ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Manuel Barrera

    IMG_6524.JPG IMG_6525.JPG IMG_6526.JPG IMG_6527.JPG
    #สึนามิใน #อินโดนีเซีย: 222 ตายและบาดเจ็บ 843 คน (23 ธันวาคม 2018)


     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    แผ่นดินไหวขนาด 6.2
    42C04881-5833-4BDC-9040-824D69E7E698.jpeg
    จุดศูนย์กลาง : Tonga Islands

    วันที่-เวลา (ประเทศไทย)

    : 24 ธันวาคม 2561 06:08 น.

    วันที่ - เวลา (UTC)

    : 23 ธันวาคม 2561 23:08 Z.

    ละติจูด, ลองจิจูด

    : -20.26, -175.02

    ลึกจากผิวดิน

    : 127 กิโลเมตร

    https://www.tmd.go.th/earthquakeglob.php?id=14218
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    กลุ่มประชาสัมพันธ์กรมอุตุนิยมวิทยา

    IMG_6530.JPG
    #เหตุการณ์แผ่นดินถล่มใต้ทะเล

    ที่ตอนใต้ของเกาะสุมาตรา


    23 ธันวาคม 2561

    เวลา 04.46 (เวลาในประเทศไทย)


     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์


    อัพเดทสถานการณ์ในซีเรียล่าสุด:


    ผมเคยแนะนำให้ทุกท่านที่ติดตามเพจนี้เกาะติดสถานการณ์กลุ่มติดอาวุธชาวเคิร์ดในซีเรียหลังจากอเมริกาประกาศถอนทหารออกไปจากซีเรีย มีข่าวคืบหน้าดังนี้ครับ


    ๑.ตุรกีออกมาประกาศว่าจะบดขยี้กลุ่มติดอาวุธชาวเคิร์ดให้เป็นเถ้าถ่านให้หมด (https://theregion.org/article/13298...IVScDvL5XwjaMfVimGDnqzHv8SRRh1hS8KAV8geyCaUMg)

    ๒.โนอัม ชอมสกี้ไม่เห็นด้วยที่อเมริกาจะถอนทหารออกจากซีเรีย ยิวผู้นี้เห็นว่ากองทัพอเมริกันควรจะอยู่ช่วยกลุ่มติดอาวุธชาวเคิร์ดแบ่งแยกดินแดนซีเรียต่อไป (http://www.kurdistan24.net/en/news/...UFWvOZdWt2pRTdzblbPbPaBpL3GSwDJf8VAkHETqyWiQ8) แสดงให้เห็นธาตุแท้ของยิวผู้นี้อีกคน

    ๓.หลังจากตุรกีประกาศกวาดล้างกลุ่มติดอาวุธชาวเคิร์ด ตอนนี้ กลุ่มติดอาวุธชาวเคิร์ดก็ไม่มีทางเลือกมาก ถ้าขืนรบกับตุรกีก็จะถูกกองทัพตุรกีถล่มราบคาบเป็นหน้ากลอง พวกนี้จึงพยายามวิ่งเข้าหารัฐบาลซีเรียและเปิดทางให้กองทัพรัฐบาลซีเรียเข้ามาดูแล

    พวกตนแทน ดังนั้น กลุ่มติดอาวุธชาวเคิร์ดจึงพยายามวิ่งเข้าหารัฐบาลซีเรียให้ช่วยคุ้มครองพวกตน แถมโฆษกของกลุ่มติดอาวุธกลุ่มนี้ ยังกล่าวทำนองเชื้อเชิญให้รัฐบาลซีเรียส่งทหารเข้ายึดเมืองแมนบิชกลับคืน แทนที่จะให้ตุรกียึด (https://southfront.org/sdf-spokespe...63cxo-zh4DcmdEIqDgqnM6sHu-aorkYPQT_-RaURs1mPM) ขณะนี้ กลุ่มติดอาวุธชาวเคิร์ดก็กำลังเจรจากับรัฐบาลซีเรียอยู่

    ๔.ระหว่างที่อเมริกากำลังเริ่มถอนทหารออกไปจากซีเรีย ดาวเทียมของรัสเซียก็จับได้ว่ามีรถบรรทุกน้ำมันเถื่อน ปล้นน้ำมันในซีเรียแล้วพากันแล่นไปเข้าประเทศตุรกีและอิรัค โดยที่รัฐบาลอิรัค ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นด้วย (https://www.almasdarnews.com/articl...s-transporting-syrian-oil-to-iraq-and-turkey/)

    ๕.ระหว่างที่ประกาศว่าจะถอนทหาร อเมริกาก็ส่งเครื่องบินไปทิ้งระเบิดใส่บ้านเรือนประชาชนซีเรียด้านภาคตะวันออก สังหารคนซีเรียมากกว่า ๒๐ คน รวมทั้งเด็กด้วย (https://www.presstv.com/Detail/2018...S0Si8R7aOyFa7H-q1NhTLzUZhK7bScsnG4MCyIe1_5o8I)


    ๖.แหล่งข่าวบางแห่งบอกว่าแท้จริงแล้ว อเมริกาจะส่งทหารทั่วๆ ไปของอเมริกากลับบ้าน แต่จะคงหน่วยรบพิเศษเอาไว้ที่ซีเรียแทน (https://southfront.org/us-style-tro...UqRpmZgA5V7hliNsuoUCTYf4zy4VmOKkhmVAzma9ib-gk)


    ๗.ฝ่ายที่จนตรอกจริงๆ ก็คือกลุ่มติดอาวุธชาวเคิร์ดซึ่งอุดมการณ์ไม่แน่นอน พออเมริกาเข้าหา พร้อมสัญญาว่าจะช่วยรบแบ่งดินแดนให้ปกครองในซีเรีย กลุ่มติดอาวุธชาวเคิร์ดก็ปรี่ไปเข้ากับอเมริกา พอกองทัพอเมริกาถอนตัว ก็จะวิ่งแจ้นเข้าซบรัฐบาลซีเรียตามเดิม พูดได้ว่าตอนนี้ กลุ่มติดอาวุธชาวเคิร์ดมีทางเลือก ๒ ทางเท่านั้น คือ ก.สู้กับตุรกี โดนกองทัพตุรกีถล่มเป็นเถ้าถ่าน ข.วิ่งซบกองทัพซีเรีย ให้กองทัพซีเรียคุ้มกะลาหัวแทน (https://ahtribune.com/world/north-a...v6qtA6u5n45Iz6WA8lbnddMskuqvzRHteRYNVSrHoC62U)

    ๘.ระหว่างที่สถานการณ์กำลังเข้าโค้งสุดท้ายแล้ว สื่อได้รายงานว่า

    ทหารอเมริกันและฝรั่งเศสกำลังปล้นชิ้นส่วนโบราณคดีจากซีเรียเพื่อนำกลับไปยังประเทศตนเอง เหมือนที่เคยทำมาแล้วในหลายๆ ประเทศ (https://maraya-news.blogspot.com/20...b0cY1ymfYBoMvT6r9qzh2HbFFGY4ZaS09LteG629wWAuk)

    ติดตามกันต่อไปครับ

    ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๑

    หมายเหตุ: ๑.ถ้าจะแชร์ ไม่ต้องขออนุญาตแต่โปรดอ้างที่มาให้ชัดเจน ๒.หากจะวิจารณ์โปรดใช้คำสุภาพ สองข้อนี้สำคัญเพื่อป้องกันมิให้ผิดพรบ.คอมพิวเตอร์ ๓.โปรดสะกดใช้คำให้ถูกต้องตาม *หลักภาษาไทย* ด้วย ถ้าสะกดผิดจะลบออกทันที ๔.ข้อความวิจารณ์ที่ *หยาบ* และ *สะกดผิด* จะลบออกทุกครั้งที่เห็น ๕.ผู้ที่สะกดผิดบ่อยครั้งหรือใช้คำหยาบบ่อยครั้ง จะบล็อคอย่างถาวร ๖.คนที่ใหม่ต่อการเมืองระหว่างประเทศ ควรจะอ่านข่าวจากเพจนี้ย้อนหลังไป ๓ เดือนเป็นอย่างน้อยก่อนจะวิจารณ์ใดๆ

    https://theregion.org/article/13298...IVScDvL5XwjaMfVimGDnqzHv8SRRh1hS8KAV8geyCaUMg


     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ทุ่มงบประมาณ เพื่อให้เกิดการใช้เงินในภาครัฐอย่างมหาศาล แต่การค้าขายกลับเงียบมาก (ขายไม่ดี) จีดีพี ก็ต้องขยายตัวไม่แปลก แต่สภาพเศรษฐกิจจริงในระดับล่างๆ และกลางๆ ไม่ดี

    แต่หันมาดูสภาวะวันนี้ จีดีพีขยายตัวใกล้ๆ 4% ตั้งแต่ปีที่แล้วจนถึงปีนี้ และปีหน้าเราก็คาดว่าจะอยู่ที่ 4.2% อาจจะบวกลบเล็กน้อยๆ ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจโลกด้วย แต่ถือว่าอยู่ใกล้กับศักยภาพของระบบเศรษฐกิจ ดังนั้นการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้ไม่ควรจะกระทบกับการขยายตัวของเศรษฐกิจ

    Bank of Thailand Scholarship Students

    IMG_6538.JPG
    (Dec 23) “วิรไท สันติประภพ” ผู้ว่าธปท. แจงเหตุขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ยึด Data Dependent ประเมินสถานการณ์ – ความเสี่ยง: เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2561 ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้จัดแถลงข่าวนโยบายประจำปี ที่สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้กล่าวถึงกรอบการดำเนินนโยบายการเงินของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และธปท.ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลเสถียรภาพระบบการเงินของประเทศโดยตรง สืบเนื่องจากวันที่ 19 ธันวาคม 2561 ภายหลังการประชุมกนง.มีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จาก 1.5% เป็น 1.75% และเป็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 7 ปี 4 เดือนของประเทศไทย และเป็นการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกภายหลังจากคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.5% มาเป็นนานกว่า 3 ปีครึ่ง และนำมาซึ่งความกังวลของสาธารณชนว่าจะกระทบต่อต้นทุนทางการเงินหรือระบบเศรษฐกิจในอนาคตอย่างไร


    เน้นรักษาเสถียรภาพการเงิน หลังเศรษฐกิจฟื้นตามศักยภาพ


    ดร.วิรไท เริ่มกล่าวว่าเรื่องนโยบายการเงินต้องเริ่มจากว่าโลกนี้ไม่มีอะไรได้มาฟรี ในหลักเศรษฐศาสตร์ทั่วไปทุกนโยบายมีต้นทุนของมัน มีทั้งข้อดีข้อเสีย ดังนั้นการดำเนินนโยบายการเงินจึงต้องชั่งน้ำหนักวัตถุประสงค์ต่างๆและที่สำคัญอีกด้านคือต้องชั่งน้ำหนักผลระยะสั้นและระยะยาวด้วย หน้าที่อันหนึ่งของธนาคารกลางคือการรักษาเสถียรภาพระบบเศรษฐกิจ ซึ่งต้องมองไปในระยะยาว มองข้ามวัฎจักรเศรษฐกิจในช่วงสั้นๆ เพื่อให้เห็นที่มาที่ไปวิธีคิดของธนาคารกลางอาจจะให้เวลาอธิบายสักหน่อย


    ถ้ามองย้อนกลับไปในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยนโยบายต่ำสุดคือ 1.25% เราใช้อัตรานี้ในปี 2552 หลังจากวิกฤตการเงินโลกในปี 2551 ปีนั้นเศรษฐกิจไทยติดลบ 0.9% เศรษฐกิจโลกติดลบ เกิดวิกฤตสถาบันการเงินขึ้นทั่วโลก ดอกเบี้ยนโยบายก็ลดลงไป 1.25% ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ หลังจากนั้นจึงปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายภายหลังเศรษฐกิจโลกค่อยๆมีการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ประเทศไทยเองผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายเรื่อง เรื่องการเมือง เรื่องน้ำท่วมใหญ่ จนเมือ 3 ปีที่แล้วเราลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปที่ 1.5% ก่อนที่จะปรับขึ้นไปสัปดาห์ที่ผ่านมา


    แต่มองย้อนไป 3 ปีที่แล้วเป็นปีที่มีวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศ ไม่มีรัฐบาลอยู่หลายเดือน มีเสื้อเหลือเสื้อแดง จนนำมาสู่รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รัฐบาลเข้ามาตอนแรกก็ไม่ได้มีงบประมาณด้วยซ้ำ ต้องมาเร่งทำพระราชบัญญัติงบประมาณ มาตรการการคลังทั้งหมดหยุดชะงัก วันนั้นกนง.เห็นว่าจำเป็นที่จะต้องเข้าไปช่วยดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจในช่วงสั้นและลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงไปที่ 1.5% ในช่วงต้นปี 2558 ตอนนั้นจีดีพีทั้งปี 2557 อยู่ที่ประมาณ 0.7% เห็นชัดเจนว่าในช่วงที่ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับต่ำถึง 1.5% เทียบกับช่วงที่ดอกเบี้ยนโยบายเราต่ำสุดที่ 1.25% วันนั้นเศรษฐกิจไทยเติบโตต่ำกว่าศักยภาพทางเศรษฐกิจมากเหมือนกัน แล้วนโยบายอื่นไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะว่ามีปัญหาวิกฤตการทางการเมือง มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องการปกครอง แต่หันมาดูสภาวะวันนี้ จีดีพีขยายตัวใกล้ๆ 4% ตั้งแต่ปีที่แล้วจนถึงปีนี้ และปีหน้าเราก็คาดว่าจะอยู่ที่ 4.2% อาจจะบวกลบเล็กน้อยๆ ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจโลกด้วย แต่ถือว่าอยู่ใกล้กับศักยภาพของระบบเศรษฐกิจ ดังนั้นการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้ไม่ควรจะกระทบกับการขยายตัวของเศรษฐกิจ


    คำถามต่อไปคือ การใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายต่ำต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีต้นทุนหรือผลข้างเคียงอะไรบ้าง ที่กล่าวตอนต้นว่าไม่มีอะไรฟรีและเราต้องชั่งน้ำหนัก ผลข้างเคียงประการแรกคือเสถียรภาพของระบบการเงิน อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำต่อเนื่องเป็นเวลานานทำให้เกิดพฤติกรรมที่แสวงหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น โดยประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควร เป็นจุดเปราะบางที่อยู่ในระบบการเงิน เรื่องหนี้ก็เป็นปัญหาใหญ่ วันนี้ดูหนี้ทั้งโลกต่อจีดีพีสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของทั้งโลก ไม่ว่าจะเป็นหนี้รัฐ เอกชน หนี้บริษัท หนี้ครัวเรือน ในประเทศไทยมีปัญหาหนี้ภาคครัวเรือน


    ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผลตอบแทนจากการออมต่ำมาก ไม่มีแรงจูงใจให้คนออม แล้วต้นทุนของเงินถูกมาก กิจกรรมของการส่งเสริมให้คนเป็นหนี้ เอื้อในด้านนั้นมากกว่า อัตราดอกเบี้ยเป็นราคาของเงินออมกับเงินกู้ ถ้าคิดแบบนั้นก็ได้ เหมือนเป็นของราคาสินค้าที่เรียกว่าทุน ถ้าดอกเบี้ยถูกไปก็เป็นแรงจูงใจให้คนไปกู้มากขึ้นแล้วก็ออมน้อยลง ดังนั้นดอกเบี้ยจะต้องดูแลทั้งผู้กู้และผู้ออม แต่เราไม่ค่อยได้ยินเสียงผู้ออมบ่นเท่าไหร่ มีประปราย แต่เสียงที่มาหนักคือผู้กู้เพราะเป็นรายใหญ่ของประเทศไทย เสียงที่เป็นคนตัวเล็กตัวน้อยกระจายตัวหล่นหายไป เสียงของคนที่รู้สึกว่าเขามีผลประโยชน์มากกว่า ชัดเจนกว่า เสียงก็จะดัง แต่หน้าที่ของธปท.เวลามองไปในระยะยาว มองวัฎจักรเศรษฐกิจ มองปัญหาด้านโครงสร้าง ต้องดูแลผู้ออมผู้ฝากเงินด้วย โดยเฉพาะในสังคมผู้สูงอายุความมั่นคงในเรื่องการออมเป็นเรื่องที่สำคัญ


    ในการตัดสินนโยบายการเงินของกนง. ถ้าใครได้อ่านการแถลงข่าวเราย้ำหลายครั้งว่ากนง.เห็นตรงกันว่านโยบายการเงินแบบผ่อนคลายยังจำเป็นต่อระบบเศรษฐกิจไทย แต่ระดับการผ่อนคลายที่มากเป็นพิเศษแบบที่เราใช้ช่วงภาวะวิกฤตลดความสำคัญลง เมื่อเศรษฐกิจมีการขยายตัวตามศักยภาพหรือใกล้เคียงกับศักยภาพของระบบเศรษฐกิจมากขึ้น แล้วต้องให้น้ำหนักชั่งน้ำหนักให้กับปัจจัยอื่นมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องเสถียรภาพของระบบการเงิน


    โดยทั่วไปมีแนวคิดว่าเวลากังวลเรื่องเสถียรภาพระบบการเงิน ก็ไปทำพวกมาตรการพวก Macroprudential เช่น ที่ทำกับเรื่องการปรับเกณฑ์ Loan to Value ของสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ เรื่องบัตรเครดิต แทนการใช้ดอกเบี้ยนโยบายการเงิน แต่เงินเหมือนน้ำ การใช้มาตรการแบบนั้นเหมือนเราไปสร้างฝายกั้นน้ำ ปัญหาอยู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์เราก็ไปสร้างฝายกั้นไว้ เราเห็นปัญหาเรื่องหุ้นกู้ไม่มีเรทติ้ง ก.ล.ต.ก็ไปขันน็อตให้ออกตราสารได้ยากขึ้น เรามีปัญหาสหกรณ์ออมทรัพย์ เงินไหลจากเงินฝากธนาคารไปอยู่ที่สหกรณ์ โดยคนไม่คำนึงเลยว่าเอาเงินไปทำอะไร ความเสี่ยงเป็นอย่างไร ใช้เวลาขันน็อตมา 2 ปีก็ยังไม่ค่อยไปไหนเท่าไหร่ ยังเป็นปัญหาอยู่ แต่ทั้งหมดต้องเสริมกัน เพราะว่านโยบายการเงินเป็นเหมือนท่อใหญ่ที่ปล่อยน้ำเข้าสู่ระบบ เราไปสร้างฝายได้ในแต่ละจุด เราไปสร้างตรงไหน พอน้ำติดก็ไหลออกไปที่อื่น ฉะนั้นนโยบายการเงินต้องใช้เสริมกับนโยบายอื่นๆ มีการผสมผสานนโยบายให้ออกมาเหมาะสมกับประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่กนง.พิจารณาและส่งสัญญาณมาอย่างต่อเนื่อง


    สะสมพื้นที่นโยบายเมื่อมีโอกาส


    อีกด้านหนึ่งที่เราพูดถึงและบอกว่าเป็นปัจจัยสำคัญ อาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่เรียกว่าปัจจัยรองก็ได้ คือ เรื่องพื้นที่นโยบายการเงิน (Policy Space) ถ้ามองไปข้างหน้าเราจะเห็นว่าความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกมีมากขึ้น วัฎจักรเศรษฐกิจมีทั้งขึ้นทั้งลง หน้าที่ของธนาคารกลางจะต้องมองยาวให้แน่ใจว่า เมื่อเกิดปัญหาขึ้นจะต้องมีเครื่องมือที่จะใช้ดูแลระบบเศรษฐกิจเวลาเกิดสถานการณ์ไม่คาดคิดจนทำให้เศรษฐกิจสะดุดลงได้ การใช้นโยบายการเงินต้องใช้แบบมีแรงกระทบ หรือ Impact พอสมควร แต่วันนี้ถ้ายังคงดอกเบี้ยไว้ที่ 1.5% แบบเดิม พื้นที่จะลดดอกเบี้ยนโยบายเรามีค่อนข้างจำกัด ฉะนั้นเมื่อไรก็ตามที่เราเห็นว่ามีจังหวะเหมาะสมที่ สถานการณ์เอื้ออำนวย เราก็ใช้โอกาสสะสมพื้นที่นโยบาย


    “แต่ต้องเรียนว่าบางคนเข้าใจว่าเราจะขึ้นต่อเนื่องทุกครั้งไป และมีเป้าหมายในใจว่าจะขึ้นไปถึงจุดไหนถึงจะเรียกว่าสะสมกระสุนไว้เพียงพอ อันนี้ไม่ใช่หลักคิดของเรา หลักคิดของเรา คือ เมื่อมีโอกาสเราก็จะสะสมพื้นที่นโยบาย แต่เป้าหมายหลักคือ เรื่องเงินเฟ้อ การขยายตัวเต็มศักยภาพของระบบเศรษฐกิจ และเรื่องเสถียรภาพของระบบการเงินมากกว่า และการทำนโยบายการเงินในช่วงต่อไปจะเป็นการอาศัยข้อมูล หรือ Data Dependent เป็นหลัก เพราะในประเทศที่เป็นเศรษฐกิจเปิดขนาดเล็กอย่างไทย เราได้รับผลกระทบแรงปะทะจากปัจจัยภายนอกค่อนข้างมาก เราต้องประเมินสถานการณ์อย่างละเอียดทุกครั้ง ทุกเวลาที่มีการประชุมกนง. เราจะประเมินไปข้างหน้าและชั่งน้ำหนักหลายๆด้าน เรื่อง Data Dependent นี้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากสำหรับการดำเนินนโยบายการเงินในอนาคต


    แจงผลกระทบไม่มาก เหตุสภาพคล่องในระบบสูง


    เรื่องกลไกการส่งผ่านของนโยบาย นโยบายการเงินไม่นโยบายที่กดปุ่มแล้วจะมีผลทันทีอย่างที่ทราบกัน ต้องทำงานผ่านระบบสถาบันการเงิน ผ่านวัฎจักรของเงินที่ทำให้เกิดผลกระทบอย่างที่เราต้องการ แต่ครั้งนี้เรามาจากจุดที่มีสภาพคล่องส่วนเกินสูง มาจากจุดที่นโยบายการเงินผ่อนคลายมากเป็นพิเศษ เหมือนมีน้ำที่เอ่ออยู่มาก การที่เราค่อยๆปรับขึ้นไม่ได้ส่งผลให้เห็นทันทีทันใด แต่เราต้องเริ่มปรับและเราไม่ควรจะต้องปรับแล้วให้เกิดผลแรงด้วย เราไม่อยากให้เหมือนกับหลายประเทศที่มีโจทย์ว่าเงินยังไม่ไหลออกเลย มาขึ้นดอกเบี้ยทำไม แต่ถ้ารอให้เงินไหลออกก่อนแล้วมาทำ ไม่สามารถทยอยทำได้ ต้องทำแรงและต่อเนื่อง เราก็เห็นเพื่อนบ้านหลายประเทศที่ลุกขึ้นทำ อันนั้นจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจมาก เราไม่ต้องการให้เกิดขึ้นแบบนั้น แต่เราต้องการค่อยๆปรับเข้าสู่ทิศทางที่เหมาะสม ในภาวะที่เราสบายใจมากขึ้น เป็นแนวทางที่เหมาะสมมากกว่า


    ช่วงแรกอาจจะไม่ได้เห็นผลกระทบแรงๆ โดยเฉพาะคนไปให้ความสำคัญมากกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคาร เราคาดการณ์ไว้แล้วว่าในภาวะที่สภาพคล่องส่วนเกินสูง ดอกเบี้ยเงินกู้ธนาคารไม่ควรจะเพิ่มขึ้น เพราะธนาคารยังแข่งขันกันค่อนข้างมาก โดยเฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ที่เป็นมาตรฐานพวก MLR, MOR, MRR แต่ คนแรกที่จะกระทบคือสินเชื่อที่ให้กับบริษัทขนาดใหญ่ที่เคยไปลดแลกแจกแถมไปมากๆก่อนหน้านี้ เพราะว่าก่อนหน้านี้ธนาคารต้องแข่งกับตลาดตราสารหนี้ในการระดมทุนของเอกชน เมื่ออัตราดอกเบี้ยโลกขยับขึ้น ดอกเบี้ยในตลาดตราสารหนี้ก็เริ่มขยับขึ้น และเมื่อเราปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดตราสารหนี้ก็จะขยับขึ้นสอดคล้องกัน ดังนั้นแรงกดดันที่จะไปลดดอกเบี้ยมากให้กับธุรกิจขนาดใหญ่น้อยลง กลุ่มนี้จะได้รับผลกระทบก่อน


    ส่วนตัวผู้ออมเองได้ประโยชน์ ผู้ออมมีหลายช่องทางในการออม เมื่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดตราสารหนี้เริ่มขยับขึ้น คนที่มีเงินอยู่ในกองทุน ตราสารหนี้ระยะสั้น อันนี้ก็จะเป็นประโยชน์ที่ได้รับทันที่โดยไม่ต้องรอให้ธนาคารปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากขึ้น แต่เราเชื่อว่าจะมีสถาบันการเงินที่ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากขึ้นแล้วเราเริ่มเห็นแล้วอย่างธนาคารออมสิน สถาบันการเงินขนาดใหญ่ก็ปรับบ้างแล้ว ที่ผ่านมาเราจะเห็นเงินฝากสลับไปมาระหว่างดอกเบี้ยเงินฝากกับกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เมื่อผลตอบแทนผ่านตลาดตราสารหนี้ระยะสั้นปรับสูงขึ้น ผู้ฝากเงินส่วนหนึ่งจะย้ายเงินออกไปจากธนาคาร สร้างแรงกดดันให้ธนาคารต้องมาปรับดอกเบี้ยเงินฝาก โดยเฉพาะเงินฝากประจำ


    “แต่กลไกการส่งผ่านก็เหมือนกันว่าจะค่อยเป็นค่อยไปและไม่ได้เห็นชัดทันทีทันใด ต่างจากในอดีตที่เวลากนง.ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เป็นช่วงที่ปรับขึ้นและขึ้นต่อเนื่องทุกครั้ง และมีปัญหาสภาพคล่องตึงตัวในระบบด้วย พอขึ้นแล้วส่งผลทันที ธนาคารรู้ว่ากนง.จะขึ้นดอกเบี้ยทุกครั้งและสภาพคล่องกดดันให้มีการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารทันที แต่วันนี้เราอยู่ในจุดที่สภาพคล่องส่วนเกินมีอยู่สูง มาถึงจุดที่นโยบายการเงินผ่อนคลายมากเป็นพิเศษ ครั้งนี้เป็นก้าวแรกเท่านั้นเอง เราไม่ได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยมา 7 ปี เป็นก้าวแรกที่จะค่อยๆปรับขึ้น กลไกการส่งผ่านอาจจะไม่เร็ว อาจจะมีผลทันที่ได้ในบางส่วนเช่นตราสารหนี้ระยะสั้น”


    ก็ยังมีส่วนที่หลายคนเข้าใจว่าภาวะหนี้ครัวเรือนจะกระโดดทันทีเลย ถ้าปรับขึ้น 0.25% บางคนบอกว่าจะมีหนี้เพิ่มขึ้นเป็น 10,000 บาทต่อปี แต่ถ้ามานั่งดูรายละเอียดหนี้ของภาคครัวเรือนมีหนี้ที่เป็นดอกเบี้ยลอยตัว 1 ใน 3 เท่านั้น ที่เหลือจะเป็นดอกเบี้ยคงที่ พวกสินเชื่อบ้านช่วง 3 ปีแรกก็คงที่แล้วสัญญาเป็นระยะยาว ผลที่จะเกิดขึ้นกับภาระหนี้ในอนาคตนานๆก็ไม่ค่อยมาก แล้วส่วนใหญ่จะมีค่างวดที่ชัดเจน เรารู้ว่าต้องผ่อนเดือนละเท่าไหร่ ดอกเบี้ยเท่าไหร่ ไม่ค่อยแปรผันกับดอกเบี้ยที่ขึ้นลง ส่วนสินเชื่อบัตรเครดิตเขาจะคิดตามเพดานที่กำหนด แล้วไม่ได้เปลี่ยนตามดอกเบี้ยนโยบาย ไม่ได้เพิ่มภาระหนี้ให้กับภาคครัวเรือน


    โลกยังผันผวนสูง ชะล่าใจไม่ได้


    เรื่องอัตราดอกเบี้ยเป็นสิ่งที่เราได้ส่งสัญญาณต่อเนื่องมาปีกว่าแล้ว เราเห็นว่าสภาพคล่องในระบบการเงินโลกมันค่อยๆปรับลดลง หลายประเทศที่ใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบ นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากเป็นพิเศษมันเพื่อตอบโจทย์วิกฤตการเงินโลกเมือ่ 9 ปีที่แล้ว แต่เมื่อเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวขึ้นมาตามลำดับ ทุกคนก็เห็นว่ามีผลข้างเคียงของการใช้นโยบายแบบนั้น เขาก็ค่อยๆปรับนโยบายกลับมา ดังนั้นสภาพคล่องที่ธนาคารกลางใหญ่ๆอัดฉีดเข้ามาในโลกก็จะค่อยๆปรับลดลง ซึ่งตั้งแต่ก่อนที่เราปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายก็จะเห็นชัดว่าดอกเบี้ยพันธบัตรมันเริ่มปรับตามดอกเบี้ยในตลาดโลก


    “เราชะล่าใจไม่ได้ต้องให้ความสำคัญกับการบริหารต้นทุนการเงิน ความเสี่ยงทางการเงิน และต้องยอมรับว่าภาระการเงินจากหนี้ทั่วโลกที่สูงมากไม่ได้เป็นภาวะที่เราสบายใจได้ ปัญหาเศรษฐกิจที่มันโตด้วยหนี้ไม่ได้ยั่งยืน เราจึงค่อยๆปรับลดหนี้ลงจนอยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งจะเริ่มได้ก็ต่อเมื่อราคาต้นทุนของเงินมันค่อยๆปรับสู่ระดับปกติ อันนี้เป็นแนวทางที่ธนาคารกลางทั่วโลกให้ความสำคัญ แล้วสำหรับประเทศที่ไม่ได้มีสถานะด้านต่างประเทศไม่ได้อ่อนไหวแบบไทยก็ค่อยๆปรับขึ้น จะมีกลุ่มประเทศที่อ่อนไหวที่ปรับขึ้นไปก่อนหน้านี้”


    “ของไทยเป็นจุดที่เพิ่งเริ่มขยับแต่ไมไ่ด้หมายความว่าจะปรับต่อเนื่องเหมือนอดีต ย้ำอีกครั้งว่ากนง.เห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายยังจำเป็นสำคัญเศรษฐกิจไทย เราใช้หลัก Data Dependent ที่จะประเมินสถานการณ์และความเสี่ยงต่างๆที่ต้องเผชิญทั้งภายในและภายนอก แล้วชั่งน้ำหนักทั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เรื่องของทิศทางเงินเฟ้อ เรื่องเสถียรภาพของระบบการเงิน”


    สุดท้ายเรื่องความพร้อมกับการรับมือกับปัจจัยเสี่ยงในอนาคต มีหลายอย่างมากที่เราต้องจับตามองและต้องระมัดระวัง เริ่มจากสภาวะตลาดเงินตลาดทุนโลกจะมีความผันผวนสูงขึ้น มองย้อนกลับไปในอดีตเวลาที่มีการปรับนโยบายการเงินกลับสู่ปกติของระบบการเงินโลกหรือประเทศอุตสาหกรรมหลัก จะทำให้เกิดความผันผวนได้ โดยเฉพาะที่มีหนี้อยู่เยอะและที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าเรื่องการแสวงหาผลตอบแทนในภาวะที่ดอกเบี้ยต่ำทำให้เกิดหนี้ไม่ควรให้เกิดทุกระดับเลย ตั้งแต่หนี้ของรัฐบาลหลายประเทศในตลาดเกิดใหม่ที่เป็นแบบนี้ จนอ่อนไหวเวลาสหรัฐอเมริกาขึ้นดอกเบี้ยก็กระทบกันไปหมด ภาคธุรกิจในเมืองจีนทุกวันนี้จะเห็นประเด็นเรื่องหนี้ ซึ่งอาจจะกระทบกับระบบเศรษฐกิจจีนได้


    อีกเรื่องคือปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ที่เราคาดเดาไม่ถูกอีก ซึ่งเราต้องติดตามอย่างใกล้ชิด อย่างเรื่อง Brexit ที่ออกมาเป็นอย่างไรเลย หรือเรื่องประท้วงที่ขยายไปในหลายประเทศในยุโรปที่เป็นความเสี่ยงใหม่ เรื่องตะวันออกกลาง เรื่องประธานาธิบดีทรัมป์ที่ไม่พอใจประธานธนาคารกลางสหรัฐเท่าไหร่ เป็นปัญหาที่กระทบกับตลาดเงินตลาดทุนโลกทั้งนั้น โจทย์ของเราคือว่า เวลากำลังพูดถึงเรื่องเสถียรภาพ อันแรกคือเราต้องสร้างกันชนที่ดี อันที่ 2 คือไม่ควรสร้างจุดเสี่ยงให้มีในบ้านของเรา ไม่ให้มีความเปราะบางในบ้านของเรา


    ในด้านกันชนอย่างที่กล่าวถึงบ่อยๆ ภาคต่างประเทศที่เข้มแข็งอย่างเรื่องการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด เรื่องทุนสำรองระหว่างประเทศ เรื่องความไม่สมดุลของหนี้ต่างประเทศ เรื่องความไม่สมดุลของอัตราแลกเปลี่ยน ที่ผ่านมาเป็นเรื่องน่ายินดีว่าเรามีความระมัดระวังเรื่องพวกนี้มาก ไม่ว่าจะเป็นธนาคารพาณิชย์ เรื่องธุรกิจขนาดใหญ่ ถ้าเทียบกับปี 2540 เรามาไกลมาในเรื่องกันชนจากต่างประเทศ นอกจากนี้ อีกด้านคือกันชนในประเทศเอง เสถียรภาพการเงินของระบบธนาคารพาณิชย์ไม่ค่อยเป็นห่วง การเอาเข้าการประเมินของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เพื่อให้เราแน่ใจว่ากันชนของเรามีพอหรือไม่ ดูเรื่องเงินกองทุนของธนาคาร ดูเรื่องสำรองหนี้เสีย ดูเรื่องสภาพคล่องในประเทศให้แน่ใจว่ามีเพียงพอ เพราะหลายประเทศที่มีปัญหาเวลาที่มีปัญหาเวลาเงินไหลออกแรงๆ ถ้าธุรกิจหรือธนาคารไปพึ่งสภาพคล่องจากต่างประเทศมาก จะมีปัญหาว่าความผันผวนภายนอกจะกระทบกับสภาพคล่องภายในประเทศ วันนี้เราดูทั้งด้านต่างประเทศและกันชนในประเทศในเรื่องกันชนสภาพคล่องต่างๆ เราคิดว่ามีมากพอ


    อีกด้านคือต้องไม่ไปสร้างจุดเปราะบาง วันนี้มีจุดเปราะบางอยู่อย่างภาคอสังหาริมทรัพย์ที่เราเห็นว่าไม่หยุด แล้วถ้าปล่อยให้บานปลายไปเรื่อยๆ เวลาลูกโป่งใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ การไปทำอะไรก็ตามจะกระทบกับคนจำนวนมาก ก็ทำอะไรได้ยากขึ้น หรือส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจมากขึ้น สหกรณ์ออมทรัพย์ยังเป็นจุดเปราะบางที่เราต้องไปดูแล ธุรกิจขนาดใหญ่ที่อาจจะมีจุดเปราะบางเพราะกู้เงินได้ถูกมาก จากทั้งในประเทศต่างประเทศไปลงทุนในเรื่องที่มีความเสี่ยงมากจนเกินควร ราคาของต้นทุนเงินไม่เหมาะสม ก็เป็นจุดเปราะบางที่เราต้องไปดูแล


    ทั้งหมดจะเป็นการส่งสารนโยบายในภาพรวม พื้นที่นโยบายเป็นแค่มิติเดียวเท่านั้นเอง และนโยบายการเงินอย่างที่บอกว่าพื้นที่นโยบายอาจจะไม่ได้เป็นประเด็นหลัก แต่เป็นประเด็นรองๆ ถ้ามีโอกาสเราก็สะสมกันชนเพิ่มมากขึ้น แต่เราคำนึงถึงการเติบโตของเศรษฐกิจให้สอดคล้องกันศักยภาพ ดูเรื่องเงินเฟ้อ ดูเรื่องของเสถียรภาพของระบบการเงิน อย่างที่จะเห็นว่าการเติบโตของเศรษฐกิจจะชะลอลง แต่ก็เป็นระดับที่ใกล้เคียงกับศักยภาพและที่น่ายินดีคือเราเห็นเครื่องยนต์ภายในเริ่มติด อย่างการลงทุนของเอกชน การจ้างงานมากขึ้น การบริโภคภายในเริ่มขยายตัวต่อเนื่อง แต่พวกนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าการขยายตัวเป็นอานิสงค์จากการท่องเที่ยวและส่งออกที่ดีในช่วงที่ผ่านมา แต่เราเห็นการย้ายฐานการผลิตเข้ามาเพิ่มขึ้น เห็นการลงทุนที่สะท้อนตาม เราก็ค่อนข้างสบายใจว่าเครื่องยนต์าภายในเริ่มติดขึ้นมา


    ฉะนั้นถึงแม้ว่าเศรษฐกิจโดยรวมจะดูหย่อนลงจากที่ผ่านมาแต่เป็นการขยายตัวที่ใกล้เคียงกับระดับเสถียรภาพของเศรษฐกิจไทย ไม่อยากให้ตกใจกัน บางที่อ่านหนังสือพิมพ์แล้วผ่านจุดสูงสุดแล้ว กำลังหัวทิ่ม ไม่ใช่ แต่เป็นเรื่องการขยายตัวตามศักยภาพ แค่บางช่วงเวลาอาจะมีขึ้นลงบ้างตามปัจจัยตามสภาวะภายนอกประเทศบ้าง


    Source: ThaiPublica

    https://thaipublica.org/2018/12/bot-veerathai-santiprabhop-policy-rate-hike-financial-stability/
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    IMG_6539.JPG
    (Dec 23) จีนเตรียมกระตุ้นเศรษฐกิจอีกรอบในปี 2019 เน้นไปที่ภาคการผลิตสินค้าไฮเทคเป็นพิเศษ : จีนเตรียมที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศอีกครั้งในปีหน้า โดยภาคการผลิตสินค้าไฮเทคจะได้รับการสนับสนุนเป็นพิเศษ และยังรวมไปถึงภาคอุตสาหกรรมดั้งเดิมที่กำลังเปลี่ยนแปลงการผลิตด้วย


    จีนเตรียมที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจอีกครั้งในปีหน้า โดยเฉพาะภาคการผลิตขั้นสูง ภายหลังการประชุมประจำปีของ คณะกรรมการการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน หรือ NDRC เจาะจงไปที่การแก้ปัญหาในส่วนการหาแหล่งเงินทุนในการกู้ยืมสำหรับอุตสาหกรรมเหล่านี้


    He Lifeng ประธานของ NDRC กล่าวว่า จีนจะทำให้เศรษฐกิจในประเทศเติบโตในช่วงตัวเลขที่รับได้ นอกจากนี้ยังจะจัดการความเสี่ยงและความท้าทายในด้านต่างๆ อีกด้วย และเขายังเสริมว่า ภาคการผลิตในจีนกำลังเร่งที่จะเปลี่ยนรูปแบบการผลิต โดยรัฐบาลจะช่วยสนับสนุนในด้านการเงินในระยะกลางถึงระยะยาว เพื่อที่ภาคอุตสาหกรรมเหล่านี้สามารถที่จะข้ามผ่านช่วงเวลานี้ไปได้


    ภาคการผลิตในช่วงที่ผ่านมาของจีนกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงการผลิตสินค้าพื้นฐาน เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วๆ ไป ฯลฯ พัฒนามาเป็นสินค้าที่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมากขึ้น เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ชิปต่างๆ ฯลฯ


    ก่อนหน้าที่จีนจะใช้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างที่ได้กล่าวไปนั้น ในปี 2017 จีนมีแผนงาน 3 ปีที่ประกอบไปด้วย ลดความเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจจีน ลดความยากจนของประชาชนจีน รวมไปถึง การลดปัญหามลพิษเนื่องจากอุตสาหกรรมในประเทศจีนเองด้วย แต่เนื่องจากปัญหาปัญหาสงครามการค้า ทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจีนตกลงอย่างเห็นได้ชัด


    แผนการกระตุ้นเศรษฐกิจจีนจึงต้องกลับมาปัดฝุ่นใช้อีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็น การลด RRR การปฏิรูปโครงสร้างภาษีเพื่อที่จะทำให้เกิดการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่เพิ่มขึ้น เช่น รถไฟความเร็วสูงเส้นทางใหม่ๆ เป็นต้น เนื่องจากรัฐบาลจีนไม่ค่อยปลื้มกับตัวเลขทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการผลิตในเดือนพฤษจิกายนที่อ่อนแอลง รวมไปถึง ภาคการบริโภคในประเทศด้วย


    โดย Wattanapong Jaiwate


    Source: Brandinside.com


    https://brandinside.asia/chinese-goverment-prepare-to-boost-economy-specific-to-industrial-in-2019/
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Thairath


    ชมอีกครั้งคลิปวินาทีสึนามิถล่มอินโดนีเซีย ทำให้มีผู้เสียชีวิตล่าสุดถึงกว่า 230 คน และคาดกันว่า จะพบผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น


     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Nonthalee Ann Kasemsook


    ถึง อะเลิท ที่รัก❤️

    1-#Krakatua เป็นหนึ่งในภูเขาไฟที่เราเฝ้าระวัง…!!

    2-#สุลาเวสี เฝ้าระวัง มาก่อนหลายปี ในรหัสปลดล็อกอินโด-ออสเตรเลียนเพลท

    3-#2 เกิดก่อนแล้ว กย ตุลา ที่ผ่านมา สึนามิ ที่เกิดจากแผ่นดินไหว

    4-#Krakatua ลุกขึ้นมาจิบกาแฟตามมาติดๆ แล้ว…!! 22 ธ.ค.2561

    ไม่ใช่เซอร์ไพรส์

    5-ให้ #อะเลิท อันดามัน เฝ้าระวัง สุมาตรา ภูเขาไฟ Toba

    และแนว Sunda-Megatrust ตลอดแนว ยาวมานิโคบาร์

    ต่อเนื่อง รวมภูเขาไฟ

    สิ่งที่เกิดขึ้น มีการสะสมพลังอย่างต่อเนื่อง ทั้งแผ่นดินไหวเล็กๆน้อยๆ ถี่ๆ พายุประกบ ภูเขาไฟใกล้เคียงปะทุ

    หากติดตามอย่างใกล้ชิด จะรู้ว่า ไม่มีอะไรเซอร์ไพรส์…!!!

    หรือ บังเอิญ—

    ไม่ประมาท ค่ะ

    CA20181223


     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    J Lynn Cole


    แผ่นดินไหว ขนาด 5.5. & 5.4. ญี่ปุ่น.... ที่พบกันได้บ่อยๆ
    IMG_6546.JPG IMG_6547.JPG IMG_6548.JPG
    30 นาทีสุดท้าย


     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    [ภาพกราฟิก] ทำไมภูเขาไฟระเบิดถึงก่อให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิได้? เผยแพร่: 23 ธ.ค. 2561 20:21 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
    561000013210201.jpg

    ภาพจากทวิตเตอร์ @unisdr
    จากเหตุคลื่นยักษ์สึนามิเข้าถล่มพื้นที่บริเวณช่องแคบซุนดา (Sunda Strait) ประเทศอินโดนีเซีย ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ และผู้เสียชีวิตมากกว่า 1 พันราย และยังมีผู้สูญหายอีกเป็นจำนวนมาก

    ข้อมูลเบื้องต้นจากทางการอินโดนีเซีย คาดการณ์ว่าแม้จะไม่มีรายงานเหตุแผ่นดินไหว แต่สึนามิดังกล่าวน่าจะมีสาเหตุมาจากการเคลื่อนของแผ่นดินใต้ทะเลจากการระเบิดของภูเขาไฟอานัก กรากาตัว ทั้งยังเป็นวันพระจันทร์เต็มดวงอีกด้วย

    ขณะที่รายงานของศูนย์ธรณีฟิสิกส์อินโดนีเซีย ระบุว่า ภูเขาไฟอานัก กรากาตัว ในช่องแคบซุดาซึ่งเชื่อมโยงทะเลชวาเข้ากับมหาสมุทรอินเดียนั้นเกิดการระเบิดขึ้นราว 24 นาทีก่อนหน้าที่จะเกิดคลื่นสึนามิ โดยปัจจุบันภูเขาไฟที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่มีความสูงราว 305 เมตร และอยู่ห่างจากกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซียไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 200 กิโลเมตร

    ในช่วงเย็นวันนี้ (23 ธ.ค.) ทวิตเตอร์ @unisdr ของ สำนักงานว่าด้วยกลยุทธ์ระหว่างประเทศเพื่อการลดภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNISDR) ได้โพสต์ภาพกราฟิกเพื่ออธิบายว่า "ทำไมการระเบิดของภูเขาไฟถึงก่อให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิได้?" พร้อมกับคำอธิบาย 7 ข้อคือ

    1. ภาพยอดเดิมของภูเขาไฟ
    2. ยอดภูเขาไฟถล่มลงมา
    3. ลาวาเกิดการทะลักล้นออก
    4. การระเบิดครั้งต่อมา
    5. ซากภูเขาไฟเกิดการไหลเลื่อนลงมาปะทะกับผืนทะเล
    6.เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ
    7.คลื่นยักษ์เคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่งที่ห่างออกไป

    อ้างอิง : Geoscience Australia

    https://mgronline.com/around/detail/9610000127099
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เพื่อน ที่แสนดี



    ก่อนจะเกิดสึนามิถล่มชายฝั่งช่องแคบซุนดา ประเทศอินโดนีเซีย เกิด "ภูเขาไฟกรากะตัว" ระเบิดอย่างรุ่นแรง ! และเกิดสินามิตามมา ทำให้มีคนเจ็บ ตายจำนวนมาก !
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    คาดอเมริกาชัตดาวน์ยาวพ้นคริสต์มาส สภาไร้ข้อสรุปงบสร้างกำแพงชายแดน เผยแพร่: 23 ธ.ค. 2561 20:25 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
    561000013199701.jpg
    เอเจนซีส์ – หน่วยงานบางส่วนของรัฐบาลสหรัฐฯ “ชัตดาวน์” เป็นวันที่สอง ในวันอาทิตย์ (23 ธ.ค.) และคาดว่าจะต้องปิดยาวจนถึงหลังคริสต์มาส หลังจากรัฐสภาปิดประชุมโดยไม่สามารถผ่าทางตันข้อเรียกร้องของทรัมป์ที่ยืนกรานของบประมาณ 5,000 ล้านดอลลาร์สร้างแนวกำแพงบนพรมแดนติดเม็กซิโก

    ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ยืนกรานเรียกร้องงบประมาณ 5,000 ล้านดอลลาร์เพื่อสร้างกำแพงตามแนวชายแดนติดกับเม็กซิโก ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการหลักระหว่างหาเสียงเมื่อสองปีที่แล้ว และส่วนหนึ่งของความพยายามลดจำนวนผู้ลักลอบเข้าเมือง ทว่า เดโมแครตคัดค้านหัวชนฝา และการที่สองฝ่ายตกลงกันไม่ได้จึงส่งผลให้หน่วยงานนับสิบแห่งของรัฐบาลต้องยุติทำการเมื่อเวลา 1.01 น. ของวันเสาร์

    ทรัมป์ทวิตว่า ตัวเองยังนั่งทำงานอยู่ที่ทำเนียบขาวในช่วงคริสต์มาส เพราะต้องเจรจากับทางเดโมแครตเรื่องความมั่นคงชายแดน

    ทางด้านสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจัดประชุมเมื่อวันเสาร์ แต่ปิดประชุมโดยไม่มีข้อตกลงใดๆ และคาดว่า จะยังไม่มีการลงมติจนกว่าจะถึงวันพฤหัสบดี

    ต้นสัปดาห์ที่แล้ว ผู้นำในสภาล่างและสภาสูงคิดว่า บรรลุข้อตกลงที่ทรัมป์จะยินยอมลงนาม ซึ่งกำหนดงบประมาณสำหรับการสร้างกำแพงน้อยกว่าที่ทรัมป์ขอไว้ แต่เนื่องจากถูกกดดันจากกลุ่มอนุรักษ์นิยม ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จึงเปลี่ยนใจกลับมาเรียกร้องงบประมาณ 5,000 ล้านดอลลาร์ตามเดิมในนาทีสุดท้าย

    ขณะเดียวกัน แม้สภาล่างผ่านร่างกฎหมายที่บรรจุงบประมาณตามที่ทรัมป์ร้องขอ ทว่าร่างดังกล่าวถูกคว่ำในสภาสูง

    นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปยังสวนสาธารณะและสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ในวอชิงตัน ต่างวิจารณ์การชัตดาวน์ซึ่งยิ่งเพิ่มบรรยากาศความวุ่นวายในเมืองหลวงของสหรัฐฯ ที่ยังคงตกค้างจากที่จิม แมตทิส ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมเพื่อประท้วงที่ทรัมป์ประกาศถอนทหารออกจากซีเรียเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

    ความไม่แน่นอนเหล่านี้ยังส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นร่วงต่อเมื่อวันศุกร์ และปิดการซื้อขายที่ถือว่า เป็นรอบสัปดาห์เลวร้ายที่สุดในหนึ่งทศวรรษ

    เจฟฟรีย์ กรินญอง เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขในวิสคอนซิน แสดงความเห็นว่า นักการเมืองซึ่งไม่ใช่คนสองคนแต่เป็นทั้งหมด ควรเลิกทำตัวเป็นเด็กและทำหน้าที่ให้สมกับที่ประชาชนเลือกตั้งเข้าสภา

    เหตุการณ์นี้ถือเป็นการชัตดาวน์ครั้งที่ 3 ในรอบปีนี้ ทั้งที่พรรครีพับลิกันของทรัมป์ยังครองเสียงข้างมากในทั้งสองสภา

    ชัค ชูเมกเกอร์ และแนนซี เปโลซี ผู้นำพรรคเดโมแครตในวุฒิสภาและสภาล่างตามลำดับ ออกแถลงการณ์เมื่อวันเสาร์ว่า หากสิ้นสัปดาห์นี้หน่วยงานรัฐบาลยังคงปิดทำการ เดโมแครตจะผ่านกฎหมายเพื่อยุติการชัตดาวน์หลังได้ครองเสียงข้างมากในสภาล่างตั้งแต่วันที่ 3 มกราคมปีหน้า

    ชูเมคเกอร์ยังกล่าวหาทรัมป์ว่า การชัตดาวน์ไม่ได้เกิดจากปัญหาความมั่นคงพรมแดน แต่เป็นเพราะทรัมป์ต้องการเงินหลายพันล้านดอลลาร์เพื่อสร้างกำแพงที่มีต้นทุนสูงแถมไร้ประสิทธิภาพ ที่สำคัญคนอเมริกันส่วนใหญ่ไม่สนับสนุน

    ทั้งนี้ ผลสำรวจของรอยเตอร์/อิปซอสเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนพบว่า คนอเมริกันแค่ 31% ที่เห็นว่า การยกระดับการรักษาความปลอดภัยตามแนวชายแดนเป็นภารกิจสำคัญ 3 อันดับแรกสำหรับรัฐสภา

    แม้หน่วยงานสำคัญส่วนใหญ่ยังคงปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ แต่ลูกจ้างรัฐบาลกลาง 800,000 คนได้รับผลกระทบจากการชัตดาวน์ คนเหล่านี้จำนวนมากต้องพักงานก่อนคริสต์มาส ขณะที่หน่วยงานอื่นๆ ที่สำคัญ เช่น เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในการขนส่งที่คัดกรองผู้โดยสารระหว่างเทศกาลวันหยุดที่มีผู้ใช้บริการจำนวนมาก ต้องทำงานโดยไม่มีค่าตอบแทน

    ราล์ฟ นอร์ธแทม ผู้ว่าการรัฐเวอร์จิเนีย ส่งจดหมายถึงทรัมป์เมื่อวันเสาร์ เรียกร้องให้ดำเนินการเพื่อยุติการชัตดาวน์ทันทีเนื่องจากส่งผลกระทบรุนแรงต่อลูกจ้างรัฐ

    https://mgronline.com/around/detail/9610000127100
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ทางการฝรั่งเศสเน้นประณาม ‘เสื้อกั๊กเหลือง’ใช้ความรุนแรง ขณะการชุมนุมสัปดาห์ที่ 6 มีคนเข้าร่วมน้อยลงอีก เผยแพร่: 24 ธ.ค. 2561 01:42 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
    561000013213801.jpg

    ตำรวจจักรยานยนต์ผู้หนึ่งชักปืนออกมา ระหว่างการชุมนุมประท้วงของขบวนการ “เสื้อกั๊กเหลือง” บนถนนช็องเอลิเซ่ ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อคืนวันเสาร์ (22 ธ.ค.) ภาพนี้ถ่ายจากคลิปวิดีโอซึ่งรอยเตอร์ทีวีได้รับมา
    เอเอฟพี/เอเจนซีส์ – ประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส เรียกร้องต้องการให้มี “ความสงบเรียบร้อย” ในวันอาทิตย์ (23 ธ.ค.) ภายหลังการประท้วงต่อต้านรัฐบาลของกลุ่ม “เสื้อกั๊กเหลือง” ช่วงสุดสัปดาห์ที่ 6 ส่อแสดงให้เห็นว่าจำนวนผู้เข้าร่วมยังคงลดน้อยลงไปอีก รวมทั้งเกิดเหตุรุนแรงโจมตีตำรวจในกรุงปารีสด้วย

    ในการแถลงขณะเดินทางไปสาธารณรัฐชาด ในแอฟริกากลาง ที่เขากำลังเยือนกองทหารฝรั่งเศสซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในกองกำลังต่อต้านการก่อการร้าย มาครงระบุว่า ฝรั่งเศสจำเป็นต้องมีระเบียบ ต้องมีความสงบเรียบร้อยในตอนนี้

    “จำเป็นต้องมีความสามัคคี ความเป็นเอกภาพ การมีพันธกรณีอย่างจริงใจต่อความคิดอุดมการณ์ร่วมกันอย่างแรงกล้า แล้วเราก็จะสามารถเยียวยาความแตกแยกต่างๆ ได้” เป็นคำกล่าวของผู้นำแนวทางสายกลางวัย 41 ปีผู้นี้ ซึ่งกำลังต่อสู้หาทางลดทอนความโกรธเกรี้ยวของคนยากจนผู้ใช้แรงงานในเมืองเล็กๆ และแถบชนบทของฝรั่งเศสจากการที่อำนาจการจับจ่ายใช้สอยกำลังลดน้อยลงไปทุกที รวมทั้งจากนโยบายต่างๆ ของมาครงซึ่งพวกเขาเห็นว่ามุ่งเอาอกเอาใจคนรวยมากกว่า

    ตามตัวเลขของกระทรวงมหาดไทยฝรั่งเศส จำนวนผู้คนที่ออกมาเข้าร่วมการประท้วงทั่วประเทศรอบที่ 6 ในวันเสาร์ (22) ที่ผ่านมามีทั้งสิ้น 38,600 คน ซึ่งก็คืออยู่ในราวครึ่งเดียวของจำนวนผู้ออกมาชุมนุมเดินขบวนในวันเสาร์ก่อนหน้านั้น

    ในกรุงปารีสที่เคยเป็นฉากของเหตุปะทะกันอย่างดุเดือดและการทุบทำลายเสียหายอย่างกว้างขวางในสุดสัปดาห์ก่อนๆ การประท้วงในวันเสาร์ล่าสุด (22) ส่วนใหญ่เป็นไปอย่างสงบ

    แต่เมื่อเวลาล่วงไปถึงช่วงค่ำคืน ความรุนแรงก็ระเบิดออกมาอีกครั้งหนึ่งบนถนนช็องเอลิเซ อันสวยงามหรูหรา


    561000013213802.jpg

    กลุ่มผู้ประท้วง “เสื้อกั๊กเหลือง” เข้าร่วมในการชุมนุมบนถนนช็องเอลิเซ่ บริเวณใกล้ๆ “ประตูชัย” กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อคืนวันเสาร์ (22 ธ.ค.)
    ในเหตุการณ์หนึ่งซึ่งก่อให้เกิดความโกรธเกรี้ยวกันอย่างกว้างขวาง ตำรวจกลุ่มหนึ่งจำนวน 3 คนที่มีรถมอเตอร์ไซค์เป็นพาหนะ ถูกโจมตีตรงบริเวณใกล้ๆ ช็องเอลิเซ่ จากพวกผู้เดินขบวน ซึ่งโยนทั้งสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า, ก้อนหินปูทาง, และวัตถุอื่นๆ เข้าใส่ โดยมีอยู่ช่วงหนึ่งตำรวจได้ชักปืนพกเล็งไปที่พวกเดินขบวนซึ่งกำลังฮือกันเข้ามา จากนั้นตำรวจก็ควบมอเตอร์ไซค์หลบหนีไป

    คลิปวิดีโอที่ถูกนำออกเผยแพร่กันแสดงให้เห็นว่า ไม่กี่วินาทีก่อนการโจมตีนี้ ตำรวจได้โยนลูกระเบิดแสงเข้าใส่ผู้ประท้วงกลุ่มหนึ่ง ซึ่งในขณะนั้นยังอยู่ค่อนข้างห่างออกไป

    ประธานาธิบดีมาครงพูดทางโทรทัศน์ช่องบีเอฟเอ็มทีวีว่า พวกที่รับผิดชอบทำให้เกิดความรุนแรงเช่นนี้ขึ้นมา จะถูกลงโทษตามกฎหมาย “อย่างหนักหน่วงที่สุด”

    ขณะที่นายกรัฐมนตรีเอดูอาร์ ฟีลีปป์ มุ่งประณาม การใช้ “ความรุนแรงอย่างเหลือเชื่อต่อตำรวจ”

    เขายังพุ่งเป้าโจมตีพวกผู้ประท้วงซึ่งร้องเพลงๆ หนึ่งของ ดิวดอนน์ เอ็มบาลา เอ็มบาลา นักแสดงตลกที่ถูกตัดสินว่าทำความผิดฐานต่อต้านชาวยิว ตรงบริเวณนอกโบสถ์ซาคร์-เกอร์ ในปารีส ตลอดจนพวกที่ตัดแขนตัดขารูปหุ่นของมาครงในเขตชารงต์ตะวันตก อันเป็นเหตุการณ์อีก 2 เหตุการณ์ซึ่งถูกทางการระบุว่าเป็นหลักฐานแสดงว่าผู้ประท้วงกำลังหันไปใช้ความรุนแรงมากขึ้น และมีพวกสุดโต่งรวมอยู่ในขบวนการนี้

    https://mgronline.com/around/detail/9610000127136
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    World of Signs



    ไฟไหม้บ้านเรือน 600 หลัง ในเมือง Manaus ประเทศบราซิล; มีผู้อพยพหนีภัยหลายพันคน 18 ธ. ค. 2018
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    620x-1.png
    (Dec 24) เศรษฐีโลกสูญเงิน 16 ล้านล้าน- ดัชนี บลูมเบิร์ก บิลเลียนแนร์ อินเด็กซ์ เผยความมั่งคั่งเศรษฐีโลกลดลงถึง 16 ล้านล้าน หลังตลาดหุ้นโลกดิ่งหนัก หุ้นสหรัฐร่วงหนักรอบสัปดาห์ เลวร้ายสุด 10 ปี

    บลูมเบิร์กรายงานว่า สินทรัพย์ของมหาเศรษฐีทั่วโลกลดลงถึง 5.11 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 16 ล้านล้านบาท) ในปี 2018 เป็นผลมาจากตลาดหุ้นทั่วโลก ที่ร่วงลงอย่างหนัก โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งตลาดหุ้นหลายแห่งเผชิญแรงเทขายจนเข้าสู่ภาวะตลาดหมี

    ดัชนี บลูมเบิร์ก บิลเลียนแนร์ อินเด็กซ์ ซึ่งจัดอันดับสินทรัพย์เศรษฐีโลก 500 ราย พบว่า มูลค่าสินทรัพย์ของเศรษฐีโลกทั้งหมดอยู่ที่ 4.7 ล้านล้านดอลลาร์ (ราว 153 ล้านล้านบาท) ในขณะนี้ ซึ่งลดลงเป็นครั้งที่ 2 นับตั้งแต่เริ่มทำดัชนีในปี 2012

    สำหรับในสหรัฐนั้น บลูมเบิร์กระบุว่า สินทรัพย์ของมหาเศรษฐี 173 ราย ลดลง 5.9% มาอยู่ที่รวมกันทั้งหมด 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ (ราว 61 ล้านล้านบาท) โดย เจฟฟ์ เบซอส ผู้ก่อตั้งแอมะซอน ยักษ์อี-คอมเมิร์ซสหรัฐ ซึ่งร่ำรวยขึ้นมากที่สุดในโลกในปีนี้เมื่อเดือน ก.ย. มีสินทรัพย์ลดลง 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์ (ราว 5.21 แสนล้านบาท) ด้านสินทรัพย์ของ มาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊กลดลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ถึง 2.3 หมื่นล้านดอลลาร์ (ราว 7.49 แสนล้านบาท) นับตั้งแต่เดือน ม.ค.

    ขณะเดียวกัน บลูมเบิร์กเปิดเผยว่า ในปีนี้นับเป็นครั้งแรกที่ความมั่งคั่งของมหาเศรษฐีเอเชียลดลงในรอบ 6 ปี โดยเศรษฐีเอเชีย 128 คน มีสินทรัพย์ ลดลง 1.44 แสนล้านดอลลาร์ (ราว 4.69 ล้านล้านบาท) โดยเศรษฐีจีนมีสินทรัพย์ลดลงมากที่สุดในเอเชีย ซึ่งสัดส่วน 2 ใน 3 รวยลดลง

    "สภาพตลาดหุ้นที่ย่ำแย่ในปีนี้ และความไม่แน่นอนจากเรื่องความตึงเครียดทางการค้ามีแนวโน้มเพิ่มความท้าทายให้หลายภาคธุรกิจ" ฟิลิป ไวแอตต์ นักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารยูบีเอสกล่าว อย่างไรก็ดี ไวแอตต์มองว่าแนวโน้ม ดังกล่าวไม่น่าดำเนินไปต่อเนื่องในปีหน้า เนื่องจากเอเชียมีปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างมหาเศรษฐีหน้าใหม่ เช่น เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ดึงดูดการลงทุนจากเอกชนและนโยบายสนับสนุนของรัฐบาล

    ทั้งนี้ ตลาดหุ้นโลกเจอแรงเทขายอย่างหนักตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะในตลาดหุ้นสหรัฐ ซึ่งดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปรับลงเกือบ 7% นับเป็นการลดลงรอบสัปดาห์ที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจ 2008 ขณะที่ดัชนีแนสแด็กเข้าสู่ภาวะตลาดหมีเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา ปรับลง 21.9% จากระดับสูงสุดเมื่อวันที่ 29 ส.ค. ด้านดัชนีเอส แอนด์ พี 500 ลดลงแล้ว 17.5% จากระดับสูงสุดวันที่ 20 ก.ย.

    ก่อนหน้านี้ การขึ้นดอกเบี้ยและหั่นเป้าจีดีพีสหรัฐของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการประชุมวันที่ 19 ธ.ค. เป็นปัจจัยหลักฉุดตลาดหุ้น รวมถึงความวิตกเรื่องเศรษฐกิจโลกโตชะลอ และความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐที่กลับมาทวีความรุนแรงขึ้นอีกครั้ง หลังสหรัฐกล่าวหาว่า จีนดำเนินปฏิบัติการจารกรรมไซเบอร์

    Source: Posttoday
    https://www.bloomberg.com/news/arti...D7bkZ5ssK6Gt2e9aGtmLvTZP_ze_xS86HgtJ78nOSWl4s
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Sayan Rujiramora

    YouTube: DAVE JANDA The Real President Trump, Covert Operation
    Dec 19, 2018

    22:45...Dave Janda...มีหนังสือเล่มหนึ่งที่เกี่ยวกับ Federal Reserve ที่ผมชอบมาก The Creature From Jekyll Island โดย G.W. Griffin ที่บรยายถึง Fed ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง โดยกลุ่มร้อธไชล์ด และ ร้อคกี้เฟลเลอร์ ที่เป็นผู้กุมโยงใยที่คุมธนาคารต่างๆทั่วโลกมานับร้อยปี

    ในชั่วชีวิตผมมีประธานาธิบดีสหรัฐไม่กี่คนที่เป็นปฏิปักษ์ หรือตั้งข้อสงสัยกับระบบของ Federal Reserve นอกนั้นก็ทำตัวเป็นใบ้กันไปหมด หรือไม่ก็เข้ากันกับระบบไปเลย ...คนแรกที่ผมเห็นคือ จอห์น เคนเนดี้ ที่ผมคิดว่าน่าจะมีส่วนเป็นเหตุที่เกิดการลอบสังหารที่ดัลลัสเมื่อ 55 ปีมาแล้ว เพราะเขากำลังมีความขัดแย้งกับพวก Globalist กับระบบของ Fed อย่างแรง

    ปธน. อีกคนหนึ่งที่ถึงแม้จะไม่ได้ขัดแย้งกับ Fed จริงจังนัก แต่ก็เคยชี้ไปถึงความไม่ถูกต้องในหลายประเด็น คือ โรนัลด์ รีแกน .. เขาถูกบุกเข้ายิงหลังการรับตำแหน่งแค่สองเดือนคือ 30 มีนาคม 1981 แต่ไม่ถึงกับชีวิต

    แต่ปธน. ที่แสดงตัวตนชัดเจนเลยในประเด็นของ Fed คือโดนัลด์ ทรัมพ์ ..ดูได้จากที่เขาพูดว่า "Federal Reserve เป็นภัยคุกคามมากกว่าประเทศจีนเสียอีก" .....ตลอดหลายเดือนที่ผ่านๆมาเขาระบายสีจีนไว้ว่าเป็นตัวคุกคามทางด้านนโยบายการค้าต่อสหรัฐ เขาพร่ำระบายสีอยู่นานนับเดือน ..มาบัดนี้เขาพูดอย่างนี้ที่ทำให้ชาวอเมริกันเริ่มสับสน เช่นเดือนตุลาคมพูดว่า "ผมคิดว่า Fed เป็นบ้าไปแล้ว" ... "Fed กำลังคุกคามผม ..เมื่อมีปัญหา Fed จะขึ้นดอกเบี้ย"

    ทรัมพ์เป็นคนที่ต่อต้าน Fed ทั้งลับหลัง และต่อหน้าสาธารณะ มากกว่าปธน. ทุกคน ผมเชื่อว่าที่เขาทำไปมีเหตุผล ..นั่นคือเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนในแบบที่ผู้บริหารประเทศควรต้องทำ..

    ผมเชื่อว่าเมื่อตอนรับตำแหน่ง เขามุ่งมั่นที่จะมาจัดการเรื่องหนี้ของประเทศจริงๆ หนึ่งในวิธีนั้นก็คือต้องทำให้ค่าของดอลล่าร์ต่ำลงเพื่อให้การใช้หนี้ของประเทศ $21 ล้านล้านจะทำได้ง่ายขึ้น ผมเชื่อว่าเขาคงต้องการพักชำระหนี้ในแบบเปอร์โตริโก เขามีประสบการณ์ส่วนตัวมาแล้วกับกฏหมายล้มละลาย เคยได้ประโยชน์จากการใช้กฏหมายนี้มาแล้ว ที่ทำให้เขาได้เงินกู้หลังจากขึ้นศาลล้มละลายที่กลับกลายเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของตัวเองมากขึ้น

    ปัญหานี้แก้ไขยากแต่ก็ยังทำได้ ..แต่หนี้ที่เขากำลังเผชิญอยู่มันไม่ใช่แค่ในบัญชีที่เห็นเท่านั้น มันไม่ใช่แค่หนี้ $21 ล้านล้าน แต่ยังมีหนี้นอกหลักประกัน unfunded liabilities เช่น สวัสดิการการแพทย์และประกันสังคม ..ขณะเดียวกันก็ยังมีเงินที่เหลืออยู่นอกบัญชีด้วย

    นี่เป็นปัญหาที่ใหญ่กว่าที่เขาคิดก่อนได้รับเลือกตั้งเข้ามา ..เขาเคยพูดไว้ก่อนแล้วว่า ตลาดทั้งหมดมันเป็นของปลอม ตัวเลขสถิติต่างๆก็ปลอม ..แต่มาตอนนี้เขากลับพูดว่าเศรษฐกิจดีขึ้น ผมคิดว่าทั้งหมดนี้คือการซื้อเวลาของทรัมพ์

    ผมเชื่อว่าเมื่อตอนรับตำแหน่ง เขาเอาคนของ Globalist มาร่วมรัฐบาลเช่น สตีฟ มนูชิน เป็นรัฐมนตรีคลัง ..แกรี่ โคเฮนมาเป็น chief of staff ..วิลเบอร์ รอสส์เป็นรัฐมนตรีพาณิชย์ ทั้งหมดนี้เป็นการจับตัวประกัน เพื่อให้สาธารณชนเห็นว่าคนเหล่านี้แหละที่มาทำให้เหตุการณ์เลวร้ายลง ...เหมือนกำลังลงเรือไททานิคที่กำลังจม พวกนี้ในฐานะคนของร้อธไชล์ด ร้อคกี้เฟลเลอร์ จะต้องอยู่ร่วมในเรือ ถ้าเศรษฐกิจต้องพังลง ผู้ที่จะต้องพังก็คือธุรกิจของพวก Globalist นี่เอง

    ผมเชื่อว่าหลังฉากขณะนี้กำลังมีการเจรจากับเหล่าเจ้าหนี้ ..Trade War เป็นเพียงฉากกำบังไม่ให้เห็นว่าทรัมพ์กำลังทำอะไรเท่านั้น...

    ***โปรดใช้วิจารณญานครับ***

     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เจนจิรา จันทรเสนา
    40522469_2179482982267712_7066086053714591744_n.jpg
    กรณีสึนามิอินโดนีเชีย จุดที่น่าจะเกิดดินถล่ม พร้อมลาวาถล่มอยู่ทางทิศใต้ของเกาะกรากะเตา

    ในภาพจาก CAT News แสดงความสูงคลื่นและระยะเวลาของคลื่นสึนามิในหน่วยนาทีด้วย

    คาดว่าการถล่มของดินและลาวา น่าจะเป็นช่วงเวลา 20:50-21:00 ของคืนวันที่ 22 ธ.ค. 61
    via jenjira1958

     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    MOREMOVE

    #ซาวเสียงกันหน่อย ยอมไหม!!? เสียงบฯแผ่นดิน#ลงโทษฉีดยาลดฮอร์โมนให้ผู้ต้องหาซ้ำซากคดีข่มขืนเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ราวคนละ 1.5 แสนต่อปี แทนการประหารชีวิตหรือการจำคุก #มีหลายประเทศลองใช้แล้วแต่ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

    #ประเทศแรกในเอเชียที่เริ่มใช้วิธีนี้คือเกาหลีใต้โดยใช้กับผู้ต้องหาคดีข่มขืนต่อเนื่องที่ก่อเหตุข่มขืนเหยื่อ 4 ราย #การฉีดยาลดฮอร์โมนหรือการฉีดไข่ให้ฝ่อจะฉีดยาเข้าไปยับยั้งการสร้างฮอร์โมนเพศชายจากอัณฑะ พอไม่มีการผลิตฮอร์โมนตัวนี้ก็จะลดความต้องการทางเพศ ทำให้ไข่ฝ่อ สร้างอสุจิไม่ได้ และอวัยวะเพศไม่แข็งตัว ซึ่งก็คือการทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศนั่นเอง

    โดยเรื่องนี้ แฟนเพจเฟซบุ๊ก Kapooman รายงานว่า การฉีดยาให้ไข่ฝ่อเป็นแนวทางในการลงโทษนักโทษคดีข่มขืนที่มีใช้ในหลายประเทศ #มีทั้งแบบฉีดยาเพื่อให้อัณฑะฝ่อกับแบบผ่าตัดเอาอัณฑะออกไปเลย โดยผลที่ตามมาคือ นกเขาไม่ค่อยขันและเสื่อมสมรรถภาพทางเพศในที่สุด

    ทั้งนี้ ในกรณีที่ใช้การฉีดยา #ไม่ใช่การฉีดครั้งเดียวแล้วจบ แต่ต้องฉีดซ้ำทุก 3 เดือน ค่าใช้จ่ายต่อปีประมาณ 150,000 บาทต่อคน โดยเฉลี่ยต้องทำประมาณ 3-5 ปี #ร่วมกับการทำจิตบำบัดเพื่อให้นักโทษสามารถควบคุมความต้องการทางเพศของตัวเองได้

    ผลข้างเคียงคือ เสี่ยงกระดูกผุ เบาหวาน ไขมันในเลือด โรคหัวใจ โรคซึมเศร้า และความจำเสื่อม เป็นต้น

    อย่างไรก็ดี #ในต่างประเทศที่มีการใช้วิธีการเหล่านี้ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันในเรื่องของความคุ้มค่า รวมยังถูกโต้แย้งว่าเป็นวิธีการที่ไร้มนุษยธรรมหรือไม่.
    ----------------------------------
    Source : https://www.facebook.com/kapoomanclub/photos/a.438477310011596/478022232723770/?type=3&theater
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,254
    ค่าพลัง:
    +97,150
    พนิดา แม่สาย

    ตัวเลข ผู้เสียชีวิตยังไม่นิ่ง สึนามิที่อินโดนีเซีย !

     

แชร์หน้านี้

Loading...