นี่ ๆ เหล่านักปฏิบัติ จ๋าาา ช่วยวิสัชนา ตอบ นู๋บี ทีซิ ว่า ขรัวตาจะตีไหมค้าาาาาาาา ?

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย 5th-Lotus, 20 ตุลาคม 2009.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ Jaturongktpm [​IMG]
    คนเรามีปัญญาบารมีไม่เท่ากัน มีกรรมพัวพันกับศาสนธรรมเพียงเล็กน้อย รากแห่งความเชื่อและความศรัทธา
    ยังหยั่งไม่ลึกพอ พื้นฐานของจิตสันดานยังอยู่ในระดับต่ำ ถึงแม้จะได้พบศาสนธรรมก็ไม่ยอมศึกษาและปฏิบัติอย่างง่ายๆ
    แม้ว่าจะได้ฟังธรรมด้วยกันแต่ก็เกิดความลังเลสงสัยไม่ยอมเชื่อ อันเป็นอุปสรรคขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี
    ต้องจมอยู่ในกองทุกข์ต่อไป ชาติแล้วชาติเล่า เวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และจะพบแต่ความทุกข์ทรมาน
    ตลอดไป
    บูชาคนพาลร้อยคน สู้บูชาคนดีเพียงคนเดียวไม่ได้
    บูชาคนดีพันคน สู้บูชาคนที่รักษาศีลห้าเพียงคนเดียวไม่ได้
    บูชาคนที่รักษาศีลห้าหมื่นคน สู้บูชาพระอริยบุคคลผู้สำเร็จเป็นโสดาบันเพียงคนเดียวไม่ได้
    บูชาพระโสดาบันหนึ่งล้านคน สู้บูชาพระสกิทาคามีคนเดียวไม่ได้
    บูชาพระสกิทาคามีสิบล้านคน สู้บูชาพระอนาคามีคนเดียวไม่ได้
    บูชาพระอนาคามีร้อยล้านคน สู้บูชาพระอรหันต์เพียงองค์เดียวไม่ได้
    บูชาพระอรหันต์พันล้านองค์ สู้บูชาพระปัจเจกพุทธเจ้าเพียงองค์เดียวไม่ได้
    บูชาพระปัจเจกพุทธเจ้าหมื่นล้านองค์ สู้บูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงองค์เดียวไม่ได้
    บูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสนล้านองค์ สู้การปฏิบัติธรรมเพื่อลดละกิเลสของตนเองให้เบาบางลงไม่ได้

    คนเราจะประเสริฐได้อยู่ที่การอบรมจิต การไหว้พระไหว้เจ้านั้น ทำให้จิตของเราเป็นกุศลมุ่งกระทำความดีก็ใช้ได้
    แต่ถ้ามีสติรู้จักพิจารณาตนเองอยู่เป็นเนืองนิตย์แล้ว จิตย่อมจะหลุดพ้นไม่ต้องเกาะเกี่ยวยึดมั่นสิ่งใดก็ยังได้
    ชีวิตของคนเรามิใช่เอาแต่ดิ้นรนขนขวายเพื่อหาเงินหาทอง มีอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัยดีๆ
    เพื่อความสมบูรณ์พูนสุขของตนเองและครอบครัวเท่านั้น
    เพราะการแสวงหาความสุขอย่างนี้ เป็นการเพิ่มพูนกิเลสตัณหาให้แก่ตนเองมากขึ้น และทำให้ต้องสูญเสีย
    พลังจิตและพลังกายไปเปล่าๆ

    http://palungjit.org/threads/ผมไม่เคยดูถูกศาสนาพุทธ.192854/page-4
     
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    แด่มรรคาแห่งพุทธะ และ ความรักแห่งพระผู้เป็นเจ้า


    คริสต์ เน้นใช้ประตูศรัทธา เข้าหาความดีงาม
    เพียงแค่ใจเปิด คลื่นความถี่ตรงกับสิ่งนั้น
    ความดีงาม จิตวิญญาณแห่งคริสต์ พระเจ้า
    จะไหลเข้าหาตัว ในเมื่อ พุทธมันแตกสาย
    แตกนิกาย ครูอาจารย์ย่อย ๆ

    คริสต์ก็เช่นกัน แตกไปอีกเป็นร้อย ๆ
    ตามการตีความพระคัมภีร์ การนำพระคัมภีร์มารับใช้มวลมนุษย์
    รับใช้พวก รับใช้การเมือง รับใช้ลิทธิล่าอาณานิคมเรือเหล็กปืนไฟ
    สอดไส้ การฮุบดินแดน มีทั้งถูกผิด ดีชั่ว มากน้อย แตกต่างกันไป
    ตามศรัทธา นานาจริตแห่งสาวก

    คริสต์ ท่านเน้น มรรคาแห่งความรัก การให้ เมตตา
    เมตตาที่ยิ่งใหญ่ในยุคสมัยนี้ ของทางคริสต์ อะไรจะยิ่งใหญ่เกิน
    มรรคาแห่งแม่ชีเทเรซ่าได้ การให้โดยไม่หวังให้ใครมาเข้ารีต
    ให้โดยไม่สดสอดไส้คาราเมล หวานซ่อนเปรี้ยว มีวาระแอบแฝง
    ความรักแห่งพระเจ้า การให้ การเสียสละแห่งพระเยซู
    มันยิ่งใหญ่ ความรักแห่งพระเจ้า พระคริสต์

    คือ การให้ที่ไม่บังคับ ศรัทธาใคร ๆ หรือ มีอุบายแฝงเร้น
    แม้เขาไม่นับถือศาสนาเรา ไม่เข้ารีต ไม่เป็นไร ใจก็ยังจะให้อยู่

    การให้แห่งดวงตะวัน จันทรา ขุนเขาคีรี ฟากฟ้า เมฆา สายน้ำ
    การให้แบบธรรมชาติ ยิ่งใหญ่ ไม่มีอะไรแอบแฝง

    คือ ความรักแห่งพระเจ้า การให้แบบจิตใหญ่ เขาเป็นแบบนั้น

    ยังให้ ยังรัก ยังเมตตา ปรารถนาดี ต่อ มวลมนุษย์
    แม้ร่างของเรา จะถูกตรึงกางเขน ถูกคมหอกดาบ ศาสตราอาวุธ
    ถูกทรมาณนานา ใจเราก็ยังเปี่ยมรัก เมตตา มิคลาย

    ให้แม้อีกฝ่าย จะ ยื่นคมหอก คมดาบ
    เรายื่นดอกไม้ ท่านจะตอบกลับ ด้วยหอกดาบ
    เราก็ยังจะให้ต่อไป

    หวังว่าซักวัน

    ศาสตราในใจท่าน จะกลายเป็นดอกไม้
    และ ดอกไม้จะเบ่งบานไปทั่วโลก


    จิตแห่งพระเจ้า มันใหญ่แบบนั้น นี่คือ มุมมองของผม

    ผมถามพระเจ้าว่า ท่านจะคับแคบโปรดเฉพาะ
    คนที่เข้ารีตคริสต์หรือ นอกนั้น ถีบหัวส่งเลย

    จิตพระเจ้า จะคับแคบแค่นั้นหรือ

    พระคัมภีร์ พระธรรม ตัวอักษร มันดิ้นได้
    ตีความความได้มากหลาย มีนัยยะ เป็นชั้น ๆ
    ขึ้นอยู่กับภูมิธรรม ภูมิจิต ในตัวท่านเองแหละ

    แม่ชีเทเรซ่า ท่านบอกว่า
    มองเห็นพระเจ้า ใน คนยากไร้ มองเห็นพระเจ้าในตัวเราทุกคน

    เมื่อแมชี เอาตัวท่านไป ลงคลุกคลี กับ ความทุกข์ยาก
    ท่านจึงเห็นพระเจ้า พบพระเจ้า

    พระเจ้าภายใน ยิ่งใหญ่ กว่าภายนอก
    ความดีงาม ความเมตตา อันเป็นสากลนั่นไงเล่า

    ยุคมืดแห่งยุโรป ศาสนาจักรหลาย ๆ ครั้งที่ผิด
    อ้างพระเจ้า บนเลือดเนื้อ ซากศพของคนที่ไม่ศรัทธา
    จิตวิญญาณแห่งพระเจ้า ท่านมองเห็่นความทุกข์ทรมาณ
    ของคนนอกศาสนา แล้วถีบหัวส่งว่ามันเป็น ซาตาน
    ถ้า ไม่เชื่อ ก็โดน ฆ่า โดนโทษทัณฑ์แห่งพระเจ้า

    มันคือ ทัณฑ์แห่งพระเจ้า หรือ ทัณฑ์แห่งบาทหลวงบางองค์

    พระเจ้าดีใจ หรือ ร่ำไห้ ถามจริง ๆ นะ

    เมื่อเห็นสงครามระหว่างคริสต์โปรแตสแต้น กับ คริสต์โรมันแคทอลิก
    ในยุโรปยุคหนึ่งก่อนเกิดประเทศอเมริกา
    สงครามครูเสด อ้างพระเจ้า แล้วนำคนไป ห้ำหั่นกัน และ
    ความย่อยยับแห่งอารยธรรมชาวอินคา มายา แอซแตก
    ที่ บาทหลวงเสปน บางองค์
    เอาศรัทธาของพวกตัว ไปเหยียบย่ำ ศรัทธาคนอื่น
    จนอารยธรรมอันงดงามล้ำค่า ของอินเดียนแดงล่มสลาย

    มือหนึ่งถือกางเขน แล้วเอาอีกเท้าหนึ่งไปเหยียบหัวคนอื่น
    มือหนึ่งถือพระพุทธ แล้วเอาอีกเท้าหนึ่งไปเหยียบหัวคนอื่น

    มันไม่ต่างกันหรอก


    การตีความ นำศาสนา มารับใช้
    การเมือง รับใช้ซาตาน มารแอ๊บแบ้ว

    พระเจ้า จิตวิญญาณอันสูงส่ง มันไม่คับแคบแบบนั้นเลย

    เมื่อ พระธรรม พระวจนะ พระคัมภีร์ อันแสนร่มเย็น
    กลายเป็น เพลิงไฟอันเผาผลาญ ศรัทธาอันงดงามของคนอื่นเขา


    เมื่อ สิ่งที่งดงาม สูงส่ง ถูก ใช้โดย มนุษย์ผู้เต็มไปด้วยบาป 7 ประการ
    หรือ กิเลสพันห้า ตัณหาร้อยแปด แล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น



    ทุบคำว่า นิกาย ศาสนาทิ้ง แล้ว จงใช้จิตวิญญาณมองมัน


    จบแล้ว โหยยยย ของขึ้น ผมเขียนได้อีกเพียบ แต่พอก่อนนะ



    จาก ทรราชตัวน้อย ที่ป้าบัวแกบอก ฮ่าๆๆๆๆๆๆ

    นึกถึง หนังสือ ขบถฟันน้ำนม ของพี่จุ้ย ศุบุญเลี้ยงเลย ฮิ ๆๆๆๆๆ

    โดย: มดเอ๊ก( ทรราชตัวน้อย ) วันที่: 5 กรกฎาคม 2553 เวลา:7:52:56 น.
     
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ผมไปคุ้ย ๆๆๆๆ ในคอมเจอข้อเขียนเก่า ๆ อารมณ์แปลก ๆ
    แบบว่าของขึ้นคือ มีคนเขาเอาพระพุทธเจ้า ไปบูชายัญ
    ในเว็บ ต่างศาสนาผมอยากเข้าไปลุยแต่ไม่มีเวลา
    จึงได้เขียน พล่าม ๆๆๆๆๆๆ บ่น ๆๆๆๆๆ
    ในห้องกระโถนท้องพระโรง น่ะ ปีกว่า ๆ มาแล้ว

    กะว่าจะห้ามศึก ระหว่างศาสนาแต่ กลัวตัวเอง ว่ะ
    เรานะ พวกนิสัยมารชอบท้าตีท้าต่อย เหมือนกันนะ
    นิสัยเก่า รังสีพิฆาต ยังไม่จางเลย
    เลยไปไม่ไปโพส ในเว็บ นั้นฮิ ๆๆๆๆๆ

    เชิญบริโภคถ้อยคำแปลกๆ จากใจดิบ ๆแห่งข้าได้

    ------------------------------------------------------

    เพื่อสันติภาพโลก


    พระวัชราจารย์ชาวธิเบต พบสหายธรรม
    เป็น พระวิปัสสนาจารย์ มหาเถระชาวพม่า
    ท่านทั้งสองสทนาธรรมกันสักพัก พระธิเบต
    แปลกใจพร้อมถามว่า
    ท่านไปเรียนเองเรื่องเหล่านี้มาจากธิเบต
    ตั้งแต่เมื่อไหร่
    โดยเฉพาะ เรื่อง ฝึกสมาธิ มหาสติปัฏฐาน
    ธิเบตกับพม่า ล้วนมีหลักการ
    แนวทาง เดียวกันจนน่าประหลาดใจ


    พระอาจารย์ชาวไทย มีเพื่อนเป็น พระลามะชาวภูฐาน
    พระชาวไทยท่านเล่าให้ฟังว่า
    เพื่อนของท่านเอาหลักปฏิบัติ ฝึกสมาธิของเซน
    ไปฝึกในถ้ำน้ำแข็งแดนหิมาลัย ปฏิบัติมาหลายสิบปี
    พอละร่างไป ร่างท่านก็ไม่เน่าไม่เปื่อย
    พุทธธรรมจริง ๆ แล้ว ไม่แบ่งนิกาย เ
    ซนจะยืมเทคนิก จากธิเบต ธิเบตจะยืมเทคนิกจากเซน
    จากเถรวาท จากสุขาวดี จากนิจิเร็น
    ก็ตามจริตนิสัย อัธยาสัย ความชอบ ของตัวเถิด
    พระเถระบางสำนักปฏิบัติ ทั้งเซนควบสุขาวดี
    ไม่เห็นจะมีปัญหาอะไร




    ท่านสัตยาโคเอ็นก้า
    ท่านมีลูกศิษย์เป็น ชาวคริสต์ ฮินดู พราหมณ์
    อิสลามก็เยอะ ท่านกล่าวเสมอว่า
    ไม่จำเป็นที่ศิษย์ท่านต้องเปลี่ยนศาสนา
    เพราะหลักเจริญสติ เป็นของสากล เ
    ป็นของธรรมชาติ เป็นสมบัติของโลก
    ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ
    เวลาว่างเธอก็ปฏิบัติเถิด




    ลูกศิษย์หลวงองค์ปู่ติช นัท ฮันห์
    ถามด้วยความกังวลว่า เธอชอบ
    หลักการปฏิบัติเซนของ หมู่บ้านพลัมมาก
    แต่เธอไม่ใช่ชาวพุทธ
    เธอจะต้องเปลี่ยนศาสนาใหม
    องค์หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ บอกว่า
    เธอไม่ต้องเปลี่ยนสิ่งที่เธอนับถือดอก
    ปฏิบัติศาสนธรรมของเธอไป
    ไม่ว่าเธอจะเดินเข้าโบสถ์ ตีระฆัง ล้างจาน
    ทำสิ่งต่างๆ ในชีวิต
    ประจำวันของเธอไป แต่ขออย่างเดียว
    เธอจงทำอย่างมีสติ
    องค์หลวงปู่ ติช นัท ฮันห์
    ท่านยังเคยเข้าไปรับมิสซา ที่โบสถ์คริสต์
    เลย ลูกศิษย์ต่างศาสนาของท่านก็เยอะ



    มีคนถาม หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ ว่า
    ถ้าให้เลือกระหว่างคำว่า
    พุทธศาสนา กันสันติภาพโลก
    ท่านจะเลือกอะไร หลวงปู่
    ตอบทันทีว่า ท่านเลือกสันติภาพ
    ตราบใดที่มีคำว่าศาสนากางกั้น
    จะเกิดการรบพุ่งไม่เข้าใจระหว่างศาสนา
    แล้วคำว่าศาสนาจะมีดีอะไร
    ถือศาสนาแต่ไร้เมตตา ความรัก
    ไร้ความนับถือ ยกย่องกัน
    อย่ามีเลยดีกว่า
    มีศาสนาแต่ไร้สันติภาพ
    ท่านเลยเลือก ไร้ศาสนา
    แต่มีสันติภาพ ความรัก ความเมตตา ดีกว่า




    คนไร้ศาสนา เราจะมองด้วยความคิดเก่า ๆ ว่า
    พวกนี้เป็น พวกปทปรมะ พวกบัวใต้น้ำ บัวเต่าถุย
    ห่างไกลทางธรรม แต่ท่านทะไลลามะ
    กลับบอกว่า โปรดจงอย่าทิ้ง คนไร้ศาสนา
    แต่ สนใจทางจิตวิญญาณเลย
    ยิ่งต้องช่วยเหลือ ตามจริตนิสัยเขา



    ความรักแห่งพระคริสต์ คือ โพธิจิตแห่งพุทธะ
    เมตตาของพระแม่มารี คือ เมตตาของเจ้าแม่กวนอิม
    เมตตาของพระแม่อุมาเทวี คือ เมตตาของพระนางตาราธิเบต


    นักบุญซึ่งเป็นแม่ชีเทซ่า กับ พระโพธิสัตว์ฉือจี้
    หลักเมตตาแห่งพุทธะฉือจี้แห่งใต้หวัน กับ หลักเมตตาของแม่ชี
    เทเรซ่า ล้วนไม่ต่างกันเลย
    ภาษาเมตตา กรุณา เป็นภาษาสากล

    แม้แต่ เดรัจฉาน ยัน มหาโจร ก็ยังรักลูก เมตตาลูกเลย


    จิตสาธารณะ จิตเมตตากรุณา
    จิตแห่งความดีงาม เป็นของโลก
    ของทุกนิกายสายธรรม


    เมล็ดธรรมของศาสดาใด
    เมื่อเติบใหญ่ ร่มใบล้วนให้ความร่มเย็น



    รักเหมือนพระองค์ทรงรัก
    ช่วยเหมือนพระองค์ทรงช่วย
    ให้เหมือนพระองค์ทรงให้
    รับใช้เหมือนกับพระองค์ทรงรับใช้
    กอบกู้เหมือนพระองค์ทรงกอบกู้
    อยู่กับพระองค์ ๒๔ ชั่วโมง
    สัมผัสพระองค์ในยามที่พระองค์จำแลงกายอยู่ในสภาพที่น่ารังเกียจ


    ชาวคริสต์ ก็ควรเห็นว่า พระเจ้าจำแลงกายในสภาพชาวพุทธ
    ชาวพุทธ ก็ควรเห็นว่า พระโพธิสัตว์จำแลงกายในสภาพชาวคริสต์
    เห็นพระเจ้าสถิตอยู่ในใจกันและกัน
    เห็นพระพุทธะสถิตอยู่ในใจกันและกัน
    เราควรให้ความรัก ความเมตตา แสวงมรรคาร่วมกัน
    นับถือกันเป็นเพื่อนทางจิตวิญญาณ




    แม่ชีเทเรซ่า ใช้หลักแห่งความรัก
    ความเมตตาของพระคริสต์ช่วย
    เหลือผู้ยากไร้ ในอินเดีย
    เป็นต้นแบบ ให้ นักบุญ และชาวพุทธจำนวน
    ไม่น้อย เมื่อพูดถึงเมตตาของแม่ชีเทเรซ่า
    เราชาวพุทธต่างก็ให้ความ
    ชื่นชม และเห็นเป็นแบบอย่าง
    เมื่อพูดถึงความรักความเมตตาแล้ว
    คำว่าศาสนาจะหายไป โลกทั้งผองคือพี่น้องกัน




    เราทั้งหมดคือลูกของพระคริสต์
    ลูกของพระพุทธะ พระอัลเลาะห์
    พระตรีมูรติ ในเวลาเดียวกัน
    ผมเชื่อเหลือเกิน ว่าบนสวรรค์ชั้นฟ้า
    เขาไม่แบ่งแยกกันหรอก
    แต่มนุษย์ เรามันบ้าจัด อ่อนหัดทางจิตวิญญาณ
    แบ่งแยกกันเอง ใช้คำว่าศาสนา ต่างลัทธิ
    ต่างนิกายเข้าทำร้ายโจมตีกันอย่าง
    อิสราเอล กับ ปาเลสไตน์
    ใช้คำว่า ศาสนาบังหน้า อ้างลัทธิการเมือง
    เชื้อชาติเข้าประหัตประหาร ห้ำหั่นกัน
    จะพุทธ จะคริสต์ จะยิว จะอิสลาม
    เห็นแล้วก็สลดใจ




    คุณจะเอาศาสนธรรมไปรับใช้ผองชน
    หรือเอามาบังหน้า
    รับใช้ทิฐิมานะแห่งตน
    ถึงแม้คุณประกาศตัวว่า นักปฏิบัติ เก่ง
    ผ่านครูบาอาจารย์ ผ่านการศึกษามาเยอะ
    แต่ถ้าเข้าไม่ถึงหัวใจ
    ของศาสดาตัว ความมืดบังตา อวิชชาบังจิต
    แล้วใช้ปากเน่า ๆ
    อมคัมภีร์ อมพระพุทธ อมธรรมะ อมพระเจ้า อมความดี
    มาพ่นใส่คนอื่น
    ภาษาธรรมสวยงาม แต่ กลิ่นมันเหม็นคาวฉาวโฉ่
    ฟุ้งไปทั่ว ไม่รู้ตัวเลย
    หากจิตคุณไม่ดี เจตนาคุณไม่ดี
    คุณไร้ความรัก ไร้เมตตา ไร้การให้อภัย
    หัวใจเคลือบด้วยทิฐิมานะ
    การเอาชนะคะคานกัน โลกมันถึงได้รุ่มร้อน
    จนทุกวันนี้ ไงครับ



    ถ้าคุณไม่เข้าถึงหัวใจแห่งศาสนาตัว
    มันก็ตีกัน ทะเลาะกัน 24 ชั่วโมง
    ถ้าคุณเข้าถึงแล้ว ไม่มีทางใช้ความรุนแรงหรอก
    ศาสดาองค์ใหนล่ะ
    ที่สอนให้ คนฆ่ากัน ทำร้าย ดูถูกกัน
    บ่มเพาะ ปลูกฝังความโกรธเกลียดชังในใจศาสนิกของตน
    บิดเบือน ตีความศาสนาเข้าข้างกลุ่มตัว พวกตัวเอง
    แล้วถล่ม ถ่มถุย ทำลายล้างชาวบ้าน คนต่างสายธรรมตัว
    เราไม่เห็นด้วย


    แม้แต่ชาวพุทธต่างนิกาย
    ต่างครูบาอาจารย์ ก็ควรสังวรระวังด้วย
    พุทธ พิฆาต พุทธ
    ใครต่างจากตัว ก็ จับมาบูชายัญซะ
    เกิดความแตกแยก
    พุทธด้วยกันเองตัวดีเลยครับ ฟังด้วยนะ



    ชาวอิสลามโรงฮิงยา เป็นชาวอิสลามกลุ่มน้อยในพม่า
    บ้านเขาอยู่ไม่ได้ อยู่ไปก็ตายเปล่า
    คนที่อ้างว่าตัวเป็นชาวพุทธสวมเครื่องแบบทหาร
    ไล่เข่นฆ่า ข่มเหงบีฑา เขา
    คุณเป็นพุทธแต่ไร้ความเมตตา ไร้มนุษยธรรม
    ใช้ศาสนาบังหน้า จงเกลียดจงชังคนอื่นเขา
    คุณน่ะพุทธของเทียม


    ใครที่อ้างคำว่า ศาสนา นิกาย อาจารย์ มาบังหน้า
    แล้ว ทำร้าย ทำลาย ดูถูก ข่มเหง ย่ำยีคนอื่นเขา
    คุณมันของเก๊ พุทธเก๊ คริสต์เก๊ อิลามเก๊ ยูดายเก๊
    อ่อนหัดทางศาสนธรรม ไม่เข้าถึงจิตวิญญาณแห่งศาสดาตน
    ศาสดาอาจารย์ ของท่านจ้องมองดูโลก
    ดูพฤติกรรมแล้ว ต้องถอนหายใจ ร้องไห้ เสียใจ แน่
    สู้ อุตส่าทนลำบากลงมาเกิด เผยแพร่ศาสนา
    หวังให้มนุษย์มีความรักดี มีศีลธรรม
    แต่ทำไมยุคนี้ถึง ยังมืดบอด
    เต็มไปด้วยความขัดแย้ง กลิ่นคาวเลือด
    แทนที่จะเข้าถึงพระเจ้า พระนิพพาน
    สิ่งดีงามของศาสดาอาจารย์ตัว แต่กลับ
    ยกขโยง พากันลงนรก
    จำไว้นะ มนุษย์ผู้โง่เขลาทั้งหลายเอ๋ย



    ท่านจะโดน แดนพุทธะ
    แดนแห่งพระผู้เป็นเจ้า สวรรค์ชั้นฟ้า แดนสุขาวดี
    ตราหน้าเอาว่า เป็นตัวอุบาทว์ทางศาสธรรม
    เป็นสาวก ของ ผีห่า ซาตาน พระยามาร ลูซิเฟอร์
    ไม่ใช่ลูกของพระเจ้า ไม่ใช่ลูกของพระคริสต์ ไม่ใช่
    ลูกของพระพุทธะ และศาสดา องค์ใด เลย
    โปรดจงสังวรไว้ด้วย



    ทุบกำแพงคำว่า นิกาย ศาสนา ไปได้เลย
    คำว่านิกาย ยี่ห้อ เป็นเพียง
    เสื้อผ้า มองให้ลึกแล้ว หลายๆ เรื่องเป็นเรื่องเดียวกัน
    หลักเมตตา มหาสติ
    ความดีงาม เป็นเรื่องสากล
    เป็นเรื่องสาธารณะ ทุกนิกายสายธรรม มี


    จากดวงใจที่ไร้ศาสนา ข้าขอถือเอาความดีงามเป็นสิ่งสูงสุด

    - จิตคารวะ รักนะ จุ๊บ จุ๊บ -

    โดย: มดเอ๊ก( ขบถฟันน้ำนม ) วันที่: 5 กรกฎาคม 2553 เวลา:8:14:40 น.
     
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    " มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
    ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
    ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

    มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
    ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

    เกอเธ่...


    -------------------------------------------
    สโลแกน เท่ ๆ ตั้งแต่ ครั้งอยู่ พลังจิต บัดนี้
    อกาลิโกหายไป เว็บใหม่มาแล้ว จากเว็บสุขใจ

    ล่าสุด น้องใหม่ เทรนมากับมือ ตั้งเว้บ
    ใต้ร่มธรรมแล้ว จ้า

    ไปช่วยน้องมันหน่อย แม้เพียงอักษร คำพูด มันมีค่านะ


    เต็มที่เลยน้องบอล ตัดคำว่า เว็บสำรองทิ้งไปเลย

    โดย: มดเอ๊ก วันที่: 5 กรกฎาคม 2553 เวลา:8:35:51 น.
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ chopper1972 [​IMG]
    แอบวนมาดูเห็นลูกศฺิษย์หลวงพ่อพระราชพรหมยานเยอะ ก็อดไม่ได้ที่จะมาโพสต์...

    หลวงพ่อท่านสอนว่าอย่าไปสนใจในจริยาของคนอื่น เรื่องถูกโจมตีนี่ ท่านโดนมาตั้งแต่หลายๆคนในกระทู้นี้ยังไม่เกิดด้วยซ้ำไป ผมก็เลยนำข้อความที่หลวงพ่อเคยสอนไว้บางช่วงบางตอนมาให้ลองอ่านกันดูนะครับ

    "ถ้าเราปฏิบัติกรรมฐานนี่ ไอ้ที่ปฏิบัติกันไม่ได้นี่มันเลอะเทอะส่งเดชน่ะ ไอ้ที่มันบ้าๆบอๆ บางที่ก็เมาสมาธิ เมานั่งใช่ไหม เมาภาวนา ของกูภาวนาว่าอย่างนี้ดีกว่าของมึงอ่ะ ใช่ไหมๆ กูนั่ง ได้นานกว่าของมึง มึงนั่งได้น้อยกว่ากู ก็เมาภาวนา เมานั่ง ตายตกนรกแหงแก๋ แล้วถ้าเราเมาแบบนั้น สำนักเราดีกว่าสำนักโน้น สำนักโน้นเลวกว่าทางนี้ ตกนรกกิเลสมันท่วมหัว มีมานะทิฏฐิ ไอ้สำนักน่ะมันดีเท่ากันหมด สำนักนี่เขาสร้างด้วยไม้ ด้วยอิฐ ด้วยปูน แข็งใช่ไหม นั่งได้นอนได้ เยี่ยวได้ ขี้ได้ ใช้ได้ มันเหมือนกันแหละ เหมือนกันไหม เออ
    แต่ว่าไอ้คนในสำนักนี่ มันดีหรือระยำ สมมติว่าเวลานี้ เราไปพบพระพุทธเจ้า แล้วเราก็นั่งให้พระพุทธเจ้าท่านสอน แต่เราไม่ปฏิบัติดีเลย เราจะดีได้ไหม ได้ไหมได้อย่าง พระเทวทัต ท่านดีกว่าพวกเราตั้งเยอะ ลงอเวจีไปแล้ว นี่ดีหรือไม่ดี มันอยู่ที่เราต่างหาก สำนักทุกสำนักเขาดี สำนักนะ แต่ไอ้คนในสำนักที่ดียังไม่มี ฮึ"

    ที่มา: รวมคำสอนธรรมปฏิบัติของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน เล่ม 16 หน้า 279 พิมพ์ มี.ค.2544

    http://palungjit.org/threads/พุทธอิสระ-พระรูปนี้คือใคร.245587/page-4

    ปล.ไปอ่านเจอแล้วชอบ อิอิ
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    สุริยสูตร (วัฐจักรที่โลกต้องถูกไฟทำลายด้วยดวงอาทิตย์ 7 ดวง)

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 214

    [๖๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อัมพ-
    ปาลีวัน ใกล้พระนครเวสาลี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
    เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
    พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
    ทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็น
    กำหนด ควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขาร
    ทั้งปวง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขุนเขาสิเนรุ โดยยาว ๘๔,๐๐๐
    โยชน์ โดยกว้าง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ หยั่งลงในมหาสมุทร ๘๔,๐๐๐
    โยชน์ สูงจากมหาสมุทรขึ้นไป ๘๔,๐๐๐ โยชน์ มีกาลบางคราว
    ที่ฝนไม่ตกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี เมื่อฝน
    ไม่ตก พืชคาม ภูตคามและติณชาติที่ใช้เข้ายา ป่าไม้ใหญ่ ย่อมเฉา
    เหี่ยวแห้ง เป็นอยู่ไม่ได้ ฉันใด สังขารก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง
    ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็นกำหนด ควรเบื่อหน่าย ควรคลาย
    กำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไป
    แห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๒ ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์
    ดวงที่ ๒ ปรากฏ แม่น้ำลำคลองทั้งหมด ย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ
    ฉันใด สังขารก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง... ควรหลุดพ้น.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วง
    ไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๓ ปรากฏ เพราะอาทิตย์ดวง

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 215

    ที่ ๓ ปรากฏ แม่น้ำสายใหญ่ ๆ คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี
    สรภู มหี ทั้งหมดย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง... ควรหลุดพ้น.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไป
    แห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๔ ปรากฏ เพราะอาทิตย์ดวงที่ ๔
    ปรากฏ แม่น้ำสายใหญ่ ๆ ที่ไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำใหญ่ คือ
    แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ทั้งหมดย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ
    ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพ
    ไม่เที่ยง... ควรหลุดพ้น.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไป
    แห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ เพราะอาทิตย์ดวงที่ ๕
    ปรากฏ น้ำในมหาสมุทรลึก ๑๐๐ โยชน์ก็ดี ๒๐๐ โยชน์ก็ดี ๓๐๐
    โยชน์ก็ดี ๔๐๐ โยชน์ก็ดี ๕๐๐ โยชน์ก็ดี ๖๐๐ โยชน์ก็ดี ๗๐๐
    โยชน์ก็ดี ย่อมงวดลงเหลืออยู่เพียง ๗ ชั่วต้นตาลก็มี ชั่วต้นตาล
    ก็มี ๕ ชั่วต้นตาลก็มี ๔ ชั่วต้นตาลก็มี ๓ ชั่วต้นตาลก็มี ๒ ชั่ว
    เพียงเอว เพียงเข่า เพียงแต่ข้อเท้า เพียงในรอยเท้าโค ดูก่อนภิกษุ
    ทั้งหลาย น้ำในมหาสมุทรยังเหลืออยู่เพียงในรอยเท้าโคในที่นั้น ๆ
    เปรียบเหมือนในฤดูแล้ง เมื่อฝนเมล็ดใหญ่ ๆ ตกลงมา น้ำเหลืออยู่
    ในรอยเท้าโคในที่นั้น ๆ ฉะนั้น เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ
    เปรียบเหมือนในฤดูแล้ง เมื่อฝนเมล็ดใหญ่ ๆ ตกลงมา น้ำเหลืออยู่
    ในรอยเท้าโคในที่นั้น ๆ ฉะนั้น เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 216

    น้ำในมหาสมุทรแม้เพียงข้อนิ้วก็ไม่มี ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง... ควรหลุดพ้น.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไป
    แห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ปรากฏ เพราะอาทิตย์ดวงที่ ๖
    ปรากฏ แผ่นดินใหญ่นี้และขุนเขาสิเนรุ ย่อมมีกลุ่มควันพลุ่งขึ้น
    เปรียบเหมือนนายช่างหม้อเผาหม้อที่ปั้นดีแล้ว ย่อมมีกลุ่มควันพลุ่ง
    ขึ้น ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพ
    ไม่เที่ยง... ควรหลุดพ้น.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลนางครั้งบางคราว โดยล่วงไป
    แห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฏ เพราะอาทิตย์ดวงที่ ๗
    ปรากฏ แผ่นดินใหญ่นี้และขุนเขาสิเนรุ ไฟจะติดทั่วลุกโชติช่วง
    มีแสงเพลิงเป็นอันเดียวกัน เมื่อแผ่นดินใหญ่และขุนเขสิเนรุไฟเผา
    ลุกโชน ลมหอบเอาเปลวไฟฟุ้งไปจนถึงพรหมโลก เมื่อขุนเขาสิเนรุ
    ไฟเผาลุกโชนกำลังทะลาย ถูกกองเพลิงใหญ่เผาท่วมตลอดแล้ว
    ยอดเขาแม้ขนาด ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐ โยชน์
    ๕๐๐ โยชน์ ย่อมพังทะลาย เมื่อแผ่นดินใหญ่และขุนเขาสิเนรุถูก
    ไฟเผาผลาญอยู่ ย่อมไม่ปรากฏขี้เถ้าและเขม่า เปรียบเหมือนเมื่อ
    เนยใสหรือน้ำมันถูกไฟเผาผลาญอยู่ ย่อมไม่ปรากฏขี้เถ้าและเขม่า
    ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง
    ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม ควรจะเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควร
    หลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ใครจะรู้

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 217

    ใครจะเชื่อว่า แผ่นดินนี้และขุนเขาสิเนรุจักถูกไฟไหม้พินาศไม่
    เหลืออยู่ นอกจากอริยสาวกผู้มีบทอันเห็นแล้ว (โสดาบัน)
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ศาสดาชื่อสุเนตตะ
    เป็นเจ้าลัทธิ ปราศจากความกำหนัดในกาม ก็ศาสดาชื่อสุเนตตะ
    นั้น มีสาวกอยู่หลายร้อย เธอแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อ
    ความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมโลก และเมื่อสุเนตตศาสดา
    แสดงธรรมเพื่อความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมโลก สาวก
    เหล่าใดรู้ทั่วถึงคำสอนได้หมดทุกอย่าง สาวกเหล่านั้น เมื่อตายไป
    ก็เข้าถึงสุคติพรหมโลก ส่วนสาวกเหล่าใดยังไม่รู้ทั่วถึงคำสอน
    ได้หมดทุกอย่าง สาวกเหล่านั้น เมื่อตายไป บางพวกเข้าถึงความ
    เป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี บางพวกเข้าถึงความเป็น
    แห่งเทวดาชั้นดุสิต บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดา
    ชั้นยามา บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์
    บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช บาง
    พวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาล บางพวกเข้าถึง
    ความเป็นสหายแห่งพราหมณ์มหาศาล บางพวกเข้าถึงความเป็น
    สหายแห่งคฤหบดีมหาศาล.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล สุเนตตศาสดามีความคิด
    เห็นว่า การที่เราจะพึงเป็นผู้มีสติเสมอกับสาวกทั้งหลายใน

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 218

    สัมปรายภพไม่สมควรเลย ผิฉะนั้น เราควรจะเจริญเมตตาให้ยิ่งขึ้น
    ไปอีก ครั้งนั้นแล สุเนตตศาสดาจึงได้เจริญเมตตาจิตตลอด ๗ ปี
    แล้วไม่มาสู่โลกนี้ตลอด ๗ สังวัฏฏวิวัฏฏกัป เมื่อโลกวิบัติ
    เข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ เมื่อโลกเจริญ เข้าถึงวิมานพรหม
    เป็นใหญ่ ไม่มีใครยิ่งกว่า รู้เห็นเหตุการณ์โดยถ่องแท้ เป็นผู้มี
    อำนาจมาก เกิดเป็ท้าวสักจอมเทวดา ๓๖ ครั้ง เป็นพระเจ้า-
    จักรพรรดิผู้ตั้งอยู่ในธรรม เป็นพระธรรมราชา มีสมุทรทั้ง ๔
    เป็นขอบเขต ผู้ได้ชัยชนะสงคราม สถาปนาประชาชนไว้เป็นปึกแผ่น
    มั่นคง พรั่งพร้อมด้วยรัตนะ ๗ ประการ หลายร้อยครั้ง พระราช-
    โอรสของพระเจ้าจักรพรรดิ ล้วนแต่องอาจ กล้าหาญ ชาญชัย
    ย่ำยีศัตรูได้ พระเจ้าจักรพรรดิ์นั้นทรงปกครองปฐพีมณฑล อันมี
    มหาสมุทรเป็นขอบเขต ไม่ต้องใช้อาญา ไม่ต้องใช้ศาตรา ใช้
    ธรรมปกครอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุเนตตศาสดานั้นแล มีอายุ
    ยืนนานดำรงมั่นอยู่อย่างนี้ แต่ก็ไม่พ้นจากชาติ ชรา พยาธิ มรณะ
    โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส เรากล่าวว่า ไม่พ้นจาก
    ทุกข์ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะยังไม่ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอด
    ธรรม ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน คือ อริยศีล ๑ อริยสมาธิ ๑
    อริยปัญญา ๑ อริยวิมุติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยศีล อริยสมาธิ
    อริยปัญญา อริยวิมุติ เราตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว เราถอนตัณหา
    ในภพได้แล้ว ตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่
    ไม่มี.

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 219

    พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ-
    ภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
    ธรรมเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญาและ
    วิมุตติอันยิ่ง พระโคดมผู้ทรงพระยศตรัสรู้แล้ว
    พระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดา ผู้มีพระจักษุ ทรงรู้ยิ่ง
    ด้วยประการดังนี้แล้ว ตรัสบอกธรรม ๔ ประการ
    แก่ภิกษุทั้งหลาย ทรงกระทำที่สุดทุกข์แล้ว
    ปรินิพพาน.
    จบ สุริยสูตรที่ ๒
    ------------------------------------------------------------------------------------------------
    * หมายเหตุ ขออธิบายว่าทำไมถึงมีดวงอาทิตย์ ๗ ดวง...กล่าวคือ ในจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้นั้น ไม่ได้มีดวงอาทิตย์ที่เราเห็นอยู่เพียงดวงเดียว แต่มีเป็นแสนโกฏฏ์ล้านดวง และดวงอาทิตย์แต่ละดวง ก็มีการเคลื่อนที่เป็นวงโคจรของตัวเอง แล้ววันหนึ่ง ดวงอาทิตย์เหล่านี้จะโคจรมาพบกัน เรียกว่า "สุริยสูตร"

     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    <TABLE width="97%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>ไตรภูมิ : อบายภูมิ : กรรมที่นำไปสู่นรก

    </TD></TR><TR><TD>กรรมที่นำไปสู่นรก <HR SIZE=1></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="97%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>
    [​IMG]


    ท่านสาธุชนทั้งหลาย วันนี้อาตมามีโอกาสพบกับบรรดาท่านพุทธบริษัทตามปกติ สำหรับต่อไปนี้จะเห็นว่าเป็นการสิ้นปีสำหรับพุทธศักราช คือว่าพุทธศักราชนี้เขาเริ่มเลิกกันกลางเดือนหก เปลี่ยนเป็นระบบใหม่ เรียกว่าขึ้นปีใหม่สำหรับพุทธศาสนา แต่ทว่า พ.ศ. ที่เขาใช้กันนั้นจะเปลี่ยนเดือนมกราคมหรือว่าเมษายนก็ตาม เป็นเรื่องของบ้านเมือง แต่ว่าสำหรับเรื่องของพระพุทธศาสนานั้นก็มาเปลี่ยนกันกลางเดือนหก เพราะเป็นเขต เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน ฉะนั้น เมื่อศักราชเปลี่ยนไปใหม่ถึงปีใหม่ก็ชื่อว่าเป็นการขึ้นถึงปีใหม่ของพระพุทธศาสนา ฉะนั้น บรรดาเรื่องราวของหลวงพ่อปานที่อาตมาได้พูดมากับพุทธบริษัทในตอนต้นๆ หรือตอนก่อนมาแล้ว ก็เป็นอันว่าระงับไป
    ความจริงเรื่องราวทั้งหลายเหล่านั้นยังไม่จบ ถ้าจะพูดกันให้จบอีกสามปีก็ไม่จบ คราวนี้ถ้าหากบรรดาท่านพุทธบริษัทอยากจะทราบว่าไปขมวดจบกันตอนไหน อันนี้บรรดาท่านพุทธบริษัทถ้าอยากจะทราบ โปรดหาหนังสือประวัติของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยามาอ่าน ซึ่งอาตมาได้เล่าจากการบันทึกและที่บันทึกตุนเข้าไว้ จัดพิมพ์ขึ้น โดยคุณอรอนงค์ คุณะเกษม เป็นเจ้ามือใหญ่ แล้วก็สิบตำรวจพัว ชระเอม จังหวัดสิงห์บุรี ตำบลบางพุทรา อยู่ใกล้ตลาดสิงห์บุรีเป็นผู้ให้ทุนเริ่มต้น แล้วก็คุณสุวัฒน์อีกคนหนึ่ง ลืมนามสกุล ให้ทุนเริ่มต้น ทั้งสองท่านนี้ให้ทุนท่านละ ๔,๐๐๐ บาท หนังสือนี้พิมพ์ ๓,๐๐๐ เล่ม รวมเงินแล้ว ๖๐,๐๐๐ บาท

    ฉะนั้น หากว่าบรรดาท่านพุทธบริษัทอยากจะทราบความเป็นมาของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขอให้ติดต่อที่สิบตำรวจพัว ชระเอม ตำบลบางพุทรา จังหวัดสิงห์บุรีอยู่ใกล้ๆ กับจังหวัด อาตมาเองก็ไม่รู้จักบ้านเหมือนกัน ที่บ้านท่านมี แล้วก็ที่อาตมาก็มีอยู่บ้าง แล้วก็ที่คุณสุวัฒน์ เวลานี้ทราบว่าไปเป็นป่าไม้อยู่จังหวัดเชียงใหม่ รายนี้ก็มีอยู่ ๒๕๐ เล่ม ในฐานะที่เป็นเจ้าภาพผู้ออกเงิน เป็นอันว่าเรื่องราวของหลวงพ่อปาน วันบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก็ต้องระงับลงเพียงเท่านี้

    ต่อจากนี้ไป ก็มาเริ่มเรื่องกันใหม่ เริ่มอะไรดี ยังนึกไม่ออก เอายังงี้ก็แล้วกันนะ บรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย คือว่าเราพูดกันถึงเหตุมานานแล้ว การที่นำเอาเรื่องราวของหลวงพ่อปานและคณะศิษยานุศิษย์ก็ดี หรือว่าพระรุ่นท่าน พระเพื่อนท่านก็ตาม เอามาเล่าให้บรรดาท่านพุทธบริษัทฟัง อันนี้เป็นเหตุ เหตุที่บอกก็บอกว่าถ้าใครทำความดีแบบนั้น ใครทำความชั่วแบบนั้น จะไปสู่อบายภูมิหรือว่าไปสู่สวรรค์ ไปสู่พรหมไปสู่พระนิพพาน นี่เรียกว่าเราเล่าต้นทาง แล้วก็พาดพิงไปถึงปลายทางว่า ถ้าทำแบบนี้ละก็ ท่านจะต้องไปนรกหรือว่าไปสวรรค์ ไปพรหมโลกหรือไปนิพพาน ตอนต้นเรากล่าวกันอย่างนั้น คราวนี้ มาว่ากันถึงผล

    ต่อจากนี้ไปจะขอให้เรื่องที่พูดนี้ เรียกกันว่าเรื่อง "ไตรภูมิ"

    ไตรภูมิ แปลว่า ภูมิสาม ภูมิก็แปลว่าแผ่นดินหรือสถานที่อยู่ เป็นสถานที่ที่อยู่กัน เราเรียกกันว่าภูมิ สำหรับภูมิในที่นี้ จะกล่าวถึงอบายภูมิ แล้วก็สวรรค์ พรหมโลก ดีไม่ดีก็จะย่องพูดถึงเรื่องนิพพานสักนิดหนึ่ง เพราะกันตัวอาตมาเองเป็นมิจฉาทิฐิ สำหรับคนอื่นไม่เกี่ยว อาตมาน่ะเป็นห่วงตัวเอง ห่วงความเป็นมิจฉาทิฐิของตัวเอง ที่เทศน์ว่าพระนิพพานสูญมานาน ใครเขาจะถามถึงพระนิพพานก็บอกเลย บอกว่าพระนิพพานนี่มีสภาพสูญ มีอุปมาดุจหนึ่งว่าควันไฟที่ลอยไปในอากาศ จะมีที่เกาะที่พักมันก็ไม่มีฉันใด แม้พระที่เข้าสู่พระนิพพานก็เหมือนกัน มีสภาพเหมือนควันไฟ

    นี่ไปค้านกับคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้า เพราะว่าไปค้นในพระไตรปิฎก ไปพบเอาตอนที่พระพุทธเจ้าทรมานท้าวผกาพรหม ที่ท้าวผกาพรหมท่านบอกว่าพรหมทั้งนั้นแหละเป็นความสุขสูงสุด และพรหมไม่เป็นอนัตตา พรหมเป็นอัตตาไม่มีการสลายตัว ทั้งนี้ก็เพราะว่าอาศัยพวกระฆังเล็กๆ ทั้งหลายสนับสนุนยุยงส่งเสริม เห็นว่าท่านผกาพรหมเป็นพรหมที่มีวาสนาบารมีมากก็เลยยุท่านส่งเดชเข้าให้ ท่านผกาพรหมก็เมามัน ไอ้เสียงคนนี่ บรรดาท่านพุทธบริษัท กรอกหูนานๆ มันอดจะเขวไม่ได้หรอกเป็นเรื่องธรรมดา

    ทีนี้ในเมื่อท่านผกาพรหมท่านเมาเข้าแล้วท่านก็เลยคิดว่าในเมื่อพรหมเป็นอมตะ เป็นแดนไม่ตาย เป็นแดนที่มีความสุขมากที่สุด เวลานี้พระสมณโคดมออกจากตระกูลศากยราชมาบวชแล้วก็ประกาศว่าสิ่งที่สูงสุดยิ่งกว่านั้นมีอยู่ คือพระนิพพาน ยิ่งกว่าพรหม สูงกว่าพรหม มีพระนิพพานเป็นที่ไป แล้วก็เป็นแดนสูงสุด มันจะจริงหรือไม่จริงเราไม่เชื่อ

    เมื่อพระพุทธเจ้าทราบวาระน้ำจิตของท่านผกาพรหมก็เสด็จไปสู่พรหมท้าทายกันด้วยเรื่องฤทธิ์ต่างๆ เพื่อเป็นการทรมาน ในที่สุดพระพุทธเจ้าก็บอกว่า หากว่าท่านเก่งจริงล่ะก็ เล่นซ่อนหากับเรา พระพุทธเจ้าให้ท้าวผกาพรหมซ่อนก่อน จะซ่อนที่ไหนก็ตามพระพุทธเจ้าก็มองเห็น ในที่สุดหมดท่า ก็ให้พระพุทธเจ้าซ่อนบ้าง พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ซ่อน ท่านประทับนั่งอยู่ตรงนั้นแล้วก็ทำให้ท้าวผกาพรหมไม่เห็น พระองค์ก็ทรงแสดงเสียงให้ปรากฏ ท้าวผกาพรหมก็มองไม่เห็นว่าองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ตรงไหน

    เป็นอันว่าท้าวผกาพรหมยอมแพ้พระพุทธเจ้า ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ผกาพรหมเธอเป็นมิจฉาทิฐิเพราะคำป้อยอของคนอื่น บรรดามารทั้งหลาย คำว่ามารในที่นี้ไม่ได้แปลว่ายักษ์ มารแปลว่า ผู้ฆ่า คือความเห็นที่ไม่ถูกทางของบุคคลผู้ยุยงส่งเสริม พยายามเกลี้ยกล่อมชักจูงเธอให้เห็นผิด เธอเกิดเป็นพรหมมาหลายรอบหลายจังหวะ เกิดเป็นพรหมชั้นสูงแล้วมาเกิดเป็นพรหมชั้นต่ำ แล้วก็ต่ำลงมา อาศัยที่เธอบำเพ็ญบารมีมามาก ไปเป็นพรหมเสียหลายร้อยกัปหลายพันกัป จึงลืมสภาวะเดิม ลืมเรื่องของการจุติ การเกิดการตายในแดนที่ไม่ใช่พระนิพพาน ต่อจากนี้ไป เธอจงเป็นผู้เห็นถูก ในที่สุดท้าวผกาพรหมก็ยอมรับคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสว่า ดินแดนที่มีสุขยิ่งกว่านี้มีอยู่นั่นคือพระนิพพาน

    เห็นไหมเล่า บรรดาญาติโยมพุทธบริษัท พระพุทธเจ้าทรงยืนยันพระนิพพานว่าเป็นดินแดนพิเศษ เป็นทิพย์พิเศษ สูงยิ่งกว่าพรหม คราวนี้เรื่องของพรหม เรื่องของเทวดา เรื่องพระนิพพานนี่ ถ้าเรายังไม่เห็น เราก็อย่าพึ่งรับรองกันนักว่าอะไรจริงอะไรไม่จริง ถ้าใครเขาถามขึ้นก็บอกว่าพูดตามตำราไว้ก่อน ต่อมาเมื่อเราเข้าถึงทิพจักขุญาณแล้วก็สามารถเจริญวิปัสสนาญาณถึงระดับพอที่จะเห็นพระนิพพานได้ ตอนนั้นเราค่อยพูดกันเรื่องพระนิพพาน

    จะพูดกันได้ตอนไหน ก็ตอนที่ท่านทั้งหลายเจริญสมถะพอสมควรจนได้ทิพจักขุญาณแล้ว แล้วก็เจริญวิปัสสนาญาณให้เข้าถึงโคตรภูญาณ โคตรภูรู้จักไหม? ถ้าไม่รู้จักก็จะบอกว่า อยู่ระหว่างโลกียะกับโลกุตตระ ส่วนหนึ่งของใจยังเป็นโลกียชน อีกส่วนหนึ่งของใจจะเป็นโลกุตตรชน จะเป็นพระโสดาบัน อาการจะเป็นยังไงไม่ใช่เวลามานั่งสอนพระกรรมฐาน ไม่บอก ไปศึกษาเอาในส่วนพระกรรมฐาน ตอนนั้นแหละท่านทั้งหลายจะอาศัยทิพจักขุญาณเห็นพระนิพพานได้แบบสบายๆ ตอนนั้นแหละบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย เราพูดกันถึงเรื่องพระนิพพาน เวลานี้ท่านเห็นเปรตบ้างไหม เปรตมีสภาพหยาบที่สุด ถ้าหากว่าท่านไม่สามารถเห็นเปรตก็อย่าเพิ่งพูดเรื่องของพระนิพพาน ถ้าพูดแล้วมันผิด

    ทีนี้เรื่องของพระกรรมฐานนี่นะ บรรดาญาติโยมพุทธบริษัท มีหลวงพี่องค์หนึ่งท่านสอนมาทางอากาศว่าอย่าเที่ยวนำพูดเพ้อเจ้อไปนะ เรื่องกรรมฐานนี่ ต้องพูดเฉพาะในเวลาที่สมควร ถ้ายังไม่ถึงเวลาสมควรมาพูดละดีไม่ดีเป็นอวดอุตตริมนุสสธรรม ตีความหมายเป็นอย่างงั้นนะ อาตมาฟังแล้วก็สงสัย ไม่รู้ว่าพระอะไรได้ยินแต่เสียง ก็อยากจะถามท่านเสียตอนนี้เลยว่าไอ้ "เวลาสมควร" น่ะ มันตรงไหนเวลาเท่าไหร่ เมื่อไรจึงจะสมควร เวลานี้บรรดาท่านพุทธบริษัทที่เป็นฆราวาสเขาเจริญพระกรรมฐานกัน มีหลายท่านได้ทิพจักขุญาณ ไปนั่งอายเขามานี่หลายคนแล้วนะ จะบอกให้

    ผู้หญิงบางทีเรียนนอกเรียนนามาตั้งแต่อายุ ๖ ขวบ ๗ ขวบ กว่าจะเข้ามานับถือพระพุทธศาสนาก็ ๓๐ ปีเศษ เขาได้ทิพจักขุญาณ เขาสามารถใช้กำลังจิตรักษาโรคก็ได้ นี่อำนาจพระกรรมฐานเข้าไปถึงฆราวาสแล้วหลวงพี่ แล้วถ้าหลวงพี่ยังจะมานั่งคอยเวลา "สมควร" น่ะ นี่ถามจริงๆ เถอะพ่อคุณ บวชเข้ามาเวลานี้น่ะปฎิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าหรือเปล่า ที่พระพุทธเจ้าทรงบอกว่าการบวชจะต้องถือกฎ ๓ อย่างเป็นสำคัญ หนึ่ง อธิศีลสิกขา รักษาศีลยิ่งกว่าฆราวาส สอง อธิจิตสิกขา ทำจิตให้มั่นคงในสมาธิที่เรียกกันว่าได้ญาณ สาม อธิปัญญาสิกขา ทำจิตใจของเราให้ผ่องใสจากกิเลส ทำหรือเปล่า

    อันนี้ต้องทำตั้งแต่วันบวชนะ เข้าใจว่าไม่รู้เรื่องหรอกหลวงพี่องค์นั้นน่ะ นี่คงจะบวชเข้ามาแล้วก็ทำตัวเป็นฆราวาสเอาเด่น แล้วเวลาพูดก็เห็นอ้างพระอาจารย์อะไรต่อพระอาจารย์อะไร พระอาจารย์ทั้งหลายเหล่านั้นยังเมาอยู่ใน ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ตามธรรมดาน่ะ พระที่บวชเข้ามาน่ะ เขาเกาะพระพุทธเจ้ากันนะ เขาไม่ได้เกาะพระที่มีกิเลส ก็หลวงพี่ไปเกาะพระที่มีกิเลสเป็นสรณะแล้วกิเลสมันจะหมดหัวได้ยังไง แสดงว่ากิเลสยังเต็มหัวอยู่

    เรื่องของพระกรรมฐานเป็นเรื่องธรรมดาที่พุทธบริษัทควรรู้ ถ้าเราไม่พูดเมื่อไรเขาจะรู้ จะมานั่งหลอกลวงเขากินอยู่หรือว่าเราบวชเข้ามาแล้วน่ะดียังงั้นดียังงี้ ควรแก่การไหว้ สักการะของบรรดาพุทธบริษัท แต่ความจริงแล้วจะพูดเรื่องกรรมฐานก็บอกไม่สมควร นี่มันดีหรือหลวงพี่? จำไว้นะ จำไว้ให้ดีว่า เราบวชเข้ามาแล้วจงเอาสวรรค์ เอาพรหมโลก เอาพระนิพพานเป็นปัจจัยของเรา เอาสิ่งทั้งสามประการเป็นที่พึ่ง

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนที่เราจะบวช เวลานี้นักปรูดทั้งหลาย ไม่ใช่นักปราชญ์ ตัดความสำคัญออก เมื่อก่อนนี้เวลาเขาจะบวชบอกกับอุปัชฌาย์ว่า นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ เอตัง กาสาวัง คะเหตวา ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ข้าพเจ้าขอรับผ้ากาสาวพัสตร์เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน แต่เวลานี้นักปรูดทั้งหลายตัดทิ้งไป ใช้อะไรเสียก็ไม่ทราบ ไปขึ้นเอสาหัง ก็ปรารภพระนิพพานในเบื้องต้นเหมือนกัน ในเมื่อเราบวชเข้ามาปรารภพระนิพพาน แล้วเวลาเราบวชเข้าแล้วจริงๆ เราจะมาปรารภ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เพื่อประโยชน์อะไร

    เป็นอันว่าหลวงพี่เข้าใจผิดเสียแล้วนะ หลวงพี่นะ ดีไม่ดีผมจะบอกว่าหลวงพี่นั้นแหละเวลานี้กำลังใจยังทรามกว่าฆราวาสที่เป็นผู้หญิงหลายคนที่เขาปฎิบัตตนได้ดีกว่าหลวงพี่นะ เพราะเห็นว่าควรแล้ว เวลานี้กรรมฐานตั้งสำนักกันอย่างกับดอกเห็ดมีทั่วประเทศ มีกระทั่งนอกประเทศ ถ้าเวลานี้ยังไม่สมควรพูดเรื่องกรรมฐาน เวลาไหนมันจะควร หรือว่าจะรอให้กิเลสมันเลยหัวไปสักหน่อยแล้วจึงจะควร อันนี้เราฟังกันไว้แล้วก็คิดด้วยนะ ถ้าหลวงพี่องค์นั้นรับฟังล่ะก็ เอาไปคิดด้วย แล้วก็จงรู้ตัวเสียด้วยว่าเราทำเราพูดน่ะมันไม่ควร

    เอาละ บรรดาญาติโยมพุทธบริษัท อาตมาเป็นคนปากเสียเป็นปกติ แต่เสียแบบนี้เสียในฐานะเพื่อจะตักเตือนเพื่อนพระด้วยกัน ให้บวชให้เป็นพระ ไม่ใช่บวชเข้ามาแล้ว แล้วก็จะเอาปฏิปทาอย่างอื่นมาใช้ ประเดี๋ยวจะพูดให้ฟัง เรื่องทะเลาะกับพระขอยกไป ต่อจากนี้ไปก็มาเริ่มเรื่องกันใหม่ เลิกทะเลาะกันแล้วนะ หลวงพี่องค์นั้นก็เหมือนกัน ทีหลังถ้าจะทะเลาะกับผมละก็ ฟังเรื่องต่อไปว่าท่านชอบอะไร

    วันนี้ เรามาเริ่มเรื่องไตรภูมิกัน แล้วเราจะไปไหนกันก่อนล่ะ มี อบายภูมิ ๔ คือ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดียรัจฉาน นี่จัดเป็นภูมิที่หนึ่ง ภูมิที่สองก็ได้แก่ สวรรค์ชั้นกามาวจรสวรรค์ ภูมิที่สามก็ได้แก่ พรหม พระนิพพานยังไม่เกี่ยว สามภูมินี่เราจะไปไหนกันก่อน ขอชวนบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทและพระคุณเจ้าที่เคารพไปเที่ยว นรก กันก่อนดีกว่า

    ต่อจากนี้ไป เราไปทัศนาจรนรกกัน แน่ะ พูดทันสมัยเสียด้วย ไอ้ทัศนาจรนี่น่ะมันเป็นศัพท์ภาษาบาลีแกมไทย ทัศนะ จระ จระเป็นภาษาบาลี ไทยล่อจรเข้าไป ก็เรียกว่าเที่ยวไปดูนรก ทัศนาจรแปลว่าเที่ยวดู ดูอะไร ดูนรก ตานี้เราจะไปนรก เราก็มาคิดดูว่าเราจะไปอยู่เลย หรือว่าเราจะไปเที่ยว ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัทมีความสมัครใจจะอยู่นรกขุมไหน ตามอาตมาไปแล้วก็สมัครใจอยู่ได้เลย อาตมาจะบอกปฏิปทาให้ว่าเขาบำเพ็ญบารมีอะไร จึงอยู่ขุมนรกนั้นได้ แต่ใครไม่อยากอยู่ก็ไปเที่ยวเฉยๆ ก็แล้วกัน เวลากลับก็กลับด้วยกัน

    ทีนี้เวลานำเที่ยวเวลานี้ใช้ยานอะไรเป็นพิเศษ? ไม่ยากใช้ยานหนังสือเรียกว่าใช้ยานหนังสือเอาพระไตรปิฎกเป็นหลัก นี่คนชั้นดีเขาต้องทำยังงี้นะ นี่ไม่มีใครเขายกก็ยกมันเองละ ไปมัวคอยชาวบ้านยกย่องสรรเสริญ เมื่อไรเขาจะยก ก็เอาพระไตรปิฎกเป็นหลัก แล้วก็เอาเรื่องที่พระคณาจารย์ทั้งหลายที่ทรงฌานทรงญาณพิเศษ อย่างพระโมคคัลลาน์ไปพบเห็นมา เอามาพูดต่อ รวมกันเข้าไป ญาติโยมทั้งหลายจะได้ทราบว่าตอนนี้ ที่นี้ นรกชั้นนี้ สวรรค์ชั้นนี้ วิมานแบบนั้น เขาบำเพ็ญบารมีอะไรเข้าไว้ จึงจะได้อยู่อย่างนั้น นี่เป็นอันว่าเข้าใจ

    ทีนี้ ต่อจากนี้ไป ก่อนที่จะเดินทางไปนรก เราก็มาหาทุนกันก่อน ไปไหนไม่มีทุนนั้นไม่ได้ ทุนในที่นี้ไม่ใช่เงินไม่ใช่ทอง แต่ว่าเป็นทุนการบำเพ็ญบารมี เรามาพูดกันเสียก่อนว่าบารมีที่จะทำให้คนลงนรกน่ะ มันมียังไง เขาจึงได้ลงกันได้ นรกน่ะแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ นรกขุมใหญ่ กับ ยมโลกียนรก แล้วก็เฉพาะนรกขุมใหญ่แต่ละขุมก็มีนรกบริวารด้านละ ๔ ขุม ๔ ด้าน เป็นอันว่านรกขุมใหญ่ ๑ ขุมมีนรกบริวาร ๑๖ ขุม แต่ว่าสัตว์นรกที่จะผ่านนรกบริวารก็ผ่านแต่เพียง ๔ ขุม เพราะออกด้านใดด้านหนึ่งก็ผ่านสี่ขุม

    นรกขุมใหญ่นี่เราเรียกกันว่า นรกแป๊ะเจี๊ยะ หมายความว่า ลงโทษไม่จำกัดโทษ ไม่ใช่แยกประเภท สำหรับยมโลกียนรกนั้น แยกประเภท คือหมายความว่าถ้าคนใดทำกรรมชั่วไปลงนรกขุมใหญ่ก่อน ลงขุมนี้เวลาจะออกจากขุมนี้ผ่านนรกบริวาร ๔ ขุม ถ้ากรรมชั่วอย่างหนักยังไม่หมดก็ไปลงขุมโน้นต่อไป ออกจากขุมนั้นก็ผ่านนรกบริวารอีก ๔ ขุม นรกขุมใหญ่นี้ เรียกกันว่านรกแป๊ะเจี๊ยะ ไม่จำกัดโทษ ตรงกันข้ามกับยมโลกียนรก เขาแยกโทษเข้าไว้
    ทีนี้มาว่ากันไป นรกขุมใหญ่มีโทษอะไร นี่ศึกษาบารมีการลงนรกเสียก่อน คนที่จะลงนรกต้องสร้างบารมี ต้องบำเพ็ญบารมี ถ้าบารมีไม่ถึงเขาก็ขับไปสวรรค์บ้าง ขับไปพรหมโลกบ้าง ขับมาเกิดเป็นมนุษย์บ้าง เป็นสัตว์เดียรัจฉานบ้าง เป็นเปรตบ้าง เป็นอสุรกายบ้าง เขาไม่ยอมให้ลง แต่ถ้าหากว่ามีบารมีสมควร เขาก็ยินดีรับเอาไว้ในนรก

    นี่เฉพาะนรกขุมใหญ่นะ บรรดาพระคุณเจ้าที่เคารพที่กำลังรับฟังและบรรดาญาติโยมพุทธบริษัท จะพูดให้ฟังว่านรกขุมใหญ่มีอะไรบ้างที่เราจะได้ไปน่ะ ต้องสร้างบารมีอะไร บารมีที่จะลงนรกขุมใหญ่นั้นท่านกล่าวว่า ต้องสร้างบารมี ๑๐ อย่างครบถ้วน สุดแล้วแต่หนักเบา ถ้าสร้างเบาหน่อยก็ลงนรกขุมที่ ๑ หนักลงไปอีกนิดก็ลงนรกขุมที่ ๒ หนักลงไปอีกหน่อยก็ลงนรกขุมที่ ๓ หนักไปตามลำดับ ถ้าหนักเต็มที่ลงนรกขุมที่ ๘ เรียกว่า อเวจีมหานรก แล้วก็มีนรกพิเศษอีกอย่างหนึ่ง ถ้าหนักล้นเกินไปล่ะก็ ลง โลกันตนรก แล้วจึงจะถอยมาสู่อเวจีมหานรก

    บารมีที่เขาปฏิบัติ ๑๐ อย่างก็คือ กรรมบถ ๑๐ ใครไม่เคารพกรรมบถ ๑๐ ต้องลง นรกขุมใหญ่ ๑๐ ขุม หรือเรียกว่าใครไม่เคารพในกรรมบถทั้ง ๑๐ ประการ มีโอกาสได้อยู่นรกขุมใหญ่สบายๆ มีวาสนาบารมีมาก กรรมบถทั้ง ๑๐ ประการมีควรเว้นมีอะไร คือ

    ๑. เราต้องไม่ฆ่าสัตว์ ถ้าเราฆ่าสัตว์ก็เรียกว่าเราไม่เคารพในกรรมบถข้อนี้
    ๒. การลักทรัพย์
    ๓. การประพฤติผิดในกาม ทั้งเมียเขา ทั้งลูกเขา ทั้งผัวเขา ทั้งลูกจ้างของเขา ขี้ข้าเขา ทาสเขา ทั้งนั้น จิปาถะ ถ้าไม่ได้รับอนุญาตถือว่าเป็นการไม่เคารพกรรมบถ ๑๐
    ๔. ไม่พูดโกหกมดเท็จ
    ๕. ไม่ส่อเสียดยุยงส่งเสริมให้เขาแตกร้าวกัน
    ๖. ไม่พูดคำหยาบ
    ๗. ไม่พูดจาเพ้อเจ้อ เลอะเทอะหาประโยชน์มิได้
    ๘. เพ่งเล็งอยากจะลักทรัพย์ ขโมยทรัพย์ ปล้นทรัพย์ แย่งทรัพย์ คดโกงทรัพย์ของบุคคลอื่น
    ๙. จองล้างจองผลาญ ที่เรียกกันว่าความพยาบาท
    ๑๐. มีความเห็นไม่ตรงกับพระพุทธเจ้า ไอ้ส่วนที่เลวคิดว่าดี ส่วนที่ดีคิดว่าเลว ที่พระพุทธเจ้าตักเตือนแล้วไม่เอา
    นี่การบำเพ็ญบารมีเพื่อจะอยู่นรกขุมใหญ่ บำเพ็ญกันให้ครบ ๑๐ อย่างดีไหม บรรดาญาติโยมพุทธบริษัท เอ๊ะ ๑๐ อย่างนี่ไม่มีน้ำเมาไว้ด้วยนะ น่ากลัวนรกขุมใหญ่นี่เขาไม่รับคนชอบดื่มเหล้า คนชอบดื่มเหล้านี่ควรจะดีใจนะ นรกขุมใหญ่เขาไม่รับแล้วมันดีไม่พอ อย่าลืมนะบรรดาท่านผู้ฟัง และญาติโยมพุทธบริษัทที่กำลังรับฟัง และพระคุณเจ้าที่เคารพ อยากจะไปนรกท่องให้ดีนะ เฉพาะนรกขุมใหญ่

    ๑. พยายามฆ่าสัตว์เข้า
    ๒. ลักทรัพย์ ขโมยทรัพย์ ปล้นทรัพย์ แย่งชิงทรัพย์ คดโกงทรัพย์ใครเขามาทำบุญสุนทร์ทานกันเข้ากระเป๋าไว้บ้าง
    ๓. ไอ้เรื่องกาเมสุมิจฉาจาร เหมาะเมื่อไรว่าเมื่อนั้น ไม่ต้องห่วง ไม่ต้องเลือกจะเป็นลูกใคร เมียใคร ขี้ข้าใคร คนรับใช้ใคร ลูกจ้างใคร ไม่เกี่ยว มีโอกาสจัดการเรื่อยไป แล้วผัวใครด้วยนะ
    ๔. เรื่องความจริงไม่ต้องพูดกัน โกหกมันดะ
    ๕. ยุยงส่งเสริมให้แตกร้าวกันเสีย มันสนุกดี มันทะเลาะกันได้ มันตีกันได้ มันฆ่ากันได้ เราสบายใจ
    ๖. เรื่องวาจาสุภาพอย่าไปพูดมัน พูดหยาบๆ คายๆ มึงวาพาโวย ด่าพ่อล่อแม่ใครก็ได้ตามอัธยาศัย
    ๗. เรื่องที่เป็นเรื่องอย่าพูด พูดมันแต่เรื่องที่เลอะเทอะเปรอะเปื้อน
    ๘. ทรัพย์สินของใครมีอยู่ ถ้าชอบใจ ตั้งใจเลยว่าเราจะขโมยของเขา
    ๙. จองล้างจองผลาญ จ้องประหัตประหารมันเรื่อยไปไม่ว่าใคร
    ๑๐. คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไม่มีความหมาย เราไม่เชื่อ มาพูดอะไรกัน เรื่องสวรรค์เรื่องนรก เรื่องอะไรต่ออะไรไม่เห็นมีความหมาย เราไม่เชื่อ

    เอาละ บำเพ็ญบารมี ๑๐ อย่าง อย่างนี้พอ พอที่จะลงนรกขุมใหญ่ได้แบบสบายๆ พญายมไม่รังเกียจ

    ตานี้มา นรกขุมเล็ก อีก ๑๐ ขุม เรียกกันว่า ยมโลกียนรก ทำรับเฉพาะ เรียกว่ารับเฉพาะ ไม่ใช่นรกแป๊ะเจี๊ยะ ทำอย่างนี้อยู่ขุม ๑ ได้ ทำอย่างนี้อยู่ขุม ๒ ได้ เขาเรียกกันว่าอะไร จะพูดบารมีให้ฟัง เวลามันใกล้จะหมด

    ถ้าอยากจะอยู่นรกขุมที่ ๑ ฆ่าสัตว์ให้หนัก
    อยากจะอยู่นรกขุมที่ ๒ เจ้าชู้ให้หนัก
    อยากจะอยู่นรกขุมที่ ๓ ลักขโมยให้หนัก คดโกงเขาให้หนัก
    ขุมที่ ๔ ดื่มน้ำเมาให้หนัก
    ขุมที่ ๕ โกงเงินทำบุญให้หนัก ทายกกับพระนี่ ระวังนะ ระวัง ถ้าชอบใจอยู่ขุมที่ ๕ สำหรับยมโลกียนรก โกงให้หนัก
    ขุมที่ ๖ เป็นข้าราชการ โกงให้หนัก
    ขุมที่ ๗ เรื่องซื่อตรงไม่มีสำหรับเขา
    ขุมที่ ๘ เรื่องเมตตาปรานีไม่มีสำหรับเขา
    ขุมที่ ๙ ด่าดะไม่เลือกว่าใคร
    ขุมที่ ๑๐ ซ้อมคู่ครองให้หนัก

    นี่เป็นบารมีสำหรับยมโลกียนรกส่วนใหญ่ คนฆ่าสัตว์แล้วก็เลยลงนรกขุมใหญ่มาก่อน พ้นจากนรกขุมใหญ่แล้วเข้านรกบริวาร ๔ ขุม แล้วจึงมาเข้าขุมที่ ๑ นี่เขามาคิดบัญชีกันต่างหากเฉพาะอย่าง สำหรับนรกขุมใหญ่น่ะ เป็นนรกแป๊ะเจี๊ยะไม่ยอมคิดบัญชีให้ เรียกว่าอะไรๆ ก็ไปรวมอยู่ก่อน เสร็จจากนรกขุมใหญ่ก็มาไล่เบี้ยกันทีหลังว่าแกมีโทษอะไรบ้าง ฉันจะจัดการกับแกตามโทษนั้น

    เอาละ บรรดาญาติโยมพุทธบริษัททุกท่าน นี่พูดไปพูดมา พูดมาพูดไป ก็เห็นว่าจะหมดเวลา ๓๐ นาทีเสียแล้วกระมัง เพราะดูเวลามันก็หมดแล้วนี่ เมื่อหมดแล้วสำหรับพุธนี้ก็ยังไม่ได้อะไร เพียงแต่ได้อารัมภบท มาบำเพ็ญบารมีลงนรกกัน เมื่อรู้บารมีแล้วก็ตั้งใจไว้จะไปนรกขุมไหน

    เอาละ สำหรับวันนี้ก็หมดเวลาแล้ว อาตมาก็ขอลาก่อน ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล จงมีแด่บรรดาท่านศาสนิกชนผู้รับฟังทุกท่าน สวัสดี​


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กรกฎาคม 2010
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับพระพรหมครับผม
    TJ:
    ยุคเริ่มกัปใหม่ทุกครั้ง มนุษย์ลงมาจากพรหม และเคารพนับถือท้าว ผกาพรหมเป็นเจ้า.... ครั้นหมดบุญลงมาบนโลกมนุษย์ ความนับถือยังคงอยู่เรื่อยมา.....เพราะความหลงผิดว่า พรหม (พวกตัวเอง) ยิ่งใหญ่ที่สุด เป็นอมตะ

    พรหมอยู่ได้ด้วยอำนาจของกำลัง ฌาญ ตามกำลังบารมีที่ได้สั่งสม มาตอน ที่เป็นมนุย์ เช่น ฤษี ดาบส นักพรต สิทธา หรือพระในศาสนาพุทธ อยู่ที่ว่าได้กำลังฌาน ระดับไหน

    พรหม มี 20 ชั้น แบ่งเป็นรูปพรหม 16 ชั้น อรูปพรหม 4 ชั้น ในจำนวนนี้ ชั้นที่ 16 เรียกว่า พรหมชั้นสุทธาวาส ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก เพราะเป็น พระอริยบุคคล ชั้น อนาคามี จะบำเพ็ญบารมี เลื่อนระดับความบริสุทธิ์ แห่งจิต จนหลุดพ้นได้ในชั้นนี้ไม่มีการเกิดอีกจนเข้าพระนิพพาน

    พรหม ที่มนุษย์ นับถือ คือท้าว ผกาพรหม เป็นเจ้าอยู่ชั้นที่ 10 ยังยุ่งอยู่กับมนุษย์ แลเทวดา หรือพรหม ชั้นลองลงมา ที่นับถือกันมาก ส่วนชั้นที่สูงขึ้นไป ท่านมีกำลังฌานสูง มีใจละเอียด ไม่อยากมาเสียเวลาอยู่กับมนุษย์จึงอยู่ในสมาธิตลอดเวลา ไม่ยุ่งอยู่กับเรื่องของชั้นล่างๆ จึงไม่มีผู้ใดรุ้ว่ามีพรหมชั้นสูงขึ้นไปอีก (ถ้าพระพุทธเจ้าท่านไม่ตรัสไว้)
    อรูปพรหม อยู่ชั้น 17 ถึง 20 ไม่มีรูปร่าง มีแต่ดวงจิต ไม่รับรู้อะไร มีความสุขอยู่ในเฌานที่ได้ อายุยืน นับหมื่นกัป สำหรับนักสร้างบารมีท่านว่าเสียเวลามาก ที่ไปติดอยู่ในนั้น หมดโอกาสสร้างความดีเป็นบารมีต่อไป
    นานทีเดียว
    ส่วนเทวโลก มี 6 ชั้น ชั้นที่ ยังยุ่งกับมนุษย์ คือ ชั้น1 จาตุมหาราชิกา
    และชั้น 2 ดาวดึงส์ ที่คนนับถือเทพต่างๆ จะอยุ่ในชั้นเหล่านี้

    พรหม (ยกเว้นชั้นสุทธาวาส) และเทวโลก ยังต้องตาย เมื่อหมด บุญ หรือกำลังฌาน เริ่มอ่อน เนื่องจากบุญอ่อน ก้ต้องกลับมาเกิด อีก หรือต้องไปตกนรก ใช้กรรมที่ทำไม่ดีไว้ ก่อนหน้า หนีไม่พ้น แม้แต่ท้าวผกาพรหมก็ต้องกลับมาเกิด จนกว่าจะสำเร้จ เป็นพระอรหัน หรือจะสร้างบารมีเพื่อตรัสรู้เองก็ตาม จึงจะเข้านิพพานได้ไม่ต้องมาเกิดอีก

    พรหมหรือ เทวดา ไม่ได้ช่วยมนุษย์ ไม่มีใครช่วยใครได้ เทวดา หรือพรหม ก็ช่วยมนุษย์ ไม่ได้อย่างที่ไปขอกัน เพียงแต่ เทวดาชั้นต้นๆที่สถิตอยุ่ ณ ที่ นั้นสามารถดึงบุญของผู้ขอมาใช้ก่อน ถ้ามีอยู่ ไม่ได้ใช้บุญของตัวอง ของเทพ ชั้นสูง หรือของพรหม (เพราะพวกนี้ยังเอาตัวไม่รอด แค่เจอมารยกทัพมาก็หนีกรูดแล้ว)แต่อย่างใด เมื่อใช้แล้วบุญก็หมดไป ถ้ไม่สร้างเพิ่มก็อันตราย บุญหมด ก็หมดบุญ

    สรุป ต้องศีกษาความจริงของชีวิตให้มาก ความรู้ทางโลก ให้มีกินแค่ชาติเดียว รวยแค่ไหน ก็เอาไปไม่ได้ แต่ถ้ารู้ความจริงของชีวิต รวยได้ทุกชาติ ไม่ลำบาก จนเข้านิพพาน ตัวอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระราชวงค์ที่สละราชสมบัติออกบวช และพระอรหันหลายองค์ ไม่ค่อยดัง เพราะไม่ค่อยมีเรื่องสบายตลอด แค่ออกบวช ก้ต้องอาทรัพย็ สมบัติ เที่ยวแจก ชาวบ้านให้เอาไปใช้แทน เพื่อจะออกบวช เพราะบุญมันเต็มรวยมาทุกชาติจนเบื่อ ปัญญาที่แท้จริงในชีวิตมันเกิด ส่วนคนที่มัว ไหว้เจ้าพ่อเจ้า เจ้าแม่ ไหว้เทพเจ้า หรือพรหม ปัญญายังน้อย ถ้าทำความดีมากๆ เทวดาพวกนี้ อาจจะต้องไหว้เราอนุโมทนาเเพราะต้องการบุญเพิ่ม คน รู้ทางโลกมาก แต่ความจริงของชีวิตที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด ไม่ยักรู้ไม่ขวนขวาย ชาตินี้ปัญญาดีชาติหน้าอาจปัญญาอ่อนก็ไดเพราะกินเหล้ามาก ,โกงไว้มากรวยล้นฟ้า กรรมส่งผลเมื่อใดก็วิบัติเมื่อนั้น, อ่านคำสอนของพระพุทธเจ้า เถิดแล้วปฏิบัติตาม แล้วจะรู้ว่าท่านเป็นสุดยอดของ ภพ 3 ไม่มีใครยิ่งกว่า และจะปิดนรก ช่วยคนอื่นได้ ไม่ต้องไปง้อใคร ...................
    SILA:
    ทางพุทธศาสนาปฏิเสธแนวคิดเรื่อง "พระผู้สร้าง" แต่ไม่ปฏิเสธ
    เทวดา และ พระพรหมซึ่งเป็นเทพชั้นสูงมาจากผู้ได้ณานระดับต่างๆ และ ที่ชั้นสุทธาวาส เป็นที่อยู่ของพระอนาคามิผลบุคคล ซึ่งจะเจริญภาวนาจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์และปรินิพพานในสุทธาวาสภูมินั้น

    อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ ผู้ล่วงลับไปแล้ว ได้แสดงความเห็นว่า

    ทางพราหมณ์ได้มีการสอนและพรรณนารูปลักษณะของ
    พระพรหมไว้ว่ามี ๔ หน้า ทางพระพุทธศาสนาก็ไม่ขัดคอ แต่ได้แสดงใหม่ในลักษณะ Reinterpretation คือ แปลความหมายใหม่ว่า ได้แก่บุคคลผู้ประกอบด้วยคุณธรรม ๔ ประการที่เรียกว่า พรหมวิหาร
    ผู้ใดประกอบด้วยคุณธรรมชนิดนี้ ได้ชื่อว่าเป็นพรหมซึ่งเป็นเทวดาชั้นสูง และท่านได้ยกตัวอย่างว่า มารดาบิดามีความรู้สึกเช่นนี้ต่อบุตร จึงชื่อว่าเป็น พรหมของบุตร
    ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับพระพรหมครับผม
     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันสิ้นโลก อยากทราบค่ะว่า ศาสนาพุทธได้ระบุไว้หรือไม่ <!-- SKINNOTE: Need to fill in proper URL for topic rating -->18/09/2009 - 16:46</ABBR>

    <!--cached-Mon, 28 Jun 2010 22:41:21 +0000-->พอดีได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้ที่อยู่ต่างศาสนา ทั้งคริสต์และมุสลิม ทั้งสองศาสนาต่างกล่าวถึงวันสิ้นโลก และมีมุมมองคล้ายๆ กันเรื่องการเกิดแล้วตาย แล้วก็ไปสวรรค์หรือนรก ไม่มีการกลับมาเกิดใหม่อีก ซึ่งแตกต่างจากศาสนาพุทธมาก แล้วทั้งสองศาสนายังกล่าวถึงวันสิ้นโลก ซึ่งเพื่อนที่คุยด้วยนี้ ต่างก็เชื่อกันว่ามันจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้

    ซึ่งพอเราอธิบายถึงศาสนาพุทธ (พยายามอธิบายตามที่เข้าใจ และตามที่ได้รู้มา -_-') ก็บอกเขาเกี่ยวกับการเกิดแล้วตาย แล้วเกิดใหม่อีก รวมถึงเรื่องกรรม ผลของกรรม การที่เกิดมาแตกต่างกัน รวย จน พิการ สูง เตี้ย... และเรื่องของศาสนาพุทธในประเทศไทย ที่พระพุทธทำนายได้กล่าวไว้ ว่าจะอยู่ถึงห้าพันปี (ซึ่งดิฉันก็ไม่แน่ใจอีกเหมือนกันว่า ห้าพันปี นับเริ่มจากเมื่อไร ทราบแต่ว่าปีนี้ 2552 น่าจะเหลืออีกเป็นพันสองพันปี กว่าพุทธศาสนาจะสูญไป)

    คุณเฉลิมศักดิ์ ตอบ: <ABBR class=published title=2009-09-20T23:02:15+00:00>21/09/2009 - 06:02</ABBR>


    ชาวพุทธเราเองก็เช่นเดียวกัน มีการอ้างว่ามีพุทธทำนายเรื่องภัยพิบัติ ให้คนตื่นกลัว เพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง

    ดังเช่น ที่ทำเป็นลักษณะจดหมายลูกโซ่ ใครไม่ถ่ายเอกสารแจกต่ออาจจะต้องประสบกับความโชคร้าย เป็นต้น


    http://larndham.net/...opic=35194&st=9

    ดูกรอานนท์ สัตว์โลกทั้งหลายที่เกิดมาล้วนแต่ลำบากทุกชาติ ทุกศาสนา ตามธรรมชาติที่หมุนเวียนของโลก โลกหมุนไปใกล้ความแตกทำลายจนถึงสมัยที่อาตมานิพพานไปแล้วได้ 5000ปี เมื่อโลกไปใกล้กึ่งจำนวนที่อาตมาทำนายไว้ ( 2500 ) ปี มุษย์และสัตว์จะได้รับภัยภิบัติสารพัดทิศเสียครึ่งหนึ่งในระยะ 30 ปี สิ่งที่ศาสนิกชนไม่เคยพบเห็น ภัยจะทวีความรุนแรงขึ้น มนุษย์นอกศาสนาจะรบราฆ่าฟันกันถึงนองเลือดนองแผ่นดิน ทั้งในน้ำ ในอากาศ ไฟจะลุกไหม้ลุกลามเผาผลาญมนุษย์ไม่ขาดระยะต่างฝ่ายต่างทำลายกันให้ย่อยยับและตายกันจึงเลิกลา

    บุคคลเจริญด้วยเมตตา กรุณา ไม่เบียดเบียนข่มเหงอิจฉาพยาบาทและไม่ประทุษร้ายซึ่งกันและกัน ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรม คำทำนายของอาตมานี้ยังให้สัตว์ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท

    ผู้ใดรู้แล้วเชื่อ หรือไม่เชื่อ ไม่บอกเล่าให้ผู้ใดรู้กันต่อ ๆ ไป นับว่าเป็นกรรมแห่งสัตว์ต่างสิ้นสุดกันตามเวลา

    หากผู้ใดต้องการจะมีความสุขของชีวิต ให้รักษาศีลห้า ยำเกรงบิดามารดา รู้จักบุญคุณท่าน ให้เจริญภาวนาในพรมไตรคาถาว่าดังนี้
    พุทธิทุกขํ อนิจจํ อนตตา มโนสพพราชา ขตติโย ปารมิตา ตึสา อิติ สพพญญุมาคตา อิติ โพธิ มนุปปตโต อิติปิโส จ เต นโม

    ปี ค .ศ.1999 เป็นปีโลกาพินาศ ตามคำทำนายของนอสตราดามุสและนอสตราดาโต
    ภัยธรรมชาติจะเกิดในปี พ.ศ.2540-2542 นอสตราดามุสพยากรณ์ว่า จะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 ในปี ค.ศ 1999 และภัยธรรมชาติน้ำจะท่วมโลกเหตุการณ์จะรุนแรงตั้งแต่ปี พ.ศ 2542-2544


    วันสิ้นโลก - ลานธรรมเสวนา - หน้า 2
    <SCRIPT type=text/javascript> //<![CDATA[ rating = new ipb.rating( 'topic_rate_', { url: 'http://larndham.org/index.php?app=forums&module=ajax&section=topics&do=rateTopic&t=36393&md5check=' + ipb.vars['secure_hash'], cur_rating: 0, rated: 0, allow_rate: 0, multi_rate: 1, show_rate_text: true } ); //]]> </SCRIPT>
     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
    ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค



    ๕. สัมปสาทนียสูตร (๒๘)
    -----------------------------
    [๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของปาวาริกเศรษฐี
    เขตเมืองนาลันทา ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
    ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูล
    พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาค
    อย่างนี้ว่า ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน ไม่มีสมณะหรือพราหมณ์อื่นที่จะมี
    ความรู้ยิ่งไปกว่าพระผู้มีพระภาคในทางพระสัมโพธิญาณ ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร เธอกล่าวอาสภิวาจานี้ประเสริฐแท้
    เธอบันลือสีหนาทซึ่งเธอถือเอาโดยเฉพาะว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์
    เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน ไม่มีสมณะ
    หรือพราหมณ์อื่นที่จะมีความรู้ยิ่งไปกว่าพระผู้มีพระภาคในทางพระสัมโพธิญาณ ฯ
    [๗๔] ดูกรสารีบุตร เธอกำหนดใจด้วยใจ แล้วรู้ซึ่งพระผู้มีพระภาค
    อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมด ซึ่งได้มีแล้วในอดีต ว่าพระผู้มีพระภาคเหล่านั้น
    ได้มีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีพระปัญญาอย่างนี้ มีวิหารธรรมอย่างนี้ มีวิมุตติ
    อย่างนี้ ได้ละหรือ ฯ
    สา. ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
    ดูกรสารีบุตร ก็เธอกำหนดใจด้วยใจ แล้วรู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคอรหันต-
    *สัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมด ซึ่งจักมีในอนาคตว่า พระผู้มีพระภาคเหล่านั้น จักมีศีล
    อย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีพระปัญญาอย่างนี้ มีวิหารธรรมอย่างนี้ มีวิมุตติอย่างนี้
    ได้ละหรือ ฯ
    ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
    ดูกรสารีบุตร ก็เธอกำหนดใจด้วยใจ แล้วรู้เราผู้เป็นพระอรหันตสัมมา-
    *สัมพุทธเจ้าอยู่ ณ บัดนี้ว่า พระผู้มีพระภาคมีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้ มีพระปัญญา
    อย่างนี้ มีวิหารธรรมอย่างนี้ มีวิมุตติอย่างนี้ ได้ละหรือ ฯ
    ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ
    ดูกรสารีบุตร ก็เธอไม่มีเจโตปริยญาณในพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มี
    ในอดีต อนาคต และปัจจุบันเหล่านั้น เหตุไฉน เธอจึงหาญกล่าวอาสภิวาจาอัน
    ประเสริฐนี้ บันลือสีหนาทซึ่งเธอถือเอาโดยเฉพาะว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน ไม่มี
    สมณะหรือพราหมณ์อื่น ที่จะมีความรู้ยิ่งไปกว่าพระผู้มีพระภาคในทางพระสัม-
    *โพธิญาณ ฯ
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถึงว่าข้าพระองค์จะไม่มีเจโตปริยญาณในพระอรหันต-
    *สัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีในอดีต อนาคต และปัจจุบันก็จริง แต่ข้าพระองค์ก็ทราบ
    อาการที่เป็นแนวของธรรมได้ เปรียบเหมือนเมืองชายแดนของพระราชา มีป้อม
    แน่นหนา มีกำแพงและเชิงเทินมั่นคง มีประตูๆ เดียว คนยามเฝ้าประตูที่เมือง
    นั้นเป็นบัณฑิต เฉียบแหลม มีปัญญา คอยห้ามคนที่ตนไม่รู้จัก ยอมให้แต่คนที่
    รู้จักเข้าไป เขาเที่ยวตรวจดูทางแนวกำแพงรอบๆ เมืองนั้น ไม่เห็นที่ต่อหรือช่อง
    กำแพง โดยที่สุดแม้พอแมวลอดออกมาได้ จึงคิดว่า สัตว์ที่มีร่างใหญ่จะเข้ามาสู่
    เมืองนี้หรือจะออกไป สัตว์ทั้งหมดสิ้น จะต้องเข้าออกทางประตูนี้เท่านั้น ฉันใด
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ก็ทราบอาการที่เป็นแนวของธรรมได้ ฉันนั้น
    พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้มีแล้วในอดีตทั้งสิ้น ล้วนทรงละนิวรณ์
    ๕ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทอนกำลังปัญญา ล้วนมีพระมนัสตั้งมั่นแล้วใน
    สติปัฏฐาน ๔ เจริญสัมโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง จึงได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัม-
    *โพธิญาณ แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งจักมีในอนาคตทั้งสิ้น
    ก็จักต้องทรงละนิวรณ์ ๕ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทอนกำลังปัญญา จักมี
    พระมนัสตั้งมั่นแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญสัมโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง จึงจะได้
    ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ถึงแม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ณ บัดนี้ ก็ทรงละนิวรณ์ ๕ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทอนกำลังปัญญา มี
    พระมนัสตั้งมั่นแล้วในสติปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญสัมโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง จึงได้
    ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ข้าพระองค์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
    เพื่อฟังธรรม พระองค์ทรงแสดงธรรมอย่างยอดเยี่ยม ประณีตยิ่งนัก ทั้งฝ่ายดำ
    ฝ่ายขาว พร้อมด้วยอุปมาแก่ข้าพระองค์ พระองค์ทรงแสดงธรรมอย่างยอดเยี่ยม
    ประณีตยิ่งนัก ทั้งฝ่ายดำฝ่ายขาว พร้อมด้วยอุปมาด้วยประการใดๆ ข้าพระองค์ก็รู้
    ยิ่งในธรรมนั้นด้วยประการนั้นๆ ได้ถึงความสำเร็จธรรมบางส่วนในธรรมทั้งหลาย
    แล้ว จึงเลื่อมใสในพระองค์ว่า พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
    พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว ฯ
    [๗๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อธรรมที่เยี่ยม
    คือพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในฝ่ายกุศลธรรมทั้งหลาย ซึ่งได้แก่กุศลธรรม
    เหล่านี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕
    โพชฌงค์ ๗ อริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำให้แจ้งซึ่ง
    เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญา
    อันยิ่งเองในปัจจุบัน นี้ก็เป็นข้อธรรมที่เยี่ยมในกุศลธรรมทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค
    ย่อมทรงรู้ยิ่งธรรมข้อนั้นได้หมดสิ้น เมื่อทรงรู้ยิ่งธรรมข้อนั้นได้หมดสิ้น ก็ไม่มีธรรม
    ข้ออื่นที่จะทรงรู้ยิ่งขึ้นไป ซึ่งสมณะหรือพราหมณ์อื่นรู้ยิ่งแล้วจะมีความรู้ยิ่งไปกว่า
    พระองค์ ในฝ่ายกุศลธรรมทั้งหลาย ฯ
    [๗๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อธรรมที่เยี่ยม
    คือพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในฝ่ายบัญญัติอายตนะ อันได้แก่อายตนะภายใน
    และอายตนะภายนอก อย่างละ ๖ เหล่านี้ คือ จักษุกับรูป โสตกับเสียงานะ
    กับกลิ่น ชิวหากับรส กายกับโผฏฐัพพะ มนะกับธรรมารมณ์ นี้ก็เป็นข้อธรรมที่เยี่ยม
    ในฝ่ายบัญญัติอายตนะ พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรู้ยิ่งธรรมข้อนั้นได้หมดสิ้น เมื่อ
    ทรงรู้ยิ่งธรรมข้อนั้นได้หมดสิ้น ก็ไม่มีธรรมข้ออื่นที่จะทรงรู้ยิ่งขึ้นไป ซึ่งสมณะ
    หรือพราหมณ์อื่นรู้ยิ่งแล้วจะมีความรู้ยิ่งไปกว่าพระองค์ ในฝ่ายบัญญัติอายตนะ ฯ
    [๗๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง เป็นข้อธรรมที่เยี่ยม คือ
    พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในการก้าวลงสู่ครรภ์ การก้าวลงสู่ครรภ์ ๔ เหล่านี้
    คือ-
    สัตว์บางชนิดในโลกนี้ ไม่รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา ไม่รู้สึกตัวอยู่ใน
    ครรภ์มารดา ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่ ๑ ฯ
    ยังอีกข้อหนึ่ง สัตว์บางชนิดในโลกนี้ รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดาอย่าง-
    *เดียว แต่ไม่รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้เป็นการ
    ก้าวลงสู่ครรภ์ข้อที่ ๒ ฯ
    ยังอีกข้อหนึ่ง สัตว์บางชนิดในโลกนี้ รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา รู้สึก
    ตัวอยู่ในครรภ์มารดา แต่ไม่รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์
    ข้อที่ ๓ ฯ
    ยังอีกข้อหนึ่ง สัตว์บางชนิดในโลกนี้ รู้สึกตัวก้าวลงสู่ครรภ์มารดา
    รู้สึกตัวอยู่ในครรภ์มารดา รู้สึกตัวคลอดจากครรภ์มารดา นี้เป็นการก้าวลงสู่ครรภ์
    ข้อที่ ๔ ฯ
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้ก็เป็นข้อธรรมที่เยี่ยม ในการก้าวลงสู่ครรภ์ ฯ
    [๗๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมที่เยี่ยม คือ
    พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในวิธีแห่งการดักใจคน วิธีแห่งการดักใจคน ๔
    อย่างเหล่านี้ คือ-
    คนบางคนในโลกนี้ ดักใจได้ด้วยนิมิตว่า ใจของท่านอย่างนี้ ใจของท่าน
    เป็นอย่างนี้ จิตของท่านเป็นดังนี้ เขาดักใจได้มากอย่างทีเดียวว่า เรื่องนั้นต้องเป็น
    เหมือนอย่างนั้นแน่นอน เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ นี้วิธีแห่งการดักใจคนข้อที่ ๑ ฯ
    ยังอีกข้อหนึ่ง บางคนในโลกนี้ มิได้ดักใจได้ด้วยนิมิต ต่อได้ฟังเสียง
    ของมนุษย์ หรืออมนุษย์ หรือเทวดาทั้งหลายแล้ว จึงดักใจได้ว่า ใจของท่าน
    อย่างนี้ ใจของท่านเป็นอย่างนี้ จิตของท่านเป็นดังนี้ เขาดักใจได้มากอย่างทีเดียว
    ว่า เรื่องนั้นต้องเป็นเหมือนอย่างนั้นแน่นอน เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ นี้วิธีแห่งการ
    ดักใจคนข้อที่ ๒ ฯ
    ยังอีกข้อหนึ่ง คนบางคนในโลกนี้ มิได้ดักใจได้ด้วยนิมิต ทั้งมิได้ฟังเสียง
    ของมนุษย์หรืออมนุษย์หรือเทวดาทั้งหลายดักใจได้เลย ต่อได้ฟังเสียงละเมอของผู้วิตก
    วิจาร จึงดักใจได้ว่า ใจของท่านอย่างนี้ ใจของท่านเป็นอย่างนี้ จิตของท่านเป็น
    ดังนี้ เขาดักใจได้มากอย่างทีเดียวว่า เรื่องนั้นต้องเป็นเหมือนอย่างนั้นแน่นอน
    เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ นี้วิธีแห่งการดักใจคนข้อที่ ๓ ฯ
    ยังอีกข้อหนึ่ง คนบางคนในโลกนี้ มิได้ดักใจได้ด้วยนิมิต มิได้ฟังเสียง
    ของมนุษย์หรืออมนุษย์หรือเทวดาทั้งหลาย ดักใจได้เลย ทั้งมิได้ฟังเสียงละเมอของ
    ผู้วิตกวิจารดักใจได้เลย แต่ย่อมกำหนดรู้ใจของผู้ได้สมาธิซึ่งยังมีวิตกวิจารด้วยใจ
    ได้ว่า มโนสังขารของท่านผู้นี้ตั้งอยู่ด้วยประการใด เขาจะต้องตรึกถึงวิตกชื่อนี้
    ในลำดับจิตขณะนี้ ด้วยประการนั้น เขาดักใจได้มากอย่างทีเดียวว่า เรื่องนั้นต้อง
    เป็นเหมือนอย่างนั้นแน่นอน เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ นี้วิธีแห่งการดักใจคนข้อที่ ๔ ฯ
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้ก็เป็นข้อธรรมที่เยี่ยม ในวิธีแห่งการดักใจคน ฯ
    [๗๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อธรรมที่เยี่ยม คือ
    พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในทัศนสมาบัติ ทัศนสมาบัติ ๔ อย่างเหล่านี้ คือ-
    สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส
    อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท
    อาศัยมนสิการโดยชอบแล้ว ได้บรรลุเจโตสมาธิที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมพิจารณา
    กายนี้แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังห่อหุ้มโดยรอบ เต็มไปด้วย
    ของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ
    เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย
    อาหารใหม่ อาหารเก่า น้ำดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มัน-
    *เหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร นี้ทัศนสมาบัติ ข้อที่ ๑ ฯ
    ยังอีกข้อหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียร
    เครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความ
    ไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบแล้วได้บรรลุเจโตสมาธิที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว
    ย่อมพิจารณากายนี้แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังห่อหุ้มโดย
    รอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ คือ ผม ขน
    เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต
    ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า น้ำดี เสลด น้ำเหลือง เลือด
    เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร เธอพิจารณาเห็น
    กระดูก ก้าวล่วงผิวหนังเนื้อและเลือดของบุรุษเสีย นี้ทัศนสมาบัติข้อที่ ๒ ฯ
    ยังอีกข้อหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียร
    เครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความ
    ไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบแล้วได้บรรลุเจโตสมาธิ ที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว
    ย่อมพิจารณากายนี้แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังห่อหุ้มโดยรอบ
    เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน
    หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่
    ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า น้ำดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น
    น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร เธอพิจารณาเห็นกระดูก ก้าวล่วง
    ผิวหนังเนื้อและเลือดของบุรุษเสีย และย่อมรู้กระแสวิญญาณของบุรุษซึ่งขาดแล้ว
    โดยส่วนสอง คือทั้งที่ตั้งอยู่ในโลกนี้ ทั้งที่ตั้งอยู่ในปรโลกได้ นี้ทัศนสมาบัติ
    ข้อที่ ๓ ฯ
    ยังอีกข้อหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียร
    เครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความ
    ไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วได้บรรลุเจโตสมาธิที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว
    ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังห่อหุ้มโดย
    รอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ คือ ผม ขน เล็บ
    ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต
    ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า น้ำดี เสลด น้ำเหลือง เลือด
    เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร เธอย่อมพิจารณา
    เห็นกระดูก ก้าวล่วง ผิวหนังเนื้อและเลือดของบุรุษเสีย และย่อมรู้กระแสวิญญาณ
    ของบุรุษ ซึ่งขาดแล้วโดยส่วนสอง คือทั้งที่ไม่ตั้งอยู่ในโลกนี้ ทั้งที่ไม่ตั้งอยู่ใน
    ปรโลก นี้ทัศนสมาบัติข้อที่ ๔ ฯ
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นธรรมที่เยี่ยมในทัศนสมาบัติ ฯ
    [๘๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมที่เยี่ยม คือ
    พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในฝ่ายบุคคลบัญญัติ บุคคล ๗ พวกเหล่านี้ คือ
    อุภโตภาควิมุตติ ๑ ปัญญาวิมุตติ ๑ กายสักขิ ๑ ทิฏฐิปัตตะ ๑ สัทธาวิมุตติ ๑
    ธรรมานุสารี ๑ สัทธานุสารี ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นธรรมที่เยี่ยม ในฝ่าย
    บุคคลบัญญัติ ฯ
    [๘๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อธรรมที่เยี่ยม
    คือพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในฝ่ายธรรม เป็นที่ตั้งมั่น โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้
    คือ สติสัมโพชฌงค์ ๑ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ๑ วิริยสัมโพชฌงค์ ๑ ปีติ
    สัมโพชฌงค์ ๑ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๑ สมาธิสัมโพชฌงค์ ๑ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ๑
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นธรรมที่เยี่ยมในฝ่ายธรรมที่ตั้งมั่น ฯ
    [๘๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมที่เยี่ยม คือ
    พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในฝ่ายปฏิปทา ปฏิปทา ๔ เหล่านี้ คือ-
    ๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิปทาที่ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า
    ๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิปทาที่ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว
    ๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิปทาที่ปฏิบัติได้สะดวก แต่รู้ได้ช้า
    ๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิปทาที่ปฏิบัติได้สะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในปฏิปทา ๔ นั้น ปฏิปทาที่ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า
    นี้ นับว่าเป็นปฏิปทาที่ทราม เพราะประการทั้งสอง คือ เพราะปฏิบัติลำบากและ
    เพราะรู้ได้ช้า อนึ่ง ปฏิปทาที่ปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็วนี้ นับว่าเป็นปฏิปทาที่ทราม
    เพราะปฏิบัติลำบาก ปฏิปทาที่ปฏิบัติได้สะดวกแต่รู้ได้ช้านี้ นับว่าเป็นปฏิปทาที่ทราม
    เพราะรู้ได้ช้า ส่วนปฏิปทาที่ปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็วนี้ นับว่าเป็นปฏิปทาประณีต
    เพราะประการทั้งสอง คือ เพราะปฏิบัติสะดวกและเพราะรู้ได้เร็ว ข้าแต่พระองค์
    ผู้เจริญ นี้เป็นธรรมที่เยี่ยมในฝ่ายปฏิปทา ฯ
    [๘๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมที่เยี่ยม คือ
    พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในฝ่ายภัสสสมาจาร (มรรยาทเกี่ยวด้วยคำพูด) คน
    บางคนในโลกนี้ ไม่กล่าววาจาเกี่ยวด้วยมุสาวาท ไม่กล่าววาจาส่อเสียด อันทำ
    ความแตกร้าวกัน ไม่กล่าววาจาอันเกิดแต่ความแข่งดีกัน ไม่มุ่งความชนะ กล่าว
    แต่วาจา ซึ่งไตร่ตรองด้วยปัญญา อันควรฝังไว้ในใจ ตามกาลอันควร ข้าแต่พระองค์
    ผู้เจริญ นี้เป็นข้อธรรมที่เยี่ยมในฝ่ายภัสสสมาจาร ฯ
    [๘๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อธรรมที่เยี่ยม
    คือพระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในฝ่ายศีลสมาจารของบุรุษ คนบางคนในโลกนี้
    เป็นคนมีสัจจะ มีศรัทธา ไม่เป็นคนพูดหลอกลวง ไม่พูดเลียบเคียง ไม่พูด
    หว่านล้อม ไม่พูดและเล็ม ไม่แสวงหาลาภด้วยลาภ เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์
    ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ ทำความสม่ำเสมอ ประกอบชาคริยานุโยค ไม่
    เกียจคร้าน ปรารภความเพียร เพ่งฌาน มีสติ พูดดี และมีปฏิภาณ มีคติ มี
    ปัญญาทรงจำ มีความรู้ ไม่ติดอยู่ในกาม มีสติ มีปัญญารักษาตน เที่ยวไป ข้าแต่-
    *พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นธรรมที่เยี่ยมในฝ่ายศีลสมาจารของบุรุษ ฯ
    [๘๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมที่เยี่ยม คือ
    พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในฝ่ายอนุสาสนวิธี อนุสาสนวิธี ๔ อย่างเหล่านี้ คือ
    ๑. พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยมนสิการโดยชอบเฉพาะ
    พระองค์ว่า บุคคลนี้ เมื่อปฏิบัติตามที่สั่งสอน จักเป็นพระโสดาบัน มีอันไม่
    ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า เพราะสังโยชน์ ๓
    สิ้นไป ฯ
    ๒. พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบบุคคลอื่นด้วยมนสิการโดยชอบเฉพาะ
    พระองค์ว่า บุคคลนี้ เมื่อปฏิบัติตามที่สั่งสอน จักเป็นพระสกทาคามี จักมาสู่โลก
    นี้อีกคราวเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป และ
    เพราะราคะโทสะและโมหะเบาบาง ฯ
    ๓. พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยมนสิการโดยชอบเฉพาะ
    พระองค์ว่า บุคคลนี้ เมื่อปฏิบัติตามที่สั่งสอน จักเป็นพระอนาคามีผู้เป็นอุปปาติกะ
    ปรินิพพานในภพที่เกิดนั้น ไม่ต้องกลับมาจากโลกนั้น เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕
    สิ้นไป ฯ
    ๔. พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยมนสิการโดยชอบเฉพาะ
    พระองค์ว่า บุคคลนี้ เมื่อปฏิบัติตามที่สั่งสอน จักได้บรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
    อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป จักทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
    ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ฯ
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นธรรมที่เยี่ยมในฝ่ายอนุสาสนวิธี ฯ
    [๘๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมที่เยี่ยม คือ
    พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในฝ่ายวิมุตติญาณของบุคคลอื่น คือ
    ๑. พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยมนสิการโดยชอบเฉพาะ
    พระองค์ว่า บุคคลนี้จักเป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง
    มีอันจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป ฯ
    ๒. พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยมนสิการโดยชอบเฉพาะ
    พระองค์ว่า บุคคลนี้จักเป็นพระสกทาคามี จักมาสู่โลกนี้อีกคราวเดียวเท่านั้น แล้ว
    จักทำที่สุดแห่งทุกข์ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป และเพราะราคะโทสะและโมหะ
    เบาบาง ฯ
    ๓. พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยมนสิการโดยชอบเฉพาะ
    พระองค์ว่า บุคคลนี้จักเป็นพระอนาคามีผู้อุปปาติกะปรินิพพานในภพที่เกิดนั้น ไม่
    ต้องกลับมาจากโลกนั้น เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป ฯ
    ๔. พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบบุคคลอื่น ด้วยมนสิการโดยชอบ
    เฉพาะพระองค์ว่า บุคคลนี้จักได้บรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
    เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป จักทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นธรรมที่เยี่ยม ในฝ่ายวิมุตติญาณของบุคคลอื่น ฯ
    [๘๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมที่เยี่ยม คือ
    พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในฝ่ายสัสสตวาทะ สัสสตวาทะ ๓ เหล่านี้ คือ
    สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส
    อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัย
    มนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ ที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมตามระลึกถึง
    ขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือตามระลึกชาติได้ หนึ่งชาติบ้าง
    สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง
    สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง
    แสนชาติบ้าง หลายร้อยชาติบ้าง หลายพันชาติบ้าง หลายแสนชาติบ้างว่าในภพ
    โน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น
    เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว
    ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิว-
    *พรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุ
    เพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาบังเกิดในภพนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์
    ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วย
    ประการฉะนี้ เขากล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้กาลที่เป็นอดีตได้ว่า โลกพินาศแล้ว
    หรือเจริญขึ้นแล้ว อนึ่ง ข้าพเจ้ารู้กาลที่เป็นอนาคตได้ว่า โลกจักพินาศ หรือจัก
    เจริญขึ้น อัตตาและโลกเที่ยงคงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด
    ส่วนเหล่าสัตว์นั้นย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่
    เที่ยงเสมอ คงมีอยู่แท้ นี้เป็นสัสสตวาทะข้อที่ ๑ ฯ
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังอีกข้อหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลก
    นี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบ
    เนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิที่
    เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมตามระลึกขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ
    คือตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้สังวัฏกัปวิวัฏกัปหนึ่งบ้าง สองบ้าง
    สามบ้าง สี่บ้าง ห้าบ้าง สิบบ้างว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น
    มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนด
    อายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาบังเกิดในภพนี้ ย่อมตามระลึกถึง
    ขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ
    ด้วยประการฉะนี้ เขากล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้กาลที่เป็นอดีตได้ว่า โลกพินาศแล้ว
    หรือเจริญขึ้นแล้ว อนึ่ง ข้าพเจ้ารู้กาลที่เป็นอนาคตได้ว่า โลกจักพินาศ หรือจัก
    เจริญขึ้น อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วน
    เหล่าสัตว์นั้นย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอ
    คงมีอยู่แท้ นี้เป็นสัสสตวาทะข้อที่ ๒ ฯ
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังอีกข้อหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้
    อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ
    อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เมื่อจิตตั้ง
    มั่นแล้วย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนหลายประการ คือตามระลึก
    ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้สิบสังวัฏกัปวิวัฏกัปบ้าง ยี่สิบบ้าง สามสิบบ้าง
    สี่สิบบ้างว่า ในภพโน้นเราได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
    มีอาหารอย่างนั้นเสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติ
    จากภพนั้นแล้ว ได้มาบังเกิดในภพนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาล
    ก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ เขา
    กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ารู้กาลที่เป็นอดีตได้ว่า โลกพินาศแล้ว หรือเจริญขึ้นแล้ว
    อนึ่ง ข้าพเจ้ารู้กาลที่เป็นอนาคตได้ว่า โลกจักพินาศ หรือจักเจริญขึ้น อัตตาและ
    โลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์
    นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอ คงมี
    อยู่แท้ นี้เป็นสัสสตวาทะข้อที่ ๓ ฯ
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นธรรมที่เยี่ยม ในฝ่ายสัสสตวาทะ ฯ
    [๘๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมที่เยี่ยม คือ
    พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในฝ่ายบุพเพนิวาสานุสติญาณ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความ
    เพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการ
    โดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัย
    อยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือตามระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติ
    บ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติ
    บ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง หลายสังวัฏกัป
    บ้าง หลายวิวัฏกัปบ้าง หลายสังวัฏวิวัฏกัปบ้างว่า ในภพโน้น เราได้มีชื่ออย่าง
    นั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์
    อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพ
    โน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มี
    อาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้น
    จุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาบังเกิดในภพนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ใน
    กาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ฯ
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัตว์ทั้งหลายที่มีชาติอันไม่อาจนับได้ด้วยวิธีคำนวณ
    หรือวิธีนับ ก็ยังมีอยู่ แม้ภพซึ่งเป็นที่ๆ เขาเคยอาศัยอยู่ คือรูปภพ อรูปภพ
    สัญญีภพ อสัญญีภพ เนวสัญญีนาสัญญีภพ [ที่ไม่อาจนับได้] ก็ยังมี ย่อมตามระลึก
    ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ
    ด้วยประการฉะนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นธรรมที่เยี่ยม ในฝ่ายบุพเพ-
    *นิวาสานุสติญาณ ฯ
    [๘๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมที่เยี่ยม คือ
    พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในฝ่ายรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย ข้าแต่
    พระองค์ผู้เจริญ สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผา
    กิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท
    อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ ที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว เขาย่อมเห็นหมู่
    สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี
    ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็น
    ไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียน
    พระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ เบื้องหน้าแต่ตาย
    เพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้
    ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมา-
    *ทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อม
    เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เขาย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว
    ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกตาย ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์
    ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ข้า
    แต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นธรรมที่เยี่ยมในฝ่ายรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย ฯ
    [๙๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมที่เยี่ยม คือ
    พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในฝ่ายอิทธิวิธี อิทธิวิธี ๒ อย่างเหล่านี้ คือ
    ๑. ฤทธิ์ที่ประกอบด้วยอาสวะ ประกอบด้วยอุปธิ ไม่เรียกว่าเป็นของ
    พระอริยะ มีอยู่ ฯ
    ๒. ฤทธิ์ที่ปราศจากอาสวะ ปราศจากอุปธิ เรียกว่าเป็นของพระอริยะ
    มีอยู่ ฯ
    ๑. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฤทธิ์ที่ประกอบด้วยอาสวะ ประกอบด้วยอุปธิ
    ที่ไม่เรียกว่าเป็นของพระอริยะนั้น เป็นไฉน คือสมณะหรือพราหมณ์บางคนใน
    โลกนี้ อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความ
    ประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโต-
    *สมาธิที่เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว เขาได้บรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือคนเดียวเป็นหลาย
    คนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา
    กำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดิน
    เหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ
    เหมือนนกก็ไป ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็
    ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้ฤทธิ์ที่ประกอบ
    ด้วยอาสวะ ประกอบด้วยอุปธิ ไม่เรียกว่าเป็นของพระอริยะ ฯ
    ๒. ส่วนฤทธิ์ที่ปราศจากอาสวะ ปราศจากอุปธิ ที่เรียกว่าเป็นของพระอริยะ
    นั้นเป็นไฉน คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ถ้าหวังอยู่ว่าเราพึงมีสัญญาในสิ่งปฏิกูล
    ว่าไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาในสิ่งปฏิกูลนั้นว่าไม่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า
    เราพึงมีสัญญาในสิ่งไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาในสิ่งไม่
    ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีสัญญาในสิ่งทั้งที่ปฏิกูลและไม่
    ปฏิกูล ว่าไม่ปฏิกูลอยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาในสิ่งทั้งที่ปฏิกูลและไม่ปฏิกูลนั้น ว่าไม่
    ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า เราพึงมีสัญญาในสิ่งทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูล
    อยู่ ก็ย่อมเป็นผู้มีสัญญาในสิ่งทั้งที่ปฏิกูลและไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ถ้า
    หวังอยู่ว่า เราพึงละวางสิ่งที่เป็นปฏิกูลและไม่เป็นปฏิกูลทั้ง ๒ นั้นเสีย แล้ววาง
    เฉยมีสติสัมปชัญญะ ก็ย่อมเป็นผู้วางเฉยในสิ่งนั้นที่เป็นปฏิกูลและไม่เป็นปฏิกูล
    นั้นเสีย มีสติสัมปชัญญะอยู่ นี้ฤทธิ์ที่ปราศจากอาสวะ ปราศจากอุปธิ ที่เรียกว่า
    เป็นของพระอริยะ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้เป็นข้อธรรมที่เยี่ยมในฝ่ายอิทธิวิธี
    พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรู้ข้อธรรมนั้นได้ทั้งสิ้น เมื่อทรงรู้ข้อธรรมนั้นได้ทั้งสิ้น ก็
    ไม่มีข้อธรรมอื่นที่จะต้องทรงรู้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ซึ่งไม่มีสมณะหรือพราหมณ์อื่นที่รู้ยิ่ง
    แล้ว จะมีความรู้ยิ่งขึ้นไปกว่าพระองค์ในฝ่ายอิทธิวิธี ฯ
    [๙๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิ่งใดอันกุลบุตรผู้มีศรัทธาปรารภความเพียร
    มีความเพียรมั่น จะพึงถึงด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความ
    บากบั่นของบุรุษ ด้วยความเอาธุระของบุรุษ สิ่งนั้นอันพระผู้มีพระภาคได้บรรลุ
    เต็มที่แล้ว อนึ่ง พระผู้มีพระภาคไม่ทรงประกอบความพัวพันด้วยความสุขในกาม
    ซึ่งเป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ
    ด้วยประโยชน์ และไม่ทรงประกอบการทำตนให้ลำบากเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระ-
    *อริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงได้ฌาน ๔ อันล่วง
    กามาวจรจิตเสีย ให้อยู่สบายในปัจจุบัน ได้ตามประสงค์ ได้ไม่ยาก ไม่ลำบาก
    ถ้าเขาถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ดูกรท่านสารีบุตร สมณะหรือพราหมณ์เหล่าอื่นที่
    ได้มีในอดีต ท่านที่มีความรู้เยี่ยมยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาคในสัมโพธิญาณมีไหม เมื่อ
    เขาถามอย่างนี้ ข้าพระองค์พึงตอบว่าไม่มี ถ้าเขาถามว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่า
    อื่นที่จักมีในอนาคต ท่านที่มีความรู้เยี่ยมยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาคในสัมโพธิญาณจัก
    มีไหม เมื่อเขาถามอย่างนี้ ข้าพระองค์พึงตอบว่า ไม่มี ถ้าเขาถามว่า สมณะ
    หรือพราหมณ์เหล่าอื่นที่มีอยู่ในปัจจุบัน ท่านที่มีความรู้เสมอเท่ากับพระผู้มีพระภาค
    ในสัมโพธิญาณมีอยู่ไหม เมื่อเขาถามอย่างนี้ ข้าพระองค์ก็พึงตอบว่าไม่มี ถ้าเขา
    ถามว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าอื่นที่ได้มีในอดีต ท่านที่มีความรู้เสมอเท่ากับ
    พระผู้มีพระภาคในสัมโพธิญาณมีไหม เมื่อเขาถามอย่างนี้ ข้าพระองค์พึงตอบว่า
    มีอยู่ ถ้าเขาถามว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าอื่นที่จักมีในอนาคต ท่านที่มีความรู้
    เสมอเท่ากับพระผู้มีพระภาค ในสัมโพธิญาณจักมีไหม เมื่อเขาถามอย่างนี้ ข้า
    พระองค์พึงตอบว่า มีอยู่ ถ้าเขาถามว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าอื่นที่มีอยู่ใน
    ปัจจุบัน ท่านที่มีความรู้เสมอเท่ากับพระผู้มีพระภาคในสัมโพธิญาณมีไหม เมื่อเขา
    ถามอย่างนี้ ข้าพระองค์พึงตอบว่า ไม่มี ก็ถ้าเขาถามข้าพระองค์ว่า เหตุไรท่านจึงตอบ
    รับเป็นบางอย่าง ปฏิเสธเป็นบางอย่าง เมื่อเขาถามอย่างนี้ ข้าพระองค์พึงตอบเขาว่า
    นี่แน่ท่าน ข้อนี้ ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะพระพักตร์ ได้รับเรียนมาเฉพาะพระพักตร์
    พระผู้มีพระภาคว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต เป็นผู้มีความรู้
    เสมอเท่ากับเราในสัมโพธิญาณ ข้อนี้ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะพระพักตร์ ได้รับ
    เรียนมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
    ในอนาคต จักเป็นผู้มีความรู้เสมอเท่ากับเราในสัมโพธิญาณ ข้อนี้ข้าพเจ้าได้สดับมา
    เฉพาะพระพักตร์ ได้รับเรียนมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคว่า ข้อที่พระ
    อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ จะเกิดพร้อมกันในโลกธาตุเดียวกันนั้น
    ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส นั่นเป็นฐานะที่จะมีไม่ได้ ฯ
    [๙๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ถูกเขาถามอย่างนี้ ตอบ
    อย่างนี้ จะนับว่าเป็นผู้กล่าวตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วแล ไม่
    ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริงแลหรือ ชื่อว่าแก้ไปตามธรรมสมควรแก่
    ธรรมแลหรือ ทั้งการโต้ตอบอันมีเหตุอย่างไรๆ มิได้มาถึงสถานะอันควรติเตียน
    แลหรือ ฯ
    ถูกแล้วสารีบุตร เมื่อเธอถูกเขาถามอย่างนี้ แก้อย่างนี้นับว่าเป็นผู้กล่าว
    ตามพุทธพจน์ที่เรากล่าวแล้วทีเดียว ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง ชื่อว่าแก้
    ไปตามธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการโต้ตอบอันมีเหตุอย่างไรๆ ก็มิได้มาถึงสถานะ
    อันควรติเตียน ฯ
    [๙๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้กราบทูลว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมา ความมักน้อย ความสันโดษ
    ความขัดเกลา มีอยู่แก่พระตถาคตผู้ทรงมีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนี้ แต่ไม่ทรง
    แสดงพระองค์ให้ปรากฏ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้เห็น
    ธรรมแม้สักข้อหนึ่งจากธรรมของพระองค์นี้ในตนแล้ว พวกเขาจะต้องยกธงเที่ยว
    ประกาศ ด้วยเหตุเพียงเท่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมี
    มา ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลามีอยู่แก่พระตถาคตผู้ทรงมีฤทธิ์
    มีอานุภาพมากอย่างนี้ แต่ไม่ทรงแสดงพระองค์ให้ปรากฏ ฯ
    ดูกรอุทายี เธอจงดูความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลาของ
    ตถาคต ผู้มีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนี้ แต่ไม่แสดงตนให้ปรากฏ เพราะเหตุนั้น
    ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ได้เห็นธรรมแม้สักข้อหนึ่งจากธรรมของเรานี้ในตน
    แล้ว พวกเขาจะต้องยกธงเที่ยวประกาศ ด้วยเหตุเพียงเท่านั้น ดูกรอุทายี เธอ
    จงดูความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลาของตถาคต ผู้มีฤทธิ์มีอานุภาพ
    มากอย่างนี้ แต่ไม่แสดงตนให้ปรากฏ ฯ
    ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสกะท่านพระสารีบุตรว่า เพราะเหตุนั้นแล
    สารีบุตร เธอพึงกล่าวธรรมปริยายนี้เนืองๆ แก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาทั้ง
    หลายในธรรมวินัยนี้ ดูกรสารีบุตรความสงสัยหรือความเคลือบแคลงในตถาคตซึ่งจัก
    ยังมีอยู่บ้างแก่โมฆบุรุษทั้งหลาย พวกเขาจักละเสียได้ เพราะได้ฟังธรรมปริยายนี้ ฯ
    ท่านพระสารีบุตร ได้ประกาศความเลื่อมใสของตนนี้ เฉพาะพระพักตร์
    พระผู้มีพระภาค ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น คำไวยากรณ์นี้ จึงมีชื่อว่า
    "สัมปสาทนียะ" ดังนี้แล ฯ
    จบ สัมปสาทนียสูตร ที่ ๕

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=11&A=2130&Z=2536
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2010
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อะไรเป็นเหตุให้โลก พินาศ...!?!
    ท่านอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ
    มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.)


    • ถ า ม

    อะไรเป็นเหตุให้โลกพินาศด้วยแผ่นดินถล่ม น้ำท่วมเป็นต้น
    เท่าที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว ยังไม่ถึงขนาดโลกพินาศ

    แต่ในกาลต่อไปยังจะมีเหตุการณ์ทำให้โลกพินาศ
    ยิ่งกว่านี้หรือไม่ จะมีวิธีแก้อย่างไร


    • ต อ บ

    ตามหลักพระพุทธศาสนา
    สิ่งที่เกิดขึ้นได้ก็ย่อมเสื่อมสลายพินาศไปไปได้
    เพียงแต่อายุโลก อายุคนหรือสัตว์ช้าเร็วต่างกันเท่านั้น
    เรื่องของโลกพินาศเป็นของธรรมดา
    อาจพินาศด้วยไฟด้วยน้ำหรือลมก็ได้



    [​IMG]


    ถอดความเป็นธรรมะ

    โทสะ เปรียบด้วยไฟ
    โลภะ เปรียบด้วยน้ำ
    โมหะ เปรียบด้วยลม


    จะแก้ไม่ให้โลกวินาศต้องสั่งสอนกัน
    ให้ระงับ โลภะ โทส และโมหะ
    ข้อสำคัญนี่จะแก้ที่คนอื่น
    ทางพระพุทธศาสนาสอนให้แก้ที่ตัวเราเองเป็นอันดับแรก


    ต่อจากนั้นก็แก้ผู้ที่อยู่ในปกครองของเรา เช่น เยาวชน
    และช่วยกันส่งเสริมศีลรรม และคุณธรรม
    เท่าที่สามารถจะทำได้
    ก็ชื่อว่าได้ทำดีและมีส่วนช่วยโลกได้ตามสมควร

    แต่จะแก้โลกทั้งโลก
    ไม่ให้ตกอยู่ในสภาพเสื่อมสลายตลอดไปนั้น
    เป็นเรื่องฝืนธรรมชาติ


    บางครั้งพระพุทธเจ้า จึงทรงย่อโลกให้มาอยู่ที่ตัวเรา
    คือร่างกายประมาณวาหนึ่งอันมีใจครองนี้
    แล้วสอนให้ปฏิบัติชอบตามอริยมรรคมีองค์ ๘
    ซึ่งย่อลงเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา


    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    (ที่มา : คำถาม-คำตอบ ปัญหาทางพระพุทธศาสนา เล่ม ๒ โดย อาจารย์สุชีพ ปุญนุภาพ,
    พิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๒, โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์, หน้า ๗)


    แสดงกระทู้ - อะไรเป็นเหตุให้โลกพินาศ...!?! : อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ &bull; ลานธรรมจักร
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    <center>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
    ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค</center><table align="center" background="" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="90%"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr><tr><td vspace="0" hspace="0" bgcolor="darkblue" width="100%">[​IMG]</td></tr></tbody></table>

    ๓. จักกวัตติสูตร (๒๖)

    --------------------------

    [๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เมืองมาตุลาในแคว้นมคธ ณ ที่
    นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯ
    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสดังนี้ว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามี
    สิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
    มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง เป็นไฉน
    ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
    มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
    เสียได้ ฯ
    ๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นเวทนา
    ในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด
    อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯ
    ๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่
    มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
    เสียได้ ฯ
    ๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
    ทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
    โทมนัสในโลกเสียได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
    มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในโคจรซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดาของตน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในโคจร ซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดา
    ของตน มารจักไม่ได้โอกาส มารจักไม่ได้อารมณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุญนี้
    เจริญขึ้นอย่างนี้ เพราะเหตุถือมั่นธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศล ฯ
    [๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพระราชาจักรพรรดิ์
    พระนามว่า ทัลหเนมิ ผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน
    มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชำนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์
    ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว
    คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้ว เป็นที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วน
    กล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์
    ทรงชำนะโดยธรรม มิต้องใช้อาชญา มิต้องใช้ศัสตราครอบครองแผ่นดิน มีสาคร
    เป็นขอบเขต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น โดยล่วงไปหลายปี หลายร้อยปี หลาย
    พันปี ท้าวเธอตรัสเรียกบุรุษคนหนึ่งมารับสั่งว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ท่านเห็นจักรแก้ว
    อันเป็นทิพย์ถอยเคลื่อนจากที่ในกาลใด พึงบอกแก่เราในกาลนั้นทีเดียว ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย บุรุษนั้นทูลสนองพระราชดำรัสของท้าวเธอแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    โดยล่วงไปอีกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี บุรุษนั้นได้เห็นจักรแก้วอันเป็น
    ทิพย์ถอยเคลื่อนจากที่ จึงเข้าไปเฝ้าท้าวเธอถึงที่ประทับ แล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ
    พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์พึงทรงทราบ จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพระองค์ถอย-
    *เคลื่อนจากที่แล้ว ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอตรัสเรียกพระกุมารองค์ใหญ่มา
    รับสั่งว่า ดูกรพ่อกุมาร ได้ยินว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพ่อถอยเคลื่อนจากที่แล้ว
    ก็พ่อได้สดับมาดังนี้ว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพระเจ้าจักรพรรดิ์องค์ใด ถอย
    เคลื่อนจากที่ พระเจ้าจักรพรรดิ์พระองค์นั้น พึงทรงพระชนม์อยู่ได้ไม่นานในบัดนี้
    ก็กามทั้งหลายอันเป็นของมนุษย์ พ่อได้บริโภคแล้ว บัดนี้เป็นสมัยที่จะแสวงหากาม
    ทั้งหลายอันเป็นทิพย์ของพ่อ มาเถิดพ่อกุมาร พ่อจงปกครองแผ่นดิน อันมีสมุทร
    เป็นขอบเขตนี้ ฝ่ายพ่อจักปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาด ออกจาก
    เรือนบวชเป็นบรรพชิต ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอทรงสั่งสอนพระกุมารองค์ใหญ่
    ในราชสมบัติเรียบร้อยแล้ว ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้าย้อม-
    *น้ำฝาด เสด็จออกจากเรือน ทรงผนวชเป็นบรรพชิตแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็เมื่อพระราชฤาษี ทรงผนวชได้ ๗ วัน จักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว
    [๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ราชบุรุษคนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระราชา
    ผู้เป็นกษัตริย์ ซึ่งได้มูรธาภิเษกแล้ว ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ
    พระพุทธเจ้าข้า พระองค์พึงทรงทราบเถิด จักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น เมื่อจักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว
    ท้าวเธอได้ทรงเสียพระทัยและทรงเสวยแต่ความเสียพระทัย ท้าวเธอเสด็จเข้าไป
    หาพระราชฤาษีถึงที่ประทับ แล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ พระพุทธเจ้าข้า
    พระองค์พึงทรงทราบว่าจักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เมื่อท้าวเธอกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระราชฤาษีจึงตรัสกะท้าวเธอว่า ดูกรพ่อ พ่อ
    อย่าเสียใจ และอย่าเสวยแต่ความเสียใจไปเลย ในเมื่อจักรแก้วอันเป็นทิพย์
    อันตรธานไปแล้ว ดูกรพ่อ ด้วยว่าจักรแก้วอันเป็นทิพย์หาใช่สมบัติสืบมาจาก
    บิดาของพ่อไม่ ดูกรพ่อ เชิญพ่อประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐเถิด ข้อนี้
    เป็นฐานะที่จะมีได้แล เมื่อพ่อประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ จักรแก้ว
    อันเป็นทิพย์ซึ่งมีกำพันหนึ่ง มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง จักปรากฏมี
    แก่พ่อผู้สระพระเศียร แล้วรักษาอุโบสถอยู่ ณ ปราสาทอันประเสริฐชั้นบน ใน
    วันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ฯ
    ร. พระพุทธเจ้าข้า ก็จักกวัตติวัตรอันประเสริฐนั้น เป็นไฉน ฯ
    ราช. ดูกรพ่อ ถ้าเช่นนั้น พ่อจงอาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม
    ทำความเคารพธรรม นับถือธรรม บูชาธรรม ยำเกรงธรรม มีธรรมเป็นธงชัย
    มีธรรมเป็นยอด มีธรรมเป็นใหญ่ จงจัดการรักษาป้องกันและคุ้มครองอันเป็นธรรม
    ในชนภายใน ในหมู่พล ในพวกกษัตริย์ผู้เป็นอนุยนต์ ในพวกพราหมณ์และ
    คฤหบดี ในชาวนิคมและชาวชนบททั้งหลาย ในพวกสมณพราหมณ์ ในเหล่าเนื้อ
    และนก ดูกรพ่อ การอธรรมอย่าให้มีได้ในแว่นแคว้นของพ่อเลย ดูกรพ่อ อนึ่ง
    บุคคลเหล่าใดในแว่นแคว้นของพ่อ ไม่มีทรัพย์ พ่อพึงให้ทรัพย์แก่บุคคลเหล่านั้น
    ด้วย ดูกรพ่อ อนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่าใด ในแว่นแคว้นของพ่อ งดเว้นจาก
    ความเมาและความประมาท ตั้งมั่นอยู่ในขันติและโสรัจจะ ฝึกตนแต่ผู้เดียว สงบ
    ตนแต่ผู้เดียว ให้ตนดับกิเลสอยู่แต่ผู้เดียว พึงเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น
    โดยกาลอันควร แล้วไต่ถามสอบถามว่า ท่านขอรับ กุศลคืออะไร ท่านขอรับ
    อกุศลคืออะไร กรรมมีโทษคืออะไร กรรมไม่มีโทษคืออะไร กรรมอะไรควรเสพ
    กรรมอะไรไม่ควรเสพ กรรมอะไรอันข้าพเจ้ากระทำอยู่ พึงมีเพื่อไม่เป็นประโยชน์
    เพื่อทุกข์ สิ้นกาลนาน หรือว่ากรรมอะไรที่ข้าพเจ้ากระทำอยู่ พึงมีเพื่อประโยชน์
    เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน พ่อได้ฟังคำของสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว สิ่งใด
    เป็นอกุศล พึงละเว้นสิ่งนั้นเสีย สิ่งใดเป็นกุศลพึงถือมั่นสิ่งนั้นประพฤติ ดูกรพ่อ
    นี้แล คือจักกวัตติวัตรอันประเสริฐนั้น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท้าวเธอรับสนองพระดำรัสพระราชฤาษีแล้ว ทรง
    ประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ เมื่อท้าวเธอทรงประพฤติจักกวัตติวัตรอัน
    ประเสริฐอยู่ จักรแก้วอันเป็นทิพย์ซึ่งมีกำพันหนึ่ง มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วย
    อาการทุกอย่าง ปรากฏมีแก่ท้าวเธอผู้สระพระเศียร ทรงรักษาอุโบสถอยู่ ณ
    ปราสาทอันประเสริฐชั้นบน ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ท้าวเธอทอดพระเนตรเห็นแล้ว
    มีพระดำริว่า ก็เราได้สดับมาว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ มีกำพันหนึ่ง มีกง มีดุม
    บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง ปรากฏมีแก่พระราชาผู้เป็นกษัตริย์พระองค์ใด ผู้ได้
    มูรธาภิเษก สระพระเศียร ทรงรักษาอุโบสถอยู่ ณ ปราสาทอันประเสริฐชั้นบน
    ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ พระราชาพระองค์นั้น เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ เราได้เป็น
    พระเจ้าจักรพรรดิ์หรือหนอ ฯ
    [๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอเสด็จลุกจากพระที่แล้ว
    ทรงทำผ้าอุตตราสงค์เฉวียงพระอังสาข้างหนึ่ง จับพระเต้าด้วยพระหัตถ์ซ้าย ทรง
    ประคองจักรแก้วด้วยพระหัตถ์ขวา แล้วตรัสว่า ขอจักรแก้วอันประเสริฐ จงเป็น
    ไปเถิด ขอจักรแก้วอันประเสริฐ จงชนะโลกทั้งปวงเถิด ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ขณะนั้น จักรแก้วนั้นก็เป็นไปทางทิศบูรพา พระเจ้า
    จักรพรรดิ์พร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ก็เสด็จติดตามไป ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินที่อยู่ ณ ทิศบูรพาพากันเสด็จ
    เข้าไปเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ์ ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเชิญเสด็จมาเถิด มหาราช-
    *เจ้า พระองค์เสด็จมาดีแล้ว ราชอาณาจักรเหล่านี้ เป็นของพระองค์ทั้งสิ้น ขอ
    พระองค์พระราชทานพระบรมราโชวาทเถิด มหาราชเจ้า ท้าวเธอจึงตรัสอย่างนี้ว่า
    พวกท่านไม่พึงฆ่าสัตว์
    ไม่พึงถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้
    ไม่พึงประพฤติผิดในกามทั้งหลาย
    ไม่พึงกล่าวคำเท็จ
    ไม่พึงดื่มน้ำเมา
    จงบริโภคตามเดิมเถิด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกพระเจ้าแผ่นดินที่อยู่ ณ ทิศบูรพาได้พากันตาม
    เสด็จท้าวเธอไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น จักรแก้วนั้น ก็ลงไปสู่สมุทร
    ด้านบูรพา แล้วโผล่ขึ้นไปลงที่สมุทรด้านทักษิณ แล้วโผล่ขึ้นไปสู่ทิศปัจฉิม
    ท้าวเธอพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนาก็เสด็จติดตามไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักรแก้ว
    ประดิษฐานอยู่ ณ ประเทศใด ท้าวเธอก็เสด็จเข้าไปพักอยู่ ณ ประเทศนั้น
    พร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินที่อยู่ ณ ทิศปัจฉิมก็พากันเสด็จ
    เข้าไปเฝ้าท้าวเธอ ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเชิญเสด็จมาเถิด มหาราชเจ้า
    พระองค์เสด็จมาดีแล้ว มหาราชเจ้า อาณาจักรเหล่านี้เป็นของพระองค์ทั้งสิ้น
    มหาราชเจ้า ขอพระองค์พระราชทานพระบรมราโชวาทเถิด ท้าวเธอจึงตรัสอย่างนี้ว่า
    พวกท่านไม่พึงฆ่าสัตว์
    ไม่พึงเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
    ไม่พึงประพฤติผิดในกามทั้งหลาย
    ไม่พึงกล่าวคำเท็จ
    ไม่พึงดื่มน้ำเมา
    จงบริโภคตามเดิมเถิด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกพระเจ้าแผ่นดินที่อยู่ ณ ทิศอุดร ได้พากันตาม
    เสด็จท้าวเธอไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น จักรแก้วนั้นได้ชนะวิเศษยิ่งซึ่ง
    แผ่นดินมีสมุทรเป็นขอบเขตได้แล้ว จึงกลับคืนสู่ราชธานีนั้น ได้หยุดอยู่ที่ประตู
    พระราชวังของท้าวเธอ ปรากฏเหมือนเครื่องประดับ ณ มุขสำหรับทำเรื่องราว
    สว่างไสวอยู่ทั่วภายในพระราชวังของท้าวเธอ ฯ
    [๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิ์องค์ที่ ๒ ก็ดี องค์ที่ ๓ ก็ดี
    องค์ที่ ๔ ก็ดี องค์ที่ ๕ ก็ดี องค์ที่ ๖ ก็ดี องค์ที่ ๗ ก็ดี โดยกาลล่วงไป
    หลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี ได้ตรัสเรียกบุรุษคนหนึ่งมารับสั่งว่า ดูกรบุรุษ
    ผู้เจริญ ท่านเห็นจักรแก้วอันเป็นทิพย์ ถอยเคลื่อนจากที่ในกาลใด พ่อพึงบอก
    แก่เราในกาลนั้นทีเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นทูลสนองพระราชดำรัสของ
    ท้าวเธอแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยล่วงไปอีกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี
    บุรุษนั้นได้แลเห็นจักรแก้วอันเป็นทิพย์ถอยเคลื่อนจากที่ จึงเข้าไปเฝ้าท้าวเธอถึงที่
    ประทับ แล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์พึงทรงทราบ
    จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพระองค์ถอยเคลื่อนจากที่แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับ
    นั้น ท้าวเธอตรัสเรียกพระกุมารองค์ใหญ่มารับสั่งว่า ดูกรพ่อกุมาร ได้ยินว่า
    จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพ่อถอยเคลื่อนจากที่แล้ว ก็พ่อได้สดับมาดังนี้ว่า จักร-
    *แก้วอันเป็นทิพย์ของพระเจ้าจักรพรรดิ์พระองค์ใด ถอยเคลื่อนออกจากที่ พระ-
    *เจ้าจักรพรรดิ์พระองค์นั้นพึงทรงพระชนม์อยู่ได้ไม่นาน ในบัดนี้ ก็กามทั้งหลาย
    อันเป็นของมนุษย์ พ่อได้บริโภคแล้ว บัดนี้เป็นสมัยที่จะแสวงหากามทั้งหลาย
    อันเป็นทิพย์ของพ่อ มาเถิดพ่อกุมาร พ่อจงปกครองแผ่นดินอันมีสมุทรเป็น
    ขอบเขตนี้ ฝ่ายพ่อจะปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาด ออกจากเรือนบวช
    เป็นบรรพชิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอทรงสั่งสอนพระกุมารองค์
    ใหญ่ในราชสมบัติเรียบร้อยแล้ว ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้า
    ย้อมน้ำฝาด เสด็จออกจากเรือนทรงผนวชเป็นบรรพชิตแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็เมื่อพระราชฤาษี ทรงพระผนวชได้ ๗ วัน จักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธาน
    ไปแล้ว ฯ
    [๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระราชา
    ผู้กษัตริย์ ซึ่งได้มูรธาภิเษกแล้วถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่า ขอเดชะ
    พระพุทธเจ้าข้า พระองค์พึงทรงทราบเถิด จักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอเมื่อจักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว
    ได้ทรงเสียพระทัย และได้ทรงเสวยแต่ความเสียพระทัย แต่ไม่ได้เสด็จเข้าไป
    เฝ้าพระราชฤาษี ทูลถามจึงจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ นัยว่าท้าวเธอทรงปกครอง
    ประชาราษฎร์ ตามพระมติของพระองค์เอง เมื่อท้าวเธอทรงปกครองประชาราษฎร์
    ตามพระมติของพระองค์อยู่ ประชาราษฎร์ก็ไม่เจริญต่อไป เหมือนเก่าก่อน เหมือน
    เมื่อกษัตริย์พระองค์ก่อนๆ ซึ่งได้ทรงประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐอยู่
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น คณะอำมาตย์ข้าราชบริพารโหราจารย์และมหาอำมาตย์
    นายกองช้าง นายกองม้า เป็นต้น จนคนรักษาประตู และคนเลี้ยงชีพด้วยปัญญา
    ได้ประชุมกันกราบทูลท้าวเธอว่า พระพุทธเจ้าข้า ได้ยินว่าเมื่อพระองค์ทรงปกครอง
    ประชาราษฎร์ตามพระมติของพระองค์เอง ประชาราษฎร์ไม่เจริญเหมือนเก่าก่อน
    เหมือนเมื่อกษัตริย์พระองค์ก่อนๆ ซึ่งได้ทรงประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ
    อยู่ พระพุทธเจ้าข้า ในแว่นแคว้นของพระองค์มีอำมาตย์ข้าราชบริพาร โหราจารย์
    และมหาอำมาตย์ นายกองช้าง นายกองม้า เป็นต้น จนคนรักษาประตู และคน
    เลี้ยงชีพด้วยปัญญา อยู่พร้อมทีเดียว ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือข้าพระพุทธเจ้า
    ทั้งหลายด้วยและประชาราษฎร์ เหล่าอื่นด้วย จำทรงจักกวัตติวัตรอันประเสริฐได้อยู่
    ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสถามถึงจักกวัตติวัตรอันประเสริฐเถิด พวกข้าพระพุทธ-
    *เจ้าอันพระองค์ตรัสถามแล้ว จักกราบทูลแก้จักกวัตติวัตรอันประเสริฐถวายพระองค์ฯ
    [๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอโปรดให้ประชุมอำมาตย์ราช-
    *บริพารโหราจารย์และมหาอำมาตย์ นายกองช้าง นายกองม้าเป็นต้น จนคนรักษา
    ประตู และคนเลี้ยงชีพด้วยปัญญา แล้วตรัสถามจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ เขา
    เหล่านั้นอันท้าวเธอตรัสถามจักกวัตติวัตรอันประเสริฐแล้ว จึงกราบทูลแก้ถวาย
    ท้าวเธอ ท้าวเธอได้ฟังคำทูลแก้ของพวกเขาแล้ว จึงทรงจัดการรักษาป้องกัน
    และคุ้มครอง อันชอบธรรม แต่ไม่ได้พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์
    เมื่อไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนจึงได้ถึงความแพร่
    หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย บุรุษคนหนึ่งจึงขโมยทรัพย์ของคนอื่น
    ไป เขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้ว แสดงแก่ท้าวเธอพร้อมด้วยกราบทูลว่า
    พระพุทธเจ้าข้า บุรุษคนนี้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อ
    เขาพากันกราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคำนี้กะบุรุษผู้นั้นว่า พ่อบุรุษ ได้
    ยินว่า เธอขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไปจริงหรือ ฯ
    บุ. จริง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
    ร. เพราะเหตุไร ฯ
    บุ. เพราะข้าพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรจะเลี้ยงชีพ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอจึงพระราชทานทรัพย์ให้แก่เขา
    แล้วรับสั่งว่า พ่อบุรุษ เธอจงเลี้ยงชีพ จงเลี้ยงมารดาบิดา จงเลี้ยงบุตรภรรยา
    จงประกอบการงานทั้งหลาย จงตั้งทักษิณาที่มีผลในเบื้องบน อันเกื้อกูลแก่สวรรค์
    มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลายด้วยทรัพย์นี้เถิด
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เขาได้สนองพระราชดำรัสของท้าวเธอแล้ว ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้บุรุษอีกคนหนึ่งก็ได้ขโมยทรัพย์ของคนอื่นไป เขา
    ช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้วจึงแสดงแก่ท้าวเธอพร้อมด้วยกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า
    บุรุษผู้นี้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาพากันกราบทูล
    อย่างนี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคำนี้กะบุรุษผู้นั้นว่า พ่อบุรุษ ได้ยินว่า เธอขโมย
    เอาทรัพย์ของคนอื่นไป จริงหรือ ฯ
    บุ. จริงพระพุทธเจ้าข้า ฯ
    ร. เพราะเหตุไร ฯ
    บุ. เพราะข้าพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรจะเลี้ยงชีพ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอจึงพระราชทานทรัพย์ให้แก่เขา
    แล้วรับสั่งว่า พ่อบุรุษ เธอจงเลี้ยงชีพ จงเลี้ยงชีพมารดาบิดา จงเลี้ยงบุตรภรรยา
    จงประกอบการงานทั้งหลาย จงตั้งทักษิณาที่มีผล ในเบื้องบน อันเกื้อกูลแก่
    สวรรค์ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลายด้วยทรัพย์
    นี้เถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เขาได้สนองพระราชดำรัสของท้าวเธอแล้ว ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลายได้ฟังมาว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย
    ได้ยินว่า คนขโมยทรัพย์ของคนพวกอื่นไป พระเจ้าแผ่นดินยังทรงพระราชทาน
    ทรัพย์ให้อีก เขาได้ยินมา จึงพากันคิดเห็นอย่างนี้ว่า อย่ากระนั้นเลย แม้เรา
    ทั้งหลายก็ควรขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นบ้าง ฯ
    [๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งขโมยเอาทรัพย์ของ
    คนอื่นไป เขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้ว จึงแสดงแก่ท้าวเธอพร้อมด้วยกราบทูลว่า
    พระพุทธเจ้าข้า บุรุษผู้นี้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อ
    เขาพากันกราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคำนี้กะบุรุษผู้นั้นว่า พ่อบุรุษ ได้
    ยินว่า เธอขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไปจริงหรือ ฯ
    บุ. จริง พระพุทธเจ้าข้า ฯ
    ร. เพราะเหตุไร ฯ
    บุ. เพราะข้าพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรจะเลี้ยงชีพ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอจึงทรงพระดำริอย่างนี้ว่า ถ้าเรา
    จักให้ทรัพย์แก่คนที่ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นเสมอไป อทินนาทานนี้จักเจริญทวี
    ขึ้นด้วยประการอย่างนี้ อย่ากระนั้นเลย เราจะให้คุมตัวบุรุษผู้นี้ให้แข็งแรง จะทำ
    การตัดต้นตอ ตัดศีรษะของบุรุษนั้นเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอ
    ตรัสสั่งบังคับราชบุรุษทั้งหลายว่า แน่ะ พนาย ถ้าเช่นนั้น ท่านจงเอาเชือก
    เหนียวๆ มัดบุรุษนี้ให้มือไพล่หลังให้แน่น เอามีดโกนๆ ศีรษะให้โล้น
    แล้วพาตระเวนตามถนน ตามตรอก ด้วยบัณเฑาะว์เสียงกร้าว ออกทางประตู
    ด้านทักษิณ จงคุมตัวให้แข็งแรง ทำการตัดต้นตอ ตัดศีรษะบุรุษนั้นเสีย นอก
    พระนครทิศทักษิณ ราชบุรุษทั้งหลายรับพระราชดำรัสของเธอแล้ว จึงเอาเชือก
    เหนียวมัดบุรุษนั้นให้มือไพล่หลังให้แน่น เอามีดโกนๆ ศีรษะให้โล้น แล้วพา
    ตระเวนตามถนน ตามตรอก ด้วยบัณเฑาะว์เสียงกร้าว ออกทางประตูด้านทักษิณ
    คุมตัวให้แข็งแรง ทำการตัดต้นตอ ตัดศีรษะบุรุษนั้น นอกพระนคร
    ทิศทักษิณแล้ว ฯ
    [๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลายได้ฟังมาว่า ดูกรท่านผู้เจริญ
    ทั้งหลาย ได้ยินว่า พระเจ้าแผ่นดินให้คุมตัวบุคคลผู้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่น
    อย่างแข็งแรง ทำการตัดต้นตอ ตัดศีรษะพวกเขาเสีย เพราะได้ฟังมา พวกเขา
    จึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า อย่ากระนั้นเลย แม้พวกเราควรให้ช่างทำศัสตรา
    อย่างคม ครั้นแล้วจะคุมตัวบุรุษที่เราจักขโมยเอาทรัพย์ให้แข็งแรง จักทำการตัด
    ต้นตอ ตัดศีรษะพวกมันเสีย พวกเขาจึงให้ช่างทำศัสตราอย่างคม ครั้นแล้ว
    จึงเริ่มทำการปล้นบ้านบ้าง ปล้นนิคมบ้าง ปล้นพระนครบ้าง ปล้นตามถนน
    หนทางบ้าง คุมตัวบุคคลที่พวกเขาจักขโมยเอาทรัพย์ไว้อย่างแข็งแรง ทำการตัด
    ต้นตอ ตัดศีรษะบุคคลนั้นเสีย ฯ
    [๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหา-
    *กษัตริย์ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่
    หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลาย
    เมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลาย ศัสตราก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึง
    ความแพร่หลาย ปาณาติบาตก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อปาณาติบาตถึงความแพร่
    หลาย มุสาวาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมุสาวาทถึงความแพร่หลาย แม้อายุ
    ของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจาก
    อายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ก็มีอายุ
    ถอยลง เหลือ ๔๐,๐๐๐ ปี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปี
    บุรุษคนหนึ่งขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป เขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้ว จึงแสดง
    แก่พระราชาผู้กษัตริย์ ซึ่งได้มูรธาภิเษกพร้อมด้วยกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า
    บุรุษผู้นี้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาพากันกราบทูลอย่าง
    นี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคำนี้กะบุรุษนั้นว่า พ่อบุรุษ ได้ยินว่า เธอขโมยเอาทรัพย์ของ
    คนอื่นไปจริงหรือ บุรุษนั้นได้กราบทูล คำเท็จทั้งรู้อยู่ว่า ไม่จริงเลยพระพุทธเจ้าข้า ฯ
    [๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหา-
    *กษัตริย์ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่
    หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลาย
    เมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลาย ศัสตราก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึง
    ความแพร่หลาย ปาณาติบาตก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อปาณาติบาตถึงความแพร่
    หลาย มุสาวาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมุสาวาทถึงความแพร่หลาย แม้อายุ
    ของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจาก
    อายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปี ก็มี
    อายุ ๒๐,๐๐๐ ปี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี บุรุษคนหนึ่งขโมย
    เอาทรัพย์ของคนอื่นไป บุรุษอีกคนหนึ่งจึงกราบทูลแก่พระราชาผู้กษัตริย์ซึ่งได้
    มูรธาภิเษกเป็นการส่อเสียดว่า พระพุทธเจ้าข้า บุรุษชื่อนี้ ขโมยเอาทรัพย์
    ของคนอื่นไป ฯ
    [๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหา-
    *กษัตริย์ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่
    หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย ปิสุณาวาจาก็ได้ถึงความแพร่หลาย
    เมื่อปิสุณาวาจาถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้
    วรรณก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง
    บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๑๐,๐๐๐ ปี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐,๐๐๐ ปี สัตว์บางพวกมีวรรณะ
    ดี สัตว์บางพวกมีวรรณะไม่ดี ในสัตว์ทั้งสองพวกนั้น สัตว์พวกที่มีวรรณะไม่ดี
    ก็เพ่งเล็งสัตว์พวกที่มีวรรณดี ถึงความประพฤติล่วงในภรรยาของคนอื่น ฯ
    [๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหา-
    *กษัตริย์ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่
    หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลาย
    เมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลาย กาเมสุมิจฉาจารก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อ
    กาเมสุมิจฉาจารถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้
    วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง
    บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๑๐,๐๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๕,๐๐๐ ปี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๕,๐๐๐ ปี ธรรม ๒ ประการคือ
    ผรุสวาจาและสัมผัปปลาปะก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรม ๒ ประการถึงความ
    แพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวก
    เขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ
    ๕,๐๐๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒,๕๐๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒,๐๐๐ ปี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๒,๕๐๐ ปี อภิชฌาและพยาบาท
    ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออภิชฌาและพยาบาทถึงความแพร่หลาย แม้อายุของ
    สัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุ
    บ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒,๕๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลง
    เหลือ ๑,๐๐๐ ปี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑,๐๐๐ ปี มิจฉาทิฐิก็ได้ถึงความ
    แพร่หลาย เมื่อมิจฉาทิฐิถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย
    แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะ
    บ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๑,๐๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๕๐๐ ปี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๕๐๐ ปี ธรรม ๓ ประการคือ
    อธรรมราคะ ๑- วิสมโลภ ๒- มิจฉาธรรม ๓- ก็ได้ถึงแก่ความแพร่หลาย เมื่อธรรม
    ๓ ประการถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็
    เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตร
    ของมนุษย์ที่มีอายุ ๕๐๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒๕๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒๐๐ ปี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๒๕๐ ปี ธรรมเหล่านี้คือ ความ
    ไม่ปฏิบัติชอบในมารดา ความไม่ปฏิบัติชอบในบิดา ความไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ
    ความไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ความไม่อ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล ก็ได้
    ถึงความแพร่หลาย
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหากษัตริย์ไม่
    พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงแก่ความแพร่หลาย
    เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อ
    อทินนาทานถึงความแพร่หลาย ศัสตราก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึงความ
    แพร่หลาย ปาณาติบาตถึงความแพร่หลาย เมื่อปาณาติบาตถึงความแพร่หลาย
    มุสาวาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมุสาวาทถึงความแพร่หลาย ปิสุณาวาจาก็ได้
    ถึงความแพร่หลาย เมื่อปิสุณาวาจาถึงความแพร่หลาย กาเมสุมิจฉาจารก็ได้ถึงความ
    แพร่หลาย เมื่อกาเมสุมิจฉาจารถึงความแพร่หลาย ธรรม ๒ ประการคือ ผรุสวาจา
    และสัมผัปปลาปะก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรม ๒ ประการถึงความแพร่หลาย
    อภิชฌาและพยาบาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออภิชฌาและพยาบาทถึงความ
    แพร่หลาย มิจฉาทิฐิก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมิจฉาทิฐิถึงความแพร่หลาย
    ธรรม ๓ ประการคือ อธรรมราคะ วิสมโลภ มิจฉาธรรม ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
    @(๑) ความกำหนัดในฐานะอันไม่ชอบธรรม (๒) ความโลภไม่เลือก (๓) ความ
    @กำหนัดด้วยอำนาจความพอใจผิดธรรมดา
    เมื่อธรรม ๓ ประการถึงความแพร่หลาย ธรรมเหล่านี้ คือ ความไม่ปฏิบัติชอบใน
    มารดา ความไม่ปฏิบัติชอบในบิดา ความไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ ความไม่ปฏิบัติ
    ชอบในพราหมณ์ ความไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล ก็ได้ถึงความแพร่หลาย
    เมื่อธรรมเหล่านี้ถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้
    วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อสัตว์เหล่านั้นเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะ
    บ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒๕๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๑๐๐ ปี ฯ
    [๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักมีสมัยที่มนุษย์เหล่านี้มีบุตรอายุ ๑๐ ปี ใน
    เมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี เด็กหญิงมีอายุ ๕ ปี จักสมควรมีสามีได้ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี รสเหล่านี้คือเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง
    น้ำอ้อย และเกลือ จักอันตรธานไปสิ้น ดูกรภิกษุทั้งหลายในเมื่อมนุษย์ มีอายุ
    ๑๐ ปี หญ้ากับแก้ ๑- จักเป็นอาหารอย่างดี ดูกรภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนข้าวสุก
    ข้าวสาลีระคนกับเนื้อสัตว์ จักเป็นอาหารอย่างดี ในบัดนี้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี หญ้ากับแก้ก็จักเป็นอาหารอย่างดี ฉันนั้นเหมือนกัน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี กุศลกรรมบถ ๑๐ จักอันตรธานไปหมด
    สิ้น อกุศลกรรมบถ ๑๐ จักรุ่งเรืองเหลือเกิน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ
    ๑๐ ปี แม้แต่ชื่อว่ากุศลก็จักไม่มี และคนทำกุศลจักมีแต่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี คนทั้งหลายจักไม่ปฏิบัติชอบในมารดา จักไม่ปฏิบัติ
    ชอบในบิดา จักไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ จักไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ จักไม่
    ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล เขาเหล่านั้นก็จักได้รับการบูชา และ
    ได้รับการสรรเสริญ เหมือนคนปฏิบัติชอบในมารดา ปฏิบัติชอบในบิดา ปฏิบัติ
    ชอบในสมณะ ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ใน
    ตระกูล ในบัดนี้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี เขาจักไม่มีจิตคิดเคารพ
    ยำเกรงว่า นี่แม่ นี่น้า นี่พ่อ นี่อา นี่ป้า นี่ภรรยาของอาจารย์ หรือว่านี่ภรรยา
    ของท่านที่เคารพทั้งหลาย สัตว์โลกจักถึงความสมสู่ปะปนกันหมด เปรียบเหมือน
    แพะ ไก่ สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ
    ๑๐ ปี สัตว์เหล่านั้นต่างก็จักเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความ
    คิดจะฆ่าอย่างแรงกล้าในกันและกัน มารดากับบุตรก็ดี บุตรกับมารดาก็ดี บิดากับ
    บุตรก็ดี บุตรกับบิดาก็ดี พี่ชายกับน้องหญิงก็ดี น้องหญิงกับพี่ชายก็ดี จักเกิดความ
    อาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่ากันอย่างแรงกล้า นายพราน
    เนื้อเห็นเนื้อเข้าเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่า
    อย่างแรงกล้าฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ
    [๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี จักมีสัตถันตรกัป
    สิ้น ๗ วัน มนุษย์เหล่านั้นจักกลับได้ความสำคัญกันเองว่าเป็นเนื้อ ศัสตราทั้ง
    หลายอันคมจักปรากฏมีในมือของพวกเขา พวกเขาจะฆ่ากันเองด้วยศัสตราอันคม
    นั้นโดยสำคัญว่า นี้เนื้อ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้น บางพวกมี
    ความคิดอย่างนี้ว่า พวกเราอย่าฆ่าใครๆ และใครๆ ก็อย่าฆ่าเรา อย่ากระนั้น
    เลย เราควรเข้าไปตามป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่างเกาะ หรือซอกเขา มีรากไม้
    และผลไม้ในป่าเป็นอาหารเลี้ยงชีวิตอยู่ เขาพากันเข้าไปตามป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้
    ระหว่างเกาะหรือซอกเขา มีรากไม้และผลไม้ ในป่าเป็นอาหารเลี้ยงชีวิตอยู่ตลอด
    ๗ วัน เมื่อล่วง ๗ วันไป เขาพากันออกจากป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่างเกาะ
    ซอกเขา แล้วต่างสวมกอดกันและกัน จักขับร้องดีใจอย่างเหลือเกินในที่ประชุม
    ว่า สัตว์ผู้เจริญ เราพบเห็นกันแล้ว ท่านยังมีชีวิตอยู่หรือๆ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น สัตว์เหล่านั้น จักมีความคิดอย่างนี้ว่า เรา
    ถึงความสิ้นญาติอย่างใหญ่เห็นปานนี้ เหตุเพราะสมาทานธรรมที่เป็นอกุศล อย่ากระ
    นั้นเลยเราควรทำกุศล ควรทำกุศลอะไร เราควรงดเว้นปาณาติบาต ควรสมาทาน
    กุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เขาจักงดเว้นจากปาณาติบาต จักสมาทานกุศล
    ธรรมนี้แล้วประพฤติ เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรม เขาจักเจริญด้วยอายุบ้าง
    จักเจริญด้วยวรรณะบ้าง เมื่อเขาเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง บุตร
    ของมนุษย์ทั้งหลายที่มีอายุ ๑๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒๐ ปี ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นสัตว์เหล่านั้นจักมีความคิดอย่างนี้ว่า เรา
    เจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรม อย่า
    กระนั้นเลย เราควรทำกุศลยิ่งๆ ขึ้นไป ควรทำกุศลอะไร เราควรงดเว้นจาก
    อทินนาทาน ควรงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ควรงดเว้นจากปิสุณาวาจา ควรงดเว้น
    จากผรุสวาจา ควรงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ ควรละอภิชฌา ควรละพยาบาท
    ควรละมิจฉาทิฐิ ควรละธรรม ๓ ประการ คืออธรรมราคะ วิสมโลภ มิจฉาธรรม
    อย่ากระนั้นเลยเราควรปฏิบัติชอบในมารดา ควรปฏิบัติชอบในบิดา ควรปฏิบัติชอบ
    ในสมณะ ควรปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ควรประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ใน
    ตระกูล ควรสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เขาเหล่านั้นจักปฏิบัติชอบในมารดา
    ปฏิบัติชอบในบิดา ปฏิบัติชอบในสมณะ ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประพฤติ
    อ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล จักสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เพราะ
    เหตุที่สมาทานกุศลธรรมเหล่านั้น เขาเหล่านั้นจักเจริญด้วยอายุบ้าง จักเจริญด้วย
    วรรณะบ้าง เมื่อเขาเหล่านั้นเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง บุตรของคน
    ผู้มีอายุ ๒๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๔๐ ปี จักมีอายุ
    เจริญขึ้นถึง ๘๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๘๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๑๖๐ ปี บุตร
    ของคนผู้มีอายุ ๑๖๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๓๒๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๓๒๐ ปี
    จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๖๔๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๖๔๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง
    ๒,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๒,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔,๐๐๐ ปี บุตร
    ของคนผู้มีอายุ ๔,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๘,๐๐๐ ปี บุตรของคนมีอายุ
    ๘,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒๐,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี
    จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔๐,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญ
    ขึ้นถึง ๘๐,๐๐๐ ปี ฯ
    [๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี เด็กหญิงมี
    อายุ ๕๐๐ ปี จึงจักสมควรมีสามีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ
    ๘๐,๐๐๐ ปี จักเกิดมีอาพาธ ๓ อย่าง คือ ความอยากกิน ๑ ความไม่อยากกิน ๑
    ความแก่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ชมพูทวีปนี้จัก
    มั่งคั่งและรุ่งเรือง มีบ้านนิคมและราชธานีพอชั่วไก่บินตก ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ชมพูทวีปนี้ประหนึ่งว่าอเวจีนรก จักยัดเยียดไป
    ด้วยผู้คนทั้งหลาย เปรียบเหมือนป่าไม้อ้อ หรือป่าสาลพฤกษ์ฉะนั้น ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี เมืองพาราณสีนี้ จัก
    เป็นราชธานีมีนามว่า เกตุมดี เป็นเมืองที่มั่งคั่งและรุ่งเรืองมีพลเมืองมาก มีผู้คน
    คับคั่ง และมีอาหารสมบูรณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี
    ในชมพูทวีปนี้จักมีเมือง ๘๔,๐๐๐ เมือง มีเกตุมดีราชธานีเป็นประมุข ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี จักมีพระเจ้าจักร-
    *พรรดิ์ทรงพระนามว่า พระเจ้าสังขะ ทรงอุบัติขึ้น ณ เกตุมดีราชธานี เป็นผู้ทรง
    ธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต
    ทรงชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือจักรแก้ว ๑
    ช้างแก้ว ๑ ม้าแก้ว ๑ แก้วมณี ๑ นางแก้ว ๑ คฤหบดีแก้ว ๑ ปริณายกแก้วเป็น
    ที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์
    สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชำนะโดยธรรมมิต้องใช้อาชญา มิต้อง
    ใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นขอบเขต ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี พระผู้มีพระภาคทรง
    พระนามว่าเมตไตรย์ จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เอง
    โดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถี
    ฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้
    เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม เหมือนตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกในบัดนี้
    เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดีแล้ว รู้แจ้ง
    โลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์
    ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระผู้มีพระภาคพระนามว่า
    เมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้
    แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ-
    *พราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม เหมือนตถาคตในบัดนี้ ทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก
    มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตถาคตเองแล้ว สอนหมู่สัตว์
    พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตามอยู่ พระผู้มีพระภาคพระนามว่า
    เมตไตรย์พระองค์นั้นจักทรงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งาม
    ในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์
    บริบูรณ์สิ้นเชิงเหมือนตถาคตในบัดนี้ แสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง
    งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์
    บริบูรณ์สิ้นเชิง พระผู้มีพระภาคพระนามว่าเมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรงบริหาร
    ภิกษุสงฆ์หลายพัน เหมือนตถาคตบริหารภิกษุสงฆ์หลายร้อย ในบัดนี้ฉะนั้น ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระเจ้าสังขะจักทรงให้ยกขึ้นซึ่งปราสาทที่
    พระเจ้ามหาปนาทะทรงสร้างไว้ แล้วประทับอยู่ แล้วจักทรงสละ จักทรงบำเพ็ญ
    ทาน แก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คนเดินทาง วณิพก และยาจกทั้งหลาย จัก
    ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จออกจากเรือน ทรง
    ผนวชเป็นบรรพชิต ในสำนักของพระผู้มีพระภาคพระนามว่า เมตไตรย์อรหันต-
    *สัมมาสัมพุทธเจ้า ท้าวเธอทรงผนวชอย่างนี้แล้ว ทรงปลีกพระองค์อยู่แต่ผู้เดียว
    ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ไม่ช้านักก็จักทรงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์
    อันยอดเยี่ยมที่กุลบุตรทั้งหลาย พากันออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ
    ต้องการ อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เอง ใน
    ทิฐธรรมเทียว เข้าถึงอยู่ ฯ
    [๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง
    อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มี
    ธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างไรเล่า ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่
    มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
    ทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
    เสียได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มี
    ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
    ทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
    เสียได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่
    พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่อย่างนี้แล ฯ
    [๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในโคจร ซึ่งเป็นวิสัย
    อันสืบมาจากบิดาของตน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในโคจร
    ซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดาของตน จักเจริญทั้งด้วยอายุ จักเจริญทั้งด้วยวรรณะ
    จักเจริญทั้งด้วยสุข จักเจริญทั้งด้วยโภคะ จักเจริญทั้งด้วยพละ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องอายุของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทะสมาธิปธาน
    สังขาร เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิริยะสมาธิปธานสังขาร เจริญอิทธิบาท
    ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธาน
    สังขาร เธอนั้น เพราะเจริญอิทธิบาท ๔ เหล่านี้ เพราะกระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท
    ๔ เหล่านี้ เมื่อปรารถนาก็พึงตั้งอยู่ได้ถึงกัป ๑ หรือเกินกว่ากัป ๑ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องอายุของภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องวรรณะของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาติโมกข์
    ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทาน
    ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องวรรณะ
    ของภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องสุขของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ
    ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแก่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มี
    ความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป
    ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มี
    สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะ
    ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุ
    จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ
    ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายใน
    เรื่องสุขของภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องโภคะของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีจิตประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่
    ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง
    เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณ
    มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุก
    สถาน ด้วยมีจิตประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓
    ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิต
    ประกอบด้วยกรุณาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มี
    ความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยมีจิต
    ประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือน
    กัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยมุทิตา
    อันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่
    ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยมีจิตประกอบด้วยอุเบกขา
    แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้ง
    เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความ
    เป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก
    ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องโภคะ
    ของภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องพละของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ อันหา
    อาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในทิฐธรรมเทียว
    เข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องพละของภิกษุ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นแม้กำลังสักอย่างหนึ่งอื่น อันข่มได้
    แสนยาก เหมือนกำลังของมารนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุญนี้จะเจริญขึ้นได้
    อย่างนี้ เพราะเหตุถือมั่นกุศลธรรมทั้งหลาย ฯ
    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชม
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วดังนี้แล ฯ
    จบ จักกวัตติสูตร ที่ ๓

    http://www.84000.org/tipitaka/pitak...A1%A1%C7%D1%B5%B5%D4%CA%D9%B5%C3_%28%F2%F6%29
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กรกฎาคม 2010
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
    อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

    โกศลสูตรที่ ๑
    [๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาสีและโกศลชนบทมีประมาณเท่าใด แว่น
    แคว้นของพระเจ้าปเสนทิโกศลมีประมาณเท่าใด พระเจ้าปเสนทิโกศล ประชาชน
    กล่าวว่าเป็นผู้เลิศในกาสีและโกศลชนบท และแว่นแคว้นประมาณนั้น ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่โดยแท้ ความแปรปรวนมีอยู่แม้แก่พระ
    เจ้าปเสนทิโกศล ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อม
    หน่ายแม้ในความดำรงอยู่ในสมบัตินั้น เมื่อหน่ายในความดำรงอยู่ในสมบัตินั้น
    ย่อมคลายกำหนัดในความเลิศแห่งสมบัติ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งเลวเล่า ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ย่อมหมุนเวียนส่องทิศให้
    ไพโรจน์อยู่ในที่มีประมาณเท่าใด โลกธาตุพันหนึ่งมีอยู่ในที่มีประมาณเท่านั้น
    ในโลกธาตุพันหนึ่งนั้นมีดวงจันทร์พันดวง ดวงอาทิตย์พันดวง ขุนเขาสิเนรุหนึ่ง
    พัน ชมพูทวีปพันทวีป อมรโคยานพันทวีป อุตตรกุรุพันทวีป ปุพพวิเทหะพัน
    ทวีป มหาสมุทรสี่พัน เทวโลกชั้นมหาราชสี่พัน ชั้นจาตุมหาราชิกาหนึ่งพัน ชั้น
    ดาวดึงส์หนึ่งพัน ชั้นยามาหนึ่งพัน ชั้นดุสิตหนึ่งพัน ชั้นนิมมานรดีหนึ่งพัน
    ชั้นปรนิมมิตวสวัตดีหนึ่งพัน ชั้นพรหมโลกหนึ่งพัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย พันโลก
    ธาตุมีประมาณเท่าใด ท้าวมหาพรหม โลกกล่าวว่าเป็นเลิศในพันโลกธาตุนั้น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่ ความแปรปรวนก็มีอยู่แม้แก่ท้าวมหา
    พรหม ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ใน
    พันโลกธาตุนั้น เมื่อหน่ายในพันโลกธาตุนั้น ย่อมคลายกำหนัดในความเป็น
    ผู้เลิศ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งที่เลวเล่า ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยที่โลกนี้พินาศมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโลก
    พินาศอยู่ สัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปในพรหมโลก ชั้นอาภัสสรโดยมาก สัตว์
    เหล่านั้นเป็นผู้สำเร็จแล้วด้วยใจ มีปีติเป็นภักษา มีแสงสว่างในตัวเอง เที่ยวไป
    ได้ในอากาศ มีปรกติดำรงอยู่ได้ด้วยดี ย่อมดำรงอยู่ในพรหมโลกชั้นอาภัสสรนั้น
    ตลอดกาลยืนยาวนาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อโลกพินาศอยู่ อาภัสสรเทพ
    ทั้งหลาย โลกกล่าวว่าเป็นผู้เลิศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้
    ความแปรปรวนก็มีแม้แก่อาภัสสรเทพทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้
    สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในพรหมโลกชั้นอาภัสสรนั้น เมื่อหน่ายใน
    พรหมโลกชั้นอาภัสสรนั้น ย่อมคลายกำหนัดในความเป็นผู้เลิศ จะป่วยกล่าว
    ไปไยในสิ่งที่เลวเล่า ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บ่อเกิดแห่งกสิณ ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน
    คือ บุคคลผู้หนึ่ง ย่อมจำปฐวีกสิณในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง
    หาประมาณมิได้ บุคคลผู้หนึ่งย่อมจำอาโปกสิณ ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมจำเตโชกสิณ
    ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมจำวาโยกสิณ ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมจำนีลกสิณ ... บุคคล
    ผู้หนึ่งย่อมจำปีตกสิณ ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมจำโลหิตกสิณ ... บุคคลผู้หนึ่ง
    ย่อมจำโอทาตกสิณ ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมจำอากาสกสิณ ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมจำ
    วิญญาณกสิณในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาประมาณมิได้ ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย บ่อเกิดแห่งกสิณ ๑๐ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดา
    บ่อเกิดแห่งกสิณ ๑๐ ประการนี้ วิญญาณกสิณในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
    ไม่มีสอง หาประมาณมิได้ ที่บุคคลผู้หนึ่งจำได้ เป็นยอด สัตว์ทั้งหลาย แม้ผู้มี
    สัญญาอย่างนี้แลมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้ ความ
    แปรปรวนก็มีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลายแม้มีสัญญาอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริย-
    *สาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในบ่อเกิดแห่งกสิณ เมื่อหน่ายในบ่อ-
    *เกิดแห่งกสิณนั้น ย่อมคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งที่
    เลวเล่า ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อภิภายตนะ ๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็นไฉน คือ
    คนหนึ่งมีรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกเล็กน้อย ทั้งที่มีผิวพรรณ
    ดี ทั้งที่มีผิวพรรณทราม ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น นี้เป็น
    อภิภายตนะประการที่ ๑
    คนหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกไม่มีประมาณ
    ทั้งที่มีผิวพรรณดี ทั้งที่มีผิวพรรณทราม ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูป
    เหล่านั้น นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๒
    คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกเล็กน้อย
    ทั้งที่มีผิวพรรณดี ทั้งที่มีผิวพรรณทราม ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูป
    เหล่านั้น นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๓
    คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกไม่มีประมาณ
    ทั้งที่มีผิวพรรณดี ทั้งที่มีผิวพรรณทราม ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูป
    เหล่านั้น นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๔ ฯ
    คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปในภายนอกเขียว มีสีเขียว
    รัศมีเขียว แสงสว่างเขียว เปรียบเหมือนดอกผักตบเขียว มีสีเขียว รัศมีเขียว
    แสงสว่างเขียว ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงเกลา
    ทั้งสองข้าง เขียว มีสีเขียว รัศมีเขียว แสงสว่างเขียว ฉันใด คนหนึ่งมีอรูป-
    *สัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกเขียว มีสีเขียว รัศมีเขียว แสง
    สว่างเขียว ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น ฉันนั้น นี้เป็น
    อภิภายตนะประการที่ ๕ ฯ
    คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกเหลือง
    มีสีเหลือง รัศมีเหลือง แสงสว่างเหลือง เปรียบเหมือนดอกกัณณิกาเหลือง
    มีสีเหลือง มีรัศมีเหลือง แสงสว่างเหลือง ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมือง
    พาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงเกลาทั้งสองข้าง เหลือง มีสีเหลือง มีรัศมีเหลือง แสง
    สว่างเหลือง ฉันใด คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอก
    เหลือง มีสีเหลือง มีรัศมีเหลือง แสงสว่างเหลือง ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เรา
    เห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น ฉันนั้น นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๖ ฯ
    คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกแดง มีสีแดง
    รัศมีแดง แสงสว่างแดง เปรียบเหมือนดอกเส้งแดง มีสีแดง รัศมีแดง
    แสงสว่างแดง ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงเกลา
    ทั้งสองข้าง แดง รัศมีแดง แสงสว่างแดง ฉันใด คนหนึ่งมีอรูปสัญญา
    ในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกแดง มีสีแดง มีรัศมีแดง แสงสว่างแดง
    ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น ฉันนั้น นี้เป็นอภิภายตนะ
    ประการที่ ๗ ฯ
    คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกขาว มีสีขาว
    รัศมีขาว แสงสว่างขาว เปรียบเหมือนดาวประกายพฤกษ์ขาว มีสีขาว มีรัศมี
    ขาว แสงสว่างขาว ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยง
    เกลาทั้งสองข้าง ขาว มีสีขาว รัศมีขาว แสดงสว่างขาว ฉันใด คนหนึ่งมีอรูป-
    *สัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกขาว มีสีขาว รัศมีขาว แสงสว่าง
    ขาว ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น ฉันนั้น นี้เป็นอภิภายตนะ
    ประการที่ ๘ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อภิภายตนะ ๘ ประการนี้แล บรรดาอภิภา-
    *ยตนะ ๘ ประการนี้ อภิภายตนะประการที่ ๘ คือ คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน
    เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกขาว มีสีขาว มีรัศมีขาว แสงสว่างขาว ก็มีสัญญา
    อย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น นี้เป็นเลิศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มีสัญญาอย่างนี้แลมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมี
    อยู่แท้ ความแปรปรวนมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลายแม้มีสัญญาอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในอภิภายตนะนั้น เมื่อหน่ายใน
    อภิภายตนะนั้น ย่อมคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งที่เลวเล่า ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ ปฏิบัติ
    ลำบากทั้งรู้ได้ช้า ๑ ปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็ว ๑ ปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้ช้า ๑ ปฏิบัติ
    สะดวกทั้งรู้ได้เร็ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ ปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็วเป็นเลิศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้ปฏิบัติอย่างนี้แลมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมี
    อยู่แท้ ความแปรปรวนมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลายแม้ปฏิบัติอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในปฏิปทานั้น เมื่อหน่ายใน
    ปฏิปทานั้น ย่อมคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งที่เลวเล่า ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ
    คนหนึ่งย่อมจำปริตตารมณ์ ๑- คนหนึ่งย่อมจำมหัคคตารมณ์ ๒- คนหนึ่งย่อม
    จำอัปปมาณารมณ์ ๓- คนหนึ่งย่อมจำอากิญจัญญายตนะ ๔- ว่า หน่อยหนึ่งไม่มี
    ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดา
    สัญญา ๔ ประการนี้ อากิญจัญญายตนะที่คนหนึ่งจำได้ว่า หน่อยหนึ่งไม่มี ดังนี้
    เป็นเลิศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มีสัญญาอย่างนี้แลมีอยู่ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้ ความแปรปรวนมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มี
    สัญญาอย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่าย
    แม้ในสัญญานั้น เมื่อหน่ายในสัญญานั้น ย่อมคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วย
    กล่าวไปไยในสิ่งที่เลวเล่า ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาทิฐินอกศาสนา ทิฐิว่า ถ้าเราจักไม่ได้มีแล้ว
    ไซร้ อัตภาพนี้ไม่พึงมีแก่เรา ถ้าเราจักไม่มีไซร้ ความห่วงในอะไรจักไม่มีแก่เรา
    ดังนี้ เป็นเลิศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้มีทิฐิอย่างนี้พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ความที่ใจไม่
    ชอบในภพจักไม่มีแก่เขา และความที่ใจชอบในความดับภพจักไม่มีแก่เขา ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้มีทิฐิอย่างนี้แลมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่าง
    อื่นมีอยู่แท้ ความแปรปรวนมีอยู่แม้แก่สัตว์ทั้งหลายผู้มีทิฐิอย่างนี้ ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในทิฐินั้น เมื่อหน่ายใน
    ทิฐินั้น ย่อมคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งที่เลวเล่า ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติความหมดจด
    ในสัตว์ผู้สูงสุดมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการ
    ทั้งปวงเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่นั้นเลิศกว่าบรรดาสมณพราหมณ์ผู้บัญญัติ
    ความหมดจดในสัตว์ผู้สูงสุด สมณพราหมณ์เหล่านั้น รู้ยิ่งแล้วซึ่งเนวสัญญานา-
    *สัญญายตนะนั้น ย่อมแสดงธรรมเพื่อทำให้แจ้งซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มีวาทะอย่างนี้แลมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    @๑. กามาวจรสัญญา ๒. รูปาวจรสัญญา ๓. โลกุตรสัญญา ๔. อากิญจัญญายตนะ
    ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้ ความแปรปรวนมีอยู่แม้แก่สัตว์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในเนวสัญญา-
    *นาสัญญายตนะนั้น เมื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าวไปไย
    ในสิ่งที่เลวเล่า ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัตินิพพานอันยวดยิ่งใน
    ปัจจุบันมีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น เพราะรู้ความเกิด
    ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ เลิศ
    กว่าการบัญญัตินิพพานอันยอดยิ่งในปัจจุบันแห่งสมณพราหมณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมกล่าวตู่เราผู้มีวาทะอย่างนี้ ผู้กล่าวอย่างนี้ด้วยคำไม่จริง
    ด้วยคำเปล่า ด้วยคำเท็จ ด้วยคำไม่เป็นจริงว่า พระสมณโคดมไม่บัญญัติความ
    กำหนดรู้กามทั้งหลาย ไม่บัญญัติความกำหนดรู้รูปทั้งหลาย ไม่บัญญัติความ
    กำหนดรู้เวทนาทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมบัญญัติความกำหนดรู้กาม
    ทั้งหลายด้วย ย่อมบัญญัติความกำหนดรู้รูปทั้งหลายด้วย ย่อมบัญญัติความกำหนด
    รู้เวทนาทั้งหลายด้วย เราเป็นผู้หายหิวแล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว ย่อมบัญญัติ
    อนุปาทาปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ
    จบสูตรที่ ๙
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=24&A=1448&Z=1589
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2010
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
    สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
    ปฐมกัสสปสูตรที่ ๑
    [๒๒๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของท่าน
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ
    ครั้งนั้น กัสสปเทวบุตร เมื่อราตรีปฐมยามสิ้นไปแล้ว มีวรรณอันงาม
    ยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
    ครั้นแล้ว ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
    กัสสปเทวบุตรยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
    พระผู้มีพระภาคทรงประกาศภิกษุไว้แล้ว แต่ไม่ทรงประกาศคำสอนของภิกษุ ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสปเทวบุตร ถ้าอย่างนั้นคำสอนนั้นจง
    แจ่มแจ้ง ณ ที่นี้เถิด ฯ
    [๒๒๒] กัสสปเทวบุตร ได้กราบทูลว่า บุคคลพึงศึกษาคำสุภาษิต
    การเข้าไปนั่งใกล้สมณะ การนั่งในที่เร้นลับแต่ผู้เดียว และการสงบระงับจิต ฯ
    พระศาสดาได้ทรงพอพระทัย ฯ
    ลำดับนั้น กัสสปเทวบุตรทราบว่า พระศาสดาทรงพอพระทัย จึงถวาย
    บังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วอันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ

    ทุติยกัสสปสูตรที่ ๒
    [๒๒๓] ... อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ...
    กัสสปเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ภาษิตคาถานี้ ในสำนัก
    พระผู้มีพระภาคว่า
    ภิกษุพึงเป็นผู้เพ่งพินิจ มีจิตหลุดพ้นแล้ว พึงหวังธรรมอันไม่
    เป็นที่เกิดขึ้นแห่งหฤทัย
    อนึ่ง ภิกษุผู้มุ่งต่อพระอรหัตนั้น พึงรู้ความเกิดขึ้น และ
    ความเสื่อมไปแห่งโลก พึงมีใจดี อันตัณหาและทิฐิไม่อิง
    อาศัยแล้ว ฯ

    มาฆสูตรที่ ๓
    [๒๒๔] ... อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี
    ครั้งนั้น มาฆเทวบุตร เมื่อราตรีปฐมยามสิ้นไปแล้ว มีวรรณอันงามยิ่งนัก ยัง
    พระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว
    ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
    [๒๒๕] มาฆเทวบุตรยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูล
    พระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
    บุคคลฆ่าอะไรสิ จึงจะอยู่เป็นสุข ฆ่าอะไรสิ จึงจะไม่เศร้า
    โศก ข้าแต่พระโคดม พระองค์ทรงพอพระทัยการฆ่าธรรม
    อะไร ซึ่งเป็นธรรมอันเดียว ฯ
    [๒๒๖] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
    บุคคลฆ่าความโกรธแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข ฆ่าความโกรธแล้ว
    ย่อมไม่เศร้าโศก ดูกรท้าววัตรภู อริยะทั้งหลาย สรรเสริญ
    การฆ่าความโกรธ ซึ่งมีรากเป็นพิษ มียอดหวาน เพราะว่า
    บุคคลฆ่าความโกรธนั้นแล้วย่อมไม่เศร้าโศก ฯ

    มาคธสูตรที่ ๔
    [๒๒๗] มาคธเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กราบทูล
    พระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
    แสงสว่างในโลก มีกี่อย่าง ข้าพระองค์มาเพื่อทูลถามพระ
    ผู้มีพระภาคแล้ว ไฉนจะพึงทราบข้อนั้นได้ ฯ
    [๒๒๘] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
    แสงสว่างในโลกมี ๔ อย่าง อย่างที่ ๕ ไม่มีในโลกนี้
    พระอาทิตย์ส่องสว่างในกลางวัน พระจันทร์ส่องสว่างใน
    กลางคืน ส่วนไฟส่องสว่างในที่นั้นๆ ทั้งกลางวันและ
    กลางคืน พระสัมพุทธเจ้าประเสริฐสุดกว่าแสงสว่างทั้งหลาย
    แสงสว่างนี้เป็นยอดเยี่ยม ฯ
    ทามลิสูตรที่ ๕
    [๒๒๙] ... อารามแห่งอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้ง
    นั้น ทามลิเทวบุตร เมื่อราตรีปฐมยามสิ้นไปแล้ว มีวรรณงามยิ่งนัก ยังพระวิหาร
    เชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วก็ถวาย
    บังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
    [๒๓๐] ทามลิเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้ภาษิตคาถา
    นี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
    พราหมณ์ผู้ไม่เกียจคร้าน พึงทำความเพียรนี้ เขาไม่ปรารถนา
    ภพด้วยเหตุนั้น เพราะละกามได้ขาดแล้ว ฯ
    [๒๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    ทามลิ กิจไม่มีแก่พราหมณ์ เพราะว่า พราหมณ์ทำกิจเสร็จ
    แล้ว บุคคลยังไม่ได้ท่าจอดในแม่น้ำทั้งหลาย เพียงใด เขา
    เป็นสัตว์เกิด ต้องพยายาม ด้วยตัวทุกอย่าง เพียงนั้น ก็ผู้นั้น
    ได้ท่าเป็นที่จอดแล้ว ยืนอยู่บนบก ไม่ต้องพยายาม เพราะ
    ว่า เขาเป็นผู้ถึงฝั่งแล้ว ฯ
    ดูกรทามลิเทวบุตร นี้เป็นข้ออุปมาแห่งพราหมณ์ ผู้มีอาสวะ
    สิ้นแล้ว มีปัญญาเพ่งพินิจ ฯ
    พราหมณ์นั้น ถึงที่สุดแห่งชาติและมรณะแล้ว ไม่ต้องพยายาม
    เพราะเป็นผู้ถึงฝั่งแล้ว ฯ
    กามทสูตรที่ ๖
    [๒๓๒] กามทเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กราบทูล
    พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค สมณธรรมทำได้โดยยาก ข้าแต่
    พระผู้มีพระภาค สมณธรรมทำได้โดยยากยิ่ง ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    ชนทั้งหลาย ผู้ตั้งมั่นแล้วด้วยศีลแห่งพระเสขะ มีตนตั้งมั่น
    แล้ว ย่อมกระทำ แม้ซึ่งสมณธรรมอันบุคคลทำได้โดยยาก
    ความยินดี ย่อมนำสุขมาให้แก่บุคคลผู้เข้าถึงแล้วซึ่งความ
    เป็นผู้ไม่มีเรือน ฯ
    [๒๓๓] กามทเทวบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อที่หาได้ยาก
    นี้ คือความสันโดษ ยินดี ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    ชนเหล่าใด ยินดีแล้วในความสงบแห่งจิต ชนเหล่าใด มีใจ
    ยินดีแล้วในความอบรมจิต ทั้งกลางวันและกลางคืน ชน
    เหล่านั้น ย่อมได้แม้ซึ่งสิ่งที่ได้โดยยาก ฯ
    [๒๓๔] กามทเทวบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ธรรมชาติที่
    ตั้งมั่นได้ยากนี้ คือจิต ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    ชนเหล่าใด ยินดีแล้วในความสงบอินทรีย์ ชนเหล่านั้น
    ย่อมตั้งมั่น ซึ่งจิตที่ตั้งมั่นได้ยาก ดูกรกามทเทวบุตร อริยะ
    ทั้งหลายเหล่านั้นตัดข่ายแห่งมัจจุไปได้ ฯ
    [๒๓๕] กามทเทวบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ทางที่ไปได้
    ยาก คือ ทางที่ไม่เสมอ ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    ดูกรกามทเทวบุตร อริยะทั้งหลาย ย่อมไปได้ แม้ในทางที่
    ไม่เสมอ ที่ไปได้ยาก
    ผู้มิใช่อริยะ ย่อมเป็นผู้บ่ายศีรษะลงเบื้องต่ำ ตกไปในทาง
    อันไม่เสมอ ทางนั้นสม่ำเสมอสำหรับอริยะทั้งหลาย เพราะ
    อริยะทั้งหลาย เป็นผู้สม่ำเสมอ ในทางอันไม่เสมอ ฯ
    ปัญจาลจัณฑสูตรที่ ๗
    [๒๓๖] ปัญจาลจัณฑเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้
    ภาษิตคาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
    บุคคลผู้มีปัญญามาก ได้ประสบโอกาส ในที่คับแคบหนอ
    ผู้ใดได้รู้ฌาน เป็นผู้ตื่น ผู้นั้นเป็นผู้หลีกออกได้อย่างองอาจ
    เป็นมุนี ฯ
    [๒๓๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    ชนเหล่าใด แม้อยู่ในที่คับแคบ แต่ได้เฉพาะแล้วซึ่งสติ
    เพื่อการบรรลุธรรม คือพระนิพพาน ชนเหล่านั้น ตั้งมั่น
    ดีแล้ว โดยชอบ ฯ
    ตายนสูตรที่ ๘
    [๒๓๘] ครั้งนั้น ตายนเทวบุตรผู้เป็นเจ้าลัทธิมาแต่ก่อน เมื่อราตรีปฐม
    ยามสิ้นไปแล้ว มีวรรณอันงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไป
    เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วได้ยืน
    อยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
    [๒๓๙] ตายนเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้ภาษิตคาถา
    เหล่านี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
    ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหา จงบรรเทากามเสียเถิด
    พราหมณ์ ฯ
    มุนีไม่ละกาม ย่อมไม่เข้าถึงความที่จิตแน่วแน่ได้ ฯ
    ถ้าบุคคลจะพึงทำความเพียร พึงทำความเพียรนั้นจริงๆ พึง
    บากบั่นทำความเพียรนั้นให้มั่น เพราะว่าการบรรพชาที่ปฏิบัติ
    ย่อหย่อน ยิ่งเรี่ยรายโทษดุจธุลี ฯ
    ความชั่วไม่ทำเสียเลยประเสริฐกว่า ความชั่วย่อมเผาผลาญ
    ในภายหลัง ฯ
    ก็กรรมใดทำแล้ว ไม่เดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นเป็น
    ความดี ทำแล้วประเสริฐกว่า หญ้าคาอันบุคคลจับไม่ดี ย่อม
    บาดมือนั่นเองฉันใด ฯ
    ความเป็นสมณะ อันบุคคลปฏิบัติไม่ดี ย่อมฉุดเข้าไปเพื่อ
    เกิดในนรก ฉันนั้น ฯ
    กรรมอันย่อหย่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง วัตรอันใดที่เศร้าหมอง
    และพรหมจรรย์ที่น่ารังเกียจ ทั้งสามอย่างนั้น ไม่มีผลมาก ฯ
    ตายนเทวบุตร ครั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำ
    ประทักษิณแล้วอันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ
    [๒๔๐] ครั้งนั้น โดยล่วงราตรีนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุ
    ทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เทวบุตรนามว่าตายนะ ผู้เป็นเจ้าลัทธิ
    ยังเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างเข้ามาหาเราถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ก็อภิวาทเราแล้ว ได้ยืนอยู่
    ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ตายนเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ภาษิต
    คาถาเหล่านี้ในสำนักของเราว่า
    ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหา จงบรรเทากามเสียเถิด
    พราหมณ์
    มุนีไม่ละกาม ย่อมไม่เข้าถึงความที่จิตแน่วแน่ได้ ฯ
    ถ้าบุคคลจะพึงทำความเพียร พึงทำความเพียรนั้นจริงๆ พึง
    บากบั่นทำความเพียรนั้นให้มั่น เพราะว่าการบรรพชาที่ปฏิบัติ
    ย่อหย่อน ยิ่งเรี่ยรายโทษดุจธุลี ฯ
    ความชั่ว ไม่ทำเสียเลยประเสริฐกว่า ความชั่วย่อมเผาผลาญ
    ในภายหลัง ฯ
    ก็กรรมใดทำแล้วไม่เดือดร้อนในภายหลัง กรรมนั้นเป็น
    ความดี ทำแล้วประเสริฐกว่า หญ้าคาอันบุคคลจับไม่ดี ย่อม
    บาดมือนั่นเอง ฉันใด ฯ
    ความเป็นสมณะ อันบุคคลปฏิบัติไม่ดี ย่อมฉุดเข้าไปเพื่อ
    เกิดในนรก ฉันนั้น ฯ
    กรรมอันย่อหย่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง วัตรอันใดที่เศร้าหมอง
    และพรหมจรรย์ที่น่ารังเกียจ ทั้งสามอย่างนั้น ไม่มีผลมาก ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตายนเทวบุตรครั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว ก็อภิวาทเรา
    ทำประทักษิณแล้วอันตรธานไปในที่นั้นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จง
    ศึกษา จงเล่าเรียน จงทรงจำตายนคาถาไว้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตายนคาถาประกอบ
    ด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ฯ
    จันทิมสูตรที่ ๙
    [๒๔๑] พระผู้มีพระภาคประทับ ... เขตพระนครสาวัตถี ก็โดยสมัย
    นั้น จันทิมเทวบุตรถูกอสุรินทราหูเข้าจับแล้ว ครั้งนั้นจันทิมเทวบุตรระลึกถึงพระ
    ผู้มีพระภาค ได้ภาษิตคาถานี้ในเวลานั้นว่า
    ข้าแต่พระพุทธเจ้า ผู้แกล้วกล้า ขอความนอบน้อมจงมีแด่
    พระองค์ พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ข้าพระ-
    องค์ถึงเฉพาะแล้ว ซึ่งฐานะอันคับขัน ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่ง
    แห่งข้าพระองค์นั้น ฯ
    [๒๔๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงปรารภจันทิมเทวบุตรได้ตรัส
    กะอสุรินทราหูด้วยพระคาถาว่า
    จันทิมเทวบุตร ถึงตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ว่าเป็นที่พึ่ง
    ดูกรราหู ท่านจงปล่อยจันทิมเทวบุตร พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    เป็นผู้อนุเคราะห์แก่โลก ฯ
    [๒๔๓] ลำดับนั้นอสุรินทราหู ปล่อยจันทิมเทวบุตรแล้ว มีรูปอันกระ-
    *หืดกระหอบ เข้าไปหาอสุรินทเวปจิตติถึงที่อยู่ ครั้นแล้วก็เป็นผู้เศร้าสลด เกิด
    ขนพอง ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
    [๒๔๔] อสุรินทเวปจิตติ ได้กล่าวกะอสุรินทราหู ผู้ยืนอยู่ ณ ที่ควร
    ส่วนข้างหนึ่ง ด้วยคาถาว่า
    ดูกรราหู ทำไมหนอ ท่านจึงกระหืดกระหอบปล่อยพระจันทร์
    เสีย ทำไมหนอ ท่านจึงมีรูปสลด มายืนกลัวอยู่ ฯ
    [๒๔๕] อสุรินทราหูกล่าวว่า
    ข้าพเจ้าถูกขับด้วยคาถาของพระพุทธเจ้า หากข้าพเจ้าไม่พึง
    ปล่อยจันทิมเทวบุตร ศีรษะของข้าพเจ้าพึงแตกเจ็ดเสี่ยง
    มีชีวิตอยู่ ก็ไม่พึงได้รับความสุข ฯ
    สุริยสูตรที่ ๑๐
    [๒๔๖] ก็โดยสมัยนั้น สุริยเทวบุตร ถูกอสุรินทราหูเข้าจับแล้ว ครั้ง
    นั้น สุริยเทวบุตร ระลึกถึงพระผู้มีพระภาค ได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า
    ข้าแต่พระพุทธเจ้า ผู้แกล้วกล้า ขอความนอบน้อมจงมีแด่
    พระองค์ พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ข้า-
    พระองค์ถึงเฉพาะแล้วซึ่งฐานะอันคับขัน ขอพระองค์จงเป็น
    ที่พึ่งแห่งข้าพระองค์นั้น ฯ
    [๒๔๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงปรารภสุริยเทวบุตรได้ตรัสกะ-
    *อสุรินทราหูด้วยพระคาถาว่า
    สุริยเทวบุตร ถึงตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ว่าเป็นที่พึง ดูกร
    ราหู ท่านจงปล่อยสุริยะ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้
    อนุเคราะห์แก่โลก สุริยะใดเป็นผู้ส่องแสง กระทำความสว่าง
    ในที่มืดมิด มีสัณฐานเป็นวงกลม มีเดชสูง ดูกรราหู ท่าน
    อย่ากลืนกินสุริยะนั้น ผู้เที่ยวไปในอากาศ ดูกรราหู ท่าน
    จงปล่อยสุริยะ ผู้เป็นบุตรของเรา ฯ
    [๒๔๘] ลำดับนั้น อสุรินทราหู ปล่อยสุริยเทวบุตรแล้ว มีรูปอัน
    กระหืดกระหอบ เข้าไปหาอสุรินทเวปจิตติถึงที่อยู่ ครั้นแล้วก็เป็นผู้เศร้าสลด เกิด
    ขนพอง ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
    [๒๔๙] อสุรินทเวปจิตติ ได้กล่าวกะอสุรินทราหู ผู้ยืนอยู่ ณ ที่
    ควรส่วนข้างหนึ่ง ด้วยคาถาว่า
    ดูกรราหู ทำไมหนอ ท่านจึงกระหืดกระหอบ ปล่อยพระ-
    สุริยะเสีย ทำไมหนอ ท่านจึงมีรูปเศร้าสลด มายืนกลัวอยู่ ฯ
    [๒๕๐] อสุรินทราหู กล่าวว่า
    ข้าพเจ้าถูกขับด้วยคาถาของพระพุทธเจ้า ถ้าข้าพเจ้าไม่พึง
    ปล่อยพระสุริยะ ศีรษะของข้าพเจ้าพึงแตกเจ็ดเสี่ยง มีชีวิต
    อยู่ ก็ไม่พึงได้รับความสุข ฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2010
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เคยฟังพระเทศน์มา ท่านว่า แสงสว่างใดๆ เสมอกับแสงแห่งปัญญาไม่มี

    “นตฺถิ ปญฺญา สมาอาภา : แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี

    ส่วนอันนี้เราตีความเอง
    ผู้ที่มีจิตตื่นแล้ว จิตจะมีแสงสว่างมากว่าผู้ที่มีจิตยังไม่ตื่น
    ผู้ที่มีจิตตื่น ไม่ได้หมายถึงว่าเป็นพระอริยเจ้าเสมอไป
    เพราะมีจิตตื่นรู้ แต่ยังไม่เกิดปัญญาทางธรรมก็มี
    คือมีสติสัมปชัญญะระดับหนึ่ง แต่ยังไม่ได้มรรคผล ยังไม่มีปัญญารู้เห็นธรรม
    แต่จะเริ่มเข้าใจเรื่องสัมมาทิฏฐิ และมิจฉาทิฏฐิ แห่งจิต ได้บ้าง
    แสงสว่างที่ประภัสสรเกิดจากการทรงสมาธิ ทรงฌาณ หรือรักษาศีลก็เป็นแบบหนึ่ง
    แสงสว่างที่เกิดจากจิตตื่นก็แบบหนึ่ง แสงสว่างที่เกิดจากปัญญารู้ธรรม ก็แบบหนึ่ง

    พระอริยะเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตจะมีแสงสว่างมากเพราะมีปัญญาแล้ว
    และไม่มีเสื่อม แต่ถ้ายังไม่ถึงขั้นพระอริยะเจ้ายังแปรปรวนและเสื่อมได้เสมอเพียงแต่จะเสื่อมช้าหรือเร็ว<!-- google_ad_section_end -->

    คนที่รู้จักตัวเองตามจริง
    คนที่รู้ใจตัวเองตามจริง
    คนที่รู้สันดาน อุปนิสัย ของตนเองตามจริง
    คนที่รู้อะไรอะไรของตัวเองตามจริง ทั้งด้านดีและเลว แบบไม่เข้าข้างตัวเอง
    มีสติรู้ว่ากำลังทำความดี มีสติรู้ว่ากำลังทำความไม่ดี มีสติรู้สึกตัวอยู่เสมอ
    ระลึกรู้ตัวว่าอยู่ที่ไหนในโลก ระลึกรู้โลกอยู่เสมอ ไม่หลงเหม่อลอยลืมวันลืมเวลา
    หรือทำอะไรไปด้วยความไม่รู้ตัวพอมีสติก็รู้ตัวขึ้นมาได้ว่าหลงโลกไปอีกแล้ว

    ก็เรียกได้ว่า คุณมีอาการของจิตตื่นบ้างแล้ว เห็นความเป็นจริงตามจริงของตัวเราเอง
    ถ้าตัวเรามีสติอยู่ไม่หลงโลกรู้ตัวอยู่ ก็เรียกว่ามีสัมมาทิฏฐิ รู้ว่าดี รู้ว่าชั่ว

    และเลือกทำแต่ความดีเพราะรู้ว่ามันเป็นผลดีกับตัวเอง เพราะมีสติสัมปชัญญะเห็นใจตัวเอง
    ผ่องใส สงบ โล่ง เบา สบายใจ

    ไม่ทำความชั่วเพราะรู้ว่าจะทำให้จิตเสื่อม ทำแล้วจะเกิดวุ่นวายในใจตามมา เพราะมีสติ
    สัมปชัญญะเห็นใจตัวเองมันไม่สงบเพราะทำความชั่ว

    เวลาตัวเองหลงเป็นบ้า ก็เห็นความบ้าของตัวเอง แบบไม่มีอคติ ไม่เข้าข้างตัวเอง
    เวลาทำเฟอะฟะ ก็เห็นตัวเองเฟอะฟะ
    เวลาเกิดชอบใจ หรือไม่ชอบใจอะไร ก็เห็นใจที่มีอาการชอบหรือไม่ชอบตามจริง
    เวลาโกรธ ก็ได้รู้ทันตัวเอง เห็นตัวเองกำลังโกรธ
    เวลาพยาบาทอาฆาตใคร ก็เห็นตัวเองกำลังเกิดอกุศลจิตก่ออาฆาตพยาบาท
    พอเราเห็นตรงนี้ได้ทัน จิตใจเรามันรักษาตัวเองโดยอัตโนมัติ ไม่มีใครอยากทำร้ายตัวเอง
    ไม่มีใครอยากมีจิตเสื่อม หรือมีจิตหนักไปด้วยอกุศลจิต พอมันรู้เห็นตัวเองได้ตามจริง
    มันก็จะเลิกทำสิ่งที่ไม่ดี ที่จะเกิดอกุศลจิต เกิดมิจฉาทิฏฐิ มันก็จะน้อยลง
    ตามสติปัญญาที่จิตมันรู้เท่าทันใจตัวเอง ใจมองเห็นใจ จิตมันจะปรับปรุงตัวเองในทางที่ถูกที่ควร
    เหมือนเรามีกระจกคอยมองตัวเราเอง เราก็จะแต่งตัวได้ถูกกาลเทศะ

    เป็นเรารู้ใจตัวเอง เราเห็นตัวเองได้ ใจเรามันก็รักษาตัวเองได้ ใจมันก็กลับมารักษาเรา
    เราก็จะหายจากอาการบ้า หายจากมิจฉาทิฏฐิ สะสมสัมมาทิฏฐิ แล้ววันหนึ่งจะเกิดเป็น
    ปัญญารู้ธรรมตามจริงได้เอง เป็นเราทำการรักษาอาการป่วยทางใจของเราด้วยตัวเราเอง
    ต่อไปตัวเองก็จะเป็นที่พึ่งให้ตัวเองได้ เป็นการรักษาศีลได้ด้วยใจ สมาธิ ปัญญา ก็จะเกิด
    ตามมา ให้รู้ได้ด้วยตัวเอง<!-- google_ad_section_end -->
     
  16. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    เจ่ขวัญ..เอาไปเล๊ย ทริบเปิ้ล โลตัส
     
  17. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    ความคิด มันทำให้เรา ไหล และต่อต้าน เฮ้อ
    แต่ว่า คนเราก็ต้อง คิด เพราะไม่คิดจะเอาอาหารที่ไหน
    มาล่อเลี้ยง บางที่ก็เก็บ บางทีก็ไม่เก็บ

    บางทีเดินกลางผู้คน ปวดตดมากๆ แต่อายไม่กล้าตด
    กลัวคนอื่น จะรู้ว่าเราตด แต่เราทรมาณชิบเป๋งเลย(ตดออกมาก็โล่งแระ อั้นทำไม)
    มะรู้เกี่ยวกันไหม แหะๆ และ แหะๆๆๆ
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    อิอิ...
    ตะแล๊บแก๊บ...ทู..นู๋หลบภัย เสวนา เรื่องของ ตด

    เวลาเจ๊ อยู่กับ สามีและลูก เวลาปวดตด ก็ตดเลย ไม่มีอั้น อิอิ
    เวลาเขาว่าเรา เราก็หัวเราะ ซ้า...สิ ทำเป็นไม่รุไม่ชี้ ก็คนมันปวดตด อ่า มันเป็นธรรมชาติ
    แร้ว...เพ่...มีไร...เป่า ถ้าทนดมตดของเราไม่ได้ ก็อย่ามาอยู่ร่วมกะเราดิ ต่างคนต่างอยู่
    ปลีกวิเวก อยู่สันโดษ ก็ไม่ต้องมาดมตดซึ่งกันแระกัน ใช่ปะ
    เจ๊ ก็พูดตรงๆแค่นี้... เค้าก็ยอมดม ตด ของ เราต่อไป แต่โดยดี
    กะบ่นกะปอดกะแปด ว่าเราไม่มีสมบัติผู้ดี เอาซะเรย อิอิ
    ส่วนลูกเรา มันก็แค่หัวเราะ..แร้วพูดว่า แม่ตด ...แค่เนี้ย จบแระ เด็กๆ มันก็ดีแบบนี้แระ คริ คริ

    แต่ถ้าเป็นกะคนอื่น ก็หลบๆ ไปตดในที่ลับหูลับตาคนอื่น นิดส์นุง
    ไม่งั้น อาจโดนประชาทัณฑ์เล็กๆน้อยๆ แบบว่าถูกประณามด้วยคำพูดและสายตา
    แต่ถ้าเป็นสาวมั่นอยู่แล้ว แบบว่ามั่นใจในความสวย อิอิ
    ก็ช่างมันฉันไม่แคร์ คนสวย คนน่ารัก ทำอะไรก็ดูดีไปหม๊ดดดด
    แม้กระทั่ง ตด เธอว์ก็ยังน่ารัก ชิมิ ก็ว่ากันไป เนาะ

    พอได้ ปะคะ
     
  19. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    ดีดีดีเจ้ ขวัญ ปวดตดก็ตดออกมาเลย เห็นด้วย เพราะมันเกิด ขึ้น ตั้งอยู่ แระ ดับปายเจงๆ
    แต่ตดเราอ่า มันดันไป ทำลายสติคนรอบข้าง ซะได้ เวลากลิ่นตดเรา
    ลอยไป กับอณูอากาส ไปกระทบ คนรอบข้างๆ ฮี่ๆ มองเราตาเขียวปัด เยย
    แต่นี้เรื่องจริงนะ หลบภัยตดได้ทุกสภาวะ ไม่ว่าหน้าแปลก หรือแปลกหน้า
    ยิ่งคุ้นหน้า ยิ่งตดดังแระ (แน่ะตดยังเลือกข้างอีกดูจิ)

    หมายเหตุ หลบไม่ได้น่ารัก หลบหน้าแปลก ชอบตดให้คนแปลกหน้าดมประจำ หุหุหุ

    เจ้ขวัญ เรามาตดให้กันดมดีกว่า แหะๆ
     
  20. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    สัมมาสติ คือการมีสติระลึกอยู่เป็นนิจว่า เราจะกระทำอะไร และกำลังทำอะไรอยู่ ไม่เป็นคนเผลอ การไม่เผลอการรู้ตัวอยู่เป็นนิจเป็นทาง ให้หลีกได้จากการกระทำความชั่ว ตามความจำกัดความแบบพระสูตร คือหลักธรรมที่เรียกว่าสติปัฎฐาน แบ่งออกเป็น 4 คือ
    1. ระลึกได้เมื่อรู้สึกสบาย หรือ ไม่สบาย
    2. ระลึกได้เมื่อรู้สึกสุข หรือทุกข์ หรือเฉย ๆ
    3. ระลึกได้ว่าจิตกำลังเศร้าหมอง หรือผ่องแผ้ว
    4. ระลึกได้ว่าอารมณ์อะไรกำลังผ่านเข้ามาในจิตใจ
    เห็นพี่ขวัญโพส ก่อนหน้านี้ ตรงกับอันนี้เลยพี่ขวัญ ที่เรียกสัมมาสติ
    ที่พี่ขวัญพูดมันตรงแฮะ คือ เรารู้ว่าสติมันเกาะกับการเคลื่อนไหวกาย
    และ การแปรปรวนของอารมณ์ เขาเรียกสัมมาสติเนอะ แม้ยังไม่ถึงอริยะก็ตามเนอะ

    แฮะ ขอสมัครแฟนคลับพี่ขวัญ ปราบเทวดาต่อคิวข้างหลังเยย นิวรณ์ด้วย
     

แชร์หน้านี้

Loading...