มีความรู้สึกกลางหน้าผากช่วยบอกทีครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย maxza8com, 7 มกราคม 2008.

  1. ฤษี

    ฤษี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2008
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +94
    เราจะปฎิบัติมามากมาย เป็น 10 ปี หรือ 20 ปี
    พวกเราทั้งหลาย ที่ทำเต็มที่จนจะเป็นบ้า
    เกือบตาย ไม่เกิดผลได้ไม่เท่าที่ควร
    แต่ต้องมาแพ้ เด็กใหม่ที่ปฎิบัติ เล่น ๆ
    เกิดมากมายจนตัวเองรับไม่ได้
    อยากรู้ไหม ตามต่อไป
     
  2. pimrapat

    pimrapat Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +97
    ขอบคุณค่ะคุณฤษี มันเป็นเช่นนั้นจริง ๆ
     
  3. murano

    murano Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2009
    โพสต์:
    134
    ค่าพลัง:
    +57
    เป็นความเชื่อที่เล่าต่อๆ กันมาว่า เพ่งกลางหน้าผากแล้วจะได้ตาที่สาม ซึ่งเราค่อนข้างเชื่อว่า... ไม่เคยมีใครได้ตาที่สาม จากการเพ่งหน้าผากหรือระหว่างคิ้ว

    ก็เป็นอาการที่เกิดจากการเพ่ง (โฟกัส) ลองโฟกัสไปที่ดั้งซิ เดี๋ยวก็ตึง... เพราะงั้นอย่าไปยึดถืออะไรมาก
    มีผลเสียไหม ? ก็คงไม่
     
  4. KritZ_2530

    KritZ_2530 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +293
    มันรู้สึกดุบๆตรงจุดเหนือหัวคิ้วทั้งสองมาขมวดกัน พื้นที่ประมาณเหรียญบาท
    รู้สึกอย่างนั้น แล้วก็หายไป ไม่ได้ใส่ใจ
    เป็นแค่ของเล่นอย่างหนึ่ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 ธันวาคม 2009
  5. บุคคลไปทั่ว

    บุคคลไปทั่ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2009
    โพสต์:
    200
    ค่าพลัง:
    +106
    :cool:.................
     
  6. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +1,558
    ผมเคยเป็นนะ ช่วงนั้นรวมได้แทบทุกครั้งที่ต้องการรวม ขับรถก็ยังรวมได้ จนวันหนึ่งก็เป็นก้อนแข็งขึ้นที่หว่างคิ้ว จุดที่รวมประจำนั้นหละ ก้อนแข็งนี้มองไม่เห็นความผิดปรกติ ต้องใช้นิ้วกดๆดูจะพบ . . . ผมก็มาอ่านกระทู้แบบนี้หละ แล้วก็เลิกเพ่งไป .

    ตอนหลังก็มานึกเสียดายว่า ทำไมเราไม่ทำไห้รู้ไปเลย อะไรที่ต้องระวังก็ระวังไว้ แต่น่าจะทำไห้รู้ไปเลย เพราะหลังจากที่เลิกเพ่งไห้รวมที่หว่างคิ้วไม่นาน ก็ทำไม่ได้เหมือนเดิมอีกเลย...
    ไม่มีคำแนะนำอะไร แต่ถ้าเป็นผมตอนนี้ถ้าเกิดขึ้นอีก จะทำไห้รู้ชัดๆไปเลยว่าอะไรเป็นอะไร..
     
  7. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    วางอารมณใจหนักไปอาจทำให้เกิดอาการเครียดนิดนึง ลองผ่อนคลายจับอารมณ์ที่สบายขึ้นนิด เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนหน้าเยอะขึ้นกว่าปรกติ ลองหาความเป็นกลางสำหรับตัวเองให้เจอ น่าจะดีขึ้น
     
  8. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    อนุโมทนา สาธุการ ท่านเจ้าของกระทู้ค่ะ

    ฐานที่ตั้งของจิต ๙ แห่ง

    ในการฝึกจิตนั้น หากผู้ปฏิบัติรู้จักประคองจิต เพ่งจิต ปลอบจิต และปล่อยจิต โดยอาศัยหลักการกำหนดจิตไว้ ณ ฐานที่ตั้งของจิต ๙ แห่ง ก็จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติฝึกจิตมีสติอยู่กับกาย มองเห็นกายภายใน และภายนอก พัฒนาจิตของตนให้มีสติตั้งมั่นได้นาน ตามฐานที่ตั้งของจิต ดังนี้

    ๑) อัษฏากาศ คือ ด้านบนสุดของศีรษะ เป็นที่อดทนสงบเสงี่ยม เมื่อตั้งจิตทำความรู้สึก อยู่ที่กระหม่อมส่วนบนสุดของศีรษะ จะทำให้เกิดปิติ รู้สึกเย็น

    ๒) ทิพยสูญ คือ ระหว่างคิ้ว เป็นที่ประหารโทษทั้งปวง และเป็นตบะเดชะด้วย เมื่อตั้งจิตทำความรู้สึกที่ทิพยสูญแล้ว ปล่อยออกไปภายนอก จะทำให้เกิด “สูญตาสมาธิ”

    ๓) มหาสูญ ระหว่างตา เป็นที่เกิดปัญญา เห็นโทษทั้งปวง เมื่อตั้งจิตทำความรู้สึกอยู่ที่มหาสูญ แล้วมองกายภายใน จะทำให้เกิด “ญาณ” เห็นความเกิดดับภายใน เมื่อทำความรู้สึกเข้าไปในทรวงอก ใต้ลิ้นปี่ จะทำให้จิตรวมตัวเกิดเป็นพลังงานความร้อนอบอุ่น และเห็นการเกิดดับ การทำงานของหัวใจ ถ้าผู้ปฏิบัติตั้งจิตทำความรู้สึกที่มหาสูญ และทรวงอกพร้อมกันเป็นระยะเวลานาน จะทำให้ผู้ปฏิบัติเห็นการเกิดดับของจิต ทำให้จิตรวมตัวเกิดพลังงานทำให้จิตแจ่มใส เกิดปัญญาทำลายอวิชชาได้

    ๔) จุดสูญน้อย ปลายจมูก เป็นที่นำความยินดีทั้งปวง และนำปฏิสนธิแห่งสัตว์ด้วย เมื่อตั้งจิตทำความรู้สึกที่จุดสูญน้อยแล้ว ดูลมหายใจเข้าออก เรียกว่าการเจริญอานาปานสติ จะทำให้ผู้ปฏิบัติเข้าถึงความสงบใจ ได้ง่าย เกิดปิติ และความเยือกเย็นแห่งจิต

    ๕) โคตรถู ท้ายทอย เป็นที่หลบซ่อนทุกขเวทนาทั้งปวง ขากจากบาปธรรมเมื่อจะตาย เมื่อตั้งจิตทำความรู้สึกที่ท้ายทอยแล้วปล่อยให้จิตไหลลงในกาย จะเห็นความเกิดดับ ความสิ้น ความเสื่อมสลายภายใน เป็นการพิจารณาธรรมภายใน

    ๖) ห้องสมุดคอกลวง เป็นที่หลับ ที่ขาดรส ที่ภังคะ และเป็นที่นิโรธสัจจะรวมกัน เวลาฉันอาหาร (รับประทานอาหาร) ถ้าหากตั้งจิต ทำความรู้สึกไว้จะทำให้ไม่รู้รสอาหาร และจะไม่สามารถกลืนอาหารได้ จะเป็นการบังคับให้การเคี้ยวอาหารละเอียดไปในตัวด้วย

    ๗) ห้องทหัยวัตถุ ทรวงอก เป็นที่ปฏิสนธิ แห่งกุศลและอกุศล สัมปยุตธาตุด้วย เมื่อจิตตั้งทำความรู้สึกที่ห้องทหัยวัตถุ จะทำให้จิตรวมตัวกัน และเกิดพลังงาน เมื่อตั้งจิตทำความรู้สึกในห้องทหัยวัตถุ จะทำให้จิตรวมตัวและเกิดพลังงาน มีอำนาจในการเผานิวรณ์ และทำลายล้างกิเลสได้ นอกจากนี้ยังเป็นจุดดับของธรรมารมณ์ต่างๆ จึงนับว่า เป็นจุดที่มีความสำคัญต่อการฝึกจิตมาก

    ๘) เหนือสะดือ ๒ นิ้ว (องคุลี) เป็นที่เกิดบาปกรรมทั้งปวง เป็นที่ประชุมธาตุ เมื่อตั้งจิตไว้ จะทำให้จิตลงสู่ภวังค์ง่าย และบางครั้งจะทำให้เกิดความรู้สึกว่าวาสลึกลงไปเหมือนกับลงเหว บางครั้งจะทำให้รู้สึกเวิ้งว้าง จับสภาวะไม่ได้

    ๙) อัษฏากาศเบื้องต่ำ เป็นที่กำหนดความรู้สึกได้ง่าย คือ เป็นจุดที่ผู้ปฏิบัติควรตั้งจิตทำความรู้สึกไว้ เมื่อเกิดความฟุ้งซ่านมาก และเป็นจุดแก้กรรมฐานสำหรับผู้ที่ปฏิบัติแล้วไม่เห็นสภาวธรรม ไม่สามารถกำหนดสภาวะทางกายได้ หรือ ผู้ที่เกิดปิติจากการปฏิบัติมากเกินไป รู้สึกกายเบาจิตเบามาก เมื่อกำหนดจิตทำความรู้สึกที่อัษฏากาศเบื้องต่ำ จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติมีจิตอยู่กับตัว เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมของร่างกายได้ดี

    อัษฏากาศเบื้องต่ำนี้ เป็นจุดที่ไม่เหมาะสำหรับผู้ปฏิบัติที่เกิดทุกขเวทนา เพราะจะเป็นการเพิ่มทุกข์ให้เกิดมากขึ้นกว่าเดิม เมื่อทุกขเวทนาเกิดขึ้นมาก ผู้ปฏิบัติควรรวมจิตให้เป็นหนึ่งไว้ที่ทรวงอกใต้ลิ้นปี่ กำหนดให้นิ่ง และลึกลงไปจนกระทบกระดูกสันหลัง เมื่อจิตรวมตัวจะเกิดพลังงานความร้อน แล้วเคลื่อนความรู้สึกนั้นตั้งไว้บนกระหม่อมระยะหนึ่ง แล้วปล่อยกระแสความรู้สึกนั้นให้ทั่วร่างกาย พลังงานความร้อนนี้ จะช่วยให้ดับทุกขเวทนาในกายได้ เมื่อผู้ปฏิบัติมีความรู้สึกภายในแล่นไปตลอดกาย และกายรวมเป็นหนึ่งเดียว
    <O:p
    ฐานที่ตั้งของจิต ๙ แห่งนั้น จักเกิดประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติแตกต่างกันดังนี้ คือ เนื่องจากจิตนั้นเป็นธรรมชาติ ดิ้นรน กวัดแกว่ง ห้ามยาก รักษายาก สำหรับผู้ปฏิบัติฝึกจิตในเบื้องต้นนั้น การตั้งจิตที่ฐานมหาสูญ หทัยวัตถุ และอัษฏากาศเบื้องต่ำนั้น จะช่วยให้ผู้ฝึกจิตรวมตัว เกิดสมาธิได้ง่าย จิตไม่ฟุ้งซ่าน
    <O:p
    ส่วนผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนา กำหนดรูปกายรูปกาย เห็นเวทนาทางกาย แตกและดับไปแล้ว จิตจะเห็นธรรมแยกออกจากายคนละส่วน เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมจิตแทงทะลุตลอดกาย เห็นสภาวะกายละเอียดภายใน ได้สมาธิภายใน ผู้ปฏิบัติธรรมจะสามารถตั้งจิตตามฐานจิต ๙ แห่ง ได้อย่างมั่นคง และเห็นผลจากการฝึกจิตปฏิบัติธรรมอย่างเต็มที่
    <O:p

    จาก ...หนังสือสวดมนต์ บุญแท้-แท้ ชมรมคณะพุทธกัลยาณ
     
  9. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านครับ การปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาแล้ว มีการตึงอยู่ที่ส่วนต่างๆของร่างกายนั้น
    เกิดจากการที่เรากำหนดนิมิตหมายของจิตลงไปในส่วนนั้นๆ

    แต่การที่เราเกิดการตึงที่หน้าฝากนั้น(เหนือระหว่างคิ้วขึ้นไปเล็กน้อย) เกิดขึ้นได้ในหลายสาเหตุ
    เกิดจากการที่จิตจะรวมก็ใช่ เกิดจากเผลอไปเพ่ง(การรู้อย่างต่อเนื่อง)เข้าก็ใช่ เกิดจากความคุ้นชินก็ใช่ฯลฯ

    ตรงส่วนนี้พ่อแม่ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ท่านบอกไว้ว่าเป็นตาที่สาม(ตาทิพย์)
    เมื่อปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาจนชำนาญดีแล้ว ถ้าต้องรู้หรือเห็นอะไร
    ให้วางจิตลงณ.จุดดังกล่าวนั้น ก็จะรู้และเห็นสิ่งที่ต้องประสงค์นั้นได้(มีตาทิพย์)

    เมื่อมีอาการเกิดขึ้นแล้ว ถ้าไม่เป็นการรบกวนการภาวนา เราก็อย่าไปใส่ใจกับอาการเหล่านั้น
    ให้มารู้อยู่ที่องค์ภาวนา(ที่ฐาน)ต่อไปให้แนบแน่นยิ่งขึ้น อาการเหล่านั้นก็จะทุเลาไปเอง

    แต่บางคนไม่ใช่อย่างนั้น จะมีอาการปวดตุ๊บๆอยู่ที่บริเวณนั้นตลอด
    เกิดจากเผลอไปเพ่ง(การรู้อย่างต่อเนื่อง)เข้าโดยไม่รู้ตัวนั้นเอง
    อาจเกิดจากความต้องการให้จิตรวมตัวลง จึงเกิดการบังคับจิตโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว

    วิธีแก้อาจทำได้ดังนี้ คือให้กลับมารู้อยู่ที่องค์ภาวนาที่กำกับลมหายใจอยู่
    เริ่มทำลมให้หยาบขึ้นมาก่อน แล้วค่อยๆทำลมให้ละเอียดเข้าไปใหม่
    แต่ให้มีสติรู้อยู่ที่องค์ภาวนาอย่างแนบแน่น อย่าให้แลบออกไปจากองค์ภาวนา
    อาการตึงที่หน้าฝากก็จะหายไปเอง ถึงมีบ้างเล็กน้อยก็ไม่รบกวนการภาวนา

    การภาวนานั้น เราให้ทำหน้าที่เพียงแค่รู้อยู่ที่องค์ภาวนาอย่างต่อเนื่อง(เพ่ง)เท่านั้น
    ไม่ต้องอยากที่จะให้จิตรวมลงเดี๋ยวนั้น เราภาวนาไปเรื่อยๆ ถึงเวลาจิตจะรวมมันจะรวมของมันเอง
    เมื่อเราฝึกฝนอบรมจนชำนาญแล้วต่างหาก เพียงแค่นึกน้อมจิตก็จะรวมลงได้เลย
    หมายเหตุ จะต้องฝึกฝนอบรมจนชำนาญเป็นวสีเท่านั้น

    เรื่องฐานที่ตั้งของสตินั้น เป็นเรื่องจำเป็นมากสำหรับผู้ปฏิบัติทุกท่าน
    ควรฝึกฝนอบรมให้ชำนาญคล่องแคล่วในการเข้าออกจากฐานจนเป็นวสี...

    ผมขอฝากอีกเรื่องนะ สมถะและวิปัสสนานั้น เป็นของที่ต้องทำควบคู่กันตลอดเวลา
    ถึงแม้นว่าจะต่างหน้าที่กันก็จริง แต่ต้องทำงานร่วมกันเท่านั้นจึงจะสัมฤทธิ์ผลได้...

    ;aa24
     
  10. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
    เยียมยอด

    อนุโมทนาบุญ ด้วยจ้า

    ว่า แต่ อัษฏากาศเบื้องต่ำ นี่ คือ ตรงไหน กัน จ๊ะ
     
  11. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
    [​IMG]

    ลองใช้วิธีนี้ ดู นะจ้า นวดตามจุดที่เขาบอก พอสบายๆ (ต้นตอ อยู่ที่ คอ นะจ๊ะ)
     
  12. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
    [​IMG]

    ระบบเส้นเลือด และ กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า และ หน้าผาก

    เอาไว้ดูประกอบ


    (เส้นเลือดไม่รับความรู้สึก แต่ การหดขยายของเส้นเลือดนั้นจะรู้สึกได้โดยกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณนั้น)
    (การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อโดยตรง ก้อทำให้รู้สึกได้เช่นเดียวกัน)

    สรุป รวมๆ ควร ละ ความรู้สึกเหล่านี้ เช่นเดียวกับ การละความเจ็บ ความคัน ความปวด ฉันใดฉันนั้น มิฉะนั้น จะหลง หรือ ติดสภาวะ ทำให้ไม่อาจเข้าสมาธิ ได้เลย

    สมาธิ แบบ นั่งสบายๆ ไป เรื่อยๆ หายใจสบายๆ แล้วค่อยจดจ่อ กะ อะไรสักอย่างทีหลังก้อได้
    (จะเข้าฌาน เอา โดยไม่รู้ตัว บวกกับของขวัญ คือ ทิพยจักษุ หรือ อาจได้ตาที่สามเป็นของแถม
    แต่อย่าเหมาเอาเอง ให้ตรวจสอบกับพระ ผู้ทรงฌาน ท่านจะเป็นผู้บอกกับเราเอง
    )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2013
  13. นายกสิณ

    นายกสิณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2011
    โพสต์:
    245
    ค่าพลัง:
    +251
    แสดงว่าฝึกทุกวัน จริงไหม
    ทุกอย่างที่เกิดจึงเกิดขึ้นแบบอัตโนมัติ...แม้ไม่ได้นั่งสมาธิก็ตาม
     
  14. DharmaJaree

    DharmaJaree เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2013
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +107
    เคยเป็นเหมือนกันค่ะ รู้สึกเหมือนมีคนเอาอะไรมาจ่อระหว่างคิ้วแต่ไม่มี
     

แชร์หน้านี้

Loading...