อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. พระบรมศาสดา และเหล่าผู้พระสาวก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 11 ตุลาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,558
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    [​IMG]
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,558
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    น้ำตาลสด จากต้นมะพร้าวก็ดี จากต้นตาลก็ดี จากอ้อยก็ดี เมื่อเขานำลงไปในกระทะ เอาไปเคี่ยวด้วยไฟ มันเดือดมากเข้า มากเข้า งวดมากเข้า มากเข้า มันก็จะข้น กวนมากเข้า มากเข้า มันก็จะเป็นก้อน จิตก็เหมือนกันสำรวมระวังดีแล้วก็จะนิ่ง เพราะ อารมณ์อื่นไม่ดึ่งไป ไม่ชักไป..

    หลวงปู่บัวเกตุ ปทุมสิโร






    [​IMG]
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,558
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,558
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    “ ก่อนที่จะพูดอะไร ให้ถามตัวเองว่า ที่จะพูดนี้จำเป็นหรือเปล่า ถ้าไม่จำเป็นก็อย่าพูด นี่เป็นขั้นต้นของการอบรมใจ เพราะถ้าเราควบคุมปากตัวเองไมได้ เราจะควบคุมใจได้อย่างไร ”


    ...............ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก...............
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,558
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    [​IMG]



    พระพุทธเจ้าตรัสว่า บ่วงคือทิฏฐิเป็นสิ่งที่ล่วงพ้นได้ยาก คนส่วนมากติดอยู่ในสีลัพพตปรามาส คือ ความเชื่อถือที่ไม่มีเหตุผล สักแต่ว่าเชื่อตามๆ กันมา เคยถือกันมาอย่างไรก็ถือกันต่อไป โดยมิได้พิจารณาด้วยเหตุผล การที่จะหลุดออกมาได้จากบ่วงทิฏฐินั้นเป็นไปได้ยาก ต้องฝึกหัดขัดเกลาค่อยเป็นค่อยไปทีละน้อย
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,558
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    "การปฏิบัติถ้าหยิบจากตำราโน้นนี้ หรือแบบแผนมาสังสัยถาม มักจะโต้เถียงกันเปล่า โดยมากชอบเอาอาจารย์โน่นนี่ว่าอย่างนั้นอย่างนี้มา การจะปฏิบัติให้รู้ธรรม เห็นธรรม ต้องทำจริง จะได้อยู่ที่ทำจริง ข้าเป็นคนมีทิฐิแรง เรียนจากครูบาอาจารย์นี้ยังไม่ได้ผลก็จะต้องเอาให้จริงให้รู้ ยังไม่ไปเรียนกับอาจารย์อื่น ถ้าเกิดไปเรียนกับอาจารย์อื่นโดยยังไม่ทำให้จริง ให้รู้ ก็เหมือนดูถูกดูหมิ่นครูอาจารย์"

    คติธรรมคำสอนโดย... หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก ต.ธนู อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา




    [​IMG]
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,558
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสสอนธรรมไว้ มีความสำคัญดังนี้

    ใครจักมีความเห็นในการปฏิบัติเป็นอย่างไร ก็เรื่องของเขา จงอย่าไปขัดคอใคร เพราะบารมีธรรมของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน คิดได้เท่านี้ ก็จักวางอารมณ์ให้ลงตัวธรรมดาได้



    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 ตุลาคม 2015
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,558
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,558
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    อัตตานุทิฐิ ความถือผิด ด้วยอาการ ๒๐

    [​IMG]



    อัตตานุทิฐิ ความถือผิด
    ด้วยอาการ ๒๐


    ท่านพระสารีบุตร ได้อธิบายเรื่องอัตตานุทิฐิ
    ไว้อย่างละเอียด และอุปมาเปรียบไว้อย่าง
    แยบคาย ดังนี้

    [๓๑๒] อัตตานุทิฐิ มีความถือผิด
    ด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน
    ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้
    ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า
    ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า
    ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า
    ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ
    ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ
    ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ

    ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง
    เห็นตนว่ามีรูปบ้าง
    เห็นรูปในตนบ้าง
    เห็นตนในรูปบ้าง

    ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตนบ้าง
    เห็นตนมีเวทนาบ้าง
    เห็นเวทนาในตนบ้าง
    เห็นตนในเวทนาบ้าง

    ย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตนบ้าง
    เห็นตนมีสัญญาบ้าง
    เห็นสัญญาในตนบ้าง
    เห็นตนในสัญญาบ้าง

    ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตนบ้าง
    เห็นตนมีสังขารบ้าง
    เห็นสังขารในตนบ้าง
    เห็นตนในสังขารบ้าง

    ย่อมเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง
    เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง
    เห็นวิญญาณในตนบ้าง
    เห็นตนในวิญญาณบ้าง ฯ

    [๓๑๓] ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน
    อย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้
    ย่อมเห็นปฐวีกสิณโดยความเป็นตน คือ
    ย่อมเห็นปฐวีกสิณและตนไม่เป็นสองว่า
    ปฐวีกสิณอันใด เราก็อันนั้น
    เราอันใดปฐวีกสิณก็อันนั้น

    เปรียบเหมือน
    เมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่
    บุคคลเห็นเปลวไฟและแสงสว่าง
    ไม่เป็นสองว่า เปลวไฟอันใด
    แสงสว่างก็อันนั้น แสงสว่างอันใด
    เปลวไฟก็อันนั้น ฉันใด

    บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
    เหมือนกัน ย่อมเห็นปฐวีกสิณ
    โดยความเป็นตน คือ
    ย่อมเห็นปฐวีกสิณและตนไม่เป็นสองว่า
    ปฐวีกสิณอันใด เราก็อันนั้น
    เราอันใด ปฐวีกสิณก็อันนั้น

    ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด
    ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ
    ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง
    ทิฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฐิ
    มีรูปเป็นวัตถุที่ ๑

    อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ เป็นทิฐิวิบัติ
    บุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยอัตตานุทิฐิ
    ย่อมมีคติเป็นสอง ฯลฯ
    เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฐิ ฯ

    บุคคลบางคนในโลกนี้
    ย่อมเห็นอาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ
    โดยความเป็นตน คือ
    ย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสองว่า
    โอทาตกสิณอันใด เราก็อันนั้น
    เราอันใดโอทาตกสิณก็อันนั้น

    เปรียบเหมือน
    เมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่
    บุคคลเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า
    เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น
    แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น ฉันใด
    บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันฯลฯ
    ย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสอง

    ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด
    ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ
    ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง
    ทิฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฐิมีรูปเป็นวัตถุที่ ๑
    อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ เป็นทิฐิวิบัติ ฯลฯ
    เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ
    บุคคลย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯ

    [๓๑๔] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้
    ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร
    วิญญาณ โดยความเป็นตน
    เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า
    นี้แลเป็นตัวตนของเรา
    แต่ตัวตนของเรานี้นั้นมีรูปด้วยรูปนี้
    ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นตนว่ามีรูป

    เปรียบเหมือนต้นไม้มีเงา
    บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า
    นี่ต้นไม้ นี่เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง
    เงาเป็นอย่างหนึ่ง แต่ต้นไม้นี้นั้นแล
    มีเงาด้วย เงานี้ ดังนี้ ชื่อว่า
    ย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใด

    บุคคลบางคนในโลกนี้
    ก็ฉันนั้น เหมือนกัน
    ย่อมเห็น เวทนา สัญญา สังขาร
    วิญญาณ โดยความเป็นตน
    เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า
    นี้แลเป็นตัวตนของเรา
    แต่ตัวตนของเรานี้นั้นมีรูปด้วยรูปนี้ ดังนี้
    ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีรูป

    ทิฐิคือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด
    ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ
    ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง
    ทิฐิและวัตถุ นี้เป็นอัตตานุทิฐิ
    มีรูปเป็นวัตถุที่ ๒
    อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ
    เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ
    ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างนี้ ฯ

    [๓๑๕] ปุถุชนย่อมเห็นรูปในตนอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้
    ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร
    วิญญาณโดยความเป็นตน

    เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า
    นี้แลเป็นตัวตนของเรา
    ก็แลในตัวตนนี้มีรูปเช่นนี้
    ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นรูปในตน

    เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม
    บุรุษพึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า
    นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม
    ดอกไม้อย่างหนึ่ง กลิ่นหอมอย่างหนึ่ง
    แต่กลิ่นหอมนี้นั้นแลมีอยู่ในดอกไม้นี้
    ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด

    บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร
    วิญญาณ โดยความเป็นตน
    เขาย่อมมีความเห็นอย่างนี้ว่า
    นี้แลเป็นตัวตนของเรา
    ก็แลในตัวตนนี้มีรูปเช่นนี้
    ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นรูปในตน

    ทิฐิ คือ ความลูลคลำด้วยความถือผิด
    ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิฯลฯ
    นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีรูปเป็นวัตถุที่ ๓
    อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ
    เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ
    ปุถุชนย่อมเห็นรูปในตนอย่างนี้ ฯ

    [๓๑๖] ปุถุชนย่อมเห็นตนในรูปอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้
    ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร
    วิญญาณโดยความเป็นตน
    เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา
    แต่ตัวตนของเรานี้นั้นมีอยู่ในรูปนี้
    ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นตนในรูป

    เปรียบเหมือนแก้วมณีที่ใส่ไว้ในขวด
    บุรุษพึงพูดถึงแก้วมณีนั้นอย่างนี้ว่า
    นี้แก้วมณี นี้ขวด แก้วมณีเป็นอย่างหนึ่ง
    ขวดเป็นอย่างหนึ่ง แต่แก้วมณีนี้นั้นแล
    มีอยู่ในขวดนี้ ดังนี้ชื่อว่า
    ย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด

    บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร
    วิญญาณ โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า
    นี้แลเป็นตัวตนของเรา
    แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแล มีอยู่ในรูปนี้
    ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในรูป

    ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด
    ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ
    ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง
    ทิฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฐิ
    มีรูปเป็นวัตถุที่ ๔
    อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ
    เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ
    ปุถุชนย่อมเห็นรูปในตนอย่างนี้ ฯ

    [๓๑๗] ปุถุชนย่อมเห็นเวทนา
    โดยความเป็นตนอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้
    ย่อมเห็นจักขุสัมผัสสชาเวทนา ...
    มโนสัมผัสสชาเวทนา โดยความเป็นตน คือ
    ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเวทนาและตน
    ไม่เป็นสองว่า
    มโนสัมผัสสชาเวทนาอันใดเราก็อันนั้น เราอันใดมโนสัมผัสสชาเวทนาก็อันนั้น

    เปรียบเหมือน
    เมื่อประทีปน้ำมันลุกโพลงอยู่
    บุคคลย่อมเห็นเปลวไฟและแสงสว่าง
    ไม่เป็นสองว่า
    เปลวไฟอันใดแสงสว่างก็อันนั้น
    แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น ฉันใด
    บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเวทนา
    โดยความเป็นตน คือ
    ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเวทนาและตน
    ไม่เป็นสองว่า
    มโนสัมผัสสชาเวทนาอันใดเราก็อันนั้น
    เราอันใด มโนสัมผัสสชาเวทนาก็อันนั้น

    ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด
    ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ
    ทิฐิเป็นอย่างหนึ่งวัตถุเป็นอย่างหนึ่ง
    ทิฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฐิ
    มีเวทนาเป็นวัตถุที่ ๑
    อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ
    เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่ไม่ใช่ทิฐิ
    ปุถุชนย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน
    อย่างนี้ ฯ

    [๓๑๘] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีเวทนาอย่างไรฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้
    ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูป โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า
    นี้แลเป็นตัวตนของเรา
    แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้นแล
    มีเวทนาด้วยเวทนานี้
    ดังนี้ ชื่อว่า เห็นตนว่ามีเวทนา

    เปรียบเหมือนต้นไม้มีเงา
    บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า
    นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง
    เงาเป็นอย่างหนึ่ง แต่ว่าต้นไม้นี้นั้นแล
    มีเงาด้วยเงานี้ ดังนี้ ชื่อว่า
    ย่อมเห็นต้นไม้มีเงา ฉันใด

    บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูป
    โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า
    นี้แลเป็นตัวตนของเรา
    แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแล
    มีเวทนาด้วยเวทนานี้

    ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีเวทนา
    ทิฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิด
    ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ
    ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง
    ทิฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฐิ
    มีเวทนาเป็นวัตถุที่ ๒
    อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ
    เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ
    ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีเวทนาอย่างนี้ ฯ

    [๓๑๙] ปุถุชนย่อมเห็นเวทนาในตนอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้
    ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูป
    โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า
    นี้แลเป็นตัวตนของเรา
    ก็และในตัวตนนี้มีเวทนานี้
    ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นเวทนาในตน

    เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม
    บุรุษพึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า
    นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม
    ดอกไม้เป็นอย่างหนึ่ง กลิ่นหอมเป็นอย่างหนึ่ง
    แต่กลิ่นหอมมีอยู่ในดอกไม้นี้

    ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด
    บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูป
    โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า
    นี้แลเป็นตัวตนของเรา
    ก็แลในตัวตนนี้มีเวทนา
    ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นเวทนาในตน

    ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด
    ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ฯลฯ
    นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีเวทนาเป็นวัตถุที่ ๓
    อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ
    เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ
    ปุถุชนย่อมเห็นเวทนาในตนอย่างนี้ ฯ

    [๓๒๐] ปุถุชนย่อมเห็นตนในเวทนาอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้
    ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูป
    โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า
    นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้
    นั้นแลมีอยู่ในเวทนานี้
    ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นตนในเวทนา

    เปรียบเหมือนฯลฯ
    ชื่อว่าย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด
    บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ...
    ชื่อว่า ย่อมเห็นตนในเวทนา
    ทิฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิด
    ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ
    ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง
    ทิฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฐิ
    มีเวทนาเป็นวัตถุที่ ๔
    อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ
    เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใชทิฐิ
    ปุถุชนย่อมเห็นตนในเวทนาอย่างนี้ฯ

    [๓๒๑] ปุถุชนย่อมเห็นสัญญา
    โดยความเป็นตน อย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้
    ย่อมเห็นจักขุสัมผัสสชาสัญญา ...
    มโนสัมผัสสชาสัญญาโดยความเป็นตน คือ
    ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาสัญญาและตน
    ไม่เป็นสองว่า มโนสัมผัสสชาสัญญาอันใด
    เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาสัญญา
    ก็อันนั้น

    เปรียบเหมือน
    เมื่อประทีปน้ำมันลุกโพลงอยู่
    บุคคลย่อมเห็นเปลวไฟและแสงสว่าง
    ไม่เป็นสอง ... ฉันใด
    บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาสัญญาและตน
    ไม่เป็นสองว่า มโนสัมผัสสชาสัญญาอันใด
    เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาสัญญา
    ก็อันนั้น

    ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด
    ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ
    ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง
    นี้เป็นอัตตานุทิฐิ มีสัญญาเป็นวัตถุที่ ๑
    อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ
    เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ
    ปุถุชนย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตน
    อย่างนี้ ฯ

    [๓๒๒] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสัญญาอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้
    ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา
    โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า
    นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้
    นั้นแลมีสัญญาด้วยสัญญานี้
    ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีสัญญา

    เปรียบเหมือนต้นไม้มีเงา ...
    ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใด
    บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา
    โดยความเป็นตน ...
    นี้เป็นอัตตานุฐิทิมีสัญญาเป็นวัตถุ ๒
    อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ
    เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ
    ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสัญญาอย่างนี้ ฯ

    [๓๒๓] ปุถุชนย่อมเห็นสัญญาในตนอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้
    ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา
    โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า
    นี้แลเป็นตัวตนของเรา
    ก็แลในตัวตนนี้มีสัญญานี้
    ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นสัญญาในตน

    เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม ...
    ชื่อว่าย่อมเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด
    บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา
    โดยความเป็นตน ...

    นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีสัญญาเป็นวัตถุที่ ๓
    อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ
    เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่ไม่ใช่ทิฐิ
    ปุถุชนย่อมเห็นสัญญาในตนอย่างนี้ ฯ

    [๓๒๔] บุคคลย่อมเห็นตนในสัญญาอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้
    ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา
    โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า
    นี้เป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้น
    แลมีอยู่ในสัญญาอย่างนี้
    ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในสัญญา

    เปรียบเหมือนแก้วมณีที่เขาใส่ไว้ในขวด ...
    ชื่อว่าย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด
    บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา
    โดยความเป็นตน ...
    นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีสัญญาเป็นวัตถุที่ ๔
    อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ
    เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ
    ปุถุชนย่อมเห็นตนในสัญญาอย่างนี้ ฯ

    [๓๒๕] ปุถุชนย่อมเห็นสังขาร
    โดยความเป็นตนอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้
    ย่อมเห็นจักขุสัมผัสสชาเจตนา ...
    มโนสัมผัสสชาเจตนา โดยความเป็นตน คือ
    ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเจตนาและตน
    ไม่เป็นสองว่า
    มโนสัมผัสสชาเจตนาอันใดเราก็อันนั้น
    เราอันใดมโนสัมผัสสชาเจตนาก็อันนั้น

    เปรียบเหมือน
    เมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่
    บุคคลย่อมเห็นเปลวไฟและแสงสว่าง
    ไม่เป็นสอง ... ฉันใด
    บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเจตนา
    โดยความเป็นตน ...
    นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีสังขารเป็นวัตถุที่ ๑
    อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ
    เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ
    ปุถุชนย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตน
    อย่างนี้ ฯ

    [๓๒๖] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสังขาร
    อย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้
    ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา
    โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า
    นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้
    นั้นแลมีสังขารด้วยสังขารนี้
    ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนมีสังขาร

    เปรียบเหมือนต้นไม้มีเงา
    บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ ...
    ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นว่าต้นไม้มีเงาฉันใด
    บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา
    โดยความเป็นตน ...
    นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีสังขารเป็นวัตถุที่ ๒
    อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ
    เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ
    ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสังขารอย่างนี้ ฯ

    [๓๒๗] ปุถุชนย่อมเห็นสังขารในตนอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้
    ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา
    โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า
    นี้แลเป็นตัวตนของเรา
    ก็แลในตัวตนนี้มีสังขารเหล่านี้
    ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นสังขารในตน

    เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม ...
    ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
    เหมือนกัน ย่อมเห็นวิญญาณ รูปเวทนา
    สัญญา โดยความเป็นตน ...
    นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีสังขารเป็นวัตถุที่ ๓
    อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ
    เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ
    ปุถุชนย่อมเห็นสังขารในตนอย่างนี้ ฯ

    [๓๒๘] ปุถุชนย่อมเห็นตนในสังขารอย่างไรฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้
    ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา
    โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า
    นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้
    นั้นแลมีอยู่ในสังขารนี้
    ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในสังขาร

    เปรียบเหมือนแก้วมณีที่เขาใส่ไว้ในขวด ...
    ชื่อว่าเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด
    บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา
    โดยความเป็นตน ...
    นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีสังขารเป็นวัตถุที่ ๔
    อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ
    เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ
    ปุถุชนย่อมเห็นตนในสังขารอย่างนี้ ฯ

    [๓๒๙] ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณ
    โดยความเป็นตนอย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้
    ย่อมเห็นจักขุวิญญาณ ...
    มโนวิญญาณ โดยความเป็นตน คือ
    ย่อมเห็นมโนวิญญาณและตนไม่เป็นสองว่า
    มโนวิญญาณอันใด เราก็อันนั้น
    เราอันใด มโนวิญญาณก็อันนั้น

    เปรียบเหมือน
    ประทีปน้ำมันอันลุกโพลงอยู่
    บุคคลย่อมเห็นเปลวไฟและแสงสว่าง
    ไม่เป็นสอง ...ฉันใด
    บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    ย่อมเห็นมโนวิญญาณโดยความเป็นตน...
    นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๑
    อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ
    เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ
    ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน
    อย่างนี้ ฯ

    [๓๓๐] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณ
    อย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้
    ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า
    นี้แลเป็นตัวตนของเรา
    แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้น
    แลมีวิญญาณด้วยวิญญาณนี้
    ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณ

    เปรียบเหมือนต้นไม้มีเงา ...
    ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใด
    บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร
    โดยความเป็นตน
    นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๒
    อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ
    เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่ไม่ใช่ทิฐิ
    ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณอย่างนี้ ฯ

    [๓๓๑] ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณในตน
    อย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้
    ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร
    โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า
    นี้แลเป็นตัวตนของเรา
    ก็แลในตัวตนนี้มีวิญญาณนี้
    ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นวิญญาณในตน

    เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม... ฉันใด
    บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    ย่อมเห็นรูป เวทนาสัญญา สังขาร
    โดยความเป็นตน ...
    นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๓
    อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ
    เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิปุถุชน
    ย่อมเห็นวิญญาณในตนอย่างนี้ ฯ

    [๓๓๒] ปุถุชนย่อมเห็นตนในวิญญาณ
    อย่างไร ฯ
    บุคคลบางคนในโลกนี้
    ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร
    โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า
    นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้
    นั้นแลมีอยู่ในวิญญาณนี้
    ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในวิญญาณ

    เปรียบเหมือนแก้วมณีที่เขาใส่ไว้ในขวด ...
    ชื่อว่าย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด
    บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร
    โดยความเป็นตน นี้เป็นอัตตานุทิฐิ
    มีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๔ ฯลฯ
    เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่ไม่ใช่ทิฐิ
    ปุถุชนย่อมเห็นตนในวิญญาณอย่างนี้
    อัตตานุทิฐิมีความถือผิด
    ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ

    ___________________

    ตท(ฉบับหลวง)
    เล่มที่ ๓๑ หน้า ๑๑๒-๑๑๘
    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,558
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    [​IMG]
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,558
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    "แม้นตายเราก็ไม่ทิ้งธรรม"

    [​IMG]




    เอาชาดกมาเล่าสู่กันฟังคับ....
    มีภิกษุ ๓๐รูปปรารถนาจะหลุดพ้นจากทุกข์ จึงเรียนกัมมัฏฐานในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วไปจำพรรษาอยู่ในวัดป่า โดยตั้งกติกากันว่า “เราควรทำสมณธรรมตลอดทั้งคืน ไม่ควรประมาทในทั้งสามยาม ไม่ควรที่จะมาคลุกคลีพูดคุยกัน เพราะจะทำให้ใจฟุ้งซ่าน” หลังจากนั้นต่างคนก็ต่างแยกย้ายกันไปบำเพ็ญเพียร
    ภิกษุเหล่านั้นพากันทำสมณธรรมตลอดทั้งคืน ตอนใกล้รุ่ง ก็โงกหลับไป มีเสือตัวหนึ่งมาจับภิกษุไปกิน ทีละรูปๆ ไม่มีรูปไหนร้องออกมา เพราะมีจิตที่มุ่งตรงต่อการปฏิบัติธรรม ไม่หวั่นไหว และเกรงจะไปรบกวนเพื่อนภิกษุด้วยกัน
    ในที่สุดภิกษุกลุ่มนั้น ถูกเสือกินไปถึง ๑๕รูป ครั้นพอถึงวันอุโบสถ ภิกษุที่เหลือต่างถามว่า “พวกเราหายไปไหนตั้งครึ่งหนึ่ง” เมื่อสอบถามกันรู้เรื่องแล้ว จึงตกลงกันว่าให้ตะโกนบอกกันถ้าเสือมา
    วันหนึ่ง เสือได้มาจับภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง ภิกษุหนุ่มจึงร้องว่า "เสือมาแล้ว" ภิกษุทั้งหลายพากันถือไม้เท้าและคบเพลิงติดตาม หวังว่าจะให้มันปล่อยภิกษุรูปนั้น แต่เสือวิ่งหนีขึ้นไปยังเขาขาด พวกภิกษุตามไปไม่ได้ เสือเริ่มกินภิกษุรูปนั้นตั้งแต่นิ้วเท้าขึ้นมา
    เมื่อไปช่วยไม่ได้ เพื่อนภิกษุที่เหลือต่างได้แต่ปลอบใจว่า "สัตบุรุษ ขอให้ท่านรักษาใจไว้ให้ดี บัดนี้ พวกเราช่วยเหลือท่านไม่ได้ หากท่านรักษาใจไม่ให้หวั่นไหว ท่านจะไม่ว่างเปล่าจากคุณวิเศษแน่นอน"
    แม้ภิกษุหนุ่มนั้น จะอยู่ในปากเสือ ก็ข่มเวทนาไว้ รักษาใจให้สงบหยุดนิ่ง พลางเจริญวิปัสสนา ตอนเสือกินถึงข้อเท้า ท่านได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน กินไปถึงหัวเข่า บรรลุเป็นพระสกทาคามี กินไปถึงท้อง บรรลุเป็นพระอนาคามี ครั้นกินไปยังไม่ถึงหัวใจ ท่านได้บรรลุพระอรหัต ถึงพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา จึงเปล่งอุทานว่า "เรามีศีล ถึงพร้อมด้วยวัตร มีปัญญา มีใจมั่นคงดีแล้ว อาศัยความประมาทครู่หนึ่ง ทั้งที่มีใจไม่คิดร้ายกับเสือ มันจับเราไว้ในกรงเล็บ พาไปไว้บนก้อนหิน แล้วกินเราถึงกระดูกและเอ็นก็ตาม เราตั้งใจจักทำกิเลสให้สิ้นไป จึงได้สัมผัสวิมุตติอันยอดเยี่ยม"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,558
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    หลวงพ่อฤๅษีตอบปัญหาธรรม
    เรื่อง เจ็บใจ ทำบุญไม่ขึ้น
    ผู้ถาม : เจ็บใจเหลือเกินเจ้าคะ ทำความดีมาหลายครั้ง ปรากฏว่าทำบุญแล้วไม่ขึ้น
    หลวงพ่อ : การให้ถือว่าเป็นจาคานุสสติกรรมฐาน เป็นตัวตัดความโลภ เมื่อความโลภมันตัดได้แล้ว กิเลสมันก็ยังอยู่อีกตัวหนึ่ง คือความโกรธ เขาก็มาซ้อม
    ต้องจำไว้ว่าคนมีทั้งดีทั้งเลว จำไว้ว่าในโลกนี้ถึงจะทำความดีขนาดไหนก็ตาม คนที่เห็นความดีมันเห็นยาก ก็ไม่ควรจะมาโลกนี้อีกต่อไป ตัดสินใจอย่างนี้นะ ของที่ให้ไปแล้วก็ถือว่าก็แล้วกันไป ไอ้ที่เขาว่าก็ถือเป็นอโหสิกรรมไป แต่ว่าจำหน้าไว้ว่าคนนี้ไม่ควรให้ต่อไป
    ต้องทำตามพระพุทธเจ้าบอก อย่างบิดาท่านวิสาขาท่านแนะนำว่า "ผู้ให้เราจงให้ ผู้ไม่ให้เราอย่าให้" ถ้าเราให้เขาไป สมมุติเขามายืมของไป เขาส่งคืนเราก็ให้เขาต่อไป ถ้ายืมของไปแล้วเขาไม่ส่งกลับ คนนั้นเลิกให้ต่อไป แล้วไอ้คนที่เราให้ไปแล้วไม่รู้สึกคุณ ก็ไม่ควรจะให้ต่อไป



    https://www.facebook.com/BuddhaSattha?fref=photo
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,558
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,558
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    [​IMG]
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,558
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,558
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    [​IMG]
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,558
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    [​IMG]



    ถ้าเราไม่ชั่วเราก็ไม่เห็นคนอื่นชั่ว
    ถ้าเราชั่วมาก เราเห็นคนอื่นชั่วมาก
    ถ้าเราชั่วน้อย เราเห็นคนอื่นชั่วน้อย
    ถ้าเราไม่ชั่วเลยเป็นพระอรหันต์ เห็นคนอื่นไม่ชั่ว
    เพราะว่าพระพุทธเจ้าเองไม่เคยตำหนิใครว่าเป็น
    คนชั่ว เพราะทุกคนเกิดมาตามกำลังกฎของกรรม



    พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,558
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    "....จงทราบว่า ขณะที่ภาวนาอยู่ ถ้าจิตไม่เข้าถึงฌานสมาบัติจะหลับไม่ได้เลย ถ้าภาวนาไปๆนานเกินไปมันหลับไม่ลงก็เลิก ปล่อยจิตคิดไปตามอารมณ์ ช่างมัน มันจะไปไหนก็ช่างมัน เดี๋ยวมันก็หลับ
    ....ถ้าเผอิญเราภาวนาไป เราก็คิดว่าจะภาวนาสัก ๑๐ - ๒๐ - ๓๐ หรือ ๑๐๘ ก็ตาม ถ้าภาวนาไปครั้งสองครั้งสามครั้ง มันจะหลับต้องปล่อยเลย จงทราบว่า ถ้าเริ่มภาวนาพอจิตจะเคลิ้มหลับ
    ...ตอนที่จิตจะเคลิ้มหลับ เป็นอุปจารสมาธิ ถ้าอุปจารสมาธิละเอียด ถ้าจิตเข้าถึงปฐมฌานจะตัดหลับทันที ถ้าเป็นได้อย่างนี้ก็ควรจะภูมิใจมาก
    ....สมมุติว่า ถ้าภาวนา พุทโธ หรือ นะ มะ พะ ธะ พอนึกว่า พุท ไม่ทัน โธ หลับ นะ ไม่ทันพะ หลับ เอ ชักยุ่งแล้ว แต่ความจริงควรจะภูมิใจว่า ดี นี่แหละจิตเข้าถึงฌานเร็ว เพราะการฝึกสมาธิ เราต้องการให้จิตเข้าถึงฌานให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ อย่าไปนึกว่าขี้เกียจเสียแล้ว นะ คงไม่เป็นเรื่อง ไม่ใช่อย่างนั้นนะมันเป็นผลดี..
    ....คือ พุท ไม่ทัน โธ หลับ แสดงว่าพอ พุท จิตเข้าถึงปฐมฌานก็ตัดหลับ นี่พระพุทธเจ้าต้องการแบบนี้ ถ้า นะ ไม่ทัน พะ หลับ อันนี้จิตเข้าถึงฌาน อย่างนี้ต้องการมาก
    ....และขณะที่กำลังหลับเพราะฌานสมาบัติ อย่างนี้ต้องทราบเลยว่า หลับเพราะสมาบัติ ขณะที่หลับอยู่ ท่านถือว่าเป็นการทรงฌานตลอดเวลา จนกว่าจะตื่น ถ้าขณะที่ท่านภาวนาแล้วหลับ โดยจิตท่านไม่ตั้งอยู่ที่นิพพาน ถ้าตายเวลาหลับไปพรหมโลกทันที เพราะคนที่ตายขณะทรงฌานอยู่ไปพรหมโลก..."
    "..... ถ้าจะถามว่า หลับในสมาธิต่ำกว่าฌานมีไหม ก็ต้องตอบว่าเวลาจะหลับ อย่างต่ำที่สุดจิตจะต้องเข้าถึงปฐมฌาน
    ...ถ้าภาวนาไปจนหลับ ต้องสังเกตเวลาตื่น ถ้าเราตื่นมารู้สึกตัวเต็มที่ ตื่นแล้วไม่ต้องรีบลุก ถ้าภาวนาจนหลับ ถ้าตื่นขึ้นอย่าลุกขึ้นมาภาวนา นอนอยู่อย่างนั้น ภาวนาต่อไป ถ้าลุกขึ้นมา
    จิตเคลื่อน สมาธิมันก็เคลื่อน นอนอยู่แบบนั้น ภาวนาต่อไปเลย
    ถ้าหากเราตื่นเต็มที่ รู้สึกตัวเต็มที่ ไม่ภาวนาเอง เราต้องบังคับให้ภาวนา นี่แสดงว่าขณะหลับ เราเข้าถึงปฐมฌานหยาบ ปฐมฌานหยาบนี้เป็นพรหมชั้นที่ ๑ ได้ มีสิทธิ์เป็นพระโสดาบันได้ ...
    .....ถ้าหากว่า เวลาตื่นขึ้นมา รู้สึกตัวเต็มอัตราแล้ว มันเกิดภาวนาขึ้นมาเองในขณะนั้น ก็เป็นเครื่องสังเกตว่า ขณะที่หลับเราเข้าถึงปฐมฌานชั้นกลาง
    ...ปฐมฌานนี้มี ๓ อย่าง คือ หยาบ กลาง ละเอียด
    ....และอีกอันหนึ่ง ถ้าตื่นขึ้นมารู้สึกตัวครึ่งหลับครึ่งตื่น ไม่ทันจะตื่นเต็มที่ รู้สึกตัวว่าภาวนาอยู่แล้ว เวลาจะหลับเข้าถึงปฐมฌาละเอียด จุดนี้ ถ้าตายจากความเป็นคนก็เป็นพรหมชั้นที่ ๓
    ..ปฐมฌานอย่างกลาง เป็นพรหมชั้นที่ ๒
    ..ปฐมฌานอย่างหยาบ เป็นพรหมชั้นที่ ๑ ..."
    .
    .
    จาก...หนังสือโวาทหลวงพ่อวัดท่าซุง เล่ม ๒ หน้า ๔๔ - ๔๕
    โดย...หลวงพ่อฤาษีฯ.วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,558
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    ตาย

    คำสอนหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง


    สุดท้ายของชีวิต

    (จิตมีสภาพจำ)


    อย่าลืมนะ ปลายมือเวลาเจ็บหนัก ราคะ
    โทสะ โมหะ มันไม่มี
    ีป่วยหนักจะไปนึกอยากแต่งงานกับใคร ลุกไม่ไหว
    ป่วยหนักอยากจะรวยหรือ? ไม่ไหว !
    ป่วยหนักอยากจะตีใครหรือ? ไม่ไหว !
    เพราะฉะนั้นกิเลสมันว่างหมด
    ถ้าจิตจับนิพพานเป็นอารมณ์ มันจะไปเร็ว จับไว้
    ก่อน ไอ้เมื่อก่อนถึงนิพพานไปเรื่อยๆ
    จิตจะมีสภาพจำ
    ตอนนั้นช่องว่างปั๊บ! มันจะแทรกกรรมเข้าไม่ได้เลย ตีเอาขึ้นเลย พระพุทธเจ้าท่านก็ไปแบบนี้
    นี่เป็นเรื่องของท่าน
    วันนั้นที่โยมอะไรถาม ฉันนั่งอยู่ตรงนี้ โยมแกร้อง
    ถามมา ถามว่า "คนยังมีกิเลสมากอยู่ ให้ตั้งใจไป
    นิพพานจะไปได้ไหมครับ เวลาตาย?"
    พอขยับจะตอบสมเด็จฯ ท่านบอก
    "ตอบเขาว่าอย่างนี้"
    ท่านอยู่ใกล้ๆ ท่านก็เลยบอกให้ถามว่า
    "คนที่กำลังป่วยร้อง โอ๊ยๆ นี่มันอยากจะไปแต่งงาน
    กับใครไหม...?" ไม่ไหว !
    "อยากจะรวยมีไหม?" ไม่ไหว !
    "อยากจะตีกับใครไหม?" ไม่ไหว !
    นี่กิเลสว่างหมดตรงนี้ กิเลสว่างหมด เหลือ
    แต่ทุกขเวทนา
    ใจเดิมที่ตั้งใจคิดว่าจะไปนิพพาน มันทรงตัว
    เป็น "อธิษฐานบารมี" มันจะพาไปเลย เท่านี้เอง
    พออรหัตผลเข้ามาปั๊บก็ตายวันนั้นแหละ !
    วันที่ตายคือวันที่เป็นพระอรหันต์ อรหัตผลเมื่อไร
    วันนั้นก็เป็นวันตาย



    โดย : หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดจันทาราม
    (ท่าซุง) ที่มา : สนทนาธรรม เล่ม ๔



    [​IMG]
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,558
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,034
    ค่าพลัง:
    +70,092
    ความโศกเศร้าเสียใจของโสดาบัน

    [​IMG]




    นางวิสาขามีหลานสาวคนหนึ่งชื่อว่าสุทัตตี เป็นผู้ทำหน้าที่แทนตนเรื่องการต้อนรับภิกษุสงฆ์ ต่อมาวันหนึ่งสุทัตตีตายจากไป นางวิสาขาให้ทำการฝังศพแล้ว ไม่อาจจะอดกลั้นความโศกไว้ได้ มีทุกข์เสียใจเป็นอันมากจึงไปสู่สำนักพระศาสดา เพื่อขออุบายระงับความโศก
    พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า วิสาขาทำไมหนอเธอจึงมีทุกข์เสียใจ มีหน้าชุ่มด้วยน้ำตา นั่งร้องไห้อยู่
    นางวิสาขากราบทูลว่า นางกุมารีหลานสาวเป็นที่รักของหม่อมฉันเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวัตร บัดนี้หม่อมฉันไม่เห็นใครเช่นนั้น.
    พระพุทธเจ้า วิสาขาก็ในกรุงสาวัตถีมีมนุษย์ประมาณเท่าไร ?
    นางวิสาขา พระองค์นั่นแหละตรัสแก่หม่อมฉันว่า ในกรุงสาวัตถีมีชน ๗ โกฏิพระเจ้าข้า.
    พระพุทธเจ้า ถ้าชนมีประมาณเท่านี้เป็นดังกับหลานสาวของเธอไซร้ เธอพึงปรารถนาเขาหรือ
    นางวิสาขา. อย่างนั้นพระเจ้าข้า.
    พระพุทธเจ้า ก็ชนในกรุงสาวัตถีทำกาละวันละเท่าไร ?
    นางวิสาขา มากพระเจ้าข้า.
    พระพุทธเจ้า เมื่อเป็นเช่นนี้เวลาที่เธอจะเศร้าโศกก็จะไม่พึงมีมิใช่หรือ ? เธอพึงเที่ยวร้องไห้อยู่ทั้งกลางคืนและกลางวันทีเดียวหรือ ?
    นางวิสาขา ยกไว้เถิดพระเจ้าข้า หม่อมฉันทราบแล้ว.
    พระพุทธเจ้าทรงตรัสต่อไปว่า ถ้ากระนั้นเธออย่าเศร้าโศก ความโศกก็ดี ความกลัวก็ดี ย่อมเกิดแต่ความรัก ดังนี้แล้วจึงตรัสพระคาถานี้ว่า
    เปมโต ชายตี โสโก เปมโต ชายตี ภยํ
    เปมโต วิปฺปมุตฺตสฺส นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ.
    " ความโศกย่อมเกิดแต่ความรัก ภัยย่อมเกิดแต่ความรัก;
    ความโศกย่อมไม่มีแก่ผู้พ้นวิเศษแล้วจากความรัก, ภัยจักมีแต่ไหน. "
    ดังนั้นโสดาบันที่มีความทุกข์เสียใจ หน้าชุ่มด้วยน้ำตา ดังนางวิสาขาซึ่งมีอยู่ในพระไตรปิฎก ชั้นในอรรถกถาที่ได้รจนาไว้ กับโสดาบันที่มีความกลัวดังเจ้ามหานามซึ่งมีอยู่ในพระไตรปิฎก ให้ผู้ปฏิบัติศึกษาเปรียบเทียบ พิจารณาดูว่า ความที่น่าจะเป็นได้ดังกรณีไหน คือ
    ๑. เป็นโสดาบันแล้วจะไม่กลัวตาย หรือไม่มีความทุกข์เสียใจ
    ๒. เป็นโสดาบันแล้วก็กลัวตาย และมีความทุกข์เสียใจด้วย แต่หากว่าได้พิจารณาใคร่ครวญในหลักธรรมแล้ว ความกลัวตายและความทุกข์จะหมดความสงสัยไป ด้วยสติและปัญญา
    ๓. เป็นโสดาบันแล้วก็กลัวตายเหมือนเดิม แต่ไม่มีความทุกข์เสียใจ
    ๔. เป็นโสดาบันแล้วไม่กลัวตาย แต่มีความทุกข์เสียใจอยู่บ้าง
    ศึกษาเพิ่มเติม เรื่องนางวิสาขาอุบาสิกา [๑๖๗] ในพระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่ม ๔๒ คาถาธรรมบท ปิยวรรคที่ ๑๖ (สีน้ำเงิน) หน้า ๔๐๐ – ๔๐๐๑ (สีแดง) หน้า ๓๓๙-๓๔๐.
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...