" ผู้ที่ทรงอารมณ์ได้นาน ดูแบบไหน แล้วทำอย่างไรให้ทรงได้นานๆ"

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ฝันนิมิต, 31 กรกฎาคม 2011.

  1. พระจรัญเทพ

    พระจรัญเทพ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +0
    ท่าน จขกท อย่าไปสนใจเรื่องใดๆๆเลย

    ถ้าการปฏิบัติธรรมของตัวท่านมีความสบายทั้งกายและใจแล้ว

    ความใคร่อยากรู้ถึงโมหะในตัวผู้อื่น ก็คือโมหะในตัวเรา

    ทุกคนล้วนแสวงหาทางพ้นทุกข์ ตามอริยสัจสี่ประการ

    คุณวิเศษแห่งศีล สมาธิ มิใช่ทำให้เรา เราคือผู้วิเศษ

    แต่ทำให้เรา พ้นทุกข์ต่างหาก
     
  2. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    [​IMG]


    ..อนุโมทนากับทุกท่านที่ได้ลงความเห็น อันเป็นแง่คิด
    ที่สะดุจใจเป็นอย่างยิ่ง...

    เมื่อพิจารณาดูทั้งมวลที่อ่านมาแล้ว
    หลายท่านได้ เจาะจงไปที่"การระลึกได้"คือ "สติ" นั้นเอง
    แล้วจะทำไงละ
    เมื่อการที่จะมีมหาสติ หรือเพียงสติธรรมดา
    ก็ต้องอย่างพี่ ปราบจอมยุธไร้เทียมท่านบอก
    ต้องมี กำลังสมาธิ
    ที่ได้จาก ข้อวัตร ข้อปฎิบัติ และสัจจะ
    เมื่อยิ่งทำ ยิ่งสะสมยิ่งชำนาญ
    เอาสิ
    เคยเห็นมั้ย เด็ก 5 ขวบ มีหน้าไปขอ นางงามโลก อายุ 30 แต่งงาน ชะเอ่ย ชะเอ่ย
    เด็กอมมือยังไม่เท่าไร จะข้ามขั้นไปจีบสาวใหญ่ มันมีรึ

    พิจารณาตามพี่ๆ ทุกท่านกล่าวมาแล้ว พื้นฐานที่ดี"สมาธิ"ที่แข็มแข็ง
    ย่อมได้อะไรตามมา
    หาก ยังไม่เก่งกล้า ยังไม่พร้อม จะไปประลอง ดีกะพวกที่ หลบหลีหนีเร็วอย่าง จอมทัพมหากิเลศแล้ว
    ไม่มีวันชนะ หรือเสมอตัวมันแน่ๆ

    ต้องใช้คำว่า" จำใส่กระโหลกหนาๆว่า เรานั้นยังไม่ดีพร้อมที่จะออก หากยังไม่ชนะใจตนที่เป็นอยู่ ฉันใด ก็ ฉันนั้น"

    อย่างที่พี่ตาปลาบอกก็เก็ทได้อีกครั้ง การวางเฉย ไม่ได้ซื้อบื้อ
    แต่ "มะอยากโต้แย้ง ให้เหนื่อย เพราะคนฉลาด ย่อมออมแรงไว้ ตอนใกล้ถึงเส้นชัย พวกโง่นั้นไซ้ วิ่ง ให้ตาย ยังไม่รู้ว่าเส้นชัยอยู่ไกล หมดแรง ก่อนถึง"

    พออ่านๆดู มันมีแต่สิ่งที่"อยาก"ลดนั้น ลดนี้ เต็มไปหมด แล้วมันมีตัวหนึ่งลอยเด่นเห็นชัดขึ้นมาคือ"สติ"
    เอาละสิ เอาละสิ เมื่อเห็นแล้ว
    จึง ฉุกคิด ในคำพูดพี่ปราบขึ้นมาได้ว่า
    ใช้แล้ว
    การที่เราจะ วางเฉย เป็นกลาง
    ต้อง "รู้" เท่าทัน
    แล้วรู้เท่าทันจะได้มาจากไหนกัน
    ก็มาจาก"สมาธิ"
    อ่าวแล้วสมาธิจะต้องมาจากไหนกัน
    ก้จะต้องได้มาจาก"กำลังสมาธิ"

    แล้วกำลังสมาธิจะทำอย่างไรละ
    ก็ได้มาจาก แนวการปฎิบัติ ทุกอย่างที่เราๆท่านๆถนัดกันมา
    ทำอย่างนั้นซ้ำๆ บ่อยๆ จนชิน
    ติดเป็น "สันดาร"
    ใครชอบนั่งสมาธิภาวนา ก็ทำ
    ใครชอบบริกรรมภาวนาเสียงดังก็ทำ
    ใครชอบ ทำแบบไหน ที่ทำให้เกิด
    "ความตั้งมั่น"(สมาธิ) อย่างที่พี่ท่านเล่าปังบอก
    เมื่อทุกอย่างหนาแน่น รวมตัว จนพร้อม มันก็จะไปโดยไม่ต้องชี้ทาง ไปเองโดยอัติโนมัติ

    อนุโมทนาสาธุคะ

    ยิ่งลับ ยิ่งคม
    ยิ่งฝึกฝน ยิ่งชำนาญ
     
  3. อศูนย์น้อย

    อศูนย์น้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +495
    สาธุครับ อนุโมทนาครับ ทุกสิ่งจะออกมาทางกาย วาจา ใจ ที่แสดงออกมาไม่ว่าสิ่งไหน
    จะบ่งบอกตัวตนและการกะระทำ สาธุกับพี่สาด้วยครับ ^^
     
  4. timetime

    timetime เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2005
    โพสต์:
    485
    ค่าพลัง:
    +3,373
    ทรง พรหมวิหาร ๔ ได้เป็นปกติ ก็จะเป็นกลางได้เองครับ แถมยังอยู่ในกรรมฐาน 40 กองด้วยนะครับ
     
  5. daeng007

    daeng007 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2009
    โพสต์:
    156
    ค่าพลัง:
    +84
    ได้ความรู้แล้วล่ะครับ เก็บความรู้ครับ
     
  6. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ไม่ได้มีอะไรนะ แต่ว่าขอบอกคำเดียวว่า สติและสมาธิล้วนมีเหตุที่มาและที่ไป พระศาสดาสอนว่าทุกสิ่งล้วนอาศัยเหตุไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นลอยๆ บนโลกใบนี้มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เรารู้และเราก็ไม่อาจรู้ได้ พระศาสดากล่าวว่าสิ่งที่ควรรู้นั้นต้องเพียรสร้างสั่งสมให้มีมากเข้าไว้ เพื่อเป็นอุปนิสัยปัจจัยในทั้งปัจจุบันและอนาคต ทุกสิ่งทุกอย่างที่ควรรู้และศึกษานั้นพระศาสดาและพระอริยะสงฆ์สาวกนั้นท่านสั่งสอนไว้แล้ว ควรเจริญรอยตาม อย่าทำไปแบบตาบอดลักควาย หรือลิงติดตัง มันจะทำให้พลาดได้ พิจารณาดีๆแล้วกันว่าบางสิ่งที่สงสัยนั้นเมื่อรู้แล้วได้อะไร เมื่อเห็นแล้วได้อะไร กิเลสตัณหามานะทิฐิมันลดลงไหม หากมันไม่ได้ลดลงหรือเบาลงเป็นอันผิดทางทั้งหมด
    อนุโมทนาคั๊บ
     
  7. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    คบสัปบุรุษ ยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ ฟังสัทธรรมบริบูรณ์ยังให้ศรัทธาบริบูรณ์ ศรัทธาบริบูรณ์ ยังให้โยนิโสนมสิการ(ทำไว้ในใจอย่างแยบคาย)บริบูรณ์ โยนิโสนมสิการบริบูรณ์ยังให้ สติสัมปชัญญะบริบูรณ์ สติสัมปชัญญะบริบูรณ์ยังให้อินทรีย์สังวรบริบูรณ์ อินทรียสังวรบริบูรณ์ยังให้ สุจริต3บริบูรณ์ สุจริต3บริบูรณ์ยังให้สติปัฎฐานบริบูรณ์ สติปัฎฐาน4บริบูรณ์ยังให้โพชฌงค์7บริบูรณ์ โพชฌงค์7บริบูรณ์ยังให้ วิชชา และ วิมุติบริบูรณ์.....จากพระสูตรที่ว่าด้วย อาหาร ของ วิชชา และวิมุติ.......................
     
  8. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .............ความบริบูรณ์ของทุกอย่างเป็น เหตุ ผล ของความบริบูรณ์ในเบื้องปลาย เหมือนสร้างบ้าน รากฐานต้องแน่นก่อน ช่วงนี้ ผมชอบพระสูตรนี้เป็นพิเศษเลยยกมา เพราะผมพบว่าพระสูตรนี้มีครบทุกขั้นตอนแม้ไม่ลงรายละเอียด แต่ มีทั้ง สติสัมปชัญญะ และ อินทรีย์สังวร อันผมเห็นความสำคัญในช่วงการภาวนาตอนนี้นะครับ................
     
  9. ชุนชิว

    ชุนชิว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    722
    ค่าพลัง:
    +780
    มีเมตตาในใจแล้วทุกอย่างที่ดีจะตามมาเองครับ จิตหากไร้เมตตาทุกสิ่งที่ลงทำไปก็ล้วนแต่ล้มเหลวโดยเฉพาะผู้ที่ฝึกฝนจิตของตนเอง สมาธิเป็นกำลังของจิต แต่เมตตาจะเป็นตัวนำพาไปสู่กุศลธรรม
     
  10. Red Leaf

    Red Leaf เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    1,397
    ค่าพลัง:
    +4,547
    เข้ามาทำข้อสอบเฉยๆ 5555....จะสอบได้หรือตกก็ช่าง มิได้ใส่ใจ เจ้าของกระทู้ไม่รู้จริงๆ หรืออยากได้อะไรเอ่ย....

    สำหรับผู้ตอบนี้..อารมณ์เป็นสิ่งห้ามไม่ได้ กำหนดไม่ได้ เพราะที่จริงมันไม่ใช่ของเรา ใจของเราต่างหากที่ไปเก็บเกี่ยวอารมณ์มาเป็นของใจ ที่จริงเอามาเป็นเจ้านายเสียด้วยซ้ำ ก็เลยต้องเป็น "ทาสอารมณ์"

    เมื่อมันกำหนดไม่ได้ ห้ามไม่ได้ ก็ไม่ต้องไปกำหนดมัน เพียงแต่ทำความเข้าใจว่า อารมณ์ไม่ใช่ของเรา เพราะใจเราที่เป็นเนื้อแท้นั้น มีความบริสุทธิ์ ประภัสสร มิได้ถูกครอบครองด้วยอารมณ์ การที่ใจไปเอาอารมณ์มาเป็นเจ้านาย เป็นทุกขโทษ อย่างเช่น อารมณ์โกรธ เมื่อโกรธทีไร ก็ทำร้ายตัวเองทุกที ถึงจะบอกได้ว่า คนอื่นมาทำให้เราโกรธก็ตามทีเถอะ

    เมื่อเข้าใจดั่งนี้ พออารมณ์โกรธเข้ามา เราก็สามารถบอกตัวเองได้ว่า "ไม่ใช่ของเราสักหน่อย แถมยังมีแต่โทษอีกด้วย" จะเอามันมาทำไม เมื่อเข้าใจได้จริง ใจมันก็ไม่เอา แต่จะทิ้งหรือระงับอารมณ์โกรธลงไปได้

    อารมณ์อย่างอื่นก็อยู่ในข่ายเดียวกันทั้งหมด รัก โลภ หลง....อารมณ์สุขอย่างทางโลก เช่น เฮฮาปาร์ตี้ ก็ล้วนต้อง "วาง" เช่นเดียวกับอารมณ์โกรธทั้งหมด ไม่ไปยึดมันมาเป็นของใจ..เมื่อฝึกความเข้าใจและวางอารมณ์ไปได้นานๆ เข้า ใจก็จะมีความชำนาญ เท่าทันและตัดอารมณ์ออกได้อย่างว่องไว

    โดยสภาพนี้แหละ ที่ใจจะดำรงอยู่ได้อย่างเป็นกลางและมีความสุข...

    วิธีนี้ครูบาอาจารย์ท่านว่า "ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ" จ้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 สิงหาคม 2011
  11. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    เจ้าของกระทู้ ตั้งกระทู้ถามมา ก็เพื่อต้องการจะบอก

    เล่นโชว์ตัวอักษรซะใหญ่ จนเต็มหน้าจอ

    เราจะบอกว่า การทรงอารมณ์ ไม่ใช่การทรงเจ้า เข้าทรง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 สิงหาคม 2011
  12. k_pe

    k_pe สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +18
    " ผู้ที่ทรงอารมณ์ได้นาน ดูแบบไหน แล้วทำอย่างไรให้ทรงได้นานๆ"

    ความจริงแล้ว...ผู้น้อยก็ไม่อยากจะพูดอะไรมากหรอกครับ
    เดี่ยวจะกลับกลายเป็นว่า สอนจระเข้ว่ายน้ำเอา อิอิ และผู้น้อยเองก็ยังไม่อยากเป็นบัณฑิตสกปรกน่าครับ กลัวจะเข้าข่ายที่ว่า ผู้รู้(จริง)ไม่พูด...ผู้พูดไม่รู้(จริง)
    เพราะว่าตัวผู้น้อยเองก็ยังเอาตัวไม่รอดเลยครับ(จากกองกิเลสคือโลภะ โทสะ โมหะ) แต่ก็พยายามอย่างไม่ลดละที่จะทำให้เบาบาง แพ้แล้วก็เริ่มใหม่อีก ซํ้าๆอยู่ทุกๆวัน ไม่จบสิ้น และเต็มไปด้วยสภาพแวดล้อมที่ยั่วยุยากแก่การบังคับจิต ยอมรับว่าเหนื่อยมากครับ พอสติมาก็ดูเหมือนว่าจะชนะไปได้ตลอด สุดท้ายก็พ่ายแพ้แก่ พยามารอีก"ท้อแต่ไม่ถอยครับ"
    เมื่อมีเวลาผู้น้อยก็จะเข้าหาพระที่ท่านปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ท่านก็เมตตาช่วยได้เยอะเลยล่ะครับ
    ขออนุโมทนากับคุณ มณีน้อย และ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทุกๆท่านด้วยนะครับ
    ที่ไฝ่ในธรรม เพราะโลกเริ่มเข้าสู่แห่งความเสื่อม(กลียุค)แล้ว ธรรมชาติก็แปลกพิลึก! จิตใจคนเราก็เสื่อมลงๆมีมากขึ้นๆ เวลาของชีวิตที่ไม่รู้วันตายจะมาเยือนเมื่อไหร่มีน้อยเข้าไปทุกทีๆ

    บทความข้างล่างนี้ ผู้น้อยชอบมากๆครับ ขอฝากให้กับ ญาติธรรมทุกๆท่านครับ

    051 องค์แห่งการตรัสรู้

    ปัญหา ภิกษุที่จะได้ตรัสรู้หรือบรรลุพระอรหัตผลนั้น ควรจะประกอบด้วยคุณสมบัติอะไรบ้าง ?

    พุทธดำรัสตอบ “ ๑. ดูก่อนโพธิราชกุมาร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธาเชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า...... พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ..... เป็นผู้จำแนกพระธรรม
    ๒. เธอเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นปานกลาง ควรแก่ความเพียร
    ๓. เธอเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมายาเปิดเผยตนตามความเป็นจริง ในพระศาสดาหรือในเพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูชนทั้งหลาย
    ๔. เธอเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรม ให้ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลังมีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย
    ๕. เธอเป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาอันเห็นความเกิดและดับ เป็นอริยะ สามารถชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ” ...มีต่อ หน้า 052 กำหนดเวลาตรัสรู้

    052 กำหนดเวลาตรัสรู้

    ปัญหา เมื่อภิกษุประกอบด้วยคุณสมบัติเหล่านี้แล้ว จะได้บรรลุอรหัตผลในเวลาช้านานเท่าไร ?

    พุทธดำรัสตอบ “ ดูก่อนราชกุมาร ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร ๕ ประการนี้แล เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ พึงทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า..... ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน (ภายในเวลา) เจ็ดปี..... หกปี..... ห้าปี..... สี่ปี..... สามปี..... สองปี..... หนึ่งปี..... เจ็ดเดือน..... หกเดือน..... ห้าเดือน..... สี่เดือน..... สามเดือน..... สองเดือน..... หนึ่งเดือน..... ครึ่งเดือน..... เจ็ดคืนเจ็ดวัน..... หกคืนหกวัน..... ห้าคืนห้าวัน..... สี่คืนสี่วัน..... สามคืนสามวัน..... สองคืนสองวัน..... หนึ่งคืนหนึ่งวัน..... ดูก่อนราชกุมาร หนึ่งคืนหนึ่งวันจงยกไว้ ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียรหาประการนี้ เมื่อได้ตถาคตเป็นผู้แนะนำ ตถาคตสั่งสอนในเวลาเย็น จักบรรลุคุณวิเศษได้ในเวลาเช้า ตถาคตสั่งสอนในเวลาเช้า จักบรรลุคุณวิเศษได้ในเวลาเย็น....”

    โพธิราชกุมารสูตร ม. ม. (๕๑๘)
    ตบ. ๑๓ : ๔๗๒-๔๗๔ ตท.๑๓ : ๓๘๕-๓๘๗
    ตอ. MLS. II : ๒๘๒-๒๘๓

    026 กุญแจสู่มรรคผลและนิพพาน

    ปัญหา อะไรเป็นเครื่องมืออันสำคัญ ที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติได้ปุพเพนิวาสนุสสติญาณระลึกชาติก่อนได้ จุตูปปาตญาณ รู้จุติและอุบัติของสัตว์ ทั้งหลาย อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้หมดสิ้นไป?

    พุทธดำรัสตอบ “ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ภิกษุนั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก.... ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย..... ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ.... ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์นี้เหตุให้ทุกข์เกิด นี้ความดับทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ทางปฏิบัติเพื่อความดับอาสวะ....
    “เมื่อภิกษุรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวสาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าพ้นแล้ว ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีฯ ”

    จูฬหัตถิปโทปมาสูตร มู. ม. (๓๓๖)
    ตบ. ๑๒ : ๓๔๖-๓๔๘ ตท.๑๒ : ๒๘๖-๒๘๘
    ตอ. MLS. I : ๒๒๘-๒๓๐ ธรรมโอวาทจากพระโอษฐ์

    ----------------------------------------------------------------------
    ถาม : วิธีปฏิบัติทางลัด ?

    ตอบ : ไม่มีทางลัด มีแต่ทางตรง ศีล สมาธิ ปัญญาสามอย่างเท่านั้น ตั้งใจทำจริงก็ได้ผล ไม่ทำจริงก็ไม่ได้ผล

    จำไว้ว่าจะลัดกี่ทางก็อ้อมทั้งนั้นแหละ ต้องตรงอย่างเดียว เกิดมาจนนับชาติไม่ถ้วน ปฏิบัติแค่นี้ยังจะใจร้อนอีก

    ถาม : คำภาวนาระหว่างพุทโธกับนะโมพุทธายะ อย่างไหน..?

    ตอบ : อยู่ที่เราถนัด ชอบอย่างไหนใช้อย่างนั้น

    ถาม : อานุภาพของคาถาเล่าคะ ?

    ตอบ : อยู่ที่กำลังใจเรา กำลังใจห่วยอานุภาพก็น้อย กำลังใจดี อานุภาพก็มาก

    ถาม : มีคนบอกว่า คาถานะโมพุทธายะ พลังจะเยอะกว่า

    ตอบ : คนที่บอกเขาทำได้หรือยัง ? คาถาขึ้นอยู่กับสมาธิของเรา ถ้าคนภาวนาพุทโธสมาธิสูงกว่า ก็จะมีผลมากกว่านะโมพุทธายะ
    พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
     
  13. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    [​IMG]

    อนุโมทนาสาธุคะ

    จริงๆแล้ว มณีน้อยเองที่ตั้งกระทู้นี้ขึ้น
    เพื่อเป็นการตอกและย้ำไว้เสมอว่า

    "กิ้งก่าได้ทอง อย่าพยองว่าตนมีทองที่สวยงาม"

    เพราะตัว"โมหะ" ที่มณีน้อยยกต้นกระทู้มานั้น
    มันเหมือน "ขนตา"
    ขนตาคนอื่นเรามองเห็นว่า
    มันงอลงามดูสวยเด่น
    แต่กลับขนตาตนเอง มองยังไงก็ไม่เห็น
    ถ้าไม่ส่องกระจกดู
    ให้คนอื่นดูให้ ก็ไม่เหมือนตัวเองดูเอง
    เช่นนั้นแล


    เป็นอย่างที่ท่านหม้อบอก
    และท่าน
    Red Leaf บอก
    อารมณ์นั้นเมื่อมันพุ้งเข้ามากระทบ
    หากไม่หยิบจับมาเข้าใส่ตน
    มันก็ไม่เกิดอะไรขึ้น
    แต่หาก"รู้"ว่ามากระทบ ยังจะเอามาใส่ตัว
    แบบนี้ก็ตัวใคร ตัวมัน
    แต่เมื่อหลบไม่ทัน ก็
    เตรียมใจรับไว้ แล้วจำมันไว้ ว่ามันมาแบบนี้
    โดนแบบนี้
    เจ็บแบบนี้
    ต้องบอกว่า "เจ็บ แล้ว ต้อง จำ"

    แต่การมองเห็นในลักษณะ ที่ท่านๆบอกมาแบบนี้
    สำหรับพวกที่ มี กำลังสมาธิ ค่อนข้างมาดี
    ไม่ยกเว้น ว่า ท่านนั้น จะได้นั่งสมาธิ หรือไม่นั่งสมาธิ
    เหมือนที่พี่ปราบท่านบอก
    " การทำสมาธิ ปฎิบัติสมาธินั้น
    บางท่านอาจคิดว่าตนไม่ได้ทำ
    แต่จริงๆแล้วได้ทำ แบบไม่รู้ตัว"

    ส่วนของท่าน
    k_pe กราบขอบพระคุณมากๆคะ
    คำสอนของพระพุทธเจ้ายิ่งใหญ่ที่สุดแล้ว
    เป็นเหมือนแผนที่แห่ง"ชีวิต"
    คนที่เดินรอยตามแผนที่
    ทีท่านสอน ท่านบอก ร้อยทั้งร้อย
    เจอจุดหมายปลายทางแน่นอน

    อนุโมทนาสาธุคะ

    เวรใด กรรมใด
    ที่มณีน้อย ทำให้
    ท่านๆ ได้มี มโนกรรม
    ขอจงได้เว้น และ ละซึ้ง
    โทษ โกรธกันเลยนะคะ

    สาธุคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 สิงหาคม 2011
  14. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    เครียดมากไปหรือป่าวครับ อย่าเครียดเลย กรรมเวรนั้นเกิดแน่ถ้าทำโดยขาดสติและเหตุผลที่เป็นจริง ถ้าทำด้วยสติอย่างดีแล้วแต่ผิดพลาดไปนั้นด้วยความที่ไม่ได้มีเจตนาเป็นอกุศลผลกรรมก็ไม่เกิด เป็นกรรมอันมาจากกุศลจิตจะเป็นสุข
    อย่าไปซีเรียสครับ เอาใจช่วยขอให้เพียรพยายามยิ่งๆขึ้นไปแล้วกัน
    อนุโมทนาสาธุคั๊บ
     
  15. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547

    สาธุคะ [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 สิงหาคม 2011
  16. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    ผู้ที่ว่า "ทรงๆ อารมณ์" จะติดอยู่ตรงนี้ล่ะ เบื้องต้นเลย คือจิตจะไม่ทะยานออกไปสู่การพิจารณา

    โดยจะก็วกกลับมาตอกย้ำซ้ำๆ ที่ ตัวเองยังเลวอยู่ๆ

    ฉะนั้น อย่าไปทำตัวให้เหมือนตัวนิ่ม นางอาย แตะนิดแตะหน่อย ม้วนตัว..! เลย

    ส่วนเรื่องกรรมนั้น ในเบื้องต้น นี้ถูกต้องที่พึงระลึกไว้

    หากแต่ต้องการออกสู่การพิจารณา ก็อย่าทำตัวเหมือนตัวนิ่มนางอาย ดังกล่าว
    แต่ให้อยู่ในกรอบขอบข่ายของ "เจตนา..!" ด้วยกรอบของศีล

    ถ้าจะงงเนาะ
     
  17. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    [SIZE=+4]ปฏิจจสมุปบาท
    [/SIZE]
    [​IMG]
    <dl><dd> ชีวิตมนุษย์เราทุกวันนี้พร่องอยู่เป็นนิตย์ เพราะใจของมนุษย์เต็มไปด้วยความอยาก ซึ่งอยู่ในโลกของความหลง
    </dd><dd>คือ สุขเวทนาและทุกขเวทนา ที่วิ่งพล่านไปตามความพอใจ และไม่พอใจ
    </dd><dd> ดังนั้นมนุษย์จึงเร่าร้อนดิ้นรนแสวงหาเพื่อให้ความอยากของตนเต็ม แต่ก็หามีใครทำให้ ความอยากเต็มได้ไม่ยิ่งแสวงหาความเร่าร้อนจากการแสวงหาก็จะเพิ่มมากขึ้นไป เรื่อยๆ</dd><dd> ความทุกข์ก็ เกิดตามขึ้นมาตลอด ไร้ความพอ หาความเต็มมิได้ เพราะจิตของมนุษย์ถูก อวิชชาครอบงำ ความ พร่องจึงมีอยู่ในจิตของมนุษย์ตลอดเวลาอยู่เป็นนิตย์

    </dd><dd> พระองค์ทรงตรัสว่าทุกข์กำเนิดอยู่ปัจจุบัน ไม่ควรไปคิดเรื่องที่แล้วมา ทุกข์ที่ยังมา ไม่ถึงไม่ควรไปถามหาทุกข์ ผู้ข้องอยู่ด้วยความไม่รู้ หลง ย่อมจะถามว่าวิญญาณมา จากไหน เกิดเมื่อไร ใครเป็นผู้สร้าง พระองค์ทรงตรัสว่าคนกำลังถูกลูกศรยิงบาดเจ็บ อยู่ขณะนี้ กำลังรอ ความช่วยเหลือจากหมอ หมอจะถามผู้ป่วยว่าลูกศรนั้นถูกยิง ตั้งแต่เมื่อไร เวลาเท่าไรและที่ไหน คนยิงคือใครและต้องหาคนยิงมาก่อน จึงจะแก้ไขวางยาให้ถูกและถอนลูกศรออกได้ การแก้ไข ของหมอจะแก้ไขได้หรือ คนไข้จะต้องตาย แน่นอน ฉะนั้นทุกข์ของกายใจเกิดขึ้นตอนปัจจุบัน เราไม่ไปถามหาอดีต เสียเวลา เราควรแก้ทุกข์กันเดี๋ยวนี้คือปัจจุบันที่เราเกิด แก่ เจ็บ ตาย เราควรจะปฏิบัติธรรม เพื่อความรู้วิธีดับทุกข์กันในวันนี้เลย ไม่ต้องรอช้านาน เพื่อเห็นความเกิด แก่เจ็บตาย โดยเร็วพลัน

    </dd><dd> การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยซึ่งกันและกัน จึงมีตัวกฎหรือสภาวะ ปฏิจจสมุปบาท พระพุทธเจ้า แสดงหลักธรรมชาติ ธรรมหมวดหนึ่งหรือหลักความจริงซึ่งเป็นเรื่องปิดไว้ พระองค์ มาตรัสรู้ความจริง ของธรรมชาติที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แล้วใช้ปัญญาค้นโดยรู้จัก ธรรมชาติที่แท้จริง สิ่งเหล่านี้เกิดมาก่อน พระพุทธเจ้าทุกพระองค์และหมุ่พระพุทธเจ้า ไม่มีผู้เกิดทันรู้ไม่ เพราะว่ารูปนามนี้เกิดมานาน ไม่สามารถจะ คำนวณกาลเวลาได้ แต่พระองค์ตรัสรู้ด้วยปัญญาสมาธิญาณ ยิ่งรู้ละเอียดลึกซึ้ง สุดที่สัตว์ปุถุชนจะหยั่ง รู้ธรรมชาติได้แท้จริงดังปัญญาของพระพุทธเจ้าได้ จึงเป็นพยานของธรรม ทรงกล้าตอบปัญหาแก่สมณ พราหมณ์ที่มีปัญหาได้อย่างสง่าผ่าเผยโดยเชื่อแน่ว่า หลักธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นั้นเป็นของจริง พิสูจน์ ได้โดยการปฏิบัติ มีในแนวทาง ของพระองค์ตรัสรู้เท่านั้น จะพิสูจน์ได้ทางบรรลุธรรมจิตอย่างแท้จริง พระองค์ ทรงตรัสว่าเพราะมีอวิชชา จึงมีสังขาร ฯลฯ

    </dd><dd> " ภิกษุทั้งหลาย ? ตถตา ( ภาวะที่เป็นของมันอย่างนั้น ) อวิตถตา ( ภาวะที่ไม่คลาดเคลื่อนไปได้) อนัญญถตา ( ภาวะที่ไม่เป็นอย่างอื่น ) คือหลักอิทัปปัจจยตาดังกล่าว มานี้แลเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท " พระองค์ทรงกล่าวว่าสมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งผู้ได้สามารถรู้ธรรมเหล่านี้ ได้ รู้จักเกิดรู้จักดับของ ธรรม รู้จักดำเนินตาม ธรรมชาติเหล่านี้ ฯลฯ สมณพราหมณ์เหล่านั้นแล จึงควรยอมรับว่าเป็นผู้มีปัญญา อันยิ่ง บรรลุประโยชน์อันยิ่งใหญ่ เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน

    </dd><dd> ดังที่กล่าวในพระไตรปิฎก พระอานนท์ได้กราบทูลพระองค์ว่า
    </dd><dd> " น่าอัศจรรย์จริงหนอ ไม่เคยมีมาเลย ไม่เคยได้ยินเลย ไม่เคยได้เห็นเลย เป็นบุญตา เป็นบุญใจ เป็นบุญหูจริงที่ได้เกิดมารู้เห็นความจริงที่พระองค์ทรงตรัสเทศนา ช่าง ไพเราะลึกซึ้งละเอียดอ่อนสุขุม คัมภีรภาพและเข้าใจง่ายซาบซึ้งได้แจ่มแจ้ง ดุจของ คว่ำปิดอยู่เป็นความลับ แต่พระองค์มาจับหงายอย่างง่าย ให้คนอื่นได้เห็นตามรู้เห็น ตามธรรมที่ยากมาทำให้ง่ายอัศจรรย์จริงหนอ ของยากพระองค์มาทำให้เป็นของง่าย"

    </dd><dd> พระองค์ทรงตรัสว่า
    </dd><dd> " อานนท์ อย่ากลัวอย่างนั้น ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นธรรมอันลึกซึ้ง เป็นของรู้ยาก บุคคลไม่เข้าใจ ไม่รู้ ไม่แทงตลอดในธรรมนี้แหละ หมู่สัตว์จึงพากันวุ่นวายกันไม่รู้ จักจบสิ้นไป ความวุ่นวายยุ่งยากเปรียบ เหมือนเส้นด้ายที่ขอดเข้าหากันจนยุ่งเป็น ปุ่มเป็นปมเหมือนกับหญ้าคาหญ้าปล้องนี่แหละอานนท์หมู่สัตว์จึง วุ่นวายดิ้นรน เดือดร้อนกันมากจึงผ่านพ้นอบายทุคติวินิบาต (นรก) สังสารวัฏไปไม่ได้ "

    </dd><dd> " ดุก่อนอานนท์ พระองค์ขอเตือนว่าอย่าประมาท ธรรมที่เราบรรลุแล้วเป็นของรู้ได้ยาก หมุ่ ประชาชนเป็นผู้เริงรมย์อยู่ด้วยความอาลัย ระเริงอยู่ในอาลัยอาวรณ์ ผู้หลง อยู่ในรื่นเริงอาลัยอาวรณ์ ด้วยความประมาทอย่างนี้ ฐานะอย่างนี้เป็นสิ่งที่รู้เห็นได้ยาก กล่าวคือหลักอิทัปปัจจยตา หลักปฏิจจสุปบาท เห็นได้ยาก รู้ได้ยาก ความสงบของ สังขารทั้งปวง ความสงัด " กิเลส " อุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา วิราคะ นิโรธ นิพพาน พระองค์ทรงดำริเป็นการสอนที่เหนื่อยเปล่า ลำบากแก่พระองค์ผู้แสดง เพราะมีแต่ผู้ประมาท อยู่ ผู้หลงตัวตนอาลัยอาวรณ์อยู่ "

    </dd><dd> " อานนท์ จงรู้เถิดว่าธรรมที่เรากล่าวนั้นง่ายสำหรับผู้มีปัญญา ไม่หลงตัวตนอาลัยอาวรณ์ หลงตัวเพลิดเพลิน ผู้นั้นจึงรู้ว่าธรรมของพระองค์ง่าย ฟังแล้วไพเราะลึกซึ้ง ละเอียดอ่อนลุ่มลึก แต่ก็ยากสำหรับคนประชาชนผู้หลงใหลในตัวตน อยุ่ในความ ประมาทลุ่มหลง จึงรู้ธรรมปฏิจจสมุปบาทได้ยาก เป็นของที่เข้าไม่ถึงธรรมอันนี้ เลยตลอดชีวิตของเขาเหล่านั้นเพราะความมีตัวตน อาลัยอาวรณ์สนุกเพลิดเพลินอยู่ "

    </dd><dd> หลักปฏิจจสมุปบาทมี 2 นัย นัยหนึ่งคือจากอวิชชา จึงมีสังขาร นัยหนึ่งคือความเกิด ของธรรมชาติ นัยที่สองคือการตรัสรู้ธรรมของธรรมชาติคือความดับ ตอนต้นแสดง ความเกิดของสมุทัย ( ตัณหา ) ตอนท้ายแสดงถึงการตรัสรู้ธรรมคือ นิโรธวาร อนุโลมปฏิโลมปฏิจจสมุปบาท

    </dd><dd> องค์ประกอบ 12 ข้อของปฏิจจสมุปบาทนั้น นับตั้งแต่อวิชชา ถึง ชรามรณะเท่านั้น ( คือ อวิชชา สังขาร>วิญญาณ>นามรูป>สฬาตนะ>ผัสสะ>เวทนา> ตัณหา>อุปาทาน> ภพ>ชาติ>ชรามรณะ ) ส่วนโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส (ความคับแค้นใจ) เป็นเพียงตัวพลอยผสม เกิดแก่ผู้มีอาสวกิเลสเมื่อมีชรามรณะแล้ว เป็นตัวการหมักหมม อาสวะซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชาหมุนวงจรต่อไปอีก
    </dd><dd> ในการแสดงปฏิจจสมุปบาทแบบประยุกต์ พระพุทธเจ้ามิได้ตรัสตามลำดับ และเต็มรูป อย่างนี้ ( คือชักต้นไปหาปลาย ) เสมอไป การแสดงในลำดับและเต็มรูปเช่นนี้ มักตรัส ในกรณีเป็นการแสดงตัวหลัก แต่ในทางปฏิบัติซึ่งเป็นการเริ่มต้นด้วยข้อปัญหามัก ตรัสในรูปย้อนลำดับ ( คือชักปลายมาหาต้น ) เป็น( ชรามรณะ< ชาติ < ภพ < อุปาทาน < ตัณหา < เวทนา < ผัสสะ < สฬายตน < นามรูป < วิญญาณ <สังขาร< อวิชชา )
    </dd></dl>
     
  18. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    <dd><center>ส่วนประกอบความทะยานอยาก
    ของคนเรา
    </center> </dd><dd> อาศัย ความพอใจ จึงเกิด ความอยาก
    </dd><dd> อาศัย ความอยาก จึงเกิด การแสวงหา
    อาศัย การแสวงหา จึงเกิด ลาภ
    อาศัย ลาภ จึงเกิด การตกลงใจ
    </dd><dd> อาศัย การตกลงใจ จึงเกิด ความรักใคร่ผูกพัน
    </dd><dd> อาศัย ความรักใคร่ผูกพัน จึงเกิด การพะวง
    </dd><dd> อาศัย การพะวง จึงเกิด การยึดถือ
    </dd><dd> อาศัย การยึดถือ จึงเกิด ความตระหนี่
    </dd><dd> อาศัย ความตระหนี่ จึงเกิด การป้องกัน
    </dd><dd> อาศัย การป้องกัน จึงเกิด อกุศลธรรม

    <center>กุศลธรรม - อกุศลธรรม </center></dd><dd> ( จิตที่ฉลาด มีปัญญา มีเหตุผล สงบเย็น - จิตที่ไม่ฉลาด ใจเศร้าหมอง ขุ่นมัวฟุ้งซ่าน )
    </dd><dd> การกระทำอันเป็นบาป เช่น การฆ่ากัน, การทะเลาะกัน, การแก่งแย่ง, การว่ากล่าว, การพูดส่อเสียด, การพูดเท็จเป็นต้น จิตของคนเราถูกอวิชชาครอบงำ ผูกต่อกัน เป็นลูกโซ่ของความอยาก พร่องอยู่เป็นนิตย์

    </dd><dd> ถ้ามนุษย์ทุกคนในโลกนี้ หาทางดับความพอใจละความทะยานอยากซึ่งเป็นสันดานที่นอนเนื่อง อยู่ภายในจิตของตนเอง โดยวิธีการศึกษาเรื่องของปฏิจจสมุปบาท อันเป็นธรรมวิชชา ของพระพุทธเจ้า เป็นตัวดับอกุศลธรรมทั้งหลาย ซึ่งอกุศลธรรมเป็นปัจจัยให้มนุษย์ เราตกอยู่ในกองทุกข์ที่เร่าร้อนก็จะดับ ความสงบใจ ความอิ่มใจ ความพอดีก็จะเกิดขึ้น ภายในจิตของมนุษย์ทุกรูปทุกนาม

    </dd><dd> ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมสัจจะที่จำเป็นสำหรับพุทธบริษัทที่จะต้องศึกษา เพราะปฏิจจสมุปบาท คือแนวทางที่จะเรียนรู้เข้าใจถึงสภาพจิตของมนุษย์เราด้วยการ ปฏิบัติธรรม คือ การเจริญสติปัฏฐาน 4 โดยการใช้สติปัญญาพิจารณากาย , เวทนา, จิต, ธรรม เพื่อให้รู้ทุกข์ ให้รู้เหตุเกิดของทุกข์ ให้รู้การดับทุกข์ ให้รู้ปฏิปทาที่ จะให้ถึงความดับทุกข์ได้ เรียกว่า ปฏิบัติธรรมจนเกิดวิชชา เพราะวิชชาเกิด อวิชชาจจึงดับ

    </dd><dd> ปฎิจจสมุปบาท แยกออกเป็นหลายรูปแบบหลายนัย เมื่อแจงออกมาแล้วทำให้ ผู้ปฎิบัติเกิดความเข้าใจ จนเกิดปํญญาเป็นวิชาขึ้นมาได้ โดยการปฎิบัติไปตามวงจร ของปฎิจจสมุทปบาท คือ เข้าสู่การดับเป็นขั้นตอน ไปจนเกิดวิชารู้แจ้งในสังสารวัฎ หายสงสัยในเรื่อง การเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย จนเกิดญาณปัญญา รู้ทุกข์ เห็น ทุกข์เกิดความเบื่อหน่ายในทุกข์ของความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เข้าใจจน พาตัวเองออกจากวงจรของปฎิจจสมุปบาทได้ สามารถดับกิเลส ตัณหา อุปทานได้หมด จนถึงมรรค4 ผล4 นิพาน1 คือ เข้าถึงการดับ เป็นอรหัตตมรรค อรหัตตผล เข้าสู่ นิพานอันเป็นยอดแห่งคุณธรรมของเทวดา และมนุษย์

    พระพุทธเจ้า
    </dd><dd> ทรงรู้ว่า "อวิชชา" คือ ตัวตัวเหตุของความทุกข์ อวิชชา คือจิตที่ไม่รู้จิตในจิต ตัวเองหลงจิตจึงจึงทรงใช้มรรคอริยสัจ คือ ตัวรู้ ตัววิชชา(วิชชา คือจิตที่รู้จิต) เข้าประหารอนุสัยที่นอนเนื่องในสันดาน จนพระองค์ทรงรู้แจ้งเห็นจริงในโลกทั้ง สาม รู้จักตัวตนว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน เป็นเพียงส่วนประกอบของธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นเพียงรูปธาตุ นามธาตุ

    </dd><dd> อวิชาจึงดับด้วยพระปัญญาของพระองค์เอง ทรงเข้าถึงการดับโดยแท้จริง ดับสภาพ ปรุงแต่งของสังขารด้วยมรรคสัจ ทรงประหารอวิชชา ทรงพ้นจากบ่วงของการเกิด แห่งกองทุกข์ทั้งมวลได้ ด้วยพระปัญญาของพระองค์เอง จนเป็นวิชา เป็นแสงแห่ง คุณธรรมที่สว่างอยู่ในจิตใจของผู้ปฎิบัติ โลกของผู้ปฎิบัติจึงสงบร่มเย็นอยู่จนปัจจุบันนี้

    </dd><dd> วิชชาของพระพุทธเจ้าเป็นธรรมดับทุกข์ เป็นยาดับโรคของความอยากซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ของความหลงในวัฎฎสังสารของมนุษย์</dd>
     
  19. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    <dd> การเกิดของปฎิจจสมุปบาท
    </dd><dd> สาเหตุของการเกิดปฏิจจสมุปบาทเพราะว่า
    </dd><dd> อวิชชา เป็นปัจจัยจึงมี สังขาร
    </dd><dd> สังขาร เป็นปัจจัยจึงมี วิญญาณ
    </dd><dd> วิญญาณ เป็นปัจจัยจึงมี นามรูป
    </dd><dd> นามรูป เป็นปัจจัยจึงมี สฬายตนะ
    </dd><dd> สฬายตนะ เป็นปัจจัยจึงมี ผัสสะ
    </dd><dd> ผัสสะ เป็นปัจจัยจึงมี เวทนา
    </dd><dd> เวทนา เป็นปัจจัยจึงมี ตัณหา
    </dd><dd> ตัณหา เป็นปัจจัยจึงมี อุปาทาน
    </dd><dd> อุปาทาน เป็นปัจจัยจึงมี ภพ
    </dd><dd> ภพ เป็นปัจจัยจึงมี ชาติ
    </dd><dd> ชาติ เป็นปัจจัยจึงมี ชรา มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัส อุปายาส
    </dd><dd> ความเกิดของกองทุกข์ทั้งหมดนี้เรียกว่า " ปฏิจจสมุปบาท "
    </dd><dd> ปฏิจจสมุปบาทจะดับได้เพราะ
    </dd><dd> อวิชชา ดับ สังขาร จึงดับ
    </dd><dd> สังขาร ดับ วิญญาณ จึงดับ
    </dd><dd> วิญญาณ ดับ นามรูป จึงดับ
    </dd><dd> นามรูป ดับ สฬายตนะ จึงดับ
    </dd><dd> สฬายตนะ ดับ ผัสสะ จึงดับ
    </dd><dd> ผัสสะ ดับ เวทนา จึงดับ
    </dd><dd> เวทนา ดับ ตัณหา จึงดับ
    </dd><dd> ตัณหา ดับ อุปาทาน จึงดับ
    </dd><dd> อุปาทาน ดับ ภพ จึงดับ
    </dd><dd> ภพ ดับ ชาติ จึงดับ
    </dd><dd> ชาติ ดับ ชรา มรณะ โสกะปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส จึงดับ ความดับของกองทุกข์ทั้งมวลนี้ คือ การเดินออกจากบ่วงของปฏิจจสมุปบาท </dd>
     
  20. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    <dd><center> องค์ประกอบของปฏิจจสมุปบาท</center> </dd><dd> เพราะการหมุนเวียนของวัฏชีวิตที่มีทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต หมุนเวียนไปตามองค์ประกอบ ของการเกิด หาจุจบไม่ได้และไม่สามารถหาต้นเหตุได้ว่าอะไร คือ ต้นเหตุของการเกิด และอะไร คือ ปลายเหตุของการดับ เริ่มจากอดดีตสู่ปัจจุบัน ปัจจุบันสู่อนาตค อนาคตกลับมาเป็นอดีต อดีตมาเป็นปัจจุบัน ประดุจห่วงของลูกโซ่ที่ผูกต่อกันไปหาที่สุดมิได้ เรียกว่า เป็นวงจรของปฏิจจสมุปบาท หรือ บาทฐานการเกิดของกองทุกข์ ซึ่งประกอบด้วย :- </dd><dd> 1. อวิชชา
    </dd><dd> คือ ความไม่รู้ตามความเป็นจริงในความทุกข์ของจิต ไม่รู้ในเหตุให้เกิดแห่งความทุกข์ไม่รู้ในการดับ ทุกข์ไม่รู้ในปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ อวิชชาเป็นจิตที่ไม่รู้จิตในจิต
    </dd><dd> เพราะความไม่รู้หรืออวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีสังขาร

    </dd><dd> 2. สังขาร
    </dd><dd> คือ การปรุงแต่งของจิตให้เกิดหน้าที่
    </dd><dd> ทางกาย - เรียกกายสังขาร ได้แก่ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งร่างกายให้เกิดลมหายใจเข้าออก
    </dd><dd> ทางวาจา - เรียกวจีสังขาร ได้แก่ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งวาจาให้เกิดวิตกวิจาร
    </dd><dd> ทางใจ - เรียกจิตสังขาร ได้แก่ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิตให้เกิดสัญญา เวทนา สุข ทุกข์ทางใจ
    </dd><dd> เพราะการปรุงแต่งของจิตหรือสังขารเป็นปัจจัย จึงเกิดมีวิญญาณ

    </dd><dd> 3. วิญญาณ
    </dd><dd> คือ การรับรู้ในอารมณ์ที่มากระทบในทวารทั้ง 6 คือ
    </dd><dd> ทางตา - จักขุวิญญาณ
    </dd><dd> ทางเสียง - โสตวิญญาณ
    </dd><dd> ทางจมูก - ฆานวิญญาณ
    </dd><dd> ทางลิ้น - ชิวหาวิญญาณ
    </dd><dd> ทางกาย - กายวิญญาณ
    </dd><dd> ทางใจ - มโนวิญญาณ
    </dd><dd> เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป

    </dd><dd> 4. นามรูป
    </dd><dd> นาม คือ จิตหรือความนึกคิด ในรูปกายนี้ เป็นของละเอียดได้แก่
    </dd><dd> เวทนา คือ ความรู้สึกเสวยในอารมณ์ต่างๆ
    </dd><dd> สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ จดจำในเรื่องที่เกิดขึ้นมาแล้วทั้งดีและไม่ดีดังแต่อดีต
    </dd><dd> เจตนา คือ ความตั้งใจ การทำทุกอย่างทั้งดีและชั่ว
    </dd><dd> ผัสสะ คือ การกระทบทางจิต
    </dd><dd> มนสิการ คือ การน้อมจิตเข้าสู่การพิจารณา
    </dd><dd> รูป คือ รูปร่างกายที่สัมผัสได้ทางตา เป็นของหยาบ ได้แก่ มหาภูตรูป 4 คือ ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม
    </dd><dd> เพราะนามรูปเกิด จึงเป้นปัจจัยให้มีสฬายตนะ คือ ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ

    </dd><dd> 5. สฬาตนะ
    </dd><dd> คือ สิ่งที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกันทางวิถีประสาทด้วยอายตนะทั้ง 6 มี
    </dd><dd> ตา - จักขายตนะ หู - โสตายตนะ
    </dd><dd> จมูก - ฆานายตนะ ลิ้น - ชิวหายตนะ
    </dd><dd> กาย - กายายตนะ ใจ - มนายตนะ
    </dd><dd> เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ

    </dd><dd> 6. ผัสสะ
    </dd><dd> คือ การกระทบกับสิ่งที่เห็นรู้ทุกทวารทั้งดีและไม่ดี เช่น
    </dd><dd> จักขุผัสสะ - สัมผัสทางตา โสตผัสสะ - สัมผัสทางเสียง
    </dd><dd> ฆานผัสสะ - สัมผัสทางจมูก ชิวหาผัสสะ - สัมผัสทางลิ้น
    </dd><dd> กายผัสสะ - สัมผัสทางกาย มโนผัสสะ - สัมผัสทางใจ
    </dd><dd> เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

    </dd><dd> 7. เวทนา
    </dd><dd> คือ ความรู้สึกเสวยอารมณ์พอใจ, ไม่พอใจและอารมณ์ที่เป็นกลางกับสิ่งที่มากระทบพบมาได้แก่
    </dd><dd> จักขุสัมผัสสชาเวทนา - ตา โสตสัมผัสสชาเวทนา - เสียง
    </dd><dd> ฆานสัมผัสสชาเวทนา - จมูก ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา - ลิ้น
    </dd><dd> กายสัมผัสสชาเวทนา - กาย มโนสัมผัสสชาเวทนา - ใจ
    </dd><dd> ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นเครื่องรับของความรู้สึกต่างๆ
    </dd><dd> เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

    </dd><dd> 8. ตัณหา
    </dd><dd> คือ ความทะยานอยาก พอใจ และไม่พอใจในสิ่งที่เห็นรู้ใน
    </dd><dd> รูป - รุปตัณหา เสียง - สัททตัณหา
    </dd><dd> กลิ่น - คันธตัณหา รส - รสตัณหา
    </dd><dd> กาย - โผฎฐัพพตัณหา ธรรมารมณ์ - ธัมมตัณหา
    </dd><dd> เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน

    </dd><dd> 9. อุปาทาน
    </dd><dd> คือ ความยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ และที่เกิดขึ้นในขัน 5 มี 4 เหล่า คือ
    </dd><dd> กามุปาทาน - ความยึดมั่นถือมั่นในวัตถุกาม
    </dd><dd> ทิฎฐุปาทาน - ความยึดมั่นถือมั่นในการเห็นผิด
    </dd><dd> สีลัพพตุปาทาน - ความยึดมั่นถือมั่นในการปฎิบัติผิด
    </dd><dd> อัตตวาทุปาทาน - ความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนในขันธ์ 5
    </dd><dd> เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

    </dd><dd> 10. ภพ
    </dd><dd> คือ จิตที่มีตัณหาปรุงแต่ง เกิดอยู่ในจิตปุถุชนผู้หนาแน่นในตัณหา 3 เจตจำนงในการเกิดใหม่ ความกระหายในความเป็น เพราะยึดติดในรูปในสิ่งที่ตนเองเคยเป็น มี 3 ภพ คือ
    </dd><dd> กามภพ - ภพมนุษย์, สัตว์เดรัจฉาน, เทวดา
    </dd><dd> รูปภพ - พรหมที่มีรูป
    </dd><dd> อรูปภพ - พรหมที่ไม่มีรูป
    </dd><dd> เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
    </dd><dd> 11. ชาติ
    </dd><dd> คือ ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง ได้แก่ จิตที่ผูกพันกันมากๆจึงเกิดการสมสู่กัน อย่างสม่ำเสมอ จนปรากฎแห่งขันธ์ แห่งอายตนะในหมู่สัตว์
    </dd><dd> เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกปริเทวะทุกขโทมมัส อุปายาส มีความเศร้าโศก เสียใจ ร้องไห้อาลัย อาวรณ์

    </dd><dd> 12. ชรา มรณะ
    </dd><dd> ชรา คือ ความแก่ ภาวะของผมหงอก ฟันหลุด หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่ของอินทรีย์ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่เที่ยงเป็นทุกข์อยู่ในตัว
    </dd><dd> มรณะ คือ ความเคลื่อน ความทำลาย ความตาย ความแตกแห่งขันธ์ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์

    </dd><dd> บ่อเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ เกิดขึ้นมาได้เพราะอวิชา ดั่งพืชเมื่อเกิดเป็นต้นไม้แล้ว มีราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เป็นลำดับไป ไม่ปรากฎว่าเบื้องต้นเกิดมาแต่ครั้งไหน ดั่งรูปนาม ของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่ปรากฎว่าเบื้องต้นคือ " อวิชชา" เกิดมาตั้งแต่เมื่อไร เพราะ เกิดการผูกต่อกันมาเป็นลำดับ เกิดเป็นปฎิจจสมุปบาทขึ้นมา
    </dd><dd> ปุถุชนดับวงของปฎิจจสมุปบาทได้บ้าง เป็นการดับชั่วขณะจึงต้องเกิดอีก เพราะ ตัววิชชายังไม่แจ้งในขันธ์ 5
    </dd><dd> ส่วนตัวอริยชนดับวงของปฎิจจสมุปบาทได้สนิท เพราะดับได้ด้วยวิชชาจึงไม่ต้องเกิดอีก เป็นการดับไม่เหลือเชื้อ เพราะวิชชาแจ้งในขันธ์ 5 พ้นจากการเกิด เปรียบเหมือนไฟ ที่สิ้นเชื้อดับไปแล้ว
    </dd>
     

แชร์หน้านี้

Loading...