เรื่องเด่น พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร :ฝึกจิต

ในห้อง 'เสียงธรรม' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 12 มิถุนายน 2017.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,488
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    กตํ กรณียํ พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร (๒๔ ส.ค.๒๑)

    dhamma osoth
    Published on Aug 3, 2016
     
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,488
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ความสงสัยเป็นเครื่องทำให้ใจไม่สงบ พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร

    ภาวนาชำระใจ พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร

    กิเลสมันผิดใจคน พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร


    witsanu tripprasert

    Published on Apr 6, 2012
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤษภาคม 2020
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,488
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    สขังวะตะ สุขหนอ สุขหนอ ๒๕ สค ๒๒ - พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร

    อานิสงค์การฟังธรรม พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร

    ใจเป็นธรรมย่อมไปสวรรค์ พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร


    urai1791

    Published on Aug 5, 2014
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มีนาคม 2018
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,488
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ฝึกจิตให้สงบ พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร

    พุทโธ ธัมโม สังโฆ พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร

    dhamma osoth
    Published on Aug 4, 2016
     
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,488
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ปัญญาเกิดจากการภาวนา 11 ต.ค. 22 - พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร

    เสรี ลพยิ้ม
    Published on Sep 7, 2015
     
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,488
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    สภาวะจิตสงบ@พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร (st t04 01)

    จิตที่ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้ พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร

    พระประเภทต่างๆ พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร

    ธรรมะเป็นยารักษาจิต พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร

    dhamma osoth
    Published on May 6, 2018
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤษภาคม 2018
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,488
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    สติปัฏฐาน ๔
    พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร
    วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    แสดงพระธรรมเทศนา
    เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๒๒
    สำหรับผู้ที่ไม่เคยรู้จักการฟังธรรมะการสดับรับฟังที่จะก่อให้เกิดความสงบให้เกิดอานิสงส์นั้น
    ถ้าไม่เคยฟัง หรือเคยมีใครบอกสอนตักเตือนเราก็ไม่ทราบว่ามันจะเกิดผลเกิดประโยชน์ได้อย่างไร
    และการฟังนั้นจะฟังแบบไหน จึงจะเกิดอานิสงส์ให้

    ทางศาสนา ทางธรรมะป่า ทางกรรมฐาน ท่านเทศน์ท่านสอนแนะกันในการฟังว่า
    คือ การนั่งภาวนาไปในตัว กำหนดจิตให้อยู่เฉพาะหน้า
    ไม่ให้ส่งไปในอดีต อนาคตที่เคยผ่านมา การงานอะไรที่เราเคยทำค้างไว้ก็ไม่ต้องไปเกี่ยวยุ่ง
    เพราะระยะที่เรานั่งฟังธรรมนั้นไม่มีธุระหน้าที่ กายก็ไม่ได้ไปทำงาน วาจาก็ไม่ได้พูด
    จิตก็ห้ามไม่ให้คิดไปในอดีตอนาคต จะกำหนด พุทโธ พุทโธ อยู่ภายใน
    ทำให้จิตให้ใจสัมผัสกับบทบริกรรมของตนก็ได้ จะกำหนดลมหายใจเข้าออกของตัวก็ถูก
    แล้วแต่อัธยาศัยของใครชอบอะไร แล้วดึงใจของตัวที่คิดปรุงนั้นถอยกลับคืนมาจากที่ปรุงที่แต่งของมัน
    คือถอยเข้ามาภายใน เข้ามาหาดวงใจของตัว เมื่อเราตั้งใจไว้อย่างนั้น ท่านแสดงธรรมะอะไร
    ธรรมะที่ท่านแสดงออกไปนั้น ก็จะไปสัมผัสกับจิตของเราที่ตั้งเอาไว้
    โดยไม่ต้องส่งใจไปคิดว่าท่านจะเทศน์อะไร จะสอนอะไร
    นั่น...เป็นหน้าที่ของท่าน หน้าที่ของเราให้ตั้งจิตไว้เฉพาะหน้า

    เมื่อธรรมะไปสัมผัส ก็เหมือนกันกับเด็กที่ถูกพี่เลี้ยงหรือแม่กล่อม ผลที่สุดก็หลับได้
    นี่...จิตที่เคยส่ายแส่ไปตามกระแสอารมณ์สัญญาต่าง ๆ เมื่อเราตั้งเอาไว้เฉพาะหน้า
    ธรรมะที่ท่านแสดงไปนั้นก็จะไปสัมผัส สัมผัสเข้า สัมผัสเข้า ใจของเราก็ค่อยผ่องใส
    ใจของเราก็คอยสงบค่อยเย็นลงไป นี่คือ...เห็นอานิสงส์จากการทำของตน
    ไม่อย่างนั้นพอท่านเทศน์ออกไป เราก็มีความคิดความนึกอย่างนั้น อย่างนี้ ปรุงไป คิดไป
    ตำหนิท่านว่าเท่านี้ไม่ถูกจริตนิสัย ตำหนิอย่างนั้น ตำหนิอย่างนี้เรื่อยไป
    ใจแบบนั้นไม่มีวันสงบระงับ เราจึงต้องรักษาโดยให้ถือว่า เป็นการภาวนาในตัว

    การอบรมธรรมะ การแนะสอนธรรมะคือการฝึกอบรมจิตใจที่ฟุ้งปรุงออกไปให้สงบระงับ
    ด้วยการระวังรักษาสังวรจิตของตัว ตาที่ไม่ได้เห็นรูปที่ยั่วยวนจิตใจ หูก็ไม่ได้ไปฟังเสียงที่ยั่วยวนกิเลส
    มีแต่จิตมันจะคิดจะปรุงไปเรื่องข้างนอก เราจึงระวังรักษาเอาไว้ในขณะที่ฟัง
    ธรรมนั้นมันมีอยู่ในทุกท่านทุกคนไป แต่คนที่ไม่รู้ธรรม ไม่เห็นธรรมก็เพราะเหตุว่าคนนั้นไม่สนใจ
    หรือไม่ฉลาดนำธรรมะมาปรับปรุงกายใจของตัว กายใจจึงชั่ว กายใจจึงเสีย
    ตัวเองก็เกิดทุกข์เกิดโทษ คนอื่นเขาก็เหม็น ก็เบื่อ นี่คือ คนที่ไม่สังวรระวังกาย วาจา ใจของตัว
    ไม่มีธรรมะเข้าช่วยเหลือ ไม่มีธรรมะรักษา กายใจจึงเป็นบ้าเป็นบอไปอย่างนั้น

    ถ้าหากเรานำธรรมะมาพินิจพิจารณา มารักษา สิ่งใดที่ชั่ว ที่เสีย ที่เดือดร้อนวุ่นวาย
    ตนเองก็ทราบว่าจิตคิดไปแบบนี้เป็นจิตที่ไม่มีความสุขความสบาย
    เป็นจิตอิจฉาเบียดเบียนผู้อื่น สัตว์อื่นเป็นจิตที่เพลิดเพลินไปในกามารมณ์ไปในทางโลก
    ไม่ใช่จิตที่คิดเพื่อแก้ไขกิเลสตัณหาของใจ คิดไปเท่าไรก็ยิ่งเดือดร้อน คิดไปเท่าไรก็ยิ่งวุ่นวาย
    ให้เราทราบอารมณ์ของใจของตัว ถ้าไม่ทราบเรื่องอารมณ์ของใจ ปล่อยให้มันคิดเรื่องไป
    มันก็ทำความเดือดร้อนวุ่นวาย ก่อกวนตัวเองเรื่อยไป
    เพราะส่วนใหญ่ไฟมันเกิดขึ้นจากก้านไม้ขีดก้านเดียวเท่านั้น แต่เราไม่รีบระงับดับเอาไว้
    มันก็ไหม้ก็เผาสิ่งที่มีคุณค่าของเราเสียหายป่นปี้ไปหมด เช่นไหม้บ้าน ไหม้ช่องต่าง ๆ
    นี่คือ...เจ้าของประมาท ไม่ดู ไม่รักษา มันจึงไหม้จึงเผาบ้านช่องข้าวของเสียหายไปได้

    กิเลสตัณหาที่เกิดขึ้นกับใจก็ทำนองเดียวกัน เราประมาทไม่ระวังรักษา
    เห็นว่านิด ๆ หน่อย ๆ ไม่เป็นไร ความจริง ของนิดหน่อย เป็นของใหญ่
    ไม่ใช่ของมันใหญ่มาแต่เดิม
    มันนิดหน่อยเสียก่อน เช่น คนก็เป็นเด็กมาเสียก่อนจึงเป็นผู้ใหญ่
    ไม่ใช่ว่าเป็นผู้ใหญ่แล้วจะกลายไปเป็นเด็ก มันเป็นเด็กมาก่อน
    ของน้อยเมื่อเพิ่มเติมอยู่เรื่อย ๆ บำรุงอยู่เรื่อย ๆ มันก็มากขึ้น

    นี่...เรื่องความชั่วความเสียที่เราทุกคนได้รับทุกข์โทษมันก็เหมือนกัน
    เกิดขึ้นจากสิ่งนิดหน่อยเสียก่อน เช่น ฝุ่นละอองที่เข้าตาของเรา มันก็นิด ๆ หน่อย ๆ
    แต่ก็ทำให้ตาเสีย ตาบอดตามัวไปได้ ขอนไม้ตอไม้ ไม้ซุงทั้งท่อน ไม่เคยเข้าตาของคน
    สิ่งที่ทำให้เราเท้าแตก หัวแม่ตีนแตก ก็สะดุดของเล็ก ๆ น้อย ๆ ต้นไม้ใหญ่ ๆ โต ๆ เราไม่โดน
    เพราะเราเห็น ฉะนั้นท่านจึงไม่ให้ประมาทเรื่องความชั่วความเสียนิดหน่อย
    ว่าจะไม่ให้โทษให้ทุกข์แก่ตัว รีบระงับดับเอาไว้ เมื่อทราบในวาระจิตที่คิดปรุงไปในทางชั่วทางเสีย
    นี่คือการระวังรักษาจิตของตัว ระวังอยู่ทุกระยะทุกเวลา สิ่งใดที่มันจะนำมาซึ่งความเดือดร้อนวุ่นวาย
    แผดเผาตัวของตัว ให้ละในสิ่งนั้น อย่าไปคิดจะทำ จะพูด

    การรักษาใจ รักษายากยิ่งกว่าสิ่งทั่วไปในโลก เพราะใจเป็นนามธรรม เป็นของละเอียด
    แต่เมื่อรักษาได้ ไม่มีอะไรที่จะประเสริฐวิเศษเท่ากับเรื่องของใจ
    ไม่มีอะไรที่จะมีคุณค่าสูงเหมือนการรักษาใจให้ปลอดภัยไปจากกิเลสตัณหา

    แม้การรักษาใจจะยากยิ่งแต่ก็ไม่เหลือวิสัย สำหรับผู้ที่ตั้งใจประพฤติปฏิบัติจะต้องเห็น
    ต้องเป็น ต้องรู้ เพราะเราเอาใจใส่ ตั้งใจปฏิบัติจริงจังทางธรรมะ
    หลักของธรรมะที่ท่านกล่าวเอาไว้ เป็นการให้ศึกษา
    ท่านว่าอิทธิบาทคือสิ่งที่จะทำบุคคลนั้น ๆ ให้สำเร็จผลตามที่ตนปรารถนา
    อิทธิบาทก็อยู่ในองค์ของโพชฌงค์ องค์ของโพธิปักขิยธรรม คือธรรมที่จะออกจากโลก
    คนใดที่เจริญอิทธิบาท สิ่งที่ตัวใฝ่ฝันนั้นจะได้ตามปรารถนา

    อิทธิบาทนั้น ท่านพูดย่อ ๆ
    เป็นศัพท์บาลีไว้ว่า ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา

    ฉันทะ คือ ให้พอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น ถ้าชาวโลกเขาพอใจรักใคร่ในสิ่งใด เขาก็ไฝฝัน
    ไม่เบื่อหน่าย ยินดีที่จะทำ ที่จะพูด ที่จะคิดสิ่งนั้น เพราะความพอใจ
    ความพอใจจึงเป็นแรงสำคัญเป็นสิ่งที่เชื่อมั่นในจิตในใจ เพราะเราพอใจ เราย่อมทำได้
    ไม่เบื่อหน่าย เรียกว่า ฉันทะ คือ ความพอใจรักใคร่ เช่น พอใจรักใคร่ในการกำหนดลมหายใจ
    ไม่เบื่อหน่ายในการกำหนด อารมณ์สัญญาอะไรเกิดขึ้น ผ่านมาก็ไม่เกี่ยวข้อง
    หรือมีความพอใจรักใคร่ในการบริกรรมพุทโธ พุทโธ
    อารมณ์อื่นหมื่นแสนเกิดขึ้นก็ไม่ติดตามเกี่ยวข้อง คนเช่นนั้นย่อมมีจิตสงบระงับได้
    เพราะพอใจในกรรมฐานของตัว พอใจในคาบริกรรมของตัว ถ้าหากไม่พอใจทำอะไรก็ไม่พอใจ
    ทิ้งขว้างเรื่อยไป คนนั้นทำอะไรก็ไม่สำเร็จให้
    ฉะนั้น ฉันทะ ความพอใจรักใคร่จึงเป็นตัวจักรใหญ่สำคัญ ตัวเบื้องต้น

    เมื่อมีฉันทะ ความรักใคร่ วิริยะ ความพากเพียร มันก็เกิดขึ้น ทำอย่างไรเราถึงจะได้
    ทำอย่างไรเราถึงจะสำเร็จ ทำอย่างไรถึงจะเห็น จะเป็น จะรู้ มันจะต้องมีความพยายาม
    ถึงเหน็ดเหนื่อยเมื่อย หิว ลำบากยากเย็น ก็พยายามไม่ทอดทิ้ง เอาใจใส่ ตั้งใจทำ
    ตั้งใจปฏิบัตินี่...เรียกว่า วิริยะเมื่อยังมีชีวิตเป็นอยู่ จะต้องทำสิ่งนั้นให้สำเร็จให้ได้
    ลำบากยากเย็นขนาดไหนก็ไม่ท้อถอย ตั้งหน้าจะทำเอาชีวิตเป็นแดน
    นี่...ผู้ที่มีวิริยะแรงกล้าเป็นอย่างนั้น

    จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ไม่ทอดธุระ ไม่ทอดทิ้งสิ่งที่ตัวทำ ตัวบริกรรม
    ถ้าทางโลกก็เป็นเรื่องทำทางโลก ถ้าเป็นเรื่องของธรรม ก็เป็นเรื่องการดูรักษาจิตใจของตัว
    มันเผลอเรอ หรือ มันติดตามอารมณ์อะไร หรือ มันยังคงเส้นคงวาอยู่กับคำบริกรรม
    หรือการกำหนดของตัว ตรวจตราพิจารณาอยู่เรื่อย ๆ เอาใจฝักใฝ่ดูแลรักษา
    ไม่วางธุระ ไม่ทอดทิ้ง เรียกว่า จิตตะ

    วิมังสา ตรวจตรา พินิจพิจารณาในสิ่งที่ตัวกระทำอยู่นั้น ว่ามันผิดถูกชั่วดีอย่างไร
    เพื่อจะได้แก้ไขปรับปรุงให้มันถูกต้อง ให้มันดีงาม

    คนที่มีอิทธิบาททั้งสี่ประจำอยู่ในจิต ไม่ว่าจะทำการงานชนิดใด หยาบละเอียด ยากง่ายขนาดไหน
    คนนั้นจะทำสำเร็จไปได้ ท่านจึงว่า อิทธิบาท คือ มีอิทธิฤทธิ์
    สามารถที่จะทำสิ่งที่ตนปรารถนาให้สำเร็จไปได้ตามความต้องการ คนที่ปฏิบัติไม่เห็นไม่เป็น
    ทำอะไรไม่สำเร็จลุล่วงไป ก็เพราะใจขาดอิทธิบาท ถ้ามีอิทธิบาททั้งสี่อยู่ในจิตในใจคนใดแล้ว
    ไม่ว่าฝ่ายโลก ไม่ว่าฝ่ายธรรม เขาคนนั้นทำอะไรจะต้องสำเร็จตามความประสงค์ของเขา
    นี่...เป็นธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอนพวกนักปฏิบัติ ให้ทำจริงในสิ่งที่ตัวอยากเห็น อยากรู้
    ถ้าไม่ทำจริง ผลที่เป็นจริงก็ไม่เกิดขึ้น ฉะนั้น การทำจริงจึงเป็นเรื่องสำคัญ
    จะต้องอาศัยบทธรรมของพระพุทธเจ้าเข้ากำกับเป็นเส้นทางเดิน เป็นเข็มทิศ
    นำจิตนำใจให้ไปสู่ทิศสู่ทางที่ตนมุ่งหวังได้

    ถ้าหากจะพูดถึงความเดือดร้อนวุ่นวาย พูดถึงความสบายสงบ มันก็ไม่ใช่เรื่องอันอื่น
    นอกไปจากเรื่องของจิต จิตเป็นตัวการสำคัญ ถ้าจิตชั่วจิตเสีย จิตโลภ จิตโกรธ จิตหลง
    จิตเกิดราคะตัณหา คือจิตเป็นไปในทางชั่วทางเสีย ทางต่ำแบบนั้น
    ถึงร่างกายของเราจะอยู่สบาย แต่จิตก็วุ่นวายเดือดร้อน เพราะสิ่งเหล่านั้นท่านเรียกว่ากิเลส

    กิเลสนี้ ผู้ที่มีสติปัญญา ผู้ที่มีธรรมะ ท่านขยะแขยง ท่านกลัวมาก กลัวยิ่งกว่าสิ่งทั่วไป
    เพราะโรคอันที่เป็นโรคของกายนั้น เรารักษาไม่หายตายมันก็หมดไป ไม่เป็นพิษเป็นภัย
    รักษาไม่หายมันก็ไปแค่ถึงตายเท่านั้น ไม่เลยนั้นไป แต่เรื่องกิเลสตัณหาซึ่งสิงซ่อนอยู่ในจิตในใจ
    ถ้าเราไม่ละ ไม่แก้ไข ไม่บำเพ็ญให้เห็น ให้รู้ ให้หลุด ให้พ้นไปแล้ว
    เราตายไปก็สักแต่ว่ากายตายไป จิตใจที่ยังมีกิเลสตัณหานั้น จะก่อภพก่อชาติใหม่
    แล้วจะยุ่งเหยิงวุ่นวาย รบกวนตัวเองอยู่เรื่อยไป ท่านจึงกลัวมากกว่าเรื่องโรคของกาย

    ผู้ที่เห็นกิเลสตัณหาเป็นสิ่งที่น่ากลัว น่าเบื่อหน่าย ท่านจึงตั้งหน้าตั้งตา
    ภาวนาหาทางที่จะแก้ไขใจที่ชั่วที่เสียนั้น ๆ ให้หลุดให้ตกออกไป
    ด้วยอุบายวิธีธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอนเอาไว้ โดยวิธีไดวิธีหนึ่ง
    ถ้าหากไม่มีอุบายปัญญารักษาใจของตัวแล้ว คนนั้นถึงจะอยู่เป็นพระเป็นเณร
    จะบวชมาหลายพรรษา ก็หาสาระทางจิตทางใจไม่ได้
    มีจิตใจวุ่นวายเดือดร้อนแส่ส่าย กวัดแกว่งไปตามสัญญาอารมณ์ต่าง ๆ
    หาทางสงบเย็นในจิตในใจไม่มี ตัวของตัวก็ตำหนิ ทำไมจิตจึงเป็นอย่างนี้
    ซึ่งเราไม่ชอบ ไม่ปรารถนา แต่มันก็เกิด ก็เป็นขึ้นในจิตในใจของเรา
    เพราะเราไม่รักษา เราไม่ชำระมัน ถ้าเราตั้งหน้าตั้งตาชำระรักษาจิตจริงจังแล้ว
    ทุกคนไปก็จะมีความสงบ ความเยือกเย็น ความผ่องใส

    การรักษาจิต การพิจารณาธรรมะเพื่อชำระจิต ข้อธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงรับรองว่า
    เมื่อทุกคนตั้งหน้าตั้งตาประพฤติปฏิบัติรักษาตามธรรมะที่สอนไว้ คนนั้นจะเป็นคนดิบคนดี
    มีคติเป็นสอง คือเป็นอนาคามีบุคคล พ้นไปจากกามราคะ
    ปฏิฆะ คือความใคร่คิดติดข้อง กำหนัดยินดีในเพศตรงข้าม จะไม่มีในวาระจิตของท่าน
    ความหงุดหงิดในจิตในใจ เป็นไปเพื่อความโกรธก็จะไม่เกิดไม่มีขึ้น
    หรือหากปัญญาคมกล้า ตัดอวิชชาได้หมด ก็เป็นอรหัตบุคคล สิ้นกิเลสอาสวะทั้งปวง
    ถ้าตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติรักษาจริงจัง ท่านรับรองว่าทุกคนไปอย่างช้าไม่เกิน ๗ ปี
    หรืออย่างเร็วก็ไม่เกิน ๗ วัน มันจะเป็นขึ้น เห็นขึ้น นี่...คือโอวาทที่ท่านแนะสอนเอาไว้

    ผู้ที่พินิจพิจารณา มีสติกำหนดรักษาจิตใจ
    ให้อยู่ไน สติปัฏฐานทั้งสี่ หมายถึง

    กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน พิจารณากายของเรา
    โดยส่วนใหญ่ก็พิจารณากายของตัวเอง เพื่อแก้ไขใจที่ยึดถือ ที่ติดข้อง ที่หลงใหลใฝ่ฝัน
    อย่างนั้นอย่างนี้ เกิดความยินดี เกิดความมัวเมาในเรื่องของกาย
    ท่านให้พิจารณากาย สักแต่ว่ากาย ไม่ใช่หญิง ไม่ใช่ชาย ไม่ใช่ สัตว์บุคคล
    พิจารณาอย่างไรใจจึงจะเห็นเป็นจริงอย่างนั้น ก็พิจารณาตามดูทุกสิ่งทุกส่วน
    เช่น ผมก็ดี ขนก็ดี เล็บก็ดี ฟันก็ดี หนังก็ดี สิ่งเหล่านี้เขาไม่เคยรับรอง
    เขาไม่เคยบอกกล่าวว่า เป็นหญิง เป็นชาย เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นเรา เป็นเขา
    ของเหล่านี้มันมีมาตามหน้าที่ของมัน และจะแปรปรวนไปตามหน้าที่ของมัน
    จะแตกสลายไปตามหน้าที่ของมัน ไม่เยื่อไยเชื่อฟังบุคคลใด
    ถึงจะมีอำนาจราชศักดิ์ใหญ่ขนาดไหน ก็จะเป็นไปอย่างนั้น
    ไม่มีกลัวอำนาจวาสนาอิทธิพลของใคร
    ความเป็นไปของสิ่งเหล่านี้มันเป็นไปอยู่อย่างนั้น ตั้งแต่ไหนแต่ไรมา

    เราจะพิจารณาให้รู้ให้เห็น มันก็เป็นอยู่อย่างนั้น เราไม่ไม่เห็น มันก็เป็นไปอยู่อย่างนั้น
    ให้พิจารณากันให้ทั่วถึงในเรื่องของกาย หนังมันก็ไม่ได้บอกว่ามันเป็นหนัง
    แต่ความสมมติของเราว่าหนัง แล้วเราก็ไปยึดสมมตินั้นว่าเป็นเรา เป็นของของเราไปเสีย
    แต่มันไม่ได้เคยพูดกับเราว่า ฉันเป็นหนัง ฉันเป็นของคุณนะ คุณด้องรักษาดูแลฉันให้ดีนะ
    มันไม่เคยพูด เคยว่า เรื่องของหนังเนื้อ เอ็น กระดูก ก็ทำนองเดียวกัน
    นี่...พิจารณาเพื่อความถอนจิตใจที่ยึดมั่น ว่าเป็นเขาเป็นเรา เป็นสัตว์ เป็นบุคคล
    เพราะสิ่งเหล่านี้มันไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เราเขา มันเป็นหน้าที่ของมันต่างหาก

    ถ้าหากเป็นตัวของเราจริงจัง เราจะต้องบอกได้ สอนได้ ไม่ให้มันแก่ มันเจ็บ มันตาย
    มันก็ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย เพราะเราสอนมันได้ มันเป็นของของเรา เราหักห้ามมันได้
    นี่...มันไม่เป็นเช่นนั้น หักห้ามมันไม่ได้ ใครรู้เรื่องของมัน มันก็เป็นอยู่อย่างนั้น
    ใครไม่รู้เรื่องของมัน มันก็เป็นอยู่อย่างนั้น ผู้รู้ถึงฐานของมันจริงจังไม่ได้ไปยึด ไม่ได้ไปถือ
    เพราะทราบดีว่าสิ่งเหล่านั้นมันเกิดขึ้น มันแปรปรวน มันแตกสลายไปเมื่อถึงกาลถึงสมัย
    แทนที่จะเสียอกเสียใจเพราะเรื่องกายมันแตกมันทำลายไป มันไม่เป็นอย่างนั้น
    มันไม่เสียอกเสียใจอะไร เพราะทราบแล้ว เข้าใจแล้ว ความจริงมันเป็นอย่างไร เราเข้าใจชัดเจน

    นี่...เป็นเรื่องการพิจารณากาย เพื่อถอดถอนความยึดมั่นสำคัญหมายว่าเรา
    ว่าเขา ว่าสัตว์ ว่าบุคคล ถ้าหากพิจารณาเห็นความเป็นจริงชัดเจนแล้ว
    ความไปกำหนัดยินดีกับเพศตรงกันข้ามมันจะไม่เกิดขึ้น เพราะเหตุใด
    เพราะกายนี้เป็นก้อนของโรค โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ นานา มาเกาะ มาอาศัย
    มีตา ก็มีโรคตา มีหู ก็มีโรคหู มีจมูก ก็มีโรคในจมูก มีอะไรมีแต่โรค แต่ภัยเบียดเบียนทั่วไป
    ไม่มีสถานที่ไดที่จะไม่เกิดโรค มันเป็นทุกข์มันเป็นโทษ เพราะเรื่องของกายอันนี้
    ถ้าหากไม่มีกาย โรคมันก็ไม่มีที่พัก ที่อาศัย เหมือนกันกับไม่มีแผ่นดิน
    สัตว์ทั่วไปมันก็ไม่มีที่อาศัย แผ่นดินเป็นที่อาศัยของสัตว์ กายก็เป็นที่อาศัยของโรค
    ทำนองเดียวกับการเกิด ท่านจึงเบื่อจึงหน่าย เพราะเกิดมาแล้ว
    มันได้รับทุกข์รับโทษด้วยความเจ็บป่วยด้วยความแก่ ความตายต่าง ๆ

    นอกจากนั้น พิจารณาเพื่อแก้ไขใจของตัวที่ไปยึดถือว่า มันสวยอย่างนั้น มันงามอย่างนี้
    เมื่อเราแยกแยะออกไปตามหน้าที่ของมัน ผมก็ดี ขนก็ดี เล็บก็ดี ฟันก็ดี หนังก็ดี เอ็น กระดูก
    ตับไต ไส้พุง ข้างในก็ดี ทุกสิ่งทุกอย่างเหล่านี้ถ้าหากเป็นของคนแล้วไม่มีใครปรารถนา
    ไม่มีใครชอบใจ ไม่มีใครยินดี แด่มันเป็นก้อนรวมกันอยู่ แล้วเอาหนังหุ้มห่อเอาไว้
    ขัดถู ประดับประดาด้วยสิ่งต่าง ๆ นานา หลอกตาของคนที่โง่เขลาเบาปัญญา
    ไม่ทราบว่าหนังมันห่อหุ้มของสกปรกโสมมอย่างไร เพราะไม่ได้พิจารณาเลยเข้าไปจากหนัง
    มันจึงเกิดความชอบพอ ยินดีในรูปนั้น ๆ ว่ามันสวยสดงดงามอย่างนั้นอย่างนี้

    ถ้าตรวจตราพิจารณาเรื่องของกายตามเป็นจริง กายนี้ถึงเราจะไม่สมมติ
    ไม่ให้ร้ายเขาว่าเขาสกปรก แต่ความจริงก็ก้อนของสกปรกจริง ๆ จัง ๆ
    เช่น เรานั่งก็ดี นอนก็ดี นุ่งห่มอะไรก็ดี หรือเอาอะไรมาเกี่ยวข้องก็ดี
    กายนี้จะทำความสกปรกให้แก่สิ่งนั้น ๆ เพราะก้อนของกายนี้เป็นของสกปรก
    รั่วไหลออกมาจากกายนี้เรียก “ขี้” ทั้งนั้น ไม่ใช่เป็นของดิบของดี จึงไปติดเปื้อนที่นั่งที่นอน
    ผ้านุ่งผ้าห่ม ได้ซักได้ฟอกกันอยู่เรื่อย ๆ เพราะมันเน่า มันเหม็น มันปฏิกูล
    นี่...คือการพิจารณาเพื่อละความกำหนัดยินดี ถอดถอนความกำหนัดยินดี

    ความกำหนัดยินดี นั้นมันไม่ได้อยู่ในกาย กายนี้ไม่ทราบ แต่ใจมันบ้ามันบอ
    มันถือว่าตัวของมัน เหมือนกันกับโจรมีอาวุธ มันก็กล้าที่จะไปปล้นไปจี้ สู้รบขบกัดกับคนอื่นได้
    กายมันมีกำลังให้มันพักผ่อนหลับนอน ให้มันขบมันฉัน สิ่งที่มีสาระแก่มัน
    มันอิ่มหนำสำราญ มันมีกำลังแล้วมันเลยคิดไปปรุงไป เป็นเรื่องของใจ มันคิด มันปรุงไป
    เราจะพิสูจน์ได้ประจักษ์ในใจก็คือ คนตายนั้นไม่ว่าหญิง ว่าชาย ไม่ว่าหนุ่มว่าสาว
    จะเป็นคนที่บ้ากามมาขนาดไหนก็ตาม ถ้าหากมันตายแล้ว เอาไปทิ้งเทินกันไว้
    ไม่ว่าผู้หญิง ผู้ชาย ที่มันบ้าเรื่องกามนั้น มันจะไม่มีการทำอะไรกัน

    นี่...เรื่องของกายกับจิตมันเป็นอย่างนั้น มันเป็นธาตุ
    แล้วก็จะแปรปรวนแตกสลายลงไปสู่ธาตุเดิมของมัน ธาตุดินก็จะไปสู่ธาตุดิน
    ธาตุน้ำก็จะซึมซาบลงไป หรือเป็นไอขึ้นตามอากาศ ธาตุไฟก็ไปตามเรื่องของมัน
    ลมก็ไปตามเรื่องของมัน นี่...เมื่อเราแยกแยะพินิจพิจารณาดูให้ทั่วถึงถี่ถ้วนอย่างนั้น
    ให้ใจมันเห็นประจักษ์ชัดเจน มันจะยอมจำนนว่าอันนี้ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่สัตว์
    ไม่ใช่บุคคลจริงจังแต่จิตมันลุ่มมันหลง มันยึด มันถือต่างหาก มันจึงเกิดราคะตัณหา
    คือ มันไม่ทราบความจริงในสิ่งนั้น ๆ ตามเป็นจริงของมัน ถ้ามันทราบตามเป็นจริงของมันแล้ว
    จิตจะไม่หลง จิตจะสงบ จิตจะเบื่อหน่ายในเรือนร่างกาย
    จนบางท่านบางคนตามตำรับตำราพิจารณากายเห็นเป็น อสุภ อสุภํ เป็นก้อนมูตร ก้อนคูถ
    หรือเป็นก้อนโรคก้อนภัย ใจมันเห็นประจักษ์ชัดเจนจริงจังอย่างนั้น เลยเบื่อหน่าย
    ฆ่าตัวตายก็มีทางศาสนาท่านจึงห้ามการทำอัตตฆาต คือฆ่าตัวเอง
    มันเบื่อหน่ายจนยอมฆ่าตัวตาย เบื่อหน่ายแบบนั้นเบื่อหน่ายผิดทาง

    พระธรรมวินัยให้ทราบตามเป็นจริงของมันว่า สิ่งเหล่านั้นเราไม่ฆ่ามัน
    มันก็จะตายอยู่แล้ว มันอยู่ไม่ได้ถึงพันปีหมื่นปี เมื่อมันเกิดขึ้นมามันก็แปรปรวนไป
    แล้วแตกสลายตามหน้าที่ของมัน ให้พิจารณาเรื่องของกาย ให้ทราบ
    ให้เห็นชัดเจนในจิตในใจของตัวว่า กายนี้สักแต่ว่ากาย ไม่มีหญิง ไม่มีชาย
    ไม่มีสัตว์ บุคคล จิตมาอาศัยก็หลงใหลยึดถือว่าเป็นเรา เป็นของเราไป
    แต่ความจริงแล้ว กายนี้มันเป็นเรื่องของกายต่างหาก ไม่ใช่เรื่องของจิต

    เมื่อทราบชัดอย่างนั้น เห็นชัดอย่างนั้นผู้ไปเห็นกายเป็นอย่างนั้นคือใคร
    มันจะทราบเข้ามาภายใน มันจะเห็นภายใน แล้วแก้ไข เมื่อมันเห็นภายใน มันประจักษ์ชัดเจนแล้ว
    ในเรื่องการงมงายมันก็หายจากการงมไป การหลงไป เพราะเรื่องของกายแท้ ๆ ไม่มีอะไร
    มันไม่เคยสุขเคยทุกข์ เคยเดือดร้อนวุ่นวาย ไม่เคยอยากได้สิ่งนั้น สิ่งนี้ หน้าที่ของกายจริงจัง
    ที่มันมีชีวิตชีวาเจริญมาก็เพราะเราบำรุงมัน เอาอาหารการขบฉันมาบำรุง ให้นุ่ง ให้ห่มเมื่อเวลาหนาว
    ให้อาบให้สรงเมื่อเวลาร้อน เราบำรุงมันไว้ มันจึงเจริญเติบโตมา
    และเมื่อเราหลงมัน มันก็ให้ทุกข์แก่เรา ถ้าเราไม่หลงมัน เราจะเอาประโยชน์แก่มัน
    ก็คือการพิจารณามัน แล้วก็พามันทำความพากความเพียร ไหว้พระสวดมนต์ ทำการบุญการกุศล
    ทำให้เกิดผลประโยชน์ ไม่ปล่อยให้กายเป็นหมันเป็นโมฆะ ในเมื่อเวลาเรายังมีลมหายใจเป็นอยู่

    นี่คือ...การพิจารณากาย ในทางสติปัฏฐานให้พิจารณากายของตัวให้ทั่วไห้ถึง ให้เห็นชัดเจนแล้ว
    กายของคนอื่นทั่วไปในโลก มันก็ไม่ผิดแผกแตกต่างอะไรกัน สมมติที่ว่าคนแก่ คนหนุ่ม คนสาว
    หรือเด็ก มันเป็นสมมุติต่างหาก ความจริงแล้ว กายเมื่อเกิดขึ้น ถ้าหากไม่มีอุปสรรค
    มันก็เจริญตามหน้าที่ของมัน ได้ชื่อว่ามันแปรปรวน แปรปรวนไปหาที่ไหน ไปสู่ความแตกดับของมัน
    ไม่ว่าปัจจุบันหรืออดีตที่ผ่านมา มันเป็นอยู่อย่างนั้น อนาคตที่จะเป็นต่อไปข้างหน้าก็เหมือนกัน
    มันไม่ลุ่มไม่หลง มันเข้าจิตเข้าใจเพราะการพิจารณาอย่างนี้
    ทำให้เกิดปัญญาสามารถที่จะเด็ดขาดจากความยึดถือ จากความลุ่มหลง จากความเกาะเกี่ยวข้องใจ
    เมื่อเราไม่ลุ่มหลงตัวของเราแล้ว คนอื่น สัตว์อื่น เราก็ไม่ลุ่มหลงเพราะเราเป็นอย่างไร
    เขาเป็นอย่างนั้น มันประจักษ์อยู่ในจิตในใจของผู้ปฏิบัติ เห็นชัดอย่างนั้น
    มันจึงละ จึงปล่อย จึงวาง เรื่องของกายได้ นี้...เรียกว่า กายานุปัสสนา
    คือ พิจารณากายเพื่อให้เกิดปัญญาเพื่อให้ละให้ถอนความยึดถือติดข้องต่าง ๆ

    เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็หมายถึง พิจารณาสุข ทุกข์ สุข ทุกข์ หรือเฉย ๆ นั้น
    ทุกท่านมีด้วยกันไม่ว่า ฆราวาส หรือ นักบวช แต่เราไม่ได้เอาใจใส่ว่าอันนี้เป็นธรรมะ
    เป็นยาที่จะแก้กิเลส เราเลยมองข้ามเหยียบย่ำอยู่เรื่อยไป ไม่ทราบว่าสิ่งนั้นมันเป็นอะไร
    เข้าใจว่าสิ่งนั้นมันเป็นเรา เป็นของเราไป เรามีในสิ่งนั้น สิ่งนั้นมีในเรา
    อย่างที่ท่านกล่าวเอาไว้ ความจริงมันก็เป็นของมันไปอย่างนั้น เพราะเราไม่ได้พิจารณา มันจึงลุ่มหลง

    ถ้าหากเราพิจารณา มันก็พอพิจารณาได้ กายอันนี้หรือตัวอันนี้มันไม่ใช่สัตว์ บุคคลอีกเหมือนกัน
    เป็นอาการอันหนึ่ง เมื่อกายกับจิตมาอยู่ด้วยกันแล้ว สิ่งเหล่านี้มันจะเกิดมีขึ้น
    เรียกว่า เวทนา คือ บางทีก็สุข บางทีก็ทุกข์ บางทีก็เฉย ๆ

    เวทนานี้เป็นสิ่งปิดบังปัญญาของมนุษย์และสัตว์ทั่วไปมากเหมือนกัน
    ทำให้หลงใหลใฝ่ฝันอยากได้สิ่งที่ชอบที่ปรารถนา เบื่อหน่าย ไม่ชอบพอสิ่งที่ตัวไม่ปรารถนา
    เช่น ที่เกิดขึ้นมา เราเบื่อ เราหน่าย เงินทองข้าวของมากมายขนาดไหนก็ยอมเสียสละ
    เพื่อจะให้เวทนาตัวทุกข์นั้นมันหมดไป หายไป ให้กายมันสุข มันสบาย ยอมขายบ้าน
    ขายเรือน ขายไร่ ขายนา เงินทองมรดกที่บิดามารดาหามาไว้
    ท่านล่วงลับดับไปก็ตกเป็นสมบัติของเรา ถือว่าสมบัติเหล่านั้นเป็นสมบัติที่ควรสงวนรักษา
    แต่ทว่าเมื่อเวทนามันกล้าขึ้นมา ทุกข์มากขึ้นมา จะต้องนำสิ่งนั้น ๆ ออกไปขายเพื่อรักษา
    นำหยูกนำยามาบำบัดให้ทุกขเวทนาหายไป สิ่งที่เราไม่ชอบใจ
    ไม่พอใจเรายอมเสียสละข้าวของเงินทอง เพื่อให้ได้มาซึ่งความสุขความสบาย
    ส่วนสิ่งที่สุขที่สบายเราก็ปรารถนาอยากจะได้ ถึงจะยากจะลำบากขนาดไหน
    ก็อยากจะได้มาเป็นสมบัติของตัว ทุกข์ยากลำบากก็อุตส่าห์พยายามแสวงหา
    เพราะอยากได้ความสุขนั้นมา

    สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เฉย ๆ ก็ดี ทั้งสามสิ่งนี้เรียกว่า เวทนา เวทนานี้ก็เป็นอนัตตาอีกเหมือนกัน
    บอกไม่ได้ สอนไม่ฟัง ไม่มีใครที่จะมีอำนาจวาสนาหักห้ามมันได้ มันเกิดขึ้นมา ก็ตั้งอยู่ ดับไป
    ทำนองเดียวกันกับรูป แต่เราไม่รู้ เราจึงไปยึดไปถือมัน เข้าใจว่าเวทนานั้นเป็นของของเรา

    ถ้าเป็นเรื่องสุข ก็ชอบจิตติดข้องในสิ่งนั้น ๆ อยากจะให้เป็นอย่างนั้นอยู่ตลอดไป
    ถ้าทุกข์ก็อยากจะขับไล่ไสส่งให้ตกออกไปจากกายจากใจของตัว มันคิดอย่างนั้น
    มันปรุงอย่างนั้น มันยึดอย่างนั้น มันถืออย่างนั้น พวกเราท่านจึงหลงเรื่องของเวทนา
    ถือเอาขันธ์ส่วนนั้นว่า เป็นตัว เป็นตนเป็นคน เป็นสัตว์

    ถ้าหากเราปฏิบัติด้านอรรถธรรมจริงจังจิตของเราละเอียด จิตของเราเป็นธรรม
    เราจะทราบว่า เวทนานี้สักแต่ว่าเวทนา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนเราเขา เป็นแต่สักว่าเวทนาเท่านั้น

    เวทนานี้มันจะเจริญเติบโตไปได้ มันจะให้ทุกข์ขนาดไหนก็ไม่เลยตาย
    ตายไปแล้ว ทุกข์ส่วนนั้นมันจะหาย ในเมื่อเวลาหมดลมหายใจ มันจะไม่มีอะไรเหลือหลอ
    แต่เมื่อเวลาเราเป็นอยู่ เราจะสู้จะหลบ จะพิจารณาอย่างไร จึงจะทราบว่าเวทนานี้เป็นขันธ์อันหนึ่ง
    ไม่ใช่ตัวของจิต เรื่องเหล่านี้เราต้องต่อสู้ เราต้องพิจารณาดูด้วยความเป็นธรรม
    ไม่เข้าข้างตัว ไม่เข้าข้างใด อาศัยความจริงพิสูจน์ของจริง จะเห็นเด่นชัดในจิตในใจ

    เวทนานี้ทางที่จะดับมันได้ คือ ใจสงบ ถ้าใจสงบแล้ว เวทนามันดับ
    สงบถึงที่ รวมถึงที่ไม่มีสัญญา ไม่มีเวทนา จะต้องเป็น ต้องเห็นในผู้ปฏิบัติ ถึงมันจะหนักขนาดไหน
    ถ้าหากใจรวมได้เวทนามันหายเหมือนปลิดทิ้ง ไม่มีอะไรที่จะมายุ่งเกี่ยว
    นี่คือ...เรื่องลงรวมของจิตที่ผู้ฝึกปฏิบัติ มีสมาธิสมาบัติเข้าได้ หลบได้เป็นกาลเป็นสมัย

    แต่เวทนาที่พระพุทธเจ้าให้รู้ ให้เห็นตามเป็นจริงนั้น ท่านให้เห็นว่า เวทนาสักแต่ว่าเวทนา
    ไม่ใช่ตัวตนคนสัตว์อะไร ข้อนี้จะประจักษ์ในการพินิจพิจารณา ในการภาวนาของตัว
    คือ จะเห็นด้วยการบำเพ็ญภาวนาว่า อันนี้มันเป็นขันธ์อันหนึ่งต่างหาก
    ผู้ไปรู้อันนี้เป็นอีกอันหนึ่งต่างหาก ถึงอันนี้มันจะก่อกวน วุ่นวาย สุขสบายก็ตาม
    ทุกข์ลำบากก็ตามเป็นเรื่องของเวทนา ไม่ใช่จิตผู้ไปรู้ ผู้ไปเห็น

    สติตามรู้จิตของตนในขณะนั้น ๆ จัดเป็น จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน เห็นจิต
    ไม่ได้หลงใหลมืดบอดไปตามอาการนั้น ๆ ทราบดีว่าเรื่องเหล่านี้มันเป็นขันธ์อันหนึ่งต่างหาก
    แต่มันเกิดจากกายจากจิต เหมือนกันกับเสียง เกิดจากความกระทบของฆ้อง ของกลอง
    ความจริงกลองมันก็ไม่มีเสียง ฆ้องมันก็ไม่มีเสียง แต่ไปกระทบกันเข้า ตีกันเข้า เสียงมันจึงเกิดขึ้น

    ธาตุขันธ์ ที่เกิดเวทนาอย่างนั้น มันก็ต้องมีเหตุของมัน มันจึงเกิดสุข มันจึงเกิดทุกข์
    คือมันกระทบในสิ่งที่ตัวต้องการ ตัวปรารถนา มันก็เกิดสุขขึ้น มันกระทบในสิ่งที่ตัวไม่ต้องการ
    ตัวไม่ปรารถนา มันก็เกิดทุกข์ขึ้น นี่..คือความหลงใหล เพราะไม่เข้าใจตามเป็นจริง
    หากไปยึดไปถือในสิ่งนั้น ๆ มันจึงเกิดทุกข์ เกิดโทษ เมื่อสิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้น
    สิ่งที่ปรารถนาเกิดขึ้นก็อยากจะให้มันตั้งอยู่ ไม่อยากจะให้มันวิบัติฉิบหายไปที่ไหน แต่ก็ไม่มีสิทธิ์
    มีอำนาจที่จะรักษาได้ เพราะ สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นจะต้องดับไปเป็นธรรมดา
    ผู้มีปัญญาทราบชัดอย่างนั้น มีการเกิดขึ้นได้ จะต้องมีการแปรปรวน และสลายไป
    ถ้าเรารู้ เราเข้าใจ ในตัวของเราจริงจังอย่างนั้น
    มันไม่มีอะไรที่จะปิดบังอำพราง จะหลงใหล จะยึดถือจะ เข้าใจผิด

    พระพุทธเจ้ารับรอง โกณฑัญญะก็รับรอง โกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม
    คือ เห็นว่าสิ่งใดมีการเกิดขึ้น สิ่งนั้นจะต้องมีการแตกดับ เห็นประจักษ์ชัดเจนในจิต ในใจ
    ไม่มีการสงลัย ไม่มีอะไรปิดบัง นี้...ท่านเรียกว่า ได้ดวงตาเห็นธรรม
    ถ้ามันเห็นอย่างนั้น มันเป็นอย่างนั้นโดยไม่ได้จำมาจากที่อื่น ไม่ได้คาดหมาย
    มันเข้าใจในการพิจารณาของตัว ในการภาวนาของตัวอย่างนั้น
    พระอัญญาโกณฑัญญะเห็นอย่างไร ใจของเราที่ไปเห็นอย่างนั้นก็เหมือนกัน
    ถึงพระพุทธเจ้าไม่รับรองเพราะท่านปรินิพพานไปแล้ว แต่เราเองก็ทราบว่า จิตของเรามันเป็นอย่างไร
    มันห่างไกลจากความสงสัย จากการยึดถือหรือไม่ นี่...เป็นเรื่องการบำเพ็ญภาวนา
    จะต้องกำหนดให้รู้ให้เห็นในตัวของตัวผู้ภาวนา ถ้าหากมีสติกำหนดกายก็ดี กำหนดเวทนาก็ดี
    กำหนดจิต ความคิดปรุงต่าง ๆ หรือที่เรียกว่า เจตสิก ก็ดี
    เหล่านั้นล้วนเป็นเรื่องซึ่งเราจะพินิจพิจารณา จนปล่อยวางความยึดถือ ไม่ใช่ตัวตนเราเขา

    ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ธรรมหมายถึงสภาวะที่เป็นอยู่
    หรือสิ่งทั่วไปที่ปรากฏในจิตในใจ จะเป็นโลกธรรมก็ตาม เป็นนามธรรมก็ตาม
    เมื่อมันเกิดขึ้นให้มีสติรู้ มีปัญญาพิจารณาดู ให้จิตเห็นให้จิตเข้าใจในสิ่งนั้น ๆ ตามเป็นจริงของมัน
    นี่...คือผู้ที่กำหนดเพื่อความจะตรัสรู้ เพื่อความจะไม่อยู่ในโลกต่อไป

    ถ้ากำหนดสติปัฏฐานทั้งสี่นี้ เอาใจใส่กำหนดรักษาพิจารณาอยู่ตลอดเวลา
    อย่างช้าไม่เกิน ๗ ปี คนนั้นจะมีคติเป็นสอง คือเป็นพระอนาคา
    หรือเป็นพระอรหันต์ ปุถุชนคนหนาอย่างพวกเรา ท่านไม่ว่าไม่ว่า
    สติปัฏฐานทั้งสี่นี้ มันมีอยู่ในตำรับตำรา หรือมีอยู่ที่ตัวของตัว กายมันมีอยู่ที่ไหน
    เวทนามันมีอยู่ที่ไหน จิต ธรรมมันมีอยู่ที่ไหน ต้องตรวจตราพิจารณา
    มันมีอยู่ในตัวของทุกคนที่จะพิจารณาได้ แต่คำว่า “การพิจารณาเข้ามาภายใน” นี้
    มันพิจารณายาก เพราะเราไม่เคย ไม่เคยจะพิจารณากายของตัวเพื่อให้รู้ให้เห็นตามเป็นจริง
    พิจารณาก็เห็นว่ากายอันนี้มันสวย มันงาม มันดี มันเด่นอย่างนั้นอย่างนี้ มันสุขมันสบาย
    ถือไปทำนองนั้น ไม่พิจารณาแยกแยะ เพื่อหามูลความจริงของมัน
    มันจึงหลงใหลเรื่อยมาตั้งแต่ไหนแต่ไร คนที่มีจิตใจมืดบอด
    ไม่มีปัญญาสามารถที่จะทราบเรื่องสติปัฏฐานตามเป็นจริงนี่เอง มันจึงเวียนว่ายตายเกิดเรื่อยมา

    ถ้าหากพิจารณาติดต่อกันอยู่บ่อย ๆ ไม่ให้ขาดวรรคขาดตอน มันจะต้องเป็นไปได้
    จิตใจมันจะไปหลงใหลใฝ่ฝันอะไร ความจริงของมันมีอย่างไร จิตใจให้พิจารณาจับจุดอยู่นั้น
    มันไม่มีโอกาส เวลาที่จะไปบ้า ไปบอ ไปโกรธ ไปโลภ ไปหลงกับเรื่องอันอื่น
    เพราะมันดูของจริงที่มีอยู่ในตัว นี่...มันไม่เป็นอย่างนั้น พิจารณาเพียงแผล็บเดียวเท่านั้น
    มันก็เลยออกไปสู่อารมณ์อันใหม่เสีย เมื่อมันเป็นอย่างนั้นกำลังของมันไม่พอที่จะละ
    จะถอนกิเลสตัณหาให้หลุด ให้ตก ให้ขาดไปได้ มันจึงก่อกวนให้ทุกข์ ให้โทษ
    หลงใหลใฝ่ฝันอยู่เรื่อย ๆ เพราะเราทำของเรายังไม่ถึงขีด ถึงขั้น ถึงเขต ถึงแดนของมัน
    เหมือนกันกับเราฟันต้นไม้ใหญ่ ๆ ฟันเพียงทีเดียว แล้วก็หนีไปเป็นระยะเวลานาน จึงมาฟันอีก
    ถ้าทำอยู่แบบนี้ หากเป็นต้นไม้ที่มันแก่น มันแข็ง แม้ต้นจะเล็กขนาดเท่าขาของเรา
    ตัดแล้วหนีไป เป็นเดือนสองเดือน เป็นปีสองปี ถึงค่อยมาตัดอีกที ก็ไม่มีวันขาด
    จนกระทั่งวันตายที่เราตัดเราฟันไว้นั้น มันจะงอกหอหุ้มออกมาอีก
    เรื่องของมันเป็นอย่างนั้น มันเลยไม่ขาดให้

    การพิจารณาสติปัฏฐานทั้งสี่ก็ทำนองเดียวกัน
    ทุกท่านที่เคยได้ศึกษาเล่าเรียนมาก็เคยพิจารณา
    แต่มันพิจารณาแบบที่ว่า มันไม่ได้ติดต่อกันไป
    ที่พระพุทธเจ้าทรงรับรองว่า จะมีคติเป็นสองนั้น
    ท่านให้พิจารณาติดต่อกันไปเรื่อย ๆ ไม่ให้หยุด ไม่ให้ถอย
    เมื่อจิตยังยึด ยังถือ ยังติด ยังข้อง จะต้องพิจารณา
    จะต้องพิจารณาจนให้เห็นประจักษ์ในตัวของตัวเองว่ามันละได้ ถอนได้
    มันไม่ติด ไม่ข้อง มันอยู่กับกาย แต่ก็ไม่ติดกับกาย ทราบได้ด้วยตัวเอง
    มันจึงจะควรหยุด ควรถอย ในการพินิจพิจารณา
    ถ้ามันไม่ถึงจุดนั้น เราก็จะต้องพิจารณาเรื่อยไป
    ให้ถือเอาความเป็นไปของใจเป็นใหญ่ อย่าไปถือเอาเวลาที่ผ่านมาเป็นใหญ่
    เพราะใจถ้าหากไม่ได้พิจารณา เวลามันก็ล่วงไป ๆ อยู่เหมือนกัน
    ถึงเวลามันล่วงไปขนาดนั้น เราทำมานานแล้วหยุดเสียก่อน ถอยเสียก่อน
    พักผ่อนเสียก่อนมันไปแบบนั้นมันจึงไม่เกิดอะไรอัศจรรย์ขึ้น
    ผู้ที่จะเอาจริงเอาจังนั้นท่านสู้เอาชีวิตเป็นประกัน

    การสู้เวทนานั้นเป็นทางที่จะทำจิตทำใจให้เห็นอรรกเห็นธรรมง่าย
    ถ้าหากจะสู้กันจริง ๆ จัง ๆ เชื่อมั่นว่าคนนั้นไม่ถึง ๗ วันจะต้องเห็นในจิตในใจของตน
    คือ เราสู้เอาชีวิตเป็นประกัน มันจะปวดขนาดไหนก็ปวดไป จะไม่ยอมขยับเขยื้อน
    เรานั่งอยู่ขาใด มือใด ท่าใด เราจะนั่งอยู่อย่างนั้น ถ้าหากความอัศจรรย์อะไรไม่เกิดขึ้น
    เวลามันไม่เกิดเวทนาทุกขเวทนานั้น จิตใจเพลิดเพลินคิดปรุงไปเรื่องอื่นได้
    แต่เวลามันจวนจะตายจริง ๆ มันเจ็บ มันปวดนั้น เวทนาใหญ่เกิดขึ้น ลองมาไล่มันไปเถอะ
    อะไรควรกำหนัดยินดี น่าเพลิดน่าเพลินจะให้ไปคิด
    นู้น อย่ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องของเวทนาเรื่องของกาย มันไล่ไม่ไป มันกลัวตาย
    ที่นี้ก็จะแตก ที่นี้ก็จะหัก ที่นั้นก็เจ็บ ที่นี้ก็ปวด มันจะพังจริง ๆ จัง ๆ มันมีแต่อยากจะลุกจะหนี
    มันเจ็บปวดรวดร้าวอย่างที่บอกไม่ถูก เหมือนนั่งอยู่ในกองไฟ
    หรือเหมือนเอาหลาวทิ่มขึ้นไปบนอากาศ แล้วนั่งอยู่บนปลายแหลน ปลายหลาว
    มันไม่มีที่ไหนที่มันสุขมันสบายให้ ระยะนั้นแหละ ไล่มันไปไม่ได้ ถ้าหากจิตไม่รวมให้ใจไม่เป็นธรรม
    มันก็ทำท่าจะตายถ่ายเดียว คนที่ใจไม่เด็ด ไม่ยอมเสียสละชีวิตมันก็อยู่ไม่ได้ จะต้องลุกต้องหนี
    ต้องเปลี่ยนอิริยาบถ อิริยาบถนี้ปิดบังทุกข์เอาไว้ไม่ให้เราเห็นชัดเจน
    ถ้าเราสู้ทนเอา เรานั่งก็ท่านี้แหละ เป็นท่าสุข ท่าสบาย ว่าเป็นสุขแล้ว

    การนั่งของเรา ครั้นนั่งไป ๆ ความเจ็บปวดมันเกิดขึ้น นั่นแหละจะได้พิจารณาเรื่องของมัน
    มันมาจากที่ไหน มีอะไรอยู่ในตัวของตัว มันจึงเกิดขึ้นอย่างนั้น
    เนื้อหนังก็ของเก่า แข้งขาก็ของเก่า หรือใครเขาเอามาให้ นี่...มันจะทราบเรื่องของเวทนาว่า
    เวทนานั้นสักแต่ว่าเวทนาไม่ใช่จิต เพราะเราได้สู้ได้พิจารณาดูตามเป็นจริงของมัน
    กายนี้มันไม่ทราบอะไร ตายเอาไปเผาไฟ ฝังดิน มันก็ไม่เห็นบ่น อันนี้มันเกิดขึ้นมาจากที่ไหน
    กระดูกของเก่า เนื้อหนังของเก่า ทำไมมันถึงเป็นอย่างนี้
    พิจารณาถ้าหากจิตไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริงเมื่อไร ตายก็ให้มันตายไป
    ให้เขาได้ลงหนังสือพิมพ์ออกอากาศว่า คนนั้นภาวนาจนตาย ปล่อยให้มันเห็นกัน
    ถ้าหากมันไม่ตาย สิ่งที่เหนือตายคืออะไร เราจะทราบ สิ่งใดมันตายไปก็ให้มันตายไป
    สิ่งใดที่มันเหลืออยู่ เราจะเอาอันนั้นแหละเป็นตัวของเรา เป็นของของเรา นี่...นักสู้ต้องสู้แบบนั้น
    เวลาต่อสู้กันจริงจัง ระยะนั้นและธรรมอัศจรรย์จะเกิดขึ้น ถ้าเราต่อสู้ได้
    เราจะทราบเรื่องของจิตของใจว่าเป็นอย่างไร ความอัศจรรย์ที่ไม่เคยเห็น เคยเป็นมาก่อน
    มันปรากฏขึ้น มีความยิ้มแย้มแจ่มใส มีความสว่างไสวโล่งอกโล่งใจ
    เมื่อเวลามันจะตายจริงจังมันก็แบบนี้แหละ

    ถ้าเราสู้มันได้ เราเข้าใจตามเป็นจริงเวทนาหน้าไหนมันจะเกิดขึ้นเมื่อไร
    จิตใจของเราจะลุ่มหลงอีกหรือไม่ เราทราบจากการกระทำของตัว
    ฉะนั้น การสู้ การทำแบบนั้น มันจึงเป็นเรื่องของทุกท่าน
    ที่มุ่งมั่นเพื่อจะปฏิบัติให้พ้นโลก จะต้องทดสอบกระทำบำเพ็ญ

    มันหยาบ มันยาก มันยุ่ง ปฏิบัติมาเท่าไรก็ไม่เห็นเกิดอัศจรรย์อะไรให้
    ใจไม่เชื่อไม่เลื่อมใส ทำไปก็เหมาตัวเองว่าเป็นคนที่ไม่มีอำนาจวาสนา ไม่เห็นธรรม
    ก็ทำไมมันเกิดมาได้ เรามีหางมีเขาหรือ จึงไปเหมาว่าตัวหมดอำนาจวาสนา
    มันจะต้องต่อว่า ดัดสันดานมัน เมื่อทำกันจริงจังมันไม่เห็นไม่เป็นให้ ก็ให้มันตายไปละซิ
    เพราะเกิดมาก็ต้องตายอยู่แล้ว จะต้องเป็นคนเด็ดเดี่ยวอาจหาญต่อสู้ อย่าไปหลงสังขาร มารกิเลส
    ไม่อย่างนั้น ก็จะไม่มีวันทันกับเรื่องของการแก้ไขใจของตัว มันจะหลอกเรื่อยไป
    ทำให้มันถึงขีดถึงขั้น เชื่อมั่นในตัวแล้ว มันสุข มันสบาย เพราะใจมันสบาย
    จะตายจะอยู่มันก็สุขก็สบายของมันอยู่อย่างนั้น เพราะไม่มีอะไรที่จะตาย ไม่มีอะไรที่จะเสียหาย
    ความเห็นความเป็นของใจ มันรู้จักสิ่งทุกอย่างตามเป็นจริงของมัน
    ไม่เป็นข้าศึกศัตรูกับทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นมิตรกันหมด นี่คือความเห็นตามเป็นจริง
    ทุกข์ก็ทราบว่า ทุกข์ สมุทัย ความหลงใหล ความบ้าเราก็ได้ละได้ถอนไปแล้ว
    ความดับทุกข์สนิทในใจ เป็นอย่างไรเราก็เห็น การกระทำบำเพ็ญของเราที่จะมารู้มาเห็น สิ่งนี้
    เราได้ทำอย่างไร เราก็รู้ ได้ทำทุกสิ่งทุกอย่างในอริยสัจจบแล้ว มันจะมีอะไรสงสัย
    มันจะมีอะไรทำให้ตัวเดือดร้อน มันไม่มี

    ฉะนั้น ขอทุกท่านจงนำไปพินิจพิจารณาบำเพ็ญ ทุกคนมีอำนาจวาสนา
    มีสติปัญญา พอที่จะเห็นจะเป็นได้ ถ้าเราเหมาเอาว่า เราอาภัพวาสนา
    ทำอะไรไม่เกิด ไม่เป็น ไม่เห็น ไม่รู้ ถึงอยู่ไปอีกหมื่นปี แสนปี ก็ไม่มีอะไรเห็น
    อะไรเป็นให้ หากไม่ลงมือกระทำบำเพ็ญ

    ขอทุกท่านจงพากเพียรกระทำบำเพ็ญติดต่อกันไปเรื่อย ๆ ไม่ให้หยุด ไม่ให้ถอย
    จนให้เห็นประจักษ์ในตัวของตัวว่า จิตที่ละขันธ์ได้ ถอนได้
    ไม่ติดไม่ข้องกับขันธ์นั้นบรมสุขอย่างไร การอธิบายธรรมะก็เห็นว่าควรยุติเพียงเท่านี้
    ที่มา
    - หนังสือประวัติย่อ และพระธรรมเทศนา
    ของท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร
    - หนังสือธัมมวโรวาท
    :- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=44383
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 เมษายน 2022
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,488
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    พระอาจารย์สิงห์ทอง021 ธรรมะอยู่ที่กายใจ

    055 - ธรรมเหนือกิเลส 7 มีค 23 - พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร

    JchaiJane
    Published on Jan 29, 2013




     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 สิงหาคม 2018
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,488
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    หลวงปู่สิงห์ทอง-พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร (st t04 11)

    หลวงปู่สิงห์ทอง-พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร (st t06 12)

    dhamma osoth
    Published on Aug 12, 2019
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ตุลาคม 2019
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,488
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    พระอาจารย์สิงห์ทอง::เห็นภัยจึงบวช

    witsanu tripprasert
    Apr 16, 2012
     
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,488
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    037 - เทศน์อบรมพระ 25 กพ 21 - พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร

    041 - ศีล สมาธิ ปัญญา 12 ธค 21 - พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร

    เสรี ลพยิ้ม
    Jul 9, 2015
    หลวงปู่สิงห์ทอง-เกิดเป็นมนุษย์นั้นยากยิ่ง

    dhamma osoth
    Jan 1, 2015
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 สิงหาคม 2020
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,488
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    15 - แก้ข้อหาคนดูหมิ่นศาสนา 25 ก.ค. 20 - พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร

    เสรี ลพยิ้ม
    Sep 4, 2015
     
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,488
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    สัลเลขธรรม
    พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร
    เทศน์เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2522


    [​IMG]
    การฟังธรรมะเป็นเรื่องก่อจิต อบรมใจ ถ้าฟังอยู่บ่อยก็ไม่ใคร่จะมีรสชาติเท่าไร หากนาน ๆ ฟังที รู้สึกว่ารสชาติของธรรมะดีขึ้น บางท่านบางคนก็ถือว่าเสียเวลา สู้ปฏิบัติอยู่โดดเดี่ยวคนเดียวไม่ได้ บางท่านบางคนที่ไม่มีธรรมในตน ก็อาศัยผู้อื่นแสดงให้ฟัง การฟังธรรมะที่ท่านแสดงนั้น ก็เหมือนกันกับเราคอยคนอื่นทำมาให้กิน มันสะดวกสบายกว่าที่เราค้นคว้าหาทำเอง แต่รสชาติที่เขาปรุงมาให้ ทำมาให้ มันจะถูกกับปากของเราหรือไม่นั้น มันก็แล้วแต่รสชาติ ธรรมะที่ท่านแสดงไป โดยส่วนใหญ่ก็มีหลายรสหลายชาติ ตรงไหนที่ควรจะนำมาพินิจพิจารณาศึกษาชำระใจตัวนั้น ก็หยิบยกเตามา ไม่ใช่ว่าท่านแสดงอะไรก็จะนำไปพินิจพิจารณาหมด

    การแสดงธรรมะป่า ก็แสดงธรรมะภาคปฏิบัติ การูปฏิบัติ ก็คือ ปฏิบัติกาย วาจา จิต ของตัว ไม่ได้ไปปฏิบัติที่อื่น เพราะกิเลสเกิดขึ้นจากกาย วาจา จิต มรรค ผล ก็เกิดขึ้นจากกาย วาจา จิต ทุกคนมีกาย มีวาจา มีจิต ถ้าหากจิตยังไม่พ้นไปจากอาสวกิเลส ทุกคน ทุกวัน มันก็มีเรื่องที่จะเข้าไปสู่จิตใจของตัวให้ชั่วเสีย ฉะนั้น จึงมีการตรวจตราพิจารณาชำระใจ เหมือนกันกับลานวัดของเรานี้แหละ เราปัดกวาดอยู่ทุกวัน ทุกวัน ถึงกระนั้นก็ยังมีใบไม้ หรือความสกปรกอื่น ๆ เกิดขึ้น ที่ไม่ได้ชำระไม่ได้ปัดกวาดเสียเลย มันเป็นอย่างไรนั้นเราก็มองไม่ค่อยเห็นกัน เพราะมันรกอยู่แล้ว

    จิตใจพื้นฐานของคนธรรมดาที่ไม่ได้ชำระสะสาง เขาอยู่ในโลกเรื่อยมา ไม่ได้ตรวจตราพิจารณาเรื่องจิต ก็เหมือนป่าที่ไม่มีใครไปแผ้วไปถาง ไปปัดไปกวาด รกอยู่ตามธรรมชาติของมัน ใบไม้หล่นลงมามากน้อยเท่าไร ก็ไม่ทราบว่าใบไม้เป็นใบหล่นใหม่หล่นเก่า เพราะมันหนาแน่นอยู่แล้ว เลยไม่ทราบไม่เข้าใจ อะไรตกลงไปในที่นั้น ถ้าหากเป็นของเล็กน้อยก็หายาก ถ้าเป็นของใหม่ก็พอมองเห็น นี่คือที่สกปรก ที่รกของธรรมชาติ ป่าดงพงทึบ

    จิตใจของมนุษย์เราก็เหมือนกัน คนที่ไม่หมั่นชำระจิตใจของตัว ถ้าไม่โกรธหนัก ไม่มีอะไรกระทบหนัก ก็ไม่ทราบว่ามันเป็นอย่างไร ถ้ากระทบหนัก ๆ เข้า ถึงค่อยเข้าใจว่าอันนี้มันเป็นอย่างนั้น อันนั้นมันเป็นอย่างนี้ ไปโดนความรักหนักเข้า ไปโดนความรังเกียจหนักเข้าก็ทราบ โลภ โกรธ หลง เกิดขึ้นหนักแน่นก็ทราบ แต่ก็ไม่ได้ชำระเหมือนกิ่งไม้ใหญ่ ๆ หักลงมาก็ทราบว่ามันหักลงมา แต่ใบไม้ธรรมดาที่ตกที่หล่นไม่ค่อยเห็น จิตใจของผู้ไม่บำเพ็ญสมณธรรมก็ทำนองเดียวกันอย่างนี้ รกอยู่ตลอดวันตลอดเวลา กว่าจะชำระสะสางให้จิตใจของตัวสะอาดนั้นมันยาก เพราะมันสะสมความสกปรกโสมมมาเป็นระยะยาวนาน คนที่ปัดกวาดชำระจิตใจอยู่บ่อย ๆ นั้น จิตใจมันสะอาด อารมณ์สัญญาอะไรผ่านมา หรือเกิดขึ้น มองเห็นง่าย เหมือนผ้าขาวที่สะอาด ผงธุลีอะไรไปติดเปื้อนนิดหน่อยก็มองเห็น ลานวัดที่สะอาด ใบไม้มันตกมันหล่นลงมา เราก็ทราบก็เห็น แม้แต่เข็มตกลงไปก็พอมองเห็นได้ เพราะมันสะอาด ธรรมชาติของความสะอาดจะต้องถูกดูแลรักษาอยู่เรื่อย ๆ จึงจะสะอาดได้ เรื่องจิตใจของพวกเราก็ทำนองเดียวกัน (มีต่อ)

    หมั่นชำระอารมณ์สัญญามานะทิฐิต่าง ๆ ให้ตกให้หล่นออกไป ใจจึงจะสะอาด ไม่อย่างนั้นจะสกปรกโสมมอยู่เรื่อยไป ไม่มีวันมีเวลาที่จะสะอาด สงบระงับ เพราะอารมณ์สัญญานั้นมันเกิดขึ้นทั้งกลางวัน กลางคืน ยืน เดิน นั่ง นอน มันไม่เลือกว่าตอนนั้น ตอนนี้ เหมือนใบไม้ที่มันหล่น กลางคืนมันก็หล่น กลางวันมันก็หล่น หล่นลงมาอยู่เรื่อยลานวัดที่เราปัดกวาดเอาไว้ ถ้าไม่ปัดกวาด อีกวันสองวัน มันก็ไม่น่าดูไม่น่าอยู่ ไม่น่าอาศัย เพราะความสกปรก จะไปจะมาที่ใด จะเดินจงกรมก็ไม่ทราบว่าอะไรต่ออะไรรกรุงรังอยู่นั้น นี่คือ...ไม่ได้หมั่นชำระปัดกวาด ถ้าหมั่นชำระปัดกวาดอยู่ทุกวันทุกเวลา อะไรตกลงมา เราก็ปัดกวาดออกไป มันน่าอยู่ น่าอาศัย จะนั่งจะเดินก็สะดวก มองดูก็สบายตาสบายใจเพราะความสะอาด จิตใจที่สะอาดก็เหมือนกันพยายามกำจัดปัดเป่า ปัดกวาดอารมณ์สัญญาที่เป็นข้าศึกของอรรถของธรรมออกไปให้ใจมันสะอาด ใจมันผ่องใส ใจมันสุข ใจมันเย็น ไม่มีใครที่ไหนอื่นเขาจะมาชำระให้ เรื่องของใจช่วยกันไม่ได้จะต้องอาศัยตัวของตัวเอง หมั่นกำหนดพินิจพิจารณารักษา ถ้าหากหวังก้าวหน้าในทางอรรถทางธรรม ถ้าทิ้งปล่อยเอาไว้ไม่ชำระสะสาง เราจะอยู่ในสถานที่สงบเงียบวิเวกขนาดไหน แต่ก็ปล่อยใจไหลไปตามสัญญาอารมณ์ ไม่ชำระปัดกวาดจิตใจของตน อารมณ์อะไรที่จรมาหรือผุดขึ้นก็รับเอาไว้ ถ้าเป็นอย่างนั้น ใจมันก็ไม่สว่างไสว ใจมันก็ไม่สุข ไม่เจริญให้ เราเป็นเจ้าของของใจ ก็เลยไม่สุขไม่สบาย ตาไปเห็น หูได้ยิน ก็รับเอาตั้งแต่เรื่องของกิเลส ตัณหาของทางชั่วช้าลามกเข้ามาในจิตในใจ ไม่ชำระสะสางออกไป

    ความจริงเรื่องของใจอยู่กับปัญญา ที่จะดีจะชั่วได้ ที่จะเป็นธรรม เป็นโลก เพราะปัญญารักษาใจ ไม่ใช่ว่ามันดีไปเอง มันชั่วไปเอง มันจะต้องอาศัยปัญญาชำระ กิเลสตัณหาจะเกิดขึ้นก็เพราะขาดปัญญา ไม่พิจารณาชำระใจของตัว ตาไปเห็น ถ้าสิ่งที่ชอบก็เกิดความอยากได้ โลภในจิตในใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ถ้าไม่ชอบก็รังเกียจไม่อยากได้ เป็นทุกข์ทางจิตทางใจ หูก็เหมือนกัน มันเกิดขึ้นจากปัญญาที่จะชำระสะสาง ที่จะเป็นกิเลสก็เกิดจากทุปัญญา คือ หาปัญหาจะพิจารณาแก้ไขมิได้

    เมื่อเห็นสิ่งใดที่จะเป็นประโยชน์ ที่จะเกิดอรรถเกิดธรรม ต้องอาศัยปัญญาพิจารณาในสิ่งนั้น ๆ ให้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาไป หรือไม่อย่างนั้น ก็พิจารณาหาทางแก้ไขว่า สิ่งเหล่านี้มันเคยมีมาก่อน ตั้งแต่เรายังไม่เห็น ไม่ใช่ว่ามันเพิ่งจะมีวันนี้ จิตใจที่ไปยึดถือติดข้อง เป็นจิตใจที่หลงใหลจิตใจที่ไร้อรรถธรรม ไม่ทราบเรื่องเหล่านั้นตามเป็นจริงของมัน มันจึงเกิดการยึดถือติดข้องในสิ่งเหล่านั้น นี่...เป็นเรื่องปัญญาที่จะตรวจตราพิจารณาสอนใจของตัว ถ้าขาดปัญญาแล้วสรุปที่มีอยู่ก็เป็นข้าศึกศัตรูแก่จิตแก่ใจของตัว ไปสถานที่ใด ใจเลยไม่มีความสุขความสบายให้ เพราะเห็นรูป เพราะฟังเสียง เพราะถูกกลิ่น ลิ้มรส สัมผัส

    ใจขาดปัญญา ใจไกลจากธรรมะ ใจคนนั้นจะเกิดทุกข์เกิดโทษแก่ตัวของตน ทั้งดีทั้งชั่วมันจะมารุมอยู่ในจิตในใจให้เกิดทุกข์ เพราะความรักก็เกิดทุกข์ได้ ความเกลียดชังก็เกิดทุกข์ได้ ไม่ใช่ว่ามันเกิดทุกข์ตั้งแต่ความไม่ชอบเท่านั้น ความชอบก็เกิดทุกข์ได้ เพราะใจไปติดไปข้อง ท่านจึงให้มีสติระลึกรู้ มีปัญญาแนะสอนจิตใจ ทุกอย่างถ้าหากมีปัญญาชำระจิตใจ ระวังรักษาอยู่อย่างนั้น ก็เหมือนกันกับเราที่ต้องการที่อยู่อาศัย ไม่ว่าลานวัด หรือกุฎี ศาลา ที่พักพาอาศัย มันสะอาดน่าอยู่ น่านอน

    จิตใจก็ทำนองเดียวกัน ถ้าเราชำระอยู่อย่างนั้นมันสะอาด สัญญาอารมณ์ออกมาในจิตในใจ เราต้องชำระแก้ไขด้วยอรรถด้วยธรรม ใจก็ไม่หวั่นไหว ใจก็ไม่สกปรกไปด้วยสัญญาอารมณ์ต่าง ๆ นี่คือ... การปฏิบัติ

    เรื่องจิตใจของตัว ถ้าหากไม่ปฏิบัติปล่อยไว้ จะไปที่ไหนก็ไป จิตใจจะสว่างไสว จิตใจจะเจริญรุ่งเรืองนั้นมันเป็นไปไม่ได้

    การชำระใจจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือพวกนักบวช มุ่งมั่นมาชำระจิตใจ มาฝึกนิสัยของตัวให้เป็นอรรถเป็นธรรม ไม่ใช่บวชเล่นบวชอยู่ บวชกิน บวชหลับ บวชนอนเท่านั้น บวชเพื่อชำระสะสางจิตใจที่ชั่วที่เสียให้ตกออกไป เพราะนักบวชกิจการงานบ้านช่องไม่มี มีแต่กิจของสงฆ์ กิจของนักบวช และก็เป็นกิจที่เบา กินที่ง่าย กิจที่สบายไม่ได้วุ่นวายกังวล ไม่มีการสะสมอะไรใหญ่โต มีแต่ชำระสะสางจิตใจของตัวอยู่ตลอดเวลา นี่คือนักบวชที่ตั้งหน้าตั้งตาดูแลรักษาจิตใจของตัว สิ่งที่ชั่วที่มันติดมันข้อง พยายามซักฟอกจิตใจของตัวให้สะอาด

    ธรรมของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นสัลเลขธรรม สัลเลขกถา สิ่งที่ควรพิจารณาหรือนำมาแนะสอนพูดจากันในพวกนักบวช

    “สัลเลข” หมายถึง การขัคเกลากิเลส ตัณหา เป็นกถาที่ควรพูดกันในเพศของสมณะ หรือในเพศของผู้ประพฤติปฏิบัติท่านกล่าวเอาไว้

    อัปปิจฉตา เป็นผู้มักน้อย

    การมักน้อยที่พระพุทธเจ้าสอนนั้นไม่ใช่มักน้อยอะไร มักน้อยในอารมณ์สัญญา มักน้อยในกิเลสตัณหา มักน้อยในสังขารการปรุงคิด ถ้าหากคิดไปมาก ปรุงไปมาก ยิ่งอยากใหญ่ อันนั้นก็อยากได้ อันนั้นก็อยากเห็น อันนั้นก็อยากเป็น อยากรู้ จิตใจเช่นนั้นไม่สงบได้ วิ่งวุ่นเรื่อยไป ท่านจึงไม่ให้มักใหญ่ใฝ่สูงในอารมณ์ สัญญาต่าง ๆ นานา ของจิตของใจ เช่น ผู้บริกรรมก็รีบเร่งบริกรรมทำความรู้สึกในคำบริกรรมของตน อารมณ์อื่นเกิดขึ้นก็ไม่เกี่ยวข้อง ผ่านมาก็ไม่ติดตาม ตั้งหน้าบริกรรมอยู่นั้น จนจิตสงบระงับรวมลงเป็นหนึ่ง

    ผู้พิจารณาสิ่งต่าง ๆ นานา ก็เหมือนกัน พอจิตไปสัมผัสกับอารมณ์อะไร จะพิจารณาอันนั้นให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ไม่ใช่พิจารณาสุ่มเดา เอาจนจิตใจเข้าใจในสิ่งนั้น ๆ ตามเป็นจริงของมัน มันจะปล่อย จะละ จะทอด จะทิ้ง ไม่ยึด ไม่ถือในสิ่งนั้น ๆ ต่อไป ถึงสิ่งนั้นจะมีอยู่ในโลก แต่จิตของท่านก็ไม่ไปหลงใหล เพราะความเข้าใจในสิ่งนั้นตามเป็นจริง อยู่โดยได้รู้ได้เข้าใจจากการพินิจพิจารณา

    นี่คือ... มักน้อยที่พระพุทธเจ้าสอนถ้ามักใหญ่ใฝ่สูง อันนั้นก็อยากได้ อันนี้ก็อยากมีอยากมีฤทธิ์มีเดช อยากเหาะเหินเดินคิดไปต่าง ๆ นานา อยากรู้วาระจิตของคนนั้น วาระจิตของคนนี้ คิดนอกลู่นอกทางอย่างนั้น ทั้ง ๆ ที่หลับตาภาวนา แต่จิตก็ปรุงคิดติดข้อง มีแต่ความอยากทางตัณหา คนนั้นจะไม่มีวันสงบระงับ เรื่องมันจะเห็นจะเป็นนั้นมันเป็นเรื่องอุปนิสัยของแต่ละท่าน แต่ละคน ขอให้ชำระจิตใจของตนให้สะอาด จิตใจของตนให้บริสุทธิ์ เรื่องเหล่านั้นมันเกิดขึ้นมาเอง ถ้าเรามีวาสนา มีบารมี ที่เคยสะสมมาก่อน ไม่ต้องอยากมันก็เป็นขึ้น เพราะแต่ก่อนเราเคยสั่งสมมีอยู่แล้วเกิดขึ้น เป็นขึ้น นี่คือ...ความมักน้อย สันโดษในจิตในใจ

    คนที่มักน้อยสันโดษในจิตในใจอย่างนั้น ไปอยู่ในสถานที่ใด มุ่งหน้ามุ่งตาภาวนาชำระจิตของตัว ไม่ปรุงไม่คิด อยากก่อสร้างอันนั้น อยากทำอันนี้ มีแต่ชำระจิตชำระใจของตัว อยู่สถานที่ใดอยู่ได้สะดวกสบาย มีแต่ตั้งหน้าชำระภายใน นี่คือ...ผู้ปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ที่พระพุทธเจ้าสอน ความมักน้อยเป็นธรรมที่ควรจะนำมาพินิจพิจารณา นำมาศึกษา นำมาพูดจาปรารภกัน เป็นเรื่องกำจัดขัดเกลากิเลส เมื่อมักน้อยสันโดษในจิตในใจอย่างนั้น การงานเรื่องของโลกก็เบาไป ไม่ได้มุ่งกระทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ใหญ่โตรโหฐาน อยู่ที่ไหนก็อย่าไป เพราะจิตสงบจิตระงับ ห้ามกันไม่ให้จิตใจปรุงคิดติดข้องไปในทางใหญ่โต พิจารณาชำระแต่จิตของตัวอยู่เรื่อย ๆ ไป นี่คือ...ผู้ที่มีสันโดษในใจไม่มักใหญ่ใฝ่สูง มีแต่ตั้งหน้าตั้งตาชำระกิเลส

    สันตุฏฐิตา คือ ยินดีตามมีตามเกิดของตัว มันมีอะไรก็ยินดีตามมีตามได้ ไม่แสวงหาจนเกินขอบเกินเขต เช่น กุฎีวิหารที่อยู่อาศัย มีเล็กก็อยู่หลังเล็ก มีผู้ใหญ่ก็อยู่หลังใหญ่ ไม่ได้ก่อสร้างปรุงคิด อยากจะก่ออันนั้นสร้างอันนี้ให้ดีให้เด่นให้โด่งให้ดัง มีแต่สร้างจิตสร้างใจของตัวให้สงบระงับ ยินดีกับสัญญาอารมณ์ที่มีอยู่ ไม่ฟุ้งไม่ปรุงไปข้างนอก พูดเข้ามาภายใน ยินดีกับความเป็นอยู่ในจิตในใจของตัว ไม่ไปยึดไปเกี่ยวข้องกับสิ่งอื่นเช่น เรื่องของกายมันมีอยู่เท่าไร เราก็ยินดีอยู่ในการพิจารณากายของตัว ไม่ปรุงจิตไปคิดยึดถือในคนอื่น ไม่เห็นอะไรที่วิเศษไปจากกาย จากใจของตัว กายของตัวเท่านั้นเป็นที่อยู่อาศัย ที่จะสร้างคุณงามความดีได้ กายของคนอื่นเขาจะสวยสดงดงามขนาดไหนเป็นเรื่องของเขา วาสนาของเขา เรามีเท่าไรเราก็ดูเรื่องกายเรื่องใจของตัวอยู่นี้ พูดถึงเรื่องธรรมะมันเกิดขึ้นแค่ไหน เราก็ยินดีเต็มใจอยู่ในความเป็นอยู่ของตัว คือตั้งหน้าตั้งตารักษาไม่ให้จิตคิดใหญ่ใฝ่สูง รักษาอารมณ์สัญญาของตัว มันยังไม่ดีไม่วิเศษ ก็อย่าไปเห่อเหิม แต่ก็ตั้งหน้าตั้งตาทำไปตามกำลังความสามารถของตัว มันจะดีขนาดไหนนั้นเป็นผลของการกระทำ ให้ยินดีในอารมณ์ของตัวที่มีอยู่ เราคิดเราปรุงอะไรก็ให้ทราบให้เข้าใจ นี่คือ...สันตุฏฐิตายินดีตามมีตามเกิด ปัญญามันเกิดขึ้นมา สติมันเกิดขึ้นมาอย่างไร ก็ให้ยินดีอยู่ในสิ่งที่มันมี มันเป็นในกายในใจของตน แต่ไม่ละความพยายาม ไม่ละความเพียร ตั้งหน้าตั้งตาพินิจพิจารณา ตั้งหน้าตั้งตาชำระใจ นี่คือ... สันตุฏฐิตาภายใน รักษาใจของตัวให้สะอาด อย่าไปโลภมาก คิดปรุงอย่างนั้นอย่างนี้

    เมื่อมีสันตุฎฐิตา อัปปิจฉตา แล้วจิตใจมันจะเป็น อสังคณิกา คือ ไม่มีการวุ่นวายกังวลกับการงานและอารมณ์ผู้คนภายนอก มีจิตใจสงบจากสัญญาอารมณ์ จากการจากงาน จากผู้จากคนภายนอก อยู่กับวงอรรถวงธรรมที่ตนพินิจพิจารณาอยู่นั้น เลยเกิดเป็น วิเวกตา วิเวก สงบทางกายทางใจ เพราะไม่มุ่งใหญ่ใฝ่สูงอะไร

    เมื่อมันเป็นวิเวกตา วิริยารัมภะ ความเพียรมันก็ติดต่อหน่อเนื่องกันไป อะไรที่เกิดเป็นเห็นขึ้นในจิตในใจก็จดจำได้ อะไรที่ชำระสะสางตกออกไปก็รู้จัก สัญญาอารมณ์ส่วนใดที่ผ่านเข้ามา เรายังละยังถอนไม่หมด ก็พยายามละ พยายามถอนต่อไป เมื่อมันเป็นวิริยารัมภะ คือ ปรารภความเพียรอยู่สม่ำเสมอ จิตใจไม่เผลอ ไม่ประมาท มันก็เกิดศีลขึ้น คือ ความปกติของใจ ไม่วอกแวกเอนเอียงไปตามเรื่องต่าง ๆ มีความปกติทางจิต เห็นอะไรก็เข้าใจในสิ่งนั้น ๆ ตามเป็นจริงของมัน ไม่หวั่นไหว ไม่วอกแวก จิตเมื่อมีวิเวกตา วิริยารัมภา เกิด ศีล ขึ้นอย่างนั้น สมาธิ ความตั้งมั่นของใจมันก็เป็นผลพลอยได้ เกิดขึ้น หนักแน่นในจิตใจ หรือจะรวมลงไปเป็นเอกเทศ เป็นอัปปนาก็ได้เป็นบางกาลบางสมัย

    นี่คือ...เรื่องของผู้ประพฤติปฏิบัติชำระใจของตัว จะต้องมีธรรมเหล่านี้ประจำตัวเรื่อยไป พอเกิดสมาธิความตั้งมั่นของใจ ลงรวมให้แล้ว เมื่อถอดถอนขึ้นมาพิจารณาอะไรก็จะทราบจะเข้าใจในสิ่งนั้น ๆ

    สิ่งที่เราเคยสงสัยในจิตในใจ แก้ไขไม่หลุดไม่ออก เมื่อ ปัญญา เพียงพอก็สามารถฟาดฟันความสงสัยนั้น ๆ ให้ตก ให้หายไปได้ เมื่อปัญญาสามารถอาจหาญ ชำระสะสางอารมณ์สัญญากิเลสตัณหา ให้ตกขาดออกไป มันก็เกิด วิมุตติ ขึ้นในจิตในใจ คือ ความพ้นไปจากความสงสัย ความพ้นไปจากอาสวะภายใน โดยไม่มีใครมาบ่งบอกแต่เรารู้เราเข้าใจ เพราะจิตที่มีสมาธิ มีปัญญามีธรรมะในตัวนั้น มันเห็น มันเป็นในเรา เราจึงทราบแต่ก่อนถึงจะละเอียดในทางปัญญา แต่จิตใจที่พ้นไปจากกิเลสตัณหานั้น มันยังไม่ประจักษ์ชัดเจนในตัวของตัว ยังเกิดสงสัยลังเลว่าอันนี้มันขาดไปจริงหรือไม่ หรือมันเป็นอย่างไร เมื่อมันพอในเรื่องของมัน มันเกิด วิมุตติ สมมุติที่เราเคยใช้กัน เคยเห็นเคยเป็นในใจ มันตกออกไป

    วิมุตติ ความหลุดพ้นนั้น ถ้าเป็น ตทังควิมุตติ ก็อยู่ในขั้นของสมาธิ คือ จิตรวมลงเป็นหนึ่ง มันก็ดับระงับไว้ได้ แต่ถ้าเป็น สมุทเฉทวิมุตติแล้ว ถึงมันจะรวมหรือไม่รวม มันก็ทราบ ก็เข้าใจว่าไม่มีอะไรอีกที่จะชำระสะสาง ไม่มีอะไรอีกที่จะบำเพ็ญให้เห็นให้รู้ยิ่งกว่านี้ ถึงจะไม่มีฤทธิ์เดชเก่งกาจขนาดไหนก็ตาม แต่ก็มีฤทธิ์เดชชำระกิเลสตัณหาภายในจิตในใจของตัว ความอยากในจิตในใจซึ่งเคยอยากอย่างนั้นอยากอย่างนี้ในทางฤทธิ์ทางเดชมันก็ตกไป เพราะเหตุใด เพราะ วิมุตตินั้นมันไม่ได้อยู่ในวงของสมมุติที่เราเคยเห็นเคยเป็นมาก่อน จึงทราบ จึงเข้าใจในตัวของตัวเองเมื่อมันเกิดวิมุตติ วิมุตติญูาณทัสสนะ เมื่อจิตหลุดพ้นจากกิเลสตัณหา ญาณก็หยั่งรู้ว่า จิตของเราไม่ใช่จิตธรรมดา ไม่ใช่จิตที่ควรชำระแก้ไขอีก มันเกิดขึ้น มันเป็นขึ้นโดยไม่ต้องไปหาคนอื่นมารับรอง หรือไม่ต้องหาประกาศนียบัตรมาจากที่ไหน นี่คือการชำระใจ การกระทำจิต

    การบำเพ็ญปฏิบัติในทางธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอน ถ้าหากมันวกออกไปจากสิ่งเหล่านี้ก็ไม่มีทางที่จะเข้าถึง ไม่มีทางที่จะเห็นจะเป็น จะดี จะเด่นได้ ธรรมทั้ง 10 ประการที่ท่านกล่าวเอาไว้ตั้งแต่ อัปปิจฉตา สันตุฏฐิตา อสังคณิกา วิเวกตา วิริยารัมภะ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ นี่...เป็นกถาที่เราควรพินิจพิจารณา เป็นกถาที่เราควรพูดกัน

    การพูดนอกออกไปจากนี้ ท่านถือว่าเป็นดิรัจฉานกถา เป็นกถาที่ไม่ควรพูดควรจา พูดไปแล้วทำให้ใจหลงใหลใฝ่ฝัน ทำให้ใจมัวเมา ทำให้ใจเกิดกิเลส ท่านจึงห้ามปราบเอาไว้ ไม่ควรจะพูด เพราะผู้พูดพูดไป ผู้ฟังก็หลงใหลเคลิบเคลิ้มไปตามคำพูดนั้น ๆ เป็นทางที่ทำจิตทำใจให้ห่างไกลจากมรรคจากผล

    คนที่บำเพ็ญตนอยู่ตามเรื่องที่พระพุทธเจ้าสอน คือ สัลเลขกถา ทั้ง 10 ประการนี้ มีโอกาสมีเวลาที่จะพ้นไปจากกิเลสตัณหา ถ้าใครหมั่นประพฤติปฏิบัติชำระใจของตนอย่างที่ท่านแนะสอนเอาไว้ ไม่มีใครที่จะพลาด จะผิด จากมรรค จากผลอันนี้

    จิตของเราไม่เป็นอย่างนั้น ไม่หมั่นชำระสะสาง มีความอยากอย่างนั้น มีความอยากอย่างนี้ ไม่อยู่ในวงของอรรถของธรรม อยากใหญ่ใฝ่สูง ไม่สันโดษ กำลังพิจารณาอันนี้ ก็วิ่งวุ่นไปอยากจะพิจารณาอันนั้น หมายถึงเรื่องของใจที่ไม่มีอัปปิจฉตา ความมักน้อยในจิตในใจ มันใคร่ไปทุกสิ่งทุกอย่าง เลยขอบเลยเขต เมื่อมันเป็นในจิตในใจแรงขึ้นมา มันก็ออกมาทางวาจา พูดคุยกันไป แล้วก็กระทำไปในสิ่งที่มันชอบมันปรุงนั้น ๆ ถ้าหากหักห้ามเอาไว้ มีใจเป็นอัปปิจฉตา มักน้อย มีสันตุฏฐิตา ยินดีตามมีตามเกิดของใจแล้ว คนนั้นสุข คนนั้นสบาย ไม่วุ่นวาย จะเป็นวิเวกตา เป็นศีล เป็นความเพียรไปได้ นี่คือ...การแก้ไขจิตใจ การดูแลจิตใจของตัว การชำระใจของตัว

    อย่างเราทุกวันนี้ ก็ไม่มีหน้าที่การงานอะไร เรามาบวชมาปฏิบัติเพื่อฝึกหัดอบรมใจของตัว ไม่ใช่มาบวชเพื่อเล่นเพื่อเพลิน นักบวชก็ดี ฆราวาสผู้ไม่มุ่งมั่นในการปฏิบัติก็ดี ความแก่ ความตายนั้นมันไหลเข้าในกายของตัวอยู่ทุกวินาที ไม่ใช่ว่ามันจะปล่อยปละละเลยเรา เราจะประมาทหรือทำความเพียรอยู่ ความแก่มันก็ไล่มาอยู่ทุกกาลทุกเวลาอย่างนั้นอายุของเรากี่ปีแล้ว ข้างหน้าจะมีอีกกี่ปีเราจะถึงซึ่งความตาย สิ่งที่เราได้ เราเห็น เราเป็นในใจนั้นมีอะไรบ้าง ได้ตรวจตราพิจารณาไหม ต้องตรวจตราพิจารณาบ่อย ๆ ถ้าหากไม่เห็นไม่เป็นอะไรให้ก็รีบเร่งทำความเพียรทางจิตทางใจ อาศัยธรรมะที่พระพุทธเจ้าสอนมาตรวจตราพิจารณาอยู่เรื่อย ๆ

    เมื่อจิตเห็น จิตเป็นในอรรถในธรรม ถึงวันเวลาจะผ่านไป มันจะแก่ไปก็เป็นเรื่องสังขารร่างกายส่วนใจก็แก่ไปในอรรถในธรรม แก่ไปในการชำระสะสางกิเลส จนแก่สุดคือถึงวิมุตติ

    กายยังไม่แก่ถึงที่สุด ยังไม่ตาย แต่ใจก็ตาย ชำระสะสางกิเลสตัณหาหายไป ใจสุข ใจสบาย ใจเย็น เพราะรู้เห็นเรื่องอรรถธรรมความเกิดความตาย ภพชาติต่อไปมีในใจไหม เราทราบดีว่า ไม่มีอะไรที่จะก่อภพก่อชาติอีกได้ เพราะใจหมด ใจขาดจากอาสวะ ทราบเข้าใจจากตัวของตัวเองอย่างนั้น ท่านจึงสุขจึงสบาย เมื่อเวลาตายก็ไม่กระวนกระวายว่าอยากจะมีอายุยืนยงคงอยู่ เมื่อเวลาอยู่ก็ไม่มีอะไรที่จะมารบกวนจิตใจที่บริสุทธิ์นั้นให้เสียหายขุ่นมัวไปอีก นี่คือ...อานิสงส์ที่ผู้ประพฤติปฏิบัติจะต้องเห็น ต้องเป็นในตัว

    ถ้าไม่เห็นไม่เป็นทางอรรถทางธรรมแล้ว การบวชถือว่าเป็นของยาก ของลำบาก เพราะตามี ก็ไม่ให้ดูสิ่งที่ตัวชอบ หูมี ก็ไม่ให้ฟังสิ่งที่ตัวชอบ บังคับจิต ปิดหู ปิดดา ทั้งที่ตาดี ก็ทำเป็นตาบอด หูดี ๆ ก็ทำเป็นหูหนัก หูหนวกไป มันจึงลำบากเพราะใจของเรา ถ้าหากไม่มีอรรถมีธรรม มันเป็นอย่างนั้น ถ้าหากมีอรรถมีธรรม มันสุข มันสบาย เขาเห็นสิ่งนั้น เขาเห็นสิ่งนี้ เพลิดเพลินติดข้องก็เพราะเขาไม่เห็นอรรถเห็นธรรม เขาไม่ได้ทราบเรื่องความจริงในสิ่งนั้น ๆ เขาจึงหลงใหลใฝ่ฝัน ถ้าหากเขาทราบความจริงแล้ว จะไปหลงใหลอะไรกัน เพราะสิ่งนั้น ๆ รูปก็สักแต่ว่ารูปเท่านั้น ตาเห็นก็สักแต่ว่าเห็น ไม่มีอะไรที่จะให้ดีให้ชั่ว นอกจากจิตไปหลงใหลถ้ามันชอบก็เกิดความยินดี ถ้ามันไม่ชอบก็เกิดความยินร้าย มันมีเท่านั้น โลกอันนี้ มันไม่มีอะไร การชำระใจจึงเป็นเรื่องสำคัญ ชำระได้ ละได้อยู่เป็นสุข

    โอกาสเวลาที่มาบวชเป็นพระเป็นเณร จึงเป็นผู้มีโชคลาภ มีอำนาจวาสนาที่จะชำระจิตใจของตัว สะดวกสบายไม่ต้องไปวุ่นวายว่า จะมีอยู่มีกินหรือไม่ จะมีใช้มีสอยหรือเปล่าไม่ต้องไปคิด ขอให้ปฏิบัติจิตของตัวอยู่ในวงอรรถวงธรรม ธรรมจะต้องรักษาผู้ปฏิบัติธรรมไม่ให้อดอยากยากจน จะต้องมีคนมาเลื่อมใส มีคนมาบูชา เพราะเรามีธรรมในจิตในใจ ถ้าเราเชื่อมั่นอย่างนั้น ตั้งหน้าตั้งตาเดินจงกรมภาวนาละกิเลสไม่ส่งจิตปล่อยใจไปตามเรื่องของโลก มีสติรักษา มีปัญญาแนะสอนตัวอยู่อย่างนั้น มันสุขสบายมีอะไรก็ใช้ไป ฉันไป ตามธรรมดา เพราะจะนุ่งจะห่ม จะอยู่ จะกินอะไรดิบดีวิเศษ มันก็ไม่ใช่ว่ากิเลสมันจะกลัว ไม่ใช่ว่าร่างกายมันจะไม่แก่ไม่ตาย มันจะต้องแก่ต้องตายเหมือนกัน คนที่นุ่งดีกินดีนอนดี มันก็ตาย ก็แก่ คนที่ไม่ได้นุ่งดี กินดี นอนดี มันก็แก่เหมือนกัน เมื่อมันเป็นอย่างนั้น จิตใจมันเลยไม่หลงใหล ไม่เพลิดเพลินไปทางใหม่ มีแต่ตั้งใจดูเรื่องของใจอยู่ตลอดเวลาว่า มันเกิดกิเลส ตัณหาหรือมันเกิดธรรมขึ้น วันหนึ่ง ๆ คืนหนึ่ง ๆ ตรวจตราพิจารณาภายในใจของตัวอยู่เรื่อย ๆ

    เมื่อใจถูกชำระสะสางอยู่เรื่อย ๆ อย่างนั้นความสะอาดของใจ ความหมดไปของกิเลสมันค่อยหมดไป ตกไป ใจจะผ่องจะใส ใจจะสะดวก สบาย ใจจะสุข จะสงบจากอารมณ์สัญญา มีตาก็ไม่เป็นพิษ มีหูก็ไม่เป็นพิษ ถึงจะพูดไป ทำท่ากิริยาน่ากลัวขนาดไหน ใจก็ปกติ ไม่มีอะไรที่จะเปลี่ยนแปลง นี่คือการฝึกอบรมใจให้เข้าถึงอรรถถึงธรรม มันเป็นอย่างนั้น แต่พวกเราท่านไม่เห็น ไม่เป็นอย่างนั้น จึงไปเชื่อว่าท่านทำท่ากิริยาอย่างนั้น คงจะโกรธ คงจะเกลียด อย่างนั้นอย่างนี้ มันอาจสงสัยในใจ เพราะใจของเรายังไม่เห็นไม่เป็นอย่างนั้น ถ้าหากเห็นเป็นอย่างนั้นมันไม่มีอะไรที่จะสงสัย เพราะทำไปตามสมมติ
     
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,488
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    (ต่อ)
    อยู่ในโลกจะต้องทำไปตามเรื่องของโลกถ้าหากไม่ขัดข้องจากธรรมวินัย พอทำไปได้ก็ทำไป เพราะกายส่วนนี้ ขันธ์ส่วนนี้เป็นเครื่องใช้ในเรื่องของโลก แต่ความบริสุทธิ์ที่เหนือโลก ที่ว่า วิมุตติ นั้นอะไร ผู้ประพฤติปฏิบัติที่รู้เห็นเป็นขึ้นในใจเท่านั้นจะทราบ จงตั้งหน้าตั้งตาฝึกรักษาปฏิบัติใจของตัวเพราะโอกาสเวลา สถานที่ก็ไม่มีอะไรยุ่งเหยิง ทุกสิ่งทุกอย่างเขาสงบระงับ นอกจากตัวของเราเท่านั้นที่ไปเกี่ยวข้อง ยุ่งเหยิง วุ่นวายกับเรื่องของรูป เสียงกลิ่น รส ภายนอก หรือภายในกายของตัวเองก็ตาม ถ้าหากจิตใจสงบระงับ ทุกสิ่งทุกอย่างมันก็สงบระงับไปหมด นี่...จิตใจไม่สงบ ระงับให้ เลยไปถือว่าสิ่งนั้นมันอย่างนั้น สิ่งนี้มันเป็นอย่างนี้ มารบกวน

    รูป เสียง กลิ่น รส มันมีอยู่ในโลกแต่ไหนแต่ไร ตั้งแต่เรายังไม่เกิด มันก็มีอยู่อย่างนี้ คนที่หลงใหลใฝ่ฝันสิ่งเหล่านี้ตายไปนับไม่ถ้วน เขาไม่เคยหอบหิ้วหาบหามสิ่งเหล่านี้ไปได้ เราหลงใหลใฝ่ฝันก็ทำนองเดียวกันกับเขา เราไม่มีอะไรที่จะได้ไป ของแผ่นดิน ของโลกมันจะอยู่กับแผ่นดิน กับโลกเรื่อยไป ถึงมันจะแปรสภาพไปอย่างไร มันก็แปรสภาพลงไปสู่ธาตุเดิมของมันเท่านั้น

    ขอให้พวกเราท่านพิจารณาให้เห็นตามเป็นจริง อย่าไปหลงใหลใฝ่ฝัน อย่าเชื่อกิเลส อย่าเอากิเลสเป็นศาสดา เอาธรรมะของพระพุทธเจ้า เอาสติปัญญาชำระใจ อย่าไปเอารูป เสียง เรื่องราวต่าง ๆ มาชำระ ความพอของใจ ความสมบูรณ์ของใจ จะต้องอาศัยเรื่องธรรมะ ถ้าหากอาศัยเรื่องกิเลสตัณหาไม่มีเมืองพอ มีเท่าไรก็ยิ่งอยาก ไม่มีวันอิ่ม เราจะต้องจดจำเอาไว้ พิจารณาแก้ไขใจของตัว ไม่อย่างนั้นก็ไม่มีวันมีเวลา ถึงเป็นพระเป็นเณรก็เป็นกากของพระของเณร จิตใจไม่ประเสริฐให้ ไม่สงบให้ มีแต่ปริมาณของพระ แต่คุณค่าไม่มี พระนับหมื่นนับแสนหาได้มีได้ แต่จิตใจจะสะดวกสบาย ชำระกิเลสตัณหามันยาก

    ถึงอย่างไรก็ตาม คนอื่นเขาชั่ว เขาเสียเขาเองจะได้รับทุกข์รับโทษ เราชั่ว เราเสีย เราเองเป็นผู้เป็นทุกข์เป็นโทษ เราจะต้องชำระตัวของตัว เราดีเอาตัวรอดเป็นยอดคน ไม่ต้องไปกังวลกับเรื่องอันอื่น ตั้งหน้าตั้งตาภาวนาละกิเลส อย่าไปคิดเรื่องนอกมากกว่าเรื่องกิเลสในใจของตัว ให้ถือว่ากิเลสเป็นเวรเป็นภัย เป็นศัตรูใหญ่สำหรับ มรรค สำหรับ ผล ถ้าหากเราระลึกได้เข้าใจถึงเรื่องของธรรมะมันก็อยู่สะดวกสบาย ปฏิบัติง่าย เพราะเราทราบสิ่งที่ชั่วที่เสีย สิ่งที่เป็นพิษเป็นภัย เราไม่นำมาบริโภคเราไม่นำมาเกี่ยวข้อง สิ่งเหล่านั้นมันก็ไม่ได้มาเป็นพิษเป็นภัยในจิตในใจของเรา นี่...เราไปเกี่ยวข้องยุ่งเหยิงกับเขา ไปยึดไปถือเขา เราจึงเกิดทุกข์เกิดโทษ ให้พินิจพิจารณาชำระใจของตัวอย่างนั้น วันคืนที่ผ่านไป ถ้าหากเราชำระสะสางใจด้วยสติ ด้วยปัญญา ด้วยธรรมะของพระพุทธเจ้า นับวันนับคืนที่จะสะอาด สงบระงับดับกิเลสไป

    การปฏิบัติธรรมะ การศึกษาธรรมะนั้นอย่าไปมองเห็นว่า ธรรมะ อยู่ที่อื่น ศีล อยู่ที่อื่น สมาธิ อยู่ที่อื่น ปัญญาวิมุตติ อยู่ที่อื่น ให้เห็นว่าอยู่ในตัวของตัวเท่านั้น กิเลสตัณหาก็เหมือนกัน ถ้าหากไปเห็นอยู่ที่อื่นแล้วมันไม่มีวันเวลาที่จะชำระขาดได้ พยายามพินิจพิจารณาศึกษา ปฏิบัติกาย วาจา ใจของตัว นี่คือ...การปฏิบัติธรรมที่พระพุทธเจ้าสอน
    ทุกคนมีสิทธิที่จะประพฤติปฏิบัติได้ยังไม่สายเกินไป เพราะเรายังมีลมหายใจอยู่ มีจิตที่รับรู้ดี ชั่ว ผิด ถูก

    ฉะนั้น ขอทุกท่านจงนำธรรมะที่อธิบายมานี้ ไปพินิจพิจารณาศึกษาตั้งหน้าชำระสิ่งที่ชั่วออกไปจากทางจากใจ พยายามทำจิตทำใจให้เข้าถึงธรรมะความสุขความสบายที่เราไม่เคยคาดฝันจะเกิดขึ้นในจิตในใจของตน
    การอธิบายธรรมะเห็นว่าพอสมควรแก่เวลา ขอยุติเพียงแค่นี้
    :- http://watconcord.org/teachings/teachings-25/263-2012-01-30-02-47-47
     
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,488
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    036- การฝึกใจ 28 กค 20 - พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร

    048 - อบรมก่อนวันทอดกฐิน 10 ตค 22 - พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร

    เสรี ลพยิ้ม
    Jul 9, 2015
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กุมภาพันธ์ 2021
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,488
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    พระอาจารย์สิงห์ทอง::จิตขุ่นมัว

    witsanu tripprasert
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กุมภาพันธ์ 2021
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,488
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กุมภาพันธ์ 2021
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,488
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ประวัติพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร โดยสังเขป
    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย เกิด วันเสาร์ที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ ตรงกับวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๘ ปีชวด ณ บ้านศรีฐาน ตำบลกระจาย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร (ปัจจุบันเป็นอำเภอป่าติ้ว) ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา บรรพชาเมื่อปี ๒๔๘๗ ที่วัดป่าสำราญนิเวศน์ ตำบลบ้านบุ่ง อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีท่านพระครูทัศนวิสุทธิ (มหาดุสิตเทวิโร) เป็นพระอุปัชฌายะ ท่านได้มีโอกาสพบและปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ในปี ๒๔๙๑ เมื่อท่านพระอาจารย์มั่นมรณภาพ ท่านติดตามเป็นศิษย์ปฏิบัติกับท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโนมาโดยตลอด ปี ๒๕๐๘ ท่านรับนิมนต์ชาวบ้านตำบลค้อใต้มาเป็นเจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว บ้านชุมพล อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร แทนหลวงปู่ขาว อนาลโย ซึ่งไปสร้างวัดใหม่ที่ถ้ำกลองเพลและอยู่เรื่อยมาจนมรณภาพ หลวงตามหาบัวได้พูดถึงพระอาจารย์สิงห์ทองว่า "ท่านสิงห์ทองเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมาดั้งเดิมตั้งแต่เริ่มออกบวชใหม่ๆ และสนใจทางด้านปฏิบัติเรื่อยมา แล้วก็มาอยู่กับหลวงปู่มั่นด้วยกัน พอหลวงปู่มั่นมรณภาพแล้วก็ติดสอยห้อยตามเราเรื่อยมา จนกระทั่งมาถึงวาระที่โยมแม่มาอยู่ด้วย ก็พอดีกับคณะศรัทธาทางบ้านชุมพลนี้ไปนิมนต์ท่านมาอยู่สถานที่นี่ ท่านก็เลยได้พาโยมแม่ท่านมาอยู่ที่นี่ จนกระทั่งถึงกาลอวสานแห่งชีวิตของท่าน ท่านเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเอาจริงเอาจัง เรื่องความเพียรนี้ยกให้ว่าเก่ง เดินจงกรมนี้ทางจงกรมจะเป็นโสกเป็นเหว ท่านสิงห์ทองนี้เดินจงกรมขนาดนั้น แต่นิสัยชอบตลกหน่อย เวลาพูดมีตลกนิด ๆ เป็นนิสัยอย่างนั้นมาดั้งเดิม แต่ท่านเอาจริงเอาจังมาก นี่ท่านมรณภาพหรือท่านเสียลงไปตายลงไปแล้ว ก็ยังแสดงให้เราทั้งหลายได้เห็นความปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ คือผลแห่งการปฏิบัติดีของท่านได้ปรากฏขึ้นมา เวลานี้อัฐิของท่านเริ่มกลายเป็นพระธาตุไปโดยลำดับลำดาแล้ว" มรณภาพ เมื่อ ๒๗ เมษายน ๒๕๒๓ เนื่องจากเครื่องบินตก ที่อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 เมษายน 2022
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,488
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    พระอาจารย์สิงห์ทอง::โลกาอัตตา

    พระอาจารย์สิงห์ทอง::เทวทูต

    witsanu tripprasert
    Apr 9, 2012
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ธันวาคม 2020

แชร์หน้านี้

Loading...