ปรัชญาแห่งพุทธศาสนาฝ่ายเหนือ (มหายาน-วัชรยาน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย เทพธรรมบาล, 14 มกราคม 2012.

  1. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    บทสวดทั้งหลายเพื่อสร้างกำลังใจในสภาวะบาร์โด
    บทสวดเพื่อสร้างกำลังใจเหล่านี้ได้มาจากคลังตำราที่ข้องเกี่ยวกับคัมภีร์มรณศาสตร์

    บทสวดดลบันดาล
    อัญเชิญพุทธองค์และเหล่าโพธิสัตว์
    เพื่อคุ้มครองชีพ

    เมื่อถึงวาระการจากไปของคนที่เรารัก เราควรจะสวดอัญเชิญบรรดาเหล่าพุทธองค์และพระโพธิสัตว์เพื่อให้มาคุ้มครองและบอกทาง ต่อเขาเหล่านั้น เราจำต้องถวายสักการะต่อพระรัตนตรัยด้วยเครื่องบูชาและจิตใจ ให้ท่านถือของหอมไว้ในมือและกล่าวถ้อยคำต่อไปนี้ ด้วยจิตใจอันแน่วแน่

    พระพุทธองค์และเหล่าโพธิสัตว์ในทิศทั้งสิบ ผู้ทรงไว้ซึ่งความกรุณา ล่วงรู้ในทุกสิ่ง ครอบครองซึ่งดวงตาห้าประการ ผู้ประทาน ซึ่งความรัก ปกป้องสรรพสัตว์ทั้งหลาย โปรดเสด็จมายังสถานที่นี้โดยอำนาจแห่งความกรุณา และรับเอาเครื่องสักการะบูชาพร้อมด้วย บริวารเหล่านี้

    พระพุทธองค์ผู้ทรงไว้ซึ่งความกรุณา ตั้งมั่นอยู่ในปัญญารอบรู้เปี่ยมด้วยเมตตาธรรม ประกอบกิจอันเลิศด้วยกุศลกรรม และทรงอำนาจพละ แห่งการปกปักษ์รักษาที่ยากจะหยั่งคำนวนได้ พระผู้ทรงซึ่งความกรุณาทั้งปวงในไตรภพ บุคคลผู้นี้ ( ชื่อ ) กำลังผละจากดินแดนนี้ สู่อีกฟากฝั่งหนึ่ง เขากำลังจะดับชีพลงโดยหลีกเลี่ยงมิได้ เขาปราศจากซึ่งมิตรสหาย เขาได้ทนทุกข์ทรมาณอย่างหาที่เปรียบมิได้ เขาไร้ซึ่งที่พักพิง เขาไร้ซึ่งผู้คุ้มครอง เขาไร้ซึ่งกัลยาณมิตร แสงสว่างแห่งชีวิตนี้ได้มามอดดับลง เขากำลังเดินทางไปสู่อีกโลกหนึ่ง ไปสู่ความมืดมนอนธกาล เขาได้พลัดตกจากเงื้อมผาสู่ห้วงเหว เขาได้หลงทางอยู่ในพนาพฤกษ์ ถูกฉุดรั้งไปด้วยผลแห่งกรรม เขาไปสู่ความทารุณโหดร้ายอันใหญ่หลวง เขาได้ถูกพัดพาโดยมหานที ถูกซัดโถมด้วยพายุร้ายแห่งผลกรรม เขาได้ร่วงหล่นลงไปในที่ปราศจากผืนแผ่นดิน เขาได้เข้าสู่สนามสงครามอันเต็มไปด้วยเภทภัย เขาถูกเกาะกุมด้ยปิศาจร้าย ถูกข่มขู่ด้วยยมทูต เขาได้ผ่านภพแล้วภพเล่าด้ยผลกรรม ช่างสิ้นหวังทรมาณ เวลาแห่งการเดินทางไปอย่างโดดเดี่ยวโดยปราศจาก ญาติมิตรได้มาถึงแล้วสำหรับเขา

    พระผู้ทรงไว้ซึ่งความกรุณา โปรดได้สงเคราะห์เขาด้วยเทอญ ให้ที่พักพิงแก่เขา ( ชื่อ ) ผู้ยากไร้ ปกป้องเขา คุ้มครองเขา นำเขาออกจาก ความมืดมนแห่งบาร์โด นำเขาหลบหลีกลมพายุแห่งผลกรรม ช่วยเหลือเขาจากความพรั่นพรึงที่มีต่อพญายมราช นำเขาผ่านหนทาง อันยาวไกลและมากด้วยอันตราย พระผู้ทรงไว้ซึ่งความกรุณาทั้งหลาย อย่าปล่อยให้กรุณาทานของท่านนั้นสูญเปล่าไร้ความหมาย โปรดเกื้อกูลเขา อย่าปล่อยให้เขาพลัดตกลงไปในภูมิอันต่ำช้าทั้งสาม ( นรกภูมิ เปรตภูมิ เดรัจฉานภูมิ ) โปรดอย่าหลงลืมมรรคกิจ ในกาลก่อนของท่าน ได้โปรดถ่ายทอดรัศมีแห่งความกรุณาให้แก่เขาด้วยเทอญ

    พระพุทธองค์และเหล่าโพธิสัตว์ อย่าปล่อยให้กรุณาคุณและอุบายโกศลที่ท่านเอื้ออำนวยต่อผู้ตาย ( ชื่อ ) นั้นอ่อนแอ จงช่วยเหลือเขาด้วย อำนาจแห่งกรุณา อย่าปล่อยให้สัตว์ผุ้ทุกข์ทนได้ตกหล่นไปในอกุศลกรรมอันต่ำช้า

    ขอพระรัตนตรัยเป็นสรณะ พาผ่านความทุกข์ทรมาณนานับบาร์โด

    ควรกล่าวถ้อยคำนี้สามครั้งคราด้วยศรัทธาแรงกล้า ครั้นแล้วจึงควรอ่านคัมภีร์ " วิมุตติโดยการสดับฟัง " " บทสวดเพื่อสร้างกำลังใจ ให้ได้รับการปกป้องจากหนทางอันตรายในบาร์โดภาวะ " และ " บทสวดในบาร์โดภาวะเพื่อป้องกันอาการหวาดกลัว " ตามลำดับ
     
  2. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    [​IMG]

    คาถาสำคัญแห่งบาร์โดทั้งหก



    บัดนี้เมื่อบาร์โดแห่งการเกิดได้ปรากฏต่อข้า ฯ แล้ว
    ข้า ฯ จะสละทิ้งซึ่งความเกียจคร้านทั้งปวงเพราะไม่มีเวลา
    ในช่วงชีวิตใดให้เราผลาญเปล่า
    ข้า ฯ จะยาตรย่างสู่มรรคแห่งสิกขา การไตร่ตรองและ
    สมาธิภาวนาโดยไม่แชเชือนไปเป็นอื่น
    ข้า ฯ จะควบคุมตามนิมิตและจิตภาวะให้ดำเนินไปบนวิถี
    และประจักษ์แจ้งในตรีกาย
    บัดนี้ข้า ฯ ได้มาซึ่งกายแห่งมนุษย์อีกครั้ง
    ไม่มีเวลาให้จิตได้ร่อนเร่อีกต่อไปแล้ว

    บัดนี้เมื่อบาร์โดแห่งความฝันได้ปรากฏต่อข้า ฯ แล้ว
    ข้า ฯ จะละทิ้งการหลับไหลในอวิชชาอันเปลือยเปล่า
    ดุจซากศพไปเสีย
    และปลดปล่อยความคิดให้เข้าสู่ภาวะปกติโดยปราศจาก
    ความหวั่นไหว
    ควบคุมและแปรเปลี่ยนความฝันสู่ภาวะสุกใส
    ข้า ฯ จะไม่หลับใหลดังสัตว์ต่ำช้า
    ทว่าจะประสานความหลับและการปฏิบัติให้เป็นหนึ่งเดียวกัน

    บัดนี้เมื่อบาร์โดแห่งสมาธิภาวนาได้ปรากฏต่อข้า ฯ
    ข้า ฯ จะสละทิ้งซึ่งมิตรสหายแห่งความฟุ้งซ่านและสับสน
    และพักพิงอยู่ในสภาวะอันหาที่สุดมิได้ โดนฃยปราศจากความ
    ใหลหลงและตื่นกลัว
    หมดจดอยู่ในนิมิตและความหนักแน่น
    ในห้วงแห่งสมาธิ จิตนั้นเป็นหนึ่ง ไม่ข้องแวะกับกิจใด ๆ
    ข้า ฯ จะไม่เลี่ยงพล้ำสู่อานาจแห่งวิจิกิจฉา

    บัดนี้เมื่อบาร์โดแห่งชั่วขณะก่อนอำลาร่างได้ปรากฏต่อข้า ฯ แล้ว
    ข้า ฯ จะละทิ้งการข้องแวะ เกาะเกี่ยว ผูกพันทั้งปวงเสีย
    มุ้งหน้าสู่การตระหนักแจ้งแห่งคำสอนอย่างกล้าหาญ
    นำทางดวงวิญญาณลุล่วงสู่ที่ว่างแห่งจิตอันไร้การดิ้นรน
    ข้า ฯ ได้สละเสียซึ่งกายอันชุ่มไปด้วยเลือดและผิวเนื้อ
    และรับรู้ว่ามันเป็นเพียงมายาแปรเปลี่ยนที่ไม่แน่นอน

    บัดนี้เมื่อบาร์โดแห่งธรรมดาได้ปรากฏต่อข้า ฯ แล้ว
    ข้า ฯ จะละทิ้งซึ่งความคิดที่ข้องแวะอยู่ในความหวาดกลัว
    และพรั่นพรึงให้สิ้น
    ไม่ว่าจะมีสิ่งใดอุบัติขึ้น
    ข้า ฯ จะเฝ้าเตือนตนว่าเป็นเพียงมายาจากใจข้า ฯ
    และรับรู้ว่ามันเป็นเพียงนิมิตแห่งบาร์โด
    ในที่สุดข้า ฯ ก็ได้มาถึงจุดเป็นตายแล้ว
    ข้า ฯ จะไม่หวั่นไหวต่อเทพสันติหรือเทพพิโรธใด
    อันเป็นภาพสะท้อนแห่งใจข้า ฯ เอง

    บัดนี้เมื่อบาร์โดแห่งการแปรเปลี่ยนได้ปรากฏต่อข้า ฯ แล้ว
    ข้า ฯ จะกำหนดจิตเป็นหนึ่งเดียว
    และต่อสู้เพื่อธำรงไว้ซึ่งกุศลกรรม
    ปิดทางผ่านเข้าออกแห่งครรภ์อุทร
    ในช่วงเวลานี้ข้า ฯ จำต้องพึ่งพาซึ่งจิตอันประภัสสรและ
    วิริยะบารมีทั้งปวง
    ข้า ฯ จะละทิ้งซึ่งความริษยาอาฆาต และเพ่งสมาธิต่อ
    องค์คุรุและศักติ

    จากจิตอันโง่งมในอดีต ไม่ตระหนักถึงความตายที่
    ย่างกรายเข้ามา
    กระทำแต่กิจอันไร้แก่นสาร
    การกลับคืนสู่สภาวะสูญเปล่าอีกครั้งย่อมก่อความรู้สึก
    สับสนอันใหญ่หลวง
    สิ่งสำคัญในที่นี้ได้แก่พุทธธรรมอันเลอค่า
    เหตุไฉนจึงไม่หันหน้าสู่ธรรมะในครานี้
    นี้คือถ้อยคำแห่งสิทธา
    หากเธอไม่ประคองคำสอนแห่งคุรุผู้ยิ่งใหญ่ไว้ในดวงใจ
    เธอจะมิเป็นมารหลอกตนเองดอกหรือ
     
  3. เด็กแวนซ์

    เด็กแวนซ์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    206
    ค่าพลัง:
    +35
  4. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    [​IMG]


    บทสวดเพื่อสร้างกำลังใจ
    ให้ได้รับการปกปักจากหนทางอันตราย
    ในบาร์โดภาวะ



    ขอนอบน้อมคารวะต่อเหล่าคุรุ ยิดัม และทักคินี
    ด้วยความรักและกรุณาคุณอันยิ่งใหญ่ของพวกท่าน
    โปรดนำข้าผ่านหนทางนี้ด้วยเถิด
    ผ่านความสับสนเหลือคณานับ ข้า ฯ จึงได้ร่อนเร่อยู่ในวัฏสงสาร
    โดยอาศัยกำลังจิตอันแน่วแน่ของสิกขา การไตร่ตรองและสมาธิภาวนา
    ขอให้เหล่าคุรุแห่งนิกายศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจงปรากฏเบื้องหน้าข้า ฯ
    เหล่าศักติและหมู่ทักคินีโปรดคุ้มครองอยู่เบื้องหลัง
    ช่วยพาข้า ฯ ข้ามผ่านหนทางอันตรายในบาร์โด
    และนำข้า ฯ ไปสู่สภาวะบริสุทธิ์แห่งพุทธะ

    ผ่านอวิชชาอันก้าวร้าว ข้า ฯ จึงร่อนเร่อยู่ในสังสารวัฏ
    โดยอาศัยวิสุทธิมรรคแห่งปัญญาของธรรมธาตุ
    ขอให้พระไวโจนพุทธผู้ศักดิ์สิทธิ์เสด็จอยู่เบื้องหน้าข้า ฯ
    และองค์ศักติ ราชินีแห่งที่ว่างวัชระเสด็จอยู่เบื้องหลัง
    นำข้า ฯ ผ่านหนทางอันตรายในบาร์โด
    และนำข้า ฯ ไปสู่สภาวะบริสุทธิ์แห่งพุทธะ

    ผ่านความก้าวร้าวอันแข็งกล้า ข้า ฯ จึงร่อนเร่อยู่ในสังสารวัฏ
    โดยอาศัยมรรควิธีอันใสสว่างของภูมิปัญญาที่กระจ่างใสดุจกระจกเงา
    ขอให้พระวัชรสัตวพุทธผู้ศักดิ์สิทธิ์เสด็จอยู่เบื้องหน้าข้า ฯ
    และองค์ศักติ โลจนะเสด็จอยู่เบื้องหลัง
    นำข้า ฯ ผ่านหนทางอันตรายในบาร์โด
    และนำข้า ฯ ไปสู่สภาวะบริสุทธิ์แห่งพุทธะ

    ผ่านทิฏฐิอันแรงจัด ข้า ฯ จึงร่อนเร่อยู่ในสังสารวัฏ
    โดยอาศัยมรรควิธีอันใสสว่างของภูมิปัญญาแห่งความเท่าเทียม
    ขอให้พระรัตนสัมภวพุทธผู้ศักดิ์สิทธิ์เสด็จอยู่เบื้องหน้าข้า ฯ
    และองค์ศักติ มามากิ เสด็จอยู่เบื้องหลัง
    นำข้า ฯ ผ่านหนทางอันตรายในบาร์โด
    และนำข้า ฯ ไปสู่สภาวะบริสุทธิ์แห่งพุทธะ

    ผ่านความริษยาอันยิ่งใหญ่ ข้า ฯ จึงร่อนเร่อยู่ในสังสารวัฏ
    โดยอาศัยมรรควิธีอันกระจ่างแจ้งของภูมิปัญญาในการบรรลุถึง
    ขอให้พระอโฆสิทธิพุทธ ผู้ศักดิ์สิทธิ์เสด็จอยู่เบื้องหน้าข้า ฯ
    และองค์ศักติ สัมมายะ - ธารา เสด็จอยู่เบื้องหลัง
    นำข้า ฯ ผ่านหนทางอันตรายในบาร์โด
    และนำข้า ฯ ไปสู่สภาวะบริสุทธิ์แห่งพุทธะ

    ผ่านอำนาจใฝ่ต่ำอันไม่รู้สึกตัว ข้า ฯ จึงร่อนเร่ไปในสังสารวัฏ
    โดยอาศัยมรรควิธีอันกระจ่างแจ้งของภูมิปัญญาภายใน
    ขอให้เหล่านักรบวิทยาธร ยุรยาตรอยู่เบื้องหน้าข้า ฯ
    และองค์ชายาหมู่ทักคินี เสด็จอยู่เบื้องหลัง
    นำข้า ฯ ผ่านหนทางอันตรายในบาร์โด
    และนำข้า ฯ ไปสู่สภาวะบริสุทธิ์แห่งพุทธะ

    ผ่านภาพมายาอันสับสนดุร้ายข้า ฯ จึงร่อนเร่อยู่ในสังสารวัฏ
    โดยอาศัยมรรควิธีอันกระจ่างแจ้งของการละทิ้งซึ่งความหวาดกลัวทั้งปวง
    ขอให้เหล่าพุทธองค์ทั้งในรูปสันติและพิโรธจงเสด็จอยู่เบื้องหน้าข้า ฯ
    และองค์ทักคินี ราชินีแห่งอากาศว่างเสด็จอยู่เบื้องหลัง
    นำข้า ฯ ผ่านหนทางอันตรายในบาร์โด
    และนำข้า ฯ ไปสู่สภาวะบริสุทธิ์แห่งพุทธะ
    ขอให้อากาศธาตุไม่ปรากฏตนในรูปปรปักษ์
    ขอให้ข้า ฯ ได้แลเห็นภูมิแห่งพุทธองค์ผู้มีกายสีน้ำเงินขาว
    ขอให้ธาตุน้ำไม่ปรากฏตนในรูปปรปักษ์
    ขอให้ข้า ฯ ได้ประจักษ์เห็นภูมิแห่งพุทธองค์ผู้มีวรกายสีขาวนวล
    ขอให้ธาตุดินไม่อุบัติตนในรูปปรปักษ์
    ขอให้ข้า ฯ ได้ประจักษ์เห็นภูมิแห่งพุทธองค์ผู้มีวรกายสีเหลืองละมุน
    ขอให้ธาตุไฟไม่อุบัติตนในรูปปรปักษ์
    ขอให้ข้า ฯ ได้ประจักษ์เห็นภูมิแห่งพุทธองค์ผู้มีวรกายสีแดงเพลิง
    ขอให้ธาตุลมไม่อุบัติตนในรูปปรปักษ์
    ขอให้ข้า ฯ ได้ประจักษ์เห็นภูมิแห่งพุทธองค์ผู้มีวรกายสีเขียวมรกต
    ขอให้ประภารัศมีแห่งธาตุทั้งหลายไม่อุบัติตนในรูปปรปักษ์
    ขอให้ข้า ฯ ได้ประสบเห็นซึ่งภูมิแห่งพุทธองค์ทุกองค์
    ขอให้ แสง สี และรัศมีไม่อุบัติขึ้นในรูปปรปักษ์
    ขอให้ข้า ฯ ได้ประสบเห็นภูมิอันไม่สิ้นสุดแห่งเทพสันติและเทพพิโรธ
    ขอให้ข้า ฯ ได้สดับเข้าใจในสำเนียงต่าง ๆ ดุจสุรเสียงจากตัวข้า
    ขอให้ข้า ฯ ได้ประจักษ์เห็นแสงต่าง ๆ ดุจดังรัศมีจากตัวข้า ฯ
    ขอให้ข้า ฯ ได้รับรู้รังสีต่าง ๆ ดังว่าเป็นรังสีจากตัวข้า ฯ เอง
    ขอให้ข้า ฯ ได้รู้แจ้งสภาพในบาร์โดโดยพลันด้วยตนเอง
    ขอให้ข้า ฯ บรรลุถึงซึ่งภูมิแห่งตรีกายด้วยเทอญ

    บทสวดในบาร์โดภาวะ
    เพื่อป้องกันอาการหวาดกลัว


    เมื่อการเดินทางแห่งชีวิตข้า ได้มาถึงจุดสิ้นสุด
    หามีมวลมิตรได้ติดตามข้า ฯ ไปจากโลกนี้
    ข้า ฯ จึงร่อนเร่อยู่ในบาร์โดภาวะอย่างโดดเดี่ยว
    ขอให้พระพุทธองค์ทั้งหลายทั้งกายสันติและกายพิโรธจง
    แผ่อำนาจแห่งกรุณาอันไพศาลออกมา
    และขจัดเสียซึ่งความดำมืดแห่งอวิชชา

    เมื่อต้องผละลาจากมิตรสหาย และร่อนเร่อย่างโดดเดี่ยว
    ภาพสะท้อนแห่งจิตอันได้แก่ " รูปอันว่างเปล่า " ได้ปรากฏขึ้น
    ขอให้พระพุทธเจ้าทั้งหลายจงแผ่อำนาจอันเนื่องจากความกรุณา
    เพื่อที่ความน่าสะพรึงกลัวในบาร์โด จะไม่อุบัติต่อข้า ฯ ด้วยเทอญ

    ครั้นเมื่อแสงกระจ่างทั้งห้าดวงแห่งปัญญาได้ฉายฉานขึ้น
    ขอให้ข้า ฯ ได้ตระหนักแจ้งในตัวเองอย่างไม่หวั่นไหว
    เมื่อรูปกายแห่งตัวตนอันสันติและพิโรธปรากฏขึ้น
    ขอให้ข้า ฯ จดจำได้ถึงบาร์โดภาวะอย่างไม่พรั่นพรึงและหวั่นไหว

    เมื่อข้า ฯ ได้รับการทรมาณจากวิบากกรรม
    ขอให้พระพุทธองค์ผู้ทรงสันติและพิโรธธรรมได้ขจัดความ
    ทรมาณทั้งหลายแก่ข้า ฯ ด้วย
    เมื่อเสียงแห่งธรรมดาได้คำรามก้องประดุจดังอสนีบาตนับพันนับหมื่น
    ขอให้มันจงกลับกลายเป็นเสียงสาธยายมนต์แห่งคำสอนมหายานด้วยเทอญ

    เมื่อข้า ฯ ต้องติดตามผลกรรมไป โดยปราศจากผู้เกื้อกูล
    ขอให้พระพุทธองค์ทั้งหลายผู้ทรงสันติและพิโรธธรรมได้เกื้อกูลข้า ฯ
    เมื่อข้า ฯ ได้รับทุกข์จากวิบากโดยอำนาจใฝ่ต่ำ
    ขอให้อำนาจสมาธิจากความปีติสุขและกระจ่างใสได้บังเกิดขึ้นเทอญ

    ในชั่วขณะแห่งการเกิดเองในบาร์โดแห่งการแปรเปลี่ยน
    ขอให้คำสอนอันต่ำช้าแห่งมารอย่าได้อุบัติขึ้น
    เมื่อข้า ฯ ได้ดำเนินถึงสถานที่อันตั้งใจโดยอำนาจเหนือธรรม
    ขออย่าให้ความน่าสะพรึงกลัวอันเป็นมายาแห่งอกุศลกรรม
    บังเกิดกับข้า ฯ เลย

    เมื่อฝูงสัตว์ป่าอันดุร้ายออกล่าเหยื่อมันย่อมคำราม
    ขอให้สุรเสียงของมันกลับกลายเป็นเสียงธรรมะ และอักขระทั้งหก
    เมื่อข้า ฯ ถูกไล่ล่าโดย หิมะ ฝน ลม และความมืด
    ขอให้ข้า ฯ ได้มีดวงตาเห็นธรรมอันศักดิ์สิทธิ์และใสกระจ่าง

    ขอให้สรรพสัตว์ร่วมภูมิเดียวกับข้า ฯ ในบาร์โด
    ได้ปลอดจากความริษยา และเกิดในสภาวะขั้นสูง
    เมื่อความโหยหิวและกระหายถูกก่อหวอดโดยความปรารถนาต่ำช้า
    ขอให้ความปวดร้าวทุกข์ทรมาณอันมีเหตุจากความโหยหิว
    ความร้อนระอุ และความหนาวเหน็บปลาสนาการไป

    เมื่อข้า ฯ ได้แลเห็นบิดรและมารดาในภายภพหน้าเสพสังวาสกัน
    ขอนิมิตจงแปรเปลี่ยนเป็นพระพุทธองค์ผู้ทรงสันติและ
    พิโรธธรรมกับองค์ชายา
    ให้ข้า ฯ ได้รับอำนาจวิเศษอันสามารถเลือกที่เกิด
    เพื่ออำนายประโยชน์แด่สรรพสัตว์

    จากร่างกายอันเปี่ยมล้นสมบูรณ์ที่ข้า ฯ ได้รับมาในกาลนี้
    ขอให้บุคคลที่ได้พบเห็นและสดับสำเนียงจากข้า ฯ
    ได้รับวิมุตติสุขโดยพลัน
    ขอให้ข้า ฯ ปลอดพ้นจากการติดตามซึ่งอกุศลกรรมของตนเอง
    ทว่าได้แอบอิงและเพิ่มพูนในคุณงามความดีอันข้า ฯ ได้สั่งสมมา

    ไม่ว่าข้า ฯ จะถือกำเนิดในที่ใดก็ตาม ณ ที่นั้น
    ขอให้ข้า ฯ ได้พบกับองค์ยิดัมประจำชีวิตนี้อย่างไกล้ชิด
    ได้เรียนรู้ถึงวิธีก้าวเดิน พูดจา นับแต่เกิด
    ขอให้ข้า ฯ ได้รับอำนาจอันไม่หลงลืมและจดจำได้ถึงช่วงชีวิตที่ผ่านมา

    ในทุกลำดับขั้นของการเรียนรู้ ทั้งสูงส่ง ปานกลาง และต่ำทราม
    ขอให้ข้า ฯ ได้เข้าใจโดยการสดับฟัง ตริตรอง และพินิจดู
    ไม่ว่าข้า ฯ จะจุติไปเกิดยังแห่งหนใด ขอให้สถานที่แห่นั้น
    เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
    ให้สรรพสัตว์ได้รับประโยชน์สุขจากข้า ฯ เทอญ

    พระพุทธองค์ผู้ทรงสันติและพิโรธธรรม
    ขอให้ข้าและปวงสัตว์
    เป็นดังตัวท่าน ทรงคุณลักษณ์เยี่ยงท่าน
    ครอบครองรูปกายเสมือนท่าน มีตราอันศักดิ์สิทธิ์ประจำตนดังท่าน
    มากมายด้วยบริวารเยี่ยงท่าน ทรงชีวิตนิรันดร์กาล
    และประจำอยู่ในภูมิดังท่านด้วยเทอญ

    พระสมันตภัทรโพธิสัตว์เจ้า ผู้ทรงไว้ซึ่งสันติและพิโรธธรรม
    มีกรุณาอันแผ่ไพศาลหาที่สุดมิได้
    ด้วยอำนาจแห่งสัจจะของธรรมดาอันบริสุทธิ์
    สานุศิษย์แห่งตันตระผู้แน่วแน่อยู่ในอำนาจสมาธิ
    โปรดอวยพรให้บทสวดเพื่อสร้างกำลังใจนี้สำเร็จผลด้วยเทอญ

     
  5. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    ข้าได้ก็อปปี้เอาบทสวดมาลงแล้วนะจ๊ะ อันเรื่องเกี่ยวกับคัมภีร์มรณศาสตร์ก็จบลงด้วยประการนี้ ขอแนะนำว่าให้ไปอ่านหนังสือเกี่ยวกับผลงานของเอียน สตีเวนสัน เพิ่มจักได้ประโยชน์เกี่ยวกับเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดนี้เพิ่มมากขึ้นนะจ๊ะ นะจ๊ะ
    เอามาใส่ในนี้จักดีกว่านะจ๊ะ นะจ๊ะ

    บทความของ เสถียร โพธินันทะ ธรรมบาลก็อปปี้ อภิบาลก็อปปี้ต่อ

    มนตรยาน คือลัทธินิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ประมาณเวลาของกำเนิดมนตรยาน เห็นจะไม่ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๘ ลัทธินี้มาปรากฏมีอิทธิพลขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐ ล่วงแล้ว ลักษณะพิเศษของมนตรยานที่แตกต่างจากลัทธิอื่น ๆ คือ นับถือพิธีกรรมและการท่องบ่นสาธยายเวทมนตร์อาคมเป็นสำคัญ นอกจากนั้นก็มีหลักธรรมไม่สู้แปลกจากลัทธิมหายานเท่าใดนัก ชื่อเวทมนตร์แต่ละบทเรียกว่า ธารณี มีอานิสงส์ความขลังความศักดิ์สิทธิ์พรรณนาไว้วิจิตรลึกล้ำหนักหนา ธารณีมนต์เหล่านี้มีทั้งประเภทยาวหลายหน้าสมุด และประเภทสั้นเพียงคำสองคำ ซึ่งเรียกว่าหัวใจคาถาหรือหัวใจธารณี สามารถทำให้ผู้สาธยายพ้นจากทุกข์ภัยนานาชนิด และให้ได้รับความสุขสวัสดิมงคล โชคลาภตามปรารถนาด้วย

    ฉะนั้นเป็นธรรมดาอยู่เอง ที่ลัทธินี้จะได้รับการต้อนรับจากพุทธศาสนิกชนผู้ยังเป็นปุถุชนอยู่ ด้วยสามัญปุถุชนย่อมแสวงหาที่พึ่งไว้ป้องกันภัย ศาสนาพราหมณ์จึงอ้างเอาอานุภาพของพระเป็นเจ้าปกป้อง พระพุทธศาสนาลัทธิมนตรยานจึงแต่งมนต์อ้างอานุภาพพระรัตนตรัย และอ้างอานุภาพของพระโพธิสัตว์ ตลอดจนอานุภาพของเทพเจ้า ซึ่งนับถือกันว่าเป็นธรรมบาล รวมเอาเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์เอาไว้ด้วยก็มี แล้วสั่งสอนแพร่หลายในหมู่พุทธศาสนิกชนได้เจริญสาธยาย นานมามนต์เหล่านี้เพิ่มยาว เป็นการยากแก่การจำของสามัญชน จึงได้ย่อเป็นหัวใจเพื่อสะดวกในการจำและการระลึก ธรรมเนียมเช่นที่กล่าวนี้มิได้จำกัดเฉพาะลัทธิมนตรยานเท่านั้น แม้ในพระพุทธศาสนาผ่ายสาวกยาน มีนิกายเถรวาทเป็นต้นก็มี คือ พระปริตต์ซึ่งประกอบด้วยพุทธมนต์เจ็ดตำนานบ้าง ๑๒ ตำนานบ้าง บางทีจะเป็นการเอาอย่างลัทธิมนตรยานก็ได้ แต่มีข้อแตกต่างกัน คือ พระปริตต์ของเราแต่งเป็นบาลีภาษา และส่วนใหญ่เป็นพระพุทธภาษิตที่ปรากฏมีอยู่ในพระไตรปิฎก เป็นคติธรรมสอนใจ และการสาธยายอำนวยสวัสดิมงคล ก็ไม่มีพิธีรีตองอะไร และไม่พรรณนาคุณานิสงส์ล้นเหลือ ผิดกับลัทธิมนตรยาน ธารณีของเขา แต่งเป็นภาษาสํสกฤตบ้าง ภาษาปรากฤตบ้าง และมีตำนานบอกกำกับไว้ด้วยว่าจะต้องจัดมณฑลพิธีบูชาอย่างนั้น และจะต้องสวดเท่านั้นจบเท่านี้จบ รายละเอียดเกี่ยวกับลัทธิมนตรยาน ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ไนหนังสือเรื่องปรัชญามหายาน ซึ่งพิมพ์จำหน่ายแล้ว

    อิทธิพลลัทธิมนตรยาน ได้แพร่หลายข้ามสมุทรเข้ามาในเกาะลังกา ซึ่งเป็นป้อมปราการของพระพุทธศาสนาเถรวาท ครั้งแผ่นดินพระเจ้าศิลาเมฆเสน เมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ก่อนหน้าขึ้นไปก็ปรากฏว่ามีลัทธินิกายมหายานบ้าง ลัทธินิกายสาวกยานอื่นๆ ที่ไม่ใช่เถรวาทบ้าง แพร่หลายเข้ามาเหมือนกัน และสถาบันพระพุทธศาสนาชั้นสูงของลังกาในยุคนั้นแห่งหนึ่ง คือ “คณะอภัยคีรีวิหาร” ได้ต้อนรับลัทธินิกายเหล่านี้ ผิดกับสถาบันพระพุทธศาสนาชั้นสูงอีกแห่งหนึ่ง คือ “คณะมหาวิหาร” ซึ่งไม่ยอมรับรองด้วยประการใด ๆ เลย จนถึงรัชสมัยพระเจ้าศิลาเมฆเสนดังกล่าว มีคณาจารย์อินเดียในลัทธิมนตรยานรูปหนึ่งชื่อ พระนาคโพธิ หรือ พระสมันตภัทราจารย์ เข้ามาสั่งสอนลัทธิในลังกา และสำแดงอภินิหารเป็นที่เคารพเลื่อมใสของกษัตริย์ยิ่งนัก เนื่องด้วยมีคัมภีร์สูตรสำคัญของมนตรยานอยู่สูตรหนึ่งชื่อ วัชรเสขรสูตร และผู้สำเร็จในลัทธิได้รับยกย่องเป็น วัชราจารย์ ชาวลังกาจึงเรียกพวกมนตรยานว่า นิกายวัชรบรรพต ลังกาจึงกลายเป็นศูนย์กลางของลัทธิมนตรยาน ซึ่งชาวต่างประเทศ ต้องแวะเข้ามาศึกษา ดังปรากฏในจดหมายเหตุของจีนว่า เมื่อ พ.ศ. ๑๒๘๔ พระอโมฆะวัชระ (ปุคคงกิมกัง) ภิกษุในมนตรยาน เดินทางไปเผยแผ่ลัทธิในประเทศจีนปรารถนาจะศึกษาลัทธินิกายให้แตกฉานพิสดารยิ่งขึ้น พาลูกศิษย์จำนวน ๒๗ คน ลงเรือที่เมืองกวางตุ้ง ผ่านคาบสมุทรอินโดจีนมาเกาะลังกา ได้รับพระราชูปถัมภ์จากพระเจ้าศิลาเมฆเสน เข้าศึกษากับพระนาคโพธิจนสำเร็จวิทยาตามปรารถนาแล้วจึงกลับไป

    ในสมัยเดียวกับลัทธิมนตรยาน กำลังแพร่หลายอยู่ในลังกาทวีป ประเทศทางคาบสมุทรมลายู ซึ่ง ณ ยุคนั้นมีจักรวรรดิศรีวิชัยได้เป็นใหญ่อยู่ ก็ได้รับเอา ลัทธิมนตรยานโดยตรงจากมคธและเบงคอลเข้ามานับถือ แล้วส่งผลแพร่หลายเข้าไปในอาณาจักร ทางลุ่มน้ำเจ้าพระยา อาณาจักรขอมโบราณ และอาณาจักรจามปาด้วย ทางประเทศพม่าเล่า ลัทธิมนตรยาน ก็เข้าครอบครองอยู่หลายศตวรรษ แต่เนื่องด้วยต่อมาลัทธิมนตรยานแตกออกเป็นหลายสาขา มีสาขาหนึ่งย่อหย่อนในธรรมปฏิบัติเกินไป สาขานี้แพร่สู่พม่าเหนือช้านาน และที่สุดก็หมดสิ้นไปเมื่อรัชสมัยพระเจ้าอโนรธา ฉะนั้น ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท บัดนี้ล้วนปรากฏว่า ในอดีต ลัทธิมนตรยานเคยรุ่งเรืองอยู่ระยะหนึ่งทั้งนั้น แม้ภายหลังจะเสื่อมสูญไป แต่กระแสของมนตรยานก็มิได้หมดสิ้น เช่นในประเทศไทยไค้สำแดงออกในรูปของไสยเวท ด้านพุทธาคม การปลุกเสกพระเครื่องราง ลงเลขยันต์อักขรพิธีพุทธาภิเษก พิธีอัญเชิญพระเข้าตัวบุคคล ซึ่งถือกันว่าเป็นสมถกัมมัฏฐานแบบหนึ่ง ฯลฯ ไสยเวทด้านพุทธาคมเหล่านี้ล้วนมีความขลังความศักดิ์สิทธิ์มาก ซึ่งเกิดจากอำนาจความยึดมั่นในคุณพระรัตนตรัย และตบะเดชะแห่งกระแสจิตของครูบาอาจารย์ ดังปรากฏเสมอ ในบุคคลผู้มีความอยู่ยงคงกระพันเป็นต้น อุทาหรณ์แห่งกระแสมนตรยานในประเทศไทย ข้าพเจ้าจะยกมาให้เป็นนิทัศนะ นอกจากที่ได้กล่าวแล้ว ยังมีประเภทมนต์ และสูตรอีก เช่น มีพระอาการวัตตาสูตร ๑ พระอุณหิสวิชัยสูตร ๑

    พระอาการวัตตาสูตร

    เป็นสูตรโบราณนับถือกันมาว่าศักดิ์สิทธิ์มาก แต่ไม่ปรากฏมีอยู่ในพระไตรปิฎกเลย เนื้อเรื่องก็เป็นทำนองพระพุทธภาษิต ตรัสแสดงแก่พระสารีบุตร ณ ภูเขาคิชฌกูฎ แขวงเมืองราชคฤห์ พระเถรเจ้าได้เล็งญาณเห็นส่ำสัตว์ผู้หนาด้วยกิเลส ได้ประกอบอกุศลกรรมต้องไปอบาย จึงมีความปริวิตก กรุณาในส่ำสัตว์ทั้งหลายยิ่งนัก เห็นอยู่แต่พระบารมี ๓๐ ทัศ ซึ่งพระบรมศาสดาบำเพ็ญมาเท่านั้นจะช่วยป้องกันสัตว์เหล่านั้นได้ จึงกราบทูลถามพระผู้มีพระภาค พรรณนาความปริวิตกของท่านให้ทรงทราบ สมเด็จพระบรมศาสดาจึงทรง แสดงพระอาการวัตตาสูตร กำหนดด้วยวรรค ๑๗ วรรค คือ อรหาทิคุณ ๑ อภินิหารวรรค ๑ คัพภวุฏฐานวรรค ๑ อภิสัมโพธิวรรค ๑ มหาปัญญาวรรค ๑ ปารมิวรรค ๑ ทสปารมิวรรค ๑ วิชชาวรรค ๑ ปริญญาณวรรค ๑ โพธิปักขิยวรรค ๑ ทสพลญาณวรรค ๑ กายพลวรรค ๑ ถามพลวรรค ๑ จริยาวรรค ๑ ลักขณวรรค ๑ คตัฏฐานวรรค ๑ ปเวณีวรรค ๑ รวม ๑๗ วรรค มีข้อความพิสดาร แต่ล้วนเป็นคำสรรเสริญพระพุทธคุณว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงบริบูรณ์ด้วยพระคุณอย่างนี้ ๆ เช่น ในอรหาทิคุณวรรค มีข้อความดังนี้

    “อิติปิ โส ภควา อรหํ อิติปิ โส ภควา

    สมฺมาสมฺพุทฺโธ อิติปิ โส ภควา วิชฺชาจรณสมฺ-

    ปนฺโน อิติปิ โส ภควา สุคโต อิติปิ โส ภควา

    โลกวิทู อิติปิ โส ภควา อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ

    อิติปิ โส ภควา สตถา เทวมนุสฺสานํ อิติปิ โส

    ภควา พุทฺโธ อิติปิ โส ภควา ภควาติ”

    ในอภิสัมโพธิวรรค มีข้อความดังนี้

    “อิติปิ โส ภควา อภิสมฺโพธิปารมิสมฺปนฺโน

    สิลขนฺธปารมิสมฺปนฺโน สมาธิขนฺธปารมิสมฺปนฺ-

    โน ปญฺญขนฺธปารมิสมฺปนฺโน ทฺวตฺตึสมหาปุริส

    ลกฺขณปารมิสมฺปนฺโน อภิสมฺโพธิวคฺโค จตุตฺโถ”

    พระบรมศาสดา ได้ตรัสพรรณนาคุณานิสงส์ของพระสูตรนี้ว่า “ดูก่อนสารีบุตร ครั้งเมื่ออาการวัตตาสูตรนี้ ชนทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่งได้กล่าวอยู่เป็นอัตราแล้ว บาปกรรมทั้งหมด ก็จะไม่ได้ช่องที่จะหยั่งลงไปในสันดาน แม้ถึงผู้นั้นกล่าวอยู่สักครั้งหนึ่งก็ดี ได้บอกกล่าวก็ดี หรือได้เขียนเองก็ดี และได้ให้ผู้อื่นเขียนก็ดี หรือได้ทรงจำไว้ได้ก็ดี หรือได้กระทำสักการบูชานับถือก็ดี หรือได้ระลึกเนือง ๆ โดยเคารพพร้อมด้วยไตรประณามก็ดี จะปรารถนาสิ่งใด ๆ ก็จะสำเร็จแก่บุคคลผู้นั้น ตามประสงค์พร้อมทุกสิ่งสรรพ์ ฯลฯ ก็ถ้าหากว่าบุคคลผู้ใดมีศรัทธาจะระลึกตามอาการวัตตาสูตรนี้เนือง ๆ บุคคลผู้นั้นเมื่อละเสียซึ่งอัตภาพร่างกายในปัจจุบันชาตินี้แล้ว จะปฏิสนธิในภพเบื้องหน้าในภพใดภพหนึ่ง ก็จักไม่เกิดในเดรัจฉาน ในเปตวิสัย จักไม่เกิดในชีพนรก ในอุสุทะนรก ในสังฆาฏะนรก ในโรรุวะนรก ในมหาโรรุวะนรก ในดาบนรก ในมหาดาบนรก ในอเวจีนรก ฯลฯ และไม่ไปเกิดเป็นอสุรกาย กำหนดนับถึง ๙๐ แสนกัปป์เป็นประมาณ ฯลฯ จะได้ไปเกิดในสุคติภพ บริบูรณ์ด้วยสุขารมณ์ต่ำ ๆ มีอินทรีย์ผ่องใสสมบูรณ์ มีปัญญาเป็นสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ จะได้เกิดเป็นพระอินทร์กำหนดถึง ๓๖ กัปป์โดยประมาณ จะได้สมบัติจักรพรรดิราช เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้อย ๒,๐๐๐ เป็นบริวาร กำหนดนานถึง ๓๖ กัปป์ ฯลฯ ในปัจจุบันภพ ก็จะเป็นผู้ปราศจากภัยเวรต่าง ๆ ปราศจากโรคาพยาธิเบียดเบียน มีอายุมั่นขวัญยืนอยู่เย็นเป็นสุข ฯลฯ” เมื่อพระผู้มีพระภาค ตรัสประกาศคุณเดชานุภาพ และอานิสงส์ผลของพระสูตรนี้จบลง ธรรมาภิสมัยก็บังเกิดแก่หมู่ชนที่ได้สดับ ประมาณแปดหมื่นโกฏิ ด้วยประการฉะนี้

    อุณหิสวิชัยสูตร

    สูตรนี้เลือนแปรมาจาก “อุษณีวิชัยธารณี” ในภาษาสํสกฤต ของมนตรยานอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ตัวคาถากลับแต่งเป็นบาลี และไม่มีเค้าเหมือนฝ่ายสํสกฤตเลย เข้าใจว่าจะเป็นด้วย ท่านผู้แต่ง คงไม่ได้ฉบับสํสกฤตมาเป็นแบบเป็นราก แต่คงจะได้ทราบความขลังความศักคิ์สิทธิ์ของอุษณีวิชัยธารณีมาเป็นอย่างดี จึงได้คิดแต่งเป็นสูตรในภาษาบาลีขึ้น ทีจะแต่งในลังกาหรือในเมืองไทยนี้เอง อุณหิสวิชัยสูตรฝ่ายบาลีดำเนินเรื่องว่า

    ในสมัยครั้งพระผู้มีพระภาค เสด็จขึ้นไปเทศนาพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดาและเทวบริษัท ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ยังเทวนิกรทั้งหลายให้ได้บรรลุธรรมเป็นจำนวนมาก ครั้งนั้น มีเทพบุตรองค์หนึ่งชื่อสุปดิศ มีความประมาทมัวเมาในทิพยกามสมบัติ ไม่ได้สดับพระธรรมเทศนา จึงอากาศจารีเทพเจ้าผู้มีหน้าที่ฝ่ายประกาศชักชวนเทพบริษัทให้ไปสดับธรรม ได้มาพบเข้า ทั้งอากาศจารีเทพยังหยั่งทราบว่า สุปดิศเทพบุตรจะเสวยบุญอีก ๗ วันเท่านั้น ก็จักสิ้นบุญ แล้วจะไปถือกำเนิด ณ อเวจีมหานรก เพราะวิบากแห่งอกุศลกรรมเก่าก่อน ๆ ตามมาให้ผล เมื่อพ้นจากนรกแล้ว ก็จะต้องไปเสวยทุกข์ในทุคติภูมิอื่น ๆ อีก อากาศจารีเทพจึงแจ้งความเป็นไปนี้ให้สุปดิศเทพทราบ สุปดิศเทพจึงเริ่มไม่สบายใจ ประกอบทั้งนิมิตแสดงว่าจะต้องจุติเคลื่อนจากสวรรค์ก็ปรากฏก่อน จึงเลยหวั่นวิตกกลัวภัยที่จะมาในเบื้องหน้า

    ในที่สุดพระอินทร์เทวราชแห่งดาวดึงส์ จึงนำไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ขอถึงพระองค์เป็นสรณะที่พึ่ง ยังความสวัสดีให้เกิดแก่สุปดิศเทพต่อไป พระพุทธองค์จึงตรัสอุณหิสวิชัย คือมงกุฎยอดแห่งธรรม อันมีคุณานุภาพ อาจต่อชีวิตให้ยืนยาวต่อไปด้วยบาทพระคาถาว่า

    อตฺถิ อุณฺหิสวิชโยม
    ธมฺโน โลเก อนุตฺตโร
    สพฺพสตฺตหิตตฺถาย
    ตํ ตฺวา คณฺหาหิ เทวเต
    ปริวชฺเช ราชทณฺเฑ
    อมนุสฺเสหิ ปาวเก
    พฺยคฺเฆ นาเค วิเส ภูเต
    อกาลมรเณน วา
    สพุพสฺมา มรณา มุตฺโต
    เปตฺวา กาลมาริตํ
    ตสฺเสว อานุภาเวน
    โหตุ เทโว สุชี สทา
    สุทฺธิสีลํ สมาทานํ
    ธมฺมํ สุจริตํ จเร
    ตสุเสว อานุภาเวน
    โหตุ เทโว สุขี สทา
    ลิขิตํ จินฺติตํ ปูโช
    ธารณํ วาจนํ คุรุ 
    ปเรสํ เทสนํ สุตฺวา
    ตสฺส อายุ ปวฑฺฒติ

    อนึ่ง พึงตั้งอยู่ในธรรมคือประพฤติตามราชบัญญัติ รักษาศีล, ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง, สักการบูชา, เจริญภาวนาถึงคุณพระรัตนตรัย, ให้ยาเป็นทาน, ให้อาหารเป็นทานเป็นต้น เมื่อปฏิบัติได้อย่างนี้ ก็จักยืนยงด้วยชนมายุ ไม่วิบัติทำลายลงไปในท่ามกลางด้วยภัยเวรต่าง ๆ ยกเสียแต่ความตายเพราะสิ้นอายุเท่านั้น ฯลฯ บุคคลผู้ใดได้เขียนหรือ ได้อ่าน หรือได้สักการบูชาจำทรงไว้ อนึ่งได้กล่าวสั่งสอนแก่ผู้อื่นและมาเคารพปฏิบัติตาม ก็จักมีอายุวัฒนายืนยาว ฯลฯ

    สุปดิศเทพครั้นได้สดับพระพุทธบรรหารแล้ว จึงเจริญกุศลตามพระพุทธโอวาท ก็กลับเป็นผู้มีชนมายุยั่งยืนอยู่สิ้น ๒ พุทธันดร ได้เสวยสุขสมบัติสืบสกนธ์ต่อไป

    พิจารณาดู ๒ สูตร เป็นแบบแผนเหมือนกับพระสูตรของลัทธิมนตรยาน คือเริ่มด้วยการปรารภเหตุการณ์แล้วพระพุทธองค์ ทรงประทานธารณี ลงท้ายเป็นพรรณนาคุณานิสงส์ของธารณี แต่ที่มาแต่งเป็นภาษามคธ เห็นจะเกิดขึ้นเมื่อลัทธิมนตรยานเสื่อมลง ภาษาสํสกฤตจึงพลอยสูญตามไปด้วย อาจารย์ชั้นหลังซึ่งนับถือลัทธิเถรวาทแล้วจึงดัดแปลงแต่งเป็นภาษามคธขึ้น

    ถ้าจะถามว่า หากสาธยายเจริญมนต์ ๒ บทนี้จะได้บุญไหม ? ผู้เขียนขอตอบว่า ได้บุญแน่ๆ แต่ต้องทราบความหมายของคำสวดด้วย เช่นในอาการวัตตสูตรก็เป็นเรื่องสรรเสริญพระพุทธคุณว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงพระคุณอย่างนั้น ๆ ผู้เจริญส่งใจไปตามคำสวด เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธคุณขึ้น ชื่อว่าได้เจริญพุทธานุสสติ ก็ผู้ที่มีพุทธานุสสติเป็นประจำ รับรองว่าปิดอบายภูมิไค้ มีสุคติเป็นอันหวังได้แน่นอน ส่วนอุณหิสวิชัยสูตร ถ้าแปลเนื้อความคาถาดูก็เป็นการสั่งสอนให้บำเพ็ญสุจริตธรรมและความดี อาศัยที่ได้บำเพ็ญก้าวหน้าในกุศลธรรมยิ่ง ๆ จนกระทั่งได้ผลานิสงส์ต่าง ๆ พิสดารตามที่พรรณนาได้ แต่จะเอาดีทางลัด สวดกัน ๒-๓ จบ แล้วปรารถนาคุณานิสงส์มากมาย เห็นว่าเหลือเกินไป

    ยังมีสูตรซึ่งแพร่หลายมาแต่โบราณสูตรหนึ่ง คือ มหาชมพูบดีสูตร เนื้อเรื่องเล่าว่า มีกษัตริย์องค์หนึ่ง ครองกรุงปัจจาละ มีฤทธิ์อำนาจพิเศษด้วยของคู่บุญหลายอย่าง เช่น ฉลองพระบาท ซึ่งสวมใส่แล้วสามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ และศรวิเศษอาจบังคับไปทำร้ายศัตรูในที่ต่าง ๆ กษัตริย์องค์นี้มีพระนามว่า พระเจ้าชมพูบดี

    ราตรีหนึ่งเป็นวันเพ็ญอุโบสถ พระเจ้าชมพูบดีจึงสวมฉลองพระบาทเที่ยวเหาะชมดูบ้านเมืองในชมพูทวีป จนกระทั่งลุถึงเมืองราชคฤห์ ทอดพระเนตรเห็นยอดปราสาทอันวิจิตรของพระเจ้าพิมพิสารผู้ครองนคร ก็บังเกิดความริษยา ยกพระบาทถีบยอดปราสาทหมายจะให้ล้มพินาศ แต่อานุภาพแห่งบุญของพระเจ้าพิมพิสารคุ้มครอง พระบาทและพระชานุของพระเจ้าชมพูบดี กลับแตกทำลายได้ทุกขเวทนา คราวนี้ทรงพิโรธจัด ใช้พระขรรค์วิเศษฟันยอดปราสาทอีก ด้วยพุทธานุภาพซึ่งแผ่มาป้องกัน พระขรรค์นั้นกลับย่อยยับเป็นธุลีไป พระเจ้าชมพูบดีจึงเหาะกลับกรุงปัญจาละ แล้วปล่อยศรวิเศษลอยมาทำร้ายพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าพิมพิสารจึงเสด็จไปทูลขอให้พระพุทธองค์ปกป้อง จึงได้บังเกิดการต่อฤทธิ์กันขึ้น ระหว่างพระศาสดากับพระเจ้าชมพูบดี พระพุทธองค์ทรงจำแลงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช มีพระอินทร์, พระพรหม, เทพยดา, นาค, ครุฑ, คนธรรพ์ เป็นบริวาร ทรงปราบทิฏฐิมานะของพระเจ้าชมพูบดีได้สำเร็จ พระเจ้ากรุงปัญจาละกลับผิดเป็นชอบได้ เสด็จออกผนวช จนที่สุดได้บรรลุอรหัตผล

    พระสูตรนี้เป็นพระสูตรในลัทธิมหายาน หรือมนตรยานอย่างแน่นอน พระพุทธเจ้าทรงเครื่องกษัตราธิราชในลัทธิมนตรยานมักเป็นพระอาทิพุทธะ พระไวโรจนะพุทธะ และพระศากยมุนีพุทธะ ตามเรื่องราวในชมพูบดีสูตร

    ว่ากันตามนัยแห่งลัทธิมนตรยานแล้ว พระพุทธเจ้าทั้งปวงย่อมเป็นภาคหนึ่งของพระอาทิพุทธ หรือพระไวโรจนะพุทธะนั่นเอง พระมหาชมพูบดีสูตรจะแต่งขึ้นในอินเดียแล้วแพร่มาลังกา หรือว่าจากอินเดียมาสู่แหลมอินโดจีนโดยตรงก็ได้ แต่คติของสูตรนี้แพร่หลายในประเทศไทยมาช้านานมาก ดังปรากฏปฏิมากรรมพระพุทธรูปทรงเครื่องมีมาครั้งขอมมีอำนาจ สมัยลพบุรีจำนวนมาก โดยเฉพาะที่เป็นประเภทพระพิมพ์ จนกระทั่งถึงสมัยอยุธยาก็ยังนิยมสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่อง และพระพิมพ์ทรงเครื่อง

    เมื่อรัชสมัยพระเจ้าบรมโกษ มีราชทูตลังกาเข้ามาขอพระราชทานสมณวงศ์ออกไปตั้งสมณวงศ์ในประเทศของตน พวกราชทูตได้ไปนมัสการพระพุทธปฏิมาทรงเครื่อง ที่วัดแห่งหนึ่งที่อยุธยา เกิดความสงสัยว่าทำไมจึงเหมือนเทวรูปนัก ทั้งนี้เพราะชาวลังกาไม่เคยเห็นพระทรงเครื่องอย่างนี้เลย ไทยต้องชี้แจงเรื่องราวในชมพูบดีสูตรให้ฟัง และเมื่อพวกทูตจะกลับคืนบ้านเมือง ไทยยังได้เรื่องชมพูบดีสูตรส่งไปแพร่หลายให้ชาวลังกาทราบ แถมยังมีหนังสือกำกับให้เสนาบดีลังกา กราบทูลพระเจ้ากรุงลังกาให้ทรงสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องขึ้นบ้าง จักเจริญพระราชกุศลยิ่ง ๆ ขึ้น บางทีคติเรื่องชมพูบดีสูตรจักสูญจากความทรงจำของชาวลังกามานาน ทั้งที่ครั้งหนึ่งลัทธิมนตรยานรุ่งเรืองในลังกา อย่าว่าแต่จะหาลัทธิมนตรยานไม่ได้เพราะเสื่อมสูญมาช้านานเลย แม้สมณวงศ์ลัทธิฝ่ายเถรวาทในลังกาก็ยังขาดสูญ จนต้องมาขอสงฆ์ไทยออกไปตั้งวงศ์ใหม่ขึ้น

    กระแสมนตรยานในลัทธิเถรวาท จึงคงสืบสายยั่งยืนมาในรูปไสยเวทพุทธาคมจวบจนกาลปัจจุบัน และข้าพเจ้าเชื่อเหลือเกินว่า ตราบใดชาติไทยยังเคารพนับถือพระพุทธศาสนาดำรงอยู่ กระแสอันนี้ก็ยังจักดำรงอยู่คู่ชาติไม่มีวันสลาย เพราะบางส่วนได้กลายเป็นวัฒนธรรมประเพณีของชาติไปแล้ว

    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 มีนาคม 2012
  6. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    เอาล่ะเด็กๆๆ ลองเปลี่ยนมาเป็นตำราเรียนของทิเบตบ้างดีกว่า
    ตำราโพธิสัตตวจรรยาวตาร เขียนโดยท่านศานติเทวะ ผู้เป็นอ.ที่ดังมากทางมหายานรองจากนาครชุน อสังคะ และ โพธิธรรม
    ทะไลลามะที่14 นับถือคัมภีร์นี้มาก ถึงขนาดที่ว่า ทุกๆๆครั้งจะสอนแต่เนื้อความในคัมภีร์นี้
    สวดแต่คัมภีร์นี้ ก็คิดดูเอาเองนะจ๊ะ นะจ๊ะ
    [​IMG]
     
  7. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    [​IMG]


    ประวัติของศานติเทวะ

    ก่อนที่จะเล่าถึงคำสอนของผู้รจนา เราควรมาทำความเข้าใจประวัติของอาจารย์ศานติเทวะโดยย่อกันก่อน ศานติเทวะเป็นอาจารย์สอนพุทธศาสนาที่มหาวิทยาลัยสงฆ์นาลันทา ประเทศอินเดีย กล่าวกันว่าชีวิตของท่านเริ่มต้นด้วยการเป็นเจ้าชาย ประสูติในเบงกอล(Bengal) แต่ต่อมาได้สละราชสมบัติและเริ่มออกแสวงหาคุรุทางจิตจิตวิญญาณ ได้เรียนรู้ศึกษาจากคุรุหลายท่าน จนในที่สุดก็ได้มาศึกษา ปฏิบัติ เรียนรู้ศาสตร์ทั้งหลายอย่างสมบูรณ์ที่มหาวิทยาลัยนาลันทาซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ดังทีสุดในยุคนั้น

    ตำนานเล่าขานกันว่า เมื่อศานติเทวะได้บรรลุธรรมแล้วจากการศึกษาพุทธธรรม ท่านก็ยังคงดำเนินชีวิตอย่างสมถะและถ่อมตัว ดังนั้นในช่วงแรกๆๆจึงไม่มีใครสนใจและไม่มีใครเห็นว่าท่านเป็นบุคคลพิเศษที่บรรลุธรรมแล้ว คนอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยนาลันทาต่างพากันคิดว่า ศานติเทวะเป็นคนต่ำต้อย ไร้ค่า ไม่ทำตัวให้เกิดประโยชน์ อันใดมีแต่จะทำให้อาหารของสงฆ์สิ้นเปลือง และ ขี้ออกมา โดยเปล่าประโยชน์เท่านั้น

    จนกระทั่งพระสงฆ์เหล่านั้นได้มาประชุมกันและเห็นพ้องต้องกันว่า " อาหารและปัจจัยของหมู่สงฆ์ต้องถูกจัดการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่พระรูปนี้ (ศานติเทวะ) กลับทำตัวไร้ค่ามีแต่กิน ขี้ และนอนเท่านั้น แสดงว่าพระรูปนี้ต้องสะสมกรรมชั่วมานาน และกำลังจะเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีต่อผู้อื่น ดังนั้นเราต้องหาทางกำจัดเขาให้ออกไปจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ของเรา"

    ในทุก ๆ เดือนที่มีการประชุมสงฆ์ครั้งใหญ่ ที่เหล่าอาจารย์จะต้องมาอ่านพระสูตรและแสดงธรรม ด้วยความไม่รู้ที่ว่าแท้จริงแล้วอาจารย์ศานติเทวะได้บรรลุธรรมแล้ว เนื่องจากลักษณะภายนอกที่ดูต่ำต้อยที่ท่านแสดงออก สงฆ์เหล่านั้นจึงวางแผนกันว่าจะนิมนต์ให้ศานติเทวะขึ้นอ่านพระสูตรและแสดงธรรม ซึ่งเชื่อว่าศานติเทวะจะต้องทำไม่ได้ และจะต้องรู้สึกอับอายเป็นอย่างมาก สุดท้ายต้องออกไปจากมหาวิทยาลัยแห่งนี้

    จากการที่เหล่าสงฆ์ได้ร่วมกันวางแผนที่จะกลั่นแกล้งศานติเทวะให้ได้รับความอับอาย ด้วยการนิมนต์ให้ท่านขึ้นมาอ่านพระสูตรและแสดงธรรม และเพื่อจะทำให้ศานติเทวะรู้สึกอับอาย สงฆ์เหล่านั้นก็จงใจตั้งธรรมาสน์ให้ยาก แล้วนิมนต์ศานติเทวะขึ้นนั่งแสดงธรรม ซึ่งท่านก็ตอบรับคำนิมนต์นั้น

    แต่ทันทีที่ท่านเอื้อมมือไปแตะธรรมมาสน์นั่นเอง ธรรมาสน์ที่เคยสูงก็กลับค่อย ๆ เลื่อนลดต่ำลงมาให้ศานติเทวะขึ้นนั่งได้อย่างสะดวก แล้วก็หันกลับไปถามเหล่าสงฆ์ว่า
    " พวกท่านต้องการจะฟังพระสูตรที่มีอยู่แล้ว หรือ จะฟังอะไรใหม่ ๆ "

    เหล่าสงฆ์พากันประหลาดใจอย่างมาก แต่ด้วยความเชื่อที่ว่าศานติเทวะไม่มีความรู้ใด ๆ จึงพากันขอให้ท่านแสดงอรรถกถาของตัวท่านเอง

    และนี่คือจุดเริ่มต้นของคำสอนใน "โพธิสัตตวจรรยาวตาร" และเมื่อท่านแสดงจนถึงบทที่ว่าด้วยปัญญา ตัวท่านก็ลอยสูงขึ้น สูงขึ้นไปในอากาศจนกระทั่งหายลับไป เมื่อเหล่าสงฆ์ได้ฟังคำสอนเรื่อง "โพธิสัตตวจรรยาวตาร" ก็รู้สึกเสียใจที่คิดและแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อศานติเทวะ จึงพากันออกตามหาท่านแต่ก็ล้มเหลว

    จนกระทั่งก็มีผู้ไปพบศานติเทวะบำเพ็ญเพียรอยู่บนภูเขาลูกหนึ่ง ผู้คนและคณะสงฆ์ที่ออกตามหาก้พากันไปเฝ้าดู และสังเกตุเห็นว่ามีกวางตัวหนึ่งเดินหายเข้าไปในถ้ำที่ศานติเทวะพำนักอยู่ โดยไม่กลับออกมาอีกเลย ทุกคนจึงพากันคิดว่าอาจารย์ศานติเทวะต้องฆ่ากวางเพื่อเอาเนื้อมากินแน่ จึงพากันเดินขึ้นไปบนถ้ำเพื่อจะเข้าไปทำร้ายท่าน แต่เมื่อถึงปากทางเข้าถ้ำ ปรากฎว่ามีกวางจำนวนมากมายตบแต่งด้วยเครื่องประดับอันสวยงามพากันเดินออกมาจากถ้ำโดยมีศานติเทวะเดินตามมารั้งท้าย

    แท้ที่จริงแล้ว การที่กวางเหล่านั้นหายเข้าไปในถ้ำเป็นเวลานาน ๆ ก็้้เพื่อไปฟังธรรมจากท่านศานติเทวะนั่นเอง เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ ผู้คนทั้งหลายและเหล่าสงฆ์ต่างก็รู้สึกละอายใจ และพากันไปสารภาพผิดต่อท่านศานติเทวะและขอให้ท่านศานติเทวะเมตตาถ่ายทอดธรรมให้นับตั้งแต่นั้นมา

    สำหรับคำสอนในเรื่อง โพธิสัตตวจรรยาวตาร นี้ ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันโดยเฉพาะคำสอนในเรื่องการสอนโพธิจิต อันเป็นรากฐานที่สำคัญสู่เส้นทางเดินแห่งโพธิสัตตมรรค ถึงยุคสมัยก่อนนั้น ไม่เคยมีใครได้ยินเรื่องนี้มาก่อนเลย

    อย่างไรก็ตามคำสอนโพธิสัตตวจรรยาวตารก็มิใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นส่วนหนึ่งของคำสอนของพระพุทธองค์เช่นเดียวกัน เพียงแต่โพธิสัตตวจรรยาวตารนี้เป็นอรรถกถาอาจารย์ศานติเทวะตามความรู้และการปฏิบัติตามที่ท่านได้ทำมา

    ในบทนำของโพธิสัตตวจรรยาวตาร ศานติเทวะกล่าวไว้ว่า

    " อรรถกถาเหล่านี้อาจจะไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น แต่อย่างน้อยที่สุดอรรถกถาเหล่านี้เอื้อประโยชน์อย่างสูงต่อตัวอาตมา และสารธารแห่งจิตของอาตมา "
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 มีนาคม 2012
  8. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    บทที่ ๑ ประโยชน์แห่งโพธิจิต

    ในบทแรกนี้ศานติเทวะได้กล่าวถึงคุณค่าของการได้เกิดมามีชีวิตเป็นมนุษย์ และเราควรใช้ชีวิต ของการเป็นมนุษย์นี้ให้เป็นไปอย่างเหมาะสมที่สุดพร้อมกันนั้นที่ได้เริ่มเกริ่นนำถึงโพธิจิต(Bodhichitta) อรรถกถากล่าวไว้ว่า การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ที่มีลักษณะสมบูรณ์ครบถ้วนนั้น เป็นโอกาสที่หาได้ยากยิ่ง นัก ดังนั้น ในเมื่อเวลานี้เราต่างพากันโชคดีที่เกิดมาเป็นมนุษย์ เราที่ควรจะใช้ชีวิต ใช้ร่างกายที่เป็นมนุษย์ ให้เป็นไปในแนวทางที่เหมาะสมอย่างคุ้มค่าที่สุด เพราะมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะมีโอกาสได้กลับมาเกิด เป็นมนุษย์อีกครั้ง และที่สำคัญเมื่อเป็นมนุษย์แล้วโอกาสที่จะใช้ร่างกายนี้ไปกระทำความชั่วที่มีอยู่ตลอด เวลา จนกระทั่งโอกาสที่คิดจะกระทำดีที่ดูน้อยลงไปยิ่งนักหากไม่มีสติรู้เท่าทัน แต่บางครั้ง เราก็มีความคิดที่ดี ๆ ได้เช่นกัน ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากความกรุณาขององค์พระพุทธเจ้าที่ คอยอำนวยอวยพร หรืออาจจะเป็นผลแห่งกรรมดีที่เราเคยสั่งสมมา แต่ความคิดดีงามเช่นนี้ บ่อยครั้ง ที่เปรียบได้กับค่ำคืนอันมืดมิดที่ไร้แม้แสงจันทร์แสงดาว ทันใดนั้นก็เกิดฟ้าแลบให้เราได้เห็นความจริง ของสรรพสิ่งเพียงชั่ววินาทีเดียว จากนั้นก็คืนสู่ความมืดมิดอีกครั้งหนึ่ง ชีวิตในแต่ละวันของเราที่เปรียบ ได้ดุจเดียวกัน อกุศลนั้นมีพลังอันยิ่งใหญ่อยู่เสมอ จนพลังแห่งคุณธรรมในตัวเรานั้นมันอ่อนแอยากที่ จะเกิด ดุจเดียวกับแสงแห่งสายฟ้าแลบที่จะเกิดขึ้นเพียงชั่ววินาทีเดียว แต่ยามใดที่คุณธรรมในตัวเรายังเกิดขึ้นเราต้องหล่อหลอมพลังแห่งคุณธรรมเข้ากับทุกขณะจิตของควาคิดและการกระทำ นี่แหละคือจุดเปลี่ยนแห่งชีวิตของเราเอง พลังอกุศลกรรมนั้นยิ่งใหญ่จนยากที่เราจะขจัด เพราะตัวเราเองเป็นผู้สั่งสมมันมานานแสนนาน ขณะที่กุศลกรรมนั้นเรากลับสั่งสมไว้เพียงให้มีพลังปรากฎ ดุจสายฟ้าแลบในชั่วขณะเดียว ดังนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะขจัดพลังอกุศลกรรมนั้นได้ อย่างไรก็ตามด้วยความเมตตาและปัญญาแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ทรงสั่งสอนเราถึงวิธี การเอาชนะพลังอกุศล ด้วยการสร้างสรรค์โพธิจิตอันสมบูรณ์ที่จะเพียรและยึดมั่นในการตรัสรู้ เพราะนอก จากโพธิจิตอันสมบูรณ์แล้วยากที่จะมีพลังคุณธรรมอื่นใดที่จะเอาชนะพลังแห่งอกุศลที่สั่งสมมานานแสน นานได้ เปรียบได้กับการพยายามที่จะจุดไฟเผาพุ่มไม้ที่กองทับถมสูงเท่าภูเขาด้วยเพียงแค่ไม้ขีดไฟหยิบมือ เดียว พลังแห่งโพธิจิตนั้นล้ำลึกเพราะด้วยโพธิจิตนี้เองที่สามารถแปรเปลี่ยนเราผู้เป็นมนุษย์ธรรมดาสู่การเป็น ผู้ตรัสรู้ แปรเปลี่ยนกายเนื้อของมนุษย์สู่กายแห่งพุทธะที่ไม่มีพลังคุณธรรมอื่นใดจะเทียมเท่า อาจได้เปรียบ กว่าคุณธรรมอื่น ๆ ที่สั่งสมนั้นที่เป็นเพียงต้นกล้วยที่เมื่อให้ผลแล้วจักต้องตายจากไป แต่พฤกษาแห่ง โพธิจิตนั้นจักผลิดอกออกผลไม่รู้จบตลอดไป โพธิจิตมีอยู่ 2 นัย คือ โพธิจิตที่ยึดมั่นในการตรัสรู้ ( Aspirig Bodhichitta ) และโพธิจิตที่เพียรเพื่อการตรัสรู้ ( Engaging Bodhichitta ) โพธิจิตที่ยึดมั่นในการตรัสรู้เปรียบได้กับเมื่อเราต้องการที่จะเดินทางไปอเมริกา อันดับแรกเรามีความตั้งใจที่จะไป จากนั้นก็ตัดสินใจที่จะไป การตัดสินใจที่จะไปนี่เองคือโพธิจิตที่ยึดมั่น ในการตรัสรู้ ในทางปฏิบัติก็คือการตั้งปณิธาน " เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งปวง ข้า ขอตั้งมั่นสู่การรู้แจ้ง " โพธิจิตที่ยึดมั่นในการตรัสรู้ ( Aspirig Bodhichitta ) ก็เหมือนกับเราตัดสินใจแล้วที่จะไป เราชื้อตั๋วเครื่องบิน และขึ้นเครื่องเพื่อออกเดินทางและจากจุดนี้เองที่โพธิจิตที่เพียรเพื่อการตรัสรู้( Engaging Bodhichitta) เริ่ม ทำงานเมื่อการเดินทางเกิดขึ้นจริง ๆ ขณะที่เครื่องบินบินสู่จุดหมายนั้น เราก็เข้าไกล้การตรัสรู้มากขึ้น ๆ ทุก ที ตลอดเส้นทางสายการปฏิบัตินั้น เราจะค่อย ๆ สั่งสม คุณธรรมและปัญญา พร้อม ๆ กับ ขจัดพลังอกุศล จนกระทั่งได้ถึงจุดหมายปลายทางคือการบรรลุซึ่งการตรัสรู้นั่นเอง

     
  9. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    บทที่หนึ่ง

    อานิสงส์ของโพธิจิต





    โอม ขอนอบน้อมแด่สมเด็จพระผู้มีพระภาค !

    1. ข้าขอนอบน้อมแด่เหล่าพระสุคตเจ้าทั้งหลาย ผู้ทรงไว้ซึ่งพระธรรมกาย
    พร้อมทั้งเหล่าพระชินบุตรและพระผู้ควรแก่การบูชาทั้งปวง
    ข้าฯจะแสดงซึ่งวิถีแห่งเหล่าพระชินบุตรตามที่แสดงไว้ในพระธรรม

    2. ในที่นี้ไม่มีอะไรเลยที่ไม่เคยมีผู้กล่าวไว้แล้ว
    และข้าฯก็ไม่มีความชำนาญในการประพันธ์
    ดังนั้น ข้าฯจึงไม่มีความห่วงใยประโยชน์ของสัตว์โลกอื่นๆ
    และได้แต่งบทเหล่านี้มาเพื่อประโยชน์ของจิตของข้าฯเอง

    3. ด้วยเหตุนี้ พลังของศรัทธาของข้าฯจึงเพิ่มพูนขึ้นเพื่อปลูกฝังคุณธรรม
    ยิ่งไปกว่านั้นหากมีใครสักคนที่มีลักษณะอาการเหมือนข้าฯ
    แล้วมาตรวจสอบบทประพันธ์นี้
    บทนี้ก็อาจมีความหมายแก่เขาบ้าง

    4. เสรีภาพ (ในการปฏิบัติธรรม) และปัจจัยเอื้ออำนวยต่างๆ
    ต่างก็ได้มาได้อย่างยากยิ่ง
    และต่างก็มีผลต่อการยังประโยชน์ให้แก่โลกทั้งมวล
    สองสิ่งนี้ก็ได้มาแล้ว
    หากยังละเลย ไม่ฉกฉวยโอกาสอันดียิ่งนี้เอาไว้
    แล้วเมื่อใดเล่าจะเกิดโอกาสเช่นนี้อีก?

    5. เช่นเดียวกับแสงฟ้าแลบ ซึ่งยังความสว่างให้บังเกิดในคืนเดือนมืด
    แม้เพียงชั่วขณะ
    ด้วยอำนาจแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
    ในบางครั้งจิตของมนุษย์ก็น้อมนำไปสู่บุญบารมี
    แม้เพียงชั่วขณะเช่นกัน


    6. ด้วยเหตุนี้ ธรรมฝ่ายกุศลจึงอ่อนกำลังอยู่ตลอดเวลา
    หากกำลังของฝ่ายอกุศลนั้นแรงยิ่งนัก และน่าสะพรึงกลัวยิ่งนัก
    ดังนั้น หากปราศจากโพธิจิตเสียแล้ว
    จะมีกุศลกรรมใดอีกเล่าที่จะเอาชนะอกุศลกรรมเหล่านี้ได้?

    7. พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ซึ่งได้ทรงพิจารณาเรื่องนี้มาเป็นเวลาหลายกัป
    ทรงเห็นว่าสิ่งนี้เท่านั้นที่ทำให้ปิติพอกพูนขึ้น
    และยังสัตว์โลกอันมีจำนวนสุดจะประมาณให้รอดพ้นจากสังสารวัฏ

    8. ผู้ที่ปรารถนาจะเอาชนะทุกข์ทั้งหลายที่อยู่กับสังสารวัฏ
    ผู้ที่ปรารถนาจะขจัดปัดเป่าความทุกข์ของเหล่าสัตว์
    และผู้ที่ปรารถนาจะรับรสแห่งปิติอันไพศาล
    ไม่ควรเลยที่จะละเลิกโพธิจิต

    9. ทันใดที่โพธิจิตบังเกิดขึ้น
    ณ บัดนั้นผู้ทุกข์ยากที่ถูกจองจำอยู่ในคุกของสังสารวัฏ
    ก็เรียกว่าเป็นบุตรธิดาของพระสุคตเจ้า
    ผู้นั้นจะเป็นผู้ที่ควรแก่การบูชาทั้งในเทวโลกและมนุษยโลก

    10. เมื่อโพธิจิตปรากฏในสัตว์ที่ยังไม่บริสุทธิ์
    สัตว์นั้นก็จะเปลี่ยนไปเป็นภาพอันหาค่ามิได้ของแก้วมณีของพระชินเจ้า
    ด้วยเหตุนี้
    จงยึดถือในน้ำอมฤตอันได้แก่โพธิจิตนี้
    ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง

    11. ผู้นำแต่เพียงผู้เดียวของโลก ผู้ซึ่งจิตของท่านลึกสุดจะประมาณได้
    ก็ได้ตรวจสอบคุณค่าของโพธิจิตมาแล้ว
    ท่านซึ่งน้อมนำไปในทางที่จะหนีออกจากสภาพความเป็นอยู่พื้นๆในสังสาระ
    ก็ควรจะยึดเอาแก้วมณีอันได้แก่โพธิจิตนี้ไว้

    12. เช่นเดียวกับต้นกล้วย ที่เหี่ยวตายลงไปเมื่อมีผลออกมา
    คุณธรรมอื่นๆทั้งหมดก็เสื่อมถอยลงไปได้
    แต่ต้นไม้แห่งพระโพธิจิตออกผลอยู่ตลอดเวลา
    ไม่มีวันเหี่ยวเฉาเสื่อมสลาย หากมีแต่จะเจริญงอกงามขึ้น


    13. การปกป้องนี้เป็นการปกป้องผู้ที่มีพลัง
    แม้แต่ภายหลังจากที่เขาได้กระทำบาปอันใหญ่หลวง
    ด้วยเหตุแห่งการปกป้องของโพธิจิตนี้
    แม้ผู้ที่ทำบาปเช่นนี้ก็ยังปราศจากความกลัว
    เมื่อเป็นเช่นนี้
    เหตุใดสัตว์โลกทั่วไปจึงไม่แสวงหา โพธิจิตเป็นที่พึ่งแห่งตน

    14. ไฟประลัยกัลป์ที่เกิดขึ้นเมื่อเอกภพถึงกาลสิ้นสุด
    เผาผลาญทุกสิ่งทุกอย่างไปหมดฉันใด
    ไฟอันได้แก่โพธิจิตนั้น
    ก็เผาผลาญอกุศลกรรมทั้งหมดให้มอดไหม้ไปในบัดดลฉันนั้น

    พระไมเตรยะพุทธเจ้า
    ได้ตรัสเรื่องอานิสงส์อันประมาณไม่ได้ของโพธิจิตนี้ไว้แก่พระสุธนะ

    15. กล่าวย่อๆ โพธิจิตมีสองประเภท ได้แก่
    จิตที่ตั้งความมุ่งมั่นจะตรัสรู้
    กับ
    จิตที่กำลังเดินทางสู่การตรัสรู้

    16. เช่นเดียวกับผู้ที่มองห็นความแตกต่างระหว่าง
    คนที่ตั้งความปรารถนาจะเดินทาง
    กับ
    ผู้ที่กำลังเดินทางอยู่
    บัณฑิตย่อมเห็นความแตกต่างระหว่างโพธิจิตสองแบบนี้

    17. แม้ว่าอานิสงส์ของการตั้งความปรารถนาจะตรัสรู้
    จะยิ่งใหญ่มหาศาลในสังสารวัฏ
    อานิสงส์นี้ยังเทียบไม่ได้กับบุญบารมีอันหลั่งไหลไม่ขาดสาย
    อันเกิดจากการลงมือเดินทางไปสู่การตรัสรู้


    18. นับตั้งแต่เวลาที่คนผู้หนึ่งตั้งโพธิจิตมั่นคงแน่วแน่มั่นคง
    เพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์อันมีจำนวนสุดที่จะประมาณ
    และจะไม่มีวันเลิกล้มโพธิจิต
    นั้นไม่ว่ากรณีใดๆ


    19. นับตั้งแต่เวลานั้น
    บุญอันยิ่งใหญ่มหาศาลดุจดังท้องฟ้า
    ก็จะหลั่งไหลมาอย่างไม่ขาดสาย
    แม้ในขณะที่เขาหลับหรือมีจิตไม่เป็นสมาธิ

    20. พระตถาคตเองก็ตรัสเรื่องนี้ไว้อย่างมีเหตุผลใน สุพาหุปฤจฉา
    เพื่อประโยชน์แก่เหล่าสัตว์ที่โน้มเอียงไปในทางของหีนยาน

    21. บุคคลผู้มีจิตใจดี ผู้คิดว่า

    "ฉันจะกำจัดโรคปวดหัวให้หมดไปจากสัตว์โลก"

    จะได้บุญมหาศาล

    22. แล้วบุคคลที่ปรารถนาจะกำจัดความเจ็บปวด
    อันไม่มีอะไรมาเปรียบได้ของสัตว์โลกทุกๆตน
    และมอบคุณสมบัติที่ดีมากจนหาประมาณมิได้เล่า
    จะได้บุญมากเพียงใด?

    23. ใครมีแม้แต่มารดาหรือบิดาที่มีจิตเห็นแก่ผู้อื่นเช่นนี้?
    ทวยเทพ
    ฤาษี

    หรือ
    พระพรหม
    จะมีสิ่งนี้หรือไม่?



    24. ถ้าหากบุคคลเหล่านี้ไม่เคยแม้แต่จะปรารถนาโพธิจิต
    แม้แต่เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ตนเอง
    เขาจะมีโพธิจิตเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นได้อย่างไร?

    25. แก้วมณีอันล้ำค่า และไม่เคยมีมาก่อนเช่นนี้
    ความปรารถนาแก้วนี้เพื่อประโยชน์ของสัตว์อื่นๆ
    มิได้เคยบังเกิดในผู้อื่น
    แม้แต่เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ตนเอง
    เกิดขึ้นมาได้อย่างไร?

    26. เราจะวัดปริมาณบุญของแก้วมณีแห่งจิตนี้ได้อย่างไร
    อันเป็นเมล็ดพันธุ์ของความปิติสุขในโลก
    และเป็นยารักษาโรคทุกข์ของโลก?

    27. ถ้าหากการเคารพบูชาพระพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น
    ยังมีที่เหนือไปกว่าได้แก่
    ความปรารถนาจะยังประโยชน์แก่ผู้อื่น
    แล้วความพยายามที่จะยังสัตว์โลกทั้งมวล
    ให้ประสบกับความสุขอันสมบูรณ์สูงสุดเล่า
    จะเหนือกว่าทั้งหมดเพียงใด?

    28. เหล่าผู้ที่ปรารถนาจะหลุดพ้นจากทุกข์
    ต่างก็เร่งรุดวิ่งไปหาทุกข์
    ด้วยความปรารถนาจะได้มาซึ่งความสุข
    พวกเขาทำลายความสุขของเขาลง
    ราวกับเป็นข้าศึก
    ด้วยจิตอันเปื้อนด้วยกิเลสของเขาเอง


    29. เขาผู้นั้นยังความปิติทั้งหมด
    และยังความพอใจให้แก่ผู้ที่หิวกระหายความสุข
    เขาก็ยังกำจัดความโศกทั้งหลาย
    ที่เกิดแก่ผู้ที่ถูกกิเลสรบกวน
    ด้วยหนทางต่างๆ

    30. เขากำจัดความเห็นผิดกับกิเลสทั้งมวล
    ผู้ใจบุญเช่นนี้หาได้ที่ไหนอีก?

    กัลยาณมิตรเช่นนี้จะมีได้อีกหรือ?
    บุญอันมหาศาลยิ่งเช่นนี้จะมีที่ไหนอีกเล่า?

    31. แม้แต่ผู้ที่ตอบแทนกรรมอันเป็นกุศล
    ก็ยังได้คำชื่นชมพอสมควร
    แล้วเราจะกล่าวอย่างไรกับ
    พระโพธิสัตว์
    ที่กรรมอันเป็นกุศลของท่านเกิดมาเองโดยมิได้ร้องขอ?

    32. โลกยังยกย่องผู้ที่มอบของให้แก่คนจำนวนหนึ่งว่า
    ผู้นั้นเป็นผู้ที่มีคุณธรรม
    แม้ว่าจะเป็นการให้อาหารธรรมดาๆ และความช่วยเหลือเพียงครึ่งวัน
    ซึ่งเป็นการให้ชั่วครั้งคราว
    และให้ด้วยจิตอันดูหมิ่นดูแคลน

    33.แล้วผู้ที่ให้อยู่ตลอดเวลาแก่สรรพสัตว์อันนับประมาณมิได้
    ซึ่งการตอบสนองความต้องการทั้งสิ้นทั้งมวล
    และเป็นความต้องการของสัตว์ทั้งหลายจำนวนนับไม่ถ้วน
    อันไม่มีที่สิ้นสุดและกว้างใหญ่ไพศาลดุจท้องฟ้านภากาศเล่า?


    34. สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้
    "ใครที่มีจิตเป็นอกุศลในหัวใจแก่ผู้ที่ยังประโยชน์ให้แก่สัตว์อื่น
    ผู้เป็นบุตรธิดาแห่งพระชินเจ้า
    เขาผู้นั้นจะต้องทนทรมานในนรกเป็นเวลาหลายต่อหลายกัป
    จนกว่าจิตอันเป็นอกุศลนั้นจะหมดไป"


    35. แต่หากจิตของผู้นั้นมีความโน้มเอียงไปในทางกุศล
    ผู้นั้นก็จะมีผลบุญมากมายเพิ่มพูนยิ่งขึ้นไปอีก
    แม้ว่าจะมีอกุศลกรรมอันหนักยิ่งเกิดแก่บุตรธิดาของพระชินเจ้า
    บุญบารมีของเขานั้นก็จะยังเกิดขึ้นอยู่เอง

    36. ข้าฯขอกราบนมัสการกายของเหล่าูผู้ที่แก้วมณีอันหาค่ามิได้นี้ได้บังเกิดขึ้น
    ข้าฯขอยึดเป็นที่พึ่งที่ระลึก ซึ่งเหล่าผู้ที่เป็นแหล่งที่มาแห่งปิติสุข
    ผู้ซึ่งแม้แต่การทำร้ายก็ยังเกิดผลเป็นความสุข

    <!-- google_ad_section_end -->​
    <!-- google_ad_section_end -->​
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  10. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    ยังมีต่อนะจ๊ะ นะจ๊ะ แต่วันนี้ลุงต้องไปแล้วล่ะหลานเอ๋ย
     
  11. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    อนุโมทนาครับ

    เอาเรื่องปรัชญาปารมิตาสูตร และ สูญญาตามาลงลงบ้างสิครับ
     
  12. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    ลงไปแล้วจ๊ะ....................
    อย่างปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตรเพราะสั้นและสรุปเอาหัวใจของปรัชญาปารมิตาในมหายานเอาไว้ทั้งหมดรวมทั้งหัวใจของสุญญตาด้วย ความจริงสุญญตาก็อยู่ตั้งแต่หน้าแรกๆๆแล้วและมีแทรกอยู่ตลอดกระทู้แล้วจ๊ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 มีนาคม 2012
  13. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    ขอบคุณครับ จะค่อยๆอ่านครับ
     
  14. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    มึนครับ

    อาจเพราะข้าน้อยด้อยปัญญา
     
  15. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    บทที่สอง

    สารภาพบาป
    อรรถคาถาสรุป บทที่2
    บทที่ ๒ การเปิดเผยความชั่ว(การสารภาพบาป)


    ในบทนี้เป็นการกล่าวถึงวิธีการเพื่อทำให้เกิดโพธิจิตอันเป็นจิตที่มีคุณค่าอันได้แก่การน้อมถวายเครื่อง สักการะที่เกิดจากอาณุภาพของจิต การกราบนมัสการการประกาศขอยึดถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ และการสารภาพบาปเปิดเผยความชั่วของตนเอง การถวายเครื่องสักการะนั้น เริ่มต้นด้วยการขอน้อมถวาย กาย วาจา และ ใจ ของตัวเราเองแก่พระ รัตนตรัย ทั้งที่เป็นเครื่องสักการะที่เรามีอยู่จริง และที่เกิดจากอานุภาพจิตของเรา เพื่อเป็นการลดละ ความยึดมั่นถือมั่น หรือ ความตระหนี่ในใจตน จากนั้นเรากราบนมัสการ และ ประกาศขอยึดถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะเพื่อเป็นหนทางสุ่การซึมซับ คุณค่าแห่งองค์พระพุทธะ เพราะเป้าหมายสุดท้ายที่เราต่างต้องการมุ่งไปให้ถึงคือการตรัสรู้ ดังนั้น เราจึงควรเริ่มต้นด้วยการขอยึดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสรณะ เพื่อเป็นแบบอย่างอัน งดงาม ให้เราได้ตระหนักถึงและมุ่งตรงต่อการได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ จากนั้นเราขอประกาศยึดถือพระธรรมเป็นสรณะ เพราะพระธรรมนั้นเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ที่เปิดเผยเส้นทางให้เราเดินก้าวไป เพื่อได้บรรลุถึงซึ่งเป้าหมายสุดท้ายอันยิ่งใหญ่ของเรา และพระสงฆ์สาวกแห่งพระพุทธเจ้า ก็เปรียบเสมือนผู้นำทางที่จะคอยช่วยให้คำแนะนำสั่งสอน เราให้ สามารถออกเดินทางไปสู่จุดหมายได้อย่างถูกต้องไม่หลงทางนั้น เราจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำช่วย เหลือที่ดีจากผู้นำทางจิตวิญญาณ ผู้ซึ่งเป็นเสมือนเพื่อนแท้ทางจิตวิญญาณของเราเอง ดังนั้นจึงเป็น การสมควรที่เราจะนบน้อมขอยึดเหล่าพระสงฆ์สาวกแห่งองค์พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งของเรา ส่วนสุดท้ายของบทนี้คือการสารภาพบาป เปิดเผยความชั่วของตัวเราเอง หากเราสำรวจตัวเรา และ การกระทำของเราอย่างจริงจังและจริงใจ ไม่ว่าจะเป็นอดีตหรือในปัจจุบัน เราจะพบว่าตัวเราเองนั้นได้ ก่ออกุศลกรรม ทางกาย วาจา และ ใจ มาแล้วมากมายไม่ว่าจะด้วยมีเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตามแต่ได้ กลายเป็นบาป เป็นมลทินติดตัวเราโดยสิ้นเชิง หากเราไม่ตระหนักรู้และยอมรับในความผิดที่ได้ก่อ อกุศลกรรม เราย่อมไม่มีวันที่จะชำระอกุศลกรรมทั้งหลายให้บริสุทธิ์ และย่อมไม่อาจเป็นอิสระจาก อกุศลกรรมเหล่านั้นอย่างแท้จริง ดังนั้นเราควรยอมรับและสารภาพ อกุศลกรรมทั้งหลายที่เราได้กระทำไปแล้ว ที่เหนี่ยวรั้งเราไว้ให้เรา ยังคงวนเวียนอยู่ในกองทุกข์ แห่งห้วงวัฏสงสาร และตั้งสัจจะที่จะไม่หวนกลับไปทำผิดเช่นนั้นซ้ำอีกต่อ พระรัตนตรัย และขอน้อมรำลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โปรดยอมรับการสารภาพบาป เปิดเผย ความชั่วและความผิดทั้งปวงของเรา เพื่อที่เราจะได้เริ่มต้นกระทำกรรมดีต่อไป





    1. เพื่อรับเอาไว้ซึ่งแก้วมณีแห่งจิตดวงนี้
    ข้าฯจะขอถวายเครื่องบูชาแก่เหล่าพระตถาคต
    แก่มณีอันไม่มีมลทินอันได้แก่ พระธรรม
    และแก่เหล่าพระชินบุตร
    ผู้ซึ่งเป็นดุจมหาสมุทรแห่งคุณสมบัติอันล้ำเลิศ


    2. ดอกไม้ ผลไม้ สมุนไพรมีประมาณเท่าใด
    รวมทั้งเพชรนิลจินดาเท่าที่มีอยู่ในโลก
    กับน้ำบริสุทธิ์ใสสะอาดอันชื่่นใจ

    3. ขุนเขาแห่งแก้วมณี พื้นที่ป่า
    และสถานที่อันน่ารื่นรมย์ และสันโดษทั้งปวง
    เถาวัลย์ที่ส่องแสงไปด้วยเครื่องประดับอันได้แก่ บุปผชาติ
    ต้นไม้อันมีกิ่งโน้มลง
    ด้วยน้ำหนักของผลอันหอมหวาน

    4. กลิ่นหอมกับเครื่องหอม
    ต้นกัลปพฤกษ์ ต้นไม้มณีจินดา
    หนองน้ำอันเต็มไปด้วยบัว
    มีห่านป่าส่งเสียงเย้ายวนใจ
    ในโลกของทวยเทพ และผู้สถิต ณ สรวงสวรรค์ทั้งหลาย

    5. พืชที่ไม่ได้ปลูก พืชที่ปลูกแล้ว
    สิ่งอืนๆที่ประัดับประดาพระผู้ควรแก่การบูชา
    สิ่งทั้งหลายเหล่านี้อันไม่มีเจ้าของ
    และแผ่ไพศาลทั่วไปยังท้องฟ้านภากาศ

    6. ข้าฯระลึกถึงสิ่งเหล่านี้
    และถวายแด่พระผู้ทรงเป็นเลิศในหมู่ผู้ทรงปัญญา
    พร้อมทั้งบุตรทั้งหลายของพระองค์
    ขอให้ท่านผู้ควรค่าแก่เครื่องบูชาอันล้ำค่านี้
    ผู้ทรงเปี่ยมไปด้วยคุณอันประเสริฐ
    ขอให้ท่านโปรดประทานกรุณาแก่ข้าฯ และรับเครื่องบูชาเหล่านี้

    7. ข้าฯผู้ซึ่งปราศจากบุญบารมีและยากจนข้นแค้น
    ข้าฯไม่มีสิ่งใดอีกจะถวายแด่พระองค์
    ด้วยเหตุนี้
    ขอให้พระผู้ทรงเป็นโลกนาถ
    ผู้ทรงเป็นห่วงใยสวัสดิภาพของผู้อื่น
    ได้โปรดรับสิ่งทั้งหลายตามที่เป็นเช่นนี้
    เพื่อประโยชน์ของข้าฯ ด้วยเทอญ

    8. ข้าฯมอบตัวตนของข้าฯทั้งหมดร่างนี้
    ให้แก่พระผู้มีชัย
    และบุตรทั้งหลายของพระองค์
    ท่านผู้ประเสริฐ โปรดรับตัวข้าฯด้วย
    ข้าฯ อุทิศร่างกาย และชีวิตของข้าฯ นี้เพื่อรับใช้พระองค์

    9. ข้าฯรอดพ้นจากความกลัวที่จะต้องตกอยู่ในสังสารวัฏ
    เนื่องด้วยการปกป้องของพระองค์
    ข้าฯ จึงขอรับใช้สัตว์โลก
    ข้าฯ จะก้าวข้ามความผิดพลาดก่อนๆของข้าฯ
    และต่อแต่นี้ไปข้าฯจะไม่ทำบาปกรรมใดอีก

    10. ในห้องอาบน้ำอันหอมระรื่น
    มีเสาที่เรืองรองไปด้วยเพชรนิลจินดา
    พรมเลื่อมพรายไปด้วยมุกจำนวนมาก
    พื้นทำด้วยแก้วผลึกใดและส่องแสงแวววาว

    11. ในห้องนี้ข้าฯ สรงน้ำให้แก่พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย
    พร้อมด้วยบุตรของพระองค์
    ด้วยคณโฑอันประดับด้วยเพชรพลอย
    เต็มไปด้วยน้ำและดอกไม้อันหอมหวนชื่นใจ
    รื่นรมย์ไปด้วยเสียงขับร้องและดนตรี

    12. ข้าฯเช็ดร่างของท่านทั้งหลายด้วยผ้าอันปราณีต
    มีกลิ่นหอม และบริสุทธิ์สะอาด
    จากนั้นข้าฯก็ถวายอาภรณ์หลากสี และอบร่ำไปด้วยกลิ่นจรุงใจ

    13. ข้าฯประดับร่างของ
    พระสมันตภัทระ
    อชิตะ
    มัญชุโฆษะ
    โลเกศวร
    และพระโพธิสัตว์อื่นๆ
    ด้วยอาภรณือันละเอียดอ่อนบอบบาง อ่อนนุ่ม และเป็นทิพย์
    พร้อมด้วยเพชรพลอยอันล้ำค่าที่สุด

    14. ด้วยน้ำอบที่ส่งกลิ่นหอมหวนไปยังหนึ่งพันล้านโลก
    ข้าฯทาน้ำมันไปที่ร่างของพระผู้เป็นเลิศในหมู่ผู้ทรงปัญญา
    ร่างอันผ่องเรืองรองไปด้วยทองเนื้อละเอียดที่ขัดถูอย่างดี

    15. ขอฯบูชาพระผู้ทรงเป็นเจ้าแห่งผู้ทรงปัญญา
    ด้วยดอกไม้อันส่งกลิ่นหอมระรื่นน่าพึงพอใจ
    อาทิ ดอกมันทารพ ดอกบัวสีน้ำเงิน
    พร้อมด้วยมาลัยอันร้อยเรียงอย่างวิจิตร

    16. ข้าฯ อบร่ำดอกไม้เหล่านั้นด้วยควันธูปอันส่งกลิ่นรัญจวนใจ
    ที่แผ่ซ่านไปทั่ว
    ข้าฯจัดงานเลี้ยงฉลองอันประกอบไปด้วย อาหาร และเครื่องดื่มรสเลิศ
    แก่ท่านเหล่านี้

    17. ข้าฯถวายตะเกียงน้ำมัน
    ซึ่งวางเป็นแถวอยู่บนดอกบัวสีทอง
    และข้าฯก็โปรยปรายกลีบดอกไม้อันตระหลบไปด้วยกลิ่นน้ำหอม

    18. สำหรับผู้ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความรัก
    ข้าฯขอมอบพระราชวังจำนวนมหาศาลอันเต็มไปด้วยความสนุกสนาน
    และเสียงดนตรีขับร้องบูชา
    ส่องสว่างไปด้วยมาลัยมุก
    และเพชรพลอยที่ประดับอยู่ที่ประตูทางเข้าทั้งสี่

    19. ข้าฯ ตั้งนิมิตถึงฉัตรของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    อันงามวิจิตร ประดับแก้วแก้วมณี
    ยกขึ้นสูงอยู่บนด้ามทอง รูปทรงงดงาม แพรวพรายไปด้วยมุก

    20. หลังจากนั้น
    ขอให้เมฆอันน่าชื่นใจลอยขึ้นสูง
    ขอให้เมฆแห่งเสียงดนตรียังเหล่าสัตว์ให้เบิกบาน

    21. ขอให้บุปผชาติ กับเพชรพลอยตกลงมาเป็นฝน
    ลงมาต้องพระรูป
    ที่เก็บพระ
    และมณีจินดาทั้งหลายของพระธรรมอันประเสริฐ

    22. เช่นที่พระมัญชุโฆษะ กับองค์อื่นๆที่บูชาพระชินเจ้า
    ข้าฯก็บูชาเหล่าพระตถาคต
    ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของโลก รวมทั้งบุตรธิดาของพระองค์

    23. ข้าฯสรรเสริญมหาสมุทรของคุณธรรมทั้งหลาย
    ด้วยบทเพลงอันเป็นทะเลแห่งท่วงทำนอง
    ขอให้เมฆแห่งเสียงประสานกลมกลืนนี้
    ลอยขึ้นสู่พระชินเจ้า
    กับบุตรธิดาของพระองค์ในแบบเดียวกัน


    24. ข้าฯกราบกรานพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    ทั้งในอดีต
    ปัจจุบัน
    และอนาคต
    ข้าฯขอกราบกรานพระธรรมเจ้า กับทั้งพระสงฆ์
    นับเป็นจำนวนครั้ง
    มากเท่ากับ
    ปรมาณูเท่าที่มีอยู่ในพุทธเกษตรทั้งหลาย

    25. เช่นเดียวกัน
    ข้าฯ นอบน้อมแก่สถานที่บูชา
    รวมถึงที่พักพิงของเหล่าพระโพธิสัตว์
    ข้าฯกราบบูชาอาจารย์
    กับทั้งเหล่าสิทธาทั้งหลาย

    26. ข้าฯขอยึดพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
    ด้วยท่านทรงเป็นแก่นแท้ของการตรัสรู้
    ข้าฯขอยึดพระธรรมเจ้า
    และพระสงฆ์
    อันได้แก่หมู่คณะของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย

    27. ข้าฯ ประนมมือ
    ขอวิงวอนให้พระตถาคตเจ้าทั้งปวงที่สถิตอยู่ในทุกทิศ
    กับทั้งเหล่าพระโพธิสัตว์ผู้เปี่ยมไปด้วยความกรุณา

    28. ไม่ว่าข้าฯ ซึ่งเป็นสัตว์โง่เขลา
    ได้ทำบาปอะไรไว้
    หรือได้ยังให้ผู้อื่นทำบาป
    ไม่ว่าจะทำในชาตินี้หรือในชาติอื่นๆ
    ภายในสังสารวัฏอันไม่มีกำเนิดนี้

    29. กับทั้งสิ่งใดที่ข้าฯ ได้พึงพอใจด้วยความหลง
    ซึ่งเป็นการทำร้ายข้าฯ เอง
    ข้าฯขอสารภาพความผิดทั้งปวงที่ข้าฯ ได้เคยกระทำมา
    ข้าฯ ถูกปกคลุมไปด้วยความรู้สึกสำนึกผิด

    30. ไม่ว่าจะเป็นความผิดบาปใดๆก็ตาม
    ด้วย กาย
    วาจา
    ใจ
    ซึ่งได้ทำจากความไม่เคารพในพระรัตนตรัย
    ได้ทำร้ายแม่ทั้งหลาย
    พ่อทั้งหลาย
    กับพระอาจารย์
    และสัตว์โลกอื่นๆทั้งสิ้น

    31. ไม่ว่าบาปกรรมใดๆ
    ที่ข้าฯคนบาปได้กระทำลงไปด้วยอำนาจกิเลส
    ข้าฯขอสารภาพบาปกรรมเหล่านั้น
    ต่อเบื้องพระพักตร์พระผู้นำทางทั้งหลาย

    32. ข้าฯจะหลีกหนีไปได้อย่างไร?
    ขอให้ท่านทรงช่วยข้าฯ อย่างรวดเร็วด้วยเถิด
    ขอให้ความตายอย่าได้มาถึงโดยเร็ว
    ก่อนที่บาปอกุศลกรรมทั้งหลายนี้จะมลายไป

    33. ความตายไม่แยกแยะระหว่าง งานที่ทำเสร็จแล้ว
    กับที่ยังไม่เสร็จ
    คนเจ้าเล่ห์คนนี้ไม่สมควรได้รับความไว้วางใจ
    จากผู้ที่มีสุขภาพดี หรือผู้เจ็บไข้
    เพราะเป็นเหมือนสายฟ้าอันร้อนแรงที่ไม่มีใครคาดเดาได้

    34. ข้าฯ ได้ประกอบอกุศลกรรมต่างๆ
    ให้แก่ทั้ง มิตร และศัตรู
    ข้าฯยังไม่ได้สำนึกถึงข้อนี้;
    " ข้าฯจะจากไป ทิ้งทุกสิ่งไว้เบื้องหลัง "

    35. ศัตรูของข้าฯ จะไม่เหลืออยู่
    มิตรของข้าฯ ก็ไม่เหลืออยู่
    ข้าฯ เองก็ไม่เหลืออยู่
    ไม่มีอะไรเหลืออยู่
    36. ไม่ว่าอะไรที่เคยประสบมา
    ก็จะจางไปในความทรงจำ
    ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านไป
    จะไม่ได้เห็นอีก
    เหมือนกับภาพในความฝัน

    37. แม้ว่าในชาตินี้
    ข้าฯ จะได้เห็นเพื่อนฝูง ศัตรูตายลงไป
    แต่บาปหนักที่เกิดจากพวกเขา
    ก็ยังรออยู่ข้างหน้าของข้าฯ

    38. ด้วยเหตุนี้
    ข้าฯจึงมิได้คำนึงว่า
    ข้าฯนี้เองก็อยู่เพียงชั่วครู่
    ข้าฯได้ก่อบาปกรรมไว้มากมาย
    จากความหลง
    ความยึดติด
    และ
    ความโกรธ

    39. ชีวิตล่วงไปไม่หยุดยั้ง
    ทั้งกลางวัน
    และกลางคืน
    ไม่มีทางที่จะเพิ่มขึ้นได้
    ข้าฯ จะไม่ตายในตอนนั้นหรือ?

    40. แม้ในขณะที่กำลังนอนอยู่บนเตียง
    แวดล้อมด้วยหมู่ญาติ
    ข้าฯ เองเพียงคนเดียว
    ที่ต้องแบกรับความรู้สึกที่ต้องถูกตัดขาดจากพลังชีวิต

    41. สำหรับผู้ที่ถูกฑูตของพระยมราชมาจับกุมตัว
    หมู่ญาติกับเพื่อนฝูง จะมีประโยชน์อันใดเล่า?
    ในขณะนั้น
    มีแต่เพียงบุญเท่านั้นที่ปกป้องเราได้
    และข้าฯก็มิได้ทำบุญเอาไว้

    42. ข้าแต่พระผู้เป็นที่พึ่งทั้งหลาย!
    ข้าฯผู้ประมาท
    และไม่รู้ถึงโทษของภยันตรายนี้
    ข้าฯได้ประกอบกรรมชั่วมากมาย
    จากการยึดมั่นถือมั่น
    ในชีวิตอันเป็นของชั่วคราวนี้

    43. คนผู้หนึ่งนอนระทมอยู่
    ในขณะที่ถูกพาตัวไปตัดแขนตัดขา
    เขาผู้นั้นปากแห้งด้วยความกระหาย
    มีสายตาที่น่าเวทนา
    เขามองเห็นโลกต่างออกไป

    44. แล้วคนที่ถูกครอบงำด้วยภาพอันน่าสะพรึงกลัวของยมฑูต
    ถูกกัดกินด้วยพิษไข้ของความหวาดกลัว
    และมีร่างกายเปื้อนอุจจาระ
    จะน่าสงสารมากกว่าเพียงใด?

    45. ด้วยสายตาอันโศกสลด
    ข้าฯมองหาพระผู้เป็นที่พึ่งในทิศทั้งสี่
    คนดีที่ไหนหนอ
    ที่จะมาเป็นผู้ปกป้องข้าฯ
    จากความกลัวอันโหดร้ายนี้

    46. ข้าฯมองไม่เห็นผู้ปกป้องนั้นเลยในทั่วทั้งสี่ทิศ
    ข้าฯจะทำอย่างไร
    ในยามหวาดกลัวอย่างหนักเช่นนี้

    47. ขณะนี้ข้าฯมุ่งมั่นหาพระโลกนาถผู้เป็นที่พึ่งของโลก
    ซึ่งพลานุุภาพของพระองค์มหาศาลยิ่ง
    ข้าฯมุ่งมั่นหาพระผู้มีชัย
    ผู้ซึ่งทรงพยายามปกป้องโลก
    และกำจัดเสียซึ่งความกลัวทั้งปวง

    48. ในทำนองเดียวกัน
    ข้าฯมุ่งมั่นหาพระธรรมที่ท่านเหล่านี้สั่งสอน
    พระธรรม
    อันกำจัดได้ซึ่งควาดกลัวในสังสารวัฏ
    และข้าฯก็มุ่งมั่นหาพระสงฆ์
    ผู้เป็นโพธิสัตว์อีกด้วย

    49. ด้วยร่างอันสั่นเทาด้วยความกลัว
    ข้าฯ ขอถวายร่างนี้ให้แก่
    พระสมันตภัทร
    และด้วยเจตนาของข้าฯ เอง
    ข้าฯ ขอมอบถวายร่างกายนี้ให้แก่
    พระมัญชุโฆษะ

    50. ด้วยความหวาดกลัว
    ข้าฯ เรียกหา
    ด้วยเสียงอันเต็มไปด้วยความเศร้าโศก
    ซึ่งพระอวโลกิตาผู้เป็นที่พึ่ง
    ผู้ซึ่งการกระทำของพระองค์เปี่ยมไปด้วยความกรุณา
    ข้าฯ วิงวอนให้พระองค์ปกป้องข้าฯ ผู้ทำบาป

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 มีนาคม 2012
  16. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    51. ด้วยความมุ่งมั่นแสวงหาที่พึ่ง
    ข้าฯเรียกหา
    พระอากาศครรภ์
    พระกษิติครรภ์
    และพระผู้ทรงความกรุณาทั้งมวล

    52. ข้าฯนอบน้อมแก่
    พระวัชรี
    ผู้ซึ่งแม้ยมฑูต กับสัตว์โลกที่มุ่งร้ายอื่นๆ
    ยังหนีไปทั่วทั้งสี่ทิศ
    ด้วยความกลัวเพียงเมื่อมองเห็นท่าน

    53. หลังจากที่ได้ละเลยคำแนะนำของพระองค์
    ข้าฯ มุ่งกลับมาหาพระองค์ด้วยความหวาดกลัว
    เพื่อยึดพระองค์เป็นที่พึ่ง
    ขอท่านได้โปรดกำจัดความกลัวของข้าฯ นี้ด้วยเถิด!

    54. แม้แต่ผู้ป่วยที่หวาดกลัวความเจ็บไข้ที่ผ่านมาชั่วคราว
    ยังไม่ละเลยคำแนะนำของแพทย์
    แล้วผู้ที่ทรมานอยู่ด้วยโรคเป็นจำนวนสี่ร้อยสี่โรคเล่า?

    55. ซึ่งโรคเหล่านี้แม้เพียงหนึ่งโรค
    ก็สามารถทำลายประชาชนที่อาศัยอยู่ในชมพูทวีป
    และยังไม่อาจหายารักษาได้ในท้องที่ใดๆ

    56. หากข้าฯละเลยคำแนะนำของพระผู้ทรงเป็นแพทย์ผู้รู้ทุกสิ่ง
    ผู้ซึ่งกำจัดความเจ็บปวดทั้งหมด
    ข้าฯจะน่าละอายเพียงใด
    ข้าฯผู้ซึ่งหลงผิดอย่างใหญ่หลวง

    57. หากข้าฯยังยืนอย่างระมัดระวังแม้อยู่บนผาเล็กๆ
    แล้วหากต้องยืนอยู่บนหุบเหวลึกเป็นพันๆโยชน์เล่า?

    58. การที่ข้าฯ จะปล่อยตัวตามสบาย คิดว่า
    "วันนี้ความตายจะไม่มาเยือน"
    เป็นเรื่องไม่เหมาะสม
    เวลาที่ข้าฯ ไม่มีตัวตนอยู่จะต้องมาถึงอย่างแน่นอน

    59. ใครเล่าจะให้ความไม่กลัวแก่ข้าฯได้?
    ข้าฯ จะหนีไปอย่างไร?
    ข้าฯ จะไม่มีตัวตนอยู่?
    จิตของข้าฯ จะสุขสบายหรือไม่?

    60. สิ่งมีค่าสิ่งใดที่ยังอยู่กับข้าฯ
    จากประสบการณ์ครั้งก่อนๆ ซึ่งได้สูญหายไปหมดแล้ว
    และเป็นประสบการณ์ที่ข้าฯ เคยหลงระเริงอยู่ในนั้น
    จนทำให้ข้าฯ ละเลยคำแนะนำ และคำปรึกษาของอาจารย์?

    61. เมื่อข้าฯละทิ้งญาติพี่น้อง
    มิตรสหาย
    รวมทั้งโลกนี้
    ข้าฯจะออกเดินทางไปสถานที่อื่น
    เหล่ามิตรและศัตรูยังมีประโยชน์อะไรอีก?

    62. ในสถานการณ์นี้
    มีแต่เพียงเรื่องเดียวที่ข้าฯเป็นห่วงเป็นใย
    ข้าฯจะหลีกหนีจากความทุกข์
    ด้วยการเก็บสะสมสิ่งไม่เป็นกุศลได้อย่างไร?

    63. ไม่ว่าจะเป็นความผิดบาปอะไร
    ไม่ว่าจะเป็นความผิดพลาดตามธรรมชาติ
    หรือความผิดพลาดจากการห้าม
    ซึ่งข้าผู้โง่เขลาได้สั่งสมมา

    64. ข้าฯหวาดกลัวต่อความทุกข์
    ขอสารภาพทั้งหมดนี้
    เมื่อยืนพนมมืออยู่ต่อหน้าพระพักตร์ของพระผู้เป็นที่พึ่ง
    ก้มศีรษะทำความเคารพอยู่เสมอๆ

    65. ขอให้พระผู้นำทางโปรดรับทราบถึงการทำผิดของข้าพระพุทธเจ้า
    รวมทั้ง
    การละเมิดศีล
    และการทำผิดบาป
    ข้าแต่พระผู้ทรงเป็นที่พึ่ง!
    ขอให้ข้าฯอย่าได้ทำความผิดเหล่านี้อีกเลย!



    สุดท้ายนี้ยังไม่จบจ๊ะ ลุงรู้ว่าพวกเอ็งมิอ่านกันดอก เพราะขี้เกลียดแลไม่เข้าใจ แต่ลุงก็ยังคงเอามาลงเพื่อจะมีคนที่ขยัน ตั้งใจ และ มีปัญญา ไม่ว่าจักในตอนนี้แลในอนาคต ได้มาพบแลนำไปปฏิบัติ ได้ผลเป็นความหลุดพ้น(วิมุตติ) แค่คนสองคนก็พอแล้วสำหรับลุงนะจ๊ะ นะจ๊ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 มีนาคม 2012
  17. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    [​IMG]

    ท่านนาครชุน ผู้ก่อตั้งนิกายมัธยามิกะ อันเป็นรากฐาน ของนิกายต่างๆในมหายาน เซน และ วัชรยาน

    ปณามคาถา.

    “ พระมหาสมณะอันบังเกิดในภัทรกัลป์นี้ พระองค์ใดนามว่า โคตม
    ผู้ทรงแสดงธรรมดุจกระทำสิ่งที่คว่ำให้หงายแลเป็นผู้ประเสริฐแห่งหมู่ศากยราช
    ด้วยคุณอันเป็นจริงนั้น ข้าพเจ้านอบน้อมซึ่งพระมหาสมณะพระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า”
    “ ธรรมเหล่าใดอันบังเกิดแล้วแต่พระมหาสมณะนั้น
    ย่อมยังจิตแห่งชนทั้งหลายเหล่าใดให้เกษม
    ด้วยคุณนั้นขอความเป็นผู้มีจิตอันเกษม จงบังเกิดแก่ข้าพเจ้าในบัดดล”
    “สงฆ์สาวกแห่งพระมหาสมณะนั้นเหล่าใด
    ประพฤติการอันสมควรแก่การดับทุกข์แล้วไซร้
    ข้าพเจ้าจักบูชาองค์แห่งคุณนั้นด้วยมโนทวาร”
    “คุรุใดบังเกิดในบวรพระพุทธศาสนานี้แล้วไซร้
    มีนามว่า นาคารชุน ผู้ถึงพร้อมด้วยองค์คุณมีทาน ศีล เป็นต้น
    ด้วยการกล่าวองค์คุณแห่งความเป็นจริงในพระรัตนตรัยนั้น ขอความสวัสดีจงบังเกิดมี
    แลขอข้าพเจ้าปริวรรตคัมภีร์อันมีนามว่า มหายานวีสติศาสตร์ อันคุรุนาคารชุน
    รจนาไว้ดีแล้วนั้น จงสำเร็จลุล่วงไปด้วยเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนทั้งหลาย”
    大乘二十頌論 [ มหายานวีสติคาถาศาสตร์ ]​


    “อันว่าความเคารพนอบน้อมที่มิได้คำนึงในภาวะ
    เหล่าพุทธะผู้ไม่ขัดข้องในปรมัตถ์สัจจะโดยปัญญา
    ธรรมทั้งหลายมิใช่มิกล่าวไม่ใช่ไร้การกล่าว
    ด้วยความเมตตาแห่งพุทธะจักกล่าวคำอันเป็นกุศล”


    “ปรมัตถ์สัจจะไร้การเกิด
    ตามการเปลี่ยนแปลงแลอภาวะ
    พุทธะแลสรรพสัตว์เป็นเอกลักษณะ
    ประดุจสูญญตาอันสมภาพ”


    “นั้นแลคือฝั่งแห่งนิพพาน
    สวภาวะเป็นปัจจัยแห่งการเกิด
    มรรคาทั้งหลายนั้นล้วนเป็นศูนยตา
    รวมถึงมรรคาแห่งสัพพัญญู”

    “ไร้ปรารถนาในภูตตถตาภาวะ
    แลที่ไม่เป็นสองนั้นคือนิพพาน
    สภาวธรรมทั้งหลายที่มีอยู่ในตัวของมันเอง
    ประดุจดังภาพสะท้อนอันไร้แตกต่าง”




    “ปุถุชนผู้แบ่งแยกจิต
    ไร้ภูตตถตาหาตรรกในตัวตน”
    ย่อมยังให้บังเกิดบรรดากุกกุจจะภาวะ
    แลทุกขภาวะ สุขภาวะ อุเบกขาภาวะเป็นอาทิ



    “โลกนี้ความชราความเจ็บไข้แลมรณา
    เป็นทุกข์อันมิน่าปรารถนา
    คล้อยตามลงสู่กรรมทั้งหลาย
    นั้นคือความจริงอันไร้สุข ”


    “สวรรค์คติอันวิจิตรตระการตาแลสุขอันเป็นเลิศ
    นรกอันเป็นยอดแห่งทุกข์อันยิ่งใหญ่”
    เพราะต่างก็มิเข้าใจในสัจจะ
    จึงยังหมุนเวียนในคติทั้งหกนี้เป็นนิจ



    “สัตว์ทั้งหลายผู้เห็นผิดย่อมแบ่งแยก
    กิเลศคือไฟอันร้อนแรง
    เมื่อคล้อยตามย่อมตกสู่นรกคติเป็นอาทิ
    อุปมาดังไฟที่แผดเผดป่าไม้ฉันนั้น”


    “มูลเดิมแห่งสรรพสัตว์นั้นดังมายา
    ย้อนคืนสู่อุปทานมายาเขต
    ประพฤติในมายาสู่สำเร็จมรรค
    ย่อมไม่ย้อนกลับเป็นปัจจัยให้บังเกิด”


    “อุปมาดั่งศิลปาจารย์ในโลกนี้
    รังสรรค์ยักษลักษณะ
    คือตนแสดงความหวั่นกลัวแห่งตน
    จึงได้ซื่อผู้ไร้ปัญญานัก”


    “สรรพสัตว์ใดที่บังเกิดความด่างพร้อยในตน
    กล่าวว่านั้นคือเหตุของสังสารวัฏ
    แลกล่าวว่าหากน้อมลงสู่ความกลัวแห่งตน
    คือไร้ปัญญาหาใช่วิมุตติไม่”


    “สัตว์หมู่ใดลวงหลอกเข้าใจผิดในจิต
    ย่อมบังเกิดวิจิกิฉากิเลศเครื่องเศร้าหมองอันเป็นมลทินแลด่างพร้อย
    ไร้สภาวะแต่กับคิดหาสภาวะ
    ย่อมได้รับทุกข์เวทนาแลมีเวทนานั้นแลเป็นที่สุดรอบ”


    “พุทธทัศนะนั้นไร้การอ้อนวอน
    แต่ถึงกระนั้นบังเกิดความเมตตากรุณาด้วยเจตนา
    ย่อมกระทำการตั้งโพธิจิต
    อันเป็นแบบประพฤติในโพธิมรรค”




    “ย่อมสำเร็จในอนุตริยะปัญญาผล
    จักบังเกิดเจโตปริญญาญาณบนโลก
    การแบ่งแยกในกุศลพันธะ
    กระทำไซร้นั้นเพื่อการแห่งประโยชน์ ”


    “จากการบังเกิดแลบังเกิดแล้ว
    ย่อมแสดงความถูกต้องแห่งปรมัตถสัจจะ
    หลังการพิจารณาโลกนี้คือความว่าง
    ย่อมละจุดกำเนิดที่เริ่มต้น”


    “หากพิจารณาการเกิดตายแลนิพพาน
    ก็แค่สองคำคือไร้ตน
    มิด่างพร้อยอีกทั้งมิแปรปรวน
    มูลเดิมบริสุทธิ์แลสงบเป็นนิจ”


    “ในขอบเขตกึ่งกลางแห่งความฝันทั้งหลายนั้น
    โพธิอันบริบูรณ์แล้วย่อมไร้ทัศนะ
    ปัญญานั้นมีลักษณะคลายจากถีนมิทธะ
    อีกทั้งมิพานพบการเกิดแลการตาย”


    “อันโมหะวิจิกิฉาแลความหลอกลวงปิดบังนั้น
    หากคล้อยตามก็ย่อมลงสู่ทะเลแห่งทะเลแห่งความเกิดตาย
    ไร้บังเกิดแต่กลับคิดหาความบังเกิด
    ย่อมบังเกิดความแบ่งแยกให้โลกนี้”

    “หากแบ่งแยกในภาวะ
    สรรพสัตว์นั้นไม่สมดังเหตุผล
    ในการเกิดดับในธรรมนั้น
    บังเกิดสัญญาในความสุขของตน”


    “สิ่งทั้งหลายนั้นสักแต่ว่าจิต
    ความสงบสุขนั้นบังเกิดเป็นมายาแลมีการเปลี่ยนแปลงเป็นลักษณะ
    กระทำกุศลมิใช่กุศลกรรม
    สัมผัสกุศลกุศลไม่บังเกิด”


    “หากนิโรธในจิตอันเปลี่ยนแปลง
    ก็บังเกิดนิโรธในธรรมทั้งหลาย
    คือสรรพธรรมนั้นเป็นอนัตตา
    ธรรมทั้งหลายนั้นย่อมบริสุทธิ์”


    “พระพุทธเจ้าผู้ประกาศธรรมธรรมในโลกนี้
    ย่อมทราบเหตุปัจจัยในการบังเกิดของอวิชชา
    หากสามารถบังเกิดการไม่แบ่งแยกแห่งจิต
    สรรพสัตว์จักเกิดได้แต่ที่ไหน”


    “ในธรรมทั้งหลายนั้นธรรมภาวะอันเป็นกลาง
    ด้วยสัจจะนั้น หากจะขอให้ธรรมนั้นมีน้อยย่อมเป็นบ่มิได้
    ประดุจดังมายาจารย์ในโลกกระทำมายากิจ
    ปัญญานั้นพึงทราบดังเช่นนี้”


    “ในสังสารวัฏอันมีเกิดตายที่มากมาย
    สรรพสัตว์มีความรำคาญฟุ้งซ่านดังน้ำที่อัดแน่น
    หากมิขับเคลื่อนในมหายาน
    ท้ายที่สุดนั้นอะไรสามารถถึงฝั่งแห่งนิพพาน”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 มีนาคม 2012
  18. thunderstrom

    thunderstrom Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2009
    โพสต์:
    853
    ค่าพลัง:
    +62
    ติดตามอ่านครับ แต่ที่เข้ามาเขียน เพราะสะดุดภาพนี้ มหัศจรรย์ มีคนเห็นเป็นภาพได้ยังไง ครบถ้วนและสวยงามมากครับ
     
  19. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    บทที่สาม

    อธิษฐานโพธิจิต
    อธิบายบทที่ ๓ การน้อมรับโพธิจิตโดยสมบูรณ์(อธิฐานโพธิจิต)

    ในบทนี้เป็นการแสดงถึงการตั้งมั่นที่จะน้อมรับโพธิจิตโดยสมบูรณ์ ที่จะยินดีสละทุกสิ่งเพื่อเป็นทานแก่ สรรพสัตว์ และตั้งมั่นปฏิบัติตนตามวิถีแห่งโพธิสัตต์ ยึดมั่นในครรลองแห่งโพธิสัตต์ศีลด้วยความ ประเสริฐบริสุทธิ์ เพื่อมุ่งสู่การตรัสรู้อันจะนำประโยชน์มาสู่สรรพสัตว์ทั้งปวงโดยปราศจากเงื่อนไข หรือ แบ่งแยกนั้นเอง




    1. ข้าฯ อนุโมทนาในคุณธรรม
    ซึ่งช่วยปลดเปลื้องสัตว์โลกให้พ้นจากสังสารวัฏ
    ขอให้เหล่าสัตว์ที่ตกอยู่ในความทุกข์นั้น
    จงอยู่ในความสุข


    2. ข้าฯ ยินดีในการหลุดพ้นของสัตว์โลกทั้งปวงจากสังสารวัฎ
    และข้าฯ ก็ยินดีในความเป็นพระโพธิสัตว์
    และความเป็นพระพุทธเจ้า
    ของพระผู้เป็นที่พึ่งทั้งหลาย

    3. ข้าฯ ยินดีในการแสดงโพธิจิต
    อันกว้างใหญ่ดุจมหาสมุทร
    ของพระพุทธเจ้า
    และพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
    ซึ่งโพธิจิตนั้น
    ก็ยังความชุ่มชื่น และประโยชน์ให้แก่สัตว์โลก

    4. ด้วยสองมือประนม
    ข้าฯ ขอวิงวอนให้พระตถาคตเจ้าในทั่วทุกสารทิศ
    ขอได้โปรดทรงจุดประกายไฟแห่งพระธรรม
    ให้แก่สัตว์โลก
    ที่ตกลงไปยังห้วงทุกข์ด้วยความหลงผิด

    5. ด้วยสองมือประนม
    ข้าฯ ขอวิงวอนแก่พระชินเจ้าทั้งหลาย
    ผู้ทรงปรารถนาจะจากไปยังพระนิพพาน
    ขอให้ท่านโปรดดำรงอยู่เป็นจำนวนกัปอันประมาณมิได้
    และขอให้โลกนี้
    ไม่ต้องอยู่ในความมืดมิด

    6. ขอให้บุญบารมีที่ข้าฯ ได้สั่งสมมาจากการทำเช่นนี้
    จงปลดเปลื้องสัตว์ทั้งหลาย
    ออกจากความทุกข์

    7. ขอให้ข้าฯ เป็นยา และหมอแก่คนไข้
    ขอให้ข้าฯ เป็นพยาบาลของพวกเขา
    จนกว่าโรคของพวกเขาจะไม่กลับมาอีก

    8. ด้วยสายฝนแห่งอาหาร และเครื่องดื่ม
    ขอให้ข้าฯ เอาชนะทุกข์อันได้แก่ ความหิวกระหาย
    ขอให้ข้าฯ ได้เป็นอาหาร และเครื่องดื่ม
    ในเวลาแห่งความอดอยาก

    9. ขอให้ข้าฯ เป็นขุมทรัพย์อันไม่มีที่สิ้นสุดของคนยากจน
    ขอให้ข้าฯ อยู่ใกล้ชิดพวกเขา
    เพื่อช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ

    10. เพื่อประโยชน์แห่งการทำให้สำเร็จซึ่งสวัสดิภาพของสัตว์โลกทั้งปวง
    ข้าฯ สละแล้วซึ่งร่างของข้า
    รวมทั้งความเพลิดเพลิน
    ตลอดจนบุญบารมี
    ในอดีต
    ปัจจุบัน
    และ
    อนาคต



     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 มีนาคม 2012
  20. สุมิตราจ๋า

    สุมิตราจ๋า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +1,529
    11. ข้าฯ อุทิศทุกสิ่งให้แก่พระนิพพาน
    และ
    ขอให้จิตของข้าฯ แสวงหาพระนิพพาน
    หากข้าฯ จะต้องเสียสละสิ่งใด
    ก็ขอให้ข้าฯ ได้มอบสิ่งนั้นให้แก่สัตว์โลก

    12. เพื่อประโยชน์ของสัตว์โลก
    ข้าฯ ได้ทำให้ร่างกายร่างนี้ปราศจากความยินดี
    ขอให้พวกเขาทุบตี
    ดูหมิ่นเหยียดหยาม
    และห่อหุ้มร่างนี้ด้วยสิ่งปฏิกูล


    13. ขอให้พวกเขาเล่นสนุกกับร่างๆ นี้
    ขอให้เขาหัวเราะเยาะ และเย้ยหยันร่างนี้
    ทั้งหมดนี้มีความหมายอะไรแก่ข้าฯ
    ข้าฯ ได้ให้ร่างนี้แก่พวกเขาไปแล้ว


    14. ขอให้พวกเขาทำสิ่งที่น้อมนำไปสู่ความสุข
    ใครก็ตามที่ขอความช่วยเหลือจากข้าฯ
    ขอให้เขาผู้นั้นไม่ล้มเหลวเลย


    15. สำหรับผู้ที่ขอความช่วยเหลือจากข้าฯ
    และมีความคิดขึ้งเคียด
    หรือความคิดที่มุ่งร้าย
    ขอให้แม้สิ่งนั้นเองเป็นสิ่งนำไปสู่ความสำเร็จ
    ตามเป้าประสงค์ทั้งหมดของพวกเขา


    16. ขอให้ผู้ที่กล่าวหาข้าฯ อย่างผิดๆ
    ผู้ที่ทำร้ายข้าฯ
    และผู้ที่เย้ยหยันข้าฯ
    จงเป็นผู้ร่วมเดินทางไปสู่การตรัสรู้

    17. ขอให้ข้าฯ
    เป็นผู้ปกป้องแก่ผู้ไม่มีใครปกป้อง
    เป็นผู้นำทางแก่คนเดินทาง
    เป็นเรือเล็ก
    เป็นสะพาน
    กับเป็นเรือใหญ่

    แก่ผู้ปรารถนาจะข้ามฝั่ง

    18. ขอให้ข้าฯ
    เป็นตะเกียงแก่ผู้ที่แสวงหาแสงสว่าง
    เป็นเตียงให้แก่ผู้ที่ปรารถนาจะพักผ่อน

    และขอให้ข้าฯ
    เป็นคนใช้ของสัตว์โลกทั้งปวง
    ที่ประสงค์อยากได้คนใช้

    19. ขอให้ข้าฯ
    เป็นแก้วสารพัดนึก แก่สัตว์โลกทั้งปวง
    เป็นคณโฑแห่งความสวัสดี
    เป็นมนตร์อันยังผลมาให้
    เป็นโอสถวิเศษ
    เป็นต้นกัลปพฤกษ์

    และ
    เป็นแม่วัวที่ให้พรทุกอย่างที่ขอ

    20. ผืนดินกับธาตุต่างๆ มีประโยชน์ในทางต่างๆ แก่สัตว์โลกต่างๆ
    ที่ดำรงอยู่ในห้วงอากาศอันไม่มีประมาณฉันใด

    21. ก็ขอให้ข้าฯ
    เป็นแหล่งแห่งชีวิตในทางต่างๆ
    ให้แก่สัตว์โลก ที่สถิตย์อยู่ทั่วทั้งอากาศธาตุ

    และขอให้เป็นเช่นนี้ไป
    จนกว่าสัตว์โลกทั้งหมดจะตรัสรู้ฉันนั้น

    22. พระสุคตเจ้าในอดีตกาล
    ได้เคยปฏิบัติโพธิจิตมาเช่นใด
    ท่านเหล่านั้นได้ปฏิบัติตามแนวทางของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายมาอย่างไร

    23. ก็ขอให้ข้าฯ
    ได้สร้างพระโพธิจิตเพื่อประโยชน์ของโลกนี้
    ทั้งนี้เพื่อให้ข้าฯ
    ได้ปฏิบัติแนวทางเหล่านี้อย่างถูกต้องเช่นนั้น

    24. เมื่อข้าฯ ได้รับมาซึ่งพระโพธิจิตด้วยวิธีนี้แล้ว
    ผู้ฉลาดก็ควรหล่อเลี้ยงโพธิจิตนี้ไว้
    เพื่อให้ความปรารถนาทั้งหลายของเขาเป็นจริง

    25. ณ เวลานี้
    ชีวิตของข้าฯ ออกดอกออกผลแล้ว
    การเกิดเป็นมนุษย์ นับได้ว่าเกิดมาได้ดี

    ในวันนี้
    ข้าฯ ได้ถือกำเนิดขึ้นมาในสกุลของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    เวลานี้
    ข้าฯ เป็นลูกคนหนึ่งของพระพุทธเจ้า

    26. ด้วยเหตุนี้
    สิ่งใดก็ตามที่ข้าฯ ทำจะสอดคล้องกับ
    สกุลวงศ์ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
    และจะไม่กลายเป็นรอยเปื้อนอยู่ท่ามกลางสกุลวงศ์อันบริสุทธิ์นี้

    27. ชายตาบอดอาจพบแก้วมณีอันล้ำค่า
    ท่ามกลางขยะมูลฝอยเช่นใด
    โพธิจิตนี้ก็ได้บังเกิดในตัวข้าฯ เช่นนั้น

    28.
    โพธิจิตเป็นเหมือนน้ำอมฤต
    ที่ชนะความตายในโลกนี้
    เป็นดุจดังขุมทรัพย์
    ที่ขจัดความยากจนในโลกนี้


    29.
    เป็นยาวิเศษที่บรรเทาโรคภัยไข้เจ็บในโลกนี้
    เป็นร่มไม้ชายคาของสัตว์โลก
    ที่เหน็ดเหนื่อยมาจากการเดินทาง

    ในเส้นทางของการดำรงชีวิตอยู่ในโลก

    30.
    เป็นสะพานสำหรับนักเดินทางทุกคน
    ที่เดินทางข้ามห้วงสังสารวัฏ

    เป็นพระจันทร์กำลังขึ้น
    ยังความชุ่มฉ่ำที่บรรเทาเบาบางความทุกข์ยากต่างๆในโลกนี้


    31. เป็นดวงอาทิตย์อันยิ่งใหญ่
    ที่ขับไล่ความมืดแห่งอวิชชาไปจากโลกนี้

    เป็นเนยสด
    ที่ปั่นมาจากนมแห่งพระธรรม


    32. สำหรับกองคาราวานของสัตว์โลก
    ที่เดินทางอยู่ภายในสังสารวัฏ
    และหิวโหยอาหาร ที่จะนำความสุขมาให้
    โพธิจิตเป็นงานเลี้ยงฉลองแห่งความสุข
    ที่ยังความพอใจให้แก่สัตว์โลกเหล่านั้นที่เดินทางมาเป็นแขก


    33. ในวันนี้
    ข้าฯ ได้เชื้อเชิญโลกให้มุ่งสู่
    พระพุทธภาวะ
    รวมทั้งความสุขชั่วคราวทางโลก
    ขอให้
    ทวยเทพ
    อสูร
    และ
    สัตว์โลกทั้งหมด
    ร่วมยินดี
    อนุโมทนา
    ไปกับ
    พระผู้เป็นที่พึ่งทั้งปวง !


     

แชร์หน้านี้

Loading...