///วัตถุมงคล/เครื่องราง...เริ่มหน้า 72..//

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Pitiphat, 20 มกราคม 2018.

  1. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่137 สมเด็จพระพุทธโคดมหลังพุทโธ หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว เนื้อดิน ปี 2505
    พระพิมพ์สมเด็จพระพุทธโคดมหลังพุทโธ หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว เนื้อดิน สร้าง ปี 2505 ประวัติหลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี ประวัติของหลวงพ่อขอม เดิมท่านชื่อ เป้า แต่เพื่อนๆ เรียกท่านว่า ขอม เมื่อได้ก้าวเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์แล้ว พระขอม หรือ อนิโชภิกษุ ได้จำพรรษาอยู่ที่ วัดบางสาม ได้ตั้งหน้าตั้งตาศึกษาพระธรรมวินัย ด้วยความเอาใจใส่อย่างยิ่ง และปฏิบัติตนในศีลาจารวัตรเป็นอย่างดี อยู่หลายปี จนกระทั่งเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลงมาถึง ได้มีสำนักสงฆ์สร้างขึ้นใหม่แห่งหนึ่ง มีชื่อเรียกตามความนิยมของชาวบ้านว่า “วัดไผ่โรงวัว” ด้วยเหตุที่นี่ไม่มีสมภารเจ้าวัด บรรดาชาวบ้านย่านนั้นซึ่งจับตาดูพระขอมมาตั้งแต่ต้น ลงความเห็นพ้องต้องกันว่า ผู้ที่สมควรได้รับตำแหน่งสมภารวัดใหม่นี้ ไม่มีท่านใดเหมาะเท่า พระขอม เมื่อลงความเห็นดังนี้ ต่างก็พากันกันไปนิมนต์ พระขอม ให้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดไผ่โรงวัว พระขอมซึ่งเคยเป็นที่คุ้นเคยกับพุทธบริษัทที่นั่น ไม่อาจขัดศรัทธาได้ จึงย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดนั้นเป็นเวลา ๒ ปี ชีวิตของท่านในช่วงนี้ หากจะขาดก็คือขาดสถานศึกษาเล่าเรียนพระพุทธศาสนา เพราะวัดไผ่โรงวัวเป็นวัดใหม่ สิ่งนี้ทำให้พระขอมพิจารณาตนเอง และเห็นว่าอันธรรมวินัยของพระศาสดานั้น ท่านยังเข้าไม่ถึงพอที่จะเป็นสมภารเจ้าวัดได้ หากผู้ศรัทธายังประสงค์จะให้ท่านเป็นผู้นำของวัดนี้อยู่ ท่านก็จำต้องเสาะแสวงหาความรู้เพิ่มเติม ดังนั้นท่านจึงขอย้ายไปจำ พรรษาที่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งอยู่ในตัวเมืองสุพรรณบุรี แล้วไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่ วัดประตูสาร ใกล้ๆ กับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ที่ท่านจำพรรษาอยู่นั่นเอง การศึกษาพระปริยัติธรรมของพระขอมดำเนินไป ๓ ปี ก็สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก อันเป็นความรู้ชั้นเถรภูมิ คราวนี้ท่านกลับมาสู่วัดไผ่โรงวัวอีกครั้งหนึ่ง อย่างสมภาคภูมิ กลับมาอย่างผู้พร้อมที่จะบริหารภารกิจให้พระศาสนาอย่างเต็มที่ ดังได้กล่าวแล้วว่า วัดไผ่โรงวัวเป็นวัดใหม่ จึงยังไม่ถึงพร้อมในทุกๆ ด้าน คือไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย กุฏิที่อยู่จำพรรษาของพระภิกษุสามเณร ก็เป็นกระต๊อบมุงจากเก่าๆ มีอยู่เพียง ๒ หลัง ศาลาการเปรียญที่เป็นที่บำเพ็ญกุศลของทายกทายิกา เป็นเพียงเรือนไม้ไผ่หลังคามุงจาก อาศัยพื้นดินเป็นพื้นของศาลา น่าอนาถใจยิ่ง ภาระของพระขอม คือต้องปรับปรุงศาสนสถานแห่งนี้ให้น่าพักพิงสมกับเป็นวัดก่อน เพื่อจะได้เป็นหนทางนำไปซึ่งการปรับปรุงจิตใจของชาวบ้านผู้ศรัทธาเป็นชั้น ที่สอง และเนื่องจากบรรดาชาวบ้านต่างมีศรัทธาพระขอมเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว งานปรับปรุงก่อสร้างชั้นแรกจึงผ่านไปได้ไม่ยาก เริ่มด้วยการถมดินไม่ให้น้ำท่วมวัดได้ เพราะบริเวณดังกล่าวเป็นที่ลุ่มมาก ถึงฤดูฝนคราใดน้ำท่วมทุกปี และท่วมมากขนาดเรือยนต์เรือแจวแล่นถึงกุฏิได้ เมื่อถมดินเสร็จ ท่านได้จัดการขุดสระน้ำสำหรับเป็นที่สรงน้ำ และน้ำดื่มของพระภิกษุสามเณร และเพื่อชาวบ้านทั้งหลายจะได้อาศัยอาบกินโดยทั่วไป แล้วซ่อมกุฏิที่ชำรุดทรุดโทรม สร้างศาลาการเปรียญ สร้างโบสถ์ จัดสรรให้เหมาะสมเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม สมกับคำว่า “วัด” ทำให้ศรัทธาของชาวบ้านก็เพิ่มมากขึ้น นับตั้งแต่พระขอมได้บวชเป็นพระสงฆ์ ท่านมีความตั้งใจมั่น ดังที่เรียกว่ามโนปณิธาน เรื่องนี้ท่านกล่าวกับผู้ใกล้ชิดว่า “... อาตมาได้ฟังพระท่านเทศน์ว่า บุคคลผู้ใดเลื่อมใส ได้สร้างพระพุทธรูป จะเล็กเท่าต้นคาก็ดี โตกว่าต้นคาก็ดี ผู้นั้นจะได้เป็นพรหม เป็นอินทร์ หมื่นชาติแสนชาติ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ หมื่นชาติแสนชาติ ผู้นั้นจะไม่เป็นผู้ตกต่ำเลย จนตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน ถ้าผู้ใดสร้างพระพุทธรูปด้วยทองคำ ผู้นั้นจะได้เกิดเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า...” ด้วยมโนปณิธานนี้เอง ทำให้ท่านขอมคิดเริ่มสร้าง พระพุทธโคดม ด้วยทองสัมฤทธิ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก พ. ศ. ๒๕๐๐ หลวงพ่อขอมเริ่มบอกบุญแก่ญาติโยม ใช้เวลา ๒ ปี กว่าจะเริ่มสร้างได้ เนื่องจากเป็นงานใหญ่นั่นเอง ถึงต้องใช้เวลาสร้างทั้งหมด ๑๒ ปี จนแล้วเสร็จ พ.ศ. ๒๕๑๒ หลังจากนั้น ท่านก็เริ่มสร้างสิ่งก่อสร้างอีกหลายอย่าง เช่น สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล แดนสวรรค์ นรกภูมิ เมืองกบิลพัสดุ์ และอีกหลายๆ อย่างด้วยกัน ดังที่เห็นกันในทุกวันนี้ มีลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดเคยถามหลวงพ่อขอมว่า จะสร้างสิ่งก่อสร้างไว้มากมายเพื่ออะไร ท่านตอบว่า "อาตมาสร้างไว้เพื่อให้ผู้ศรัทธา และอนุชนรุ่นหลัง ได้ศึกษาเรื่องราวของพุทธประวัติ" นอกจากงานก่อสร้างแล้ว หลวงพ่อขอมท่านยังเป็นนักเขียน นักแต่ง ที่มีความสามารถไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าด้านงานก่อสร้าง ผลงานของท่านปรากฏอยู่หลายเรื่อง เฉพาะที่จัดพิมพ์แจกเป็นธรรมทานไปแล้วก็มีเรื่อง ธรรมทูตเถื่อน พุทธไกรฤกษ์ สมถะและวิปัสสนา จนถึงวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๓๓ เวลา ๑๖.๕๕ หลวงพ่อขอมก็มรณภาพลงด้วยโรคหัวใจล้มเหลว รวมสิริอายุ ๘๘ ปี พรรษา ๖๘ ทำให้นึกถึงคำปฏิญาณของหลวงพ่อขอม ที่ท่านได้กล่าวไว้ ๕ ข้อ คือ ๑. ชีวิตของเราที่เหลือ ขอช่วยพระพุทธองค์ไปจนตาย ๒.เมื่อมีชีวิตอยู่ ถ้าเรามีเงินส่วนตัวสัก ๑ บาท เราจะอายพุทธบริษัทเป็นอย่างยิ่ง ๓.เราจะให้รูปพระองค์เกลื่อนไปในพื้นธรณี ๔.โอ...โลกนี้ไม่ใช่ของฉัน และ ๕.เราต้องตาย ตายใต้ผ้าเหลืองของเรา พระเครื่องหลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว ชั่วโมงเซียนป๋องสุพรรณ-พระหลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี "สิบล้านองค์" เป็นจำนวนตัวเลขความตั้งใจในการจัดสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคลของ พระครูอุภัยภาดาธร หรือที่รู้จัดกันดีในนาม "หลวงพ่อขอม"อดีตเจ้าอาวาส วัดไผ่โรงวัว ต.บางตาเถร อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี เป็นที่ประดิษฐาน "พระพุทธโคดม" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปหล่อโลหะที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑๐ เมตร สูง ๒๖ เมตร ภายในบริเวณวัด มีสิ่งก่อสร้างเกี่ยวกับพุทธศาสนา เช่น วังสามฤดู ของเจ้าชายสิทธัตถะ สถานที่แสดงปฐมเทศนา ตรัสรู้ และปรินิพพาน เมืองนรก เป็นต้น หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว ท่านมักได้รับนิมนต์ไปร่วมพิธีอธิษฐานจิตปลุกเสกในงานพุทธาภิเษกตามวัดต่างๆ จนนับครั้งไม่ถ้วน ยิ่งงานใหญ่ๆ ต้องมีท่านด้วยเสมอ ขณะไปปลุกเสกในการสร้างพระให้วัดอื่นๆ ท่านมีปณิธานว่า จะสร้างพระจำนวนโกฏิ (สิบล้านองค์) โดยเริ่มสร้างตั้งแต่ปี ๒๔๗๓ จนถึงปี ๒๕๐๐ จำนวนการสร้างไม่แน่ชัด แต่ทราบเพียงว่า ท่านก็ยังสร้างอีกเรื่อยมา มีจำนวนหลายร้อยตุ่ม แม้จะสร้างมาก แต่พระของท่านก็มีประสบการณ์ดีเช่นกัน คือ คนนำไปลองยิงแล้วมีผลเป็นมหาอุดด้วย พระเครื่องและวัตถุมงคลหลวงพ่อขอม สร้างไว้นั้น มีมากมายหลายแบบ หลายพิมพ์ แต่มีเพียง ๔ รุ่น หรือ ๔ พิมพ์เท่านั้น ที่ได้รับความนิยม คือ ๑.เหรียญทรงรูปไข่ หลวงพ่อขอมรุ่นแรก (บล็อกตาแตก) ๒.เหรียญทรงรูปไข่ รุ่นสอง (บล็อกหน้าหนุ่ม) ๓.รูปเหมือนหล่อ รุ่นแรก ได้รับความนิยมทั้งพิมพ์ใหญ่-พิมพ์เล็ก และ ๔.พระกำแพงศอก ซึ่งมีทั้งหมด ๗ พิมพ์
    คุณลืมจัง นิมนต์ครับ
    IMG_20180216_213757.jpg
    IMG_20180216_213737.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2018
  2. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่138 นางกวักผงน้ำมัน พิมพ์หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม หลังปั๊ม ว ส จ วัดสุวรรณจันทราราม อ.เนินขาม จ.ชัยนาท
    คุณ melonn นิมนต์ครับ
    IMG_20180216_214202.jpg
    IMG_20180216_214150.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2018
  3. melonn

    melonn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,242
    ค่าพลัง:
    +2,025
    จอง 138 ครับ
     
  4. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่139 แหนบ รุ่น 3 หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี (ทันหลวงพ่อ) ผิวหิ้ง
    ปิดครับ
    IMG_20180216_214439.jpg
    IMG_20180216_214425.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2018
  5. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รับทราบการจองครับ
     
  6. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่140 เหรียญหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ หลังนางกวัก ปี41 (ทันหลวงพ่อครับ)
    "นางกวัก" นับเป็นรูปเคารพนับถือกันเป็นอย่างมาก มีรูปลักษณะสำคัญเป็นสตรีไทยสมัยโบราณ ผมยาวประบ่า ห่มผ้าสไบเฉียง นุ่งผ้ายกดอก ประกอบด้วยพาหุรัด ทองกร และสร้อยสังวาล นั่งพับเพียบเรียบร้อยอยู่บนแท่นทอง หัตถ์ขวายกงอขึ้นในลักษณะท่ากวักมือ หัตถ์ซ้ายส่วนมากจะถือถุงเงิน และจารึกอักขระขอม เป็นหัวใจพระสีวลี ผู้เป็นเอตทัคคะทางโชค ลาภคือ นะ ชา ลิ ติ เป็นต้น

    อย่างไรก็ตาม เป็นที่กล่าวขานกันว่า "นางกวัก" สามารถดลบันดาลโชคลาภให้บังเกิดแก่ผู้กราบไหว้บูชา และทำมาค้าขึ้น ซื้อง่าย ขายคล่อง และมีเสน่ห์มหานิยมแก่ผู้พบเห็นอีกด้วย

    โดยเฉพาะในมวลหมู่ผู้มีอาชีพค้าขายด้วยเชื่อว่านามของ "นางกวัก" มีความหมายในทางทำมาหากินคล่องเจริญก้าวหน้า ตามร้านค้าจึงพบเห็นรูปนางกวักบนหิ้งบูชา หรือแม้กระทั่งรถเข็นค้าขายในตะกร้าเก็บสตางค์ หรือมุมเล็กๆ ต้องมีรูปนางกวักอยู่ด้วยเสมอ

    นอกจากนี้แล้วนามของ"นางกวัก" มีนัยเป็นการ "กวัก" เรียกผู้คนมาอุดหนุนร้านค้า รูป"นางกวัก" จึงมีพระเกจิอาจารย์นิยมสร้างขึ้นมากมายหลายสำนัก

    "การสร้างนางกวัก มีมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ มาจนถึงปัจจุบัน ทั้งเก่าและใหม่ ท่านที่ปรารถนาอยากจะได้นางกวักไว้บูชาเพื่อให้การค้าขายเจริญรุ่งเรือง ก็ลองไปดูตามวัดวาอารามต่างๆ จะนิยมสร้างกันมาก ส่วนราคาถ้าเก่าหายากก็แพง ถ้าใหม่ก็ไม่แพง หรือบางท่านไปซื้อตามร้านเครื่องสังฆภัณฑ์ และนำไปให้พระเกจิอาจารย์ที่นับถือ อธิษฐานจิตปลุกเสก พุทธคุณก็เหมือนกัน"


    คาถาบูชาแม่นางกวัก (ดีทางด้านค้าขาย เมตตา มหานิยม) ว่านะโม ๓ จบ แล้วกล่าวดังนี้ โอมปู่เจ้าเขาเขียวมีลูกสาวคนเดียว ชื่อว่าแม่นางกวัก หญิงเห็นหญิงรัก ชายเห็นชายรัก อยู่ทุกถ้วนหน้า
    เอหิมามะมะ อาคัจเฉยยะ อาคัจฉาหิ เอหิมามะมะ
    จะค้าขายก็ขอให้เป็นเศรษฐี หนึ่งปีให้เป็นพ่อค้าสำเภาทอง
    จะค้าเงินขอให้เงินเข้ามากอง จะค้าทองขอให้ไหลมาเทมาเต็มบ้านเต็มเรือน
    จะค้าขายสิ่งหนึ่งประการใด ขอให้ซื้อง่ายขายคล่อง ขอให้ซื้อง่ายขายดี ขอให้เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี


    อาคัจเฉยยะ อาคัจฉาหิ เอหิมามะมะ นะมะอะอุ นะชาลีติ อิกะวิติ พุทธะสังมิ ทุสะมะนิ อิธะคะมะ จะพะกะสะ นาสังสิโม สุมะโมโล นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ นะเมตตา โมขายดี พุทธไม่ต่อ ธาซื้อดี ยะใจดี มิใจอ่อน รักพุทโธ ปฏิรูปัง สัมปะฏิจฉามิ เพี้ยง สิทธิโภคา สิทธิพะลา สิทธิจะมหาเดชา นะชาลีติ เอหิจงมา พุทธะสังมิ นิมามะมามา

    มาช่วยกันค้า มาช่วยกันขาย กวักเอาเงินมา กวักเอาทองมา กวักเอาโชคลาภ แก้วแหวนเงินทองข้าวของ หน้าที่การงาน ผู้คน ชื่อเสียงเกียรติยศ ข้าทาสหญิงชายมา

    มาด้วยนะโมพุทธายะ ปฏิรูปัง สัมปะฏิจฉามิ เพี้ยง พุทธังขอให้เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี ธัมมังขอให้เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี สังฆังขอให้เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี เตชะสุเนมะภูจะนาวิเวอิติ นะเยปะรังยุตเต

    ขอจงนำเอาโชคลาภ แก้วแหวนเงินทองข้าวของ มาสู่ในสถานที่นี้ด้วย เทอญ

    พุทธังรักษา ธัมมังรักษา สังฆังรักษา
    พุทธังคุ้ม ธัมมังคุ้ม สังฆังคุ้ม
    เอหิพุทธานุภาเวนะ เอหิธัมมานุภาเวนะ เอหิสังฆานุภาเวนะ
    อายุ วรรโณ สุขัง

    ปิดครับ
    IMG_20180216_223101.jpg
    IMG_20180216_223049.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2018
  7. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่141 สมเด็จหินพระธาตุ เขาสามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ หลังยันต์
    หิน พระธาตุเขาสามร้อยยอด

    จากคำบอกเล่าของลุงไล้ ชาวจังหวัดประจวบฯ เล่าให้ฟังว่า หินพระธาตุนี้ เริ่มเป็นที่รู้จักเพราะ เก้ง ธรรมดา ตัวเดียว มีนายพรานพบเห็นเก้ง ในเขตเขาสามร้อยยอดนี่แหละ จึงทำการขึ้นนกสับไกปืนขึ้นเล็งเตรียมที่จะยิง เมื่อได้จังหวะดีก็เหนี่ยวไกออกไป เสียงแชะ ปรากฏว่าลูกกระสุนปืนด้าน ยิงไม่ออก เก้งรู้ตัวจึงวิ่งหนีไป นายพรานตามมาทันได้จังหวะ ก็ลองยิงซ้ำอีกครั้ง เสียงดังแชะ อีกเช่นเคย ลองยิงเป็นครั้งที่ สาม และสี่ก็เป็นเหมือนเดิม จึงลองหันปากกระบอกปืนไปยังทิศทางอื่น ปรากฏว่าปืนสามารถยิงได้เป็นปกติตามเดิม นายพรานนึกแปลกใจ จึงค่อยๆตามอีเก้งตัวนั้น พบว่าเก้งตัวนั้น เลียน้ำจากโขดหินอันหนึ่งที่มีลักษณะแปลกตา โขดหินที่ว่า มีลักษณะคล้ายไข่ไก่ ไข่เป็ด ขนาดเขื่อง ฝังตัวอยู่ภายในก้อนหินทั้งแท่ง ตั้งแต่นั้นมาเรื่องราวของหินพระธาตุเขาสามร้อยยอดก็เริ่มแพร่สะพัด ระยะแรกเป็นที่รู้กันในเฉพาะกลุ่มพรานป่า ที่นิยมมาแงะเอาหินเขาสามร้อยยอดพกติดตัวป้องกันภัย โดยพลังอำนาจที่ร่ำลือกันมากที่สุดคือ อำนาจทางด้านมหาอุด คงกระพันนั่นเอง หินพระธาตุเขาสามร้อยยอดไม่ใช่หินธรรมดา เป็นหินศักดิ์สิทธิ์มีเทพรักษาและยังถือว่าเป็นธาตุของผู้สำเร็จทางจิตท่าน ต่างๆในอดีตที่ผ่านมาแน่นอน ดังนั้นหินดังกล่าวจึงมีศักดิ์ศรีเหนือกว่า วัตถุมงคลโดยทั่วไปมากมายนัก สามารถปัดป้องอุบัติภัยได้ ข่าวเรื่องหินพระธาตุเขาสามร้อยยอด ยิ่งแพร่สะพัดเป็นทวีคูณ เมื่อมีผู้หนึ่งพกหินพระธาตุฯไปโดนกับระเบิด เพื่อนที่ไปด้วยตายทั้งคันรถ เหลือรอดอยู่เพียงคนเดียวคือ ผู้มีหินพระธาตุฯติดตัว เรื่องนี้เป็นที่โด่งดังมากมากในเขตชุมพร เมื่อ สามสิบกว่าปีที่ผ่านมา สรรพคุณของหินพระธาตุฯยิ่งทวีคูณขึ้นไปอีก เมื่อผู้ว่าเมืองประจวบฯยุคนั้น พกหินพระธาตุฯ ไปตรวจราชการ ณ บริเวณที่มีระเบิดชุกชุม จะว่าดวงท่านไม่ถึงฆาตหรือเพราะพลังลี้ลับจากหินพระธาตุฯ ก็แล้วแต่ ตลอดเวลาที่ท่านอยู่ในบริเวณนั้น ไม่มีระเบิดลูกใดปะทุระเบิดขึ้นเลย แทนทีที่ท่านจากไป ปรากฏว่าจุดที่ท่านยืนอยู่นั้นเกิดระเบิดขึ้นอย่างสนั่นหวั่นไหว จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้สรรพคุณของหินพระธาตุฯ เพิ่มมากขึ้น และเป็นที่รู้จักของนักนิยมเครื่องรางของขลังในเวลาต่อมา ไม่เพียงแต่การเชื่อถือกันสืบมาว่าหินพระธาตุเขาสามร้อยยอดนั้น เป็นพระธาตุของพระอรหันต์หลายรูปมาประชุมกัน ณ หุบเขาแห่งนี้ แต่ชาวใต้บางคนยังเชื่อว่านี่คือ เหล็กไหล ธาตุกายสิทธิ์แห่งพระผู้เป็นเจ้าอีกด้วย คุณสุริยาทิตย์ นักเขียนท่านหนึ่ง ได้ เขียนเรื่องราวของเหล็กไหลในพระธาตุ ตอนหนึ่งว่า ท่านได้เดินทางลงใต้ ชาวบ้านเขาบอกว่ามีเหล็กไหลติดตัวกัน ท่านก็ขอชม ปรากฏว่าสิ่งที่ชาวบ้านนำมาอวดนั้น กลับเป็นเม็ดพระธาตุ ดูแล้วเหมือนกับพระธาตุโมคคัลลา คุณสุริยาทิตย์ก็เลยบอกว่านี่มันพระธาตุ ชาวบ้านก็เถียงว่าเป็นเหล็กไหลต่างหาก จนได้ผลสรุปในที่สุดว่า คุณสุริยาทิตย์ ถูกข้างนอก พวกชาวบ้านถูกข้างใน เพราะสันนิษฐานกันว่ามันคือเหล็กไหลในองค์พระธาตุ ศัพท์เฉพาะที่เรียกเหล็กไหลในองค์พระธาตุว่า หัวใจพระธาตุ พระธาตุพระสาวกทุกองค์ หรือของพระปัจเจกพระพุทธเจ้า มักพบสิ่งที่เรียกว่า หัวใจพระธาตุ หรือแก่นพระธาตุ ซึ่งชาวใต้เขาเชื่อว่า นี่คือเหล็กไหล ลักษณะของหัวใจพระธาตุนั้น แต่ละองค์แตกต่างกัน บางองค์มีสีแดง บางองค์มีสีขาว บางองค์มีสีดำ เฉพาะที่มีสีดำนั้นเขาเชื่อว่าเป็นพระธาตุเหล็กไหล สรุปได้ว่าหินพระธาตุเขาสามร้อยยอด เป็นของดีที่มีความเป็นมาลึกลับ และเป็นกฤติยาคมแฝด คือเป็นทั้งพระธาตุภายในตัวและยังมีของกายสิทธิ์อย่างเหล็กไหลแฝงไว้ภายใน อีกด้วย สำหรับท่านที่มีหินพระธาตุฯติดตัว อย่าริทำการทุบหินพระธาตุเพื่อดูแก่น หรือหัวใจพระธาตุที่เป็นเหล็กไหลอยู่ภายในว่าจริงหรือไม่ เพราะจะเป็นอัปมงคลแก่ตัวเอง และถือว่าเป็นการลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอเพียงรู้ว่ามีของดีมีค่าอยู่กับตัวก็พอแล้ว เทพนิมิต............... เรื่องราวของพระธาตุเขาสามร้อยยอดยังไม่หมดเพียงเท่านี้ มีเรื่องของ ลุงจร ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ได้สัมผัสกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งเขาสามร้อยยอด ลุงจร ได้เล่าว่า ในตำบลเขาสามร้อยยอดนั้น แกนับว่าเป็นคนรุ่นแรกๆ ที่ได้ทำการบุกเบิกนำเอาหินพระธาตุเขาสามร้อยยอด มาแกะสลักเป็นรูปเคารพต่างๆ แกเล่าประวัติความเป็นมาว่า ก่อนที่จะมายึดอาชีพแกะหินจากเขาสามร้อยยอดนั้น แกไม่มีฝีมือทางด้านแกะสลักหินแต่อย่างใด ต่อมาคืนหนึ่งแกได้เห็นดวงไฟประหลาดเป็นสีเขียวสว่างโร่ลอยเข้ามาหาแก เมื่อใกล้ถึงตัว ดวงไฟนั้นกลับกลายเป็นร่างคน เป็นร่างของนักพรตจีนรูปหนึ่งมีหนวดเครายาว ตัดผมประหลาดเป็นรูปคล้ายสี่เหลี่ยม(เหมือนเซียนในลัทธิเต๋า) ตอนนั้นแกไม่รู้ว่าเป็นอะไร ได้แต่ตะลึงจังงังอยู่ จำได้แต่เพียงว่า เซียนองค์นั้น ได้มาบอกอนุญาตให้แกนำหินพระธาตุ มาแกะเป็นรูปเคารพของเทพเจ้าตามศาสนานิกายต่างๆได้ เพื่อยังชีพ จะได้ไม่ต้องไปเป็นนายพรานล่าสัตว์ทำบาป ละเมิดศีลข้อปาณาติบาตอีกต่อไป แปลกแต่จริง ตั้งแต่นั้นมาลุงจร แกก็สามารถทำการแกะหินพระธาตุ เป็นรูปเคารพต่างๆได้ เช่น แกะเป็นสมเด็จพุทธาจารย์โต พระพิคเณศ พระแม่กวนอิม และเซียนต่างๆได้ จากที่เล่ามาสันนิษฐานได้ว่า เทพเจ้าที่ทำการปกปักรักษาดินแดนแห่งนี้น่าจะเป็นเทพเจ้าในลัทธินิกายจีน หรือเป็นที่น่าเข้าใจอีกประการหนึ่งว่า ดินแดนแห่งนี้เคยมีนักพรตของนิกายเต๋า ธุดงค์มาพักที่นี่แล้วมามรณภาพดับขันธ์ จนกลายมาเป็นเทพเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์คอยพิทักษ์ดินแดนแห่งนี้เอาไว้ เรื่องโด่งดังเกี่ยวกับปาฏิหาริย์หินพระธาตุเขาสามร้อยยอด อีกเรื่องหนึ่งคือ การลองของกับหินพระธาตุ โดยมีผู้คนที่ไปสนทนากับลุงจร นำมาเล่าว่า พระแกะหินพระธาตุฯมีลักษณะเป็นองค์พระที่บริเวณพระเศียรที่แกะพอดีกับวงพระ ธาตุเมื่อแกะเรียบร้อยแล้วองค์พระจะมีลักษณะคล้ายกับว่ามีรัศมีแผ่ออกมาเป็น รอบๆ ชั้นๆ ที่บริเวณพระเศียรนั้น เคยมีผู้คนบางท่านนำมาลองยิงด้วยปืนเอ็ม 16 ปรากฏว่ากระสุนด้านทุกนัด อีกเรื่องหนึ่ง มีคนนำหินพระธาตุแกะเป็นพระสมเด็จแล้ว นำไปให้หลวงพ่อคูณปลุกเสก ปรากฏว่าเมื่อถึงพิธีปลุกเสก หลังจากนั่งปรกแล้วถึงขั้นตอนที่ท่านจะประพรมน้ำพระพุทธมนต์ลงบนพระเครื่อง โดยพระเครื่องที่แกะจากหินพระธาตุแพ็กไว้ในลังไม่มีใครอื่นรู้ เมื่อหลวงพ่อคูณมาถึงลังพระสมเด็จหินพระธาตุฯก็ชะงักลง ไม่ประพรมน้ำมนต์เหมือนลังอื่นๆที่ผ่านมา ญาติโยมก็ถามว่า ทำไมท่านถึงไม่พรมลังนี้ ท่านบอกว่า บารมีท่านไม่ถึง พระที่แกะจากหินนี้พุทธคุณสูงในตัว ไม่จำเป็นต้องปลุกเสก นับว่าเป็นกายสิทธิ์ดีอยู่แล้ว พระชุดเดียวกันนี้ ได้นำเอาไปให้หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ปลุกเสกอีกครั้ง แต่ก็ได้รับคำยืนยันแบบเดียวกับหลวงพ่อคูณ
    คุณmelonnนิมนต์ครับ
    IMG_20180216_222701.jpg
    IMG_20180216_222645.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2018
  8. ~หัตถ์oBuddha~

    ~หัตถ์oBuddha~ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2017
    โพสต์:
    563
    ค่าพลัง:
    +398
    เเจ้งโอนครับ ที่อยู่ใน pm ครับ
     
  9. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    ขอบคุณครับ จัดส่งให้วันนี้ครับ
     
  10. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่141.1 เหรียญหลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน จ.ปราจีนบุรี ปี ๒๕๑๘ รุ่นอุปถัมภ์ วัดไชยมงคล (บ้านค้อ)
    เหรียญ หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน จ.ปราจีนบุรี รุ่นอุปถัมภ์ วัดไชยมงคล (บ้านค้อ) อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี ปี ๒๕๑๘ เนื้อทองแดง หลวงพ่อเอีย ท่านเป็นลูกศิษย์ยุคท้ายๆ ของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ได้ศึกษาวิทยาคมมาอย่างมากมาย มีวิชาอาคมแก่กล้าในทางเพ่งกสิณทำน้ำมนต์ ท่านยังได้ทำงานด้านการรักษาคนเจ็บคนป่วย โดยไม่ได้เรียกร้องอะไร ทั้งป่วยทางจิตใจและร่างกาย ก็จะใช้สมุนไพรและธรรมะในการรักษา หากพวกโดนผีเข้าโดนของมา ท่านก็สามารถปัดเป่ารักษาได้หายขาด จนมีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่ว วัตถุมงคลหลักๆของท่าน ลูกศิษย์ต่างหวงแหนเป็นอย่างมาก และมีราคาขยับแรงขึ้นไปเรื่อยๆ รุ่นนี้ใช้แทนกันได้เพราะหลวงพ่อท่านอธิษฐานจิตด้วยตนเอง สำหรับผู้ที่สนใจไม่ควรพลาด

    ปิดครับ
    IMG_20180216_223247.jpg
    IMG_20180216_223234.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2018
  11. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่142 เหรียญเข็มกลัดพระบางพุทธลาวันต์ 25 พุทธศตวรรษ ลงยา หลังช้างเอราวัณสามเศียร
    พระบาง
    พระบางเป็นพระพุทธรูปปางประทานอภัย สูงสองศอกเจ็ดนิ้ว (ประมาณ 1.14 เมตร) หล่อด้วยสำริด (ทองคำผสม 90 เปอร์เซ็นต์) มีอายุอยู่ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ถึงตอนต้นของพุทธศตวรรษที่ 19 ตามศิลปะเขมรแบบบายนตอนปลาย โดยมีพุทธลักษณะคือ ประทับยืนยกพระหัตถ์ขึ้น นิ้วพระหัตถ์เรียบเสมอกัน พระพักตร์ค่อนข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยม พระนลาฏกว้าง พระขนงเป็นรูปปีกกา พระเนตรเรียว พระนาสิกค่อนข้างแบน พระโอษฐ์บาง พระเศียร และพระเกตุมาลาเกลี้ยงสำหรับสวมเครื่องทรง ปั้นพระองค์เล็ก พระโสภีใหญ่ ครองจีวรห่มคลุม แลเห็นแถบสบง และหน้านาง

    พระบางเป็นพระพุทธรูปสำคัญของอาณาจักรล้านช้าง แต่ชาวอีสานมีความเลื่อมใสมากและมักจะจำลองพระบางมาไว้ที่วัดสำคัญๆ ของท้องถิ่น เช่น พระบางวัดไตรภูมิ อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม และพระบางจำลองวัดพระเหลา อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นต้น พระบางเป็นพระพุทธรูปที่เคยอัญเชิญมาประดิษฐานที่กรุงเทพมหานคร ถึง 2 ครั้ง และมีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับสังคมอีสานอยู่เนืองๆ

    พระบาง เดิมนั้นประดิษฐานอยู่ที่นครหลวงของอาณาจักรขอม จนเมื่อ พ.ศ. 1902 พระเจ้าฟ้างุ้มกษัตริย์แห่งล้านช้างซึ่งมีความเกี่ยวพันทางเครือญาติกับพระเจ้ากรุงเขมร มีพระราชประสงค์ที่จะเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ประดิษฐานมั่นคงในพระราชอาณาจักร จึงได้ทูลขอพระบางเพื่อมาประดิษฐาน ณ เมืองเชียงทองอันเป็นนครหลวงของอาณาจักรล้านช้างในขณะนั้น แต่เมื่ออันเชิญพระบางมาได้ถึงเมืองเวียงคำ (บริเวณแถบเมืองเวียงจันทน์ในปัจจุบัน) ก็มีเหตุอัศจรรย์ขึ้นจนไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ พระบางจึงได้ประดิษฐานอยู่ที่เมืองนี้จนถึง พ.ศ. 2055 อันเป็นสมัยของพระเจ้าวิชุณราช ผู้ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นเจ้าเมืองเวียงคำมาก่อน จึงสามารถนำเอาพระบางขึ้นไปประดิษฐานไว้ที่วัดวิชุนราชในนครเชียงทอง ทำให้เมืองเชียงทองถูกเรียกว่า หลวงพระบาง นับแต่นั้นเป็นต้นมา

    ในสมัยที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ยกทัพเข้ายึดครองอาณาจักรล้านช้างไว้ได้ จึงได้อาราธนาพระบาง พร้อมทั้งพระแก้วมรกต ลงมาประดิษฐานที่กรุงธนบุรี ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงได้พระราชทานพระบางคืนให้แก่ล้านช้างดังเดิม

    ปัจจุบันพระบางประดิษฐานอยู่ที่ หอพระบาง พิพิธภัณฑ์เมืองหลวงพระบาง

    ประวัติพระบางนั้นตามตำนานกล่าวไว้ว่า พระจุลนาคเถระได้สร้างพระบางขึ้น เมื่อ พ.ศ. 436 ที่กรุงลังกา เมื่อหล่อสำเร็จแล้ว พระเถระเจ้าได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าไว้ในองค์พระ 5 แห่ง คือ พระสอ พระนลาฏ พระชานุ พระอุระ ข้อพระกรทั้งสองข้าง เนื้อองค์พระบางมีน้ำหนักทองคำ ทองแดง และเงินถึง 52 กิโลกรัม 85 มิลลิกรัม สูง 4 คืบ (ประมาณ 1.14 เมตร) พระสุคตแต่ปลายพระเกศาถึงพระเมาลีอีก 7 นิ้ว ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 1389 พระเจ้าจันทราชแห่งอินทปัตนครได้ไปของพระบางจากพระเจ้าสุบินทราชาแห่งลังกาประเทศ มาไว้ที่กรุงอินทปัตนคร

    จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 1901 พระเจ้าฟ้างุ้มได้ให้ทูตไปขอพระพุทธศาสนาจากพระนครหลวงอินทปัตนครมาเป็นศาสนาประจำชาติลาว กษัตริย์พระนครหลวงได้มอบให้พระมหาป่าสมันตเถระและพระมหาเทพลังกา พร้อมด้วยพระสงฆ์อีก 20 รูป นักปราชญ์ผู้เจนจบพระไตรปิฎกอัญเชิญเอาพระไตรปิฎกและพระบาง และหน่อพระศรีมหาโพธิ์มาประดิษฐานในเมืองเชียงทอง เมื่อคณะทูตเชิญพระไตรปิฎกและพระพุทธรูปและต้นศรีมหาโพธิ์มาถึงเมืองใด เจ้าเมืองเหล่านั้นก็แต่งเครื่องสักการบูชาต้อนรับเป็นอย่างดี จนกระทั้งมาถึงเมืองเวียงคำ พระยาเมืองเวียงคำจึงขอเอาพระบางสักการะไว้ที่เมืองเวียงคำ พระมหาป่าสมันตระก็อนุญาตแล้วเดินทางต่อไปจนถึงพระนครเชียงทอง (เชียงคงเชียงทองคือ เมืองหลวงพระบาง) ได้ตั้งประดิษฐานพระพุทธศาสนาในเมืองเชียงทอง โดยมีพระเจ้าฟ้างุ้มและพระนางแก้วเก็งยา พระอัครมเหสี เป็นพุทธศาสนูปถัมภก พระองค์ได้สร้างพระอารามวัดป่าสมันต์ให้เป็นที่อยู่ของพระมหาเถระทั้งสองและเป็นวัดมาจนทุกวันนี้

    หอพระบาง พิพิธภัณฑ์เมืองหลวงพระบางจวบจนถึงปี พ.ศ. 2043 ในรัชกาลพระเจ้าวิชุลราชได้ให้เสนาอำมาตย์ แสนท้าวพระยาลาว ไปอัญเชิญเอาพระบางเจ้าจากเมืองเวียงคำไปยังพระนครเชียงทอง พระองค์ได้ทรงสร้างวัดวิชุลมหาวิหารให้เป็นที่สถิตแห่งพระบางเจ้า เป็นที่เคารพบูชาของพระองค์แลพระบรมวงศ์พร้อมเสนาอำมาตย์ ไพร่บ้านพลเมืองสืบมา ต่อมาจนถึงปี พ.ศ. 2101 เมื่อพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชย้ายเมืองหลวงไปอยู่นครเวียงจันทน์ พร้อมกับอัญเชิญเอาพระแก้วมรกตที่ได้มาจากพระนครเชียงใหม่ ลงไปประดิษฐานไว้ที่นครเวียงจันทน์ และขนานนามนครเวียงจันทน์นั้นว่า จันทบุรีศรีสัตนาคนหุตอุตมราชธานี ส่วนพระนครเชียงทองนั้นให้ขนานนามว่า พระนครศรีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาว หลวงพระบางราชธานี แต่คนทั่วไปเรียกเพียงนครหลวงพระบางแต่นั้นมา ทั้งนี้ก็เพราะพระบางได้ไปประดิษฐานเป็นมิ่งขวัญแห่งพระนครนี้ตลอดมาแต่โบราณจนตราบเท่าทุกวันนี้

    ในรัชสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 (เจ้าไชยองค์เว้) พ.ศ. 2257 ได้ให้เจ้าองค์รอง พระอนุชาต่างพระชนกไปครองนครหลวงพระบาง แต่ได้ถูกพระเจ้ากิงกิสราชยกทัพมาตี แย่งเอานครหลวงพระบางไปได้ เจ้าองค์รองจึงได้อัญเชิญเอาพระบางเจ้าลงไปประดิษฐานที่นครเวียงจันทน์คู่กันกับพระแก้วมรกต

    ในระหว่างปี พ.ศ. 2321-2322 เกิดสงครามระหว่างกรุงธนบุรีกับกรุงศรีสุตนาคนหุต เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์ได้ชัยชนะแก่พระเจ้าสิริบุญสาร (องค์บุญ) จึงได้อัญเชิญเอาพระแก้วมรกตและพระบางเจ้าลงไปถวายสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปราบดาภิเษกครองราชย์สมบัติเมื่อ พ.ศ. 2325 ก็โปรดเกล้าฯ ให้เจ้านันทเสนอัญเชิญพระบางไปประดิษฐานไว้ ณ เมืองหลวงพระบาง ซึ่งพระบางสถิตอยู่กรุงเทพฯ เป็นเวลา 3 ปีเศษ

    ในปี พ.ศ. 2369-2371 เจ้าอนุวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์ได้ยกกองทัพเข้าตีหัวเมืองอีสานทั้งหมด ยึดได้เมืองนครราชสีมา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) ยกกองทัพไปปราบ ในที่สุดปราบเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ได้ เมื่อจัดการบ้านเมืองทางอีสานให้เข้าสู่ความสงบเรียบร้อยแล้ว เจ้าพระยาสุรสีห์ได้อัญเชิญเอาพระบางเจ้าลงไปกรุงเทพมหานคร โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนยศเจ้าพระยาสุภาวดีเป็น เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) และโปรดให้สร้างพระอารามขึ้นให้เป็นที่ประดิษฐานพระบางเจ้าไว้นอกกรุงคือ ให้อัญเชิญไปไว้วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร ตลอดมาจนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระราชทานพระบางให้แก่เจ้ามหินทรเทพทิพากร พระเจ้าหลวงพระบาง อัญเชิญพระบางกลับหลวงพระบางและคงอยู่ในหลวงพระบางตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

    ความเชื่อความเชื่อเรื่องผีอารักษ์ประจำพระพุทธรูปสำคัญของอาณาจักรล้านช้าง ความว่า ?ชาวล้านช้างเชื่อถือกันมาแต่โบราณว่า พระพุทธรูปสำคัญย่อมมี ?ผี? คือ เทวดารักษาทุกพระองค์ ผู้ปฏิบัติบูชาจำต้องเซ่นสรวงผีที่รักษาพระพุทธรูปด้วย เพราะถ้าผีนั้นไม่ได้ความพอใจ ก็อาจบันดาลให้เกิดภัยอันตรายต่างๆ หรืออีกอย่างหนึ่งถ้าผีที่รักษาพระพุทธรูปต่างพระองค์เป็นอริกัน หากนำเอาพระพุทธรูปนั้นไว้ใกล้กัน ก็มักเกิดอันตราบด้วยผีวิวาทกัน เลยขัดเคืองต่อผู้ปฏิบัติบูชา?

    คติที่กล่าวๆมาประกฎขึ้นในกรุงเทพครั้งแรกเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โปรดให้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานเมื่อ พ.ศ. 2327 ครั้งนั้นโปรดให้อัญเชิญพระบางอันเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่เมืองหลวงพระบาง แล้วตกไปเป็นของพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตอยู่ ณ เมืองเวียงจันทน์ พระองค์ได้ทรงอัญเชิญลงมาพร้อมกับพระแก้วมรกต เข้ามาประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เจ้านันทเสนบุตร พระเจ้าล้านช้างกราบบังคลทูลว่าผีซึ่งรักษาพระแก้วมรกตกับพระบางเป็นอริกัน พระพุทธรูป 2 พระองค์นั้นอยู่ด้วยกันในที่ใด มักมีเหตุภัยอันตรายอ้างอุทาหรณ์แต่เมื่อครั้งพระแก้วมรกตอยู่เมืองเชียงใหม่ กรุงศรีสุตนาคนหุตก็อยู่เย็นเป็นสุข ครั้งพระเจ้าไชยเชษฐาเชิญพระแก้วมรกตจากเมืองเชียงใหม่ไปไว้ด้วยกับพระบางที่เมืองหลวงพระบาง เมืองเชียงใหม่ก็เป็นกบฏต่อกรุงศรีสุตนาคนหุต แล้วพม่ามาเบียดเบียน จนต้องย้ายราชธานีลงมาตั้งอยู่ ณ นครเวียงจันทน์ ครั้นอัญเชิญพระบางลงมาไว้นครเวียงจันทน์กับพระแก้วมรกตด้วยกันอีก ก็เกิดเหตุจลาจลต่างๆ บ้านเมืองไม่ปกติ จนเสียนครเวียงจันทน์ให้กับกรุงธนบุรี ครั้งอัญเชิญพระแก้วมรกตกับพระบางลงมาไว้ด้วยกันในกรุงธนบุรี ไม่ช้าก็เกิดเหตุจลาจล ขออย่าให้ทรงประดิษฐานพระบางกับพระแก้วมรกตไว้ด้วยกัน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระราชดำริว่า พระบางก็ไม่ใช่พระพุทธรูปซึ่งมีลักษณะงาม เป็นแต่พวกชาวศรีสัตนาคนหุตนับถือกัน จึงโปรดให้ส่งพระบางคืนขึ้นไปไว้ ณ นครเวียงจันทน์
    เหรียญพระบางพุทธลาวันต์ 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ.2499

    หมายเหตุ : ประเทศลาวฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ก่อนไทย 1 ปี คือ ปี พ.ศ. 2499

    ประเทศไทยจัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ช้ากว่าประเทศอื่น ๆ 1 ปี โดยประเทศอินเดีย ศรีลังกา และพม่า จัดงานฉลองนี้ในปี พ.ศ. 2499 เนื่องจากประเทศไทยนับพุทธศักราชช้ากว่าประเทศอื่น โดยประเทศไทยนับหนึ่งปีหลังพุทธปรินิพพานเป็น พ.ศ. 1 แต่ประเทศอื่นนับตั้งแต่การปรินิพพานของพระพุทธเจ้าเป็น พ.ศ. 1

    (งานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ-วิกิพีเดีย : หมายเหตุ 2)


    ขอขอบพระคุณข้อมูลจากผู้รู้ทั้งฝั่งลาวและไทย

    ปิดครับ
    IMG_20180216_223840.jpg
    IMG_20180216_223825.jpg
    09Prabang37[1].jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2018
  12. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่143 พระสมเด็จเกศไชโย พิมพ์ใหญ่ 9 ชั้น เนื้อผงนํ้ามัน พิมพ์หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม หลังปั๊ม ว ส จ / อ. น ข วัดสุวรรณจันทราราม อ.เนินขาม จ.ชัยนาท
    ปิดครับ
    IMG_20180216_222454.jpg
    IMG_20180216_222439.jpg
    get_auc1_img.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2018
  13. ลืมจัง

    ลืมจัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    326
    ค่าพลัง:
    +821
  14. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รับทราบการจองครับ
     
  15. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่144 ลูกแก้วสารพัดนึก จารมือนะเมตตาเป็นของดีตามแบบวัดชายนาคือ วัดทำเอง แจกเอง หลวงพ่อตัด ปลุกเสก
    ลูกแก้วสารพัดนึกจารนะเมตตา หลวงพ่อตัด วัดชายนาปลุกเสก แจกในงานกฐิน ปี 2551หลวงพ่อท่านตั้งใจทำให้ใช้กัน ไม่มีใครมาอ้อนวอน เป็นของดีตามแบบวัดชายนาคือ วัดทำเอง แจกเอง**ส่วนมากนิยมนำมาห้อยคอและใช้สวดมนต์ภวนา เนื่องจากลูกแก้วเป็นตัวแทนของแสงสว่างในโลกกสิณ อฐิษฐานขอบารมี เมตตา ค้าขาย โชคลาภหรือการที่ตั้งใจไว้จะสำเร็จได้ดังใจปราถนา......... ประสบการณ์ที่ปรากฏบ่อย ๆ มีญาติโยมมาขอลูกแก้วจากหลวงพ่อ อาราธนา ประสบผลสำเร็จในเรื่องค้าขาย ว่ากันแบบ ลูกค้าไม่ขาดสาย โกยเงินเข้าร้านเต็มกระเป๋า
    ปิดครับ

    IMG_20180214_191302.jpg
    IMG_20180214_191339.jpg
    IMG_20180214_190832.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2018
  16. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่145 เหรียญพระชัยนาทมุณี(นวม)ในงานฉลองพระอุโบสถวัดฝาง รุ่นหนึ่ง
    ปิดครับ
    IMG_20180216_223412.jpg
    IMG_20180216_223359.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2018
  17. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่146 พระใบโพธิ์ ฝังพลอย รุ่นบูรณะเจดีย์ ปี2546 หลวงพ่อทอง วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ
    พระธุตังคเจดีย์ เป็นเจดีย์ที่ท่านพ่อลี ได้ตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โดยเริ่มดำริขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2500 และได้รับการสานต่อ จนเสร็จสมบูรณ์ตามเจตนารมย์ของท่าน ในวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2509 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จเป็นองค์ประธานในการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ที่เจดีย์ประธานองค์ใหญ่

    เจดีย์องค์นี้ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ในปี พ.ศ.2546 โดยมีหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (พระธรรมวิสุทธิกมล) เป็นองค์อุปถัมภ์ และได้เพิ่มเติมด้วยการบรรจุพระอรหันตธาตุ ของอริยสงฆ์ไทยในยุคปัจจุบันไว้ด้วย (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เป็นผู้คัดเลือก) ซึ่งในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2551 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ได้เสด็จเป็นประธานในการบรรจุ

    พระธุตังคเจดีย์ เป็นอนุสรณ์สถานแห่งธุดงควัตร ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง และมีความหมายที่เกี่ยวเนื่องกับหลักธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าหลายประการ พระเจดีย์ทั้ง 13 องค์ หมายถึง ธุดงควัตร 13* องค์เจดีย์วางเรียงทางเฉียงนับได้ 7 องค์ หมายถึง โพชฌงค์ 7** กลุ่มเจดีย์จัดเรียงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส หมายถึง อริสัจ 4*** เจดีย์มี 3 ชั้น หมายถึง ญาณไตรปริวัฏ**** และพระเจดีย์ประธานองค์ใหญ่ชั้นบนสุดเปรียบเสมือน พระนิพพาน
    เจดีย์หมู่ 13 องค์ เป็นกลุ่มเจดีย์สีขาวโดดเด่นสะดุดตา ทาสีทองขลิบตัดเฉพาะบริเวณยอดซุ้มประตู ทำให้ดูสวยงามสง่า และสงบเงียบเรียบร้อยในคราวเดียวกัน พระเจดีย์ตั้งอยู่บริเวณกลางของเขตพุทธาวาส กินบริเวณกว้าง หมู่เจดีย์มีลานประทักษิณ และรั้วกั้นล้อมรอบ

    องค์เจดีย์ทั้งหมดจัดวางอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาดใหญ่ที่ลดหลั่นกันขึ้นไปเป็นยอดเจดีย์องค์ใหญ่ โดยแบ่งออกเป็น 3 ชั้น แต่ละชั้น มีเจดีย์บริวารประจำอยู่ทั้ง 4 มุม และมีระเบียงแก้วล้อมรอบ บันไดทางเดินอยู่ภายนอกอาคาร เชื่อมต่อกับลานระเบียงที่ล้อมรอบอาคารตรงกลางไว้ เจดีย์ทุกองค์ เป็นเจดีย์กลมทรงลังกา วางอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม เจดีย์ที่อยู่ตรงกลางชั้นบนสุดเป็นเจดีย์ประธานองค์ใหญ่ มีซุ้มยื่นออกมาทั้ง 4 ด้านขององค์เจดีย์ ภายในซุ้มประดิษฐาน พระพุทธรูปยืนปางต่างๆ กัน ได้แก่ ปางรำพึง ปางห้ามญาติ (ปางห้ามสมุทร) ปางอุ้มบาตร และปางเปิดโลก

    ชั้น 1 เป็นชั้นที่จัดวางโมเดลจำลองของกลุ่มพระธุตังคเจดีย์ จุดกราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุ

    ประดิษฐานพระธาตุ และหุ่นปั้นรูปเหมือนของเกจิอาจารย์หลายองค์ เช่นหลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่ดุลย์ อตุโล หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่ทวด(เหยียบน้ำทะเลจืด)

    ชั้น 2 ประดิษฐานรูปหล่อพระอริยสงฆ์ และพระอรหันตธาตุ ของพระกรรมฐานในสายของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่ได้รับคัดเลือกจากหลวงตามหาบัว จำนวน 28 องค์ ได้แก่

    - หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี
    - หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร
    - หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์
    - หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง จังหวัดเลย
    - หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร
    - หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่
    - หลวงพ่อลี ธัมมธโร วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ
    - หลวงปู่สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก จังหวัดสุรินทร์
    - หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จังหวัดเชียงใหม่
    - หลวงปู่เขียน ฐิตสีโล วัดรังสีปาลิวัน จังหวัดกาฬสินธุ์
    - หลวงปู่บัว สิริปุณโณ วัดป่าหนองแซง จังหวัดอุดรธานี
    - หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ วัดป่าเขาน้อย จังหวัดบุรีรัมย์
    - พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร วัดป่าแก้วบ้านชุมพล จังหวัดสกลนคร
    - หลวงปู่ผาง ปริปุณโณ วัดประสิทธิธรรม จังหวัดอุดรธานี
    - หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต วัดอุดมคงคมคีรีเขต จังหวัดขอนแก่น
    - หลวงปู่หล้า เขมปัตโต วัดบรรพตคีรี (วัดภูจ้อก้อ) จังหวัดมุกดาหาร
    - พระอาจารย์ จวน กุลเชฏโฐ วัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก) จังหวัดหนองคาย
    - หลวงพ่อชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี
    - หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม จังหวัดปทุมธานี
    - หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี
    - หลวงพ่อคำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่ จังหวัดเลย
    - หลวงพ่อตื้อ อจลธัมโม วัดป่าอรัญญวิเวก จังหวัดนครพนม
    - หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ วัดดอยธรรมเจดีย์ จังหวัดสกลนคร
    - หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ วัดประสิทธิธรรม จังหวัดอุดรธานี
    - หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จังหวัดหนองบัวลำภู
    - หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ จังหวัดเลย
    - หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จังหวัดอุดรธานี
    - หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา

    ชั้น 3 (ชั้นบนสุด) เป็นลานระเบียง มีองค์เจดีย์ประธานอยู่ตรงกลาง แต่ละด้านของเจดีย์มีซุ้มที่ประดิษฐานพระพุทธรูปไว้ทั้ง 4 ทิศ ชั้นนี้สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ได้โดยรอบ
    ปิดครับ
    IMG_20180219_204754.jpg
    IMG_20180219_204742.jpg
    IMG_20180219_204724.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2018
  18. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่147 เหรียญพระพุทธไตรรัตนนายก (หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง อยุธยา) หลังตราสัญลักษณ์ เฉลิมพระชนม์พรรษา 6 รอบ 5 ธ.ค.2542 เนื้อทองแดงรมดำ เหรียญดี พิธีใหญ่
    คุณfrank0826นิมนต์ครับ
    IMG_20180219_204228.jpg
    IMG_20180219_204214.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2018
  19. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่148 เหรียญที่ระลึกประจำจังหวัดนครราชสีมา ด้านหน้า ปราสาทหินพิมาย หลังอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
    เหรียญที่ระลึกประจำจังหวัดนครราชสีมา
    ข้อมูลเหรียญ
    และข้อมูลจังหวัดนครราชสีมา
    อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ประดิษฐานอยู่หน้าประตูชุมพล คือ สัญลักษณ์ของเมืองโบราณแห่งนี้ สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช รูปท้าวสุรนารี คือ คุณหญิงโม ภริยาพระปลัดเมืองนครราชสีมาซึ่งรวบรวมชาวเมืองสู้รบกับเจ้าอนุวงศ์จนได้ชัยชนะใน พ.ศ. 2369

    จังหวัดนครราชสีมา หรือรู้จักในชื่อ โคราช เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทย คือมีเนื้อที่ 20,493.964 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ
    อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดกับจังหวัดชัยภูมิ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดนครนายก จังหวัดสระบุรี และจังหวัดลพบุรี


    คำขวัญประจำจังหวัด : เมืองหญิงกล้า ผ้าไหมดี หมี่โคราช ปราสาทหิน ดินด่านเกวียน

    ตราประจำจังหวัด : รูปอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีหน้าประตูชุมพล

    ธงประจำจังหวัด : รูปอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีหน้าประตูชุมพล ในพื้นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแสด
    ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นสาธร (Millettia leucantha)

    ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกสาธร

    สัตว์น้ำประจำจังหวัด : ปลาบ้าหรือปลาพวง (Leptobarbus hoevenii)

    ความเป็นมา
    เหรียญที่ระลึกประจำจังหวัด จัดทำโดย กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์
    ใช้เวลาถึง 10 ปี ในการทยอยผลิตเหรียญออกมาทีละจังหวัดสองจังหวัด มาครบ 76 จังหวัด ได้เมื่อปี พ.ศ.2544 เหรียญที่ระลึกนี้ ด้านหน้าจะเป็นตราประจำจังหวัด ด้านหลังจะเป็นสถานที่สำคัญ หรือสิ่งของ หรือเหตุการณ์สำคัญของจังหวัดนั้นๆ

    ต่อมามีเพิ่มอีก 2 เป็นทั้งหมด 78 เหรียญ สาเหตุที่มี 78 เหรียญ เพราะเมื่อกองกษาปณ์ ออกเหรียญจังหวัด ชลบุรี ที่มีด้านหลัง เป็นรูปชายหาดพัทยา ก็เกิดปัญหาขึ้นเพราะทางเทศบาลเมืองพัทยาท้วงติงขึ้นมาว่า พัทยาเป็นเขตปกครองพิเศษ ไม่นับว่าอยู่ในจังหวัดชลบุรี ทางกองกษาปณ์ จึงจำเป็นต้องออกเหรียญจังหวัดชลบุรีใหม่ โดยเปลี่ยนรูปด้านหลัง เป็นวัดญาณสังวราราม และมีการตั้งจังหวัดบึงกาฬ ขึ้นเมื่อปี 2554 เป็น 77 จังหวัดรวม 1 เมืองพัทยา มีทั้งหมด 78 เหรียญ

    คุณ frank0826นิมนต์ครับ
    IMG_20180219_202952.jpg
    IMG_20180219_203006.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2018
  20. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่149 เหรียญสตางค์ ร.5 หลวงพ่อเกษม หลังช้างสามเศียร ปี 35 ( ตอกโค๊ด )
    คุณ frank0826นิมนต์ครับ
    IMG_20180219_203414.jpg
    IMG_20180219_203427.jpg
    IMG_20180219_203351.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2018

แชร์หน้านี้

Loading...