ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สถานการณ์เดือด‘รัสเซีย-ยูเครน’ บ่อนทำลาย‘ซัมมิตทรัมป์-ปูติน’
    เผยแพร่: 28 พ.ย. 2561 03:31 โดย: เอ็ม เค ภัทรกุมาร
    561000012319201.jpg

    เรือ 3 ลำของกองทัพเรือยูเครน ซึ่งถูกฝ่ายรัสเซียยึดเอาไว้จากเหตุการณ์ที่ช่องแคบเคิร์ช ถูกนำมาจอดอยู่ที่ท่าเรือเมืองเคิร์ช แหลมไครเมีย
    Rising Crimea tensions mar Trump-Putin meeting
    By M.K. Bhadrakumar
    26/11/2018

    เหตุการณ์เรือรัสเซียกับเรือยูเครนเผชิญหน้ากันที่ช่องแคบเคิร์ช ในแหลมไครเมีย ทำให้ประธานาธิบดีเปโดร โปโรเชนโก ของยูเครน รีบเร่งรัดให้ประกาศกฎอัยการศึก ซึ่งเปิดทางให้เขาระงับการเลือกตั้งในต้นปีหน้าได้ ขณะเดียวกันก็ทำให้ฝ่ายตะวันตกที่ต่อต้านรัสเซีย ปลุกกระแสบ่อนทำลายการประชุมซัมมิตทรัมป์-ปูติน ที่อาร์เจนตินาสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้

    “ความขัดแย้งที่ถูกแช่แข็งเอาไว้” (‘frozen conflict’) ในยูเครน กลับตูมตามสำแดงอิทธิฤทธิ์ขึ้นอย่างฉับพลันเมื่อวันอาทิตย์ (25 พ.ย.) ด้วยเหตุการณ์การเผชิญหน้ากันระหว่างนาวีของฝ่ายยูเครนกับฝ่ายรัสเซีย ที่ช่องแคบเคิร์ช (Kerch Strait) ในแหลมไครเมีย โดยที่ช่องแคบนี้เป็นเส้นทางผ่านจากทะเลดำเข้าสู่ทะเลอะซอฟ (Sea of Azov) ฝ่ายรัสเซียได้ยึดเรือยูเครนจำนวน 3 ลำที่พยายามแล่นเข้าสู่ทะเลอะซอฟ (ในทะเลแห่งนี้ ยูเครนมีเมืองท่าอยู่ 2 แห่ง) ทั้งนี้เรือของรัสเซียได้ยิงใส่เรือของยูเครนเหล่านี้ โดยกล่าวหาว่าไม่ยอมฟังคำตักเตือนและล่วงล้ำน่านน้ำที่เป็นดินแดนของรัสเซีย ทำให้มีบุคลากรของยูเครนได้รับบาดเจ็บจำนวน 3 คน

    ทะเลอะซอฟกำลังกลายเป็นจุดรวมศูนย์ของความขัดแย้งระหว่างยูเครนกับรัสเซียมากขึ้นเรื่อยๆ โดยที่เคียฟยืนกรานว่าตนเองมีสิทธิที่จะแล่นเรือผ่านช่องแคบแห่งนี้ (ตามสนธิสัญญาที่ได้ทำไว้กับรัสเซียเมื่อปี 2003) แต่มอสโกยืนยันว่าเวลานี้ตนมีอภิสิทธิ์แห่งอำนาจอธิปไตยในการควบคุมช่องแคบเคิร์ชแล้ว

    แน่นอนทีเดียว ความตึงเครียดขัดแย้งตรงนี้โดยพื้นฐานแล้วมีจุดเริ่มต้นจากการที่รัสเซียผนวกแหลมไครเมียเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของตนเมื่อปี 2014 ยูเครนเรียกการผนวกดินแดนคราวนั้นว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เวลานี้มอสโกประเมินสถานการณ์ว่าพวกมหาอำนาจฝ่ายตะวันตกกำลังกระตุ้นส่งเสริมยูเครนให้เพิ่มการปรากฏตัวด้านทัพเรือของตนในทะเลอะซอฟให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งแน่ล่ะเรื่องนี้ย่อมมีนัยยะทางด้านความมั่นคงปลอดภัยอย่างสาหัสร้ายแรงต่อแหลมไครเมีย

    สิ่งที่ทำให้สถานการณ์ยิ่งสับซับซ้อนขึ้นไปอีกก็คือ รัสเซียได้ก่อสร้างสะพานความยาว 19 กิโลเมตรคร่อมช่องแคบเคิร์ชเพื่อเชื่อมระหว่างไครเมียกับดินแดนแผ่นดินใหญ่ของรัสเซีย รัสเซียมีความระแวงสงสัยว่าอาจจะมีการเปิดปฏิบัติการลับเพื่อทำลายสะพานเคิร์ชแห่งนี้ ซึ่งกลายเป็นเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อกับแหลมไครเมียที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

    จากรายละเอียดเท่าที่ปรากฏออกมาในเวลานี้ ยูเครนเร่งรัดให้เกิดเหตุการณ์ในวันอาทิตย์ (25 พ.ย.) คราวนี้ ทีนี้ ลองมาพิจารณาถึงเหตุผลกันว่าทำไมยูเครนจึงได้เคลื่อนไหวเช่นนี้ในตอนนี้? คำอธิบายประการหนึ่งก็คือทั้งหลายทั้งปวงอาจจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเมืองของยูเครนเอง กล่าวคือ ยูเครนกำลังจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีและเลือกตั้งรัฐสภากันในเดือนมีนาคมปีหน้า โดยที่ เปโตร โปโรเชนโก (Petro Poroshenko) ประธานาธิบดียูเครนคนปัจจุบันซึ่งเป็นพวกโปรอเมริกันนั้น กำลังพยายามอย่างหนักเพื่อที่จะดำรงตำแหน่งต่อไปอีกสมัยหนึ่ง ทว่าเขาไม่เป็นที่นิยมของประชาชนเอาเลย โดยที่ในปัจจุบันเรตติ้งความยอมรับในตัวเขาอยู่ที่ 8% เท่านั้น เขาจึงไม่น่าที่จะได้รับเลือกตั้งอีกวาระหนึ่ง

    561000012319202.jpg


    เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากว่า โปโรเชนโกได้ฉวยใช้เหตุการณ์วันอาทิตย์ (25 พ.ย.) ที่ช่องแคบเคิร์ช เพื่อให้มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.theguardian.com/world/2018/nov/25/russia-border-guards-ram-tugboat-ukraine-navy-crimea) กฎกติกาตามกฎหมายกฎอัยการศึกของยูเครนนั้นให้อำนาจรัฐบาลอย่างกว้างขวาง ทั้งการจำกัดห้ามปรามการชุมนุมเดินขบวนในที่สาธารณะ, การจัดระเบียบสื่อมวลชน, และกระทั่งการสั่งระงับการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้น มีความน่าจะเป็นอยู่ในระดับสูงทีเดียวที่โปโรเชนโกกำลังเคลื่อนไหวไปในทิศทางซึ่งมุ่งยกเลิกการเลือกตั้งประธานาธิบดีและการเลือกตั้งรัฐสภาในปี 2019 ขณะที่สามารถหยิบยกเหตุผลขึ้นมารองรับสนับสนุนว่า ฝ่ายตะวันตกก็น่าจะพอใจให้ลูกไล่ที่ว่าได้ใช้ฟังของตนผู้นี้ครองอำนาจในกรุงเคียฟต่อไปไม่ว่าจะต้องสูญเสียอะไรกันบ้าง

    แต่ก็อีกนั่นแหละ สถานการณ์ยูเครนยังถือเป็นแกนกลางของความตึงเครียดขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับพวกมหาอำนาจตะวันตกอีกด้วย จึงแน่นอนทีเดียวว่าโปโรเชนโกกล้าเดินเกมไปไกลและอันตรายเกินกว่าปกติในคราวนี้ เนื่องจากได้รับการสนับสนุนส่งเสริมอย่างเงียบๆ ในบางระดับจากศูนย์อำนาจของฝ่ายตะวันตกบางแห่ง ซึ่งอาจจะต้องการเย้าแหย่หมีขาวรัสเซียเพื่อดูว่ามันจะแสดงปฏิกิริยาตอบโต้อย่างไร

    เรื่องยิ่งสลับซับซ้อนมากขึ้นอีก เมื่อพวกตัวแทนของฝ่ายต่อต้านรัสเซียในยุโรปและในองค์การนาโต้ กับพวก “อำนาจเก่าที่ฝังรากลึก” (Deep State) ในสหรัฐฯ (โดยเฉพาะอย่างในกระทรวงกลาโหมอเมริกัน) นั้นถือเป็นวงศาคณาญาติกันในเรื่องการต่อต้านคัดค้านวาระของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะปรับปรุงยกระดับความสัมพันธ์กับรัสเซีย จุดที่น่าสังเกตเป็นอย่างมากก็คือ เหตุการณ์ที่ช่องแคบเคิร์ชเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วันก่อนการประชุมพบปะกันตามที่นัดหมายกันไว้ ระหว่าง ทรัมป์ กับ วลาดิมีร์ ปูติน ที่อาร์เจนตินาในช่วงสุดสัปดาห์นี้

    วังเครมลินนั้นเพิ่งส่งสัญญาณออกมาว่า การประชุมในอาร์เจนตินายังจะมีขึ้นตามกำหนดเดิม (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://tass.com/politics/1032609) แต่ว่าพวกต่อต้านรัสเซียจากทั้งสองฟากฝั่งแอตแลนติกกลุ่มนี้คงจะพยายามต่อไปเพื่อบ่อนทำลายการหารือคราวนี้ ถ้าหากไม่ถึงกับสามารถทำให้พังครืนประชุมกันไม่ได้ไปเลย ความหวาดกลัวของพวกเขานั้นมีอยู่ว่า เวลานี้ (ภายหลังการเลือกตั้งกลางเทอมในสหรัฐฯแล้ว) ทรัมป์กำลังอยู่ในสภาพยึดมั่นยืนกรานยิ่งกว่าที่เคยเป็นมาในช่วงการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขา และอาจจะถึงขั้นบอกปัดไม่ฟังเสียงคัดค้านเอาดื้อๆ เพื่อเดินหน้าไปตามวาระของเขาในการปรับปรุงสายสัมพันธ์กับรัสเซีย

    แน่นอนอยู่แล้วว่า ค่ายตะวันตกที่ปฏิเสธไม่ยอมรับแนวทางเข้าหารัสเซียของทรัมป์นั้น ไม่ยอมเสียเวลาเลยในการออกมาประณามมอสโกสำหรับเหตุการณ์ที่ช่องแคบเคิร์ช ทั้งสหภาพยุโรป, องค์การนาโต้, และฝรั่งเศส ต่างแสดงจุดยืนด้วยเสียงดังลั่นที่เรียกร้องให้รัสเซียต้องปล่อยเรือยูเครนที่ยึดไว้และปล่อยบุคลากรชาวยูเครนที่กักขังไว้ ด้านมอสโกได้ตอบโต้ด้วยการเรียกร้องให้จัดการประชุมวาระฉุกเฉินของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ขณะเดียวกัน สำนักข่าวสปุตนิก (Sputnik) ของทางการรัสเซีย รายงานว่า เครื่องบินจารกรรมของสหรัฐฯซึ่งปกติประจำการอยู่ที่เกาะครีต ได้เข้าสู่พื้นที่ทะเลดำแล้วในตอนเช้าวันจันทร์ (26 พ.ย.)

    แน่นอนทีเดียว สามารถคาดการณ์ได้ว่าการที่ฝ่ายตะวันตกจะถึงขั้นเข้าแทรกแซงทางทหารอย่างเปิดเผยนั้นคงไม่เกิดขึ้นหรอก แต่อันตรายอยู่ตรงที่ว่าพวกหัวแข็งกร้าวชาวยูเครนจะต้องรู้สึกได้รับกำลังใจจากแรงสนับสนุนของฝ่ายตะวันตก จนอาจดำเนินการเพื่อยั่วยุคัดค้านรัสเซียเพิ่มมากขึ้นซึ่งอาจจะนำไปสู่การสู้รบขัดแย้งกัน การปะทุตัวขึ้นอย่างรุนแรงในดินแดนดอนบาสส์ (Donbass ดินแดนภาคตะวันออกของยูเครน) ระหว่างกองทัพยูเครน กับพวกแบ่งแยกดินแดน (ที่ได้รับการหนุนหลังจากรัสเซีย) ก็เป็นสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน ความตึงเครียดที่เกิดขึ้นมาใหม่เหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นอันไหน ย่อมจะช่วยให้พวกนักรบสงครามเย็น สามารถฉวยใช้เอามาตราหน้ารัสเซียว่าเป็นปีศาจร้าย เป็นมหาอำนาจนักจองเวรไม่ยอมเลิกซึ่งกำลังคุกคามความมั่นคงของยุโรป แล้วเรื่องนี้ยังจะถูกนำไปใช้ต่อไปอีก ในฐานะเป็นหลักฐานยืนยันว่านาโต้สมควรเพิ่มการหนุนหลังยูเครนมากยิ่งขึ้น (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.kyivpost.com/ukraine-po...gency-meeting-of-nato-ukraine-commission.html) และฝ่ายตะวันตกสมควรที่จะออกมาตรการแซงก์ชั่นรัสเซียเพิ่มมากขึ้นอีก

    ในสถานการณ์ต่างๆ เหล่านี้ การพบปะหารือที่กำลังจะเกิดขึ้นในอาร์เจนตินาระหว่างทรัมป์กับปูติน จึงไม่น่าที่จะเกิดดอกเกิดผลอะไรได้นัก น่าแปลกอยู่เหมือนกันว่า ความแตกร้าวของสองฟากฝั่งแอตแลนติก –ตั้งแต่เรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ, อิหร่าน, งบประมาณขององค์การนาโต้, ผู้อพยพ, ดุลการค้า ฯลฯ – ได้ก่อให้เกิดมิติใหม่ขึ้นมา โดยที่ยุโรปจับมือเป็นพันธมิตรกับพวกศัตรูของทรัมป์ในสหรัฐฯ ในความพยายามร่วมกันเพื่อขัดขวางแผนการที่ได้มีการจัดวางเอาไว้เป็นอย่างดีที่สุดของเขาในเรื่องการจับมือทำธุรกิจกับรัสเซีย

    (จากเว็บไซต์ https://indianpunchline.com)

    https://mgronline.com/around/detail/9610000118502
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ตึงเครียดหนักแน่!ศาลไครเมียสั่งกักขังลูกเรือกองทัพยูเครนเป็นเวลา2เดือน เผยแพร่: 28 พ.ย. 2561 02:36 โดย: ผู้จัดการออนไลน์



    เอเอฟพี - ศาลแห่งหนึ่งในไครเมียในวันอังคาร(27พ.ย.) มีคำสั่งกักกันตัวเป็นเวลา 2 เดือน พวกลูกเรือยูเครนที่ถูกจับกุมระหว่างเผชิญหน้ากับรัสเซียกลางทะเล ในความเคลื่อนไหวที่แน่นอนว่าจะโหมกระพือความตึงเครียดระหว่างมอสโกกับเคียฟให้กราดเกรี้ยวยิ่งขึ้นไปอีก

    ลูกเรือของกองทัพยูเครน 24 คนถูกมอสโกควบคุมตัวมาตั้งแต่วันอาทิตย์(25พ.ย.) หลังกองทัพเรือรัสเซียเข้ายึดเรือ 3 ลำของเคียฟนอกชายฝั่งไครเมีย กระพือวิกฤตอันตรายร้ายแรงที่สุดในรอบหลายปีระหว่างอดีตสหภาพโซเวียตกับชาติเพื่อนบ้าน

    รัสเซียขัดขืนเสียงเรียกร้องให้ปล่อยตัวพวกเขา โดยกล่าวหาว่าลูกเรือเหล่านั้นล่องเรือเข้ามาในน่านน้ำของรัสเซียอย่างผิดกฎหมายและเพิกเฉยต่อคำเตือนของยามชายฝั่ง

    ในวันอังคาร(27พ.ย.) ศาลในซิมเฟโรโพล เมืองหลักในไครเมีย ที่ถูกรัสเซียผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดน ออกคำสั่งให้ลูกเรือ 9 คนอยู่ในการคุมขังก่อนการพิจารณาคดีเป็นเวลา 2 เดือน ขณะที่คนอื่นๆมีกำหนดถูกนำตัวขึ้นศาลในวันพุธ(28พ.ย.) ท่ามกลางความคาดหมายว่าผู้พิพากษาคงมีคำสั่งไม่แตกต่างกัน

    แน่นอนว่าคำตัดสินกักกันตัวครั้งนี้จะกระพือความโกรธเคืองจากเคียฟ ซึ่งเรียกร้องให้ปล่อยตัวลูกเรือทั้งหมดและขอให้พันธมิตรตะวันตกร่วมกันกำหนดมาตรการคว่ำบาตรลงโทษมอสโกเพิ่มเติม

    เหตุการณ์นี้นับเป็นเหตุเผชิญหน้าทางทะเลครั้งใหญ่หนแรกในความขัดแย้งที่ยืดเยื้อระหว่างยูเครนกับมอสโกและกบฏแบ่งแยกดินแดนฝักใฝ่รัสเซียทางภาคตะวันออกของยูเครน

    ขณะเดียวกันมันยังกระพือความหวาดกลัวเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ลุกลามบานปลายให้แก่ความขัดแย้งที่เข่นฆ่าชีวิตผู้คนไปแล้วมากกว่า 10,000 ศพนับตั้งแต่ปี 2014 และกระตุ้นให้นานาชาติส่งเสียงร้องขอให้ทุกฝ่ายอดทนอดกลั้น

    561000012318001.jpg

    เหตุการณ์เมื่อวันอาทิตย์ ถูกนำเสนอเป็นข่าวใหญ่บนหน้าจอของสถานีโทรทัศน์ต่างๆทั้งในรัสเซียและยูเครน ด้วยมีการเผยแพร่คลิประทึกนาทีที่กองเรือรัสเซียกำลังไล่ล่าเรือโยงยูเครนลำหนึ่งที่กำลังพยายามแล่นจากทะเลดำผ่านช่องแคบเคอร์ช มุ่งหน้าสู่ทะเลอาซอฟ

    ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซียเตือนยูเครนในวันอังคาร(27พ.ย.) ต่อการกระทำที่ไม่ยั้งคิดใดๆ หลังเคียฟประกาศกฎอัยการศึกตอบโต้การยึดเรือของมอสโก

    ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้นหลังจากรัฐสภายูเครนในวันจันทร์(26พ.ย.) ลงมติโหวตเห็นชอบคำร้องขอของประธานาธิบดีเปโตร โปโรเชนโก สำหรับบังคับใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ตามแนวชายแดนเป็นเวลา 30 วัน ซึ่งมันมอบอำนาจแก่ทางการยูเครนสำหรับระดมพลเรือนที่มีประสบการณ์ด้านการทหาร, ควบคุมสื่อมวลชนและจำกัดการชุมนุมในที่สาธารณะในพื้นที่บังคับใช้

    มอสโกกล่าวหาว่าเหตุเผชิญหน้าเมื่อวันอาทิตย์ เป็นแผนยั่วยุของเคียฟที่มีเป้าหมายเรียกเสียงสนับสนุนแก่ โปโรเชนโก ก่อนถึงศึกเลือกตั้งในปีหน้าและโน้มน้าวให้รัฐบาลตะวันตกกำหนดมาตรการคว่ำบาตรเพิ่มเติม "พฤติกรรมของเคียฟ ชัดเจนว่าเกิดจากมุมมองการหาเสียงในยูเครน"ปูตินระบุ

    เหตุการณ์เมื่อวันอาทิตย์ ถูกนำเสนอเป็นข่าวใหญ่บนหน้าจอของสถานีโทรทัศน์ต่างๆทั้งในรัสเซียและยูเครน ด้วยมีการเผยแพร่คลิประทึกนาทีที่กองเรือรัสเซียกำลังไล่ล่าเรือโยงยูเครนลำหนึ่งที่กำลังพยายามแล่นจากทะเลดำผ่านช่องแคบเคอร์ช มุ่งหน้าสู่ทะเลอาซอฟ

    ในช่วงค่ำวันจันทร์(26พ.ย.) สถานีโทรทัศน์แห่งรัฐของรัสเซีย ออกอากาศภาพข่าวตอนที่ลูกเรือยูเครนกำลังถูกเจ้าหน้าที่กองกำลังด้านความมั่นคงมอสโกสอบปากคำ

    หนึ่งในนั้นพูดว่า "พฤติกรรมของเรือติดอาวุธยูเครนในช่องแคบเคอร์ช เป็นการยั่วยุ" ซึ่งดูเหมือนเป็นการพูดตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่รัสเซีย ในเรื่องนี้ อิกอร์ โวรอนเชนโก ผู้บัญชาการกองทัพเรือยูเครน ชี้ว่าลูกเรือของพวกเขาถูกบังคับให้การเท็จ "ผมรู้จักลูกเรือเหล่านั้นดี พวกเขาเป็นมืออาชีพเสมอ สิ่งที่พวกเขาพูดตอนนี้ไม่เป็นความจริง"

    เหล่ารัฐบาลชาติตะวันตกต่างพากันหนุนหลังเคียฟในเหตุพิพาทครั้งนี้ โดยกล่าวหารัสเซียปิดกั้นการเข้าถึงทะเลอาซอฟอย่างผิดกฎหมายและใช้กำลังทหารโดยปราศจากความชอบธรรม ส่วน อันโตนิโอ กูเตร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ เรียกร้องขอความอดทนอดกลั้นขั้นสูงสุดและขอทั้งสองฝ่ายใช้มาตรการต่างๆอย่างไม่รีรอในการจำกัดวงเหตุการณ์นี้และลดความตึงเครียดโดยเร็ว

    https://mgronline.com/around/detail/9610000118493
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ฝรั่งเศสจะปิดเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 14 เครื่องภายในปี 2035
    เผยแพร่: 27 พ.ย. 2561 18:36 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
    561000012309301.jpg

    เอเอฟพี – ประธานาธิบดี เอ็มมานูเอล มาครง กล่าวในวันนี้ (27) ว่า ฝรั่งเศสจะปิดเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 14 เครื่องจากทั้งหมด 58 เครื่องที่กำลังทำงานอยู่ในประเทศนี้ภายในปี 2035 โดยในช่วงก่อนปี 2030 จะมีการปิด 4-6 เครื่องก่อน

    ทั้งหมดนี้รวมถึงการปิดเตาปฏิกรณ์เก่าที่สุดสองเครื่องของฝรั่งเศสที่เคยประกาศก่อนหน้านี้ในเมืองเฟสเซนไฮม์ ทางตะวันออกของฝรั่งเศส ซึ่งมาครงกล่าวว่าเตรียมจะปิดในช่วงฤดูร้อนปี 2020

    เขายังประกาศด้วยว่า ฝรั่งเศสจะปิดโรงงานไฟฟ้าถ่านหินที่ยังเหลืออยู่ 4 แห่งภายในปี 2022 ในฐานะส่วนหนึ่งของความพยายามต่อต้านมลพิษของประเทศนี้

    ในคำปราศรัยเสนอนโยบายด้านพลังงานของประเทศนี้สำหรับปีต่อๆ ไป มาครง กล่าวว่า “การลดบทบาทของพลังงานนิวเคลียร์ไม่ได้หมายถึงการละทิ้งมัน”

    ฝรั่งเศสพึ่งพาพลังงานนิวเคลียร์เกือบ 72 เปอร์เซ็นต์ของความต้องการกระแสไฟฟ้าในประเทศ ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะต้องการลดตัวเลขนี้ให้เหลือ 50 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2030 หรือ 2035 ด้วยการพัฒนาแหล่งพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติมก็ตาม

    มาครง กล่าวว่า ฝรั่งเศสจะมุ่งเป้าเพิ่มการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมขึ้นเป็นสามเท่าภายในปี 2030 และเพิ่มการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์เป็น 5 เท่าในช่วงเวลาเดียวกัน

    เขากล่าวเสริมว่า เขาจะขอให้บริษัทไฟฟ้ายักษ์ใหญ่ของฝรั่งเศส EDF ศึกษาความเป็นไปได้ที่จะสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ EPR รุ่นใหม่เพิ่มเติม แต่จะรอจนถึงปี 2021 ค่อยตัดสินใจว่าจะดำเนินการก่อสร้างหรือไม่

    บริษัท EDF สร้างเตาปฏิกรณ์ EPR เครื่องแรกที่ฟลาแมนวิลริมชายฝั่งภาคตะวันตกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส เดิมที่มันจะเริ่มก่อสร้างในปี 2012 แต่ติดปัญหาด้านเทคนิคและงบประมาณบานปลาย

    https://mgronline.com/around/detail/9610000118416
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เม็กซิโกเรียกร้องมะกันสอบสวนกรณียิงแก๊สน้ำตาใส่ผู้อพยพ ทรัมป์ขู่พร้อมปิดชายแดนถาวร เผยแพร่: 27 พ.ย. 2561 19:26 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
    561000012311901.jpg

    รอยเตอร์ – กระทรวงต่างประเทศเม็กซิโกส่งบันทึกทางการทูตถึงรัฐบาลสหรัฐฯ เรียกร้องให้ “สอบสวนอย่างครบถ้วนสมบูรณ์” กรณีที่มีการเล็งอาวุธไม่ร้ายแรงถึงชีวิตเข้าใส่ดินแดนเม็กซิโกเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (25 พ.ย.) ด้านทรัมป์ยืนยันให้เม็กซิโกส่งผู้อพยพอเมริกากลางกลับประเทศ และพร้อมปิดชายแดนถาวรถ้าจำเป็น

    คำขออย่างเป็นทางการนี้มีขึ้นเมื่อวันจันทร์ (26 พ.ย.) หรือหนึ่งวันหลังจากที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ยิงแก๊ซน้ำตาใส่ผู้อพยพในเม็กซิโกบริเวณใกล้ชายแดนที่แบ่งแยกระหว่างเมืองติฮัวนาของเม็กซิโก กับซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ขณะที่ผู้อพยพบางส่วนพยายามข้ามแดนเข้าไปในอเมริกา

    เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เผยว่า มีผู้ถูกจับกุมในฝั่งอเมริกากว่า 40 คน และเชื่อว่าไม่มีผู้อพยพคนใดข้ามแดนเข้าสู่แคลิฟอร์เนียสำเร็จ

    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวในมิสซิสซิปปี้ว่า จะปิดชายแดนถ้าผู้อพยพพยายามพังรั้วกั้น

    ทั้งนี้ เมื่อวันอาทิตย์ ทางการสหรัฐฯ ปิดด่านซาน อิสิโดร ซึ่งเป็นจุดข้ามแดนที่มีผู้สัญจรไปมามากที่สุดชั่วคราว หลังเกิดเหตุชุลมุนที่ถือเป็นเหตุการณ์ล่าสุดจากการยืนยันใช้นโยบายคนเข้าเมืองที่แข็งกร้าวของทรัมป์จัดการผู้อพยพนับพันคนที่เดินเท้าจากภาคเหนือของเม็กซิโกเพื่อหนีความรุนแรงและความยากแค้นจากหลายประเทศในอเมริกากลาง

    สถานการณ์ในติฮัวนาตึงเครียดขึ้นทุกขณะ โดยทรัมป์กล่าวเมื่อวันเสาร์ว่า ผู้อพยพต้องรออยู่ในเม็กซิโกจนกว่าคำร้องขอลี้ภัยในอเมริกาของแต่ละคนจะได้รับการจัดการเสร็จสิ้น ซึ่งอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในนโยบายการลี้ภัยและจะทำให้ชาวอเมริกากลางเหล่านั้นต้องอยู่ในเม็กซิโกอีกกว่าปี

    วันจันทร์ ทรัมป์สำทับว่า เม็กซิโกควรส่งผู้อพยพอเมริกากลาง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวฮอนดูรัส กลับประเทศ และบอกว่า ถ้าจำเป็นอเมริกาอาจปิดชายแดนถาวร พร้อมเรียกร้องให้รัฐสภาผ่านงบประมาณเพื่อสร้างกำแพงตามแนวชายแดนติดกับเม็กซิโก

    รายงานระบุว่า เม็กซิโกกำลังเจรจากับอเมริกาเรื่องแผนการคงผู้อพยพไว้ในเม็กซิโกระหว่างการประมวลผลคำขอลี้ภัย

    ทว่าทีมงานของแอนเดรส มานูเอล โลเปซ โอบราดอร์ ที่จะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีเม็กซิโกในวันเสาร์นี้ (1 ธ.ค.) กลับบอกว่า ยังไม่มีการตกลงกันเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่บางคน อาทิ อเลจานโดร เอนซินาส ว่าที่รัฐมนตรีช่วยมหาดไทย กล่าวว่า รัฐบาลใหม่ของเม็กซิโกจะเคารพสิทธิ์ของผู้อพยพ ซึ่งบ่งชี้ความเป็นไปได้ที่คนเหล่านั้นจะคงอยู่ในเม็กซิโกต่อไป

    ขณะเดียวกัน หน่วยงานหลายแห่งของรัฐบาลสหรัฐฯ เรียงแถวออกมาปกป้องเหตุการณ์ที่ซาน อิสิโดร หลังมีเสียงวิจารณ์จากทั้งสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ และมูลนิธิการกุศลหลายแห่ง จากที่มีการเผยแพร่ภาพเด็กวิ่งเท้าเปล่าหนีแก๊ซน้ำตา นอกจากนั้นยังมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับแนวคิดในการคงผู้อพยพไว้ในเม็กซิโกระหว่างการขอลี้ภัยเข้าสู่อเมริกา

    นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนและผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายบางคน เช่น เจฟฟรีย์ ฮอฟฟ์แมน ผู้อำนวยการอิมมิเกรชัน คลินิกของยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ ฮูสตัน ลอว์ เซ็นเตอร์ ที่เป็นตัวแทนผู้อพยพที่ขอลี้ภัย มองว่า คณะบริหารอาจใช้เหตุการณ์การปะทะที่แนวชายแดนเป็นข้ออ้างว่า ผู้อพยพควรอยู่ในเม็กซิโก

    ร็อดนีย์ สก็อตต์ ผู้อำนวยการสำนักงานตำรวจตระเวนชายแดนในซานดิเอโก ยืนกรานว่า ผู้อพยพส่วนใหญ่ที่รวมตัวที่แนวชายแดนเป็นกลุ่มที่มีปัญหาปากท้อง ซึ่งไม่ใช่คุณสมบัติที่ขอลี้ภัยได้ และว่า มีผู้หญิงและเด็กปะปนอยู่เพียงไม่กี่คนเท่านั้น

    ทางด้านคริสต์เจน นีลเซน รัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ แถลงว่า ได้รับข้อมูลยืนยันว่า มีอาชญากรกว่า 600 คนแทรกซึมอยู่ในคาราวานผู้อพยพ ส่วนเด็กและผู้หญิงถูกใช้เป็นโล่มนุษย์เมื่อต้องเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย

    ที่เม็กซิโก มาริโอ มาร์ติเนซ ผู้บัญชาการตำรวจติฮัวนา แถลงในวันจันทร์ว่า มีชาวอเมริกากลาง 194 คนถูกจับกุมในช่วงเวลา 15 วันนับจากที่คาราวานมาปักหลักในเมือง

    ขณะนี้มีผู้อพยพอยู่ในติฮัวนาและเมืองเม็กซิกาลีกว่า 7,000 คน และอีกกว่า 800 คนอยู่ระหว่างมุ่งหน้าไปยังชายแดน

    ฆวน มานูเอล กัสเตลัม นายกเทศมนตรีติฮัวนา ที่บอกว่า เมืองของตนกำลังเผชิญวิกฤตการณ์มนุษยชน ให้สัมภาษณ์ว่า อเมริกาน่าจะใช้เวลาถึง 3 เดือนกว่าจะเริ่มประมวลผลคำขอลี้ภัย

    ในส่วนกองทัพสหรัฐฯ เผยว่า ได้ส่งทหาร 300 นายจากเทกซัสและแอริโซนาไปยังแคลิฟอร์เนียเมื่อไม่กี่วันมานี้ โดยขณะนี้มีทหารประจำการณ์บริเวณชายแดนติดกับเม็กซิโกราว 5,600 นาย เจ้าหน้าที่ทหารบางคนคาดว่า จะมีการจัดกำลังใหม่หากสถานการณ์เปลี่ยนแปลง

    ขณะที่นีลเซนสำทับว่า กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิเตรียมพร้อมรับมือความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นด้วยการส่งกำลังทหารไปเพิ่ม

    สมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ มีกำหนดเส้นตายในการอนุมัติงบประมาณการสร้างกำแพงตามแนวชายแดนภายในวันที่ 7 ธันวาคม โดยทรัมป์ขู่ว่า หากคองเกรสส์ไม่ยอมอนุมัติ จะสั่งระงับการทำงานของหน่วยงานรัฐบาลทั้งหมด

    https://mgronline.com/around/detail/9610000118429
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เกาหลีใต้ซื้อระบบเรดาร์เตือนภัยยกระดับป้องกันตัว แม้สัมพันธ์โสมแดงดีขึ้น เผยแพร่: 27 พ.ย. 2561 22:00 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
    561000012314401.jpg

    (ภาพจากเอสตา ซิสเต็มส์ ) ระบบเรดาร์ กรีน ไพน์ บล็อค ซี
    รอยเตอร์ - เกาหลีใต้มีแผนซื้อขายระบบเรดาร์เตือนภัยล่วงหน้าของอิสราเอล 2 ชุด จากการเปิดเผยในวันอังคาร(27พ.ย.) ความเคลื่อนไหวยกระดับการป้องกันตนเองทางอากาศจากเกาหลีเหนือ แม้ความสัมพันธ์ระหว่างสองชาติดีขึ้นอย่างรวดเร็ว

    การตัดสินใจเลือกระบบเรดาร์ "กรีน ไพน์ บล็อค ซี" 2 ชุดที่สร้างโดยเอสตา ซิสเต็มส์ บริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจ อิสราเอล แอร์โรสเปซ อินดัสตรีส์ ครั้งนี้ มีขึ้นระหว่างการประชุมคณะคณะกรรมาธิการจัดซื้ออาวุธ ของสำนักงานบริหารโครงการจัดซื้อด้านกลาโหมของเกาหลีใต้ (DAPA) เมื่อวันอังคาร(27พ.ย.)

    สำนักงานบริหารโครงการจัดซื้อด้านกลาโหมของเกาหลีใต้ไม่ได้เจาะจงมูลค่าของเรดาร์ แต่เจ้าหน้าที่รายหนึ่งของกระทรวงกลาโหมเผยว่ามีราคาราวๆ 333,000 ล้านวอน(ประมาณ 9,600 ล้านบาท) พร้อมระบุระบบดังกล่าวจะเข้าประจำการในช่วงต้นทศวรรษ 2020

    โครงการนี้มีเจตนาเสริมแสนยานุภาพของเกาหลีใต้ในการตรวจจับและติดตามขีปนาวุธจากระยะทางไกลๆในระยะต้นๆ" สำนักงานบริหารโครงการจัดซื้อด้านกลาโหมของเกาหลีใต้ระบุในถ้อยแถลงโดยไม่ได้พาดพิงเกาหลีเหนือ

    อย่างไรก็ตามเมื่อเดือนธันวาคมปีก่อน กระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้เคยบอกว่าจะซื้อเรดาร์เตือนภัยล่วงหน้าเพิ่มเติม หลังจากหนึ่งเดือนก่อนหน้านั้น เกาหลีเหนือประสบความสำเร็จในการทดสอบขีปนาวุธข้ามทวีปและประกาศว่าได้กลายเป็นรัฐนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์แล้ว

    ในทางเทคนิค เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ยังอยู่ในสถานะประเทศคู่สงคราม เพราะว่าความขัดแย้งของพวกเขาระหว่างปี 1950-53 ยุติลงด้วยข้อตกลงสงบศึก ไม่ใช่สนธิสัญญาสันติภาพ

    นานหลายปีแล้วที่เกาหลีเหนือขัดขืนมาตรการคว่ำบาตรของสหประชาชาติ เสาะแสวงหาโครงการนิวเคลียร์และขีนาวุธ แต่สองชาติเคลื่อนไหวหล่อหลอมความสัมพันธ์ในปีนี้ และบรรลุข้อตกลงทางทหารอย่างครอบคลุม ณ ที่ประชุมซัมมิตระหว่างพวกเขาในกรุงเปียงยางเมื่อเดือนกันยายน โดยมีเป้าหมายปลดชนวนความตึงเครียดทางทหารตามแนวชายแดน

    คิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือและประธานาธบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐฯ ให้สัญญาทำงานร่วมกันในการมุ่งหน้าสู่การปลดนิวเคลียร์ ระหว่างการประชุมซัมมิตครั้งประวัติศาสตร์ในสิงคโปร์ เมื่อเดือนมิถุนายน แต่ข้อตกลงดังกล่าวยังขาดรายละเอียดและนับตั้งแต่นั้นการเจรจามีความคืบหน้าเพียงเล็กน้อย

    https://mgronline.com/around/detail/9610000118459
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    งัดบล็อกเชนตรวจภาษี VAT สรรพากรมั่นใจปิดช่องคนโกงอยู่หมัด
    วันที่ 27 November 2018 - 17:48 น.
    66-3-728x637.jpg
    อธิบดีสรรพากรนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ตรวจสอบภาษี VAT เชื่อช่วยขจัดการโกงภาษีได้ เดินหน้าดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเต็มสูบ วาดฝันอนาคตการยื่นภาษีเป็นแบบอัตโนมัติ พร้อมสร้างแชตบอต “น้องอารี” ตอบปัญหาทางภาษีแก่ประชาชน

    นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวในงานสัมมนาเศรษฐกิจประจำปีสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ปี 2561 หัวข้อ “สรรพากรในยุคข้อมูลใหม่ ประชาชนได้อะไร” ว่า ขณะนี้กรมอยู่ระหว่างทดลองนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ในการตรวจสอบภาษี ซึ่งจะช่วยขจัดปัญหาการโกงภาษีได้ โดยเฉพาะการนำมาใช้ตรวจสอบการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่มีภาษีซื้อและภาษีขาย

    “ตอนนี้กำลังดูเอามาใช้กับระบบ VAT ซึ่งจะมีภาษีซื้อและภาษีขาย จะทำให้การโกงภาษีลดลงได้ ซึ่งตอนนี้ยังอยู่ในขั้นทดสอบใน LAB อยู่” นายเอกนิติกล่าว

    [​IMG]
    ทั้งนี้ ปัจจุบันกรมสรรพากรอยู่ระหว่างเดินหน้าดิจิทัลทรานส์ฟอร์ม โดยกำลังดำเนินการตามแผน quick win ทั้งการเชื่อมโยงข้อมูลภายในและภายนอกเพื่อให้เกิดบิ๊กดาต้า ซึ่งจะสามารถนำมาวิเคราะห์และนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีในอนาคต

    นายเอกนิติกล่าวว่า การนำระบบดิจิทัลมาใช้และการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นบิ๊กดาต้าจะช่วยให้กรมสามารถแยกแยะผู้เสียภาษีที่ดีกับไม่ดีได้ จะได้มุ่งตรวจสอบแต่คนไม่ดี ส่วนคนดีก็จะได้รับการคืนภาษีที่เร็วขึ้น ซึ่งต่อไปจะมีการนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาช่วยตรวจสอบภาษี ซึ่งจะลดการใช้ดุลพินิจไปได้

    “ความฝันก็คือ ท้ายที่สุดถ้าเชื่อมโยงข้อมูลได้ทั้งหมด จะนำไปสู่ auto filing ได้” นายเอกนิติกล่าว

    นอกจากนี้ กรมสรรพากรยังมีนโยบายที่ยึดผู้เสียภาษีเป็นศูนย์กลาง โดยขณะนี้ได้สร้างแชตบอตชื่อ “น้องอารี” ขึ้นมา เพื่อตอบปัญหาผู้เสียภาษี ซึ่งอยู่ระหว่างทดลองใช้และพัฒนาระบบ

    อธิบดีกรมสรรพากรกล่าวด้วยว่า ตอนนี้กรมไม่มีนโยบายไปไล่เก็บภาษีรายย่อย แต่จะเน้นสร้างความเป็นธรรม อย่างเช่น การที่จะเข้าไปเก็บภาษีขายสินค้าออนไลน์ ก็เพราะว่าปัจจุบันมีการเลี่ยงภาษีกันอยู่มาก ทำให้ผู้ค้าขายอื่น ๆ ที่เสียภาษีตรงไปตรงมาไม่ได้รับความเป็นธรรม

    ขณะที่นายปิ่นสาย สุรัสวดี รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร กล่าวว่า ที่ผ่านมากรมสรรพากรได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องและจริงจังกับผู้ประกอบการ ทั้งที่เป็นผู้ออกและผู้ใช้ใบกำกับภาษีโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ล่าสุดเมื่อเร็ว ๆ นี้ศาลอาญาได้มีคำพิพากษาลงโทษทางอาญาผู้ที่ได้ร่วมกันกระทำความผิดออกใบกำกับภาษีขายให้กับบริษัท/ห้าง/ร้าน โดยมิได้มีการประกอบกิจการจริง ซึ่งมีความผิดรวม 8 กระทง เป็นโทษจำคุก 8 ปี เนื่องจากการออกใบกำกับภาษีโดยมิชอบด้วยกฎหมาย 1 ฉบับ เท่ากับความผิด 1 กระทง แต่จำเลยรับสารภาพมีเหตุบรรเทาโทษ จึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เป็นโทษจำคุกรวม 4 ปี พร้อมริบของกลาง

    “ผู้ซื้อใบกำกับภาษีไปใช้ ต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา โดยโทษทางแพ่งต้องรับผิดเบี้ยปรับ 2 เท่าของจำนวนภาษีตามใบกำกับภาษี พร้อมทั้งเงินเพิ่มตามกฎหมายอีก 1.5% ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของจำนวนเงินภาษี สำหรับโทษทางอาญา ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาทถึง 2 แสนบาท” นายปิ่นสายกล่าว

    https://www.prachachat.net/finance/...4jlCFFCa-o634ZYkEYtRXHMUA6oqJ64ZzrjcWEU03l1G8
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    NowThis Food



    ขนมนี้ไฟลุกเป็นไฟแล้วยัดใส่ปากของคุณ
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เก็บตกตะวันออกกลาง

    การประท้วงของชาวตูนิเซียทวีความรุนแรงมากขึ้นต่อการมาเยือนของ bin Salman

    ประชาชนชาวตูนิเซียในวันนี้ยังคงทำการประท้วงอย่างต่อเนื่องต่อการมาเยือนของ เจ้าชาย โมฮัมเหม็ด บินแห่งซาอุดิอาระเบีย

    ในเวลาเดียวกันขณะที่การประท้วงในประเทศบาห์เรน อียิปต์และแอลจีเรีย บรรดาผู้ชุมนุมประท้วงในตูนิเซียได้รวมตัวกันที่เมืองหลวงเพื่อประท้วงการมาเยือนตูนิเซียของ บิน ซัลมาน

    วันนี้ (ตอนเย็น) ชาวตูนิเซียจำนวนมากรวมตัวกันที่ถนนอัล – ฮาบิบ โบรกิบาในเมืองหลวงของประเทศและป่าวประกาศสโลแกนและประณามการมาเยือนของบินซาลมาน

    #เก็บตกตะวันออกกลาง!
    #ตูนีเซีย #การประท้วง #บินซัลมาน

     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ประชาชนยูเครนกำลังไล่ซื้อของในซุปเปอร์มาร์เก็ต เนื่องจากความขัดแย้งที่ผ่านมา
    1021887342%2B%25283%2529.jpg
    ความหวาดกลัวกำลังเริ่มต้น: หลังจากการประกาศกฎอัยการศึกในบางภูมิภาคของประเทศยูเครน ใน Kherson พลเมืองซื้อสินค้าสำคัญ ในร้านค้า

    ภาพที่คล้ายกันนี้ พบในร้านค้าบางแห่งใน เคียฟ นอกจากนี้ใน Cherkassy ประชาชนที่อาศัยอยู่ที่นั่นได้ถอนเงินสดบัตรทั้งหมดของตนเองออกจากธนาคาร เพราะกลัวว่าจะไม่สามารถทำธุรกรรมกับธนาคารได้ เพราะความขัดแย้งกับรัสเซีย

    ในบ่ายวันที่ 26 พฤศจิกายน ศาลฎีกา Rada อนุมัติ โดย 276 คะแนน ในการประกาศกฎอัยการศึก ใน 10 ภูมิภาคของประเทศ เรากำลังพูดถึงเกี่ยวกับภูมิภาค Vinnitsa, Luhansk, Mykolaiv, โอเดสซา Sumy, คาร์คิฟ, Chernihiv, โดเนตสค์ โพริซเฮีย และเคอร์ซอน และกฎอัยการศึกได้ใช้ในน่านน้ำภายในของยูเครน ในน่านน้ำ Azov-เคิร์ช

    หน่วยงานในขณะนี้มีสิทธิที่จะกำหนดเคอร์ฟิวในภูมิภาคเหล่านี้ โดย จำกัด การเข้าออกของผู้คนห้ามถือครองหลักทรัพย์ของการชุมนุม และสื่อ ในข้ออ้างเพื่อสร้างความมั่นใจในการรักษาความปลอดภัย การจัดกิจกรรมของพรรคการเมือง และ สมาคมประชาสังคม ...

    istockphoto-990888820-1024x1024.jpg

    images%2B%252873%2529.jpg

    images%2B%252872%2529.jpg

    images%2B%252869%2529.jpg

    https://www.climaseveromundial.com/...HZmkYKr0rTzWHTCaaR2k7C8#.W_3mrUHdMOU.facebook
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เจนจิรา จันทรเสนา



    ชาวยูเครนไปยืนร้องเพลงชาติหน้าสถานทูตรัสเซียที่กรุงปราก เพื่อประท้วงรัสเซียที่โจมตีและยึดเรือ 3 ลำ ของกองทัพยูเครน พร้อมทั้งควบคุมตัวทหารยูเครนไว้ด้วย

    Credit: Serhii Stetsenko
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เจนจิรา จันทรเสนา

    ผู้ประท้วงกลุ่มเสื้อกั๊กเหลือง พวกเขาเรียกตำรวจควบคุมฝูงชนที่ทุบตีอดีตข้าราชการบำนาญที่ออกมาร่วมประท้วงว่า "Macron Napoleon Gang"
    -----------------------
    Dit is hoe mensen die protesteren tegen te hoge belastingen worden behandeld. Heb je de politie ooit zo te keer zien gaan tijdens allochtone rellen?
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เจนจิรา จันทรเสนา

    "ฝรั่งเศส" ประท้วงขึ้นภาษีน้ำมัน!
    ดูแล้วช่วงนี้ คงไม่มีใครมาอุดหนุน หรือไม่กล้ามาอุดหนุนหรอกนะ

    The best hamburger du monde selon Barack Obama. #panique

    Credit: Julien Brygo
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เจนจิรา จันทรเสนา

    ที่ฝรั่งเศส "ประท้วงการขึ้นภาษีน้ำมัน"

    ผู้ประท้วงถูกตำรวจควบคุมฝูงชน ลากไปกองไว้ทีละคนๆ รอรถควบคุมตัวมารับตัว!
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เจนจิรา จันทรเสนา



    กรณีประท้วงขึ้นภาษีน้ำมันที่ฝรั่งเศส

    ผู้ประท้วงบอกว่า.."การเผานั้นคือการระบายออกของความคับแค้นทางชนชั้น การเป็นคนธรรมดาในประเทศนี้นั้นมันแสนที่จะเจ็บปวด ฝรั่งเศสต้องการการปลดปล่อย โดยประชาชนควรเป็นใหญ่ดั่งเพลงชาติ.. ปธน.มาครง ไม่ใช่นโปเลียนของพวกเรา.." เย้!!
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ราชวงศ์เหนือใต้ (คริสตศักราช 420 – 589)
    เผยแพร่: 21 ก.ย. 2547 17:54 โดย: MGR Online

    “แม้เป็นช่วงเวลาเพียงระยะสั้นๆ แต่ก็ทำให้วัฒนธรรมฮั่นยังคงได้รับการสืบทอดและพัฒนาต่อมา ไม่ต้องถึงกาลล่มสลายไปโดยชนกลุ่มน้อย ดังนั้น การคงอยู่ของราชวงศ์ใต้ โดยนัยทางประวัติศาสตร์ของจีน ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เนื่องจากเป็นหัวใจของการคงอยู่หรือล่มสลายของอารยธรรมจีนในดินแดนแถบนี้”

    [​IMG]
    หลังจากราชวงศ์จิ้นตะวันออก(ทางใต้)และยุค 16 แคว้น(ทางเหนือ)สิ้นสุดลง สภาพบ้านเมืองแบ่งแยกออกเป็นเหนือใต้ตั้งประจันหน้ากัน โดยราชวงศ์เหนือ (ค.ศ. 386 – 581) ต่อเนื่องจากยุค 16 แคว้น ปกครองโดยราชวงศ์เป่ยวุ่ยหรือวุ่ยเหนือ(北魏)ซึ่งต่อมาแตกแยกออกเป็นวุ่ยตะวันออก(东魏)และวุ่ยตะวันตก(西魏)วุ่ยตะวันออกถูกกลืนโดยเป่ยฉี(北齐)ส่วนเป่ยโจว(北周)เข้าแทนที่วุ่ยตะวันตก ต่อมาเป่ยโจวรวมเป่ยฉีเข้าด้วยกันอีกครั้ง ส่วนราชวงศ์ใต้ (ค.ศ. 420 – 589) ต่อเนื่องจากราชวงศ์จิ้นตะวันออก มีการผลัดแผ่นดินโดยราชวงศ์ ซ่ง(宋)ฉี(齐)เหลียง(梁) เฉิน(陈)ตามลำดับ

    ราชวงศ์เหนือ (ค.ศ. 386 – 581)

    หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก (265 – 316) ภาคเหนือของจีนก็ตกอยู่ในภาวะจราจลและสงครามชนเผ่าของยุค 16 แคว้น จวบจนค.ศ. 386 หัวหน้าเผ่าทั่วป๋าเซียนเปยได้สถาปนาแคว้นเป่ยวุ่ย (北魏)และตั้งนครหลวงที่เมืองผิงเฉิง( ปัจจุบันคือเมืองต้าถงในมณฑลซันซี) จากนั้นทยอยกวาดล้างกลุ่มอำนาจอิสระที่เหลือ ยุติความวุ่นวายจากสงครามแย่งชิงอำนาจที่เกิดขึ้นทางภาคเหนือในที่สุด (ค.ศ. 439)บ้านเมืองมีความสงบและมั่นคงขึ้นชั่วระยะเวลาหนึ่ง

    จนกระทั่งรัชสมัยเสี้ยวเหวินตี้(孝文帝)ขึ้นครองราชย์(ค.ศ. 471 – 499) ได้มีการปฏิรูปการปกครอง ซึ่งทำให้เกิดการเร่งกระบวนการหลอมรวมทางวัฒนธรรมขนานใหญ่ ภายใต้นโยบาย ‘ทำให้เป็นฮั่น’ อาทิ การใช้ภาษาฮั่นในราชสำนัก ให้ชาวเซียนเปยหันมาสวมใส่เสื้อผ้าของชาวฮั่น หรือแม้แต่เปลี่ยนมาใช้แซ่ตามแบบของชาวฮั่น* เป็นต้น เพื่อส่งเสริมให้มีปฏิสัมพันธ์ความร่วมมือกันระหว่างกลุ่มชนเผ่ากับชาวฮั่นมากขึ้น นอกจากนั้น ยังใช้วิธีการผูกสัมพันธ์ทางสายเลือดด้วยการแต่งงานระหว่างชาวฮั่นและเซียนเปย ขณะที่ในทางการเมืองก็เพิ่มปริมาณชาวฮั่นที่เข้ารับข้าราชการเป็นขุนนางมากขึ้น รวมทั้งยังหันมาใช้ระบบการบริหารบ้านเมืองตามระเบียบปฏิบัติของชาวฮั่น และในปี 493 เสี้ยวเหวินตี้ทรงย้ายเมืองหลวงเข้าสู่ภาคกลาง – เมืองลั่วหยาง การปฏิรูปแบบถอนรากถอนโคนนี้ได้ทำให้เศรษฐกิจและสังคมของดินแดนทางตอนเหนือรุดหน้าอย่างรวดเร็ว แต่ขณะเดียวกันก็กลับสร้างความไม่พอใจในหมู่ชนชั้นสูงและผู้มีอำนาจทางทหารของชนเผ่า

    * เดิมทีแซ่ของชนเผ่าทางเหนือจะมีตั้งแต่ 2-3 ตัวอักษร เมื่อเปลี่ยนมาใช้แซ่ตามแบบชาวฮั่น จะเหลือเพียงอักษรเดียว อาทิ ทั่วป๋า เปลี่ยนเป็น แซ่หยวน(元) ตู๋กูหรือต๊กโกว เปลี่ยนเป็นแซ่หลิว(刘) ปู้ลิ่วกู เปลี่ยนเป็นแซ่ลู่(陆) ชิวมู่หลิง เปลี่ยนเป็นแซ่มู่(穆)เป็นต้น

    สิ้นรัชสมัยเสี้ยวเหวินตี้ เป่ยวุ่ยเริ่มเข้าสู่ยุคเสื่อม กษัตริย์ที่ขึ้นครองราชย์ต่อมา ไม่สนใจปฏิรูปการปกครอง แต่กลับรื้อฟื้นระบบสิทธิประโยชน์ของชนเผ่าเซียนเปย สร้างความขัดแย้งในสังคม เมื่อถึงรัชสมัยของเสี้ยวหมิงตี้ (孝明帝)(ค.ศ.523) เกิดกบฏ 6 เมืองขึ้น เป่ยวุ่ยเข้าสู่ภาวะจราจล อันนำสู่ภาวะสงครามกลางเมืองในเวลาต่อมา กลุ่มผู้มีอำนาจทางทหารหาเหตุยกพลบุกเมืองหลวงปลดและแต่งตั้งฮ่องเต้หุ่นเชิดตามใจตน

    เมื่อถึงปี 534 เสี้ยวอู่ตี้(孝武帝)เนื่องจากทรงขัดแย้งกับเกาฮวน(高欢)ที่กุมอำนาจในราชสำนัก จึงหลบหนีจากเมืองหลวง เพื่อขอพึ่งพิงอี่ว์เหวินไท่(宇文泰)ที่เมืองฉางอัน ฝ่ายเกาฮวนก็ตั้งเสี้ยวจิ้งตี้(孝静帝)กษัตริย์องค์ใหม่ขึ้นครองราชย์ต่อมา โดยย้ายเมืองหลวงไปเมืองเย่ (邺)หรือเมืองอันหยางมณฑลเหอหนันในปัจจุบัน ทางประวัติศาสตร์จีนเรียกว่า วุ่ยตะวันออก (ค.ศ. 534 – 550) ส่วนเสี้ยวอู่ตี้หลังจากไปขอพึ่งพิงอี่ว์เหวินไท่ได้ไม่นานก็ถูกสังหาร จากนั้นในปี 535 อี่ว์เหวินไท่ก็ตั้งเหวินหวงตี้(文皇帝)ขึ้นเป็นกษัตริย์แทน โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองฉางอัน ประวัติศาสตร์จีนเรียก วุ่ยตะวันตก (ค.ศ. 535 – 557)

    ต่อมาไม่นาน หลังจากเกาฮวนสิ้น บุตรชายเกาหยาง(高洋)ปลดฮ่องเต้หุ่น สถาปนา เป่ยฉี ส่วนวุ่ยตะวันตกก็ประสบชะตากรรมเช่นเดียวกัน อี่ว์เหวินเจวี๋ย(宇文觉)บุตรชายของอี่ว์เหวินไท่ สถาปนา เป่ยโจว

    เป่ยฉี (北齐) (ค.ศ. 550 – 577) ที่มีรากฐานจากวุ่ยตะวันออก เดิมทีบ้านเมืองค่อนข้างเข้มแข็ง แต่เนื่องจากกษัตริย์รุ่นต่อมาล้วนเลวร้ายและโหดเหี้ยม ทั้งมากระแวง เปิดฉากฆ่าฟันทายาทตระกูลหยวน ซึ่งเป็นเชื้อสายจากราชวงศ์เป่ยวุ่ยและบรรดาขุนนางชาวฮั่นไปมากมาย ทำให้ราชวงศ์เป่ยฉีสูญเสียความชอบธรรมและการสนับสนุนจากกลุ่มชนเผ่าเซียนเปยเองและกลุ่มชาวฮั่น อันเป็นเหตุแห่งความล่มสลายในปี 577 เป่ยฉีก็ถูกเป่ยโจวกวาดล้าง

    เป่ยโจว(北周) (ค.ศ. 557 – 581) ที่ถือกำเนิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันกับเป่ยฉี โดยแทนที่วุ่ยตะวันตก ในระยะแรกมีขุมกำลังอ่อนด้อยกว่าเป่ยฉี แต่เนื่องจากกษัตริย์โจวอู่ตี้(周武帝) (ครองราชย์ปีค.ศ. 561-579) มีการบริหารการปกครองที่ได้ผล ทำให้เป่ยโจวทวีความเข้มแข็งขึ้น โดยในช่วงเวลาดังกล่าว มีการปฏิรูประบบกองกำลังทางทหาร โดยผสมผสานการเกณฑ์กำลังพลรบเข้ากับระบบกำลังการผลิต จนกระทั่งสามารถล้มล้างเป่ยฉี รวมแผ่นดินภาคเหนือเข้าด้วยกันในปี 577

    ต่อมาปี 578 อู่ตี้สิ้น หลังจากนั้นเป็นต้นมา กำลังทางทหารของเป่ยโจวค่อยๆโยกย้ายสู่มือของหยางเจียน (杨坚)ผู้เป็นพ่อตาและญาติ เมื่อถึงปี 581 หยางเจียนปลดโจวจิ้งตี้(周静帝)จากบัลลังก์ สถาปนาราชวงศ์สุย (隋)จากนั้นกรีฑาทัพลงใต้ ยุติสภาพการแบ่งแยกเหนือใต้อันยาวนานของแผ่นดินจีนได้เป็นผลสำเร็จ

    ราชวงศ์ใต้ (ค.ศ. 420 – 589)
    ค.ศ. 420 ราชวงศ์จิ้นตะวันออกล่มสลาย ทางภาคใต้ของจีนได้ปรากฏราชวงศ์ที่ก้าวขึ้นปกครองดินแดนทางตอนใต้ของจีน 4 ราชวงศ์ตามลำดับ ได้แก่ ซ่ง ฉี เหลียง และเฉิน โดยมีระยะเวลาในการปกครองค่อนข้างสั้นรวมแล้วเพียง 95 ปีเท่านั้น ในบางราชวงศ์ที่สั้นที่สุด มีเวลาเพียง 23 ปีเท่านั้น ถือเป็นช่วงเวลาที่จีนมีอัตราการผลัดแผ่นดินสูงมาก

    ซ่ง (ค.ศ. 420 – 479) หลิวอี้ว์(刘裕)ผู้สถาปนาราชวงศ์ซ่ง (宋)ซึ่งได้พัฒนาตัวเองจนเข้มแข็งขึ้นในช่วงปลายราชวงศ์จิ้นตะวันออก โดยหลิวอี้ว์ได้ชัยชนะจากการแก่งแย่งอำนาจของ 4 ตระกูลใหญ่ แห่งราชวงศ์จิ้นตะวันออก ดังนั้น ในปีค.ศ. 420 หลิวอี้ว์ถอดถอนฮ่องเต้ราชวงศ์จิ้น สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ โดยใช้ชื่อราชวงศ์ซ่ง เพื่อแยกแยะการเรียกหาออกจากราชวงศ์ซ่งในยุคหลัง ดังนั้นในยุคนี้ ประวัติศาสตร์จีนจึงเรียกว่า หลิวซ่ง (刘宋)

    เนื่องจากหลิวอี้ว์ถือกำเนิดในชนชั้นยากไร้ อีกทั้งได้รับบทเรียนจากการล่มสลายของจิ้นตะวันออก ซึ่งมีสาเหตุสำคัญจากการต่อสู้กันเองของกลุ่มตระกุลใหญ่กันเอง ดังนั้น หลังจากที่หลิวอี้ว์ขึ้นครองบัลลังก์ ก็ไม่ให้ความสำคัญกับบรรดากลุ่มตระกูลใหญ่อีก โดยหันมาคัดเลือกกำลังคนจากกลุ่มชนชั้นล่าง และอำนาจทางการทหารก็มอบให้กับบรรดาเชื้อพระวงศ์และบุตรหลานของตน เพื่อจะได้ไม่ต้องเข้าไปเกี่ยวพันกับการแก่งแย่งของกลุ่มชนชั้นตระกูลใหญ่ ซ้ำรอยความผิดพลาดของจิ้นตะวันออกอีก แต่ทว่า เนื่องจากในบรรดาเชื้อพระวงศ์เองก็ยังมีการแก่งแย่งชิงอำนาจกันเอง สุดท้ายต่างประหัตประหารกันและกันอย่างอเนจอนาจ ซึ่งเป็นสิ่งที่หลิวอี้ว์เองก็คาดไม่ถึง

    ก่อนปี 422 หลิวอี้ว์สิ้น ซ่งเส้าตี้(宋少帝) และเหวินตี้ (文帝)ขึ้นครองราชย์โดยลำดับ หลิวอี้หลง(刘义隆)หรือซ่งเหวินตี้ อยู่ในบัลลังก์ 30 กว่าปี เป็นยุคสมัยที่ราชวงศ์ซ่งมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดช่วงเวลาหนึ่ง ขณะนั้น วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ของบ้านเมืองอยู่ในระหว่างขาขึ้น ระหว่างปี 430 – 451 ราชวงศ์ซ่งและเป่ยวุ่ยจากทางเหนือ เกิดสงครามเหนือใต้ สุดท้ายไม่มีผู้ชนะ ต่างต้องประสบกับความเสียหายใหญ่หลวง เป็นเหตุให้ระหว่างราชวงศ์เหนือใต้ ต่างอ่อนล้าลง ไม่มีกำลังเปิดศึกใหญ่อีก นับแต่นั้นมา ต่างฝ่ายก็คุมเชิงกันต่อมา

    ปี 454 เมื่อเหวินตี้สิ้น เสี้ยวอู่ตี้(孝武帝)- หมิงตี้ (明帝)ขึ้นครองราชย์โดยลำดับ ทั้งสองถือเป็นกษัตริย์ทรราชที่ขึ้นชื่อลือเลื่องในประวัติศาสตร์จีน อีกทั้งกษัตริย์องค์ต่อมาล้วนกระทำการเหี้ยมโหด มากระแวง ทำให้ลงมือเข่นฆ่าพี่น้องวงศ์วานอย่างเหี้ยมโหด บ้านเมืองจึงตกอยู่ในสภาพความยุ่งเหยิงวุ่นวาย ระหว่างนั้น แม่ทัพฝ่ายขวา เซียวเต้าเฉิง (萧道成)สังหารเฟ่ยตี้ (废帝)ยกบัลลังก์ให้กับซุ่นตี้(顺帝)ที่มีอายุเพียง 11 ขวบ ฉวยโอกาสเข้ากุมอำนาจบริหารบ้านเมือง ต่อมาในปี 479 ล้มล้างซ่ง สถาปนาราชวงศ์ฉี ทรงพระนาม ฉีเกาตี้ (齐高帝)

    ฉี (ค.ศ. 479 – 502)
    ราชวงศ์ฉี (齐)เป็นราชวงศ์ที่มีอายุสั้นที่สุดในสี่ราชวงศ์ มีระยะเวลาการปกครองเพียง 23 ปีเท่านั้น ฉีเกาตี้หรือเซียวเต้าเฉิง ได้รับบทเรียนจากการล่มสลายของราชวงศ์ซ่ง จึงดำเนินนโยบายที่ผ่อนคลายมากกว่า รณรงค์ให้มีการประหยัด เซียวเต้าเฉิงอยู่ในบัลลังก์ได้ 4 ปี ก่อนเสียชีวิต ได้ส่งมอบแนวทางการปกครองให้กับบุตรชาย อู่ตี้ (武帝)ไม่ให้เข่นฆ่าพี่น้องกันเอง อู่ตี้เคารพและเชื่อฟังคำสอนนี้เป็นอย่างดี ทำให้บ้านเมืองกลับสู่ภาวะสุขสงบชั่วระยะเวลาหนึ่ง หลังจากอู่ตี้สิ้น ราชวงศ์ฉีก็กลับเดินตามรอยเท้าของราชวงศ์ซ่งที่ล่มสลาย บรรดาเชื้อพระวงศ์ต่างจับอาวุธขึ้นเข่นฆ่าล้างผลาญญาติพี่น้องกันเอง ผู้ที่ขึ้นมาเป็นใหญ่ก็มักเต็มไปด้วยความหวาดระแวง บรรดาขุนนางชั้นผู้ใหญ่ในราชสำนักแทบว่าจะถูกประหารไปจนหมดสิ้น การเมืองภายในระส่ำระสายอย่างหนัก ในปีค.ศ. 501 เซียวเอี่ยน(萧衍)พ่อเมืองยงโจว(雍州)ยกพลบุกนครหลวงเจี้ยนคัง เข้ายุติการเข่นฆ่ากันเองของราชวงศ์ฉี

    เหลียง (ค.ศ. 502 – 557)เซียวเอี่ยน สถาปนาราชวงศ์เหลียง(梁) ในปีค.ศ. 502 ตั้งตนเป็นเหลียงอู่ตี้ (梁武帝)ครองราชย์ต่อมาอีก 48 ปี ทรงนับถือพุทธศาสนาและมีความเป็นอยู่อย่างสมถะ ด้านศิลปวัฒนธรรมมีความก้าวหน้าในระดับหนึ่ง แต่การทหารกลับอ่อนแอลง เมื่อถึงปลายรัชกาลระบบการปกครองล้มเหลว ขุนนางครองเมือง

    จวบจนปีค.ศ. 548 ขุนพลโหวจิ่ง(侯景)แห่งวุ่ยตะวันออกลี้ภัยการเมืองเข้ามาพึ่งพิงราชวงศ์เหลียง แต่ภายใต้ข้อเสนอแลกเปลี่ยนที่เย้ายวนใจ ราชสำนักเหลียงคิดจับกุมตัวโหวจิ่งเพื่อส่งกลับวุ่ยตะวันออก บีบคั้นให้โหวจิ่งลุกฮือขึ้นก่อกบฏ โดยร่วมมือกับบุตรชายของอู่ตี้นาม เซียวเจิ้งเต๋อ(萧正德)คอยเป็นไส้ศึกภายใน จนสามารถบุกเข้านครหลวงเจี้ยนคัง ปิดล้อมวังหลวงไว้ได้ สุดท้ายเหลียงอู่ตี้ถูกกักอยู่ภายในจนอดตายภายในเมือง จากนั้นโหวจิ่งกำจัดเซียวเจิ้งเต๋อ ตั้งฮ่องเต้หุ่นเชิดขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมา โหวจิ่งยกทัพออกปล้นสะดมเมืองรอบข้าง

    จนกระทั่งปีค.ศ. 551 เซียวอี้ (萧绎)โอรสอีกองค์หนึ่งของอู่ตี้ ส่งหวังเซิงเปี้ยน (王僧辩)และเฉินป้าเซียน (陈霸先)กรีฑาทัพเข้าต่อกรกับโหวจิ่งจนแตกพ่ายไป ระหว่างการหลบหนีโหวจิ่งถูกลอบสังหารเสียชีวิต เซียวอี้ขึ้นครองบัลลังก์ต่อมา(ปี 552-554) แต่เนื่องจากภายในราชสำนักเกิดการแก่งแย่งทางการเมือง เป็นเหตุให้บ้านเมืองระส่ำระสาย วุ่ยตะวันตกฉวยโอกาสบุกเข้ายึดเมืองเจียงหลิงสังหารเซียวอี้ ตั้งฮ่องเต้หุ่นเชิดของตนขึ้น เฉินป้าเซียนที่เมืองเจี้ยนคังจึงสังหารหวังเซิงเปี้ยน จากนั้นตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่ สถาปนาราชวงศ์เฉิน(陈)ราชวงศ์เหลียงเป็นอันจบสิ้น

    เฉิน (ปี 557 – 589)
    เฉินป้าเซียน ตั้งตนเป็นฮ่องเต้นามว่าเฉินอู่ตี้ (陈武帝)ช่วงเวลาดังกล่าว แผ่นดินภาคใต้ของจีนที่ต้องตกอยู่ในภาวะวุ่นวายยุ่งเหยิงมาเป็นเวลานาน สภาพเศรษฐกิจทรุดโทรมอย่างหนัก รากฐานบ้านเมืองที่ง่อนแง่น ย่อมไม่อาจคงอยู่ได้นานนัก รัชกาลต่อมายังวนเวียนกับการทำลายล้างฐานอำนาจของคู่แข่ง ทั้งยังต้องสู้ศึกกับกองกำลังจากภาคเหนือ แม้ว่าได้วางรากฐานการปกครองในระดับหนึ่ง แต่สุดท้ายเนื่องจากกำลังทางทหารอ่อนแอ ดังนั้นอาณาเขตการปกครองของราชวงศ์เหลียง จึงเพียงสามารถครอบคลุมถึงเขตทางตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำฉางเจียงหรือแยงซีเท่านั้น

    เมื่อถึงปี 583 เฉินเซวียนตี้(陈宣帝)สิ้น บุตรชายเฉินซู่เป่า(陈叔宝)ขึ้นครองราชย์สืบต่อมา ขณะนั้น ทางตอนเหนือของจีนมีราชวงศ์สุย(隋)ที่ผงาดขึ้นมารวมแผ่นดินทางตอนเหนือของจีนไว้ทั้งหมด จากนั้นเหลือเพียงเป้าหมายการรวมแผ่นดินทางตอนใต้เพื่อเป้าหมายการรวมประเทศเป็นหนึ่งเดียว ปีค.ศ. 589 สุยเหวินตี้ (隋文帝)หยางเจียน(杨坚)กวาดล้างราชวงศ์เฉินที่เหลืออยู่ ยุติความแตกแยกของแผ่นดินที่มีมีมานานกว่า 300 ปีลงในที่สุด

    ข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างราชวงศ์ที่ปกครองดินแดนเหนือใต้ของจีนในยุคนี้คือ กลุ่มผู้ปกครองของราชวงศ์เหนือล้วนมาจากกลุ่มชนเผ่าทางเหนือ ไม่ใช่ชาวฮั่น ขณะที่ราชวงศ์ใต้สืบทอดอำนาจการปกครองจากราชวงศ์จิ้นตะวันออก เกิดจากการสถาปนาราชวงศ์ของชนเผ่าฮั่นสืบต่อกันมา แม้เป็นช่วงเวลาเพียงระยะสั้นๆ แต่ก็ทำให้วัฒนธรรมฮั่นยังคงได้รับการสืบทอดและพัฒนาต่อมา ไม่ต้องถึงกาลล่มสลายไปโดยชนกลุ่มน้อย ดังนั้น การคงอยู่ของราชวงศ์ใต้ โดยนัยทางประวัติศาสตร์ของจีนจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เนื่องจากเป็นหัวใจของการคงอยู่หรือล่มสลายของอารยธรรมจีนในดินแดนแถบนี้

    ในช่วงยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้ เนื่องจากผู้ปกครองหันมานับถือและให้การสนับสนุนการเผยแพร่พุทธศาสนา มีการก่อสร้างวัดวาอารามและถ้ำผาสลักพระธรรมคำสอนและพระพุทธรูปมากมายเกิดขึ้น ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักได้แก่ ถ้ำผาม่อเกาคู(莫高窟)ที่ตุนหวง(敦煌)เขตปกครองตนเองชนชาติอุยกูร์ซินเกียง ถ้ำผาหยุนกัง(云岗)ที่ต้าถงมณฑลซันซี ถ้ำผาหลงเหมิน(龙门石窟)ในลั่วหยาง ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมแล้ว นอกจากนี้ ทางด้านวรรณกรรมก็มีความเจริญรุดหน้าอย่างมาก มีผลงานชิ้นสำคัญที่ตกทอดสู่ปัจจุบันหลายชิ้น

    นับแต่ราชวงศ์จิ้นตะวันออกล่มสลาย ราชวงศ์เหนือใต้ได้กลายเป็นช่วงเวลาที่มีการแบ่งแยกการปกครองในจีน ถึงแม้ว่าความเจริญทางเศรษฐกิจมีการชะลอตัวบ้าง แต่เนื่องจากการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในภาคกลางของกลุ่มชนเผ่านอกด่าน ได้เกิดการหลอมรวมชนชาติในกลุ่มลุ่มแม่น้ำฮวงโหหรือแม่น้ำเหลืองครั้งใหญ่ และเนื่องจากสาเหตุหรือปัจจัยนี้เอง ได้ทำให้กลุ่มผู้นำชนชาติทางตอนเหนือได้ถูกหลอมกลืนสู่วัฒนธรรมชาวฮั่น และเนื่องจากประโยชน์นี้เอง ที่ได้สร้างรากฐานความเป็นหนึ่งเดียวของชนชาติจีนในเวลาต่อมา ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า ความแตกแยกของราชวงศ์เหนือใต้ กลายเป็นคุณูปการสู่การรวมเป็นหนึ่งของชนชาติจีนและวัฒนธรรมจีนในเวลาต่อมา

    https://mgronline.com/china/detail/9470000055861
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ราชวงศ์ชิงตอนต้น / ธารประวัติศาสตร์
    เผยแพร่: 2 พ.ค. 2551 06:43 โดย: MGR Online
    551000004881201.jpg

    หนังสือราชโองการของฮ่องเต้คังซี

    นับจากปีค.ศ. 1644 หลังอู๋ซันกุ้ยเปิดด่านซันไห่กวนให้กองทัพชิงบุกเข้ายึดครองแผ่นดินจีน จนฮ่องเต้หมิงซือจงต้องปลงพระชนม์ตนเอง ยังให้ราชวงศ์หมิงอันเป็นราชวงศ์สุดท้ายของชนชาวฮั่นต้องอวสานลง ในปีเดียวกันตัวเอ่อกุ่น แม่ทัพใหญ่ของแมนจูก็ได้ทูลเชิญซุ่นจื้อ ให้เสด็จมาประทับยังบัลลังก์ฮ่องเต้แห่งราชวงศ์ชิงในกรุงปักกิ่ง

    ทว่าในยามนั้น ยังคงมีกองกำลังทหารของต้าหมิง และกองทัพประชาชนที่ต่อต้านแมนจูอยู่ทั่วไป ทำให้ราชสำนักชิง ต้องร่วมมือกับอดีตขุนนางราชวงศ์หมิงที่แปรพักตร์อย่างอู๋ซันกุ้ย เกิ่งจ้งหมิง(耿仲明) ซั่งเขอสี่ (尚可喜) ขงโหย่วเต๋อ(孔有德) ระดมกำลังปราบกองกำลังทางใต้อย่างฝูอ๋อง หลู่อ๋อง ถังอ๋อง กุ้ยอ๋องและกองกำลังต่างๆที่เหลืออยู่

    ปีค.ศ. 1645 ในขณะที่กองกำลังแมนจูบุกตีเหมือนหยางโจว สื่อเขอฝ่า (史可法) แม่ทัพรักษาเมืองได้นำทหารจีนเพียงน้อยนิดต้านยันไว้ 7 วัน 7 คืน จนกระทั่งเมืองถูกตีแตก สื่อเขอฝ่าถูกประหาร และตัวเอ่อกุ่น ก็ได้ออกคำสั่งให้ฆ่าล้างเมืองหยางโจว โดยใน “บันทึกสิบวันในหยางโจว” ของหวังซิ่วฉู่ ผู้โชคดีรอดชีวิต ได้ระบุว่าว่าการเข่นฆ่าล้างเมืองดำเนินไปโดยไม่หยุดตลอด10 วัน

    551000004881202.jpg

    สื่อเขอฝ่า แม่ทัพผู้จงรักภักดีแห่งต้าหมิง ที่แม้แต่ราชวงศ์ชิงก็ยกย่อง

    ในปีเดียวกัน ทหารแมนจูเข้ายึดเมืองนานกิง บุกต่อไปยังซูโจว หังโจว ซงเจียง ฉางโจว จนในที่สุดก็สามารถปราบกลุ่มผู้ต่อต้านได้หมดสิ้น เหลือแต่เพียงกลุ่มของเจิ้งเฉิงกง (郑成功) ที่นำพาผู้ต่อต้านแมนจูไปปักหลักที่เซี่ยเหมิน จินเหมิน จากนั้นได้ขับไล่ชาวเนเธอร์แลนด์ออกจากไต้หวัน ยึดเกาะไต้หวันมาใช้เป็นฐานที่มั่น คอยทำศึกเพื่อจะกอบกู้แผ่นดินหมิงกับราชวงศ์ชิงเป็นเวลายาวนานต่อมาอีกสิบกว่าปี

    กระทั่งในปีค.ศ. 1662 หลังจากบิดาและน้องชายหลายคนของเจิ้งเฉิงกงถูกฝ่ายแมนจูประหารชีวิต พันธมิตรและญาติพี่น้องจึงเริ่มไม่เห็นด้วยกับการก่อการ เนื่องจากเห็นว่าไม่มีหนทางประสบความสำเร็จ สุดท้ายเมื่ออับจนไม่มีทางออก ในที่สุดเจิ้งเฉิงกงก็ตัดสินใจกระทำอัตวินิบาตกรรม จากนั้นเจิ้งจิง (郑經) บุตรชายของเจิ้งเฉิงกงก็รับหน้าที่ในการนำทัพต่อต้านไป และเมื่อเจิ้งจิงเสียชีวิตในปีค.ศ.1681 ตำแหน่งดังกล่าวก็ตกมาอยู่กับเจิ้งเค่อส่วง(郑克塽) จนกระทั่งเจิ้งเค่อส่วงได้แพ้ให้กับทหารชิงในปีค.ศ. 1683 กองทัพนี้จึงได้ยอมสวามิภักดิ์ และทำให้ไต้หวันกลับคืนสู่การปกครองของจีนอีกครั้ง

    นโยบายไม้อ่อน –ไม้แข็งการเข้าสู่แผ่นดินจีนของแมนจู นับเป็นการซ้ำรอยทางประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่งหลังจากสมัยราชวงศ์หยวน ที่ชาวฮั่นถูกปกครองจากชนเผ่าอื่นที่เข้ามายึดครอง จากบทเรียนของราชวงศ์หยวนที่ใช้แต่กองกำลังและความแข็งกร้าว ทำให้ราชวงศ์สามารถสถาปนาอยู่ได้ไม่ถึงร้อยปี กลุ่มผู้ปกครองแมนจูจึงเลือกดำเนินการควบคู่ทั้งพระเดชและพระคุณ



    551000004881205.jpg

    เจิ้งเฉิงกง ผู้นำกองกำลังต่อต้านราชวงศ์ชิงนานนับสิบปี

    โดยก่อนที่จะสามารถยึดครองแผ่นดินจีนได้ กองทัพของชิงได้ให้ความสำคัญกับขุนนางหรือแม่ทัพชาวฮั่น และให้การดูแลขุนนางที่เข้ามาสวามิภักดิ์อย่างดี อีกทั้งยกย่องสรรเสริญขุนนางหมิงที่มีความจงรักภักดียอมเสียสละชีวิต แม้ว่าการเสียสละนั้นจะเป็นการพลีชีพเพื่อราชวงศ์หมิงก็ตาม อีกทั้งภายหลังเมื่อบุกยึดราชธานีปักกิ่งได้ ทางแมนจูได้จัดพระราชพิธีศพและสร้างสุสานให้กับหมิงซือจงฮ่องเต้องค์สุดท้ายของราชวงศ์หมิงกับพระมเหสี และยังมีการจัดให้มีการให้มีการสอบเพื่อเฟ้นหาบัณฑิตเข้ารับราชการ และลดภาษีตามท้องที่ต่างๆให้ด้วย

    ทว่าเพื่อควบคุมให้ชาวฮั่นยอมสยบอยู่ในอาณัติอำนาจปกครองใหม่ จึงมีการใช้ความเด็ดขาด และเหี้ยมโหดต่อกลุ่มคนที่ขัดขืน อย่างเหตุการณ์ล้างเมืองสิบวันที่หยางโจว คำสั่งห้ามการรวมกลุ่ม โดยเฉพาะคำสั่งที่ให้ชาวฮั่นทั่วประเทศโกนผมครึ่งหัวไว้ผมเปียตามแบบชาวแมนจู ด้วยคำประกาศที่ว่า “มีหัวไม่มีผม (ให้โกนหัวไว้เปีย) มีผมไม่มีหัว” (留头不留发,留发不留头) ที่ทำให้ชาวฮั่นต้องหลั่งเลือดสังเวยชีวิตไปเป็นหลายแสนคน

    ยุคต้นราชวงศ์ - ปราบสามเจ้าศักดินา

    ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ชิง อ้ายซินเจี๋ยว์หลอ ฝูหลิน (爱新觉罗福临) หรือฮ่องเต้ซุ่นจื้อ ซึ่งเป็นพระโอรสคนที่ 9 ของหวงไท่จี๋ หลังจากที่หวงไท่จี๋สวรรคต ภายใต้การผลักดันจากเซี่ยวจวงเหวินฮองเฮา (孝庄皇后)ทำให้ฝูหลินได้ขึ้นครองราชย์ด้วยพระชนมายุเพียง 6 พรรษา และเซี่ยวจวงก็เลื่อนศักดิ์ขึ้นมาเป็นไทเฮา โดยมีตัวเอ่อกุ่นที่มีศักดิ์เป็นพระปิตุลาเป็นผู้สำเร็จราชการ (摄政王) และมีเจิ้งชินหวัง (郑亲王) คอยให้การช่วยเหลือ ตั่วเอ่อกุ่นได้พยายามยึดกุมอำนาจปกครองอันแท้จริงเอาไว้ อีกทั้งยังตั้งตนเองเป็นพระราชบิดา ควบคุมกองทัพกองธงไว้ถึง 3 กองธง ในขณะที่ฮ่องเต้ปกครองอยู่เพียง 2 กองธง

    กระทั่งปีค.ศ.1650 เมื่อตัวเอ่อกุ่นเสียชีวิตลง ซุ่นจื้อที่เริ่มหลุดจากการเป็นหุ่นเชิด ได้ประกาศราชโองการยกเลิกตำแหน่ง บรรดาศักดิ์ และริบทรัพย์ทั้งหมดของตัวเอ่อกุ่นเป็นการลงโทษในข้อหาใช้อำนาจบาตรใหญ่ในขณะที่มีชีวิตอยู่ นอกจากนั้นยังลือกันว่ามีการขุดศพของตัวเอ่อกุ่นขึ้นมาทำการตีด้วยไม้และโบยด้วยแส้อีกด้วย

    หลังจากนั้น เพื่อให้อำนาจกลับคืนสู่ฮ่องเต้อย่างแท้จริง ซุ่นจื้อยังได้ทำการปลดองค์ชายและเชื้อพระวงศ์หลายคนที่เคยดูแลหน้าที่ในกระทรวงต่างๆ อีกทั้งเพื่อลดความขัดแย้งระหว่างชนชาติ จึงทรงมีรับสั่งให้มีการหยุดการเวนคืนที่ดินจากประชาชน ผ่อนปรนกฎหมายคนหลบหนี ผลักดันวัฒนธรรมชาวฮั่น ซึ่งการยกย่องวัฒนธรรมของชาวฮั่นกับความคิดในการปฏิรูปเพื่อให้แมนจูกับชาวฮั่นสามารถอยู่ร่วมกันของซุ่นจื้อ ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งกับขุนนางใหญ่จำนวนไม่น้อย

    [​IMG]

    เซี่ยวจวงฮองไทเฮา ผู้มีบทบาทอยู่เบื้องหลังบัลลังก์ต้าชิง

    ความผิดหวังในทางการเมือง ได้ทำให้ซุ่นจื้อหันมาทุ่มเทให้กับความรักให้กับพระสนมต่งเอ้อ โดยเล่าขานกันว่า พระสนมต่งเอ้อเดิมเป็นน้องสะใภ้ของซุ่นจื้อ เป็นภรรยาของป๋อมู่ป๋อกั่วเอ่อ (博穆博果尔) แต่มีความสนิทสนมใกล้ชิดกับซุ่นจื้อมาก หลังป๋อกั่วเอ่อเสียชีวิตในปีซุ่นจื้อที่ 13 ฮ่องเต้ซุ่นจื้อจึงได้แต่งตั้งนางให้เป็นพระสนมของตน หลังจากเป็นสนมของซุ่นจื้อได้หนึ่งปี พระสนมต่งเอ้อก็ได้ให้กำเนิดพระโอรส ซึ่งเดิมจะได้รับการแต่งตั้งเป็นรัชทายาท ทว่าพระโอรสพระองค์นี้กลับเสียชีวิตไปเมื่ออายุได้เพียง 3 เดือน ทำให้พระสนมต่งเอ้อบตรอมใจจนสิ้นพระชนม์ และได้รับการอวยยศตามหลังจากเซี่ยวจวงฮองไทเฮา ให้เป็นเซี่ยวเสี้ยนฮองเฮา

    ฮ่องเต้ซุ่นจื้อครองราชย์ถึงปีที่ 18 (ค.ศ. 1661) ก็สวรรคตไปด้วยพระชนมายุเพียง 24 พรรษา ทว่าการสวรรคตของพระองค์กลับเป็นปริศนาถูกกล่าวขานไว้หลายรูปแบบ โดยบ้างระบุว่าพระองค์เสียพระทัยกับการสูญเสียพระสนมและพระโอรส ทำให้ร่างกายและจิตใจได้รับความกระทบกระเทือน และสิ้นพระชนม์ด้วยโรคฝีดาษ (ไข้ทรพิษ)

    ในขณะที่บันทึกของชาวบ้านกลับระบุว่า พระองค์ทรงมีความฝักใฝ่ในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า สุดท้ายเมื่อสูญเสียพระสนมอันเป็นที่รัก จึงได้ออกผนวช ณ เขาอู่ไถ (五台山) ส่วนนักประวัติศาสตร์บางคนก็ได้ระบุว่า พระองค์ถูกระเบิดสวรรคตในขณะที่ทรงนำกำลังจะไปปราบกองกำลังของเจิ้งเฉิงกงที่ไต้หวัน

    หลังซุ่นจื้อเสด็จสวรรคต โอรสองค์ที่สามนามอ้ายซินเจี๋ยว์หลอ เสวียนเยี่ย (玄烨) ที่มีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา ก็ได้ขึ้นครองราชย์เป็นฮ่องเต้คังซีตามพระพินัยกรรมของซุ่นจื้อ ได้สั่งให้สี่ขุนนางใหญ่ช่วยบริหารราชกิจ หนึ่งในนั้นมีขุนนางนามเอ้าไป้ (鳌拜) ที่กุมอำนาจทางการทหาร และมักใช้อำนาจบาตรใหญ่ในการเล่นงานขุนนางอื่นที่ไม่เห็นด้วยกันตน

    นอกจากนั้น นับตั้งแต่ทหารต้าชิงเข้าด่านเป็นต้นมา ก็ได้ทำการเวนคืนยึดครองที่ดินของเกษตรกรจำนวนมากเพื่อแบ่งสรรให้กับผู้สูงศักดิ์จากแปดกองธง หลังเอ้าไป้ได้ครองอำนาจ มิเพียงแต่ทำการกวาดต้อนที่ดินมาเป็นของตน ยังใช้อำนาจบีบบังคับแลกเปลี่ยนที่ดินของตนกับที่ดินดีๆหลายแปลง และประหารชีวิตขุนนางที่ต่อต้านตนเอง

    เมื่อฮ่องเต้คังซีมีพระชนมายุครบ 14 พรรษา จึงทรงเริ่มใช้อำนาจปกครองด้วยพระองค์เอง ในขณะนั้นเป็นช่วงที่หนึ่งในผู้ช่วยบริหารราชการนามซูเค่อซาฮา (苏克萨哈) เกิดขัดแย้งกับเอ้าไป้ และถูกเอ้าไป้วางแผนให้ร้าย ถวายฎีกาต่อฮ่องเต้คังซีเพื่อให้ลงอาญาประหารชีวิต ทว่าคังซีไม่ยอม เอ้าไป้บันดาลโทสะจนถึงกับถกเถียง เอะอะโวยวายกับคังซีในท้องพระโรง แต่สุดท้ายเนื่องจากในยามนั้นเอ้าไป้ยังถืออำนาจส่วนใหญ่อยู่ คังซีจึงยอมอดกลั้นและสั่งประหารซูเค่อซาฮา

    กระทั่งวันหนึ่ง คังซีมีรับสั่งให้เอ้าไป้เข้าเฝ้าตามลำพัง จากนั้นทรงใช้ให้กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ฝึกฝนขึ้นมารุมจับตัวเอาไว้ ภายหลังจึงมีรับสั่งให้จองจำในคุกหลวง และให้ขุนนางใหญ่ทำการตรวจสอบความผิด ปรากฏว่า เอ้าไป้ถูกตั้งข้อหาใช้อำนาจข่มเหงรังแกผู้คน ฆ่าคนไร้ความผิด และความผิดอุกฉกรรจ์อีกมากมาย จึงถูกลงโทษให้ถอดออกบรรดาศักดิ์และประหารชีวิตเสีย

    551000004881203.jpg

    อ้ายซินเจี๋ยว์หลอ ฝูหลิน หรือฮ่องเต้ซุ่นจื้อ

    หลังจากกำจัดฆ่าเอ้าไป้ ขุนนางใหญ่ทั้งหลายก็ไม่มีใครกล้าดูแคลนและแสดงความไม่ยำเกรงต่อฮ่องเต้เยาว์วัยพระองค์นี้อีกต่อไป เมื่อคังซีได้อำนาจการปกครอง ก็ทรงเริ่มทำการสนับสนุนการผลิตและเพาะปลูก ลงโทษขุนนางฉ้อราษฎร์บังหลวง ทำให้ราชวงศ์ที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ค่อยๆเข้มแข็งมั่นคงมากขึ้น

    แต่ในยามนั้น แม้ว่าผู้ต่อต้านจากทางใต้จะถูกสยบไปแล้ว แต่ก็ยังมีสามเจ้าศักดินาที่ได้รับการพระราชทานให้ปกครองหัวเมืองในสมัยที่ต้าชิงเพิ่งสถาปนาราชวงศ์ในประเทศจีน เนื่องจากบุคคลเหล่านี้เป็นผู้ที่มีความดีความชอบในการมาเข้ากับต้าชิง และสยบเหล่าทหารต้าหมิงเก่าทีลุกฮือ อันได้แก่อู๋ซันกุ้ยที่ปกครองมณฑลหยุนหนันกับกุ้ยโจว บวกกับดินแดนบางส่วนของหูหนันกับเสฉวน ซั่งเขอสี่ปกครองดินแดนมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) และบางส่วนของกว่างซี (กวางสี) ส่วนเกิ่งจ้งหมิงที่ปกครองอยู่ที่มณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) โดยทั้งสามมีอำนาจคล้ายเจ้าผู้ปกครองแว่นแคว้นคือมีอำนาจบังคับบัญชาทหาร พลเรือน และมีอำนาจเก็บภาษีพร้อมควบคุมการค้าผูกขาดทั้งหมด แม้กระนั้น เจ้าศักดินาทั้งสามก็ยังเรียกร้องเงินจำนวนมากจากราชสำนัก โดยอ้างว่าเป็นค่าใช้จ่ายทางทหารมาโดยตลอด โดยเฉพาะอู๋ซันกุ้ยที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผิงซีอ๋อง (平西王) ได้เรียกเงินจำนวนที่มากถึง 9 ล้านตำลึง

    คังซีทรงทราบดีว่า เจ้าศักดินาทั้งสามเป็นอุปสรรคต่อการปกครองประเทศอย่างเป็นเอกภาพ จึงมีดำริที่จะต้องลดอำนาจหรือยกเลิกอำนาจของเจ้าศักดินาเหล่านี้เสีย ประจวบกับยามนั้นเป็นช่วงที่ซั่งเขอสี่อายุมากขึ้น ต้องการที่จะกลับไปบ้านเดิมที่เหลียวตง จึงได้ทำฎีกาเพื่อของให้บุตรชายซั่งจือซิ่นสืบทอดตำแหน่งอ๋องในกวางตุ้งต่อไป คังซีได้อนุญาตให้ซั่งเขอสี่กลับบ้านเดิมได้ ทว่ากลับไม่ยอมให้บุตรชายสืบทอดบรรดาศักดิ์นี้ต่อไป เช่นนี้ทำให้อู๋ซันกุ้ย และเกิ่งจิงจง(耿精忠) หลานของเกิ่งจ้งหมิงเกิดร้อนใจ ต้องการจะทดลองพระทัยของคังซี วยการแสร้งขอร้องให้คังซีทรงปลดบรรดาศักดิ์ และขอกลับไปทางเหนือ

    ครั้นฏีกาดังกล่าวถูกส่งมาถึงราชสำนัก คังซีทรงเรียกประชุมหารือกับเหล่าขุนนาง ซึ่งขุนนางส่วนใหญ่เห็นว่าคำขอร้องดังกล่าวเป็นเพียงการเสแสร้ง และเมื่อใดที่คังซีทรงอนุญาต อู๋ซันกุ้ยจะก่อกบฏขึ้นทันที ทว่าคังซีกลับตัดสินพระทัยอย่างเด็ดเดี่ยว โดยตรัสว่า “อู๋ซันกุ้ยมีจิตใจทะเยอทะยาน หากปลดเขาย่อมกบฏ ไม่ปลด ช้าเร็วก็ต้องกบฏ มิสู้ลงมือก่อนย่อมเป็นฝ่ายได้เปรียบ” จากนั้นทรงตอบรับการยกเลิกบรรดาศักดิ์ และอำนาจการปกครองดินแดนของอู๋ซันกุ้ย ทำให้อู๋ซันกุ้ยที่เห็นว่าตนเป็นขุนนางที่ร่วมสร้างแผ่นดินต้าชิงมา กลับต้องถูกปลดโดยฮ่องเต้อายุเยาว์ผู้นี้ และในที่สุดก็ก่อการกบฏขึ้นจริง

    ค.ศ.1673 อู๋ซันกุ้ยได้เคลื่อนทัพจากมณฑลหยุนหนัน เปลี่ยนมาใส่ชุดศึกของราชวงศ์หมิง อ้างว่าต้องการที่จะแก้แค้นแทนราชวงศ์หมิงที่ล่มสลายไป ทว่าประชาชนยังจำได้ดีว่าอู๋ซันกุ้ยเป็นคนเปิดด่านซันไห่กวน เชิญทหารชิงเข้ามา การกล่าวอ้างเช่นนี้จึงไม่มีใครยอมเชื่อ

    การเคลื่อนทัพเป็นไปอย่างราบรื่น ทัพกบฏเอาชนะไปตลอด บุกตีไปจนถึงหูหนัน จากนั้นส่งคนไปติดต่อให้ซั่งจือซิ่นกับเกิ่งจิงจงเข้าร่วมกองทัพกบฏกับอู๋ซันกุ้ย ซึ่งในประวัติศาสตร์เรียกว่า “กบฏสามเจ้าศักดินา”

    การก่อกบฏของทั้งสาม ได้สามารถยึดครองพื้นที่ทางใต้ทั้งหมดของจีนเอาไว้ได้ ทว่าคังซีเองก็ยังไม่ถอดใจ ยังทำการคัดเลือกแม่ทัพนายกอง ระดมกำลังทหารเข้าต่อกร และยกเลิกการปลดบรรดาศักดิ์ของซั่งจือซิ่น และเกิ้งจิงจงไว้ก่อน จนกระทั่งผลการศึกผลัดเปลี่ยนเป็นฝ่ายอู๋ซันกุ้ยเริ่มเพลี่ยงพล้ำ ในที่สุดทั้งสองก็ยอมแพ้ต่อราชสำนักชิง

    แม้ช่วงแรกอู๋ซันกุ้ยจะทำศึกประสบชัยมาโดยตลอด ทว่าทหารชิงกลับมีมากและเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่กำลังของอู๋ซันกุ้ยค่อยๆอ่อนโทรมลง อู๋ซันกุ้ยเริ่มรู้ว่าไม่สามารถต้านทานได้อีก และในที่สุดก็ป่วยหนักเสียชีวิตไป ปีค.ศ. 1681 กองทัพต้าชิงได้แบ่งทัพออกเป็น 3 สายบุกเข้าตีเมืองคุนหมิงในหยุนหนัน อู๋ซื่อฝาน (吴世璠) หลานของอู๋ซันกุ้ยต้องฆ่าตัวตาย กองทัพต้าชิงจึงสามารถพิชิตผนวกดินแดนทางภาคใต้กลับคืนมาได้

    คลิกอ่านต่อหน้า 2

    551000004881208.jpg

    พระราชวังเคลื่อนที่ของฮ่องเต้เฉียนหลง

    ยุครุ่งโรจน์แห่งรัชกาลคัง-เฉียน (康乾盛世)

    ยุครุ่งเรืองแห่งรัชกาลคัง-เฉียน จัดเป็นยุครุ่งเรืองสุดท้ายในประวัติศาสตร์ราชวงศ์จีน โดยกล่าวถึงรัชกาลของฮ่องเต้คังซี ฮ่องเต้ยงเจิ้ง และฮ่องเต้เฉียนหลง รวมเป็นระยะเวลากว่า 130 ปี ในช่วงเวลาดังกล่าว เนื่องจากการปกครองเป็นไปในแนวทางเดียวกัน สามารถลดความขัดแย้งระหว่างชนชาติและชนชั้น ดำเนินนโยบายหนึ่งประเทศหลายเผ่าพันธุ์ทั้งในทางเศรษฐกิจและสังคม ทำให้สังคมมีความสงบสุขเป็นระยะเวลาที่ยาวนานนับร้อยปี

    โดยหลังจากที่คังซีได้รับอำนาจเต็มในการปกครอง นอกจากจะมีการหยุดการเวนคืนที่ดิน ผ่อนปรนภาษีแล้ว เพื่อป้องกันมิให้ขุนนางทั้งหลายปิดบังหลอกลวง อ้าวซินเจี๋ยว์หลอเสวียนเยี่ย หรือคังซีจึงมักเสด็จออกประพาส เพื่อทำความเข้าใจกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และรับทราบถึงผลจากนโยบายการปกครองในรูปแบบต่างๆ โดยที่ทราบกับทั่วไปก็คือประพาสทางใต้ 6 ครั้ง ตะวันออก 3 ครั้ง ตะวันตก 1 ครั้ง ประพาสในเขตเมืองหลวงและมองโกลหลายร้อยครั้ง นอกจากนั้นยังมีการเดินทางประพาสเพื่อสำรวจเส้นทางน้ำของแม่น้ำฮวงโห และตรวจงานก่อสร้างอีกด้วย

    คังซียังให้ความสำคัญกับชนชั้นปัญญาชนของชาวฮั่นเป็นอย่างยิ่ง ให้ความยกย่องความรู้ของหยูเจีย (ลัทธิขงจื้อ) โดยเฉพาะ หลี่เสียว์ (理学) ของปราชญ์จูซี (朱熹) พระองค์ยังเคยเสด็จไปยังชีว์ฟู่ เพื่อไปสักการะยังอารามขงจื้อที่นั่นด้วย

    อีกหนึ่งผลงานที่ถือกำเนิดขึ้นในยุคนี้ก็คือ “พจนานุกรมคังซี” (康熙字典) มีราชบัณฑิตจากตำหนักเหวินหัวอย่างจางอี้ว์ซู กับราชบัณฑิตจากตำหนักเหวินยวน นามเฉินถิงจิ้ง เป็นแกนนำในการจัดทำ โดยได้ทำการตรวจทาน ตรวจสอบอักษรจีนที่ใช้ในราชวงศ์หมิง และเป็นตำราที่ถูกจัดพิมพ์ยาวนานตั้งแต่รัชกาลคังซีปีที่ 55 หรือค.ศ. 1716 มาตราบจนปัจจุบัน

    ฮ่องเต้คังซีได้มีรับสั่งให้จัดเรียบเรียงพจนานุกรมดังกล่าวในเดือน 3 ปีค.ศ.1710 ใช้เวลาในการจัดทำถึง 6 ปี มีทั้งสิ้น 47,035 อักษร แบ่งเป็น 12 ชุด แต่ละชุดมี 3 พับ โดยมีคำอธิบายถึงอักษรพ้องเสียง แต่ต่างความหมาย หรืออักษรพ้องรูปที่ต่างความหมาย ซึ่งภายหลังได้ถูกนำมาใช้เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการสอบรับราชการในราชวงศ์ชิง และเป็นที่แพร่หลายแม้ในเวลาต่อมา

    551000004881209.jpg

    (ซ้าย) เหรียญเงินที่ใช้สมัยฮ่องเต้ซุ่นจื้อ (ขวา) เหรียญเงินที่ใช้สมัยฮ่องเต้ยงเจิ้ง

    รัชทายาทอิ้นเหริง(胤礽)ออกจากตำแหน่งเป็นครั้งแรก เนื่องจากทรงทราบว่ามีพฤติกรรมที่นิยมในเพศชายด้วยกัน และชอบทำร้ายขุนนาง โดยในขั้นตอนการคัดเลือกรัชทายาทคนใหม่ อิ้นเจิน(胤禛) หรือฮ่องเต้ยงเจิ้ง (雍正皇帝)ในเวลาต่อมาได้ให้การสนับสนุนให้คืนตำแหน่งให้กับอิ้นเหรินใหม่ กระทั่งในปีต่อมา จึงมีการคืนตำแหน่งให้กับรัชทายาทคนเดิม ทว่าเมื่อมาถึงปีค.ศ. 1712 คังซีก็ทรงปลดอิ้นเหริงออกจากตำแหน่งรัชทายาทอีกครั้ง และไม่มีการแต่งตั้งหรือคัดสรรรัชทายาทต่อ ทำให้ในหมู่พระโอรสมีการแก่งแย่งช่วงชิงทั้งในที่ลับและที่แจ้งอย่างดุเดือด

    ในขณะนั้นอิ้นเจิน ภายนอกแสดงให้เห็นว่าตนเองไม่สนใจแก่แย่งชิงดี ทุ่มเทให้กับพุทธศาสนา โดยขนานนามตนเองว่าเป็น “คนว่างอันดับหนึ่งแห่งแผ่นดิน” พยายามปรองดองกับพระโอรสองค์อื่นๆ ทว่าเบื้องหลังก็ได้คบหากับเกิงเหยา และลู่เคอตัวบ่มเพาะเป็นขุมกำลังอันเข้มแข็งของตนขึ้น นอกจากนั้น จากการที่มีผลงานในการแก้ปัญหาอุทกภัยของแม่น้ำฮวงโหที่ได้ผลมากที่สุดนับตั้งแต่ช่วงปลายราชวงศ์หมิงเป็นตนมา ทำให้ได้รับความไว้วางใจจากคังซีเป็นอย่างยิ่ง

    ทว่าในช่วงปลายรัชกาล ฮ่องเต้คังซีให้ความชื่นชมกับองค์ชาย 14 อิ้นที(胤禵) อีกทั้งแต่งตั้งเป็นแม่ทัพใหญ่ให้เดินทางไปยังภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ทำให้ในขณะนั้นมีการคาดเดาว่า อิ้นที อาจจะเป็นทายาทที่คังซีคิดจะให้สืบทอดบัลลังก์

    กระทั่งรัชกาลคังซีปีที่ 61 หรือค.ศ.1722 เมื่อคังซีเสด็จสวรรคต ประจวบกับเป็นช่วงเวลาที่อิ้นเจิน ได้รับพระบัญชาให้ไปทำพิธีสักการะฟ้า ทำให้กลับมาไม่ทัน ช่วงเวลาที่หลงเคอตัวกำลังประกาศผู้สืบทอดตำแหน่ง ซึ่งในระบุให้อิ้นเจินขึ้นเป็นอ่องเต้ต้าชิงพระองค์ต่อไป

    อิ้นเจิ้งขึ้นครองราชย์เป็นฮ่องเต้ยงเจิ้งด้วยพระชนมายุ 45 พรรษา กระนั้นขั้นตอนการขึ้นครองราชย์ของพระองค์ยังคงเป็นปริศนามาจนถึงทุกวันนี้ โดยมีการเล่าขานเอาไว้หลากหลาย โดยบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ชิงได้บันทึกว่า ในปีค.ศ. 1722 ฮ่องเต้คังซีทรงพระประชวรจนเสด็จสวรรคต ณ กรุงปักกิ่ง โดยก่อนนั้นได้มีรับสั่งเชิญพระโอรส 7 พระองค์เข้าเฝ้า จากนั้นก็มีรับสั่งให้ผู้บัญชาการทหารบกลู่เคอตัวเป็นผู้ถ่ายทอดราชโองการ ให้กับพระโอรสองค์ที่สี่นามอิ้นเจิน อันเป็นผู้ที่มีความประพฤติดีงาม เหมาะสมที่จะเป็นผู้สืบสานบัลลังก์สืบไป”

    551000004881210.jpg

    พจนานุกรมคังซี

    ทว่าในบันทึกของชาวบ้าน กลับมีคำเล่าลือว่าเดิมพระราชโองการฉบับดังกล่าวเป็นการถ่ายทอดตำแหน่งให้พระโอรสองค์ที่ 14 แต่แล้วมีการแก้อักษรเลขสิบ (十) ให้เป็นคำว่า “ให้กับ” (于) จึงออกมาเป็นคำว่าถ่ายถอดให้กับพระโอรสองค์ที่ 4 แทน อย่างไรก็ตาม ในภายหลังมีการระบุว่า พระพินัยกรรมของคังซี จะต้องมีฉบับที่เป็นภาษาแมนจูด้วย ฉะนั้นต่อให้สามารถแก้ไขในภาษาฮั่นได้ ก็ไม่สามารถแก้ไขในฉบับภาษาแมนจูด้วยวิธีการเดียวกันนี้ได้ ผนวกกับในสมัยนั้นยังไม่มีอักษรย่อ ดังนั้นคำว่า “ให้กับ” ที่ถูกต้องจึงควรเป็นตัวอักษร (於) ไม่ใช่ตัวอักษร (于)

    นอกจากนั้นยังมีคำเล่าขานอื่นอีกที่ว่า ความเป็นจริงการที่ฮ่องเต้คังซียกให้ยงเจิ้งเป็นผู้สืบทอดราชบัลลังก์นั้น แท้จริงแล้วเป็นเพราะมีเจตนาที่จะให้พระราชบัลลังก์ในอนาคต ไปสู่มือของพระโอรสของยงเจิ้ง นามว่าหงลี่(้弘历) หรือฮ่องเต้เฉียนหลง (乾隆大帝)ในกาลต่อมานั่นเอง

    ในช่วงการครองราชย์ของยงเจิ้ง แม้จะทรงโหดเหี้ยมกับบรรดาพี่น้องของตน แต่ก็เป็นฮ่องเต้ที่มีความขยันหมั่นเพียรในราชกิจเป็นอย่างยิ่ง จะทรงตื่นบรรทมแต่ก่อนเช้า และทรงงานตรวจฎีกาจนดึกดื่น ทรงรวบอำนาจ จัดสรรระบบภาษี การเงินการคลัง และขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวงจนถือว่าเป็นช่วงสืบทอดยุคความรุ่งเรืองรัชกาลคัง-เฉียนที่สำคัญ จนสามารถยังผลให้ประเทศจีนรุ่งเรืองถึงขีดสุดในยุคของฮ่องเต้เฉียนหลง

    หลังยงเจิ้งสวรรคตจากการทำงานที่ตรากตรำมากจนเกินไป อ้ายซินเจี๋ยว์หลอหงลี่ ก็ได้ขึ้นครองราชย์ เป็นเฉียนหลงฮ่องเต้ ซึ่งการครองราชย์ของเฉียนหลง ที่สามารถดำเนินไปอย่างราบรื่น เนื่องจากยงเจิ้งเองเกรงว่าจะมีการแย่งชิงบัลลังก์ระหว่างพระโอรสเหมือนในสมัยของตน จึงได้ใช้วิธีการเขียนรายชื่อผู้ที่จะขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์แล้วประทับตราลัญจกร จากนั้นแบ่งเป็น 2 ชุด ชุดหนึ่งเก็บใส่หีบปิดผนึกแล้ววางไว้ที่ป้ายโลหะหน้าท้องพระโรง อีกชุดหนึ่งเก็บไว้กับพระองค์เอง โดยมีรับสั่งให้นำออกมาเปิดอ่านพร้อมกันหลังจากที่พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์

    551000004881206.jpg

    กระถางกำยานของฮ่องเต้เฉียนหลง

    ในรัชกาลของเฉียนหลงถือเป็นยุคทองที่รุ่งเรืองที่สุดของราชวงศ์ชิง จากความพยายามปฏิรูปนโยบายภาษี การใช้จ่าย นโยบายการเงินการคลังของยงเจิ้ง ได้ทำให้มีเงินท้องพระคลังเหลือมาถึงยุคของเฉียนหลงเป็นจำนวนมาก เมื่อผนวกกับการที่ประชาชนเมื่อไม่มีภัยสงครามมาเป็นเวลานาน จึงทุ่มเทไปกับการสร้างผลผลิต จนทำให้ยุคสมัยนี้มีความมั่งคั่ง และมีความเจริญก้าวหน้าทางศิลปะวิทยาการต่างๆเป็นอันมาก

    พระองค์ได้มีราชโองการให้รื้อฟื้นคดีคือความบริสุทธิ์ให้กับขุนนางต้าหมิงที่ชื่อ หยวนฉงฮ่วนขึ้นมาใหม่ จากที่แต่เดิมนั้นฮ่องเต้เฉียนหลงเมื่อขึ้นครองราชย์ ก็พยายามเจริญรอยตามพระอัยกาคังซี ด้วยการเสด็จประพาสทางใต้ถึง 6 ครั้ง และทำการปรับปรุงระบบชลประทานและการป้องกันอุทกภัยมากมาย ซึ่งการประพาสดังกล่าวถือเป็นหนึ่งในนโยบายที่จะรักษาความมั่นคงของประเทศ และเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างชนชาติของฮั่นกับแมนจูอีกด้วย

    ฉงเจินได้ลงโทษประหารหยวนฉงฮ่วนด้วยการแล่เนื้อทั้งเป็นในข้อหาสมคบคิดกับแมนจูก่อการกบฏ โดยในบันทึกฮ่องเต้ชิงเกาจง หรือฮ่องเต้เฉียนหลงได้ระบุไว้ว่า “แม้นการที่หยวนฉงฮ่วนเป็นผู้บัญชาการศึกให้กับต้าหมิง ยังผลให้ทัพต้าชิงประสบความลำบาก ทว่าถือเป็นบุคคลอันภักดีต่อหน้าที่ เพียงพบเจอเจ้าชีวิตที่ไร้สติปัญญา มิเพียงไม่ตอบแทนในความจริงใจอย่างเต็มสามารถ กลับประหารจนเสียชีวิต นับเป็นที่น่าเวทนายิ่งนัก”

    551000004881207.jpg

    ฮ่องเต้ยงเจิ้ง

    ในปีค.ศ.1772 หรือรัชกาลเฉียนหลงปีที่ 49
    อีกผลงานหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับมาจนถึงปัจจุบันก็คือ “ซื่อคู่เฉวียนซู” (四库全书) หรือจตุคลังคัมภีร์ ซึ่งถือว่าเป็นหนังสือชุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก (รองลงมาคือสารานุกรมหย่งเล่อในราชวงศ์หมิง) โดยใช้เวลาในการชำระคัมภีร์และตำราต่างๆนานถึง 9 ปี รวบรวมตำราไว้ทั้งสิ้น 3,503 ประเภท เรียบเรียงเป็น 36,304 เล่ม 79,337 บรรพ มีจำนวนเกือบ 2,300,000 หน้า มีอักษรราว 800 ล้านตัว โดยเป็นการรวบรวมคัมภีร์สำคัญตั้งแต่ยุคโบราณ ซึ่งบางเล่มเคยถูกระบุเป็นคัมภีร์ต้องห้ามในสมัยราชวงศ์ฉิน ครอบคลุมศาสตร์อันหลากหลายแทบทุกประเภทในประเทศจีน

    นอกจากความสามารถอันหลากหลายจนเป็นที่ประจักษ์แล้ว ฮ่องเต้เฉียนหลงยังเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่ามีความรักประชาชน และมีความวิริยะอุตสาหะในการปฏิบัติราชกิจเป็นอย่างยิ่ง ทำให้มีขุนนางที่สุจริตซื่อสัตย์ช่วยเหลือในการปกครองบ้านเมืองไม่น้อย โดยพระองค์ได้ต่อต้านและเรียกร้องไม่ให้ขุนนางใช้แต่ภาษาที่สวยหรูแต่จอมปลอมอีกด้วย

    ในช่วงยุครุ่งโรจน์ แห่งรัชกาลคัง-เฉียน ถือเป็นยุคทองอันรุ่งเรืองที่สุดในประวัติศาสตร์เกือบ 300 ปีของราชวงศ์ชิง และถือเป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่ดีที่สุดของจีน ไม่ว่าจะเป็นด้านพื้นที่การทำไร่ทำนา จำนวนผลผลิตการเกษตร จำนวนประชากร ที่มีอย่างยากที่จะหายุคใดเปรียบเทียบได้ จากสถิติที่มีการบันทึก ในรัชกาลคังซีปีที่ 24 ทั่วประเทศมีพื้นที่สำหรับทำการเพาะปลูกถึง 600 ล้านไร่จีน เมื่อมาถึงช่วงปลายรัชกาลของเฉียนหลง ทั่วประเทศมีพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มเป็น 1,050 ล้านไร่จีน ผลผลิตทางการเกษตรทั่วประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 204,000 ล้านชั่ง จนเป็นประเทศที่มีผลผลิตสูงที่สุดในโลกในสมัยนั้น ในขณะที่จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นจากปีค.ศ. 1700 ที่มีราว 150 ล้านคนมาเป็น 313 ล้านคนในปีค.ศ. 1794 หรือคิดเป็นประมาณ 1 ใน 3 ของทั่วโลกในเวลานั้น

    551000004881211.jpg

    แผนที่แสดงพื้นที่ของจีนที่เพิ่มขึ้นในรัชกาลของฮ่องเต้คังซี

    https://mgronline.com/china/detail/9510000044673
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ราชวงศ์ชิงตอนกลาง / ธารประวัติศาสตร์
    เผยแพร่: 29 พ.ค. 2551 15:53 โดย: MGR Online
    551000006122101.jpg

    นาฬิกาดนตรี สร้างขึ้นในกว่างโจว สมัยฮ่องเต้เฉียนหลง

    หลังราชวงศ์ชิงได้ผ่านยุครุ่งเรืองถึงขีดสุดมาแล้ว สรรพสิ่งก็ดำเนินไปตามวงเวียนแห่งกงล้อประวัติศาสตร์ จากรุ่งโรจน์สู่ความเสื่อมโทรม ไม่ว่ายุคสมัยใด บ้านเมืองเจริญได้ด้วยบุคคล ก็เสื่อมถอยด้วยบุคคลเฉกเดียวกัน และวันใดที่บ้านเมืองเริ่มเสื่อมถอย ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการฉวยโอกาสย่ำยีจากต่างชาติ...

    551000006122102.jpg

    บ้านของเหอเซิน

    อาทิตย์เที่ยงวันผ่านพ้น

    แม้ว่าฮ่องเต้เฉียนหลงจะมีความวิริยะอุตสาหะในการบริหารปกครองบ้านเมือง ทว่ายุครุ่งโรจน์ของเฉียนหลงก็ประหนึ่งอาทิตย์เที่ยงวัน เมื่อผ่านพ้นย่อมเดินเข้าสู่ความเสื่อม ในช่วงหลังของรัชกาลเฉียนหลง กลับปรากฏขุนนางฉ้อราษฎร์บังหลวงจนเป็นที่เลื่องลือในหน้าประวัติศาสตร์นามว่าเหอเซิน (和珅)ผู้มีนามเดิมว่าซ่านเป่า สังกัดกองธงแดงของแมนจู มีความเชี่ยวชาญในภาษาแมนจู ฮั่น มองโกล และทิเบตถึง 4 ภาษา

    เมื่อแรกเริ่มรับราชการเหอเซินเริ่มต้นจากการเป็นทหารมหาดเล็กธรรมดาผู้หนึ่ง รับหน้าที่ในการหามเกี้ยวหรือถือธง ภายหลังเมื่อสบโอกาสได้แสดงความสามารถต่อหน้าพระพักตร์ของเฉียนหลง จึงเป็นที่โปรดปราน และได้เลื่อนขั้นอย่างต่อเนื่อง โดยเลื่อนขั้นเป็นราชองครักษ์ จากนั้นเป็นรองผู้บัญชาการกองธงน้ำเงิน โดยในช่วงเวลาที่รับราชการ 20 กว่าปี ได้รับการเลื่อนขั้นถึง 47 ครั้ง เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการเก็บค่าธรรมเนียมประตูเมืองฉงเหวิน ดูแลท้องพระคลังส่วนพระองค์ คลังหลวง ซึ่งในระยะแรกเหอเซินเองก็เป็นขุนนางที่มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความสามารถ จนสามารถช่วยหาทางเติมเต็มเงินในคลังหลวงที่ร่อยหรอให้มีมากพอกับการดำเนินโครงการสำคัญๆในบ้านเมืองอย่างการทหาร การจัดซ่อมสร้างเขื่อน การสร้างพระสุสาน เป็นต้น

    551000006122103.jpg

    ภาพเหอเซิน

    ยังไม่นับรวมกับผลงานอื่นๆอีกมากมายอาทิการคลี่คลายคดีที่หยุนหนัน การตรวจสอบบัญชีที่ซันตง และการคิดค้นหม้อไฟขนาดเล็ก ที่ทำให้งานเลี้ยงที่มีแขกเหรื่อกว่า 530 โต๊ะของฮ่องเต้เฉียนหลงนั้นสามารถมีอาหารที่อุ่นได้อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากเป็นที่โปรดปรานของเฉียนหลง เคยได้รับการควบดูแลหน้าที่ถึง 60 กว่าประการในเวลาเดียวกัน อีกทั้งได้รับพระราชทานพระธิดาพระองค์เล็กให้อภิเษกกับบุตรชายของเหอเซิน ทำให้เหอเซินซึ่งเป็นทั้งขุนนางใหญ่และกลายเป็นหนึ่งในพระประยูรญาติมีอำนาจมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

    ภายหลังเหอเซินจึงเริ่มการแผ่ขยายอำนาจ ใช้ตำแหน่งหน้าที่ในการหาเงินทอง ไม่ว่าจะเป็นการเปิดโรงรับจำนำ เปิดร้านรับแลกตั๋วเงิน เหมืองแร่ และกิจการซื้อขายอื่นๆอีกมากมาย ยังไม่รวมถึงการฉ้อราษฎร์บังหลวง แบ่งพรรคแบ่งพวก ใช้อำนาจบาตรใหญ่ จนถึงกับมีบันทึกในสมัยต่อมาไว้ว่า “รัชสมัยเฉียนหลงแห่งต้าชิง เหอเซินใหญ่ยิ่งคับแผ่นดิน มีอำนาจเหลือล้นราชสำนัก เหล่าขุนนางพร้อมพรักชิงประจบ ทั้งขูดรีดฉ้อโกงอย่างเปิดเผย ละเลยขุนนางพรรคพวกอื่น จนระบบปกครองต้องพังครืน เหล่าขุนนางดาษดื่นด้วยคนพาล”

    ต่อมาในเดือนตุลาคม ปีค.ศ. 1795 ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ประกาศว่าจะมีการสละราชสมบัติให้กับพระโอรสในฤดูใบไม้ผลิปีต่อไป เนื่องจากไม่ต้องการครองราชย์นานกว่าพระอัยกาคังซี ทำให้เฉียนหลงฮ่องเต้ประกาศสละราชสมบัติในปีค.ศ. 1796 เพื่อให้ตนอยู่ในตำแหน่งน้อยกว่าคังซี 1 ปี

    ทว่าหลังสละราชสมบัติให้กับฮ่องเต้เจียชิ่งแล้ว พระองค์ก็ยังคงเป็นผู้ที่กุมอำนาจแท้จริงอยู่ด้วยการอาศัยตำแหน่ง “ไท่ซั่งหวง” (太上皇) หรือพระราชบิดาหลวง ในการร่วมฟังข้อราชการด้วยเป็นเวลาถึง 3 ปีจนกระทั่งเสด็จสวรรคต

    กระทั่งวันที่ 13 เดือนอ้าย ค.ศ. 1799 หรือหลังจากที่เฉียนหลงฮ่องเต้สวรรคตเพียงวันเดียว ฮ่องเต้เจียชิ่งก็มีราชโองการประกาศความผิดของเหอเซิน 20 กระทง และมีบัญชาให้นำตัวไปกุมขัง ปลดออกจากตำแหน่ง และริบทรัพย์สมบัติทั้งหมดเข้าคลังหลวง

    551000006122104.jpg

    เรือรบแมนจู

    ตามบันทึกได้ปรากฏว่า การริบทรัพย์ของเหอเซินในครั้งนั้นมีเงินทั้งสิ้น 800 ล้านตำลึง ในขณะที่งบประมาณแผ่นดินจากภาษีในขณะนั้นอยู่ที่ประมาณ 70 ล้านตำลึงต่อปี กล่าวคือเพียงเงินของเหอเซินที่ได้มาจากการฉ้อราษฎร์บังหลวง ก็เทียบเท่ากับงบประมาณแผ่นดินถึง 10 กว่าปียังไม่รวมถึงหลักฐานอื่นที่พบอาทิชามทองคำ 4,288 ใบ โถเงิน 600 ชิ้น จานทอง 119 ใบ ทองคำ 5,800,000 ตำลึง เงินแท่ง 50,000 แท่ง และเพชรนิลจินดา ผ้าแพรไหมของมีค่าอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้นหลังจากริบทรัพย์แล้วในภายหลังจึงมีการกล่าวขานว่า “เหอเซินล้มกลิ้ง เจียชิ่งอิ่มท้อง” ขึ้น (和珅跌倒,嘉慶吃饱)

    หลังจากที่เหอเซินถูกกุมขัง 10 วัน ฮ่องเต้เจียชิ่งได้พระราชทานผ้าขาวให้แก่เหอเซิน เพื่อให้อัตวินิบาตกรรม แทนการประหารด้วยการแล่เนื้อทั้งเป็น ส่วนบุตรชายคนโตเนื่องจากได้อภิเษกกับองค์หญิงเหอเซี่ยว ทำให้เว้นจากการติดคุก ส่วนลูกหลานที่เหลือของเหอเซินก็ถูกเนรเทศไปยังหมู่บ้านที่ อยู่ทางใต้ของเมืองฮาร์บินลงมาราว 60 กิโลเมตร ในมณฑลฮาร์บิน ในช่วงวาระสุดท้ายก่อนการรัดคอตนเองนั้น เหอเซินยังได้ประพันธ์บทกวีสุดท้ายไว้ว่า “ห้าสิบปีคืนวันดังความฝัน บัดนี้รามือพลันลาโลก วันหน้าเมื่อวารีท่วมมังกร ตามหมอกควันขจรมาเกิดกาย” แสดงถึงความรันทดและความแค้นที่มี สื่อความหมายถึงวันใดที่มีผู้กลับมาควบคุมฮ่องเต้ไว้ คนผู้นั้นก็คือเหอเซินที่กลับมาเกิดใหม่ ซึ่งมีคนตีความไว้ว่าเป็นซูสีไทเฮา ที่เกิดในปีค.ศ.1835 ที่แม่น้ำฮวงโหได้เกิดอุทกภัย

    ** ความร่ำรวยของเหอเซินนั้น ได้รับการจัดอันดับจากหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่อย่างวอลล์ สตรีท เจอร์นัล ให้เป็นหนึ่งใน 50 บุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกในรอบสหัสวรรษ เมื่อเดือนเม.ย. 2007 โดยก่อนหน้านั้นได้เคยรับการจัดอันดับให้เป็นบุคคลที่รวยที่สุดในศตวรรษที่ 18

    551000006122105.jpg

    การสูบฝิ่นที่เริ่มแพร่ระบาดในสังคมจีน

    การทุจริตฉ้อฉลของคนที่มีสติปัญญาและความสามารถอย่างเหอเซิน ไม่เพียงแต่ส่งผลให้ท้องพระคลังในราชสำนักลดลงเท่านั้น แต่ยังเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของการฉ้อราษฎร์บังหลวงไปทั่วแวดวงราชการ เท่ากับเป็นการทำลายระบบในการปกครองอันเข้มงวด ที่ได้พยายามวางรากฐานให้ขุนนางปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตกันมานานลง



    สงครามฝิ่น ครั้งที่ 1

    แม้ราชวงศ์ชิงจะมีความยิ่งใหญ่เพียงใดก็ตาม แต่ที่ผ่านมาก็เลือกที่จะปิดประเทศไม่ค้าขายกับชาติอื่น จนกระทั่งปีค.ศ. 1757 หรือในรัชกาลเฉียนหลงปีที่ 22 ก็ได้มีการกำหนดให้เมืองกว่างโจวเป็นเมืองท่าเพียงแห่งเดียวที่ได้รับการอนุญาตให้ติดต่อกับชาติต่างชาติ ซึ่งนับตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา อังกฤษได้นำเข้าใบชา ถ้วยชามเครื่องเคลือบและผ้าไหมจากจีนเป็นจำนวนมาก ในขณะที่มีสินค้าส่งออกให้จีนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทำให้อังกฤษเสียเปรียบดุลการค้าให้จีนอย่างมหาศาล

    กระทั่งรัชกาลเฉียนหลงปีที่ 28 หรือค.ศ. 1773 เพื่อถ่วงดุลการค้าที่เสียเปรียบ อังกฤษได้เริ่มนำเอาฝิ่นเข้ามาจำหน่ายในเมืองจีน ซึ่งเดิมทีสำหรับคนจีน นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 8 เป็นต้นมา ฝิ่นก็ถูกจัดและถูกใช้ในฐานะยาสมุนไพรประเภทหนึ่ง กระทั่งหลังจากที่อังกฤษได้เข้าพิชิตอินเดีย และได้มอบสิทธิผูกขาดในการจำหน่ายให้กับบริษัทอีสต์อินเดีย และนำเข้าจำหน่ายในจีนเป็นจำนวนมาก ซึ่งในเวลานั้นนอกจากอังกฤษแล้ว ยังมีอเมริกา ฝรั่งเศสและรัสเซียที่ต่างก็พยายามนำเอาฝิ่นจากตุรกี และเอเชียกลางมาจำหน่ายในจีนเช่นกัน
    ในช่วงเวลานั้น ราคาของฝิ่นอยู่ชั่งละ 5 ตำลึงเงิน ในช่วงเวลา 40 ปีก่อนที่สงครามฝิ่นจะปะทุขึ้น อังกฤษได้ขนฝิ่นเข้ามาประเทศจีนมากถึง 400,000 ลัง จนดูดเอาเงินแท่งออกไปจากจีนได้ราว 300 ล้าน – 400 ล้านแท่ง จนกระทั่งเกิดปัญหาการขาดแคลนเงินแท่งภายในประเทศและทำให้ราคาของเงินแท่งพุ่งสูงขึ้นไปกว่า 1 เท่าตัว จนประชาชนและประเทศชาติต่างยากจนลงไปตามๆกัน คนที่สูบฝิ่นมากขึ้นทุกขณะ ไม่เพียงแต่เป็นในวงขุนนางข้าราชการเท่านั้น แต่เลยไปถึงบรรดาเจ้าของที่ดิน พ่อค้า บัณฑิต และแม้กระทั่งชาวไร่ชาวนา ช่างแรงงาน ทหารก็ไม่เว้น

    551000006122106.jpg

    หยกขาวรูปเด็กหยอกมุสิก

    ปีค.ศ. 1821 ฮ่องเต้เจียชิ่งเสด็จสวรรคต พระโอรสองค์ที่ 2 ได้ขึ้นครองราชย์มีพระนามว่าฮ่องเต้เต้ากวง ในเวลานั้นเป็นช่วงเวลาที่ราชสำนักชิงฟอนเฟะ กองกำลังทหารอ่อนโทรม มีการลุกฮือขึ้นก่อความไม่สงบมากมาย และที่สำคัญก็คือการสูบฝิ่นที่แพร่ระบาดไปทั่ว

    เมื่อมาถึงปีค.ศ. 1838 ทั่วประเทศมีชาวจีนที่ติดฝิ่นมากถึง 2,000,000 คน จนถึงกับมีคำกล่าวว่าฝิ่นนั้น นอกจากจะขูดเอาเงินแท่งจากจีนไปแล้ว ยังได้ทำลายสุขภาพร่างกายและจิตวิญญาณชาวจีนไปด้วย ในปีเดียวกันนี้จึงมีกลุ่มขุนนางถวายฎีกาโดยเปิดโปงบรรดาข้าราชการที่ค้าฝิ่น และผลักดันให้มีการหยุดฝิ่นด้วยการลงโทษผู้ที่สูบอย่างรุนแรง หลังจากนั้นหลินเจ๋อสีว์ (林则徐) ผู้ตรวจการหูกว่างได้ถวายฎีกาถึง 3 ครั้งต่อฮ่องเต้เต้ากวง โดยระบุว่าหากไม่ทำการหยุดฝิ่นในประเทศจีน ในระยะยาวอีกหลายสิบปีนั้น จีนจะไม่เหลือทหารไว้รบ ไม่เหลือเงินไว้ใช้อีกต่อไป จนทำให้ฮ่องเต้เต้ากวงมีดำริที่จะปราบปรามฝิ่นอย่างจริงจัง

    ปีค.ศ. 1839 หลินเจ๋อสีว์ได้เตรียมคน และทหารเดินทางออกจากปักกิ่งอย่างไม่เอิกเกริก เมื่อตรวจพบผู้กระทำผิดกฎหมายก็จะมีการดำเนินการลงโทษทันที และเมื่อเดินทางถึงกว่างโจว (กวางเจา) ก็ทำการลอบสืบเป็นการลับ จนกระทั่งรู้ถึงเส้นทางขนส่งและจำหน่ายฝิ่นแล้ว จึงเริ่มต้นมีคำสั่งให้พ่อค้าต่างชาติทำการส่งมอบฝิ่นในครอบครองออกมาทั้งหมด จากนั้นให้ทำทัณฑ์รับรองว่าจะไม่ขนฝิ่นลงเรือมายังประเทศจีนอีกตลอดไป ซึ่งหากมีครั้งต่อไปจะถูกริบและจับกุมคนดำเนินคดี

    551000006122107.jpg

    หลินเจ๋อสี่ว์

    นอกจากนั้นหลินยังได้ทำการกวาดล้างปัญหาฝิ่น ด้วยการจัดการตั้งกฎอย่างเด็ดขาดให้ผู้เกี่ยวข้องกับการค้าฝิ่นจะถูกกุมขังในเรือนจำ ในมีหลักฐานว่าเป็นผู้ค้าจะถูกตัวศีรษะเสียบประจาน ส่วนผู้ที่ติดฝิ่นก็จะมีการส่งเข้าสถานรักษาพยาบาลเพื่อช่วยให้เลิกฝิ่น จากนั้นก็จัดโครงการรณรงค์ให้อดฝิ่น โดยที่ใครทำสำเร็จทางการจะทำการประกาศเกียรติคุณให้เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้อื่น

    หลินเจ๋อสีว์ได้กำหนดเวลา 3 วันให้ทุกคนที่มีฝิ่นนั้นส่งมอบออกมาให้หมด กระทั่งครบเวลาที่กำหนดขณะนั้นได้ฝิ่นทั้งสิ้นเพียง 1,037 ลัง เมื่อเห็นดังนั้น จึงมีคำสั่งให้ปิดล้อมร้านค้า ยกเลิกการค้าขายระหว่างจีนกับอังกฤษ ไม่อนุญาตให้ร้านค้าติดต่อกับเรือที่มีการขนฝิ่น ปลดพนักงานชาวจีนที่ทำงานกับผู้ค้าต่างชาติ แล้วนำกำลังออกปิดล้อมคลังสินค้า โดยหนึ่งในนั้นมีผู้ตรวจการพาณิชย์อังกฤษ ชาร์ลส์ เอลเลียตอยู่ด้วย เมื่อชาร์ลส์ในขณะนั้นไม่มีกำลังรบอยู่ในมือ และกลัวว่าพ่อค้าฝิ่นของตนจะถูกฆ่า จึงยอมส่งมอบฝิ่นจากเรือ 20 ลำออกมาจำนวนทั้งสิ้นปรากฏว่ามีถึง 20,283 ลัง

    ในวันที่ทำการทำลาย ได้มีผู้คนจำนวนมากแห่แหนเข้ามาชมดูกันอย่างเนืองแน่น หลินเจ๋อสีว์ได้ให้คนขุดหลุมขนาดใหญ่ 2 หลุมบริเวณชายหาดหู่เหมิน แล้วจัดการเผาทำลายฝิ่นที่มีจำนวนกว่า 2,000,000 ชั่ง และใช้เวลาเผาทำลายถึง 3 สัปดาห์

    คลิกอ่านต่อหน้า 2

    551000006122108.jpg

    ภาพวาดการลงนามในสนธิสัญญานานกิง

    ภายหลังสภาผู้แทนราษฎรอังกฤษได้มอบอำนาจให้ชาร์ลส์ เอลเลียตนำเรือ 40 กว่าลำ ทหารกว่า 4,000คน มาอยู่ที่บริเวณมาเก๊า และทำศึกกับจีนซึ่งได้มีการเตรียมตัวรับมือไว้ก่อนแล้ว ทำให้ทั้งสองฝ่ายมีผู้คนล้มตายทั้งสองฝ่าย ถือเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามฝิ่นครั้งแรก

    ประจวบกับในเวลานั้นมีกลาสีชาวอังกฤษกลุ่มหนึ่งเมาอาละวาดฆ่าชาวจีนในเกาลูนตายไปหนึ่งคน ชาร์ลส์ เอลเลียตไม่ยอมส่งตัวจำเลยให้กับทางการจีน ทำให้ความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์กับชาวตะวันตกเพิ่มสูงขึ้น เมื่อถึงเดือนมิ.ย.ปีค.ศ. 1840 กองเรือรบอังกฤษภายใต้การบัญชาการของพลเรือเอกยอร์ช เอลเลียตก็เดินทางมาถึง แล้วใช้กำลังเรือส่วนหนึ่งปิดท่าเอาไว้ จากนั้นส่งกำลังส่วนใหญ่แล่นขึ้นเหนือเข้ายึดเมืองติ้งไห่ ใช้เป็นศูนย์บัญชาการ จากนั้นในเดือนส.ค. ก็แล่นเรือขึ้นไปบริเวณใกล้ๆป้อมต้ากูที่เทียนจิน ซึ่งเข้าใกล้ปักกิ่งมากขึ้นทุกที

    ฮ่องเต้เต้ากวงในเพลานั้น เมื่อพบเห็นสถานการณ์คับขัน ก็ถึงกับครั่นคร้ามในแสนยานุภาพกองทัพของอังกฤษ ผนวกกับถูกคำยุยงจากฝ่ายที่ขอให้ยอมเจรจาสงบศึก จึงได้เปลี่ยนพระทัย จึงได้ส่งผู้ตรวจการฉีซั่นไปยังเทียนจิน เพื่อขอเจรจา โดยฉีซั่นได้เสนอเงื่อนไขก่อนเจรจาว่าจะมีการปลดและลงโทษหลินเจ๋อสีว์ และเปลี่ยนข้าหลวงคนใหม่ไปยังกว่างโจว อีกทั้งยอมรับฟังความเดือนร้อนของพ่อค้าอังกฤษ

    ในขณะนั้นเป็นช่วงผลัดเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง มีโรคระบาดเกิดขึ้น ทำให้ทหารอังกฤษละทิ้งเมืองติ้งไห่ แล้วกลับไปเจรจากันที่กว่างโจว และลงนามใน “ร่างสนธิสัญญาชวนปี๋” ที่มีเนื้อหาว่าจีนจะต้องยกเกาะฮ่องกง และท่าเรือให้กับอังกฤษ จากนั้นชดใช้เงินให้กับรัฐบาลอังกฤษจำนวน 6,000,000 ตำลึงเงิน เปิดท่าเรือกว่างโจวให้เป็นท่าเรือพาณิชย์ โดยที่อังกฤษจะยอมถอนทหารออกจากซาเจี่ยว ป้อมปืนต้าเจี่ยวกลับไปที่ติ้งไห่

    551000006122109.jpg

    หยกขาวสลักรูปสัตว์

    การลงนามสนธิสัญญาดังกล่าว เป็นการกระทำโดยพลการของฉีซั่น ทำให้ฮ่องเต้เต้ากวงทรงกริ้วเป็นอย่างมาก จึงมีรับสั่งปลดและลงโทษฉีซั่น จากนั้นส่งอี้ซัน ซึ่งเป็นขุนนางราชองครักษ์วังหลวง นำกำลังทหารหมื่นกว่าคนไปยังมณฑลกวางตุ้งเพื่อต่อต้านทัพอังกฤษ ที่ในขณะนั้นได้เข้ายึดครองฮ่องกงและติ้งไห่

    ทหารของอังกฤษหลังจากยึดป้อมปืนใหญ่ได้หลายแห่ง ก็นำกำลังบุกโจมตีกว่างโจว จนทหารของจีนต้องหลบกลับเข้าในตัวเมืองกันหมด แม่ทัพอี้ซั่นจึงได้เสนอให้เจรจาสงบศึกอีกครั้ง จนมีการลงนามในสนธิสัญญากว่างโจว ซึ่งได้รับการอนุมัติจากเต้ากวงให้มีการชดใช้เงินจำนวน 6,000,000 ตำลึงเพื่อให้อังกฤษถอยออกจากเมือง

    ทว่าท่าทีของประชาชนกลับแตกต่างจากราชสำนักที่ยอมอ่อนข้อให้กับทหารอังกฤษ จึงมีชาวบ้านจำนวนไม่น้อยที่ลุกขึ้นจับอาวุธ ต่อสู้กับทหารอังกฤษที่มีอยู่พันกว่านายในเกว่างโจว จนทำให้มีทหารอังกฤษเสียชีวิตไปหลายสิบคน

    ในขณะที่ทางอังกฤษเองก็ไม่พอใจกับสิทธิที่ได้รับจากการเจรจาของชาร์ลส์ เอลเลียตถึงกับมีการปลดเอลเลียต แล้วส่งเซอร์เฮนรี ป็อตติงเจอร์ ในเดือนส.ค. ปีค.ศ. 1841 ป๊อตติงเจอร์ได้นำเรือ 37 ลำพร้อมทหารอีก 2,500 คนออกจากฮ่องกง มุ่งขึ้นเหนือโจมตีเซี่ยเหมิน ถัดมาอีกเดือนกว่าๆ ก็สามารถบุกยึดติ้งไห่ โดยเก่อหยุนเฟย (葛云飞) ผู้บัญชาการทหารของเมืองต้องพลีชีพ จากนั้นก็บุกยึดเจิ้นไห่ หนิงปอ และบุกต่อไปโดยไม่สนใจคำขอเจรจาจากฝั่งจีน จนกระทั่ง บุกยึดเป่าซัน เซี่ยงไฮ้ และเรื่อยไปถึงด่านทางใต้ของหนันจิง (นานกิง) ทำให้ทางการจีนจำต้องยอมเจรจาภายใต้เงื่อนไขที่ไม่ยุติธรรมอย่างยิ่ง เรียกว่า “ร่างสนธิสัญญานานกิง” โดยสนธิสัญญาที่ถือว่าเป็นสัญญาอัปยศของจีนนั้นมีเงื่อนไขโดยสรุปคือ1. รัฐบาลต้าชิงจะต้องชดใช้เงินเงินทั้งสิ้น 21 ล้านตำลึง โดยแบ่งเป็นค่าปฏิกรรมสงคราม 12 ล้านตำลึง ค่าเสียหายให้พ่อค้าอังกฤษ 3 ล้านตำลึง และค่าเสียหายจากฝิ่นอีก 6 ล้านตำลึง โดยจำนวนนี้ไม่นับรวมกับ 6 ล้านตำลึงที่จ่ายไปก่อนหน้า
    2. จะต้องยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษ

    3. เปิดเมืองท่าทั้ง 5 ได้แก่กว่างโจว เซี่ยเหมิน ฝูโจว หนิงปอ และเซี่ยงไฮ้เป็นเมืองท่าพาณิชย์

    4. ภาษีทั้งขาเข้าและขาออกของพ่อค้าอังกฤษให้เป็นไปตามการเจรจาของทั้ง 2 ฝ่ายซึ่งหลังจากนั้นอีก 1 ปีจีนยังได้ลงนามในข้อตกลงและวิธีปฏิบัติ ซึ่งมีสัญญาเพิ่มเติมจากสนธิสัญญานานกิงโดยกำหนดให้อังกฤษมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต คือ ชาวอังกฤษไม่อยู่ใต้กฎหมายของประเทศที่พำนักอาศัย เมื่อกระทำผิดหรือถูกฟ้อง คดีความจะถูกตัดสินพิจารณาคดีโดยกงสุลของประเทศตนเอง และอังกฤษจะต้องเป็นประเทศที่ได้รับผลประโยชน์อย่างดีที่สุด กล่าวคือ หากจีนมีการให้สิทธิพิเศษด้านการค้า เดินเรือ ภาษี หรือ การคุ้มครองทางกฎหมายแก่ประเทศใด อังกฤษจักได้รับสิทธิดังกล่าวไปด้วยเช่นกัน และการลงนามในสนธิสัญญานานกิงนี้ก็ถือเป็นจุดจบของสงครามฝิ่นครั้งที่ 1 ลง
    551000006122110.jpg

    ชุดมังกรของไท่ผิงเทียนกั๋ว

    กบฏไท่ผิงเทียนกั๋ว(太平天国)

    ภายหลังราชวงศ์ชิงพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่น ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคมจีนขึ้นอย่างรุนแรง รัฐบาลต้าชิงได้หมดเงินไปกับการทหารในสงครามดังกล่าวถึง 70 ล้านตำลึง บวกกับต้องชดใช้ให้กับต่างชาติตามร่างสนธิสัญญานานกิงอีก 21 ล้านตำลึง ภาระเหล่านี้ถูกผลักโอนมายังชาวไร่ชาวนาทั่วไป ซ้ำร้ายยังถูกขุนนางกับเจ้าของที่ดินขูดรีด ทำให้ประชาชนต้องแบกภาระและชำระภาษีมากกว่าที่กำหนดไว้ตามตัวบทกฎหมายหลายเท่า บวกกับเงินแท่งมีมูลค่าสูงขึ้น และภัยธรรรมชาติจากอุทกภัยและภัยแล้งจนประชาชนต้องอดอยากและประสบทุกข์เข็ญอย่างยิ่ง

    ผลของความวุ่นวายในสังคม และความลำบากของราษฎร ได้ก่อให้เกิดกลุ่มกบฏชาวนาขึ้นในช่วงปลายราชวงศ์ชิง โดยกลุ่มกบฏนี้ได้ตั้งชื่อตนเองว่า “ไท่ผิงเทียนกั๋ว” อันหมายถึงอาณาจักรสวรรค์อันสันติสุข ซึ่งผู้นำกลุ่มกบฏนี้มีนามว่า หงซิ่วเฉวียน (洪秀全) ที่เคยเป็นบัณฑิตสอบตกหลายสมัย ในขณะที่กำลังท้อแท้หมดอาลัย กลับได้พบกับหมอสอนศาสนา ซึ่งหลังจากที่ได้อ่านหลักคำสอนในศาสนาคริสต์แล้วพบว่ามีการระบุถึง “ดินแดนสวรรค์ที่ทุกคนต่างดีงามและเสมอภาค” แล้ว ยิ่งทำให้หงมีความสนใจและเริ่มต้นนับถือพระผู้เป็นเจ้าขึ้น

    551000006122111.jpg

    การปะทะกันของไท่ผิงเทียนกั๋วกับอังกฤษที่เทียนจิน

    ค.ศ. 1843 หงซิ่วเฉวียนได้ชักชวน เฝิงหยุนซัน ที่เป็นเพื่อนสมัยเรียนและลูกพี่ลูกน้องชื่อหงเหรินกาน ไปยังลำธารเล็กๆสายหนึ่ง จากนั้นกระโดดลงไปในน้ำ ชำระร่างกายจนสะอาด เป็นสัญลักษณ์เหมือนการทำพิธี “ใช้น้ำเข้าจารีต” ของศาสนาคริสตร์ จากนั้นทั้งสามก็ได้ตกลงกันอย่างลับๆในการจัดตั้ง “สมาคมนับถือพระเจ้า” (拜上帝会) ขึ้น และประกาศว่าตนเป็นบุตรคนรองของพระผู้เป็นเจ้า หรือเป็นน้องชายของพระเยซู

    หลังจากจัดตั้งสมาคมขึ้น หงกับเฝิงหยุนซันก็เดินทางไปเผยแพร่คำสอนที่เขตจื่อจิงซัน ในมณฑลกว่างซี (กวางสี) หลังจากนั้นก็เดินทางไปยังกว่างตง (กวางตุ้ง) ในระยะเวลา 2 ปีกว่าๆที่เผยแพร่ศาสนา ก็ได้ทำการเขียนหนังสือต่างๆออกมา ว่าวด้วยผลักดันอุดมการณ์ความเท่าเทียมกันของชาวนา

    ในขณะนั้นเฝิงหยุนซันก็สามารถรวมรวบสมาชิกได้หลายพันคน จนกระทั่งค.ศ. 1850 ฮ่องเต้เต้ากวงทรงสินพระชนม์ มีราชโอรสขึ้นครองราชย์ พระนามว่าฮ่องเต้ชิงเหวินจง (清文宗) หรือเรียกตามชื่อรัชกาลว่าฮ่องเต้เสียนเฟิง (咸丰皇帝) ในเวลานั้นสมาคมนับถือประเจ้าได้รวบรวมคนมามากกว่า 20,000 คน โดยสมาชิกส่วนใหญ่เป็นชาวนาที่ยากจนข้นแค้นเป็นหลัก

    กระทั่งเดือนมิ.ย.- ก.ค. ในปีเดียวกัน สมาชิกแต่ละคนได้นำเอาทรัพย์สินสิ่งของมีค่าของตนมาสมทบทุนกันตามแต่ฐานะที่มี รวมเป็นกองทุนที่เรียกว่า “สมบัติศักดิ์สิทธิ์” จากนั้นก็จัดทั้งหน่วยสู้รบชายและหญิง โดยแยกค่ายทหารชายกับหญิงออกจากกัน และมีการตราระเบียบวินัยอย่างเข้มงวดอาทิ ห้ามทุจริต ห้ามสูบฝิ่น ห้ามข่มขืนสตรีซึ่งมีโทษถึงขั้นประหารชีวิต นอกจากนั้นยังให้สมาชิกชาย ตัดหางเปียทิ้ง โดยระบุว่าเป็นเครื่องหมายข้าทาสของแมนจู แล้วให้หันมาไว้ผมยาวแทน

    ช่วงต้นปีค.ศ. 1851 สมาคมนับถือพระเจ้ามีสมาชิกมากถึง 30,000 คนมีการประกาศสถาปนาอาณาจักร “ไท่ผิงเทียนกั๋ว” ขึ้น โดยหงซิ่วเฉวียนตั้งตนเป็น “เทียนหวัง” หรือกษัตริย์สวรรค์ขึ้น จากนั้นก็แต่งตั้งหยางซิ่วชิง เป็นตงหวัง หรือเจ้าบูรพา แต่งตั้งเซียวเฉากุ้ยเป็นซีหวาง หรือเจ้าประจิม ตั้งเฝิงหยุนซันเป็นหนันหวัง หรือเจ้าทักษิณ เหวยชังฮุยเป็นเป็นหวังเจ้าอุดร และสือต๋าไคเป็น อี้หวังหรือเจ้าปีกทัพ เริ่มต้นกระบวนการปฏิบัติที่ยาวนานถึง 14 ปี

    551000006122112.jpg

    เหรียญที่ไท่ผิงเทียนกั๋วผลิตไว้ใช้ในอาณาเขตของตน

    หลังจากนั้นกองทัพก็เริ่มต่อสู้กับกองกำลังราชวงศ์ชิง โดยบุกขึ้นเหนือไปยังกุ้ยหลิน ล้อมฉางซา ยึดอี้ว์โจว และเอาชนะที่อู่ชังได้ทำให้ได้เรือมานับหมื่นลำ ได้อาวุธ และปืนใหญ่เป็นจำนวนมาก มีการตั้งกองทัพเรือขึ้น กระทั่งสามารถบุกหนันจิง (นานกิง) ในเดือนมี.ค. ปีค.ศ. 1853 นี้ไท่ผิงเทียนกั๋วมีสมาชิกราว 500,000 คน

    หลังจากยึดนานกิง ก็ได้อาศัยเปลี่ยนชื่อเป็นเทียนจิง และใช้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักร และส่งกองทัพสองสายบุกขึ้นเหนือและตะวันตก โดยทางเหนือบุกยึดไปถึงเทียนจิน ส่วนสายตะวันตกก็บุกไปตามแม่น้ำฉางเจียงสู่อู่ชาง ฮั่นหยาง และฮั่นโข่ว ในช่วงระยะเวลา 3 ปี ซึ่งส่วนใหญ่จะประสบชัย ได้เข้ายึดครองดินแดนด้านตะวันออกของมณฑลหูเป่ย เจียงซี และอันฮุย ซึ่งถือเป็นช่วงรุ่งโรจน์ที่สุดของอาณาจักร

    ประชาชนในอาณาจักรไท่ผิงเทียนกั๋วมีเป็นหลักล้าน ได้จัดตั้งสกุลเงินของตนเองขึ้นมาใช้ และได้มีการกำหนดนโยบายในการปกครองสำคัญๆขึ้น เช่นระบบการจัดสรรที่นาเทียนเฉา ที่ให้ที่ดินทั่วประเทศเป็นสาธารณะให้ทุกคนมีสิทธิ์ในการถือครองอย่างเท่าเทียมกัน แล้วมี “ยุ้งฉางกลาง” ที่ให้ผลผลิตเป็นของส่วนกลาง แล้วจัดสรรให้ตามลำดับชั้นฐานะ ส่งเสริมให้ชายหญิงเท่าเทียมกัน ให้ผู้หญิงมีสิทธิ์สอบเข้ารับราชการเป็นขุนนางได้ สั่งห้ามการซื้อขายฝิ่น อนุญาตให้พ่อค้าต่างชาติค้าขายได้อย่างเท่าเทียมกัน อีกทั้งมีการยกเลิกประเพณีต่างๆเช่นการมัดเท้าสตรี ให้รื้อทำลายศาลเจ้า ห้ามบูชากราบไหว้ ยกเลิกการแต่งงานด้วยการซื้อขาย และห้ามการซื้อทาสเป็นต้น

    อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากบฏไท่ผิงเทียนกั๋วจะสามารถสร้างอาณาจักรของตนขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ แต่สุดท้ายจากการที่ผู้นำกบฏเกิดขัดแย้งกันเอง โดยหยางซิ่วซิงได้แยกตัวออกไป จากนั้นหงซิ่วเฉวียนได้ให้เหวยชังฮุยไปสังหารหยางซิ่วซิง แต่สุดท้ายเหวยชังฮุยก็ถูกหงซิ่วเฉวียนสังหาร ในขณะที่สือต๋าไคก็ต้องพาทหารตนเองหลบหนีไป กระทั่งกองทัพเริ่มอ่อนแอลง กอปรกับราชสำนักชิงในตอนนั้น ได้ร้องขอให้กองทัพอังกฤษซึ่งมีอาวุธอันทันสมัยมาร่วมมือกับทหารในกองทัพไฮว๋ของหลี่หงจาง และกองทัพหูหนันของจางกั๋วฟาน จนกองกำลังของไท่ผิงเทียนกั๋วสูญเสียที่มั่นไปเรื่อยๆ กระทั่งปลายปีค.ศ. 1863 ในรัชกาลถงจื้อปีที่ 2 ทหารชิงก็สามารถล้อมเมืองเทียนจิง (นานกิง) ทว่าหงซิ่วเฉวียนไม่ยอมทิ้งเมืองหลวงไปตั้งหลักในที่ใหม่ จนกระทั่งหงซิ่วฉวนซึ่งเจ็บป่วยอยู่ได้สั่งให้ประชาชนกินหญ้าแทนข้าว โดยตนเองได้เริ่มต้นกินก่อน จนทำให้อาการป่วยทรุดหนักลง ประกอบกับไม่มียารักษาจึงทำให้เสียชีวิตลง ซึ่งบางตำราก็ระบุว่าหงซิ่วเฉวียนได้ฆ่าตัวตาย แต่แม้กระนั้นทหารไท่ผิงนับแสนคนในเทียนจิง ก็ยังคงสู้โดยไม่ยอมแพ้ จนกระทั่งสุดท้ายกว่าทหารชิงจะสามารถเอาชนะได้ อาณาจักรไท่ผิงเทียนกั๋วก็จบลงด้วยทะเลเลือด

    551000006122113.jpg

    แผนที่แสดงเส้นทางการต่อสู้ช่วงสงครามฝิ่นครั้งแรก โดยจุดที่มีธงคือจุดที่ทหารชิงต่อต้านอังกฤษ ส่วนสีชมพูคือจุดที่จีนถูกบังคับให้เปิดท่าเรือตามสนธิสัญญานานกิง

    https://mgronline.com/china/detail/9510000056287
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ราชวงศ์ชิงตอนจบ / ธารประวัติศาสตร์
    เผยแพร่: 31 ก.ค. 2551 18:12 โดย: MGR Online
    551000009681501.jpg

    ธงราชวงศ์ชิง

    เคราะห์ซ้ำกรรมซัดกระหน่ำสู่ราชวงศ์ชิงช่วงปลายอย่างเหมือนไม่รู้จบสิ้น ในภายหลังเมื่อถึงค.ศ. 1856 ก็ได้เกิดสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 ขึ้น โดยกินระยะเวลา 4 ปี โดยมีมูลเหตุมาจากหลังช่วงเกิดเหตุกบฏไท่ผิงเทียนกั๋ว อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐฯ รัสเซียก็คิดจะตักตวงผลประโยชน์จากจีนมากขึ้น

    551000009681502.jpg

    พระพุทธรูปสีเคลือบ

    ซูสีไทเฮา - นานาชาติรุมทึ้ง

    โดยอังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐฯ รัสเซียยื่นข้อเสนอในการเพิ่มการเปิดท่าเรือต่างๆ พร้อมตั้งสถานทูตในกรุงปักกิ่ง แต่ไม่ได้รับการตอบรับจากราชสำนัก ประจวบกับเจ้าหน้าที่จีนได้จับกุมลูกเรือในเรือแอร์โรว์ในข้อหาโจรลัดและลักลอบขนของเถื่อน ทางอังกฤษจึงใช้เป็นข้ออ้างในการประท้วงต่อผู้ว่าเมืองกว่างโจว เมื่อผู้ว่าเมืองกวางตุ้งยอมคืนคนให้ แต่ไม่ยอมขอขมา ทำให้กองทหารของอังกฤษเริ่มนำทหารเข้ายึดป้อมต่างๆ และในช่วงนั้นมีมิชชันนารีฝรั่งเศสคนหนึ่งถูกชาวจีนสังหาร รัฐบาลของ นโปเลียนที่ 3 ส่งกองกำลังมาเข้าร่วมกับกองทหารของอังกฤษ จากนั้นบุกยึดกว่างโจว แล้วจับกุมผู้บัญชาการทหารกว่างโจวเอาไว้ จากนั้นกองกำลังผสมอังกฤษฝรั่งเศสก็บุกขึ้นเหนือ ยึดป้อมปืนใหญ่ต้ากู บุกประชิดเทียนจิน เมื่อนั้นฮ่องเต้เสียนเฟิงจึงมีรับสั่งให้มหาบัณฑิตกุ้ยเหลียง (桂良)กับเจ้ากรมปกครองฮวาซาน่ามาลงนามในสนธิสัญญาเทียนจิน โดยมีเนื้อหาให้เปิดท่าเรือหนิวจวง เติงโจว ไต้หวัน ตั้นสุ่ย เฉาโจว จิงโจว ฮั่นโข่ว จิ่วเจียง เจียงหนิง เจิ้นเจียงเป็นท่าเรือพาณิชย์ , ให้เรือพาณิชย์ต่างชาติสามารถล่องเข้าไปค้าขายตามท่าของแม่น้ำแยงซีเกียง ให้ชาวต่างชาติสามารถเข้าไปท่องเที่ยวทำการค้า ให้ชาวต่างชาติสามารถเข้าไปเผยแพร่ศาสนาได้อย่างอิสระ ให้กงสุลฝรั่งเศสเป็นผู้พิพากษาในคดีที่มีชาวฝรั่งเศสเป็นคู่ความ ชดใช้เงินให้อังกฤษ 4 ล้านตำลึง และฝรั่งเศส 2 ล้านตำลึง และยอมรับให้การค้าฝิ่นนั้นถูกกฎหมาย

    นอกจากนั้นในระหว่างที่อังกฤษบุกยึดป้อมต้ากู รัสเซียที่นำโดยข้าหลวงใหญ่ประจำไซบีเรียตะวันออก นามเคาต์มูราเวียฟบุกยึดดินแดนในแถบฝั่งซ้ายและทางเหนือของแม่น้ำเฮยหลงเจียง จากนั้นใช้กำลังข่มขู่ให้ทำสนธิสัญญาไอกุน ทำให้รัสเซียมีสิทธิ์ในดินแดนแม่น้ำอัสซูรีไปทางตะวันออกจนถึงทะเลญี่ปุ่นด้วย

    จากนั้นเมื่อถึงปีค.ศ. 1859 ได้เกิดความขัดแย้งเรื่องการแก้ไขสนธิสัญญา จนกระทั่งปีค.ศ.1860 รัชกาลฮ่องเต้เสียนเฟิงปีที่ 10 กองทัพพันธมิตรอังกฤษ-ฝรั่งเศสกว่า 10,000 คนได้ขึ้นฝั่งที่เป่ยถัง ยึดถังกู ป้อมปืนใหญ่ต้ากู ในขณะที่กำลังจะยึดครองเทียนจินได้อีกครั้ง ทางการชิงก็ได้ส่งมหาบัณฑิตกุ้ยเหลียงกับพวกเพื่อไปเจรจา ทว่าถูกฝ่ายรุกรานยื่นข้อเสนอที่สูงมาก ทำให้การเจรจาไม่ประสบความสำเร็จเมื่อกองทัพอังกฤษ-ฝรั่งเศสบุกมาถึงทงโจว ทหารชิงได้เข้ารับศึกที่สะพานปาหลี่ ทำการต่อสู้อย่างดุดเดือดเป็นเวลา 3-4 ชั่วโมง

    สุดท้ายกองทัพต้าชิงก็พ่ายแพ้ จนกองทัพอังกฤษฝรั่งเศสบุกเข้าถึงปักกิ่ง เหล่าขุนนางจึงทูลขอให้ฮ่องเต้เสียนเฟิงเสด็จลี้ภัยออกไปยังเร่อเหอ กองทัพพันธมิตรได้มุ่งตรงไปยังพระราชอุทยานหยวนหมิงหยวน อันเป็นพระราชวังสำหรับแปรพระราชฐาน สร้างขึ้นด้วยศิลปะและการออกแบบผสมผสานระหว่างตะวันตกกับตะวันออก เก็บมรดกล้ำค่าทางวัฒนธรรมเอาไว้มากมาย ตั้งอยู่ทางตะวันตกนอกเมืองปักกิ่ง และกระทำการปล้นชิงเอาเงินทองทรัพย์สมบัติไปเป็นการใหญ่ จากนั้นจุดไฟเผาทำลายจนไหม้ลามกินเนื้อที่กว่า 10 ตารางไมล์เป็นเวลา 2 วันจนท้องฟ้าเหนือกรุงปักกิ่งมืดครึ้มไปด้วยควันเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน

    551000009681503.jpg

    ซูสีไทเฮา

    พระราชอุทยานหยวนหมิงหยวนนั้น เดิมเป็นเพื้นที่อุทยานที่ฮ่องเต้คังซีเคยพระราชทานให้กับฮ่องเต้ยงเจิ้งในสมัยที่ยังเป็นองค์ชายสี่ และการที่ทรงพระราชทานพระนามหยวนหมิง มีความหมายถึง “จิตวิญญาณแห่งวิญญูชน” และ “การใช้คนอย่างมีสติปัญญา”ภายหลังเมื่อฮ่องเต้ยงเจิ้งครองราชย์ จึงได้ทำการบูรณะขยายให้กว้างขวางขึ้น จนสำเร็จลุล่วงในรัชกาลของฮ่องเต้เฉียนหลง และมีอายุคงอยู่มากว่า 150 ปีจนกระทั่งถูกเผาทำลายใต้เงื้อมมือของทัพพันธมิตรอังกฤษ-ฝรั่งเศส

    ในขณะที่ฮ่องเต้เสียนเฟิงเสด็จลี้ภัย ได้มอบหมายให้กงชินหวัง อี้ซิน (恭亲王 弈訢) และฉุนชินหวัง อี้เซวียน(醇亲王 弈譞) เป็นตัวแทนพระองค์ นำคณะไปเจรจาสงบศึก จนกระทั่งได้ลงนามในสัญญาอันไม่ยุติธรรมอีกฉบับหนึ่ง ที่เรียกว่า “สนธิสัญญาปักกิ่ง”โดยระบุจะต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามให้กับอังกฤษและฝรั่งเศสประเทศละ 8 ล้านตำลึง ยกเกาลูนให้อังกฤษ เปิดเทียนจินเป็นท่าเรือพาณิชย์ ให้มิชชันนารีเข้ามาซื้อที่ดินและสร้างโบสถ์ได้ อนุญาตให้ชาวต่างชาติจ้างคนจีนไปทำงานในต่างประเทศได้

    หลังลงนามในสนธิสัญญากับอังกฤษและฝรั่งเศสแล้ว จึงได้ทูลเชิญให้ฮ่องเต้เสียนเฟิงเสด็จกลับเมืองหลวง ทว่าฮ่องเต้เสียนเฟิงก็ยังไม่ยอมเสด็จกลับ กระทั่งเดือนส.ค. ปีค.ศ. 1861 ฮ่องเต้เสียนเฟิงได้เสด็จสวรรคตอย่างกะทันหัน ด้วยพระชนมายุเพียง 31 ชันษา ในยามนั้นฮองเฮาฉืออัน (慈安)ไม่มีพระโอรส มีเพียงแต่ฮองเฮาตะวันตกฉือซี (慈禧)หรือที่คนไทยเรียกว่า “ซูสี” ที่มีโอรสพระนามว่าไจ่ฉุน (载淳) ที่ขณะนั้นอายุเพียง 5 ชันษา และได้ขึ้นครองราชย์เป็นฮ่องเต้องค์ต่อมา โดยมีบรมราชโองการของฮ่องเต้เสียนเฟิง ที่ระบุให้มีการตั้งผู้ช่วยสำเร็จราชการทั้ง 8 คนขึ้น

    ส่วนฮองเฮาทั้ง 2 หลังไจ่ฉุนขึ้นครองราชย์ เป็นฮ่องเต้ชิงมู่จง (清穆宗) หรือฮ่องเต้ถงจื้อ (同治)เมื่อเรียกตามปีรัชกาลที่เปลี่ยนแปลงในภายหลัง โดยในช่วงเวลาที่กำลังส่งเสด็จพระศพของฮ่องเต้เสียนเฟิงกลับสู่ปักกิ่ง ซูสี ซึ่งขณะนั้นได้ขึ้นเป็นไท่โฮ่ว (太后) หรือไทเฮา ตามศักดิ์อันเป็นพระมารดาแห่งฮ่องเต้ ก็ได้ร่วมมือกับกงชินหวัง ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจคืนจากผู้สำเร็จราชการทั้ง 8 โดยระบุว่าเป็นผู้ที่ร่างพระราชโองการปลอมในการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการ

    551000009681504.jpg

    เจิงกั๋วฟาน

    หลังจากนั้นเป็นต้นมา พระนางซูสีไทเฮา กับพระนางฉืออันก็ได้ร่วมปกครองบ้านเมือง โดยจะประทับฟังราชกิจอยู่เบื้องหลังฮ่องเต้ โดยมีผ้าม่านกั้นกลางเอาไว้ หรือที่หลายคนเรียกว่ากุมการปกครองหลังผ้าม่าน กระทั่งในภายหลัง เมื่อซูสีไทเฮาสามารถกุมอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ และสามารถควบคุมการปกครองได้อย่างเบ็ดเสร็จ จึงถูกเรียกว่าเป็นการกุมการปกครองหลังม่านเหล็ก

    พระนางซูสีไทเฮา สตรีผู้ยึดครองอำนาจราชสำนักชิงอย่างเบ็ดเสร็จเป็นเวลา 47 ปีจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ไปเองโดยไม่มีใครสามารถโค่นล้มลงได้ผู้นี้นั้น เดิมนางเป็นบุตรีของนายทหารแมนจูชั้นผู้น้อย เกิดในตระกูลเยี่ยเฮ่อนาลา หรือเยโฮนาลา (叶赫那拉) ในปีค.ศ. 1835 และถวายตัวเข้าวังในเดือนพ.ค. ปีค.ศ. 1852 ด้วยอายุเพียง 16 ปี หลังจากนั้นเมื่อได้ให้กำเนิดพระโอรสและได้รับการแต่งตั้งเป็นสนมในปีค.ศ. 1856 เมื่อฮ่องเต้เสียนเฟิงสวรรคต พระนางได้สั่งประหารผู้สำเร็จราชการทั้ง 8 จนกุมอำนาจในราชสำนักด้วยพระชนม์เพียง 26 ปี

    ขบวนการเลียนแบบตะวันตก (洋务运动)

    หลังจากลงนามในสนธิสัญญาปักกิ่ง ได้ทำให้ราชสำนักจีนเริ่มตระหนักว่า บรรดาคนเถื่อนที่จีนเคยมองนั้น กลับกลายเป็นประเทศที่มีแสนยานุภาพทางกองทัพก้าวหน้ากว่าจีนเป็นอันมาก จึงทำให้เกิดความคิดที่ว่า การที่จะสร้างให้ชาติจีนเข้มแข็งขึ้น จำเป็นจะต้องสร้างแสนยานุภาพตามอย่างตะวันตกเท่านั้น

    อันที่จริงแนวความคิดดังกล่าว มีมาตั้งแต่สมัยวีรบุรุษปราบฝิ่นนามหลินเจ๋อสี่ว์ ที่ได้เคยชี้ว่าสิ่งที่ต้องเรียนรู้จากคนเถื่อนก็คือเรือที่เข้มแข็งกับปืนที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ เพียงแต่ไม่ได้ถูกนำมาใช้ จนกระทั่งได้ถูกนำเสนอขึ้นมาอีกครั้งจนเกิดเป็นขบวนการเลียนแบบตะวันตกขึ้นในช่วงปีค.ศ.1860-ค.ศ.1890 โดยมีกงชินหวัง อี้ซินเป็นแกนกลางในเมือง และในส่วนภูมิภาคได้แก่เจิงกั๋วฟาน(曾国藩) และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเขาอาทิหลี่หงจาง (李鸿章) ศิษย์ของเจิงกั๋วฟาน และลูกน้องของเจิงกั๋วฟานอย่าง จั่วจงถัง (左宗棠) และบัณฑิตจางจือต้ง (张之洞)

    ขบวนการเลียนอย่างตะวันตกมีแนวคิดสำคัญโดย มีการจัดตั้งสำนักงานราชการที่ใช้ติดต่อกับต่างประเทศโดยเฉพาะ เรียกว่า “จ๋งหลี่หยาเหมิน” (总理衙门) มีการปรับปรุงกองกำลังทหาร จัดซื้ออาวุธปืน จักตั้งหน่วยงานที่ฝึกใช้ปืน ตั้งกอทัพเรือเป่ยหยาง และกองทัพเรือฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) มีการตั้งโรงงานยุโธปกรณ์ที่เทียนจิน, เซี่ยงไฮ้ และนานกิง ในด้านการศึกษามีการตั้งโรงเรียนสอนภาษาต่างประเทศอย่าง ถงเหวินก่วน (同文馆)เพื่อเป็นโรงเรียนสอนภาษาและความรู้ต่างประเทศ ให้มาเป็นบุคลากรในการแปล ส่งนักเรียนไปศึกษาต่อต่างประเทศ และมีการเริ่มต้นทำอุตสาหกรรมเหมืองแร่ การต่อเรือพาณิชย์

    551000009681505.jpg

    ซุนยัตเซ็นในวัยหนุ่ม

    ในช่วงต่อมาหลังจากที่ญี่ปุ่นได้เริ่มพัฒนาประเทศตนเองจนเข้มแข็งขึ้น จึงได้อาศัยข้ออ้างที่ชาวเกาะริวกิวเรือแตกแล้วพลัดไปขึ้นเกาะไต้หวันแต่ถูกคนป่าในไต้หวันขณะนั้นฆ่าตาย จนในปีค.ศ.1872 ญี่ปุ่นได้บุกยึดริวกิว จากนั้นก็บุกต่อไปยังไต้หวัน สุดท้ายเหมือนญี่ปุ่นประกาศว่าเกาะริวกิวเป็นของตนทั้งหมดโดยที่ทางการแมนจูไม่ทำอะไร จึงได้สงบลงชั่วคราว

    ต่อมาเมื่อจีนตระหนักถึงความสำคัญของเรือรบ จึงได้มีความพยายามจัดตั้งกองทัพเรือทันสมัยขึ้น โดยจัดให้มีกองทัพเป่ยหยาง หรือกองกำลังเหนือ (北洋海军) กับกองทัพหนันหยาง หรือกองกำลังใต้ (南洋海军)กองทัพเรือกวางตุ้ง (广东海军) กองทัพเรือฮกเกี้ยน (福建海军) ซึ่งในขณะเริ่มจัดตั้งนั้นยังมีงบประมาณส่งถึงอยู่ดี แต่ในภายหลัง เนื่องจากพระนางซูสีไทเฮามักเบิกเงินมาใช้เพื่อบำรุงบำเรอส่วนพระองค์ โดยเบิกในนามของ “ทุนสร้างกองทัพเรือ” ทำให้เงินงบประมาณไปไม่ถึง ซูสีไทเฮาได้นำเงินไปสร้างพระราชวังฤดูร้อน ขึ้นแทนจากที่พระราชวังหยวนหมิงหยวนถูกเผาทำลายไป ยังไม่รวมถึงเงินที่นำไปใช้ในงานวันเกิดของพระนางที่มากถึง 2 ล้านตำลึง โดยงบประมาณที่ซูสีไทเฮานำไปใช้ส่วนตัวนั้นเท่ากับมีมากถึง 26 ล้านตำลึง

    ผลของการกระทำดังกล่าวได้ประจักษ์ชัดในสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่นที่ปะทะขึ้นอีกคราในกรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับเกาหลี กองทัพเรือเป่ยหยางของจีน ปะทะกับกองทัพเรือของญี่ปุ่นที่มีจำนวนเรือเท่าๆกัน แต่เรือของจีนกลับถูกจมลงทั้งหมด อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าความพยายามปฏิรูปกองทัพเรือทว่าถูกเบียดบังงบประมาณไปนั้น ได้ทำให้กองทัพเรือของจีนขาดความพร้อม และอ่อนแอมากเพียงใด

    ในช่วงเวลา 100 วันของการปฏิรูป คังโหย่วเหวยและพรรคพวกได้เสนอแนวความคิดในการปฏิรูปกฎหมายต่างๆ ทำให้กวงซี่ว์ได้ยกเลิกกฎหมายเก่า และประกาศใช้กฎหมายใหม่กว่า 100 ฉบับ ทว่าการปฏิรูปกฎหมายใหม่เหล่านี้ก็ถูกขัดขวางจากกลุ่มอำนาจเก่าอย่างรุนแรง โดยกฎหมายที่ประกาศใหม่นั้น ในช่วงครึ่งเดือนแรกของเดือนม.ย.จะเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐกิจ การทหาร การศึกษา ในขณะที่ครึ่งเดือนหลังของเดือนม.ย.จะเป็นกฎหมายก็จะเป็นกฎหมายที่ขยายไปถึงเรื่องการปกครอง โดยหลักๆเน้นที่การปลดข้าราชการ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานที่ซ้ำซ้อน อนุญาตให้ขุนนางใหญ่น้อยและประชาชนถวายฎีกา ทว่ากฎหมายใหม่เหล่านี้ นอกจากผู้ตรวจการมณฑลหูหนันที่นำไปปฏิบัติอย่างจริงจังแล้ว ที่เหลือส่วนใหญ่มักจะเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ส่วนหน่วยงานใหม่ๆที่มีการจัดตั้งขึ้นก็ถูกควบคุมด้วยอำนาจของฝ่ายอนุรักษ์ ทำให้กฎหมายใหม่เหล่านี้แทบไม่ได้มีผลในการปฏิบัติจริงนัก

    แต่แล้วความพยายามในการปฏิรูปกฎหมายนี้ ได้สร้างความไม่พอพระทัยให้กับพระนางซูสีไทเฮาอย่างยิ่ง เนื่องจากทรงรู้สึกว่าอำนาจของตนกำลังถูกสั่นคลอน ทำให้เริ่มต้นต่อต้านกลุ่มปฏิรูปที่นำโดยฮ่องเต้กวงซี่ว์ การต่อต้านจากซูสีไทเฮา ได้ทำให้กลุ่มปฏิรูปที่ไม่มีกำลังทหารในมือบังเกิดความตื่นตระหนก จึงได้หันไปขอความร่วมมือจากหยวนซื่อข่าย(袁世凯) ที่ดูแลกำลังทหารบก เพื่อมาต่อกรกับอำนาจของไทเฮา ทว่าเมื่อถึงวันที่ 1 ส.ค. กวงซี่ว์มีรับสั่งลับให้หยวนซื่อข่ายนำกำลังกำจัดซูสีไทเฮา ทว่าหยวน ข่ายกลับเป็นพวกนกสองหัว ทรยศต่อกลุ่มปฏิรูป ช่วยเหลือซูสีไทเฮาในการทำรัฐประหาร และจับกุมตัวกวงซี่ว์ไปกักบริเวณไว้ที่อิ๋งไถ ยกเลิกกฎหมายที่ประกาศทั้งหมด ยกเว้นกฎหมายการตั้งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง สั่งให้จับกุมตัวแทน 6 คนของกลุ่มปฏิรูป หรือที่ในประวัติศาสตร์ขนานนามว่า “6 วิญญูชนแห่งเหตุการณ์อู้ซีว์” ไปประหารประจานในตลาดกลางกรุงปักกิ่ง

    ภายหลังความปราชัยครั้งนี้ จีนจึงต้องขอเจรจาสงบศึก โดยส่งหลี่หงจางเดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อลงนามในสนธิสัญญาชิโมโนเซกิ ที่จีนต้องรับรองการปกครองตนเองของเกาหลี หรืออีกนัยหนึ่งก็คือยอมรับการปกครองของญี่ปุ่นเหนือเกาหลี อีกทั้งตกยกคาบสมุทรเหลียวตง ไต้หวัน หมู่เกาะเผิงหู (เพสคาดอเรส) ให้กับญี่ปุ่น อีกทั้งชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามเป็นเงิน 230 ล้านตำลึง เปิดเมืองท่าซาซื่อ ,ฉงชิ่ง,ซูโจว และหังโจวเป็นเมืองท่าพาณิชย์ อีกทั้งเมืองท่าของจีนยังจะต้องอนุญาตให้ญี่ปุ่นเข้ามาดำเนินการค้าขาย ประกอบอุตสาหกรรม หัตกรรมตามท่าเรือได้

    551000009681506.jpg

    สงครามฝิ่นครั้งที่ 2 ที่กวางเจา

    คลิกอ่านต่อหน้า 2

    551000009681507.jpg

    ครอบครัวชาวจีนในสมัยปลายราชวงศ์ชิง

    รัฐประหารอู้ซีว์ (戊戌政变)

    หลังจากจบสงครามจีนญี่ปุ่น หรือที่เรียกตามชื่อปีว่าสงคราม “เจี๋ยอู่” จนจีนต้องลงนามในสัญญาชิโมโนเซกิแล้ว นับว่าเป็นช่วงเวลาที่ระบบทุนนิยมของต่างชาติเริ่มรุกล้ำเข้ามาในจีนจนสร้างความกังวลพระทัยกับฮ่องเต้กวงซี่ว์ เป็นอย่างยิ่ง

    กระทั่งปีค.ศ. 1898 หรือในรัชกาลฮ่องเต้กวงซี่ว์ปีที่ 24 หลังจากที่ได้รับฎีกาจากหยางเซินซิ่ว, สีว์จื้อจิ้งและคังโหย่วเหวย (康有为) ทำให้ทรงตัดสินพระทัยว่าจะต้องมีการปฏิรูปกฎหมาย ดังนั้นในวันที่ 28 เม.ย. ปีเดียวกันจึงมีรับสั่งให้คัง โหย่วเหวยเข้าเฝ้าเพื่อสอบถามแผนการและรายละเอียดที่เป็นรูปธรรม ซึ่งในภายหลังยังทรงให้สิทธิในการถวายฎีกาโดยตรงกับคัง โหย่วเหวยอีกด้วย



    551000009681508.jpg

    แจกันที่สร้างในราชวงศ์ชิง

    ขบวนการอี้เหอถวน – ศึกพันธมิตรแปดชาติ

    กลุ่มอี้เหอถวนถือกำเนิดมาจากสำนักมวยอี้เหอในอำเภอชิงผิง มณฑลซันตง ในสมัยนั้น กลุ่มชาวต่างชาติที่สามารถเข้าถึงแผ่นดินชั้นในของจีนได้จะมีแต่กลุ่มมิชชันนารี และผู้เผยแพร่ศาสนา ซึ่งนับวันจะยิ่งแผ่ขยายกว้างขวางมากขึ้นเรื่อยๆ บวกกับปัญหาความขัดแย้งทางความคิดและอุดมการณ์ ซึ่งบรรดผู้เข้ามาสอนศาสนาชาวต่างชาติได้สอนมิให้นับถือกราบไหว้บุพการีและกษัตริย์ ทำให้บรรดาสตรีที่เข้านับถือศาสนาก็จะถูกมองเป็นพวกนอกรีตไปด้วย ความไม่พอใจในชาวต่างชาติหลายๆประการ ได้ผลักดันให้สำนักมวยอี้เหอ ได้ลุกฮือขึ้นในการทำลายโบสถ์ และต่อต้านศาสนาชาวต่างชาติ ในปีค.ส. 1898 และแผ่นขยายตัวอออกไปอย่างรวดเร็ว

    ทว่าหากขบวนการอี้เหอถวนเป็นเพียงกลุ่มกำลังที่ระบายความไม่พอใจของประชาชน ก็คงไม่จะสามารถก่อความเสียหายอะไรได้มากนัก ทว่าในภายหลังขบวนการอี้เหอถวนกลับกลายเข้ามาเป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการเมือง จึงทำให้เรื่องราวบานปลายยิ่งขึ้น

    ในเวลานั้น ประจวบกับเป็นช่วงเวลาแห่งความล้มเหลวของการปฏิรูปปีอู้ซีว์ ในเวลานั้นแท้จริงแล้วพระนางซูสีไทเฮาทรงไม่พอพระทัยถึงขั้นที่จะตั้งฮ่องเต้พระองค์ใหม่ ทว่าติดขัดที่บรรดาทูตานุทูตจากนานาประเทศกลับชื่นชอบในความเปิดกว้างของกวงซี่ว์ จึงได้รวมตัวกันคัดค้าน ทำให้ซูสีไทเฮาได้แต่กักตัวพระองค์เองไว้ ในเวลานั้นตวนอ๋อง ได้เข้ามาทูลเสนอว่าขณะนี้มีกลุ่มอี้เหอถวน ที่มีความสามารถฟันแทงไม่เข้า ไม่เกรงกลัวต่อปืนหรือปืนใหญ่ของต่างชาติ ทำให้มีขุนนางหลายคนที่สนับสนุนให้ใช้กลุ่มอี้เหอถวนเพื่อมาต่อกรกับต่างชาติ การเข่นฆ่าชาวต่างชาติและชาวจีนที่นับถือศาสนาได้กระจายไปทั่ว มีชาวต่างชาติที่ถูกฆ่า 241 คน และชาวจีนที่นับถือศาสนาต่างชาติอีกกว่า 23,000 คนในฤดูร้อนของปีเดียว
    551000009681509.jpg

    8 ทัพพันธมิตรรุกสู่ปักกิ่ง

    ต่อมาทางการจีนได้ประกาศยอมรับกลุ่มอี้เหอถวน ให้เป็นองค์กรที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยกลุ่มอี้เหอถวนเองก็ประกาศว่าจะประคับประคองราชวงศ์ชิง และกำจัดต่างชาติ เมื่อถึงปีค.ศ. 1900 ซูสีไทเฮาได้ตัดสินใจประกาศสงครามกับต่างชาติ และรับสั่งให้ทหารร่วมกับกลุ่มอี้เหอถวนบุกโจมตีสถานทูตนานาชาติในปักกิ่ง ทำให้อังกฤษ สหรัฐฯ เยอรมนี ฝรั่งเศส รัสเซีย ญี่ปุ่น อิตาลี และออสเตรียได้รวมกำลังเป็นพันธมิตรแปดชาติ เข้าตอบโต้จีน กลุ่มขบวนการอี้เหอถวนที่เคยบอกว่าฟันแทงไม่เข้านั้น เมื่อทหารพันธมิตรมาถึง กลับยังไม่รู้ตัว ยังทำการเผาโบสถ์ เข่นฆ่านักเผยแพร่ศาสนาอยู่ สุดท้ายจึงถูกทหารพันธมิตรแปดชาติทำลายจนราบคาบ

    ฝ่ายพระนางซูสีไทเฮาเมื่อทรงทราบว่าทหารต่างชาติบุกถึงปักกิ่ง จึงทรงนำตัวฮ่องเต้กวงซี่ว์ ราชนิกูล ขันที และขุนนางจำนวนหนึ่งปลอมตัวแล้วเดินทางหลบหนีไปยังซีอัน โดยมอบอำนาจเต็มให้กับหลี่หงจาง ในการเจรจากับกองทัพพันธมิตร เพื่อขอสงบศึกกับประเทศพันธมิตร รัฐบาลชิงจึงทรยศกลุ่มอี้เหอถวน ด้วยการประกาศว่ากลุ่มนี้เป็นสำนักโจร และให้ทหารชิงร่วมมือกับกองทัพพันธมิตรเข่นฆ่า โดยก่อนที่จะเจรจาลุล่วงก็มีการเนรเทศตวนอ๋อง และประหารแกนนำทั้งหลายของขบวนการอี้เหอถวน เพื่อเป็นแพะรับบาปให้ต่างชาติได้ดู

    ในปีต่อมาหลังพันธมิตรแปดชาติได้ยึดครองปักกิ่ง ในที่สุดก็มีการลงนามในสนธิสัญญาซินโฉ่ว กับ 8 ประเทศพันธมิตรและอีก 3 ประเทศได้แก่เนเธอร์แลนด์ สเปน เบลเยียม โดยมีสาระสำคัญคือจีนจะต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามเป็นเงินทั้งสิ้น 450 ล้านตำลึง ซึ่งเป็นจำนวนที่เท่ากับประชากรจีนในขณะนั้น โดยให้แบ่งจ่ายพร้อมดอกเบี้ย ซึ่งรวมแล้วเกือบ 1,000 ล้านตำลึง และชำระให้หมดสิ้นภายในปีค.ศ. 1940 นอกจากนั้นยังให้รื้อป้อมปืนใหญ่ที่ต้ากู และตลอดเส้นทางระหว่างปักกิ่งถึงเทียนจิน พร้อมให้ทหารตะวันตกหลายประเทศเข้ามาตั้งที่ปักกิ่ง เทียนจิน และซันไห่กวน และเงื่อนไขปลีกย่อยอีกมากมายอาทิ จีนจะต้องหยุดการนำเข้าอาวุธสงคราม 2 ปี ส่งขุนนางใหญ่ไปเพื่อทำการขอขมาที่ญี่ปุ่นในกรณีทำให้ทูตญี่ปุ่นต้องเสียชีวิต และในอนาคตจีนจะต้องลงโทษบุคคลหรือองค์กรที่ต่อต้านต่างชาติเป็นต้น และภายหลังลงนามแล้ว ซูสีไทเฮา ฮ่องเต้กวงซี่ว์และคณะที่ลี้ภัยจึงได้เดินทางกลับมายังปักกิ่งในปีค.ศ. 1902

    551000009681510.jpg

    8 ทัพพันธมิตรเมื่อบุกเข้าสู่พระราชวัง

    ไม่ว่ากบฏอี้เหอถวน หรือกลุ่มที่ถูกเรียกว่ากบฏนักมวยนี้จะมีบทลงเอยที่เป็นโศกนาฏกรรมเพียงใด แต่ฌอง เชนโนซ์ (jean Chesneaux) นักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศสก็ได้มองว่า “ในโลกสมัยศตวรรษที่ 20 นั้น ขบวนการอี้เหอถวนถือเป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวต่อต้านลัทธิล่าอาณานิคมเป็นขบวนการแรก พวกเขาได้แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของลัทธิชาตินิยมของจีน และเมื่อเผชิญหน้ากับการต่อสู้อันทรหดและเหี้ยมหาญของพวกเขา มหาอำนาจตะวันตกทั้งหลายก็ต้องยอมละทิ้งความตั้งใจเดิมที่จะแบ่งแผ่นดินจีนออกเป็นเสี่ยงๆ”

    ปฏิวัติสาธารณรัฐ

    ตั้งแต่สงครามฝิ่น เรื่อยมาจนถึงหลังแปดชาติพันธมิตรเข้ารุกรานจีน ได้ทำให้สถานภาพของประเทศจีนในขณะนั้นมีสภาพกึ่งเมืองขึ้น รัฐบาลจีนก้าวเข้าสู่สภาพฟอนเฟะและไร้สมรรถภาพ จนทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนต่างทุกข์ร้อนไปทั่วทุกหัวระแหง ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ซุนจงซัน (孙中山) หรือซุนยัตเซ็น (孙逸仙) ก็ได้ลุกขึ้นมาแล้วเลือกเส้นทางที่จะผลักดันการปฏิวัติ เพื่อล้มล้างอำนาจของราชวงศ์ชิง

    ซุนจงซัน ถือกำเนิดในมณฑลกวางตุ้ง และได้เดินทางติดตามมารดาไปยังฮาวาย ทำให้ได้เห็นความยอดเยี่ยมของเรือกลไฟ และความยิ่งใหญ่ของมหาสมุทร การเดินทางครั้งนั้นทำให้ซุนได้รับการศึกษาสมัยใหม่ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ ประวัติศาสตร์อังกฤษ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ภายหลังได้เดินทางไปยังฮ่องกง และได้เข้าศึกษาจนจบวิชาการแพทย์ จากนั้นก็ได้เปิดรักษาคนในมาเก๊า และกวางตุ้ง

    ในระยะแรกซุนเองก็ไม่ได้กล่าวถึงการปฏิวัติ กระทั่งในปีค.ศ. 1894 ได้ทดลองส่งหนังสือให้กับหลี่หงจาง ซึ่งในนั้นได้มีการเสนอรูปแบบการปฏิรูปในหลายประการ ทว่าหนังสือดังกล่าวถูกหลี่หงจางปฏิเสธ ด้วยความผิดหวัง ทำให้ซุนได้ไปจัดตั้งสมาคมซิงจงที่ฮ่องกง ผลักดัน “การขับไล่อนารยชน ฟื้นฟูประเทศจีน สร้างรัฐบาลแห่งมหาชนขึ้น”
    ในปีค.ศ. 1905 ซึ่งตรงกับรัชกาลของฮ่องเต้กวงซี่ว์ปีที่ 30 มีการจัดประชุมขึ้นที่โตเกียว และในที่ประชุมนั้นซุนได้เสนอให้มีการจัดตั้งสมาพันธ์เพื่อการปฏิวัติขึ้น โพยหลังจากการปรึกษาหารือ ในที่สุดสมาพันธ์ถงเหมิงก็ได้ถือกำเนิดขึ้น

    551000009681512.jpg

    ซุนยัตเซ็น

    STRONG>นอกจากนั้นซุนยังได้เสนอหลัก 3 ประการแห่งประชาชน หรือที่เราเรียกกันว่า ลัทธิไตรราษฎร์ (三民主义)ซึ่ง มีหลักการสำคัญได้แก่ ประชาชาติ หรือ การล้มล้างอำนาจการปกครองของราชวงศ์แมนจู ให้ทุกชนชาติในจีนมีสิทธิอันเท่าเทียมกัน หลักประชาสิทธิ คือให้ประชาชนมีสิทธิ มีอำนาจตรงในการปกครองตนเอง และหลักประชาชีพ คือให้มีความเสมอภาคในกรรมสิทธิ์ที่ดินและทางสังคม

    การถือกำเนิดสมาพันธ์ถงเหมิง ที่ได้จับอาวุธลุกขึ้นต่อสู้กับราชสำนัก ถือเป็นการสั่นคลอนฐานะผู้ปกครองอย่างราชสำนักชิงเป็นอย่างยิ่ง จนกระทั่งเดือนเม.ย.ปีค.ศ. 1911ที่มีการลุกฮือขึ้นที่เนินดอกไม้เหลือง (黄花岗)ในกวางเจา มีบุคคลสำคัญและสมาชิกพันธ์ล้มตายเป็นจำนวนมาก มีการเก็บรวบรวมศพ 72 ศพไปฝังรวมไว้ โดยในประวัติศาสตร์ได้เรียกขานเป็น 72 วีรบุรุษ ณ เนินดอกไม้เหลือง อย่างไรก็ตามแม้ว่าการลุกฮือครั้งนี้จะประสบความล้มเหลว แต่เลือดเนื้อและชีวิตของวีรชนเหล่านี้ก็ได้ปลุกกระแสให้มีการล้มล้างราชวงศ์ชิงที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น

    <ฮ่องเต้องค์สุดท้าย - อวสานราชวงศ์ชิง

    ระหว่างนั้น ในปีค.ศ.1908 ตรงกับรัชกาลฮ่องเต้กวงซี่ว์ปีที่ 34 ฮ่องเต้กวงซี่ว์ได้เปิดประชาวรอย่างหนัก จนในเดือนต.ค.ราชสำนักชิงต้องมีราชโองการแต่งตั้งให้ไจ้เฟิง เป็นผู้สำเร็จราชการ กระทั่งถึงวันที่ 21 เดือนต.ค. ในที่สุดฮ่องเต้กวงซี่ว์ก็เสด็จสวรรคต

    พระนางซูสีไทเฮาได้มีราชโองการแต่งตั้งบุตรของไจ้เฟิงนามอ้ายซินเจี๋ยว์หลอ ผู่อี๋ (溥仪) หรือปูยีที่มีพระชนม์พรรษาเพียง 3 ปีขึ้นครองราชย์ มีชื่อรัชการว่าเซวียนถ่ง (宣统) แต่เนื่องจากที่พระองค์เป็นฮ่องเต้คนสุดท้ายในยุคราชวงศ์ของจีน ดังนั้นจึงมักถูกขนานนามว่าฮ่องเต้องค์สุดท้าย หรือจักรพรรดิองค์สุดท้าย ในขณะที่ซูสีไทเฮาเอง ก็ได้สวรรคตในเวลาเพียงไม่กี่วันหลังมีราชโองการแต่งตั้งผู่อี๋

    551000009681511.jpg

    ฮ่องเต้พระองค์สุดท้ายของจีน

    ในช่วงเวลาที่ผู่อี๋ได้ครองราชย์ไม่ถึง 3 ปี หลังยุทธการเนินดอกไม้เหลืองแล้ว กลุ่มผู้นำสมาพันธ์ถงเหมิงได้ตัดสินใจย้ายศูนย์กลางการปฏิวัติไปยังเขตลุ่มน้ำแยงซีเกียง ในวันที่ 10 ต.ค. ได้เกิดสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงขึ้นที่อู่ชัง ทำให้กองทัพปฏิวัติที่นั่นจำเป็นต้องลุกขึ้นก่อการก่อนเวลาที่กำหนด บุกเข้ายึดเมืองอู่ชัง จากนั้นในวันถัดมากลุ่มปฏิวัติในฮั่นหยาง และฮั่นโข่วที่ได้ข่าวก็ได้ลุกขึ้นยึดเมืองทั้งสอง จนกระทั่งกลุ่มปฏิวัติสามารถควบคุมเมืองทั้งสามในอู่ฮั่นได้จนหมดสิ้น

    การลุกฮือที่ประสบความสำเร็จในอู่ชัง ได้ปลุกกระแสการล้มล้างราชวงศ์ชิงให้ยิ่งขว้างขวางออกไป และส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ของราชสำนักต้าชิงเป็นอย่างยิ่ง จนกระทั่งในลำดับต่อมา ได้มีการจัดทั้งรัฐบาลทหารหูเป่ย และปรกาศเอกราชขึ้น หลังจากนั้นหูหนัน ส่านซี ซันซี หยุนหนัน เจียงซี กุ้ยโจว เจียงซู กว่างซี อันฮุย ฝูเจี้ยน กว่างตง ซื่อชวนก็ได้ทยอยกันประกาศเองราช ล้มล้างราชวงศ์ชิง ซึ่งประวัติศาสตร์ได้เรียกการปฏิวัตินี้ว่าการปฏิวัติซินไฮ่ (辛亥革命) ตามปีที่เกิดเหตุการณ์ขึ้น

    เมื่อถึงเดือนม.ค. ปีค.ศ. 1912 สมาคมถงเหมิงได้ประชุมหารือกันที่นานกิง และจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวขึ้น และตั้งชื่อประเทศเป็น สาธารณรัฐจีน (中华民国) จากนั้นในเดือนถัดมาก็ได้บีบให้ฮ่องเต้ของราชวงศ์ชิงลงจากตำแหน่ง นับว่าเป็นการเปิดศักราชหน้าใหม่ของแผ่นดินมังกร และถือเป็นจุดจบของราชวงศ์ชิงที่มีอายุกว่า 200 ปี และเป็นการปิดฉากการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชกว่า 2,000 ปีของจีนลง

    ส่วนผู่อี๋ หรือปูยี หลังจากที่สละราชสมบัติแล้ว ในปีค.ศ. 1917 ภายใต้ความพยายามของจางซวิน (张勋) ที่ผลักดันทำการปฏิวัติและประกาศฟื้นคืนราชวงศ์ชิงขึ้นมาใหม่ โดยยกให้ผู่อี๋กลับมาเป็นฮ่องเต้อีกครั้ง ทว่าเหตุการณ์ดังกล่าว ได้ถูกการรวมตัวต่อต้านจากทุกฝ่าย ท่ามกลางสถานการณ์และแรงกดดัน ทำให้อีก 12 วันให้หลังก็จำต้องประกาศยอมแพ้ และทำให้ผู่อี๋ต้องหลุดจากราชบัลลังก์อีกครั้ง

    เมื่อมาถึงปีค.ศ. 1924 กองทัพของเฝิงอี้ว์เสียง (冯玉祥) ได้ปิดล้อมพระราชวังต้องห้าม พร้อมหันปากกระบอกปืนใหญ่เข้ามาในวัง แล้วบังคับให้ผู่อี๋ลงนามยกเลิกการเรียกเป็นฮ่องเต้ และกำหนดเวลาให้ออกไปภายในเวลา 2 วัน จากนั้นจึงได้อาศัยความสัมพันธ์ที่มีกับชาวญี่ปุ่น ช่วยให้ปลอมตัวเป็นพ่อค้า แล้วหลบไปพักอยู่ที่จางหยวน กับจิ้งหยวน

    ปีค.ศ. 1931 หลังจากที่ญี่ปุ่นได้บุกยึดพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ได้ตั้งประเทศแมนจูกั๋ว (满洲国) ขึ้น จากนั้นก็ได้ลอบนำตัวผู่อี๋ไปยังแมนจู โดยผู่อี๋ยอมให้ความร่วมมือ และรับการแต่งตั้งให้เป็นฮ่องเต้ อย่างเป็นทางการในปีค.ศ. 1934

    กระทั่งญี่ปุ่นพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศแมนจูกั๋วก็ถูกล้มล้างไป และในปีค.ศ. 1945 ขณะที่ทาหารญี่ปุ่นได้นำตัวผู่อี๋มายังสนามบินเสิ่นหยางเพื่อเดินทางกลับญี่ปุ่น ก็ถูกทหารของรัสเซียจับตัวไป แต่ก็ได้รับการดูแลจากทางรัสเซียเป็นอย่างดี จนถึงกับเคยเขียนหนังสือแสดงความจำนงต้องการอยู่ในรัสเซียตลอดชีวิตอยู่หลายครั้ง

    ปีค.ศ. 1950 ผู่อี๋และนักโทษจากสงครามแมนจูกั๋วถูกส่งตัวกลับมาให้กลับรัฐบาลจีน และถูกกุมขังอยู่ร่วมกับนักโทษอื่นๆในสถานควบคุมที่ฮาร์บิน ใช้ชีวิตในฐานะนักโทษรหัสหมายเลข 981 เป็นเวลาเกือบ 10 ปี กระทั่งได้รับการนิรโทษกรรมในวันที่ 4 ธ.ค. 1959 กลายเป็นหนึ่งในประชาชนธรรมดาคนหนึ่งของจีน จนกระทั่งเสียชีวิตที่ปักกิ่งในปีค.ศ. 1967 ในขณะที่มีอายุรวม 61 ปี จึงถือเป็นอันจบสิ้นของฮ่องเต้องค์สุดท้ายแห่งแผ่นดินมังกร

    551000009681513.jpg

    แผนที่ราชวงศ์ชิง

    https://mgronline.com/china/detail/9510000089856
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,299
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สาธารณรัฐจีน / ธารประวัติศาสตร์
    เผยแพร่: 1 ต.ค. 2551 19:18 โดย: MGR Online
    551000011964701.jpg

    (ซ้าย) หยวนซื่อไข่ กับ (ขวา) ซุนยัตเซ็น บนธงสาธารณรัฐจีนในยุคต้น

    ภายหลังเหตุการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่อู่ชัง กระแสแห่งการปฏิวัติได้ลุกโชนลามเลียไปทั่วแผ่นดินจีน หลังจากที่กลุ่มปฏิวัติสามารถยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ ก็ได้เตรียมที่จะจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวเพื่อจัดสรรอำนาจปกครองอย่างเป็นทางการขึ้น

    ระหว่างการจัดตั้งกองกำลังแต่ละกลุ่มต่างเกิดความขัดแย้งกันอย่างหนัก ในการคัดสรรบุคคลที่จะก้าวเข้ามาเป็นผู้นำรัฐบาลชั่วคราว จนการจัดตั้งรัฐบาลต้องล่าช้าออกไป หน่วยงานกลางของสมาพันธ์ถงเหมิงที่อู่ฮั่นกับเซี่ยงไฮ้จึงได้ส่งโทรเลขไปยังกลุ่มปฏิวัติในแต่ละมณฑลเพื่อให้ส่งตัวแทนเข้ามาหารือในการจัดตั้งรัฐบาลกลาง

    551000011964702.jpg

    เครื่องแต่งกายที่แตกต่างในยุคสาธารณรัฐจีน

    ช่วงเวลานั้นประจวบกับซุนยัตเซ็นได้กลับมายังมายังประเทศจีนพอดี ทำให้การหารือของตัวแทน 17 มณฑลในวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ.1911 ได้มีการคัดเลือกเลือกให้ซุนจงซัน (孙中山)หรือซุนยัตเซ็นเป็นประธานาธิบดีชั่วคราว และกำหนดชื่อของประเทศเป็นสาธารณรัฐจีน (中华民国)

    จากนั้นในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1912 ซุนยัตเซ็นจึงได้เข้าพิธีรับตำแหน่งประธานาธิบดีชั่วคราวคนแรกของสาธารณรัฐจีน และเมื่อถึงวันที่ 3 มกราคม จึงได้มีการเลือกด้วยมติเอกฉันท์จากตัวแทน 17 คนให้หลีหยวนหง (黎元洪) เป็นรองประธานาธิบดี ตัดสินใจใช้ธง 5 สีเป็นธงประจำชาติ และใช้ธงที่มีดาว 18 ดวงเป็นธงประจำกองทัพบก และธงฟ้าครามอาทิตย์น้ำเงินเป็นธงกองทัพเรือ

    รัฐบาลใหม่ได้เลือกให้เมืองนานกิง เป็นเมืองหลวงชั่วคราว ส่วนตัวแทนจากมณฑลต่างๆก็ได้แปรสภาพมาเป็นสภานิติบัญญัติชั่วคราว มีการผ่านร่างรัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐจีนขึ้น อีกทั้งมีการประกาศกฎหมายใหม่ๆเป็นจำนวนมาก มีการประกาศให้ประชาชนทุกคนมีฐานะเท่าเทียมกัน มีสิทธิในการเข้ารับการเลือกตั้ง พักอาศัย นับถือศาสนา ชุมนุม วิพากษ์วิจารณ์ และเผยแพร่ความคิดของตนได้อย่างอิสระ จากนั้นได้ยกเลิกการเก็บภาษีการเกษตรแบบรีดนาทาเร้นของราชวงศ์ชิง สนับสนุนให้ชาวจีนโพ้นทะเลกลับมาลงทุนในประเทศ ด้านการศึกษามีการสอนในเรื่องของอิสรเสรีความเสมอภาค สนับสนุนให้โรงเรียนมีทั้งชายและหญิง ยกเลิกคำเรียกขานแบ่งชนชั้นในอดีตเช่น “ใต้เท้า” “นายท่าน” และให้หญิงชายทุกคนตัดผมเปียทิ้ง หญิงห้ามมัดเท้า และห้ามไม่ให้ประชาชนเล่นการพนัน สูบฝิ่น หรือเพาะปลูกฝิ่น

    [​IMG]

    หยวนซื่อไข่

    ทว่าหลังสาธารณรัฐจีนได้ถูกสถาปนาขึ้นไม่นานก็ต้องพบกับแรงกดดันจากกลุ่มต่อต้านหลายกลุ่มที่ร่วมมือกัน โดยเฉพาะหยวนซื่อไข่ (袁世凯) ที่ใช้ทั้งกำลังกองทัพและการหลอกลวงทางการเมือง บีบให้คณะปฏิวัติต้องยอมส่งมอบอำนาจรัฐให้กับหยวนซื่อไข่

    ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1912 ฮ่องเต้ผู่อี๋ได้ประกาศสละราชสมบัติ ต่อมาในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ดร.ซุนยัตเซ็น ประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีต่อสภานิติบัญญัติ และทางสภาได้เลือกให้หยวนซื่อไข่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีชั่วคราวคนที่ 2 ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์

    แม้ว่าหยวนซื่อไข่ จะสามารถแย่งชิงผลประโยชน์อันเกิดจากการปฏิวัติไปได้แต่เขาก็ยังมิได้พอใจ ยังคงฝันหวานอยากจะเป็น “ฮ่องเต้” อยู่ ดังนั้นเมื่อมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญขึ้นในวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ.1913 เนื่องจากรัฐธรรมนูญใหม่ได้กำหนดว่าผู้ที่จะมาเป็นประธานาธิบดีจะต้องได้เสียง 3 ใน 4 ทำให้หยวนซื่อไข่ส่งกำลังทหาร เข้าล้อมสภาฯ หลังจากการโหวต 2 ครั้งที่หยวนไม่ได้รับตำแหน่ง เขาจึงตัดสินใจใช้กำลังบีบให้สภาฯเลือกตนเองเป็นประธานาธิบดี และเข้าดำรงตำแหน่งในวันที่ 10 ตุลาคม

    หลังจากนั้น หยวนได้ทำการยุบพรรคก๊กมินตั๋ง และสภาฯ จากนั้นได้ฉีกรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว แล้วจัดทำรัฐธรรมนูญที่ถูกเรียกขานเป็นฉบับหยวนซื่อไข่ขึ้น แล้วรวบอำนาจทางการทหารทั้งหมดมาไว้ที่ตน ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้หยวนสามารถเป็นประธานาธิบดีได้คราวละ 10 ปีไม่จำกัดวาระ ยังสามารถที่จะเลือดผู้สืบทอดได้เองอีกด้วย

    แม้ว่าอำนาจของหยวนในขณะนั้น จะแทบไม่ต่างไปจากระบอบกษัตริย์แล้วก็ตาม ทว่าเดือนธันวาคมปีค.ศ. 1915 หยวนซื่อข่ายได้อ้างการเรียกร้องของประชาชน ในการประกาศฟื้นฟูระบบการปกครองระบอบกษัตริย์ขึ้น และตั้งชื่อปีรัชกาลของตนว่าหงเสี้ยน (洪宪) ทว่าการกระทำดังกล่าวไม่เพียงแต่ถูกต่อต้านอย่างรุนแรงจากซุนจงซันกับเหลียงฉี่เชา แม้แต่ต้วนฉีรุ่ย (段祺瑞) และเฝิงกั๋วจาง (冯国璋)ผู้นำกองทัพเป่ยหยางเองก็มีความไม่พอใจ จนกระทั่งวันที่ 25 ธันวาคมเช่อเอ้อ (蔡锷) และถังจี้เหยา (唐继尧) ได้ก่อตั้งกองทัพปฏิวัติขึ้นที่หยุนหนัน (ยูนนาน) โดยเริ่มต้นเปิดฉากสงครามพิทักษ์ชาติโจมตีหยวนซื่อข่าย โดยมีกุ้ยโจว กว่างซีที่ให้การสนับสนุน ในกองทัพเป่ยหยางเองก็ส่งสัญญาณต่อต้านมาไม่น้อย ทำให้ในที่สุดหยวนซื่อไข่จึงถูกบีบให้ยกเลิกระบอบกษัตริย์ในวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ.1916 หลังจากที่เพิ่งสถาปนามาได้เพียง 83 วัน และกลับมาใช้ชื่อสาธารณรัฐจีน

    551000011964705.jpg

    ธนบัตรที่พิมพ์รูปของขงจื่อ

    ภายหลังได้มีการแต่งตั้งให้ต้วนฉีรุ่ยให้จัดตั้งคณะรัฐบาลพร้อมควบตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ในขณะที่ต้วนเองก็บีบให้หยวนต้องส่งมอบอำนาจของกองทัพให้กับตน แต่หลังจากนั้นกว่างตง เจ้อเจียง ส่านซี หูหนัน และซื่อชวน (เสฉวน) กลับได้ส่งโทรเลขประกาศตัวเป็นอิสระไม่ยอมขึ้นกับหยวนซื่อไข่อีกต่อไป กระทั่งวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1916 หยวนได้ป่วยตายด้วยโรคปัสสาวะเป็นพิษ และเสียชีวิตด้วยวัย 57 ปี

    ขบวนการ 4 พฤษภาคม



    หลังจากที่หยวนซื่อไข่ตายไปท่ามกลางเสียงก่นด่าของผู้คน หลีหยวนหงก็ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อ โดยมีต้วนฉีรุ่ยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทว่าในช่วงเวลานั้นได้เกิดความขัดแย้งขึ้นในกองทัพ ทำให้มีการเปลี่ยนตัวประธานาธิบดีกันบ่อยครั้ง โดยในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ.1917 ได้มีการแต่งตั้งให้เฝิงกั๋วจาง มาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีปักกิ่ง พอมาถึงวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 1918 ก็แต่งตั้งสีว์ซื่อชัง(徐士昌)เป็นประธานาธิบดี กระทั่งในเที่ยงวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ.1919 ขณะที่สีว์ซื่อชัง กำลังจัดงานเลี้ยงอยู่ที่ทำเนียบประธานาธิบดีในจงหนันไห่ ก็เป็นช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ที่นักประวัติศาสตร์เรียกว่าขบวนการ 4 พฤษภาคมขึ้น

    โดยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ตั้งแต่ปีค.ศ.1914 ญี่ปุ่นได้ประกาศสงครามกับเยอรมนี แล้วบุกยึดเกาะชิงเต่าและเส้นทางรถไฟเจียวจี้ไว้ตลอดทั้งสาย ควบคุมและแย่งชิงสิทธิทุกอย่างของเยอรมนีในมณฑลซันตงเอาไว้ กระทั่งในปีค.ศ. 1918 เมื่อสงครามโลกสิ้นสุด เยอรมนีพ่ายแพ้สงคราม ประเทศที่ชนะสงครามจึงได้ชัดเจรจาสันติภาพขึ้นในวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1919 ขึ้นที่ปารีส รัฐบาลปักกิ่งกับรัฐบาลทหารที่กว่างโจวได้ร่วมกันส่งตัวแทนไปประชุม และได้ยื่นข้อเสนอให้ยกเลิกสิทธิพิเศษของประเทศต่างๆในจีน รวมถึงยกเลิกสัญญาอยุติธรรมที่หยวนซื่อไข่ได้ทำไว้กับญี่ปุ่น อีกทั้งคืนสิทธิพิเศษต่างๆในมณฑลซันตงที่ญี่ปุ่นได้ชิงมาจากเยอรมนี แต่เนื่องจากการประชุมในปารีสนั้นอยู่ภายใต้อิทธิพลของมหาอำนาจ ข้อเรียกร้องของจีนจึงไม่เพียงแต่ถูกปฏิเสธ แถมได้ระบุให้ยกเอาสิทธิพิเศษของเยอรมนีในซันตงโอนถ่ายมาให้กับญี่ปุ่น ทำให้ในขณะที่รัฐบาลปักกิ่งกำลังเตรียมจะลงนามในสนธิสัญญานั้น ประชาชนชาวจีนจึงลุกขึ้นมาประท้วงต่อต้านอย่างรุนแรง
    551000011964706.jpg

    นักศึกษาและประชาชนออกมาประท้วงในช่วงเหตุการณ์ขบวนการ 4 พฤษภาคม

    ในวันที่ 4 พฤษภาคม นักศึกษาจาก 13 สถาบันการศึกษาอย่างมหาวิทยาลัยปักกิ่ง มัธยมปักกิ่ง มหาวิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยเฉาหยาง มหาวิทยาลัยหมินกั๋ว ราว 3,000 คนได้ไปรวมตัวที่บริเวณจัตุรัสเทียนอันเหมิน แล้วร้องตะโกนว่า “ภายนอกชิงอธิปไตยชาติ ภายในปราบโจรแผ่นดิน” “ปฏิเสธการลงนามในสนธิสัญญา” “ยกเลิกสัญญา 21 ข้อ” “แม้ตายก็ขอเอาเกาะชิงเต่าคืน” โดยเป็นการแสดงให้เห็นถึงการยืนยันที่จะต่อต้านและขอให้ลงโทษเฉาหรู่หลิน (曹汝霖) ที่ถูกมองว่าเป็นกลุ่มขายชาติให้กับญี่ปุ่น โดยในครั้งนักศึกษาที่รักชาติได้พากันออกมาเดินขบวน แต่ก็ถูกทหารตำรวจกลุ่มใหญ่ทำการควบคุม และจับกุมตัวนักศึกษาไป 32 คน

    วันต่อมานักศึกษาจากวิทยาลัยและมหาวิทายาลัยต่างทำการประท้วงหยุดเรียน และส่งข่าวการต่อต้านไปยังทั่วประเทศ แล้วจัดทั้งกลุ่มสมาพันธ์นักศึกษาขึ้น โดยการออกมาประท้วงของนักศึกษาในครั้งนี้ได้รับความสนใจและสนับสนุนจากผู้คนอย่างกว้างขวาง ในการช่วยกันกดดันให้รัฐบาลปักกิ่งทำการปล่อยตัวผู้ที่ถูกจับกุม

    วันที่ 19 นักศึกษาในปักกิ่งได้เริ่มต้นประกาศหยุดเรียนอีกครั้ง คราวนี้นักเรียนนักศึกษาในเทียนจิน เซี่ยงไฮ้ ฉางซา กว่างโจว ต่างก็ออกมาร่มเดินขบวน ในขณะที่นักศึกษาจีนที่ไปเรียนต่อในญี่ปุ่น ฝรั่งเศสก็เริ่มดำเนินกิจการสนับสนุนการประท้วง

    ต่อมาในวันที่ 1 มิถุนายน รัฐบาลปักกิ่งจำต้องออกมาประณามกลุ่มคนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกขายชาติ เพื่อที่จะยับยั้งกิจกรรมการประท้วงต่างๆ ทว่าหลังจากนั้นอีก 2 วันนักเรียนนักศึกษาก็ยังเดินหน้าออกกล่าวปราศรัย จนกระทั่งมีนักเรียนถูกจับไป 170 คน และถูกจับอีก 700 คนในวันต่อมา เมื่อถึงวันที่ 5 ก็ยังมีนักเรียนอีกกว่า 2,000 คนที่เดินขบวนอยู่บนท้องถนน การกระทำที่ใช้ความรุนแรงของทางการได้ทำให้บุคคลในวงการต่างๆไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง จนคนงาน 60,000 คนในเซี่ยงไฮ้ได้นัดหยุดงานสนับสนุนนักศึกษา แล้วลุกลามไปกลายเป็นมีการหยุดงานและเดินขบวนทั้งในปักกิ่ง ถังซัน ฮั่นโข่ว นานกิง เทียนจิน หังโจว ซันตง อันฮุยเป็นต้น นอกจากนั้นพ่อค้าในเซี่ยงไฮ้กับอีกหลายเมืองก็หยุดทำการค้าขาย การหยุดเรียน หยุดงาน และหยุดค้าขายได้แผ่ขยายไปกว่า 100 เมืองใน 20 มณฑลทั่วประเทศ

    551000011964707.jpg

    เจียงไคเช็คในวัยหนุ่ม

    ในที่สุดท่ามกลางแรงกดดันมหาศาล ในวันที่ 10 มิถุนายน รัฐบาลปักกิ่งจึงยอมปล่อยตัวนักศึกษาที่ถูกจับกุม และปลดเฉาหรู่หลิน ลู่จงอี๋ว์ และจางจงเสียงที่ถูกระบุว่าขายชาติออกจากตำแหน่ง ในวันที่ 27 นักศึกษา แรงงานและชาวจีนในฝรั่งเศสหลายร้อยคนได้เดินทางไปยังที่พักของตัวแทนรัฐบาลจีนในฝรั่งเศส เรียกร้องให้ปฏิเสธการลงนามในสนธิสัญญา จนในวันที่ 28 ไม่มีตัวแทนจากจีนไปลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าว

    การก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์

    หลังจากเหตุการณ์ขบวนการ 4 พฤษภาคม กระแสและแนวความคิดใหม่ๆ ได้ไหลบ่าเข้ามาสู่แผ่นดินจีน โดยเฉพาะแนวความคิดลัทธิมาร์กซ์ที่แต่เดิมมีอิทธิพลในจีนเพียงเล็กน้อย ก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จนมีการจัดตั้งเป็นกลุ่มคอมมิวนิสต์ศึกษาขึ้น และได้รับการสนับสนุนจากองค์การคอมมิวนิสต์สากล จนได้มีการรวมตัวแทนกลุ่มต่างๆและจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนขึ้น

    เวลา 20.00 น.ของวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1921 การประชุมตัวแทนจากทั่วประเทศครั้งแรกของพรรคคอมมิวนิสต์จีนมีตัวแทนจากกลุ่มต่างๆเข้าร่วมทั้งสิ้น 12 คนอาทิเหมาเจ๋อตง (毛泽东), เหอซูเหิง ,ต่งปี้อู่,หลี่ต๋า,จางกั๋วเทา และเปาฮุ่ยเจิง ซึ่งเป็นตัวแทนของเฉินตู๋ซิ่วเป็นต้น (陈独秀)เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีคนจากองค์การพรรคคอมมิวนิสต์สากลมาเข้าร่วมด้วย จนกระทั่งเมื่อเสร็จสิ้นการประชุมใหญ่ในวันที่ 31 กรกฎาคม ที่ประชุมได้เลือกเฉินตู๋ซิ่วให้เป็นเลขาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ และประกาศตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ขึ้นอย่างเป็นทางการ

    ภายหลังเมื่อดร.ซุนยัตเซ็น ได้ทำการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพรรคกั๋วหมินตั่ง หรือก๊กมินตั๋ง โดยอนุญาตให้สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์มาเข้าร่วมด้วย จากนั้นภายใต้ความร่วมมือของทั้งสองฝ่าย กับทางโซเวียตจึงได้มีการจัดตั้งโรงเรียนทหารและการปกครองหวงผู่ ซึ่งนับเป็นผลิตผลแรกของความร่วมมือระหว่างซุนยัตเซ็นกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน

    โรงเรียนทหารและการปกครองที่จัดตั้งขึ้น มีซุนยัตเซ็นเป็นผู้อำนวยการ และเจี่ยงจงเจิ้ง (蔣中正) หรือเจียงไคเช็ค เป็นครูใหญ่ ดร.ซุนได้วางจุดประสงค์ไว้ที่การ “สร้างกองกำลังปฏิวัติ เพื่อช่วยจีนให้พ้นวิกฤต” มีการจัดสอนการใช้อาวุธ สอนแนวความคิดลัทธิไตรราษฎร์ และแนวความคิดของลัทธิมาร์กซ์ โดยให้ความสำคัญทั้งหลักสูตรทางด้านการทหารและการปกครอง จนสามารถสร้างบุคลากรชั้นนำในประเทศในภายหลังได้เป็นจำนวนมาก โดยระหว่างปีค.ศ. 1924-1949 มีนักเรียนที่จบทั้งสิ้น 23 รุ่น เมื่อรวมนักเรียนที่จบออกมาจากโรงเรียน และสาขาแล้วมีมากถึง 230,000 คน

    [​IMG]

    เด็กในเซี่ยงไฮ้ในช่วงเวลาที่ถูกทหารญี่ปุ่นรุกราน

    ต่อมา ซุนยัตเซ็นป่วยด้วยโรคมะเร็งในตับและเสียชีวิตในปักกิ่งวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1925 ด้วยอายุเพียง 59 ปี คำพูดสุดท้ายก่อนที่จะเสียชีวิตของเขาก็คือ “สันติภาพ.. ต่อสู้.. ช่วยประเทศจีน..” การเสียชีวิตของซุนยัตเซ็นได้สร้างความอาลัยโศกเศร้าไปทั่วประเทศ ในวันที่ 19 เมื่อมีการเคลื่อนศพจากโรงพยาบาล มีผู้คนที่ยืนไว้อาลัยอยู่รายทางนับแสนคน และหลังจากจัดพิธีฝังแล้ว ก็มีคนทยอยไปร่วมลงนามไว้อาลัยกว่า 2 ล้านคน ป้ายผ้าที่แขวนในงานศพของเขา ได้ระบุคำว่า “การปฏิวัติยังไม่สำเร็จ ขอสหายจงพยายามต่อไป”

    สงครามปราบขุนศึกภาคเหนือ

    หลังการเสียชีวิตของซุนยัตเซ็น พรรคก๊กมินตั๋งและกองทหารได้จัดตั้งรัฐบาลขึ้นที่กว่างโจว และในวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1926 รัฐบาลก็ได้แต่งตั้งเจียงไคเช็ค ให้เป็นผู้บัญชาการทหารปฏิวัติ เพื่อปราบปรามขุนศึกภาคเหนือ เริ่มต้นด้วยการบุกฉางซา เพื่อทำศึกปราบอู๋เพ่ยฝู (吴佩孚) สามารถเอาชนะได้ในศึกที่สะพานทิงซื่อ สะพานเฮ่อเซิ่ง จนกระทั่งเดือนกันยายน เจียงได้นำทัพบุกไปถึงฮั่นโข่ว ฮั่นหยาง แล้วบุกเมืองอู่ฮั่น หลังจากนั้นในศึกเจ้อเจียง เมื่อถึงยามคับขันเจียงถึงกับลงไปควบคุมทัพในการบุกเมืองด้วยตนเอง จากนั้นกองทัพได้เคลื่อนย้ายต่อเข้าไปในเจียงซี และมีคำสั่งให้กองทัพที่เฉาซ่าน บุกโจมที่มณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) หลังจากที่บุกยึดฝูเจี้ยน เจ้อเจียงแล้ว ก็ได้เปิดศึกกับอู่ฮั่นต่อ จนกระทั่งสามารถทำลายกองทัพของอู๋เพ่ยฝูในอู่ฮั่นได้หมดสิ้น

    ต่อมาเจียงไคเช็คได้นำกองกำลังจากฝูเจี้ยน เข้าไปทำลายกองกำลังหลักของโจวอิน บุกตีจางซู่ เฟิงเฉิง เจี้ยนชัง เต๋ออัน หย่งซิว ฝูโจว จนกระทั่งซุนฉวนฟังผู้นำอีกกองกำลังหนึ่งต้องมาขอเจรจาสงบศึกกับเจียง แต่ก็ถูกเจียงปฏิเสธไป

    เมื่อถึงเดือนพฤศจิกายน กองทัพของเจียงก็บุกเข้าไปถึงหนันชัง ซุนฉวนฟาง (孙传芳) ผู้บัญชาการทหารที่นั่นเลือกที่จะต่อสู้อย่างเต็มที่ เจียงจึงเข้าบัญชาการรบด้วยตัวเองและบุกตีจนกองทัพเจียงซีถูกทำลาย แล้วย้ายกองบัญชาการทหารไปอยู่ที่หนันชัง และบุกต่อไปยังจางโจว เฉวียนโจว ฝูเจี้ยนผิง และเมื่อถึงเดือนธันวาคม เอี๋ยนซีซันก็เข้าร่วมกับกองทัพปฏิวัติของก๊กมินตั๋ง

    ทว่าในเดือนมีนาคมในปีค.ศ. 1927 เมื่อกองทัพบุกยึดหังโจว ซูโจวแล้ว รัฐบาลอู่ฮั่นกก็ได้มีมติปลดเจียงออกจากทุกตำแหน่งอย่างกะทันหัน ในขณะนั้นเจียงไคเช็คที่อยู่หนันชังได้ยื่นหนังสือแสดงการไม่ยอมรับการตัดสินใจดังกล่าว แล้วเคลื่อนทัพบุกเซี่ยงไฮ้ นานกิง เมื่อบุกเข้านานกิงแล้ว บรรดาคนจากพรรคคอมมิวนิสต์ที่อยู่ในกองทัพปราบขุนศึกภาคเหนือได้กระทำการเข่นฆ่าชาวต่างชาติ จนทำให้กองทัพอังกฤษและสหรัฐฯนั้นหันหน้ามาโจมตีนานกิง จนกลายเป็นความขัดแย้งระดับชาติขึ้น สหภาพแรงงานในเซี่ยงไฮ้ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์ก็ทำการประท้วงหยุดงาน ตัดไฟฟ้าและสายโทรศัพท์ ยึดสถานีตำรวจและสถานีรถไฟ เจียงได้ใช้วิธีการทางการทูตเพื่อเข้าแก้ปัญหา และให้ไช่หยวนเผย (蔡元培) ซึ่งเป็นสมาชิกอาวุโสในพรรคก๊กมินตั๋งออกหนังสือประณามว่า “คอมมิวนิสต์เป็นผู้ทำกลายการปฏิวัติ วางแผนให้ร้ายประเทศชาติ” จากนั้นก็มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบขึ้นมาเป็นการเร่งด่วน

    ในภายหลัง เมื่อวันที่ 12 เมษายน ก็มีการดำเนินการยกเลิกสหภาพแรงงานในเซี่ยงไฮ้ จากนั้นก็จับสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์หลายคนอาทิ วังโซ่วหัว เฉินถิงเหนียน เจ้าซื่อเอี๋ยนมาประหารชีวิต และนับเป็นจุดแตกหักระหว่างเจียงไคเช็คกับพรรคคอมมิวนิสต์

    ถัดมาในวันที่ 17 ของเดือนเดียวกัน รัฐบาลก๊กมินตั๋งที่อู่ฮั่นได้ประกาศปลดตำแหน่งผู้บัญชาการทหารปฏิวัติ และขับออกจากการเป็นสมาชิกพรรค ถัดมาอีกหนึ่งวัน เจียงจึงได้ตั้งรัฐบาลก๊กมินตั๋งขึ้นใหม่ที่นานกิง แล้วทำหนังสือประกาศสู่สาธารณชน

    กองทัพของเจียงยังคงเดินหน้าบุกโจมตีจี้หนัน แต่ก็ถูกกองทหารติดอาวุธของญี่ปุ่นเข้ามาแทรกแซง จนกองทัพต้องอ้อมขึ้นเหนือ และบุกประชิดปักกิ่งเทียนจินได้ในช่วงต้นเดือนมิ.ย. ทำให้จางจั้วหลิน (张作霖) ขุนพลกองกำลังรัฐบาลเป่ยหยางต้องหลบหนีออกไปนอกด่าน แล้วไปเสียชีวิตจากการวางระเบิดของฝ่ายญี่ปุ่น ต่อมาจางเสียว์เหลียง (张学良) บุตรชายของเขาขึ้นเป็นผู้นำกองทัพหลบหนีแทน หลังจากผ่านการเจรจาครึ่งปี ในที่สุดในวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ.1928 จึงได้มีการส่งข่าวไปทั่วประเทศว่ายอมสนับสนุนรัฐบาลนานกิง และทำให้ประเทศจีนเหนือใต้ได้ร่วมเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง

    คลิกอ่านหน้า 2

    551000011964708.jpg

    ภาพในพิพิธภัณฑ์ที่ระลึกสงครามต่อต้านญี่ปุ่น

    สงครามรุกรานจากญี่ปุ่น

    นับตั้งแต่ญี่ปุ่นได้บุกยึดเสิ่นหยาง ในปีค.ศ. 1894 จนจีนพ่ายแพ้สงคราม และต้องขอเจรจาสงบศึก โดยส่งหลี่หงจางต้องเดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อลงนามในสนธิสัญญาชิโมโนเซกิ ที่จีนต้องรับรองการปกครองตนเองของเกาหลี หรืออีกนัยหนึ่งก็คือยอมรับการปกครองของญี่ปุ่นเหนือเกาหลี อีกทั้งตกยกคาบสมุทรเหลียวตง ไต้หวัน หมู่เกาะเผิงหู (เพสคาดอเรส) ให้กับญี่ปุ่นอีกทั้งชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามเป็นเงิน 230 ล้านตำลึง ยังจะต้องอนุญาตให้ญี่ปุ่นเข้ามาดำเนินการค้าขาย ประกอบอุตสาหกรรม หัตกรรมตามท่าเรือได้

    ญี่ปุ่น และเป็นหนึ่ง 8 ประเทศพันธมิตรที่ร่วมบุกเข้ารุกรานประเทศจีน ญี่ปุ่นก็ได้ตั้งเป้าที่จะหาประโยชน์สูงสุดจากแผ่นดินจีนมาโดยตลอดจนกระทั่งวันที่ 18 กันยายน 1931 นั่นคือวันที่ญี่ปุ่นได้สร้างสถานการณ์ “เหตุการณ์บึงหลิ่วเถียว” (柳条湖事变)ในการโจมตีเมืองเสิ่นหยางใกล้บึงหลิ่วเถียวของจีน ซึ่งในเวลานั้น ญี่ปุ่นได้บุกยึดแมนจูเรีย และเล็งหาข้ออ้างที่จะโจมตีภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนมาโดยตลอด จึงจงใจจุดชนวนศึกขึ้น

    โดยในวันที่ 18 กันยายนปีนั้น เกิดระเบิดขึ้นที่ทางรถไฟสายแมนจูเรียใต้ของญี่ปุ่น แต่มีความเสียหายน้อยมากจนไม่กระเทือนการให้บริการปกติ ทว่าทหารญี่ปุ่นกลับอ้างว่า ทหารจีนยิงใส่พวกตนจากท้องนา จึงจำเป็นต้อง “ป้องกันตนเอง”

    ในเวลานั้น รัฐบาลก๊กมินตั๋งอยู่ในช่วงรวบรวมกำลัง เพื่อสู้รบกับคอมมิวนิสต์ที่ลุกขึ้นต่อต้านในประเทศ จึงได้มีคำสั่งห้ามต่อต้าน ให้พยายามแก้ไขด้วยวิธีการทางการทูต และให้ถอนกำลังไปที่ด่านซันไห่กวน ทำให้ทหารญี่ปุ่นบุกยึดเสิ่นหยาง แล้วบุกยึดต่อไปที่จี๋หลิน เฮยหลงเจียง จนกระทั่งสามารถยึด 3 มณฑลทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีนได้ในเดือนมกราคม 1932

    ในเดือนถัดมาญี่ปุ่นได้สร้างรัฐใหม่ขึ้นบนแผ่นดินแมนจูเรีย โดยมีญี่ปุ่นคอยเชิดอยู่เบื้องหลัง ตั้งชื่อว่า ประเทศแมนจูเรีย (满洲国) มีฉางชุนเป็นเมืองหลวง แล้วนำผู่อี๋ (ปูยี) ฮ่องเต้ราชวงศ์ชิงองค์สุดท้ายที่ถูกปฏิวัติในปี ค.ค. 1911 ซึ่งมีอายุ 25 พรรษในขณะนั้นมาเป็นฮ่องเต้หุ่นที่ได้ปกครองแต่ในนาม จากนั้นญี่ปุ่นก็ใช้อำนาจในการขูดรีดประชาชน ทำลายวัฒนธรรม ทำให้ชาวจีนกว่า 30 ล้านคนต้องทนทุกข์ทรมาน

    เหตุร้าย 18 กันยายนได้กลายเป็นชนวนความแค้นของจีนทั่วประเทศ จนมีการเรียกร้องให้ต่อต้านญี่ปุ่น และถึงขั้นประท้วงรัฐบาลก๊กมินตั๋งที่ไม่ยอมต่อกรกับญี่ปุ่น จนกระทั่งประชาชนจีนทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีนต่างเริ่มลุกฮือขึ้นต่อต้านญี่ปุ่น เมื่อถึงปี 1937 การรวมตัวก็กระจายกว้างออกไป จนสามารถยืดหยัดสู้รบกับทัพญี่ปุ่นได้อย่างยาวนาน

    เรื่องราวในวันที่ 18 กันยายน เป็นหนึ่งในแผนการที่ญี่ปุ่นได้วางไว้นานแล้ว เห็นได้จากเมื่อปี 1927 ที่ญี่ปุ่นได้ประชุมที่โตเกียว แล้วกำหนด “โครงสร้างนโยบายต่อจีน” ออกมา จากนั้นก็ได้แจ้งต่อจักรพรรดิ พร้อมประกาศว่า หากต้องการยึดครองจีน จะต้องสยบแผ่นดินแมนจูเรียก่อน และหากจะพิชิตโลก ก็จะต้องสยบจีนให้ได้ก่อน

    551000011964709.jpg

    ทหารญี่ปุ่นที่กำลังสังหารชาวจีนในนานกิง

    ในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นช่วงที่รัฐบาลก๊กมินตั๋งกำลังเผชิญหน้ากับสถานการณ์ญี่ปุ่นที่รุกรานทางเหนือ และคอมมิวนิสต์ที่อยู่ทางใต้ บวกกับทหารหลายหน่วยที่ปกครองตัวเองไม่ยอมฟังคำสั่งจากส่วนกลาง จนกระทั่งจางเสียว์เหลียงและหยางหู่ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารภาคตะวันตกเฉียงเหนือตัดสินใจยอมรับความร่วมมือจากคอมมิวนิสต์ในการต่อต้านการรุกรานจากญี่ปุ่น และนำเรื่องเสนอต่อเจียงไคเช็ค จนกระทั่งในที่สุดภายหลังการหารือทำให้รัฐบาลก๊กมินตั๋งกับพรรคคอมมิวนิสต์ได้บรรลุข้อตกลงร่วมมือกันต่อต้านญี่ปุ่น

    กระทั่งวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 หลังเหตุการณ์พลิกผันที่สะพานหลูโกว ที่ทางญี่ปุ่นได้อ้างว่ามีนายทหารของญี่ปุ่นในจีนหนึ่งคนหายตัวไป และเรียกร้องที่จะเข้มาค้นหาในเมืองหวั่นผิง ในขณะที่กองทัพของจีนยืนยันปฏิเสธข้อเรียกร้องดังกล่า ทำให้ทหารญี่ปุ่นเริ่มต้นเปิดฉากยิงระเบิดเข้าสู่สะพานหลูโกว และบุกโจมตีทหารจีนที่เฝ้ารักษาในเมืองนับเป็นการระเบิดศึกอย่าเป็นทางการของทั้ง 2 ฝ่าย

    สังหารหมู่ที่นานกิง

    วันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1937 กองทัพญี่ปุ่นได้บุกเข้ามายังเมืองหนันจิง หรือเมืองนานกิง ซึ่งเป็นการบุกต่อเนื่องหลังจากที่ได้ทำการยึดเซี่ยงไฮ้ไปแล้ว โดยก่อนหน้าที่จะถูกบุกยึดนั้นกองกำลังของรัฐบาลก๊กมินตั๋งได้ทำการปะทะกับทหารญี่ปุ่นที่นอกเมือง แต่ก็ไม่อาจต่อต้านทหารญี่ปุ่นที่แยกกันบุกมา 6 สายได้ จนกระทั่งถูกทหารญี่ปุ่นยึดเมืองท่ามกลางความโกลาหล

    ภายใต้คำส่งของแม่ทัพญี่ปุ่นที่นำทัพเข้ามา เมืองนานกิงจึงถูกเผาทำลาย เข่นฆ่า ข่มขืน และปล้นชิงอย่างโหดเหี้ยมอย่างที่สุด

    ในวันที่ 15 ธ.ค. ทหารญี่ปุ่นได้นำทหารและตำรวจจีนจำนวนกว่า 2,000 คนไปรวมตัวที่นอกประตูฮั่นจง จากนั้นก็ใช้ปืนกลยิงกราด แล้วก็จุดไฟเผาศพ ในคืนเดียวกันมีทหารกับประชาชนอีกมากกว่า 9,000 คนที่ถูกจับกุมตัวไปที่ค่ายทหารเรือ มีคนหนีรอดมาเพียง 9 คนในขณะที่ที่เหลือทั้งหมดถูกสังหารจนหมดสิ้น

    พลบค่ำวันที่ 16 ธ.ค. ทหารและประชาชนจีนอีกมากกว่า 5,000 คน ถูกทหารญี่ปุ่นจับไปที่ริมท่าเรือจงซัน แล้วใช้ปืนยิงจนเสียชีวิตโยนถมลงไปในแม่น้ำ มีผู้รอดชีวิตมาเพียงไม่กี่คน

    วันที่ 17 ธ.ค. ทหารญี่ปุ่นได้นำเอาทหารที่จับได้กับคนงานในโรงไฟฟ้านานกิงรวมทั้งสิ้นกว่า 3,000 คนนำตัวไปยิงทิ้งที่บริเวณริมแม่น้ำ โดยมีคนส่วนหนึ่งที่ถูกฆ่าด้วยการใช้ฟืนเผาให้ตาย

    วันที่ 18 ธ.ค. ทหารญี่ปุ่นได้นำเอาชาวบ้านและทหารในนานกิงที่หนีจากเมืองไปแล้วถูกจับได้จำนวน 57,000 คน แล้วใช้ปืนยิงกราด จากนั้นใช้ดาบไล่ฟัน และสุดท้ายจบด้วยการใช้น้ำมันราดแล้วเผา จากนั้นโยนกระดูกลงไปในแม่น้ำแยงซีเกียง โดยในการประหารครั้งนี้ มีการละเล่น “แข่งกันฆ่าคน”กันอีกด้วย

    1 เดือนหลังจากที่ทหารญี่ปุ่นบุกยึดนานกิง ทั่วทั้งเมืองมีการข่มขืน และเวียนเทียนลงแขกหญิงชาวจีนชาวจีนกว่า 20,000 คดี โดยไม่เว้นไม่ว่าจะเป็นหญิงสาวหรือหญิงชรา มีสตรีอีกจำนวนมากที่หลังจากถูกข่มขืนแล้วก็ถูกฆ่าทิ้ง ทำลายศพอย่างเหี้ยมโหด มีซากจากสภาพการถูกฆ่า ถูกข่มขืน ถูกปล้นชิง วางเพลิงไปทั่วทั้งเมือง

    551000011964710.jpg

    ชาวจีนในฉงชิ่งที่ถูกสังหารโดยทหารญี่ปุ่น

    ตามตัวเลขที่มีการตรวจสอบในศาลถึงเหตุการณ์สังหารหมู่ที่นานกิง ปรากฏว่าทหารญี่ปุ่นได้ทำการสังหารหมู่ทั้งสิ้น 28 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 190,000 คน และการแยกย้ายฆ่าอีก 858 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 150,000 คน การสังหารแบบล้างเมืองเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ของทหารญี่ปุ่น ได้ทำให้มีทหารที่ถูกยิงตายและฝังทั้งเป็นมากกว่า 300,000 คน

    หลังจากวันนั้นเป็นต้นมา การศึกระหว่างจีนกับญี่ปุ่นก็ดำเนินไปอย่างดุเดือดเป็นระยะเวลากว่า 8 ปี ไปสิ้นสุดเอาเมื่อญี่ปุ่นได้ประกาศยอมแพ้ในสงครามสงครามโลกครั้งที่สองในวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1945 และประกาศยุติศึกกับจีนอย่างไม่มีเงื่อนไขในวันที่ 15 สิงหาคม ทำให้นักประวัติศาสตร์หลายคนเรียกช่วงเวลาดังกล่าวว่าสงครามต้านญี่ปุ่น 8 ปี ในขณะที่นักวิชาการหลายท่านคิดว่า หากจะนับเวลาที่จีนเริ่มต่อสู้กับญี่ปุ่นจริงๆ ควรจะเริ่มต้นนับตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1931 เท่ากับว่าสงครามระหว่าง 2 ชาติในครั้งนี้กินเวลานานกว่า 14 ปีทีเดียว

    ในช่วงเวลาดังกล่าว ทหารญี่ปุ่นที่ถูกส่งเข้ามาในจีนในช่วงที่มากที่สุดมีถึงเกือบ 2 ล้านคน อีกทั้งมีทหารที่ได้มาจาก การเข้ายึดพื้นที่ต่างๆอีกมากกว่าล้านคน ตามข้อมูลที่ทางญี่ปุ่นได้จัดทำในปีค.ศ. 1964 ทหารญี่ปุ่นที่ได้เสียชีวิตในการทำศึกกับจีนมีทั้งสิ้นราว 440,000 คน ในขณะที่ข้อมูลทางฝ่ายจีนระบุว่าทหารญี่ปุ่นเสียชีวิตทั้งสิ้น 483,708 คนและบาดเจ็บ 1,934,820 คน

    ขณะที่ทาง ทหารของกองทัพปฏิวัติจีนในช่วงที่มากที่สุดมีถึง 5 ล้านคน ได้ต่อสู้ครั้งใหญ่กับญี่ปุ่นทั้งสิ้น1,117 ครั้ง ศึกเล็กอีก 28,931 ครั้ง และมีทหารบกที่เสียชีวิต-สูญหายทั้งสิ้น 3,211,914 คน มีทหารอากาศเสียชีวิต 4,321 คน และสูญเสียเครื่องบินรบ 2,468 ลำ ในขณะที่ทหารเรือถูกทำลายจนแทบย่อยยับหมดสิ้น

    ด้านประชากรจีนที่ต้องเสียชีวิตในสงคราม 9 ล้านคน และอีก 8 ล้านคนตายด้วยสายเหตุอื่น มีประชากร 95 ล้านคนต้องกลายเป็นผู้ประสบภัย และค่าเสียหายที่จีนได้รับในขณะนั้น หากคิดตามอัตราของเมื่อปี 1945 จะอยู่ที่ราว 650,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
    551000011964712.jpg

    อนุเสาวรีย์ที่ระลึกสงครามยุทธการเหลียว-เสิ่น

    ความสูญเสียในด้านชีวิตของประชากรและทหารของจีนในสงครามครั้งนี้ ถูกประเมินไว้แตกต่างกันหลายแห่ง โดยที่ต่ำที่สุดได้ประเมินว่ามีผู้ที่ตายและสูญหายทั้งสิ้น 20.62 ล้านคน ในขณะที่บ้างก็ว่า 41 ล้านคน 45 ล้านคน กระทั่งมีผู้ประเมินว่าในศึกต่อต้านญี่ปุ่นนั้นทำให้มีคนจีนตายและสูญหายไปมากกว่า 50 ล้านคน


    อย่างไรก็ตาม ในสงครามครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่จีนได้รับชัยชนะในสงครามนักตั้งแต่สงครามฝิ่นครั้งที่ 1 เป็นต้นมา อีกทั้งมีการมองว่าการพลีชีวิตของคนจีนกว่า 20 ล้านคนนี้ มีส่วนช่วยรั้งไม่ให้ทหารบกของญี่ปุ่นนั้นสามารถรุกรานไปทั่วเอเชียแปซิฟิก และช่วยลดทอนความกดดันในสงครามทางมหาสมุทรแปซิฟิกลง จนสามารถส่งกำลังไปช่วยในศึกที่ยุโรปได้อย่างเต็มที่

    ความเปลี่ยนแปลงอีกประการหนึ่งก็คือ หลังจากผ่านช่วงสงครามครั้งนี้มาแล้ว กองกำลังของรัฐบาลก๊กมินตั๋งกับพรรคคอมมิวนิสต์ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง โดยพรรคคอมมิวนิสต์ที่เดิมมีกำลังเพียง 40,000 คนได้เพิ่มขึ้นมาเป็น 1.2 ล้านคน ในขณะที่ก๊กมินตั๋งต้องทุ่มเทสู้ศึกและประสบความสูญเสียอย่างมหาศาล

    สงครามกลางเมืองกับสามยุทธการ

    ไม่นานหลังจากที่เสียงไชโยโห่ร้อง และเสียงการฉลองในผืนแผ่นดินอันกว้งใหญ่ได้จบลง พลันสงครามกลางเมืองระหว่างพรรคก๊กมินตั๋งกับพรรคคอมมิวนิสต์ก็ได้ระเบิดขึ้นอีกระลอก

    ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ต่างเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่ทั้งสองฝ่ายต่างมุ่งหวังช่วงชิงเอาไว้ โดยเฉพาะเมืองจิ่นโจว อันเป็นจุดสำคัญที่ทำให้เกิดการพลิกผันจากการตัดสินใจของเจียงไคเช็คกับเหมาเจ๋อตง

    ยุทธการเหลียวหนิง-เสิ่นหยาง (辽沈战役)

    สงครามที่เหลียวหนิงถือเป็นสงครามแรกในสามยุทธการ ปะทุขึ้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1948 กองทัพปลดแอกของคอมมิวนิสต์ได้แยกย้ายไปตามถนนสายเป่ยหนิง และได้ตัดถนนเป่ยหนิง แบ่งกำลังส่วนหนึ่งเข้าสู่นอกเมืองจิ่นโจวในวันที่ 1 ตุลาคม จากนั้นทางก๊กมินตั๋งเองก็ได้การจัดกำลังบุกเข้าตีอย่างหักโหมจากทางตะวันตกของเมืองจิ่นโจว ในช่วงเวลา 6 วันของการต่อสู้อย่างดุเดือด ทหารกองทัพปลดแอกก็สามารถยันกลับไปได้ทุกครั้ง จนสามารถเอาชนะและยึดจิ่นโจวไว้ได้ จากนั้นกองทัพปลดแอกได้มุ่งหน้าไปยึดเสิ่นหยาง อิ๋นโข่วแล้วประกาศปลดปล่อยพื้นที่ดังกล่าวในวันที่ 2 พฤศจิกายน

    ในศึกครั้งนี้ พรรคคอมมิวนิสต์ได้สูญเสียทหารไปทั้งสิ้น 69,000 คนในขณะที่ก๊กมินตั๋งต้องพลีชีพไปถึง 472,000 คน ทำให้กำลังพรรคคอมมิวนิสต์เพิ่มขึ้นมาเป็น 3 ล้านคน ในขณะที่ก๊กมินตั๋งลดลงเหลือเพียง 2.9 ล้านคนจนสถานการณ์เริ่มพลิกกลับ ซึ่งเห็นได้จากคำพูดของเหมาเจ๋อตงที่กล่าวไว้ด้วยความมั่นใจว่า “เช่นนี้ การรบที่เราได้คาดการณ์กันไว้แต่เดิมนั้น ก็จะลดขั้นตอนลงไปได้มาก” “ดูจากสถานการณ์ในตอนนี้ อีกสักประมาณ 1 ปี พวกเราก็อาจจะสามารถขุดรากถอนโคนก๊กมินตั๋งได้”

    ยุทธการไฮว๋เหอ-ไห่โจว(淮海战役)

    551000011964711.jpg

    รูปถ่ายร่วมกันในการเจรจาที่ฉงชิ่งของเจียงไคเช็ค (ซ้าย) กับเหมาเจ๋อตง (ขวา) ในปีค.ศ.1945

    ยุทธการศึกแห่งที่สองเปิดขึ้นโดยมีเมืองสีว์โจว (徐州)เป็นศูนย์กลาง ศึกครั้งนี้ได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายนและกินระยะเวลายาวนานไปจบสิ้นในวันที่ 10 มกราคม

    จากชัยภูมิสีว์โจวที่เป็นจุดเชื่อมต่อมณฑลเหอหนัน ซันตง อันฮุย และเจียงซู โดยกินพื้นที่ตั้งแต่ที่ราบหวงไฮว๋ และอยู่ระหว่างแม่น้ำฮวงโหกับแยงซีเกียง ทำให้เมืองสีว์โจวกลายเป็นสมรภูมิสำคัญที่เรียกได้ว่าผู้ใดได้ครอบครองสีว์โจวกับไฮว๋เหอก็จะยึดกุมพื้นที่เหนือแม่น้ำแยงซีเกียงเอาไว้ได้

    การศึกนี้แบ่งเป็น 3 ช่วง ในช่วงแรกทหารกองทัพปลดแอกได้นำกำลังเข้าล้อมทางตะวันออกของเมืองสีว์โจว และทำการรบกันอย่างดุเดือดเป็นเวลา 10 วัน สามารถสังหารหน่วยของทหารของก๊กมินตั๋งที่ประจำการในที่นั้นและทหารไปอีกมากกว่าแสนคน จากนั้นช่วงที่สองการรรบได้เปิดขึ้นที่ตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอซู่ ซึ่งทหารกองทัพปลดแอกได้ทำการล้อมทหารศัตรูไว้ 12 หน่วย จากนั้นก็ทำการสู้รบต่อเนื่องกันหลายครั้ง จนกระทั่งถึงวันที่ 15 ธันวาคม กองกำลังของก๊กมินตั๋งถูกสังหารไปกว่า 120,000 คน ทว่าเพื่อประสานกับศึกปักกิ่ง-เทียนจินที่เปิดคู่ขนานด้วยในขณะนั้น กองทัพปลดแอกจึงได้รับคำสั่งให้หยุดรบเพื่อปรับกองทัพ 20 วัน จนกระทั่งศึกรอบสุดท้ายเปิดขึ้นในวันที่ 6 มกราคม ค.ค.1949 และยุติลงในอีก 4 วันหลังจากนั้น

    เมื่อศึกนี้ยุติลงด้วยชัยชนะของพรรคคอมมิวนิสต์ ที่ใช้กำลังเพียง 600,000 คนสามารถเอาชนะทหารของพรรคก๊กมินตั๋งที่มีการระดมกำลังก่อนหลังรวมกันทั้งสิ้นราว 800,000 คน ในเวลา 65 วัน กองทัพปลดแอกได้สังหารทหารก๊กมินตั๋งไปมากกว่า 555,000 คน เรียกได้ว่าทำลายกองทัพทางใต้ของเจียงไคเช็คไปจนแทบจะหมดสิ้น และทำให้เมืองนานกิงซึ่งเป็นศูนย์กลางของฝ่ายก๊กมินตั๋งถูกคุกคามในระยะประชิด

    ยุทธการเป่ยผิง-เทียนจิน (平津战役)

    ยุทธการเป่ยผิง-เทียนจิน หรือยุทธการปักกิ่ง-เทียนสิน ถือเป็นยุทธการสุดท้าย ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ.1948 จนถึง วันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1949 หลังจากยุทธการเหลียวหนิง-เสิ่นหยาง กองทัพปลดแอกได้รับคำสั่งให้เข้าโอบล้อมพื้นที่ โดยเริ่มต้นบุกจากเส้นทางตะวันตกอย่างซินเป่าอัน จางเจียโข่ว จนกระทั่งวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1949 ก็สามารถสังหารทหารก๊กมินตั๋งทั้งสิ้น 130,000 คน ยึดครองเมืองเทียนจิน หลังจากนั้นไม่นานหลังจากความพยายามของหน่วยงานใต้ดินของพรรคคอมมิวนิสต์ที่เป่ยผิง (ปักกิ่ง) กับกองทัพปลดแอก ในที่สุดทหารรักษาการณ์ของก๊กมินตั๋งในปักกิ่งจำนวน 250,000 คนก็ยอมจำนน ทำให้กองทัพของพรรคคอมมิวนิสต์ได้ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือเป็นผลสำเร็จ

    หลังจากผ่านสามยุทธการซึ่งกินเวลาเพียง 142 วัน ทหารของพรรคก๊กมินตั๋งไม่ว่าจะเป็นการถูกสังหาร ยอมจำนน แปรพักตร์ รวมกันแล้วมีจำนวนทั้งสิ้นถึง 1.54 ล้านคน ชัยชนะในสามยุทธการจึงกลายเป็นการวางรกฐานแห่งชัยชนะอันมั่นคงทั่วประเทศให้กับพรรคคอมมิวนิสต์

    คลิกอ่านหน้า 3

    551000011964713.jpg

    พิธีเฉลิมฉลองที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน โดยมีเหมาเจ๋อตงเป็นประธานท่ามกลางทหารและประชาชนกว่า 300,000 คน

    สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน
    ในเดือนมกราคมของปี ค.ศ. 1949 เจียงไคเช็คได้ประการสละตำแหน่งให้กับหลี่จงเหรินเป็นผู้รักษาการ กระทั่งวันที่ 20 เดือนเมษายนในปีเดียวกันตัวแทนของพรรคก๊กมินตั๋งและพรรคคอมมิวนิสต์ได้ประชุมเพื่อสงบศึกกันที่ปักกิ่ง ทว่ารัฐบาลนานกิงกลับปฏิเสธการลงนามสันติภาพภายในประเทศฉบับนั้น รุ่งขึ้นเหมาเจ๋อตงกับจูเต๋อจึงได้มีคำสั่งประกาศไปยังกองทัพปลดแอกให้เคลื่อนพลเข้าควบคุมทั่วประเทศ และทำศึกครั้งใหญ่เพื่อข้ามแม่น้ำแยงซีเกียง ท่ามกลางการคุ้มกันจากปืนใหญ่ ทำให้ทหารจำนวนนับล้านของกองทัพปลดแอกสามารถฝ่าด่านแม่น้ำแยงซีเกียงไปได้อย่างรวดเร็ว ภายในเวลาเพียง 2 วันกองทัพคอมมิวนิสต์สามารถยึดเมืองเจิ้นเจียง หยางโจว เจียงหยาง และยึดครองนานกิงซึ่งเป็นเมืองหลวงของฝ่ายก๊กมินตั๋งสำเร็จในวันที่ 23 เมษายน จากนั้นกองทัพปลดแอกจึงรีบบุกยึดไปยังตะวันออกเฉียงใต้ ทางใต้ และยึดครองดินแดนผืนใหญ่ทางใต้ จนพรรคก๊กมินตั๋งต้องถอยร่นไปตั้งหลักที่กว่างโจว เฉิงตู ฉงชิ่ง และไปยังไต้หวันในที่สุด

    วันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1949 พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เปิดประชุมสภาที่ปรึกษาการเมืองประชาชนจีนเต็มคณะครั้งที่ 1 ได้กำหนดชื่อประเทศว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเลือกเหมาเจ๋อตงเป็นประธานรัฐบาลกลาง ในวันที่ 30 ของเดือนเดียวกัน เหมาเจ๋อตงได้ประกาศว่า “ในวันที่เราได้จัดประชุม เท่ากับว่าประชาชนจีนได้เอาชนะศัตรูของตน เปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของประเทศจีน และสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้น พวกเรา 475 ล้านคนต่างได้ลุกขึ้นแล้ว และอนาคตของชนชาติเรานั้นก็คือความรุ่งโรจน์อันไร้ที่สิ้นสุด”

    วันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ.1949 คณะกรรมาธิการกลางจัดประชุมสภาเต็มคณะสมัยแรกที่จงหนันไห่ มีการประกาศให้ประธาน และรองประธานรัฐบาลกลางเข้ารับตำแหน่ง โดยมีเหมาเจ๋อตงควบตำแหน่งประธาน (ประธานาธิบดี)กับตำแหน่งประธานคณะกรรมการกลางทหารรัฐบาลประชาชน และแต่งตั้งให้โจวเอินไหลดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ

    บ่าย 3 วันเดียวกัน ก็มีการจัดพิธีเฉลิมฉลองที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน โดยมีเหมาเจ๋อตงเป็นประธานท่ามกลางทหารและประชาชนกว่า 300,000 คนที่ลานจัตุรัสเทียนอันเหมินในวันนั้น หลังจากที่ทำการร้องเพลงชาติแล้ว เหมาเจ๋อตงได้เป็นผู้กดปุ่มไฟฟ้า ให้ธงแดงห้าดาวได้โบกสะบัด ท่ามกลางเสียงของผู้คนที่ตะโกนว่า “ประธานเหมาจงเจริญ” และเสียงตอบกลับว่า

    “ประชาชนจงเจริญ”

    551000011964714.jpg

    แผนที่ (ส่วนสีชมพู) แสดงถึงอาณาเขตที่ถูกรุกรานจากญี่ปุ่น

    https://mgronline.com/china/detail/9510000112503
     

แชร์หน้านี้

Loading...