ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Clima Extremo 24


    ฝรั่งเศส



    ความเสียหายอย่างรุนแรงใน arch แห่งชัยชนะในฝรั่งเศส


    การทำลายและการปล้นสะดมของภายในของอาร์คแห่งชัยชนะ


    นี่คือปารีสหลังจากการจลาจลที่เกิดจาก "เสื้อ กั๊ก สีเหลือง" เสาร์ที่ 1 ธันวาคมนี้ ของเด็ค ตึก, รถที่ไหม้และร้านที่แตกสลาย
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Clima Extremo 24


    ฝรั่งเศส



    เสื้อกั๊กสีเหลืองเข้าไปในพิพิธภัณฑ์และทำลายวัตถุที่อยู่ภายในอนุสาวรีย์ที่มีชื่อเสียงในปารีส, @ArcDeTriomphe ถูกทำลายอย่างสมบูรณ์ในระหว่างการประท้วงโดยกลุ่มหัวรุนแรง Jaunes Gilets ในหมู่เสื้อกั๊กสีเหลือง


    พวกเขาทำความเสียหายทุกอย่างด้วยค้อน และเข้าร้านค้า เพื่อปล้น พวกเขาทำลายทรัพย์สินอาคารเผารถ ฯลฯ ... ทำให้เกิดการทำลายล้างในประเทศฝรั่งเศส
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Clima Extremo 24


    ฝรั่งเศส



    การประท้วงของ Gilets Jaunes ที่เป็นเสื้อกั๊กสีเหลือง กำลังแผ่กระจายไปทั่วประเทศฝรั่งเศส นอกเหนือจากปารีสในเมือง Nantes ตูลูสและพวกเขามาถึง Marsel การประท้วงรุนแรงนำไปสู่การประท้วงในสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    MGROnline Live


    แป้บเดียวลาวมีกว่า 50 เขื่อนปั่นไฟสว่างไสวไปทั่วประเทศ


    https://mgronline.com/indochina/detail/9610000120133


    #MGRonline #ลาว #เขื่อน


     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    นิด้าโพล เผยผลสำรวจ “ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ปชช.ส่วนใหญ่ระบุ เศรษฐกิจเเย่ลง” -2 ธันวาคม 2018

    1543742641_23323_1.png

    นิด้าโพล เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อเศรษฐกิจไทย ในปี 2561” โดยส่วนใหญ่ 61.92 ระบุว่า ภาพรวมเศรษฐกิจแย่ลง

    วันที่ 2 ธ.ค. 61 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อเศรษฐกิจไทย ในปี 2561” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 26 – 27 พฤศจิกายน 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมา และนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจไทย

    จากการสำรวจเมื่อถามถึงภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.92 ระบุว่า ภาพรวมเศรษฐกิจแย่ลง รองลงมา ร้อยละ 27.12 ระบุว่า ภาพรวมเศรษฐกิจเท่าเดิม และร้อยละ 10.96 ระบุว่า ภาพรวมเศรษฐกิจดีขึ้น

    ด้านนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ประชาชนอยากเห็นจากพรรคการเมืองในการเลือกตั้งที่จะถึงนี้พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 57.60 ระบุว่า นโยบายเกี่ยวกับรับซื้ออุดหนุนพืชผลทางเกษตร และพัฒนาสินค้าทางการเกษตร

    รองลงมา ร้อยละ 23.12 ระบุว่า นโยบายเกี่ยวกับการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ร้อยละ 22.00 ระบุว่า นโยบายเกี่ยวกับการจ้างงาน เพิ่มอาชีพ ลดปัญหาการว่างงาน และแรงงานนอกระบบ ร้อยละ 21.44 ระบุว่า นโยบายเกี่ยวกับการควบคุมราคาสินค้า การผูกขาดทางการค้า การค้าขายอย่างเสรี

    ร้อยละ 14.00 ระบุว่า นโยบายเกี่ยวกับลดอัตราภาษี ร้อยละ 10.96 ระบุว่า นโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว และนโยบายเกี่ยวกับการมอบเงินช่วยเหลือให้แก่ผู้มีรายได้น้อยเพิ่มขึ้น ในสัดส่วนที่เท่ากัน

    ร้อยละ 6.80 ระบุว่า นโยบายเกี่ยวกับการสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) และธุรกิจ Startup ร้อยละ 5.76 ระบุว่า นโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมประสิทธิภาพในการเพิ่มการส่งออกของประเทศ ร้อยละ 4.24 ระบุว่า นโยบายเกี่ยวกับการกระจายอำนาจความเจริญไปตามหัวเมืองใหญ่ในแต่ละภาค

    ร้อยละ 3.28 ระบุว่า นโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของประเทศ เช่น การคมนาคม ถนน รถไฟ และร้อยละ 0.32 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ นโยบายเกี่ยวกับการลดค่าครองชีพ (เช่น ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง) และนโยบายเกี่ยวกับการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน

    1543742649_65165_3.png

    เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนว่าหลังจากมีการเลือกตั้ง ในปี 2562 เศรษฐกิจไทยจะดีขึ้นหรือไม่ ? พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 60.16 ระบุว่า เศรษฐกิจไทยจะดีขึ้น เพราะ มีความมั่นใจต่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง รัฐบาลชุดใหม่น่าจะมีแนวทางในการบริหารและพัฒนาประเทศได้ดีกว่า และต่างชาติจะเข้ามาลงทุนมากขึ้น

    รองลงมา ร้อยละ 31.60 ระบุว่า เศรษฐกิจไทยจะเหมือนเดิม เพราะ ปัญหาเศรษฐกิจเป็นปัญหาที่แก้ยาก ต้องใช้เวลาในการแก้ไขปัญหา ต้องอาศัยปัจจัยหลายๆ อย่างร่วมด้วย และไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลชุดไหนก็เหมือนเดิม ร้อยละ 4.56 ระบุว่า เศรษฐกิจไทยจะแย่ลง เพราะ เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก และไม่มีความต่อเนื่องในการดำเนินการแก้ไขปัญหา ส่วนร้อยละ 3.68 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

    1543742646_45375_2.png

    ที่มา นิด้าโพล

    https://workpointnews.com/2018/12/02/นิด้าโพล-เผยผลสำรวจ-ในร/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Nemsis - نمسيس

    IMG_5625.JPG
    Santorini (thera) & etna ภูเขาไฟที่ซับซ้อนทั้งหมดที่ใช้งานอยู่ตอนนี้


     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    The Public Post


    เนเธอร์แลนด์ระงับส่งออกอาวุธให้ซาอุฯ ยูเออี และอียิปต์ จากกรณีสงครามเยเมน

    https://www.publicpostonline.net/20021


     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    The Public Post





    #ใครๆก็ไม่รัก "โมฮัมหมัด บินซัลมาน" เจ้าชายมกุฎราชกุมารซาอุฯ ในที่ประชุมสุดยอด G20 / คลิป the guardian
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ไทยโพสต์


    เอาแล้ว!สุเทพเผยปากท้องยุคลุงตู่ถึงขั้นสาหัส


     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    การประชุมซัมมิต จี20 ที่ปิดฉากด้วยการทำข้อตกลงหยุดยิงในสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน เผยแพร่: 3 ธ.ค. 2561 04:26 โดย: กองบรรณาธิการเอเชียไทมส์
    561000012487001.jpg

    ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน พร้อมคณะผู้แทนฝ่ายจีน จัดการประชุมบนโต๊ะดินเนอร์ กับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ และคณะผู้แทนฝ่ายอเมริกัน ที่กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา คืนวันเสาร์ (1 ธ.ค.)
    (เก็บความจากเอเชียไทมส์ www.atimes.com)

    US, China hammer out trade war truce to ease global tensions
    By Asia Times staff
    01/12/2018

    โดนัลด์ ทรัมป์ กับ สี จิ้นผิง ระงับการขึ้นภาษีศุลกากรเข้าใสกันเอาไว้เป็นการชั่วคราว 90 วัน หลังจากพวกเขาหารือกันระหว่างดินเนอร์ ณ การประชุมซัมมิต จี20 ที่อาร์เจนตินา

    สัญญาสงบศึกสงครามการค้าเป็นระยะเวลา 90 วัน คลอดออกมาได้สำเร็จโดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ และประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน ภายหลังการเจรจาหารือระหว่างดินเนอร์ในลักษณะมินิซัมมิต เมื่อคืนวันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม ข้างเคียงการพบปะระดับผู้นำของกลุ่ม 20 ประเทศเศรษฐกิจชั้นนำของโลก (จี 20) ในกรุงบัวโนสไอเรส เมืองหลวงของอาร์เจนตินา

    ขณะรับประทานสเต็กแกล้มไวน์อาร์เจนตินา ผู้นำทั้งสองก็ สามารถบรรลุการหยุดยิงเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดทางการค้าที่กำลังส่งผลกระทบกระเทือนไปทั่วโลก และให้ความมั่นใจได้ว่า ไม่มีการตอบโต้ขึ้นพิกัดอัตราศุลกากรเข้าใส่สินค้าเข้ามูลค่านับแสนๆ ล้านดอลลาร์ของอีกฝ่ายหนึ่งจนบานปลายขยายตัวออกไปเรื่อยๆ อีกแล้ว อย่างน้อยก็ในเฉพาะหน้านี้

    “นี่เป็นการพบปะหารือที่แสนอัศจรรย์และก่อเกิดดอกผลซึ่งทำให้มีความเป็นไปได้อย่างไร้ขีดจำกัดสำหรับทั้งสหรัฐฯและทั้งจีน” ประธานาธิบดีอเมริกันระบุเช่นนี้ในคำแถลงฉบับหนึ่ง “ถือเป็นเกียรติยิ่งใหญ่ของผมที่ได้ทำงานกับประธานาธิบดีสี”

    ผู้สังเกตการณ์บางคนบอกว่าอันที่จริงแล้วนี่ถือเป็นข้อตกลงหยุดยิงแค่บางส่วนเท่านั้น โดยที่การขึ้นภาษีศุลกากรของฝ่ายสหรัฐฯที่ใช้อยู่ในเวลานี้ ทั้งส่วนที่จัดเก็บจากสินค้าเข้าของจีนมูลค่า 50,000 ล้านดอลลาร์ในอัตรา 25% และส่วนที่จัดเก็บจากสินค้าเข้าของจีนมูลค่า 200,000 ล้านดอลลาร์ในอัตรา 10% ยังคงมีผลบังคับใช้อยู่ เช่นเดียวกับมาตรการแก้เผ็ดของฝ่ายจีนซึ่งขึ้นพิกัดอัตราศุลกากรเอากับสินค้าเข้าอเมริกันมูลค่ารวม 110,000 ล้านดอลลาร์

    กระนั้นก็ตาม จากสัญญาสงบศึกครั้งนี้ก็หมายความว่า สินค้าเข้าของจีนส่วนที่มีมูลค่า 200,000 ล้านดอลลาร์นั้น จะไม่ถูกปรับขึ้นภาษีศุลกากรไปเป็น 25% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2019 อย่างน้อยก็เป็นการชั่วคราว รวมทั้งคำขู่ครั้งแล้วครั้งเล่าของทรัมป์ที่จะปรับขึ้นพิกัดอัตราศุลกากรเอากับสินค้าเข้าของจีนอีกส่วนหนึ่งมูลค่า 267,000 ล้านดอลลาร์ ก็จะถูกแช่แข็งเอาไว้ก่อน และเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับการผ่อนปรนเช่นนี้ สหรัฐฯต้องการให้ทั้งสองฝ่ายเริ่มเปิดการเจรจาหารือกันทันทีในเรื่องที่สร้างความกังวลมากที่สุดให้แก่วอชิงตัน เป็นต้นว่า การปฏิบัติทางการค้าของจีน, การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา, กำแพงกีดกันการค้าซึ่งอยู่ในรูปที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร, และการโจรกรรมทางไซเบอร์

    การเจรจาหารือนี้จะดำเนินไปเป็นระยะเวลา 90 วัน โดยที่ปักกิ่งได้ตกลงที่จะซื้อสินค้าและผลิตภัณฑ์ของสหรัฐฯเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งผลิตภัณฑ์การเกษตรด้วย ทั้งนี้รายการซื้อหาเหล่านี้ฝ่ายจีนได้เสนอขึ้นสู่โต๊ะเจรจา อย่างน้อยตั้งแต่การหารือต่อรองเมื่อช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมาแล้ว

    “ข้อตกลงอันสำคัญมากครั้งนี้ คือการป้องกันอย่างทรงประสิทธิภาพไม่ให้ความเครียดเค้นทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศทั้งสองเกิดการขยายตัวออกไปอีก และก็เป็นการเปิดที่ทางใหม่ๆ สำหรับการร่วมมือกันเพื่อให้เป็นผู้ชนะกันทั้งสองฝ่าย” มนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีต่างประเทศ หวัง อี้ ของจีน บอก

    “เรื่องนี้ไม่เพียงมีส่วนช่วยเหลือการพัฒนาของประเทศเราทั้งสอง ตลอดจนการอยู่ดีกินดีของประชาชนจีนและประชาชนอเมริกันเท่านั้น แต่ยังมีส่วนช่วยเหลือการเติบโตขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพของเศรษฐกิจโลกอีกด้วย” หวัง กล่าวต่อ

    บรรยากาศการมองโลกในแง่ดีเช่นนี้จะสามารถประคับประคองเอาไว้ตลอดระยะเวลา 3 เดือนข้างหน้าได้หรือไม่ เป็นสิ่งที่เปิดกว้างให้แก่การอภิปรายถกเถียงกัน เพียงแต่แน่ใจได้เลยว่าการเจรจาต่อรองจะดำเนินไปอย่างลำบากยากเย็น ประธานาธิบดีสีแทบไม่ได้แสดงอาการอ่อนข้ออะไรเลย ในคำแถลงของเขาก่อนหน้านี้ ซึ่งเขาบอกว่า “มีแต่พวกเราจะต้องร่วมมือกันเท่านั้น พวกเราจึงจะสามารถรับใช้ผลประโยชน์ของทั้งสันติภาพและความมั่งคั่งไพบูลย์ได้”

    พวกชาติ จี20 นั้นกระตือรือร้นที่จะได้เห็นสัญญาณความก้าวหน้าจากการประชุมที่บัวโนสไอเรส ขณะที่สงครามการค้าซึ่งดำเนินมาเป็นเวลาหลายเดือนแล้วทำท่าคุกคามจะบานปลายกลายเป็นสงครามเย็นทางเศรษฐกิจครั้งใหม่ ส่วนสำหรับตลาดการเงินทั่วโลก สิ่งบ่งชี้ความคืบหน้าของการเจรจาระหว่างทรัมป์กับสีนี่แหละ กำลังกลายเป็นตัวกระตุ้นใหญ่เพียงอย่างเดียวที่พวกเขากำลังเฝ้ามองหา

    อย่างไรก็ดี ผลลัพธ์จากเดตดินเนอร์ระหว่างทรัมป์กับสี ก่อให้เกิดปฏิกิริยาในลักษณะผสมผสานกัน เมื่อมาถึงคำถามที่ว่ามันช่วยคลี่คลายความแตกต่างในขั้นรากฐานระหว่างชาติเจ้าของระบบเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 1 และอันดับ 2 ของโลกหรือไม่

    “ผมมองผลครั้งนี้ว่าเป็นชัยชนะของฝ่ายจีน ตามที่ผมเคยรายงานเอาไว้ในข้อเขียนจากปักกิ่งเมื่อวันที่ 23 ตุลาคมของผม” เดวิด พี โกลด์แมน (David P Goldman) ซึ่งเป็นคอลัมนิสต์และหุ้นส่วนในเอเชียไทมส์ด้วย กล่าวแสดงความคิดเห็น “ทรัมป์กำลังเรียกร้องในสิ่งที่ผิดพลาด ดังนั้นจีนก็จะสนองตอบให้แก่เขา เขาได้สิ่งที่จะใช้ประกาศชัยชนะ และจีนก็ได้สิ่งที่จะทำให้สามารถมีฐานะครอบงำเศรษฐกิจโลกได้ภายในเวลา 15 ปี” (อ่านข้อเขียนเมื่อวันที่ 23 ต.ค. 2018 ของโกลด์แมน ได้ที่ http://www.atimes.com/article/china-seeks-framework-for-november-deal-with-trump/)

    ‘ข้อเรียกร้องสูงสุด’

    แต่สำหรับ ไมเคิล พิลสบิวรี (Michael Pillsbury) นักวิจัยอาวุโสแห่งสถาบันฮัดสัน (Hudson Institute) และเคยเป็นเจ้าหน้าที่กลาโหมซึ่งทำงานให้ประธานาธิบดีอเมริกันหลายคน เป็นต้นว่า โรนัลด์ เรแกน และ จอร์จ ดับเบิลยู บุช มีความโน้มเอียงที่จะมองโลกในแง่สดใสมากกว่า

    “ทั้งสองฝ่ายไม่ว่าฝ่ายไหนก็ไม่ได้รับตามข้อเรียกร้องต้องการสูงสุดของพวกเขาหรอก แล้วมันก็ไม่ใช่ครั้งแรกในความสัมพันธ์สหรัฐฯ-จีนที่ทั้งสองฝ่ายต่างประกาศอ้างว่าเป็นฝ่ายมีชัย” เขาบอกกับสำนักข่าวบลูมเบิร์ก พร้อมกับย้ำว่า “ทั้งสองฝ่ายต่างหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดฉากทัศน์ภาพสมมุติสถานการณ์แบบเลวร้ายที่สุด”

    นอกเหนือจากการเจรจาหารือระหว่างทรัมป์กับสีแล้ว ตัวการประชุมซัมมิตประจำปีในเมืองหลวงของอาร์เจนตินาคราวนี้ ปิดฉากลงด้วยการออกคำแถลงที่ใช้ถ้อยคำแสดงท่าทีซึ่งอ่อนยวบกว่าปีก่อนๆ

    แถลงการณ์ของ จี20 ปีนี้ ได้รับการยอมรับในท้ายที่สุดภายหลังพวกเจ้าหน้าที่เจรจาของชาติต่างๆ ใช้เวลาต่อรองโต้ตอบกันตลอดทั้งคืน เพื่อให้เป็นที่แน่ใจได้ว่าซัมมิตนี้อย่างน้อยที่สุดก็สามารถออกหลักนโยบายร่วมได้ ไม่เหมือนกับการประชุมระดับผู้นำทั้งของกลุ่มจี7 และของเอเปกเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งจากการคัดค้านของทรัมป์ได้เป็นเหตุให้ล้มครืนไม่สามารถออกคำแถลงร่วมได้

    กระนั้น แถลงการณ์ของซัมมิต จี20 ครั้งนี้ ก็มีข้อความที่แสดงถึงความแตกแยกอย่างเปิดเผย โดยระบุว่า สมาชิกทุกๆ รายของกลุ่มยกเว้นสหรัฐฯ เห็นพ้องต้องกันที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ “อย่างชนิดไม่มีการหันหลังกลับ” ก่อนหน้าการประชุมซัมมิตภายใต้การอุปถัมภ์ของสหประชาชาติเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในสัปดาห์หน้าที่ประเทศโปแลนด์

    แล้วจากนั้น แถลงการณ์ก็ต่อด้วยข้อความที่ว่า “สหรัฐฯเน้นย้ำอีกครั้งถึงการตัดสินใจของตนที่จะถอนตัวออกจากข้อตกลงปารีส” เรื่องนี้นับเป็นภาพสะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นในปีที่แล้ว เมื่อประธานาธิบดีอเมริกันผู้นี้ทำให้ประชาคมโลกรู้สึกช็อกจากการต่อต้านไม่ยอมโอนอ่อนเพื่อให้เกิดฉันทามติในการประชุมซัมมิต จี20 ครั้งแรกของเขา

    คำถามเรื่องความน่าเชื่อถือ

    แถลงการณ์ จี20 คราวนี้ยังตัดทิ้งคำมั่นสัญญาที่จะต่อสู้กับลัทธิกีดกันการค้า และยึดมั่นในกฎกติกาทางการค้าแบบพหุภาคี ซึ่งเคยถือเป็นกระแสหลักของประเทศเศรษฐกิจชั้นนำของโลกเหล่านี้ก่อนหน้าทรัมป์เข้ามามีบทบาท

    ตรงกันข้าม แถลงการณ์เพียงแค่กล่าวยอมรับ “คุณูปการ” ของ “ระบบการค้าพหุภาคี” พร้อมกับระบุต่อไปว่า ระบบดังกล่าวนี้ “มีความบกพร่อง” ในเป้าหมายด้านการเติบโตขยายตัวทางเศรษฐกิจและเป้าหมายด้านการสร้างงาน

    ประธานาธิบดี เมาริซิโอ มากริ แห่งอาร์เจนตินา ซึ่งเป็นเจ้าภาพของซัมมิตคราวนี้ อธิบายในที่ประชุมแถลงข่าวหนหนึ่งว่า “สหรัฐฯ ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจที่เปิดกว้างมากที่สุดในโลก ไม่ยินยอมที่จะตกอยู่ใต้พันธนาการใดๆ”

    ในอีกตอนหนึ่ง แถลงการณ์ จี20 ตกลงเห็นพ้องกันว่าจะต้องปฏิรูปองค์การการค้าโลก (World Trade Organization หรือ WTO) ซึ่งถูกทรัมป์กล่าวหาว่าเป็นตัวจำกัดเสรีภาพทางการพาณิชย์ของสหรัฐฯ ในเชิงให้ประโยชน์แก่จีนตลอดจนคู่แข่งอื่นๆ ของสหรัฐฯ

    กระนั้น สำหรับ โธมัส เบิร์นส์ (Thomas Bernes) นักวิจัยอาวุโสแห่ง ศูนย์กลางเพื่อนวัตกรรมด้านธรรมาภิบาลระหว่างประเทศ (Center for International Governance Innovation) ซึ่งตั้งอยู่ในแคนาดา และตัวเขาเองก็เคยเป็นผู้เจรจาในที่ประชุม จี20 ให้แก่รัฐบาลแคนาดามาแล้ว เขาวิจารณ์ว่า เนื้อหาของแถลงการณ์คราวนี้สะท้อนให้เห็นถึง “การมีสิ่งร่วมกันอย่างน้อยนิดที่สุด”

    “มันเป็นแถลงการณ์ที่อ่อนปวกเปียกที่สุดเท่าที่เราได้เคยเห็นกันมาจาก จี20” เขากล่าวกับเอเอฟพี โดยพูดถึงภาพของกลุ่มนี้ในยุคของทรัมป์ในปัจจุบัน ว่าช่างตัดแย้งตรงกันข้ามกับบรรยากาศความสำนึกในวัตถุประสงค์ร่วมกันของซัมมิต จี20 ครั้งแรก ซึ่งพวกผู้นำมาประชุมกันท่ามกลางวิกฤตการณ์ภาคการเงินทั่วโลก

    ทรัมป์, ปูติน, มกุฎราชกุมารซาอุดีฯ

    ความมุ่งมั่นตั้งใจของทรัมป์ที่จะถูลู่ถูกังผลักดันวาระ “อเมริกันต้องมาเป็นอันดับแรก” (America First) ของเขา ช่างขัดแย้งตรงกันข้ามกับการมุ่งสร้างพันธมิตรในสมัยประธานาธิบดี จอร์จ เอชดับเบิลยู บุช ซึ่งการถึงแก่อสัญกรรมของเขาเมื่อวันศุกร์ (30 พ.ย.) กระตุ้นให้พวกผู้นำยุโรป รวมทั้งนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล ของเยอรมนี และประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส พากันแถลงแสดงความไว้อาลัยอย่างกระตือรือร้น

    ตัวทรัมป์เองก็อ้างเรื่องการจากไปของอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯผู้นี้ เป็นเหตุผลสำหรับการที่เขาหลีกเลี่ยงไม่จัดการประชุมแถลงข่าวเมื่อตอนซัมมิต จี20 คราวนี้เสร็จสิ้นลง เขาบอกว่า ที่ต้องงดไปก็เพื่อ “แสดงความเคารพ” ต่อครอบครัวบุช

    นี่ถือเป็นการยกเลิกครั้งที่ 2 ของทรัมป์ในระหว่างซัมมิต จี20 คราวนี้ ภายหลังจากเขาถอนตัวไม่ประชุมซัมมิตกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย โดยยกเหตุผลเรื่องที่รัสเซียยึดเรือ 3 ลำของกองทัพเรือยูเครน ในน่านน้ำทะเลดำบริเวณนอกชายฝั่งแหลมไครเมียไปเมื่อเร็วๆ นี้ ถึงแม้ผู้นำทั้งสองมีการพบปะเจอะเจอคุยกันระหว่างอยู่ในที่ประชุม จี20 ก็ตามที

    ทำเนียบขาวระบุว่าการเจอะเจอคุยกันเช่นนี้เป็นเพียงการพูดคุยกันอย่างไม่เป็นทางการ ทว่าปูตินกลับให้ความสำคัญมากกว่ากับการเจอหน้ากันเช่นนี้

    “พวกเรายืนคุยกัน ผมตอบคำถามต่างๆ ของเขาเกี่ยวกับเหตุการณ์ในทะเลดำ” ปูตินบอกกับพวกผู้สื่อข่าว หลังจากถูกกดดันเกี่ยวกับประเด็นเรื่องยึดเรือยูเครนนี้มาก่อนแล้วทั้งจากแมร์เคิลและมาครง ในระหว่างการประชุมซัมมิต

    ปูตินบอกด้วยว่ามันเป็น “เรื่องน่าเสียใจ” ในการที่เขาไม่สามารถพบปะหารืออย่างเป็นเรื่องเป็นราวกับทรัมป์ “ผมคิดว่าการหารือกันนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นจริงๆ ผมหวังว่าพวกเราจะสามารถพบปะเจรจากันได้เมื่อฝ่ายสหรัฐฯมีความพร้อมสำหรับเรื่องนี้”

    อย่างไรก็ดี ในบัวโนสไอเรส ผู้นำรัสเซียยังคงมีการสนทนาที่ก่อเกิดดอกผลมากกว่า เมื่อเขาหารือกับมกุฎราชกุมารเจ้าชายโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน แห่งซาอุดีอาระเบีย

    เขาทักทายเจ้าชายมกุฎราชกุมารองค์นี้ในแบบของเพื่อนมิตรที่ไม่ได้เจอกันมานาน โดยไม่แยแสสนใจคำตำหนิวิจารณ์ชวนให้อดสูของฝ่ายตะวันตก ในเรื่องที่เจ้าชายองค์นี้ถูกกล่าวหาว่ามีบทบาทอยู่เบื้องหลังการสังหาร จามาล คาช็อกกี นักหนังสือพิมพ์ปากกล้าชาวซาอุดีอาระเบียเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา

    ทรัมป์ก็ได้พบปะเป็นเวลาสั้นๆ กับมกุฎราชกุมารองค์นี้เช่นเดียวกัน โดยที่เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวระบุว่าทั้งสองได้คุยเล่นกันระหว่างวาระถ่ายภาพหมู่ของบรรดาผู้นำ ขณะที่ทรัมป์กล่าวในเวลาต่อมาว่า “พวกเราไม่ได้มีการหารืออะไรกัน”

    ทางด้านกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯออกคำแถลงระบุว่า รัฐมนตรีต่างประเทศอเมริกัน ไมค์ พอมเพโอ กับรัฐมนตรีต่างประเทศ อเดล อัล-จูเบร์ (Adel al-Jubeir) ของซาอุดีอาระเบีย ได้หารือกันถึงความจำเป็นที่จะต้องมีความคืบหน้าในการสอบสวนกรณีการสังหารโหดและการทำลายศพของคาช็อกกี ระหว่างที่บุคคลทั้งสองพูดจากันเมื่อวันศุกร์ (30 พ.ย.)

    คณะบริหารทรัมป์นั้นถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เนื่องจากท่าทีซึ่งถูกเข้าใจว่ามีความยินดีที่จะมองเมินคดีฆาตกรรมหฤโหดนี้ เพื่อให้สามารถธำรงรักษาความผูกพันที่มีอยู่กับชาติพันธมิตรตะวันออกกลางรายสำคัญยิ่งยวดนี้ อีกทั้งยังเป็นผู้ซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์อเมริกันรายใหญ่ด้วย

    รายงานข่าวยังระบุว่า ระหว่างที่นายกรัฐมนตรีเทเรซา เมย์ ของอังกฤษ ประชุมพบปะกับเจ้าชายมกุฎราชกุมารซาอุดีอาระเบีย ข้างเคียงซัมมิต จี20 นั้น เธอได้พูดว่าพวกฆาตกรสังหารคาช็อกกีควรต้องถูกจับตัวมาดำเนินคดีตามความผิด และซาอุดีอาระเบียควรต้องมีความเคลื่อนไหวเพื่อทำให้เกิดความมั่นใจว่าเหตุการณ์เช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นมาอีก

    ทางด้านมาครงซึ่งก็ได้ประชุมพบปะทวิภาคีกับเจ้าชายพระองค์นี้เช่นเดียวกัน แถลงว่ายุโรปจะยืนกรานเรียกร้องให้พวกผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศได้เข้าร่วมในการสอบสวนการสังหารคาช็อกกีด้วย ทั้งนี้ตามข่าวของสำนักข่าวรอยเตอร์ ขณะที่บลูมเบิร์กบอกว่า มีรายงานว่าปูตินได้ดึงเอาปากกาและกระดาษออกมา เพื่อสเก็ตซ์ภาพการปะทะคารมกันครั้งย่อมๆ ในระหว่างการประชุมซัมมิต

    ทั้งนี้ ซาอุดีอาระเบียยืนกรานเรื่อยมาว่า เจ้าชายมกุฎราชกุมารไม่ได้ทรงทราบเรื่องการฆาตกรรมคราวนี้ล่วงหน้าใดๆ ทั้งสิ้น

    (ข้อเขียนชิ้นนี้รวบรวมจากรายงานของสำนักข่าวต่างๆ รวมทั้งสำนักข่าวเอเอฟพี)

    https://mgronline.com/around/detail/9610000120138
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ความเสียหายจาก การชุมนุมประท้วง หรือ รายได้การขึ้นภาษีเชื้อเพลิงอันไหนคุ้มค่ากว่ากัน

    ฝรั่งเศสชั่งใจเรื่องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ล้อมคอกหลังเกิดจลาจลแรงสุดใน 50 ปี
    เผยแพร่: 2 ธ.ค. 2561 19:27 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
    561000012478601.jpg

    รอยเตอร์ – รัฐบาลฝรั่งเศสเตรียมพิจารณาทางเลือกต่างๆ เพื่อป้องกันจลาจลครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปีเกิดขึ้นซ้ำรอยในปารีส ซึ่งรวมถึงการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ย้ำแม้เปิดกว้างสำหรับการเจรจาแต่จะไม่ยอมเปลี่ยนแปลงนโยบายใดๆ

    สืบเนื่องจากเมื่อวันเสาร์ (1 ธ.ค.) กลุ่มคนชุดดำสวมหน้ากากปิดบังใบหน้าออกอาละวาดกลางกรุงปารีส ทั้งจุดไฟเผารถและอาคาร เข้าปล้นร้านค้า ทุบทำลายกระจกหน้าร้าน และต่อสู้กับตำรวจ ซึ่งถือเป็นเหตุจลาจลครั้งร้ายแรงที่สุดนับจากปี 1968 และถือเป็นความท้าทายใหญ่หลวงที่สุดสำหรับประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ที่เข้ารับตำแหน่งเมื่อ 18 เดือนที่แล้ว

    เหตุการณ์วุ่นวายยังขยายวงไปยังเมืองต่างๆ ทั่วแดนน้ำหอม ตั้งแต่ชาร์ลเลอวิว เมซิแยร์ทางตะวันออกเฉียงเหนือจนถึงนองต์ทางตะวันตกและมาร์เซย์ทางใต้

    เบนจามิน กริโวซ์ โฆษกรัฐบาลฝรั่งเศส ให้สัมภาษณ์สถานีวิทยายุโรป 1 เมื่อวันอาทิตย์ (2 ธ.ค.) ว่า รัฐบาลต้องคิดถึงมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอีก

    การประท้วงครั้งนี้ไม่มีที่มาที่ไปชัดเจน โดยเริ่มต้นเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายนและลุกลามอย่างรวดเร็วผ่านโซเชียลมีเดีย มีการชุมนุมปิดถนนทั่วฝรั่งเศส และกีดขวางทางเข้าห้างสรรพสินค้า โรงงาน และปั๊มน้ำมันบางแห่ง

    การประท้วงเริ่มต้นจากกระแสต่อต้านการขึ้นภาษีเชื้อเพลิงของมาครง ผสมโรงกับความไม่พอใจมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมของผู้นำรุ่นใหม่ผู้นี้ ซึ่งผู้มีสิทธิ์ออกเสียงจำนวนมากเห็นว่า เอื้อประโยชน์ต่อคนรวยและธุรกิจขนาดใหญ่มากกว่า

    เจ้าหน้าที่ต่างประหลาดใจกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นในวันเสาร์ ที่บดบังขบวนการประท้วงซึ่งก่อตัวขึ้นเองจากความไม่พอใจที่ชื่อว่า “กลุ่มเสื้อกั๊กเหลือง” เนื่องจากผู้เข้าร่วมจำนวนมากสวมเสื้อนิรภัยเรืองแสงสีเหลืองที่มีอยู่ในรถทุกคันในฝรั่งเศส

    ที่ปารีส ตำรวจจับกุมผู้ประท้วงกว่า 400 คน และมี 133 คนได้รับบาดเจ็บ ซึ่งรวมถึงสมาชิกกองกำลังความมั่นคง 23 คน รายงานระบุว่า ตำรวจขว้างระเบิดแสง ยิงแก๊สน้ำตา และฉีดน้ำเข้าใส่กลุ่มผู้ชุมนุมที่ฌองส์-เอลิเซส์ สวนสาธารณะตุยเลอรีใกล้พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ และที่อื่นๆ

    รอยเตอร์รายงานว่า มาครงจะประชุมฉุกเฉินกับนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีมหาดไทยช่วงเย็นวันอาทิตย์เพื่อหารือเกี่ยวกับจลาจลและวิธีเริ่มการเจรจากับกลุ่มเสื้อกั๊กเหลืองที่ไม่มีโครงสร้างหรือผู้นำที่แท้จริง

    เมื่อถูกถามว่า มาตรการจัดการของรัฐบาลรวมถึงการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือไม่ กริโวซ์ยอมรับว่า อาจเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ที่ประชุมพิจารณา

    เขายังเรียกร้องให้กลุ่มเสื้อกั๊กเหลืองตัดขาดจากกลุ่มหัวรุนแรงที่เป็นต้นเหตุก่อความรุนแรง และจัดระเบียบกลุ่มของตัวเองเพื่อเริ่มต้นเจรจากับรัฐบาล อย่างไรก็ตาม กริโวซ์ย้ำว่า รัฐบาลจะไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายเด็ดขาด

    เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสระบุว่า กลุ่มที่ก่อความรุนแรงเป็นพวกขวาจัดและซ้ายจัด รวมถึงพวก “อันธพาล” จากชานเมือง ที่แทรกซึมเข้าไปอยู่ในกลุ่มเสื้อกั๊กเหลืองในปารีสเมื่อวันเสาร์ แม้คริสตอฟ แคสเทเนอร์ รัฐมนตรีมหาดไทย เผยว่า ผู้ที่ถูกจับกุมส่วนใหญ่เป็นผู้ประท้วงทั่วไปที่ถูกพวกชายขอบยั่วยุก็ตาม

    แคสเทเนอร์เสริมว่า เจ้าหน้าที่นำมาตรการรักษาความปลอดภัยทั้งหมดมาใช้เพื่อป้องกันความไม่สงบ แต่สิ่งที่พบคือกลุ่มสุดโต่งที่ใช้ความรุนแรง มีการจัดตั้งและมีเป้าหมายชัดเจน

    เขายังยอมรับว่า รัฐบาลผิดพลาดในการสื่อสารแผนการในการลดการพึ่งพิงน้ำมันซึ่งเป็นนโยบายที่นำไปสู่การขึ้นภาษีเชื้อเพลิง

    https://mgronline.com/around/detail/9610000120085
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เจนจิรา จันทรเสนา



    สหรัฐอเมริกาในทุกวันนี้ ชีวิตประจำวันก็จะง่วน..ยุ่งอยู่กับด่าน ยุ่งอยู่กับการซ้อมรับมือคาราวานผู้อพยพ ทางด่านชายแดน

    Border patrol agents hold mass exercises in New Mexico #SunlandPark

    Ruptly
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เจนจิรา จันทรเสนา

    คุ้นๆกับภาพแบบนี้ เรามักจะได้เห็นเป็นประจำในการประท้วงก่อจลาจลรุนแรงในฝรั่งเศส!

    โดยผู้ประท้วงมักจะบอกว่าเป็นพวกมือที่ 3 ที่อาศัยสถานการณ์ไปขโมยของ ส่วนตำรวจก็จะบอกว่า เป็นฝีมือผู้ประท้วงนั่นแหละ
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เจนจิรา จันทรเสนา


    ที่กรุงมอสโคว์ ของรัสเซีย เน้นไปที่การฝึกซ้อมรับมือของหน่วยต่อต้านการก่อการร้าย

    Anti-terror units soar over Moscow in nets suspended from helicopters as part of drills

    Ruptly
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สถานการณ์เดือด‘รัสเซีย-ยูเครน’ บ่อนทำลาย‘ซัมมิตทรัมป์-ปูติน’
    เผยแพร่: 28 พ.ย. 2561 03:31 โดย: เอ็ม เค ภัทรกุมาร
    561000012319201.jpg

    เรือ 3 ลำของกองทัพเรือยูเครน ซึ่งถูกฝ่ายรัสเซียยึดเอาไว้จากเหตุการณ์ที่ช่องแคบเคิร์ช ถูกนำมาจอดอยู่ที่ท่าเรือเมืองเคิร์ช แหลมไครเมีย
    Rising Crimea tensions mar Trump-Putin meeting
    By M.K. Bhadrakumar
    26/11/2018

    เหตุการณ์เรือรัสเซียกับเรือยูเครนเผชิญหน้ากันที่ช่องแคบเคิร์ช ในแหลมไครเมีย ทำให้ประธานาธิบดีเปโดร โปโรเชนโก ของยูเครน รีบเร่งรัดให้ประกาศกฎอัยการศึก ซึ่งเปิดทางให้เขาระงับการเลือกตั้งในต้นปีหน้าได้ ขณะเดียวกันก็ทำให้ฝ่ายตะวันตกที่ต่อต้านรัสเซีย ปลุกกระแสบ่อนทำลายการประชุมซัมมิตทรัมป์-ปูติน ที่อาร์เจนตินาสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้

    “ความขัดแย้งที่ถูกแช่แข็งเอาไว้” (‘frozen conflict’) ในยูเครน กลับตูมตามสำแดงอิทธิฤทธิ์ขึ้นอย่างฉับพลันเมื่อวันอาทิตย์ (25 พ.ย.) ด้วยเหตุการณ์การเผชิญหน้ากันระหว่างนาวีของฝ่ายยูเครนกับฝ่ายรัสเซีย ที่ช่องแคบเคิร์ช (Kerch Strait) ในแหลมไครเมีย โดยที่ช่องแคบนี้เป็นเส้นทางผ่านจากทะเลดำเข้าสู่ทะเลอะซอฟ (Sea of Azov) ฝ่ายรัสเซียได้ยึดเรือยูเครนจำนวน 3 ลำที่พยายามแล่นเข้าสู่ทะเลอะซอฟ (ในทะเลแห่งนี้ ยูเครนมีเมืองท่าอยู่ 2 แห่ง) ทั้งนี้เรือของรัสเซียได้ยิงใส่เรือของยูเครนเหล่านี้ โดยกล่าวหาว่าไม่ยอมฟังคำตักเตือนและล่วงล้ำน่านน้ำที่เป็นดินแดนของรัสเซีย ทำให้มีบุคลากรของยูเครนได้รับบาดเจ็บจำนวน 3 คน

    ทะเลอะซอฟกำลังกลายเป็นจุดรวมศูนย์ของความขัดแย้งระหว่างยูเครนกับรัสเซียมากขึ้นเรื่อยๆ โดยที่เคียฟยืนกรานว่าตนเองมีสิทธิที่จะแล่นเรือผ่านช่องแคบแห่งนี้ (ตามสนธิสัญญาที่ได้ทำไว้กับรัสเซียเมื่อปี 2003) แต่มอสโกยืนยันว่าเวลานี้ตนมีอภิสิทธิ์แห่งอำนาจอธิปไตยในการควบคุมช่องแคบเคิร์ชแล้ว

    แน่นอนทีเดียว ความตึงเครียดขัดแย้งตรงนี้โดยพื้นฐานแล้วมีจุดเริ่มต้นจากการที่รัสเซียผนวกแหลมไครเมียเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของตนเมื่อปี 2014 ยูเครนเรียกการผนวกดินแดนคราวนั้นว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เวลานี้มอสโกประเมินสถานการณ์ว่าพวกมหาอำนาจฝ่ายตะวันตกกำลังกระตุ้นส่งเสริมยูเครนให้เพิ่มการปรากฏตัวด้านทัพเรือของตนในทะเลอะซอฟให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งแน่ล่ะเรื่องนี้ย่อมมีนัยยะทางด้านความมั่นคงปลอดภัยอย่างสาหัสร้ายแรงต่อแหลมไครเมีย

    สิ่งที่ทำให้สถานการณ์ยิ่งสับซับซ้อนขึ้นไปอีกก็คือ รัสเซียได้ก่อสร้างสะพานความยาว 19 กิโลเมตรคร่อมช่องแคบเคิร์ชเพื่อเชื่อมระหว่างไครเมียกับดินแดนแผ่นดินใหญ่ของรัสเซีย รัสเซียมีความระแวงสงสัยว่าอาจจะมีการเปิดปฏิบัติการลับเพื่อทำลายสะพานเคิร์ชแห่งนี้ ซึ่งกลายเป็นเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อกับแหลมไครเมียที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

    จากรายละเอียดเท่าที่ปรากฏออกมาในเวลานี้ ยูเครนเร่งรัดให้เกิดเหตุการณ์ในวันอาทิตย์ (25 พ.ย.) คราวนี้ ทีนี้ ลองมาพิจารณาถึงเหตุผลกันว่าทำไมยูเครนจึงได้เคลื่อนไหวเช่นนี้ในตอนนี้? คำอธิบายประการหนึ่งก็คือทั้งหลายทั้งปวงอาจจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเมืองของยูเครนเอง กล่าวคือ ยูเครนกำลังจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีและเลือกตั้งรัฐสภากันในเดือนมีนาคมปีหน้า โดยที่ เปโตร โปโรเชนโก (Petro Poroshenko) ประธานาธิบดียูเครนคนปัจจุบันซึ่งเป็นพวกโปรอเมริกันนั้น กำลังพยายามอย่างหนักเพื่อที่จะดำรงตำแหน่งต่อไปอีกสมัยหนึ่ง ทว่าเขาไม่เป็นที่นิยมของประชาชนเอาเลย โดยที่ในปัจจุบันเรตติ้งความยอมรับในตัวเขาอยู่ที่ 8% เท่านั้น เขาจึงไม่น่าที่จะได้รับเลือกตั้งอีกวาระหนึ่ง

    561000012319202.jpg


    เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากว่า โปโรเชนโกได้ฉวยใช้เหตุการณ์วันอาทิตย์ (25 พ.ย.) ที่ช่องแคบเคิร์ช เพื่อให้มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.theguardian.com/world/2018/nov/25/russia-border-guards-ram-tugboat-ukraine-navy-crimea) กฎกติกาตามกฎหมายกฎอัยการศึกของยูเครนนั้นให้อำนาจรัฐบาลอย่างกว้างขวาง ทั้งการจำกัดห้ามปรามการชุมนุมเดินขบวนในที่สาธารณะ, การจัดระเบียบสื่อมวลชน, และกระทั่งการสั่งระงับการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้น มีความน่าจะเป็นอยู่ในระดับสูงทีเดียวที่โปโรเชนโกกำลังเคลื่อนไหวไปในทิศทางซึ่งมุ่งยกเลิกการเลือกตั้งประธานาธิบดีและการเลือกตั้งรัฐสภาในปี 2019 ขณะที่สามารถหยิบยกเหตุผลขึ้นมารองรับสนับสนุนว่า ฝ่ายตะวันตกก็น่าจะพอใจให้ลูกไล่ที่ว่าได้ใช้ฟังของตนผู้นี้ครองอำนาจในกรุงเคียฟต่อไปไม่ว่าจะต้องสูญเสียอะไรกันบ้าง

    แต่ก็อีกนั่นแหละ สถานการณ์ยูเครนยังถือเป็นแกนกลางของความตึงเครียดขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับพวกมหาอำนาจตะวันตกอีกด้วย จึงแน่นอนทีเดียวว่าโปโรเชนโกกล้าเดินเกมไปไกลและอันตรายเกินกว่าปกติในคราวนี้ เนื่องจากได้รับการสนับสนุนส่งเสริมอย่างเงียบๆ ในบางระดับจากศูนย์อำนาจของฝ่ายตะวันตกบางแห่ง ซึ่งอาจจะต้องการเย้าแหย่หมีขาวรัสเซียเพื่อดูว่ามันจะแสดงปฏิกิริยาตอบโต้อย่างไร

    เรื่องยิ่งสลับซับซ้อนมากขึ้นอีก เมื่อพวกตัวแทนของฝ่ายต่อต้านรัสเซียในยุโรปและในองค์การนาโต้ กับพวก “อำนาจเก่าที่ฝังรากลึก” (Deep State) ในสหรัฐฯ (โดยเฉพาะอย่างในกระทรวงกลาโหมอเมริกัน) นั้นถือเป็นวงศาคณาญาติกันในเรื่องการต่อต้านคัดค้านวาระของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะปรับปรุงยกระดับความสัมพันธ์กับรัสเซีย จุดที่น่าสังเกตเป็นอย่างมากก็คือ เหตุการณ์ที่ช่องแคบเคิร์ชเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วันก่อนการประชุมพบปะกันตามที่นัดหมายกันไว้ ระหว่าง ทรัมป์ กับ วลาดิมีร์ ปูติน ที่อาร์เจนตินาในช่วงสุดสัปดาห์นี้

    วังเครมลินนั้นเพิ่งส่งสัญญาณออกมาว่า การประชุมในอาร์เจนตินายังจะมีขึ้นตามกำหนดเดิม (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://tass.com/politics/1032609) แต่ว่าพวกต่อต้านรัสเซียจากทั้งสองฟากฝั่งแอตแลนติกกลุ่มนี้คงจะพยายามต่อไปเพื่อบ่อนทำลายการหารือคราวนี้ ถ้าหากไม่ถึงกับสามารถทำให้พังครืนประชุมกันไม่ได้ไปเลย ความหวาดกลัวของพวกเขานั้นมีอยู่ว่า เวลานี้ (ภายหลังการเลือกตั้งกลางเทอมในสหรัฐฯแล้ว) ทรัมป์กำลังอยู่ในสภาพยึดมั่นยืนกรานยิ่งกว่าที่เคยเป็นมาในช่วงการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขา และอาจจะถึงขั้นบอกปัดไม่ฟังเสียงคัดค้านเอาดื้อๆ เพื่อเดินหน้าไปตามวาระของเขาในการปรับปรุงสายสัมพันธ์กับรัสเซีย

    แน่นอนอยู่แล้วว่า ค่ายตะวันตกที่ปฏิเสธไม่ยอมรับแนวทางเข้าหารัสเซียของทรัมป์นั้น ไม่ยอมเสียเวลาเลยในการออกมาประณามมอสโกสำหรับเหตุการณ์ที่ช่องแคบเคิร์ช ทั้งสหภาพยุโรป, องค์การนาโต้, และฝรั่งเศส ต่างแสดงจุดยืนด้วยเสียงดังลั่นที่เรียกร้องให้รัสเซียต้องปล่อยเรือยูเครนที่ยึดไว้และปล่อยบุคลากรชาวยูเครนที่กักขังไว้ ด้านมอสโกได้ตอบโต้ด้วยการเรียกร้องให้จัดการประชุมวาระฉุกเฉินของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ขณะเดียวกัน สำนักข่าวสปุตนิก (Sputnik) ของทางการรัสเซีย รายงานว่า เครื่องบินจารกรรมของสหรัฐฯซึ่งปกติประจำการอยู่ที่เกาะครีต ได้เข้าสู่พื้นที่ทะเลดำแล้วในตอนเช้าวันจันทร์ (26 พ.ย.)

    แน่นอนทีเดียว สามารถคาดการณ์ได้ว่าการที่ฝ่ายตะวันตกจะถึงขั้นเข้าแทรกแซงทางทหารอย่างเปิดเผยนั้นคงไม่เกิดขึ้นหรอก แต่อันตรายอยู่ตรงที่ว่าพวกหัวแข็งกร้าวชาวยูเครนจะต้องรู้สึกได้รับกำลังใจจากแรงสนับสนุนของฝ่ายตะวันตก จนอาจดำเนินการเพื่อยั่วยุคัดค้านรัสเซียเพิ่มมากขึ้นซึ่งอาจจะนำไปสู่การสู้รบขัดแย้งกัน การปะทุตัวขึ้นอย่างรุนแรงในดินแดนดอนบาสส์ (Donbass ดินแดนภาคตะวันออกของยูเครน) ระหว่างกองทัพยูเครน กับพวกแบ่งแยกดินแดน (ที่ได้รับการหนุนหลังจากรัสเซีย) ก็เป็นสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน ความตึงเครียดที่เกิดขึ้นมาใหม่เหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นอันไหน ย่อมจะช่วยให้พวกนักรบสงครามเย็น สามารถฉวยใช้เอามาตราหน้ารัสเซียว่าเป็นปีศาจร้าย เป็นมหาอำนาจนักจองเวรไม่ยอมเลิกซึ่งกำลังคุกคามความมั่นคงของยุโรป แล้วเรื่องนี้ยังจะถูกนำไปใช้ต่อไปอีก ในฐานะเป็นหลักฐานยืนยันว่านาโต้สมควรเพิ่มการหนุนหลังยูเครนมากยิ่งขึ้น (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.kyivpost.com/ukraine-po...gency-meeting-of-nato-ukraine-commission.html) และฝ่ายตะวันตกสมควรที่จะออกมาตรการแซงก์ชั่นรัสเซียเพิ่มมากขึ้นอีก

    ในสถานการณ์ต่างๆ เหล่านี้ การพบปะหารือที่กำลังจะเกิดขึ้นในอาร์เจนตินาระหว่างทรัมป์กับปูติน จึงไม่น่าที่จะเกิดดอกเกิดผลอะไรได้นัก น่าแปลกอยู่เหมือนกันว่า ความแตกร้าวของสองฟากฝั่งแอตแลนติก –ตั้งแต่เรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ, อิหร่าน, งบประมาณขององค์การนาโต้, ผู้อพยพ, ดุลการค้า ฯลฯ – ได้ก่อให้เกิดมิติใหม่ขึ้นมา โดยที่ยุโรปจับมือเป็นพันธมิตรกับพวกศัตรูของทรัมป์ในสหรัฐฯ ในความพยายามร่วมกันเพื่อขัดขวางแผนการที่ได้มีการจัดวางเอาไว้เป็นอย่างดีที่สุดของเขาในเรื่องการจับมือทำธุรกิจกับรัสเซีย

    (จากเว็บไซต์ https://indianpunchline.com)

    https://mgronline.com/around/detail/9610000118502
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    โป๊ปฟรานซิสห้าม “เกย์” ไม่ให้บวชเป็นบาทหลวง ยืนยันกลายเป็นแฟชั่นไปแล้ว เผยแพร่: 2 ธ.ค. 2561 17:11 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
    561000012473901.jpg

    เอเอฟพี – สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงกล่าวในการให้สัมภาษณ์ที่ถูกตีพิมพ์เมื่อวานนี้(1 ธ.ค)ว่า การเป็นเกย์ถือเป็นแฟชั่นและเป็นปัญหาใหญ่ และพระในคริสตจักรสมควรที่ต้องลาออกไปหากเป็นเพศทางเลือกที่ 3

    เอเอฟพีรายงานวันนี้(2 ธ.ค)ว่า ในการประทานสัมภาษณ์ของพระประมุขโฮลีซีที่ถูกเผยแพร่ในวันเสาร์(2)นั้น โป๊ปฟรานซิสทรงชี้ว่า การเป็นเกย์ถือเป็นแฟชั่น ที่ได้ระบาดเข้ามาในหมู่บาทหลวงของคริสตจักรโรมันคาทอลิก และเป็นภัยต่อความเป็นพระ

    “ปัญหาการเป็นพวกรักร่วมเพศถือเป็นปัญหาร้ายแรงมาก ที่จำเป็นต้องได้รับการพิจารณาอย่างเพียงพอตั้งแต่เริ่มต้นจากเหล่าผู้สมัคร” สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงตรัสโดยโยงไปถึงผู้ต้องการที่จะบวชเข้ามาเป็นบาทหลวงใหม่ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก

    และพระองค์ยังทรงตรัสต่อในการประทานสัมภาษณ์กับหนังสือความเข้มแข็งแห่งอาชีพ(The Strength of a Vocation)ที่จะมีการตีพิมพ์ใน 10 ภาษาทั่วโลกว่า “ในสังคมของเราดูเหมือนว่า พวกรักร่วมเพศเป็นแม้กระทั่งแฟชั่นไปแล้ว และในทางความคิดทางหนึ่งทางใด อาจกลายเป็นการส่งอิทธิพลต่อนักบวช”

    โดยพระองค์ทรงยอมรับว่าพระองค์ทรงมีความกังวลเป็นอย่างมาก “นี่ถือเป็นสิ่งที่เรามีความวิตก เป็นเพราะบางทีในคราวเดียวปัญหานี้อาจไม่ได้รับความสนใจ”

    เอเอฟพีชี้ว่า จากจุดยืนของวาติกัน การกระทำรักร่วมเพศนั้นถือเป็นบาปมหันต์ และจุดยืนของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสต่อกลุ่มเพศทางเลือกที่ 3 นั้นไม่ถือเป็นเรื่องใหม่ ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมาพบว่า ทางศาสนจักรโรมันคาทอลิกกำหนดให้บุคคลที่มีแนวโน้มที่จะเข้าข่ายอยู่ในกลุ่มเพศทางเลือกที่ 3 ไม่สามารถเข้ารับการบวชในคริสตจักรได้

    ซึ่งโป๊ปฟรานซิสได้ทรงชี้ว่า ในชีวิตของความเป็นนักบวชที่ศักดิสิทธิ์นั้นไม่มีที่ว่างสำหรับความรักประเภทนี้ ดังนั้นทางศาสนจักรได้ให้คำแนะนำไม่ให้บุคคลที่มีโน้มเอียงสามารถร่วมคณะนักบวชและชีวิตความเป็นบาทหลวงได้

    โดยโป๊ปฟรานซิสทรงตรัสย้ำว่า “คณะสงฆ์หรือชีวิตความเป็นพระนั้นไม่ใช่ที่ของเขา”

    ซึ่งบาทหลวงเพศทางเลือกที่ 3 จะถูกขอให้รับผิดชอบตามมาตรฐานที่สูงในการเตือนต่อพฤติกรรมที่เลวร้ายที่เป็นที่รู้ดีว่ามักจะถูกเก็บเงียบในหมู่พระรักร่วมเพศที่ได้ละเมิดต่อการประกาศที่จะประพฤติพรหมจรรย์

    “เราต้องขอให้นักบวชรักร่วมเพศ และชายหญิงของศาสนจักรต้องประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความเที่ยงตรง และเหนือสิ่งอื่นใด พวกเขาต้องมีความรับผิดชอบสูงด้วยการพยายามที่จะไม่ให้เกิดความเสื่อมเสียต่อทั้งชุมชนหรือส่วนบุคคลในความเป็นนักบวชซึ่งเป็นคนของพระเจ้า” สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสตรัส และทรงยืนยันว่า “ถือเป็นการดีที่สุดสำหรับคนเหล่านั้นที่จะลาออกจากคณะนักบวชหรือชีวิตความเป็นพระมากกว่าจำเป็นต้องมีชีวิตอยู่ใน 2 โลก”

    https://mgronline.com/around/detail/9610000120054
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ‘ทรัมป์’บอก หวังจะได้ประชุมซัมมิตรอบ 2 กับ‘คิมจองอึน’ เดือนม.ค.หรือ ก.พ. เผยแพร่: 3 ธ.ค. 2561 00:29 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
    561000012486401.jpg

    (ภาพจากแฟ้ม) ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ พบปะหารือครั้งแรกกับผู้นำเกาหลีเหนือ คิม จองอึน ที่สิงคโปร์ เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทั้งนี้ทรัมป์บอกว่าอาจจะจัดซัมมิตครั้งที่ 2 เดือนม.ค.หรือ ก.พ.ปีหน้า
    เอเอฟพี/เอเจนซีส์ – ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ กล่าวในวันเสาร์ (1 ธ.ค.) ว่า เขาคาดหวังที่จะจัดการประชุมซัมมิตครั้งที่ 2 กับ คิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือ ในต้นปี 2019 โดยอาจจะมีขึ้นในเดือนมกราคาหรือกุมภาพันธ์ก็ได้

    ทรัมป์บอกกับพวกผู้สื่อข่าวซึ่งกำลังเดินทางพร้อมกับเขาบนเครื่องบิน “แอร์ ฟอร์ซ วัน” จากอาร์เจนตินากลับกรุงวอชิงตันว่า มี “สถานที่ 3 แห่ง” กำลังได้รับการพิจารณาจะให้เป็นที่พบปะคราวนี้ ซึ่งจะเป็นคราวต่อเนื่องจากซัมมิตครั้งประวัติศาสตร์ระหว่างทรัมป์กับคิม ที่สิงคโปร์เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

    “เรากำลังเข้ากันได้ดีมาก เรามีความสัมพันธ์ที่ดี” ทรัมกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างเขากับคิม พร้อมระบุว่าพวกเขากำลังจะจัดการประชุมซัมมิตกันอีกครั้งโดยเร็ว อาจจะในเดือนมกราคมหรือกุมภาพันธ์ปีหน้า

    ระหว่างอยู่ที่กรุงบัวโนสไอเรส เมืองหลวงของอาร์เจนตินา เพื่อร่วมการประชุมซัมมิตของกลุ่ม จี20 คราวนี้ ทรัมป์ยังได้เจรจาทวิภาคีกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีนเมื่อคืนวันเสาร์ (1) ซึ่งโฟกัสที่เรื่องการค้าระหว่างสองประเทศ แต่ประมุขทำเนียบขาวกล่าวว่า สีได้ตกลงที่จะทำงานกับเขา “100%” ในเรื่องเกาหลีเหนือ

    เมื่อถูกถามในวันเสาร์ (1) ว่า เขาจะมีโอกาสได้เป็นเจ้าภาพต้อนรับผู้นำเกาหลีเหนือในสหรัฐฯหรือไม่ ทรัมป์ตอบว่า “เมื่อถึงช่วงใดช่วงหนึ่ง ครับ”

    ในเดือนมิถุนายน ทรัมป์กับคิมเปิดการสนทนาแบบเจอหน้ากันเป็นครั้งแรกที่สิงคโปร์ ภายหลังต่างฝ่ายต่างปล่อยถ้อยคำโวหารข่มขู่และด่าทอกันอยู่หลายเดือน

    ผู้นำทั้งสองได้ลงนามในเอกสารที่ใช้ถ้อยคำหละหลวมคลุมเครือว่าด้วยการปลดอาวุธนิวเคลียร์ในคาบสมุทรเกาหลี ทว่าหลังจากนั้นก็แทบไม่ได้มีความคืบหน้าอะไร โดยที่ทั้งวอชิงตันและเปียงยางมีการขึ้นเสียงทะเลาะกันเกี่ยวกับความหมายของเอกสารฉบับดังกล่าว

    รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ไมค์ พอมเพโอ มีกำหนดที่จะพบหารือกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของโสมแดงในต้นเดือนพฤศจิกายน ทว่าการพบปะคราวนั้นถูกยกเลิกอย่างกะทันหัน โดยที่เปียงยางยืนกรานให้วอชิงตันผ่อนคลายมาตรการแซงก์ชั่นเกาหลีเหนือ

    561000012486402.jpg

    (ภาพจากแฟ้ม) ประธานาธิบดีมุน แจอิม ของเกาหลีใต้ พบหารือกับ คิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือ ครั้งแรก ที่หมูบ้านสงบศึก ปันมุนจอม ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา

    เมื่อวันศุกร์ (30 พ.ย.) ทรัมป์ได้หารือทวิภาคีเรื่องสถานการณ์โสมแดงกับประธานาธิบดีมุน แจอิน ของเกาหลีใต้ ข้างเคียงการประชุมซัมมิต จี20

    หลังจากนั้น ซาราห์ แซนเดอร์ส โฆษกของทรัมป์แถลงว่า ผู้นำทั้งสองย้ำยืนยันถึงความมุ่งมั่นผูกพันของพวกเขาที่ให้เกาหลีเหนือปลดอาวุธนิวเคลียร์อย่างหมดสิ้นและสามารถตรวจสอบได้อย่างเต็มที่ นอกจากนั้นทั้งสองยังเห็นพ้องกันถึงความจำเป็นที่จะต้องบังคับใช้มาตรการแซงก์ชั่นโสมแดงที่มีอยู่ในเวลานี้อย่างเต็มที่ต่อไป เพื่อให้เปียงยางเข้าใจว่าการปลดอาวุธนิวเคลียร์เป็นหนทางเดียวเท่านั้นที่จะเดินไปได้

    ทางด้านสำนักงานของมุน ได้ออกคำแถลงแสดงการต้อนรับเรื่องทรัมป์พูดถึงการจัดซัมมิตกับคิมเป็นครั้งที่ 2

    อย่างไรก็ตาม เห็นกันว่ามีความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างวอชิงตันกับโซลในเรื่องวิธีจัดการรับมือคิม โดยที่มุนนิยมชมชอบที่จะให้ใช้วิธีมีปฏิสัมพันธ์อย่างเต็มที่กับโสมแดง

    เกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้เวลานี้ได้เริ่มเก็บกวาดกับระเบิดและทำลายบังเกอร์ทางทหารในหลายส่วนของชายแดนร่วม โดยถือเป็นความพยายามที่จะปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างกันให้ดีขึ้น นอกจากนั้นพวกเขายังเริ่มทำงานเพื่อการต่อเชื่อมเส้นทางรถไฟสายหนึ่ง ตลอดจนซ่อมแซงรางรถไฟติดต่อข้ามพรมแดนอีกแห่งหนึ่งด้วย

    แต่ถึงแม้สายสัมพันธ์ที่เป็นมิตรกันมากขึ้นเช่นนี้ ก็ยังคงไม่ชัดเจนว่าคิมจะเดินทางไปเยือนเกาหลีใต้เป็นครั้งแรกของเขาภายในปีนี้ อย่างที่ฝ่ายโซลกำลังวาดหวังไว้หรือไม่

    คิมนั้นตกลงจะเดินทางไปเยือนกรุงโซล ภายหลังเป็นเจ้าภาพต้อนรับมุนในเปียงยางเมื่อเดือนกันยายน ซึ่งเป็นการหารือซัมมิตครั้งที่ 3 ในปีนี้ของพวกเขา

    ทว่าลู่ทางโอกาสที่จะมีการหารือมุน-คิมครั้งที่ 4 ในเร็ววันนี้ดูจะค่อนข้างมืดมน เมื่อการเจรจาเพื่อให้เกาหลีเหนือปลดอาวุธนิวเคลียร์อยู่ในสภาพชะงักงันเช่นนี้

    ระหว่างการหารือกับทรัมป์ที่อาร์เจนตินา มุนได้รับความสนับสนุนบางระดับจากทรัมป์ในเรื่องการจัดซัมมิตมุน-คิมที่กรุงโซล ถึงแม้บางทีอาจจะด้วยจุดประสงค์ที่จะโน้มน้าวให้คิมปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาของเขาให้ดียิ่งขึ้นก็ตามที

    มุนและทรัมป์บอกว่า การที่คิมจะไปเยือนเมืองหลวงของเกาหลีใต้นั้น “จะเป็นการเพิ่มโมเมนตัมให้แก่ความพยายามร่วมของพวกเขาที่จะสถาปนาสันติภาพขึ้นในคาบสมุทรเกาหลี” ยุน ยังชาน เลขาธิการฝ่ายสื่อมวลชนของประธานาธิบดีมุนแถลง

    https://mgronline.com/around/detail/9610000120132
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    กระหึ่ม 'ช่อง3' เลิกจ้างพนง.ฝ่ายข่าว 80 คน ชดเชย 12 เดือน
    750x422_820178_1543800822.jpg
    3 ธันวาคม 2561

    กระแสข่าวกระหึ่ม "ช่อง3" เลิกจ้างพนง.ฝ่ายข่าว 80 คน ชดเชย 12 เดือน คาดสื่อบางสำนักกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ย่ำแย่เตรียมที่จะโล๊ะนักข่าวออกอีกชุดใหญ่

    ผู้สื่อข่าวรายงาน เพจเฟซบุ๊ค "จุลสาร ราชดำเนิน" ได้แชร์ข้อมูลจากเฟซบุ๊คของ Paskorn Jumlongrach หรือ ภาสกร จำลองราช ที่โพสต์ข้อความระบุว่า ตกงานกันอีกอื้อ สื่อมวลชนไทย

    เช้าวันจันทร์(3 ธค. 2561)ดูช่างไม่สดใสสำหรับวงการสื่อ เพราะเป็นวันที่พนักงานช่อง 3 เกือบร้อยคน ต้องลงชื่อพ้นสภาพ-ถูกเลิกจ้างออกจากงาน หลังจากเมื่อวันพฤหัสฯ(29 พย.)ผู้บริหารช่อง 3ได้ประชุมมีมติให้มีการเลิกจ้างพนักงาน

    พอวันศุกร์แจ้งให้หัวหน้าแต่ละสายงานทราบเพื่อให้แจ้งไปยังพนักงานที่ถูกเลิกจ้างให้มาเซ็นชื่อในวันจันทร์ เรียกได้ว่าด่วนจี๋ใครหยุดเสาร์-อาทิตย์ รู้ตัวอีกทีวันจันทร์ต้องออกจากงานแล้ว

    ในจำนวนผู้ที่ถูกเลิกจ้างของช่อง 3 ครั้งนี้เป็นพนักงานฝ่ายข่าวราว 80 คน ที่เหลือเป็นฝ่ายอื่นๆ แม้ทางช่อง 3 จะจ่ายเงินให้ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน คือค่าชดเชย 10 เดือน ค่าตกใจ (ไม่แจ้งล่วงหน้า) 2 เดือน แต่การเลิกจ้างอย่างกระทันหันเช่นนี้ เป็นเรื่องที่น่าตกใจไม่น้อย

    สำหรับชีวิตหนึ่งที่กำลังเลี้ยงดูครอบครัวโดยผู้ที่ถูกเลิกจ้างในครั้ังนี้จำนวนมากยังอยู่ในวัยกำลังแรงงานอายุช่วง 40-55 ปีแม้พวกเขาได้รับค่าชดเชยเป็นเงินก้อนแต่คุ้มหรือไม่กับการที่ต้องออกจากงานในวัยนี้ เชื่อว่าสาเหตุที่ช่อง 3 ต้องเลิกจ้างครั้งใหญ่เป็นผลมาจากรายได้ที่ตกต่ำก่อนหน้าไม่กี่วันสำนักข่าวรอยเตอร์ประจำประเทศไทยก็ได้เลิกจ้างนักข่าวไป 6 คนจนแทบเหี้ยนเหลือไว้เพียงแค่ 3 คน

    ขณะที่ยังมีข่าวแว่วมาอีกว่ายังมีสื่อบางสำนักกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ย่ำแย่เตรียมที่จะโล๊ะนักข่าวออกอีกชุดใหญ่
    เอวังจริงครับอาชีพสื่อมวลชนไทยยามนี้


    http://www.bangkokbiznews.com/news/...-EVyvqnf7M38IjJgQgW2PjEKxJyRAe34LWrj3rlGKZ6bQ
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เจนจิรา จันทรเสนา



    สื่ออเมริกันได้จัดทำประมวล"อัตตชีวประวัติ" อดีตประธานาธิบดี "จอร์ช เอช ดับเบิลยู บุช" ประธานาธิบดีคนที่ 41 ของสหรัฐ ซึ่งถึงแก่อสัญกรรมในวัย 94 ปี เมื่อวันที่ 30 พ.ย.2018

    Remembering 41 — A look back at the life and legacy of former U.S. President George H.W. Bush, who died on November 30th : https://www.usatoday.com/story/news...CuBIbbTicr8_bM3hQk5KKl0O5zF4L7_bl8vKhEBLxnoZI

    Usatoday
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,286
    ค่าพลัง:
    +97,150


    พ่อ - ขยับทันทีที่ไปหาลูก ชายคนนี้รู้สึกว่าเกิดแผ่นดินไหว
    ViralHog
     

แชร์หน้านี้

Loading...