ร่วมแจมประวัติและพระเครื่อง สุดยอดพุทธคุณสายใต้ครับ

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย cornell, 7 พฤศจิกายน 2009.

  1. พี เสาวภา

    พี เสาวภา ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    37,990
    ค่าพลัง:
    +146,269
    ตามอ่าน หาความรู้ด้วยคนครับ
     
  2. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    ยินดีครับท่านพี และทุกท่าน ผมอัพประวัติเเละตำหนิพระเครื่องคณาจารย์สายใต้ เรื่อยๆทุกๆวันนะครับ:)
     
  3. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    อีก1เกจิสายเขาอ้อ ที่วิชาอาคมแกร่งกล้ามากครั ท่านเป็นพระปฎิบัติ รักสันโดษ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับใครครับ
    ประวัติ: หลวงพ่อเล็ก วัดประดู่เรียง
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD vAlign=top><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4><TBODY><TR><TD></TD></TR><TR><TD vAlign=top>ลป.เล็ก ปุญญโก เดิมชื่อ ทองแก้ว มธวสู ลป.เป็นผู้ที่ไม่ติดยึดกับชื่อเสียง เมื่อมาอยู่วัดประดู่เรียง มีคนเรียกท่านว่า อาจารย์เล็ก จนติดปาก ท่านก็มิได้ทักท้วง จนมีคนรู้จักชื่อจริงท่านน้อยมาก.. เป็นบุครของ นางด้วน นายร่ม มธวสู เกิดที่ บ้านควนถบ ลำปำ จ.พัทลุง เมื่อ ปีพศ.2422 เมื่อ อายุ ได้ 7ขวบ โยมพ่อได้นำไปฝากให้เรียน หนังสือ กับหลวงลุง คือพ่อท่านสมภารเกลื่อม แห่งวัดทะเลน้อย ซึ่งเป็น สหธรรมมิก กับพระอาจารย์ทองเฒ่า ปรมาจารย์ผู้พร้อมด้วยอภิญญาแห่งวัดเขาอ้อ คนรุ่นเก่าเล่าว่า พระอาจารย์ทองเฒ่า เหมือนดวงอาทิตย์ จำเริญด้วย อิทธิฤทธิ์ มากมาย พ่อท่านสมภารเกลื่อม เหมือนดวงจันทร์ คือถึงพร้อมด้วย บุญญฤทธิ์ อันประเสริฐ ท่านมีบุญญาภินิหารมากมายจน ท่านพระอาจารย์ทองเฒ่า ยอมรับ...พ่อท่านสมภารเกลื่อม สามารถ ทำให้ จรเข้2น้ำ ชึ่งดุมากๆเชื่องได้ จนเด็กขึ้นขี่หลังและจับเล่นได้ ซึ่งต่อมา ลป.เล็กก็ ทำได้เช่นกัน.. ต่อมาลป.เล็ก อายุได้14ปี ก็ได้บวชเณร โดยมีพระอาจารย์ทองเฒ่า ปรมาจารย์ผู้พร้อมด้วยอภิญญาแห่งวัดเขาอ้อ เป็นพระอุปัฌชาย์ ท่านได้เดินทางไปๆมาๆ เพื่อศึกษาทางด้านพุทธธรรม พระเวทย์ และสรรพเวทย์วิทยาการต่างๆ จนมีความสามารถหลายด้าน เช่น ล่องหนหายตัวได้ ตั้งแต่ครั้งเป็นสามเณร....และเมื่อท่านอายุครบบวชก็ได้เข้าอุปสมบท ณ.วัดเขาอ้อ โดยมีพระอาจารย์ทองเฒ่า ปรมาจารย์ผู้พร้อมด้วยอภิญญาแห่งวัดเขาอ้อ เป็นพระอุปัฌชาย์ พ่อท่านสมภารเกลื่อม เป็นพระกรรมวาจา เมื่อบวชแล้ว ท่านก็ได้ ถือวิเวกหลีกเร้น ไปถือปฏิบัติธรรม ณ.วัดประดู่เรียง ซึ่งเป็นวัดร้างมานานนม ซึ่งรกร้างว่างเปล่า เต็มไปด้วย ไอ้เข้ ไอ้โขง งูจงอาง งูพิษต่างๆชุกชุมมาก และที่สำคัญ คือเป็นดินแดนอาถรรพ์ ผีดุ จนเป็นที่เลื่องลือ ขยาดกลัว ของชาวบ้าน แถวนั้นมาหลายชั่ว อายุคน...ท่านได้ถือวิเวกอยู่ที่ณ.วัดประดู่เรียง ซึ่งเป็นวัดร้าง ตั้งแต่อายุท่านได้ 30ปี จนกระทั่งท่านและชาวบ้าน ได้ช่วยกันทำนุบำรุง ซ่อมแซม..ก่อสร้าง จนเป็นวัดได้สำเร็จ ในกาลต่อมา ลป.เล็ก ปุญญโก ท่านนี้.... ท่านพระครูสิทธิยาภิรัต พ่อท่านเอียด ดอนหลา... อดีตเจ้าอาวาส แห่งวัด ดอนศาลา อันลือนาม ผู้ถึงพร้อมด้วยด้วยอภิญญา และสรรพเวทย์วิทยาการ...คือถึงพร้อมด้วย บุญญฤทธิ์ อันประเสริฐ ท่านมีบุญญาภินิหารมากมายต่างๆ ได้ ยอมรับ และ กล่าวยกย่องท่านลป.เล็ก ปุญญโก ต่อหน้า ท่าน พ่อท่านปาล ปาลธัมโม วัดเขาอ้อ พ่อท่านคง วัดบ้านสวน และขุนพันธรักราชเดช ว่าลป.เล็ก ปุญญโก ท่านประดู่เรียง บรรลุภูมิธรรมขั้นสูงสุดมาแต่ครั้งหนุ่มๆ และ เน้นย้ำให้เคารพยำเกรงอยู่เสมอๆ ไม่จำเป็นอย่าได้ไปรบกวน ท่านพระครูสิทธิยาภิรัต พ่อท่านเอียด ดอนหลา... อดีตเจ้าอาวาส แห่งวัด ดอนศาลา อันลือนาม ให้ความเกรงใจต่อ ศิษย์น้องของท่าน ซึ่งคือ..ลป.เล็ก ปุญญโก เวลาท่านพ่อท่านเอียด ดอนหลา... กล่าวถึง ลป.เล็ก ปุญญโก อันเป็นพระคู่สวด และ สหธรรมิก คู่ใจ ขแองท่านคราใดๆ ท่านจะเรียก ลป.เล็ก ปุญญโก ด้วยความเกรงใจว่า ท่านประดู่เรียงจนติดปากทุกคราไป....
    ลป.เล็ก ปุญญโก ได้จำพรรษาและเป็นเจ้าอาวาสปกครอง วัดประดู่เรียง มาตั้งแต่ราวปี พศ.2455 จนมาถึงแก่กาล มรณภาพ เมื่อปี พศ.2530...
    เมื่อศิริอายุได้ 108ปีพอดี... เหรียญหลวงพ่อเล็ก วัดประดู่เรียง รุ่นแรก ปี 23 นิยม สภาพสวยเดิมๆ พระอาจารย์เล็ก ท่านจะไม่นิยมสร้างอิทธิวัตถุมงคล มีการร้องขอรบเร้ามาแต่ครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ท่านก็ไม่ยอม จนมาในช่วงระยะวัยชราภาพมากแล้วคณะศิษย์ของท่านนำโดยพระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร วัดดอนศาลา ได้ขออนุญาตจัดสร้าง เมื่อปี 2523 ท่านจึงยอมให้สร้างเหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก ขึ้นมาจำนวน 9999 เหรียญ...
    เหรียญนี้ได้ปลุกเสกมาครบ 3 ปี จนมาได้ประกอบพิธีพุทธาภิเสก ครั้งใหญ่ขึ้น เมื่อปี พศ. 2525 ณ พระอุโบสถ วัดประดู่เรียง ในพิธีนี้ได้เกิดเหตุการณ์อันแปลกประหลาดขึ้นเมื่อพระอาจารย์เล็ก ปุญญโก ได้ทำพิธีจุดเทียนชัย ทันใดนั้นได้เกิดเสียงกัมปนาทหวาดไหว ขึ้นถึง3 ครั้ง พระอุโบสถซึ่งเป็นอิฐถือปูนได้สะเทือนเลื่อนลั่น ไหวสะท้านทั้งหลัง 3 ครั้งกระเบื้อง ดินเผาซึ่งมุงหลังคาพระอุโบสถได้ลั่นเกรียวกราว เนิ่นนาน จนเป็นที่ประหลาดใจ ทั้งพระคณาจารย์ พระสงฆ์องค์เจ้า และผู้ช่วยงานตลอดจนบุคคลหลายสิบคนที่ได้อยู่ร่วมพิธีในครั้งนั้น พระคณาจารย์ ที่รับนิมนต์มาร่วมประกอบพิธีพุทธาภิเสก เมื่อปี พศ. 2525 ครั้งนั้น ประกอบด้วยพระคณาจารย์ อันยิ่งยงลือนาม 16 รูปมานั่งปรกพุทธาภิเษก (ตามจำนวนพระคาถาพระเจ้า 16 พระองค์อันศักดิ์สิทธิ์)
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    ส่วนวัตถุมงคลของท่านผมต้องขอยืมรูปเจ้าของภาพด้วยครับ(ผมยังไม่มีเป็นตนเอง แต่เวๆนี้มีแน่นอนครับ) ขอบคุณเจ้าของมาณที่นี้ครับ

    หลวงพ่อเล็ก เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงรูปหนึ่งของจังหวัดพัทลุง วัตถุมงคลที่สำคัญ ได้แก่
    1.เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก เนื้อทองแดง สร้างเมื่อ พ.ศ.2523 จำนวน 9999 เหรียญ
    [​IMG] [​IMG]
    2.พระรูปเหมือนหลวงพ่อเล็ก หล่อโลหะผสม ขนาดบูชา 5 นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ.2527 จำนวน 109 องค์
    [​IMG] [​IMG]
    3.พระรูปเหมือนหล่อขนาดเล็ก เนื้อโลหะผสม สร้างเมื่อ พ.ศ.2527 จำนวน 2999 องค์
    [​IMG] [​IMG]
    4.พระปิดตา หล่อด้วยโลหะผสม สร้างเมื่อ พ.ศ.2527 จำนวน 2999 องค์
    [​IMG] [​IMG]
    5.พระสังกัจจายน์ หล่อด้วยโลหะผสม สร้างเมื่อ พ.ศ.2527 จำนวน 2999 องค์
    6.ผ้ายันต์รอยมือ รอยเท้า ตะกรุด ลูกอม
     
  5. tatty

    tatty เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    8,976
    ค่าพลัง:
    +8,224
    [​IMG]


    มีเหรียญสายใต้เหรียญนี้อยู่ อยากได้ประวัติท่านเหมือนกันครับ
     
  6. กำยาน

    กำยาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    214
    ค่าพลัง:
    +619
    เห็นด้วยอีกหนึ่งเสียงครับ พระบ้านเก่งๆเก็บตัวเงียบไม่ออกตัว บางองค์ที่ผมเจอท่านยังบอกไม่ให้ออกสื่อ ไม่ให้ลงประวัติ ท่านกล่าวว่า "จะเอาประวัติไปลงทำไม เหมือนเอาตัวเองไปประจาน เป็นขี้ปากเขาเปล่าๆ"
    แต่วัตถุมงคลท่านกลับดังเงียบๆ ชาวบ้านใกล้เคียงต่างรีบเก็บเมื่อทราบว่าท่านสร้าง (ไม่นับที่เซียนสร้างเองแล้วฝากท่านปลุกเสก แล้วมาบอกท่านสร้าง)
    ซึ่งผมคงไม่ขอเรียนว่าองค์ไหนในนี้นะครับเพราะท่านไม่ได้อยู่ทางภาคใต้
     
  7. กำยาน

    กำยาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    214
    ค่าพลัง:
    +619
    ทางใต้มีเกจิหลายท่านที่เก่ง และ เป็นที่รักเครารพ ศรัทธาของชาวบ้านประชาชนผู้ทราบประวัติท่าน อยู่หลายท่านจริงๆครับ
    เช่นหลวงปู่สงฆ์ วัดศาลาลอย พัทลุง ,หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง

    โดยเฉพาะหลวงพ่อแช่มวัดฉลอง นี่มีประสบการณ์ให้ประชาชนชาวภูเก็ตและผู้ให้บริการรถตู้ประจักษ์ต่อวัตถุมงคล รูปหล่อลอยองค์ท่านกันมาเร็วๆนี้ (ถึงแม้จะเป็นวัตถุมงคลที่สร้างใหม่ ซึ่งไม่ทันท่านเสก) ด้วยรถตู้โดยสารที่มีลูกทัวไปเที่ยวกัน ระหว่างทางมีฝนลง ถนนลื่นทำให้พลัดตกจากเขา แต่รอดตายทั้งคัน มีแต่บาดเจ็บ จากการกระแทกกันภายในรถเท่านั้น ทำให้เกิดการกระจายข่าวไปยังผู้ให้บริการรถตู้ภายในจังหวัดอย่างเร็ว ( ในรถที่ประสบอุบัติเหตุในครั้งนี้มีแต่รูปหล่อหลวงพ่อแช่ม เพียงองค์เดียว) รูปหล่อของท่านจึงเป็นที่หวงแหนและตามเก็บเมื่อพบเจอ (เท่าที่ทราบตอนนี้ของปลอมยังไม่เจอ แต่เริ่มหายากครับ)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 46.jpg
      46.jpg
      ขนาดไฟล์:
      34.6 KB
      เปิดดู:
      266
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤศจิกายน 2009
  8. KT_PK

    KT_PK เชิญบูชาพญาแมงภู่คำ เพื่อสร้างโรงเรียนเชื้อชาติ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    271
    ค่าพลัง:
    +873

    มาเล่าประสบการณ์ประทับใจด้วยคนครับ

    สมัยผมเป็นวัยรุ่นมัธยมต้นต่อมัธยมปลาย ปิดเทอมใหญ่ ผมล่องใต้คนเดียว ทริปเดียวไปกราบพระดีๆ หลายองค์ด้วยความมุ่งมั่นและศรัทธา ยังรู้สึกว่าคุ้มค่า สนุกและประทับใจมาจนทุกวันนี้
    เส้นทางก็ไม่ค่อยรู้จัก เพราะเป็นหนแรกที่ลงใต้เลยหัวหิน เงินก็ไม่ค่อยมี (โบกรถสิบล้อไปใต้)
    ที่ตั้งวัดก็ไม่รู้จัก รู้แต่ว่าอยู่อำเภออะไร ตำบลอะไร ทางเข้าวัดก็ลำบาก บางวันก็นอนที่วัด แต่ประทับใจมากจากนิสัยใจคอและน้ำใจของคนที่ช่วยเหลืออย่างดียิ่ง

    พ่อท่านทุกองค์ที่ไปกราบ ได้แก่ พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง พ่อท่านแก่น วัดทุ่งหล่อ พ่อท่านจันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ พ่อท่านน่วม วัดหลวงครู พ่อท่านมุม วัดนาสัก (ยังมีอีกบางองค์ ต้องไปนึกก่อน)
    ทุกองค์ใจดีมากๆ ขออะไรท่านก็หยิบส่งให้เลย อยากทำบุญเท่าไหร่ก็ตามใจ หรือขอเปล่าๆ ท่านก็ไม่ได้ว่าอะไร บางอย่างให้มาเป็นกำเลย บอกให้ไปให้คนที่บ้านด้วย
    กราบระลึกและอาลัยถึงพ่อท่านทุกองค์ครับ

    เดี๋ยวพรุ่งนี้มาต่อ จะไปถ่ายรูปมาให้ดู ถ้าทำได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤศจิกายน 2009
  9. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    ยินดีต้อนรับ ท่ากำยาน และ ท่นkt pk ด้วยครับ ท่านสมาชิกท่านอื่นด้วยนะครับ ร่วมกันเผยแพร่สุดยอดพุทธคุณทางสายใต้กันนะครับ
    ส่วนเหรียญพ่อท่านล่อง วัดสุขุม ปี31นั้นเป็นเหรียญรุ่น3ครับ แต่เหรียญสวยเก็บได้เลยครับ ประวัติรอสักนิดจะจัดให้นะครับ......พอดีมีการเอ่ยถึง พ่อท่านน่วมวัดหลวงครู ผมจึงขอจัดประวัติสุดยอดเกจิอีกหนึ่งท่าน ที่ราคาวัตถุมงคลท่านไม่แรง แต่พุทธคุณเกินกว่ามากมายครับ.....
    <TABLE width=920 border=0><TBODY><TR><TD>
    ท่านพระครูวิริยานุศาสน์ อาจารย์น่วม
    </TD><TD> </TD></TR><TR><TD width=871>
    ประวัติวัดหลวงครูและผลงานพระครูวิริยานุศาสน์
    </TD><TD width=39> </TD></TR><TR><TD bgColor=#66ff99 colSpan=2>
    แต่เดิมมาวัดหลวงครูเป็นวัดเก่าแก่ ตามหลักฐานที่ขุดพบเมื่อมาบูรณะใหม่ ๆ มีการพบพระพุทธรูปที่บริเวณเจดีย์ และสิ่งของต่าง ๆ เช่น หม้อดินเผา พระพุทธรูป ผู้รู้สันนิษฐานว่า วัดหลวงครูนี้น่าจะสร้างในศตวรรษที่ 13-16 ของราชวงศ์ไสยเลนอาณาจักรศรีวิชัย รูปร่างสถูปเจดีย์เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม พระพุทธรูปที่ขุดพบส่วนใหญ่เป็นแบบยืน มือข้างหนึ่งยกขึ้นแบบปางห้ามมาร-ห้ามญาติ สวมชฎา มีกำไลต้นแขน ต่างหู มีตาบทับทรวง สูงประมาณ
    20 เซนติเมตร เนื้อสัมฤทธิ์ ได้มอบให้นายศิริ ดวงดี เก็บไปไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเขต 8 นครศรีธรรมราช เจดีย์เดิมรอบ ๆ อุโบสถ มี 8 องค์
    คงเหลือ อยู่เวลานี้เพียงองค์เดียว อยู่ทางทิศอีสานของอุโบสถหลังเดิม แต่มีต้นโพธิ์ถวัลย์ขึ้นปกคลุมเต็มไปหมด ฐานอุโบสถไม่โตนักแต่ก่ออิฐขึ้นสูง พบเศียรพระเศียรหนึ่ง ซึ่งต่อมานำมาต่อกับองค์พระที่ขุดพบ (ไม่มีเศียร) ที่วัดสากเหล็ก (วัดนอก) และเป็นพระประธานอยู่จนทุกวันนี้ ใต้ฐานเจดีย์ที่ขุดทั้ง 7 องค์ พบแต่หม้อดินเผาบรรจุกระดูกใบไม่ใหญ่โตนัก เสียดายที่ไม่มีใครเก็บไว้ดูเลยวัดหลวงครูตามทางสันนิษฐานน่าจะชื่อว่า วัดหลวงปู่ครู ตามศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงที่ได้นิมนต์พระสงฆ์ หลวงปู่ครูไปจากเมืองนครศรีธรรมราช แต่วัดได้ร้างมานานชาวบ้านใกล้เคียงจึงได้ใช้เป็นที่ฝังศพ ในบี พ.ศ.2481-2482 ชาวบ้านได้รวมกันทำบุญกระดูกโดยขุดกระดูกขึ้นมาทำพิธีเผา และได้ประชุมตกลงกันว่าจะทำการแผ้วถางป่าที่รกร้างโดยมี นายเอี่ยม โมราศิลป์ นายไข สุทธิพิทักษ์ กำนันตำบลบ้านเกาะ และนายนาค เมฆาวรรณ แพทย์ประจำตำบล นายทองแก้ว กิจเกตุ นายช่วง หนูทอง นางสาวใหญ่ โมราศิลป์ รวมเป็นหัวหน้าคณะจัดประชุมชาวบ้านทุกครัวเรือนปลูกโรงเรือน ที่พัก ทำเมรุเพื่อทำงานบุญเผากระดูก และหลังจากทำบุญกระดูกแล้วจะต้องหาพระมาอยู่ประจำวัดต่อไป ครั้งแรกได้นิมนต์พระกลับมาอยู่ได้ประมาณ 3 เดือน ก็กลับไปอยู่ประจำสังกัดเดิมของท่าน คณะจังได้ประชุมตกลงกันว่า จะต้องไปนิมนต์ขอพระจากท่านพระครูวิสุทธิจารี เจ้าคณะอำเภอท่าศาลาในขณะนั้นท่านจึงได้กรุณาให้พระน่วม ธมฺมรกฺขิโต ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดคงคาวงศ์ คณะชาวบ้าน จึงได้จัดขบวนไปนิมนต์และรับพระน่วม ธมฺมรกฺขิโต กับสามเณรเซ่ง อีกหนึ่งองค์มาอยู่ประจำที่วัดหลวงครู
    ตั้งแต่ปี พ.ศ.2483 แต่ต่อมาสามเณรเซ่ง ได้ลาสิกขาไปเมื่อเข้ามาอยู่แล้วท่านก็เริ่มลงมือปรับปรุงโดยเริ่มเชิญประชุมอบรมศีลธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม พูดคุยสนุกสนานกับชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่ในสมัยนั้นขอบประพฤติไปในทางอบายมุข ลักขโมย ฆ่าฟันกันเป็นส่วนมาก จนตกเญ้นชาวบ้านหนุ่มสาว เฒ่าแก่อยู่บ้านไม่ได้ ต้องมาพัฒนาวัด พัฒนาจิตใจทุกวันทุกคืน บางคนมาทั้งกลางวัน กลางคืน บางคนอยู่ในวัยหนุ่ม ฉกรรจ์ ต้องติดตามท่านเข้าป่าไปตัดไม้ทำท่อนซุงชักลากมาถึงวัด แล้วท่านก็ลงมือเลื่อยไม้เองเป็นประจำ ดุจดังสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงประทับหลังม้านำหน้าทหารออกต่อสู้กับข้าศึกทุกครั้ง ทำให้พลทหารเลวอยู่ข้างหลังต้องติดตามให้ทันรบชนะข้าศึกมาทุกครั้ง ท่านพระครูวิริยานุศาสน์ก็เช่นกันทำให้ชาวบ้านร่วมมือร่วมใจกันสร้างวัด พัฒนาจิตใจ รู้จักคิดถึงการณ์ไกล ส่วบุตรหลานให้ได้เรียนหนังสือ ทำให้ประชากรในแถบใกล้เคียงวัดหลวงครูเป็นเขตปลอดอบายมุขไปได้ ประกอบอาชีพในทางสุจริต ค่าครองชีพ เศรษฐกิจดีขึ้น รู้จักรัก- สามัคคีช่วยกันเสียสสะสร้างถนนหนทาง สร้างความเจริญให้กับท้องถิ่นชนบท ดังผลงานของท่านต่อไปนี้
    </TD></TR><TR><TD> </TD><TD> </TD></TR><TR><TD bgColor=#66ff99 colSpan=2>พ.ศ.2483 รักษาการเจ้าอาวาสวัดหลวงครู สร้างศาลาการเปรียญกึ่งถาวรด้วยไม้เนื้อแข็งขึ้น 1 หลัง และได้สร้างกุฎิที่พักสงฆ์ ต่อมาปีละหลังสองหลังเรื่อย ๆ มา
    ได้ขออนุญาตต่อทางราชการจัดตั้งโรงเรียนประชาบาลวัดหลวงครู โดยใช้อาคารศาลาการเปรียญเป็นการชั้วคราว เพื่อสงเคราะห์บุตรหลานชาวบ้านที่ติดตามพ่อ แม่ พี่ ๆ ปู่ ย่า ตา ยาย ที่ เข้ามาช่วยพัฒนาวัด แต่ก็ถูกคัดค้านว่าใกล้โรงเรียนวัดป่ากิ่วเกินไปจึงเปิดเป็นสาขาโรงเรียนวัดป่ากิ่ว รับเด็ก ป.1-2 เท่านั้น จนถึงปี พ.ศ.2489 นายอุทัย มัทยาท ศึกษาธิการอำเภอเมือง ได้สำรวจระยะทางที่แท้จริงแล้วจึงได้รับอนุญาตให้เปิดเป็นการถาวรจนถึงชั้นป.4 โดยนานสุพล มัจฉาชาญ เป็นครูใหญ่ และในปี พ.ศ.2513 ได้ของบประมาณจากทางราชการสร้างอาคารเรียนใหม่ทางทิศตะวันออก (ในป่าช้าเดิมหน้าโบสถ์) ครั้นถึงปี พ.ศ.2518 ได้จัดหาเงินซื้อที่ดินที่เป็นนา จำนวน 2 ไร่ เพื่อขยายโรงเรียนและได้ขยายงบประมาณก่อสร้างอาคารต่อมา จนเห็นอยู่เดี๋ยวนี้และในปี พ.ศ.2483 นั้นเอง ได้ขอเปิดตั้งสำนักเรียนปริยัติธรรมสอนพระภิกษุ สามเณร และชาวบ้านที่สมัครใจเข้าเรียน โดยพระอาจารย์น่วม ท่านสอนเอง และนำไปเข้าสมทบสอบกับสนามสอบวัดจันทอ อยู่ประมาณ 1-4ปี ทำให้ชาวบ้านรุ่นหนุ่มสาวในสมัยนั้น จบนักธรรมชั้นตรี-ชั้นโท กันหลายคน
    นับว่า พระครูวิรยานุศาสน์ หรือพระอาจารย์น่วม ธมฺมรกฺขิโต ท่านมีสายตาอันก้าวไกลในการพัฒนาประชากรมนุษย์ โดยการอบรมสั่งสอน ให้ความรู้ ความเชื่อถือปลูกความศรัทธา สร้างความสามารถของแต่ละคนตามที่สวรรค์ให้มา พร้อมกับได้แรงงานช่วงพัฒนาวัดควบคู่กันไป จนทำให้ในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงวัดหลวงครูเป็นเขตปลอดอบายมุข ผิดกับสมัยก่อนที่ท่านจะมาอยู่ เหมือนหน้ามือกับหลังมือและในที่สุดยังได้พื้นฟูเศรษฐกิจของชาวบ้านในพื้นที่นี้ด้วย

    พ.ศ.2484 ได้ก่อสร้างกุฎิที่พักสงฆ์ 1 หลัง และในปีนี้ เป็นปีที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพทหารญี่ปุ่นยกทัพขึ้นมาที่ตลาดท่าแพใกล้กองพลที่ 5 มณฑลทหารบก จังหวัดนครศรีธรรมราช ทหารต้องอพยพครอบครัวเกือบ 100 ครอบครัวหลบภัยสงครามไปอาศัยอยู่ที่บ้านน้ำขาว หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านเกาะ อยู่ทางทิศตะวันตกของค่ายทหารประมาณ 5-6 กม. และทางทิศตะวันออกของวัดหลวงครู ใกล้ ๆ วัด พระครูวิริยานุศาสน์ได้เป็นผู้นำผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ประชาชนทั้งใน 2-3 ตำบลช่วยจัดหาสัมภาระ ไม้-จาก ฯ สำหรับสร้างที่พักอาศัยอยู่ชั่วคราว ตลอดจนข้าวสารเสบียงอาหารบางอย่างให้ครอบครัวของท่านพลเอกศักดิ์ เสนาณรงค์ ผู้บัญชาการกองพลที่ 5 ในสมัยนั้นมาก หรือที่เรียกว่าแม่ทัพภาคที่ 4 ปัจจุบันนี้ ท่านเรียกท่านผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 4 ว่า ท่านคุณหลวงเสนาณรงค์ จนท่านคุณหลวงเสนาณรงค์ ได้ย้ายไปรับตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหมในเวลาต่อมา และได้ช่วยเหลือพระครูวิริยานุศาสน์ในเรื่องการเปิดตั้งโรงเรียนหลวงครูวิทยาในปี พ.ศ.2493 เป็นที่สำเร็จเรียบร้อยจากกระทรวงศึกษาธิการ
    </TD></TR><TR><TD> </TD><TD> </TD></TR><TR><TD bgColor=#66ff99 colSpan=2>พ.ศ.2485 - ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการควบคุมการสอบและกรรมการตรวจปัญหาธรรมสนามหลวง ประจำสำนักเรียนวัดอินทรคีรี ทุกปีตลอดมาจนถึงมรณภาพ
    พ.ศ.2490 - ได้เป็นผู้ขออนุญาตต่อทางราชการเปิดโรงเรียนมัธยมวิสามัญศึกษาขึ้นในบริเวณวัดเป็นโรงเรียนราษฎร์ชื่อว่า โรงเรียนหลวงครูวิทยา เป็นโรงเรียนมัธยมแห่งแรกในชนบทแถบนี้ ด้วยความเมตตาที่เห็นการณ์ไกลแก่เยาวชนที่เรียนจบ ป.4 แล้วสุกแสนจะลำบากที่จะไปเรียนต่อในชั้นมัธยมศึกษา จะเนื่องด้วยการคมนาคมหรือจะด้วยเศรษฐกิจของพ่อแม่ผู้ปกครองในสมัยนั้น ซึ่งแตกต่างกันมากกับปัจจุบันนี้ โดยมีครูเปลี่ยน นิลอาสน์ เป็นผู้จัดการและครูใหญ่ เปิดรับเด็กปีแรกมี 17 คน เท่าที่จำได้มี นายบุญนำ ชูโชติ นายเจริญ เมฆาวรรณ นายสมนึก พรหมจรรย์ นายนุสนธิ์ นวลมัสอ นายสุจริต ทองสมัคร นายอารี สว่างเย็น นายสมบัติ เกิดสมบัติ นายสมบุญ คิดใจเดียว นายแพร้ว (วิทยา) มาศมาลัย นายเปลื้อง รัตนะ นายอรุณ วราภรณ์ นายเริ่ม ทองเหม (ปัจจุบันนาวตรี ริเริ่ม ทองเหม)ฯ
    ท่านพระครูวิริยานุศาสน์ อาจารย์น่วม รับอุปการะเด็กให้อยู่วัดเกือบทั้งหมด โดยขอความอนุเคราะห์ให้ชาวบ้าน ช่วยจัดกับข้าวใส่ปิ่นโตบ้านละเถา และให้เด็กไปรับทุกวันเป็นประจำ ครูเปลี่ยน นิลอาสน์ เป็นครูสอนคนเดียว และได้นำนักเรียนไปร่วมสมทบสอบไล่กับโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ซึ่งครูโอม ปักปิ่นเพ็ชร เป็นอาจารย์ใหญ่ในขณะนั้น ต่อมาโรงเรียนถูกสั่งปิดโดยทางราชการ เพราะยังไม่ได้รับอนุญาตการขออนุญาตก็ทำไปพร้อมกับเปิดรับนักเรียน เพราะเข้าใจว่าคงไม่มีอุปสรรค พระครูวิริยานุศาสน์ และครูเปลี่ยน นิลอาสน์ ต้องวิ่งเต้นกันเป็นการใหญ่ นักเรียนในปีต่อมาได้เรียนบ้างไม่ได้เรียนบ้าง เพราะครูต้องแอบสอนบ้าง ต้องวิ่งเต้นเดินเรื่องขออนุญาตบ้าง ทำให้นักเรียนบางคนต้องไปหาเรียนที่อื่น แต่บางคนก็ทนเรียนไปจนจบ ม.3 โดยที่ไปสมทบสอบไล่กับโรงเรียนที่ในเมือง จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.2493 โดยความกรุณาช่วยเหลือจากท่านนายพลคุณหลวงเสนาณรงค์ อดีตผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 5 จึงได้รับอนุมัติให้เปิดเป็นการถาวร แล้วท่านจึงได้สร้างอาคารเรียนใหม่ ห้องประชุมครู ห้องสมุดฯ รับนักเรียนทั่วทุกอำเภอภายในจังหวัดและต่างจังหวัดโดยให้ที่พักอาศัยวัด เป็นโรงเรียน ปัญญาทาน เก็บค่าเล่าเรียน (ค่าเทอม) พอให้ครูสอนอยู่ได้ ทำให้ครูสอนอยู่ 2-3 ปี พอสอบวุฒิทางครูได้ก็ไปสมัครสอบครูรัฐบาลเสียหลายคน
    และในปี 2490 นี้ ท่านได้ก่อสร้างอุโบสถหลังแรกขึ้นด้วยโครงสร้างหล่อคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนบนใช้ไม้เนื้อแข็ง ได้ใช้งานจนถึงปี 2527 ถูกปลวกกินชำรุดทรุดโทรมมากจึงต้องรื้อก่อสร้างใหม่จนถึงปัจจุบันยังไม่แล้วเสร็จดี แต่ใช้เป็นที่ประกอบกิจกรรมของสงฆ์ได้

    พระครูวิริยานุศาสน์ อาจารย์น่วม ท่านได้ทำประโยชน์ไว้มากมาย นอกจากในเขตพื้นที่ใกล้เคียงวัดหลวงครูแล้ว เช่น เป็นผู้จัดตั้งกลุ่มและอุปการะกรรมการทำนาปี 2 ครั้ง เป็นผู้นำร่วมกับประชาชน พระสงฆ์ เจ้าอาวาส ก่อสร้างวัดคลองเมียด (วัดร้าง) ตำบลทอนหงส์ ตลอดจนสร้างอุโบสถ สร้างโรงเรียนวัดคลองเมียด ก่อสร้างอุโบสถวัดสากเหล็ก วัดกำแพงถม เป็นผู้ริเริ่มชักชวนให้เจ้าของที่ดิน-นา-สวน เสียสละที่ดินเพื่อให้ความร่วมมือกับ กระทรวงมหาดไทย โครงการ ร.พ.ช.สร้างถนนสายท่าแพ-ปากพูน-บ้านเกาะ-อินทรคีรี-นบพิตำ สายบ้านนาเคียน-ห้วยน้ำเย็น ขุดคลองชลประทาน คูน้ำ จัดตั้งกลุ่มกสิกรชาวนาและให้ความอุปการะสร้างสนามกีฬาให้กลุ่มโรงเรียนที่วัด (ร้าง) น้ำขาว และยังเป็นกรรมการศูนย์จริยศึกษาเยาวชนค่ายวชิราวุธ ซึ่งมีแม่ทัพภาคที่ 4 เป็นประธาน
    </TD></TR><TR><TD> </TD><TD> </TD></TR><TR><TD bgColor=#66ff99 colSpan=2>พระครูวิริยานุศาสน์ อาจารย์น่วม ท่านได้ออกเยี่ยมเยียนชาวบ้านที่เจ็บไข้ได้ป่วยเป็นประจำตลอดมา ในการออกเยี่ยมเยียนแต่ละครั้งแต่ละบ้าน ได้พูดคุยชักจูงให้บุตรหลานได้ศึกษาเล่าเรียน-ประพฤติตนเป็นคนดี ช่วยกันเสียสละเพื่อส่วนรวม จนกระทั้งเยี่ยมคนป่วยที่ผีเข้า เจ้าทรง เป็นที่นับถือของคนทั่วไปว่าเป็นพระอาจารย์ที่ศักดิ์สิทธิ์ผู้คนนำเอารถยนต์มาให้ท่านเจิม บางคนมาขอของขลังต่าง ๆ ทำให้ท่านต้องทำผ้ายันต์รอยเท้าขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันจันทร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 พ.ศ.2517 โดยเขียนคาถาเจริญภาวนา เชิญพระรัตนตรัย เทพเทวา มาประทับทรงจิต ประสิทธิประสาทพรให้ ถ้าสังเกตจากผ้ายันต์จะมีความยาวประมาณ 3 วรรค ตลอดจนต่อมาได้ทำพระผง พระปิดตา และเหรียญรูปเหมือน ดังรายละเอียดจากภาพเพื่อแจกจ่ายสนองความศรัทธาประสาทะชาวบ้าน วัตถุมงคลต่าง ๆ ที่ท่านทำขึ้นนั้น ผู้ได้รับไปบูชาได้รับผลเกือบทุกท่าน แม้แต่ผู้รวบรวมเรียบเรียงเรื่องนี้ ซึ่งท่านได้กรุณาเจิมรถยนต์นั่งและมอบผ้ายันต์ติดรถไว้ให้ ลูกชายขับรถอยู่บนถนนร่มเกล้า เขตลาดกระบัง กทม.ถูกรถยนต์ปิคอัพชนท้าย หน้ารถต้องไปชนกับต้นประดู่ข้างถนน รถที่ชนท้ายก็อัดติดท้ายอยู่ ทำให้รถที่ถูกชนพังยับเยิน ทั้งหน้า-หลัง ประตูรถเปิดไม่ได้ ลูกชายคนขับรถมาต้องคลานออกทางช่องกระจกหน้ารถ ที่พังหมดแล้ว ผู้คนที่ได้มาพบเห็นต่างตะลึงไปตาม ๆ กัน เพราะไม่คิดเลยว่าผู้ที่อยู่ในรถคันนั้นจะออกมาเป็นปกติธรรมดา ไม่มีแผล ไม่มีช้ำแม้แต่นิดเดียว แต่เมื่อถูกผู้คนถามถึงก็ทำให้ตกใจเหมือนกัน จึงต้องไปหาหมดเอ็กซเรย์สมองและโดยที่เป็นเพื่อนกับหมอ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลลาดกระบังในขณะนั้น หมอพาไปทดสอบโดยการดำน้ำทะเล ที่เกาะนางพิมพ์ ชลบุรี ภายหลังถูกรถชน 7 วัน เพราะเป็นนักนิยมธรรมชาติใต้ทะเล หรือมนุษย์กบด้วยกันก่อนเดินทางไปอังกฤษ ส่วนรถที่ถูกชนก็ได้รับซ่อมจากผู้ชนเป็นอย่างดี เพราะเขามีประกันซึ่งต้องจ่ายค่าซ่อมไปประมาณ 70,000 กว่าบาท เหตุเกิดก่อนลูกชายไปอังกฤษประมาณ 5 เดือน ทำให้พ่อแม่ทราบข่าวแล้วอกสั่นขวัญแขวนไปตามกันส่วนรายการอื่นถ้าใครสนใจโปรดสอบถามได้จากคุณน้าสวัสดิ์ โมราศิลป์ บ้านหนองบัว หมู่ 1 ตำบลบ้านเกาะ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
    </TD></TR><TR><TD> </TD><TD> </TD></TR><TR><TD bgColor=#669966 colSpan=2>
    พระเครื่องของขลังที่
    อาจารย์พระครูวิริยานุศาสน์ สร้างไว้เท่าที่รวบรวมได้มีดังนี้
    <TABLE width=1 border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    (น่วม ธมฺมรกฺขิโต)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    1. <TABLE width=593 border=0><TBODY><TR><TD width=290>[​IMG][​IMG]</TD><TD width=287> </TD></TR><TR><TD>[​IMG]</TD><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
    1. ผ้ายันต์รอยเท้า
    2. ขี้ผึ้ง
    3. พระปิดตาชันนางโลม ผสมว่าน รุ่นแรก
    4. พระผงเนื้อว่านยาวัดน้ำขาวมี 3 พิมพ์
    -พิมพ์พระท่าเรือ มีน้อยมาก
    -พิมพ์รูปอาจารย์นั่งด้านหลังรูปพระอานนท์ยืนทรงสูง กับทรงเตี้ยป้อม (2 พิมพ์)
    5. พระผงปิดตาพิมพ์เหมือนรุ่นแรกมี 2 พิมพ์ เป็นพิมพ์เล็ก-พิมพ์ใหญ่
    6. รูปเหมือนอาจารย์เนื้อว่านยา ขนาด 5 นิ้ว
    7. สาลิกา
    8. เหรียญรูปเหมือนครึ่งองค์ด้านหลังรูปพระอานนท์ สร้างปี 2531 เหรียญทั่วไปไม่ตอกโต๊ค ที่ตอก(นะ เอาแจกกรรมการ)
    9. เหรียญรูปเหมือนครึ่งองค์ด้านหลังรูปพระครูวิสุทธิจารี องค์อุปัชฌาย์ศิษย์สร้างเป็นอนุสรณ์ดังภาพ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ส่วนตัวผมมีสิ่งนี้ครับ ไม่แพงแต่หายากสักนิด
    ผ้ายันต์รอยมือรอยเท้า พ่อท่านน่วม วัดหลวงครู ท่านสร้างแจกทหารครับ ประสบการณ์ไม่ต้องพูดถึงเลย เพียบครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • nnnn.jpg
      nnnn.jpg
      ขนาดไฟล์:
      38.9 KB
      เปิดดู:
      237
  10. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    สวยจิง ๆ ซะด้วยสิค่ะ
     
  11. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    ขอบคุณครับคุณน้ำ เรียบร้อยถูกใจนะครับ
     
  12. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    นึกว่าจะอันเล็ก ๆ ที่ไหนได้เกือบเต็มกล่องเลยค่ะ ใหญ่จริง ๆ สวยมาก ๆ ด้วยค่ะ
     
  13. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    ขอบคุณครับคุณน้ำ คัดมาเลยทีเดียวครับอันนั้น ถ้าไม่ผิดพลาดใหญ่ที่สุดของการจัดสร้างครับ น่าจะสวยสุดด้วยครับเพราะสั่งมาเลยครับ
     
  14. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    เต็มกล่องพอดีเลย สวยมาก ๆ ด้วย แต่เลี่ยมลำบากมากเหมือนกัน
     
  15. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    น่าจะลำบากครับ
     
  16. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    วันนี้ขอเสนอ ท่านเกจิสายเขาอ้อ อีก1ท่านครับ ท่านเก่งจริงๆอีกเช่นกัน และเป็นที่ศรัทธาของท่าน อ.ชุม ไชยคีรีย์ ด้วยครับ ท่านนี้คือ
    หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน พัทลุง
    วัดบ้านสวนตั่งแต่เริ่มก่อสร้างมา มีพระอาจารย์ผู้มีความรู้ความสามารถ ศึกษาวิชาสายสำนักวัดเขาอ้อสืบต่อกันมา เคียงคู่มากับวัดดอนศาลา แต่ภายหลังต่างเด่นกันคนละทาง อาจจะเป็นการประนีประนอม ไม่ต้องการชิงดีชิงเด่นกัน ในสายวัดดอนศาลานั้นโดดเด่นในทางไสยเวท มีการอาบว่านแช่ยา ทำพิธีกรรมต่างๆ ส่วนวัดบ้านสวนเด่นในทางการรักษาโรคแทน ทราบว่าคณาจารย์วัดนี้ได้สืบทอดวิชาการรักษาโรคต่อกันมาเรื่อยๆจนกระทั่งมาถึงยุคของ พ่อท่านคง
    พ่อท่านคง หรือ พระครูพิพัฒน์สิริธร นั้น ท่านเป็นศิษย์ของพระอาจารย์เอียด วัดดอนศาลา ตามประวัติของท่านที่ทางวัดบันทึกไว้และพิมพ์แจกเป็นอนุสรณ์ในพิธีผูกพัทธสีมา วัดบ้านสวน เมื่อวันที่ 4-5 เมษายน 2530 ได้กล่าวถึงประวัติของพ่อท่านคงไว้ว่า "พระครูพิพัฒน์สิริธร นามเดิมว่า คง นามสกุล มากหนู ได้ถือกำเนิดเมื่อวันพุธ ขึ้น 10 ค่ำ เดือนยี่ ปีขาล ตรงกับวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2445 จ.ศ.1264 ร.ศ.121 ณ บ้านทุ่งสำโรง หมู่ที่ 8 ตำบล นาขยาด อ.ควนขนุน จ.พัทลุง เป็นบุตรของ นายสง มากหนู และ นางแย้ม มากหนู มีพี่น้องท้องเดียวกัน 4 คน คือ
    1. นายปลอด มากหนู
    2. นายกล่ำ มากหนู
    3. นายกราย มากหนู
    4. นายคง มากหนู หรือ พระครูพิพัฒน์สิริธร ในเวลาต่อมา

    ปฐมวัย
    บิดามารดาได้ถึงแก่กรรมเมื่อเด็กชายคงยังอยู่ในวัยเยาว์ จึงตกอยู่ในอุปการะของ นายชู และ นางแก้ว เกตุนุ้ย ผู้เป็นญาติ เมื่อม่อายุพอสมควรแล้ว นายชูได้นำไปฝากกับพระครูสิทธิยาภิรัตน์(เอียด ปทุมสโร) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนศาลา และเป็นเจ้าคณะตำบลมะกอกเหนืออยู่ในขณะนั้น เพื่อให้ศึกษาอักษรสมัย ในระยะแรกๆได้ศึกษาเล่าเรียนจากพระครูสิทธิยาภิรัตน์โดยตรง ต่อมาเมื่อทางวัดได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นแล้ว เด็กชายคงก็ได้เข้าศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนของวัดจนจบชั้นสูงสุดของการศึกษาสมัยนั้นเมื่อ พ.ศ.2462
    บรรพชาอุปสมบท
    เมื่อเด็กชายคงมีอายุได้ 20 ปี มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดสุนทราวาส ต.ปันแต อ.ควนขนุน เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 8 ปี จอ ตรงกับวันที่ 3 กรกฎาคม 2464 โดยมี พระครูกาชาด(แก้ว)วัดพิกุลทอง ตำบลชะมวง อ.ควนขนุน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสิทธิยาภิรัตน์(เอียด ปทุมสโร)วัดดอนศาลา เป็น พระศีลาจารย์(ผู้ให้ศีล)
    เมื่อบรรพชาแล้วได้กลับไปอยู่วัดดอนศาลากับพระครูสิทธิยาภิรัตน์ ผู้เป็นอาจารย์ และ ในปีต่อมาก็ได้รับการอุปสมบท เมื่อ วันพฤหัสบดี ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 8 ปี กุน ตรงกับวันที่ 21 มิถุนายน 2466 ณ วัดดอนศาลา โดยมีพระครูกาชาด(แก้ว) วัดพิกุลทอง ต.ชะมวง อ.ควนขนุน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการหนู วัดเกาะยาง ต.นาขยาด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการไชยแก้ว วัดป่าตอ ต.โตนดด้วน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "สิริมโต" และคงอยู่ที่วัดดอนศาลาตามเดิม
    เมื่ออุปสมบทแล้ว พระคง สิริมโต ได้ไปศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดพิกุลทอง จนสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในปีนั้น ท่านตั้งใจจะศึกษาให้จบหลักสูตรนักธรรม แต่เนื่องจากท่านสุขภาพไม่ดี มักจะเจ็บป่วยอยู่เสมอ ประกอบกับในสมัยนั้นการหาครูสอนพระปริยัติธรรมไม่ง่ายนัก จึงเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาของท่าน
    นอกจากท่านได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมแล้ว ท่านยังสนใจศึกษาวิชาทางด้านไสยศาสตร์อีกด้วย และท่านก็ได้ศึกษาจากพระครูสิทธิยาภิรัตน์(เอียด) ผู้เป็นอาจารย์ของท่านนั้นเอง
    ท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาแขนงนี้จากอาจารย์ของท่านจนมีความรู้แตกฉาน แต่ท่านก็ไม่พอใจอยู่แค่นั้น ได้พยายามศึกษาเพิ่มเติมจากตำหรับตำราไสยศาสตร์ของท่านอาจารย์ผู้เฒ่า วัดเขาอ้อ ซึ่งเป็นสำนักที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในวิชาไสยศาสตร์สมัยนั้น ท่านได้ศึกษาจนมีความรู้แตกฉานและทรงวิทยาคุณในวิชาแขนงนี้ จนในระยะหลังต่อมาท่านได้เป็นที่รู้จักและเคารพนับถือจากประชาชนทั่วไปทั้งในจังหวัดพัทลุงและจังหวัดอื่นๆ มีลูกศิษย์ลุกหาอยู่ทั่วไป และต่างก็เรียกนามท่านว่า อาจารย์คง บ้าง หลวงพ่อคงบ้าง แม้ในสมัยหลังที่ท่านได้สมณศักดิ์เป็น พระครูพิพัฒน์สิริธร แล้ว ประชาชนทั่วไปรวมทั้งลูกศิษย์ของท่านก็ยังเรียกท่านว่าอาจารย์คงหรือหลวงพ่อคงอยู่เช่นเดิม แทบจะไม่ได้ยินเรียกจากปากของผู้ใดว่า ท่านพระครูพิพัฒน์สิริธรเลย
    ในระยะที่บ้านเมืองกำลังอยู่ในสภาพที่ไม่สงบสุขจากผู้ก่อการร้ายในภาคต่างๆของประเทศ ท่านกันอาจารย์ชุม ไชยคีรี ได้ร่วมกันจัดสร้างพระเครื่องของวัดบ้านสวนขึ้นจำนวนหนึ่ง ประกอบพิธีทั้งพุทธาภิเษก และปลุกเสก ด้วยตัวท่านเองเมื่อเดือนเมษายน 2511 แล้วนำแจกจ่ายบำรุงขวัญ ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และประชาชนผู้ปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงอันตราย อยู่ในแดนที่มีผู้ก่อการร้ายในจังหวัดภาคใต้ และภาคเหนือ โดยท่านอาจารย์ชุม ไชยคีรี เดินทางไปแจกจ่ายด้วยตัวเอง และพระเครื่องจำนวนหนึ่งได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อพระราชทานแก่ ทหาร ตำรวจหน่วยต่างๆต่อไป
    หลวงพ่อคง ได้ชื่อว่า เป็นผู้ไฝ่ศึกษาและมีศัทธาตั้งมั่น เมื่อได้มาอยู่วัดบ้านสวน ด้วยความสำนึกว่าเป็นศิษย์สายเขาอ้อ และได้มาครองวัดบ้านสวน อันเป็นสมบัติส่วนหนึ่งของเขาอ้อ และเคยมีชื่อเสียงในไสยเวทและการรักษาโรค ท่านก็เลยสืบทอดเจตนาของบูรพาจารย์ โดยศึกษาการแพทย์แผนโบราณตามตำราของวัดเขาอ้อ แล้วนำวิชาความรู้สงเคราะห์คนเจ็บไข้ได้ป่วย
    หลวงพ่อคงท่านทำหน้าที่นั้นจนกระทั่งมรณภาพ แต่ก็ได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ไว้ให้กับศิษย์เอก คือ พระมหาพรหม หรือ พระครูขันตยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดบ้านสวนในปัจจุบัน
    เหรียญที่แสดงอยู่ คือ เหรียญรุ่นแรกปี16 หลวงพ่อคงวัดบ้าสวนครับ (เหรียญนี้ไม่ใช่ของผมครับ ขออณุญาติท่านเจ้าของเหรียญด้วยครับ) แต่ผมมีเก็บอยู่จำนวนนึงครับ เพียงแต่มิได้ถ่ายภาพไว้เลยซักเหรียญ.............
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 20132-3.jpg
      20132-3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      66.3 KB
      เปิดดู:
      436
    • 20132-4.jpg
      20132-4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      65.8 KB
      เปิดดู:
      405
  17. KT_PK

    KT_PK เชิญบูชาพญาแมงภู่คำ เพื่อสร้างโรงเรียนเชื้อชาติ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    271
    ค่าพลัง:
    +873
    ตะกรุดพ่อท่านแก่น วัดทุ่งหล่อ

    ขอบคุณมากครับ.ผมว่าจะเอามาใส่หลอดบูชาเหมือนตระกรุด..........คงต้อง

    เปลี่ยนใจไปใส่กรอบบูชาดีกว่า.......

    แล้วตะกรุดชุดหลวงพ่อแก่นวัดทุ่งหลอหละครับมีข้อมูลบ้างไหมครับ

    พระหลวงพ่อเจิมผมได้ข่าวว่าทางวัดนำออกมาให้บูชาหาปัจจัยสร้า้งศาลาหรือ

    อะไรซักอย่างท่านมีข้อมูลไหมครับ........

    ชอบเหมือนกันผงพราย.........พรายสมุทรน่าสนใจมากครับ

    ส่วนตัวมีแต่ของวัดหนึ่งทางใต้พิมพ์เหมือนพระพุทธ 25 ศรรตวรรษ..

    ปี 2524 ข้อมูลที่ได้มาสายเขาอ้อปลุกเสก....

    หลวงพ่อจำเนียร วัดต้นเลียบ หลวงพ่อเริ่ม บางน้ำจืด......หลวงปู่ร่วงวัดศาลา

    โพธิ์........หลวงปู่ปลอดวัดหัวป่า...............

    พระครูกาชาดบุญทองวัดดอนศาลา.มีเวลาท่านมาเล่าด้วยนะครับ..

    ผมพอเก็บพระสายใต้ไว้บ้างแต่ประวัติมืดมิด........ไม่เคยได้ลงใต้ไปเอง

    ส่วนมากจะได้มาจากเด็กฝึกงานที่มาฝึกงานที่โรงงานแล้วฝากเขาเอามาให้

    .
    อีกองค์....พ่อท่านแก้ว วัดเขาปูน.นครศรีธรรมราช.......ไม่ได้ยินข่าวคราว

    ข้อมูลท่านมานานหลายปีแล้ว......

    ส่วนตัวอยากเห็นที่สุดคือตะกรุดพ่อท่านร่วง วัดศาลาโพธิ์ครับ [ QUOTE]

    รูปที่ถ่ายมานี้เป็นตะกรุดของพ่อท่านแก่น วัดทุ่งหล่อ มีสามเส้นแยกกัน<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    หนึ่งเส้นมีตะกรุด 9 ดอก ท่านให้ผมมาทีเดียวแบบนี้สามเส้น<o:p></o:p>
    ไม่ทราบว่านี่เป็นตะกรุดชุดที่ถามถึงหรือเปล่าครับ ?<o:p></o:p>

    <!-- google_ad_section_end -->
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Picture 016.jpg
      Picture 016.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      2,778
  18. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,424
    ค่าพลัง:
    +21,326
    [​IMG]

    ใช่เลยครับท่านแบบนี้เลยครับที่ผมเคยเห็นมาขอบคุณมากครับที่มาให้ข้อมูลเพิ่มเติมครับ
     
  19. cornell

    cornell เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,079
    ค่าพลัง:
    +880
    วันนี้ผมก็เพิ่งได้ นางกวักหลังยันต์เนื้อว่านไม่ทาทอง หลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า มาใหม่ครับ ไว้จะถ่ายรูปมาร่วมแจม ชาวสายใต้กันครับ
     
  20. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    ร่วมแจมด้วยละกันค่ะ

    องค์แรกพิมพ์นางกวักหลวงตาปลอด วัดหัวป่า เคลือบบรอนซ์ทอง น้ำมี 7 องค์ เช่ามาองค์ละ 5000 บาทหมดทุกองค์ค่ะ

    องค์ที่สองไม่ได้ถ่ายด้านหลัง เป็นพิมพ์พุทธกวัก องค์นี้ก็เช่ามา 5000 บาทเท่ากัน พิมพ์นี้ไปค้นดูมาแล้วค่ะมีอยู่ 15 องค์ บางองค์แค่ 3 พันเศษเองค่ะ เช่าจนลืมราคาเลย


    ไว้จะถ่ายภาพพิมพ์อื่นมาให้ชมอีกค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMGP3634.JPG
      IMGP3634.JPG
      ขนาดไฟล์:
      350.8 KB
      เปิดดู:
      340
    • IMGP3635.JPG
      IMGP3635.JPG
      ขนาดไฟล์:
      479.4 KB
      เปิดดู:
      426
    • IMGP3638.JPG
      IMGP3638.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.6 MB
      เปิดดู:
      419
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2009

แชร์หน้านี้

Loading...