ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,206
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ปอกเปลือก ทรราช
    คิมน้อยท้าเชิญโอบาม่าและเดอะแก้งค์ไปเที่ยวเกาหลีเหนือ ปธน.สี จิ้นผิง ส่งเทียบเชิญนายกฯชินโซะ อาเบะเข้าร่วมงานครบรอบ 70 ปีสิ้นสุด WWII ที่กรุงปักกิ่ง

    [​IMG]

    -------------
    ขอจัดข่าวเบาๆให้ก่อนนะครับ มีอยู่ข่าวต่างประเทศอยู่ 2-3 ข่าวจะเอามาเล่าให้ฟังตามที่ตั้งชื่อโพสต์ข้างบนนั่นแหละ ข่าวแรกคือเมื่อวันที่ 13 ก.ค.58 ที่ผ่านมาสำนักข่าว Sputnik news รายงานว่าทางการเกาหลีเหนือได้เชิญปธน.บารัค โอบาม่า ของสหรัฐฯ พร้อมทั้งสมาชิกสภาคองเกรส และรัฐบาลสหรัฐฯทั้งหมดให้เดินทางไปที่กรุงเปียงยาง (Pyongyang) (ฮ่าๆๆ... คิดว่าโอบาบาม่าจะกล้ารับคำเชิญที่ท้าทายในครั้งนี้หรือไม่?)
    แถลงการณ์ของเกาหลีเหนืออย่างเป็นทางการกล่าวว่า "ตามที่คณะผู้แทนของคณะกรรมการอย่างเป็นทางการด้านความมั่นคงของเกาหลีเหนือแจ้งให้ทราบนั้น เจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯจะสามารถตรวจดูมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีชีวภาพของกรุงเปียงยาง (Pyongyang University of Biotechnology) ที่ลึกลับได้โดยตรง สหรัฐฯยังจะได้เห็นสังคมที่สิทธิมนุษยชนได้รับการรับรองอย่างแท้จริงด้วย" (ว้าวววว! มุกนี้แรงอ่ะ เล่นเอาโอบาม่าและติ่งอเมริกาสำลักกาแฟตกเก้าอี้หัวทิ่มได้เลยนะนี่)
    เมื่อวันที่ 9 กรกฎามคมที่ผ่านมา Henhem Melissa จาก "ศูนย์ศึกษาป้องกันการแพร่ขยาย" (Center for Nonproliferation Studies) ซึ่งเป็น ngo ของสหรัฐฯ ได้ออกมากล่าวหาเกาหลีเหนือว่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีชีวภาพเปียงยางมีความต้องการเงินทุนในการขยายไวรัส (แบคทีเรีย) แอนแทร็กซ์ ซึ่งสามารถที่จะใช้ทำเป็นอาวุธชีวภาพได้
    ต่อมาในวันที่ 12 ก.ค.58 ผู้แทนถาวรของเกาหลีเหนือประจำสหประชาชาติได้ออกมากล่าวว่ากรุงวอชิงตันพยายามที่จะใช้อาวุธชีวภาพโจมตีกรุงเปียงยาง ในเหตุการณ์สงครามแหลมเกาหลีเหนือ โดยคณะผู้แทนของเกาหลีเหนือได้ออกมาเรียกร้องให้มีการตรวจสอบตัวอย่างเชื้อแอนแทรกซ์ส่งจากสหรัฐฯไปยังเกาหลีใต้ เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาทางเพนตากอนได้ออกมายอมรับ (แถจนสีข้างถลอก) ว่า มันเป็นอุบัติเหตุที่มีการส่งตัวอย่างเชื้อแอนแทร็กไปยังฐานทัพอากาศสหรัฐฯในเกาหลีใต้ และห้องแลบอีกจำนวนมาทั้งในสหรัฐฯและต่างประเทศ
    ถ้าเชื่อคำพูดของสหรัฐฯก็ไปกินอย่างอื่นแทนข้าวเหอะ งานนี้พอข่าวเรื่องเชื้อแอนแทรกซ์กำลังจะจางไป สหรัฐฯก็รีบออกมาปล่อยข่าวกลบความชั่วของตัวเอง เพราะความลับแตก โดยโยนอี้ไปป้ายที่เกาหลีเหนือว่ากำลังซุ่มทดทองเชื้อแอนแทร็กซ์ซะงั้น คิมน้อยก็เลยบอกว่า เออ… ดี งั้นให้นายโอบาม่ากับพรรคพวกมาดูด้วยตาตัวเองเลยไหม? ว่าที่สหรัฐฯออกมาเบี่ยงประเด็นกลบข่าวเน่าเฟะของตัวเองโดยการกล่าวหาผู้อื่นแทนนั้นว่าเป็นความจริงหรือไม่ โอบาม่ากล้าป๊ะ? ฮี่ๆๆ (เนี่ยพฤติกรรมถ่อยๆ ของนักการเมืองสหรัฐฯมันทำให้นักการเมืองไทยจำนวนไม่น้อย รวมทั้งสื่อมวลชนขี้ข้าอเมริกาและเยาวชนรุ่นใหม่ของไทยบางส่วนเรียนแบบแล้วก็เอามาบิดเบือน ปลุกปั่นเต้าข่าวอยู่ทั้งในสังคมทั่วไปและในสังคมออนลายเยอะมาก คนที่หูเบาก็ตกเป็นเหยื่อของพวกนั้นไป)
    อีกซักข่าวนะ ในวันที่ 3 กันยายนที่จะถึงนี้ จีนจะจัดงานฉลองครบรอบ 70ปี วันสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองขึ้นในกรุงปักกิ่ง ซึ่งการจัดงานก็จะยิ่งใหญ่อลังการอย่างที่รัสเซียได้จัดงานวัน V-Day เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2558 ที่ผ่านมานั่นเอง มีการนำเอาแสนยานุภาพทางอาวุธสมัยใหม่ทั้งข้าวหลามยักษ์ รถถัง ยานเกาะ กองทหารต่างๆออกมาเดินสวนสนามให้พรึบไปหมด มีเครื่องบินรบออกมาบินผาดโผนให้คณะผู้นำต่างประเทศและประชาชนทั่วไปที่เข้าร่วมงานได้ชม สำนักข่าว Global Times ของจีนได้ลงข่าวว่างานนี้ทางการจีนได้ส่งเทียบเชิญไปถึงนายกรัฐมนตรีชินโซะ อาเบะของญี่ปุ่นให้เข้าร่วมในพิธีที่ยิ่งใหญ่นี้ด้วย (เพื่อเป็นการระลึกถึงสมัยที่กองทัพญี่ปุ่นไปบุกรุกจีนและเข่นฆ่าคนจีนไปหลายล้านคน เดาซิว่าญี่อาเบะจะกล้าไปร่วมงานนี้ด้วยหรือไม่? ฮ่าๆๆ อ้อ… งานนี้จีนยังไม่ได้เปิดรายชื่อผู้นำประเทศต่างๆที่จะเข้าร่วมในงานวันที่ 3 ก.ย.ออกมานะ ลุ้นอยู่เหมือนกันว่า.... จะไปร่วมด้วยหรือไม่ ฮ่าๆๆ ไปเถอะนะครับ ไปเหอะ จะได้ตบหน้าอเมริกาให้ดังเพี้ยะๆๆๆ ซะหน่อย)
    แต่เมื่อวันที่ 11 ก.ค.58 ที่ผ่านมาสำนักข่าว Sputnik news ของรัสเซียรายงานว่า ญี่ปุ่นมีความสนใจที่จะเข้าร่วมกลุ่มประเทศสมาชิกนาโต้ด้วย โดยอ้างว่าเพื่อเข้าร่วมในโครงการพัฒนาขีปนาวุธสำหรับพันธมิตรทางทหารในระดับนานาชาติ (อ้างรายงานจากรอยเตอร์ส) เอาเข้าไปญี่ปุ่น ก็ไหนว่านาโต้จะอยู่แต่ในยุโรป แล้วทำไมคราวนี้ถึงขยายพันธมิตรออกมาถึงเอเซียแปซิฟิกหละนี่?
    ส่วนอินโดนีเซียก็ออกมาบอกว่าจะสร้างฐานทัพของตนใกล้กับหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ซึ่งกำลังมีข้อพิพาทกันระหว่างจีนกับหลายประเทศ รายงานโดยสำนักข่าว Jakarta Post เมื่อเร็วๆนี้ประธานาธิบดี Joko Widodo ของอินโดนีเซียออกมากล่าวว่า การกล่าวอ้างอาณาเขตทางทะเลตามแนวเส้นประ 9 จุด (nine-dash-line) ของจีนนั้นไม่ได้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศ สำหรับหมู่เกาะที่อินโดนีเซียอ้างว่าจะสร้างฐานทัพของตนใน/ใกล้ทะเลจีนใต้นั้นประกอบด้วย Sambas, West Kalimantan (Natuna Islands), Riau Islands และ Tarakan, North Kalimantan ยังอยู่ห่างจากเกาะเทียม Scarborough Shoal ของจีน ซึ่งจีนเรียกว่า "Huangyan" ล่าสุดทาง google ก็ตัดชื่อของประเทศจีนออกจากเกาะนี้เฉยเลย เห็นหรือยังว่าอิทธิพลของสหรัฐฯมีมากขนาดไหน? จีนก็ไม่สน เพราะในความเป็นจริงจีนจะยึดตรงนั้นซะอย่าง
    The Eyes
    15/07/2558
    ----------
    North Korea Invites US to Visit Pyongyang, Look for Biological Weapons / Sputnik International
    Xi’s invitation to Abe shows aspiration for peace: expert - Global Times
    Japan Wants to Join NATO's Missile Consortium / Sputnik International
    Deterring Sea Grabbing: Indonesia to Build South China Sea Military Base / Sputnik International
    Google Maps Removes Chinese Name for Disputed South China Sea Territory / Sputnik International
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,206
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Thanong Fanclub

    [​IMG]

    มินิซีรี่ส์
    16. สงครามการเงินสหรัฐ vsจีนเต็มรูปแบบ
    ดอลล่าร์กำลังถูกปฏิเสธ ดอลล่าร์เป็นเงินสกุลหลักของโลก ธนาคารกลางของประเทศต่างๆถือดอลล่าร์เป็นสัดส่วน62.9%ของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศทั้งหมดในปีที่แล้ว จากที่เคยสูงสุด71%
    แต่ตารางชี้ให้เห็นถึงการเลิกใช้ดอลล่าร์มากขึ้นในการค้า ทำให้ต่อไปไม่จำเป็นต้องสำรองดอลล่าร์มากเหมือนในอดีต
    เส้นสีชมพู แสดงถึงปริมาณการค้าระหว่างประเทศที่ไม่ใช้ดอลล่าร์ โดยมีศูนย์กลางคือประเทศจีนที่ต้องการผลักดันหยวนขึ้นมาแทนดอลล่าร์
    เส้นสีเขียวคือปริมาณการค้าระหว่างประเทศที่กำลังจะโยกออกจากดอลล่าร์
    ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ หรือการสงครามในอนาคตสรุปได้ง่ายๆว่า เกิดจากความพยายามของสหรัฐที่จะรักษาดอลล่าร์หรือสถานภาพเดิมทางการเมืองของสหรัฐที่กำลังเสื่อม
    คงจะเห็นภาพแล้วว่าทำไม จอร์จ โซรอสต้องยกทัพมาถล่มตลาดหุ้นจีนเพื่อสกัดไม่ให้หยวนได้แจ้งเกิด แต่โดนหลอกให้เข้ามาในหุบเขา แล้วปิดเส้นทางหนี
    จีนกำลังปิดประตูตีแมวอยู่
    thanong
    15/7/2015
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,206
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Thanong Fanclub

    [​IMG]

    มินิซีรี่ส์
    17. สงครามการเงินสหรัฐ vsจีนเต็มรูปแบบไม่มีเรื่องบังเอิญในโลก
    ในขณะที่อาเสี่ยสี จิ้นผิงกำลังประชุมซัมมิทกับผู้นำกลุ่มBRICSระหว่าง8-9กรกฎาคมที่เมืองUfaประเทศรัสเซีย ปรากฎว่าวันนั้นเป็นวันเชือดตลาดหุ้นจีนจนเลือดสาด
    บังเอิญเหลือเกินนะจ๊ะ
    เปิดตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้มา หุ้นตก8.2%ทันที ตลาดมาปิดที่5.9%กว่า ในวันนั้นมีบริษัทจดทะเบียน1,429แห่งขอหยุดเทรด
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครึ่งชั่วโมงสุดท้ายของการเทรดมีการเทขายอย่างรุนแรง เพื่อเอาให้พังไปเลย ทางการจีนกำลังสอบสวนว่าใครเป็นไอ้โม่งผู้ขายหุ้นหนักในช่วงเวลาวิกฤตินั้น
    ทำให้ในวันต่อมาทางการจีนออกมาตรการเพื่ออุ้มตลาดหุ้น รวมทั้งมาตรการปิดประตูตีแมวกองทุนต่างชาติ คือห้ามผู้ถือหุ้นเกิน5%ขายหุ้นออกไปเป็นเวลา6เดือน มาตรการเข้มนี้จะทำให้กองทุนฝรั่ง โดยเฉพาะพวกที่เป็นโนมินีให้ฝรั่งอ๊วกแตก เพราะว่าไม่สามารถขยับได้ พอร์ตโดนแช่แข็ง6เดือน
    ที่สำคัญแฮ๊กเดอร์จีนในวันที่9กรกฎาคมถล่มรบบคอมฯของตลาดหุ้นนิวยอร์ค สายการบินUnited Airlines และาอWall Street Journalจนเจ้งหลายชั่วโมง ถือว่าเป็นการเอาคืนที่แสบสันต์แท้
    อธิบายง่ายๆว่า จังหวะเวลาทุบหุ้นในวันที่8 กรกฎาคมเพื่อที่จะดิสเครดิตผู้นำจีน และกลุ่มBRICSที่กำลังตกลงสร้างโครงสร้างการเงินใหม่ที่จะปลอดดอลล่าร์สหรัฐ โดยเงินหยวนจะเพิ่มบทบาทในเวทีการเงินโลก
    พวกกองทุนฝรั่ง ต้องการดิสเครดิตเงินหยวน ด้วยการช่วยปั่นให้หุ้นจีนเป็นฟองสบู่แล้วก็ทุบลงมา ถ้าจีนไม่สามารถดูแลรักษาเสถียรภาพของตลาดหุ้นได้ ความมั่นใจในเงินหยวนจะไม่มี
    เรื่องนี้เป็นเกมการเงินที่ลึกซึ้ง ที่ฝรั่งใช้ลูกไม้เดิมๆของการใช้ดอลล่าร์กระดาษมาปั่นและทุบตลาดทุน ทำให้จีนต้องงัดตำราซุนวูมาตอบโต้
    ปรากฎการณ์หุ้นจีนโดนถล่มในเวลานี้เป็นเกมการเงิน ไม่ใช่เป็นกลไกตลาด และไม่เป็นเรื่องบังเอิญที่ฝรั่งทุบหุ้นหนักสุดในเวลาเดียวกับผู้นำจีนและBRICSประชุมระหว่าง8-9กรกฎาคมเพื่อวางรากฐานให้ระบบการเงินโลกใหม่ที่ท้าทายระบบดอลล่าร์ในปัจจุบัน
    thanong
    15/7/2015
    http://www.businessinsider.com/shanghai-composite-sell-off-…
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,206
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Thanong Fanclub·

    [​IMG]

    มินิซีรี่ส์
    18. สงครามการเงินสหรัฐ vsจีนเต็มรูปแบบไม่มีเรื่องบังเอิญในโลก
    แบงก์ชาติจีนประกาศเปิดเสรีตลาดบอนด์แก่ธนาคารกลาง,กองทุนความมั่งคั่ง เพื่อหนุนนโยบายให้หยวนเป็นเงินสกุลหลักของโลก
    ธนาคารกลางจีนเดินหน้าเปิดเสรีการเงินเรื่อยๆ โดยการประกาศยกเลิกระบบกำหนดโควต้าสำหรับการลงทุนจากธนาคารกลางชาติต่างๆ, กองทุนความมั่งคั่ง และสถาบันการเงินขนาดใหญ่ในตลาดพันธบัตรของจีน
    ที่ผ่านมาสถาบันการเงินต่างประเทศยังเข้าไม่ถึงตลาดพันธบัตรรัฐบาลจีน เพราะว่าจีนยังไม่พร้อมเล่นเกมการเงินระหว่างประเทศ
    แต่ตอนนี้โครงสร้างพื้นฐานของNew Development Bank, กองทุนสำรอง, Asia Infrastructure Investment Bankกำลังเป็นรูปร่าง ทำให้จีนมั่นใจว่าจะสามารถลอยค่าหยวนได้
    จีนจึงเริ่มเดินหน้าเปิดเสรีตลาดบอนด์ เพื่อให้สถาบันการเงินต่างชาติถือบอนด์ได้ ต่อไปบอนด์จีนจะเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในระบบธนาคารเหมือนกับUS Treasuriesเวลานี้
    ธนาคารกลางจีนประกาศว่า สถาบันต่างประเทศ ได้แก่ ธนาคารกลาง, กองทุนความมั่งคั่ง และสถาบันการเงินระหว่างประเทศ เช่น ธนาคารโลก จะสามารถเข้าสู่ตลาดซื้อขายตราสารหนี้อินเตอร์แบงก์ โดยไม่ต้องมีโควตา
    ธนาคารกลางระบุว่าการเปิดเสรีตลาดพันธบัตรมูลค่า 6.1 ล้านล้านดอลลาร์ของจีนนี้ จะมีผลบังคับใช้ในทันที
    thanong
    15/7/2015
    ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ วันที่ : 2015-07-14
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,206
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Jeerachart Jongsomchai

    [​IMG]

    ... "จีน จับมือกับ รัสเซีย : คือฝันร้ายของอเมริกา ... และวันนี้ฝันร้ายกลับมาอีกครั้งกับ BRICS"
    ... "เหมาเจ๋อตุง" กับ "นิกิต้า ครุชชอพ" คือผู้นำในยุคที่ทั้งคู่เริ่มแตกแยกกันทางความคิดจนกลายเป็นความวุ่นวายของโลก
    ... "นิกิต้า ครุชชอพ" นั้นเข้ามารับตำแหน่งต่อจาก โจเซฟ สตาลิน ( 1922 - 1952 ) ที่ปกครองประเทศมานานโดยเฉพาะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่แม้จะพาประเทศเจริญทางด้านเทคโนโลยีและการทหาร แต่ทางการค้าเศรษฐกิจที่เน้นแต่การค้าขายภายในกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ด้วยกันนับวันมีแต่จะถอยหลังเข้าคลอง ไม่นับที่ต้องช่วยเหลือประเทศอื่นๆทั่วโลก และที่สำคัญมีทัศนคติที่ว่า "อเมริกา" ผู้นำโลกเสรีคือศัตรูตัวฉกาจห้ามยุ่งเกี่ยวด้วย
    ... จนเมื่อ "นิกิต้า ครุชชอพ" เข้ามารับอำนาจต่อจาก สตาลินเขาเริ่มจะปรับทัศนคติเกี่ยวกับอเมริกาใหม่ที่เป็นมิตรมากขึ้น และในปี 1956 เขาเริ่มกล่าวโจมตีแนวคิดของสตาลินมากขึ้น ซึ่งทำให้ "เหมาเจ๋อตุง" ไม่พอใจอย่างมาก เพราะลุงเหมาแกก็ทำแบบที่สตาลินทำเหมือนกัน แถมพยายามขยายการแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ไปทั่วเอเชีย แม้แต่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ก็มีจีนสมัยแกเป็นพี่เลี้ยงคอยส่งคนมาดูแล ก่อตั้ง และแทรกแซงในไทย ( จนจอมพล ป. ต้องออกมาปราบปรามปิดโรงเรียนจีน และหนังสือพิมพ์จีน จนเป็นที่มาของคำว่า "เรียบร้อยโรงเรียนจีน" และมีการออกปฎิรูปให้มีความเป็นไทยมาขึ้น ทั้งการใช้ชื่อ นามสกุล ส่วนหนึ่งก็มาจาก ลุงเหมานี้เอง เพราะก่อนปี 1949 นั้น คนจีนโพ้นทะเลยังสามารถนับถือได้สองสัญชาติ จะควมคุมการแทรกแซงยากมาก ส่วนหนึ่งเพื่อความมั่นคงของประเทศ แม้ในเชิงวัฒนธรรมจะดูแย่มาก )
    ... จนนานวันรอยร้าวระหว่าง จีน และ โซเวียตรัสเซีย ก็ยิ่งจะหมางเมินกันเรื่อยๆ จนลามไปสู่การที่รัสเซียดึงนักการทูต นายทหาร นักวิทยาศาสตร์ ที่เป็นคนคอยสอนการทำอาวุธให้จีนกลับประเทศ ยิ่งกว่านั้นยิ่งทำให้เกิดการตึงเครียดระหว่างพรมแดนที่ยาวไกลของทั้งสองประเทศอีก
    ... ย้อนกลับไปในส่วน "อเมริกา" หลังจาก "สงครามโลกครั้งที่ 2" จบลง อเมริกาดัน "ไต้หวัน" เป็นสมาชิกสหประชาชาติ และมองว่า "โซเวียตรัสเซีย" นั้นเป็น ศัตรูอันดับหนึ่งของตน และก็พยายามขยายอิทธิพลตามแนวคิดแบบ เสรีนิยมประชาธิปไตยออกไปทั่วยุโรป คิดว่ารับมือได้สบาย
    ... แต่พอปี 1949 หลังจากที่ "สงครามภายในจีน" ที่พรรคคอมมิวนิสต์ ที่นำโดย เหมาเจอตุง ชนะและถีบก้นพรรคก๊กมินตั๋งที่นำโดย "เจียงไคเช็ค" ไปตั้งประเทศที่เกาะไต้หวันได้ จุดนี้เองเป็น "จุดเปลี่ยน" ที่ทำให้ อเมริกาเกิดอาการ เครียดขึนมาทันที ปวดขยับอยากกินยาพาราสักวันละสองกระปุกแทนข้าวอย่างหะแรงห์ เพราะจีนพอชนะก็เริ่มขยายแนวคิดเรื่องคอมมิวนิสต์แทรกแซงประเทศต่างๆทั่วเอเชีย ทั้งไทย มาเลเซีย กัมพูชา พม่า ล้วนได้รับการส่งเสริมจากจีนหมด จุดนี้ทำให้อเมริกาเกินจะรับไหว เหมือนสองรุมหนึ่ง
    ... แต่พออเมริกาได้ข่าวการแตกแยกกันของทั้งสอง ที่ทั้งโซเวียตรัสเซียและจีน ต่างก็แย่งกันเป็นผู้นำทั้งความคิดและผู้นำในการปฏิบัติกับประเทศบริวารทั้งหลาย จึงทำให้อเมริกาตีปีกดีใจเมื่อเห็นรอยร้าวนี้ และเหตุการณ์ยิ่งเลวร้ายลง เมื่อปี 1968 โซเวียตรัสเซียได้บุกยึดประเทศ เชค ทำให้จีนกลัวมากว่าสักวันรัสเซียจะบุกประเทศตน ถึงขนาดมีการขุดบังเกอร์อุโมงค์หลบภัยจากสงครามนิวเคลียร์กันเลย
    ... และต่อมาอเมริกาก็แอบติดต่อผ่านมาทาง "ปากีสถาน" ( ที่เป็นมหามิตรของจีนมาตลอดตั้งแต่ 1949 เพราะเป็นประเทศอิสลาม ที่ไม่หนุนการแยกตัวของทิเบต และซินเจียง ) โดยนายเฮนรี่ คิสซิงเจอร์ได้แอบเดินทางไปจีนผ่านปากีสถานเพื่อจะปูทางการไปเยือนของริชาร์ด นิกซัน ในปี 1972 ในที่สุด จนทำให้ "อเมริกาและจีน" เป็นมิตรกันในที่สุด
    ... โดยตอนนั้นเหมาเจอตุงให้เหตุผลในการคบอเมริกาเพื่อคานอำนาจของรัสเซียว่าเป็นการ "เป็นมิตรกับศัตรูที่อยู่ไกล เพื่อคานอำนาจศัตรูที่อยู่หน้าบ้าน"
    ... อเมริกาพยายามจะแทรกแซงเอเชียใต้โดยการหนุนหลัง "ปากีสถาน" โดยหนุนอาวุธและทหารในการแทรกแซงแคว้นแคชเมียร์ใน "อินเดีย" รวมทั้งให้ปากีสถานหนุนชาวซิกข์ในแคว้นปัญจาบต่อต้านรัฐบาลของนางอินทีรา คานธีที่เป็นชาวฮินดีด้วย [ ... ซึ่งจีนเองตอนนั้นก็หนุน ปากีสถานด้วย มีการหนุนอาวุธปากีสถานในแคชเมียร์และหนุนในสงครามอัฟกานิสถานต่อต้านโซเวียตรัสเซียด้วย เพราะจีนมีปัญหาพรมแดนกับอินเดียมานาน เพิ่งจะดีขึ้นหลังจากปี 1987 ] ... จน อินเดียเป็นกลางทางการเมืองใน "สงครามเย็น" ไม่ไหว หันไปอิงแอบอกอุ่นของ "โซเวียตรัสเซีย" ในที่สุด มีการซื้ออาวุธรัสเซียมากมายแต่สุดท้ายรัสเซียบอกว่าซีไอเอแอบหนุนให้มีการลอบสังหารนางอินทีราคานธีโดยทหารรักษาความปลอดภัยชาวซิกข์ของนางเองในปี 1984
    ... เพราะอเมริกาต้องการให้เกิด "การแตกแยกระหว่างพี่เบิ้มของคอมมิวนิสต์" ทั้งสองอย่างถาวร
    ... ถึงขนาดที่อเมริกายอมถีบหัวส่ง "ไต้หวัน" ออกจากสหประชาชาติและให้จีนคอมมิวนิสต์มาเป็นสมาชิกยูเอ็นแทนในเดือนตุลาคม ปี 1971 รวมถึงที่นั่งในคณะมนตรีความมั่นคงทั้ง 5 ที่มี อเมริกา รัสเซีย อังกฤษ ฝรั่งเศส และ "จีน" ล่าสุด ก็เพราะอเมริกาต้องการให้จีนมาคานอำนาจรัสเซียในยูเอ็นนั่นเอง
    ... จากนั้นมาความสัมพันธ์ระหว่างทั้ง "จีน" และ "รัสเซีย" ไม่ยังไม่ดีขึ้น แต่ก็ไม่แย่ลง หลังจาก เหมาเจอตุง เสียชีวิตลงในปี 1976 ความสัมพันธ์ก็ตึงเครียดน้อยลง แต่ก็ยังไม่ดีขึ้นมาก ช่วงระหว่างนี้เองค่ายอเมริกาก็ทำงานง่ายขึ้น เพราะเมื่อค่ายคอมมิวนิสต์ไม่สามัคคีกันพวกเขาก็เดินหน้าขยายอิทธิพลได้มากขึ้นเรื่อยไม่เครียด
    ... จุดเปลี่ยนคือปี 1991 "กำแพงเบอร์ลินแตก"
    ... จุดนี้เองที่กอร์บาชอพปล่อยให้โซเวียตรัสเซียแตก ทำให้อเมริกากลายเป็น "มหาอำนาจขั้วเดียว" แถมรัสเซียอย่างบอริส เยลวินลูกพี่เก่าปูตินเดินตามอเมริกาต้อยๆ จนล้มละลายต้องกู้เงินไอเอ็มเอฟในปี 1998 ... ส่วนทางจีนเองหลังจากที่ ลุงเติ้งเสี่ยวผิงเปลี่ยนแปลงประเทศยิ่งกว่าที่เหมาเจอตุงด่านิกิต้า ครุชชอพว่า "ลัทธิแก้" ( Marxist revisionism ) เพราะลุงแกทั้งยังเปลี่ยนไปค้าขายแบบกึ่งทุนนิยมเลย "แมวสีอะไรก็ได้ ขอให้จับหนูได้" แกต้องการแก้ไขความยากจนในจีน ที่เกือบ 30 ปีภายในการปกครองของเหมาไม่ดีขึ้นเลย ( 1949 - 1976 )
    ... ช่วงนั้นอเมริกาตีปีกสนั่นโลกเป็นเดี่ยวไมโครโฟน ยิ่งตอกย้ำว่าระบบเสรีนิยมประชาธิปไตยนี่คือของจริง ดีที่สุด เพราะคอมมิวนิสต์แตกแล้ว เริ่มรุกรานตามจีบอดีตรัฐใต้อาณัติของโซเวียตหลายประเทศทั้ง โปแลนด์ ลัทเวีย ลิธัวเนีย เอสโตเนีย ยูเครน และเอเชียกลาง ยุให้เกิดสงครามเพื่อทำให้ยูโกสลาเวียลูกน้องคนสนิทของรัสเซียแตก เพื่อปกครองง่าย
    ... แต่จุดนี้เอง 1991 ที่ทำให้ "จีน" และ "รัสเซีย" เริ่มกลับมาจับมือกันอีกครั้งเพื่อคานอำนาจกับ "อเมริกา" เพราะว่าปล่อยให้ครองโลกชายเดี่ยวไม่ดีแน่ และไม่ใช่แค่นั้นเพราะว่าแค่สองคงยังไม่พอ จึงมีการจับมือกับ "อินเดีย" และ "บราซิล" กลายเป็นประเทศ "BRIC" ในปี 2006 และตามด้วยประเทศอาฟริกาใต้ในปี 2010 เป็น BRICS ในที่สุด
    ... และหลังจากนั้น ทั้งจีนและรัสเซีย และ BRICS ต่างก็เติบโตมากขึ้นเรื่อย ขณะที่อเมริกากลับตกต่ำลงเรื่อยๆ และมีแนวคิดที่ว่าอเมริกาเองก็จะล่มสลายแบบ "โซเวียตรัสเซีย" ในอดีต เพราะโครงสร้างที่อ่อนแอทั้งจากเงินดอลล่าร์ ตลาดหลักทรัพย์ ที่ไม่ได้สร้างการค้าเศรษฐกิจจริงแต่เป็นแค่การเก็งกำไรและการแทรกแซงที่ทำให้ทั่วโลกไม่พอใจ
    ... ดัวนั้นสถานการณ์โลกในตอนนี้มันจึงคือ "ขาลง" ของอเมริกา และ "ขาขึ้น" ของ "รัสเซียและจีน" สองผู้นำของกลุ่ม BRICS มีการต่อสู้ทั้งในการแข่งขันสร้างและสะสมอาวุธและการค้าเศรษฐกิจ การเงินการธนาคาร รวมทั้งวิทยาศาสตร์การแฮกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ... มันคือ"ฝันร้าย" ที่กลับมาใหม่อีกครั้งของอเมริกา ที่เอ่ยปากบอกใครไม่ได้
    ... และหนึ่งในสมรภูมิที่ทั้งสองฝ่ายต่างต้องการหาและดึงแนวร่วมก็คือประเทศไทยของเรานั่นเอง เราต้องอ่านสถานการณ์ให้ออกแล้วจะเห็นภาพกว้าง เมื่อเห็นภาพกว้างจะเข้าใจว่าเราควรจะสนับสนุนรัฐบาลของเราเดินต่อไปอย่างไร จะเลือกข้างผู้ที่กำลังจะแพ้และเกเร หรือจะเลือกข้างผู้ที่ได้เปรียบและเกเรน้อยกว่า ... คิดให้ดีอย่างรอบคอบ
    .
    https://en.wikipedia.org/wiki/Sino-Soviet_split
    https://en.wikipedia.org/wi…/United_Nations_Security_Council
    https://en.wikipedia.org/…/Sino-Russian_relations_since_1991
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,206
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Kaokala Fc
    15 ก.ค. นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ “นิวเคลียร์อนุภาคใหม่” จากห้องทดลอง CERN

    [​IMG]

    Scientists discover new kind of particle: the pentaquark
    https://www.dailystar.com.lb/Life/S...over-new-kind-of-particle-the-pentaquark.ashx

    [​IMG]

    รายงานข่าวจากต่างประเทศ – สำนักข่าวรอยเตอร์ จากนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์ขององค์กรการวิจัยนิวเคลียร์ยุโรปได้ทำการค้นพบนิวเคลียร์อนุภาคชนิดใหม่ที่เรียกว่า “เพนทาควาร์ก หรือ Pentaquark” แม้ว่าตอนนี้ทางนักวิทยาศาสตร์เองยังมีการถกเถียงกันอยู่เกี่ยวกับอนุภาคมวลใหม่นี้ เพนทาควาร์ก (Pentaquark) ประกอบไปด้วยอนุภาคควาร์ก 1 ตัวและอนุภาคแอนติควาร์ก 4 ตัว ถูกค้นพบโดยทีมนักวิทยาศาสตร์ที่วิเคราะห์ข้อมูล เกี่ยวกับการสลายตัวของอนุภาค ในห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ที่ เมืองเจนีวา

    [​IMG]

    ห้องทดลองของแอลเอชซีบี (LHCb – Large Hadron Collider b) เป็นห้องปฏิบัติการทดลองที่ตั้งอยู่ตลอดเส้นทางของเครื่องเร่งอนุภาคขนาดยักษ์รูปวงแหวนที่มีระยะทางความยาวถึง 100 เมตร เป็นห้องทดลองที่นักวิทยาศาสตร์ใช้วิเคราะห์การกันชนของอนุภาคที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วแสงนั่นเอง

    การค้นพบครั้งนี้ได้เกิดขึ้นระหว่างที่นักวิทยาศาสตร์ได้สังเกตการทำงานของแอลเอชซีบี (LHC) เพื่อการพิสูจน์การมีอยู่จริงของอนุภาคฮิกส์โบซอน (Higgs Boson) ที่ได้มีการทำนายไว้ในแบบจำลองมาตรฐานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1964 หรือ พ.ศ. 2507 ที่นักวิทยาศาสตร์พยายามทำการทดลองเพื่อค้นหาการเกิดของนี้

    ย้อนความไปเมื่อปีคริสตศักราชที่ 1964 เมื่อนักฟิสิกส์ เมอร์เรย์ เกลล์มันน์ ผู้ที่คว้ารางวัลโนเบลชาวอเมริกัน ที่ได้ค้นพบ ควาร์ก ว่า อนุภาคพื้นฐานที่อยู่ในโลกประจำวันของเรา แต่ก็ยังไม่เคยมีใครได้ทำการพิสูจน์ หรือไม่เคยมีใครสังเกตุเห็นมานานกว่า 50 ปีเกี่ยวกับเรื่องนี้ จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ได้ตรวจพบการทำงานของแอลเอชซีบี (LHC) ซึ่งทำให้เราได้เข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับสสารทั่วไปว่ามีส่วนประกอบอย่างไรบ้าง

    อย่างไรก็ตามในการค้นพบอนุภาคใหม่ครั้งนี้ได้ถูกเผยแพร่ลงในวารสารวิทยาศาสตร์ ฟิสิเคล รีวิว เลตเตอร์ (Physical Review Letters) ที่ได้เผยว่าขั้นตอนต่อไปของงานวิจัยคือการศึกษาวิเคราะห์การเกาะเกี่ยวกันระหว่างอนุภาคภายในเพนทาควาร์ก (Pentaquark)

    นักวิทยาศาสตร์ค้นพบ "นิวเคลียร์อนุภาคใหม่" หลังทดลองกว่า 50 ปี
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,206
    ค่าพลัง:
    +97,149
    แผ่นดินไหวกาญจนบุรี ผลพวงเนปาล by Weeranan Kanhar 15 กรกฎาคม 2558 เวลา 11:21 น.

    <iframe width="640" height="360" frameborder="0" scrolling="no" src="http://www.voicetv.co.th/content/embed?id=232368" ></iframe>

    กรมทรัพยากรธรณี ชี้เหตุแผ่นดินไหวที่จังหวัดกาญจนบุรีเมื่อคืนวานนี้ (14 ก.ค. 58) เป็นผลพวงจากเหตุแผ่นดินไหวที่ประเทศเนปาล ยืนยันไม่กระทบ 2 เขื่อนในพื้นที่

    นายสมบูรณ์ โฆษิตานนท์ ผู้อำนวยการสำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณีวิทยา เปิดเผยว่า เหตุแผ่นดินไหวขนาด 4.8 บริเวณ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี เมื่อคืนวานนี้ เวลา 21.25น.

    เกิดขึ้นบนรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ความลึกประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นผลพวงต่อเนื่องจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในประเทศเนปาล เมื่อ 3 เดือนที่แล้ว ซึ่งกรมทรัพยากรธรณีเคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่า จะมีการส่งผลกระทบมาถึงรอยเลื่อนทางด้านตะวันตกของประเทศ

    ด้านนายสุนชัย คำนูนเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ยืนยันว่า เหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้ ไม่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของโครงสร้างเขื่อนวชิราลงกรณ์ และเขื่อนศรีนครินทร์

    พร้อมย้ำว่า ระดับน้ำในเขื่อนที่มีปริมาณลดลง ไม่กระทบต่อการผลิตกระแสไฟฟ้า เพราะมีการจ่ายไฟที่ผลิตจากพลังน้ำเพียง ร้อยละ 5-6 เท่านั้น

    แผ่นดินไหวกาญจนบุรี ผลพวงเนปาล - VoiceTV
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,206
    ค่าพลัง:
    +97,149
    In Pics & Clips : ผู้ประท้วงต้านรัดเข็มขัดก่อจลาจล ก่อนรัฐสภากรีซลงมติแผนปฏิรูปแลกเงินกู้ โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 กรกฎาคม 2558 05:25 น. (แก้ไขล่าสุด 16 กรกฎาคม 2558 05:31 น.)

    [​IMG]

    เอเอฟพี - เหล่าผู้ประท้วงต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดที่อยู่ในอารมณ์เดือดดาล ขว้างปาระเบิดเพลิงด้านหน้าอาคารรัฐสภากรีซในวันพุธ(15ก.ค.) ท่ามกลางความโกรธแค้นต่อข้อตกลงเงินกู้รอบใหม่ตามเงื่อนไขของเจ้าหนี้ระหว่างประเทศที่ทะลักลงสู่ท้องถนนสายต่างๆของเมืองหลวง ก่อนที่เหล่าสมาชิกรัฐสภาเตรียมลงมติต่อข้อตกลงอันไม่เป็นนิยมดังกล่าวในอีกไม่กี่อึดใจข้างหน้า

    [​IMG]

    ตำรวจต้องยิงแก๊สน้ำตาผลักดันผู้ประท้วงที่สวมฮู้ดและหน้ากากหลายสิบคนให้ถอนร่นออกไป หลังจากคนกลุ่มนี้ขว้างปาก้อนหินเข้าใส่พวกเขา และตะโกนด้วยความโกรธเกรี้ยวบริเวณจัตุรัสซินตักมา กลางกรุงเอเธนส์

    [​IMG]

    @เหล่าผู้ประท้วงต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดที่อยู่ในอารมณ์เดือดดาล ขว้างปาระเบิดเพลิงด้านหน้าอาคารรัฐสภากรีซในวันพุธ(15ก.ค.) ท่ามกลางความโกรธแค้นต่อข้อตกลงเงินกู้รอบใหม่ตามเงื่อนไขของเจ้าหนี้ระหว่างประเทศที่ทะลักลงสู่ท้องถนนสายต่างๆของเมืองหลวง ก่อนที่เหล่าสมาชิกรัฐสภาเตรียมลงมติต่อข้อตกลงอันไม่เป็นนิยมดังกล่าว

    [​IMG]

    "เราถูกทรยศ" ชายคนหนึ่งตะโกน ขณะที่ตำรวจใช้สเปรย์พริกไทยและแก๊สน้ำตาในการสกัดฝูงชนที่พยายามฝ่าแนวกั้นด้านความปลอดภัยซึ่งปิดกั้นถนนที่มุ่งสู่ทำเนียบนายกรัฐมนตรี โดยเหตุความรุนแรงคราวนี้ เกิดขึ้นด้านนอกของการเดินขบวนของประชาชนราว 12,500 คน เพื่อคัดค้านการผ่านมาตรการปฏิรูป ซึ่งหลายคนกังวลว่าอาจเพิ่มความทุกข์ทรมานแก่ผู้คนในประเทศที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวอยู่ก่อนแล้ว

    นายอเล็กซิส ซีปราส นายกรัฐมนตรีกรีซและเหล่านายกรัฐมนตรีของชาติต่างๆในยูโรโซน เห็นพ้องกันเมื่อวันจันทร์(13ก.ค.) ถึงแผนปฏิรูปอันเข้มข้น เพื่อปลดล็อคเงินช่วยเหลือรอบใหม่แก่เอเธนส์ มูลค่ากว่า 86,000 ล้านยูโร ซึ่งกระพือความโกรธแค้นภายในพรรคต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดของเขา รวมถึงเหล่าผู้สนับสนุนฝ่ายซ้ายอื่นๆ

    พบเห็นรถตู้ของตำรวจปราบจลาจลเกือบ 20 คันจอดเรียงแถวบริเวณถนนสายต่างๆรอบๆจัตุรัสซินตักมา จุดที่เจ้าหน้าที่รถฉุกเฉินและหน่วยดับเพลิงคอยแจกจ่ายน้ำแก่ผู้ประท้วงที่ได้รับพิษจากแก๊สน้ำตา ขณะเดียวกันแหล่งข่าวตำรวจเปิดเผยว่ามีผู้ชุมนุมราว 40 คนถูกควบคุมตัว

    นอกจากนี้แล้วตำรวจ 4 นายและช่างภาพของเอเอฟพี 2 คนได้รับบาดเจ็บจากเศษซากที่ปลิวว่อน ส่วนรถตู้ของสถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่งที่จอดอยู่ใกล้ๆ ก็ถูกจุดไฟเผา เช่นเดียวกับถังขยะและธงชาติกรีซ ทั้งนี้ในขณะที่ตำรวจผลักดันพวกก่อจลาจลออกห่างจากรัฐสภา พวกที่ล่าถอยก็อาศัยช่วงชุลมุนทุบทำลายตู้เอทีเอ็มและกระจกร้านค้าบางแห่ง

    ซีปราส แสดงการสนับสนุนแผนปฏิรูปนี้และดูเหมือนว่ารัฐสภากรีซจะยกมือเห็นชอบมาตรการดังกล่าวในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า แม้ว่าจะเจอการก่อขบถของสมาชิกบางส่วนของพรรคไซรีซา ของนายกรัฐมนตรี ซึ่งคงต้องขอบคุณแรงหนุนจากเหล่าพรรคฝ่ายค้านที่ฝักใฝ่ยุโรป

    http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000080347
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,206
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ถ้าประชาชนกรีซจะเลือกนายกมาเพื่อได้รับมาตรการรัดเข็มขัดที่เข้มข้นขึ้นไม่ต้องเลือก นายอเล็กซิส ซีปราส มาเป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้ แต่การที่นายอเล็กซิส ซีปราส นายกรัฐมนตรีกรีซ เพือมาช่วยพวกเขาให้พ้นจากมาตรการรัดเข็มขัดน่ะครับทำแบบนี้ทรยศประชาชน ซึ่งของเราก็เคยโดนจำนโยบายที่ถือว่ามาแรงแหกโค้งของพรรคเพื่อไทย (พท.) ที่ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สัญญาหน้าฝนไว้ก่อนการเลือกตั้งว่าจะดำเนินการ “โครงการยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง” ได้ไหมครับ แต่พอมาเป้นรัฐบาลก็ยกเลิกนโยบายหาเสียงข้อนี้ แต่ก้มีความตั้งใจแต่จะดำเนินการนโยบายจำนำข้าวว่าเป็นนโยบายที่ได้ให้สัญญากับประชาชนฯ

    [​IMG]
    ภาพนายอเล็กซิส ซีปราส นายกรัฐมนตรีกรีซ ลุกขึ้นแจงระหว่างศึกอภิปรายข้อตกลงช่วยเหลือตามเงื่อนไขของเจ้าหนี้นานาชาติ ขณะที่หล่าผู้ประท้วงต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดก่อความวุ่นวายอยู่ด้านนอกรัฐสภา จากhttp://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000080347

    ยุบกองทุนน้ำมันฯราดไฟสุมเศรษฐกิจ กรกฎาคม 4, 2011

    นโยบายที่ถือว่ามาแรงแหกโค้งของพรรคเพื่อไทย (พท.) ที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สัญญาหน้าฝนไว้ก่อนการเลือกตั้ง
    โดย…ทีมข่าวการเงิน
    นโยบายที่ถือว่ามาแรงแหกโค้งของพรรคเพื่อไทย (พท.) ที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สัญญาหน้าฝนไว้ก่อนการเลือกตั้ง ต้องยกให้กับ “โครงการยกเลิกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง”
    ยิ่งลักษณ์ ประกาศเสียงปรี๊ดฝ่าสายฝนที่ซัดสาดว่า นโยบายการยกเลิกกองทุนน้ำมันฯ จะทำให้ราคาน้ำมันเบนซิน 95 ราคาขายปลีกลดลงถึงลิตรละ 7.5 บาท น้ำมันเบนซิน 91 ราคาลดลงลิตรละ 6.7 บาท และน้ำมันดีเซลจะมีราคาลดลงถึง 2.2 บาทต่อลิตร
    เหตุผลของ ยิ่งลักษณ์ พูดอย่างหนักแน่นว่าต้องการกระชากรายจ่ายของรัฐบาลให้ลดลง ซึ่งเป็นหัวใจของนโยบาย พท. ที่ต้องการเอาใจฐานคะแนน ด้วยวิธี ลด แลก แจก แถม
    โครงการนี้แม้ว่าจะทำให้ประชาชนฝันหวานได้ใช้น้ำมันถูก แต่ทีมเศรษฐกิจของ พท. กลับตาค้างกันเป็นแถว เพราะคิดไม่ถึงว่า ยิ่งลักษณ์ จะประกาศพรวดออกมาเหมือนรถแข่งเบรกแตกอย่างนั้น
    ทีมเศรษฐกิจของ พท. ตอนนี้จึงตกอยู่ในอาการใบ้กินไปทั้งทีม ไม่ว่าจะเป็น โอฬาร ไชยประวัติ ว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่สีหน้าไม่ค่อยดีเมื่อได้ยินนโยบายดังกล่าวบนเวทีสายฝน
    ขณะที่ สุชาติ ธาดาธำรงเวช ทำได้แค่บอกว่า นี่คือเป็นวิชันของผู้เป็นนาย เราเป็นลูกน้องคงต้องนำมาทำตาม

    ส่วน พิชัย นริพทะพันธุ์ บอกว่า ไม่รู้เรื่องนี้มาก่อน
    พิเคราะห์จากอารมณ์ของทีมเศรษฐกิจ พท. ในเรื่องนี้ ประเมินได้ว่านโยบายยกเลิกกองทุนน้ำมันฯ เป็นเรื่องที่อ่อนไหวไม่น้อย
    ไม่แน่ว่านี่อาจจะเป็นผลร้ายกับเศรษฐกิจไทยในไม่ช้า ไม่ต่างอะไรกับการราดน้ำมันใส่เศรษฐกิจให้เพลิงลุกท่วมในท้ายที่สุดนั้นเอง
    ลำพังการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลงจากเดิมที่จัดเก็บในอัตราลิตรละ 5.310 บาท เหลือเพียงลิตรละ 0.005 บาท ก็ทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้ไปไม่น้อยกว่าปีละ 1 แสนล้านบาท
    แต่นี่เป็นการยกเลิกการเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนน้ำมันฯ ในทุกชนิด เม็ดเงินรายได้ย่อมหายไปมหาศาล
    พรายพล คุ้มทรัพย์ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ ประเมินว่า นโยบายเลิกกองทุนน้ำมันฯ นั้น อาจทำให้รายได้หายไปอีกปีละ 5 หมื่นล้านบาท เป็นอย่างต่ำ
    วิเคราะห์ด้วยใจเป็นธรรม นโยบายการเลิกกองทุนน้ำมันฯ นั้น เมื่อมีการประกาศยกเลิกปุ๊บ มองในแง่ของผลดี แน่นอนว่าประชาชนได้ใช้น้ำมันราคาถูกลงชนิดฮวบฮาบเลยทีเดียว เพราะจะลดลงถึงลิตรละ 2-7 บาท
    เพราะบรรดาบริษัทผู้ค้า ผู้ผลิต และผู้จำหน่ายน้ำมัน ไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนน้ำมันฯ จึงทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกลดลงทันที
    แต่แง่ลบ การยกเลิกกองทุนน้ำมันฯ ทำให้รัฐบาลไม่มีตัวปรับฐานราคาน้ำมันให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่ให้ขึ้นลงผันผวนที่รวดเร็วอีกต่อไป เพราะเดิมราคาน้ำมันแพงก็เก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ น้อย หากราคาน้ำมันถูกก็เรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ มากขึ้นมาหน่อย
    ปัญหาที่ตามมาก็คือ หากราคาน้ำมันถูกตลอดไปก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
    แต่หากวันไหนราคาน้ำมันโลกปรับเพิ่มสูงขึ้น ประชาชนคนไทยจะยอมรับราคาน้ำมันที่แพงขึ้นแบบหูฉี่ได้หรือไม่
    เพราะกลไกราคาน้ำมันนั้น ไทยมิได้อยู่ในฐานะผู้กำหนดราคา แต่เป็นผู้บริโภคน้ำมันสุทธิเสียด้วยปีละหลายล้านล้านบาท
    ดังนั้น ผลของการยกเลิกกองทุนน้ำมันฯ และทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกลดลงทันทีในวันรุ่งขึ้น แต่วันพรุ่งนั้นบอกได้คำเดียวว่า ตัวใครตัวมัน
    หากราคาน้ำมันผันผวนมาก เช่น ปรับสูงขึ้นแบบพรวดพราดก็ต้องทำใจรับสภาพกับมัน โดยไร้กลไกใดๆ ในการคะคาน หรือพยุงราคา
    ขณะเดียวกันนั้น การส่งผ่านของต้นทุนจะรวดเร็วจนยากแก่การควบคุม เพราะทำให้ราคาสินค้าปรับขึ้น แต่เมื่อราคาน้ำมันลดลงราคาสินค้าไม่ได้ปรับลดลง หากมีการผันผวนน้ำมันมากๆ ทำให้เศรษฐกิจไทยมีปัญหาเงินเฟ้อวิกฤตยากจะแก้ไข
    อีกปัญหาหนึ่งที่จะตามมาคือ การยกเลิกกองทุนน้ำมันฯ จะทำให้รัฐบาลจะต้องหาเงินมาชดเชยราคาก๊าซหุงต้มที่ใช้ในครัวเรือนอีกปีละ 2 หมื่นล้านบาทเศษ
    ปัญหาคือจะหาเงินมาจากไหน เพราะเดิมนั้นรัฐบาลจะใช้วิธีการนำเงินเก็บได้จากกองทุนน้ำมันฯ ไปจ่ายอุดหนุนการใช้ราคาก๊าซหุงต้ม
    ทางเลือกของรัฐบาลจึงมีอยู่แค่ 2 ทาง คือ ใช้เงินภาษีมาพยุง ซึ่งจะกระทบกับงบประมาณรายจ่ายในแต่ละปีที่มีเงินจำกัดอยู่แล้ว
    อีกทางหนึ่งคือ รัฐบาลจะต้องปล่อยลอยตัวราคาก๊าซ ภาคครัวเรือน และขนส่ง ที่รัฐบาลชดเชยกิโลกรัมละ 12 บาท ให้รับกรรมไปตามการใช้จ่าย การบริโภคของแต่ละคน

    แน่นอนว่าจะทำให้ราคาอาหาร สินค้าจิปาถะ ยันค่าขนส่งพุ่งขึ้นอย่างมาก มิเพียงแค่เป็นตัวเร่งปัญหาเงินเฟ้อเข้าไปอีกเท่านั้น
    แต่รูปธรรมที่เกิดขึ้นแบบทันทีทันใดคือ เงินในกระเป๋า หรือรายได้ของคนไทยทุกคนจะต้องลดลงจากราคาค่าขนส่ง ราคาสินค้า และค่าครองชีพในทุกมิติจะพาเหรดกันขึ้นทันที

    การยุบกองทุนน้ำมันฯ จึงมีพลังในความเดือดร้อนในเรื่องการเพิ่มภาระต้นทุนค่าครองชีพของคนไทยที่มีวงกว้างมาก
    แม้คำประกาศลดราคาน้ำมันลงลิตรละ 7 บาท อาจฟังดูดี แต่หลังจากนั้นทำใจได้เลยว่า เจอดีกันถ้วนหน้าแน่…

    จะเห็นว่านโยบายการยุบกองทุนน้ำมันฯ กระทบในวงกว้าง แม้ถึงตอนนี้จะยังไม่มีความชัดเจนอย่างมาก ตั้งแต่การบอกว่ายุบกองทุนน้ำมันฯ เป็นการยุบกองทุนไปเลย หรือยกเลิกการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ เท่านั้น และจะทำไปนานแค่ไหน เริ่มเมื่อไร และจะใช้เงินจากไหนมาอุดหนุนราคาก๊าซ และพลังงานทดแทน
    การยกเลิกกองทุนน้ำมันฯ ยังส่งผลกระทบต่อนโยบายพลังงาน ที่ต้องการให้ใช้พลังงานทางเลือก เพราะราคาน้ำมันถูก ผู้คนก็ไม่สนใจพลังงานทางเลือก
    นอกจากนี้ นโยบายการส่งเสริมให้คนใช้ขนส่งสาธารณะ ทั้งรถเมล์ รถไฟฟ้า ที่ต้องใช้เงินเป็นแสนๆ ล้าน ก็ไม่มีประโยชน์ เพราะคนจะพากันซื้อรถมาวิ่งเติมน้ำมันถูกดีกว่า

    ยิ่ง พท. ประกาศเป็นนโยบาย ยิ่งทำให้ผู้ใช้น้ำมันคิดไปเองว่าน้ำมันไม่มีวันที่จะราคาแพง เพราะเมื่อไรน้ำมันแพง พรรคการเมืองที่สัญญาไว้ก็ต้องหาทางทำให้ราคาน้ำมันถูกลงอีก

    แหล่งข่าววงในพรรค พท. บอกว่า นโยบายการลดราคาน้ำมันมีการหารือกันในพรรค พท. ทั้งตัวแทนจากการเมือง และทีมเศรษฐกิจ โดยฝ่ายการเมืองมีการเสนอเลยเถิดให้เลิกทั้งกองทุนน้ำมันฯ และการเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันไปเลยทีเดียว
    อย่างไรก็ตาม ทางทีมเศรษฐกิจ พท. ไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน

    ส่วนการเลิกกองทุนน้ำมันฯ ควรศึกษาให้มีความชัดเจนก่อนประกาศ แต่ฝ่ายการเมืองกลับไม่ฟังเสียงคัดค้านประกาศเป็นนโยบายมาตรการสุกดิบ พาเศรษฐกิจลงกองเพลิง

    แม้ว่าก่อนการเลือกตั้งไม่กี่วัน ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะออกมาเตือนพรรคการเมืองที่ใช้โครงการประชานิยมจำนวนมาก จะทำให้เศรษฐกิจตกอยู่ในฐานะลำบาก เอาตัวไม่รอดจากปัญหาเงินเฟ้อเป็นมะเร็งร้ายกัดกินเศรษฐกิจ

    สัญญาณเตือนดังกล่าวปฏิเสธไม่ได้ว่าส่งตรงถึงพรรค พท. ว่าที่รัฐบาลใหม่ ที่ลำพังนโยบายจำนำข้าว ลดภาษี แจกเงินกองทุนหมู่บ้าน โครงการเอสเอ็มแอล หักหนี้ 5 แสนบาท ลดภาษีซื้อรถคันแรก บ้านหลังแรก ก็ใช้เงินเป็นล้านล้านบาทอยู่แล้ว

    พอมีโครงการยุบกองทุนน้ำมันฯ ทำให้ราคาน้ำมันถูก วันข้างหน้าน้ำมันราคาแพงก็หนีไม่พ้นต้องลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ทำให้ภาษีหดหายไปปีละเป็นแสนล้านบาท เพราะพรรคการเมืองฉีดยาเสพติดกับประชาชนกับสังคมติดกันจนงอมแงม
    สุดท้ายนโยบายการยกเลิกกองทุนน้ำมันฯ นอกจากทำให้ประชาชนติดยาเพิ่ม ยังทำให้เศรษฐกิจอมโรคอาการโคม่าเร็วขึ้น

    https://soclaimon.wordpress.com/2011/07/04/ยุบกองทุนน้ำมันฯราดไฟส/
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,206
    ค่าพลัง:
    +97,149
    วิกฤตใกล้คลี่คลาย!!รัฐสภากรีซเห็นชอบแผนปฏิรูปแลกเงินกู้ โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์16 กรกฎาคม 2558 06:35 น. (แก้ไขล่าสุด 16 กรกฎาคม 2558 06:38 น.)

    @นายอเล็กซิส ซีปราส นายกรัฐมนตรีกรีซ ลุกขึ้นแจงระหว่างศึกอภิปรายข้อตกลงช่วยเหลือตามเงื่อนไขของเจ้าหนี้นานาชาติ ก่อนที่รัฐสภาจะมีมติเห็นชอบด้วยคะแนน 229 ต่อ 64 เสียงและงดออกเสียง 6 คน

    [​IMG]

    เอเอฟพีASTVผู้จัดการ - รัฐสภากรีซ ลงมติในตอนเช้ามืดวันพฤหัสบดี(16ก.ค.) เห็นชอบร่างกฎหมายปฏิรูปอย่างเข้มข้นตามข้อเรียกร้องของเหล่าเจ้าหนี้นานาชาติเพื่อแลกกับเงินช่วยเหลือรอบใหม่ โดยนายกรัฐมนตรีอเล็กซิส ซีปราส ต้องพึ่งพรรคฝ่ายค้านในการผลักดันมาตรการดังกล่าวจนสำเร็จ

    ในการนับคะแนนท้ายสุด พบว่าสมาชิกสภากรีซ เห็นชอบมาตรการดังกล่าว 229 เสียง ไม่เห็นขอบ 64 เสียงและงดออกเสียง 6 คน

    การผ่านร่างกฎหมายนี้ทางนายกรัฐมนตรีซีปราส ต้องขอบคุณพรรคฝ่ายค้านฝักใฝ่ยุโรปต่างๆ เนื่องจากเหล่าส.ส.รัฐบาลกลุ่มใหญ่ ในนั้นรวมถึงนายยานิส วาโรฟากิส ประธานรัฐสภา ชอย คอนสแตนติโพลโลว และปานากิโอติส ลาฟาซานิส รัฐมนตรีพลังงาน ยกมือคัดค้านมาตรการดังกล่าว

    นายซีปราส ยืนยันว่าเขาไม่เห็นด้วยกับแพ็คเก็จข้อตกลงที่เข้มงวดนี้ ที่เรียกร้องให้ขึ้นภาษี ยกเครื่องระบบบำนาญและคำสัญญาแปรรูปรัฐวิสาหกิจ แต่เขาบอกว่ากรีซไม่มีทางเลือกอื่น หากต้องการอยู่ในยูโรต่อไป "เราจะไม่คืนคำจากคำมั่นจะต่อสู่เพื่อสิทธิคนทำงานไปจนถึงวาระสุดท้าย มันไม่มีทางเลือกอื่น ยกเว้นแต่เราทุกคนต้องแบ่งปันแบกความรับผิดชอบร่วมกัน"

    ผลการลงมติครั้งนี้ เปิดทางสำหรับการเริ่มต้นเจรจาเงินช่วยเหลือก้อนที่ 3 จากคู่หูยุโรป แต่อีกด้านหนึ่งก็ทำให้อนาคตรัฐบาลซ้ายจัดของนายซีปราส ตกอยู่ในความไม่แน่นอน หลังพบเห็นความแตกแยกในหมู่สมาชิกพรรค

    ภายใต้ข้อตกลงที่บรรลุกันเมื่อวันจันทร์(13ก.ค.) ซีปราสต้องนำมาตรการปฏิรูปสำคัญรวม 6 ประการ อาทิ การลดงบประมาณจ่าย, การขึ้นภาษี, และการปฏิรูประบบบำนาญ เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภากรีซ และอนุมัติเป็นกฎหมายออกมาภายในวันพุธ (15) ตลอดจนผลักดันให้รัฐสภารับรองแพกเกจเงินกู้ก้อนที่ 3 ทั้งฉบับ เพื่อนำไปยื่นต่อยูโรโซนและเริ่มเปิดเจรจารายละเอียดของเงินกู้ต่อไป

    ข้อตกลงหลักการของแพกเกจเงินกู้ก้อนที่ 3 ซึ่งผู้นำยูโรโซนทำไว้กับซีปราสนั้น กรีซจะได้รับเงินกู้ระยะเวลา 3 ปีเป็นจำนวน 86,000 ล้านยูโร พร้อมคำมั่นจากบรรดารัฐมนตรีคลังยูโรโซน (ยูโรกรุ๊ป) ในการเริ่มหารือเงินกู้ระยะสั้นเพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่กรีซภายในวันจันทร์ (13) ซึ่งน่าจะเป็นการปูทางให้ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) อนุมัติเพิ่มสภาพคล่องฉุกเฉินให้แก่แบงก์ต่างๆ ของกรีซ โดยที่ในเวลานี้มีแนวโน้มว่าหากธนาคารต่างๆ ของกรีซไม่ได้รับอัดฉีดเพิ่มเติมจากอีซีบีแล้ว เงินสดที่เหลืออยู่ก็อาจหมดลงในสัปดาห์นี้

    ส่วนสิ่งซึ่งซีปราสต้องยอมแลกเปลี่ยน นอกจากการปฏิรูปด้านต่างๆ แล้ว ยังจะต้องยอมนำสินทรัพย์ต่างๆ ของรัฐกรีซรวมเป็นมูลค่า 50,000 ล้านยูโร เป็นต้นว่า ธนาคารของกรีซที่ถูกโอนมาเป็นของรัฐภายหลังการเพิ่มทุน เข้ามาสู่กองทุนทรัสต์ซึ่งรัฐบาลกรีซจะเข้ามายุ่งเกี่ยวไม่ได้ สินทรัพย์เหล่านี้ที่สำคัญแล้วจะถูกนำไปขายเพื่อนำเงินมาชำระหนี้สินให้ลดต่ำลง ถึงแม้บางส่วนคือราว 12,500 ล้านยูโรจะถูกนำไปลงทุนในประเทศกรีซเอง

    นอกจากนั้น ซีปราสยังต้องยอมให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) มีบทบาทอย่างสมบูรณ์ในแพกเกจความช่วยเหลือก้อนที่ 3 หลังจากที่เขาเคยคัดค้านมาโดยตลอด


    http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000080357
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,206
    ค่าพลัง:
    +97,149
    น้ำมันดิ่ง$1.5จากข้อตกลงนุกอิหร่าน หุ้นมะกัน-ทองคำลง โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 กรกฎาคม 2558 04:28 น.

    [​IMG]

    เอเอฟพี/รอยเตอร์ - ราคาน้ำมันร่วงแรงในวันพุธ(15ก.ค.) แตะระดับต่ำสุดราวๆ 3 เดือน นักลงทุนกังวลผลกระทบของข้อตกลงนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านกับชาติมหาอำนาจที่อาจซ้ำเติมอุปทานล้นตลาด ส่วนวอลล์สตรีทและทองคำก็ปรับลด หลังประธานเฟดแย้มยังอยู่บนเส้นทางการขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้

    น้ำมันดิบเวสต์เทกซัสอินเตอร์มีเดียต หรือไลต์สวีตครูด งวดส่งมอบเดือนสิงหาคม ลดลง 1.63 ดอลลาร์ ปิดที่ 51.41 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนต์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน ลดลง 1.46 ดอลลาร์ ปิดที่ 57.05 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

    เมื่อวันอังคาร(14ก.ค.) อิหร่านและ 6 ชาติมหาอำนาจ บรรลุข้อตกลงตรวจตราโครงการนิวเคลียร์ของเตหะราน ที่จะนำมาซึ่งการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรที่จำกัดการส่งออกน้ำมันของประเทศแห่งนี้

    จากข้อมูลของ แพลตต์ส ผู้ให้บริการข้อมูลทางพลังงาน พบว่าตอนนี้ อิหร่าน ส่งออกน้ำมันดิบเพียง 1 ล้านบาร์เรลต่อบาร์เรล จากเดิมที่เคยส่งออกราว 2.2-2.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ก่อนถูกตะวันตกออกมาตรการคว่ำบาตรในช่วงกลางปี 2012

    ด้านตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อวันพุธ(15ก.ค.) ปิดลบในกรอบแคบๆ หลังจากนางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟดบอกว่าธนาคารกลางสหรัฐฯแห่งนี้พร้อมขึ้นดอกเบี้ยหากเศรษฐกิจยังอยู่บนเส้นทาง ขณะที่ความยุ่งเหยิงภายนอกดูเหมือนจะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของวอชิงตัน

    ดาวโจนส์ ลดลง 3.14 จุด (0.02 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 18,050.17 จุด เอสแอนด์พี ลดลง 1.55 จุด (0.07 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 2,107.40 จุด แนสแดค ลดลง 5.95 จุด (0.12 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 5,098.94 จุด

    วอลล์สตรีทแกว่งตัวในแดนบวกตลอดทั้งวัน แต่เกิดแรงเทขายในช่วงบ่าย ตามหลังภาพข่าวตำรวจปราบจลาจลพ่นแก๊สน้ำตาเข้าใส่เหล่าผู้ประท้วงที่ปาระเบิดเพลิงเข้าใส่ บริเวณด้านนอกของอาคารรัฐสภากรีซ ขณะที่เหล่าส.ส.ที่อยู่ด้านใน กำลังอภิปรายว่าจะยอมรับแพ็กเก็จช่วยเหลือตามเงื่อนไขของเจ้าหนี้เพื่อหลีกเลี่ยงผิดนัดชำระหนี้หรือไม่

    นอกจากนี้แล้วตลาดหุ้นอเมริกา ยังถูกกดดันจากความเห็นของนางเยลเลน ที่คาดหมายว่าเศรษฐกิจของประเทศเติบโตอย่างมั่นคงไปตลอดทั้งปี เปิดทางให้เฟดขึ้นดอกเบี้ย ทว่าเธอไม่ได้ระบุถึงกำหนดเวลาหรืออัตราการปรับขึ้นใดๆ แม้คาดคะเนกันอย่างกว้างขวางว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนกันยายนหรือธันวาคม

    ความเห็นของประธานเฟด ที่ย้ำถึงความเป็นไปได้ของการปรับขึ้นดอกเบี้ยภายในปีนี้ ผลักให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นและฉุดให้ทองคำขยับลง แตะระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนเมื่อวันพุธ(15ก.ค.) โดยทองคำตลาดโคเม็กซ์ลดลง 7.30 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,146.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์

    http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000080346
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,206
    ค่าพลัง:
    +97,149
    IMFชน'ยูโร'ชี้ไม่ลดหนี้'กรีซ'ไม่รอด 'ซีปราส'หันพึ่งฝ่ายค้านผ่านกม.ปฏิรูป โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 กรกฎาคม 2558 22:01 น.

    [​IMG]

    @นายกรัฐมนตรีอเล็กซิส ซีปราส ของกรีซ ห้อมล้อมไปด้วยลูกพรรคไซรีซา ก่อนหน้าการประชุมรัฐสภาอันสำคัญในวันพุธ(15ก.ค.) ขณะที่เขาอาจต้องพึ่งฝ่ายค้านผ่านกฎหมายปฏิรูปตามเงื่อนไขของเจ้าหนี้ระหว่างประเทศ

    เอเจนซีส์ - รัฐสภากรีซนัดลงมติมาตรการปฏิรูปมหาโหดในคืนวันพุธ (15 ก.ค.) ตามเส้นตายของเจ้าหนี้ โดยนายกฯซีปราสลั่นแม้แพ้โหวตในสภาก็จะไม่ลาออก แต่จะขอรับผิดชอบแก้ไขวิกฤตต่อ ขณะที่ไอเอ็มเอฟโยนระเบิดลงกลางวง โดยเปิดเผยรายงานการวิจัยซึ่งระบุว่า เอเธนส์จะแบกรับไม่ไหว ถ้าหากฝ่ายเจ้าหนี้ไม่ยอมบรรเทาภาระหนี้สินให้

    ข้อตกลงล่าสุดเมื่อวันจันทร์ (13) ระหว่างนายกรัฐมนตรีอเล็กซิส ซีปราส ของกรีซ กับบรรดาผู้นำอีก 18 ประเทศในยูโรโซน บังคับให้กรีซแก้ไขแก้กฎหมายแรงงาน ระบบบำนาญ ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีอื่นๆ ครั้งใหญ่ ซึ่งหลายข้อถูกปฏิเสธในการลงประชามติของชาวกรีกเมื่อวันที่ 5 ที่ผ่านมา เพื่อแลกกับโปรแกรมเงินกู้ระยะเวลา 3 ปี มูลค่า 86,000 ล้านยูโร ซึ่งถือเป็นแพกเกจเงินกู้จากเจ้าหนี้ระหว่างประเทศก้อนที่ 3 แล้วภายในรอบ 5 ปี ที่มุ่งช่วยเหลือให้กรีซไม่ต้องตกอยู่ในฐานะล้มละลาย

    ทว่า รัฐสภากรีซต้องอนุมัติข้อตกลงดังกล่าวภายในวันพุธ (15) ก่อนที่ทางยูโรโซนจะเริ่มหารือเกี่ยวกับเงินกู้ก้อนใหม่ ซึ่งพวกเจ้าหน้าที่ยุโรปเปิดเผยว่า รัฐบาลในยูโรโซนจะลงขันอัดฉีดราว 40,000-50,000 ล้านยูโร และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) สมทบอีกก้อนใหญ่ ส่วนที่เหลือมาจากการขายสินทรัพย์ของรัฐบาลกรีซ

    ในวันพุธ ซีปราสให้สัมภาษณ์โดยแสดงความคาดหวังว่า ชาวกรีกส่วนใหญ่จะสนับสนุนข้อตกลงนี้ แต่ยอมรับว่า ไม่สามารถยืนยันด้วยความมั่นใจว่า การสนับสนุนนี้เพียงพอป้องกันไม่ให้กรีซหลุดออกจากยูโรโซนหรือ “เกร็กซิต” หรือไม่ แต่คงต้องรอจนกว่าจะมีการลงนามข้อตกลงขั้นสุดท้ายเท่านั้น

    ทางด้านเจ้าหน้าที่อาวุโสของไอเอ็มเอฟเผยว่า ไอเอ็มเอฟจะสามารถเข้าร่วมโปรแกรมความช่วยเหลือแพกเกจที่ 3 นี้ ต่อเมื่อทางเจ้าหนี้หลักซึ่งก็คือสหภาพยุโรป (อียู) เสนอแผนการที่ชัดเจนและครอบคลุมมากขึ้น

    ก่อนหน้านั้น เมื่อวันอังคาร (14) ไอเอ็มเอฟยังเปิดเผยรายงานการวิเคราะห์ซึ่งเรียกร้องให้ฝ่ายเจ้าหนี้ยอมลดภาระหนี้สินแก่กรีซ มากกว่าที่ประเทศยุโรป โดยเฉพาะเยอรมนี จะยินดีพิจารณา

    รายงานของไอเอ็มเอฟ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ความยั่งยืนในการบริหารจัดการหนี้สินของกรีซนั้น ชี้ว่าทางเจ้าหนี้จะต้องยอมให้ระยะเวลาปลอดหนี้แก่กรีซถึง 30 ปีในการชำระหนี้ทุกๆ อย่างที่ติดค้างยุโรปอยู่รวมทั้งหนี้สินก้อนใหม่ๆ ที่จะทำกันด้วย และจากนั้นก็ต้องยอมยืดกำหนดเวลาชำระหนี้ออกไปอย่างยืดยาว, หรือไม่เช่นนั้น ทางเจ้าหนี้ก็ต้องยอมจ่ายเงินสดอุดหนุนงบประมาณให้กรีซเป็นรายปี, หากไม่เอา 2 ทางเลือกนี้ ทางเลือกที่ 3 คือต้องยอม “แฮร์คัต” ลดหนี้สินที่กรีซติดค้างอยู่ในเวลานี้ลงไปเป็นจำนวนมาก

    แหล่งข่าวอียูรายหนึ่งเผยกับรอยเตอร์ว่า ทางรัฐมนตรีคลังและบรรดาผู้นำของยูโรโซนต่างตระหนักดีถึงตัวเลขการวิเคราะห์ของไอเอ็มเอฟนี้แล้ว เมื่อตอนที่พวกเขาตกลงเห็นชอบเกี่ยวกับแผนการที่เรียกร้องให้กรีซต้องยอมรับ เพื่อแลกกับการได้แพกเกจเงินกู้ก้อนที่ 3

    ขณะที่พวกนักวิเคราะห์พากันตั้งข้อสงสัยว่า เหตุใดยุโรปแทบไม่พาดพิงถึงการลดภาระหนี้สินเลยในข้อตกลงล่าสุดกับกรีซ

    ทางด้านมิเชล ซาแปง รัฐมนตรีคลังฝรั่งเศส พยายามลดกระแสการวิพากษ์วิจารณ์ โดยกล่าวว่า ข้อเรียกร้องของไอเอ็มเอฟเป็นสิ่งที่ปารีสคิดมานานแล้ว แต่สำทับว่า ตามความเข้าใจของตนนั้น ไอเอ็มเอฟไม่ได้ขอให้ปลดหนี้ให้เอเธนส์โดยตรง

    ขณะเดียวกัน รายงานของไอเอ็มเอฟยังเพิ่มความกดดันให้ซีปราสที่จำใจต้องหันไปพึ่งพรรคฝ่ายค้านซึ่งเป็นพวกสนับสนุนการรวมตัวกับยุโรป ในการลงมติรับรองมาตรการปฏิรูปที่คาดว่าจะมีขึ้นหลังเที่ยงคืนวันพุธ หลังจากลูกพรรคไซรีซาของตนเองราว 30 คน นำโดย ปานาจิโอติส ลาฟาซานิส รัฐมนตรีพลังงาน ประกาศว่าจะโหวตคัดค้าน รวมทั้งจะเรียกร้องให้นำเงินสกุลแดร็กมากลับมาใช้


    ซีปราสให้สัมภาษณ์ว่า จะรับผิดชอบเต็มที่จากการลงนามข้อตกลงที่แม้แต่ตนเองก็ไม่เชื่อมั่น ทว่า จำเป็นต้องยอมรับเพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจของประเทศหายนะ พร้อมยืนยันว่า จะไม่ลาออกแม้มาตรการปฏิรูปไม่ผ่านความเห็นชอบหรือรัฐบาลสูญเสียข้างมากในสภา

    ทั้งนี้ ผลสำรวจความคิดเห็นโดยคาปา รีเสิร์ชที่เปิดเผยเมื่อค่ำวันอังคารพบว่า ชาวกรีก 72% มองว่า ข้อตกลงกับเจ้าหนี้มีความจำเป็น และส่วนใหญ่โทษยุโรปที่ตั้งเงื่อนไขโหดหิน นอกจากนั้นคนจำนวนมากยังเห็นว่า ข้อตกลงดังกล่าวคือการย่ำยีเพิ่มขึ้นขณะที่กรีซยังเจ็บหนักจากมาตรการรัดเข็มขัดที่เจ้าหนี้บังคับใช้มา 5 ปีแล้ว

    วันพุธ ข้าราชการพลเรือนกรีซหยุดงานประท้วง ซึ่งถือเป็นครั้งแรกนับจากซีปราสเข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนมกราคม

    กระนั้น ท่ามกลางสถานการณ์ที่ไร้ความแน่นอนเหล่านี้ ชาวกรีกยังคงเทคะแนนให้ซีปราสอย่างไม่หวั่นไหว โพลล่าสุดระบุว่า ประชาชน 68.1% บอกว่า ถ้าการลงมติในสภาครั้งนี้นำไปสู่การตั้งรัฐบาลผสมชุดใหม่ ผู้นำควรเป็นซีปราสต่อไปเช่นเดิม

    ขณะเดียวกัน วิกฤตกรีซสร้างความหวาดวิตกไปทั่วโลก จาค็อบ ลูว์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ถึงขั้นบินตรงสู่เยอรมนีและฝรั่งเศสในวันพุธและพฤหัสฯ (16) เพื่อกดดันให้ยุโรปเร่งบรรลุข้อตกลงช่วยเหลือกรีซ

    ในทางกลับกัน ยานนิส ดรากาซากิส รองนายกรัฐมนตรีกรีซ ตอกย้ำความสำคัญของวอชิงตัน โดยกล่าวว่า ข้อตกลงระหว่างซีปราสกับผู้นำยูโรโซนเมื่อวันจันทร์จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ ถ้าปราศจากการกดดันจากอเมริกา


    http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000080311
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,206
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ไลบีเรียเจอผู้ป่วยอีโบลาเสียชีวิตรายที่สอง จากการระบาดรอบใหม่ โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 กรกฎาคม 2558 20:26 น.

    [​IMG]

    เอเอฟพี - ไลบีเรียระบุในวันพุธ (15 ก.ค.) ว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิตเป็นรายที่สอง จากการกลับมาระบาดอีกครั้งของเชื้อไวรัสอีโบลาในเมืองหลวงของประเทศ

    มีการยืนยันว่าเจ้าหน้าที่การแพทย์ในกรุงมอนโรเวียคือผู้ติดเชื้อรายที่ 6 นับตั้งแต่อีโบลากลับมาระบาดอีกครั้งเมื่อช่วงปลายเดือนมิถุนายน

    "เรายืนยันได้ว่ามีผู้ติดเชื้อ 6 รายในไลบีเรีย โดยมีผู้ติดเชื้อ 4 รายที่กำลังเข้ารับการดูแลรักษา ส่วนอีก 2 รายตายแล้ว" เจ้าหน้าที่กล่าว

    ผู้ติดเชื้อที่เสียชีวิตรายก่อนปรากฏขึ้นที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้กับสนามบิน ในเขตชายฝั่งมาร์จิบิ โดยมีการทดสอบพบการติดเชื้อในวัยรุ่นชายอายุ 17 ปี หลังจากที่เขาตายไปแล้ว

    "อีโบลาไม่ได้จำกัดวงอยู่แค่ในเขตมาร์จิบิ มีรายงานผู้ติดเชื้ออีกรายในกรุงมอนโรเวียด้วย แต่รายนั้นเสียชีวิตแล้ว เขาเข้ารับการรักษาในสภาพที่อาการหนัก จากนั้นก็เสียชีวิต" เจ้าหน้าที่บอกนักข่าว

    เจ้าหน้าที่บอกอีกว่า ชายที่เสียชีวิตรายนี้เคยถูกเฝ้าสังเกตการณ์ เนื่องจากทราบว่าได้ติดต่อสัมผัสกับผู้ป่วยรายก่อนๆ แต่เขาปิดบังอาการเอาไว้ไม่ให้ทางการรู้ ด้วยการกินยาจนอุณภูมิร่างกายเขาลดลง

    ทางการได้เตือนว่า ความพยายามที่จะวบคุมการระบาดนั้นอาจจะพังได้เพราะผู้คนไม่ยอมรับว่าตัวเองได้ติดต่อสัมผัสกับผู้ติดเชื้ออีโบลา

    "เราจำเป็นจะต้องเปิดเผย เราจำเป็นจะต้องซื่อตรง ด้วยความซื่อตรงเราจึงจะหยุดยั้งการระบาดนี้ได้ หากคุณไปคลินิกทั่วไปเพราะมีไข้ คุณจำเป็นจะต้องบอกเจ้าหน้าที่การแพทย์ว่าคุณเคยใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ" เจ้าหน้าที่กล่าว

    ในช่วงที่ผ่านมา การระบาดของอีโบลาครั้งเลวร้ายที่สุดในโลกได้คร่าชีวิตผู้คนในแอฟริกาตะวันตกไปมากกว่า 11,250 ราย ทำให้ระบบสาธารณสุขต้องยอมศิโรราบ ทำลายเศรษฐกิจจนบรรดานักลงทุนต้องพากันหนี

    เชื้อไวรัสอีโบลาจากกินีได้แพร่มาสู่ไลบีเรียในเดือนมีนาคม 2014 ทำให้มีผู้เสียชีวิตชาวไลบีเรียมากกว่า 4,800 ราย ก่อนที่องค์การอนามัยโลกจะประกาศให้ประเทศนี้ปลอดจากการระบาดเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคมที่ผ่านมา


     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,206
    ค่าพลัง:
    +97,149
    'อาเบะ'ดันสุดแรงเมินกระแสต้าน กม.ให้ส่งทหารไปต่างแดน'ฉลุย'ด่านแรก โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 กรกฎาคม 2558 21:05 น.

    [​IMG]
    @ยาสุกาซุ ฮามาดะ (ที่2จากขวา) ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญด้านความมั่นคงของสภาล่าง ส่งเสียงตะโกนขณะที่เขาถูกพวกสมาชิกรัฐสภาฝ่ายค้านถือป้ายรุมล้อม ระหว่างที่คณะกรรมาธิการลงคะแนนรับรองร่างกฎหมายเปิดทางให้ญี่ปุ่นส่งทหารออกไปต่างแดน เมื่อวันพุธ (15)

    เอเจนซีส์ - นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ของญี่ปุ่นทุ่มสุดตัว ดันร่างกฎหมายแก้ไขนโยบายการทหารที่ปูทางให้กองทัพแดนซามูไรออกรบนอกประเทศครั้งแรกภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมาธิการสภาล่างสำเร็จในวันพุธ (15 ก.ค.) ท่ามกลางการคัดค้านอย่างหนักจากทั้งในสภาและบนท้องถนน

    อาเบะ ประกาศว่า ฐานะทางด้านความมั่นคงที่เข้มแข็งยิ่งขึ้นของญี่ปุ่น ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากอเมริกานั้น มีความสำคัญในการเผชิญความท้าทายใหม่ๆ เช่น ความท้าทายจากจีน พร้อมระบุว่า ประชาชนยังไม่เข้าใจสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ และตนจะพยายามมากขึ้นเพื่อแก้ไขความไม่เข้าใจเหล่านี้

    ทว่าฝ่ายต่อต้านมองว่า การแก้ไขกฎหมายนี้เป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญฉบับใฝ่สันติซึ่งใช้มาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ของญี่ปุ่น และอาจส่งผลให้โตเกียวถูกวอชิงตันดึงเข้าไปเกี่ยวพันกับความขัดแย้งทั่วโลก

    ในที่สุดแล้วคณะกรรมาธิการในสภาล่าง ซึ่งฝ่ายรัฐบาลครองเสียงข้างมากอยู่ ก็ลงมติอนุมัติร่างกฎหมายดังกล่าวหลังจากการอภิปรายอย่างดุเดือด อีกทั้งทางสมาชิกฝ่ายค้านพยายามขัดขวางไม่ให้มีการโหวตด้วยการบุกเข้าไปในห้องประชุมคณะกรรมาธิการ พร้อมกับตะโกนและชูป้ายเขียนข้อความต่อต้าน ขณะเดียวกันมีประชาชนนับร้อยประท้วงอยู่หน้าอาคารรัฐสภา หลังจากเมื่อวันอังคาร (14) ที่ผ่านมา มีผู้ประท้วงราว 2 หมื่นคนชุมนุมคัดค้าน

    ต่อมาในเย็นวันพุธ มีผู้ประท้วงจำนวนมากโดยที่ผู้จัดระบุตัวเลขว่าราว 60,000 คน ไปชุมนุมกันที่ใกล้ๆ ทำเนียบของอาเบะ ถือแผ่นป้ายและตะโกนคัดค้าน “ร่างกฎหมายเพื่อทำสงคราม” ตลอดจนเรียกร้องให้อาเบะลาออก สำนักข่าวเกียวโดระบุว่า ยังมีการจัดประท้วงในส่วนอื่นๆ ของประเทศด้วย

    กระนั้น คาดหมายกันว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้จะได้รับอนุมัติอย่างง่ายดายจากที่ประชุมสภาล่างทั้งสภาในสัปดาห์นี้ ก่อนส่งต่อให้สภาสูงพิจารณา

    อย่างไรก็ตาม เวลานี้อาเบะกำลังเผชิญความท้าทายทางการเมืองครั้งใหญ่ที่สุดนับจากเข้ารับตำแหน่งในเดือนธันวาคม 2012 ซึ่งเขาประกาศฟื้นเศรษฐกิจและส่งเสริมบทบาททางทหารของญี่ปุ่น

    คะแนนนิยมของผู้นำฝ่ายบรหารของญี่ปุ่นผู้นี้ ทรุดลงจากความกังวลของผู้มีสิทธิออกเสียง เกี่ยวกับแผนการแก้ไขนโยบายการทหารเพื่อเปิดทางให้กองทัพออกไปปกป้องพันธมิตรที่ถูกโจมตี

    ทั้งนี้ ผลสำรวจที่จัดทำโดยหนังสือพิมพ์อาซาฮีที่เผยแพร่ออกมาเมื่อวันจันทร์ (12) พบว่า จำนวนประชาชนที่ไม่ปลื้มอาเบะเพิ่มขึ้นเป็น 42% เทียบกับ 39% ที่ยังคงให้การสนับสนุน และ 56% คัดค้านการแก้ไขกฎหมายคราวนี้

    มิโนรุ โมริตะ นักวิเคราะห์การเมืองอิสระชี้ว่า พวกผู้คร่ำหวอดทางการเมืองเริ่มทำนายว่า อาเบะอาจบรรลุเป้าหมายของตน แต่สุดท้ายต้องลาออกจากตำแหน่งเช่นเดียวกับ โนบุสุเกะ คิชิ คุณตาของเขา

    คิชิดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นระหว่างปี 1957-1960 และยื่นใบลาออกเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 1960 เพื่อรับผิดชอบความไม่พอใจของประชาชนต่อการที่รัฐบาลผลักดันให้รัฐสภาอนุมัติสนธิสัญญาความมั่นคงญี่ปุ่น-สหรัฐฯฉบับแก้ไขเพิ่มเติม

    อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์คนอื่นๆ เชื่อว่า แม้เสียงสนับสนุนอาจอ่อนลง แต่อาเบะจะยังรักษาเก้าอี้ได้ต่อไป เนื่องจากศัตรูทั้งภายในและภายนอกพรรคยังไร้พลกำลัง

    กระนั้น อาเบะยังต้องฝ่าฟันปัญหาอื่นๆ อีก โดยเฉพาะแนวโน้มที่บริษัทคิวชู อิเล็กทริก พาวเวอร์ จะเดินเครื่องเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ใหม่หลังจากปิดไปตั้งแต่เกิดวิกฤตฟูกูชิมะปี 2011 แม้ว่าประชาชนจำนวนมากยังไม่วางใจในความปลอดภัยก็ตาม

    นอกจากนี้ยังมีกระแสไม่พอใจลุกลามขึ้นจากงบประมาณที่บานปลายในการสร้างสนามกีฬาแห่งใหม่เพื่อรองรับการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนปี 2020 และการเผชิญหน้าระหว่างรัฐบาลกับผู้ว่าการโอกินาวะเรื่องฐานทัพอากาศอเมริกันที่มีแนวโน้มคุกรุ่นถึงขีดสุดในเดือนหน้า

    ช่วงเวลาไล่เลี่ยกันนั้น อาเบะจะต้องออกมากล่าวปราศรัยเนื่องในวาระครบรอบ 70 ปีการสิ้นสุดสงครามโลก ซึ่งเป็นที่จับตาของคนทั่วโลก ว่าเขาจะแสดงความเสียใจและขอโทษผู้คนเป็นล้านๆ ในเอเชียที่เป็นเหยื่อความโหดร้ายทารุณของทหารญี่ปุ่นหรือไม่

    นักวิเคราะห์จำนวนมากคาดกันว่า อาเบะจะยังคงได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคลิเบอรัล เดโมเครติก ปาร์ตี้ต่ออีก 3 ปี ในเดือนกันยายนนี้

    อาสึโอะ อิโตะ นักวิจารณ์การเมืองทิ้งท้ายว่า แม้ผู้คนรู้สึกประดักประเดิดกับรัฐบาลชุดนี้ แต่สิ่งที่ค้ำจุนอาเบะให้อยู่รอดปลอดภัยคือภาวะเศรษฐกิจที่กระเตื้องดีขึ้น



    http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000080295
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,206
    ค่าพลัง:
    +97,149
    รัสเซียชี้ รบ.พล.อ. ประยุทธ์ “มีความชอบธรรม” เชิญไทยเข้าร่วม “สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย” เพียงชาติเดียวในอาเซียน โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 กรกฎาคม 2558 12:40 น.

    [​IMG]
    @สมาชิกปัจจุบันของ กลุ่มสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย (Eurasian Economic Union: EEU)

    รัฐบาลประธานาธิบดีปูตินให้การยอมรับรัฐบาลของพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่ามี “ความชอบธรรม” ในการบริหารประเทศ ถึงแม้รัฐบาลชุดปัจจุบันของไทยจะไม่ได้มาจาก “การเลือกตั้ง” ตามครรลองประชาธิปไตยแบบโลกตะวันตก

    เอเจนซีส์ / ASTV ผู้จัดการออนไลน์ – เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลรัสเซีย แสดงความคาดหวังว่า จะได้เห็น รัฐบาลไทยภายใต้การนำของพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา สมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกเขตการค้าเสรี ของกลุ่มสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย (Eurasian Economic Union: EEU) ก่อนสิ้นปีนี้ ชี้ เป็น “บันไดขั้นแรก” ของการกระชับความสัมพันธ์ และการแบ่งปันผลประโยชน์มหาศาลทางด้านเศรษฐกิจร่วมกัน ระบุ ไทยถือเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รัฐบาล วลาดิมีร์ ปูติน ทาบทามให้เข้าร่วม

    รายงานข่าวล่าสุดในวันพุธ ( 15 ก.ค.) จากกรุงมอสโก ระบุว่า เดนิส วาเลนติโนวิช มันตูรอฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของสหพันธรัฐรัสเซียออกมาแถลงด้วยตัวเองว่า รัฐบาลรัสเซียภายใต้การนำของประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน มีความคาดหวังว่า รัฐบาลไทยจะสมัครเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเขตการค้าเสรีของกลุ่มประเทศ EEU ในเร็ว ๆ นี้ และคาดว่า น่าจะได้เห็นความชัดเจนเรื่องสมาชิกภาพของไทยในกลุ่มความร่วมมือดังกล่าวก่อนสิ้นปี 2015 นี้

    มันตูรอฟ ในวัย 46 ปี ซึ่งเข้ารับหน้าที่เจ้ากระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของรัสเซีย มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ปี 2012 ออกมาเปิดเผยเรื่องดังกล่าวต่อสื่อมวลชนภายหลังเสร็จสิ้นการหารือกับคณะกรรมาธิการร่วมรัสเซีย – ไทย ว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีในวันพุธ ( 15 ก.ค.) โดยระบุ ที่ผ่านมารัฐบาลไทยภายใต้การนำของพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ยืนยันกับทางการรัสเซียว่า ไทย “สนใจ” เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย (อีอียู) อย่างเป็นทางการ

    “ผมเชื่อว่าในขณะนี้รัฐบาลไทยกำลังดำเนินการในเรื่องการสมัครเข้าเป็นสมาชิกอยู่ ซึ่งทางรัสเซียจะไม่เร่งรัดไทยในเรื่องนี้ เพราะเราตระหนักดีว่า สุดท้ายแล้ว ทุกอย่างจะต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลไทยว่า พวกเขาจะเห็นว่าตนเองมีความพร้อมเข้ามาแบ่งปันผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกันกับเราได้เมื่อใด แต่เราเชื่อว่า เรื่องนี้จะมีความชัดเจนมากขึ้นก่อนสิ้นปีนี้ ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของรัสเซีย กล่าว

    ด้านแหล่งข่าวทางการทูตในกรุงมอสโกเผยว่า ประเทศไทยถือเป็นเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รัฐบาลรัสเซียภายใต้การนำประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ทาบทามให้เข้ามาร่วมเขตการค้าเสรีของสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชียในขณะที่ชาติเพื่อนบ้านของไทยอย่าง “เวียดนาม” ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมอสโกมายาวนาน กลับไม่ถูกทาบทาม

    โดยท่าทีดังกล่าวนี้ในทางการทูตถือเป็นการส่งสัญญาณว่า รัสเซียให้เกียรติประเทศไทยเป็นอย่างมาก และตระหนักถึงศักยภาพทางเศรษฐกิจที่ไทยมีอยู่ ตลอดจนเป็นการแสดงออกว่า รัฐบาลประธานาธิบดีปูตินให้การยอมรับรัฐบาลของพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่ามี “ความชอบธรรม” ในการบริหารประเทศ ถึงแม้รัฐบาลชุดปัจจุบันของไทยจะไม่ได้มาจาก “การเลือกตั้ง” ตามครรลองประชาธิปไตยแบบโลกตะวันตกก็ตาม

    ตามขั้นตอนปกติแล้ว ทางกระทรวงการต่างประเทศของไทยและรัฐบาลไทย จะต้องยื่นคำขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย (อีอียู)ผ่านทางคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยูเรเซีย (Eurasian Economic Commission : EEC) ซึ่งถือเป็นฝ่ายบริหารของอีอียูอีกชั้นหนึ่ง

    ทั้งนี้ ในปัจจุบันประเทศสมาชิกของสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย ซึ่งเป็นกลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศกลุ่มใหม่ ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคมปีที่แล้ว มีทั้งสิ้น 4 ประเทศ คือ รัสเซีย เบลารุส คาซัคสถาน และอาร์เมเนีย

    ส่วนคีร์กิซสถาน และทาจิกิสถาน อยู่ระหว่างกระบวนการสมัครเข้าเป็นสมาชิก ขณะที่จีน อิหร่าน และมองโกเลียแสดงความสนใจเข้าร่วมในอนาคต

     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,206
    ค่าพลัง:
    +97,149
    เมินกระแสค้าน! สภาผู้แทนฯ ญี่ปุ่นผ่าน “ชุดกฎหมายความมั่นคง” เปิดทางส่งทหารไปรบต่างแดน โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
    16 กรกฎาคม 2558 15:38 น.

    [​IMG]

    @ส.ส.พรรคแอลดีพีของนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ และพรรคโกเมอิโตะ ลุกขึ้นยืนกลางที่ประชุมสภา ในขณะที่ชุุดกฎหมายความมั่นคงผ่านการโหวตรับรองจากสภาผู้แทนราษฎร วันนี้(16 ก.ค.)

    เอเอฟพี – สภาผู้แทนราษฎรญี่ปุ่นมีมติผ่านชุดกฎหมายความมั่นคงใหม่ซึ่งจะเปิดทางให้แดนอาทิตย์อุทัยส่งกองกำลังออกไปช่วยเหลือพันธมิตรในสงครามต่างแดนได้เป็นครั้งแรก วันนี้ (16 ก.ค.) ท่ามกลางกระแสต่อต้านจากกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยที่ชี้ว่า กฎหมายเหล่านี้ละเมิดรัฐธรรมนูญใฝ่สันติที่ญี่ปุ่นใช้มานานถึง 70 ปี

    การโหวตร่างกฎหมายครั้งนี้มีเพียงพรรคร่วมรัฐบาลผสมของนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ เท่านั้นที่ออกเสียง เนื่องจาก ส.ส. ฝ่ายค้านพากัน “วอล์คเอาท์” ออกจากที่ประชุม ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนให้เห็นกระแสคัดค้านที่ค่อนข้างแรงในสังคมญี่ปุ่น

    “สถานการณ์ความมั่นคงรอบๆ ประเทศของเรายิ่งเลวร้ายลงทุกวัน” อาเบะ ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนหลังเสร็จสิ้นการโหวต ซึ่งเข้าใจได้ชัดเจนว่ากำลังพาดพิงถึงจีน

    “ชุดกฎหมายเหล่านี้มีความจำเป็นต่อการปกป้องชีวิตพลเมืองญี่ปุ่น และหลีกเลี่ยงสงครามก่อนที่มันจะอุบัติขึ้น”

    เมื่อวานนี้ (15) มีผู้ประท้วงราว 60,000 คนไปชุมนุมที่หน้าอาคารรัฐสภาในกรุงโตเกียวจนเกิดปะทะกับตำรวจ โดยมีชายวัย 60 เศษ 2 คนถูกจับข้อหาทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่ หลังจากคณะกรรมการสภาผู้แทนราษฎรซึ่งพรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี) ของ อาเบะ กุมเสียงส่วนใหญ่ ลงมติรับรองชุดกฎหมายซึ่งจะผ่อนคลายข้อจำกัดของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น

    แม้การเคลื่อนไหวของกลุ่มต่อต้านจะเป็นไปอย่างสงบเรียบร้อยเสียส่วนใหญ่ แต่ในความเป็นจริงกระแสคัดค้านกฎหมายความมั่นคงได้แผ่ลามไปยังประชาชนแทบทุกกลุ่มในเมืองปลาดิบ

    ประเด็นสำคัญของชุดกฎหมายความมั่นคงซึ่งกำลังจะถูกส่งต่อไปให้วุฒิสภาลงมติก็คือ ญี่ปุ่นจะสามารถส่งทหารเข้าร่วมภารกิจรักษาสันติภาพที่ไม่ได้อยู่ภายใต้องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ได้ด้วย

    แม้พรรคแอลดีพีและพันธมิตรจะกุมเสียงข้างมากในวุฒิสภา แต่ผู้สังเกตการณ์ชี้ว่ามีความเป็นไปได้ที่ชุดกฎหมายจะถูกตีตก หรือไม่ก็ถูกแก้เนื้อหาบางอย่าง ซึ่งต่อให้เป็นเช่นนั้นจริง เมื่อร่างกฎหมายถูกส่งกลับมายังสภาผู้แทนราษฎร ฝ่ายรัฐบาลที่กุมเสียงถึง 2 ใน 3 ก็ยังสามารถโหวตคว่ำเนื้อหาที่ถูกแก้ได้อยู่ดี

    อาเบะ ซึ่งเป็นนักการเมืองสายชาตินิยมจัดอ้างว่าต้องการปรับจุดยืนทางทหารของญี่ปุ่นให้กลับสู่ระดับปกติ หลังจากที่ถูกกดโดยรัฐธรรมนูญสันติภาพซึ่งสหรัฐฯ เป็นผู้ร่างมานานถึง 70 ปี

    เมื่อไม่สามารถโน้มน้าวสังคมให้เห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญ อาเบะ จึงหันมาใช้วิธี “ตีความ” รัฐธรรมนูญเสียใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับชุดกฎหมายที่เขาจะผลักดัน โดยไม่ใส่ใจคำเตือนของนักวิชาการและนักกฎหมายจำนวนมากที่ชี้ว่าเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญ

    แม้ผลโหวตของสภาผู้แทนราษฎรจะถือเป็นชัยชนะครั้งสำคัญของรัฐบาล แต่ผลสำรวจความคิดเห็นกลับพบว่า ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่ปลื้มร่างกฎหมายชุดนี้ ซึ่งพลอยทำให้คะแนนนิยมของ อาเบะ ตกต่ำลงด้วย

    ชุดกฎหมายความมั่นคงของ อาเบะ จะเปิดทางให้ญี่ปุ่นส่งกองกำลังออกไปช่วยป้องกันชาติพันธมิตรในต่างแดน หรือที่เรียกว่า “แผนป้องกันร่วม” (collective defense) แม้ความขัดแย้งเหล่านั้นจะไม่ใช่ภัยคุกคามต่อประเทศและพลเมืองญี่ปุ่นโดยตรงก็ตาม ซึ่งนโยบายเช่นนี้ไม่เคยได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลญี่ปุ่นชุดก่อนๆ

    ผู้ประท้วงซึ่งส่วนใหญ่เป็นพลเมืองวัยกลางคนและผู้สูงอายุมองว่า กฎหมายของ อาเบะ อาจดึงญี่ปุ่นเข้าไปพัวพันกับสงครามของอเมริกาซึ่งอยู่ไกลถึงอีกฟากหนึ่งของโลก ในขณะที่ผู้สนับสนุนกฎหมายชี้ว่า อย่างไรเสียญี่ปุ่นก็ยังถูกปิดกั้นจากการเข้าไปมีส่วนในความขัดแย้งมากกว่าหลายๆ ชาติ พร้อมเตือนให้ทุกฝ่ายนึกถึงสถานการณ์ความมั่นคงในเอเชียที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือที่คาดเดายาก รวมไปถึงการขยายอิทธิพลของจีน


     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,206
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Jeerachart Jongsomchai

    [​IMG]

    ... "ชาวเยอรมันก็ประท้วงรัฐบาลนางแมร์เคิ่ล : ในการให้กรีซกู้อีก ... แล้วใครได้ประโยชน์ ?"
    ... เรื่องของกรีซยังไม่จบ กรีซต้องเอาเรื่องไปเข้าสภาก่อนว่า ( เยอรมันเองก็ต้องเอาเรื่องที่จะให้กู้เข้าสภาเช่นกัน เป็นครั้งที่ 6 แล้ว นับจากปี 2010 ที่รัฐสภาเยอรมันจะโหวตให้เงินกู้แก่ กรีซ ) เรื่องที่จะต้องขายสมบัติชาติรวมทั้ง "แปรรูปรัฐวิสาหกิจ" ต่างๆนั้นกว่า 50,000 ล้ายยูโรนั้นในเบื้องต้น รัฐสภาจะเห็นด้วยหรือไม่ หลังจากนายกบอกไม่เห็นด้วยกับการรัดเข็มขัด แต่กลับเห็นด้วยกับการขายสมบัติชาติ ( ที่ก็ต้องรัดเข็มขัดในหลายอย่างอยู่ดี แบบผู้แพ้ เพราะหนึ่งในนั้น ยังต้องมีการ "ขึ้นภาษี" ขูดเลือดเนื้อประชาชน และ "ตัดลดเงินบำนาญ" ข้าราชการวัยแก่ชราอีกด้วย ... ปัญหากรีซคือข้าราชการเยอะเกินไปเทียบกับสัดส่วนประชากร )
    ... เพราะมีการประท้วงทั้งใน "กรีซ" และใน "เยอรมัน" โดยเฉพาะฝ่ายซ้ายจัดในเยอรมัน ที่ไม่พอใจที่เยอรมันไปมีส่วนสำคัญในการให้กรีซกู้ยิมในครั้งนี้แบบที่รัดเข็มขัดจนคนกรีกหน้าและไข่เค็มเขียวอยู่กินลำบาก มีขึ้นใน 14 เมืองทั่วเยอรมัน ที่ส่วนใหญ่ก็เข้าใจคนกรีกดี เพราะคนเยอรมันเข้าใจระบบเสรีนิยมใหม่ดี แต่โทษรัฐบาลประเทศตัวเองด้วย
    ... หลายคนบอกว่าการให้กู้ครั้งนี้เหมือนการ "รัฐประหารในกรีซ" แบบไม่ต้องใช้รถถังเลย แต่ใช้เงินแทน
    ... แต่หลายคนสับสนว่าในเมื่อประชาชนของทั้งสองประเทศต่างก็ไม่ชอบให้กรีซกู้ยิมแล้ว ทำไมรัฐบาลเยอรมันอยากให้เงินกร๊ซกู้อยู่ดี เพราะอะไร ?
    ... ขอเปรียบเทียบว่า ถ้ามีธนาคารดอกบัว หรือ ใบไม้ หรือ เบียร์แมวเบียร์วัว หรือซี้ผี ของไทยไปลงทุนทางการเงินหรือวิสาหกิจในเพื่อนบ้านเช่นกัมพูชา ลาว พม่า เป็นต้นแล้วเขาไม่มีเงินจ่ายหนี้กับเราในบ้างอย่าง แล้วเราต้องให้เขากู้อีกแต่มีข้อแม้ว่าพวกเขาต้อง "ขายรัฐวิสาหกิจ" ของ กัมพูชาหรือพม่า ให้เรา แบบนี้ เงินจากธนาคารไทยในต่างแดน ส่วนใหญ่ก็คือของภาคเอกชนหรือครัวเรือนไทยที่ฝากไว้ แต่เขาต้องการครอบครองธนาคารของเพื่อนบ้านให้ได้ แต่เราต้องปล่อยกู้ด้วย ( เงินบางส่วนก็เป็นจากรัฐบาลกลาง คือภาษีของประชาชนเจ้าของเงินกู้ด้วย )
    ... คือว่า "นายทุนข้ามชาติ" คือผู้ได้รับประโยชน์จากกรณีแบบนี้ ตามแนวคิดเสรีนิยมใหม่ ( ที่ยิวในอเมริกาได้สั่งสอนคนทั่วโลก ทั้งแองโกลแซกซอน ญี่ปุ่น จีน ไทย ) ว่าเอกชนต้องซื้อมันทุกอย่าง นายทุนต่องซื้อทุกอย่าง เรื่องนี้มีมานานตั้งแต่ "ฉันทามติแห่งวอชิงตัน" Washington Consensus แล้ว ที่ต้องการให้เอกชนนำส่วนรัฐแค่เสริมๆ ช่วยเหลือห่างๆ
    ... แน่นอนว่ารากปัญหาคือกรีซรัฐบาลก่อนๆนั้นโกงกินทำโครงการประชานิยมแพงๆฟุ่มเฟือยโดยอ้างประชาชน แลัวประชาชนพอได้เศษเงินเนื้อติดกระดูกก็ดีใจ เลือกเขาเข้าสภา จนสุดท้ายดินพอกหางตะกวดตัวเงินตัวทอง เป็นหนี้ของชาติเกินจะใช้คืนไหวในที่สุด ต้องรีไฟแนนซ์ กู้หนี้ใหม่ มาใช้หนี้เก่า เป็นกงกรรมกงเกวียนไม่จบสิ้น "ถ้าไม่เปลี่ยนพฤติกรรมชอบประชานิยม"
    ... ตอนนี้ "บริษัทข้ามชาติของเยอรมัน" กำลังจะครอบครองทั้งภาคการเงินการธนาคารและรัฐวิสาหกิจต่างๆในกรีซ แบบเดียวกับที่ไทยเราโดนในปี 2540 ( 1997 ) เพราะหลังวิกฤติตัมยำกุ้ง ธนาคารเราเป็นของต่างชาติโดยพฤตินัยไปแล้ว พูดง่ายๆว่า นายทุนแขกจีนที่เคยมาปล่อยเงินกู้ในร้อยปีก่อน เป็นแค่นิยาย แต่ปัจจุบันคือนายทุนอังกฤษ ญี่ปุ่น สิงคโปร์และอเมริกายุโรป ทั้งนั้น ที่นั้งหน้าสลอนในตำแหน่งพนักงานหรือผู้จัดการหน้าไทยๆนั้น เป็นแค่เบี้ยล่างพวกเขาทั้งนั้น เจ้าของจริง หุ้นส่วนใหญ่อยู่ต่างชาติหมด
    ... เพราะคนเยอรมันก็บอกว่า ไม่อยากให้เอาเงินภาษีของพวกเขาไปช่วยเหลือ คนฟุ่มเฟือยไร้วินัย อย่าง คน( รัฐบาลบาล ) กรีซ เลย ถ้าไม่เปลี่ยนปรับปรุงวินัยทางการเงินใหม่ คนกรีกก็บอกว่าคนเยอรมันเป็นพวกหน้าเลือด ตอนสงครามก็โจมตีโดย รถถัง Tank ตอนนี้ก็โจมตีโดยธนาคาร Bank ไม่ต่างกัน คนรากหญ้าทั้งสองฝั่งส่วนใหญ่เลยโกรธกันแบบไม่รู้ตัว
    ... ทั้งๆที่ คนที่เป็น "ตัวการในการสร้างปัญหา" คือ ... นักการเมืองที่โกงกินกับนโยบายประชานินม ... และ นักธุรกิจข้ามชาติที่อยากไปได้ไปซื้อ ระบบการเงินธนาคารและรัฐวิสาหกิจของเพื่อนบ้านต่างหาก เรื่องเหล่านีั เราต้องเข้าใจ ว่าไอ้โม่งไหนที่ได้ประโยชน์จะได้โกรธให้ถูกคน หรือ ประท้วงได้ตรงประเด็น ไม่งั้นถูกหลอกให้เกลียดกัน หรือ ทะเลาะกันอีก
    ... ดังนั้นสองกลุ่มนั้นคือคนที่ทั้งชาวกรีกและเยอรมันตั้งออกมาประท้วงต่างหาก ปรสิตดูดกินสังคมยุโรปในขณะนี้ ถ้าจับพวกนี้อยู่ในกรงได้ ปัญหายุโรปจะหมดไปทันที
    .
    http://www.theguardian.com/…/radical-left-protests-across-g…
    Tear gas v petrol bombs: Clashes mar massive Greek protest against bailout deal — RT News
    https://www.gotoknow.org/posts/489173
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,206
    ค่าพลัง:
    +97,149
    อย่าตื่น! ผอ.เขื่อนแม่กวงยันมีน้ำผลิตประปาแน่ แม้ไม่มีฝนแม้แต่หยดเดียว โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 กรกฎาคม 2558 13:58 น. (แก้ไขล่าสุด 16 กรกฎาคม 2558 14:20 น.)

    [​IMG]

    เชียงใหม่ - ผู้อำนวยการเขื่อนแม่กวงยันมีน้ำพอผลิตประปาแน่แม้ไม่มีฝนตกแม้แต่หยดเดียว ชี้ข่าวเหลือน้ำผลิตประปาอีก 15 วันสุดมั่ว แต่ต้องเลื่อนกำหนดปล่อยน้ำให้ทำนาปีออกไปเป็นปลายเดือนนี้แทน ขณะที่ชาวนานอกเขตชลประทานต้องเจาะบาดาลลึก 30 เมตรสูบน้ำรดข้าว พร้อมภาวนาให้ฝนตก

    วันนี้ (16 ก.ค.) นายวุฒิชัย รักษาสุข ผู้อำนวยการเขื่อนแม่กวงอุดมธารา อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ เปิดเผยสถานการณ์น้ำในเขื่อนแม่กวงที่เกิดวิกฤตจากภาวะฝนทิ้งช่วงในรอบ 21 ปีว่า ขณะนี้มีปริมาณน้ำกักเก็บเหลือประมาณ 32 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 12 ยังมีน้ำคงเหลือเพื่อใช้อุปโภคบริโภคและการเกษตร 18 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งยังเพียงพอต่อการผลิตน้ำประปาที่ใช้น้ำเพียง 35,000 ลบ.ม.ต่อวัน หรือประมาณ 1 ล้าน ลบ.ม.ต่อเดือน เพื่อให้บริการในเขตพื้นที่ อ.ดอยสะเก็ด อ.สันกำแพง อ.สันทราย และบางส่วนเขต อ.เมือง แม้ไม่มีฝนตกลงมาแม้แต่หยดเดียวก็ยังมีน้ำนอนก้นอ่างสำรองไว้อีกถึง 14 ล้าน ลบ.ม. เพียงแต่ต้องขยับสถานีสูบน้ำไปอยู่กลางเขื่อน

    “กระแสข่าวที่ว่าเขื่อนแม่กวงมีน้ำกักเก็บเหลือให้ผลิตน้ำประปาได้เพียง 15 วันนั้นไม่เป็นความจริง”

    ส่วนน้ำทำการเกษตรอาจมีปัญหาต้องชะลอปล่อยน้ำทำนาปีออกไปก่อน โดยกำหนดจะเริ่มส่งน้ำเพื่อปลูกข้าวนาปีวันที่ 27 ก.ค.นี้ ครั้งละ 14 วัน และหยุด 7 วัน รวม 6 รอบเวร ไปจนถึงปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ ซึ่งเกษตรกรก็เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น

    ขณะที่ชาวนาบ้านบวกค้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ที่อยู่นอกเขตชลประทาน ต้องลงทุนขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลเพิ่มเพื่อปลูกข้าวนาปี หรือข้าวเหนียวพันธุ์สันป่าตอง 1 โดยใช้วิธีแบบนาหว่าน ซึ่งจะประหยัดน้ำมากกว่าทำนาดำ โดยสูบน้ำจากบ่อบาดาลขึ้นมาทั้งวันทั้งคืนเพื่อใช้รดต้นข้าวที่กำลังเติบโตสัปดาห์ละ 1 ครั้ง จนกว่าจะถึงฤดูเก็บเกี่ยวช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ ต้องเสียค่ากระแสไฟฟ้าในการสูบน้ำเดือนละกว่า 3 พันบาท

    นางขันเงิน ธนะคำ อายุ 57 ปี กล่าวว่า ปีนี้แล้งจัดจริงๆ จนต้องขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลเพิ่ม จากเดิมที่มี 1 บ่อ แต่น้ำไม่พอปลูกข้าว พื้นนาเริ่มแตก ต้องเจาะบ่อน้ำเพิ่มอีก 1 บ่อ และพยายามสูบน้ำจากบ่อบาดาล ลึกเกือบ 30 เมตรขึ้นมารดต้นข้าว ซึ่งขณะนี้ระดับน้ำใต้ดินยังลดลงจากภาวะภัยแล้งอีก กลางวันมีแสงแดดร้อนจัดทำให้น้ำระเหยเร็วขึ้น ทำให้ต้องสูบน้ำเข้านากันทั้งวันทั้งคืน ซึ่งปีนี้ยังมั่นใจจะผ่านพ้นวิกฤตภัยแล้งไปได้ พร้อมทั้งภาวนาให้ฝนตกตามฤดูกาลจะได้ลดต้นทุนไปได้บ้าง ซึ่งปีนี้ข้าวเหนียวพันธุ์สันป่าตอง 1 ยังราคาดี ขายได้ตันละ 9,600 บาท

     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,206
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Thanong Fanclub

    [​IMG]

    เริ่มจะดุเดือดแล้วบนท้องถนนกรุงเอเธนส์
    ในเมื่อรัฐสภาผ่านกฎหมายทาสขายประเทศให้เจ้าหนี้ ประชาชนกรีกที่มีความคาดหวังสูงต้องออกมาประท้วงเป็นธรรมดา คราวนี้เริ่มมีการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้วหน้าที่ทำการรัฐสภา ผู้ประท้วงมีการโยนระเบิดขวดใส่เจ้าหน้าที่เพราะว่าไม่พอใจกฎหมายทาส
    thanong
    16/7/2015
    Tear gas v petrol bombs: Clashes mar massive Greek protest against bailout deal — RT News
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,206
    ค่าพลัง:
    +97,149
    Thanong Fanclub

    [​IMG]

    ตั้งกองทุนซื้อเกาะที่กรีซเล่นๆกันดีกว่า
    กรีซมีเกาะ1,200 ถึง6,000แห่ง แต่ไม่รู้ว่ารัฐเป็นเจ้าของกี่เกาะกันแน่ เพราะคงเหมือนบ้านเรา ใครมือเร็วไปจับจอง หรือบุกรุกยึดเกาะเป็นของตัวเองได้ อ้างว่าอยู่มานานตั้งแต่สมัยโสกราตีส หรือพระเจ้าเอล็กซานเดอร์
    ตอนนี้รัฐบาลกรีซถังแตก ต้องพยายามขายเกาะเพื่อเอาเงินมาจ่ายหนี้ คงต้องมีการสำรวจใหม่ ว่าใครไปบุกรุกยึดครองที่ของหลวงบ้าง เหมือนที่ที่เขาใหญ่ หรือบุรีรัมย์บ้านเราหรือเปล่า?
    บริษัทเรียลเอสเตทของอังกฤษKnight Frankคาดการว่ากรีซจะเลหลังขายเกาะราคาถูกๆในอีกหลายปีข้างหน้า
    บางเกาะราคาถูก แค่3 ล้านยูโร ถูกกว่าซื้อบ้านทาวเฮ้าส์ที่ลอนดอนเสียอีก มีหลายเกาะราคา50ล้านยูโรขึ้นไป
    ลองเข้าไปดูลิงค์Businessinsider ทำลิสท์11เกาะที่น่าสนน่าซื้อ
    เศรษฐีไทยมีเงินลงขันไปซื้อเกาะที่กรีซก็ดีนะ หรือบริษัทจัดการกองทุนรวมตั้งฟันด์ Greek Island Fundเพื่อซื้อเกาะกรีซทำนิคมอาบแดดได้ ทำทัวร์ศึกม้าไม้เมืองทรอย ศึกพระเจ้าเอล็กซานเดอร์ ทัวร์สปาร์ต้า ทัวร์เพลโต้เรียนรู้ปรัชญากรีกเบื้องต้น ฯลฯ
    แจ่ม!!
    thanong
    16/7/2015
    http://www.businessinsider.com.au/greek-islands-for-sale-an…
     

แชร์หน้านี้

Loading...