สัพเพเหระ

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย phanbuaphet, 4 ธันวาคม 2011.

  1. phanbuaphet

    phanbuaphet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +2,180
    [​IMG]

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1884562/[/MUSIC]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • daiyinmai.mp3
      ขนาดไฟล์:
      3.5 MB
      เปิดดู:
      179
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 ตุลาคม 2013
  2. phanbuaphet

    phanbuaphet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +2,180
    [​IMG]

    เจ้าชายของฉัน

    ฉันคือหนึ่งดอกไม้ที่อ่อนล้าในสายลมหนาว
    ทนความปวดร้าวในเปลวแดดที่แผดเผา
    สั่นสะท้านยามสายฝนโปรยละอองแผ่วเบา
    ท่ามกลางความเหงาฉันอยู่ลำพังโดยไม่มีใคร

    ที่ผ่านมา...มีเพียงคืนวันอันเหว่ว้า
    กับรอยน้ำตาที่หล่อเลี้ยงหัวใจยามอ่อนไหว
    ฤดูกาลหมุนผ่าน...บางเรื่องของวันวานยังอยู่ในใจ
    ก้มหน้ารับความเป็นไป...ยิ้มให้กับฟ้าวันใหม่ทุก ๆ วัน

    แล้ววันหนึ่ง...สายลมอุ่น ๆ ก็พัดผ่านมา
    นำใครคนหนึ่งจากปลายฟ้ามาสู่ฉัน
    จากวินาทีนั้น...โลกก็เปลี่ยนไปชั่วพลัน
    บางสิ่งที่เคยฝันก็กลับกลายเป็นความจริง

    เธอเข้ามาดึงความทุกข์ออกจากใจของฉัน
    ดึงความเศร้าที่เกาะกุมในคืนวันให้หายเป็นปลิดทิ้ง
    เติมเต็มสิ่งดีดี ทุกความรู้สึก ด้วยหัวใจอย่างแท้จริง
    ทำให้ฉันได้เป็นผู้หญิงที่โชคดีไม่แพ้ใคร

    รอยยิ้มที่อ่อนหวานและแววตาห่วงหาคู่นี้
    ฉันรับรู้ดีถึงความอาทรมากมีที่ยิ่งใหญ่
    มืออุ่น ๆ ที่เกาะกุม นิ้วก้อยที่เกี่ยวคล้องสายใย
    หนึ่งคำมั่นว่าเราจะรักกันตลอดไปนานเท่านาน

    อ้อมกอดเธออบอุ่นที่สุดในโลก
    ทุกความเศร้าโศรกเหมือนได้มลายพัดผ่าน
    ขอตอบแทนทุกความหมายด้วยใจดวงนี้ตลอดกาล
    ขอบคุณนะคะ...เจ้าชายผู้กล้าหาญ ..ฉันรักเธอ..

    แอ็ปเปิ้ล thaipoem.com
     
  3. phanbuaphet

    phanbuaphet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +2,180
    ฌาน,สมาบัติ

    ฌาน แปลว่า เพ่ง หมายถึงการเพ่งอารมณ์ตามกฎแห่งการเจริญกรรมฐานถึง อันดับที่ ๑ เรียกว่า ปฐมฌาน คือ ฌาน ๑ ถึง อันดับที่ ๒ เรียกว่า ทุติยฌาน แปลว่า ฌาน ๒ ถึง อันดับที่ ๓ เรียกว่า ตติยฌาน แปลว่า ฌาน ๓ ถึง อันดับที่ ๔ เรียกว่า จตุตถฌาน แปลว่า ฌาน ๔ ถึงอันดับที่แปด คือได้ อรูปฌาน ถึงฌาน ๔ ครบทั้ง ๔ อย่าง เรียกว่า ฌาน ๘

    ถ้าจะเรียกเป็นสมาบัติก็เรียกเหมือนฌาน ฌาน ๑ ท่านก็เรียกว่า ปฐมสมาบัติ ฌาน ที่ ๒ ท่านก็เรียกว่า ทุติยสมาบัติ ฌาน ๓ ท่านก็เรียก ตติยสมาบัติ ฌาน ๔ ท่านก็เรียก จตุตถสมาบัติ ฌาน ๘ ท่านเรียก อัฎฐสมาบัติ หรือ สมาบัติแปด นั่นเอง
    คำว่า สมาบัติ แปลว่าถึงพร้อม แปลเหมือนกันกับคำว่า สมบัติ ศัพท์เดิมว่า สัมปัตติ แปลว่าถึงพร้อม มาแปลงเป็นบาลีไทย หมายความว่าศัพท์นั้นเป็นศัพท์บาลี แต่เรียกกันเป็น ไทย ๆ เสีย ก็เลยเพี้ยนไปหน่อย เล่นเอาผู้รับฟังปวดเศียรเวียนเกล้าไปตามๆ กัน
    สมาบัติ แปลว่าเข้าถึงนั้น หมายเอาว่าเข้าถึงอะไร ข้อนี้น่าจะบอกไว้เสียด้วย ขอบอก ให้รู้ไว้เลยว่า ถึงจุดของอารมณ์ที่เป็นสมาธิหรือที่เรียกว่า ฌาน นั่นเอง เมื่ออารมณ์ของสมาธิ ที่ยังไม่เข้าระดับฌาน ท่านยังไม่เรียกว่า สมาบัติ

    รูปสมาบัติหรือรูปฌาน
    ฌานหรือสมาบัติ ท่านเรียกว่ารูปฌาน หรือ รูปสมาบัติ ถ้ายังไม่สำเร็จมรรคผลเพียงใด ท่านเรียกว่าโลกียสมาบัติ หรือ โลกียฌาน ถ้าเจริญวิปัสสนาญาณจนสำเร็จมรรคผลตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่าน เรียกว่า โลกุตตรสมาบัติ หรือ โลกุตตรญาณ ศัพท์ว่าโลกุตตระ ตัดออกเป็นสอง ศัพท์ มีรูปเป็น โลกะ และ อุตตระ สนธิ คือเอา โลกะ กับ อุตตระ มาต่อกันเข้า เอาตัว อ. ออกเสีย เอาสระอุผสมกับตัวตัว ก. เป็น โลกุตตระ โลกะ แปลตามศัพท์ว่า โลก อุตตระ แปลว่า สูงกว่า รวมความว่าสูงกว่าโลก โลกุตตระ ท่านจึงแปลว่า สูงกว่าโลก โลกุตตรฌาน แปลว่า ฌานที่สูงกว่าโลก โลกุตตรสมาบัติ แปลว่า สมาบัติที่สูงกว่าโลก หมายความว่า กรรมต่างๆที่โลกนิยมนั้น ท่านพวกนี้พ้น ไปแล้วแม้บาปกรรมที่ชาวโลกต้องเสวยผลท่านที่ได้โลกุตตระท่านก็ไม่ต้อง รับผลกรรมนั้นอีก เพราะกรรมของชาวโลกให้ผล ท่านไม่ถึง ท่านจึงได้นาม ว่า โลกุตตรบุคคล
    รวมความว่าฌานประเภทที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นรูปฌาน เพราะมีรูปเป็นอารมณ์ เรียกตามชื่อสมาบัติว่า รูปสมาบัติ สำหรับรูปฌาน หรือรูปสมาบัตินั้น มีแยกออกไปอีก ๔ อย่าง ดังจะกล่าวให้ทราบต่อไป

    อรูปสมาบัติหรืออรูปฌาน
    1. อากาสานัญจายตะ เพ่งอากาศ ๆ เป็นอารมณ์
    2. วิญญาณัญจายตะ กำหนดหมายเอาวิญญาณเป็นอารมณ์
    3. อากิญจัญญายตนะ กำหนดว่าไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์
    4. เนวสัญญานาสัญญายตนะ กำหนดหมายเอาการไม่มีวิญญาณ คือไม่รับรู้รับ ทราบอะไรเลยเป็นสำคัญ
    ทั้ง ๔ อย่างนี้เรียกว่าอรูปฌาน เพราะการเจริญไม่กำหนดหมายรูปเป็นอารมณ์ กำหนดหมายเอาความไม่มีรูปเป็นอารมณ์ จึงเรียกว่าอรูปฌาน ถ้าเรียกเป็นสมาบัติก็เรียกว่าอรูปสมาบัติ สมาบัติ ๘
    ท่านที่ทรงสมาบัติในรูปสมาบัติ ๔ และทรงอรูปสมาบัติอีก ๔ รวมทั้งรูปสมาบัติ ๔ อรูปสมาบัติ ๔ เป็นสมาบัติ ๘

    ผลสมาบัติ
    คำว่าผลสมาบัติท่านหมายถึงการเข้าสมาบัติตามผลที่ได้ผลสมาบัตินี้จะเข้าได้ ต้องเป็น พระอริยเจ้าตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่านที่เป็นพระอริยเจ้าที่ไม่ได้สมาบัติแปด มาก่อน ท่านเข้านิโรธสมาบัติไม่ได้ ท่านก็เข้าผลสมาบัติ คือท่านเข้าฌานนั่นเอง ท่านได้ฌาน ระดับใด ท่านก็เข้าระดับนั้น แต่ไม่ถึงสมาบัติแปดก็แล้วกันและท่านเป็นพระอริยเจ้า จะเป็น พระโสดาสกิทาคา อนาคามี อรหันต์ก็ตาม เมื่อท่านเข้าฌานท่านเรียกว่าเข้าผลสมาบัติ ท่าน ที่ไม่เป็นพระอริยเจ้าเข้าฌาน ท่านเรียกว่าเข้าฌานเพราะไม่มีมรรคผลต่างกันเท่านี้เอง กิริยา ที่เข้าก็เหมือนกัน ต่างกันแต่เพียงว่า ท่านเป็นพระอริยเจ้า หรือไม่ใช่พระอริยเจ้าเท่านั้นเอง

    นิโรธสมาบัติ
    นิโรธสมาบัติ ท่านที่จะเข้านิโรธสมาบัติได้ ต้องเป็นพระอริยะขั้นต่ำตั้งแต่พระอนาคามี เป็นต้นไป และพระอรหันต์เท่านั้น และท่านต้องได้สมาบัติแปดมาก่อน ตั้งแต่ท่านเป็นโลกียฌาน ท่านที่ได้สมาบัติแปด เป็นพระอริยะต่ำกว่าพระอนาคามีก็เข้านิโรธสมาบัติไม่ได้ ต้องได้มรรคผล ถึงอนาคามีเป็นอย่างต่ำจึงเข้าได้

    ผลของสมาบัติ
    สมาบัตินี้ นอกจากจะให้ผลแก่ท่านที่ได้แล้ว ยังให้ผลแก่ท่านที่บำเพ็ญกุศลต่อท่าน ที่ได้สมาบัติด้วย ท่านสอนว่าพระก่อนบิณฑาตตอนเช้ามืดที่ท่านสอนให้เคาะระฆังก็เพื่อให้ พระวิจัยวิปัสสนาญาณ และเข้าฌานสมาบัติ เพื่อเป็นการสนองความดีของทายกทายิกาผู้สงเคราะห์ในตอนเช้าพระที่บวชใหม่ก็ทบทวนวิชาความรู้และซักซ้อมสมาธิเท่าที่จะได้ ผลของสมาบัติมีอย่างนี้
    1. นิโรธสมาบัติ สมาบัตินี้เข้ายาก ต้องหาเวลาว่างจริง ๆ เพราะเข้าคราวหนึ่งใช้ เวลาอย่างน้อย ๗ วัน อย่างสูงไม่เกิน ๑๕ วัน ใครได้ทำบุญแก่ท่านที่ออกจากนิโรธสมาบัตินี้ จะได้ผลในวันนั้น หมายความว่าคนจนก็จะได้เป็นมหาเศรษฐีในวันนั้น
    2. ผลสมาบัติ เป็นสมาบัติเฉพาะพระอริยเจ้าท่านออกจากผลสมาบัติแล้ว สมาบัติ นี้เข้าออกได้ทุกวันและทุกเวลา ท่านที่ทำบุญแด่ท่านที่ออกจากผลสมาบัติ ท่านผู้นั้นจะมีผล ไพบูลย์ในความเป็นอยู่ คือมีฐานะไม่ฝืดเคือง
    3. ฌานสมาบัติ ท่านที่บำเพ็ญกุศลแก่ท่านที่ออกจากฌานสมาบัติ จะทรงฐานะไว้ ด้วยดีไม่ยากจนกว่าเดิม มีวันแต่จะเจริญงอกงามขึ้นเป็นลำดับ
    เข้าผลสมาบัติ การเข้าผลสมาบัติ กับเข้าฌานสมาบัติ ต่างกัน อยู่หน่อยหนึ่ง คือการเข้าฌานสมาบัติ ท่านสอนให้ทำจิตให้ห่างเหินนิวรณ์ คือระมัดระวัง มิให้นิวรณ์เข้ามารบกวนใจ เมื่อจิตว่างจากนิวรณ์แล้ว อารมณ์ของสมาธิก็ไม่มีอะไรรบกวน เข้าฌานสมาบัติได้ทันที สำหรับผลสมาบัตินั้นเป็นสมาบัติของพระอริยเจ้าท่านเข้าดังนี้ เมื่อ ท่านพิจารณาว่าเวลานี้ธุระอย่างอื่นไม่มีแล้วมีเวลาว่างพอที่จะเข้าผลสมาบัติได้ ท่านก็เริ่ม เข้าสู่ที่สงัด นั่งตั้งกายตรง ดำรงจิตมั่นคงแล้วก็พิจารณาสังขารตามแบบวิปัสสนาญาณโดย พิจารณาในวิปัสสนาญาณทั้ง ๘ ย้อนไป ย้อนมา หรือพิจารณาตามแบบขันธ์ห้ารวม คือ พิจารณาเห็นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณทั้งห้าอย่างนี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ห้า ขันธ์ห้าไม่มีในเรา อย่างนี้ก็ได้ตามแต่ท่านจะถนัด รวมความว่า ท่าน เป็นพระอริยะเพราะท่านพิจารณาวิปัสสนาญาณแบบใดท่านก็พิจารณาแบบนั้นเพราะท่านคล่องของท่านอยู่แล้ว เมื่อพิจารณาขันธ์ห้าจนอารมณ์ผ่องใสแล้ว ท่านก็เข้าสมาบัติตาม กำลังฌานที่ท่านได้ อย่างนี้เป็นวิธีเข้าผลสมาบัติ เพราะท่านพิจารณาวิปัสสนาญาณก่อนจึง เข้าฌาน

    palungjit.org
     
  4. phanbuaphet

    phanbuaphet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +2,180
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2014
  5. phanbuaphet

    phanbuaphet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +2,180
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2014
  6. phanbuaphet

    phanbuaphet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +2,180
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2014
  7. phanbuaphet

    phanbuaphet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +2,180
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2014
  8. phanbuaphet

    phanbuaphet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +2,180
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2014
  9. phanbuaphet

    phanbuaphet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +2,180
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2014
  10. phanbuaphet

    phanbuaphet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +2,180
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มกราคม 2014
  11. phanbuaphet

    phanbuaphet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +2,180
    อิฉันหายไปซะหลายวันกิจกรรมเยอะ....หนึ่งในสิ่งที่ทำนี้ เปนครั้งแรกในชีวิตที่ใด้สัมผัสกับ ตา หู จมูก ลิ้น(พูดคุย) กาย ใจ....คือใด้สัมผัส ความเหงา ความแก่ ความเจ็บและอาการใกล้ตาย ของผู้ป่วยส่วนนึง แล้วให้นึกปลง...กายสังขารไม่เที่ยง จากการใด้ไปเห็นมาส่งผลให้ ช่วงนี้ไม่ไหวจะหวือหวากับสิ่งรอบกายซักเท่าไหร่ ปราถนาและสนใจในการเรียนรู้ทางธรรมมากกว่าสิ่งอื่น....วันนี้เลยแวะเข้ามาแปะธรรมและเกร็ดความรู้เล็กน้อยที่อ่านเจอ....เผื่อผู้ที่ยังไม่ใด้อ่านด้วยค่ะ


     
  12. phanbuaphet

    phanbuaphet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +2,180
    การทำบุญมีลำดับแห่งผล

    เรื่องราวเกี่ยวกับกรรมดีนั้นมีลำดับผลบุญ
    จึงขอนำเรื่องราวใน
    เวลามสูตร : เปรียบเทียบผลบุญชนิดต่างๆ

    ที่มา : พระไตรปิฎก พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

    เนื่องจากเวลามสูตรนี้ เป็นพระสูตรที่มีเนื้อหาบางตอนที่เข้าใจได้ค่อนข้างยาก ผู้ดำเนินการจึงได้ทำการสรุป โดยนำเอาเนื้อหาที่สำคัญมาจัดเรียงแยกเป็นข้อๆ เพื่อให้ง่ายในการทำความเข้าใจ ดังนี้


    พระพุทธเจ้าได้ตรัสแก่ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ณ พระวิหารเชตวัน ใกล้พระนครสาวัตถี แคว้นโกศล ถึงผลบุญที่เกิดขึ้น จากการทำบุญประเภทต่างๆ ตั้งแต่การให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา (คำว่าบุญนั้น คือการชำระจิตให้ผ่องใสจากกิเลส มีหลายวิธี ไม่ใช่เฉพาะการให้ทานเท่านั้น) ว่าอย่างไหนให้บุญมาก/น้อย แตกต่างกันอย่างไร มีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้


    พระพุทธเจ้าตรัสว่า : บุคคลให้ทานอันเศร้าหมอง หรือประณีตก็ตาม (ในที่นี้หมายถึงการให้ของที่มีราคาถูกมีสภาพไม่น่าดู หรือของที่มีราคาแพงประณีตสวยงาม เพราะในตอนนั้นท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ประสบภัยพิบัติหลายอย่าง ทำให้ฐานะยากจนลง ไม่สามารถทำบุญด้วยอาหารชั้นดีได้อย่างเมื่อก่อน ทำได้แค่เพียงปลายข้าวกับน้ำผักดองเท่านั้น ) แต่ให้ทานนั้นโดยความเคารพ ทำความนบนอบให้ ให้ด้วยมือตนเอง ให้ของที่ไม่เหลือ เชื่อกรรมและผลของกรรม ย่อมได้ผลบุญมาก


    และได้ทรงแจกแจงรายละเอียดของผลบุญจากการทำบุญชนิดต่างๆ ไว้ดังนี้


    - การให้ทานโสดาบันท่านเดียว ได้ผลบุญมากกว่าให้ทานแก่ปุถุชนจำนวนมาก
    - การให้ทานโสดาบัน 100 ท่าน ได้ผลบุญมากกว่าให้ทานโสดาบันท่านเดียว
    - การให้ทานสกทาคามีบุคคลท่านเดียว ได้ผลบุญมากกว่าให้ทานโสดาบัน 100 ท่าน
    - การให้ทานสกทาคามีบุคคล 100 ท่าน ได้ผลบุญมากกว่าให้ทานสกทาคามีบุคคลท่านเดียว
    - การให้ทานอนาคามีบุคคลท่านเดียว ได้ผลบุญมากกว่าให้ทานสกทาคามีบุคคล 100 ท่าน
    - การให้ทานอนาคามีบุคคล 100 ท่าน ได้ผลบุญมากกว่าให้ทานอนาคามีบุคคลท่านเดียว
    - การให้ทานพระอรหันต์ท่านเดียว ได้ผลบุญมากกว่าให้ทานอนาคามีบุคคล 100 ท่าน
    - การให้ทานพระอรหันต์ 100 ท่าน ได้ผลบุญมากกว่าให้ทานพระอรหันต์ท่านเดียว
    - การให้ทานพระปัจเจกพุทธเจ้าพระองค์เดียว ได้ผลบุญมากกว่าให้ทานพระอรหันต์ 100 ท่าน
    - การให้ทานพระปัจเจกพุทธเจ้า 100 พระองค์ ได้ผลบุญมากกว่าให้ทานพระปัจเจกพุทธเจ้าพระองค์เดียว
    - การให้ทานพระสัพพัญญูพุทธเจ้าพระองค์เดียว ได้ผลบุญมากกว่าให้ทานพระปัจเจกพุทธเจ้า 100 พระองค์
    - การให้ทานภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข (สังฆทาน - การให้ทานโดยไม่ได้เจาะจงว่าต้องเป็นภิกษุรูปนั้นรูปนี้) ได้ผลบุญมากกว่าให้ทานพระสัพพัญญูพุทธเจ้า
    - การสร้างวิหารถวายสงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง 4 (ให้โดยไม่เจาะจงผู้รับว่าต้องเป็นภิกษุรูปนั้นรูปนี้) ได้ผลบุญมากกว่าให้ทานภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
    - การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะ ได้ผลบุญมากกว่า การสร้างวิหารถวายสงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง 4
    - การรักษาศีล 5 ได้ผลบุญมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะ
    - การเจริญเมตตาจิต (เป็นการทำสมาธิรูปแบบหนึ่ง) แม้เพียงเวลาสูดดมของหอม ได้ผลบุญมากกว่าการรักษาศีล 5
    - การเจริญอนิจจสัญญาแม้เพียงลัดนิ้วมือ (การเจริญอนิจจสัญญาคือการพิจารณาถึงความไม่เที่ยง ซึ่งเป็นการเจริญวิปัสสนาอย่างหนึ่ง เพียงลัดนิ้วมือคือเพียงเท่าเวลาที่ดีดนิ้วมือ 1 ครั้ง) ได้ผลบุญมากกว่าการเจริญเมตตาจิตแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม


    หมายเหตุ


    พระพุทธเจ้ามี 2 ประเภทคือ
    1.) พระปัจเจกพุทธเจ้า - ตรัสรู้สัจธรรมได้เองโดยไม่ได้ฟังคำสอนจากใคร แต่สอนผู้อื่นให้รู้ตามไม่ได้ จะอุบัติขึ้นในช่วงที่โลกว่างเปล่าจากศาสนา
    2.) พระสัพพัญญูพุทธเจ้า - ตรัสรู้สัจธรรมได้เองโดยไม่ได้ฟังคำสอนจากใคร และสามารถสอนผู้อื่นให้รู้ตามได้ด้วย เช่น พระพุทธเจ้าที่เรารู้จักกันทั่วไป


    ข้อสังเกต


    - การเจริญวิปัสสนาจะได้บุญมากกว่าอย่างอื่น เพราะเป็นการฟอกจิตให้หมดจดจากกิเลสได้มากที่สุด ซึ่งถ้าทำได้ถึงขั้นสูงก็จะทำลายกิเลสได้อย่างถาวร และเมื่อบรรลุเป็นพระอรหันต์ก็จะเป็นบุญขั้นสูงที่สุด
    - การทำสมาธิจะได้บุญรองลงมา เพราะเป็นการกั้นจิตจากนิวรณ์ได้ตราบเท่าที่สมาธิยังอยู่ (ดูเรื่องนิวรณ์ 5 และวิธีแก้ไข ในหมวดสมถกรรมฐาน (สมาธิ) ประกอบ)
    - การรักษาศีลจะได้บุญรองจากการทำสมาธิ เพราะเป็นการขัดเกลาจิตจากกิเลสขั้นหยาบ คือการล่วงละเมิดทางกายและทางวาจา
    - การมีจิตเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะ คือการหันมานับถือพระพุทธศาสนา ให้ผลบุญมากเพราะเป็นการหันมารับเอาความเห็นที่ถูกต้อง (สัมมาทิฏฐิ) ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาจิตด้วยวิธีการทั้งปวง
    - การให้ทานแก่สงฆ์ (สังฆทาน) จะได้บุญมากกว่าการให้ทานแบบเจาะจงตัวผู้รับ เพราะใจเปิดกว้างกว่า (ต้องไม่เจาะจงตัวผู้รับด้วยใจที่แท้จริงถึงจะได้บุญมาก)
    - การให้ทานแบบเจาะจงตัวผู้รับนั้น จะให้ผลบุญลดหลั่นกันไปตามขั้นของความบริสุทธิ์ของจิตของผู้รับ (ดูเรื่องอริยบุคคล 8 ประเภท ในหมวดวิปัสสนา (ปัญญา) ประกอบ

    thammaonline.com
     
  13. phanbuaphet

    phanbuaphet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +2,180
    อิฉันไปแอบหลงรักผู้ป่วยสูงอายุคุณยายท่านนึงตั้งแต่วันแรกที่เห็น อายุอานามคงประมาณ 90 กว่าปีแล้ว ท่านน่ารักมากในความคิดของอิฉัน ในขณะที่คนอื่นคิดว่าคุณยายเปนตัวปัญหาเลยไม่มีใครในที่นั้นต้องการให้ท่านอยู่ด้วย อิฉันใด้คลุกคลีกับคุณยาย 2-3 วัน เราใด้คุยกัน ก็คุยกันเข้าใจมั่งไม่เข้าใจมั่งเพราะท่านหลงและป่วยด้วย(นั่งรถเข็ญ) วันนี้ท่านย้ายไปแล้วไปอยู่บ้านพักคนชราที่อื่น ทุกคนดีใจที่คุณยายไปซะใด้เลยฉลองกันใหญ่ อิฉันรู้สึกจุกที่คอหอย กลับมาบ้านแล้ว คิดถึง ใจหาย รู้สึกเจ็บปวดที่ไม่มีใครเข้าใจท่าน....ผู้ปวยที่พูดไม่ใด้ หลงลืม และช่วยตัวเองไม่ใด้ หากว่าให้เวลาและมองดูในดวงตาของพวกเค้าก็จะเข้าใจว่าพวกเค้าต้องการอะไร ต่อไปนี้จะไม่ใด้เจอคนโปรดของอิฉันอีกต่อไปแล้ว....นี่ใง ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์



     
  14. phanbuaphet

    phanbuaphet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +2,180
    ดวงตาที่คุณยายมองอิฉัน คำพูด กลิ่นตัวของคุณยายที่อิฉันใด้กอดท่านวันนี้ยังติดตัวกลับมาบ้าน....ขอคุณพระคุณเจ้าทรงปกป้องคุ้มครองคุณยายด้วยเถิด
     
  15. phanbuaphet

    phanbuaphet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +2,180
    สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวคุณมากที่สุด

    สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวที่สุดมักเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญที่สุด
    สิ่งที่เราเห็นอยู่ทุกวัน
    เราก้อคิดอยู่ว่าเราก้อต้องเห็นอยู่แบบนั้นต่อไป

    ไม่เคยคิดว่าสิ่งนี้มันสำคัญ ไม่เคยเห็นแม้แต่ค่า
    เหมือนกับการที่เราเห็นหน้าใครอยู่ทุกวัน

    คนๆนั้นวิ่งตามเราอยู่ทุกวัน ใส่ใจเราอยู่ทุกวัน
    เราก้อมักจะเห็นแค่ว่าใครคนหนึ่งกำลังทำอะไรที่ดูงี่เง่า น่ารำคาญ

    จนวันหนึ่งถ้าเราสูญเสียไป เราก้ออาจจะรู้สึกเสียใจบ้าง
    เราอาจจะต้องการเรียกร้องให้มาเหมือนเดิม
    หรือบางทีเราก้ออาจจะรู้สึกว่าดีใจ
    ที่ได้มีชีวิตที่ปราศจากความรำคาญ
    แต่จะมีใครที่เคยรู้สึกถึง

    ความรู้สึกของคนที่ให้อยู่บ้าง

    บางทีสิ่งที่เขาทำอยู่อาจไม่ได้ตั้งใจจะให้คุณรำคาญ
    แต่เขาทำไปเพราะเขารักคุณจริงๆ
    เหมือนความรักของพ่อแม่

    เหมือนความรักของเพื่อนสนิทของคุณ

    เหมือนความรักของใครอีกหลายคนที่ให้คุณด้วยความจริงใจ

    คุณเคยคิดว่าสิ่งเหล่านี้สำคัญบ้างไหม
    คุณเคยคิดว่าคุณดูแลพวกเขาดีพอหรือยัง
    คุณให้ความสำคัญกับคนถูกหรือเปล่า

    คุณให้ความสำคัญกับคนที่ให้วัตถุคุณ
    มากกว่าความรู้สึกที่ดีหรือเปล่า
    สิ่งที่สำคัญมักมองไม่เห็นด้วยตาต้องมองด้วยหัวใจ

    แต่เรามักไม่มีเวลาพอที่จะใช้หัวใจมอง

    เรามองอะไรแค่ฉาบฉวยแล้วก็ตัดสิน

    เรามองดูความรวยความจนของคนที่สิ่งของที่เขาใช้

    เรามองความดีของคนตรงที่เขาแสดงให้เราเห็น

    เรามองอะไรหลายอย่างด้วยตาแล้วเราก้อตัดสินคน
    เพียงแค่เวลาไม่เกิน 5นาที

    เราต้องสูญเสียมิตรที่ดีไปเพียงเพราะเราอ้างว่าไม่มีเวลา

    เราไม่มีเวลาก็ต่อเมื่อเราไม่สนใจ
    เราไม่ให้ความสำคัญต่อสิ่งนั้น ต่อคนๆนั้น

    แต่ถ้าลองมองย้อนดูทำไมเราถึงมีเวลาทำอะไรมากมาย
    หลายอย่างในแต่ละวันได้

    เพราะเราให้ความสนใจ ให้ความสำคัญ
    ทำไมคุณไม่ลองให้ความสำคัญกับสิ่งที่คุณลืมไป
    กับคนที่หวังดีกับคุณแต่คุณไม่เคยมอง


    // อย่าปล่อยให้มิตรภาพดีๆต้องมีรอยร้าว
    เพราะเมื่อวันหนึ่งถ้าต่างคนต่างไป
    เราจะได้จากกันด้วยความรู้สึกที่ดี
    เราจะได้ไม่รู้สึกผิดว่า
    เรายังทำดีกับเขาไม่เพียงพอ



    thammaonline.com



     
  16. phanbuaphet

    phanbuaphet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +2,180
    เรารักตัวเองกันจริงหรือเปล่านะ

    คุณรักตัวเองแค่ไหน

    คำถามนี้ดูไม่น่าถามเลย เพราะทุกคนก็รักตัวเอง

    ทั้งนั้นแต่แน่ใจหรือว่า

    คุณรักตัวเองจริง ๆ มาดูกันไหมว่าคุณรักตัวเองแค่ไหน

    ว่าง ๆ ลองอยู่กับตัวเองคนเดียว จะอยู่ในห้อง

    ใต้ต้นไม้หรือริมน้ำก็แล้วแต่ วางงานอื่นทั้งหมด

    ปิดโทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์และเครื่องเสียง
    รูปก็ไม่ต้องวาด หนังสือก็ไม่ต้องอ่านหรือเขียน
    ทำอย่างเดียวคือตามลมหายใจ หรือจะอยู่เฉย ๆนิ่งๆก็ได้

    คนส่วนใหญ่อยู่ในสภาพอย่างนี้ได้ไม่ถึงชั่วโมง
    ก็กระสับกระส่าย นึกหงุดหงิดคิด ถึงโทรศัพท์
    หรือเพื่อนสักคนที่อยากคุย ถ้ามีหนังสือวางอยู่ใกล้ ๆ
    ก็อยากจะหยิบฉวยมาอ่านทั้ง ๆ ที่เป็นหนังสือธรรมะ
    ซึ่งตนเองไม่เคยนึกอยากแตะมาก่อนเลย
    แต่ถ้าไม่มีหนังสือ ก็เกิดอยากกวาดบ้าน
    หรือล้างจานขึ้นมา หาไม่ก็พยายามคิดค้นงานสักอย่าง
    ขึ้นมาทำ ถ้าโชคร้ายรอบตัวไม่มีงานอะไรที่จะทำได้
    ก็ปล่อยใจให้เตลิดเปิดเปิง คิดโน่นคิดนี่สารพัด
    สุดท้ายเมื่อไม่รู้จะทำอะไรจริง ๆ ก็เอนตัวนอน

    ทั้งหมดนี้เราเรียกว่าเป็น การฆ่าเวลา
    แต่ที่จริงเป็นการพยายามหนีห่างจากตัวเองต่างหาก

    เราจะหนีห่างจากตัวเองไปทำไม ถ้าหากเรารักตัวเอง?
    ความรักตัวเองที่จริงเป็นเพียงแค่ถ้อยคำ
    เพราะลึก ๆ แล้วคนเราส่วนใหญ่ มักจะทนอยู่กับตัวเองไม่ได้

    ดังนั้น พอมีเหตุให้ต้องอยู่กับตัวเอง
    จึงรู้สึกกระสับกระส่ายขึ้นม หรือไม่ก็ต้อง
    หาอะไรสักอย่างมาดึงความสนใจออกจากตัวเอง
    เช่น คุยกับเพื่อน อ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูโทรทัศน์
    ขับรถเล่น ขลุกกับงาน หรือนอน
    ถ้าเรารักตัวเองจริง ๆแล้ว การอยู่กับตัวเอง
    จะเป็นเรื่องยากอะไร ขึ้นชื่อว่ารัก
    ย่อมชักนำให้ปรารถนาอยู่ใกล้มิใช่หรือ
    แต่ทุกวันนี้ การอยู่กับตัวเองกลับกลาย
    เป็นเรื่องที่ต้องทนหรือทนได้ยาก เพราะ
    เราไม่สามารถเผชิญกับความว้าวุ่นในตัวเองได้
    เมื่อใดที่ต้องอยู่นิ่ง ๆ ไม่มีอะไรทำ จิตจะฟุ้งซ่าน
    ความคิดจะกระเจิงเรื่องสารพันสารเพ
    จะประดังประเดเข้ามาจนแทบจะคุมไม่อยู่
    ทางหนึ่งที่พอจะสยบมันได้ก็คือ
    หาเรื่องดึงจิตออกไปนอกตัวเสีย
    หรือพาตัวไปอยู่ท่ามกลางผู้คน ในหมู่เพื่อนฝูง
    ตามศูนย์กลางค้า หรือทำตัวไม่ให้ว่างเสียจนถึงเวลานอน
    เป็นเพราะหาความสงบกับตัวเองไม่ได้นี่เอง
    คนส่วนใหญ่จึงไม่สามารถเป็นมิตรกับตัวเองได้
    หนักเข้าก็แปลกแยกหน่ายแหนงตัวเอง
    ในที่สุดก็ประกาศศึกสงครามกับตัวเอง
    ความทุกข์ที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่สุมรุมในตัวเท่านั้น
    หากยังระบายใส่คนรอบตัวอีกด้วย
    เราจะรักตัวเองได้อย่างแท้จริง
    เมื่อสามารถสัมผัสกับความสงบภายในตน
    เป็นความสงบที่เกิดจากจิตอันสงัด
    แต่ มิได้สงัดแบบสลบไสลหากเป็นจิตที่รู้ตัวทั่วพร้อมเสมอ
    ความรู้ตัวทั่วพร้อมนี้แหละ ที่น้อมจิต
    ให้กลับสู่ตนด้วยความนิ่ง แจ่มชัดมั่นคง
    ไม่ซัดส่าย นำมาซึ่งความสงบเย็นจากภายใน
    จิตที่สงบและแจ่มกระจ่างได้แล้วนั้น
    ย่อมนำสันติภาพมาสู่ใจเรา เมื่อเรามีสันติภาพภายใน
    เลิกทำศึกสงครามกับตัวเอง มิตรภาพกับตนเองก็เกิดขึ้น
    ความรักตนเองอย่างแท้จริง ก็มิใช่เป็นแค่ถ้อยคำอีกต่อไป
    อีกทั้งความรักตนเองเช่นนี้ ก็มิใช่ความเห็นแก่ตัว
    หรือสิ่งที่น่ารังเกียจ เพราะเมื่อบุคคลรักตนเอง
    ได้อย่างแท้จริง ก็ไม่ยากที่จะรักคนอื่นอย่างแท้จริงเช่นกัน
    เราทำอะไรต่ออะไรมามากแล้วใช่ไหมค่ะ
    ลองหันมาสงบศึกภายในตัวเองจะดีไหม
    ด้วยการฝึกอยู่กับตัวเอง ใช้ลมหายใจช่วยกำกับจิต
    ให้อยู่นิ่ง ตื่นตัว หลุดจากอารมณ์ต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว
    ไม่ช้าไม่นาน จิตนี้แหละจะนำมิตรภาพและสันติภาพมาสู่เรา
    ขณะที่ทั่วโลกกำลังเพรียกหาสันติภาพ
    เราอย่าลืมสร้างสันติภาพในตัวเราไปด้วยล่ะค่ะ
    และท่องอยู่เสมอว่า**ถ้าไม่ฝึกจิต..ตลอดชีวิตไม่พบความสุข**
    ดอกแก้ว.


    thammaonline.com
     
  17. phanbuaphet

    phanbuaphet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +2,180
    คุณค่าของกาลเวลา

    [​IMG]

    อจฺเจนฺติ อโรหรตฺตา ชีวิตํ อุปฺรุชฺชติ กุณฺฑที ทมิโวทกํ ติฯ

    กาลเวลาเป็นของมิใช่จะให้ประโยชน์แก่โลกทั่วไปเท่านั้น แต่ยังทำให้ผู้มีปัญญาสนใจในธรรมปฏิบัติ รีบเร่งฝึกหัดใจของตนๆ ให้ทันกับกาลเวลาอีกด้วย แท้จริงทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในโลกนี้ ต้องขึ้นอยู่กับกาลเวลาทั้งนั้น เช่น ดินฟ้าอากาศ ฤดู ปี เดือน ต้นไม้ ผลไม้ และธุระการงานที่สัตว์โลกทำอยู่ แม้แต่ความเกิด ความแก่ และความตาย ถึงแม้สิ่งเหล่านั้นจะเป็นอยู่ตามหน้าที่ของเขาก็ตาม แต่ต้องอยู่กับกาลเวลา ถ้าหากกาลเวลาไม่ปรากฏแล้ว สิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกนี้ก็จะไม่ปรากฏเลย จะมีแต่สูญเรื่อยไปเท่านั้น

    กาลเวลาได้ทำประโยชน์ให้แก่ชาวโลกนี้มิใช่น้อย ชาวกสิกรก็ต้องอาศัยวัสสานฤดู ปลูกพืชพันธุ์ในไร่นาของตนๆ เมื่อฝนไม่ตกก็พากันเฝ้าบ่นว่าเมื่อไรหนอพระพิรุณจะประทานน้ำฝนมาให้ ใจก็ละห้อย ตาก็จับจ้องดูท้องฟ้า เมื่อฝนตกลงมาให้ต่างก็พากันชื่นใจระเริงด้วยความเบิกบาน แม้ที่สุดแต่ต้นไม้ซึ่งเป็นของหาวิญญาณมิได้ ก็อดที่จะแสดงความดีใจด้วยอาการสดชื่นไม่ได้ ต่างก็พากันผลิดอกออกประชันขันแข่งกัน ชาวกสิกรตื่นดึกลุกเช้าเฝ้าแต่จะประกอบการงานของตนๆ ตากแดด กรำฝน ไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเย็นร้อนอนาทร

    ชาวพ่อค้าวาณิชนักธุรกิจ ก็คอยหาโอกาสแต่ฤดูแล้ง เพื่อสะดวกแก่การคมนาคมและขนส่ง เมื่อแล้งแล้วต่างก็พากันจัดแจงเตรียมสินค้าไม่ว่าทางน้ำและทางบก

    ฝ่ายอุบาสกอุบาสิกาผู้มีศรัทธาตั้งมั่นในบุญกุศล ก็พากันมีจิตจดจ่อเฉพาะเช่นเดียวกันว่า เมื่อไรหนอจะถึงวันมาฆะ-วิสาขะ-อาสาฬหะ เวียนเทียนประทักษิณนอบ น้อมต่อพระรัตนตรัย เมื่อไรหนอจะถึงวันเข้าพรรษา-ออกพรรษา-เทโวโรหนะตักบาตรประจำปี

    วันทั้งหลายเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เนื่องด้วยกาลเวลา ทั้งนั้น และเป็นวันสำคัญของชาวพุทธเสียด้วย เมื่อถึงวันเวลาเช่นนั้นเข้าแล้ว ชาวพุทธทั้งหลายไม่ว่าหญิงชายน้อยใหญ่ แม้จะฐานะเช่นไร อยู่กินกันเช่นไรก็ตาม จำต้องสละหน้าที่การงานของตน เข้าวัดทำบุญตักบาตร อย่างน้อยวันหนึ่ง หากคนใดไม่ได้เข้าวัดทำบุญสังสรรค์กับมิตรในวันดังกล่าว
    แล้ว ถือว่าเป็นคนอาภัพ

    ส่วนนักภาวนาเจริญสติปัฏฐาน ย่อมพิจารณาเห็นอายุสังขารของตนเป็นของน้อยนิดเดียว เปรียบเหมือนกับน้ำตกอยู่บนใบบัว เมื่อถูกแสงแดดแล้วพลันที่จะเหือด แห้งอย่างไม่ปรากฏ แล้วก็เกิดความสลดสังเวช ปลงปัญญาสู่พระไตรลักษณญาณ

    กาลเวลาจึงว่าเป็นของดีมีประโยชน์แก่คนทุกๆ ชั้นในโลกนี้และโลกหน้า ดังพุทธภาษิตที่ได้ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นนั้นว่า

    อจฺเจนฺติ อโรหรตฺตา ชีวิตํ อุปฺรุชฺชติ กุณฺฑที ทมิโวทกํ
    แปลว่า โอ้ชีวิตเป็นของน้อย ย่อมรุกร่นเข้าไปหาความตายทุกที เหมือนกับน้ำในรอยโค เมื่อถูกแสงพระอาทิตย์แล้ว ก็มีแต่จะแห้งไปทุกวันฉะนั้นฯ

    โดยอธิบายว่า ชีวิตอายุของเรา ถึงแม้ว่าจะมีอายุอยู่ได้ตั้งร้อยปี ก็นับว่าเป็นของน้อยกว่าสัตว์จำพวกอื่นๆ เช่นเต่าและปลาในทะเลเป็นต้น ซึ่งเขาเหล่านั้นมีอายุตัวละมากๆ เป็นร้อยๆ ปี ตั๊กแตน แมลงวัน เขามีอายุเพียง ๗-๑๐ วันเขาก็ถือว่าเขามีอายุโขอยู่แล้ว แต่มนุษย์เราเห็น ว่าเขามีอายุน้อยเดียว

    ผู้มีอัปมาทธรรมเป็นเครื่องอยู่ เมื่อมาเพ่งพิจารณาถึงอายุของน้อย พลันหมดสิ้นไปๆใกล้ต่อความตายเข้ามาทุกที กิจหน้าที่การงานของตนที่ประกอบอยู่จะไม่ทันสำเร็จ ถึงไม่ตายก็ทุพพลภาพเพราะความแก่ แล้วก็ได้ขวนขวายประกอบกิจหน้าที่ของตนเพื่อให้สำเร็จโดยเร็วพลัน กาลเวลาจึงอุปมาเหมือนกับนายผู้ควบคุมกรรมกรให้ทำงานแข่งกับเวลา ฉะนั้นฯ

    ทาน การสละวัตถุสิ่งของของตนที่มีอยู่ให้แก่บุคคลอื่น นอกจากผู้ให้จะได้ความอิ่มใจ เพราะความดีของตน แล้ว ผู้รับยังได้บริโภคใช้สอยวัตถุสิ่งนั้นให้เป็นประโยชน์แก่ตนอีกด้วย นับว่าไม่มีเสียผลทั้งสองฝ่าย แต่กาลเวลาที่สละทิ้งชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายแล้วไม่เป็นผลแก่ทั้งสองฝ่าย คือกาลเวลาก็หมดไป ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็เสื่อมสูญไป ยังเหลือแต่ความคร่ำคร่าเหี่ยวแห้งระทมทุกข์ อันใครๆไม่พึงปรารถนาทั้งนั้น นอกจากบัณฑิตผู้ฉลาดในอุบาย น้อมนำเอาความเสื่อมสิ้นไปแห่งชีวิตนั้นเข้ามาพิจารณา ให้เห็นสภาพสังขารเป็นของไม่เที่ยง จนให้เกิดปัญญาสลดสังเวช อันเป็นเหตุจะให้เบื่อหน่าย คลายเสียจากความยึดมั่นในสังขารทั้งปวง

    ฉะนั้น ทาน การสละให้ปันสิ่งของของตนที่หามาได้ในทางที่ชอบให้แก่ผู้อื่น ในเมื่อกาลเวลากำลังคร่าเอาชีวิตของเราไปอยู่ จึงเป็นของควรทำเพื่อชดใช้ชีวิตที่หมดไปนั้นให้ได้ทุน (คือบุญ)กลับคืนมา

    การรักษาศีล ก็เป็นทานอันหนึ่ง เรียกว่า อภัยทาน นอกจากจะเป็นการจาคะสละความชั่วของตนแล้ว ยังเป็นการให้อภัยแก่สัตว์ที่เราจะต้องฆ่า และสิ่งของที่เราจะต้องขโมยเขาเป็นต้นอีกด้วย นี้ก็เป็นการทำความดี เพื่อชดใช้ชีวิตของเราที่กาลเวลาคร่าไปอีกด้วย

    ผู้กระทำชั่วพระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นผู้มีหนี้ติดตัว ผู้มีหนี้ติดตัวย่อมได้รับความทุกข์เดือดร้อน ฉะนั้น บาปกรรมชั่วเป็นสิ่งที่ไม่มีเจ้าของ แต่ผู้ใดทำลงไปแล้วแม้คนอื่นทั้งโลกเขาจะไม่เห็นก็ตาม แต่ความชั่วที่ตนกระทำลงไป แล้วนั่นแล เป็นเจ้าของมาทวงเอาหนี้ (คือความเดือดร้อน ภายหลัง) อยู่เสมอ ยิ่งซ้ำร้ายกว่าหนี้ที่มีเจ้าของเสียอีก

    เป็นที่น่าเสียดาย บางคนผู้ประมาทแล้วด้วยยศด้วยลาภก็ตาม ไม่ได้นึกคิดถึงชีวิตอัตภาพของตน กลัวอย่างเดียวแต่กาลเวลาจะผ่านพ้นไป แล้วตัวของเขาเองจะไม่ได้ทำความชั่ว ด้วยความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นของดีแล้ว เช่น สุรา นารี พาชี กีฬาบัตร ฯลฯ เป็นต้น นำเอาชีวิตของตนที่ยังเหลืออยู่นั้น ไปทุ่มเทลงในหลุมแห่งอบายมุขหมดบุญกรรมนำส่งมาให้ได้ดิบได้ดี มีสมบัติอัครฐานอย่างมโหฬาร เตรียมพร้อมทุกสิ่งทุกอย่างไม่ขัดสน แต่เห็นความพร้อมมูลเหล่านั้นเป็นเรื่องความทุกข์ไป สู้ความชั่วอบายมุขไม่ได้


    thammaonline.com
     
  18. phanbuaphet

    phanbuaphet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +2,180
    ให้อภัย ไม่ใช่ยอมแพ้ ไม่ใช่เสียเปรียบ

    ยอมกันเสียบ้าง ก็เป็นความสุขอย่างหนึ่ง การยอมแพ้อาจหมายถึงชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ คือการให้อภัย

    การให้อภัย ดูเหมือนว่า เรายอมไม่ติดใจไม่เอาเรื่อง แล้วเขาจะได้กำเริบ ส่วนเราเสียเปรียบ ความจริงแล้วไม่ใช่ เรากำลังบำเพ็ญบารมี คือ"อภัยทาน" อันเป็นทานบารมีที่สูงส่ง

    บางคนรักมากหลงมาก เพราะเขาดี ก็ปรารถนาพบกันทุกชาติ หรือต้องการพบกันอีก บางคนก็อธิษฐานไม่ขอพบขอเจอกันอีกและไม่ให้อภัย ผลของการไม่อภัย ก็เหมือนการผูกสิ่งที่เราไม่ชอบไว้กับตัวตลอดเวลา คล้ายๆ ผูกเวร จองเวร ไม่มีที่สิ้นสุด

    การให้อภัย เป็นการฝึกจิต อบรมจิต เป็นการชำระใจ เป็นการยุติปัญหาต่างๆ เป็นการแสดงกำลังใจที่ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่การเสียหน้าหรือเสียรู้ ไม่ใช่การได้เปรียบเสียเปรียบ แต่เป็นการชำระล้างสิ่งที่ไม่ดีออกจากใจ เหมือนล้างภาชนะที่สกปรก ฉันนั้น

    การให้อภัยพูดง่ายแต่ทำยาก แม้จะยากเพราะใจไม่อยากทำ ก็ต้องฝืนใจ เพราะเมตตาและการให้อภัย เป็นคุณประโยชน์แก่เรา เป็นความสงบร่มเย็นของเราเอง ไม่ใช่ของใครอื่น

    การให้อภัยจึงเป็นชัยชนะของผู้มีปัญญา

    เจริญธรรม
    แหล่งที่มา : www.dhammathai.org
     
  19. phanbuaphet

    phanbuaphet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +2,180
    จงอย่าเก็บความทุกข์มาใส่ใจตนเอง..

    โบราณสอนไว้ว่า..
    ของดีให้หมั่นเก็บ..ของเสียให้หมั่นทิ้ง..

    ความสุข-ความทุกข์..
    ของคนเราก็เป็นเช่นเดียวกัน..

    หากเป็นความสุข..
    จงหมั่นเก็บรักษาไว้..นำมาใส่ในใจของเรา..
    แม้จะมากบ้าง..น้อยบ้าง..
    ถ้ามีโอกาสก็ให้รีบเก็บไว้..

    แต่ถ้าเป็นความทุกข์..
    จงหมั่นเก็บไปทิ้งออกจากใจ..
    แม้เล็กน้อย..ถ้ามีขึ้นในใจ..
    ก็อย่าเก็บไว้..ให้รีบนำไปทิ้งเสียทันที..ทันใด..

    อยากมีความสุข..
    ก็จงสร้างความรู้สึก..ให้เป็นสุข..
    แล้วเราก็จะมีความสุข..
    แต่สำหรับความทุกข์..เราไม่ต้องสร้าง..
    ถ้ามันเกิดมีขึ้นมา..ให้รีบทำลายทันที..

    การทำลายก็คือ..โยนมันทิ้งเสีย..
    อย่าเก็บ..อย่าสะสมมัน..
    อย่ามัวแต่คิดว่า...มันทำยาก..
    ถ้าไม่ลงมือทำ..จะรู้ได้อย่างไรว่า..มันยาก..
    ที่มันยาก..ก็เพราะชอบพูดว่า..มันยาก..มันทำไม่ได้..
    ชีวิตของเราก็เลยเต็มไปด้วยความทุกข์ยากลำบากต่าง ๆ ..
    ก็เพราะคิดว่า..ทำไม่ได้..โยนมันทิ้งไม่ได้..นั่นแหละ..

    ลองคิดและทำใจเป็นคนใหม่..
    อย่าบอกว่า..ยาก..แล้วไม่ยอมทำ..
    ทำไปก่อน..ลงมือทำก่อน..แล้วค่อยพูด..
    ถ้าลองได้ลงมือทำ..รับรองว่า..มันไม่ยากอย่างที่คิด..

    คนที่ชอบพูดว่า..ยาก..
    ระวังจะทุกข์มาก..เพราะชอบทำตัวง่าย..
    มันจึงต้องทนทุกข์อยู่อย่างนี้..

    ลองฝึกฝืนใจดูบ้าง..
    มันไม่ได้ยาก..อย่างที่คิด..
    ขอเพียงลองลงมือทำก่อน..แล้วเรื่องยาก ๆ มันจะง่าย..
    ไม่เชื่อลองดู..

    บทความ...โดย..ชายน้อย..

    ที่มา : dhammathai.org
     
  20. phanbuaphet

    phanbuaphet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +2,180
    อูย แหะ แหะ อะอันนี้เหมือนใครหยะครุ้นๆ....


    คนชอบยุ่งกับเรื่องของคนอื่น

    ............โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

    อย่ายุ่งกับเรื่องของคนอื่น ภาวนามาก ๆ ดูตัวเองมาก ๆ
    หลวงพ่อ (พระโพธิญาณเถระ) บอกว่า
    'ธรรมดาเราดูแต่คนอื่น 90% ดูตัวเองแค่ 10%'
    คือคอยดูแต่ความผิดของคนอื่น เพ่งโทษคนอื่น คิดแต่จะแก้ไขคนอื่น

    กลับเสียใหม่นะ ดูคนอื่นเหลือไว้ 10%
    ดูเพื่อศึกษาว่า เมื่อเขาทำอย่างนั้น คนอื่นจะรู้สึกอย่างไร เพื่อเอามาสอนตัวเองนั่นแหละ
    ดูตัวเอง พิจารณาตัวเอง 90% จึงเรียกว่าปฏิบัติธรรมอยู่

    ธรรมชาติของจิตใจมันเข้าข้างตัวเอง
    โบราณพูดว่า เรามักจะเห็น ความผิดของคนอื่นเท่าภูเขา ความผิดของตนเองเท่ารูเข็ม
    มันเป็นความจริงอย่างนั้นด้วย เราจึงต้องระวังความรู้สึกนึกคิดของตัวเองให้มาก ๆ

    เห็นความผิดของคนอื่น ให้หารด้วย 10
    เห็นความผิดตัวเอง ให้คูณด้วย 10
    จึงจะใกล้เคียงกับความจริงและยุติธรรม
    เพราะเหตุนี้เราจะต้องพยายามมองแง่ดีของคนอื่นมาก ๆ
    และตำหนิติเตียนตัวเองมาก ๆ
    แต่ถึงอย่างไร ๆ เราก็ยังเข้าข้างตัวเองนั่นแหละ

    พยายามอย่าสนใจการกระทำ การปฏิบัติของคนอื่น
    ดูตัวเอง สนใจแก้ไขตัวเองนั่นแหละมาก ๆ
    เช่น เข้าครัวเห็นเด็กทำอะไรไม่ถูกใจ แล้วก็เกิดอารมณ์ร้อนใจ
    ยังไม่ต้องบอกให้เขาแก้ไขอะไรหรอก รีบแก้ไข ระงับอารมณ์ร้อนใจของตัวเองเสียก่อน
    เห็นอะไร คิดอะไร รู้สึกอย่างไร ก็สักแต่ว่า ใจเย็น ๆ ไว้ก่อน
    ความเห็น ความคิด ความรู้สึกก็ไม่แน่ ..... ไม่แน่ อาจจะถูกก็ได้ อาจจะผิดก็ได้
    เราอาจจะเปลี่ยนความเห็นก็ได้
    สักแต่ว่า.....สักแต่ว่า....ใจเย็น ๆ ไว้ก่อน ยั! งไม่ต้องพูด

    ดูใจเราก่อน สอนใจเราก่อน หัดปล่อยวางก่อน
    เมื่อจิตสงบแล้ว เมื่อจิตปกติแล้ว จึงค่อยพูด จึงค่อยออกความเห็น
    พูดด้วยเหตุ ด้วยผล ประกอบด้วยจิตเมตตากรุณา
    ขณะมีอารมณ์อย่าเพิ่งพูด
    ทำให้เสียความรู้สึกของผู้อื่น ทำให้เสียความรู้สึกของตัวเอง
    ไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร มักจะเสียประโยชน์ซ้ำไป

    เพราะฉะนั้น อยู่ที่ไหน อยู่ที่วัด อยู่ที่บ้าน ก็สงบ ๆ ๆ ไม่ต้องดูคนอื่นว่าเขาทำผิด ๆ ๆ
    ดูแต่ตัวเรา ระวังความรู้สึก ระวังอารมณ์ของเราเองให้มาก ๆ
    พยายามแก้ไข พัฒนาตัวเรา ..... นั่นแหละ

    เห็นอะไรชอบ ไม่ชอบ ปล่อยไว้ก่อน เรื่องของคนอื่น พยายามอย่าให้เข้ามาที่จิตใจเรา
    ถ้าไม่ระวัง ก็จะยุ่งกับเรื่องของคนอื่นไปเรื่อย ๆ
    หาเรื่องอยู่อย่างนั้น เอาเรื่องโน้นเรื่องนี้มาเป็นเรื่องของเราหมด
    มีแต่ยินดี ยินร้าย พอใจ ไม่พอใจ ทั้งวัน
    อารมณ์มาก จิตไม่ปกติ ไม่สบาย ทั้งวัน ๆ ก็หมดแรง

    ระวังนะ
    พยายามตามดูจิตของเรา ! รักษาจิตของเราให้เป็นปกติให้มาก
    ใครจะเป็นอะไร ใครจะทำอะไร ดีหรือไม่ดี เรื่องของเขา
    แม้เขาจะทำกับเรา ว่าเรา..... ก็เรื่องของเขา
    อย่าเอามาเป็นอารมณ์ อย่าเอามาเป็นเรื่องของเรา

    ดูใจเรานั่นแหละ พัฒนาตัวเองนั่นแหละ
    ทำใจเราให้ปกติ สบาย ๆ มาก ๆ
    หัด - ฝึก ปล่อยวาง นั่นเอง
    ไม่มีอะไรหรอก
    ไม่มีอะไรสำค ัญกว่าการตามรักษาจิตของเรา
    คิดดี พูดดี ทำดี มีความสุข


     

แชร์หน้านี้

Loading...