พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เรื่องของพระวังหน้า

    ผมจะบอกว่า พระวังหน้า เป็นพระพิมพ์ที่พิเศษมากกว่าปกติ

    เมื่อวันก่อน ผมได้นำพระพิมพ์ๆนึง ไปให้พี่ใหญ่ช่วยดูให้ ปรากฎว่า พิมพ์นี้กลายเป็นพิมพ์ที่ พระมาลัยเถระเจ้า ท่านมีพระเมตตามาอธิษฐานจิตให้ในพระราชพิธีพุทธาภิเษกหลวง สมัยรัชกาลที่ 5 (ก่อนปี พ.ศ.2428)

    พิมพ์นี้เป็นอย่างไร ถ้าผมไม่ลืม จะนำไปให้ชมกันในวันงานบุญล้างและบรรจุพระวังหน้า ลงกล่องสเตนเลสครับ

    .
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    สำหรับวันงานบุญล้างและบรรจุพระวังหน้า ลงกล่องสเตนเลส

    พระวังหน้า (ยกเว้นพระบูชา และพระวังหน้าบางพิมพ์) ที่จะนำไปช่วยกันล้างทำความสอาดนั้น หากท่านใดที่ไปในงาน ชอบพิมพ์ไหน ผมให้ท่านร่วมทำบุญองค์ละ 100 บาท และท่านอัญเชิญกลับบ้านได้เลยครับ เงินที่ท่านร่วมทำบุญนั้น จะนำเข้ากองทุนหาพระถวายวัดทุกบาททุกสตางค์ครับ

    โมทนาสาธุครับ

    .
     
  3. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,431
    <TABLE class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 20 คน ( เป็นสมาชิก 2 คน และ บุคคลทั่วไป 18 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>psombat, sithiphong+ </TD></TR></TBODY></TABLE>

    สวัสดีครับพี่ ลงไปทานข้าวก่อนนะครับ
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ช่วงสองวันนี้ งานเยอะจริงๆ


    .
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <CENTER><BIG>อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค </BIG><CENTER class=D>สัมมาทิฏฐิสูตร ว่าด้วยความเห็นชอบ</CENTER></CENTER>
    <CENTER> อรรถกถาสัมมาทิฏฐิสูตร </CENTER> [๑๑๐] สัมมาทิฏฐิสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.
    พึงทราบวินิจฉัยในสัมมาทิฏฐิสูตรนั้น ดังต่อไปนี้ :-
    คำถามที่พระเถระ (สารีบุตร) กล่าวไว้อย่างนี้ว่า คุณ ที่เรียกว่าสัมมาทิฏฐิ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอ? ดังนี้ หรือว่าอกุศลเป็นอย่างไรเล่า? ดังนี้ทุกข้อ เป็นกเถตุกามยตาปุจฉา (ถามเพื่อตอบเอง) เท่านั้นเอง.
    เพราะว่าในคำถามเหล่านั้น คนทั้งหลายเข้าใจในสัมมาทิฏฐินั้นก็มี ไม่เข้าใจก็มี เป็นคนนอกศาสนาก็มี ในศาสนาก็มี กล่าวว่า สัมมาทิฏฐิด้วยสามารถที่ได้ฟังตามกันมาเป็นต้นก็มี ด้วยได้ประจักษ์ด้วยตนเองมาก็มี ฉะนั้น ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวหมายเอาคำถามของคนส่วนมากนั้น ย้ำถึง ๒ ครั้งว่า คุณที่เรียกกันว่า สัมมาทิฏฐิ... อันที่จริงในเรื่องนี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ ถึงอาจารย์เหล่าอื่นก็เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.
    ท่านพระสารีบุตรนี้นั้น เมื่อกล่าวอย่างนี้ ได้กล่าวว่า ด้วยเหตุเท่าไรหนอ อริยสาวกจึงชื่อว่ามีความเห็นถูกต้อง ดังนี้ หมายถึงความหมายและลักษณะ (ของสัมมาทิฏฐิ).
    <CENTER>
    แก้สัมมาทิฏฐิ </CENTER> บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิ ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยความเห็นทั้งดีงามทั้งประเสริฐ.
    ก็เมื่อใด ศัพท์ว่า สัมมาทิฏฐินี้ใช้ในธรรมะเท่านั้น เมื่อนั้นพึงทราบเนื้อความของศัพท์นั้นอย่างนี้ว่า ทิฏฐิทั้งดีงามทั้งประเสริฐ ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ. และสัมมาทิฏฐินี้นั้นมี ๒ อย่าง คือ โลกิย<WBR>สัมมา<WBR>ทิฏฐิ ๑ โลกุตตร<WBR>สัมมา<WBR>ทิฏฐิ ๑.
    ในจำนวนสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่างนั้น กัมมัสสกตาญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ว่า สัตว์มีกรรมเป็นของตน) และสัจจานุโลมิกญาณ (ปรีชาเป็นไปโดยสมควรแก่การกำหนดรู้อริยสัจ) ชื่อว่า โลกิยสัมมาทิฏฐิ. ส่วนปัญญาที่สัมปยุตด้วยอริยมรรค อริยผล ชื่อว่าโลกุตตรสัมมาทิฏฐิ. แต่คนที่มีสัมมาทิฏฐิมี ๓ ประเภท คือ ปุถุชน ๑ เสกขบุคคล (ผู้ต้องศึกษา) ๑ อเสกขบุคคล (ผู้ไม่ต้องศึกษา) ๑.
    ในจำนวน ๓ ประเภทนั้น ปุถุชนมี ๒ ประเภท คือ พาหิรกชน (คนนอกศาสนา) ๑ ศาสนิกชน (คนในศาสนา) ๑.
    ในจำนวน ๒ ประเภทนั้น พาหิรกปุถุชนผู้เป็นกรรมวาที (เชื่อถือกรรม) ชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นถูกต้อง (เป็นสัมมาทิฏฐิกบุคคล) โดยความเห็นว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน ไม่ใช่โดยความเห็นขั้นสัจจานุโลมญาณ.
    ส่วนศาสนิกปุถุชน ชื่อว่ามีความเห็นถูกต้อง (เป็นสัมมาทิฏฐิกบุคคล) โดยความเห็นทั้ง ๒ อย่าง (คือกัมมัสสกตาและอนุโลมญาณ เพราะยังลูบคลำความเห็นเรื่องอัตตาอยู่ ยังละสักกายทิฏฐิไม่ได้).
    เสกขบุคคล ชื่อว่ามีความเห็นชอบ เพราะมีความเห็นชอบที่แน่นอน. ส่วนอเสกขบุคคล ชื่อว่ามีความเห็นชอบ เพราะไม่ต้องศึกษา.
    แต่ในที่นี้ประสงค์เอาผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกุตตรกุศลที่แน่นอน คือเป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ว่า ผู้มีความเห็นชอบ.
    เพราะเหตุนั้นเอง ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวไว้ว่า เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว.
    อธิบายว่า สัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกุตตรกุศลเท่านั้นเป็นความเห็นที่ตรง เพราะไปตามความตรง ไม่ข้องแวะกับที่สุดทั้ง ๒ อย่าง หรือตัดขาดความคดงอทุกอย่างมีความคดงอทางกายเป็นต้นแล้วไปตรง และผู้ประกอบด้วยทิฏฐินั้นเอง ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสไม่คลอนแคลน คือด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในโลกุตตรธรรมทั้ง ๙ ประการ.
    อริยสาวกเมื่อคลายความยึดมั่นด้วยทิฏฐิทุกอย่าง ละกิเลสทั้งสิ้นได้ ออกไปจากสงสารคือชาติ เสร็จสิ้นการปฏิบัติ ท่านเรียกว่าผู้ได้มาสู่พระสัทธรรม กล่าวคือพระนิพพานที่<WBR>หยั่ง<WBR>ลง<WBR>สู่<WBR>อมต<WBR>ธรรม<WBR>ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศแล้วด้วยอริยมรรค.
    [๑๑๑] คำว่า ยโต โข นี้เป็นคำกำหนดกาลเวลา. มีอธิบายว่า ในกาลใด.
    ข้อว่า อกุสลมูลญฺจ ปชานาติ ความว่า รู้ชัดอกุศล กล่าวคืออกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ คือเมื่อแทงตลอดว่า สิ่งนี้เป็นทุกข์ด้วยสามารถแห่งกิจจญาณ ชื่อว่ารู้ชัดอกุศล เพราะความรู้ชัดที่มีนิโรธเป็นอารมณ์.
    ข้อว่า อกุสลญฺจ ปชานาติ ความว่า รู้ชัดรากเหง้าของอกุศลที่เป็นรากเหง้า เป็นปัจจัยแห่งอกุศลนั้น คือเมื่อแทงตลอดว่า นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์โดยประการนั้นนั่นเอง (ชื่อว่ารู้ชัดรากเหง้าของอกุศล).
    ถึงแม้ในคำนี้ว่า กุศลและรากเหง้าของกุศล ก็มีนัยนี้.
    ในทุกวาระต่อจากวาระนี้ไป ก็เหมือนกับในวาระนี้ ควรทราบการรู้ชัดวัตถุ ด้วยสามารถแห่งกิจจญาณนั่นเอง.
    บทว่า เอตฺตาวตาปิ ความว่า ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ คือแม้ด้วยการรู้ชัดอกุศลเป็นต้นนี้.
    บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิ โหติ ความว่า เป็นผู้ประกอบด้วยโลกุตตรสัมมาทิฏฐิ มีประการดังกล่าวมาแล้ว.
    ด้วยคำเพียงเท่านี้ว่า อริยสาวกนั้นมีความเห็นตรง ฯลฯ ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้แล้ว เป็นอันท่านพระสารีบุตรจบการแสดงโดยย่นย่อลงแล้ว. การแสดง (ของท่าน) นี้ถึงจะย่นย่อ แต่ก็ควรทราบถึงการแทงตลอดด้วยมนสิการโดยชอบ ด้วยสามารถแห่งความพิสดารอยู่นั่นเอง สำหรับภิกษุเหล่านั้น. ส่วนในทุติยวารถึงการแสดง (จะย่นย่อ) ก็ควรทราบถึงการแทงตลอด ด้วยมนสิการโดยชอบอย่างพิสดารว่า ได้เป็นไปแล้วโดยพิสดารอยู่นั่นเอง.
    ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกันว่า บรรดาการแสดงทั้ง ๒ อย่างนั้น ด้วยการแสดงอย่างย่นย่อ ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวถึงมรรคเบื้องต่ำไว้ทั้ง ๒ อย่าง ด้วยการแสดงอย่างพิสดาร ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวถึงมรรคเบื้องสูงไว้ ๒ อย่าง
    ในที่สุดแห่งการแสดงอย่างพิสดาร ภิกษุทั้งหลายเล็งเห็นคำมีอาทิว่า เพราะละราคานุสัยได้โดยประการทั้งปวง. แต่พระเถระได้กล่าวว่า มรรคทั้ง ๔ ได้กล่าวไว้แล้ว โดยเป็นหมวดด้วยการแสดงอย่างย่อก็มี ด้วยการแสดงอย่างพิสดารก็มี.
    อนึ่ง การแสดงทั้งโดยย่อทั้งโดยพิสดารนี้ใด เป็นการแสดงที่ข้าพเจ้าได้กระทำการวิจารณ์ไว้โดยละเอียดแจ่มแจ้งแล้ว ในที่นี้การแสดงนั้น พึงทราบตามนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วในที่นี้ทุกๆ วาระเทอญ. เพราะว่าต่อแต่นี้ไป ข้าพเจ้าจักทำเพียงการขยายความเฉพาะบทที่ยากที่ยังไม่ได้ (อธิบาย) เท่านั้น.
    พึงทราบวินิจฉัยในการแสดงโดยพิสดารซึ่งปฐมวารในจำนวนวาระเหล่านั้นก่อน.
    ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ปาณาติบาตนั้นแหละเป็นอกุศล. อกุศลพึงทราบได้จากความเป็นไปโดยความไม่ฉลาด. อกุศลนั้นพึงทราบโดย (เป็นธรรม) ตรงกันข้ามกับกุศลที่จะต้องกล่าวข้างหน้า หรือโดยลักษณะ พึงทราบ (ว่าเป็น) สิ่งที่มีโทษและมีวิบากเป็นทุกข์ เป็นสิ่งที่เศร้าหมอง. นี้เป็นการขยายบททั่วไปในอกุศลวาระนี้ก่อน.
    <CENTER>
    แก้ปาณาติบาต </CENTER> ส่วนในบทเฉพาะ (ไม่ทั่วไป) พึงทราบวินิจฉัยว่า การยังสัตว์ที่มีชีวิตให้ตกล่วงไป ชื่อว่าปาณาติบาต ได้แก่การฆ่าสัตว์ที่มีชีวิต. อธิบายว่า การทำลายสัตว์ที่มีชีวิต.
    ก็คำว่า ปาณะ ในคำว่า ปาณาติปาโต นี้ โดยโวหารได้แก่สัตว์ แต่โดยปรมัตถ์ได้แก่ชีวิตินทรีย์.
    ส่วนเจตนาที่จะฆ่าของผู้มีความสำคัญในสัตว์มีชีวิตนั้นว่า เป็นสัตว์มีชีวิต<WBR>อัน<WBR>เป็น<WBR>สมุฏ<WBR>ฐาน<WBR>แห่ง<WBR>ความ<WBR>พยายามที่จะเข้าไปตัดชีวิตินทรีย์ ที่เป็นไปทางกายทวารหรือวจีทวาร ทวารใดทวารหนึ่ง ชื่อว่าปาณาติบาต.
    ปาณาติบาตนั้น พึงทราบว่ามีโทษน้อย ในเพราะสัตว์มีชีวิตตัวเล็ก ในจำนวนสัตว์มีชีวิตทั้งหลายมีเดียรัจฉานเป็นต้นที่ปราศจากคุณ แต่พึงทราบว่ามีโทษมาก ในเพราะสัตว์มีชีวิตตัวใหญ่.
    เพราะเหตุไร?
    เพราะมีประโยคใหญ่ (มีวิธีการมาก).
    แม้เมื่อมีประโยคเสมอกัน ปาณาติบาตพึงทราบว่ามีโทษมาก เพราะวัตถุใหญ่ (ตัวใหญ่). ในจำพวกสัตว์ที่มีคุณมีมนุษย์เป็นต้น ในเพราะสัตว์มีคุณน้อย ปาณาติบาตก็พึงทราบว่ามีโทษน้อย. ในเพราะสัตว์มีคุณมาก ก็พึงทราบว่ามีโทษมาก. แต่เมื่อสรีระและคุณมีความเสมอกัน ปาณาติบาตพึงทราบว่ามีโทษน้อย เพราะกิเลสและความพยายามอ่อน พึงทราบว่ามีโทษมาก เพราะกิเลสและความพยายามแรงกล้า.
    ปาณาติบาตนั้นมีองค์ประกอบ ๕ คือ
    สัตว์มีชีวิต ๑
    ความรู้ว่าสัตว์มีชีวิต ๑
    จิตคิดจะฆ่า ๑
    ความพยายาม (ฆ่า) ๑
    สัตว์ตายเพราะความพยายามนั้น ๑.
    ประโยคแห่งการฆ่า มี ๖ คือ สาหัตถิกประโยค (ฆ่าด้วยมือของตนเอง) ๑ อาณัตติกประโยค (ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า) ๑ นิสสัคคิย<WBR>ประโยค (ฆ่าด้วยสาตราวุธที่พุ่งหรือปล่อยออกไป) ๑ ถาวร<WBR>ประโยค (ฆ่าด้วยเครื่องมือดักอยู่กับที่) ๑ วิชชา<WBR>มย<WBR>ประโยค (ฆ่าด้วยอำนาจวิชา) ๑ อิทธิ<WBR>มย<WBR>ประโยค (ฆ่าด้วยฤทธิ์) ๑.
    แต่ครั้นจะอธิบายประโยคนี้ให้พิสดารในปฐมวาระนี้ ก็จะยืดยาวไปมาก เพราะฉะนั้น จะไม่ขออธิบายประโยคนั้นและอย่างอื่นที่เป็นแบบนี้ให้พิสดาร ส่วนผู้มีความต้องการ พึงตรวจดูสมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัยเอาเถิด.
    <CENTER>
    แก้อทินนาทาน </CENTER> การถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ ชื่อว่าอทินนาทาน การลักของๆ ผู้อื่น ชื่อว่าเถยยะ. อธิบายว่า เป็นกิริยาของโจร.
    บทว่า อทินฺนํ ได้แก่ ของที่ผู้อื่นหวงแหนซึ่งคนอื่น (เจ้าของ) เมื่อใช้ตามที่ต้องการ ก็ไม่ควรได้รับทัณฑ์และไม่ควรถูกตำหนิ.
    ส่วนเจตนาที่จะลักของผู้มีความสำคัญในของที่ผู้อื่นหวงแหนนั้นว่า เป็นของที่เขาหวงแหน อันเป็นสมุฏฐานแห่งความพยายามที่จะถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้นั้น ชื่อว่าอทิน<WBR>นา<WBR>ทาน.
    อทินนาทานนั้นมีโทษน้อย ในเพราะสิ่งของๆ ผู้อื่นที่เลว. ชื่อว่ามีโทษมาก ในเพราะสิ่งของของผู้อื่นประณีต.
    เพราะเหตุไร?
    เพราะว่าเป็นสิ่งของประณีต.
    เมื่อมีความเสมอกันแห่งวัตถุ ชื่อว่ามีโทษมาก ในเพราะสิ่งของที่มีอยู่ของผู้มีคุณยิ่ง. อทินนาทานนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย ในเพราะสิ่งของที่มีอยู่ของผู้มีคุณต่ำกว่านั้น เพราะเปรียบเทียบกับผู้มีคุณยิ่งนั้น.
    อทินนาทานนั้นมีองค์ประกอบ ๕ ประการ คือ
    ของที่คนอื่นหวงแหน ๑
    ความรู้ว่าเป็นของที่คนอื่นหวงแหน ๑
    จิตคิดจะลัก ๑
    ความพยายาม (จะลัก) ๑
    ลักของได้มาด้วยความพยายามนั้น ๑.
    ก็ประโยค (การประกอบอทินนาทาน) มี ๖ อย่างมีสาหัตถิกประโยคเป็นต้น. ก็ประโยคเหล่านั้นแลเป็นไปแล้ว ด้วยสามารถแห่งอวหาร (การลัก) เหล่านี้ คือ เถยยาวหาร (ลักโดยการขโมย) ๑ ปสัยหาวหาร (ลักโดยการกรรโชก) ๑ ปฏิจฉันนาวหาร (ลักโดยการปิดช่องสิ่งของ) ๑ ปริกัปปาวหาร (ลักโดยการกำหนดสิ่งของหรือเวลา) ๑ กุสาวหาร (ลักโดยการสับเปลี่ยน) ๑.
    ข้อความดังที่กล่าวมาแล้วนี้ เป็นข้อความสังเขปในอวหารนี้. ส่วนความพิสดารได้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาชื่อสมันตปาสาทิกา.
    <CENTER>
    แก้กาเมสุมิจฉาจาร </CENTER> ก็บทว่า กาเมสุ ในข้อว่า กาเมสุมิจฺฉาจาโร นี้ ได้แก่ เมถุนสมาจาร. ความประพฤติลามกที่บัณฑิตตำหนิโดยส่วนเดียว ชื่อว่ามิจฉาจาร.
    แต่โดยลักษณะเจตนาที่ล่วงเกินอคมนียฐาน (คนที่ต้องห้าม) ที่เป็นไปทางกายทวาร ด้วยความประสงค์ต่ออสัทธรรม ชื่อว่ากาเม<WBR>สุ<WBR>มิจ<WBR>ฉา<WBR>จาร.
    ก่อนอื่น (หญิง) ที่ชื่อว่าเป็นอคมนียฐาน (หญิงที่ต้องห้าม) สำหรับผู้ชายใน<WBR>กาเม<WBR>สุ<WBR>มิจ<WBR>ฉา<WBR>จาร<WBR>นี้ ได้แก่หญิง ๒๐ จำพวก คือ หญิงที่มีมารดารักษาเป็นต้น.
    หญิง ๑๐ จำพวก คือ หญิงที่มารดารักษา ๑ ที่บิดารักษา ๑ ที่ทั้งมารดาและบิดารักษา ๑ ที่พี่ชายน้องชายรักษา ๑ ที่ญาติรักษา ๑ ที่โคตรรักษา ๑ ที่ธรรมรักษา ๑ ที่มีการอารักขา ๑ ที่มีอาชญารอบด้าน (อยู่ในกฏมณเฑียรบาล) ๑.
    และหญิงอีก ๑๐ จำพวก มีหญิงที่ไถ่มาด้วยทรัพย์เป็นต้นเหล่านี้ คือ ภรรยาที่ซื้อมาด้วยทรัพย์ (ภรรยาสินไถ่) ๑ ที่อยู่ด้วยกันเพราะความพอใจ ๑ ที่อยู่ด้วยกันเพราะโภคะ ๑ ที่อยู่ด้วยกันเพราะเครื่องนุ่งห่ม ๑ ที่ผู้ปกครองเต็มใจยกให้ ๑ ที่ชายยกเทริดลงจากศีรษะ ๑ ที่เป็นทั้งภรรยาเป็นทั้งทาส ๑ ที่เป็นทั้งภรรยาเป็นทั้งลูกจ้าง ๑ ที่เป็นเชลยศึก ๑ ที่อยู่ด้วยกันเพียงครู่เดียว ๑.
    ส่วนชายอื่น นอกจากสามีของตน ชื่อว่าเป็นอคมนียฐาน (ชายต้องห้าม) สำหรับหญิง ๑๒ จำพวก คือ ๒ จำพวกสำหรับหญิงมีอารักขาและหญิงมีอาชญารอบด้าน และ ๑๐ จำพวกสำหรับภรรยาที่ไถ่มาด้วยทรัพย์เป็นต้น ในจำนวนหญิงทั้งหลาย (๑๐ จำพวก) สำหรับภรรยา.
    อนึ่ง มิจฉาจารนี้นั้นชื่อว่ามีโทษน้อย ในเพราะอคมนียฐาน (ผู้ต้องห้าม) ปราศจากคุณธรรมมีศีลเป็นต้น ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะถึงพร้อมด้วยคุณธรรมมีศีลธรรมเป็นต้น.
    กาเมสุมิจฉาจารนั้นมีองค์ประกอบ ๔ อย่าง คือ
    เป็นบุคคลต้องห้าม ๑
    จิตคิดจะเสพในบุคคลต้องห้ามนั้น ๑
    การประกอบการเสพ ๑
    การยังมรรคให้ดำเนินไปในมรรคหรือหยุดอยู่ ๑
    ประโยคมีอย่างเดียว คือสาหัตถิกประโยคเท่านั้น.

    ที่มา
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    แก้มุสาวาท กายประโยคหรือวจีประโยคที่หักรานประโยชน์ (ผู้อื่น) ของผู้มุ่งจะพูดให้ผิด ชื่อว่ามุสา. เจตนาของผู้พูดให้ผิดต่อผู้อื่นด้วยประสงค์จะให้เข้าใจผิด มีกายประโยคและวจีประโยค<WBR>เป็น<WBR>สมุฏ<WBR>ฐาน ชื่อ<WBR>ว่า<WBR>มุสา<WBR>วาท.
    อีกนัยหนึ่ง เรื่องไม่จริง ไม่แท้ ชื่อว่ามุสา (เรื่องเท็จ). การให้ (ผู้อื่น) เข้าใจเรื่องเท็จนั้นว่าเป็นเรื่องจริง เรื่องแท้ ชื่อว่าวาทะ (การพูด) แต่โดยลักษณะ เจตนาของผู้ประสงค์จะให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องที่ไม่จริงว่าเป็นเรื่องจริง อันเป็นสมุฏฐานแห่งวิญญัติ (การเคลื่อนไหว) อย่างนั้น ชื่อว่ามุสาวาท (การพูดเท็จ).
    มุสาวาทนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะประโยชน์ที่ตนหักรานมีจำนวนน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะประโยชน์ที่ตนหักรานมีจำนวนมาก.
    อีกอย่างหนึ่ง สำหรับคฤหัสถ์ มุสาวาทที่เป็นไปแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ไม่มีเพราะไม่ประสงค์จะให้ของๆ ตน (แก่คนอื่น) มีโทษน้อย ที่กล่าวเบิกพยานเพื่อหักล้างประโยชน์ (ของคู่ความ) มีโทษมาก.
    สำหรับบรรพชิต มุสาวาทที่เป็นไปแล้วโดยนัยแห่งบูรณากถา (พูดให้เต็มความหรือเล่นสำนวน) ว่า วันนี้น้ำมันในบ้านเห็นจะไหลเป็นแม่น้ำนะด้วยความประสงค์จะให้หัวเราะ เพราะได้น้ำมันหรือเนยใสน้อยไป มีโทษน้อย. แต่ของผู้พูดโดยนัยมีอาทิว่า สิ่งที่ไม่ได้เห็นเลยว่าได้เห็น มีโทษมาก.
    มุสาวาทนั้นมีองค์ประกอบ ๔ อย่าง คือ
    เรื่องไม่จริง ๑
    ตั้งใจพูดให้ผิด ๑
    พยายามพูด ๑
    ผู้อื่นเข้าใจเนื้อความนั้น ๑.
    ประโยคมีประโยคเดียว คือสาหัตถิกประโยคเท่านั้น. ประโยคนั้นพึงเห็นว่า ได้แก่การแสดงกิริยาของผู้จะพูดให้ผิดต่อผู้อื่นด้วยกาย ด้วยของเนื่องด้วยกายหรือด้วยวาจา. ถ้าหากผู้อื่นเข้าใจเนื้อความนั้นด้วยกิริยานั้น กิริยานี้ชื่อว่าเนื่องด้วยมุสาวาทกรรม ในขณะแห่งเจตนาที่มีกิริยาเป็นสมุฏฐานนั้นเอง.


    แก้ปิสุณาวาจา
    พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปิสุณาวาจา เป็นต้น.
    วาจาที่เป็นเหตุให้หัวใจของบุคคลผู้ที่ตนพูดด้วย เกิดความรักตนและเกลียดชังคนอื่น ชื่อว่าปิสุณาวาจา.
    ส่วนวาจาที่เป็นเหตุทำให้ตนเองบ้าง ผู้อื่นบ้าง หยาบคายและวาจาที่หยาบคายเอง คือไม่ไพเราะโสต หรือไม่ชื่นใจ (ผู้ฟัง) นี้ชื่อว่าผรุสวาจา.
    วาทะที่เป็นเหตุให้เจรจาเพ้อเจ้อ คือไร้ประโยชน์ ชื่อว่าสัมผัปปลาป. ถึงเจตนาที่เป็นมูลฐานของการกล่าวคำหยาบและคำเพ้อเจ้อเหล่านั้น ก็ได้นามว่าปิสุณาวาจาเป็นต้นอยู่นั่นเอง. และในที่นี้ก็ประสงค์เอาเจตนานั้นแล.
    เจตนาของผู้มีจิตเศร้าหมองที่เป็นสมุฏฐานแห่งกายประโยคและวจีประโยค เพื่อทำลายชนเหล่าอื่นหรือเพื่อประสงค์จะทำตนให้เป็นที่รักของผู้อื่น ชื่อว่าปิสุณาวาจาในวจีกรรมนั้น.
    ปิสุณาวาจานั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะผู้ถูกทำให้แตกกันนั้น มีคุณธรรมน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะมีคุณธรรมมาก.
    ปิสุณาวาจานั้นมีองค์ประกอบ ๔ ประการ คือ
    ผู้ต้องถูกทำลายเป็นคนอื่น ๑
    ความมุ่งหน้าจะทำลายด้วยประสงค์ว่า คนเหล่านี้จักเป็นผู้แตกแยกจากกัน ด้วยอุบายอย่างนี้ หรือความประสงค์ว่าเราจักเป็นที่รักเป็นที่คุ้นเคย (ของเขา) ด้วยอุบายอย่างนี้ (รวมเป็นองค์) ๑
    ความพยายามที่เกิดจากความตั้งใจนั้น ๑
    การที่เขาเข้าใจเนื้อความนั้น ๑.


    แก้ผรุสวาจา
    เจตนาที่หยาบคายโดยส่วนเดียว ที่เป็นสมุฏฐานแห่งกายประโยคและวจีประโยค อันเป็นเหตุตัดรอนความรักของคนอื่น ชื่อว่าผรุสวาจา.
    เพื่อความแจ่มชัดแห่งผรุสวาจานั้น ต้องสาธกเรื่องนี้.
    ได้ทราบว่า เด็กคนหนึ่งไม่เชื่อถ้อยคำของมารดา (ขืน) เข้าป่าไป. มารดาเมื่อไม่สามารถ<WBR>จะให้เขากลับได้ จึงด่าว่า ขอให้แม่กระบือดุร้ายจงไล่ขวิดมึง. ภายหลังแม่กระบือได้ปรากฏแก่เขาเหมือนอย่างที่แม่ว่านั่นแหละ. เด็กจึงทำสัจจกิริยาว่า คุณแม่ของข้าพเจ้ากล่าวอย่างใดด้วยปาก ขออย่าเป็นอย่างนั้น แต่คิดอย่างใดด้วยใจ ขอให้เป็นอย่างนั้น. แม่กระบือได้หยุดชะงักอยู่ ณ ที่นั้นนั่นเองเหมือนถูกผูกไว้.
    วจีประโยคแม้เป็นเหตุตัดเสียซึ่งคำรัก (คำที่พาดถึงสิ่งที่รัก) ดังที่พรรณนามานี้
    ก็ไม่เป็นผรุสวาท เพราะผู้พูดมีจิตอ่อนโยน.
    จริงอยู่ บางครั้งพ่อแม่ว่าลูกๆ อย่างนี้ว่า ขอให้พวกโจรฟันพวกเองให้ขาดเป็นท่อนๆ ไปเถิด ถึงอย่างนั้น แม้แต่เพียงกลีบดอกอุบลก็ไม่ประสงค์จะให้ตกลงบนเบื้องบนของพวกเขาเลย. และบางครั้งอาจารย์และอุปัชฌาย์ต่อว่า อันเตวาสิก<WBR>และ<WBR>สัทธิวิหาริก<WBR>ผู้อยู่อาศัยทั้งหลายว่า พวกนี้จะพูดอะไรกันก็ไม่มียางอาย ไม่มีความเกรงกลัว สูเจ้าทั้งหลายจงไล่เขาไปเสีย. แต่ถึงกระนั้น อาจารย์และอุปัชฌาย์เหล่านั้นก็ยังปรารถนาสมบัติคืออาคม (ปริยัติ) และอธิคม (ปฏิเวธ) แก่อันเตวาสิก<WBR>และ<WBR>สัทธิวิหาริก<WBR>เหล่านั้นอยู่.
    อนึ่ง วจีประโยคไม่เป็นผรุสวาจา เพราะผู้พูดมีจิตอ่อนโยนฉันใด จะไม่เป็นผรุสวาจาเพราะผู้พูดมีคำพูดอ่อนหวานฉันนั้นก็หามิได้ เพราะว่า คำพูดของผู้ประสงค์จะให้เขาตายว่า แกจงให้คนคนนี้นอนสบายเถิด ดังนี้ ไม่ใช่ไม่เป็นผรุสวาจา แต่วาจานี้เป็นผรุสวาจาทีเดียว เพราะผู้พูดมีจิตหยาบคาย.
    ผรุสวาจานี้ ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะผู้ที่ผรุสวาทีบุคคลพูดหมายถึงเป็นผู้มีคุณน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะมีคุณมาก.
    ผรุสวาจานั้นมีองค์ประกอบ ๓ ประการ คือ
    ผู้ที่จะต้องถูกด่าเป็นคนอื่น ๑
    จิตขุ่นเคือง ๑
    การด่า ๑.


    แก้สัมผัปปลาปะ
    ความจงใจที่เป็นอกุศล ที่เป็นสมุฏฐานแห่งกายประโยคและวจีประโยค ที่ยังผู้อื่นให้เข้าใจคำพูดที่ไร้ประโยชน์ ชื่อว่าสัมผัปปลาปะ.
    สัมผัปปลาปะนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะผู้พูดมีอาเสวนะอ่อน (ความเคยชินน้อย) ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะผู้พูดมีอาเสวนะมาก (ความเคยชินมาก).
    สัมผัปปลาปะนั้นมีองค์ประกอบ ๒ ประการ คือ
    ความมุ่งหน้าที่จะพูดถ้อยคำไร้ประโยชน์ มีเรื่องสงครามภารตะและเรื่องการลักพานางสีดา (เรื่องรามเกียรติ์) เป็นต้น ๑
    การกล่าวถ้อยคำชนิดนั้น ๑.


    แก้อภิชฌา
    เจตนาชื่อว่าอภิชฌา เพราะเพ่งเล็ง. อธิบายว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มุ่งหน้าเพ่งเล็งเฉพาะภัณฑะของผู้อื่นแล้วน้อมภัณฑะนั้นมา. อภิชฌานั้นมีลักษณะเพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่นอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ของสิ่งนี้จะพึงเป็นของเรา. อภิชฌานั้น ชื่อว่ามีโทษน้อยและมีโทษมาก เหมือนกับอทินนาทาน.
    อภิชฌานั้นมีองค์ประกอบ ๒ ประการ คือ
    ของของผู้อื่น ๑
    น้อมสิ่งนั้นมาเพื่อตน ๑.
    อธิบายว่า ถึงจะเกิดความโลภที่มีภัณฑะของผู้อื่นเป็นที่ตั้งขึ้น กรรมบถก็ยังไม่ขาดจนกว่าจะน้อมมาเพื่อตนว่า ไฉนหนอ ของสิ่งนี้จะพึงเป็นของเรา.


    แก้พยาบาท
    บาปธรรมชื่อว่าพยาบาท เพราะยังประโยชน์เกื้อกูลและความสุขให้ถึงความพินาศ. พยาบาทนั้นมีลักษณะประทุษร้าย เพื่อความพินาศของผู้อื่น. พยาบาทนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อยและมีโทษมาก เหมือนกับผรุสวาจา.
    พยาบาทนั้นมีองค์ประกอบ ๒ ประการ คือ
    สัตว์อื่น ๑
    ความคิดที่จะให้สัตว์นั้นพินาศ ๑.
    อธิบายว่า ถึงจะเกิดความโกรธที่มีสัตว์อื่นเป็นที่ตั้งขึ้น กรรมบถก็ยังไม่ขาด ตลอดเวลาที่ผู้โกรธยังไม่คิดให้สัตว์นั้นพินาศว่า ไฉนหนอ สัตว์นี้จะพึงขาดสูญพินาศไป.


    แก้มิจฉาทิฏฐิ
    เจตนาชื่อว่ามิจฉาทิฏฐิ เพราะเห็นผิด โดยไม่มีการถือเอาตามความเป็นจริง. มิจฉาทิฏฐินั้นมีลักษณะเห็นผิด โดยนัยมีอาทิว่า ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล. มิจฉาทิฏฐินั้นชื่อว่ามีโทษน้อยและมีโทษมาก เหมือนสัมผัปปลาปะ. อีกอย่างหนึ่ง มิจฉาทิฏฐิที่ไม่แน่นอน (ยังไม่ดิ่ง) ชื่อว่ามีโทษน้อย. ที่แน่นอน (ดิ่ง) ชื่อว่ามีโทษมาก.
    มิจฉาทิฏฐินั้นมีองค์ประกอบ ๒ ประการ คือ
    การที่เรื่องผิดไปจากอาการที่ยึดถือ ๑
    การปรากฏขึ้นแห่งเรื่องนั้น โดยไม่เป็นอย่างที่มิจฉาทิฏฐิกบุคคลยึดถือ ๑.


    วินิจฉัยโดยอาการ ๕ อย่าง
    อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยอกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ เหล่านี้ โดยอาการ ๕ อย่าง คือ
    โดยธรรมะ (ธมฺมโต) ๑ โดยโกฏฐาสะ (โกฏฺฐาสโต) ๑ โดยอารมณ์ (อารมฺมณโต) ๑ โดยเวทนา (เวทนาโต) ๑ โดยเค้ามูล (มูลโต) ๑.
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมโต มีเนื้อความว่า ความจริงในจำนวนกรรมบถ ๑๐ อย่างเหล่านี้ กรรมบถ ๗ ข้อตามลำดับ (กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔) เป็นเจตนาธรรมตรงตัว ส่วนกรรมบถ ๓ อย่างมีอภิชฌาเป็นต้น เป็นตัวประกอบเจตนา.
    บทว่า โกฏฺฐาสโต ความว่า กรรมบถ ๗ ข้อตามลำดับ และมิจฉาทิฏฐิอีก ๑ รวมเป็น ๘ ข้อนี้เป็นกรรมบถอย่างเดียว ไม่เป็นมูล (รากเหง้าของอกุศล). ส่วนอภิชฌากับพยาบาท (๒ ข้อนี้) เป็นทั้งกรรมบถ เป็นทั้งมูล (รากเหง้าของอกุศล). อธิบายว่า เพราะเป็นรากเหง้า อภิชฌาจึงเป็นโลภอกุศลมูล พยาบาทเป็นโทสอกุศลมูล.
    บทว่า อารมฺมณโต ความว่า ปาณาติบาตมีสังขารเป็นอารมณ์ เพราะมีชีวิตินทรีย์เป็นอารมณ์. อทินนาทานมีสัตว์เป็นอารมณ์บ้าง มีสังขารเป็นอารมณ์บ้าง. มิจฉาจารมีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งโผฏฐัพพะ. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มีสัตว์เป็นอารมณ์ก็มี. มุสาวาทมีสัตว์เป็นอารมณ์บ้าง มีสังขารเป็นอารมณ์บ้าง. ปิสุณาวาจาก็เหมือนกัน ผรุสวาจามีสัตว์เป็นอารมณ์อย่างเดียว สัมผัปปลาปะมีสัตว์เป็นอารมณ์บ้าง ด้วยอำนาจแห่งรูปที่ได้เห็นแล้ว เสียงที่ได้ยินแล้ว กลิ่น รส และโผฏฐัพพะที่ได้ทราบแล้ว และธรรมารมณ์ที่ได้รู้แล้ว อภิชฌาก็เหมือนกัน (แต่) พยาบาทมีสัตว์เป็นอารมณ์อย่างเดียว (ส่วน) มิจฉาทิฏฐิมีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓.
    บทว่า เวทนาโต ความว่า ปาณาติบาตมีเวทนาเป็นทุกข์. เพราะว่า พระราชาทั้งหลายทรงเห็นโจรแล้ว ถึงจะทรงกระหยิ่มอยู่พลางรับสั่งว่า ไป เอามันไปสังหาร ดังนี้ก็จริง แต่ถึงกระนั้น เจตนาที่เป็นตัวการให้ตกลงปลงพระทัยของพระราชาเหล่านั้น เป็นเจตนาที่ประกอบด้วยทุกข์อยู่นั้น.
    อทินนาทานมีเวทนา ๓. มิจฉาจารมีเวทนา ๒ ด้วยอำนาจแห่งสุขเวทนาและอุเบกขาเวทนา. แต่ไม่ใช่มีเวทนาเป็นอุเบกขา ในเพราะจิตเป็นตัวการให้ตกลงปลงใจ. มุสาวาทมีเวทนา ๓. ปิสุณาวาจาก็เหมือนกัน. ผรุสวาจามีเวทนาเป็นทุกข์อย่างเดียว. สัมผัปปลาปะมีเวทนา ๓. อภิชฌามีเวทนา ๒ ด้วยอำนาจแห่งสุขเวทนาและอุเบกขาเวทนา. มิจฉาทิฏฐิก็เหมือนกัน. (แต่) พยาบาทมีเวทนาเป็นทุกข์.


    แก้อกุศลมูล
    บทว่า มูลโต ความว่า ปาณาติบาตมีอกุศล ๒ อย่างเป็นมูลด้วยอำนาจแห่งโทสะและโมหะ.
    อทินนาทาน (มีอกุศล ๒ อย่างเป็นมูล) ด้วยอำนาจแห่งโทสะและโมหะ หรือด้วยอำนาจแห่งโลภะและโมหะ. มิจฉาจาร (มีอกุศล ๒ อย่างเป็นมูล) ด้วยอำนาจแห่งโลภะและโมหะ. มุสาวาทด้วยอำนาจแห่งโทสะและโมหะหรือโลภะและโมหะ. ปิสุณาวาจาและสัมผัปปลาปะก็เหมือนกัน (กับมุสาวาท).
    ผรุสวาจาด้วยอำนาจแห่งโทสะและโมหะ. อภิชฌามีอกุศลอย่างเดียวเป็นมูล ด้วยอำนาจแห่งโมหะ (น่าจะเป็นโลภะ -ผู้แปล-)
    พยาบาทก็เหมือนกัน (กับอภิชฌา). (แต่) มิจฉาทิฏฐิมีอกุศล ๒ อย่างเป็นมูลด้วยอำนาจแห่งโลภะและโมหะ ดังนี้แล.
    พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า โลโภ อกุสลมูลํ เป็นต้น (ดังต่อไปนี้)
    อกุศลธรรมชื่อว่าโลภะ เพราะอยากได้. ชื่อว่าโทสะ เพราะประทุษร้าย. ชื่อว่าโมหะ เพราะหลง.
    ในจำนวนอกุศลธรรมทั้ง ๓ อย่างเหล่านั้น โลภะชื่อว่าเป็นอกุศลมูล เพราะตัวมันเองเป็นทั้งอกุศล เพราะอรรถว่ามีโทษและมีทุกข์เป็นวิบาก เป็นทั้งรากเหง้าของอกุศลธรรมเหล่านี้มีปาณาติบาตเป็นต้น เพราะอรรถว่าเป็นสภาพแห่งสัมปยุตธรรมของอกุศลบางเหล่า และเพราะอรรถว่าเป็นอุปนิสสยปัจจัยของอกุศลธรรมบางอย่าง.
    สมจริงตามคำที่ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า
    ดูกรท่านผู้มีอายุ ผู้กำหนัดมากแล้ว ถูก<WBR>ราคะ<WBR>ครอบ<WBR>งำแล้ว มี<WBR>จิต<WBR>ถูก<WBR>ราคะรึงรัดแล้ว ย่อมฆ่าสัตว์มีชีวิตได้ ดังนี้เป็นต้น
    แม้ในการที่โทสะและโมหะเป็นอกุศลมูล ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.


    แก้กุศลกรรมบถ
    พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปาณาติปาตา เวรมณี กุสลํ (เจตนางดเว้นจากปาณาติบาตเป็นกุศล) เป็นต้นดังต่อไปนี้.
    อกุศลกรรมบถทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้น มีอรรถาธิบายดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วนั้นแหละ.
    เจตนาชื่อว่า เวรมณี เพราะย่ำยีเวร อธิบายว่า ละเวรได้.
    อีกอย่างหนึ่ง บุคคลเว้นจากเวรได้เพราะเจตนานี้เป็นเหตุ เพราะเหตุนั้น เจตนานั้นจึงชื่อว่า เวรมณี โดยเปลี่ยน วิ อักษร ให้เป็น เว อักษร ไป.
    นี้เป็นการขยายความในคำว่า เวรมณี นี้ โดยพยัญชนะก่อน.
    ส่วนการขยายความโดยอรรถ (ความหมาย) พึงทราบว่า วิรัติที่สัมปยุตด้วยกุศลจิต ชื่อว่าเวรมณี. วิรัติของผู้เว้นจากปาณาติบาตที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า การงดการเว้นจากปาณาติบาต ในสมัยนั้น ดังนี้ ชื่อว่าเป็นวิรัติที่สัมปยุตด้วยกุศลจิต.



    .
    .. อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค สัมมาทิฏฐิสูตร ว่าด้วยความเห็นชอบ
    อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒] [๓]
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
    อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=1518&Z=1753


    .
    ��ö��� �Ѫ����ԡ�� ��Żѳ��ʡ� ��Ż�������ä ����ҷԯ���ٵ� ��Ҵ��¤�����繪ͺ ˹�ҵ�ҧ��� � �� �

    .​
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เยี่ยว์จู่ไต้ผาว : ข้ามเครื่องเซ่นไหว้ไปเป็นพ่อครัว[​IMG]
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
    9 มิถุนายน 2553 07:58 น.[​IMG]

    《越俎代庖》  
    越(yuè) อ่านว่า เยวี่ย แปลว่า ข้าม
    俎( zǔ) อ่านว่า จู่ แปลว่า ภาชนะใส่เครื่องบวงสรวงบรรพบุรุษ
    代(dài) อ่านว่า ไต้ แปลว่า แทน
    庖(páo) อ่านว่า ผาว แปลว่า พ่อครัว


    [​IMG]
    ภาพประกอบโดย เฉียนเสวี่ยน ศิลปินสมัยราชวงศ์หยวน[​IMG]

    ในยุคโบราณ ก่อนการถือกำเนิดของราชวงศ์ต่างๆ ในประเทศจีน มีตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า ชายผู้ทรงคุณธรรมจริยธรรมผู้หนึ่ง เร้นกายทำไร่ไถนาอยู่ ณ ริมแม่น้ำอี๋สุ่ย เชิงเขาจีซาน เขามีนามว่า "สี่ว์โหยว" ยามใดที่หิวก็ปีนเขาขึ้นไปปลิดผลไม้รับประทาน ยามใดที่กระหายน้ำก็อาศัยสองมือวักน้ำในแม่น้ำอี๋สุ่ยมาดับกระหาย แม้ว่ามีผู้ตักเตือนเขาว่า "ชีวิตคนเราสั้นนัก ใยต้องเร้นกายอยู่อย่างไร้นาม ผ่านชีวิตลำบากยากแค้นถึงเพียงนี้เล่า?" สี่ว์โหยวกลับยิ้มพลางตอบว่า "เช่นนี้จึงสามารถมีชีวิตที่แสนอิสรเสรี ไม่ถือเป็นความยากลำบากอันใด"

    ครั้งหนึ่ง มีคนนึกห่วงใยสี่ว์โหยว ส่งกระบวยตักน้ำมาเพื่อให้เขาดื่มน้ำสะดวกขึ้น สี่ว์โหยวเอากระบวยนั้นแขวนไว้บนต้นไม้ แต่ยิ่งนานวัน ยามที่ลมโชย กระบวยโดนลมพัดเกิดเสียงดังน่ารำคาญยิ่ง สุดท้ายสี่ว์โหยวจึงโยนกระบวยทิ้งไป

    ในยุคเดียวกันนั้น ยังมีมหากษัตริย์นามว่า "ถังเหยา" หรือตี้เหยา กษัตริย์ในตำนานของจีนที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นปราชญ์ผู้ธำรงคุณธรรม พระองค์ได้ทราบเรื่องราวของสี่ว์โหยว ทรงดำริให้เขาสืบทอดราชบังลังค์ จึงได้เรียกเขามาพบและตรัสว่า "ยามที่สุริยันและจันทราลอยเด่นบนท้องนภา มีคนพยายามจุดฟืนไฟประชันแสง นั่นใช่ยากเย็นหรือไม่? ยามที่หยาดพิรุณโปรยจากฟากฟ้า มีผู้ต้องการให้น้ำรดลงเฉพาะผืนแผ่นดินของตน ครอบครองความชุ่มชื้นที่ประทานมาเพื่อนสรรพสัตว์ มิใช่สิ้นเปลืองแรงงานยิ่งหรือ? บัดนี้ปรากฏท่านผู้กอรปด้วยคุณธรรมจริยธรรมขึ้นมาในแผ่นดินผู้หนึ่ง หากเรารั้งตำแหน่งกษัตริย์ไว้กับตัวเอง ย่อมน่าเสียดายยิ่งนัก"

    ยามนั้นสี่ว์โหยวกลับปฏิเสธอำนาจเหนือแผ่นดิน กล่าวว่า "นกบนยอดไม้ใหญ่ยึดเกาะได้เพียงกิ่งไม้ใต้ผ่าเท้า มุสิกดื่มน้ำในลำธารเพียงดื่มได้แค่เต็มกระเพาะ เช่นเดียวกับข้าน้อย จะต้องการอำนาจเหนือแผ่นดินไปเพื่ออะไร...แม้แต่พ่อครัว หากไม่ปรุงอาหารตามหน้าที่ ผู้ควบคุมงานพิธีบูชาบรรพบุรุษยังมิอาจละทิ้งของเซ่นไหว้ ก้าวข้ามภาชนะใส่เครื่องบวงสรวงบรรพบุรุษเพื่อไปทำหน้าที่พ่อครัวแทน" เมื่อกล่าวจบ สี่ว์โหยวจึงได้อำลาถังเหยา เดินทางจากไป

    สำนวน "เยี่ยว์จู่ไต้ผาว" หรือ "ข้ามเครื่องเซ่นไหว้ไปเป็นพ่อครัว" เปรียบเปรยถึงการข้ามหน้าข้ามตา หรือล้ำเส้นไปทำงานของผู้อื่นที่อยู่นอกเหนือขอบเขตความรับผิดชอบของตน

    สำนวนนี้ใช้ในตำแหน่งภาคแสดง(谓语) หรือส่วนขยายนาม(定语) มีความหมายทางลบ

    .
    China - Manager Online
    China - Manager Online
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>ส้มโอมือ ผลไม้เก่าแก่ตระกูลส้ม
    Travel - Manager Online

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>8 มิถุนายน 2553 15:31 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=400 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=400> [​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>คนไทยสมัยก่อนคุ้นเคยกับส้มมือที่นำมาใช้ทำเป็นยาดม เรียกกันว่า 'ยาดมส้มโอมือ' ที่มีกลิ่นหอมเย็นชื่นใจ ใช้สูดดมบรรเทาอาการเป็นลม หน้ามืดตาลาย แต่เชื่อว่าคนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อย ที่ไม่รู้ว่ายาดมส้มโอมือทำมาจาก "ผลส้มโอมือ" ซึ่งเป็นผลไม้หายากในปัจจุบัน วันนี้"108เคล็ดกิน"จึงขอพาไปทำความรู้จักผลไม้ชนิดนี้กัน

    ส้มโอมือ หรือ ส้มมือ เป็นผลไม้ชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในจำพวกส้ม พบได้ทั่วไปในภูมิภาคเขตร้อน ผลรูปร่างแปลกกว่าส้มอื่น มีรูปร่างเรียวยาวห้อยลงมาเป็นแฉก ๆ คล้ายนิ้วมือ บ้างก็ว่าคล้ายลำเทียน ขนาดใกล้เคียงกับนิ้วมือผู้ใหญ่ หรือใหญ่กว่า

    ดอกสีขาว มีกลิ่นหอมมาก ผลมีผิวขรุขระ มีร่องแฉกคล้าย นิ้วมือกว่า 10 นิ้ว เมื่อสุกผลมีสีเหลืองสด ภายในผลสีขาว ไม่มีเมล็ด เปลือกหนาคล้ายฟองน้ำอย่างส้มโอ เนื้อแห้งไม่ชุ่มน้ำ ผิวเปลือกมีน้ำมันหอมระเหย กลิ่นหอมคล้ายกลิ่นมะนาว

    ส่วนเนื้อแห้ง ไม่ฉ่ำน้ำ มักไม่นิยมนำผลมารับประทานสดเหมือนส้มทั่วไป รสชาติจืดชืดไม่อร่อยแต่จะนำเปลือกไปใช้ประกอบในการปรุงอาหาร และทำยา เพราะมีสรรพคุณในการกระตุ้นหัวใจ บำรุงหัวใจ บำรุงตับ ทำให้เลือดลมดี ไปสกัดทำน้ำมันหอมระเหย แก้อาการวิงเวียนศีรษะ คลายเครียด ในประเทศจีนและญี่ปุ่นนิยมนำไปไว้ในห้องนอนและห้องน้ำเพื่ออบกลิ่น ขณะที่ในประเทศตะวันตกรู้จักสรรพคุณทางการแพทย์ของส้มโอมือมาช้านาน ด้วยเหตุนี้ จึงตั้งชื่อส้มชนิดนี้เป็นภาษาละตินว่า medica

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>บุตรบุญธรรม /อ้วน อารีวรรณ</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>8 มิถุนายน 2553 08:54 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> jatung_32@yahoo.com

    เมื่อตอนที่แล้ว ได้เขียนถึงเรื่อง “บุตรนอกสมรส” ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายพื้นฐานทั่วไปที่น่ารู้ บางท่านอาจทราบดีอยู่แล้ว หรืออาจทราบมากกว่าผู้เขียนเสียอีก แต่บางท่านอาจทราบอยู่บ้าง ถือว่าเป็นการทบทวนความทรงจำกันไปนะคะ

    และสืบเนื่องจากเนื้อหาตอนที่แล้ว ได้กล่าวถึงการใช้อำนาจปกครองบุตร ในกรณีได้ยกบุตรของตนเองให้เป็นบุตรบุญธรรมคนอื่น ก็ทำให้ตนเองนั้นไม่มีอำนาจปกครองบุตรอีกต่อไปเพราะผู้รับบุตรบุญธรรมจะเป็นผู้มีอำนาจปกครองบุตรนั้นแทนตน

    ทำให้คราวนี้ ดิฉันจึงตั้งใจเขียนถึงเรื่อง “บุตรบุญธรรม” เพื่อให้หลายๆ ท่านที่สนใจอยากรับบุตรบุญธรรมได้ทราบหลักข้อกฎหมายที่สำคัญๆ ในการรับบุตรบุตรธรรมกันค่ะ

    หลักเกณฑ์สำคัญอันดับแรกที่ควรทราบ คือ อายุ ซึ่งหมายถึงอายุของบุคคลที่จะรับบุตรบุญธรรมและผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม

    ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรมได้ ต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 25 ปี ดังนั้นอายุมากกว่านี้ไม่มีปัญหา และผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมได้ต้องอายุน้อยกว่าผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี หมายความว่า ถ้าผู้รับบุตรบุญธรรมอายุ 25 ปี สามารถรับบุตรบุญธรรมที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึงไม่เกิน 10 ปี ได้ แต่เนื่องจากผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมยังเป็นเด็กอยู่ ผู้รับบุตรบุญธรรมจึงต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองของเด็กก่อนด้วย

    ดังนั้นหากเป็นกรณี ผู้รับบุตรบุญธรรมอายุ 35 ปี อยากรับบุตรบุญธรรมอายุ 20 ปี ก็สามารถกระทำได้ หากบุคคลที่จะเป็นบุตรบุญธรรมยินยอม โดยไม่ต้องถามพ่อแม่หรือผู้ปกครองอีกเพราะบรรลุนิติภาวะแล้ว และในกรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมมีอายุ 15 ปีแล้วแต่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ แม้พ่อแม่ผู้ปกครองให้ความยินยอม ตัวเด็กก็ต้องให้ความยินยอมด้วยเช่นกัน

    ผู้รับบุตรบุญธรรมจะรับบุตรบุญธรรมกี่คนก็ได้ ไม่มีกฎหมายกำหนดห้าม และผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่บรรลุนิติภาวะแล้วจะเป็นบุตรบุญธรรมบุคคลอื่นมากกว่า 1 ท่านก็ได้ เว้นแต่ในกรณีผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่ยังเป็นเด็ก ไม่สามารถเป็นบุตรบุญธรรมคนอื่นได้มากกว่า 1 ท่าน มีข้อยกเว้นกรณีเดียว คือ สามีหรือภริยาที่จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมได้ขอรับเด็กคนนั้นเป็นบุตรบุญธรรมด้วยกัน

    ในกรณีรับเด็กที่ถูกทอดทิ้งจากพ่อแม่ผู้ให้กำเนิด จากมูลนิธิต่างๆ หรือหน่วยงานภาครัฐดูแลอยู่ เช่น สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนต่างๆ ซึ่งเด็กอยู่ในการปกครอง ต้องให้ผู้รับผิดชอบในองค์กรเหล่านี้ให้ความยินยอมในการที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม



    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=280 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=280>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรมหากได้สมรสถูกต้องตามกฎหมายก่อนแล้ว การรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อนด้วย และความยินยอมนี้ ไม่ได้หมายความว่าคู่สมรสได้เข้าร่วมเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมกับตน แต่หากรับบุตรบุญธรรมไปโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส จะส่งผลให้การรับบุตรบุญธรรมไม่สมบูรณ์และไม่มีผลตามกฎหมาย แม้ว่าจะได้มีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมถูกต้องตามกฎหมายแล้วก็ตาม เนื่องจากคู่สมรสมีสิทธิร้องขอต่อศาลขอให้เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมนั้นได้

    เนื่องจากการรับบุตรบุญธรรมจะก่อให้เกิดภาระความรับผิดชอบระหว่างผู้รับบุตรบุญธรรมและผู้เป็นบุตรบุญธรรม โดยเฉพาะหากผู้เป็นบุตรบุญธรรมยังเป็นเด็กอยู่ เช่น ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษา เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองดูแลบุตรบุญธรรมในด้านต่างๆ เช่น ทำโทษว่ากล่าวสั่งสอนตามสมควร มีสิทธิกำหนดที่อยู่อาศัย เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมในการกระทำใดๆ แทนบุตรบุญธรรม ตลอดจนจัดการทรัพย์สินของผู้บุตรบุญธรรมในช่วงเวลาที่ยังเป็นเด็ก

    ส่วนผู้เป็นบุตรบุญธรรมก็มีหน้าที่ความรับผิดชอบต่อผู้รับบุตรบุญธรรมเฉกเช่นเดียวกับบิดามารดาผู้ให้กำเนิด นั้นคือต้องอุปการะเลี้ยงดูผู้รับบุตรบุญธรรมเช่นเดียวกับบิดามารดาด้วย เมื่อผู้รับบุตรบุญธรรมเสียชีวิตโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมระบุยกทรัพย์สินให้ใคร บุตรบุญธรรมย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมในฐานะบุตรผู้สืบสันดาน

    หลักสำคัญต่อมา คือ การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 ซึ่งผู้รับบุตรบุญธรรมและผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขของกฎหมาย และร้องขอจดทะเบียนได้ที่นายทะเบียน ยังเขต หรืออำเภอ

    เงื่อนไขของกฎหมายที่สำคัญ กรณีผู้เป็นบุตรบุญธรรมเป็นเด็ก คือ ต้องมีการทดลองเลี้ยงดูเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน โดยผู้ประสงค์จะขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมจะต้องยื่นคำขอพร้อมทั้งหนังสือแสดงความยินยอมของบุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอมในการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมต่ออธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ ในกรณีผู้ยื่นคำขออยู่ในกรุงเทพหรือต่างประเทศ แต่หากผู้ยื่นคำขออยู่ในต่างจังหวัด ให้ยื่นคำขอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดที่ตนอาศัยอยู่ตามทะเบียนบ้าน

    จากนั้นเจ้าหน้าที่จะดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพครอบครัว ความเป็นอยู่ ความเหมาะสมของผู้ขอรับบุตรบุญธรรม ผู้มีอำนาจให้ความยินยอม และเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรมก่อนมีคำสั่งให้ทดลองเลี้ยงดูเด็กได้

    กรณีที่ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมเป็นเครือญาติใกล้ชิดกับเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม เช่น เป็นพี่ร่วมบิดาหรือพี่ร่วมมารดา เป็น ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา หรือเป็นคู่สมรสที่ได้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมอยู่ก่อนแล้ว หรือเป็นบุตรที่ติดมาของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ก็ไม่จำเป็นต้องทดลองเลี้ยงดูเด็กไม่น้อยกว่า 6 เดือนก่อนแต่อย่างใด

    ข้อควรทราบ กรณีการขอเลิกรับบุตรบุญธรรม สามารถกระทำได้หากทั้งฝ่ายผู้รับบุตรบุญธรรมและผู้เป็นบุตรบุญธรรมยินยอมพร้อมใจกันทั้งสองฝ่าย หากผู้เป็นบุตรบุญธรรมยังเป็นเด็ก การเลิกรับบุตรบุญธรรมจะกระทำได้เมื่อได้รับความยินยอมจากพ่อแม่ของผู้เป็นบุตรบุญธรรม หากเป็นความต้องการของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สมัครใจกันทั้งสองฝ่าย ก็จำเป็นต้องฟ้องคดีต่อศาล โดยมีเหตุฟ้องเลิกการรับบุตรบุญธรรมได้ ดังนี้

    1. ฝ่ายหนึ่ง ทำการชั่วร้าย ไม่ว่าจะเป็นความผิดอาญา หรือไม่ก็ตาม หากทำให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง หรือถูกดูหมิ่นเกลียดชัง หรือได้รับความเสียหาย หรือเดือดร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้

    2. ฝ่ายหนึ่งหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่ง หรือพ่อแม่ของอีกฝ่ายหนึ่ง หรือผู้เป็นบุตรบุญธรรมได้หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมอย่างร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้

    3. ฝ่ายหนึ่งกระทำการประทุษร้ายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจอย่างร้ายแรง แก่อีกฝ่ายหนึ่งหรือพ่อแม่หรือคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้นเป็นความผิดที่มีบทลงโทษทางอาญา อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้

    4. ฝ่ายหนึ่งไม่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้

    5. ฝ่ายหนึ่งจงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน 1 ปี อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้

    6. ฝ่ายหนึ่งต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเกิน 3 ปี อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้ เว้นแต่เป็นความผิดที่กระทำโดยประมาทจึงฟ้องไม่ได้

    7. ผู้รับบุตรบุญธรรมทำผิดหน้าที่บิดามารดา ได้กระทำละเมิดไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย เป็นเหตุให้เกิดหรืออาจจะเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อบุตรบุญธรรม เช่น ไม่ให้การศึกษากับบุตรบุญธรรม ไม่จัดการทรัพย์สินของบุตรบุญธรรมด้วยความระมัดระวัง เอาเงินได้ของบุตรบุญธรรมไปใช้จ่ายนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่เอาไปใช้จ่ายส่วนตัวจนเกินฐานะ เป็นต้น

    การเลิกรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย และการฟ้องคดีขอเลิกรับบุตรบุญธรรมต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ผู้ขอเลิกรับบุตรบุญธรรมรู้หรือควรได้รับรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุให้เลิกรับบุตรบุญธรรม หรือเมื่อไม่เกิน 10 ปีนับแต่เหตุนั้นเกิดขึ้น

    สุดท้ายนี้ จะว่าไปแล้วการเขียนบทความของดิฉันนั้นเปรียบเสมือนแม่ครัวที่พยายามปรุงรสชาติอาหารแบบกลางๆ ไม่ให้เผ็ดร้อนเกินไป และก็ไม่ให้จืดชืดมีแต่น้ำ รวมถึงอาจให้เครื่องปรุงรสไม่ครบถ้วนนัก รสชาติที่ออกมาจึงอาจไม่ถูกปากถูกใจใครหลายคน ก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย อีกทั้งหากการกระทำใดๆ ที่ผ่านมาของดิฉันเคยล่วงเกินท่านไป โดยรู้ตัว หรือไม่รู้ตัวก็ดี ไม่ว่าจะด้วยทางบทความ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ก็ขออโหสิกรรมต่อกันด้วยนะคะ
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    .

    Celeb Online
    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>จับแก๊งคอลเซ็นเตอร์ตุ๋นโอนเงินข้ามชาติ สูญ 100 ล้านต่อเดือน!
    Crime - Manager Online
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ทีมข่าวอาชญากรรม</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>8 มิถุนายน 2553 16:57 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=left height=12>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=160><TABLE cellSpacing=4 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>เจ้าหน้าที่นำตัวผู้ต้องหาทั้ง 4 ของแก๊งคอลเซ็นเตอร์มาแถลงข่าว</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=165 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=4 background=/images/linedot_vert3.gif>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=7 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>รวบยกแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกโอน คนร้ายจะใช้บัตรกดเงินอัตโนมัติไปกดเอาเงินสดออกมาแล้วโอนผ่านบริษัททัวร์ หรือโอนเงินเข้าบัญชีเครือข่ายกลับไปจีน และไต้หวัน มีมูลค่าความเสียหาย 100 ล้านต่อเดือน ผู้ต้องหายังปฏิเสธไม่มีส่วนรู้เห็น อ้างเป็นเพียงแม่บ้าน แต่เจ้าหน้าที่มีหลักฐานชัดใครทำหน้าที่อะไรบ้าง

    วันนี้ (8 มิ.ย.) ที่กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) พล.ต.ต.ปัญญา มาเม่น รองผบช.ก. พร้อมด้วยนายพงษ์สิทธิ์ ชัยฉัตรพรสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สายบริหารการป้องกันการทุจริต ธนาคารไทยพาณิชย์ คณะทำงานป้องกันการทุจริตบัตรเครดิต ร่วมกันแถลงผลการจับกุม น.ส.นุชจรินทร์ หวานชิต อายุ 20 ปี น.ส.ประภา โพบาง อายุ 45 ปี นางสมพร น้อยอิ่ม อายุ 43 ปี และนายเฉลิม จุฬาวไลวงศ์ อายุ 47 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับคดีร่วมกันฉ้อโกงทรัพย์ ในข้อหาฉ้อโกงประชาชน โดยมีพฤติการณ์ที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายอาชญากรรมข้ามชาติ จัดตั้งสำนักงานเครือข่าย call center หลอกโอนเงิน

    พล.ต.ต.ปัญญา กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ทางตำรวจทราบว่าแก๊งหลอกโอนเงินดำเนินการเป็นเครือข่าย โดยมีชาวไทยร่วมกับชาวจีน กระทำความผิดมาตั้งแต่ ปี 2548 ซึ่งใช้โทรศัพท์ระบบ VOIP (Voice Over Internet Protocol) ซึ่งสามารถตั้งค่าหมายเลขได้ ต้นทางจากกวางเจา ประเทศจีน และบางส่วนในไทย เมื่อผู้เสียหายยอมโอนเงินให้แล้ว คนร้ายจะใช้บัตรกดเงินอัตโนมัติไปกดเอาเงินสดออกมาแล้วนำไปโอนเงิน ผ่านบริษัท ทัวร์ ร้านเลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หรือ โอนเงินเข้าบัญชีกลุ่มคนร้ายเองกลับไปยังจีน เงินบางส่วนอาจโอนเงินเข้าบัญชีของคนร้ายที่อยู่ในไทย

    "จากนั้นพนักงานสอบสวนได้รวบรวมหลักฐานร่วมมือกับตำรวจสอบสวนกลาง มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน และร่วมกันวางแผน เพื่อปฎิบัติการตรวจค้น Call Center ของกลุ่มคนร้ายที่เมืองฉางอัน สามารถจับกุม ผู้ต้องหาได้ 15 คน มีชาวไทย 13 คน ชาวไต้หวัน 2 คน และเมืองจูไห่ จับกุมชาวไต้หวันได้ 15 คน สำหรับผู้ต้องหาชาวไทยทั้ง 13 คน อยู่ระหว่าง ขอนำตัวกลับมาดำเนินคดีในไทย" รองผบช.ก. กล่าว

    ส่วนผู้ต้องหาทั้ง 4 รายข้างต้น ยังให้การปฏิเสธว่าไม่มีส่วนรู้เห็น และเป็นเพียงแม่บ้านทำความสะอาดเท่านั้น แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจ มีพยานหลักฐานการกระทำความผิดชัดเจนและได้ตั้งข้อกล่าวหาว่าเป็นพนักงาน call center ส่วนนายเฉลิม ทำหน้าที่เป็นคนกดเงินและโอนเงินกลับไปยังประเทศไต้หวัน

    พล.ต.ต.ปัญญา กล่าวต่อไปว่า แต่ละปี จะมีมูลค่าความเสียหายเฉลี่ยสูงถึง 100 ล้านบาทต่อเดือน ส่วนการดำเนินการจับกุมเป็นเรื่องที่ยาก เพราะการตรวจสอบสัญญาณโทรศัพท์ดังกล่าวมีความสลับสับซ้อนและเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. chantasakuldecha

    chantasakuldecha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,331
    อ้างอิง:
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-RIGHT: 1px inset" class=alt2>ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    เรียน น้องchantasakuldecha

    วันนี้ พี่ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนาม กกุสันโธ , พระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนาม โกนาคมน , พระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนาม กัสสปะ , พระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนาม สมณโคดม มาเพื่อให้เราอัญเชิญไปถวายวัดแล้วนะครับ

    ส่วนจะเป็นของพระองค์ไหน สัณฐานอย่างไร พี่จะโทร.บอกอีกครั้งนะครับ

    มาโมทนาบุญร่วมกันกับคณะกองทุนหาพระถวายวัดครับ

    .

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ผมจะอัญเชิญไปให้ผู้ใหญ่ที่ผมนับถือ ไปถวายที่วัดกาฬสินธ์ จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อนำไปบรรจุที่พระเกศขององค์พระประธาน แล้วจะมาแจ้งให้ทราบอีกครั้งหนึ่งครับ
    โมทนา สาธุ สาธุครับ<!-- google_ad_section_end -->

    เมื่อครั้นที่ผมอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปให้ผู้ใหญ่ที่ผมนับถือ พร้อมกันนั้นได้อัญเชิญพระอุปคุตปางภัตตกิจไปด้วย ตอนที่ผมอัญเชิญจากโต๊ะหมู่บูชาที่บ้านผม ผมได้สัมผัสกับองค์พระจะมีสิ่งติดนิ้วมาด้วย ผมสังเกตุดูแล้วน่าจะเป็นพระธาตุที่เพิ่งเสด็จมา เพราะว่าผมไม่เคยเห็นเลยตลอดที่ผมบูชา ผมจึงไม่ได้อัญเชิญองค์พระบูชาองค์นี้ไป แต่ได้เปลี่ยนอีกองค์นึงไปแทนครับ ขอพี่ๆเพื่อนๆสมาชิกมาร่วมโมทนากับผมด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มิถุนายน 2010
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    โมทนาบุญทุกประการครับ

    เยี่ยมมากกกกกกกกกกกกกกกกกก
    :cool:
    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มิถุนายน 2010
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    กรมพระยาเดชาดิศร
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามั่ง กรมพระยาเดชาดิศร

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- start content -->
    <TABLE class=toccolours><TBODY><TR><TH style="BACKGROUND: mediumpurple">สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามั่ง กรมพระยาเดชาดิศร</TH></TR><TR><TD><TABLE style="BACKGROUND: none transparent scroll repeat 0% 0%; MARGIN: 0px auto; WIDTH: 22em"><TBODY><TR><TH style="BACKGROUND: mediumpurple" colSpan=3><CENTER>ข้อมูล</CENTER></TH></TR><TR><TD vAlign=top>วันประสูติ</TD><TD colSpan=2>11 พฤษภาคม พ.ศ. 2336</TD></TR><TR><TD vAlign=top>วันสิ้นพระชนม์</TD><TD colSpan=2>4 กันยายน พ.ศ. 2402</TD></TR><TR><TD vAlign=top>พระราชบิดา</TD><TD colSpan=2>พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย</TD></TR><TR><TD vAlign=top>พระมารดา</TD><TD colSpan=2>เจ้าจอมมารดานิ่ม</TD></TR><TR><TD vAlign=top>ราชวงศ์</TD><TD colSpan=2>ราชวงศ์จักรี</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าชายมั่ง พระโอรสใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่ เจ้าจอมมารดานิ่มซึ่งเป็นธิดาของเจ้าพระยาพระคลัง(หน) ประสูติเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 7 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2336 <SUP class=reference id=cite_ref-0>[1]</SUP>
    พระองค์ทรงกำกับกรมอาลักษณ์ (กรมที่เกี่ยวกับการหนังสือ) ต่อมา สมัยรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร รวบรวมโคลงโลกนิติ ซึ่งปราชญ์อินเดียแต่งไว้แต่โบราณ มาชำระแก้ไขใหม่เพื่อจารึกลงในแผ่นดินไว้ ณ วัดพระเชตุพน นับเป็นงานชิ้นเอกของท่าน นอกจากนี้ยังทรงนิพนธ์โคลงนิราศเสด็จไปทัพเมืองเวียงจันทน์ และคำฉันท์กล่อมพระโอรส
    พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ลงในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 10 ปีมะแม ตรงกับวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2402 พระชนมายุ 67 ปี พระราชทานเพลิง ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2403 ทรงเป็นต้นสกุลเดชาติวงศ์
    ในรัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นอดิศร ในรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯเลื่อนขึ้นเป็น กรมขุนอดิศร ในรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯเลื่อนขึ้นเป็น กรมสมเด็จพระเดชาดิศร ทรงกำกับกรมพระอาลักษณ์ตั้งแต่รัชกาลที่ 2 และในรัชกาลที่ 4 โปรดฯให้ทรงกำกับกรมนาด้วย
    พระโอรส-ธิดา

    1. หม่อมเจ้านฤมล เดชาติวงศ์ (พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านฤมลมณีรัตน์)
    2. หม่อมเจ้าพันแสง เดชาติวงศ์
    3. หม่อมเจ้าสำลี เดชาติวงศ์ (พ.ศ. 2368 - 18 มกราคม พ.ศ. 2431)
    4. หม่อมเจ้าสวัสดิ์ เดชาติวงศ์ (พ.ศ. 2370 - 1 เมษายน พ.ศ. 2434)
    5. หม่อมเจ้าวิไลย เดชาติวงศ์ (พ.ศ. 2370 - 26 ตุลาคม พ.ศ. 2431)
    6. หม่อมเจ้าหญิง
    7. หม่อมเจ้าจิต เดชาติวงศ์
    8. หม่อมเจ้าวงกต เดชาติวงศ์
    9. หม่อมเจ้าอัน เดชาติวงศ์
    พระนิพนธ์

    • โคลงโลกนิติ
    • โคลงภาพต่างภาษา
    • โคลงนิราศปราบขบถเวียงจันทน์
    • ฉันท์ต่าง ๆ ในประชุมดุษฏีสังเวย
    อ้างอิง

    • ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. ISBN 974-221-818-8
    • หนังสือ53 พระมหากษัตริย์ไทย ธ ทรงครองใจไทยทั้งชาติ
    • แม่เล่าให้ฟัง พระราชประวัติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ,พระนิพนธ์ในสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
    1. ^ ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. ISBN 974-222-648-2

    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามั่ง กรมพระยาเดชาดิศร - วิกิพีเดีย

    .
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เว้นวิจารณ์ว่างเว้น สดับฟัง
    เว้นที่ถามอันยัง ไป่รู้
    เว้นเล่าลิขิตสัง- เกตว่าง เว้นนา
    เว้นดั่งกล่าวว่าผู้ ปราชญ์ได้ฤๅมี
    ถอดความ
    หากเราไม่รู้จักการฟัง การคิด การถาม และการเขียน เราจะเป็นนักปราชญ์ไม่ได้
    ความรู้ที่ได้
    ถ้าอยากเป็นนักปราชญ์ต้องรู้จักการฟัง การคิด การถาม และการเขียนอย่างสม่ำเสมอ

    ------------------------------------------------

    รู้น้อยว่ามากรู้ เริงใจ
    กลกบเกิดอยู่ใน สระจ้อย
    ไป่เห็นชเลไกล กลางสมุทร
    ชมว่าน้ำบ่อน้อย มากล้ำลึกเหลือ
    ถอดความ
    คนที่รู้น้อยแล้วชอบอวดว่าตนรู้มากเปรียบเหมือนกบในสระน้ำจะคิดว่าสระนั้นใหญ่โตเพราะไม่เคยเห็นทะเลหรือมหาสมุทรว่าใหญ่กว่าสระของตนเองขนาดไหน
    ข้อคิดที่ได้
    คนเราไม่ควรโอ้อวดตัวเอง เพราะในโลกนี้มีอะไรที่เราต้องเรียนรู้อีกมาก

    ------------------------------------------------

    เสียสินสงวนศักดิ์ไว้ วงศ์หงส์
    เสียศักดิ์สู้ประสงค์ สิ่งรู้
    เสียรู้เร่งดำรง ความสัตย์ ไว้นา
    เสียสัตย์อย่าเสียสู้ ชีพม้วยมรณา
    ถอดความ
    เรายอมเสียเงินทองซึ่งหามาด้วยความยากลำบากเพื่อรักศักดิ์ศรีของเราไว้และเรายอมเสียศักดิ์ศรีเพื่อแลกกับความรู้ยอมเสียความรู้เพื่อที่จะรักษาความซื่อสัตย์สุจริตของเราไว้ ถ้าจะให้เราเสียความสู้สัตย์สุจริตเรายอมตายดีกว่า
    ข้อคิดที่ได้
    เรายอมตายดีกว่าที่จะยอมเป็นคนที่ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริต

    ------------------------------------------------

    ตัดจันทน์ฟันม่วงไม้ จัมบก
    แปลงปลูกหนามลามรก รอบเรื้อ
    ฆ่าหงส์มยุรนก กระเหว่า เสียนา
    เลี้ยงหมู่กากินเนื้อ ว่ารู้ลีลา
    ถอดความ
    หากเราตัดต้นจันทน์ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ที่มีราคาฟันต้นมะม่วงทิ้งแล้วปลูกหนามแทนฆ่าหงส์และนกยูงเอาเนื้อมาเลี้ยงนกกาซึ่งมันไม่คุ้มกับประโยชน์ที่ควรจะได้ก็เหมือนเราเป็นคนโง่
    ข้อคิดที่ได้
    การทำลายสิ่งที่มีประโยชน์ เพื่อสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ นับเป็นการกระทำที่สูญเปล่า

    ------------------------------------------------

    น้ำเคี้ยวยูงว่าเงี้ยว ยูงตาม
    ทรายเหลือบหางยูงงาม ว่าหญ้า
    ตาทรายยิ่งนิลวาม พรายเพริศ
    ลิงว่าหว้าหวังหว้า หว่าดิ้นโดดตาม
    ถอดความ
    สายน้ำที่คดเคี้ยวนกยูงคิดว่างูจึงเดินตามเนื้อทรายเห็นหางนกยูงคิดว่าหญ้าก็จะเดินตามไปกินตาของเนื้อทรายวาวทำให้ลิงคิดว่าเป็นลูกหว้าจึงเดินตามเพื่อจะไปกิน
    ข้อคิดที่ได้
    ก่อนที่จะเชื่ออะไรหรือทำตามใครควรคิดดูให้รอบคอบเสียก่อนจะได้ไม่ถูกหลอกง่ายๆ

    ------------------------------------------------

    พระสมุทรสุดลึกล้น คณนา
    สายดิ่งทิ้งทอดมา หยั่งได้
    เขาสูงอาจวัดวา กำหนด
    จิตมนุษย์นี้ไซร้ ยากแท้หยั่งถึง
    ถอดความ
    วามลึกของมหาสมุทรเราสามารถวัดได้ ภูเขาสูงเราก็สามารถวัดได้ แต่จิตใจของมนุษย์เราไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าเขาคิดอย่างไร
    ข้อคิดที่ได้
    เราไม่ควรไว้ใจใครง่าย ๆ เพราะเราไม่สามารถรู้ได้ว่าที่แท้จริงแล้วใจเขาคิดอย่างไร

    ------------------------------------------------

    รักกันอยู่ขอบฟ้า เขาเขียว
    เสมออยู่หอแห่งเดียว ร่วมห้อง
    ชังกันบ่แลเหลียว ตาต่อ กันนา
    เหมือนขอบฟ้ามาป้อง ป่าไม้มาบัง
    ถอดความ
    คนรักกันถึงอยู่ไกลสุดหล้าฟ้าเขียวก็เหมือนอยู่ใกล้กัน แต่คนที่เกลียดกันแม้จะอยู่ใกล้กันก็เหมือนอยู่ไกลกันเพราะไม่ได้ใส่ใจกัน
    ข้อคิดที่ได้
    คนที่รักกันจะมีใจคิดถึงกันอยู่เสมอ แต่คนเกลียดกันจะไม่สนใจกันและกัน

    ------------------------------------------------

    ให้ท่านท่านจักให้ ตอบสนอง
    นบท่านท่านจักปอง นอบไหว้
    รักท่านท่านควรครอง ความรัก เรานา
    สามสิ่งนี้เว้นไว้ แต่ผู้ทรชน
    ถอดความ
    การให้ การไหว้ และความรักหากเราให้กับคนเลวเราจะไม่ได้รับสิ่งใดตอบแทนเลย
    ข้อคิดที่ได้
    เราควรให้สิ่งที่ดี ๆ กับคนดี ไม่ควรให้กับคนชั่วเพราะเราจะไม่ได้อะไรกลับมาเลย.

    Untitled Document
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE align=center><TBODY><TR><TD>รู้น้อยว่ามากรู้</TD><TD>เริงใจ</TD></TR><TR><TD>กลกบเกิดอยู่ใน</TD><TD>สระจ้อย</TD></TR><TR><TD>ไป่เห็นชเลไกล</TD><TD>กลางสมุทร</TD></TR><TR><TD>ชมว่าน้ำบ่อน้อย</TD><TD>มากล้ำลึกเหลือ ฯ</TD></TR></TBODY></TABLE>



    โคลงโลกนิติ
    ศิลาจารึกวัดพระเชตุพน
    ผู้แต่ง: สมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร
    .

    โคลงโลกนิติ - วิกิซอร์ซ
    .



    .
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948

    ขอแก้ไขครับ

    พระบูชา หลวงปู่พระอุปคุตเถระเจ้า ปางภัตตกิจ
    ไม่ใช่ปางฉันทกิจครับ

    .
     
  18. chantasakuldecha

    chantasakuldecha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,331
    แก้ไขเรียบร้อยแล้วครับ
     
  19. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,431
    โมทนาสาธุครับ

    คุ้นๆประโยคนี้จากพี่หนุ่มนะครับ(ผมปรับนิดหน่อย)

    "สิ่งที่ไม่รู้ ไม่เคยเห็น ไม่ใช่ว่าไม่มี เพียงแต่จักมีปัญญาค้นหา..ว่ามีอยู่จริงหรือไม่"
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ที่มา pm ผม

    <TABLE class=tborder style="BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px" cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=tcat>[​IMG]
    ข้อความส่วนตัว: พระสมเด็จ </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=tborder id=post cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">[​IMG] วันนี้, 03:22 PM </TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>เอ๋เชียงใหม่<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    วันที่สมัคร: Feb 2009
    ข้อความ: 129
    Groans: 0
    Groaned at 0 Times in 0 Posts
    ได้ให้อนุโมทนา: 2
    ได้รับอนุโมทนา 392 ครั้ง ใน 117 โพส
    พลังการให้คะแนน: 40 [​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_ style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><CENTER>พระสมเด็จ

    </CENTER>
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1>ผมอยากได้พระสมเด็จที่เสกโดยหลวงปู่ทั้ง5 จะทำอย่างไรบ้างครับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ------------------------

    มี 2 ทางเลือกครับ

    1.ร่วมทำบุญในกระทู้ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ บมจ.ธ.กรุงไทย สาขาลาดพร้าว102 บช.ออมทรัพย์เลขที่1890-13128-8 บัญชี นางพิชญ์สินี ชาญปารีสชญา,นายอุเทน งามศิริ,นายสิรเชษฎ์ ลีละสุนทเลิศ จำนวนเงินที่ร่วมทำบุญ 10,000 บาท
    (หมายเหตุ ผมไม่ลงรูปพระวังหน้าในกระทู้พระวังหน้าฯ หรือกระทู้ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง และ พระวังหน้า ไม่สามารถที่จะนำไปซื้อขายในวงการพระเครื่องของเมืองไทยได้)

    2.ผมให้ฟรีแต่มีเงื่อนไข และไม่ต้องเสียค่าจัดส่ง เพราะผมจะจ่ายเงินค่าจัดส่งให้ด้วย
    ตามนี้ครับ

    ผมให้ได้ครับ แต่ต้องมีข้อแม้ 4 ข้อคือ
    1.ต้องดูแล ช่วยเหลือ ป้องกัน ประเทศไทย ตลอดชีวิต
    2.ต้องดูแล ช่วยเหลือ ป้องกัน ศาสนาพุทธ ตลอดชีวิต
    3.ต้องดูแล ช่วยเหลือ ป้องกัน สถาบันพระมหากษัตริย์ ตลอดชีวิต
    4.ห้อยพระที่หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร (คณะโสณะ-อุตระ) อธิษฐานจิต องค์ที่ผมได้ให้คุณเอ๋เชียงใหม่ ทุกวันและตลอดชีวิต

    ผมขอให้ตั้งจิต ตั้งสัจจะ และสาบานตามนี้ครับ

    "ข้าพเจ้า บุคคลที่ใช้ชื่อในเว็บพลังจิตว่า เอ๋เชียงใหม่ ขอตั้งจิต ตั้งสัจจะ และสาบานด้วยกาย วาจา ใจ ต่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ , พระอรหันต์ทุกๆพระองค์ , พระมหาโพธิสัตว์และพระโพธิสัตว์ทุกๆพระองค์ ,เทพเทวาทั้ง 16 ชั้นฟ้า ,คณะหลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร (คณะพระธรรมทูต คณะโสณะ-อุตระ) และพยามัจจุราชเจ้า ว่า
    ข้าพเจ้าขอรับพระที่หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร (คณะโสณะ-อุตระ) อธิษฐานจิต ไปเพื่อสักการะบูชา ,ขอห้อยทุกวันตลอดชีวิต
    และทำตามข้อแม้อีก 3 ข้อคือ
    1.ต้องดูแล ช่วยเหลือ ป้องกัน ประเทศไทย ตลอดชีวิต
    2.ต้องดูแล ช่วยเหลือ ป้องกัน ศาสนาพุทธ ตลอดชีวิต
    3.ต้องดูแล ช่วยเหลือ ป้องกัน สถาบันพระมหากษัตริย์ ตลอดชีวิต
    หากข้าพเจ้าทำได้ตามที่ตั้งจิต ตั้งสัจจะ และสาบาน ขอให้ข้าพเจ้าจงประสบแต่ความสุข ความเจริญ ความสำเร็จทุกๆประการ แต่หากข้าพเจ้าทำไม่ได้ตามที่ตั้งจิต ตั้งสัจจะ และสาบาน ขอให้ข้าพเจ้าจงประสบแต่ความทุกข์ ความเสื่อม ความล้มเหลวทุกๆประการ และขอให้มีผลโดยเร็วฉับพลันและตลอดไป
    ข้าพเจ้า ได้อ่านและเข้าใจข้อความของการตั้งจิตตั้งสัจจะและสาบานนี้โดยตลอดแล้ว และถึงแม้ว่าข้าพเจ้าไม่ได้อ่านและหรือไม่เข้าใจข้อความของการตั้งจิต ตั้งสัจจะและสาบานนี้ แต่หากว่าข้าพเจ้าได้นำข้อความการตั้งจิตตั้งสัจจะและสาบานนี้ ลงในเว็บพลังจิต ให้ถือว่าข้าพเจ้าได้เข้าใจทั้งหมดแล้วอีกทั้งยินดีในการปฎิบัติตามการตั้งจิต ตั้งสัจจะและสาบาน และนำข้อความการตั้งจิต ตั้งสัจจะและสาบานนี้ ลงในกระทู้พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....เว็บพลังจิต ในการขอรับพระวังหน้าที่หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดรทั้ง 5 พระองค์อธิษฐานจิต และยินดีในการปฎิบัติตามการตั้งจิต ตั้งสัจจะและสาบานนี้ และการตั้งจิต ตั้งสัจจะและสาบานนี้ มีผลในคำตั้งจิต ตั้งสัจจะและสาบานต่อข้าพเจ้าตลอดกาล"

    ผมขอให้คัดลอกข้อความในเครื่องหมาย "..." ด้านบน แล้วนำมาโพสลงในกระทู้พระวังหน้านี้ เมื่อโพสแล้วผมจะจัดส่งพระที่หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร (คณะโสณะ-อุตระ) อธิษฐานจิต จำนวน 1 องค์ให้ครับ

    ถามว่า ทำไมถึงต้องให้ตั้งจิต ตั้งสัจจะ และสาบาน
    ตอบว่า ผมเองประสบกับเรื่องราวต่างๆมาอย่างมากมาย ในกระทู้พระวังหน้าฯ จึงต้องคัดเลือกการรับพระโดยต้องมีศรัทธา ,ความเชื่อ และอื่นๆ อย่างเต็มร้อย ผมจึงจะมอบให้ครับ


    .


    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...