ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,287
    ค่าพลัง:
    +97,150
    La nueva era de la tierra - respaldo


    # DIFUNDAN



    สุดยอด พลเมืองอลาสกาบันทึกช่วงเวลาแผ่นดินไหววิดีโอได้รับการได้ยินเมื่อเหตุการณ์ตก

    2018/11/30
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,287
    ค่าพลัง:
    +97,150
    La nueva era de la tierra - respaldo


    สุดยอด



    รถยนตร์แถวใหญ่ในอลาสก้า ผู้คนกำลังมองหาพื้นที่สูงขึ้นหลังจากคำเตือนสึนามิว้าว
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,287
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Global Disaster Watch


    อลาสก้ามีค่าเฉลี่ย แผ่นดินไหว 40,000 ครั้งต่อปีที่ มีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่กว่า 49 รัฐอื่นๆรวมกัน อลาสก้าเป็นไซต์ของแผ่นดินไหวที่มีพลังมากที่สุดที่เคยบันทึกไว้ในสหรัฐอเมริกา แผ่นดินไหว 9.2 แมกนิจูดในวันที่ 27 มีนาคม 1964 มีศูนย์กลางประมาณ 75 ไมล์ (120 กิโลเมตร) ตะวันออกของ anchorage แผ่นดินไหวและสึนามิที่มันกระตุ้นให้ มีผู้เสียชีวิตอ้างว่าประมาณ 130 ราย

    อลาสก้าถูกโจมตีด้วยจำนวนที่มีแรงสั่นสะเทือนมากกว่า 7.0 ในทศวรรษที่ผ่านมารวมถึง 7.9 เดือนมกราคมที่ผ่านมาในเกาะโคดิแอค แต่มันหายากสำหรับแผ่นดินไหวใหญ่ขนาดนี้ที่จะโจมตีใกล้กับพื้นที่ที่มีประชากรมาก


    ภาคใต้อลาสก้ามีความเสี่ยงสูงกับการเกิดแผ่นดินไหวเพราะจานของโลกเลื่อนผ่านกันไปใต้ภูมิภาค


     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,287
    ค่าพลัง:
    +97,150
    The Public Post


    ว่อนเน็ตอาหรับ! คลิปวิดีโอแฉ วัสดุก่อสร้างจากบริษัทซาอุฯ ไปอยู่ในนิคมตั้งถิ่นฐานชาวยิว อิสราเอล (มีคลิป)

    https://www.publicpostonline.net/19960


     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,287
    ค่าพลัง:
    +97,150
    La nueva era de la tierra - respaldo

    IMG_5591.JPG
    ฤดูหนาวยังไม่เริ่มและมีรายงาน-49 องศาในรัสเซีย

    01.12.2018


     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,287
    ค่าพลัง:
    +97,150
    La nueva era de la tierra - respaldo





    แผ่นดินไหวเกิดขึ้นที่โรงเรียนอลาสก้า wow

    2018/11/30
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,287
    ค่าพลัง:
    +97,150
    La nueva era de la tierra - respaldo



    ครอบครัวที่อยู่ในเหตุการณ์แผ่นดินไหวในอลาสกา

    2018/11/30
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,287
    ค่าพลัง:
    +97,150
    La nueva era de la tierra - respaldo



    ทางหลวงที่แตกแยก ใน anchorage อะแลสกาโดยแผ่นดินไหวที่รุนแรงภาพทางอากาศ

    2018/11/30


    Carretera se parte en anchorage , alaska por el fuerte terremoto imagenes aereas

    30.11.2018
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,287
    ค่าพลัง:
    +97,150
    La nueva era de la tierra - respaldo



    พบแสงแปลก ๆ ใน แองเคอเรจ อะแลสกาหลังจากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 7.0
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,287
    ค่าพลัง:
    +97,150
    La nueva era de la tierra - respaldo





    ทางหลวงที่พังทลาย หลังจากแผ่นดินไหวที่รุนแรง ขนาด 7.0 ในอลาสก้า

    30.11.2018
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,287
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สถานการณ์โลก ด้านความมั่นคง


    แม่ซูของพม่าจะโดนริบรางวัลอีกแล้ว: กรุงปารีสจะริบรางวัลกิติมศักดิ์ของนางอองซาน ซูจี/เกี่ยวกับกรณีปัญหาโรฮิงญา/....

    ----------------------------

    ยิ่งต่างชาติกดดันรัฐบาลพม่ามากขึ้นเท่าไร..ผลกระทบที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือสร้างความเกลียดชังชาวโรฮิงญามากขึ้นในหมู่ประชาชนชาวพม่ามากขึ้นเรื่อยๆ..ยิ่งไม่เป็นผลดีต่อชาวโรฮิงญา../ดูเหมือนจะช่วยแต่อีกด้านหนึ่งจะเพิ่มแรงเกลียดชังมากขึ้นเพราะนางอองซานคือแม่ซูของชาวพม่า..ถ้าสาเหตุที่ถูกริบรางวัลต่างๆล้วนมาจากกรณีโรฮิงญายิ่งเพิ่มความเกลียดชาวโรฮิงญามากขึ้นๆซึ่งไม่เป็นผลดีต่อชาวโรฮิงญาเลย./


     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,287
    ค่าพลัง:
    +97,150
    IMG_5593.JPG

    อาฟเตอร์ช็อค 357 ครั้ง ขนาด 5.1 ถึง 1.5 หลังจากเกิดแผ่นดินไหว ขนาด 7.0 ใน anchorage เมื่อวาน 171 ครั้ว ขนาด 2.5 หรือใหญ่กว่า 3.8 ตีแค่ชั่วโมงเดียวเอง


     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,287
    ค่าพลัง:
    +97,150
    The Public Post


    “ปูติน-บินซัลมาน” ตบมือทักทายแบบไฮไฟว์ดูสนิทสนม ในที่ประชุม G20 (คลิปวิดีโอ)

    https://www.publicpostonline.net/19998


     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,287
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Matichon Online - มติชนออนไลน์


    โยนวุ่น! สนามกีฬาทับสะแกค่า 24 ล้าน สร้างเสร็จเกือบปี ยังไม่มีหน่วยงานดูแล #มติชนออนไลน์ #มติชนภูมิภาค


     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,287
    ค่าพลัง:
    +97,150
    The Public Post


    “เออร์โดอัน” ให้คำมั่น จะขัดขวางมิให้ผู้ยึดครองดับแสงแห่งเยรูซาเล็ม

    https://www.publicpostonline.net/20011


     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,287
    ค่าพลัง:
    +97,150
    The Public Post


    ร่างกฎหมายห้ามนำเข้าสินค้าจากดินแดนยึดครองอิสราเอล ผ่านวาระแรก สภา “ไอร์แลนด์” แล้ว

    https://www.publicpostonline.net/20007


     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,287
    ค่าพลัง:
    +97,150
    The Public Post


    เที่ยวบินคาร์โก้ "เตหะราน-เบรุต" ทำอิสราเอลสะดุ้ง ผวาอิหร่าน "ส่งอาวุธ" ให้ฮิซบุลเลาะห์

    https://www.publicpostonline.net/19949


     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,287
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Gossipสาสุข


    ประกาศ ป.ป.ช.ยังวุ่นไม่จบ องค์การมหาชนออกแถลงการณ์แล้ว "ไม่เอาด้วย"

    บอร์ดหลายองค์กร #ไปต่อไม่รอแล้วนะ ส่งสัญญาณเตรียมลาออก





    บรรดาบอร์ดองค์การมหาชนเริ่มส่งสัญญาณอิดออดแล้ว หลังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ยืนยันว่าจะยังไม่แก้ไขประกาศให้ กรรมการสภามหาวิทยาลัย นายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการองค์การมหาชนต่างๆ ต้องยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สิน



    มีเพียงการแก้ไขประกาศเดิม โดยยืดระยะเวลาการยื่นบัญชีทรัพย์สินออกไป จาก 2 ธ.ค.2561 เป็น 3 ก.พ. 2562



    ซ้ำยังเพิ่มตำแหน่ง "กรรมการหน่วยงานของรัฐ" อีกจำนวนมาก ที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน



    ในที่สุดที่ประชุมผู้บริหารองค์กรของรัฐ ที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.เฉพาะ 16 หน่วยงาน ก็ได้ฤกษ์ออกแถลงการณ์ คัดค้านการยื่นบัญชีทรัพย์สินของคณะกรรมการ



    ด้วยการยืนยันว่า "บอร์ด" ไม่มีอำนาจบริหาร มีเพียงกำกับดูแลด้านนโยบายเท่านั้น รวมถึงขอให้กฎหมายนี้ บังคับใช้เฉพาะกับบอร์ดชุดใหม่



    ขณะเดียวกัน ก็ "สอน" ป.ป.ช.ด้วยว่า กฎหมายลักษณะนี้ ควรบังคับใช้เฉพาะผู้บริหาร ที่มีอำนาจหน้าที่ชัดเจน และ ประธานกรรมการ หาใช่ตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมด



    ส่วนบรรดาองค์กรตระกูล ส. หรือ องค์การมหาชน- องค์กรที่มี พ.ร.บ.เฉพาะ ที่อยู่ใต้กระทรวงสาธารณสุขอย่าง สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) และ สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) มีคณะกรรมการไม่ต่ำกว่าครึ่ง "ส่งสัญญาณ" ยื่นใบลาออก เพราะไม่ประสงค์จะยื่นบัญชีทรัพย์สิน-หนี้สิน



    แม้ว่า ป.ป.ช.จะยืนยันว่า ข้อมูลการยื่น "บัญชีทรัพย์สินหนี้สิน" เป็นความลับ ไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณชน



    ในส่วนของกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาตินั้น สุเทพ ณัฐกานต์กนก ผู้แทนองค์กรภาคเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร ลาออกไปเรียบร้อย



    ขณะที่ มนัส แจ่มเวหา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงิน อดีตอธิบดีกรมบัญชีกลาง ก็เตรียมไขก๊อกเช่นกัน



    ส่วนอีก 2 หมอ ที่ควบ 2 บอร์ด คือ บอร์ด สพฉ.และบอร์ด สรพ. อย่าง นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ อดีตอธิบดีกรมการแพทย์ ก็ส่งสัญญาณ เตรียมทิ้งตัวเองจากทั้ง 2 บอร์ด



    สำหรับ นพ.สุรเชษฐ์ และ นพ.ธีรพล เพิ่งจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นบอร์ด สรพ. และเพิ่งผ่านมติ ครม.ไปไม่ถึง 2 เดือน ซึ่งจนถึงขณะนี้ ก็ยังไม่ได้เริ่มปฏิบัติหน้าที่บอร์ด สรพ. (มติ ครม.เมื่อ 10 ต.ค.61 ระบุว่าให้มีผลตั้งแต่วันที่ 25 พ.ย.61)



    น่าสนใจก็ตรงที่ นพ.สุรเชษฐ์นั้น ไม่ได้เป็นบอร์ดธรรมดา แต่เป็นประธานบอร์ด สรพ. ซึ่งก็ทำให้มีบอร์ดคนอื่นๆ ตัดสินใจจะลาออกตามไปด้วย



    ซึ่งข่าวล่าสุดรายงานว่า บอร์ด สรพ.เตรียมลาออกยกชุด แต่รอความชัดเจนจากรัฐบาลว่าจะอย่างไรกันแน่ ทั้งนี้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ ครม.เพิ่งมีมติแต่งตั้งไปทั้ง 8 คน คือ



    1.นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย อดีตรองปลัด สธ.

    2.รศ.นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ อาจารย์แพทย์จุฬา

    3.ศ.พญ.ดวงมณี เลาหประสิทธิพร อาจารย์แพทย์ศิริราช

    4.นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ อดีตอธิบดีกรมการแพทย์

    5.นาวาตรี นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อดีตอธิบดีกรมสุขภาพจิต

    6.รศ.ประคิณ สุจฉายา อาจารย์พยาบาล ม.เชียงใหม่

    7.นพ.พีรพล สุทธิวิเศษศักดิ์ อดีต ผอ.สวรส.

    8.นางสาวศศดิศ ชูชนม์ นักข่าวไทยรัฐ



    นี่แค่เฉพาะกระทรวงสาธารณสุข ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ ก็มีบอร์ดอีกกว่า 30 คนจากทั้งหมด 87 คนที่ตัดสินใจเตรียมไขก๊อกภายในวันที่ 30 พ.ย.นี้ ไม่สนใจรอว่ารัฐบาลจะแก้ประกาศหรือไม่



    และที่กลายเป็นปัญหาไปแล้ว ก็เช่น สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. ที่ทั้งบอร์ด ทั้งผู้อำนวยการ ตัดสินใจลาออกพร้อมกันทั้งหมด



    จะด้วยเหตุผลว่า "ยุ่งยาก-น่ารำคาญ" "กลัวมิจฉาชีพ" หรือ "คุกคามความเป็นส่วนตัว" ก็ตามที แต่การแห่กันลาออก กลายเป็นภาระของบรรดาองค์การมหาชนต่างๆ ไปเรียบร้อย



    เพราะกฎหมายให้อำนาจบอร์ดองค์การมหาชนไว้ล้นฟ้า บรรดาผู้อำนวยการ เลขาธิการ ซึ่งดำรงสถานะ "ซีอีโอ" ทั้งหลาย จะขออนุมัติโครงการ ขออนุมัติงบประมาณ จำเป็นต้องทำเรื่องเสนอให้บอร์ดอนุมัติ แต่กลายเป็นว่า บอร์ดหลายแห่ง "แหว่ง" ไม่ครบองก์ประชุม หลายโครงการหยุดชะงักไปเรียบร้อย



    และกว่าจะสรรหาใหม่ ต้องใช้เวลาอย่างต่ำอีกไม่น้อยกว่า 1-2 เดือน ซึ่งก็ไม่รู้ว่าหลังประกาศ ป.ป.ช.ออกไป จะมีใครเข้ามาสมัครหรือไม่



    หรือสุดท้ายจะเหลือเฉพาะผู้ที่มีภาระหน้าที่ จำต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินอยู่แล้ว เช่น ข้าราชการซี 10 หรืออดีตข้าราชการซี10 ที่เพิ่งเกษียณอายุราชการ เข้ามาทำหน้าที่ ส่วนบรรดาเอกชน "เมิน" จะเข้ารับสมัครเข้ามาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมด



    ส่วนความคืบหน้าล่าสุดในรั้วมหาวิทยาลัย ก็แว่วว่า สภามหาวิทยาลัยเริ่มแสดงความจำนง "ขอลาออก" กันจำนวนมาก



    ทั้งมหาวิทยาลัย "เสาหลักแห่งแผ่นดิน" จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มี ศ.กิตติคุณ นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล เป็นนายกสภาฯ และ "ปัญญาของแผ่นดิน" มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มี ศ.เกียรติคุณ นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติสิรินทร์ เป็นนายกสภาฯ ก็ได้ยินว่าจะลาออกกัน "ยกสภา" เหมือนกัน



    น่าสนใจก็ตรงที่ รายชื่อกรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดลนั้น มี "คนดี" อย่าง หมอประเวศ วะสี รวมอยู่ด้วย



    ส่วนมหาวิทยาลัยราชภัฏฯ ทั่วประเทศ ก็ปั่นป่วน เริ่มมีการส่งต่อร่างหนังสืออันแปลกประหลาด ด้วยการแจ้งเจตจำนง "ลาออก" และ "ไม่ลาออก" ในหนังสือฉบับเดียวกัน ของกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่ง



    ด้วยการระบุเหตุผลว่า จะ "ลาออก" หาก ป.ป.ช. ไม่ยอมแก้ประกาศ แต่หาก ป.ป.ช. แก้ประกาศ ก็จะขออยู่ในตำแหน่งต่อไป



    ขณะนี้ เสียงโอดครวญทั้งหลาย เริ่มส่งผลไปยังรัฐบาล คสช. ให้ต้องออกมาทำอะไรสักอย่างอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้



    เพราะมิเช่นนั้น การทำหน้าที่ของทั้งหน่วยงานรัฐ และการทำหน้าที่ของมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ จะมีปัญหาชะงักงันแน่นอน



    ดูรูปการณ์ในขณะนี้ สุดท้ายจะหนีไม่พ้นความจำเป็นว่าจะต้องใช้ ม.44 ปลดล็อก ให้คนเหล่านี้ ไม่ต้องยื่นบัญชี -อาจจะด้วยการแก้ไขในนิยามผู้บริหารองค์กรของรัฐ หรืออาจจะเลื่อนไปใช้ในวาระหน้า อย่างที่ ศ.นพ.อุดม คชินทร รมช.ศึกษาธิการเคยเสนอ



    วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ออกมาเปรยๆ อีกครั้งแล้วว่า ขอให้คณะกรรมการทั้งหมดที่ตั้งใจจะไขก๊อก ยับยั้งการตัดสินใจ เพราะรัฐบาลหาทางออกได้แล้ว โดยชัดเจนใน 1-2 วันข้างหน้า



    เพื่อหยุดยั้งการลาออกของบรรดาชนชั้นนำทั้งหลาย และเพื่อให้การบริหารราชการขับเคลื่อนไปได้



    งานนี้ต้องวัดใจว่า คสช. จะกล้าเคาะหรือไม่



    เพราะถ้าตัดสินใจใช้อำนาจพิเศษ ก็แปลว่า นี่คือการใช้อำนาจ เพื่อพวกพ้อง ไม่ใช่เพื่อ "ปราบโกง" อย่างที่พูดตั้งแต่แรก แน่นอน


    #บัญชีทรัพย์สิน #สภามหาวิทยาลัย #องค์การมหาชน


     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,287
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Gossipสาสุข


    จับตาเลือกตั้ง “ทันตแพทยสภา” การเมือง “หมอฟัน” ร้อนแรงไม่แพ้สภาวิชาชีพอื่น





    ปีนี้ การเลือกตั้ง “ทันตแพทยสภา” ดูจะคึกคักไม่แพ้สภาวิชาชีพอื่น หลังจากเปิดให้ลงคะแนนวันแรกเมื่อวันที่ 26 พ.ย.61 ที่ผ่านมา



    เพราะตามกฎหมาย บรรดาหมอฟัน หน้าเดิมๆ จะไม่สามารถเป็นกรรมการ ต่อเนื่องกันได้เกิน 2 สมัย ต่างจาก แพทยสภา ที่สามารถเป็นกรรมการต่อเนื่องได้ตลอดชีวิต



    แต่ทันตแพทยสภา หากจะเป็นต่อ ต้องเว้นไว้ 1 สมัย ถึงจะรับสมัครรอบต่อไปได้



    รอบนี้ จึงได้เห็นปรากฏการณ์ ทำให้สมาชิกหน้าใหม่ เรียงแถวกันมาสมัครเป็นกรรมการจำนวนมาก และได้เห็น กรรมการหน้าเดิม ส่ง “นอมินี” มาเป็นต่อ เพื่อจะได้ไม่ขาดช่วง



    ในบรรดา 73 ราย ที่ลงสมัครเลือกตั้ง มีทีมลงสมัครทั้งหมด 4 ทีม ได้แก่ 1.ทีมก้าวทันต์ 2.Well-Mixed Team 3.ทีมทันตอาสา กล้าก้าว 4.ทีม Midline ที่เหลืออีก 6 คนเป็นผู้สมัครอิสระ



    เช่นเดียวกับการเมืองภาพใหญ่ ปีนี้ “คนรุ่นใหม่” ขายดี สำหรับการเลือกตั้งทันตแพทยสภา



    การเลือกตั้งรอบนี้ มี 2 เรื่องร้อนที่ปกคลุมวงการทันตแพทย์



    เรื่องแรกคือ พ.ร.บ.พลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 ซึ่งบังคับให้ “เครื่องเอกซเรย์ฟัน” ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีหรือ RSO และต้องนำไปขึ้นทะเบียนกับสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ



    หากจำกันได้ เมื่อ 2 ปีก่อน แกนนำเครือข่ายทันตแพทย์ภาครัฐและเอกชน ชมรมทันตะอาสา ไปให้ข้อมูลไม่ถูกต้องกับกลุ่มนักศึกษาทันตแพทย์แถวถนนโยธีมา “ประท้วง” หน่วยงานหลัก เจ้าของ พ.ร.บ.เจ้าปัญหา อย่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จนปลุกระดมทันตแพทย์ที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่มาได้จำนวนหนึ่ง



    ยังไม่พอ ฟาดงวงฟาดงา มาถึง กรรมการทันตแพทยสภา ด้วยการระบุว่า “เกียร์ว่าง” และฮั้วกับกระทรวงวิทย์ฯ ไม่ยอมเป็นปากเป็นเสียงให้กับทันตแพทย์ทั่วประเทศ



    ขณะที่ฝั่งทันตแพทยสภาเอง ช่วงแรกเรียกร้องให้กระทรวงวิทย์ฯ ออกกฎหมายลูกยกเว้นเครื่องเอกซเรย์ทางการแพทย์ไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายนี้ แต่ก็ไม่สำเร็จ ก่อนจะมุ่งธงไปที่การแก้ไขกฎหมาย ซึ่งเพิ่งผ่านมติ ครม.ไปและอยู่ในชั้นพิจารณาของ สนช.



    ประเด็นกฎหมายพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันตินี้ ทำให้วงการหมอฟันบ้านเราจากที่เคยเงียบสงบ ปั่นป่วนอยู่พอสมควร ซึ่งกลุ่มทันตะอาสา กลุ่มใหม่ของวงการหมอฟันก็แจ้งเกิดจากเรื่องนี้ และไม่แน่ใจว่าด้วยเพราะเทคโนโลยีการสื่อสารแบบ Social Media หรือไม่ ที่ทำให้การบริภาษ ด่าทอ ทำได้รวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มไลน์ จนเกิดปรากฎการณ์แคปหน้าจอเอามาแฉ และการด่าทอก็ลามปามไปราวีถึงคนในครอบครัวเสียด้วย



    จากเหตุการณ์นี้ ผู้สันทัดกรณีเชื่อว่าแกนนำของ “ทันตะอาสา” มีวาระซ่อนเร้น ตั้งใจ “ยึดอำนาจ” จากกรรมการชุดเดิม ลงสมัคร และขณะนี้ก็หาเสียงกันเต็มที่ว่าจะเข้ามาล้ม พ.ร.บ.นิวเคลียร์ฯ



    ต้องจับตากันดูว่าจะสำเร็จหรือไม่



    เรื่องร้อนอีกเรื่องคือ “ข้อบังคับการศึกษาต่อเนื่อง ตาม พ.ร.บ.วิชาชีพทันตกรรม” หรือ CE ซึ่งบังคับให้ทันตแพทย์ ที่จบหลังกฎหมายใหม่บังคับใช้ ต้องเก็บคะแนนการศึกษาต่อเนื่อง ให้ได้อย่างน้อย 100 คะแนน ในระยะ 5 ปี



    ที่ผ่านมา มีความพยายาม “ประท้วง” ทันตแพทยสภา ว่าทำข้อบังคับให้ยุ่งยาก ไม่ฟังเสียงสมาชิก และพยายามจะตั้งป้อมคัดค้าน โดยระบุว่า “การศึกษา” ไม่ควรเป็นเรื่อง “บังคับ”



    แต่ในมุมมองของประชาชนนั้น เรื่องการศึกษาต่อเนื่องนี้ จะเป็นประโยชน์กับคนไข้ เพราะหมอ จะได้อัพเดทความรู้สมัยใหม่ เกี่ยวกับทันตกรรมอยู่สม่ำเสมอ



    ฟากทันตแพทยสภาก็พยายามให้ข้อมูลว่า CE ไม่ยากอย่างที่คิด เพราะการศึกษาที่ทันตแพทยสภากำหนดว่าต้องได้คะแนนนั้น หลายเรื่องก็เป็นการอบรมทั่วไป ซึ่งจัดเป็นประจำอยู่แล้ว และก็จัดการอบรมแบบใหม่ ก็สามารถเข้าไปเก็บคะแนนแบบ “ออนไลน์” ได้ ไม่มีค่าใช้จ่าย



    รวมถึงยังผลักดันให้โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ทั่วประเทศ เป็นศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง หากจัดประชุมวิชาการ ก็สามารถให้คะแนนได้เลย



    เรียกได้ว่า อำนวยความสะดวกกันเต็มที่ แต่แกนนำฮาร์ดคอร์บางคน ก็เห็นว่าเป็นเรื่อง “บังคับ” เกินไป ตั้งใจจะล้มระบบเก็บคะแนนทั้งหมด



    กลุ่มที่แข็งขันที่สุด ก็หนีไม่พ้นกลุ่ม ทันตะอาสา ที่พยายามจะล้มกระบวนการ CE ทั้งหมด



    แต่สำหรับประชาชน นี่เป็นสิ่งที่ต้องจับตาดู เพราะเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ต่อเรา แต่หมอฟันกลุ่มหนึ่งตั้งใจจะล้ม ทั้งยังไม่ได้บอกว่า ถ้าล้มแล้ว จะทำอย่างไรต่อ และประชาชนจะเสียประโยชน์อย่างไร



    และตามคาด CE ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่ 1 เดือนก่อนการเลือกตั้งจะเริ่มขึ้น ก็มีกระบวนการสาดโคลนโยนผ่านไลน์ที่เต็มไปด้วยข้อมูลเท็จ หาที่มาไม่ได้



    เป็นต้นว่า ทันตแพทยสภา ชุดเดิม และ บางกลุ่มที่ลงเลือกตั้งใหม่นั้นไม่มีประสิทธิภาพ ยอมฮั้วกับสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ และ “บ้าอำนาจ” เตรียมพักใช้ใบอนุญาตทันตแพทย์ที่มีคะแนน CE ไม่ถึงเกณฑ์



    น่าสนใจก็ตรงที่ว่า แกนนำกลุ่มคัดค้านนั้น ก็มีเรื่องร้องเรียนจากในพื้นที่ และในระดับชาติ มากเช่นเดียวกัน



    ส่วนแกนนำทีม “ท้าวทันต์” เดิมเอง ก็สนิทสนมก็ “ทันตะอาสา” เป็นอย่างดี แต่ภายหลังกลับใส่คอนเวิร์ส แยกทางกันเรียบร้อย



    แว่วว่า แกนนำบางคนของทีมนี้ ก็ถูกตั้งคำถามจากคนในพื้นที่ และคนในวงการทันตแพทย์ด้วยกัน



    เมื่อมีชื่ออยู่ในโรงพยาบาลรัฐพื้นที่พิเศษภาคใต้ตอนล่าง แต่กลับใช้เวลาราชการแอบมาทำคลินิก และออกทีวีแทน โดยปล่อยให้ลูกน้องทำงานตามยถากรรม



    จากนี้ไป จึงต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด ว่า “ทันตแพทย์” จะเลือกคนกลุ่มไหน แบบไหน เข้ามาเป็นผู้นำ



    จะเป็นผู้เลือก “ของจริง” หรือได้พวก NATO “No Action Talk Only” เข้ามาทำงาน

    #ทันตแพทยสภา


     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,287
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Gossipสาสุข


    ส่อง “หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ไต้หวัน เกือบดีที่สุดของโลก แต่ก็ยังไม่เพอร์เฟ็กต์





    ไต้หวัน เป็นอีกหนึ่งดินแดน ที่มีระบบ “หลักประกันสุขภาพ” ที่ทั่วโลกให้การยอมรับ และประสบความสำเร็จ



    Bloomberg จัดอันดับไต้หวัน ให้เป็นประเทศ ที่มีระบบหลักประกันสุขภาพ ดีที่สุด เป็นอันดับ 9 ของโลก ในขณะที่ไทย อยู่อันดับที่ 27



    ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไต้หวัน เกิดขึ้นในปี 1995 หรือ พ.ศ.2538 โดยมีหน่วยงาน “National Health Insurance” หรือ NHI เป็นผู้ดูแลระบบประกันสุขภาพ



    NHI เริ่มจากการดึงเอาระบบประกันสุขภาพของแรงงาน เกษตรกร และ พนักงานของรัฐ ผนวกเข้าไว้ด้วยกัน โดยรวมเป็นระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าระบบเดียว สำหรับคนทุกกลุ่มอาชีพ ทุกกลุ่มอายุ ครอบคลุมประชากร 23.4 ล้านคน ทั่วเกาะ



    ในปี 2016 (พ.ศ.2559) ค่าใช้จ่ายในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อยู่ที่ราว 6.3% ของ GDP ในขณะที่ค่าใช้จ่ายของไทย อยู่ที่ 4.6% ของ GDP



    ทั้งหมดนี้ ครอบคลุมทุกอย่างตั้งแต่ผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอก โรคเล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึงโรคเรื้อรัง โรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงอย่างโรคเอดส์ โรคมะเร็ง หรือการส่งเสริมป้องกันโรค อย่างการฉีดวัคซีน



    น่าสนใจก็ตรงที่ “ไต้หวัน” มีระบบ “ร่วมจ่าย” ไม่ใช่รัฐอุดหนุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทั้งหมดเหมือนไทย แต่ระบบร่วมจ่าย ก็ใช่ว่าประชาชน ต้องจ่าย ณ โรงพยาบาล หรือคิดค่าใช้จ่าย “หน้างาน” ในการรับบริการแต่ละครั้ง



    หากแต่เป็นการจ่ายสมทบเข้าสู่กองทุนรายเดือน โดยประชาชน นายจ้าง และรัฐบาล ร่วมกันสมทบ



    ยกตัวอย่างเช่น หากเป็น “ลูกจ้าง” ของรัฐบาล และเอกชน ก็จะมีเรตจ่ายสมทบประมาณ 30% หน่วยงานต้นสังกัดออกให้60% และรัฐบาล ออกให้ 10%



    แต่หากเป็นเจ้าของกิจการเอง ก็จ่ายทั้งหมด ไม่มีรัฐร่วมสมทบ ในอัตราประมาณ 5% ของรายได้ต่อปี



    ทั้งนี้ ยังขึ้นอยู่กับ “ฐานเงินเดือน” ของแต่ละคนอีกด้วย ยิ่งเงินเดือนมาก ก็ยิ่งจ่ายมาก



    เช่นหาก นาย Aได้เงินเดือนประมาณ 3 หมื่นบาท ก็จะเสียเงินสมทบเข้ากองทุนหลักประกันสุขภาพ ประมาณคนละ 422 บาท ต่อเดือน



    และถ้าหากมีภรรยาเป็นแม่บ้าน มีบุตร ที่ยังอยู่ในวัยเรียน ก็บวกไปด้วยในเรตเดียวกัน คูณ 3 ก็อยู่ที่ประมาณ 1,266 บาท ต่อเดือน



    ส่วนที่เหลือ นายจ้าง และ รัฐบาล ร่วมกันสมทบ



    และหากมี “เงินเดือน” หลายทาง หรือได้รับ “โบนัส” เพิ่ม ก็ต้องจ่ายเข้ากองทุนหลักประกันสุขภาพเช่นกัน



    หากต้องการบริการที่รวดเร็วเมื่อเข้ารับบริการ อาทิ ไม่ต้องการเข้าคิวนาน หรืออยากปรึกษากับแพทย์เพิ่มเติม ก็สามารถจ่ายเงิน เติมเข้าไปในระบบในหลักไม่กี่ร้อยบาท เพื่อพบแพทย์ในคลินิกและโรงพยาบาล ที่ลงทะเบียนภายใต้ระบบ NHI ซึ่งปัจจุบัน สถานพยาบาลมากกว่า 92% ทั่วเกาะไต้หวัน ลงทะเบียนไว้เรียบร้อย



    ประชาชนเพียงแค่พกบัตร “สมาร์ทการ์ด” ซึ่งบรรจุข้อมูลสุขภาพของแต่ละบุคคลไว้อย่างละเอียด ก็สามารถเข้าพบแพทย์ได้ทันที



    อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 2 หมื่นบาทต่อเดือน ทหารเกณฑ์ ทหารผ่านศึก ก็ไม่จำเป็นต้องจ่าย



    รัฐบาลไต้หวัน เคลมว่า ภายใต้อัตราดังกล่าว ถือว่าเหมาะสม เพราะอยู่ที่ราว 2% ของรายได้เฉลี่ยครัวเรือนต่อปี ของประชากรในเกาะเท่านั้น



    เพราะรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากร ในปัจจุบันของคนบนเกาะไต้หวัน สูงถึงประมาณเดือนละ 5.2 หมื่นบาท การจ่ายใน “หลักพัน” ต่อเดือน จึงไม่ได้รับผลกระทบต่อประชากรมากนัก



    นอกจากนี้ การที่มีหน่วยงาน “ผู้ซื้อบริการ” (ลักษณะเดียวกับ สปสช. หรือ สำนักงานประกันสังคม) ก็ทำให้ต่อรองต้นทุนราคายา และการบริการสุขภาพ ให้ถูกลงอย่างเห็นได้ชัด



    แต่ถามว่ามีปัญหาหรือไม่ ทั้ง NHI ทั้งรัฐบาลไต้หวัน ต่างก็ประสานเสียงยืนยันว่า เงินที่เติมเข้าสู่ระบบหลักประกันสุขภาพนั้น “ไม่พอ”



    ขณะเดียวกัน ก็มีปัญหาโลกแตก เช่นเดียวกับประเทศที่มีระบบหลักประกันสุขภาพที่ดีแล้วประเทศอื่น ไม่ว่าจะเป็น การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ, ปัญหาโรคเรื้อรังที่เพิ่มขึ้น



    หรือปัญหาความไม่พอใจของแพทย์-พยาบาล, ปัญหาคุณภาพการรักษา ไปจนถึง การเข้ามาใช้บริการที่มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ของประชาชน



    สำนักข่าว The News Lens ของไต้หวัน รายงานว่า ในแต่ละปี คนไต้หวัน เข้าพบแพทย์มากถึง 15 ครั้ง ต่อปี ขณะที่กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วอื่นๆ พบหมอเพียงแค่ปีละ 5 ครั้ง ซึ่งทำให้โรงพยาบาลต้องรับภาระมากเกินความจำเป็น



    นอกจากนี้ มากกว่า 20% ของผู้ป่วย ยังเข้าไปรับการตรวจด้วยเครื่อง MRI และ CT Scan “พร่ำเพรื่อ” โดยหลังจากตรวจ ก็ไม่ได้กลับมา “ฟังผล”



    ทั้งแพทย์ ทั้งโรงพยาบาล ภายใต้ระบบ NHI จึงรู้สึกไม่สบายใจ ที่ต้องให้บริการผู้ป่วยจำนวนมาก ซึ่งไม่มีความจำเป็นจะเข้ารับการรักษาจริงๆ



    ปีที่ผ่านมา หน่วยงาน NHI พยายามรณรงค์ให้คนไต้หวัน เข้าไปใช้บริการคลินิก หรือระบบสุขภาพ “ปฐมภูมิ” มากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการกระจุกของการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลใหญ่



    ขณะเดียวกัน ระบบ MediCloud ก็ถูกนำมาทดลองใช้ เพื่อติดตามการเข้าพบแพทย์ ผลการตรวจรักษา และการสั่งยา ของผู้ป่วยแต่ละคน



    เช่น หาก นาย A เข้ารับการตรวจ MRI ที่โรงพยาบาลหนึ่ง เมื่อได้ผลการรักษาแล้วพบว่าต้องรักษาต่อในโรงพยาบาลที่ใหญ่ขึ้น ระบบก็จะจัดคิวให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ใหญ่ขึ้นได้ทันที โดยใช้ข้อมูลที่อยู่ใน Cloud ไม่ต้องตรวจ MRIซ้ำอีกรอบ ซึ่งจะประหยัดเงินของรัฐได้อีกมหาศาล



    ส่วนประชาชนทั่วไป ก็สามารถล็อกอิน เข้าไปในแอพพลิเคชัน เพื่อดูข้อมูลสุขภาพ และการใช้ยาของตัวเอง นอกจากนี้ แอพ จะเตือนให้คนไต้หวัน รีบเข้าไปตรวจสุขภาพด้วย เมื่อถึงเวลานัดหมอครั้งต่อไป



    ทั้งหมดนี้ NHI เชื่อว่าจะทำให้ประชาชนดูแลสุขภาพตัวเองมากขึ้น เมื่อรู้ข้อมูลสุขภาพของตัวเอง และยังทำให้สามารถดูแลสุขภาพได้ ก่อนที่จะเกิดโรคภัยไข้เจ็บอีกด้วย



    ส่วนการต่อสู้กับสังคมผู้สูงอายุ และการลดภาระงานของแพทย์-พยาบาล ยังเป็นเรื่องที่ NHI ต้องหาทางสู้กันต่อไป....

    #ไต้หวัน #หลักประกันสุขภาพ


     

แชร์หน้านี้

Loading...