ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,768
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Clima Extremo 24

    MEXICO

    น้ำท่วมในพื้นที่ ลา มาร์การิต้า รถยนต์ติดค้างหลังจากฝนตก ที่ปวยบลา ในวันที่ 11 กรกฏาคม


     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,768
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Clima Extremo 24


    MEXICO

    ดินถล่มทำให้มีผู้เสียชีวิต7 คน และบาดเจ็บ 15 คนใน Santo Tomás Chautla, Puebla ในวันที่ 10 กรกฎาคม


    ดินถล่มในตอนเช้าของวันที่ 11 กรกฎาคมเนื่องจากฝนตกในบริเวณใกล้เคียงของ Conchita ใน Santo Tomas Chautla, Puebla ที่ผู้คนกำลังเฉลิมฉลองการสำเร็จการศึกษาในคืนวันที่ 10 กรกฎาคม


     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,768
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เล็งนำไปใช้วงกว้าง! จีนประดิษฐ์เครื่องเปลี่ยน ‘ขยะเปียก’ เป็น ‘ปุ๋ยอินทรีย์’ ภายใน 1 ชม. รองรับขยะวันละ 100 ตัน
    .
    เครื่องจักรไฮโดรเทอร์มอลชนิดใหม่ที่คิดค้นโดยนักวิจัยชาวจีนสามารถเปลี่ยน “ขยะเปียก” ให้เป็นปุ๋ยได้ภายในเวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง หลังทุ่มเทศึกษาวิจัยมาเป็นเวลานานกว่า 20 ปี
    .
    อุปกรณ์ดังกล่าวสร้างขึ้นโดยคณะวิจัยของศาสตราจารย์จินฟางหมิงและมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวทง (SJTU) และได้กลายมาเป็นระบบจัดการขยะมวลชีวภาพด้วยวิธีไฮโดรเทอร์มอลแบบทำมือชิ้นแรกที่ผ่านการทดสอบเชิงอุตสาหกรรม
    .
    อุปกรณ์ชิ้นนี้มีศักยภาพจัดการขยะเปียกได้ 100 ตันต่อวันโดยไม่ส่งกลิ่นเหม็น ทั้งนี้ ขยะเปียกข้างต้นหมายถึงขยะอินทรีย์ที่มักจะมีน้ำหนักมากเนื่องจากความชื้นสูง
    .
    ขยะเปียกที่ผ่านอุปกรณ์ดังกล่าวจะถูกเปลี่ยนเป็น “น้ำขยะ” และ “กากขยะ” ซึ่งทั้ง 2 อย่างล้วนเป็นปุ๋ยคุณภาพสูง น้ำขยะสามารถใช้เป็นปุ๋ยเหลวสำหรับใช้กับธัญพืชและการเพาะเลี้ยงในน้ำ ส่วนกากขยะจะกลายเป็นกรดฮิวมิกชนิดผง ซึ่งสามารถนำไปใช้ฟื้นฟูสภาพหรือบำรุงดินและน้ำได้
    .
    อนึ่ง เซี่ยงไฮ้เริ่มดำเนินการแยกขยะภาคบังคับนับตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. เป็นต้นมา ซึ่งขยะเปียกจัดเป็น 1 ใน 4 ประเภทของขยะจากครัวเรือน และคาดว่าอุปกรณ์ที่คิดค้นขึ้นใหม่นี้จะมีการนำไปใช้เป็นวงกว้างเพื่อบำบัดขยะทั้งจากภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือน
    .
    .
    ติดตามอ่านข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://www.xinhuathai.com/
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,768
    ค่าพลัง:
    +97,150
    รอยเลื่อน
    220px-Geologic_fault_Adelaida.jpg
    รอยเลื่อยในหินดินดานใกล้กับเมือง แอดิเลด ของออสเตรเลีย

    ในทางธรณีวิทยานั้น รอยเลื่อน (อังกฤษ: fault) หรือ แนวรอยเลื่อน (อังกฤษ: fault line) เป็นรอยแตกระนาบ (planar fracture) ในหิน ที่หินด้านหนึ่งของรอยแตกนั้นเคลื่อนที่ไปบนหินอีกด้านหนึ่ง รอยเลื่อนขนาดใหญ่ในชั้นเปลือกโลกเป็นผลมาจากการเคลื่อนที่ที่แตกต่างกันหรือเฉือนกันและเขตรอยเลื่อนมีพลัง (active fault zone) เป็นตำแหน่งที่ไม่แน่นอนของการเกิดแผ่นดินไหวทั้งหลาย แผ่นดินไหวเกิดจากการปล่อยพลังงานออกมาระหว่างการเลื่อนไถลอย่างรวดเร็วไปตามรอยเลื่อน รอยเลื่อนหนึ่งๆตามแนวตะเข็บรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกของการแปรสัณฐาน (tectonic) สองแผ่นเรียกว่ารอยเลื่อนแปรสภาพขนาดใหญ่ (transform fault)

    ด้วยปรกติแล้วรอยเลื่อนมักจะไม่เกิดขึ้นเป็นรอยเลื่อนเดี่ยวอย่างชัดเจน คำว่า “เขตรอยเลื่อน” (fault zone) จึงถูกนำมาใช้เมื่อกล่าวอ้างถึงเขตที่มีการเปลี่ยนลักษณะที่ซับซ้อนที่เกิดขึ้นร่วมกับระนาบรอยเลื่อน ด้านทั้งสองของรอยเลื่อนที่ไม่วางตัวอยู่ในแนวดิ่งเรียกว่า “ผนังเพดาน” (hanging wall) และ “ผนังพื้น” (foot wall) โดยนิยามนั้นหินเพดานอยู่ด้านบนของรอยเลื่อนขณะที่หินพื้นนั้นอยู่ด้านล่างของรอยเลื่อน นิยามศัพท์เหล่านี้มาจากการทำเหมือง กล่าวคือเมื่อชาวเหมืองทำงานบนมวลสินแร่รูปทรงเป็นแผ่นเมื่อเขายืนบนหินพื้นของเขาและมีหินเพดานแขวนอยู่เหนือเขานั่นเองนะค่ะ


    กลไก
    250px-Junction_fault_0112.jpg
    การตัดกันของรอยเลื่อนได้แบ่งที่ราบสูง Allegheny และ เทือกเขา Appalachian ใน เพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา
    การเกิดและพฤติกรรมของรอยเลื่อนทั้งในรอยเลื่อนขนาดเล็กโดดๆ และภายในเขตรอยเลื่อนขนาดใหญ่ที่อธิบายได้ว่าเป็นแผ่นเทคโทนิกนั้นถูกควบคุมโดยการเคลื่อนที่สัมพัทธ์ของหินในแต่ละด้านของระนาบรอยเลื่อน

    เนื่องจากการเสียดสีและความไม่ยืดหยุ่นของหินทำให้หินไม่สามารถเลื่อนไถลไปซึ่งกันและกันได้โดยง่าย โดยที่จะมีความเค้น (stress) เกิดขึ้นในหินและเมื่อความเค้นเพิ่มขึ้นจนถึงระดับหนึ่งที่เกินจุดสูงสุดของความเครียด (strain threshold) พลังงานศักย์ที่สะสมไว้จะถูกปล่อยออกมาเป็นความเครียดซึ่งจะถูกจำกัดลงบนระนาบตามที่การเคลื่อนที่สัมพัทธ์เกิดขึ้น ที่ทำให้เกิด “รอยเลื่อน” นั่นเอง

    ความเครียดนั้นมีทั้งที่เกิดจากการสะสมตัวและที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันขึ้นอยู่กับวิทยากระแส(rheology) ของหิน โดยชั้นเปลือกโลกด้านล่างที่ยืดหยุ่นและส่วนของแมนเทิลจะค่อยๆ สะสมการเปลี่ยนลักษณะทีละน้อยผ่านการเฉือน ขณะที่เปลือกโลกด้านบนที่มีคุณสมบัติเปราะจะเกิดเป็นรอยแตกหรือปล่อยความเค้นแบบฉับพลันที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ไปตามแนวรอยเลื่อน รอยเลื่อนหนึ่งๆ ในหินที่มีลักษณะยืดหยุ่นก็สามารถปล่อยความเครียดออกมาแบบฉับพลันได้เหมือนกันเมื่ออัตราความเครียดมีมากเกินพอ พลังงานที่ถูกปล่อยออกมาโดยการปล่อยความเครียดแบบฉับพลันนั้นเป็นสาเหตุของแผ่นดินไหวซึ่งเป็นลักษณะทั่วไปอันหนึ่งที่เกิดตามแนวรอยต่อที่แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่สวนกัน (transform boundary)

    รอยแตกจุลภาคและทฤษฎี AMR
    รอยแตกจุลภาคหรือความไหวสะเทือนจุลภาคบางทีก็เข้าใจว่าเป็นลักษณะปรากฏที่เกิดขึ้นจากหินที่อยู่ภายใต้ความเค้น โดยเป็นการคลายตัวขนาดเล็กที่อาจมีพื้นที่เท่ากับจานอาหารใบหนึ่งหรือพื้นที่ขนาดเล็กด้วยการปลดปล่อยความเครียดภายใต้สภาพที่มีความเค้นสูง มันเพียงเกิดขึ้นเมื่อรอยแตกจุลภาคเพียงพอที่เชื่อมต่อกับพื้นที่เลื่อนไถลขนาดใหญ่อันหนึ่งที่เกิดจากเหตุการณ์ไหวสะเทือนหรือแผ่นดินไหวขนาดใหญ่

    ตามทฤษฎีนี้นั้น หลังจากเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ความเค้นส่วนใหญ่จะถูกปล่อยออกมาและความถี่ของการเกิดรอยแตกจุลภาคจะต่ำลงอย่างเป็นทวีคูณ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องอย่าง Accelerating Moment Release (AMR) ที่มีสมมุติฐานว่าอัตราความไหวสะเทือนมีการเร่งไปในลักษณะที่รู้สึกได้อย่างชัดเจนก่อนการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ และนี่อาจใช้เป็นเครื่องมือบ่งบอกในการทำนายการเกิดแผ่นดินไหวล่วงหน้าตั้งแต่ในระดับวันไปจนถึงระดับปีได้

    ทฤษฎีนี้กำลังมีการถูกนำไปใช้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากเพื่อทำนายการแตกของหินในเหมืองแร่และรวมถึงการประยุกต์อีกมากที่กำลังได้รับความพยายามในส่วนของรอยเลื่อนภายในหินที่เปราะ พฤติกรรมคล้ายๆกันนี้ก็ถูกสังเกตได้ในการสั่นไหวก่อนการระเบิดของภูเขาไฟด้วย


    ระยะเลื่อน ระยะเลื่อนแนวนอน และระยะเลื่อนแนวยืน

    220px-Faille_des_Causses_depuis_Bedarieux.dsc02071.cropped.jpg
    รอยเลื่อนหนึ่งใน Bédarieux ประเทศฝรั่งเศส ด้านซ้ายมือเคลื่อนที่ลงขณะที่ด้านขวามือเคลื่อนที่ขึ้น การบิดงอของชั้นหินทางขวามือดูเหมือนจะเป็นผลมาจากมีชั้นหินคดโค้งย้วย (drag folding)
    ระยะเลื่อน (slip) คือระยะการเคลื่อนที่สัมพัทธ์ของลักษณะทางธรณีวิทยาที่ปรากฏอยู่บนแต่ละด้านของระนาบรอยเลื่อนและเป็น เวกเตอร์ระยะเลื่อนอันหนึ่ง รูปแบบของระยะเลื่อนนั้นใช้ในการบอกประเภทของรอยเลื่อน ซึ่งมีความชัดเจนจากระยะเลื่อนแนวยืน (throw) ของรอยเลื่อนซึ่งเป็นการเหลื่อมกันในแนวดิ่ง ส่วนระยะเลื่อนแนวนอน (heave) จะวัดระยะเหลื่อมของรอยเลื่อนในแนวระดับ

    เวกเตอร์ของระยะเลื่อนสามารถประเมินในทางคุณภาพได้โดยการศึกษา fault bend folding อย่างเช่นชั้นหินคดโค้งย้วยของชั้นหินบนแต่ละด้านของรอยเลื่อน ทิศทางและขนาดของระยะเลื่อนแนวนอนและระยะเลื่อนแนวยืนวัดได้โดยการหาจุดตัดธรรมดาๆ บนแต่ละด้านของรอยเลื่อน ในทางปฏิบัติแล้วเป็นไปได้ที่เราจะหาทิศทางระยะเลื่อนของรอยเลื่อนและประมาณค่าเวกเตอร์ของระยะเลื่อนแนวนอนกับระยะเลื่อนแนวยืนได้


    ประเภทของรอยเลื่อน

    รอยเลื่อนทั้งหลายสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 กลุ่มตามลักษณะของระยะเลื่อน (sense of slip) รอยเลื่อนที่มีการเคลื่อนที่สัมพัทธ์ (หรือระยะเลื่อน) บนระนาบรอยเลื่อนอยู่ในแนวดิ่งจะเรียกว่า “รอยเลื่อนตามแนวมุมเท” (dip-slip fault) แต่หากว่าระยะเลื่อนอยู่ในแนวระดับจะเรียกว่า “รอยเลื่อนตามแนวระดับ” (transcurrent หรือ strike-slip fault) ส่วนรอยเลื่อนที่มีระยะเลื่อนไปตามแนวเฉียงจะเรียกว่า “รอยเลื่อนตามแนวเฉียง” (oblique-slip fault)

    สำหรับความแตกต่างในการเรียกชื่อทั้งหมดนั้น ขึ้นอยู่กับมุมเอียงเทสุทธิและลักษณะของระยะเลื่อนของรอยเลื่อนซึ่งไม่ได้พิจารณาการวางตัวในปัจจุบันที่อาจเปลี่ยนแปลงไปจากการโค้งงอหรือการเอียงระดับในระดับท้องถิ่นหรือในระดับภูมิภาคได้

    รอยเลื่อนตามแนวมุมเท
    220px-Nor_rev.png
    แสดงภาพตัดขวางของรอยเลื่อนปรกติและรอยเลื่อนย้อน
    รอยเลื่อนตามแนวมุมเท (อังกฤษ: dip-slip fault) สามารถจำแนกแยกย่อยได้เป็นชนิด “รอยเลื่อนย้อน” (reverse fault) และ “รอยเลื่อนปรกติ” (normal fault) รอยเลื่อนปรกติเกิดขึ้นเมื่อเปลือกโลกถูกดึงออกจากกันซึ่งสามารถเรียกรอยเลื่อนชนิดนี้ว่า “รอยเลื่อนที่เกิดจากการยืดหรือดึง” (extensional fault) โดยด้านผนังเพดานของรอยเลื่อนจะเคลื่อนที่ลงสัมพัทธ์กับด้านผนังพื้น มวลหินที่เคลื่อนที่ลงที่อยู่ระหว่างรอยเลื่อนปรกติสองรอยที่มีมุมเอียงเทเข้าหากันเรียกว่า “กราเบน” (graben) ส่วนมวลหินทั้งสองที่เคลื่อนที่ขึ้นตามรอยเลื่อนปรกติติดกับกราเบนดังกล่าวเรียกว่า “ฮอสต์” (horst) รอยเลื่อนปรกติมุมต่ำ (low-angle normal fault) ที่มีนัยสำคัญทางเทคโทนิกในระดับภูมิภาคที่อาจเรียกว่า detachment fault

    รอยเลื่อนย้อน (reverse fault) จะกลับกันกับรอยเลื่อนปรกติกล่าวคือ ผนังเพดานจะเคลื่อนที่ขึ้นสัมพัทธ์กับผนังพื้น รอยเลื่อนย้อนบ่งชี้ถึงมีการหดตัวลงของเปลือกโลก มุมเทของรอยเลื่อนย้อนจะมีความชันสูงมากกว่า 45 องศา

    รอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ (thrust fault) มีลักษณะการเคลื่อนที่เหมือนกันกับรอยเลื่อนย้อนแต่มีมุมเทของระนาบรอยเลื่อนจะน้อยกว่า 45 องศา รอยเลื่อนย้อนมุมต่ำทำให้เกิดลักษณะของการพัฒนาไปในแนวลาดชัน (ramp) flats และ fault bend fold รอยเลื่อนย้อนมุมต่ำก็ให้เกิดเป็นชั้นหินทบตัว (nappe) และมวลหินโดดรอยเลื่อน (klippe) ในแนวย้อนมุมต่ำ (thrust belt) ขนาดใหญ่

    ระนาบรอยเลื่อนเป็นระนาบของพื้นผิวรอยแตกของรอยเลื่อน ส่วนที่ราบของรอยเลื่อนย้อนมุมต่ำจะเรียกว่า “flats” และส่วนที่ลาดเอียงเรียกว่า “แนวลาดชัน” แบบฉบับของรอยเลื่อนย้อนมุมต่ำจะเคลื่อนอยู่ภายในหมวดหมู่เกิดเป็น flats และก่ายขึ้นไปด้วยแนวลาดชัน

    Fault-bend fold เกิดขึ้นโดยการเคลื่อนที่ของผนังเพดานบนผิวรอยเลื่อนที่ไม่ราบเรียบและเกิดร่วมสัมพันธ์กันกับทั้งรอยเลื่อนย้อนมุมต่ำและรอยเลื่อนที่เกิดจากการยืดและดึง

    รอยเลื่อนอาจกลับมามีพลังอีกครั้งในภายหลังได้ด้วยการเคลื่อนที่ในทิศทางตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่ดั้งเดิม (fault inversion) ดังนั้นรอยเลื่อนปรกติหนึ่งๆ อาจกลายเป็นรอยเลื่อนย้อนได้หรือในทางกลับกัน

    รอยเลื่อนตามแนวระดับ
    220px-San_Andreas_Fault_Aerial_View.gif
    รอยเลื่อนแซนแอนเดรอัสเป็นหนึ่งของรอยเลื่อนที่มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกา เป็นรอยเลื่อนตามแนวระดับขวารอยหนึ่งที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวแซนแฟรนซิสโกครั้งใหญ่ในปี 1906
    พื้นผิวของรอยเลื่อนตามแนวระดับ (อังกฤษ: strike-slip fault) ปรกติแล้วจะวางตัวเกือบอยู่ในแนวดิ่งและผนังพื้นจะเคลื่อนที่ไปไม่ไปทางซ้ายก็ไปทางขวาหรือไปทางด้านข้างโดยที่มีการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งเพียงเล็กน้อยมาก รอยเลื่อนตามแนวระดับ ที่มีการเคลื่อนที่ไปทางด้านซ้ายเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า รอยเลื่อน “sinistral” ขณะที่ที่มีการเคลื่อนที่ด้านข้างไปทางด้านขวาเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า รอยเลื่อน “dexstral

    220px-Strike_slip_fault.png
    ผังแสดงรอยเลื่อนตามแนวระดับสองประเภท
    ส่วนพิเศษของรอยเลื่อนตามแนวระดับคือ “รอยเลื่อนแปรสภาพขนาดใหญ่” (transform fault) ซึ่งเป็นลักษณะที่เกิดจากเพลทเทคโทนิกที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนแผ่ออกไปจากแนวศูนย์กลางอย่างเช่น เทือกเขากลางสมุทร รอยเลื่อนแปรสภาพขนาดใหญ่มักเรียกขานกันว่า “แนวแผ่นเปลือกโลกตามรอยเลื่อนแปรสภาพขนาดใหญ่” (transform plate boundary)

    รอยเลื่อนตามแนวเฉียง
    250px-RamonFault1.jpg
    รอยเลื่อนตามขอบเขตทางใต้ของ MakhteshRamon ใน Negev อิสราเอลตอนใต้
    รอยเลื่อนหนึ่งๆ ที่มีองค์ประกอบที่เป็นทั้งรอยเลื่อนปรกติและรอยเลื่อนตามแนวระดับจะเรียกว่า “รอยเลื่อนตามแนวเฉียง” (อังกฤษ: oblique-slip fault) รอยเลื่อนเกือบทั้งหมดจะมีองค์ประกอบทั้งการเลื่อนปรกติและการเลื่อนตามแนวระดับ ดังนั้นการจะนิยามให้รอยเลื่อนเป็นแบบตามแนวเฉียงนั้นต้องมีการเลื่อนทั้งตามแนวปรกติและตามแนวระดับที่มีขนาดที่วัดได้และมีนัยสำคัญ รอยเลื่อนตามแนวเฉียงบางรอยพบอยู่ในแนวเฉือนแบบ transtensional และในแนวเฉือนแบบ transpressional หรือในลักษณะอื่นที่ทิศทางของการเปลี่ยนแปลงของการแผ่ขยายตัวออกหรือการหดสั้นลงในระหว่างการเสียรูปแต่ในช่วงแรกๆที่เกิดเป็นรอยเลื่อนนั้นยังคงมีพลังอยู่

    มุมกลับ (hade) ถือเป็นมุมก้มโดยเป็นมุมระหว่างระนาบรอยเลื่อนกับระนาบแนวดิ่งที่มีแนวระดับขนานไปกับรอยเลื่อนนั้น


    หินรอยเลื่อน

    รอยเลื่อนทั้งหมดมีค่าความหนาอยู่ค่าหนึ่งที่วัดได้ที่ประกอบไปด้วยหินที่เสียรูปที่มีลักษณะเป็นไปตามระดับความลึกในเปลือกโลกที่รอยเลื่อนเหล่านั้นเกิดขึ้น ชนิดของหินเป็นผลมาจากรอยเลื่อนและการปรากฏและธรรมชาติของของไหลที่ก่อให้เกิดแร่ หินรอยเลื่อนถูกจำแนกจากเนื้อหินและกลไกลการเกิด รอยเลื่อนหนึ่งๆที่แผ่ผ่านลงไปในระดับต่างๆของธรณีภาคจะมีชนิดของหินรอยเลื่อนที่แตกต่างกันออกไปอย่างมากที่เกิดขึ้นตามพื้นผิวหน้าของมัน การเคลื่อนตัวในแนวปรกติอย่างต่อเนื่องมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดหินรอยเลื่อนในลักษณะที่แตกต่างกันไปตามระดับของชั้นเปลือกโลกด้วยมีการแปรผันในระดับของการพิมพ์ทับลงไป ผลกระทบนี้จะปรากฏชัดเจนเป็นการเฉพาะในกรณีของรอยเลื่อนแยกออก (detachment fault) และรอยเลื่อนย้อนมุมต่ำขนาดใหญ่

    ประเภทหลักๆของหินรอยเลื่อน:

    • คาตาคลาไซต์ (cataclasite) – หินรอยเลื่อนชนิดหนึ่งที่เศษหินมีการเกาะติดกันแน่นโดยพบอย่างเบาบางหรือเกิดเป็นเศษหินป่นไม่เกาะกัน โดยทั่วไปจะมีลักษณะเป็นเศษหินที่มีความเหลี่ยมคมอยู่ในเนื้อตะกอนละเอียดที่มีองค์ประกอบเหมือนกัน
    • ไมโลไนต์ (Mylonite) – หินรอยเลื่อนชนิดหนึ่งที่เศษหินมีการเกาะติดกันแน่นด้วย planar fabric ที่พัฒนาขึ้นมาอย่างดีอันเป็นผลเนื่องมาจากมีการลดลงในขนาดของเม็ดตะกอนทางเทคโทนิกและโดยทั่วไปจะเป็น porphyroclast กลมมนและเศษหินที่มีองค์ประกอบของแร่ใน matrix ที่เหมือนกัน
    • ผงรอยเลื่อน (Fault gouge) เป็นคาตาคลาไซต์เนื้อละเอียดถึงละเอียดมากที่อุดมไปด้วยเนื้อเคลย์ที่ป่นเป็นผงไม่เกาะกัน ซึ่งอาจมี planar fabric และประกอบไปด้วยเศษหินที่มองเห็นได้น้อยกว่า 30% อาจมีเศษหินอยู่ด้วย
    • ซูโดทาชีไลต์ (Pseudotachylite) – มีลักษณะเป็นวัตถุเนื้อละเอียดมากดูเป็นเนื้อแก้วปรกติปรากฏเป็นเนื้อฟลินต์สีดำ เกิดเป็นสายบางๆ หรือเป็นเนื้อประสานในหินกรวดมนหรือหินกรวดเหลี่ยมซึ่งเข้าไปในรอยแตกของหินเหย้า
    • เคลย์สเมียร์ (Clay smear) - เป็นผงรอยเลื่อนที่อุดมไปด้วยเคลย์เกิดขึ้นในการลำดับชั้นตะกอนที่มีชั้นตะกอนที่อุดมไปด้วยดินเคลย์ซึ่งถูกเฉือนและเสียรูปอย่างรุนแรงเกิดเป็นผงรอยเลื่อน
    อ้างอิง


    เชื่อมต่อภายนอกแก้ไข

    https://th.m.wikipedia.org/wiki/รอยเลื่อน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2019
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,768
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ธรณีวิทยาโครงสร้าง
    ธรณีวิทยาโครงสร้าง (Structural Geology)
    หมายถึง สาขาธรณีวิทยาแขนงหนึ่งที่ว่าด้วยลักษณะสถาปัตยกรรมและโครงสร้าง โดยการศึกษาธรณีวิทยาโครงสร้าง คือ “การศึกษาลักษณะสถาปัตยกรรมโครงสร้างของเปลือกโลก’’ เพราะการศึกษาของธรณีวิทยาโครงสร้าง หมายรวมถึงการศึกษา รูปทรงสัณฐานทางเรขาคณิต ความสมมาตร พร้อมกับความงดงาม (Elegance) ทางศิลปกรรมของโลกที่ถูกสร้างขึ้นในชั้นหิน และ/หรือในเนื้อหินชนิดต่าง ๆ

    220px-Monterey-fold.jpg
    ภาพแสดงชั้นหินคดโค้งที่พบใน Monterey Formation
    กระบวนการเปลี่ยนลักษณะของหินในเปลือกโลก มีการเกิดตลอดเวลา ทั้งนี้เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หรือดังคำกล่าวที่ว่า "โลกที่ไม่เคยหยุดนิ่ง (The Dynamic Earth) " โดยอาจเป็นไปอย่างช้า ๆ ไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า เช่น การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก หรือเป็นไปอย่างรวดเร็ว เช่น การระเบิดของภูเขาไฟ การเกิดแผ่นดินไหว เป็นต้น ดังนั้นหินในเปลือกโลกจึงมีการเปลี่ยนลักษณะไปอย่างต่อเนื่อง

    การเปลี่ยนแปลงลักษณะ (Deformation) เป็นกระบวนการหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการศึกษาธรณีวิทยาโครงสร้าง โดยถือได้ว่าเป็นกระบวนการหนึ่งที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโครงสร้างทางธรณีวิทยา โดยการเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาเป็นผลมาจากแรงที่กระทำต่อหินนั้นมีขนาดมากกว่าความแข็งแรงของกำลังรับแรงของหินที่จะรับแรงกระทำไว้ได้ (Strength) ดังนั้นเมื่อกำลังรับแรงของหินมีน้อยกว่าแรงที่มากระทำ จึงส่งผลให้หินเกิดการเปลี่ยนลักษณะอย่างถาวร โดยโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่เกิดจากการกระทำดังกล่าวนั้นสามารถจำแนกอย่างหลัก ๆ ได้ 8 โครงสร้าง คือ รอยแยก (Joint) รอยแตกเฉือน (Shear Fracture) รอยเลื่อน (Fault) ชั้นหินคดโค้ง (Fold) ริ้วขนาน (Foliation) แนวแตกเรียบ (Cleavage) โครงสร้างแนวเส้น (Lineation) และ เขตรอยเฉือน (Shear Zone)

    ในการศึกษาธรณีวิทยาโครงสร้างในหินโผล่ (Outcrop Scale) จะเริ่มพิจารณาที่ระดับที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (ตั้งแต่ขนาดมิลลิเมตรถึงขนาดหลาย ๆ เมตร) ซึ่งอาจพบว่ามีแนวรอยเลื่อน (Fault) แนวคดโค้ง (Fold) แนวแยก (Joint) แนวแตกเรียบ (Cleavage) หรือแนวขนาน (Foliation) ปรากฏให้เห็น จากนั้นเราอาจนำเอาตัวอย่างหิน (Rock Samples) ที่เราเก็บมานั้นมาศึกษาในมาตราส่วนที่เล็กลง (Down Scale) ด้วยกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic Scale) หรือกล้องกำลังขยายสูงมาก (Submicroscopic Scale) ในขนาดที่เล็กมาก 10-6 เมตร (Micron) หรือเราอาจนำเอาข้อมูลหินโผล่นั้นมาศึกษาในมาตราส่วนที่ใหญ่ขึ้น (Up Scale) ซึ่งอาจจะมีขนาดเป็นเมตรหรือเป็นกิโลเมตรได้ สำหรับการศึกษาในมาตราส่วนแบบไพศาล (Regional Scale) นั้นเรามักศึกษาจากหินโผล่หลาย ๆ จุด แล้วนำมาวิเคราะห์ผลเพื่อหาความสัมพันธ์กันในมาตราส่วนแบบไพศาล แต่เนื่องจากด้วยการศึกษาหินโผล่เพียงจุดเดียวนั้นไม่สามารถบ่งบอกสภาพธรณีวิทยาภูมิภาคได้อย่างครบถ้วน ดังนั้นในการศึกษาธรณีวิทยาโครงสร้างจึงมีความจำเป็นที่จะต้องวิเคราะห์โครงสร้างในมาตราส่วนต่าง ๆ กันและวิเคราะห์ตัวอย่างหินจากหลาย ๆ พื้นที่มาประกอบกัน เพื่อเชื่อมโยงหาการเปลี่ยนแปลงลักษณะของโครงสร้างหลัก (Major Structure) ซึ่งเป็นผลให้เราสามารถเข้าใจถึงสภาพและวิวัฒนาการการเปลี่ยนแปลงลักษณะได้มากขึ้นอีกด้วย


    พื้นฐานสำคัญของธรณีวิทยาโครงสร้าง (Fundamentals of Structural Geology)

    พื้นฐานสำคัญของธรณีวิทยาโครงสร้างมีอยู่ 3 กลุ่มใหญ่ ประกอบด้วย

    1. รอยสัมผัส (contacts)
    2. โครงสร้างปฐมภูมิ (primary structures)
    3. โครงสร้างทุติยภูมิ (secondary structures)
    220px-Pic4-1.2.jpg
    ภาพแสดงรอยสัมผัสแบบไม่ต่อเนื่อง

    รอยสัมผัส (Contacts)

    1. รอยสัมผัส เป็นขอบรอยต่อระหว่างหินสองชนิดประกอบด้วย
    2. รอยต่อแบบการตกตะกอนทับถมธรรมดา (normal depositional contacts) เป็นรอยสัมผัสที่เกิดขึ้นระหว่างการตกตะกอนของตะกอนขนาดต่าง ๆ ทำให้ได้หินที่มีขนาดของตะกอนต่างกัน เช่น ตะกอนขนาดเม็ดทราย (sand size) # ทำให้ได้หินทราย ตะกอนขนาดเม็ดทรายแป้ง (silt size) ทำให้ได้หินทรายแป้ง หรือตะกอนขนาดเม็ดดินเหนียว (clay size) ทำให้ได้หินดินดานหรือหินดินเหนียว
    3. รอยสัมผัสแบบไม่ต่อเนื่อง (unconformities) ประกอบด้วย 3 ประเภท ได้แก่ disconformity, angular unconformity, and nonconformity
    4. รอยสัมผัสของหินอัคนี (igneous contacts)
    5. รอยสัมผัสจากรอยเลื่อน (fault contacts)
    6. รอยสัมผัสจากเขตรอยเฉือน (shear zone contacts)
    โครงสร้างปฐมภูมิ (Primary Structures)

    โครงสร้างปฐมภูมิเป็นโครงสร้างที่เกิดขึ้นในช่วงที่ขณะเกิดเป็นหิน เช่น การวางชั้น (bedding) การวางชั้นเฉียงระดับ (cross-bedding) การวางชั้นหินเรียงขนาด (graded bedding) ริ้วรอยคลื่น (ripple marks) ระแหงโคลน (mud crack) รอยประทับจากเม็ดฝน (rain print) ร่องรอยสัตว์ (track and trail) รูปพิมพ์จากน้ำหนักกด (load cast) รูปพิมพ์แบบเนินร่อง (flute casts) รูปพิมพ์แบบสัน (groove cast) รอยครูดจากวัตถุ (tool marks) รอยกระทุ้ง (prod marks) รอยกลิ้ง (roll marks) รอยกระแทก (bounce marks) รอยขัดหรือรอยแปรง (brush marks) รอยกระโดด (skip marks) รอยกัดเซาะจากกระแส (scour marks) ร่องรอยซากดึกดำบรรพ์ (trace fossils) ร่องรอยจากการคลานหรือเดิน (crawling and walking trace) ร่องรอยจากการพักผ่อน (resting trace) รอยจากการขุดเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย (dwelling structures) ร่องรอยรากพืช (Rootlet) เนินทราย (sand dune) สันทราย (sand bars) โครงสร้างรูปลำน้ำ (channels) หรือ ก้อนทรงมน (nodule) โครงสร้างที่กล่าวมาทั้งหมดมักพบในหินตะกอน ส่วนหินภูเขาไฟโครงสร้างที่พบ เช่น รูพรุนในหินบะซอลต์ การเรียงตัวของเม็ดแร่ (compositional banding) อันเนื่องจากการตกผลึกที่ระดับอุณหภูมิ ความเข้มข้นต่างกันในหินอัคนี โครงสร้างรูปหมอน (pillow structure) ในหินอัคนีปะทุสู่ผิวโลกและไหลไปตามท้องน้ำ โครงสร้างแบบปฐมภูมิแสดงลักษณะโครงสร้างที่เกิดระหว่างกระบวนการเกิดเป็นหิน โดยมีผลมาจากการสิ่งแวดล้อมในขณะนั้น

    โครงสร้างทุติยภูมิ (Secondary Structures)

    โครงสร้างทุติยภูมิเป็นโครงสร้างที่ นักธรณีวิทยาโครงสร้างต้องศึกษา เป็นโครงสร้างที่เกิดจากหินถูกแรงมากระทำ และทำให้เกิดการเปลี่ยนลักษณะไปจากเดิม การแยกระหว่างโครงสร้างปฐมภูมิและทุติยภูมิ หากไม่เข้าใจโครงสร้างปฐมภูมิ อาจทำให้เกิดความสับสน อาจแบ่งแยกผิด โครงสร้างทุติยภูมิที่สำคัญ ได้แก่ รอยแยก (joint) รอยแตกเฉือน (shear fracture) รอยเลื่อน (fault) ชั้นหินคดโค้ง (fold) แนวแตกเรียบ (cleavage) ริ้วขนาน (foliation) โครงสร้างแนวเส้น (lineation) และ เขตรอยเฉือน (shear zone)


    การจัดประเภทของโครงสร้างทางธรณีวิทยา

    โครงสร้างทางธรณีวิทยา (Geological Structure) หมายถึง “ลักษณะรูปทรงเรขาคณิตที่เด่น ๆ (Geometric Feature) ที่มีรูปร่าง (Shape) รูปทรงสัณฐาน (Form) การกระจายหรือการวางตัว (Distribution) ที่สามารถบรรยายลักษณะเหล่านั้นได้” โครงสร้างทางธรณีวิทยาที่สำคัญดังที่กล่าวมาแล้ว 8 โครงสร้าง ได้แก่ รอยเลื่อน รอยแยก รอยแตกเฉือน ชั้นหินคดโค้ง แนวแตกเรียบ ริ้วขนาน โครงสร้างแนวเส้น และเขตรอยเฉือน และจากนิยามของโครงสร้างที่ได้กล่าวมาแล้ว สามารถจัดแบ่งเป็นประเภท ๆ เช่น

    การจัดแบ่งโดยพิจารณาการยึดเกาะเมื่อมีการเปลี่ยนลักษณะ (Cohesion During Deformation)

    โดยพิจารณามาตราส่วนแบบ Mesoscopic แบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่

    1. โครงสร้างการเปลี่ยนลักษณะแบบเปราะ (Brittle Deformation Structures) เป็นโครงสร้างที่สูญเสียการยึดเกาะระหว่างผิว
    2. โครงสร้างการเปลี่ยนลักษณะแบบอ่อนนิ่ม หรือพลาสติก (Ductile or Plastic Deformation Structures) เป็นโครงสร้างที่สูญเสียการยึดเกาะระหว่างผิว
    3. โครงสร้างการเปลี่ยนลักษณะแบบกึ่งเปราะ หรือ กึ่งอ่อนนิ่ม (Semi brittle or Semi ductile Deformation Structures) พบทั้งสองลักษณะคือเปราะและอ่อนนิ่มในโครงสร้างเดียวกัน
    การจัดแบ่งโดยพิจารณารูปทรงทางเรขาคณิตที่ปรากฏของโครงสร้าง (Geometry)

    การจัดแบ่งโดยพิจารณารูปทรงทางเรขาคณิตที่ปรากฏของโครงสร้าง (Geometry) แบ่งได้เป็นสองชนิดใหญ่ ๆ ได้แก่

    1. โครงสร้างแบบระนาบตรงและระนาบโค้ง (Planar and Curiviplanar Structures) ได้แก่ รอยเลื่อน รอยแยก แนวแตกเรียบ ริ้วขนาน เป็นต้น
    2. โครงสร้างแนวเส้น (Lineation Structures) ได้แก่ แนวการเรียงตัวของเม็ดแร่ รอยครูด แนวตัดกันของระนาบสองระนาบ เป็นต้น
    การจัดแบ่งโดยพิจารณาปัจจัยที่ทำให้เกิดโครงสร้าง (Geologic Significance)

    การจัดแบ่งโดยพิจารณาปัจจัยที่ทำให้เกิดโครงสร้าง (Geologic Significance) แบ่งได้เป็นสองชนิดใหญ่ ๆ ได้แก่

    1. โครงสร้างปฐมภูมิและโครงสร้างที่ไม่เกิดจากผลของกระบวนการแปรสัณฐาน (Primary and Non Tectonic Structures) ได้แก่ โครงสร้างที่เกิดพร้อมกับหิน (Primary Structures) โครงสร้างที่เกิดจากเลื่อนไถลไปตามแรงโน้มถ่วงของโลก (Local Gravity Driven Structures) โครงสร้างที่เกิดจากการปูดของโดมเกลือหรือโคลน (Local Density-Inversion Driven Structures) เนื่องจากมีน้ำหนักกดทับที่มีความแน่นสูงมากกว่า ทำให้เกลือหรือโคลนที่มีความหนาแน่นน้อยที่อยู่ข้างล่างปะทุหรือปูดขึ้นเป็นโดม หรือรูปร่างต่าง ๆ รวมทั้งโครงสร้างที่เกิดจากผลของการหายไปของแรงดัน (Pressure Release Structures)
    2. โครงสร้างที่เกิดจากผลของกระบวนการแปรสัณฐาน (Tectonic Structures) หรือโครงสร้างทุติยภูมิ (Secondary Structures) เป็นโครงสร้างที่เกิดจากแรงที่เป็นผลจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (Plate Tectonics) ธรณีวิทยาโครงสร้างเบื้องต้น
    การจัดแบ่งโดยพิจารณาจากผลของการกระจายตัวจากการเปลี่ยนลักษณะในเนื้อหิน (Distribution of Deformation in a Volume of Rock)

    การจัดแบ่งโดยพิจารณาจากผลของการกระจายตัวจากการเปลี่ยนลักษณะในเนื้อหิน (Distribution of Deformation in a Volume of Rock) ซึ่งการพิจารณาประเภทนี้ขึ้นอยู่กับมาตราส่วนที่พิจารณา กรณีแบบทะลุทะลวงหากพิจารณาหินจากหินตัวอย่างเป็นแบบทะลุทะลวง แต่หากพิจารณาจากกล้องจุลทรรศน์เป็นแบบไม่ต่อเนื่อง เป็นต้น แบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่

    1. โครงสร้างที่การเปลี่ยนลักษณะแบบต่อเนื่องทะลุทะลวงทั่วทั้งเนื้อหิน (Penetrative) เช่น แนวแตกเรียบแบบหินชนวน ริ้วขนานในหินชีสต์ หรือริ้วขนานในหินไนส์
    2. โครงสร้างแบบไม่ต่อเนื่อง เกิดเฉพาะส่วน (Discrete)
    3. โครงสร้างแบบเฉพาะที่ (Localized) จะเป็นโครงสร้างที่เป็นแบบต่อเนื่องหรือทะลุทะลวง แต่พบในบริเวณที่แคบ ๆ มีขอบเขต เช่น แนวแตกเรียบตามแนวรอยเฉือน
    การจัดแบ่งโดยพิจารณาจากผลของความเครียด (Strain Significance)

    การจัดแบ่งโดยพิจารณาจากผลของความเครียด (Strain Significance) แบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่

    1. โครงสร้างที่เป็นผลจากการหดสั้น (Contractional Structures) เช่น โครงสร้างการคดโค้ง โครงสร้างจากการเลื่อยแบบรอยเลื่อนย้อน
    2. โครงสร้างที่เป็นผลจากการยืด (Extensional Structures) เช่น โครงสร้างจากการเลื่อนแบบรอยเลื่อนปกติ
    3. โครงสร้างที่เป็นจากการเคลื่อนที่ไม่เกิดการยืดหรือหด (Strike-slip Structures) เช่น โครงสร้างจากการเลื่อนแบบรอยเลื่อนด้านข้าง (Strike-slip Faults)

    อ้างอิง


    • เพียงตา สาตรักษ์, 2546, ธรณีวิทยาโครงสร้าง, พิมพ์ครั้งที่ 2, ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 550 หน้า
    • เพียงตา สาตรักษ์, 2544, คู่มือปฏิบัติการธรณีวิทยาโครงสร้าง, ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 272 หน้า
    • Davis, G. H., and Reynolds, S. J. 1996. Structural geology of rocks and regions. 2nd ed. New York: John Willey & Sons, Inc. 776p.
    • Hatcher, R.D. 1995. Structural geology: Principles, concepts, and problems. 2nd ed. New Jersey: Prince Hall. 525p.
    • http://www.strucsolutions.com/ Monterey Formation

    แก้ไขล่าสุดเมื่อ6 ปีก่อนโดย Octahedron80

    https://th.m.wikipedia.org/wiki/ธรณีวิทยาโครงสร้าง
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,768
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ไม่ได้จบทางด้านเกี่ยวกับธรณีวิทยา หรือมีความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอะไรมาก่อน ก็ต้องศึกษาตลอดเวลาแต่เชื่อว่าไม่ยากเกินความพยายาม เรียนจบศิลป์คำนวณ ไปอ่านฟิสิกส์ เคมีเอง และไปเอนทรานซ์ได้วิศวะและเรียนแบบหืดจับจนจบมาได้ ก็เรียนรู้เองมาตลอด ทฏษฐี และความรู้อะไรอาจจะผิดประหลาดไปบ้างอย่าว่ากันน่ะครับ มาตามความเข้าใจของตนเอง
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,768
    ค่าพลัง:
    +97,150
    The Great Shift

    ข่าวร้ายเพิ่มเติม ลมสุริยะ (จากดาวไหน?!) ยังคงอยู่ในระดับสูง ยังคงกรรโชก จาก 600 ถึง 800 km ต่อวินาที!
    บางสิ่งที่แปลกประหลาดยังปรากฏอยู่ใน magnetosphere! ดูภาพแรกนี้โดยแสดงสีแดงด้านหลัง และสีน้ำเงินอยู่ข้างหน้า! มันย้อนกลับจากแนวทางที่ควรจะเป็น! ไม่ใช่ว่าสีแดงควรอยู่ในโซนด้านในเลย! นอกจากนี้ดูเหมือนว่าเราควรจะมีพายุสุริยะกับพลังงานทั้งหมดนี้ในบรรยากาศชั้นบนของเรา แต่ดัชนี KP ทำงานต่ำมากที่ 1 ถึง 2
    FB_IMG_1563012854324.jpg FB_IMG_1563012857461.jpg FB_IMG_1563012860817.jpg FB_IMG_1563012863263.jpg FB_IMG_1563012865859.jpg FB_IMG_1563012868409.jpg FB_IMG_1563012870777.jpg
    More bad news. Solar wind (from which star?!) Remains high, still gusting from 600 to 800 km per second! Some strange things still showing up in the magnetosphere! Have a look at this first image, showing red behind and blue in front! That is backward from the way it should be! Not that red should be in that inner zone at all! Plus, it seems we should be having a solar storm with all this energy inside our upper atmosphere. But KP index is running very low at 1 to 2.
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,768
    ค่าพลัง:
    +97,150
    The Great Shift

    ** คำเตือนแผ่นดินไหวของญี่ปุ่น! **
    ขนาด 6.1 ที่ความลึก 200+ กม.! คาดว่าจะเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ตื้น! นี่มาจากส่วนลึก ... ใช่ไหมก่อนพายุสุริยะ? มันเข้ามาแล้ว แต่ยังไม่ถึง! เตรียมตัว!
    FB_IMG_1563013294098.jpg
    FB_IMG_1563013296854.jpg
    **JAPAN EARTHQUAKE WARNING!**
    6.1 at 200+ km! Expect a shallower large quake! This is from the deep one ...was that right before the solar storm? It has come part way up, but not there yet! BE PREPARED!
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,768
    ค่าพลัง:
    +97,150
    The Great Shift

    ตกลง, ไม่ใช่อะไรที่ฉันคาดหวัง แต่หลังจากดูแล้วก็สมเหตุสมผล! แผ่นดินไหวในซีแอตเทิลไม่ได้แสดงบน heliplots ซึ่งหมายความว่ามันอยู่ใน ROCK ไม่ใช่แมกมาลึก นี้ไม่ดี! นั่นหมายถึงบริเวณที่ติดของแผ่น(the stuck area of the plate)กำลังแตก!
    สิ่งอื่น ๆ ที่ฉันสังเกตเห็นคือในพื้นที่อื่น ๆ แมกมากำลังเคลื่อนที่ ดูลายเซ็นเล็ก ๆ ที่แสดงอยู่ตามบริเวณ craton ทางด้านตะวันออก รัฐเทนเนสซี มิสซิสซิปปี และดูที่เท็กซัส! เกิดอะไรขึ้นที่นั่น! การเชื่อมต่อกับเฮอร์ริเคน กระแสลมวน(hurricane vortex)ที่ฉันเดิมพัน
    FB_IMG_1563013819571.jpg FB_IMG_1563013821922.jpg FB_IMG_1563013824124.jpg FB_IMG_1563013826425.jpg FB_IMG_1563013828682.jpg FB_IMG_1563013830918.jpg FB_IMG_1563013833382.jpg FB_IMG_1563013835814.jpg FB_IMG_1563013838037.jpg FB_IMG_1563013840363.jpg FB_IMG_1563013843530.jpg FB_IMG_1563013845957.jpg FB_IMG_1563013848590.jpg FB_IMG_1563013851644.jpg
    Ok, not what I expected. But after looking makes sense! The Seattle quake does NOT show on the heliplots, which means it was in the ROCK not the deep magma. This is BAD! That means the stuck area of the plate is breaking!
    Other things I notice is that in OTHER areas the magma is on the move. Look at the small signature showing along the eastern craton locations; Tennessee, Mississippi, and look at Texas! What is happening there! Connected interaction with the hurricane vortex I bet.
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,768
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Candy Bella


    ตำนาน 47 โรนิน


    47 โรนิน (47 Ronin) เป็นเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นของโรนิน 47 คน ที่แน่วแน่ในการดำรงตามวิถีแห่งซามูไร หรือบูชิโด อย่างกล้าหาญ ไม่เกรงกลัว แม้ว่าตัวจะต้องรับโทษตามกฎของบ้านเมืองก็ตาม จนกลายเป็นตำนานที่เล่าขานกันมากว่า 300 ปี


    ก่อนจะเข้าสู่เรื่องราวของ 47 โรนิน เรามาทำความเข้าใจกับวิถีชีวิตและสังคมญี่ปุ่นในยุคนั้นกันก่อน ว่าเป็นอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจความสำคัญและเหตุผลของตัวละครในเรื่องราว 47 โรนิน ได้ดีขึ้น


    #สังคมญี่ปุ่นในยุคซามูไร


    ลำดับชนชั้นในญี่ปุ่น

    ซามูไร หรือนักรบ เป็นชนชั้นที่ขึ้นมามีอำนาจปกครองในญี่ปุ่นตั้งแต่ คริสต์ศตวรรษที่ 11 ทำให้ลำดับของชนชั้นในญี่ปุ่น มีจักรพรรดิและครอบครัวอยู่สูงสุด รองลงมาเป็นโชกุน (shogun) ตามด้วยไดเมียว (daimyo) และตระกูลซามูไรใหญ่อื่นๆ


    รองลงมาอีกก็จะเป็นชาวนา ซึ่งอยู่เหนือพวกช่างฝีมือและพ่อค้า ตามลัทธิขงจื๊อ ส่วนชนชั้นต่ำสุดก็ได้แก่อาชีพอื่นๆ เช่น คนแล่เนื้อ นักแสดง เกอิชา และโสเภณี


    ผลของลำดับชนชั้นนี้ ทำให้ซามูไรกลายเป็นชนชั้นสูงที่คนทั่วไปต้องให้ความเคารพ


    โชกุน และไดเมียว

    ถึงแม้ว่าโชกุนจะอยู่ระดับต่ำกว่าจักรพรรดิ แต่จริงๆ แล้วโชกุนถืออำนาจปกครองสูงสุดของประเทศ โดยมีจักรพรรดิเป็นเหมือนเพียงประมุขในลักษณะพิธีการ


    คำว่า “โชกุน” จริงๆ แล้วแปลตรงตัวคือ “แม่ทัพ” นั่นเอง คือ หลังจากที่ทหารยึดอำนาจของประเทศ ก็ปกครองประเทศ โดยมีแม่ทัพเป็นผู้สำเร็จราชการ ผู้ที่จะได้รับตำแหน่งโชกุนก็คือหัวหน้าตระกูลซามูไรที่มีอำนาจสูงสุดในขณะนั้น


    ถัดจากตระกูลซามูไรของโชกุน ก็จะมีตระกูลซามูไรใหญ่อื่นๆ มีหัวหน้าตระกูลเรียกว่าไดเมียว (daimyo) โดยไดเมียวจะได้รับอำนาจปกครองดูแลแคว้นในส่วนต่างๆ ของประเทศ ตามที่โชกุนจัดแบ่งให้ และจะมีที่ดินที่ได้รับเป็นของตระกูล และยังมีซามูไรลูกน้องจำนวนมาก (มองว่าคล้ายๆ ตระกูลในซีรีส์ Game of Thrones ก็ได้)


    ซามูไรทุกคนจะต้องมีนาย ซึ่งสำหรับซามูไรส่วนใหญ่คือไดเมียวที่ตัวเองสังกัดอยู่นั่นเอง การไม่มีนาย ถือว่าไม่มีเกียรติ และหนึ่งในกฎของบูชิโด คือ หากซามูไรคนไหนสูญเสียนายไป ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม เช่น นายถูกปลดจากตำแหน่ง หรือตัวซามูไรเองโดนนายไล่ออก ตัวเองก็จะต้องทำเซ็ปปุกุ (ฮาราคีรี) หรือฆ่าตัวตาย เพื่อรักษาเกียรติของตน


    หากซามูไรคนไหนเสียนายไปและไม่ฆ่าตัวตาย แต่เลือกจะมีชีวิตต่อไป ก็จะเป็นซามูไรที่ไร้นาย และไร้ซึ่งเกียรติ เรียกว่าเป็นโรนิน ซึ่งก็ยังถือว่าเป็นซามูไรอยู่ แต่จะไม่ได้รับความเคารพเหมือนซามูไรทั่วไป และอาจจะเป็นที่เย้ยหยันของคนด้วย


    ตามกฎของบ้านเมืองในช่วงนั้น คนที่เป็นโรนินไม่สามารถทำอาชีพมีเกียรติอื่นๆ ได้ ประกอบกับความที่ไม่มีนาย โรนินจึงเหมือนเป็นคนที่ไม่มีอาชีพเป็นหลักแหล่ง เหมือนเป็นคนพเนจร (ทุกวันนี้คำว่า โรนิน ก็ยังใช้กันในญี่ปุ่น เพื่อเรียกคนว่างงานที่ยังหางานใหม่อยู่ หรือคนที่ไม่มีงานเป็นหลักแหล่ง) โรนินบางส่วนพอจะหางานได้ดีหน่อยคือเป็นทหารรับจ้าง เป็นบอดี้การ์ดให้พ่อค้า หรือคนร่ำรวยอื่นๆ


    ... เริ่มเรื่อง...


    ในปี 1701 ไดเมียวสองคน คือ อะซะโนะ นะงะโนะริ ไดเมียวหนุ่มประจำแคว้นอะโก และ คาเม ไดเมียวประจำแคว้นซุวาโนะ ได้รับคำสั่งให้จัดงานเลี้ยงรับรองให้กับตัวแทนของจักรพรรดิ ในขณะที่ทั้งสองประจำอยู่ที่เมืองหลวงเอโดะ (โตเกียวในปัจจุบัน)


    ทางการกำหนดให้ อะซะโนะ และคาเม ต้องได้รับการฝึกสอนในเรื่องของกิริยามารยาทที่เหมาะสมในการวางตัวกับตัวแทนจากพระราชวังก่อน โดยมี คิระ โยะชินะกะ ข้าหลวงตำแหน่งและอำนาจสูงในสังกัดของโชกุน โทะกุงะวะ สึนะโยะชิ เป็นผู้ฝึกสอน


    พูดง่ายๆ คือ อะซะโนะ กับ คาเม ต้องมาฝึกมารยาทกับ คิระ เพื่อเตรียมตัวเลี้ยงรับรองแขกจากพระราชวัง


    ... ต้นตอของหายนะ...


    คิระ (คนที่จะเป็นผู้ฝึกสอน) เมื่อได้พบกับอะซะโนะ และคาเม ก็รู้สึกไม่ชอบทั้งคู่ บางแหล่งบอกว่าเป็นเพราะทั้งสองไม่ได้เตรียมของกำนัลตามประเพณีที่ดีพอมาให้คิระ แหล่งอื่นบอกว่าเป็นเพราะคิระเป็นคนเย่อหยิ่งและเจ้าอารมณ์อยู่แล้วโดยนิสัย ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด คิระปฏิบัติกับอะซะโนะและคาเมไม่ดีนัก


    ในขณะเดียวกัน บางแหล่งบอกว่าคิระเป็นคนคดโกง ซึ่งอะซะโนะไม่ชอบเป็นอย่างมาก เพราะอะซะโนะเป็นคนเคร่งในคำสอนของขงจื๊อ


    ในตอนแรกอะซะโนะทนรับกับการปฏิบัติอย่างไม่ให้เกียรติของคิระอย่างสงบ ในขณะที่คาเมรู้สึกรับไม่ได้จนถึงขั้นคิดเตรียมจะฆ่าคิระที่ดูถูกอยู่ตลอด แต่เมื่อเหล่าที่ปรึกษาของคาเมได้ยินความคิดของคาเมที่อยากจะฆ่าคิระ ก็รีบคิดหาทางออกกัน เพื่อหลีกเลี่ยงหายนะที่จะเกิดกับนายและทั้งตระกูลถ้าหากคาเมลงมือจริง (เพราะจะต้องถูกลงโทษชิปหายกันทั้งหมด) โดยการจัดของขวัญสินบนขนาดใหญ่ให้กับคิระ หลังจากนั้นคิระจึงเริ่มปฏิบัติกับคาเมอย่างดี ซึ่งทำให้คาเมสงบลงได้


    แต่คิระก็ยังปฏิบัติกับอะซะโนะไม่ดีอยู่เช่นเดิม จนในที่สุดเมื่อคิระดูถูกอะซะโนะ โดยการเรียกอะซะโนะว่าเป็นคนบ้านนอกชั้นต่ำไร้มารยาท อะซะโนะก็อดกลั้นไม่ได้อีกต่อไป จึงชักมีดออกมาจ้วงใส่คิระ ทำให้คิระเป็นแผลที่ใบหน้า จ้วงครั้งที่สองคิระหลบได้จึงไปโดนเสาแทน จากนั้นทหารเฝ้ายามจึงมาจับทั้งสองแยกกันได้


    บาดแผลของคิระไม่ได้รุนแรงอะไร แต่เนื่องจากเหตุเกิดภายในเขตที่พักของโชกุนภายในปราสาทเอโดะ จึงถือเป็นความผิดร้ายแรง เพราะจริงๆ แล้วการใช้ความรุนแรงใดๆ แม้กระทั่งแค่ชักดาบออกจากฝัก ก็เป็นสิ่งต้องห้ามภายในเขตปราสาทเอโดะ และเนื่องจากอะซะโนะได้ชักมีดออกจากฝักภายในเขตต้องห้าม จึงต้องโทษให้ต้องฆ่าตัวตายโดยเซ็ปปุกุ


    เมื่ออะซะโนะสิ้นชีพ ทรัพย์สินและที่ดินของเขาจะต้องถูกยึดเป็นของหลวง ตระกูลก็สูญอำนาจ และซามูไรในสังกัดทั้งหมดก็ต้องเป็นโรนิน


    เมื่อ โออิชิ โยชิโอะ ซามูไรที่ปรึกษามือขวาคนหลักของอะซะโนะได้ข่าว จึงเร่งสั่งการให้ครอบครัวของอะซะโนะหนีไป ก่อนที่จะปล่อยให้ทางการยึดปราสาทของตระกูล


    เหล่าโรนินวางแผนแก้แค้น

    จากกว่าสามร้อยซามูไรในสังกัดของอะซะโนะ มีอยู่ 47 คน ที่ตัดสินใจว่าจะไม่ยอมให้นายต้องตายโดยไม่มีใครล้างแค้นให้ พวกเขาสาบานลับร่วมกันว่าจะต้องฆ่าคิระเพื่อแก้แค้นให้นายให้ได้ แม้ว่าถึงทำสำเร็จก็จะต้องถูกลงโทษอย่างรุนแรงจากทางการก็ตาม โดยมีผู้นำกลุ่มคือโออิชิ


    แต่ทางคิระนั้นมีทหารคุ้มกันอยู่อย่างแน่นหนาตลอดเวลา และเขาก็เสริมการรักษาความปลอดภัยให้กับบ้านตัวเองอย่างแน่นหนาขึ้นอีกด้วย เพราะกลัวอยู่แล้วว่าจะมีลูกน้องของอะซะโนะมาแก้แค้น พวกโรนินเห็นดังนั้นจึงรู้ว่าต้องทำให้คิระนิ่งนอนใจก่อน เพื่อลดความสงสัยของคิระและทางการที่จับตาอยู่ เหล่าโรนินจึงแยกย้ายสลายตัวกันไป ไปทำงานรับจ้างบ้าง เป็นพ่อค้าบ้าง บ้างก็ไปบวช


    สำหรับโออิชินั้น ก็ไปพักอยู่ที่เกียวโต (Kyoto) และเริ่มทำตัวสำมะเลเทเมา วันๆ เข้าแต่ร้านเหล้ากับซ่อง ให้ดูเหมือนกับว่าไม่มีความคิดจะล้างแค้นแทนนายเลย อย่างไรก็ดีคิระก็ยังกลัวอยู่ จึงส่งสายลับไปจับตาดูลูกน้องเก่าต่างๆ ของอะซะโนะ


    วันหนึ่ง โออิชิเมามาก เดินกลับบ้านแล้วก็ล้มลงหลับอยู่บนพื้นถนน พวกคนที่เดินผ่านไปผ่านมาเห็นต่างก็หัวเราะขำ ชายจากเมืองซัตสึมะคนหนึ่งเดินมาเห็นก็รู้สึกรับไม่ได้ที่คนที่เป็นซามูไรมาทำตัวแบบนี้ นอกจากจะไม่มีความกล้าหาญที่จะแก้แค้นให้นาย ยังมาทำตัวสำมะเลเทเมา จึงได้ด่าโออิชิ แล้วเตะไปที่หน้า (จริงๆ แล้วคนสามัญ แค่เอามือจับหน้าซามูไร ก็ถือว่าไม่ให้ความเคารพอย่างแรงแล้ว นี่ยังมาเตะด้วยซ้ำ) และยังถุยน้ำลายใส่


    ไม่นานหลังจากนั้น โออิชิ ก็เดินทางไปหาภรรยาที่แต่งงานกันมากว่า 20 ปี และหย่ากับเธอ เพื่อที่เธอจะได้ไม่มีอันตรายอะไรตอนหลังลงมือแก้แค้น เขาส่งภรรยาพร้อมกับลูกคนเล็กสองคนไปอยู่กับพ่อแม่ของภรรยา


    และโออิชิก็ให้ลูกชายคนโต ชิคะระ เลือกว่าจะร่วมแก้แค้นกับพ่อ หรือจะไปอยู่กับแม่ ชิคะระเลือกที่จะแก้แค้นกับพ่อ


    จากนั้น โออิชิ ก็ยังคงทำตัวสำมะเลเทเมาต่อเช่นเดิม พยายามทำตัวให้ดูไม่สมกับเป็นซามูไร เขาไปร้านชาที่มีเกอิชาบริการอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะร้านชาอิชิริกิ (Ichiriki Chaya) และยังดื่มจนเมาทุกคืน ทำตัวน่าเกลียดๆ ในที่สาธารณะด้วย อีกทั้งยังซื้อเกอิชาคนหนึ่งอีกด้วย ทั้งหมดนี้ก็เพื่อตบตาคิระ


    สายของคิระ ก็รายงานความเป็นไปทั้งหมดนี้ให้กับคิระ จนกระทั่งคิระเริ่มมั่นใจว่าตัวเองปลอดภัยจากลูกน้องเก่าของอะซะโนะแล้ว และคิดสรุปว่าพวกลูกน้องเก่าของอะซะโนะคงจะเป็นซามูไรห่วยแตกจริงๆ ไม่มีความกล้าหาญที่จะล้างแค้นให้นายแม้เวลาจะผ่านมาปีครึ่งแล้ว เมื่อเห็นว่าพวกลูกน้องเก่าของอะซะโนะไม่ได้มีพิษภัยอะไรแล้ว และด้วยความต้องการเก็บเงินสำรองเผื่อไว้สำหรับช่วงเกษียณอายุ จึงเริ่มลดปริมาณทหารคุ้มกันลง


    ถึงตอนนี้ เหล่าโรนินที่เหลือก็มารวมตัวกันในเอโดะ และอาศัยความที่แต่ละคนมีอาชีพรับจ้างทั่วไปบ้างพ่อค้าบ้าง มาเนียนศึกษาทำเลสถานที่ที่จะปฏิบัติการคือบ้านของคิระ โรนินคนหนึ่งถึงกับแต่งงานกับลูกสาวของคนที่สร้างบ้านของคิระ เพื่อที่จะได้แปลนบ้านมาดู ทางฝ่ายของโออิชิ ก็เตรียมอาวุธต่างๆ ที่จะใช้ในการโจมตี ขนไปซ่อนไว้ที่เอโดะ


    ... ลงมือปฏิบัติการ...


    เวลาผ่านไปสองปี นับจากอะซะโนะตายไป เมื่อโออิชิมั่นใจว่าคิระไม่ระวังตัวแล้ว และทุกอย่างก็พร้อม เขาจึงเดินทางออกจากเกียวโต และไปพบกับโรนินที่เหลือที่เอโดะ โรนินทั้ง 47 มาประชุมกันในสถานที่ลับ เพื่อทวนคำสาบานร่วมกัน


    ในเช้ามืดวันอังคารที่ 30 มกราคม 1703 ในสภาพลมแรงและหิมะตกหนัก โออิชิและเหล่าโรนินได้เริ่มปฏิบัติการบุกบ้านของคิระ ตามแผนที่เตรียมไว้อย่างดี พวกเขาแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งนำโดยโออิชิ บุกเข้าที่ประตูหน้า ส่วนอีกกลุ่มนำโดยลูกชายคือ ชิคะระ บุกเข้าจากทางประตูหลัง โดยมีสัญญาณคือ ถ้ามีเสียงกลอง แปลว่าให้เริ่มบุกพร้อมกัน ส่วนเสียงนกหวีด แปลว่าได้ตัวคิระแล้ว


    เมื่อคิระตาย พวกเขาวางแผนที่จะตัดหัว และเอาไปวางเป็นของสักการะให้กับหลุมศพของนาย จากนั้นก็จะเข้ามอบตัวเพื่อรอรับคำตัดสินประหารที่คาดว่าจะได้รับ โดยทั้งหมดนี้ตกลงกันไว้ตอนกินมื้อค่ำมื้อสุดท้ายด้วยกันในคืนก่อนหน้า โดยโออิชิก็ยังได้กำชับอีกว่าให้ระวังและไว้ชีวิตผู้หญิงและเด็กด้วย (ซึ่งจริงๆ ตามกฎบูชิโด ไม่ได้กำหนดไว้ว่าจำเป็นต้องเมตตากับฝ่ายศัตรูที่ไม่ได้เป็นนักรบด้วย)


    ในเช้ามืดวันนั้น ก่อนเริ่มปฏิบัติการ โออิชิส่งคนไปบอกบ้านใกล้เรือนเคียง ว่าพวกเขาไม่ได้เป็นโจร แต่เป็นลูกน้องที่มาล้างแค้นแทนนาย และจะไม่ทำอันตรายกับคนอื่น พวกเพื่อนบ้านที่ต่างก็เกลียดคิระอยู่แล้ว ได้ยินก็โล่งใจ และไม่ได้ทำอะไรเป็นการขัดขวางเหล่าโรนิน


    หลังจากให้พลธนูบางส่วนประจำอยู่บนหลังคาบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้ใครหนีออกไปแจ้งข่าวขอความช่วยเหลือได้ โออิชิจึงสั่งให้ตีกลองส่งสัญญาณเริ่มบุก ปรากฏว่ามีทหารลูกน้องคิระสิบนาย มาต้านไว้ที่ประตูหน้า แต่ทางประตูหลัง กลุ่มของชิคะระ สามารถบุกเข้าได้เลย


    คิระ ด้วยความตกใจกลัว ก็ไปหลบอยู่ในตู้เสื้อผ้า พร้อมกับภรรยาและสาวรับใช้ ส่วนทหารลูกน้องที่เหลือซึ่งหลับอยู่ในเรือนด้านนอก ก็พยายามมาที่เรือนใหญ่เพื่อมาช่วยนาย


    หลังจากเอาชนะทหารที่ป้องกันอยู่ที่ประตูหน้าได้ กลุ่มของโออิชิ ก็เข้ามาสมทบกับกลุ่มของชิคะระลูกชาย และสู้กับทหารที่พยายามบุกเข้ามา ทหารบางส่วนเห็นท่าไม่ดีพยายามส่งคนออกไปขอความช่วยเหลือ แต่ก็ถูกนักธนูที่โออิชิเตรียมไว้เก็บหมด


    ... หาตัวคิระ...


    ในที่สุด หลังจากสู้กันอย่างดุเดือด ก็สามารถจัดการทหารคนสุดท้ายของคิระได้ แต่คิระกลับหายไปอย่างไม่พบร่องรอย พวกเขาก็เริ่มค้นหาในตัวบ้าน แต่ก็พบเพียงผู้หญิงกับเด็กร้องไห้กันอยู่ ต่างก็เริ่มรู้สึกสิ้นหวังนิดๆ แต่โออิชิไปตรวจเตียงของคิระและพบว่ามันยังอุ่นอยู่ แสดงว่าคิระต้องอยู่ไม่ไกลแน่ๆ


    ในการค้นหาครั้งใหม่ โรนินกลุ่มหนึ่งก็พบทางเข้าลานลับ ซึ่งในลานมีกระท่อมเล็กๆ สำหรับเก็บถ่านและฟืน ในนั้นมีทหารอีกสองคน ซึ่งก็ถูกจัดการไป และยังพบผู้ชายอีกคนหนึ่งซึ่งพยายามใช้มีดสู้ แต่ก็ถูกปลดอาวุธไปได้โดยง่าย


    ผู้ชายคนนั้นไม่ยอมบอกตัวเองว่าเป็นใคร แต่ทีมค้นหาที่ไปเจอคิดว่าต้องเป็นคิระแน่ๆ จึงเป่านกหวีด


    เหล่าโรนินมารวมตัวกัน พอโออิชิเห็นหน้าผู้ชายคนนั้นก็จำได้ว่าคือคิระถูกต้องแล้ว แถมที่หน้าชายคนนั้นยังมีลอยแผลเป็นจากแผลที่อะซะโนะทำไว้อีกต่างหากด้วย


    เมื่อนั้นโออิชิ ด้วยความคำนึงถึงยศอันสูงของคิระ จึงคุกเข่าต่อหน้าคิระ และกล่าวบอกด้วยความเคารพว่า พวกของตนเป็นลูกน้องของอะซะโนะ มาเพื่อล้างแค้นให้นาย ตามที่ซามูไรที่แท้จริงควรจะทำ แล้วโออิชิก็กล่าวเชิญคิระ ให้ท่านได้ตายอย่างซามูไรที่แท้จริงควร นั่นคือโดยการฆ่าตัวตาย โดยโออิชิบอกว่าตนจะทำหน้าที่ “ไคชะคุนิน” ให้ (คือคนที่ทำหน้าที่ตัดหัวคนที่ทำเซ็ปปุกุ เพื่อให้คนทำเซ็ปปุกุไม่ต้องตายอย่างช้าๆ อย่างอนาถ) และยังให้มีดเล่มเดียวกับที่อะซะโนะใช้ฆ่าตัวตายเพื่อใช้อีกด้วย


    แต่ปรากฏว่า ไม่ว่าพวกเขาจะพูดเชื้อเชิญอย่างไร คิระก็ยังเงียบไม่พูดจา นั่งนิ่งกลัวจนตัวสั่นอยู่ ในที่สุดเมื่อเห็นว่าไร้ประโยชน์ที่จะถามแล้ว โออิชิจึงใช้มีดเล่มเดิมนั้นตัดหัวคิระ


    เมื่อเสร็จภารกิจ พวกเขาก็ดับไฟและตะเกียงต่างๆ ในบ้านทั้งหมด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้บ้าน อันจะสร้างความเดือดร้อนเสียหายให้กับเพื่อนบ้านได้ แล้วก็เดินทางออกจากบ้านโดยเอาหัวของคิระไปด้วย


    หนึ่งในโรนิน คือ ทิระสะกะ (Tereska) ถูกสั่งให้เดินทางไปยังอะโก เพื่อไปแจ้งข่าวว่าการแก้แค้นสำเร็จแล้ว (บางแหล่งบอกว่าจริงๆ แล้วทิระสะกะ หนีไป แต่ส่วนใหญ่บอกว่าถูกสั่งให้ไปแจ้งข่าว)


    ... หลังปฏิบัติการ...


    กว่าจะปฏิบัติการเสร็จ ก็เริ่มสว่างแล้ว พวกโรนินจึงเร่งเดินทางนำหัวของคิระไปที่หลุมฝังศพของอะซะโนะในวัดเซนงะกุจิ ซึ่งอยู่ในเอโดะ โดยเดินเท้าเป็นระยะทางกว่า 10 กิโลเมตรข้ามเมือง ซึ่งทำให้ชาวบ้านแตกตื่นกันพอควร โดยข่าวของการแก้แค้นกระจายออกไปอย่างรวดเร็ว ระหว่างทางจึงมีแต่คนมาสรรเสริญเหล่าโรนิน และเสนอน้ำ เครื่องดื่ม ที่พัก ให้


    เมื่อถึงวัด โรนินที่เหลือยู่ทั้ง 46 ก็ทำการล้างและทำความสะอาดหัวของคิระ แล้ววางมัน พร้อมกับมีดเล่มเดิม ไว้ต่อหน้าหลุมศพของอะซะโนะ พวกเขาสวดมนต์ที่วัด และมอบเงินทั้งหมดที่มีอยู่ให้กับเจ้าอาวาส และขอให้ท่านช่วยฝังศพของตน และสวดมนต์ให้ตน จากนั้นพวกเขาก็เข้ามอบตัวกับทางการ


    ทางการในเอโดะ ก็ไม่รู้ว่าจะทำไงดี เหล่าโรนินได้ปฏิบัติตนตามหลักของบูชิโด โดยการแก้แค้นแทนนายที่ตายไป แต่พวกเขาก็ได้ทำผิดกฎหมายของบ้านเมือง ในขณะเดียวกันทางโชกุนเอง ก็ได้รับคำร้องจำนวนมากจากประชาชนที่ชื่นชมเหล่าโรนิน


    ในที่สุดทางการก็สั่งว่าเหล่าโรนินต้องถูกโทษตายในความผิดฆ่าคิระ แต่โชกุนก็หาทางออกให้โดยการสั่งให้โรนินทั้ง 46 ทำเซ็ปปุกุฆ่าตัวตายอย่างมีเกียรติ แทนที่จะต้องถูกประหารเยี่ยงอาชญากรที่ไร้เกียรติ


    ศพของโรนินทั้ง 46 ได้ถูกนำมาฝังไว้ในวัดเซนงะกุจิ หน้าหลุมฝั่งศพของนายของพวกเขา


    ส่วนทิระสะกะ ที่ถูกส่งไปแจ้งข่าวนั้น เมื่อกลับมา ทางโชกุนตัดสินยกโทษให้ บ้างว่าด้วยความยังอายุน้อย โดยเขาได้ดำเนินชีวิตต่อไปจนมีอายุถึง 87 จึงตาย แล้วก็ถูกนำศพมาฝังไว้กับเพื่อนร่วมสาบาน


    ที่วัดเซนงะกุจิ ก็ยังมีเสื้อผ้าและอาวุธต่างๆ ที่พวกโรนินใช้ในวันที่บุกบ้านคิระ เก็บแสดงอยู่ รวมถึงกลองและนกหวีดด้วย ส่วนหลุมฝังศพของพวกเขาก็กลายเป็นสถานที่ที่คนมากราบไหว้บูชาเป็นจำนวนมาก หนึ่งในคนที่มากราบไหว้คือชายจากเมืองซัตสึมะที่เคยเตะหน้า ด่า และถ่มน้ำลายใส่โออิชิ ตอนที่โออิชินอนอยู่บนพื้นถนนที่เกียวโต ชายผู้นั้นคุกเข่าต่อหน้าหลุมฝังศพของโออิชิ และกล่าวอ้อนวอนขออภัยกับการกระทำของตน และที่ตนไปคิดว่าโออิชิไม่ใช่ซามูไรที่แท้จริง จากนั้นเขาก็ฆ่าตัวตาย แล้วก็ถูกฝังไว้ข้างๆ ศพของเหล่าโรนิน


    #การตั้งขึ้นใหม่ของตระกูลอะซะโนะ


    ถึงแม้ว่าการแก้แค้นครั้งนี้ มักจะมองกันว่าเป็นการกระทำด้วยความจงรักภักดีต่อนาย แต่ก็ยังมีเป้าหมายอีกอย่าง คือการกู้ชื่อเสียงและอำนาจของตระกูลอะซะโนะ และการหางานให้เหล่าซามูไรลูกน้องเก่าของอะซะโนะ ซึ่งในหลายร้อยคนที่ต้องกลายเป็นโรนินตอนที่อะซะโนะตายก็มีจำนวนมากที่ยังไม่สามารถหางานทำได้ การแก้แค้นของ 47 โรนิน ช่วยกู้ชื่อเสียงของตระกูล และโรนินที่เดิมหางานไม่ได้ ก็ได้งานกันทันที


    ในภายหลัง น้องชายของ อะซะโนะ ก็ได้รับอนุญาตจากโชกุนให้ตั้งตระกูลกลับขึ้นมาได้ แต่ที่ดินในการดูแลของตระกูลถูกลดให้เหลือหนึ่งในสิบของที่เคยมี


    เป็นอันจบเรื่องราวของ 47 โรนิน ที่เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงและมีชื่อเสียงมากในประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น จนถูกนำมาทำเป็นละครเวทีในญี่ปุ่น เป็นหนังในญี่ปุ่น จนกระทั่งเป็นหนัง Hollywood 47 Ronin (ซึ่งเนื้อเรื่องพิศดารแฟนตาซีเกินจากในประวัติศาสตร์เป็นอย่างมาก)





    ที่มา :http://jaakjai.com/chanon/stories/3


     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,768
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Clima Extremo 24

    สหรัฐอเมริกา
    ฝนตกหนักเนื่องจากพายุรุนแรงในสตรีทสโบโร รัฐโอไฮโอ เมื่อวานนี้วันที่ 11 กรกฎาคม


     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,768
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Clima Extremo 24

    สหรัฐอเมริกา

    พายุรุนแรงทำให้เกิดลมแรงและฝนตกกระทบ Streetsboro, Ohio, เมื่อวาน 11 กรกฎาคม


     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,768
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Clima Extremo 24

    สหรัฐอเมริกา

    การพลิกคว่ำรถบรรทุกคันหนึ่งที่บรรทุกรถยนต์ บนทางหลวงหลังจากเกิดพายุลมแรงเมื่อวานนี้ที่ Streetsboro โอไฮโอ วันที่ 11 กรกฎาคม

     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,768
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Clima Extremo 24

    MIDDLE EAST
    พายุทรายหนาแน่นใน Jazan, ซาอุดิอาระเบีย, วันที่ 12 กรกฎาคม


     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,768
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Clima Extremo 24

    MIDDLE EAST

    พายุทรายก่อให้เกิดอุบัติเหตุครั้งใหญ่ กับรถยนต์ 25 คันในเมือง Jazan ประเทศซาอุดิอาระเบีย ในวันที่ 12 กรกฎาคม


     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,768
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Clima Extremo 24

    เยอรมนี
    ทอร์นาโดใน mannheim ในวันที่ 12 กรกฎาคม

     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,768
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Clima Extremo 24

    เยอรมนี

    พายุลูกเห็บและฝนตกหนักใน Wolf Hagen, Hesse, วันที่ 12 กรกฎาคม


     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,768
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Clima Extremo 24

    เยอรมนี
    ลูกเห็บตกใน Wolf Hagen, 12 กรกฎาคม

     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,768
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Clima Extremo 24

    อุรุกวัย
    พายุลูกเห็บใน Treinta y Tres วันนี้ 12 กรกฎาคม


     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,768
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Clima Extremo 24

    อุรุกวัย

    พายุลูกเห็บเกิดขึ้นในบ่ายวันนี้ ที่ Treinta y Tres วันนี้วันที่ 12 กรกฎาคม

     

แชร์หน้านี้

Loading...