ทำไมมีแต่คนอ้างคำสอนของครูบาต่างๆมากกว่าพระไตรปิฏก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย I2D2, 4 กันยายน 2011.

  1. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    อรรถกถาที่คุณ จขกท กล่าวถึงนี้นะ....ผมว่า มันน่าจะมีปัญหา....

    เรื่องนี้ถกเถียงกันมาตั้งแต่สมัยใหนละ.....
     
  2. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    แสดงว่า อักษรมุสา เป็นที่ถูกใจซัวเจ๋ง ^^
     
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    อ่านเล่นๆ นะครับ คุณ ซัวเจ๋ง...

    __________________________________

    [​IMG]


    พระไตรปิฏกเชื่อถือได้แค่ไหน...


    <O:p</O:p
    บทความทางวิชาการ โดย พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี นธ.เอก. ป.ธ.๘ , พธ.บ.(บาฬีพุทธศาสตร์) , พธ.ม.(วิปัสสนา).<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    ก่อนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะดับขันธปรินิพพาน พระอานนท์ทูลถามพระองค์ว่า “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หลังจากพระองค์ปรินิพพานแล้ว พระองค์จะทรงตั้งใครเป็นศาสดาแทนพระเจ้าข้า”<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าตรัสตอบเป็นภาษาบาฬีว่า “โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา” <O:p</O:p
    แปลว่า. ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยใดที่เรา ได้แสดงแล้วและบัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย ในเมื่อเราล่วงลับไป <O:p</O:p
    หมายความว่า พระพุทธเจ้าตรัสสั่งให้คำสั่ง สอนของพระองค์ เป็นศาสดาแทนพระองค์ <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน ๓ เดือน พระอรหันตสาวก ๕๐๐ รูป นำโดยพระมหากัสสปะเถระได้ร่วมกัน ประชุมทำสังคายนา คือ ดำเนินการรวบรวมพระดำรัสของ พระพุทธเจ้า จัดเป็นหมวดหมู่ คัมภีร์ที่รวบรวมพุทธพจน์ บรรจุพระธรรมวินัยนั้นไว้ เรียกว่า พระไตรปิฎก<O:p</O:p
    คัมภีร์ที่บันทึกหลักธรรมคำสั่งสอนของพุทธศาสนานั้นเรียกว่าพระไตรปิฎก ซึ่งถือว่าเป็นคัมภีร์ที่สำคัญที่สุดของพุทธศาสนา เพราะเป็นคัมภีร์ที่จารึกคำสอนของพระพุทธเจ้าและของพระอรหันตสาวกไว้โดยมีกระบวนการสืบทอดคำสอนของพระพุทธองค์ไว้ในรูปแบบของการสังคายนาอย่างระมัดระวังและรัดกุมที่สุด ตั้งแต่สมัยที่พระพุทธองค์ทรงพระชนม์ชีพอยู่ จนถึงการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๑, , ,, , ๖ มาตามลำดับ<O:p</O:p
    หลักธรรมคำสั่งสอนทางพุทธศาสนาได้มีการสืบทอดกันมาโดยมุขปาฐะ คือ การท่อง จำสืบๆ กันมา (Oral Tradition) การท่องจำนี้ ได้กระทำมาจนถึงสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๕ ในลังกาทวีป การจารึกเป็นคัมภีร์ครั้งแรกเมื่อคราวสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๔๕๐ บางตำราว่า พ.ศ. ๔๓๓ (ถ้านับเฉพาะที่ทำสังคายนาในศรีลังกาก็เป็นครั้งที่ ๒ )ในรัชสมัยของพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย โดยมีพระรักขิตมหาเถระเป็นประธาน ทำที่อาโลกเลณสถาน ณ มตเล ชนบทหรือที่เรียกว่า มลัยชนบท สาเหตุของการจารึกพระพุทธวจนะลงในใบลาน ก็เพราะว่าถ้าจะใช้วิธีท่องจำพระพุทธวจนะต่อไป ก็อาจมีข้อวิปริตผิดพลาดได้ง่าย เพราะปัญญาในการท่องจำของกุลบุตรเสื่อมถอยลง นอกจากนั้นพระสงฆ์ยังได้รับความกระทบกระเทือนจากภัยธรรมชาติและภัยสงครามอยู่เนืองๆทำให้ไม่มีเวลาท่องจำพระพุทธวจนะ จะทำให้ช่วงการสืบต่อขาดลงได้ และในการจารึกครั้งนี้ได้จารึกอรรถกถาลงไว้ด้วย<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    มีผู้สงสัยว่า สมัยพุทธกาลคนไม่รู้จักการเขียนหนังสือหรืออย่างไร? จึงไม่ปรากฏว่ามีตำรับตำราจารึกไว้เป็นหลักฐาน พระมหาเสฐียรพงษ์ ปุณฺณวณฺโณได้ประมวลทัศนะนี้ไว้ในหนังสือภาษาศาสตร์ภาษาบาลี ไว้ว่า<O:p</O:p
    "ความจริงการเขียนหนังสือน่าจะมีมาก่อนพุทธกาลแล้ว ในพระไตรปิฎกเองก็มีข้อ ความเอ่ยถึงการขีดเขียนเป็นครั้งคราว เช่น ตอนหนึ่ง ห้ามภิกษุเล่นเกม "อักขริกา" ได้แก่ การทายอักษรในอากาศหรือบนหลังเพื่อนภิกษุ วิชาเขียนหนังสือ(เลขา) ได้รับยกย่องว่าเป็นศิลปะพิเศษอย่างหนึ่ง สิกขาบทบางข้อห้ามภิกษุณีเรียนศิลปะทางโลก หนึ่งในศิลปะเหล่านี้คือวิชาเขียนหนังสือ ในบทสนทนาภายในครอบครัว พ่อแม่ปรารภว่าจะให้บุตรเรียนวิชาอะไรดี ถ้าจะให้เรียนเขียนหนังสือ บุตรก็อาจยังชีพอยู่ได้อย่างสบาย แต่ก็อาจเจ็บนิ้วมือ ถ้าภิกษุเขียนหนังสือพรรณนาคุณของอัตตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตายเอง) ปรับทุกกฎทุกตัวอักษร ถ้ามีผู้อ่านพบข้อความนั้นเข้าเห็นดีเห็นงามด้วย แล้วฆ่าตัวตายตามนั้น ปรับอาบัติปาราชิก หลักฐานเหล่านี้แสดงว่าอักษรหรือการเขียนมีมาก่อนสมัยพระพุทธเจ้าแล้ว แต่ที่พระพุทธองค์ไม่นิยมใช้ หันมาใช้วิธีมุขปาฐะแทน น่าจะทรงเห็นประโยชน์อานิสงส์บางสิ่งบางอย่างกระมัง หรือว่าระบบการขีดเขียนยังไม่เป็นที่แพร่หลายเท่าที่ควร ทั้งยังไม่มีอุปกรณ์การขีดการเขียนเพียงพอ ก็ยากที่จะทราบได้ แต่ข้อที่น่าคิดอยู่อย่างคือ วิธีเรียนด้วยมุขปาฐะนี้ นอกจากจะสร้างสัมพันธภาพอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้เรียนและผู้สอนแล้ว ยังเป็นการสร้างสมาธิฝึกจิตของผู้เรียนไปในตัวด้วย นักปราชญ์ยุคก่อนที่มีความคิดเช่นนี้ก็มีไม่น้อย เปลโต้เคยกล่าวไว้ว่า "การคิดอักษรขึ้นใช้ แทนการท่องจำ ทำให้มนุษย์ขาดอานุภาพแห่งความทรงจำ คือแทนที่จะจดจำจากอินทรีย์ภายใน ต้องอาศัยสัญลักษณ์นอกเข้าช่วย"<O:p</O:p
    อ้างอิง..พระมหาเสฐียรพงษ์ ปุณณวณโณ ภาษาศาสตร์ภาษาบาลี, ชุดวรรณไวทยากร, กรุงเทพฯไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๑๔)<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ในตอนต้นครั้งพุทธกาล คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามิได้เรียกว่า “พระไตรปิฎก” แต่เรียกว่าพระธรรมวินัยบ้าง พระสัทธรรมบ้าง ปาพจน์บ้าง สัตถุศาสน์บ้าง พระ บาลีบ้าง สุตตะบ้าง แม้หลังพุทธปรินิพพานก็ยังไม่เรียกว่าพระไตรปิฎก คงเรียก ว่าพระธรรมวินัย เช่น การสังคายนาชำระคำสอน ครั้งที่ ๑-๔ ยังคงเรียกว่าสังคายนา พระธรรมวินัย และได้เรียกว่า “พระไตรปิฎก” เมื่อการสังคายนาครั้งที่ ๕ พ.ศ. ๔๕๐ ณ ประเทศศรีลังกา โดยได้จารึกลงในใบลาน ซึ่งได้แบ่งพระธรรมวินัยเป็น ๓ หมวด จึงได้เรียกว่า “พระไตรปิฎก” ตั้งแต่บัดนั้น




    [​IMG]<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พระไตรปิฎกมีความสำคัญดังนี้<O:p</O:p
    ๑. เป็นที่รวบรวมพระพุทธพจน์ คือ พระดำรัสของพระพุทธเจ้า<O:p</O:p
    ๒. เป็นที่สถิตของพระศาสดาของพุทธศาสนิกชน เพราะเป็นที่บรรจุพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ให้ เป็นศาสดาแทนพระองค์<O:p</O:p
    ๓. เป็นแหล่งต้นเดิมของคำสั่งสอนในพุทธศาสนา <O:p</O:p
    ๔.เป็นหลักฐานอ้างอิงหรือยืนยันหลักการที่กล่าว ว่า เป็นพระพุทธศาสนา<O:p</O:p
    ๕. เป็นมาตฐานตรวจสอบความเชื่อและข้อปฏิบัติ ในพระพุทธศาสนา จะวินิจฉัยสิ่งใดว่าถูกต้องหรือผิดพลาด เป็นพระพุทธศาสนาหรือไม่ ก็โดยอาศัยพระธรรมวินัยที่มีมาในพระไตรปิฎกเป็นเครื่องตัดสิน <O:p</O:p
    ๖. พระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์ที่น่าเชื่อถือที่สุด กว่าหนังสือใดๆ บนพื้นพิภพ ที่ยืนยันให้คนยุคปัจจุบันได้รับรู้ ว่าเมื่อ ๒๕๐๐ปีก่อน พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนอะไรไว้บ้าง <O:p</O:p
    ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ การศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก จึงเป็นกิจสำคัญยิ่งของชาวพุทธ ถือว่าเป็นการสืบต่ออายุ พระพุทธศาสนาหรือเป็นความดำรงอยู่ของพระพุทธศาสนากล่าวคือ ถ้ายังมีการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกเพื่อนำไปปฏิบัติ พระพุทธศาสนาก็จะยังดำรงอยู่ แต่ถ้าไม่มีการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก แม้มีการปฏิบัติก็จะไม่เป็น ไปตามหลักการของพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาก็จะ ไม่ดำรงอยู่ คือ จะเสื่อมสูญไปในที่สุด


    [​IMG]<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ถาม... เป็นไปได้หรือไม่ที่พระไตรปิฏกอาจจะถูกสาวกรุ่นหลังๆ แก้ไขเพิ่มเติม <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ตอบ “เป็นไปไม่ได้” ด้วยเหตุผลดังนี้<O:p</O:p
    ๑. พระไตรปิฎกสืบทอดกันมาด้วยภาษาบาลี ที่มีหลักไวยากรณ์เฉพาะ มีกฎตายตัวไว้เฉพาะภาษาบาลี โดยปฏิเสธกฎไวยากรณ์หลายประการของสันสกฤต เพื่อไว้ให้เป็นหลักเกณฑ์ของไวยากรณ์บาลีโดยเฉพาะ เช่น พระบาลีมี ๒วจนะเท่านั้น คือ เอกวจนะ และพหุวจนะ ไม่มีทวิวจนะ <O:p</O:p
    ...อ้างอิง ดูรายละเอียด พระอัครวงศาจารย์ , สทฺทนีติปฺปกรณํ (ปทมาลา) ฉบับภูมิพโลภิกขุ . โรงพิมพ์มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ, วัดสระเกศ กรุงเทพฯ:พ.ศ. ๒๕๒๑ .หน้า ๑๕๖<O:p</O:p
    ๒. แม้บางช่วงของประวัติศาสตร์เกิดภัยต่าง ๆ ทำให้คัมภีร์พระไตรปิฎกขาดหายหรือเลอะเลือนไป แต่เมื่อสังคายนาใหม่อีกครั้งก็ได้เปรียบเทียบ ตรวจสอบดูกัพระไตรปิฎกของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จนหมดข้อสงสัย จึงทำให้เชื่อได้ว่าเป็นพระไตรปิฎกที่มีมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งโลก ตรงกับพระไตรปิฎกที่ได้รับการสังคายนาครั้งก่อน ๆ ทุกประการ<O:p</O:p
    ๓. มีข้อความในคัมภีร์รุ่นหลังกล่าวอ้างถึงข้อความคัมภีร์พระไตรปิฎก แต่เมื่อตรวจสอบในบาลีพระไตรปิฎกแล้วกลับไม่มีข้อความนั้น ทั้งที่เมื่อพิจารณาข้อความนั้นแล้วมีอรรถเข้ากันได้กับพระไตรปิฎก เช่น บาลีสังยุตตนิกาย มหาวรรคว่า “จตฺตารีมานิ ภิกฺขเว อริยสจฺจานิ ฯ กตมานิ จตฺตาริ ฯ ทุกฺข อริยสจฺจ ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจ ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจ ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสจฺจ ฯ อิมานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ อริยสจฺจานิ ตถานิ อวิตถานิ อนฺถานิ ตสฺมาอริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺติ” ( อ้างอิง.... ส.ม.๑๙/๑๐๙๗/๓๘๐) <O:p</O:p
    แต่คัมภีร์วิสุทธิมรรค นำไปอ้างโดยเพิ่มข้อความว่า “จตฺตารีมานิ ภิกฺขเว อริยสจฺจานิ ฯ กตมานิ จตฺตาริ ฯ ทุกฺข อริยสจฺจ ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจ ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจ ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสจฺจ ฯ อิมานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ อริยสจฺจานิ อริยา อิมานิ ปฏิวิชฺฌนฺติ ตสฺมา อริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺตีติ ฯ อปิจ อริยสฺส สจฺจานีติปิ อริยสจฺจานิ ฯ ยถาห ฯ สเทวเก โลเก ฯเปฯ มนุสฺสา ตถาคโต อริโย ตสฺมา อริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺตีติ ฯ อถวา เอเตส อภิสมฺพุทฺธตฺตา อริยภาวสิทฺธิโตปิ อริยสจฺจานิ ฯ ยถาห ฯ อิเมส โข ภิกฺขเว จตุนฺน อริยสจฺจาน ยถาภูต อภิสมฺพุทฺธตฺตา ตถาคโต อรห สมฺมาสมฺพุทฺโธ อริโยติ วุจฺจตีติ ฯ อปิจ โข ปน อริยานิ สจฺจานีติปิ อริยสจฺจานิ ฯ อริยานีติ ตถานิ อวิตถานิ อวิสวาทกานีติ อตฺโถ ฯ ยถาห ฯ อิมานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ อริยสจฺจานิ ตถานิ อวิตถานิ อนฺถานิ ตสฺมา อริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺตีติ ฯ เอวเมตฺถ นิพฺพจนโต วินิจฺฉโต เวทิตพฺโพ ฯ <O:p</O:p
    ( อ้างอิง... วิสุทฺธิ.๒/๑๔๐-๑๔๑ )(อักษรตัวหนา เป็นข้อความที่คัมภีร์วิสุทธิมรรคเพิ่มเข้ามา โดยอ้างว่านำมาจากพระไตรปิฎก)<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ดังข้อมูลที่เสนอมานี้ก็หมายความว่า พระไตรปิฎกภาษาบาลีไม่ถูกแก้ไขเพิ่มเติมอย่างแน่นอน เพราะทั้งที่ปรากฏข้อความที่ตกหล่นปรากฏอยู่ในคัมภีร์น่าเชื่อถือเป็นที่สุดอย่างเช่น วิสุทธิมรรค ข้อความนั้นก็มิได้ถูกบรรจุไว้ในคัมภีร์พระไตรปิฎก <O:p</O:p
    สรุปว่า คัมภีร์พระไตรปิฎกภาษาบาลีย่อมเป็นไปได้ที่มีการตกหล่นบ้าง คำกล่าวอ้างที่ว่าถูกสาวกรุ่นหลังแก้ไขเพิ่มเติมย่อมเป็นไปไม่ได้เลย <O:p</O:p

    <O:p</O:p









    <HR align=left SIZE=1 width="33%">

    [1][1] บางแห่งว่า พ.ศ.๔๓๓<O:p</O:p
    [1][2] พระมหาเสฐียรพงษ์ ปุณณวณโณ ภาษาศาสตร์ภาษาบาลี, ชุดวรรณไวทยากร, กรุงเทพฯไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๑๔<O:p</O:p
    [1][3] ดูรายละเอียด พระอัครวงศาจารย์ , สทฺทนีติปฺปกรณํ (ปทมาลา) ฉบับภูมิพโลภิกขุ . โรงพิมพ์มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ, วัดสระเกศ กรุงเทพฯ:พ.ศ. ๒๕๒๑ .หน้า ๑๕๖<O:p</O:p
    [1][4] ส.ม.(บาลี) ๑๙/๑๐๙๗/๓๘๐<O:p</O:p
    [2][5] วิสุทฺธิ.(บาลี)๒/๑๔๐-๑๔๑

    http://www.tlcthai.com/club/view_top...&post_id=11639
    <O:p</O:p
     
  4. I2D2

    I2D2 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2011
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +0

    พูดแบบนี้ก็ไม่ถูกครับ อย่างลืมสิว่าทั้งปริยัติและปฏิบัตินั้นสำคัญเท่าๆกัน เพราะหากทุกคนเมินเฉยต่อปริยัติแล้วเอาแต่เข้าปฏิบัติโดยไม่สนใจปริยัติก็คงเหมือนสมัยครั้งก่อนพุทธเจ้าตรัสรู้ ที่ผู้คนมากมายต้องการออกจากทุกข์ ต้องการดับกิเลส แต่กลับไปไม่ถึงนิพพาน (อย่างมากก็เข้าถึงเนวสัญญาฯ และมีอิทธฤิทธต่างๆได้ แต่ยังเข้าใจผิดว่านั่นคือนิพพาน)


    หากไม่มีปริยัติที่ถูกต้อง ปฏิบัติก็จะผิดตามไปด้วย อย่าลืมว่าถ้าอาจารย์สอนผิด หรือไม่เข้าใจเนื้อความในพระไตรปิฏกแล้วไปดัดแปลงความหมายเอาตามที่ตนเข้าใจ อย่างนั้นมันจะเกิดอะไรขึ้นครับ
     
  5. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    จะสื่ออะไรครับ ภานุเดช

    คุยเรื่องพระไตรปิฏกทีไร เห็นนำบทความนี้มาแปะทุกที

    สรุปมาให้ดีกว่า จะได้เข้าใจว่าต้องการจะสื่ออะไร

    หมายถึงอะไร งง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 กันยายน 2011
  6. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    เห็นด้วยกับคุณ <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->I2D2

    นี่คุณต้องบอกเขาว่า หาขุมทรัพย์ แต่ไม่มีลายแทง ไม่มีแผนที่ ไม่มีเข็มทิศ จะคงจะเจอขุมทรัพย์โดยเร็วนะครับ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2011
  7. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    อ่านท่าน ก็เห็นท่านคิดเล่นๆ ผมก็เอามาให้อ่านเล่นๆ ก็เท่านั้นเอง คิดอะไรมากครับท่าน...ในบทความนั้นย่อมมีคำตอบในตัวมันเอง....
     
  8. ไมยราพ

    ไมยราพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +201
    ขอแหล่งที่มาด้วยครับ น่าสนใจ..!
     
  9. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    แต่ว่านะ ยิ่งศึกษาพระธรรมมาก ยิ่งคิดว่าตัวเองฉลาดขึ้น
    หรือศึกษาจากแหล่งที่ไหน ก็ตาม ยิ่งคิดว่าตัวเองฉลาดขึ้น

    ัมันขัดเกลาได้มาก อย่างจริงจังหรือเปล่า รู้กฏหมายหมด แต่ดันเป็นมหาโจร --"

     
  10. I2D2

    I2D2 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2011
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +0


    ขอบคุณสำหรับความเห็นครับ คำว่าใบไม้ในป่าหรือใบไม้ในกำมือนี้ เห็นหลายคนก็พูดถึงเหมือนกัน

    ที่พระพุทธเจ้าแสดงคือใบไม้ในมือ เพราะด้วยสัพพัญญุตญาณ ท่านรู้แล้วว่านี้เป็นหนทางที่ง่ายที่สุด และถูกต้องที่สุด และแน่นอนว่าท่านก็ต้องรู้แล้วว่าสติปัฏฐาน ๔ เหมาะแก่คนแต่ละจริตอยู่แล้ว ท่านจะตรัสใบไม้ในป่่า่ให้อ้อมค้อมไปทำไม จริงไหม
     
  11. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    กำกวมอีกคนแระ

    ตกลงเข้าใจว่าอะไรหรือ
     
  12. ไมยราพ

    ไมยราพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +201
    ประมาณว่า "ยิ่งโต ฉี่ยิ่งฉุน"

    แต่หากเป็น "เยี่ยวอูฐ..!" นี่ มีประโยชน์มาก
     
  13. I2D2

    I2D2 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2011
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +0


    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ หน้าที่ 554

    ก็คำว่า วสฺสสหสฺส นี้ ตรัสโดยมุ่งถึงพระขีณาสพผู้บรรลุ

    ปฏิสัมภิทาเท่านั้น แต่เมื่อกล่าวให้ยิ่งไปกว่านั้น ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่ง

    ถึงพระขีณาสพผู้สุกขวิปัสสก ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระอนาคามี

    ๑,๐๐๐ โดยมุ่งถึงพระสกทาคามี ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระโสดาบัน

    ปฏิเวธสัทธรรมถูกดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปี โดยอาการดังกล่าวมานี้

    แม้พระปริยัติธรรมก็ดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปีนั้นเหมือนกัน. เพราะ

    เมื่อปริยัติธรรมไม่มี ปฏิเวธธรรมก็มีไม่ได้ แม้เมื่อปริยัติธรรม

    ไม่มี ปฏิเวธธรรมไม่มี ก็เมื่อปริยัติธรรมแม้อันตรธานไปแล้ว

    เพศ (แห่งบรรพชิต) ก็จักแปรเป็นอย่างอื่นไปแล.

    จบ อรรถกถาโคตมีสูตรที่ ๑
     
  14. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ครั้งล่าสุดนี้ผมจำไม่ได้ว่ากระทู้ใหน แต่ที่รู้แน่นอนคือคนตั้งกระทู้ คือ คุณ ตาปลา ครับ....

    เรื่องเดียวกัน อรรถกาเดียวกันเลย....
     
  15. <Q>

    <Q> Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,907
    ค่าพลัง:
    +80
    อย่าไปมองโลกแคบสิ

    ที่ศึกษาเพราะไม่รู้อะไรก็มี ไม่ใช่ไม่รู้เลยไม่ศึกษา

    กลับกัน หลบภับจะคว่ำพระไตรปิฏก สรรเสิรญคำอาจารย์สมัยใหม่

    อาจารย์สมัยใหม่ท่านก็ศึกษาพระไตรปิฏกเหมือนกัน

    ไม่งั้นคงบัญญัติศัพท์ใหม่ นิกายใหม่ให้วุ่นวายไปหมด

    อันนี้ก็แล้วแต่วาสนาว่าสั่งสมอะไรมา ทิงนองนอย
     
  16. ไมยราพ

    ไมยราพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +201
    แล้วคุณ I2D2 มีความเห็นเป็นเช่นใด ในอรรกถา ดังกล่าว

    ถ้าผมจะบอกว่า ในตอนท้าย ของ "สติปัฏฐานสูตร" ก็มีกล่าวไว้เช่นกัน แต่ไม่ใช่ดังอรรถกถา ที่ยกมา

    เอาแล้วสิ จะแก้ยังไง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กันยายน 2011
  17. GhostHead

    GhostHead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,010
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ไอ้หนู ไปเอามาจากไหนรึ พระอรหันต์หมดไปแล้วน่ะ
    ตราบใดพระพุทธศาสนายังคงอยู่ มรรค8ยังคงมี ตราบนั้นพระอรหันต์ก็ยังมีอยู่

    เรื่องฤทธิ์ เรื่องอภิญญาน่ะ เป็นเรื่องปัจจัตตัง ตัวเองไม่มีก็อย่าไปเหมาว่าคนอื่นเค้าทำไม่ได้

    พระพุทธเจ้าท่านก็สอนไว้หมดแล้ว กลับไปอ่านซะนะ ไอ้หนู
    กสิณน่ะรู้จักมั้ย การเข้าฌานน่ะรู้จักมั้ย ทำได้รึเปล่า
    ไม่รู้เรื่องก็อย่ามาเพ้อเจ้อดีกว่านะไอ้หนู มันจะเป็นการปรามาสพระรัตนตรัยนะ

    ในเว็บนี้ก็มี อัชฌาสัยทั้ง4ในการปฏิบัติธรรม
    สุขวิปัสสโก
    เตวิชโช
    ฉฬภิญโญ
    ปฏิสัมภิทัปปัตโต

    ไปอ่านมาให้ครบนะ ไอ้หนู
     
  18. I2D2

    I2D2 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2011
    โพสต์:
    218
    ค่าพลัง:
    +0

    คำว่ามุ่งถึงนี้หมายถึง สิ้นสุดแค่นั้นครับ
     
  19. ไมยราพ

    ไมยราพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +201
    ตกลง จะให้เชื่อ อรรกถา หรือให้มุ่งศึกษาพระไตรปิฏก ที่เป็นพุทธวจนะ
     
  20. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    ประมาณนั้นท่านมังคุด เหมือนอาหาร มันจะมีค่าเวลาหิว
     

แชร์หน้านี้

Loading...