ประวัติ เกจิอาจารย์วิเศษชัยชาญ สมเด็จเกษไชโย...และพระเครื่องเมืองอ่างทอง

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย benay, 11 มิถุนายน 2009.

  1. SomeO

    SomeO เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    478
    ค่าพลัง:
    +1,476
    รออ่านครับ...น่าตื่นตาตื่นใจมากครับ...พี่เบ็นแล้วมีข้อมูลแหวนปู่ยิ้มบางไหมครับอยากทราบอ่ะครับ
     
  2. benay

    benay เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +15,508
    แหวนหลวงปู่ยิ้มผมไม่มีข้อมูลเลยครับ..............
     
  3. benay

    benay เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +15,508
    [​IMG]



    เท่าที่ผมลงพื้นที่ บ้านเก่าของลูกหลาน เหลน หมอน้อย (บ้านดาบ ตำบลบางจักร วิเศษชัยชาญ) ซึ่งยากลำบากเอาเรื่องทีเดียวครับ ขับรถตระเวนไปหลายที่จากคำบอกเล่าของคุณป้าศรี รุ่นเหลนของหมอน้อยว่าพอที่จะมีใครให้ข้อมูลได้ดีหรือทราบประวัติหมอน้อยหมอปู่ ซึ้งก็เป็นรุ่นเหลน และหลานหมอน้อย แต่ก็ผิดหวังครับ รุ่นหลานหมอน้อยได้เสียชีวิตไปจนหมด แม่กระทั่งหมอหนอง คนถือตำราหมอน้อย คนที่หวังว่าจะเอาข้อมูลเพิ่มเติม จากเมื่อคราวสืบประวัติทำหนังสือพระเครื่องเมืองอ่างทองเล่มก่อน (เล่มงานโรงเรียนตันติ) แต่จากกาตระเวนลงพื้นที่ครั้งนั้นทำให้เห็นถึง ความหวงแหน และความเคารพในเครื่องรางของหมอน้อย และหมอปู่อย่างมาก ของบรรดาลุกหลานเหลนดหลน ของหมอน้อย และหมอปู่ ท่านเหล่านั้นเล่าประสบการณ์ต่างๆดังที่ผมเคยลงไปก่อนนี้ในความเห้นก่อนหน้า ทุกท่านล้วนมีแหวนหมอน้อยและหมอปู่ ทุกบ้าน แต่....แม้ให้ดุก็ไม่ให้ครับ กลัวถุกขอเช่าหรืออะไรไม่ทราบ...แต่ทุกท่านต้อนรับเป็นอย่างดี แต่ที่น่าเสียดายคือท่านเหล่านั้นไม่ให้ชมแหวนประจำตระกูล 5555 ......ลุกหลานของหมอปู่หมอน้อยล้วนแต่มีประสบการร์มากมายครับกับแหวนหมอน้อย และหมอปู่ จนหวงแหนกันดังกล่าว......การตระเวนหาประวัติครั้งนั้น จุดมุ่งหมายสำคัญอีกอย่างคือ การที่หาภาพถ่ายหมอน้อย แต่ผมกับเฮียเจ้าของบทความ ก็ไม่ประสบผล เพราะภาพถ่ายหมอน้อย ไม่มีครับท่านจะไม่เคยถ่ายหรือถ่ายแล้วสูญหายไปตามกาลเวลาก็ไม่ทราบได้ เพราะ เหล่าหลานๆ ก้ไม่มีใครทันหมอน้อยทั้งสิ้น แต่ที่ได้มานั้นก้พอจะทำให้ใจชื้รมาได้บ้าง ถึงจะไม่ตรงตามเป้าหมายเสียทีเดียว จากการไปครั้งสุดท้ายที่บ้านเก่าเดิมของหมอน้อย ข้างวัดบางจักร ผมไปได้ภาพถ่ายของหมอเพียร ซึ่ง เป็นหลานหมอน้อย น้องชายของหมอปู่ แต่ก้เป็นภาพอัดไหม่จากคำบอกของหลานๆ ถึงอัดไหม่เท่าที่ดูจากความเก่าของภาพนั้นและลักษณะฟิมพ์ ภาพนี้น่าจะประมาณปี 2500 ต้นๆ หรือก่อนเล็กน้อย .............เดี๋ยวมาต่อครับ
     
  4. benay

    benay เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +15,508
    [​IMG]




    ภาพถ่ายหมอเพียร และภรรยาท่าน ซึ่งดังที่บอกไปข้างต้น ภาพนี้เป็นภาพอัดไหม่ครับ แต่ก็นานโขอยู่ อัดคู่กันมาแบบนี้ครับ กรอบเก่าเอาเรื่อง ท่านเป็นหลานชายหมอน้อย น้องของหมอปู่เจ้าตำหรับผู้สืบทอดตำราแหวนของตาหมอน้อย ที่ผมเคยเกริ่นไปแล้วครับ ว่าคนสมัยก่อนไม่นิยมถ่ายภาพมากนัก จากคำบอกเล่าของเหลนหมอน้อยกล่าวว่า เมื่อก่อนนี้ถ้าใครขอถ่ายรูปไม่ว่าจะเป้นหมอไท หมอปู่ จะถูกด่ายกใหญ่ที่เดียว ดังนั้นภาพของหมอปู่ หมอไท ตัวผมเองคิดว่า น่าจะไม่ได้ถ่ายไว้ ส่วนหมอน้อยนั้น ไม่ทราบได้ครับ.....อาจจะมีหรือไม่มี เพราะผมเองและเฮียที่วิเศษฯตระเวนกันทั่วแล้ว ไม่พบภาพถ่ายของหมอน้อยเลย แต่ได้เบาะแสตำราของท่าน ซึ่งผู้สืบสานไว้ ได้ลาโลกไปแล้วด้วยวัย 90 กว่าปีครับ ตำรานี้ได้ตกทอดไปยังผู่มีบุญท่านหนึ่ง ทางภาคเหนือ.....ติดต่อไป มีหนทางว่าจะได้ตำรานี้มาครับ แต่ไม่ทราบเมื่อไรจะได้ถ้า พอมีบุญเกื่อหนุนกันมาบ้าง คงได้พบครับ แหวนหมอปู่ และ หมอน้อยถือเป็นเครื่องรางที่สำคัญ ของ วิเศษชัยชาญ มีทั้งอายุการสร้างนับร้อยปี และถือเป้นวิชาโบราณที่หาคนทำได้ยากยิ่งแล้วในปัจจุบันนี้ ขนาดลูกหลานเหลน ของท่าน ยังหวงแหนกันขนาดนี้ ประสบการณ์มากมาย จนขอดูเขายังไม่ให้ดูเพราะหวง คิดดูครับว่า ของเขาดีจริงหรือปล่าว...................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2011
  5. benay

    benay เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +15,508
    [​IMG]




    เรื่องราวของหมอน้อย และหมอปู่ ท่านใดสงสัย สอบถามมาได้ครับ ถ้าผมทราบผมจะตอบให้ครับ ถ้าไม่ทราบจะพยายามหาข้อมูลมาให้ครับผม พรุ่งนี้ จะมาต่อ เรื่องสมเด็จ วัดเกษไชโยหนึ่งในตระกูลสมเด็จที่ปัจจุบันราคายังพอจับต้องได้ครับ ......วัดระฆังกับบางขุนพรหม (แท้ๆ) คงไม่ต้องถามครับขนาดหักๆก้ยังแสนเทิน.... สมเด็จพิมพ์ในภาพเป็นอีกพิมพืหนึ่งที่หาชมยากมากครับ นานทีปีหนจะมีให้เห็นกันที พิมพ์นี้เรียกว่าพิมพ์ เจ็ดชั้น อกตันเป็นพระที่นักสะสมเล่นหามานานครับ มีบรรจุอยู่ในหนังสือพระเครื่องเมืองอ่างทองเล่มสมบูรณ์งานโรงเรียนตันติ ถึงจะชำรุดแต่ก้มิได้โดนองค์พระ ที่สำคัญอย่างที่บอกครับ ดูง่าย แถมหาชมยากครับ


    สวยๆมีแต่ภาพสวยๆเข้ารังคนมีอันจะกินและไม่หลุดรอดมาให้เห็นหรอกครับ ขนาดภาพยังหาถ่ายยาก และแพง แฮ่ๆ ผมเน้นพุทธคุณ เพราะเงินไม่ถึง เหอๆๆๆ


    พระพิมพ์นี้จะเรียกง่าย ๆ สั้น ๆ ว่า "พิมพ์อกตัน" ตามสภาพของหน้าอก ซึ่งแสดงออกไม่ปรากฏร่องให้เห็นแม้แต่น้อย ในทุก ๆ พิมพ์ทรงของสมเด็จวัดไชโย จะไม่มีพิมพ์ใดที่ลักษณะหน้าอกเป็นเช่นพิมพ์นี้ เกศไม่จรดเส้นซุ้ม เศียรและพระพักตร์ใหญ่ หูข้างซ้ายชิดกว่าหูข้างขวา ลำคอเส้นเล็ก ลำตัวต้อ วงแขนส่วนบนถึงข้อศอกมนโค้งทั้งสองข้าง จากใต้ข้อศอกลงมา แขนหักศอกเป็นเส้นตรง หัวเข่านูนหนา หน้าอกตั้งนูน ฐานทั้งเจ็ดจะเป็นเส้นตรง ช่องไฟแต่ละชั้นเว้นได้ระดับขนานกัน ร่องชั้นลึกเสมอกับผิวภายนอก ทำให้แลดูเหมือนพระถูกเซาะ ขอบมุมของพระทั้งสี่ด้านจะมน เป็นพระที่หาได้ยากพิมพ์หนึ่ง
    ลักษณะเนื้อ จัดเป็นพระเนื้อละเอียด สีขาวอมเหลือง เนื้อจัดดูง่าย มีจุดขาวผสมข้าวสุกตากแห้งมาก และจุดดำกับจุดน้ำตาลพอประมาณ มีความหนาพอสมควรเนื่องจากกรอบกระจกยกสูง ขนาดกว้าง ๒.๔ ซม. ยาว ๓.๕ ซม. และหนา ๔ ม.ม.

    ที่มา : หนังสือการประกวดพระเครื่องเมืองอ่างทอง



     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_1381.JPG
      IMG_1381.JPG
      ขนาดไฟล์:
      37.1 KB
      เปิดดู:
      198
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤศจิกายน 2011
  6. benay

    benay เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +15,508
    [​IMG] [​IMG]

    พิมพ์เจ็ดชั้น หูปะบ่า

    การแสดงออกทางพิมพ์ ของพระพิมพ์นี้ จะสังเกตได้ง่ายที่สุดก็คือ ลักษณะของหูทั้งสองข้างจะยาวกว่าทุก ๆ พิมพ์ ยาวปาดถึงหัวไหล่ ใบหูจะห้อยระย้าอ่อนช้อยสวยงาม ปลายบนและปลายล่างสะบัดออกพองาม ปลายหูขวาขององค์พระช่วงจรดไหล่ปลายจะเรียวเล็ก ถือเป็นจุดตำหนิที่สำคัญ พระพักตร์ใหญ่และยาวรีกว่าพิมพ์ใหญ่ ช่วงหน้าอกส่วนบนจะวาดโค้งเข้ารักแร้ ทำให้ดูหน้าอกใหญ่กว่าพิมพ์ใหญ่ อกจะร่องคล้ายรากฟันเหมือนกับพิมพ์ใหญ่ เข้าตำราอกผายไหล่ผึ่ง แลดูทะมัดทะแมงสมส่วน หัวเข่าทั้งสองข้างคล้ายท่อนกระดูก ทำนองเดียวกับพิมพ์ใหญ่ ฐานชั้นแรกปลายจะเรียวงอนขึ้นเป็นฐานสำเภาเหมือนพิมพ์ใหญ่ ฐานชั้นสองจะงอนขึ้นเล็กน้อย ฐานชั้นสามจะโก่งระหว่างตรงกลางเล็กน้อย ฐานชั้นที่สี่จะแอ่นขึ้นและเป็นเส้นหนา ฐานชั้นที่ห้าจะเป็นเส้นหนาและแอ่นลงเล็กน้อย เป็นที่น่าสังเกตอีกว่า ฐานชั้นที่สี่และชั้นที่ห้า ของพระพิมพ์หูประบ่านี้เป็นเอกลักษณ์ที่ตรงกันกับพิมพ์ใหญ่ ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญ ส่วนชั้นที่เจ็ดจะจรดซุ้มเหมือนพิมพ์ใหญ่ น่าแปลกใจพอสมควร ที่เอกลักษณ์หรือจุดตำหนิของพิมพ์ใหญ่กับพิมพ์หูประบ่าช่างละม้ายคล้ายกันอย่างที่สุด ถ้าหากว่า พิมพ์หูประบ่า มีหูและหน้าเหมือนพิมพ์ใหญ่แล้วไซร้ ก็จะเข้าทำนองเป็นพิมพ์ใหญ่ทันที

    สำหรับเนื้อของพระพิมพ์หูประบ่านี้ ส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อไม่ค่อยละเอียดนัก ค่อนข้างหยาบ แต่ก็มีบางองค์ที่เนื้อละเอียด เป็นพระเนื้อจัดมากและแกร่งทุก ๆ องค์ เนื้อพระที่ค่อนข้างหยาบ จะมีความจัดกว่าเนื้อละเอียด เท่าที่พบเห็นจะแตกลายงาเกือบทุกองค์ และพระเนื้อค่อนข้างหยาบจะมีความหนากว่าพระเนื้อละเอียด ขนาดของพระกว้าง ๒.๓ ซม. ยาว ๓.๔ ซม. และหนา ๔ ม.ม. โดยประมาณ


    [​IMG]







    ที่มา : หนังสือการประกวดพระเครื่องเมืองอ่างทอง
     
  7. benay

    benay เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +15,508
    [​IMG] [​IMG]

    แท้ดูง่าย แชมป์แบบช้ำๆครับสวยๆแพงมากไปเอาสภาพนี้พอครับ


    พระสมเด็จวัดไชโย “พิมพ์ใหญ่เจ็ดชั้น” (พิมพ์นิยม) พระสมเด็จวัดไชโยพิมพ์นี้เป็นพิมพ์ที่นิยมกันมากที่สุดในวงการทั่วไปมักจะเรียกพิมพ์นี้ว่า พิมพ์ใหญ่ , พิมพ์นิยม หรือ พิมพ์เอ ในบรรดาพระสมเด็จวัดไชโย พิมพ์เจ็ดชั้น พระพิมพ์นี้ถือว่ามีจำนวนมากที่สุด ผู้ที่มีไว้ในครอบครองจะหวงแหนและนิยมใช้กันมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย ทำให้พระพิมพ์นี้ชำรุดเสียหายมาก สนนราคาเช่าหาพระพิมพ์นี้มีค่านิยมตั้งแต่หลักแสนขึ้นไป ประสบการณ์สูงมากทั้งด้าน คงกระพัน แคล้วคลาด เมตตา และ โชคลาภ ชาวเมืองอ่างทองยังไม่เคยมีผู้ใดตายโหงในขณะที่มีพระสมเด็จวัดไชโยห้อยคอ นอกเสียจากมีของปลอมห้อยคอโดยไม่รู้ตัว ในอนาคต พระสมเด็จวัดไชโย พิมพ์นิยม นี้อาจจะมีราคาสูงกว่าสมเด็จบางขุนพรหม ทั้งกรุเก่าและกรุใหม่ เหตุผลก็คือ องค์สมเด็จพระพุฒาจารย์โต ยอดอัจฉริยะเกจิอาจารย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีความปรารถนาด้วยเจตนาบริสุทธิ์ที่ประสงค์สร้างพระสมเด็จวัดไชโยบรรจุไว้ในองค์หลวงพ่อโต เพื่อสืบทอดพระศาสนา อีกทั้งเพื่อมีไว้ให้อนุชนรุ่นหลังมีไว้บูชาป้องกันภยันตรายทั้งหลายทั้งปวงและตามประวัติความเป็นมายังกล่าวไว้อีกว่า พระสมเด็จวัดไชโย ได้เตรียมสร้างล่วงหน้าไว้ ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๔๐๔ ก่อนกำเนิด พระสมเด็จวัดระฆัง อีกด้วย สำหรับพระสมเด็จวัดใหม่อมตรส บางขุนพรหม นั้น “เสมียนตราด้วง” ได้เป็นผู้สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์โตเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และสมเด็จโตคงจำนำผงวิเศษมาด้วยส่วนหนึ่ง เนื่องจากการสร้างพระจำนวนมากในเวลาเดียวกัน มวลสารและผงวิเศษอาจจะไม่เพียงพอจึงทำให้สมเด็จวัดใหม่อมตรส บางขุนพรหม แก่ปูนฉริยะเกจิอาจารย์แห่งกรุงญ่ , พิมพ์นิยม หนขาวมากโดยเฉพาะ “พระกรุใหม่”
    พุทธลักษณะ เป็นพระปางนั่งสมาธิ บนฐานเจ็ดชั้น
    เกศ คล้ายปลีกล้วย หรือเปลวเพลิง ระดับการตั้งของเกศพระจะกินมาทางซ้ายของพระเศียรองค์พระ (ขวามือเรา) ตั้งเอียงไปทางขวาองค์พระ (ซ้ายมือเรา) เล็กน้อยถือเป็นจุดสำคัญ
    หู เป็นหูบายศรี บางองค์หูซ้ายสูงกว่าหูขวา บางองค์หูขวาสูงกว่าหูซ้าย จะถือความแน่นอนไม่ได้ อยู่ที่การกดพิมพ์
    แขน การวางแขน ช่วงล่างจะวาดโค้งกว่าช่วงบน
    ไหล่ จะตั้งพอประมาณ
    ข้อศอก ช่วงข้อศอกขวาขององค์พระ จะหักมุมกว่าข้อศอกซ้าย แต่บางองค์จะมนทั้งซ้ายและขวา
    ใบหน้า คล้ายผลมะตูม นูนกลมเล็ก (หน้าจะเล็กกว่าทุกพิมพ์)
    คอ จะเป็นลำติดกับใบหน้า คล้ายคนคอหอยพอก (ขออภัย) และจุดสำคัญในการพิจารณาลำคอคือ ลำคอจะตั้งไม่ตรง เอียงไปทางขวาเล็กน้อย (ซ้ายมือเรา) และลำคอส่วนบน จะมีความรู้สึกว่า ใหญ่กว่า ลำคอส่วนล่าง
    หน้าอก จะตั้งนูน ดูผึ่งผาย
    หน้าท้อง ส่วนหน้าท้องจะเป็นร่องจรดหน้าตักพอดี ลักษณะ คล้ายรากฟัน ถือเป็นจุดสำคัญอีกเช่นกัน ของปลอมจะมีลักษณะเส้นที่มองดูแล้วแข็งกระด้าง
    นั่ง การนั่ง แข้งและหัวเข่าตอนล่างเป็นเส้นตรง
    ฐานชั้นที่ ๑ เป็นฐานสำเภา นับชั้นในที่นี้นับจากบนสุด
    ฐานชั้นที่ ๒ , ๓ วางเป็นระเบียบ
    ฐานชั้นที่ ๔ จะแอ่นขึ้น ถือเป็นจุดสำคัญ
    ฐานชั้นที่ ๕ จะแอ่นลง ถือเป็นจุดสำคัญมากในการพิจารณา
    ฐานชั้นที่ ๖ วางเส้นปกติ
    ฐานชั้นที่ ๗ ปลายฐานทั้งสองข้างจรดขอบซุ้มพอดี โดยเฉพาะปลายฐานด้านซ้ายองค์พระ (ขวามือเรา) ปลายฐานจะเป็นคล้ายสลักเดือยชนเส้นกรอบซุ้ม (จุดนี้สำคัญมาก) ใต้ปลายฐานชั้นที่เจ็ด ด้านขวามือองค์พระ (ซ้ายมือเรา) จะมีเนื้อล้นค่อย ๆ ลาดกลืนไปกับพื้นพระ ทำให้บางองค์มองเห็นปลายเส้นซุ้มหนา เสมือนแกะแม่พิมพ์ไม่ตรงและฐานชั้นที่เจ็ดนี้ ส่วนใหญ่เส้นจะงอนขึ้นเล็กน้อย
    ซุ้ม เส้นซุ้มส่วนบนที่วาดโค้ง ทั้งซ้ายและขวาจะดูไม่สมดุลกัน และดูด้านขวามือของตัวเราจะมีระดับสูงกว่า
    กรอบกระจก จะอยู่ด้านนอกซุ้มอีกชั้นหนึ่ง เอกลักษณ์ของพระวัดไชโยทุก ๆ พิมพ์ทรง จะมีกรอบกระจกทุกองค์ สำหรับกรอบกระจกนี้ จะมีจุดที่ควรพิจารณาอยู่สองแห่งคือ กรอบกระจกส่วนบนที่เหนือซุ้ม (เส้นนอน) จะไม่เป็นเส้นตรง จะลาดลงมาทางซ้ายมือเราและมุมหรือปลายกรอบกระจกซ้ายมือเราจะเป็นลักษณะมุมแหลม หรือชายธง หรือหัวสระโอ (โ)
    เนื้อพระ พระสมเด็จวัดไชโย มีทั้งเนื้อละเอียด (มาก , ปานกลาง) และเนื้อหยาบ (มาก , ปานกลาง) ไม่ว่าจะเป็นชนิดเนื้อละเอียดหรือเนื้อหยาบ มวลสารต่าง ๆ ที่ปรากฏลอยตัวออกมาให้เห็นนั้น จะมีมวลสารมากกว่าพระสมเด็จบางขุนพรหม ลักษณะเป็นก้อนขาวเนื้อขาวขุ่นและขาวใส (วงการเรียกว่า เม็ดพระธาตุ) ซึ่งอาจจะเป็นเปลือกหอยหรือข้าวสุกตากแห้ง จุดดำ คล้ายงาดำ จุดแดง และ จุดสีน้ำตาลคล้ายเกสรดอกไม้ มีทั้งแตกลายงาและไม่แตกลายงา (พระสมเด็จวัดไชโย มิใช่จะมีการสร้างครั้งเดียวก็หาไม่ ดังนั้นเนื้อที่ถูกผสมเพื่อสร้างพระแต่ละครั้งนั้นจะไม่ค่อยเหมือนกัน ส่วนผสมของพระสมเด็จวัดไชโยนี้ สมเด็จโตท่านผสมเนื้อจากผงอิธะเจ ผงปถมัง ผงมหาราช ผงพุทธคุณ และผงตรีนิสิงเห ผงแผ่นใบลานเผาที่ท่านได้จารอักขระ ผงพุทธาคมต่าง ๆ ที่ได้เก็บสะสมไว้จากการเล่าเรียน รวมทั้งผลเกสรดอกไม้ร้อยแปด กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า น้ำมันจันทน์ และน้ำมันตังอิ้ว เป็นต้น)
    สีผิว พระสมเด็จวัดไชโยส่วนมากจะมีสีขาวอมเหลืองอ่อน และสีขาวอมเหลืองแก่ และบางองค์ใช้จัด ๆ จะออกสีน้ำตาล ถ้าหากนำไปล้างน้ำอุ่นจะเกิดคราบแป้งออกมานอกผิวพระ เข้าใจว่าเป็นรา ความเค็มของไอเหงื่อที่ความร้อนขับออกมาจากผิวภายใน
    ขนาด ขนาดความกว้างยาวของพระสมเด็จวัดไชโยพิมพ์ใหญ่นี้ หาความแน่นอนไม่ได้ มีทั้งชนิดตัดปีกกว้าง และตัดชิดขอบกระจก ชนิดตัดปีกกว้างจะมีขนาด ๒.๕ x ๓.๕ ซม. ชนิดตัดชิดขอบกระจกจะมีขนาด ๒.๓ x ๓.๔ ซม. ถ้าดูจากขอบกระจกแล้ว จะเห็นว่าไม่เล็กใหญ่ไปกว่ากัน สำหรับความหนาโดยประมาณ ๔-๕ ม.ม. โดยส่วนใหญ่แล้วชนิดตัดปีกกว้างจะมีความหนากว่าชนิดตัดชิดขอบกระจก

    [​IMG][​IMG]




    ที่มา : หนังสือการประกวดพระเครื่องเมืองอ่างทอง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0045.JPG
      IMG_0045.JPG
      ขนาดไฟล์:
      48.5 KB
      เปิดดู:
      1,345
    • IMG_0046.JPG
      IMG_0046.JPG
      ขนาดไฟล์:
      31 KB
      เปิดดู:
      1,301
  8. ชาวประมง

    ชาวประมง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    4,657
    ค่าพลัง:
    +22,538
    เล่นซะละเอียดเลย เสี่ยเบ็นชี้จุด อิอิ ขอบคุณมากที่นำเนื้อหาดีๆ มาให้อ่านครับ
     
  9. benay

    benay เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +15,508

    ข้อมูลมาจากหนังสือพระเครื่องเมืองอ่างทองเล่มสมบูรณ์ งานโรงเรียนตันติครับ อิอิ สมเด้จวัดเกษไชโยเป็นที่ไฝ่ฝันของผม และคนทั่วไปมานาน แต่ว่าหาคนที่ดูเป็นนั้นน้อยครับ ผมเองก้ไม่ได้ชำนาญอะไรมากเอาเป็นว่าพอได้ก้พอครับส่วนมากจะเน้นแบบดูง่ายๆ แบบแท้แน่นอน ผมก้พอเก็บไว้บ้างครับแต่สภาพแชมป์แบบ(ช้ำๆ)ก็พอเพราะสวยๆแพงมาก ขนาดช้ำๆจะหาแท้ๆสักองค์ยังยากส่วนมากในสนาม จะเก๊ 99 เปอร์เซน พระแบบนี้มีหลุดบ่อยๆในสนามพระ เพราะคนเป้นมีน้อย คนไม่เป็นส่องนานไม่กล้าตัดสินใจ พอคนเป้นเขาเห้นเข้าก็หมู เผลอๆเช่าแบบขอวัดดวงไม่แน่ใจว่าแท้หรือปล่าว เป็นซะอย่างนั้น 555 แต่รู้อยุ่แล้วว่าแท้แน่นนอน แต่ก้แกล้งโง่ไว้ก่อน ......สมเด็จวัดเกษไชโยแต่ชิ้นส่วนเศษเสี้ยวขอให้แท้ก็สุดยอดครับสำหรับผงสุดยอดทั้งหลายที่ผสมอยู่ในเนื้อ พุทะคุณนั้นไม่ได้อำนวยความร่มเย็นแต่เพียงอย่างเดียวนะครับ สมัยก่อนพระวัดเกาเชื่อถือกันมากด้าน คงกระพัน แคล้วคลาดเป็นยอด ขอให้แท้มีแต่เนื้อปล่าวๆไม่เห้นพิมพืเขายังห้อยกัน............ส่วนพระสมเด็จวัดเกษที่ผมเอามาโชว์ในกระทู้ทั้งภาพถ่ายและพระที่โชว์ ต้องเป็นพระแท้เท่านั้นครับ เพราะพระแท้จริงๆน่ะมี ไม่ใช่มีแต่ในนิทานครับ อิอิ เอาพระเก๊มาโชว์ จะเสียชื่อและจะเป้นการประจานตัวเอง ว่าอยู่วิเศษ เอาข้อมูลวัดเกษบ้านเกิดมาลง ลงแต่พระเก๊ อายเขาตาย...555 ไม่รู้จะเอาหน้าไปไว้ไหน เสียชื่อ เบ็นนี่ วัดมอญ หมด เอิ๊กๆๆๆๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤศจิกายน 2011
  10. JLB

    JLB เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    2,180
    ค่าพลัง:
    +8,079
    วันนี้สมเด็จมาเยอะเชียว
    เคยอ่านจากหนังสือเล่มไหนจำไม่ได้แล้ว
    มีคนว่า แขวนพระสมเด็จแล้วไม่เห็นเป็นอย่างที่เขาล่ำลือกันเรื่องพุทธคุณ
    มีผู้รู้บอกว่า พระเครื่องนั้นดีทุกองค์ และ ไม่มีวันเสื่อมเรื่องพุทธคุณ เพียงแต่หากจะบุชาให้เกิดผล จะต้องรู้จักการอารธนาด้วย
    เดี๋ยวหาเจอจะเอามาแชร์ครับ

    เอาของเก่ามาอวดอีกแล้ว อิอิ ก็มีกับเขาอยู่องค์เดียวนี่นา

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • EDC 1.JPG
      EDC 1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      370.8 KB
      เปิดดู:
      1,418
  11. benay

    benay เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +15,508

    จริงที่พี่โจบอกครับ ห้อยพระต้องศรัทธาครับ ห้อยโชว์ไปแบบเครื่องประดับ เป้นผมผมก้ไม่ช่วย 555 เห้นทีไรเสียดายทุกทีครับพี่โจ 55 ถ้ามีตังจะนิมนต์กลับครับ อิอิ เจ้าของจะยอมป่าว....เหอๆๆๆ
     
  12. JLB

    JLB เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    2,180
    ค่าพลัง:
    +8,079
    เดี๋ยวไปถามให้นะ อิอิ
    แต่ได้ข่าวว่า เขาหวง นะ
     
  13. benay

    benay เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +15,508

    5555.......ก็น่าหวงหรอกครับ ลองไปถามราคาสภาพนี้พร้อมตลับสิครับ เหอๆๆๆ ....................
     
  14. benay

    benay เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +15,508
    พระพิมพ์นี้เป็นพระที่ถือได้ว่ามีขนาดใหญ่ที่สุด แต่ลำตัวขององค์พระกลับสั้น จึงเป็นเหตุสมมติให้ชื่อพิมพ์ว่า “พิมพ์ต้อเจ็ดชั้น” เส้นพระเกศเล็กตั้งเอียงไปทางซ้าย พระพักตร์กลมรีแบบรูปไข่ หูบายศรีชิดพระพักตร์ เส้นลำคอเล็กและยาว ช่วงไหล่เกือบจะเป็นเส้นตรง วงแขนขวาหักศอกสูงกว่า วงแขนซ้ายเป็นเส้นลำหนา ส่วนลำแขนช่วงล่างต่อจากข้อศอกทั้งสองข้างกลับเป็นเส้นเล็กมาก ทำให้วงแขนพระพิมพ์นี้เหมือนกับพิมพ์ปรกโพธิ์เจ็ดชั้นมิผิดเพี้ยน และถ้าดูผิวเผินก็จะไปเหมือนพิมพ์ไหล่ตรงหกชั้นด้วย หัวเข่าและหน้าแข้งงอนขึ้นเล็กน้อยและเป็นเส้นหนาเท่ากันตลอด ฐานชั้นที่หนึ่งและฐานชั้นที่สองลายเส้นหนาระดับปานกลาง ฐานชั้นที่สามและฐานชั้นที่เจ็ดเส้นหนามากที่สุด ส่วนฐานชั้นที่สี่ ชั้นที่ห้าและชั้นที่หกลายเส้นเล็กที่สุด เป็นพระที่น่าใช้มาก

    ลักษณะเนื้อ เป็นพระเนื้อแกร่งจัด เนื้อออกขาวอมเหลืองแก่เปลือกหอย หรือข้าวสุกตากแห้งมาก มีจุดดำประปราย จะแตกลายงาที่ผิวเนื้อให้เห็น ความกว้าง ๒.๕ ซม. ยาว ๓.๗ ซม. และหนา ๔ ม.ม.


    [​IMG]

    ที่มา : หนังสือการประกวดพระเครื่องเมืองอ่างทอง







    [​IMG] [​IMG]




    เงินแท้พระต้องแท้สากลนิยม................

    องค์นี้ถุกนิมนต์ไปแล้วครับ เนื้อแกร่งดูง่ายสบายตา ..............
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤศจิกายน 2011
  15. ชาวประมง

    ชาวประมง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    4,657
    ค่าพลัง:
    +22,538

    พี่โจครับ ผมขอนิมนต์องค์นี้กลับบ้านครับ สวยจริงๆ เคยไปส่องที่เจ้าของเเล้วงามซึ้ง ตรึงใจครับ

    เสี่ยเบ็นครับแล้วสมเด็จวัดโพธิ์เกรียบละครับ เป็นไง
     
  16. JLB

    JLB เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    2,180
    ค่าพลัง:
    +8,079
    เอ ได้ข่าวว่า เจ้าของ หน้าตาดี มีชาติตระกูล ด้วยนะ
    อิอ
     
  17. benay

    benay เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +15,508

    วัดโพธิ์เกรียบนั้นผมเองไม่ค่อยได้ศึกษาเลยครับ................เล่นแบบนิยมสากลสบายใจกว่าครับ ได้เงินแน่นอน อิอิ.............
     
  18. benay

    benay เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +15,508
    [​IMG] [​IMG]


    เจ็ดชั้นหูปะบ่า องค์ล่าสุดครับ เช่ามาเมื่อวันจันทร์........ดูง่ายสบายตา ไม่มีหักซ่อม.......... อิอิ......แท้แบบสากล ครับผ๊มมม แบบนี้เช่าไปเก้บไว้ภายหลังลูกหลานไม่สาปแช่งตามมาแน่ครับว่าปูยาตายายเช่าพระเก๊ทมาเก้บเวลาเดือดร้อนเงินฉุกเฉินช่วยอะไรไม่ได้ 5555 แบบนี้เหลือเงินไว้ให้ลูกหลานใช้แน่นอนครับ ........
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤศจิกายน 2011
  19. เมืองสมุทร

    เมืองสมุทร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    907
    ค่าพลัง:
    +5,767
    สวยๆ ทั้งนั้น เลยนะครับ ขอลงพระเครื่องเมืองวิเศษฯ ด้วยอีกองค์หนึ่งครับ

    ของรุ่นเก่าๆ ผมไม่ค่อยมีครับ

    [​IMG]
    [​IMG]

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_25899.jpg
      IMG_25899.jpg
      ขนาดไฟล์:
      196.4 KB
      เปิดดู:
      974
    • IMG_25979.jpg
      IMG_25979.jpg
      ขนาดไฟล์:
      160.2 KB
      เปิดดู:
      941
  20. benay

    benay เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    12,218
    ค่าพลัง:
    +15,508

    แหม......ป๋าก่อ ลงมาที ผมแทบหลบเลย 5555 ผมยังมีสวยไม่เท่านี้เลยครับ ยอมๆ... สวยจริงแฮะ เอาที่เหลือในถาด มาโชวือีกสิครับ เหอๆๆๆๆ พี่ๆในเวปนี้มีพระสายอ่างทองกันคนละไม่ใช่น้อย ผมรู้...555 แต่ไม่เน้นโชว์ เน้รเก็บเงียบแบบซุ่มเก็บ.......หน้าเวปเลยเงียบๆแต่หลังเวปครึกครื้นน่าดู เอิ๊กๆๆๆๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...