อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. พระบรมศาสดา และเหล่าผู้พระสาวก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 11 ตุลาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    [​IMG]
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    วันที่ ๒๗ เมษายนเป็นวันคล้ายวันมรณภาพครบปีที่ ๓๕ ของหลวงปู่จวน กุลเชฏฺโฐ “พระอริยเจ้าผู้มีกายและจิตสมควรแก่วิมุตติธรรม” แห่งวัดเจติยาคีริวิหาร (ภูทอก) อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ หลวงปู่จวน ได้รับอบรมธรรมจากท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และหลวงปู่ขาว อนาลโย

    ท่านพระอาจารย์มั่น ยกย่องท่านว่า "กาเยนะ วาจายะ วะเจตวิทธิยา ท่านจวน! เป็นผู้มีกายและจิตสมควรแก่ข้อปฏิบัติธรรม เป็นผู้สามารถรวมจิตทีเดียวถึงฐีติจิต"


    หลวงปู่จวน ท่านมีนิสัยโน้มน้อมมาทางพระธรรมตั้งแต่เยาว์วัย เมื่อได้ฟังธรรมจากพระกรรมฐาน จิตสงบรวมเป็นหนึ่ง สามารถแยกกายและจิตได้ ท่านจึงได้สละทรัพย์และบ้านเรือนอกบวช ท่านมีความเพียรพยายามเป็นเลิศ มีสติในการแก้ไขกิเลสเฉียบพลัน อุบายธรรมและปฏิปทาเป็นปัจเจก แปลกจากครูบาอาจารย์รูปอื่น เช่น
    ปี พ.ศ.๒๔๙๓ ท่านจำพรรษาที่ถ้ำพวง อ.ส่องดาว จ.สกลนคร ท่านได้เกิดจิตปฏิพัทธ์หญิงสาวคนหนึ่ง จึงคิดหาอุบายแก้ไข โดยยกภาษิต "เนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รองนั่ง ยังเอากระดูกมาแขวนคอ" ท่านจึงดัดนิสัยตนเองที่ไปหลงรักผู้หญิงเข้า โดยเอากระดูกช้างมาแขวนคอห้อยต่องแต่ง ท่านตั้งใจมั่นว่า… "ตราบใดที่ใจยังตัดใจอาลัยรักในสตรีไม่ได้ ยืน เดิน นั่ง นอน ออกบิณฑบาต ฉันข้าว ก็จะเอากระดูกช้างแขวนคอไว้ตราบนั้น" ไม่ว่าท่านจะเดินจงกรม นั่งสมาธิ หรือรับกิจนิมนต์ไปในหมู่บ้านก็ตาม ท่านเอากระดูกช้างแขวนคอไว้ตลอด จนชาวบ้านเล่าลือกันว่า "ท่านเป็นบ้า" เมื่อท่านทำปฏิบัติอย่างนี้ เกิดความละอายใจ เห็นโทษภัยในความลุ่มหลง จิตก็คลายกำหนัดรักใคร่ในหญิงนั้น เมื่อหลวงปู่ขาว อนาลโย ได้ถามถึงเหตุที่ท่านทำเช่นนั้น ท่านได้กราบเรียนดังที่กล่าว หลวงปู่ขาวชมว่า "อุบายนี้ดีนักแล"
    หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ ท่านชอบท่องเที่ยวแสวงหาครูบาอาจารย์ที่อยู่ตามป่าเขาลึก ๆ เช่น เข้าไปศึกษากับพระอาจารย์หล้า ขันติโก พระอริยเจ้าผู้อยู่แต่เพียงโดดเดี่ยวบนสันเทือนเขาภูพาน หลวงปู่จวน ท่านมีสหธรรมิกคือ พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร
    ท่านพระอาจารย์จวน ถือกำเนิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๖๓ ตรงกับแรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๘ ปีวอก ณ บ้านเหล่ามันแกว ต.ดงมะยาง อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันคือ อ.ลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ) เมื่อท่านอายุได้ ๑๔-๑๕ ปี ได้พบพระธุดงค์มาปักกลดใกล้บ้าน ก็บังเกิดความเลื่อมใส ตั้งปณิธานว่าต่อไปจะบวชอย่างท่านบ้าง พระธุดงค์รูปนั้นได้มอบหนังสือ "ไตรสรณคมน์" ของท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ไว้ให้ ท่านได้อ่านจึงปฏิบัติตาม เริ่มสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ บริกรรมภาวนาจิตรวมเป็นหนึ่ง จิตอยู่เฉพาะจิต กายอยู่เฉพาะกาย เวทนาใดก็ไม่มีปรากฎเลย
    หลังจบการศึกษาชั้นปีที่ ๖ อายุย่าง ๑๘ ปี ท่านได้เข้าทำราชการกรมทางหลวงแผ่นดินอยู่ ๔ ปี ภายหลังได้รับหนังสือ "จตุราลักษณ์" ที่เขียนโดยหลวงปู่ทับ พุทฺธสิริ ที่หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล สั่งให้มีการพิมพ์แจกจ่ายแก่ผู้ที่สนใจในการปฏิบัติเมื่อท่านอ่านถึงบท “มรณานุสติ” จิตก็สลดสังเวชว่า "เราก็ต้องตาย" เมื่อท่านอายุได้ ๒๐ ปี ท่านสละเงินที่เก็บหอมรอมริบทั้งหมด เป็นเจ้าภาพสร้างมหากฐินคนเดียว สร้างพระประธาน สร้างห้องน้ำถวายสงฆ์จนเงินหมด
    เมื่ออายุท่านได้ ๒๑ ปี ปี พ.ศ.๒๔๘๔ ท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกาย ณ วัดเจริญจิต บ้านโคกกลาง จ.อุบลราชธานี ท่านสอบได้นักธรรมตรีพรรษานั้น และต่อมาลาสิกขา หลังสึกเป็นฆราวาส ท่านเดินทางไปแสวงหาอาจารย์กรรมฐานฝ่ายพระธรรมยุต และได้อุปสมบทเป็นพระฝ่ายธรรมยุติกนิกาย เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๖ เวลา ๑๗.๐๐ น. ณ วัดสำราญนิเวศน์ ต.บ้านบุ่ง อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันคือ จ.อำนาจเจริญ) โดยมี พระครูทัศนวิสุทธิ(พระมหาดุสิต เทวิโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้ท่องปาฏิโมกข์และ ๗ ตำนานจบภายใน ๑ เดือน
    ปี พ.ศ.๒๔๘๘ พรรษาที่ ๓ ท่านอธิษฐานทำความเพียรจะไม่นอนและไม่ฉันตลอดพรรษา ท่านอธิษฐานว่า.. "ถ้ายังมีบุญวาสนาอยู่พรหมจรรย์แล้ว ขอให้ได้นิมิตเห็นท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต" หลังจากนั้น ๓ วัน ท่านได้นิมิตว่า.. ได้เดินทางไปสำนักท่านพระอาจารย์มั่น เห็นท่านกวาดลานวัดอยู่ พอเห็นก็รู้ว่านี่คือท่านพระอาจารย์มั่น ท่านเหลือบมาเห็นเข้าก็ทักพระอาจารย์จวน อย่างดีใจว่า "อ้อ ท่านจวนมาแล้ว ท่านจวนมาแล้ว" มีความรู้สึกคล้ายพ่อเห็นลูก ลูกเห็นพ่อ พอท่านตรงเข้าไปจะกราบนมัสการ ท่านพระอาจารย์มั่น ก็โก่งหลัง บอกให้ท่านขึ้นขี่หลังเหมือนขี่ม้า แล้วท่านจึงพาเหาะขึ้นบนอากาศจนลิบเมฆ แล้วมาลงที่กลางภูเขาลูกหนึ่ง แล้วบอกว่า "เอาละ ลงนี่แหละ พอดีพอควรแล้ว" ท่านพระอาจารย์จวน พิจารณานิมิตก็เกิดปีติยินดีว่า คงจะมีวาสนาบารมีอยู่ในเพศพรหมจรรย์ จึงเร่งทำความเพียรต่อไป
    ปี พ.ศ.๒๔๘๙ พรรษาที่ ๔ ท่านได้ติดตาม พระอริยคุณาธาร (มหาเส็ง ปุสฺโส) ไปอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ณ วัดป่าบ้านหนองผือนาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ขณะที่ท่านอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองผือใหม่ๆ ใจก็อดคิดตามประสาปุถุชนไม่ได้ว่า.. "เขาเล่าลือกันว่า ท่านพระอาจารย์ใหญ่เป็นพระอรหันต์ เราก็ไม่ทราบว่าจริงหรือไม่ ถ้าเป็นอรหันต์จริง คืนนี้ก็ให้มีปาฏิหาริย์ให้เห็นปรากฎด้วย"
    คืนวันนั้น พอท่านภาวนา ก็ปรากฏนิมิตเห็นท่านพระอาจารย์มั่น เดินจงกรมอยู่บนอากาศ และเหาะขึ้นลงตลอดเวลา และเวลานอนหลับก็ยังฝันเห็นท่านเดินอยู่บนอากาศเช่นเดียวกัน ท่านจึงยกมือไหว้ และกล่าวขอขมาว่าเชื่อแล้ว
    หลังจากนั้น ท่านก็เกิดคิดขึ้นมาอีกว่า.. "เอ..เขาว่าท่านอาจารย์ใหญ่ รู้วาระจิตของลูกศิษย์ทุกคน จริงไหมหนอ เราน่าจะทดลองดู ถ้าท่านอาจารย์ใหญ่ รู้วาระจิตของเรา ขอให้ท่านอาจารย์ใหญ่มาหาเรา ที่กุฏิคืนวันนี้เถอะ"
    พอท่านคิดได้ประเดี๋ยวเดียว ก็ได้ยินเสียงไม้เท้าเคาะใกล้เข้ามา และกระแทกเปรี้ยงเข้าที่ฝากุฏิของท่าน พร้อมกับเสียงพระอาจารย์มั่น เอ็ดลั่นว่า.. "ท่านจวน ทำไมจึงไปคิดอย่างนั้น นั่นไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ รำคาญเรานี่"
    พรรษาที่ ๕-๖ ปี พ.ศ.๒๔๙๐-๒๔๙๑ ท่านจำพรรษาที่วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ คืนหนึ่ง ขณะนั่งภาวนาในโบสถ์มีนิมิตว่า มีพระเถระรูปหนึ่งได้มาให้โอวาทตักเตือนว่า.. "ท่านจวน ท่านอย่าวางแผ่นดิน เพราะความประพฤติของท่านยังไม่สม่ำเสมอ"
    ท่านได้มาพิจารณาดู แผ่นดินแปลว่า ให้มีความหนักแน่นเหมือนแผ่นดิน เมื่อถูกกระทบกระเทือนจากอารมณ์ ก็อย่าวอกแวกตั้งใจให้เป็นสมาธิ ไม่หวั่นไหวฟุ้งซ่าน ท่านจึงได้เขียนจดหมายกราบเรียนถามพระอาจารย์มั่น ถึงนิมิตนี้
    ท่านพระอาจารย์มั่น ได้ตอบจดหมายว่า.."ถึงท่านจวนที่อาลัยยิ่ง
    ...ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผมได้แนะนำให้ท่านนั้น ขอให้ท่านจงตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติดำเนินไปตามคำที่ผมแนะนำ อย่าได้ประมาท เพื่อจะได้เป็นเกียรติยศแก่พระพุทธศาสนาต่อไป"
    หลังจากนั้นท่านออกวิเวกอยู่บนดอยกับชาวเขาทางเหนือติดพม่า เข้าเชียงตุง พม่า แล้วกลับอีสาน เมื่อกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ที่วัดบ้านหนองผือ ท่านพระอาจารย์มั่น ได้ถามว่าการภาวนาเป็นอย่างไรบ้าง ท่านกราบเรียนว่า
    "ไม่ดีเหมือนอยู่กับพ่อแม่ครูบาอาจารย์"
    ท่านพระอาจารย์มั่น จึงบอกว่า "ต่อไปนี้ให้ภาวนาอยู่ทางภาคอีสานนี้แหละ อย่าไปที่อื่นอีกเลย" จากนั้นท่านธุดงค์อยู่ป่าเขาถ้ำอีสานมาตลอด
    พรรษา ๒๗-๓๘ ปี พ.ศ.๒๕๑๒-๒๕๒๓ ท่านสร้างวัดเจติยาคิรีวิหาร (ภูทอก) อ.ศรีวิไล หนองคาย ให้เป็นศาสนสถานที่สำคัญสำหรับผู้มุ่งปฏิบัติธรรม เมื่อใครไปแล้วต่างเกิดซาบซึ้งศรัทธาถ้วนหน้า
    หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ ท่านได้เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๓ สิริอายุ ๕๙ ปี พรรษา ๓๗ ด้วยอุปัทวเหตุเครื่องบินตก ณ ท้องนาทุ่งรังสิต อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี พร้อมกับหลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม, หลวงปู่วัน อุตฺตโม, ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร, ท่านพระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม
    หลวงปู่หลุย จันทสาโร เมตตาเล่าถึงบุพกรรมที่ทำให้ครูบาอาจารย์ทั้ง ๕ รูป ต้องเครื่องบินตก
    ในอดีตชาติที่นานเนมาแล้ว ท่านทั้ง ๕ (พระอาจารย์วัน อุตฺตโม พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร พระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม และพระอาจารย์สุพัฒ สุขกาโร) เกิดในสกุลชาวนาที่ยากจน ต้องขวนขวายหาเลี้ยงชีพไปวัน ๆ ทั้งห้าคนเป็นเพื่อนที่คุ้นเคยกันมา เมื่อยังเด็กได้จูงควายออกไปเลี้ยงพร้อมกัน ผูกควายกันแล้วก็พากันเล่นและออกหากบเขียดไปเป็นอาหารประสาจน
    ทีนี้ ๑ ใน ๕ เกิดไปเห็นรังนกเข้า ก็ช่วยกันหาไม้เขี่ยรังนกให้ตกลงมาเพื่อหวังเอาไข่นกไปกิน แต่เมื่อรังนกตกลงมากลับกลายเป็นลูกนก ๓ ตัวแล้วตายสิ้น ไม่ใช่ไข่นกดังที่เข้าใจ ด้วยวิบากกรรมอันนี้ส่งผลให้ท่านทั้ง ๕ ต้องตกจากที่สูงมามรณภาพ ในเครื่องบินลำนั้นมีคุณหญิงท่านหนึ่งกลับจากไปปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์จวนมาด้วย ท่านเลยมาสิ้นชีวิตพร้อมกัน
    ในอดีต ขณะที่เด็กชายทั้ง ๕ กำลังเขี่ยรังนกอยู่นั้น เด็กหญิงลูกชาวนาผู้เป็นน้องสาวของ ๑ ใน ๕ คนก็มายืนเชียร์อยู่ข้าง ๆ “จะหล่นแล้ว...จะหล่นแล้ว” โดยเธอไม่ได้ลงมือทำ เด็กหญิงในภพนั้นคือคุณหญิงในภพนี้ ก็เพียงมีจิตคิดยินดีในการประกอบอกุศลกรรมของผู้อื่น วิบากนั้นยังส่งผลมาให้เกิดในภพชาติเดียวกัน บันดาลให้ไปตกเครื่องบินพร้อมกัน แล้วถ้าทำเองเล่า
    ถึงตรงนี้ หลวงปู่หลุยก็สั่งว่า อย่าไปยินดีในการทำชั่วของคนอื่น เพราะเราจะมีส่วนในบาปนั้นด้วย แต่ให้ยินดีในการประกอบคุณงามความดีของตนและของคนอื่น เพราะจะได้แต่บุญโดยฝ่ายเดียว

    “..อย่าเป็นคนทำลายโลกขวางโลก ต้องมีความสามัคคีปรองดองกัน ไม่แตกแยกกัน รักษา พัฒนา บำรุงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ของตน อย่าไปคิดโค้นและล้มทำลาย ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มันเป็นสิ่งที่อัปปรีย์ เป็นของไม่ดี ทำความชั่ว ความเสียหาย เป็นบาป เป็นกรรม เป็นโทษแก่ตน..” ถอดความจากเสียงเทศนาของหลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ ที่เล่าถึงอัตโนประวัติหลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ วัดเจติยาคีรีวิหาร(ภูทอก) อ.ศรีวิไล จ.หนองคาย(ปัจจุบันคือจ.บึงกาฬ)


    “..การภาวนานี้ เป็นเครื่องชำระความหลงความมืดออกจากใจของเรา ไม่ให้ใจของเราเพลิดเพลินเตร็ดเตร่ลุ่มหลงไปตามอารมณ์ต่างๆ ไม่ให้ลุ่มหลงอยู่ในโลกอันนี้ ไม่ให้ลุ่มหลงอยู่ในอัตภาพร่างกายอันนี้ รูปอันนี้..



    ” โอวาทธรรมคำสอนหลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ



    [​IMG]
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    [​IMG]


    การทำความเพียรอย่ากำหนดเวลา ให้กำหนดสติ ถ้าสติเผลอเมื่อใด ก็รู้ว่า..ความเพียรของเราขาดไปแล้วเมื่อนั้น เมื่อสติตั้งลงที่ตรงไหน ย่อมเป็นธรรมขึ้นมาตรงนั้น ถ้าไม่มีสติแล้ว ก็จะไม่เป็นธรรมทั้งคืนทั้งวัน..

    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน..
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    อริยสัจ ๔

    “...หลักความจริงอันเป็นหัวใจของพระศาสนาที่พระพุทธเจ้าประทานไว้ อริยสัจธรรมทั้งสี่นี้ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค.. การพิจารณาทุกข์ก็เป็นอริยสัจอันหนึ่ง เมื่อเห็นเรื่องของทุกข์แล้วเป็นเหตุให้คิดต่อไปว่าทุกข์นี้เกิดขึ้นเพราะอะไร เช่นเราเสียใจในขณะที่ประสบสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา.. เราพยายามพิจารณาหาต้นเหตุแห่งความเสียใจว่า เกิดขึ้นมาเพราะเหตุใด และจะมีทางแก้ไขความเสียใจด้วยวิธีใด ดังนี้ก็เรียกว่าเราพยายามจะถอนสมุทัยอยู่ในขณะเดียวกันนั้นแล้ว

    การไตร่ตรองหรือพิจารณาทุกข์ตั้งใจดูทุกข์ กำหนดรู้ทุกข์ ตั้งสติดูทุกข์ ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของมรรค คือ ศีล สมาธิ ปัญญาทั้งนั้น.. คือสติกับปัญญาไปโดยทำนองนี้ ก็เป็นการทำให้แจ้งซึ่งนิโรธโดยลำดับในขณะเดียวกัน ..ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทุกข์มีอยู่ที่ตรงไหน มีอยู่ที่กายมีอยู่ที่ใจ สมุทัยมีอยู่ที่ไหน สมุทัยมีอยู่ที่ใจ.. สมุทัยได้แก่อะไรให้เห็นอย่างชัดเจนว่า กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.. ทุกข์อยู่ที่ใจเป็นสำคัญ ซึ่งเกิดขึ้นจากสมุทัยเป็นผู้ผลิตขึ้นมา นิโรธ ดับทุกข์จะดับที่ไหน ทุกข์เกิดขึ้นที่ไหนนิโรธก็ดับที่นั่น แล้วสาเหตุที่จะทำให้นิโรธดับทุกข์ได้มาจากไหน ก็มาจากมรรค ..

    ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคก็ดี สติปัฏฐานสี่ก็ดี และไตรลักษณ์ก็ดี โปรดทราบว่ามีอยู่กับคนๆ เดียว มิได้มีอยู่ในที่ต่างกัน ผู้ปฏิบัติต่อธรรมทั้งสามนี้สายใดสายหนึ่งชื่อว่าปฏิบัติต่อตนเอง เพราะจุดความจริงคือตัวเราเป็นฐานรับรองธรรมทั้งสามประเภทนี้ ถ้าพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม ให้ชัดเจนด้วยปัญญาแล้ว ทุกข์กับสมุทัยไม่จำต้องบังคับขู่เข็ญด้วยวิธีอื่นใด แต่จะหมดสิ้นไปเอง ตามหน้าที่ของเหตุซึ่งดำเนินโดยถูกต้อง ถ้าพิจารณาไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ให้เห็นชัดว่า กาย เวทนา จิต ธรรมเป็นไตรลักษณ์แน่นอน ไม่เป็นอย่างอื่น การดำเนินสายอริยสัจก็ดี สายสติปัฏฐานก็ดี และสายไตรลักษณ์ก็ดี มันเป็นเรื่องของคนๆ เดียวกัน และเป็นทางสายเอกที่สามารถยังผู้ดำเนินตามให้ถึงธรรมอันเอกได้เช่นเดียวกัน…”


    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน..



    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 เมษายน 2015
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    ปัญญาวิมุติ และเจโตวิมุติ..

    [​IMG]






    ..ผู้มีนิสัยเจโตวิมุติจะมีความโดดเด่นในวิธีทำสมาธิความสงบ และชำนาญในการเข้าฌานสมาบัติแต่ในขั้นตอนสุดท้าย ก็ต้องมาทำสมาธิตั้งใจมั่นอันประกอบด้วยปัญญาอยู่นั่นเอง ไม่มีคำสอนของพระพุทธเจ้าตรัสไว้ในที่ไหนว่า เมื่อจิตลงสู่สมาธิความสงบแล้วให้ใช้ปัญญาพิจารณา การสอนอย่างนี้ผิดจากคำสอนของพระพุทธเจ้าตรัสไว้เป็นอย่างมาก
    ..หลักเดิม พระพุทธเจ้าสอนว่า เมื่อจิตเป็นสมาธิความสงบแล้ว ให้จิตอยู่ในความสงบจนอิ่มตัว อย่าไปบังคับให้ถอนอย่าไปทำความกดดัน เมื่อความสงบอิ่มตัวแล้วก็จะค่อยๆถอนตัวออกมาเอง ให้มีสติรู้ว่าสมาธิกำลังถอนตัว มีสติยับยั้งเอาไว้ในขั้นอุปจาระสมาธิ เรียกว่าสมาธิตั้งใจมั่น แล้วน้อมเข้าสู่ปัญญาหรือเจริญวิปัสนาต่อไป นี้เป็นหลักเดิมที่พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ ขอให้ท่านทั้งหลายที่สนใจในวิธีทำสมาธิต้องเข้าใจตามนี้..ฯลฯ..
    ..ปัญญาวิมุติและเจโตวิมุติ มีอยู่ในคนเดียวกัน แต่ที่ต่างกันเป็นเพราะนิสัยที่ได้บำเพ็ญมาไม่เหมือนกัน ผู้มีนิสัยเจโตวิมุติ ได้แก่ ผู้ที่บำเพ็ญบารมีเหมือนพวกดาบสฤาษีที่ได้บำเพ็ญสมาธิความสงบ บำเพ็ญฌาณมาแล้วอย่างสมบูรณ์ เมื่อท่านเหล่านี้ได้มาเกิดในชาตินี้ การปฏิบัติก็ต้องเริ่มตันจากการบำเพ็ญฌาณทำสมาธิให้มีความสงบไปก่อน เมื่อจิตมีความสงบแล้ว จะถอนตัวออกมาอยู่ในขั้นอุปจารสมาธิ ที่เรียกว่า สมาธิความตั้งใจมั่น แล้วน้อมไปสู่ปัญญา พิจารณาในสัจจธรรมตามความเป็นจริง เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริงแล้ว ก็จะได้สำเร็จเป็นพระอริยเจ้าขั้นใดขั้นหนึ่งตามบารมีที่ตัวเองได้บำเพ็ญมา ถ้าเป็นในลักษณะนี้ จึงได้ชื่อว่าผู้มีนิสัยเจโตวิมุติ
    ..ผู้มีนิสัยในปัญญาวิมุติ ในชาติก่อนเคยได้บำเพ็ญในทางปัญญาบารมีมาแล้ว เมื่อมาเกิดใหม่ ได้ปฏิบัติภาวนา จะทำได้เพียงสมาธิความตั้งใจมั่นเท่านั้น แต่จะมีความโดดเด่นในทางปัญญาเป็นอย่างยิ่ง เมื่อสมาธิความตั้งใจมั่นจับคู่กับปัญญามีความสมบูรณ์พร้อมแล้ว หากพิจารณาในสัจธรรมใด ก็จะมีความรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริงในสัจธรรมนั้น และได้สำเร็จเป็นพระอริยเจ้าขั้นใดขั้นหนึ่งตามบารมีที่ตัวเองได้บำเพ็ญมา ถ้าเป็นในลักษณะนี้จึงเรียกว่า ผู้เป็นปัญญาวิมุติ ขอให้ท่านทั้งหลายได้เข้าใจตามนี้ ..ฯลฯ..เพราะในยุคนี้มีผู้ตีความในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแตกต่างกันไป แต่ใครจะตีความในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ถูกต้องที่สุดนั้น ก็เป็นความเห็นของท่านผู้นั้น
    ..ผู้มีนิสัยปัญญาวิมุติ เมื่อศึกษารู้วิธีแล้วนำมาปฏิบัติ จะเป็นของง่ายสำหรับท่านผู้นั้น อุบายในการปฏิบัติไม่มีความสลับซับซ้อนที่ยุ่งยาก ในสมัยครั้งพุทธกาล ผู้มีนิสัยเป็นปัญญาวิมุติ ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า หรือได้ฟังธรรมจากพระอริยเจ้าทั้งหลาย สามารถบรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าขั้นใดขั้นหนึ่งในขณะนั้นเป็นจำนวนมาก หรือยังไม่สำเร็จเป็นพระอริยเจ้าในขณะนั้น แต่ได้นำเอาอุบายธรรมที่ได้รู้อยู่แล้วไปปฏิบัติ ก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าได้เช่นกัน จะไปถามท่านเหล่านั้นว่าสมาธิความสงบเป็นอย่างไร ฌานนั้นฌานนี้ เป็นอย่างไร ท่านเหล่านั้นจะไม่รู้ เพราะท่านเหล่านั้นเป็นนิสัยปัญญาวิมุติ เพียงทำสมาธิตั้งใจมั่นได้แล้ว ใช้ปัญญาพิจารณาสัจธรรม มีความรู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมก็ได้บรรลุเป็นพระอริยเจ้าเท่านั้น
    ..ผู้มีนิสัยปัญญาวิมุติในสมัยครั้งพุทธกาลมีจำนวนมากถึง ๗๐ เปอร์เซ็นต์ การปฏิบัติของผู้มีปัญญาวิมุติ ไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ไม่มีพิธี ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว อยู่ในที่ไหนก็ใช้ปัญญาพิจารณาในสัจธรรมได้ จะ ยืน เดิน นั่ง นอน ทุกอิริยาบท ก็จะใช้ปัญญาพิจารณาได้ทุกเมื่อ แม้ทำงานอะไรอยู่ ก็น้อมเอางานที่เราทำ มาเป็นอุบายในทางปัญญาได้ อุบายธรรมที่จะนำมาเป็นองค์ประกอบทางปัญญามีมากมาย ถ้าเราเข้าใจในหลักของไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในทุกสถานที่ มีสัจธรรมเต็มไปหมด ไม่ว่าจะอยู่ในน้ำ บนบก หรือสถานที่แห่งใดในโลกนี้ แม้เอาปลายเข็มเจาะแทงลงไปที่ไหน จะถูกสัจธรรมความจริงในที่แห่งนั้น
    ..ธุระของผู้ปฏิบัติมี ๒ อย่าง คือ
    ..๑. คันถธุระ คือ ธุระในภาคการศึกษา
    ..๒. วิปัสสนาธุระ คือ ธุระในการใช้ปัญญาพิจารณา
    ..ธุระทั้งสองนี้ ผู้ปฏิบัติต้องศึกษาให้เข้าใจ แล้วใช้ปัญญามาพิจารณา ให้รู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริงในสิ่งนั้นๆ ภาคการศึกษาจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ไม่ว่างานทางโลก หรืองานทางธรรม ต้องศึกษาให้รู้ก่อนทั้งนั้น เพราะโลกกับธรรมอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ถ้าไม่รู้จักธรรมก็จะมองเป็นโลกไปเสียทั้งหมดถ้าผู้รู้จักธรรม ก็สามารถใช้ปัญญาพิจารณาโลกให้เป็นธรรมได้ และสามารถตีความหมายให้แยกธรรมออกจากโลกได้อย่างชัดเจน
    ..เปรียบได้กับน้ำฝน เป็นน้ำที่ใสสะอาดจืดสนิทโดยธรรมชาติ หากน้ำฝนนั้นตกลงสู่มหาสมุทร รวมอยู่ในน้ำทะเลก็จะเค็มไปด้วยกัน จะตักมาอม มาแตะปลายลิ้นเพื่อแยกแยะหาน้ำจืดนั้นจะไม่รู้เลย การแยกน้ำเค็มและน้ำจืดออกจากกันได้ ต้องมีเทคโนโลยีอันทันสมัยเข้าไปกลั่นกรอง จึงแยกน้ำจืดออกจากน้ำเค็มได้ นี้ฉันใด การปฏิบัติธรรมก็ฉันนั้น การจะแยกจิตอันบริสุทธิ์ออกจากกิเลสตัณหาอวิชชาได้ ไม่ใช่เพียงนั่งหลับตานั่งสมาธิให้ใจมีความสงบ หรือเข้าฌานนั้นฌานนี้ได้ กิเลสตัณหาอวิชชาจะเหือดแห้งไปด้วย วิธีเช่นนี้หาใช่ไม่ ดังคำบาลีที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
    ปัญญายะ ปริสุฌฺชติ (จิตจะมีความบริสุทธิ์ได้เพราะปัญญา)
    ..ไม่มีใครบรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าได้ เพราะสมาธิความสงบในฌานแต่อย่างใด ให้เราเปลี่ยนความเห็นเสียใหม่ ไม่เช่นนั้นจะไปหลงในสมาธิความสงบ หลงอยู่ในฌานตลอดไปชั่วกาลนาน..


    หลวงพ่อทูล ขิปปปัญโญ..
    https://www.facebook.com/apichai553?ref=hl
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    อยากเป็น



    *** นิทาน สอนใจ เรื่อง " อยากเป็น ..."

    โดยหลวงปู่ก้าน ฐิตธัมโม ***





    ก่อนเข้าพรรษาได้ไม่กี่วัน พระหนุ่มรูปหนึ่งเข้าไปกราบลาหลวงปู่ เพื่อขอลาสึก ด้วยตั้งใจว่าจะไปเรียนต่อในมหาวิทยาลัย และได้พูดถึงอนาคตไว้ต่างๆนานา อย่างสวยหรู ว่าจบออกมาแล้ว อยากจะทำนั่นทำนี่อยากประกอบอาชีพนั้นอาชีพนี้ ไม่ก็อยากเรียนต่อให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก จนดูเหมือนจะอยากทำอยากเป็นไปเสียทุกอย่าง
    หลวงปู่นิ่งเงียบ นั่งฟังจนพระรูปนั้นร่ายยาวจนจบ แล้วจึงเริ่มเล่าขึ้นว่า
    มีสุนัขอยู่ตัวหนึ่ง มันเบื่อการเป็นสุนัขเหลือเกิน และมักคิดว่าการเป็นสุนัขนี่มันต้อยต่ำ มันเดินเหงาหงอยไปเรื่อยๆ จนถึงเที่ยงวัน พระอาทิตย์สาดส่องลงมา ประกายเจิดจ้า มันเงยหน้ามองพระอาทิตย์อย่างชื่นชม และคิดในใจว่า เป็นพระอาทิตย์นี่ช่างสง่างามดีเหลือเกิน มีแสงเจิดจ้าและมีอานุภาพมากสามารถทำให้สว่างไปได้ทุกที่ จะแผดเผาอะไรด้วยความร้อนก็ได้ จึงเห่าออกมาดังๆว่า “ข้าจะเป็นพระอาทิตย์นี่แหละ ไม่เป็นสุนัขมันแล้ว” ว่าแล้วก็เงยหน้าชื่นชมพระอาทิตย์ อยู่ตรงนั้นเอง
    ซักพักมีเมฆลอยมาบดบังพระอาทิตย์เสียมิด ทำให้แสงสว่างจ้านั้นหายไป เจ้าสุนัขตัวเดิมก็ทำท่าเป็นหมาสงสัย พร้อมคิดในใจว่า “เมฆนี่ดูท่าจะมีอานุภาพกว่าดวงอาทิตย์นะ เพราะมันสามารถบดบังดวงอาทิตย์ไม่ให้ส่องแสงได้ ดังนั้นเมฆจะต้องยิ่งใหญ่กว่าดวงอาทิตย์แน่นอน”
    ว่าแล้วก็เห่าออกมา ดังๆอีกว่า “ข้าไม่เป็นแล้วพระอาทิตย์อะไรนั่นน่ะ ข้าจะเป็นเมฆนี่แหละ ยิ่งใหญ่กว่าดวงอาทิตย์เสียอีก” แล้วก็นั่งชื่นชมอยู่ได้เป็นนาน
    อากาศเริ่มแปรเปลี่ยนไป มีลมพัดมาวูบใหญ่ หอบเอาเจ้าเมฆกลุ่มนั้น ลอยตามลมไป เจ้าสุนัขตื่นตะลึงตกใจและออกวิ่งตามลม ลมพัดไปทางไหน ต้นไม้ใบหญ้าก็โอนลู่หลีกแหวกไปเป็นทาง เจ้าสุนัขตัวนั้นวิ่งไปพลางคิดในใจว่า “ลมนี่ช่างมีกำลังแรงนัก ขนาดเมฆที่มีอานุภาพบดบังดวงอาทิตย์ มันยังหอบเอามาได้แล้วพัดไปทางไหน ใครๆก็ต้องหลบหลีกให้หมด”
    จึงเห่าไปในขณะที่ยังวิ่งตามลมอยู่นั่นแหละ ว่า “ลมจ๋า รอด้วย ข้าอยากเป็นลมเหมือนอย่างท่าน ช่วยสอนวิชาให้ข้าด้วยเถิด” มันวิ่งเห่าไปอย่างนี้ตลอดทางโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
    จนไปสังเกตุเห็นลมกระแทกเข้ากับจอมปลวกใหญ่มหึมาตั้งขวาง ทางแยกอยู่ในป่าใหญ่ ลมพัดแรงเท่าไหร่ จอมปลวกนั้นก็ไม่สะทกสะท้าน เจ้าสุนัขหยุดมองอย่างตะลึงงัน
    พลางคิดว่า “แม้แต่ลมที่มีอานุภาพมาก สามารถจัดการเมฆที่บดบังพระอาทิตย์ได้ ต้นไม้ใหญ่แค่ไหนก้ต้องหลบหลีกเป็นพัลวัน แต่จอมปลวกนี่ช่างแข็งแกร่งยิ่งนัก ลมนั้นไม่สามารถทำอะไรมันได้เลย”
    จึงตัดสินใจเห่าขึ้นดังๆว่า “เอาล่ะข้าไม่ปงไม่เป็นแล้วลม จะเป็นจอมปลวกนี่แหละ ช่างใหญ่โตแข็งแรงบึกบึนเสียนี่กะไร"
    ยังไม่ทันที่เจ้าสุนัขจะเข้าไปฝากเนื้อฝากตัวเป็นศิษย์ กับจอมปลวก ก็มีควายตัวหนึ่งหลุดจากหลักวิ่งมาจากไหนก็ไม่ทราบ ว่าแล้วก็มาหยุดเอาสีข้างถูไถเข้ากับจอมปลวกด้วยความคันคะเยอ แรงเสียดทานทำให้จอมปลวกพังทลายลงอย่างไม่เป็นท่า
    เจ้าสุนัขเห่าอย่าง สะใจเหมือนได้ดูมวยคู่เอกอย่างไรอย่างนั้น พร้อมป่าวประกาศว่า “ข้าจะเป็นควายนี่แหละ แม้แต่จอมปลวกที่เอาชนะลมที่มีอานุภาพร้ายแรงมาได้ ก็ยังพ่ายแพ้แก่เจ้า”
    เจ้าควายยังคงยืนเอาสีข้างถูไถต่อไปและหันหน้ามา มองเจ้าสุนัขอย่างงงๆ สักพักเจ้าของควายวิ่งเอาเชือกมาคล้องจมูก พร้อมลากจูงไป เจ้าสุนัขมองดูเชือกเส้นบางๆ พร้อมคิดในใจว่า “แม้แต่ควายยังต้องยอมให้เจ้าเชือกเส้นนี้ แสดงว่า เชือกนี้ต้องศักดิ์สิทธิ์และอิทธิฤทธิ์มากมายเป็นแน่แท้”
    แต่ยังไม่ทันจะเห่าร้องป่าวประกาศใดออกมา เจ้าควายก็ชิงพูดขึ้นเสียก่อนว่า “เจ้าหมาน้อยช่วยกัดเชือกให้ข้าที”
    เจ้าสุนัขตัวนั้นไม่เห่าพล่ามทำเพลง กระโดดเข้ากัดเชือกจนขาดวิ่น ปล่อยควายให้เป็นอิสระวิ่งหนีหายไป
    แล้วจึงคิดขึ้นได้ ว่าแม้แต่เชือกที่ล่ามควายได้ยังแพ้เรา แม้แต่ควายที่เอาชนะจอมปลวกได้ ยังต้องให้เราช่วย....
    ถ้าอย่างนั้นเราเป็นสุนัขอย่างนี้ ก็ดีอยู่แล้ว จะไปเป็นนั่นเป็นนี่ทำไมอีก ว่าแล้วก็เดินจากไป



    ***********************************





    หลวงปู่ก้าน ก็ทิ้งท้ายไว้ให้พระรูปนั้นคิดเอง
    ในตอนท้าย ว่านิทานเรื่องนี้ ตกลงสอนว่าอะไร...??
    หลวงปู่ก้าน ฐิตธัมโม วัดราชายตนบรรพต อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์





    [​IMG]
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    [​IMG]



    เรื่อง อะไรจะมากยิ่งกว่า "จิตวิญญาณ" มีเต็มท้องฟ้ามหาสมุทร

    (คติธรรม หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)

    อะไรจะมากยิ่งกว่า "จิตวิญญาณ" ของสัตวโลก เต็มอยู่ในโลกอันนี้ เพราะมันไม่สูญหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง ตาม "อำนาจของกรรม" เกิดเป็นนั้นเกิดเป็นนี้อยู่อย่างนั้น ตายแล้วก็เกิดๆตายกองกัน พวกนี้พวกตายกองกัน กองทัพเขากองทับเราอยู่นั้นไม่มีทางไป

    เพราะ "จิตวิญญาณ" ไม่สูญมีเต็มท้องฟ้าอากาศ ที่ไหนเต็มไปหมด ไม่มีอะไรมากยิ่งกว่า "ธรรมชาติ" อันนี้ หนาแน่นที่สุด นี่ละเรียกว่า "กรรมของสัตว์" คือ "พระพุทธเจ้า" มาตรัสรู้ก็มากวาดเอาดวงวิญญาณเหล่านี้ที่ว่า เป็นสัตว์เป็นบุคคลเป็นเทวบุตรเทวดา แล้วก็ถอดออกไปๆพ้นไปๆ ใครจึงให้สร้างความดีซิ ถ้าอยากพ้นไปตามพระพุทธเจ้าให้สร้าง "ความดี" มันเปลี่ยนเรื่อยนะจิตวิญญาณนี่ เปลี่ยนเป็นภพนั้น ชาตินี้ตาม "อำนาจของกรรม" หมดกรรมนี้แล้วก็มีกรรมนั้นต่ออีก ภพนั้นสืบภพนี้ไปเรื่อย กรรมหนักกรรมเบามีอยู่เรื่อยๆ อย่างนั้นละ
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    ความคิดย่อมพ่ายแพ้แก่อำนาจของปัญญา
    ดังนั้นผู้มีปัญญาเท่านั้นที่จะสามารถควบคุมความคิดมิให้ก่อให้เกิดความทุกข์ได้
    นั่นก็คือผู้มีปัญญาเท่านั้นที่จะสามารถพาใจหลีกพ้นความเศร้าหมองของกิเลสได้
    ผู้ไม่มีปัญญาหาทำได้ไม่
    ปัญญามีอำนาจเหนือความคิด ก็คือปัญญามีอำนาจเหนือกิเลสนั่นเอง เพราะเมื่อปัญญาควบคุมความคิดได้ ความคิดก็จะไม่ปรุงแต่งไปกวนกิเลสที่มีอยู่เต็มโลกให้โลดเล่นเข้าประชิดติดใจ จึงเป็นการควบคุมกิเลสได้พร้อมกับการควบคุมความคิด
    ความเกิดเป็นความทุกข์
    เพราะความเกิดนำมาซึ่งความแก่ ความเจ็บ ความตาย
    ความพลัดพรากจากของรักของเจริญใจ
    ความไม่ประจวบด้วยสิ่งปรารถนาทั้งปวง
    ความทุกข์เหล่านี้หนีไม่พ้น เพราะเป็นผลตามมาก็ความเกิดอย่างแน่นอน
    ความทุกข์ทางกายหนีพ้นได้ด้วยการไม่เกิดเท่านั้น
    ส่วนความทุกข์ทางใจหนีได้ด้วยความคิด


    ******************************************
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก



    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 เมษายน 2015
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    [​IMG]
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    [​IMG]




    "..ผู้ปฏิบัติพึงใช้อุบายปัญญาฟังธรรมเทศนาทุกเมื่อ
    ถึงจะอยู่คนเดียวก็ตาม คืออาศัยการสำเหนียก
    กำหนดพิจารณาธรรมอยู่ทั้งกลางวันและกลางคืน..

    ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็เป็นรูปธรรมที่มีปรากฏอยู่
    รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ(สัมผัส) ก็มีปรากฏอยู่
    ได้เห็นอยู่ ได้ยินอยู่ ได้สูดดม ลิ้มเลีย และสัมผัสอยู่
    จิตใจเล่า ก็มีอยู่

    ความคิดนึกรู้สึกในอารมณ์ต่างๆ ทั้งดี และร้ายก็มีอยู่
    ความเสื่อม ความเจริญ ทั้งภายนอกภายใน
    ก็มีธรรมชาติอันมีอยู่

    โดยธรรมดาเขาแสดงความจริง
    คือความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ให้ปรากฏอยู่
    ทุกเมื่อ..

    เช่น ใบไม้มันสีเหลืองหล่นร่วงลงมาจากต้น
    ก็แสดงความไม่เที่ยงให้เห็นดังนี้เป็นต้น

    เมื่อผู้ปฏิบัติมาพินิจพิจารณาด้วยสติปัญญา
    โดยอุบายนี้อยู่เสมอแล้ว ชื่อว่า
    ได้ฟังธรรมอยู่ทุกเมื่อ ทั้งกลางวันและกลางคืนแลฯ.."




    หลวงปู่มั่น ภูริทัตตะเถระ
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    [​IMG]


    เรื่อง "อย่ายึดปริยัติจนเกิดกิเลส แต่ก็อย่าปล่อยวางปริยัติจนเลยศาสดา"
    (คติธรรม หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)



    ผู้ต้องการ "อบรมใจ" ให้เป็นไปเพื่อ "ความฉลาด" รู้เท่าทัน "กลมายาของกิเลส" อย่ายึด "ปริยัติ" จนเกิดกิเลส แต่ก็ "อย่าปล่อยวางปริยัติจนเลยศาสดา" ผิดพระประสงค์ของพระพุทธเจ้า ทั้งสองนัย คือ ในขณะที่ทำ "สมาธิภาวนา" อย่าส่งใจไป "ยึดปริยัติ" จนกลายเป็นอดีตอนาคตไป ให้ตั้งจิตลงสู่ "ปัจจุบัน" คือ เฉพาะหน้า มีธรรมที่ตนเกี่ยวข้อง เป็นอารมณ์เท่านั้น เมื่อมีข้อข้องใจ ตัดสินใจลงไม่ได้ว่าถูกหรือผิด เวลาออกจากที่ภาวนาแล้ว จึงตรวจสอบกับ "ปริยัติ" แต่จะตรวจสอบทุกขณะไปก็ผิด เพราะจะกลายเป็น ความรู้ในแบบ ไม่ใช่ความรู้เกิดจากภาวนา ใช้ไม่ได้
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    [​IMG]



    การจะทำให้ใจเป็นสุขผ่องใสนั้น เจ้าตัวต้องทำของตัวเอง วิธีทำก็คือ เมื่อเกิดโลภ โกรธ หลง ขึ้นเมื่อใด ให้พยายามมีสติรู้ให้เร็วที่สุดและใช้ปัญญายับยั้งให้ทันท่วงที
    อย่าปล่อยให้ช้า เพราะจะเหมือนไฟไหม้บ้าน ยิ่งดับช้า ก็ยิ่งดับยากและเสียหายมาก โดยไม่จำเป็น..



    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    "มัชฌิมา" ทางสายกลาง ในความพอดี
    "ศรัทธา" มีมากเกินไป ขาดปัญญา กลายเป็น “งมงาย”
    "ปัญญา" มีมากเกินไป ขาดศรัทธา กลายเป็น “ทิฏฐิมานะ”
    "สมาธิ" มีมากเกินไป ขาดปัญญา กลายเป็น “โมหะ”
    "ปัญญา" มีมากเกินไป ขาดสมาธิ กลายเป็น “ฟุ้งซ่าน”
    "วิริยะ" มีมากเกินไป ขาดสมาธิ กลายเป็น “เหน็ดเหนื่อย”
    "สมาธิ" มีมากเกินไป ขาดวิริยะ กลายเป็น “เกียจคร้าน”
    "สติ" มีมากเท่าไหร่ยิ่งดี "มีแต่คุณ ไม่มีโทษ"


    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี..


    [​IMG]
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    การหัดนึก "ย้อนหลัง" หัดนึก "ก่อนทำ"
    หัดนึก"ก่อนโกรธ" หัดให้มีความ "รู้ตัว"
    หัดให้มีความ "ยับยั้ง"
    การหัดอยู่เสมอ "สติ" จักเกิดมีทวีเป็นลำดับ
    จนถึงเป็น "สติรอบคอบ"
    ถ้าไม่หัด ทำจะให้มีสติขึ้นเองนั้น เป็นการยาก...
    เหมือนอย่างเมื่อประสงค์ให้ร่างกายมีพลานามัยดี
    ก็ต้องทำการบริหารให้ควรกัน


    โอวาทธรรมสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก





    [​IMG]
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    ..ตัณหาเกิดจากอะไร...


    พระพุทธเจ้าถามพระอานนท์ว่า "อานนท์ เธอว่าตัณหาเกิดจากอะไร ?"
    "ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงแสดงธรรม"
    พระองค์ก็ทรงตอบว่า
    "ตัณหาเกิดจาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เกิดได้ เพราะตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่นลิ้นได้รส กายสัมผัส"
    "มันจะดับที่ตรงไหน ?"
    "มันเกิดที่ไหน มันก็ดับที่ตรงนั้น คือมันจะดับที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ"
    "ทำอย่างไร มันจึงจะดับ ?"
    "ฝึกสติ"
    อันนี้หลักฐานยืนยันชัดเจน เพราะฉะนั้น ผู้ที่ฝึกสติ ไม่ต้องไปคำนึงว่า เราจะไปนั่งสมาธิที่ไหนในวัดใด สมาธิจะได้ลึกตื้นหนาบางเพียงใด แค่ไหน ขอให้มีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา




    พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย)
    วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา


    [​IMG]
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    อบรมการเดินจงกรม (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)

    ต้นพรรษาปี ๒๕๓๒ หลวงปู่กำหนดให้ลูกศิษย์ตั้งข้อวัตร ให้แต่ละรูป แต่ละองค์ "เดินจงกรมให้ได้สองชั่วโมง" เป็นอุบายอันเฉียบขาดในการสู้กับกิเลส โดยเฉพาะความง่วงเหงาหาวนอน โดยยกระเบียบหลวงปู่มั่น (พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต) เป็นหลักฐานอ้างอิง


    "...ระเบียบหลวงปู่มั่นนั้น ตั้งแต่ฉันน้ำฮ้อนน้ำอุ่น อาบน้ำแล้ว เพิ่นก็เข้าใส่ทางจงกรมแล้วนะ บ่แม่นไปคุยกันในโรงน้ำร้อนนะ ต้องเข้าทางจงกรม เดินจงกรม แล้วท่านเดินตั้งแต่ สมมติว่าเดินตั้งแต่ ๖ โมงถึง ๗ โมงถึง ๘ โมงอย่างนี้เป็นต้น เรียกว่า เดินจงกรมสองชั่วโมง แล้วท่านก็ขึ้นไหว้พระสวดมนต์ ไหว้พระสวดมนต์นั่งกรรมฐานก็อยู่ในขั้นสองชั่วโมงเหมือนกัน อีกสองชั่วโมงเป็น ๔ ทุ่ม เมื่อถึง ๔ ทุ่ม จากนั้นไปท่านก็พักผ่อนละ เรียกว่า จำวัด
    จำวัดนี้ก็อยู่ในขั้นสี่ชั่วโมง ๔ ทุ่ม ๕ ทุ่ม ๖ ทุ่ม ก็เที่ยงคืน ตี ๑ ตี ๒ ท่านก็ตื่นละ มันเป็นวรรคตอนของท่านภาวนานะ พอตี ๒ นี้ก็ตื่นมาละ ล้างหน้าล้างตา ถ้าวันไหนลงเดินจงกรมมา ก็ตี ๓ ตี ๔ ๒, ๓, ๔ นี้ นี้ถ้าเดินจงกรมก็เดินสองชั่วโมง ๕, ๖ ขึ้นมานี้ก็มาไหว้พระสวดมนต์นั่งภาวนา พอแจ้งสว่างได้เวลาบิณฑบาต
    ท่านทำอยู่เวลาท่านมีชีวิตอยู่ จนท่านไม่ต้องใช้นาฬิกาเหมือนพวกเราสมัยนี้หรอก เอานาฬิกาธรรมนั่นเอง ต้องมี ระเบียบธรรม น่ะจึงเป็นไปได้"
    พอถึงกลางพรรษา ในช่วงทำวัตรสวดมนต์เย็นคืนหนึ่ง หลวงปู่ก็ลุกขึ้นมาติดตามผลงาน โดยจี้ถามสมาชิกทุกรูปนามประมาณกว่า ๓๐ ที่จำพรรษา ณ ถ้ำผาปล่อง ในปีนั้น ไล่เรียงตั้งแต่หัวแถวจรดท้ายแถวเลยทีเดียว บรรยากาศของการประเมินผลในคืนนั้น มีตัวอย่างให้สัมผัสได้พอสมควร อย่างน้อยก็คงเป็นที่รื่นรมย์สำหรับองค์ผู้ประเมิน เพราะบ่อยครั้งท่านซักไซ้ไล่เรียงไปพลางหัวเราะหึๆ

    "เป็นอย่างไรล่ะ ได้ปฏิบัติอะไรบ้าง ?" หลวงปู่ทักถามลูกศิษย์ซึ่งมีที่พำนักอยู่ที่ถ้ำโสดา
    "เรื่องทางจงกรมเรื่องภาวนา ได้ทำดีขึ้นมา รึว่าบ่ได้สองชั่วโมงซี โธ่...บ่ได้เรื่อง ต้องได้สองชั่วโมง ทำเล่นๆ อยู่บ่ได้ความแต่อย่างใด ต้องเหมือนว่า จากนี้ไปหลังทำวัตรสวดมนต์"
    "จากนี้ไปเดินให้ได้สองชั่วโมง จึงค่อยไหว้พระสวดมนต์ด้วยตนเอง แล้วก็นั่งภาวนา นี่ถ้าจะเดินจงกรมนี่ซักสิบนาทีถึงหรือบ่ถึง ? รึทางจงกรมลายหรือบ่ลายก็บ่ฮู้ ต้องตั้งใจใหม่ ไปทำอย่างนี้บ่ได้นะ"

    "การเดินจงกรมนี้เป็นอุบายสำคัญ คือ ร่างกายสะดวกสบาย ไปนั่งอย่างเดียว คือ ท่องหนังสือก็ได้แต่หนังสืออย่างเดียวพอละ มันบ่ได้ ต้องมีข้อวัตรประจำ การเดินบ่ต้องพยายามอะไรมากเด้อ เดินไปถึงกุฏิก็เอาสิ่งของไว้ มีบ่ ทางจงกรมตรงนั้นมีไหมล่ะ ? มันจะตกลงซีถ้ำโสดาน่ะ เห็นว่าทางขึ้นมันลื่น ฝนตกน่ะที่ลื่น ลื่นมาก ทางขึ้นไปน่ะ ถ้าฝนไม่ตกล่ะ มันจะบ่ได้สำเร็จโสดาก่อน เวลามันเพริดลงภูเขาน่ะ โสดาตายแล้ว มันตกภูเขา มันเป็น (ท่านหัวเราะ) โซดาขวดเน้อ...ระวังไว้"
    "...ทางจงกรมยาวแค่ไหน ทางนั้น โอ้ ยี่สิบกว่าก้าว มันก็ดีแล้ว หาบ่ได้ละในเมืองโสดา มันได้ขนาดนั้น นึกว่าไปขดอยู่ บ่ได้ ต้องให้มีทางจงกรม ต้องพยายมจุดไฟบ้าง อย่าไปเหยียบงู ไม่ได้ ถ้าเหยียบหัวมันก็บ่เป็นหยัง ปากมันงับลง ถ้าไปเหยียบหางละบ่ได้ อันตราย ต้องตั้งใจขึ้นมาเน้อ ท่านว่าเอาพิธีเดินจงกรมเข้าแก้ (มันก็แก้บ่ได้ละ) ง่วงเหงาหาวนอน แก้ให้มันได้"
    "...ลุกจากนี้ไปแล้วละได้เดินจงกรมไหม คือว่า ต้องทำให้เป็นวัตรนะ จึงจะได้ บังคับตัวเองให้เป็นวัตร คือว่า ทุกคืนทุกวันน่ะ หลวงปู่มั่นท่านทำนะ โน่นถามดู รูปเพิ่นอยู่นั่น ถามหลวงปู่มั่นให้ดีว่า หลวงปู่ได้เดินจงกรมอย่างหลวงปู่สิมว่าไหม ถามเพิ่นก็ได้ ถ้าเพิ่นนิ่ง บ่ปากละ เออ...ถูก มันแม่นละ ถ้าบ่ถูก ท่านว่าเอา อูย..บ่ถูก ท่านว่าไป"
    "ต้องตั้งใจลงไป อธิษฐานใจลงไปแล้วมันจึงทำได้ ถ้าไปทำลอยๆ อย่างนั้นบ่ได้ ลอยไปลอยมาหนักเข้าก็ได้แต่ ชะยา สะนา กะตา พุทธา แล้วก็นอน (หลวงปู่ท่านหัวเราะ)
    พอจบพุทธาแล้วก็นอนลงไปเลย บ่ได้เรื่องละเน้อ ต้องตั้งใจขึ้นมาใหม่ เอาให้ได้"



    คัดลอกเนื้อหาจาก หนังสือละอองธรรม สิงหาคม, ๒๕๕๕. หน้า ๕๓-๕๖



    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 พฤษภาคม 2015
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    ทวนความรู้สึก ....................


    ปฏิบัติธรรมแล้วถ้ารู้สึกเบื่อครอบครัวเบื่อโลกเบื่อสงสาร อย่าไปเชื่อความรู้สึกของตัวเอง ถ้ามันเบื่อดูไปจนมันหายเบื่อ แต่ถ้าหากพอปฏิบัติธรรมได้ธรรมเห็นธรรมแล้วนี่ มันทำให้รู้สึกเคารพบูชาพ่อแม่ปู่ย่าตายาย เมตตาสงสารครอบครัว แล้วความรักระหว่างครอบครัวของเรานี่ ทีแรกเรารักด้วยกิเลสตัณหา แต่มาภายหลังจะเหลือแต่ความเมตตาปราณี แล้วเราจะทอดทิ้งซึ่งกันและกันไม่ได้ ยิ่งปฏิบัติไปเท่าไร ความเมตตาปราณีมันก็ยิ่งเพิ่มขึ้น เราจะอยู่ด้วยกันโดยไม่มีความหมายใดๆ ทั้งสิ้นเกี่ยวกับทางเรื่องของกิเลส เราจะมีอะไรต่อกัน หรือไม่มีอะไรต่อกัน เราจะอยู่กันได้อย่างสบายเพราะ ความรักและความเมตตาปราณีนี่เป็นความรักที่บริสุทธิ์สะอาด ถ้าความรู้สึกอันนี้เกิดขึ้นในบรรดาพ่อแม่พี่น้องทั้งหลายแล้ว สันนิษฐานได้ว่าเราปฏิบัติธรรมได้ผล
    แต่ถ้าปฏิบัติแล้วเบื่อโลกสงสารอยากโกนหัวไปบวช อย่าเพิ่งเชื่อมัน อันนั้นแหละตัวมารร้ายที่สุด บางทีเราหลงเชื่อมัน เราทิ้งครอบครัวไป ไปแล้วในเมื่อมันหายเบื่อแล้วมันก็ไปเจอข้างหน้า ไปมีข้างหน้าอีก สามีของพยาบาลคนหนึ่ง หลวงพ่อไปเทศน์ แกไปโอดครวญกับหลวงพ่ออยู่นั่น เขาบอกว่าสามีของเขาเคยไปปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดหลวงพ่อ หลวงพ่อรู้จักไหม เออ...ช่วงนี้หลวงพ่อก็ไม่ค่อยได้อยู่วัดนะ แต่ก็มีอยู่อุบาสกหลายๆท่านไปปฏิบัติอยู่นั่น แต่ก็ไม่ทราบว่าเป็นใคร แล้วเดี๋ยวนี้เขาไปยังไง ปรากฏว่าเขาไปมีครอบครัวใหม่อยู่ต่างจังหวัด มาขนเอาแต่เงินทองที่บ้านไปสร้างบ้านให้เมียใหม่อยู่ อันนี้เป็นตัวอย่าง ในเมื่อเราไปด้วยความเบื่อ ในเมื่อมันหายเบื่อแล้วมันไปเกิดชอบ นักวิปัสสนานี่ความเห็นมันดิ่ง เมื่อมันปักลงไปแล้วมันถอนยาก เพราะฉะนั้น ถ้ามันเกิดเบื่อ ดูความเบื่อให้มันจนหายเบื่อ
    หลวงพ่อบวชมาตั้งแต่อายุ ๑๔ ปี ความตั้งใจว่าจะบวชตลอดชีวิต แหม... ถึงเวลามันอยากสึกมา นอนร้องไห้ เอ้า... อะไรที่มันอยากเราจะไม่กินมัน แม้แต่ของตกลงในบาตร ถ้ามองดูแล้วมันชอบ น้ำลายไหล หยิบออก อะไรที่มันไม่ชอบที่สุด เอาอันนั้นแหละมาฉัน เราไม่กินเพื่ออร่อย เรากินเพื่อคุณค่าทางอาหาร อะไรที่มันจะเป็นคุณค่าทางอาหาร เราจะเอาสิ่งนั้น แม้ว่าเราจะไม่ชอบก็ตาม ทีนี้คนที่เรารักเราชอบเราจะไม่เข้าใกล้ เราจะเข้าใกล้คนที่เกลียดขี้หน้าเราที่สุด ถ้าใครด่า ครูบาอาจารย์องค์ไหนด่ามากๆ เราเข้าหาองค์นั้น องค์ไหนยกย่องสรรเสริญเราไม่เข้าใกล้ ครูบาอาจารย์บางองค์ว่า... พระองค์นี้มันจองหอง เราอุตส่าห์เมตตาสงสารมัน มันไม่เข้าใกล้เรา มันเข้าไปหาแต่คนที่ด่ามันเก่งๆ
    คนด่านั่นแหละ...หลวงปู่มั่น เวลาลูกศิษย์ไปขออาศัยทีแรกนี่ ท่านจะดุ...ดุ ทำถูกก็ดุ ทำผิดก็ดุ ภายใน ๑ ปีนี่ต้องทุบกันเสียจนแหลกละเอียด แต่พอ๑ ปีผ่านไป ถ้าผู้ที่โดนนี่ไม่หลบหน้าหนี มีอะไรถ่ายทอดให้หมด นี่ครูบาอาจารย์ที่ดุเก่งๆ นี่ เวลาท่านดีกับเราแล้ว ก็เรียนถามท่านว่า ขอโอกาสเถอะ เมื่อกระผมมาอยู่กับท่านอาจารย์ ทีแรกทำไมท่านถึงได้ดุนักหนา ท่านว่าไง เขาจะตีเหล็กให้มันเป็นมีดเป็นพร้า เขาจะต้องเผาไฟให้มันร้อน แล้วก็ลงตะเนินหนักๆ เอาฆ้อนเล็กๆ มาทุบ มันจะเป็นมีดเป็นพร้าได้ยังไง ต้องเผาให้ร้อน เอาตะเนินหนักๆ ขนาด ๘ ปอนด์นั่นห้ำมันลงไป มันก็เหยียดออกมาเป็นมีดเป็นพร้าที่สวยงามได้ ท่านว่าอย่างนี้ เมื่อก่อนนี้ยังข้องใจอยู่ว่าทำไมท่านถึงดุ พอท่านชี้แจงให้ฟังแล้ว อ้อเราโล่งอก เพราะฉะนั้นเราได้ดีเพราะอาจารย์ดุ อาจารย์ที่สรรเสริญอะไรนี่ นั่นแหละท่านเอายาพิษเคลือบน้ำตาลให้เรากิน ฉะนั้นจึงได้ถือคติว่า ญาติโยมคนใดพอมาถึงแล้วก็มายกย่องสรรเสริญเยินยอเคารพเลื่อมใสอย่างนั้นอย่างนี้ เท่าที่สังเกตมา หลวงพ่อนี่กลัวที่สุด ถ้าคนไหนมาแล้วก็มามองๆ... พระองค์นี้ใช้ไม่ได้ อยากจะสะพายบาตรวิ่งตามหลัง เสร็จแล้วพวกที่เขาเข้าใจดีนี่ ถึงไหนถึงกัน



    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
    วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา


    [​IMG]
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    วิธีฝึกปฏิบัติ (วิธีภาวนา) มีหลายวิธีจนสับสน


    มันก็เหมือนกับการจะเข้าไปในเมือง บางคนอาจจะเข้าเมืองทางทิศเหนือ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ฯลฯ ทางถนนหลายสาย โดยมากแล้วแนวทางภาวนาก็แตกต่างกันเพียงรูปแบบเท่านั้น ไม่ว่าท่านจะเดินทางสายหนึ่งสายใด เดินช้าหรือเดินเร็ว ถ้าท่านมีสติอยู่เสมอ มันก็เหมือนกันทั้งนั้น
    ข้อสำคัญที่สุดก็คือ แนวทางภาวนาที่ดีและถูกต้อง จะต้องนำไปสู่การไม่ยึดมั่นถือมั่น ลงท้ายแล้วก็ต้องปล่อยวางแนวทางภาวนาทุกรูปแบบด้วย ผู้ปฏิบัติต้องไม่ยึดมั่นแม้ในตัวอาจารย์ แนวทางใดที่นำไปสู่การปล่อยวาง สู่การไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็เป็นทางปฏิบัติที่ถูกต้อง
    ธรรมปฏิบัติ : หลวงพ่อชา สุภัทโท...ตอบปัญหาการปฏิบัติธรรม



    [​IMG]
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,556
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    [​IMG]


    อุบายวิปัสสนา..

    ..ธรรมชาติของดีทั้งหลาย ย่อมเกิดมาแต่ของไม่ดี มีอุปมาดั่งดอกปทุมชาติอันสวยๆ งามๆ ก็เกิดมาจากโคลนตมอันเป็นของสกปรก ปฏิกูล น่าเกลียด แต่ว่าดอกบัวนั้นเมื่อขึ้นพ้นโคลนตมแล้วย่อมเป็นสิ่งที่สะอาด เป็นที่ทัดทรงของพระราชา อำมาตย์ อุปราช และเสนาบดี เป็นต้น และดอกบัวนั้น..มิได้กลับคืนไปยังโคลนตมนั้นเลย ข้อนี้เปรียบเหมือนพระโยคาวจรเจ้า ผู้ประพฤติพากเพียรประโยคพยายาม ย่อมพิจารณาซึ่งสิ่งสกปรกน่าเกลียด จิตจึงพ้นจากสิ่งสกปรกน่าเกลียดได้ สิ่งสกปรกน่าเกลียดนั้นก็คือ ตัวเรานี้เอง

    ร่างกายนี้เป็นที่ประชุมแห่งของโสโครก คือ อุจจาระ ปัสสาวะ (มูตร คูถ) ทั้งปวง สิ่งที่ออกมาจากผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น ก็เรียกว่า ขี้ ทั้งหมด เช่น ขี้หัว ขี้เล็บ ขี้ฟัน เป็นต้น เมื่อสิ่งเหล่านี้ร่วงหล่นลงสู่อาหาร มีแกงกับเป็นต้น ก็รังเกียจ ต้องเททิ้ง กินไม่ได้ และร่างกายนี้ต้องชำระขัดสีอยู่เสมอจึงพอเป็นของดูได้ ถ้าหาไม่ก็จะมีกลิ่นเหม็นสาบ เข้าใกล้ใครก็ไม่ได้ ของทั้งปวงมีผ้า แพร เครื่องใช้ต่างๆ เมื่ออยู่นอกกายของเราก็เป็นของสะอาดน่าดู แต่เมื่อมาถึงกายนี้แล้วก็กลายเป็นของสกปรกไป เมื่อปล่อยไว้นานๆ เข้าไม่ซักฟอกก็จะเข้าใกล้ใครไม่ได้เลยเพราะเหม็นสาบ

    ดังนี้จึงได้ความว่า ร่างกายของเรานี้เป็นเรือนมูตร เรือนคูถ เป็นอสุภะ ของไม่งาม ปฏิกูลน่าเกลียด เมื่อยังมีชีวิตอยู่ก็ยังเป็นถึงปานนี้ เมื่อชีวิตหาไม่แล้ว ยิ่งจะสกปรกหาอะไรเปรียบเทียบมิได้เลย เพราะฉะนั้นพระโยคาวจรเจ้าทั้งหลาย จึงมาพิจารณาร่างกายอันนี้ให้ชำนิชำนาญด้วยโยนิโสมนสิการตั้งแต่ต้นมาทีเดียว คือ ขณะเมื่อยังเห็นไม่ทันชัดเจนก็พิจารณาส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งกายอันเป็นที่สบายแห่งจริต จนกระทั่งปรากฏเป็นอุคคหนิมิต คือ ปรากฏส่วนแห่งร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง แล้วก็กำหนดส่วนนั้นให้มาก เจริญให้มาก ทำให้มาก

    การเจริญทำให้มากนั้นพึงทราบอย่างนี้ ชาวนาเขาทำนา เขาก็ทำที่แผ่นดิน ไถที่แผ่นดิน ดำลงไปในขี้ดิน ปีต่อไปเขาก็ทำที่ขี้ดินนั้นเอง เขาไม่ได้ทำในอากาศ กลางหาว คงทำแต่ที่ดินแห่งเดียว ข้าวเขาก็ได้เต็มยุ้งเต็มฉางเอง เมื่อทำให้มากในที่ดินนั้นแล้ว ไม่ต้องร้องเรียกว่า ข้าวเอ๋ยข้าว จงมาเต็มยุ้งเน้อ ข้าวก็จะหลั่งไหลมาเอง และจะห้ามว่า ข้าวเอ๋ยข้าว จงอย่ามาเต็มยุ้งเต็มฉางเราเน้อ ถ้าทำนาในที่ดินนั้นเองจนสำเร็จแล้ว ข้าวก็มาเต็มยุ้งเต็มฉางโดยไม่ต้องสงสัยเลย

    ฉันใดก็ดี พระโยคาวจรเจ้าก็ฉันนั้น คงพิจารณากายในที่เคยพิจารณาอันถูกนิสัย หรือที่ปรากฏมาให้เห็นครั้งแรก อย่าละทิ้งเลยเป็นอันขาด การทำให้มากนั้นมิใช่หมายแต่ การเดินจงกรมเท่านั้น ให้มีสติหรือพิจารณาในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ก็ให้มีสติรอบคอบในกาลอยู่เสมอ จึงจะชื่อว่าทำให้มาก

    เมื่อพิจารณาในร่างกายนั้นจนชัดเจนแล้ว ให้พิจารณาแบ่งส่วนออกเป็นส่วนๆ ตามโยนิโสมนสิการของตน กระจายออกเป็นธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ และพิจารณาให้เห็นไปตามนั้นจริงๆ อุบายตอนนี้ ตามแต่ตนจะใคร่ครวญออกอุบายตามที่ถูกจริตนิสัยของตน แต่อย่าละทิ้งหลักเดิมที่ตนได้รู้ครั้งแรกนั่นเทียว..

    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต..




    ............................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 มิถุนายน 2015
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...