    ท่านประธานที่เคารพ

    ผมมา ณ ที่นี่ในวันนี้ด้วยความลำบากใจที่จะต้องกล่าวเกี่ยวกับประเทศไทยและประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นทั้งเพื่อนบ้านและสมาชิกร่วมครอบครัวอาเซียนของไทย เป็นเรื่องขัดกันเองที่น่าเศร้าที่เมื่อตอนเช้าของวันที่ 4 ก.พ.ที่เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา ผมได้ร่วมประชุมที่ประสบผลหลายด้านและเป็นกันเองกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาในระหว่างประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-กัมพูชา (JC) ผมออกจากที่ประชุมดังกล่าวด้วยความเชื่อในอนาคตที่สดใสของความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ ขณะเดียวกัน ก็เป็นเรื่องน่าเศร้าที่ประเทศสมาชิกอาเซียนสองประเทศต้องมาที่นี่เพื่อพูดเกี่ยวกับปัญหาทวิภาคีระหว่างกัน ทั้งๆ ที่อาเซียนได้มีข้อตัดสินใจร่วมกันไปแล้วว่า กรณีเช่นนี้ควรได้รับการแก้ไขระหว่างคู่กรณีที่เกี่ยวข้องโดยตรง

    ท่านประธานที่เคารพ

    ผมมาที่นี่เพื่อที่จะอธิบายให้มิตรประเทศในคณะมนตรีมั่นคงฯ ได้ทราบถึงข้อเท็จจริง โดยผมตั้งใจที่จะ 1.วางเรื่องที่อยู่เฉพาะหน้าเรานี้ให้อยู่ในมุมมองที่ถูกต้องเหมาะสม 2.แจ้งให้คณะมนตรีความมั่นคงฯ ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เกิดขึ้นจริงๆ ณ บริเวณหนึ่งของชายแดนไทย-กัมพูชาซึ่งมีความยาว 800 กิโลเมตร 3.เปิดเผยถึงสิ่งที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 4.ให้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเกี่ยวกับประเด็นสำคัญต่างๆ และลบล้างนิยายเรื่องเล่าที่ทางกัมพูชาได้กระพืออยู่ และสุดท้าย ชี้แจงถึงแนวทางที่ประเทศไทยและอาเซียนมุ่งมั่นที่จะดำเนินต่อไป

    ประเด็นแรก การวางเรื่องที่อยู่เฉพาะหน้าเรานี้ให้อยู่ในมุมมองที่ถูกต้องเหมาะสมนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ในการนี้ ผมขอให้เพื่อนๆ ในคณะมนตรีมั่นคงฯ ละวางภาพต่างๆ ที่ได้เห็นผ่านทางโทรทัศน์ รวมถึงสำบัดสำนวนที่ชวนทะเลาะต่างๆ ไว้ชั่วคราวก่อน และลองนึกภาพประเทศเพื่อนบ้านสองประเทศที่มีพรมแดนร่วมกันยาวประมาณ 800 กิโลเมตร หรือประมาณ 500 ไมล์ ตลอดแนวชายแดนร่วมกันนี้ ประชาชนยังคงไปมาหาสู่ ทำมาค้าขาย และมีกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันโดยสันติเป็นประจำทุกวันตลอดทั้งปี ชาวไทยและชาวกัมพูชาเป็นเหมือนญาติพี่น้องที่มีความคล้ายคลึงกันในด้านวัฒนธรรม และวิถีชีวิต

    แต่ก็เช่นเดียวกับในภูมิภาคต่างๆ ในโลก ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อนบ้านสองประเทศที่มีพรมแดนร่วมกันนั้นเป็นเหมือนพี่น้อง ประเทศไทยและประเทศกัมพูชาไม่ใช่ข้อยกเว้น พูดกันตามตรงแล้ว ความสัมพันธ์ของเรามีขึ้นมีลง มีทั้งช่วงเวลาที่ดีและไม่ดี แต่เมื่อใดก็ตามที่มีปัญหาเกิดขึ้น เราก็จะแก้ไขปัญหานั้นด้วยกันผ่านการปรึกษาหารือและพูดคุยกัน แล้วเราก็เดินหน้าต่อไปด้วยกันในลักษณะที่ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย เราสามารถเอาชนะความท้าทายระดับทวิภาคีต่างๆ ที่ผ่านมาได้ เพราะทั้งสองประเทศตระหนักว่า ในฐานะเพื่อนบ้านและสมาชิกของประชาคมอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้น เราจะต้องอยู่เคียงข้างกัน เราไม่สามารถย้ายประเทศหนีจากกันได้

    ประเด็นที่ 2 เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่จะต้องให้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ ระหว่างวันที่ 4-7 กุมภาพันธ์ ผมขอเน้นย้ำว่า ในแต่ละเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทหารไทยไม่เคยเป็นผู้ที่ยิงก่อน เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ กองกำลังทหารกัมพูชาได้เริ่มยิงโจมตีไปยังทหารไทยซึ่งอยู่ภายในดินแดนไทย ซึ่งหลังจากนั้นก็มีการโจมตีตามไปอีกด้วยอาวุธหนักมากมาย

    เป็นเรื่องน่าประหลาดมากที่การโจมตีของฝ่ายกัมพูชาเกิดขึ้นไม่กี่ชั่วโมงหลังการประชุม JC ที่ประสบผลในหลายด้านและเป็นกันเอง ซึ่งผมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาเป็นประธานร่วมกันที่จังหวัดเสียมราฐ การประชุมดังกล่าวมีข้าราชการระดับสูงฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหารของทั้งสองประเทศเข้าร่วม อันที่จริงแล้ว ผมและคณะได้รับทราบเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวหลังจากที่เครื่องบินลงที่ท่าอากาศยานกรุงพนมเปญเพื่อเดินทางไปเยี่ยมพลเมืองชาวไทยที่นั่น ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผลโดยสิ้นเชิงที่ทหารฝ่ายไทยจะเป็นฝ่ายเริ่มยิงไปยังกองกำลังทหารกัมพูชาก่อน ในขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและข้าราชการระดับสูงของไทยยังคงอยู่ในกรุงพนมเปญ

    นายกรัฐมนตรีกัมพูชาเองได้กล่าวในลักษณะที่แทบจะยอมรับเสียเองว่า กัมพูชาเป็นฝ่ายเริ่มยิงก่อน โดยในหนึ่งในสุนทรพจน์ที่กล่าวโจมตีไทยอย่างดุเดือดเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์นั้น นายกรัฐมนตรีกัมพูชาได้กล่าวว่า เป็นเรื่องไม่สำคัญว่า “ใครเริ่มยิงก่อน” ซึ่งจะเป็นเรื่องไม่สำคัญได้อย่างไร เมื่อฝ่ายหนึ่งเริ่มยิงไปยังพลเรือนและกองกำลังทหารของอีกฝ่ายหนึ่ง ก็คาดเดาได้ว่าอีกฝ่ายก็จะต้องป้องกันตนเองและประชาชนของตน

    ท่านประธานที่เคารพ

    ประเทศไทยรักษาคำมั่นของเราตามที่ตกลงกันเสมอและก็คาดหวังว่าฝ่ายกัมพูชาจะทำเช่นเดียวกัน แต่เป็นที่น่าเสียใจที่ความคาดหวังดังกล่าวได้ถูกทำลายลงโดยสิ่งที่ฝ่ายกัมพูชาได้กระทำในพื้นที่ ผมขอยกตัวอย่างดังนี้

    หลังจากเหตุการณ์ในช่วงบ่ายของวันที่ 4 กุมภาพันธ์ และอีกครั้งในช่วงเช้าตรู่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ ซึ่งทั้งสองเหตุการณ์ ฝ่ายกัมพูชาเป็นฝ่ายเริ่มก่อน ผู้บังคับการทหารระดับภูมิภาคของไทยและฝ่ายกัมพูชาได้พบกันที่ช่องสะงำในจังหวัดศรีสะเกษของประเทศไทยในช่วงสายของวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ในการพบกันดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายได้บรรลุข้อตกลงที่จะหยุดยิงทันทีและกำหนดมาตรการอื่นๆ เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดลง

    อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ เวลา 18.30 น. กองกำลังทหารกัมพูชาก็ได้ละเมิดข้อตกลงดังกล่าวโดยการยิงพลุส่องสว่างขึ้นไปบนท้องฟ้า ตามด้วยการยิงโจมตีด้วยอาวุธหนักไปที่ช่องโดนเอาว์และภูมะเขือในดินแดนไทย การโจมตีได้ขยายออกไปยังพื้นที่อื่นๆ ในดินแดนไทย ได้แก่ เขาสัตตะโสม พลาญยาว ช่องตาเฒ่า พื้นที่ใกล้ปราสาทพระวิหาร และหมู่บ้านภูมิซรอลซึ่งตั้งอยู่ลึกไปในดินแดนไทยประมาณ 5 กิโลเมตร หลังแนวที่ตั้งทางทหารของไทยเข้าไปมาก ในการโจมตีดังกล่าวนี้ กองกำลังกัมพูชาได้ใช้อาวุธหลายชนิด รวมถึงปืนอากา AK-47 จรวดอาร์พีจี และจรวดสนามหลายลำกล้องรุ่น BM-21 นอกจากนี้ ในช่วงเช้าวันที่ 7 กุมภาพันธ์ กองกำลังทหารกัมพูชาได้เริ่มยิงอีกครั้งมายังทหารไทยที่ประจำอยู่ที่ภูมะเขือและพลาญยาวในดินแดนไทย โดยใช้อาวุธต่างๆ อาทิ จรวดอาร์พีจี

    เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ ทำให้เกิดความเสียหายอย่างหนักต่อสิ่งปลูกสร้างของพลเรือนไทยหลายหลัง และมีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายคนทั้งพลเรือนและทหารไทย ทหาร 2 นาย และพลเรือน 2 คนซึ่งในจำนวนนี้เป็นเด็ก 1 คน ต้องสูญเสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว ชาวบ้านไทยผู้บริสุทธิ์ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณชายแดนในพื้นที่ที่ถูกโจมตีกว่า 20,000 คนต้องอพยพหนี ภาพของความเสียหายเหล่านี้ได้สร้างความสะเทือนใจแก่ประชาชนชาวไทยทั้งชาติ ซึ่งไม่เคยนึกมาก่อนว่า ในชั่วชีวิตของเรานี้ คนไทยจะต้องตกอยู่สภาพเป็นผู้อพยพในประเทศของตัวเอง

    ท่านประธานที่เคารพ ตลอดเหตุการณ์ทั้งหมดเหล่านี้ ฝ่ายไทยได้ใช้ความอดกลั้นอย่างถึงที่สุดเสมอมา แต่เมื่อต้องเผชิญกับการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนอย่างชัดเจน และการโจมตีโดยไม่มีการยั่วยุก่อนต่อประชาชนพลเรือนและทรัพย์สินของไทย ฝ่ายไทยก็ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการใช้สิทธิโดยชอบธรรมของเราในการปกป้องตนเอง ซึ่งในการดำเนินการดังกล่าว เราได้ใช้ความอดกลั้นอย่างที่สุด บนพื้นฐานของความจำเป็น พอเหมาะพอควร และมุ่งเป้าโดยตรงไปยังเป้าหมายทางทหารที่ฝ่ายกัมพูชาได้โจมตีออกมาเท่านั้น

    นอกจากนี้ พวกเรารู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ควรประณามที่ทหารกัมพูชาได้ใช้ปราสาทพระวิหารเพื่อวัตถุประสงค์ทางทหาร อันเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ แม้ว่าฝ่ายกัมพูชาจะปฏิเสธเรื่องดังกล่าว แต่ผมเชื่อว่าทั้งโลกได้เห็นกับตาแล้วจากรูปภาพหลายรูปที่แสดงทหารกัมพูชาใช้ปราสาทพระวิหารเป็นค่ายทหารและฐานในการโจมตี รูปภาพเหล่านี้ถ่ายและเผยแพร่โดยทั้งสื่อกัมพูชาและสื่อต่างประเทศ ซึ่งผมคงไม่จำเป็นต้องอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นนี้เนื่องจากรูปภาพเหล่านี้บอกความหมายได้ดีกว่าคำพูดมากมายนัก

    ท่านประธานที่เคารพ

    เรื่องนี้นำมาสู่ประเด็นที่ 3 ของผม เป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องมองเลยจากสิ่งที่กัมพูชาพูดไปยังเหตุจูงใจเบื้องหลังของการรุกรานที่มีการไตร่ตรองไว้ก่อนล่วงหน้านี้ เช่นเดียวกับละครบรอดเวย์ การรู้เค้าโครงของเรื่องเป็นสิ่งสำคัญ

    เค้าโครงของเรื่องก็คือ สำหรับกัมพูชาแล้ว กัมพูชาต้องการสร้างสถานการณ์บริเวณชายแดนใกล้ปราสาทพระวิหารเพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่ยุทธศาสตร์การเมืองที่จะเลี่ยงการเจรจาทวิภาคีที่กำลังดำเนินอยู่ และทำให้ประเด็นที่โดยสาระแล้วเป็นเรื่องทวิภาคีกลายเป็นประเด็นระหว่างประเทศ ตัวอย่างหนึ่ง คือ การโจมตีของกัมพูชาเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ซึ่งจงใจเริ่มต้นทันทีที่พระอาทิตย์ตก การใช้พลุส่องสว่างอย่างเป็นระบบเพื่อนำทางปืนใหญ่จากฝั่งกัมพูชาเป็นการเน้นย้ำอย่างปราศจากข้อสงสัยใดๆ ว่าการโจมตีนี้ได้มีการไตร่ตรองไว้ล่วงหน้าและวางแผนเป็นอย่างดีไว้ก่อนแล้ว ความรวดเร็วของการส่งหนังสือจากนายกรัฐมนตรีกัมพูชาถึงประธานคณะมนตรีความมั่นคงฯ เรียกร้องให้มีการประชุมเร่งด่วนเพียงไม่นานหลังจากที่การโจมตีของฝ่ายกัมพูชาเริ่มต้นขึ้น ก็เป็นการยืนยันลักษณะของการไตร่ตรองไว้ล่วงหน้าของการโจมตีนี้

    ท่านประธานที่เคารพ

    จุดมุ่งหมายสูงสุดของเค้าโครงเรื่องนี้มีความชัดเจน นั่นคือ เพื่อเลี่ยงการเจรจาทวิภาคีเกี่ยวกับเขตแดนที่กำลังดำเนินอยู่ และยืมมือสหประชาชาติเพื่อแผ้วถางทางสำหรับการที่กัมพูชาจะผลักดันให้ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งต่อไปที่ประเทศบาห์เรนในกลางปีนี้ ให้ความเห็นชอบแก่แผนบริหารจัดการสำหรับปราสาทพระวิหารของตนให้สำเร็จให้ได้แม้ว่าจะมีปัญหาอยู่อีกมากก็ตาม การเจรจาทวิภาคีกับประเทศไทยเกี่ยวกับเขตแดนบริเวณใกล้ปราสาทพระวิหารได้กลายเป็นอุปสรรคในการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายทางการเมืองในขณะนี้ของกัมพูชา ดังนั้นจึงต้องกำจัดให้พ้นทาง

    เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องชี้ให้เห็นด้วยว่า ตลอดช่วงเวลาในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของกัมพูชา ประเด็นเรื่องเขตแดนเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ใช้ได้ผลเสมอสำหรับการเมืองภายใน โดยเรื่องเขตแดนกับประเทศไทยถือเป็นไพ่ทางเลือกที่ใช้สะดวกและได้ผลมากที่สุด ประเทศไทยได้กลายเป็นผีร้ายที่ปลุกได้ง่ายสำหรับการเมืองภายในกัมพูชา วันนี้กลยุทธ์นี้ก็ถูกนำมาใช้อีกครั้งหนึ่ง

    ท่านประธานที่เคารพ

    ไม่มีสิ่งใดสามารถให้ความชอบธรรมแก่การใช้ยุทธวิธีทางทหารเช่นนี้เพื่อผลทางการเมืองได้ ไม่มีสิ่งใดสามารถให้ความชอบธรรมกับการเล่นเกมกับชีวิตของประชาชนเพื่อผลทางการเมือง คณะมนตรีความมั่นคงฯ ไม่ควรสนับสนุนการใช้กลยุทธ์เช่นนี้

    ผมขอเน้นย้ำ ณ ที่นี้ อย่างชัดเจนและจริงใจที่สุดว่า ประเทศไทยไม่มีความมุ่งร้ายต่อประเทศกัมพูชา เราจะมีได้อย่างไร? ทุกอย่างที่เรามีคือ มิตรภาพ ความสุจริตใจ และความจริงจังที่จะทำงานร่วมกับกัมพูชาเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ

    เราได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรักษาและส่งเสริมความสัมพันธ์ฉันมิตรกับกัมพูชา เราเคยให้ที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัยชาวกัมพูชานับล้านคน เราสนับสนุนกระบวนการสันติภาพในกัมพูชาโดยทหารไทยได้มีส่วนร่วมในความพยายามรักษาสันติภาพในกัมพูชาภายใต้สหประชาชาติและมีบทบาทแข็งขันในการบูรณะประเทศกัมพูชา เรามีความสัมพันธ์ด้านการค้าและการลงทุนกับกัมพูชามากมาย เราให้ความช่วยเหลือแก่กัมพูชาอย่างสม่ำเสมอในหลายสาขา อาทิ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สาธารณสุข เกษตรกรรม โครงสร้างพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี กล่าวสั้นๆ คือ สันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศกัมพูชา ก็คือสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศไทยนั่นเอง

    ดังนั้น ประเทศไทยจึงไม่มีความตั้งใจและไม่มีความปรารถนาที่จะยึดครองอาณาเขตของประเทศเพื่อนบ้าน เราเพียงแต่ต้องการที่จะอยู่อย่างสันติและสมัครสมานสามัคคีกับประเทศเพื่อนบ้านของเรา เราไม่ต้องการความขัดแย้ง เราไม่ต้องการเห็นคนบริสุทธิ์ได้รับบาดเจ็บ เสียชีวิต หรือได้รับผลกระทบในการดำรงชีวิต ถึงแม้ว่าประเทศกัมพูชาจะทุกข์ยากมามากกับปัญหาการเมืองภายในของตน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ากัมพูชาจะสามารถทำอะไรก็ได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงความถูกต้องหรือกฎหมายระหว่างประเทศ ในกรณีนี้ กัมพูชาโจมตีประเทศไทยเอาเสียเฉย ๆ แล้วก็กลับไปร้องแรกแหกกระเชอเรียกร้องความเห็นใจและกล่าวโทษประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นฝ่ายถูกโจมตี

    สำหรับคำขอให้หยุดยิงของกัมพูชานั้น ประเทศไทยไม่มีปัญหากับเรื่องดังกล่าว เพราะเรายึดมั่นในสันติภาพ ไม่เคยเปิดฉากโจมตีก่อน และรักษาข้อตกลงของฝ่ายเราในอันที่จะลดความตึงเครียดลงเสมอ คำขอนี้ควรมุ่งไปที่ฝ่ายกัมพูชามากกว่า เพื่อที่กัมพูชาจะได้รักษาสัญญาของฝ่ายตน ฝ่ายไทยจะยังคงใช้ความอดกลั้นอย่างที่สุดต่อการยั่วยุต่างๆ ต่อไป

    ท่านประธานที่เคารพ

    ผมขอกล่าวถึงประเด็นที่ 4 มีความจำเป็นที่ผมจะต้องลบล้างนิยายกล่าวอ้างต่าง ๆ ที่กัมพูชากระพืออยู่ ซึ่งได้สร้างความสับสนแก่มิตรของเราหลายฝ่าย

    ข้อ 1 ประเทศไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในกรณีปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 แล้วอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ศาลฯ ได้วินิจฉัยเองว่า ศาลฯ ไม่มีเขตอำนาจในประเด็นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา และปฏิเสธความพยายามของกัมพูชาที่จะขยายขอบเขตของคำพิพากษาให้ครอบคลุมประเด็นดังกล่าว แผนที่ที่กัมพูชาใช้เป็นพื้นฐานของความพยายามดังกล่าวก็มิได้รับการผนวกเข้ากับคำพิพากษาของศาลโลก ดังนั้น จึงไม่มีสถานะทางกฎหมายในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาตามที่กัมพูชากล่าวอ้าง เพียงแต่ได้รับการผนวกเข้ากับคำฟ้องของกัมพูชาต่อศาลฯ เท่านั้น

    ที่สำคัญคือ เป็นความเข้าใจร่วมกันระหว่างไทยกับกัมพูชาว่าจะหาข้อยุติในประเด็นเขตแดนโดยการเจรจาทวิภาคีภายใต้กรอบที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมไทย-กัมพูชา ปี 2543 เป็นข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมถึงการยอมรับของกัมพูชาว่า เขตแดนไทย-กัมพูชาตลอดแนวยังคงต้องหาข้อยุติโดยการเจรจาทวิภาคี บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ระบุไว้ชัดเจนว่า คณะกรรมการร่วมเขตแดนไทย-กัมพูชา (JBC) จะ “จัดทำแผนที่ของเขตแดนทางบกที่ได้มีการสำรวจและจัดทำหลักเขต” เป็นหนึ่งในงานของ JBC

    สำหรับประเทศไทย เรามีความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาชายแดนทั้งหมดรวมถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารโดยสันติและเป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศและความตกลงทวิภาคี ภายใต้กรอบและกลไกทวิภาคีที่มีอยู่ โดยเฉพาะ MOU และกลไก JBC ที่ได้กล่าวถึงข้างต้น ซึ่งทั้งสองประเทศได้ผูกพันตนเองอยู่

    2.ความตึงเครียดที่มีอยู่ต่อเนื่องนี้เป็นผลโดยตรงจากความพยายามฝ่ายเดียวของกัมพูชาในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ถึงแม้ว่าตามข้อเท็จจริง พื้นที่โดยรอบยังคงต้องขึ้นกับการเจรจาทวิภาคีภายใต้ JBC ก่อนหน้านี้ ชาวบ้านทั้งสองฝั่งซึ่งหลายคนเป็นญาติพี่น้องกัน ได้อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และนักท่องเที่ยวก็สามารถเยี่ยมชมปราสาทพระวิหารได้โดยไม่มีปัญหาใดๆ และโดยตระหนักถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของปราสาท และความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องบูรณะซ่อมแซมปราสาท ประเทศไทยก็ได้เคยเสนอที่จะช่วยเหลือกัมพูชาในการฟื้นฟูปราสาทนี้ ซึ่งเป็นข้อเสนอที่ยังคงมีอยู่

    ในขณะเดียวกัน ก็จำเป็นที่คณะกรรมการมรดกโลกและสำนักเลขาธิการ UNESCO ต้องระงับการดำเนินกิจกรรมเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ อันจะเป็นการขัดขวางหรือด่วนตัดสินผลงานของ JBC ทั้งนี้ เพื่อที่จะช่วยสร้างภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ได้อย่างยั่งยืน

    กัมพูชาเองได้ยอมรับอย่างเป็นทางการในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งล่าสุดที่กรุงบราซิเลียเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่ผ่านมาว่า แผนบริหารจัดการเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารจะขึ้นอยู่กับผลสรุปของงานของ JBC ดังนี้

    “รัฐภาคีกัมพูชาได้อธิบายในรายงานว่า จะมีแผนที่ที่เสร็จสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อได้จัดทำหลักเขตแดนทางบกในพื้นที่เสร็จสิ้น โดยการตกลงร่วมกันของรัฐภาคีกัมพูชาและไทยเกี่ยวกับผลสรุปสุดท้ายของงานของ JBC”

    3.กลไกทวิภาคียังมิได้ใช้อย่างเต็มที่จนถึงที่สุด และไทยยึดมั่นกับกระบวนการนี้โดยสุจริตใจ เพราะเราเชื่อว่า ประเด็นเขตแดนระหว่างสองประเทศควรได้รับการแก้ไขโดยประเทศที่เกี่ยวข้องสองประเทศเป็นการดีที่สุด ดังเห็นได้จากกรณีข้อพิพาททางเขตแดนหลายกรณีทั่วโลก กระบวนการทวิภาคีจะต้องใช้เวลาและไม่สามารถเร่งรัดได้ การแก้ไขปัญหาเขตแดนต้องใช้ความอดทนและความสุจริตใจที่จะบรรลุซึ่งผลที่เป็นที่ยอมรับร่วมกันได้ ดังเช่นตัวอย่างของสาธารณรัฐประชาชนจีนและสหพันธรัฐรัสเซียที่สามารถตกลงกันได้ในประเด็นเขตแดนในปี 2551 ภายหลังจากที่ได้เจรจากันนานกว่า 40 ปี

    ประเทศไทยได้รอคอยกว่า 30 ปีเพื่อให้กัมพูชาได้แก้ไขปัญหาภายในก่อนที่จะสามารถเริ่มเจรจาเกี่ยวกับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกได้ ประเทศไทยเข้าใจข้อจำกัดของกัมพูชาในขณะนั้น เรามิได้กดดันกัมพูชาจนกระทั่งกัมพูชาพร้อม

    เกี่ยวกับเรื่องนี้ ประเทศไทยขอย้ำว่า รัฐบาลไทยไม่เคยมีความตั้งใจที่จะถ่วงเวลาการให้ความเห็นชอบบันทึกรายงานการประชุม JBC 3 ครั้งที่ผ่านมาโดยรัฐสภา บันทึกรายงานการประชุมดังกล่าวต้องเสนอต่อรัฐสภา และขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภาตามกระบวนการรัฐธรรมนูญของไทย

    เช่นเดียวกับประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ รัฐบาลไทยในฐานะฝ่ายบริหารไม่สามารถสั่งการฝ่ายนิติบัญญัติได้ อย่างไรก็ดี รัฐบาลไทยได้พยายามทุกวิถีทางเพื่อให้มั่นใจว่า รัฐสภาจะให้ความเห็นชอบรายงานการประชุมในโอกาสแรก ผมยินดีที่จะแจ้งต่อคณะมนตรีฯ ว่า ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งรัฐสภาเป็นผู้แต่งตั้งให้พิจารณาร่างบันทึกรายงานการประชุม JBC ได้ประกาศว่า คณะกรรมาธิการฯ ได้สรุปข้อพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว และจะเสนอข้อพิจารณาต่อรัฐสภาในเร็วๆ นี้ ดังนั้น จึงไม่เป็นการเหมาะสมที่กัมพูชาจะด่วนตัดสินการพิจารณาของรัฐสภาไทยเป็นการล่วงหน้า

    เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว รัฐสภาไทยได้เห็นชอบข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญที่รัฐบาลเป็นผู้เสนอ ในประเด็นเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำหนังสือสัญญา ภายหลังที่ได้พิจารณากันเป็นเวลานาน การแก้ไขดังกล่าวช่วยขจัดความไม่แน่นอนในกระบวนการจัดทำหนังสือสัญญา นี่ถือเป็นอีกหลักฐานหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจริงของรัฐบาลไทย

    ผมประสงค์จะชี้ให้เห็นด้วยว่า ในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-กัมพูชาที่กัมพูชาเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554 ดังที่สะท้อนอยู่ในรายงานการประชุมอย่างเป็นทางการ กัมพูชาได้แสดงความเข้าใจในกระบวนการภายในทางด้านรัฐสภาของไทย และยังได้แสดงความหวังว่ากระบวนการจะเสร็จสิ้นโดยเร็ว เพื่อทั้งสองฝ่ายจะได้ดำเนินการเกี่ยวกับงาน JBC ต่อได้อย่างรวดเร็วต่อไป จึงเป็นที่น่าพิศวงที่เพียงแค่ช่วงเวลาเพียง 10 วันหลังจากนั้น รัฐบาลกัมพูชาได้เปลี่ยนใจไปเป็นตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง

    ผมขอเน้นด้วยว่า ประเทศไทยเป็นสังคมที่เปิดกว้าง และในฐานะรัฐบาลที่โปร่งใสและมีความรับผิดชอบในสังคมประชาธิปไตย รัฐบาลไทยมีหน้าที่ต้องรับฟังทุกความเห็นในสังคม เพื่อสะท้อนให้เห็นความรับผิดชอบนี้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมเองได้ใช้เวลา 17 ชั่วโมงในรัฐสภาในการตอบคำถามสมาชิกรัฐสภาเกี่ยวกับประเด็นนี้ ประเทศไทยหวังว่าบรรดามิตรของเราจะเคารพกระบวนการประชาธิปไตยของเรา

    ในการนี้ แม้ว่าบันทึกรายงานการประชุม JBC จะยังคงอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา รัฐบาลไทยก็ได้ยื่นข้อเสนอหลายข้อ โดยสุจริตใจ ต่อกัมพูชาให้จัดการประชุม JBC เพื่อผลักดันงานที่เกี่ยวข้องกับเขตแดนทางบก เป็นที่น่าเสียใจว่าข้อเสนอทั้งหมดของเราถูกปฏิเสธ ล่าสุดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554 ประเทศไทยได้ยื่นข้อเสนอต่อกัมพูชาอีกครั้งให้จัดการประชุม JBC ในประเทศไทยในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนนี้ กัมพูชาได้ตอบรับข้อเสนอ แต่เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554 เราได้รับแจ้งจากกัมพูชาอีกครั้งว่าไม่ต้องการประชุม อย่างไรก็ดี เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสุจริตใจและความตั้งใจจริงที่จะแก้ไขประเด็นปัญหาปัจจุบันด้วยการเจรจาอย่างสันติ เราได้ส่งหนังสือถึงกัมพูชาเรียกร้องให้กลับมาเข้าร่วมกระบวนการ JBC ตามที่กัมพูชาได้ตกลงไว้ก่อนหน้านี้ ผมขอเรียกร้องให้มิตรฝ่ายกัมพูชาของผมตอบรับคำเชิญนี้เพื่อเป็นการแสดงถึงความสุจริตใจ

    4.ประเทศไทยขอปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงถึงข้อกล่าวหาที่ไร้หลักฐานของกัมพูชาที่ว่าประเทศไทยใช้ระเบิดพวงในระหว่างการปะทะกันเมื่อเร็วๆ นี้ ประเทศไทยให้การสนับสนุนความพยายามในการลดกำลังอาวุธอย่างแข็งขัน ซึ่งรวมถึงการกำจัดอาวุธระเบิดพวง เรากำลังพิจารณาอย่างจริงจังที่จะเข้าร่วมอนุสัญญาว่าด้วยระเบิดพวง

    ท่านประธานที่เคารพ

    มาถึงประเด็นสุดท้ายของผม นั่นคือ แนวทางต่อไปที่ประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มุ่งมั่นที่จะดำเนินต่อไป

    ผมขอยืนยันต่อคณะมนตรีฯ ว่า แม้ว่าจะมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้และไม่ว่าจะน่าสลดใจเพียงใด ประเทศไทยก็ยังคงเชื่อว่าการร่วมมือกันบนพื้นฐานของมิตรภาพและความเป็นเพื่อนบ้านที่ดีเป็นวิธีเดียวที่จะทำให้ทั้งสองประเทศก้าวผ่านปัญหาในปัจจุบันไปได้เพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศทั้งสอง ดังที่ผมได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชามีทั้งช่วงขึ้นและช่วงลง แต่ปัญหาต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นก็ได้รับการยับยั้งและแก้ไขอย่างประสบผลเสมอมา ในครั้งนี้ก็ไม่แตกต่างกัน

    การปะทะกันบริเวณชายแดนที่เกิดขึ้นเมื่อต้นเดือนนี้ จำกัดทั้งในแง่พื้นที่และในแง่ระยะเวลา สถานการณ์ในขณะนี้ได้สงบลงแล้ว ชาวบ้านได้ทยอยเดินทางกลับบ้านและเริ่มกลับเข้าสู่วิถีชีวิตตามปกติ ประเทศไทยยึดมั่นที่จะดำเนินการทุกอย่างที่สามารถกระทำได้ต่อไปเพื่อทำให้มั่นใจว่าจะมีความสงบที่ยั่งยืนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ อันที่จริง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทยมีกำหนดการที่จะเดินทางเยือนกรุงพนมเปญในวันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์นี้ เพื่อเป็นประธานในพิธีเปิดงานแสดงสินค้าไทย (Thailand Trade Fair) ประจำปี ณ กรุงพนมเปญ ร่วมกับรองนายกรัฐมนตรีของกัมพูชา โดยในระหว่างที่พำนักในกรุงพนมเปญ รองนายกรัฐมนตรีไทยมีกำหนดการที่จะเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีกัมพูชาด้วย

    ในขณะเดียวกัน เราขอขอบคุณต่อการสนับสนุนและกำลังใจจากครอบครัวอาเซียน เรายินดีต่อการเยือนกัมพูชาและไทยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียน เพื่อปรึกษาหารือเมื่อวันที่ 7 และ 8 กุมภาพันธ์ตามลำดับ เราเห็นพ้องกับข้อสังเกตของประธานอาเซียนว่า ปัญหาระหว่างไทยและกัมพูชาโดยสาระแล้วเป็นประเด็นทวิภาคี และทั้งสองประเทศควรแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธีผ่านกลไกการหารือทวิภาคี โดยที่ภูมิภาคสามารถให้การสนับสนุนและกำลังใจได้ตามความเหมาะสม เช่นเดียวกับกัมพูชา เราได้เห็นพ้องด้วยกับข้อเสนอของประธานอาเซียนที่จะจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ณ กรุงจาการ์ตา ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554

    ท่านประธานที่เคารพ

    โดยสรุป คณะผู้แทนของผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า ประเทศไทยและกัมพูชาต้องมองไปสู่อนาคตด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อพวกเรากำลังก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน เราตระหนักว่า สายสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงไทยและกัมพูชาเข้าไว้ด้วยกันนั้น ยิ่งใหญ่กว่าความแตกต่างที่แบ่งแยกทั้งสองประเทศมากนัก เราไม่สามารถเคลื่อนย้ายหนีกันไปได้ เราต้องอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ การกระทำใดๆ ที่ไม่บังควรเพียงเพื่อหวังผลทางการเมืองในระยะสั้นจะสุ่มเสี่ยงต่อการสร้างรอยแผลเป็นที่บาดลึกอีกแผลหนึ่งในความรู้สึกของประชาชนของทั้งสองประเทศ ประชาชนผู้ซึ่งจะต้องอาศัยอยู่ร่วมกันต่อไปอีกนานหลังจากการประชุมนี้เสร็จสิ้นลงไปแล้ว

    ประเด็นเบื้องหน้าเราในวันนี้ ในสาระแล้วเป็นปัญหาทางการเมือง และในที่สุดแล้วก็จำเป็นต้องได้เจตจำนงทางการเมืองจากทั้งสองฝ่ายเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ประเทศไทยยังคงยึดมั่นที่จะทำงานร่วมกับกัมพูชาอย่างใกล้ชิดและโดยสุจริตใจ ผ่านกรอบการเจรจาทวิภาคีต่างๆ ทั้งหมดที่มีอยู่ ประเทศไทยได้ยื่นมือออกมาแล้วและกำลังรอคอยการการแสดงเจตจำนงทางการเมืองอย่างจริงใจจากกัมพูชา เราหวังว่าเมื่อกัมพูชาได้คิดทบทวนอย่างถี่ถ้วนเกี่ยวกับอนาคตในระยะยาวของความสัมพันธ์ในภาพรวมของเรา รวมทั้งผลประโยชน์ของภูมิภาคอย่างดีแล้ว กัมพูชาจะตอบรับความปรารถนาดีและความจริงใจของเรา ดังนั้น ผมจึงใคร่ขอเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงฯ ให้การสนับสนุนแก่การดำเนินการอย่างต่อเนื่องของกระบวนการทวิภาคี ซึ่งจะสามารถทำให้เข้มแข็งขึ้นได้จากการสนับสนุนและกำลังใจจากครอบครัวอาเซียน แนวทางนี้จะเป็นประโยชน์สูงสุดทั้งต่อประเทศไทยและต่อประเทศกัมพูชา รวมทั้งภูมิภาคโดยรวมด้วย

    ผมขอขอบคุณ ท่านประธาน”

    *****************
    14 กุมภาพันธ์ 2554
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กุมภาพันธ์ 2011
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    UNโยนอาเซียนแก้พิพาทไทย-เขมร ร้องทำข้อตกลงหยุดยิงถาวร
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>15 กุมภาพันธ์ 2554 02:01 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    ทหารเขมรทำบังเกอร์ ณ ปราสาทพระวิหาร
    เอเอฟพี/ซินหัว/ASTVผู้จัดการออนไลน์ - คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเมื่อวันจันทร์(14) เรียกร้องกัมพูชาและไทย อดกลั้นอย่างที่สุด หลีกเลี่ยงพฤติกรรมอันซ้ำเติมสถานการณ์และให้สองฝ่ายทำข้อตกลงหยุดยิงถาวร พร้อมยืนยันจุดยืนให้เป็นเรื่องภูมิภาคจัดการกันเอง

    นางมาเรีย ลุยซา ริเบโร วิออตติ ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ(UNSC) จากบราซิล เรียกร้องหลังจากประชุมลับร่วมกับรัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา ไทยและอินโดนีเซีย ซึ่งพยายามเป็นคนกลางคลี่คลายข้อขัดแย้งนี้

    "สมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงฯ แสดงความวิตกอย่างยิ่งต่อเหตุปะทะทางทหารเมื่อเร็วๆนี้และเรียกร้องขอให้ทั้งสองฝ่ายอดกลั้นอย่างถึงที่สุด รวมทั้งหลีกเลี่ยงการกระทำใดๆที่อาจเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์" วิออตติกล่าว "นอกจากนี้สาชิกของคณะมนตรีฯ ยังเรียกร้องเพิ่มเติมให้ทั้งสองฝ่ายทำข้อตกลงหยุดยิงถาวรและสนับสนุนข้อตกลงนี้อย่างเต็มที่ และคลี่คลายสถานการณ์โดยสันติวิธีและผ่านการเจรจาที่เป็นผลอย่างแท้จริง"

    นางวิออตติ ยังบอกด้วยว่าทางUNSC ได้สนับสนุนความพยายามอย่างแข็งขันของอาเซียนในประเด็นนี้และขอเรียกร้องให้ทั้งสองประเทศให้ความร่วมมือกับอาเซียนเช่นนี้ต่อไป

    UNSC แสดงความยินดีและชื่นชมอาเซียนที่จะมีแผนจัดประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์นี้ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยในขั้นนี้ ยูเอ็นสนับสนุนการเจรจาแบบสองฝ่ายโดยมีอาเซียนเป็นผู้สนับสนุน และจะไม่มีการส่งตัวแทนของยูเอ็นไปร่วมประชุมอาเซียนแต่อย่างใด

    ด้านนายมาร์ตี นาตาเลกาวา รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย ย้ำท่าทีเดิมของอาเซียนว่า สนับสนุนให้ทั้งสองประเทศหาข้อตกลงร่วมกันผ่านการเจรจาระดับทวิภาคี โดยมีอาเซียนเป็นผู้ประสานและให้ความช่วยเหลือ สำหรับการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนในวันที่ 22 กุมภาพันธ์นี้ ประเด็นการหารือสำคัญ จะได้แก่การหากลไกที่จะนำไปสู่การหยุดยิงอย่างถาวร ซึ่งรวมถึงการแก้ปัญหาเรื่องของการสื่อสารด้วย ทั้งนี้กัมพูชาได้หยิบยกเรื่องทหารรักษาสันติภาพสหประชาชาติในพื้นที่พิพาทด้วย แต่ยูเอ็นไม่ได้มีปฏิกริยาแต่อย่างใด

    นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แถลงข่าวภายหลังการประชุม UNSC เสร็จสิ้นลง โดยกล่าวว่า รู้สึกยินดีที่ทาง UNSC ให้ประชาคมอาเซียนได้จัดการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งครั้งนี้ ซึ่งก็เป็นไปตามจุดยืนที่ไทยยึดมาตลอดว่าควรจะเจรจาในระดับทวิภาคี ส่วนการกำหนดวันเจรจาทวิภาคีไทย-กัมพูชา เมื่อใด คงต้องรอการประชุมอาเซียนที่จาการ์ตาก่อน ซึ่งขณะนี้ทางไทยและกัมพูชาก็ได้มีการพูดคุยกันอย่างไม่เป็นทางการอยู่ตลอดเวลา

    ส่วนนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า การประชุม UNSC ได้จบลงแล้ว โดยหลายประเทศเห็นด้วยที่จะให้มีการเจรจาทวิภาคี ไทย-กัมพูชา และท่าทีของ UNSC ก็เป็นไปในทิศทางที่อยากให้สองประเทศกลับมาพูดคุยกัน ซึ่งเรายืนยันว่ากลไก หรือกรอบเจรจาที่มีอยู่ในระดับทวิภาคียังสามารถใช้ได้ ก่อนหน้านี้เรากำหนดการเจรจาในกรอบเจบีซีไว้สัปดาห์สุดท้ายของเดือนนี้ (ก.พ.) แต่ทางกัมพูชาปฏิเสธ และมีการนำเรื่องเข้าที่ประชุม UNSC ก่อน ดังนั้น คงจะไปคุยกันต่อในเวทีที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ที่จาการ์ตา วันที่ 22 ก.พ.นี้

    Around the World - Manager Online - UN
     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อียิปต์ซวนเซ ชุมนุมต้านมูบารัคเพิ่งจบสารพัดม็อบโผล่ซ้ำเติม
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>15 กุมภาพันธ์ 2554 04:04 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    [​IMG]การชุมนุมทางการเมืองที่โค่นล้มรัฐบาลของฮอสนี มูบารัค แห่งอียิปต์ แปรเปลี่ยนเป็นการหยุดงานประท้วงทั่วประเทศ

    เอเอฟพี - การชุมนุมทางการเมืองที่โค่นล้มรัฐบาลของฮอสนี มูบารัค แห่งอียิปต์ แปรเปลี่ยนเป็นการหยุดงานประท้วงทั่วประเทศเรียกร้องขึ้นค่าแรงและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีขึ้น

    พนักงานธนาคาร ภาคการขนส่ง พลังงาน ท่องเที่ยว อุตสาหกรรมสิ่งทอ สื่อมวลชนของรัฐและหน่วยงานต่างๆของรัฐ นัดหยุดงานประท้วงเพื่อเรียกร้องขึ้นเงินเดือนและสภาพการทำงานที่ดีขึ้น จากการเปิดเผยของ คามาส แอบบาส จากสหภาพแรงงานระบุ "มันเป็นเรื่องยากที่จะคาดคะเนของตัวเลขที่แท้จริงของผู้ประท้วงหรือบอกได้ว่ามีการประท้วงที่ใดบ้าง"

    สภาพแรงงานส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การบัญชาของกลุ่มคนซึ่งมีความใกล้ชิดกับรัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีมูบารัค ทำให้คนงานเหล่านั้นมีช่องทางในการร้องทุกข์ในข้อเจ็บใจน้อยมาก "ในหลายพื้นที่ แรงงานเรียกร้องให้ปลดบุคคลระดับอาวุโส ซึ่งพวกเขากล่าวหาว่าคอรัปชัน"

    ช่องว่างของเงินเดือนระหว่างฝ่ายบริหารกับเจ้าหน้าที่คือประเด็นหลักของผู้ชุมนุม ขณะเดียวกันคนงานสัญญาจ้างชั่วคราวจำนวนมากยังเรียกร้องถึงข้อคุ้มครองทางกฎหมายและผลประโยชน์ที่เหมาะสมกว่าเดิม

    ในกรุงไคโร แรงงานหลายพันคนชุมนุมกันรอบนอกสหพันธ์สหภาพแรงงานอียิปต์ซึ่งควบคุมโดยภาครัฐ เรียกร้องให้ประธาน ฮุสเซน เมกาวาร์และบอร์ดบริหาร ลาออกในข้อกล่าวหาคอร์รัปชัน ขณะที่พนักงานดูแลด้านการขนส่งสาธารณะอีกอย่างน้อย 3,000 คน ก็ยังคงหยุดงานประท้วงเป็นวันที่ 5 เรียกร้องขึ้นเงินเดือนและปลดคณะบริหาร

    ณ ไคโร โอเปรา เฮาส์ เจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงาน ชุมนุมประท้วงเรียกร้องให้รัฐมนตรี ไอชา อับเดล ฮาดี สมาชิกพรรคเนชันแนล เดโมแครต ของมูบารัค ลาออก โดยกล่าวหาว่ารัฐมนตรีรายนี้คอรัปชันและเพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องขอขึ้นเงินเดือน นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าคณะแพทย์จากโรงพยาบาล Qasr al-Aini ได้ผละงานและปิดกั้นถนนสายหลักใจกลางไคโร ประท้วงเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมการทำงานเช่นกัน

    ที่อเลกซานเดรีย พนักงานธนาคาร เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ห้างสรรพสสินค้าเอกชนและคนงานตามโรงงานต่างๆ มีการจัดชุมนุมเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน ส่วนในเคอร์ดาสซา ทางใต้ของเมืองหลวง คนงานของโรงงานสิ่งทอแห่งหนึ่งกว่า 5,000 คน นั่งหยุดงานประท้วงเรียกร้องปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานและแก้ไขสัญญาจ้างชั่วคราวเป็นลูกจ้างประจำ

    ปัญหาการประท้วงของขึ้นค่าแรงและผลประโยชน์ทางสุขภาพ ยังลุกลามไปยังคนงานหน่วยฉุกเฉินราว 500 คนในกิซา ขณะที่ตำรวจในไนล์ เดลตา ตำรวจจราจรปฏิเสธมาทำงานในวันจันทร์(14) เพื่อเรียกร้องขอขึ้นเงินเดือน

    นอกจากนี้ชาวบ้านในบันฮา ยังปิดกั้นถนนประท้วงกรณีมหาวิทยาลัย เข้ายึดที่ดินของพวกเขา ส่วนที่ เบนี-ซูเอฟ ทางใต้ของไคโร ราษฎรหลายพันคนรวมตัวกันนอกศาลากลางจังหวัดเรียกร้องขอที่อยู่อาศัยจากทางการ

    Around the World - Manager Online -
     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เพนตากอนเผย สงครามอัฟกันทำสหรัฐฯ สูญเงินวันละ $300 ล้าน
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>15 กุมภาพันธ์ 2554 10:48 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    โรเบิร์ต เกตส์ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ

    เอเอฟพี - กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เผย การถอนทหารอเมริกันออกจากอิรักจะช่วยลดงบประมาณกลาโหมลงได้ในปี 2012 แต่สงครามในอัฟกานิสถานจะยังทำให้สหรัฐฯ ต้องใช้เงินวันละเกือบ 300 ล้านดอลลาร์ทีเดียว

    ในร่างงบประมาณของเพนตากอนระบุว่า ค่าใช้จ่ายในการทำสงครามอิรัก และอัฟกานิสถานจะลดลง 117,800 ล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณ 2012 โดยลดลงจากปีก่อนหน้า 41,500 ล้านดอลลาร์

    ขณะที่การทำสงครามในอิรักเริ่มแผ่วลง สหรัฐฯ จึงสำรองงบประมาณสำหรับปฏิบัติการ "โอเปอเรชัน นิว ดอว์น" ไว้ 10,600 ดอลลาร์ โดยยังคงทหารอเมริกันไว้อีก 50,000 นาย จนกว่าจะถอนทัพได้ภายในสิ้นปี 2011 นี้

    ส่วนค่าใช้จ่ายภารกิจในอัฟกานิสถานนั้นอยู่ที่ 107,300 ล้านดอลลาร์ ลดลงเล็กน้อยจากงบประมาณเดิมที่เคยเสนอขอไป 113,500 ล้านดอลลาร์

    ทั้งนี้ ประธานาธิบดีบารัค โอบามาให้สัญญาว่าจะเริ่มถอนกำลังทหารราว 97,000 นายที่ประจำการอยู่ในอัฟกานิสถานกลับประเทศในเดือนกรกฎาคม ทว่าร่างงบประมาณ ที่เปิดเผยในวันจันทร์ (14) ที่ผ่านมา ไม่ได้ระบุถึงแผนการถอนทัพแต่อย่างใด โดยเอกสารของเพนตากอนนั้นคาดว่าจะมีทหาร 98,250 นายประจำการต่อไปจนถึงสิ้นปี 2012

    ด้านโรเบิร์ต เกตส์ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ตัดสินใจที่จะจัดสรรงบประมาณไว้ เนื่องจากยังเร็วเกินไปที่จะชี้ชัดว่าจะถอนทหารจำนวนเท่าไรหลังเดือนกรกฎาคม

    งบประมาณสำหรับสงครามอัฟกานิสถาน และอิรักนั้นรวมถึงค่าใช้จ่ายในปฏิบัติการต่างๆ 79,200 ล้านดอลลาร์ อีก 10,100 ล้านดอลลาร์เพื่อรับมือกับภัยคุกคามจากการวางระเบิด ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้กองกำลังทหารของนาโตเสียชีวิตมากที่สุด

    นอกจากนี้ งบประมาณอีก 11,900 ล้านดอลลาร์เตรียมไว้เพื่อการซ่อมแซม และเปลี่ยนเครื่องไม้เครื่องมือที่สูญหาย หรือถูกทำลาย ตลอดจนการฝึกฝน และติดอาวุธให้แก่กองกำลังรักษาความมั่นคงของอัฟกันอีก 12,800 ล้านดอลลาร์ด้วย

    Around the World - Manager Online - ྐྵ
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เขมรโอ่ แม้จะมี “สงคราม" ชายแดนไทย นักท่องเที่ยวไม่ลด
    [​IMG]

    ภาพแฟ้ม 31 ส.ค.2553 นักท่องเที่ยวจากเอเชียตะวันออกถ่ายรูปหมู่กันที่บริเวณริมบึงด้านหน้าปราสาทนครวัด รัฐมนตรีกระทรวงท่องเที่ยวกล่าวว่า แม้จะมีควาามตึงเครียดและมี "สงคราม" ที่ชายแดนไทย แต่นักท่องเที่ยวยังคงเดินทางเข้ากัมพูชาต่อเนื่อง กลุ่มที่เดินทางผ่านด่านชายแดนติดกับไทยเพิ่มถึง 10% ในเดือน ม.ค.ปีนี้ แม้นักท่องเที่ยวชาวไทยจะลดลงแต่ไม่ส่งผลกระทบโดยรวม.-- . REUTERS/Chor Sokunthea.

    ASTVผู้จัดการออนไลน์-- ถึงแม้ว่าจะเกิดความตึงเครียดและเกิด "สงคราม" ที่ชายแดนกับไทยก็ตาม แต่จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ากัมพูชาไม่ได้ลดลง รวมทั้งชาวต่างชาติที่เดินทางผ่านชายแดนไทยเข้ากัมพูชา นายทองคูน (Thong Khon) รัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยว กล่าวถึงเรื่องนี้กับสำนักข่าวเอเคพีของทางการ

    รัฐมนตรีกัมพูชายอมรับว่านักท่องเที่ยวชาวไทยลดลง แต่นักท่องเที่ยวชาติอื่นๆ เดินทางเข้าไปเที่ยวชมปราสาทนครวัด เพิ่มขึ้น จำนวนผู้ที่เดินทางผ่านท่าอากาศยานเสียมราฐมากที่สุดเป็นชาวจีน เกาหลี ญี่ปุ่น กับชาวยุโรป ในบางวันมีจำนวนถึง 5,000 คน

    นักท่องเที่ยวชาวไทยมีจำนวนเพียงน้อยนิด เมื่อส่วนนี้ลดลงไปอีกจึงไม่ส่งผลกระทืบอะไรต่อการท่องเที่ยวของกัมพูชา ในขณะนักท่องเที่ยวที่ไม่ใช่ชาวไทยเดินทางผ่านด่านชายแดนสองประเทศมีจำนวนมากขึ้น ในเดือน ม.ค.นี้มีอัตราเพิ่มถึง 10% นายทองคูนกล่าวโดยไม่ได้ให้ตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวที่อ้างถึง

    อย่างไรก็ตามนายฮอร วันดี (Hor Vandy) ประธานคณะทำงานการท่องเที่ยวซึ่งเป็นหน่วยงานกึ่งภาครัฐกล่าวว่า ถ้าหาก "สงคราม " ระหว่างไทยและกัมพูชายังคงลากยาวต่อไป ก็อาจส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวได้ รวมทั้งการค้าขายข้ามแดนระหว่างสองประเทศด้วย

    สัปดาห์ที่แล้วผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวได้รวมตัวกันออกแถลงการณ์สนับสนุนนโยบายของรัฐบาล ที่ขอให้องค์การสหประชาชาติเข้าแทรกแซง "สงคราม" ระหว่างไทยกับกัมพูชา และ องค์การยูเนสโกเข้าปกป้องคุ้มครองปราสาทพระวิหารที่เป็นมรดกโลก เอเคพีกล่าว

    ตามตัวเลขอย่างเป็นทางการปี 2553 มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ากัมพูชาประมาณ 2.1 ล้านคนเศษ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2552 การท่องเที่ยวทำรายได้ให้ประเทศมากเป็นอันดับ 2 ถัดจากการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป.

    IndoChina - Manager Online -
     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เจอก๊าซพวยพุ่งอีกในแหล่งบนบก พม่าไม่คุยไม่โอ่รวยเอาๆ
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>15 กุมภาพันธ์ 2554 02:49 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    แท่นขุดเจาะที่หลุมเยตากุนในแหล่งอ่าวเมาะตะมะซึ่งบริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียมฯ จากไทยร่วมถือหุ้นอยู่ด้วย ส่งควันพวยพุ่งในภาพแฟ้มจากเว็บไซต์ ในแหล่งนี้ยังมีหลุมยาดานาอีกแห่งหนึ่งผลิตก๊าซส่งขายให้ไทยมูลค่ากว่า 2,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี พม่าจะเริมผลิตก๊าซจากหลุมใหญ่ที่สุดในทะเลเบงกอลในเร็วๆ นี้ซึ่งจะขายให้จีนทั้งหมด ขณะเดียวกันก็เริ่มพบมั้งก๊าซและน้ำมันดิบในแหล่งบนบกอีก.

    ASTVผู้จัดการออนไลน์-- พม่าประกาศการค้นพบก๊าซในแหล่งบนบกอีกแห่งหนึ่งในเขตสะกาย ซึ่งเป็นหลุมใหญ่ที่สุดที่พบบนแผ่นดิน บริษัทร่วมทุนจากจีนเหมือนเจอแจ๊คพอต รัฐมนตรีสั่งเจาะทดสอบบ่อที่เหลือ หลังบ่อแรกพุ่งแรงวันละกว่า 2 ล้านลูกบาศก์ฟุต สื่อของทางการรายงานเรื่องนี้ในวันจันทร์

    บริษัทร่วมทุนระหว่างรัฐวิสาหกิจน้ำมันและก๊าซพม่า หรือ MOGE (Myanmar Oil and Gas Enterprise) กับ บริษัท SIPC Myanmar Petroleum ได้พบก๊าซในบ่อทดสอบติงกะโดง 1 (Thingadon 1) ในเขตเมืองมอนยอ (Monywa) รัฐสะกาย (Sagaing) ในชั้นทรายความลึก 6,972-7,000 ฟุต มีก๊าซพุ่งวันละ 2.1 ล้าน ลบ.ฟ.

    หนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์รายงานเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นการให้รายละเอียดรายงานสั้นๆ ชิ้นแรกเมื่อวันที่ 10 ก.พ.

    นายลุนติ รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานซึ่งได้ไปเยี่ยมชมกิจการถึงบ่อทดสอบติงกะโดง 1 ในวันอาทิตย์ได้บอกกับนายหลี่ย่งเซิง (Li Yongsheng) หัวหน้าเจ้าหน้าที่ของ SIPC ว่า จำเป็นจะต้องเร่งเจาะทดสอบบ่ออื่นๆ ที่เหลือ เพื่อประเมินปริมาณก๊าซทั้งหมด ก่อนจัดทำแผนการผลิตเพื่อนำขึ้นพลังงานอันล้ำค่าขึ้นมาใช้

    กระทรวงพลังงานกับ SIPC ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ SINOPEC หรือ China Petroleum and Chemical Group) กำลังเตรียมการเพื่อเจาะทดสอบบ่อป๊ะโทโลง 3 (Pahtolon 3) ป๊ะโทโลง 1-1 กับบ่อติงกะโดง 2 ในแปลง D (Block D) เดียวกัน สองฝ่ายจะร่วมกันผลิตและจำหน่ายก๊าซที่พบต่อไป สื่อของทางการกล่าว

    รายงานในอุตสาหกรรมนี้ประมาณกันว่าในแปลง D จะมีก๊าซอยู่ถึง 909 ล้านล้าน ลบ.ฟ. น้ำมันดิบอีก 7.16 ล้านบาร์เรล และการพบก๊าซครั้งนี้ เป็นการค้นพบมากที่สุดในแหล่งบนบกต่างๆ หนังสือพิมพ์ของรัฐบาลกล่าว

    เดือนที่แล้ว MOGE กับ SIPC ได้ร่วมกันประกาศพบน้ำมันดิบในบ่อใหญ่แปลง D เดียวกันนี้

    SINOPEC ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมกลั่นน้ำมันใหญ่ที่สุดของจีนเคยประกาศในเดือน ส.ค.ปีที่แล้วว่า ได้พบข้อบ่งชี้ที่ทำให้มั่นใจว่า ในแปลง D จะมีก๊าซปริมาณมหาศาล หลังจากพบในบ่อทดสอบป๊ะโตโลง 1 ก่อนหน้านั้น

    ปัจจุบันบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่จากจีนอีก 2 แห่ง คือ CNOOC กับ CNPC ก็กำลังสำรวจและขุดเจาะหาพลังงานในพม่าเช่นกัน ปัจจุบัน CNPC กำลังเร่งการก่อสร้างท่อส่งก๊าซและท่อส่งน้ำมันผ่านดินแดนพม่าไปยังมณฑลหยุนหนัน

    การก่อสร้างระบบท่อที่ใช้เงินลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์ เริ่มขึ้นในเดือน พ.ย.ปีที่แล้ว.

    IndoChina - Manager Online -
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    'จีน'หารือ'โคลอมเบีย'สร้างทางรถไฟเชื่อม'แปซิฟิก-แอตแลนติก'แข่งกับ'คลองปานามา'
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>15 กุมภาพันธ์ 2554 02:59 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    เอเอฟพี - จีนและโคลอมเบีย กำลังหารือกันเพื่อสร้างทางรถไฟที่จะเชื่อมชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก กับชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ของประเทศอเมริกาใต้แห่งนี้ อันจะทำให้มันกลายเป็นทางเลือกของการคมนาคมขนส่งอีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากการเดินเรือผ่านคลองปานามา ทั้งนี้ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์เมื่อวันจันทร์(14)

    รายงานของไฟแนนเชียลไทมส์ได้อ้างคำพูดของประธานาธิบดี ฮวน มานูเอล ซานโตส แห่งโคลอมเบีย ที่กล่าวว่า “มันเป็นข้อเสนอจริงๆ … และมันก็ค่อนข้างคืบหน้าไปมากทีเดียว” และ “การศึกษาต่างๆ (ของฝ่ายจีน) มีการคำนวณทำตัวเลขออกมาเป็นค่าใช้จ่ายในการขนส่งต่อตัน, ค่าใช้จ่ายในด้านการลงทุน พวกเขาทำเรื่องเหล่านี้ออกมาหมดแล้ว”

    เส้นทางรถไฟความยาว 220 กิโลเมตรสายนี้ จะวิ่งจากชายฝั่งแปซิฟิก ไปยังนครแห่งใหม่ใกล้ๆ เมือง การ์ตาจีนา ในภาคเหนือของโคลอมเบีย ซึ่งที่นั่นสินค้าจีนที่นำเข้ามามาจะถูกนำมาประกอบ เพื่อส่งออกอีกครั้งไปยังประเทศต่างๆ ทั่วอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ รายงานของไฟแนนเชียลไทมส์บอก และกล่าวด้วยว่า สำหรับเที่ยวเดินทางขากลับ ก็จะขนสินค้าพวกวัตถุดิบจากโคลอมเบีย ไปยังประเทศจีน

    “ผมไม่ต้องการทำให้เกิดการคาดหมายที่เกินความเป็นจริงนะ แต่มัน (ข้อเสนอนี้) สมเหตุสมผลมากๆ เลย” ไฟแนนเชียลไทมส์รายงานคำพูดของซานโตส “เอเชียเวลานี้คือเครื่องยนต์เครื่องใหม่ของเศรษฐกิจโลก”

    รายงานชิ้นนี้บอกว่า ข้อเสนอนี้เป็นเพียงหนึ่งในข้อเสนอต่างๆ เป็นชุดใหญ่ของฝ่ายจีน ที่มุ่งส่งเสริมเพิ่มพูนการคมนาคมขนส่งกับเอเชีย และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของโคลอมเบีย

    เอเอฟพีรายงานด้วยว่า ในเว็บไซต์ของสมาคมการขนส่งและการตลาดถ่านหินจีน ได้โพสต์รายงานข่าวชิ้นหนึ่งเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ระบุว่า ธนาคารเพื่อการพัฒนาจีน (ไชน่า ดีเวลอปเมนต์ แบงก์) และ กลุ่มการรถไฟจีน (ไชน่า เรลเวย์ กรุ๊ป) ได้ตกลงร่วมกันที่จะลงทุนเป็นมูลค่า 2,700 ล้านดอลลาร์ในด้านทางรถไฟที่โคลอมเบีย ทางรถไฟเส้นนี้จะเชื่อมแปซิฟิกกับแอตแลนติก และจะใช้ในการขนส่งถ่านหิน

    อย่างไรก็ดี เอเอฟพีบอกว่า ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่านี่เป็นโครงการเดียวกันกับที่ปรากฏในรายงานของไฟแนนเชียลไทมส์หรือไม่

    Around the World - Manager Online - '
     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อียิปต์ขุดรากถอนโคนระบอบ'มูบารัค' เยเมนมีปะทะล้มตาย-บาห์เรนเอาด้วย
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>14 กุมภาพันธ์ 2554 23:28 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    จอมพลโมฮัมหมัด ฮุสเซน ตันตอวี (แฟ้มภาพ)

    เอเอฟพี / เอเจนซี - คณะปกครองทหารของอียิปต์ซึ่งเข้ามาบริหารประเทศแบบรักษาการ จัดการขุดรากถอนโคนระบอบปกครองของประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ที่ฝังรากลึกมานานกว่า 3 ทศวรรษ ด้วยการสั่งยุบสภา, ยุติการใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน อีกทั้งยังให้คำมั่นกับประชาชนว่าจะให้พวกเขามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการปฏิรูปบ้านเมืองด้วยการจัดให้มีการลงประชามติด้วย อย่างไรก็ตาม กองทัพซึ่งเวลานี้เผชิญภาระหนักอึ้งเฉพาะหน้าในการฟื้นฟูความสงบเรียบร้อยให้กลับคืนโดยเร็วยังได้ยื่นคำขาดแก่ผู้ประท้วงที่กำลังเหลิงให้รีบสลายม็อบทันที ก่อนที่ทางการจะเริ่มใช้ไม้แข็ง ขณะที่สถานการณ์การประท้วงในเยเมนซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากอียิปต์ก็เริ่มร้อนระอุขึ้นเป็นลำดับ ส่วนบาห์เรนก็กลายเป็นรัฐอาหรับล่าสุดที่พลอยโดนหางเลขจากมรสุมการเมืองนี้เข้าให้แล้ว

    คณะกรรมการทหารสูงสุดของอียิปต์ (Supreme Council of the Armed Forces) ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 5 ระบุว่า ทางคณะกรรมการจะเข้ามาบริหารกิจการในประเทศเป็นการชั่วคราวรวมระยะเวลา 6 เดือน หรือจนกว่าการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาและประธานาธิบดีจะเสร็จสิ้นลง โดยที่มีการประกาศเป็นลายลักษณ์อักษรว่า จะจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 6 เดือนข้างหน้านี้

    นอกจากนี้ แถลงการณ์ฉบับนี้ซึ่งมีการประกาศผ่านทางสถานีโทรทัศน์ทางการ ยังยืนยันด้วยว่า รัฐมนตรีกลาโหม จอมพลโมฮัมหมัด ฮุสเซน ตันตอวี ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการทหารสูงสุดโดยตำแหน่งด้วยนั้น จะได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำของประเทศชั่วคราว และเป็นตัวแทนของอียิปต์ในเวทีสากลในทางพฤตินัยตั้งแต่บัดนี้

    แถลงการณ์ฉบับดังกล่าว ยังระบุอีกว่า กองทัพจะจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หลังจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านี้ได้เอื้อประโยชน์แก่พรรคเนชั่นแนล เดโมแครติก ปาร์ตี้ (เอ็นดีพี) ของมูบารัค จนกระทั่งสามารถผูกขาดยึดอำนาจบริหารประเทศมายาวนาน ทั้งนี้หากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ร่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมโดยการลงประชามติรับรองก่อนที่จะประกาศใช้อย่างเป็นทางการต่อไป

    อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน ซึ่งเป็นมรดกหนึ่งเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่จากระบอบของมูบารัค จะยังไม่ถูกถอดถอนออกทั้งหมด แต่กระนั้นคณะกรรมทหารสูงสุดก็ทำให้ประชาชนลดความเคลือบแคลงสงสัยเกี่ยวกับอำนาจและบทบาทของสมาชิกรัฐบาลหน้าเก่าเหล่านี้ ด้วยการสร้างความอุ่นใจว่าทางคณะกรรมการจะคอยตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลรักษาการของนายกรัฐมนตรีอาหมัด ชาฟิก อีกทอดหนึ่ง

    สำหรับความเคลื่อนไหวของกลุ่มแกนนำการประท้วง ปรากฏว่า กลุ่มนักเคลื่อนไหวในโลกไซเบอร์ผู้อยู่เบื้องหลังการลุกฮือขึ้นประท้วงขับไล่ประธานาธิบดีมูบารัคคราวนี้ ระบุในวันนี้ (14) ว่า พวกเขาได้เข้าพบหารือกับคณะปกครองทหารในประเด็นเกี่ยวกับแนวทางการปฏิรูประบอบประชาธิปไตยด้วย

    แต่กระนั้นก็ตาม แม้ที่ผ่านมากองทัพอียิปต์ จะพยายามทำให้ประชาชนเห็นว่าพวกเขาไม่ได้นิ่งนอนใจต่อข้อเรียกร้องให้ทำการปฏิรูปประเทศในทันที ทว่าจากสถานการณ์ ณ ปัจจุบัน ที่ยังไม่กลับคืนสู่ภาวะปกติเต็มที่ก็ทำให้กองทัพอียิปต์เริ่มตระหนักที่จะต้องแสดงอภินิหารบ้างเพื่อหมายจะฟื้นฟูความสงบเรียบร้อยให้ได้โดยเร็ว โดยล่าสุดก็ได้ยื่นคำขาดให้ “กลุ่มผู้ประท้วงรีบสลายม็อบออกไปจากจัตุรัสตอห์รีร์ทันที และกลับไปดำเนินชีวิตตามปกติเสีย มิเช่นนั้นแล้วจะถูกจับกุม”

    ทั้งนี้ นอกเหนือจากปัญหาการฟื้นฟูความสงบเรียบร้อยบริเวณจัตุรัสตอห์รีร์ในเมืองหลวงแล้ว กองทัพอียิปต์ยังเผชิญกับอาฟเตอร์ช็อกไม่เลิกโดยเฉพาะจากกลุ่มแรงงานระดับต่างๆ ที่ต้องการเรียกร้องค่าจ้างเพิ่มขึ้นอีกด้วย โดยมีรายงานว่า กลุ่มแรงงานราว 150 คนจากภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้หลักให้กับประเทศ ได้มาชุมนุมกันบริเวณมหาปิรามิดหลายแห่งในที่ราบสูงกีซา นอกกรุงไคโร วันนี้ (14)

    ผลพวงของปฏิกิริยาลูกโซ่จากกรณีการโค่นล้มอำนาจผู้นำในตูนีเซีย และอิยิปต์ ที่ก่อให้เกิดกระแสการลอกเลียนแบบขึ้นในโลกอาหรับอื่นๆ อย่างแอลจิเรียและเยเมนไปก่อนหน้านี้ ล่าสุดที่บาร์เรน ก็มีรายงานว่าเกิดเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ซึ่งพยายามจะสลายการชุมนุมด้วยการยิงแก๊สน้ำตาและลูกกระสุนยางในเขตชุมชนสองแห่งในวันนี้ (14) อันเป็นวันที่เหล่าผู้ประท้วงกำหนดว่าเป็น “วันแห่งความเดือดดาล” เหตุปะทะดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 คนและบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 14 ราย ขณะที่ทางการสั่งระดมมาตรการรักษาความปลอดภัยเข้มงวดขึ้น โดยส่งเฮลิคอปเตอร์ออกลาดตระเวนทั่วกรุงมานามา ซึ่งคาดว่าจะมีการชุมนุมประท้วงใหญ่ในช่วงเที่ยงวัน (ตามเวลาท้องถิ่น)

    ส่วนที่เยเมน สถานการณ์การประท้วงขับไล่ประธานาธิบดีอาลี อับดุลเลาะห์ ซาเละห์ ทวีความตึงเครียดขึ้นไปอีก เมื่อมีรายงานการปะทะกันขึ้นระหว่างฝ่ายต่อต้านรัฐบาลกับกลุ่มผู้สนับสนุนในเมืองตออิส ทางใต้ของกรุงซานา วันนี้ (14) โดยที่ทั้งสองฝ่ายต่างพยายามขว้างปาก้อนหินเข้าใส่กัน ขณะที่เจ้าหน้าที่ทางการพยายามห้ามปรามด้วยการยิงปืนขึ้นฟ้า ทว่าก็ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ ขณะเดียวกันที่เมืองหลวง ก็มีกลุ่มนักเรียนนักศึกษาและนักกฎหมายจำนวนเกือบ 3,000 คน ออกมาเดินขบวนจากมหาวิทยาลัยซานา ไปยังจัตุรัสอัล-ตอห์รีร์ในกรุงซานา ซึ่งเป็นที่ตั้งเต็นท์ของกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาล วันนี้ (14) โดยที่ทางการพยายามขัดขวางไม่ให้เกิดการปะทะกันระหว่างสองฝ่ายด้วยการขึงลวดเลเซอร์กั้นไว้ นอกจากนี้กลุ่มผู้ประท้วงเหล่านี้ยังประกาศด้วยว่าจะเดินขบวนไปถึงสำนักงานใหญ่ของตำรวจอีกด้วย

    Around the World - Manager Online -
     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    การรถไฟมังกรส่อเค้ายกเครื่องครั้งใหญ่ หลังปลดรมต.ทุจริต
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>15 กุมภาพันธ์ 2554 08:26 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    นายหลิว จื่อจุน ขณะยังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีการรถไฟ เข้าพบนาง ลิฟ ไซน์ นาวาร์เซ็ต (Liv Signe Navarsete) รัฐมนตรีกระทรวงการคมนาคมขนส่งของนอร์เวย์ ที่กรุงออสโล – รอยเตอร์

    เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์ - เจ้ากระทรวงการรถไฟคนใหม่ของจีนจัดประชุมฉุกเฉิน ภายหลังการปลดรัฐมนตรี ข้อหาคอร์รัปชั่น ผู้สันทัดกรณีชี้อาจมีการยกเครื่องครั้งใหญ่กิจการรถไฟแดนมังกร ซึ่งกุมผลประโยชน์มหาศาล

    ภายหลังการสั่งปลดนาย หลิว จื่อจุน จากตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการรถไฟ และตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อหาทุจริตคอร์รัปชั่น นาย เซิง กวงจู ซึ่งได้รับแต่งตั้งดำรงตำแหน่งแทน ได้จัดการประชุมทางไกลฉุกเฉิน เรียกร้องความเป็นเอกภาพของกระทรวงภายใต้การนำของประธานาธิบดี หู จิ่นเทา อันเป็นการสวนทางกับชื่อเสียงของกระทรวงการรถไฟ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า เหมือนอาณาจักรทรงอิทธิพล ซึ่งเป็นอิสระจากรัฐบาลกลาง

    ทั้งนี้ กระทรวงการรถไฟของจีนจ้างพนักงานมากเกือบ 3 ล้านคน และกุมงบประมาณจำนวนมหาศาล ซึ่งรวมทั้งโครงการลงทุนรถไฟความเร็วสูง มูลค่าหลายพันล้านหยวน นอกจากนั้น ยังมีกิจการโรงเรียน โรงพยาบาล และบริการโทรคมนาคมสื่อสารเป็นของกระทรวงเองอีกด้วย

    นักลงทุนในกองทุนบริหารความเสี่ยงของสหรัฐฯ รายหนึ่งระบุว่า ปัญหาของกระทรวงนี้ก็คือเกี่ยวข้องกับธุรกิจและผลประโยชน์ต่าง ๆ มากมายเกินไป ซึ่งไม่เกี่ยวกับเรื่องรถไฟเลย เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การค้าขาย คาราโอเกะ อาหาร และการจำหน่ายรถยนต์

    ขณะที่ผู้บริหารด้านการรถไฟของอังกฤษ ซึ่งไม่ประสงค์เปิดเผยนามมองว่า หลังจากการปลดนายหลิว รัฐบาลปักกิ่งอาจลงมือดำเนินการให้ตลาดเข้ามาขับเคลื่อนภาคการรถไฟของจีน โดยให้มีการแปรรูปบริษัทรถไฟของรัฐ ไปสู่มือเอกชนมากขึ้น และผลักดันให้เป็นอิสระจากการควบคุมของกระทรวง

    นายแดน ชามอร์โร่ ผู้อำนวยการฝ่ายเอเชีย-แปซิฟิก ของริสก์ คอนโทรล (Risk Control) บริษัทที่ปรึกษาด้านความเสี่ยงระหว่างประเทศระบุว่า ยิ่งองค์กรมีงบประมาณมากเท่าใด การหลบซ่อนการละเมิดวินัยก็ยิ่งง่ายขึ้น ส่วนโครงการก่อสร้างสิ่งสาธารณูปโภคต่าง ๆ ก็ขึ้นชื่อกระฉ่อนกันอยู่แล้วเรื่องความเสี่ยง ที่จะเกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นสูง นี่คือความเป็นจริง ซึ่งเกิดขึ้นทุกแห่งหนทั่วโลก ไม่เฉพาะแต่ที่จีนเท่านั้น

    ระหว่างเป็นเจ้ากระทรวงการรถไฟนาน 8 ปี นายหลิว ซึ่งใช้ชีวิตทางการเมืองเกือบทั้งชีวิตคลุกคลี่อยู่ในภาคการรถไฟ ได้ผลักดันการพัฒนารถไฟความเร็วสูง จนได้รับฉายาว่า “หลิวผู้กระโจน” โดยงบประมาณสำหรับรถไฟความเร็วสูงระหว่างปี 2554-2558 ของจีนมีจำนวนทั้งสิ้น 3.5 ล้านล้านหยวน และกระทรวงการรถไฟตั้งเป้าขยายเครือข่ายรถไฟความเร็วสูงในประเทศให้ได้ 25,000 กิโลเมตรภายในปี 2558

    อย่างไรก็ตาม ความสามารถในฐานะเจ้ากระทรวงการรถไฟของนายหลิวตกเป็นเป้าสงสัย และมีการพูดกันหนาหูในช่วง 5 ปีก่อนว่าเขาจะถูกปลด เนื่องจากเกิดอุบัติเหตุทางรถไฟบ่อยครั้ง ซึ่งมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถไฟบนแผ่นดินใหญ่ถึง 7,300 คนในปี 2548 หรือคิดเป็นอัตราเฉลี่ยมีผู้เสียชีวิต 20 คนต่อวัน จากข้อมูลของทางการ

    เสียงเรียกร้องให้นายหลิวลาออกดังกระหึ่มมากที่สุด เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถไฟชนกันในมณฑลซานตงเมื่อปี 2551 ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 72 คน บาดเจ็บ 416 คน และในปีนั้นเอง บริการรถไฟยังเป็นอัมพาตเกือบสิ้นเชิงจากพายุหิมะกระหน่ำในช่วงเทศกาลตรุษจีน ทำให้ผู้โดยสารหลายล้านคนต้องติดค้างตามสถานีต่าง ๆ

    กระทรวงการรถไฟยังถูกวิจารณ์อย่างหนักเรื่องการหาซื้อตั๋วรถไฟลำบากในช่วงเทศกาลตรุษจีน โดยมีตั๋วจำนวนมากตกไปอยู่ในมือผู้ค้ากำไร ทำให้ประชาชนบางส่วนต้องซื้อตั๋วรถไฟแพงกว่าราคาจริง

    China - Manager Online -
     
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ตัวเลขเกินดุลการค้าของจีนในเดือนม.ค. ลดลง 53.3 %
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>14 กุมภาพันธ์ 2554 13:44 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    เงินสกุลหยวนของจีน ซึ่งสหรัฐฯเห็นว่าจีนกดดันค่าเงินหยวนให้แข็งค่า จนทำให้สหรัฐฯขาดดุลการค้ากับจีนเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เดือนม.ค.ตัวเลขเกินดุลการค้าจีนลดลง 53.5 เปอร์เซ็นต์ (ภาพเอเอฟพี)

    เอเอฟพี - ทางการจีนเปิดเผยเมื่อวันจันทร์ (14 ก.พ.) ในเดือน ม.ค. 2553 ตัวเลขเกินดุลการค้าของจีนตกลงมา 53.5 เปอร์เซ็นต์ อยู่ที่ 6,450 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่การนำเข้าและส่งออกของจีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงสองสัปดาห์วันหยุดตรุษจีน

    กรมศุลกากรจีนเผย การส่งออกของจีนในเดือนม.ค. เพิ่มขึ้น 37.7 เปอร์เซ็นต์จากปีก่อนหน้า ขณะที่การนำเข้าก็เพิ่มขึ้น 51 เปอร์เซ็นต์ เหตุที่การนำเข้าและส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากธุรกิจการขนส่งทางเรือที่ก้าวหน้าและสามารถเพิ่มความรวดเร็วในการขนส่งได้มากขึ้น โดยเฉพาะช่วงต้นเดือนก.พ. ซึ่งตรงกับวันตรุษจีน

    ตัวเลขเกินดุลการค้า ถือเป็นจุดวัดสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างจีน-มะกัน อย่างไรก็ตามยอดได้เปรียบดุลการค้าจีนตกลงมาอยู่ที่ระดับต่ำสุดตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา (2553) โดยในเดือนพ.ย. อยู่ที่ 22,700 ล้านดอลลาร์ ต่อมาในเดือนธ.ค. ก็ลดลงอีกอยู่ที่ 13,100 ล้านดอลลาร์ ขณะที่เดือนม.ค.ต้นปีนี้ (2554) อยู่ที่ 6,450 ล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น

    สหรัฐฯได้กดดันจีนให้ปล่อยค่าเงินหยวนให้แข็งค่าขึ้นอีก ชี้ว่า นั่นเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้การค้าจีนสหรัฐฯ เกิดสมดุลและเป็นธรรม

    ตัวเลขเกินดุลการค้าของจีนทั้งปี 2553 อยู่ที่ 183,100 ล้านดอลลาร์ เทียบกับปี 2552 ซึ่งอยู่ที่ 196,100 ล้านดอลลาร์ แสดงให้เห็นว่าค่อย ๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง

    จีนพยายามรักษาระดับค่าเงินหยวนให้ลดลงอย่างช้ามาก ๆ แม้ว่าจะเคยลั่นในเดือนมิ.ย. (2553) ว่าจะปล่อยให้เงินหยวนขึ้นลงอย่างอิสระมากขึ้นก็ตาม

    นักวิเคราะห์ชี้ว่า ค่าเงินจีนอ่อนค่าเกินความเป็นจริง ซึ่งจะช่วยให้บริษัทส่งออกของจีนได้กำไรอย่างไม่เป็นธรรมกับคู่ค้าต่างประเทศ

    http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9540000019689
     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554 11:23

    อียิปต์จี้สหรัฐอายัดทรัพย์"มูบารัก"

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    [​IMG]

    สื่อสหรัฐเผยอียิปต์เรียกร้องให้อายัดทรัพย์สิน"มูบารัก"
    <SCRIPT type=text/javascript> google_ad_channel = '8724309246'; //slot number google_ad_type = 'text'; //media image, text, html, flash google_max_num_ads = '3'; //amount Ads //google_image_size = '338X280'; //google_skip = '3'; var ads_ID = 'Google-adsense-indetail'; // set ID for main Element div var displayBorderTop = false; // default = false; //var displayLandScape = true; // false=Default, true=landscape *** if set Landscape not arrow ad type image var position_ad_detail ='in'; // ''=Default, in=Intext, under=TextUnderDetail </SCRIPT><SCRIPT src="http://www.bangkokbiznews.com/home/main/js/adsense/AdsenseJS.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/r20101117/r20110208/show_ads_impl.js"></SCRIPT>
    ซีเอ็นเอ็น รายงานอ้างแหล่งข่าวรัฐบาลสหรัฐ ว่า รัฐบาลทหารอียิปต์ได้ขอให้สหรัฐอายัดทรัพย์สินต่างๆของนายฮอสนี มูบารัก ผู้นำที่ถูกขับไล่จนยอมก้าวลงจากอำนาจเมื่อไม่นานมานี้ แต่กระทรวงต่างประเทศของสหรัฐ ระบุว่า ยังไม่ได้รับเอกสารข้อเรียกร้องดังกล่าวจากทางการอียิปต์
    ทั้งนี้ นายพีเจ คราวลีย์ โฆษกกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐ ระบุว่า ยังไม่ทราบเกี่ยวกับข้อเรียกร้องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกองทุนของอดีตผู้นำอียิปต์



    "แน่นอนว่า ถ้ารัฐบาลอียิปต์ร้องขอมาโดยตรง เราก็พร้อมดำเนินการที่เหมาะสมเกี่ยวกับเรื่องนี้" นายคราวลีย์ กล่าว ขณะเดียวกัน กระแสข่าวอีกกระแสระบุว่า ฝ่ายบริหารของนายบารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐกำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเรียกร้องของรัฐบาลใหม่ของอิยิปต์ ที่ให้อายัดทรัพย์เจ้าหน้าที่ระดับสูงบางคน ที่เป็นคนใกล้ชิดของนายมูบารัก ล่าสุด กระทรวงการคลัง กำลังตรวจสอบคำร้องขอ และจะตัดสินใจภายในไม่กี่วันข้างหน้านี้ แต่ไม่ได้ระบุว่า คนที่ถูกเรียกร้องให้อายัดทรัพย์เป็นใคร เนื่องจากสหรัฐยังไม่ได้ตัดสินใจในเรื่องนี้
    การเปิดเผยเรื่องนี้ มีขึ้นหลังจากกระทรวงต่างประเทศของอังกฤษ ระบุว่า สหภาพยุโรป( อียู) จะหารือเกี่ยวกับข้อเรียกร้องของสภากลาโหมของอิยิปต์ ที่มีอำนาจในการบริหารประเทศอยู่ในขณะนี้ ให้อายัดทรัพย์ของบรรดาสมาชิกในระบอบของมูบารัก
    ด้านนางฮิลลารี่ คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ระบุว่า สนับสนุนการเคลื่อนไหวของคณะผู้บริหารประเทศชุดใหม่ของอิยิปต์ ซึ่งสัญญาว่าจะส่งมอบอำนาจให้กับพลเรือนภายใต้ระบบใหม่ ที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และยังได้กำหนดเวลาในร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขใหม่ภายใน 10 วัน รวมทั้งจัดทำประชามติเพื่อให้ได้รับความเห็นชอบจากประชาชน ภายในช่วง 2 เดือน ก่อนการเลือกตั้ง เพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐบาลพลเรือน
    ส่วนนักเคลื่อนไหวยุวชน ที่อยู่เบื้องหลังการประท้วงที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างไม่คาดฝันได้กดดันกองทัพเมื่อวันจันทร์ เกี่ยวกับการดำเนินการตามขั้นตอนใหม่ ๆ เพื่อเป็นหลักประกันว่า ระบบเผด็จการที่ปกครองอิยิปต์มานานเกือบ 30 ปี จะถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง
    ภายใต้ข้อเรียกร้องดังกล่าว รวมถึงการยุบพรรประชาธิปไตยแห่งชาติของประธานาธิบดีมูบารัค และตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่ที่เป็นนักวิชาการภายใน 30 วัน
    สำหรับสถานการณ์ในอิยิปต์ ปรากฎว่า บรรดาลูกจ้างของหน่วยงานรัฐหลายพันคน ตั้งแต่คนขับรถพยาบาล ไปจนถึงตำรวจและพนักงานธนาคาร ได้ออกมาประท้วงกันในกรุงไคโร เมื่อวันจันทร์ เรียกร้องขอค่าตอบแทนที่ดีกว่าเดิม ซึ่งการประท้วงด้านแรงงานนี้ นับเป็นชนวนใหม่ที่ถูกจุดขึ้นหลังการลุกฮือเรียกร้องประชาธิปไตยขับไล่มูบารัก
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554 09:33
    ประท้วงอิหร่าน-ดับแล้ว1

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    [​IMG]

    ผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลอิหร่าน ปะทะกับตำรวจ มีผู้เสียชีวิตแล้ว 1 คน
    <SCRIPT type=text/javascript> google_ad_channel = '8724309246'; //slot number google_ad_type = 'text'; //media image, text, html, flash google_max_num_ads = '3'; //amount Ads //google_image_size = '338X280'; //google_skip = '3'; var ads_ID = 'Google-adsense-indetail'; // set ID for main Element div var displayBorderTop = false; // default = false; //var displayLandScape = true; // false=Default, true=landscape *** if set Landscape not arrow ad type image var position_ad_detail ='in'; // ''=Default, in=Intext, under=TextUnderDetail </SCRIPT><SCRIPT src="http://www.bangkokbiznews.com/home/main/js/adsense/AdsenseJS.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/r20101117/r20110208/show_ads_impl.js"></SCRIPT>เกิดเหตุปะทะกันระหว่างตำรวจและผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลอิหร่าน เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา(14 ก.พ.) ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บหลายสิบคน
    ขณะที่ผู้สนับสนุนฝ่ายต่อต้านรัฐบาล พยายามปลุกเร้าพลังการลุกฮือขึ้นต่อต้านอำนาจรัฐ แบบชาวอียิปต์เมื่อไม่นานมานี้ โดยฝ่ายต่อต้านรัฐบาล เรียกร้องให้ประชาชนออกมาประท้วง เพื่อรวมพลังสามัคคีแบบชาวอียิปต์ ที่สามารถบีบให้นายฮอสนี มูบารัก ประธานาธิบดีต้องลาออกจากตำแหน่ง หลังครองอำนาจมายาวนานเกือบ 30 ปี
    ภาพวิดีโอที่ถ่ายโดยช่างภาพสมัครเล่น แสดงให้เห็นว่า ผู้ประท้วงได้ร้องตะโกนคำขวัญต่อต้านนายมาห์มูด อาห์มาดิเนจาด ประธานาธิบดี และอยาโตเลาะาห์ อาลี คาเมนิ ผู้นำสูงสุด
    ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลออกมาแสดงพลังในช่วงเวลากว่า 1 ปี
    ทางด้านพยานผู้เห็นเหตุการณ์ ระบุว่า ตำรวจได้ยิงแก๊สน้ำตาเข้าสลายการชุมนุมของผู้ประท้วง ในย่านเอนเกแลบ หรือจตุรัสแห่งการปฏิวัติ และที่จตุรัสอิหม่าม ฮุสเซน รวมถึงถนนสายหลักอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงในบริเวณใจกลางกรุงเตหะราน
    ถ้อยแถลงดังกล่าว สอดคล้องกับภาพถ่ายวิดีโอช่วงหนึ่ง ที่แสดงภาพผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาล เดินขบวนไปตามถนนใกล้กับจตุรัส เอนเกแลบ ก่อนจะวิ่งถอยกลับไป พร้อมกับเสียงผู้ประท้วงคนหนึ่ง ส่งเสียงตะโกนว่ามีการยิงแก๊สน้ำตา
    ส่วนของช่างภาพสมัครเล่นอีกคนหนึ่ง ได้แสดงให้เห็นกลุ่มผู้ประท้วง อยู่บนถนนที่มุ่งหน้าไปยังจตุรัส อาซาดี หรือ จตุรัสเสรีภาพ กำลังเผาถังขยะเพื่อกีดขวางถนน และร้องตะโกนให้คาเมนิไปตายเสีย
    ขณะสำนักข่าวฟาร์ส กระบอกเสียงของรัฐบาล รายงานว่า มีคนที่ผ่านไปในละแวกนั้นคนหนึ่ง ถูกยิงเสียชีวิตด้วยน้ำมือของผู้ประท้วง ส่วนผู้เห็นเหตุการณ์ ระบุว่า มีผู้ประท้วงอย่างน้อย 3 คน ได้รับบาดเจ็บจากกระสุนปืน และถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลในกรุงเตหะราน ขณะที่อีกหลายสิบคน ได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงจากการถูกทุบตี
    สำนักข่าวฟาร์ส ซึ่งมีความใกล้ชิดกับกองกำลังพิทักษ์ปฎิวัติ ยังรายงานข่าวในเชิงดูแคลนผู้ประท้วงที่พยายามเอาอย่างอียิปต์ และระบุว่า กองกำลังพิทักษ์ปฏิวัติ ซึ่งเป็นกองกำลังที่ทรงอำนาจสูงสุดของกองทัพอิหร่าน ได้จับกุมผู้ประท้วงและส่งตัวให้เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงแล้ว แต่ไม่ได้บอกจำนวนผู้ประท้วงที่ถูกจับ

     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554 01:00
    ปฏิวัติอิสลาม

    โดย : รักษ์ มนตรี rakmontri@twitter,facebook

    ชาวอียิปต์ประท้วง 18 วัน จึงกดดันให้ ฮอสนี มูบารัก ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี ที่ครองอำนาจมาอย่างยาวนานถึง 30 ปี
    <SCRIPT type=text/javascript> google_ad_channel = '8724309246'; //slot number google_ad_type = 'text'; //media image, text, html, flash google_max_num_ads = '3'; //amount Ads //google_image_size = '338X280'; //google_skip = '3'; var ads_ID = 'Google-adsense-indetail'; // set ID for main Element div var displayBorderTop = false; // default = false; //var displayLandScape = true; // false=Default, true=landscape *** if set Landscape not arrow ad type image var position_ad_detail ='in'; // ''=Default, in=Intext, under=TextUnderDetail </SCRIPT><SCRIPT src="http://www.bangkokbiznews.com/home/main/js/adsense/AdsenseJS.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/r20101117/r20110208/show_ads_impl.js"></SCRIPT> การประท้วงของชาวอียิปต์ ก่อให้เกิดกระแส "ปฏิวัติอิสลาม" ขยายตัวไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งทุกประเทศในแถบนั้นมีองค์กรจัดตั้งที่นำการต่อสู้อำนาจรัฐไว้หมดแล้ว
    ชาวอียิปต์ ได้ทำให้ "ผู้นำโลก" เห็นว่า ไม่ว่าประเทศไหนในโลกหากไม่มีจุดยืนอยู่กับผลประโยชน์ของประเทศของตนและประชาชนของชาติตน แล้วยังทำตัวเป็น "ทาส" ชาติมหาอำนาจหรือชาติอื่น ก็จะถูกประชาชน "โค่นล้ม" ลงไปอย่างแน่นอน
    กระแสโค่นผู้นำและรัฐบาลขายชาติในโลกอิสลาม กำลังจะประสบชัยชนะในอีกหลายๆ ประเทศ
    เหตุที่ประชาชนชาวอียิปต์ ขับไล่ประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัก เพราะนำประเทศไปสนิทชิดเชื้อกับอิสราเอล และสหรัฐอเมริกา รวมทั้งประเทศตะวันตกอื่นๆ
    กระแส "ปฏิวัติอิสลาม" ที่มุ่งโค่นล้มผู้นำและรัฐบาลขายชาติที่ยอมตกเป็นทาสชาติตะวันตก และทรยศต่ออิสลาม ประสบความสำเร็จที่ตูนิเซียเป็นประเทศแรก และเริ่มขยายตัวอย่างรวดเร็วลามมาที่อียิปต์ จอร์แดน เยเมน ซาอุดีอาระเบีย รวมทั้งกำลังก่อตัวขึ้นที่ยูเออี คูเวต และเริ่มขึ้นอีกในประเทศซูดาน ซึ่งตั้งอยู่ในทวีปแอฟริกา
    ที่ตูนิเซีย เมื่อวานนี้ (14 ก.พ.) ชาวตูนิเซีย เพิ่งจัดงานรำลึกครบรอบ 1 เดือน เหตุการณ์ไม่สงบในประเทศ หลังประธานาธิบดีซีน เอล อาบีดีน ถูกยึดอำนาจ ขณะที่รัฐบาลชั่วคราวต้องเผชิญกับแรงกดดันจากยุโรป ในการเร่งแก้ปัญหาผู้อพยพออกนอกประเทศจำนวนมาก และรัฐมนตรีกระทรวงสำคัญลาออก
    ล่าสุด นายอาห์เหม็ด เอาเนส รัฐมนตรีต่างประเทศตูนิเซีย ประกาศลาออกเมื่อวันที่ 13 ก.พ.
    เป็นการลาออกก่อนที่ นางแคทเธอรีน แอชตัน หัวหน้านโยบายต่างประเทศสหภาพยุโรป หรืออียู จะเดินทางเยือนตูนิเซีย 1 วัน เพื่อช่วยเหลือการปฏิรูปประชาธิปไตยในตูนิเซีย
    ส่วนรัฐบาลชั่วคราวของตูนิเซีย เร่งเสริมกำลังด้านความปลอดภัยหลายพื้นที่ของประเทศ เพื่อยับยั้งคลื่นมนุษย์ที่หนีความยากจนออกนอกประเทศ
    และเพียง 5 วันที่ผ่านมา (10-14 ก.พ.) มีประชาชนราว 5,000 คน อพยพไปยังเกาะลัมเปดูซาของอิตาลี
    ด้านอิสราเอล พันธมิตรของอียิปต์นั้น เจ้าหน้าที่อาวุโสรัฐบาลปาเลสไตน์ เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีซาลาม เฟย์ยาด ของปาเลสไตน์ ยื่นหนังสือลาออกต่อประธานาธิบดีมาห์มูด อับบาส เมื่อเช้าวานนี้ (14 ก.พ.)
    ส่วน นายอับบาส จะขอให้มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ และนายกรัฐมนตรีก็จะเริ่มการหารือเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาลทันที
    โดยสาเหตุที่การหารือเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวล่าช้า เนื่องจากเกิดเหตุปฏิวัติในตูนิเซีย และการชุมนุมโค่นล้มรัฐบาลของชาวอียิปต์ ซึ่งเป็นพันธมิตรกับปาเลสไตน์
    รัฐบาลของนายอับบาส ประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า จะจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นในวันที่ 9 กรกฎาคมนี้ นับเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกในปาเลสไตน์ ตั้งแต่ปี 2549 แต่กลุ่มฮามาส ที่ปกครองฉนวนกาซา ประกาศจะเพิกเฉยต่อการเลือกตั้งดังกล่าว ที่จำกัดการลงคะแนนเสียงเฉพาะในเขตเวสต์แบงค์
    กระแสการเคลื่อนไหวเพื่อโค่นล้มรัฐบาลและผู้นำที่ทรยศต่ออิสลาม กำลังเป็นกระแสใหญ่ที่ครอบคลุมตะวันออกกลาง และแอฟริกา
    เป็นกระแสที่เกิดขึ้นในยามที่ตะวันตกกำลังอ่อนแอ และกำลังลามไปทั่วโลก

     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    “กษิต” ทวีตแจงผลคุย UNSC ย้ำไทยพร้อมสงบ แต่ติดปัญหาที่ “ฮุนเซน”
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>15 กุมภาพันธ์ 2554 18:25 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    รมว.ต่างประเทศ ทวีตชี้แจงผลหารือ UNSC ย้ำ ไทยรักษาสันติภาพ ไม่คิดสู้รบ หวังใช้กระบวนการที่มีแก้ปัญหา แต่ติดปัญหาผู้นำกัมพูชา จี้ระงับการขึ้นทะเบียนพระวิหาร ยันขอเรื่องเขตแดนชัดเจนก่อน เล็งใช้เวทีอาเซียนคุยแก้ปัญหาสองฝ่าย

    วันนี้ (15 ก.พ.) นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ทวีตเมื่อเวลาประมาณ 17.50 น.ตามเวลาในประเทศไทย ในชื่อ @kasitpirom ว่า ขอเรียนผลการชี้แจง UNSC ที่นิวยอร์ก ดังนี้ ขอยืนยันเจตนารมณ์ของประเทศไทยในการที่จะรักษาสันติภาพ ยุติการสู้รบ และให้กระบวนการที่มีอยู่แล้ว เช่น JBC และ JC ดำเนินการต่อไป เรามีกลไก 2 ฝ่ายอยู่มากมายที่จะดำเนินการแก้ปัญหาได้ แต่ติดอยู่ที่การตัดสินใจทางการเมืองของผู้นำกัมพูชา ว่า จะมาร่วมแก้ปัญหาตามกลไกที่นี้หรือไม่ ประเทศไทยไม่มีความปรารถนาร้ายต่อกัมพูชา เพราะเขายังยากจน และเราได้ลงทุนค้าขายกับเขาไปมากมาย ทั้งการช่วยเหลือในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ การแพทย์ การศึกษา และเราทั้งสองประเทศก็เป็นสมาชิกอาเซียนด้วยกันทั้งคู่ มีภาระที่จะต้องตั้งประชาคมอาเซียนเราจะทำให้การหยุดยิงนั้นถาวรได้อย่างไร ต้องขึ้นอยู่กับผู้นำทั้งสองฝ่าย ขอยืนยันว่าฝ่ายไทยไม่ได้เป็นฝ่ายยิงก่อน และต้องการพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันต่อไป

    “ในเบื้องต้นนี้ การขึ้นทะเบียนมรดกโลกของประสาทพระวิหารควรระงับไว้ก่อน โดยเฉพาะการทำแผนบริหารจัดการ เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนเรื่องเขตแดน ทำให้มีการปะทะกันหลายครั้ง หากกัมพูชาไม่ยอมรับแนวทางการเจรจาแบบทวิภาคี จะเป็นการขัดต่อมติ UNSC เพราะที่ประชุมบอกให้เจรจากันสองฝ่าย และ รมว.ต่างประเทศของอินโดนีเซีย ก็อยากให้เจรจาทั้งสองฝ่ายประเทศไทยได้เสนอให้มีการประชุม JBC ในวันที่ 27 ก.พ.นี้ ซึ่งประชาคมโลกได้รับทราบหมดแล้ว ทั้งวาจาและลายลักษณ์อักษร สมาชิก UNSC ได้พูดเป็นเสียงเดียวกันหมดว่าต้องมีการเจรจากันทั้งสองฝ่าย ซึ่งเป็นเรื่องความรับผิดชอบของกัมพูชาต่ออาเซียน และต่อ MOU43 ในวันที่ 22 ก.พ.นี้ ผมจะเรียนที่ประชุมอาเซียนให้ทราบถึงกลไกที่เรามีอยู่ทั้ง MOU และคณะกรรมการต่างๆ และสิ่งที่ต้องการคือความร่วมมือจากกัมพูชา” นายกษิต ทวีต

    [​IMG]
    Politics - Manager Online -
     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    'โอบามา'ยุผู้ชุมนุมอิหร่านเอาอย่าง'อียิปต์'เดินหน้าประท้วงต้านรบ.
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>16 กุมภาพันธ์ 2554 03:32 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    บารัค โอบามา

    เอเอฟพี - บารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ออกมาสนับสนุนผู้ประท้วงในอิหร่านเมื่อวันอังคาร(15) ระบุหวังเห็นคนเหล่านั้นแสดงความกล้าหาญด้วยการเดินหน้าแสดงความปรารถนาต่อสิทธิเสรีภาพภายในประเทศ ตามรอยการชุมนุมขับไล่ประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ในอียิปต์

    โอบามา ประณามแนวทางรับมือกับการชุมนุมของอิหร่าน โดยบอกว่าที่เตหะรานไม่เหมือนกับอียิปต์ เนื่องจากรัฐบาลอิหร่านตอบโต้ผู้ชุมนุมด้วยการยิง ทำร้ายและจับกุมประชาชน "ผมหวังและคาดหมายว่าเราจะได้เห็นประชาชนชาวอิหร่านแสดงความกล้าหาญด้วยการเดินหน้าออกมาเรียกร้องเสรีภาพต่อไป" เขากล่าว

    นอกจากนี้ โอบามา ยังเร่งเร้าให้พันธมิตรในตะวันออกกลางมองอียิปต์เป็นแบบอย่าง โดยชี้ว่าประเทศแห่งนี้กำลังอยู่บนเส้นทางที่ถูกต้องของการปฏิรูปตามหลังการชุมนุมประท้วงโค่นล้มรัฐบาล "เราได้ส่งสารที่หนักแน่นถึงพันธมิตรของเราในภูมิภาคนั้น โดยบอกว่าให้ดู อียิปต์ เป็นแบบอย่าง และคัดค้านการนำเอาอิหร่านมาเป็นต้นแบบ"

    โอบามา กล่าวต่อว่าการเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดขึ้นจากการฆ่าคนบริสุทธิ์ แต่การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นจากพลังทางศีลธรรมและการร่วมแรงร่วมใจกันของประชาชน

    ประธานาธิบดีสหรัฐฯรายนี้ระบุว่าอียิปต์ กำลังมุ่งไปในทิศทางที่ถูกต้องหลังกองทัพให้คำมั่นต่อการเดินหน้าปฏิรูปการเมืองและมุ่งสู่การเลือกตั้ง พร้อมยังยกย่องผู้นำกองทัพอียิปต์ที่ย้ำจุดยืนต่อสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ในจำนวนนั้นรวมไปถึงสนธิสัญญากับอิสราเอล อีกชาติพันธมิตรของสหรัฐฯ

    Around the World - Manager Online - '
     

แชร์หน้านี้

Loading...