ปุจฉา! ฉันทะ และ ตัณหา ความเหมือนที่แตกต่าง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย จิตสิงห์, 8 มิถุนายน 2013.

  1. buakwun

    buakwun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    2,830
    ค่าพลัง:
    +16,613
    กราบอนุโมทนากับทุกท่านที่กล่าวไว้ในที่นี้ด้วย
     
  2. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687


    จิต เจตสิก รูป ล้วนมีสภาวะลักษณะเฉพาะ ไม่ซ้ำกันเลย

    แต่ในความต่างย่อมมีความเหมือน คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

    ว่ากันตามญาณแล้ว

    ปัญญาแยกรูปแยกนามได้ ต้องรู้ที่ลักษณะสภาวะธรรมนั้นๆ

    จู่ๆจะมาว่าไม่เที่ยงเลย ย่อมไม่ถูกสภาวะก็ได้

    เพราะจินตมยปัญญา และ ภวนาปัญญา ต่างกันตรง จินตมย ไม่มีสภาวะปรมัตถ์มารองรับ

    แต่ภาวนามยปัญญามีสภาวะปรมัตถ์เกิดปัจจุบัน สติระลึกได้ตรงสภาวะ ปัญญารู้ลักษณะ
     
  3. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ขออวกาส พระคุณเจ้า

    คำว่า จินตมัยยปัญญา ในอภิธรรม จะระบุว่า เป็นลักษณะ การฟังธรรม
    เห็นธรรมในแบบ การภาวนาของพวกโพธิสัตว์ ( เข้าไปแจ้งอรรถ แจ้งธรรม
    โดยไม่อาศัยการฟังจากผู้อื่น )

    ส่วน สาวกทั่วไป จะใช้ สุตตมัยยปัญญา มานิยามเรียกเท่านั้น
    จะมาใช้คำ จินตมัยปัญญาไม่ได้


    จินตมัยยปัญญา ที่ ปัจจุบัน สัญญาแล่นไปหยิบในความหมายเชิง
    " จินตนาการ คิดคาดเดาสุ่มสี่สุ่มห้า " เป็นอาการของ สัญญาที่เป็นอนัตตา
    มันย้อมติดจิตของผู้ไม่มีสติ ไม่มีสมาธิ ในการกล่าวธรรม

    จะเห็นว่า ในอภิธรรม ระบุลงไปด้วยว่า ได้สัจจนุโลมิกญาณ นั่นหมายถึง แม้จะเป็น อริยบุคคล
    ไปแล้ว เป็นเสขะบุคคลอยู่ ก็ยังถือว่า ยังใช้ สุตมัยปัญญา ในการเข้าไปแจ้งอรรถ ที่ยังไม่เห็น
    อยู่ดีในการนิยาม เรียก

    ****

    ปล. เน้นหน่าคร้าบว่า ขอ " อวกาส "
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มิถุนายน 2013
  4. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    โยนิโสมนสิการ !

    ดีแล้ว โยมเอก เรื่องนี้เคยยกมาคุยกันนานมากแล้วมิใช่หรือ

    ทั้งที่เข้าใจอยู่ว่ารูปประโยชน์สื่อไปทางไหน

    ตัวอักษรสีแดง คงเป็นสภาวะธรรมอย่างหนึ่ง ที่เปิดฉากทักทายกันเน๊อะ
     
  5. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    แสดงความเห็นครับหลวงพี่
    ส่วนมากจะไม่รู้ลักษณะสภาวะธรรมนั้นๆครับ
    จะรู้ก็ต้องเคยฟังมาก่อน จึงสามารถเทียบได้
    ส่วนใหญ่จะเห็นว่ามีปรากฏแล้วดับลงนะครับ
    ปัญญาที่ปรากฏน่าจะรู้เห็นตามไตรลักษณ์น่ะครับ
     
  6. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    คำว่า เคยฟังมาก่อน นั้นเป็นผล ของศรัทธา เข้าหา เข้าใกล้ นั่งใกล้ ตั้งใจ เงี่ยงโสตสดับ แล้วทรงจำ

    ว่ากันปัจจุบันก็คือ ชอบใจธรรมผู้ใดกล่าว ก็เข้าไกล้ เงี่ยงโสต

    ในที่นี้จะไม่กล่าวในชั้น กัลยาณมิตร หรือ คบสัตบุรุษ

    แต่ให้ทราบว่า การฟังเป็นเหตุ ทรงจำไตร่ตรองเป็นผล

    สติระลึกได้ ก็เพราะมีการสร้างเหตุสดับ เหตุทรงจำ เหตุเข้าใจ มาดีแล้ว

    ก็เป็นเรื่องประจักษ์รู้สภาวะลักษณะรูปนามที่เกิดอยู่เฉพาะหน้า


    ลองสังเกตุดูนะ สภาวะธรรมเป็นปรมัตถ์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องไปใส่ชื่ออะไร ปรมัตถ์ก็มีอยู่อย่างนั้น

    ธรรมชาติธรรมมันเกิดแล้วดับไปเป็นปกติ

    ปัญญาแยกรูปแยกนามนั้น แยกปรมัต์ออกจากสมมุตติ แยกรูปออกจากนาม

    แยกฆนะสัญญาออกจากความเป็นกลุ่มก้อน แยกความเห็นผิดว่าตันตนออกมา

    เป็นปัญญาดับทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิสุทธิ

    ปัญญาขั้นนี้ เห็นแล้วว่า มีแต่รูปนาม ไม่มีตัว ตน คนสัตว์ในนั้นเลย

    หากอินทรีย์กล้ามาก ก็เห็นเกิดดับได้ ส่วนมาก รู้ตอนมันดับไปแล้ว


    สูงไปอีก เป็นปัญญา ปัจจยคหญาณ ญาณรู้เหุปัจจัย ดับทิฏฐิโลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง

    ตนมีจิต จิตมีตน ปัญญาขั้นนี้ก็จะรู้เกิดดับอีกลักษณะ โดยความเป็นปัจจัย

    คือสิ่งหนึ่งเกิด สิ่งหนึ่งย่อมเกิด สิ่งหนึ่งดับ สิ่งหนึ่งย่อมดับ ไม่มีอะไรเกิดหรือดับลอยๆ


    สูงมาอีก สัมสนญาณ ปัญญารู้ไตรลักษณ์

    ก็ลองพิจารณาดูว่า แต่ละขั้นตอนไม่มีการข้ามขั้น เป็นไปตามสภาวะปัจจัย

    สติปัฏฐาน สัมปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ มรรค

    เช่น ความเพียร เพียรสม่ำเสมอ เพียรแน่วแน่ เพียรแบบสู้ตาย เพียรมาก เพียรชอบ เป็นไปตามกำลัง

    ทีนี้ปัญญาเห็นไตรลักษณ์ในชั้นสัมสนญาณก็ยังไม่ใช่ไตรลักษณ์จากภาวนาแน่นอนนัก

    แต่ใช้เป็นอารมณ์อนุปัสสนา ในญาณสูงๆขึ้นไป

    ก็ถามว่า ขณะภาวนาอยู่นั้น เห็นความดับเป็นอารมณ์หรือยัง ความสำคัญผิดว่าเป็นตน ของตนมันมีไปในขณะนั้นบ้างไหม

    ท่าทีต่อรูปนามที่ปรากฏอยู่เฉพาะหน้าเป็นอย่างไร



    ส่วนตัวไม่แนะนำให้มาภาวนาไม่เที่ยงๆ โดยยังไม่ประจักษ์ลักษณ์รูปนาม

    เพราะมันมีผลกับสัมปธาน จะเห็นได้เลยว่า อกุศลปรากฏอยู่ กุศลปรากฏอยู่

    ความเพียรมีผลให้กุศที่ยังไม่เกิดให้เกิด มันจะรู้เลยว่าอะไรคือทาง อะไรไม่ใช่ทาง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มิถุนายน 2013
  7. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    ๒. อนิจจสูตรที่ ๑
    ว่าด้วยการละฉันทะในสิ่งที่เป็นอนิจจัง
    [๓๓๕] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในสิ่งที่ไม่เที่ยง
    เสีย. ก็อะไรเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในรูปนั้นเสีย.
    เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในวิญญาณ
    นั้นเสีย.
    จบ สูตรที่ ๒.

    ๓. อนิจจสูตรที่ ๒
    ว่าด้วยการละราคะในสิ่งที่เป็นอนิจจัง
    [๓๓๖] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่งที่ไม่เที่ยง
    เสีย. ก็อะไรเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะในรูปนั้นเสีย.
    เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะในวิญญาณนั้น
    เสีย.
    จบ สูตรที่ ๓.

    ๔. อนิจจสูตรที่ ๓
    ว่าด้วยการละฉันทะราคะในสิ่งที่เป็นอนิจจัง
    [๓๓๗] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในสิ่งที่ไม่
    เที่ยงเสีย. ก็อะไรเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในรูปนั้น
    เสีย. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะใน
    วิญญาณเสีย.
    จบ สูตรที่ ๔.

    ๕. ทุกขสูตรที่ ๑
    ว่าด้วยการละฉันทะในสิ่งที่เป็นทุกข์
    [๓๓๘] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในสิ่งที่เป็นทุกข์
    เสีย. ก็อะไรเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ รูปเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในรูปนั้นเสีย.
    เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในวิญญาณ
    นั้นเสีย
    จบ สูตรที่ ๕.

    ๖. ทุกขสูตรที่ ๒
    ว่าด้วยการละราคะในสิ่งที่เป็นทุกข์
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่งที่เป็นทุกข์เสีย. ก็อะไรเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์
    รูปเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละราคะในรูปนั้นเสีย. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ...
    วิญญาณเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละราคะในวิญญาณนั้นเสีย
    จบ สูตรที่ ๖.

    ๗. ทุกขสูตรที่ ๓
    ว่าด้วยการละฉันทราคะในสิ่งที่เป็นทุกข์
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในสิ่งที่เป็นทุกข์เสีย. ก็อะไรเป็นสิ่งที่
    เป็นทุกข์ รูปเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในรูปนั้นเสีย. เวทนา ... สัญญา ...
    สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งที่เป็นทุกข์ เธอทั้งหลายพึงละฉันทราคะในวิญญาณนั้นเสีย.
    จบ สูตรที่ ๗.

    ๘. อนัตตสูตรที่ ๑
    ว่าด้วยการละฉันทะในสิ่งที่เป็นอนัตตา
    [๓๓๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในสิ่งที่เป็น
    อนัตตาเสีย ก็อะไรเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา รูปเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละฉันทะใน
    รูปนั้นเสีย. เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณเป็นสิ่งที่เป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงละ
    ฉันทะในวิญญาณนั้นเสีย.
    จบ สูตรที่ ๘.

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=3998&Z=4004&pagebreak=0
     
  8. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    เรียกกันว่า "สัตว์" เพราะติดเบญจขันธ์

    "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! คนกล่าวกันว่า 'สัตว์ สัตว์' ดังนี้,
    เขากล่าวกันว่า 'สัตว์' เช่นนี้ มีความหมายเพียงไร ? พระเจ้าข้า !"

    ราธะ ! ฉันทะ (ความพอใจ) ราคะ (ความกำหนัด) นันทิ (ความเพลิน)
    ตัณหา (ความทะยานอยาก) ใด ๆ มีอยู่ในรูป, สัตว์ ย่อมเกี่ยวข้อง
    ย่อมติดในรูปนั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น
    เพราะฉะนั้น สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า "สัตว์ (ผู้ข้องติด)" ดังนี้ ;

    ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใดๆ มีอยู่ในเวทนา,
    สัตว์ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในเวทนานั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น
    เพราะฉะนั้น สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า "สัตว์" ดังนี้;

    ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใดๆ มีอยู่ในสัญญา,
    สัตว์ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในสัญญานั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น
    เพราะฉะนั้น สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า "สัตว์" ดังนี้;

    ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใดๆ มีอยู่ในสังขารทั้งหลาย,
    สัตว์ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น
    เพราะฉะนั้น สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า "สัตว์" ดังนี้ แล.;

    ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใดๆ มีอยู่ในวิญญาณ,
    สัตว์ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในวิญญาณนั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น
    เพราะฉะนั้น สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า "สัตว์" ดังนี้ แล.


    - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๒/๓๖๗.

    http://www.pobbuddha.com/tripitaka/upload/files/1201/index.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มิถุนายน 2013
  9. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    อนุโมทนา MindSoul1

    พระสูตรทั้ง ๒ สัมพันธ์กัน

    ทรงชี้โทษในความติดข้องอุปทานขันธ์

    ความติดข้องในรูป เห็นรูปเป็นตน เห็นรูปเที่ยง

    ความติดข้องในเวทนา เห็นความรู้สึกเป็นตน เห็นตนมีในเวทนา

    ความติดข้องในสัญญา เห็นความจำได้เป็นตน เห็นตนมีในสัญญา

    ความติดข้องในสังขาร เห็นสังขารเป็นในตน เห็นตนมีในสังขาร

    ความติดข้องในวิญญาณ เห็นตนมีในวิญญาณ เห็นวิญญาณเป็นตน

    เหตุเพราะความติดข้อง พอใจ กำหนัด ยินดีในภพ ในภว

    เมื่อยินดีพอใจ เพราะไม่รู้สภาวะ จึงติดในสภาวะ


    ทีนี้ในพระสูตรด้านบน ว่าด้วยอนิจสูตร เป็นต้น

    ( เป็นความเห็นส่วนตัว )

    พระพุทธองค์ทรงชักชวนให้พึงละ โดยเปิดประโยคถามเพื่อตอบ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง

    แล้วชี้ไปที่เหตุควรละ ไม่ใช่ไปละขันธ์ และให้ไปละ เหตุของความติดข้องในขันธ์

    ทรงจำแนก แตก กระจาย ซอย ย่อย ออกมาเป็นลักษณะ นี้รูป นี้เวทนา นี้สัญญา นี้สังขาร นี้วิญญาณ

    เมื่อย่อยมา ก็จับจุดความติดข้องได้ คล้ายๆโพกัสลงไป มันก็ไม่มีสภาวะตน ของตนอยู่ในนั้นแต่อย่างใด

    ความติดข้องในขันธ์ก็ดับไป หายไป ด้วยปัญญา

    ศัพท์สมัยนี้ เรียก ตื่นรู้ หรือรู้ตื่น หมายถึง เมื่อปัญญารู้ชัดในขันธ์กองใดกองหนึ่งในขณะนั้น

    ความติดข้องก็ดับไปในขณะนั้น ปัญญาเห็นตามเป็นจริง อุปทานไม่มี ความยึดมั่นก็ไม่มี แต่ขันธ์มี ปรมัตถมี ทำนองนี้



    ข้อสังเกตุ ฉันทะ (ความพอใจ) ราคะ (ความกำหนัด) นันทิ (ความเพลิน)
    ตัณหา (ความทะยานอยาก)

    ในเนติปกรณ์ อธิบายว่า ทรงใช้ศัพท์ ต่างกรรม ต่างวาระ ขึ้นอยู่กับภูมิ ภูมิประเทศผู้ฟังเพื่อความเข้าใจ

    หากว่าโดยองค์ธรรมแล้ว ฉันทะ คือ ฉันทะเจตสิก ประกอบได้ทั้งกุศล อกุศล

    ส่วน ราคะ นันทิ ตัณหา องค์ธรรมเดียวกันคือ โลภะ บ้างประกอบด้วยทิฏฐิ

    นี่ก็ว่ากันในชั้นปรมัตถ์ มุ่งไปที่สภาวะธรรมฝ่ายเดียว.
     
  10. คัน

    คัน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2008
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +67
    ผมว่า ฉันทะเป็นสิ่งที่มีแต่เฉพาะจิตของพระอริยะบุคคลขึ้นไป เข้ากระแส ช้าหรือเร็วก็ไม่เกิน7ชาติอะไรทำนองนี้ ก็ฉันทะในจิตนั้นแหละเป็นแรงผลัก

    ตัณหามันเกิดจากการปรุงแต่งขันธ์5มีเราเป็นคนปรุงแต่ง

    สรุปว่ามั่วครับ
     
  11. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    เคยขวนขวาย อาสาถูพื้นศาลาวัด อาสาช่วยพระกวาดวัด ช่วยทำโน่นทำนี่

    ถวายอาหารพระ เก็บกวาดล้างห้องน้ำวัดมั๊ย จุงคนพิการข้ามถนน ในทาน ฯลฯ

    พวกนี้ ขณะทำไปใจเป็นอย่างไร

    มีใครบังคับอะไรมั๊ย ทำแล้วทุกข์ภายหลังมั๊ย
     
  12. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    กราบครับท่าน

    จะไปมีใครบังคับได้ เพราะท่านเป็นถึงอธิบดี (ฉันทะ)
     
  13. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ฉันทะเจตสิก ความพอใจในอารมณ์
    จัดอยู่ในปกิณกเจตสิก 6
    เกิดร่วมกับจิตฝ่ายกุศลก็ได้ ฝ่ายอกุศลก็ได้
    แต่ไม่แน่นอนเสมอไป(คือไม่ได้เกิดกับจิตกุศลหรืออกุศลทุกดวง)

    โลภะเจตสิก ความอยากได้อารมณ์...
    จัดอยู่ในปกิณกอกุศลเจตสิก 10
    เกิดร่วมกับจิตฝ่ายอกุศล
    แต่ไม่แน่นอนเสมอไป(คือไม่ได้เกิดกับจิตอกุศลทุกดวง)

    ฉันทะอาจเป็นจุดเริ่ม แล้วปล่อย ในฝ่ายกุศลที่จะเจริญขึ้นไป..
    ถ้าไม่ปล่อย ก็อาจกลายกลับมาเป็นฝ่ายอกุศลคือร่วมกับโลภะก็ได้
    (คิดเอาเอง)

    http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=355
     
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    จะไปเชื่อ อาการดำริว่า " คิดเอาเอง " ทำไมหละ

    ถ้าไปคว้าคำว่า คิดเอาเอง ออกมาเป็น วจีสังขาร การปรุงแต่งที่
    มี เจตนา เจือเข้าไปค่อนข้างมาก แทนที่ ธรรมที่กล่าวออกมา
    ทั้งหมดมันจะถูกดีอยู่แล้ว(เป็นกุศลอยู่ดีๆ) ก็เลยผลิก เป็น อกุศล

    ถ้าเปลี่ยน การหยิบฉวยคำพูดว่า " ( คิดเอาเอง ) " เป็นคำว่า
    " มันเหมือนๆ จะเป็น(เห็น)ได้อย่างนั้น " ตรงนี้จะทำให้ คงไว้
    ที่ " นามรูป " และเพราะว่า หยิบข้างฝ่าย พอเหมือนๆ จึงจัด
    เข้าเป็น " ยังเพียงระลึก( ใช้สัญญา ) " แล้วทำให้เกิดการ
    เพียรเพ่ง " คิดเอาเอง ( ฝ่ายสังขาร ) " คือ เพ่งกายคตาสติ
    ได้อยู่ องค์ภาวนายังคงดำเนิน ไม่หล่นจาก สมาธิ ไม่หล่นจาก
    วิปัสสนา

    ในการภาวนา ช่วงการเห็น " นามรูป " นอกจาก ฉันทะ เจตนา
    ผัสสะ เวทนา จะมี กองขันธ์อีกสองกอง ทำหน้าที่ คือ " สัญญาขันธ์
    กับ " สังขารขันธ์ "

    การที่เรารั้งการภาวนาให้จิต น้อมไปทางการระลึก ใช้สัญญาขันธ์( บริกรรม )
    จะทำให้จิตแยกออกจากกอง " สังขารขันธ์ "

    เมื่อการภาวนาไม่เข้าฝ่าย สังขารขันธ์ ก็จะเป็นการ เพียรระลึก เป็น วิปัสสนา
    และเป็นเรื่อง การฉลาดในการอยู่ในสัญญาอันเดียว ไม่ใช่การคิดปรุงแต่งการปฏิบัติ

    เมื่อภาวนาอยู่แบบนี้ เราก็จะห่างจากการชินในการใช้ สังขารขันธ์

    เหลือแต่ เพียรอยู่ใน แพ ที่ผูกๆ ขึ้นมาเพื่อระลึกข้าม สังขารขันธ์(โอฆะ ความ
    คิด ทิฏฐิ ) เหลือเพียงแต่ หากเห็นฝั่งก็ต้อง โน้มขึ้นไป โดยการ
    เห็นไตรลักษณ์ในกองแพที่ใช้ .....
     
  15. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    เพราะนึกถึงอุเบกขาสัมโพชฌงค์ กับ มรรคจิต
    คาดว่าฉันทะเจตสิกคงหายไปปีมะโว้แล้ว แต่ยังขี้เกียจไปค้น..
    เลยแบบขี้เกียจยืนยัน... ต้องไปพบหลักฐานกะตาก่อน (ถึงจะมั่นใจไประดับนึงแล้วก็ตาม...)

    ส่วนคนอื่นก็ให้คิดเอาเองต่อด้วย ต้องใช้วิจารณาญาณเองต่อด้วย ...
    มาพึ่งคนขี้เกียจมาก ไม่ได้
     
  16. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ูเห็นเหมือนกับพี่ป.ปุณฑ์น่ะครับ ตรงคิดเอาเอง นี่ล่ะ
    ทีนี้พอยั้งทันก็มาพิจารณาอีกที เลยยังไม่ส่งขึ้นเวบ
    อ่านอีกที่พี่หนีมาแหลงไขแล้ว
    มันเหมือนๆ
     
  17. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ..............จะบอกว่า ไอ้ ที่ไม่มีอยู่ตอนนี้(ฉันทะ)...ของเจ๊ คือ ลักษณะ ของ ฉันทะเจตสิก นะ สิ...เลยไม่มี อุสสาหะ.ความขี้เกียจ เลย มา:cool:
     
  18. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,123
    กราบนมัสการหลวงพี่

    ว่าแต่ขณะที่รับบิณฑบาตร เช่นได้ กล้วย ข้าวเหนียวห่อ เป็นต้น หรืออะไรก็แล้วแต่ ในฐานะที่เป็นปฏิคาหก

    หรือมีทายกใด ช่วยขวนขวาย อาสาถูพื้นศาลาวัดกุฏิ อาสาช่วยกวาดลานวัด ช่วยทำโน่นนี่ปัดกวาด

    ขณะนั้นใจหลวงพี่เป็นอย่างไร

    เข้ามาทักทายขอรับ ^^ _/\_
     
  19. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ฉันทะ เจตสิก ไม่ใช่ว่า เห็น สภาวะของฉันทะ แล้วจะต้องไป ดับ หรือ ทำให้หาย

    พระพุทธองค์กล่าวว่า เวทนาบางอย่างควรเสพ เวทนาบางอย่างไม่ควรเสพ

    เวทนาที่เสพแล้ว ยังจิตเป็นกุศล สิ่งนั้นควรเสพ

    สมมติว่า ปุณฑ์ปู็น เสพ ฉันทะในการระลึกสมาบัติ ... จะเห็นว่า ยังจัด
    เป็นข้าง ผูกแพ

    แต่ อภิสังขารมันก็เกิด แต่.........เกิดเป็น วิบาก ที่ให้มาตามความ
    สมควรแก่ธรรม

    อภิสังขาร จึงปรากฏของมัน คู่กันไป แต่ มันเกิดขึ้นโดยปราศจาก
    การร่วมกับ " เจตนา " ( สมถะ วิปัสสนา เคียงคู่กันไป ไม่ก้ำเกินกัน )

    ทีนี้ มันจะติดกองสัญญาอยู่ ติดบริกรรมของมันอยู่ ( บริกรรม คำ
    นี้เป็น เจตสิก ที่อธิบายใน ลูกชิ้น ไม่ใช่ "บริกรรม" ที่เป็น "คำสอนสมัย"
    ใหม่ไปทับถมจนปิดบังการเห็น มรรค ) .....แต่ เครื่องมือ คือ ไตรลักษณ์

    หากไตรลักษณ์ยังสัมปยุตอยู่ ความตั้งมั่นมันก็มี ความห่างจาก สังขารทั้ง
    ปวงมันก็ปรากฏ การตามเห็นสังขารทั้งปวงกระจัดกระจาย แม้ แต่ อภิสังขาร
    ที่เป็นวิบากเอง ยังดับให้เห็น ( ตามเห็นวิบาก จะเป็นการเห็นการดับ ดับ ดับ
    ...เพราะ ตอนมันเกิด เราทวนกระแสอยู่ที่เหตุ อยู่ -- จิตเห็นได้ทีละกอง )

    ชวนะวิถี ก็จะเห็นเลาเข้ามา

    เห็นชัด มันจะเห็นเหมือน จิตวิ่งได้ / ยืดแขนได้ / คว้าอารมณ์มาเสพ

    เห็นชัดกว่านั้นอีก จะเห็นจิตเกิดดับทีละดวง ( อินทรีย์กล้า แหวกการ
    ภาวนาที่ นามรูป ไปเห็น วิญญาณ ตามลำดับของ ปฏิจสมุปบาท )

    อินทรีย์ภาวนาชั้นยอดสำหรับขั้นนี้ จะเห็น เป็น เหมือนมันมี ม่านมาบีบ
    มาบัง แล้ว เราแหวกมันออกไม่ได้ ตกเป็น ทาสของสิ่งกำบังนั้น ( ตรง
    นี้จึงเป็นพวก ปัญญากล้า -- เห็น อาสวะ อนุสัย ของจิต เข้ามาตรงๆ )

    การยกเห็น อินทรีย์(ภาวนา) จัดเป็น ปัญญาฉลาดในอินทรีย์ ยกเห็น
    บ่อยๆ จัดเป็น ปฏิสัมภิทาญาณ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2013
  20. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    สรุปสำหรับ ปุณฑ์ปู้น

    จะเห็นว่า การที่เรา คว้าคำพูดขึ้นมาพูด หรือที่นิยมเรียกว่า " การสนทนาธรรม "

    หากเราเผลอคว้าในเชิง สังขาร ความช้ำชอกจะเกินพรรณา

    แต่ถ้าเรา แค่ระลึก ใช้ตามที่ระลึก ก็จะเป็น สัมมาปฏิปทา

    แนวโน้มของ การใช่ระลึก จะเห็นว่า จะหยิบเข้าใกล้ พุทธวัจนะ เรื่อยๆ

    แต่ถ้าหยิบแบบสังขาร มันจะหยิบแบบเติมแต่ง ปฏิรูป เรื่อยๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2013

แชร์หน้านี้

Loading...