ด่วน!! รีบจองที่นั่งเฝ้าระวัง: เดี่ยวภัยพิบัติ1 เเสดงแล้ววันนี้ทุกประเทศทั่วโลก

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย sunny430, 24 มีนาคม 2012.

  1. น้ำกับพายุ

    น้ำกับพายุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    358
    ค่าพลัง:
    +2,452
    เยี่ยมเลยวันนี้ ได้ความรู้ไปอีกเพียบ หลายๆท่านเอาข้อมูลอ้างอิงมาให้ได้รู้กัน ผมว่าตอนนี้ อากาศแปรปรวน ฟ้าคะนอง และแรงมากเวลาฝนตก มาพร้อมลมกรรโชกแรง ยังไงก็ดูแลสุขภาพและทรัพย์สินกันดีๆนะครับ
     
  2. engineer03

    engineer03 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    4,961
    ค่าพลัง:
    +44,308
    07-06-2013


    กรุงเทพฯ-ปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆร้อยละ 30 ช่วงบ่ายถึงค่ำ

    วันนี้ ( 7 มิ.ย.) กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนอยู่ในเกณฑ์เป็นแห่งๆ ในระยะนี้
    อนึ่ง ในช่วงวันที่ 8-11 มิถุนายน 2556 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเล
    อันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ด้านรับลมมรสุมจะมีฝนเพิ่มขึ้น และฝนตกหนักบางแห่ง โดยเริ่มในภาคใต้ฝั่งตะวันตกก่อนในวันพรุ่งนี้ (8 มิ.ย.56) หลังจากนั้นจะมีผลกระกระทบในภาคกลางด้านตะวันตก ภาคตะวันออก และภาคเหนือด้านตะวันตก
    ในวันถัดไป ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้นด้วย

    พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.

    ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่
    ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก และกำแพงเพชร
    อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
    อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส
    ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดหนองคาย
    เลย หนองบัวลำภู ชัยภูมิ และนครราชสีมา
    อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส
    อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
    ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

    ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่
    ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี กาญจนบุรี และราชบุรี
    อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
    อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส
    ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

    ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่
    ส่วนมากบริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
    อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส
    ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
    ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

    ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่
    ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฏร์ธานี
    อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
    อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
    ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
    ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร

    ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่
    ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง และพังงา
    อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
    ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
    ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

    กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ร้อยละ 30 ของพื้นที่ส่วนมากในช่วงบ่ายถึงค่ำ
    โดยกลุ่มฝนจะเคลื่อนจากทางด้านตะวันตกไปทางด้านตะวันออก
    อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส
    ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
     
  3. engineer03

    engineer03 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    4,961
    ค่าพลัง:
    +44,308
    [​IMG]
     
  4. engineer03

    engineer03 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    4,961
    ค่าพลัง:
    +44,308
    พื้นที่ผลกระทบจากน้ำมันสีดำ พื้นที่แนวยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ณ หาดตลิ่งงาม เกาะสมุย หากข้อสันนิษฐานเกิดจากน้ำมันจากเรือจริง ถามว่าทำไมเรือปล่อยน้ำมันจากเครื่องยนต์ลงในทะเล หากดูพื้นที่ผลกระทบ ถามว่าปริมาณน้ำมันกี่ลิตร เรือกี่ลำปล่อยพร้อมๆ กันจึงจะส่งผลกระทบได้ขนาดนี้?? ลองตั้งคำถามดูเล่นๆ ครับ ผลกระทบจากอะไรกันแน่ครับ ลองพิจารณากันอีกครั้งครับ เพราะเรื่องของน้ำมันหกในทะเลพื้นที่แห่งทำมาหากินของคนไทย ควรจะพิจารณากันและให้ความสำคัญให้มากๆ ครับ

    ขอบคุณที่มาจาก ดร.สมพร ช่วยอารีย์



    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    เอ้า เอ้า เอ้า... ลองมาหาข้อสันนิษฐานกันหน่อยดีมั้ยครับ ว่าเหตุการณ์คราบสีดำบนชายหาดแห่งหนึ่งของสมุยวันนี้ที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากอะไร???...

    ภาพและคำบรรยายนี้เป็นเพียงหนึ่งในข้อสันนิษฐานที่อาจเกิดขึ้น เนื่องด้วยเรานั้นก็โง่นิดหน่อยอาจชอบคิดอะไรตื้นๆง่ายๆอ่ะครับ เลยเอาเรื่องบวกภาพ มาชนกับวันเวลา เท่านั้นเองจริงๆ นะเนี่ยนะ

    แต่ที่สำคัญที่สุด...ก็คือ
    ๑. ชายหาดที่เคยสวย กลับดูไม่งามเลย
    ๒. งงครับงง ว่าเกิดอะไรขึ้น และต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรีบมาชี้แจงแถลงไขให้พี่น้องประชาชนทราบโดยทั่วกัน ด่วน!!!...สวดสวดครับ
    ๓. และแล้วก็ได้ขุดน้ำมันจริงๆสะที ...ที่สมุยยยยย (เฮ้อ เห็นเขาว่าไอนี่แค่เปิดฉากนะ เดี๋ยวมันจะเข้ามาแค่แค่ บ้านเราเรื่อยๆ เอากันเข้าไป..ฮึๆ)

    สุดท้ายวอนภาครัฐชี้แจงด้วยนะครับ หากไม่มีคำชี้แจงใดๆ เราจะขุดคุ้ยข้อมูลมาตั้งคำถามอีกเพียบ เอาให้ตอบไม่ทันเลย ดีมั้ยคราบ...พี่น้อง


    [​IMG]

    ข้อมูลเพื่มเติมจาก หยุดทำลายเกาะแห่งชีวิต สมุย พะงัน เต่า https://www.facebook.com/save3island
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2013
  5. engineer03

    engineer03 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    4,961
    ค่าพลัง:
    +44,308
    จาก JTWC พบหย่อมความกดอากาศต่ำทางตะวันออกของฟิลิปปินส์

    [​IMG]

    UPDATE #2 | WP17 (INVEST 98W) | 0400 PM 1200Z THU 6 JUNE 2013

    Tropical Disturbance WP17 (INVEST 98W) has remained stationary and continues to persist off the East of Northern Mindanao... causing showers and Thunderstorms over Palau Island, Eastern Visayas and Mindanao... WP17 is being monitored for tropical development by MTC.

    LPA INFO | at 2 PM today, WP17 (98W) was located at 9.3°N 131.6°E… about 670 km East of Surigao City in Mindanao... or 675 km East-Southeast of Guiuan, Eastern Samar | Maximum winds within the disturbance remain at 15 Knots or 25 KPH.


    หย่อมความกดอากาศต่ำ 98W ฟิลิปปินส์

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2013
  6. engineer03

    engineer03 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    4,961
    ค่าพลัง:
    +44,308
    แนวฝนในเช้านี้ครับ สุพรรณ กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม เพชรบุรี ประจวบ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร

    [​IMG]
     
  7. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    คู่มือการติดตามสภาพอากาศด้วยตนเอง


    การคาดการณ์สภาพอากาศระยะสั้น

    1.คาดการณ์สภาพอากาศระยะสั้น (3-7 วัน) ดูจากอะไร ?

    “ดูจากแผนที่ลม และ แผนที่ฝน”

    แผนที่ลม: ลมเป็นกระบวนการหลักในการเกิดฝน ลมหอบเอาความชื้นในทะเลมาก่อตัวเป็นเมฆฝน และพัดเข้าสู่ฝั่ง แผนที่ลมแสดงการพยากรณ์ทิศทางและความเร็วลม ซึ่งจะบอกถึงบริเวณที่น่าจะเกิดพายุ ลมกระโชกแรง และมีฝน (ดูเกณฑ์ความเร็วลมที่ภาคผนวก ก)

    แผนที่ฝน: ฝนเกิดจากการควบแน่นของไอน้ำในอากาศเป็นหยดน้ำ เนื่องจากแนวปะทะของลมร้อนและลมเย็น ลมปะทะภูเขา อากาศร้อนลอยตัวสูงจนไอน้ำกลั่นตัว หรือ เนื่องจากมลพิษในอากาศ แผนที่ฝนบอกว่าจะมีฝนตกที่ใดบ้าง และจะตกหนักมากน้อยแค่ไหน (ดูเกณฑ์ปริมาณฝนที่ภาคผนวก ก)

    2.ดูแผนที่ลมและแผนที่ฝนอย่างไร? ข้อมูลมาจากที่ไหน?

    2.1แผนที่ฝนคาดการณ์ 7 วัน จาก Hamweather.net สามารถบ่งบอกได้ว่าในอีก 7 วันข้างหน้าจะมีฝนตกที่ใดบ้าง และจะตกหนักมากน้อยแค่ไหน ดังภาพที่ 1 โดยแถบสีที่เรียงจากสีเขียวไปหาสีชมพูที่อยู่ด้านบนของภาพบอกถึงปริมาณฝนที่ตก ตัวเลขที่อยู่บนแถบสีหมายถึง ปริมาณฝนที่มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร ส่วนตัวเลขที่อยู่ด้านล่างแถบสีหมายถึง ปริมาณฝนที่มีหน่วยเป็นนิ้ว ตัวเลขที่แสดงวันที่และเวลาที่อยู่ใต้แถบสี เป็นเวลา UTC ซึ่งหมายถึง เวลาสากลที่ใช้กันทั่วโลก หากต้องการเวลาของประเทศไทย จะต้องบวกเพิ่มไปอีก 7 ชั่วโมง

    ยกตัวอย่างจากภาพที่ 1 ซึ่งเป็นวันที่ 28/03/2011 0000UTC – 29/03/2011 0000UTC ถ้าแปลงเป็นเวลาของประเทศไทย จะเท่ากับ 28/03/2554 0700 – 29/03/2554 0700 โดยคำนวณจากสูตร

    การแปลง ค.ศ. เป็น พ.ศ.

    พ.ศ. = ค.ศ. + 543 เช่น 2554 = 2011 + 543

    การแปลงเวลาสากลเป็นเวลาประเทศไทย

    เวลาประเทศไทย = เวลาสากล + 7 ชั่วโมง เช่น 07.00 = 00.00 + 7


    [​IMG]

    ภาพที่ 1แผนภาพคาดการณ์ปริมาณฝนรายวัน โดย Hamweather




    2.2แผนที่ลมและแผนที่ฝนคาดการณ์ 3 - 5 วัน
    แสดงถึงข้อมูลทิศทางและความเร็วลม และข้อมูลปริมาณฝนที่จะตกในอีก 3-5 วันข้างหน้า (ดังภาพที่ 2 และ 3 ตามลำดับ) ความละเอียดระดับจังหวัด เลือกดูได้ทั้งข้อมูลรายวัน และรายชั่วโมง


    [​IMG]

    ภาพที่ 2แผนภาพคาดการณ์ลม โดย สสนก.


    [​IMG]

    ภาพที่ 3แผนภาพคาดการณ์ฝน โดย สสนก.



    การติดตามสภาพอากาศปัจจุบัน

    การติดตามสภาพอากาศปัจจุบัน ติดตามได้จากข้อมูลหลักๆ คือ สถานการณ์พายุ สภาพเมฆฝน แผนที่อากาศ คลื่นทะเล และสถานการณ์ฝน หรือสภาพอากาศอื่นๆ ที่ตรวจวัดด้วยสถานีภาคพื้นดิน

    1)ภาพเส้นทางพายุ แสดงการเคลื่อนที่ และความแรงของพายุ รวมถึงวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของพายุที่มีความเร็วตั้งแต่ 34 นอต (17.5 เมตรต่อวินาที) หรือพายุโซนร้อนขึ้นไป (ภาพที่ 4) ซึ่งระบุวันและเวลาการก่อตัวเป็นพายุ และเวลาที่คาดว่าพายุจะเคลื่อนตัวไปถึงจุดต่างๆ


    [​IMG]

    ภาพที่ 4ภาพเส้นทางพายุ โดย มหาวิทยาลัยฮาวาย

    2)ภาพถ่ายจากดาวเทียม GOES9 แสดงกลุ่มเมฆบริเวณประเทศไทย (ภาพที่ 5) หากมีกลุ่มเมฆกระจุกตัวกันอย่างหนาแน่นมากบริเวณใด โอกาสที่จะเกิดฝนในบริเวณนั้นก็จะยิ่งสูงตามไปด้วย


    [​IMG]

    ภาพที่ 5ภาพถ่ายจากดาวเทียม GOES9 โดย Kochi University

    3)ภาพแผนที่อากาศ แสดงแนวความกดอากาศสูง หรือแสดงตัว “H” ซึ่งบ่งบอกถึงความหนาวเย็นและอากาศแห้ง และแนวความกดอากาศต่ำ หรือแสดงตัว “L” ซึ่งบ่งบอกถึงความร้อนและอากาศชื้น (ภาพที่ 6) แสดงเวลาเป็น GMT


    [​IMG]

    ภาพที่ 6ภาพแผนที่อากาศ

    4)แผนภาพความสูงและทิศทางของคลื่นทะเล แสดงความสูงและทิศทางของคลื่นในทะเลบริเวณต่างๆ (ภาพที่ 7) โดยบริเวณใดที่มีกลุ่มคลื่นสูงต่างจากบริเวณใกล้เคียง บริเวณนั้นมักจะมีฝนฟ้าคะนองหรือพายุเกิดขึ้น


    [​IMG]

    ภาพที่ 7แผนภาพความสูงและทิศทางของคลื่นทะเล โดย Ocean Weather inc.


    5)ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาจากสถานีภาคพื้นดิน ได้แก่ ข้อมูลจากสถานีโทรมาตรตรวจวัดสภาพอากาศอัตโนมัติ ของ สสนก. แสดงข้อมูลปริมาณฝน 24 ชม. และข้อมูลย้อนหลัง (ภาพที่ 8) และข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา แสดงข้อมูลปริมาณฝนอุณหภูมิ ความเข้มแสง ความชื้นสัมพัทธ์ และความเร็วลม (ภาพที่ 9)

    [​IMG]

    [​IMG]

    ติดตามสภาพอากาศ ผ่านเว็บไซต์ www.thaiwater.net

    หลังจากที่ทราบหลักการใช้ข้อมูลแต่ละประเภทในการติดตามสภาพอากาศด้วยตนเองในเบื้องต้นแล้ว หากจะใช้ข้อมูลต่างๆ ร่วมกันผ่านเว็บไซต์ www.thaiwater.net ก็สามารถทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ดังนี้

    การเข้าสู่หน้าระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

    1.ไปที่หน้า http://www.thaiwater.net ดังภาพที่ 10

    2.Click ที่ “ >> ” เพื่อเปิดหรือปิดเมนู ชั้นข้อมูล

    3.หากต้องการใช้แผนที่ขนาดใหญ่ ให้ Click ที่ Full map เพื่อเข้าสู่หน้า http://www.thaifloodwatch.net/igis/ จะทำให้ใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ดังแสดงผลตามภาพที่ 11


    [​IMG]

    ภาพที่ 10หน้าหลักของเว็บไซต์ http://www.thaiwater.net


    [​IMG]

    ภาพที่ 11หน้าเว็บไซต์ http://www.thaifloodwatch.net/igis/

    1.เมนูชั้นข้อมูล ซึ่งสามารถ click ที่ “+” เพื่อแสดงรายละเอียดของชั้นข้อมูลย่อย โดยเมนูชั้นข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลหลัก 7 ชั้นข้อมูล ได้แก่

    1)แผนที่พื้นฐาน เป็นเมนูที่ใช้เลือกรูปแบบการแสดงผลของแผนที่ในแต่ละประเภท เช่น แสดงผลในรูปแบบภาพถ่ายจากดาวเทียม การแบ่งเขตลุ่มน้ำ การแบ่งเขตจังหวัด เป็นต้น จากตัวอย่างในภาพที่ 12 แสดงแผนที่พื้นฐานในรูปแบบ Google Satellite ส่วนภาพที่ 11 แสดงผลในรูปแบบ Thailand


    [​IMG]

    ภาพที่ 12แสดงแผนที่พื้นฐานในรูปแบบ Google Satellite

    2)โครงสร้างพื้นฐาน เป็นเมนูที่ใช้แสดงโครงสร้างพื้นฐานของแผนที่ เช่น ถนน ทางน้ำ ทางรถไฟ ลุ่มน้ำ ขอบเขตการปกครอง จากตัวอย่างในภาพที่ 13 เป็นการเลือกข้อมูลทางน้ำ และลุ่มน้ำ


    [​IMG]

    ภาพที่ 13การเลือกข้อมูลในชั้นของโครงสร้างพื้นฐาน

    3)พื้นที่เสี่ยงภัย เป็นเมนูที่ใช้เลือกเพื่อแสดงผลบริเวณที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภัยในรูปแบบต่างๆ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง ดินถล่ม เป็นต้น จากตัวอย่างในภาพที่ 14 เป็นการเลือกแสดงผลพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มในภาคเหนือและภาคใต้


    [​IMG]

    ภาพที่ 14การเลือกข้อมูลในชั้นของพื้นที่เสี่ยงภัย

    4)ชลประทาน เป็นเมนูที่แสดงผลพื้นที่และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการชลประทาน เช่น ข้อมูลน้ำท่า อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง เขตชลประทาน เป็นต้น โดยสามารถ click ที่สัญลักษณ์ที่แสดงในแผนที่ เพื่อแสดงข้อมูลเพิ่มเติม ดังภาพที่ 15


    [​IMG]

    ภาพที่ 15แสดงรายละเอียดของสถานีตรวจวัดน้ำท่าของกรมชลประทาน

    5)สถานีตรวจวัด เป็นเมนูที่ใช้แสดงผลข้อมูลจากสถานีตรวจวัดปริมาณฝนในหลายรูปแบบ เช่น ปริมาณฝนวันนี้ ปริมาณฝนย้อนหลัง 1 วัน ปริมาณฝนย้อนหลัง 3 วัน เป็นต้น โดยมีการแสดงผลจากสถานีตรวจวัดของกรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา และ AIS และสามารถ click สัญลักษณ์บนแผนที่เพื่อแสดงรายละเอียดของแต่ละสถานีได้เหมือนกับกรณีข้อมูลสถานีวัดน้ำท่า ดังภาพที่ 15

    จากตัวอย่างในภาพที่ 16 เป็นการเลือกข้อมูลปริมาณฝนย้อนหลัง 1 วัน จากสถานีตรวจวัดของกรมอุตุนิยมวิทยา และ click ที่สัญลักษณ์บนแผนที่เพื่อแสดงปริมาณฝนที่สถานีแม่ข้าวต้ม อำเภอเมืองเชียงราย โดยเป็นปริมาณฝนของวันที่ 31 พฤษภาคม 2554


    [​IMG]

    ภาพที่ 16เลือกแสดงผลข้อมูลปริมาณน้ำฝนจากสถานีตรวจวัดของกรมอุตุนิยมวิทยา

    6)ติดตามสถานการณ์น้ำ เป็นเมนูที่ใช้แสดงข้อมูลสำหรับใช้ประกอบการวิเคราะห์เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำที่เกิดขึ้น เช่น ข้อมูลความชื้นในดิน แผนที่ลม สภาพเมฆ เป็นต้น จากตัวอย่างในภาพที่ 17 แสดงข้อมูลความชื้นในดิน โดยเป็นภาพจากหน่วยงาน WMO


    [​IMG]

    ภาพที่ 17แสดงค่าความชื้นในดิน

    7)ข้อมูลน้ำในเขื่อน เป็นเมนูที่ใช้แสดงตำแหน่งของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง โดยเป็นข้อมูลจากกรมชลประทานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สามารถ click ที่สัญลักษณ์บนแผนที่เพื่อแสดงรายละเอียดเพิ่มเติม จากตัวอย่างในภาพที่ 18 แสดงข้อมูลอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ โดยมีการ click ที่สัญลักษณ์ในแผนที่ ซึ่งแสดงรายละเอียดปริมาณน้ำของเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ที่มีปริมาณน้ำกักเก็บปัจจุบันอยู่ที่ 6,926 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 51% เมื่อเทียบกับระดับกักเก็บ


    [​IMG]

    ภาพที่ 18แสดงข้อมูลอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่

    2.เครื่องมือสำหรับเลื่อนแผนที่ สามารถเลื่อนจากซ้ายไปขวา และจากบนไปล่าง


    [​IMG]

    ภาพที่ 19แสดงเครื่องมือการใช้งานแผนที่

    3.เครื่องมือสำหรับย่อขยายแผนที่ อาจเลือกใช้เครื่องมือบนแผนที่หรือใช้การเลื่อน scroll ที่เมาส์ก็ได้


    [​IMG]

    ภาพที่ 20ภาพก่อนและหลังการใช้เครื่องมือย่อขยายแผนที่

    4.เครื่องมือสำหรับเคลื่อนย้ายแผนที่อย่างอิสระ โดยนำเมาส์ไปวางในบริเวณกรอบสีแดง click เมาส์ค้างไว้ แล้วเลื่อนเมาส์แบบอิสระ แผนที่จะเคลื่อนย้ายตามการเคลื่อนย้ายเมาส์


    [​IMG]

    ภาพที่ 21การใช้เครื่องมือสำหรับเคลื่อนย้ายแผนที่อย่างอิสระ

    ตัวอย่างการใช้ข้อมูลร่วมกันในแต่ละชั้นข้อมูล

    จากภาพที่ 22 เป็นการใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่างข้อมูลปริมาณฝนย้อนหลัง 24 ชั่วโมงจากสถานีตรวจวัดของกรมชลประทาน และ AIS กับข้อมูลภาพเมฆจากเมนูชั้นข้อมูลติดตามสถานการณ์น้ำ เพื่อใช้วิเคราะห์ปริมาณฝนที่ตกและปริมาณเมฆที่เกิดขึ้น ช่วยในการสอบยันว่าฝนที่ตกในแต่ละพื้นที่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้หรือไม่


    [​IMG]

    ภาพที่ 22การใช้ข้อมูลร่วมกันในแต่ละชั้นข้อมูล



    หน่วยงานและแหล่งข้อมูลเตือนภัย

    ภัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หมายเลขติดต่อ แหล่งข้อมูล
    แผ่นดินไหว
    ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ 0 2142 1230 USGS Earthquake Hazard Program
    http://earthquake.usgs.gov/
    Pacific Disaster Center
    http://www.pdc.org/world/html/world-viewer.jsp
    กรมอุตุนิยมวิทยา

    1182
    กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 1784 (24 ชม.)
    สึนามิ
    ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ 0 2142 1230 Pacific Tsunami Warning Center
    http://ptwc.weather.gov/
    กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 1784 (24 ชม.)
    น้ำท่วม

    กรมอุตุนิยมวิทยา 1182 การพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา
    http://www.tmd.go.th
    การวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน
    http://water.rid.go.th/wmsc/
    กรมชลประทาน

    1460
    กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 1784 (24 ชม.)
    ดินโคลนถล่ม กรมทรัพยากรธรณี
    0 2202 3600
    กรมทรัพยากรธรณี
    http://www.dmr.go.th
    กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
    http://www.disaster.go.th
    กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 1784 (24 ชม.)


    ภาคผนวก ก: เกณฑ์และความหมายของข้อมูลอุตุนิยมวิทยา





    เกณฑ์จำนวนเมฆในท้องฟ้า โดยแบ่งท้องฟ้าเป็น 10 ส่วน

    ท้องฟ้าแจ่มใส (Fine): ไม่มีเมฆหรือมีแต่น้อยกว่า 1 ส่วนของท้องฟ้า
    ท้องฟ้าโปร่ง (Fair): มีเมฆตั้งแต่ 1 ส่วน ถึง 3 ส่วนของท้องฟ้า
    ท้องฟ้ามีเมฆบางส่วน (Partly Cloudy Sky): มีเมฆเกินกว่า 3 ส่วน ถึง 5 ส่วนของท้องฟ้า
    ท้องฟ้ามีเมฆเป็นส่วนมาก (Cloudy Sky): มีเมฆเกินกว่า 5 ส่วน ถึง 8 ส่วนของท้องฟ้า
    ท้องฟ้ามีเมฆมาก (Very Cloudy Sky): มีเมฆเกินกว่า 8 ส่วน ถึง 9 ส่วนของท้องฟ้า
    ท้องฟ้ามีเมฆเต็มท้องฟ้า (Overcast Sky): มีเมฆเกินกว่า 9 ส่วน ถึง 10 ส่วนของท้องฟ้า

    เกณฑ์อากาศร้อน ใช้อุณหภูมิสูงสุดประจำวันและใช้เฉพาะในฤดูร้อน

    อากาศร้อน (Hot) อุณหภูมิตั้งแต่ 35.0 – 39.9 องศาเซลเซียส
    อากาศร้อนจัด (Very Hot) อุณหภูมิตั้งแต่ 40.0 องศาเซลเซียสขึ้นไป

    เกณฑ์อากาศหนาว ใช้อุณหภูมิต่ำสุดประจำวันและใช้เฉพาะในฤดูหนาว

    อากาศเย็น (Cool) อุณหภูมิตั้งแต่ 18.0 – 22.9 องศาเซลเซียส
    อากาศค่อนข้างหนาว (Moderately Cold) อุณหภูมิตั้งแต่ 16.0 – 17.9 องศาเซลเซียส
    อากาศหนาว (Cold) อุณหภูมิตั้งแต่ 8.0 – 15.9 องศาเซลเซียส
    อากาศหนาวจัด (Very Cold) อุณหภูมิตั้งแต่ 7.9 องศาเซลเซียสลงไป

    เกณฑ์คลื่นในทะเล

    ทะเลสงบ (Calm) ความสูงของคลื่น 0.0 เมตร ถึง 0.10 เมตร
    ทะเลเรียบ (Smooth) ความสูงของคลื่น 0.10 เมตร ถึง 0.50 เมตร
    ทะเลมีคลื่นเล็กน้อย (Slight) ความสูงของคลื่น 0.50 เมตร ถึง 1.25 เมตร
    ทะเลมีคลื่นปานกลาง (Moderate) ความสูงของคลื่น 1.25 เมตร ถึง 2.50 เมตร
    ทะเลมีคลื่นจัด (Rough) ความสูงของคลื่น 2.50 เมตร ถึง 4.00 เมตร
    ทะเลมีคลื่นจัดมาก (Very Rough) ความสูงของคลื่น 4.00 เมตร ถึง 6.00 เมตร
    ทะเลมีคลื่นใหญ่ (High) ความสูงของคลื่น 6.00 เมตร ถึง 9.00 เมตร
    ทะเลมีคลื่นใหญ่มาก (Very High) ความสูงของคลื่น 9.00 เมตร ถึง 14.00 เมตร
    ทะเลมีคลื่นใหญ่และจัดมาก (ทะเลบ้า – Phenomenal) ความสูงของคลื่นมากกว่า 14 เมตร

    บริเวณความกดอากาศสูง (High Pressure Area หรือ High)

    บริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโคลน คือ บริเวณที่มีความกดอากาศสูงกว่าบริเวณใกล้เคียงที่อยู่รอบๆ ในแผนที่อากาศผิวพื้นแสดงด้วยเส้นความกดอากาศเท่าเป็นวงกลม หรือเป็นวงรีรูปไข่ล้อมรอบบริเวณที่มีความกดอากาศสูง นั่นคือ บริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโคลน จะเป็นบริเวณที่มีความกดอากาศสูงขึ้นจากขอบนอกเข้าสู่ศูนย์กลาง บริเวณความกดอากาศสูง หรือแอนติไซโคลนนี้จะมีกระแสลมพัดออกจากศูนย์กลางในทิศทางตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ และในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้ การเคลื่อนไหวของอากาศรอบศูนย์กลางบริเวณความกดอากาศสูง หรือแอนติไซโคลนเช่นนี้ เรียกว่า Anticyclonic Circulation

    โดยทั่วไปในบริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโคลนลมอ่อน และลมมักสงบในบริเวณใกล้ศูนย์กลาง มีเมฆเพียงเล็กน้อย แต่อาจมีเมฆมากกับมีฝนได้ตามขอบของบริเวณความกดอากาศสูง หรือ แอนติไซโคลนที่อยู่ใกล้กับแนวปะทะอากาศ ในซีกโลกเหนือ ทางตะวันออกของบริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโคลน อากาศจะเย็นที่ผิวพื้นและเป็นลมฝ่ายเหนือพัดผ่าน เรียกบริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโคลนชนิดนี้ว่า Cold High ส่วนทางด้านตะวันตก อากาศจะค่อนข้างร้อนและเป็นลมฝ่ายใต้พัดผ่าน เรียกบริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโคลนชนิดนี้ว่า Warm High บริเวณความกดอากาศสูงหรือ แอนติไซโคลนชนิด Cold High แผ่ลงมาเมื่อไร อากาศจะหนาวเย็น ส่วน Warm High อากาศจะร้อนเนื่องจากลมพัดมาจากทางใต้ แม้ว่าจะมีความชื้นสูงแต่ไม่มีฝนตก จะทำให้อากาศร้อนอบอ้าว บางครั้งเรียกว่า คลื่นความร้อน (Heat Wave)

    บริเวณความกดอากาศต่ำ (Low Pressure Area หรือ Low)

    บริเวณความกดอากาศต่ำ คือ บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำกว่าบริเวณใกล้เคียงที่อยู่รอบๆ ในแผนที่อากาศผิวพื้นแสดงด้วยเส้นความกดอากาศเท่าเป็นวงกลมล้อมรอบบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ นั่นคือ บริเวณความกดอากาศต่ำ จะเป็นบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำลงจากขอบนอกเข้าสู่ศูนย์กลาง บริเวณความกดอากาศต่ำนี้จะมีกระแสลมพัดเข้าหาศูนย์กลางในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ และในทิศทางตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้ การเคลื่อนไหวของอากาศรอบศูนย์กลางบริเวณความกดอากาศต่ำเช่นนี้ เรียกว่า Cyclonic Circulation ตามปกติในบริเวณความกดอากาศต่ำจะมีเมฆมากและมีฝนตกด้วย บริเวณความกดอากาศต่ำ แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ

    1.Cold Core ที่แกนกลางของความกดอากาศต่ำชนิดนี้ อุณหภูมิจะต่ำกว่าภายนอก และเกิดในแถบละติจูดสูงๆ ที่อากาศเย็น เมื่อเกิดขึ้นแล้วการหมุนเวียนจะต่อเนื่องกัน ความชันของความกดจะเพิ่มมากขึ้นตามความสูงซึ่งสัมพันธ์กับกระแสลม นั่นคือ บริเวณความกดอากาศต่ำชนิด Cold Core จะมีลมพัดแรงขึ้นตามความสูง และมักมีแนวปะทะอากาศเกิดขึ้นร่วมด้วยเสมอ

    2.Warm Core ที่แกนกลางของความกดอากาศต่ำชนิดนี้ อุณหภูมิจะร้อนกว่าภายนอก การหมุนเวียนจะเหมือนกับชนิด Cold Core และมีเฉพาะในเขตร้อนเท่านั้น เนื่องจากแกนกลางร้อน ฉะนั้น อากาศที่เย็นกว่าจะพัดเข้าแทนที่จมเข้าหาศูนย์กลาง ทำให้เกิดกระแสลมพัดเวียนเป็นก้นหอยเข้าหาศูนย์กลาง ขณะเดียวกันอากาศตรงกลางจะลอยตัวขึ้น ความชันของความกดตามระดับความสูงจะลดลง นั่นคือ ลมที่พัดเวียนเข้าหาศูนย์กลางรอบบริเวณความกดอากาศต่ำชนิด Warm Core ความเร็วลมจะลดลงตามความสูง พายุจะรุนแรงที่สุดที่ผิวพื้นเท่านั้น สูงขึ้นไปลมกำลังอ่อนลง

    โดยบริเวณความกดอากาศต่ำทั้ง 2 ชนิด เกิดฝนตกหนักเท่าๆ กัน แต่ความเร็วลมจะต่างกัน

    ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา



    ภาคผนวก ข: กรณีตัวอย่างจากบันทึกเหตุการณ์น้ำท่วม

    ตัวอย่างที่ 1 น้ำท่วมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากพายุมินดอลเล ช่วงปลายเดือนสิงหาคมปี 2553

    สถานการณ์อุทกภัย (ระหว่างวันที่ 24 - 30 สิงหาคม 2553)
    พื้นที่ประสบภัย 14 จังหวัด 43 อำเภอ 156 ตำบล 740 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร มุกดาหาร สระบุรี และจังหวัดนครนายก ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 28,882 ครัวเรือน 81,723 คน อพยพ 116 ครัวเรือน
    461 คน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 87,414 ไร่ ผู้เสียชีวิต 1 ราย
    ที่มา : ตัดเฉพาะส่วนมาจากรายงานสรุปสถานการณ์สาธารณภัยประจำสัปดาห์ กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย http://www.disaster.go.th/

    การคาดการณ์และติดตามสภาพอากาศ

    1.ภาพคาดการณ์ฝน


    [​IMG]

    ภาพที่ ข-1ภาพคาดการณ์ฝนช่วงวันที่ 24 - 29 สิงหาคม 2553

    จากภาพที่ ข-1 คาดการณ์ได้ว่า ช่วงวันที่ 24 - 29 สิงหาคม 2553 จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยเฉพาะในวันที่ 24 สิงหาคม จะมีฝนตกหนักบริเวณจังหวัดหนองคาย สกลนคร และนครพนม โดยมีปริมาณฝนประมาณ 75-100 มิลลิเมตร

    2.ภาพเส้นทางพายุ


    [​IMG]

    ภาพที่ ข-2ภาพเส้นทางพายุมินดอลเลช่วงวันที่ 22 - 25 สิงหาคม 2553

    จากภาพที่ ข-2 พบว่า ในวันที่ 22 สิงหาคม 2553 เวลา 13.00 น. พายุโซนร้อน “มินดอนเล” (Mindulle) มีศูนย์กลางอยู่บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ห่างออกไปทางทิศตะวันออกของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ประมาณ 180 กิโลเมตร โดยได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือ หลังจากนั้นได้เคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนในคืนวันที่ 24 สิงหาคม 2553 และคาดว่าจะเคลื่อนตัวเข้าสู่บริเวณประเทศลาวในวันที่ 25 สิงหาคม 2553 โดยส่งผลให้ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้จะทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

    3.ภาพถ่ายจากดาวเทียม GOES9


    [​IMG]

    ภาพที่ ข-3ภาพเมฆจากดาวเทียม GOES9 ช่วงวันที่ 24 - 27 สิงหาคม 2553

    จากภาพที่ ข-3 พบว่า มีกลุ่มเมฆปกคลุมหนาแน่นบริเวณตอนบนของประเทศ เนื่องจากอิทธิพลของพายุมินดอลเล และร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้พื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักถึงหนักมาก อาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่


    4.ภาพแผนที่อากาศ


    [​IMG]

    ภาพที่ ข-4ภาพแผนที่อากาศ ช่วงวันที่ 24 - 27 สิงหาคม 2553

    จากภาพที่ ข-4 พบว่า มีร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนกำลังแรงพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนตลอดช่วง ทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง

    เปรียบเทียบกับเหตุการณ์จริงในอดีต

    จากเหตุการณ์ฝนตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเมื่อช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2553 เนื่องจากอิทธิพลของพายุมินดอลเล โดยส่งผลให้ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ เนื่องจากฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลาหลายวัน ซึ่งจากข้อมูลคาดการณ์ฝนและติดตามสภาพอากาศ แสดงให้เห็นว่าจะมีฝนตกหนักในบริเวณดังกล่าว โดยเมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลตรวจวัดปริมาณน้ำฝนจากสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติที่พัฒนาโดย สสนก. และสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา (ภาพที่ ข-5 และ ข-6 ตามลำดับ) พบว่า มีฝนตกหนักในหลายพื้นที่บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจริงสอดคล้องกับผลการคาดการณ์


    [​IMG]

    ภาพที่ ข-5ข้อมูลปริมาณฝนจากสถานีโทรมาตรตรวจวัดสภาพอากาศอัตโนมัติ ช่วงวันที่ 24 - 29 สิงหาคม 2553 โดย สสนก.

    ภาพที่ ข-6ข้อมูลปริมาณฝนจากสถานีตรวจอากาศ ช่วงวันที่ 24 - 29 สิงหาคม 2553 โดย กรมอุตุนิยมวิทยา

    ตัวอย่างที่ 2 น้ำท่วมภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรง ช่วงเดือนตุลาคม 2553

    การคาดการณ์และติดตามสภาพอากาศ
    1.ภาพคาดการณ์ฝน


    [​IMG]

    ภาพที่ ข-7ภาพคาดการณ์ฝนช่วงวันที่ 15 - 18 ตุลาคม 2553

    จากภาพที่ ข-7 คาดการณ์ได้ว่า ช่วงวันที่ 15 - 18 ตุลาคม 2553 จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคกลาง โดยเฉพาะในวันที่ 15 ตุลาคม 2553 จะมีฝนตกหนักบริเวณภาคกลางตอนล่าง โดยมีปริมาณฝนประมาณ 50-100 มิลลิเมตร และในวันที่ 18 ตุลาคม 2553 จะมีฝนตกหนักบริเวณภาคกลางตอนบน โดยมีปริมาณฝนประมาณ 50-100 มิลลิเมตร

    2.ภาพถ่ายดาวเทียม GOES9


    [​IMG]

    ภาพที่ ข-8ภาพเมฆจากดาวเทียม GOES9 ช่วงวันที่ 15 - 18 ตุลาคม 2553

    จากภาพที่ ข-8 พบว่า มีกลุ่มเมฆปกคลุมหนาแน่นบริเวณตอนกลางของประเทศตลอดช่วง เนื่องจากมีร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านบริเวณดังกล่าวตลอดช่วง ทำให้พื้นที่ภาคกลางมีฝนตกหนักถึงหนักมาก อาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในบางพื้นที่

    3.ภาพแผนที่อากาศ


    [​IMG]

    ภาพที่ ข-9ภาพแผนที่อากาศกรมอุตุนิยมวิทยา ช่วงวันที่ 15 - 18 ตุลาคม 2553

    จากภาพที่ ข-9 พบว่า มีร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนพาดผ่านบริเวณตอนกลางของประเทศตลอดช่วง ทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง

    เปรียบเทียบกับเหตุการณ์จริงในอดีต

    จากเหตุการณ์ฝนตกหนักในพื้นที่ภาคกลางเมื่อช่วงเดือนตุลาคม 2553 เนื่องจากมีร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องฝนพาดผ่านบริเวณตอนกลางของประเทศอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ เนื่องจากฝนตกหนักต่อเนื่องเป็นเวลาหลายวัน ประกอบกับน้ำเหนือที่ไหลลงมาสู่ภาคกลางก่อนหน้านี้ ซึ่งจากข้อมูลคาดการณ์ฝนและติดตามสภาพอากาศ แสดงให้เห็นว่าจะมีฝนตกหนักในบริเวณดังกล่าว โดยเมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลตรวจวัดปริมาณน้ำฝนจากสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติที่พัฒนาโดย สสนก. และสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยา (ภาพที่ ข-10 และ ข-11 ตามลำดับ) พบว่า มีฝนตกหนักในหลายพื้นที่บริเวณภาคกลางจริงสอดคล้องกับผลการคาดการณ์


    [ ดูภาพจากด้านล่าง ]

    ภาพที่ ข-10ข้อมูลปริมาณฝนจากสถานีโทรมาตรตรวจวัดสภาพอากาศอัตโนมัติ ช่วงวันที่ 15 - 18 ตุลาคม 2553 โดย สสนก.

    ภาพที่ ข-11ข้อมูลปริมาณฝนจากสถานีตรวจอากาศ ช่วงวันที่ 15 - 18 ต.ค. 2553 โดย กรมอุตุนิยมวิทยา

    ตัวอย่างที่ 3 น้ำท่วมภาคใต้ จากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ช่วงปลายเดือนมีนาคมปี 2554

    สถานการณ์อุทกภัย (ระหว่างวันที่ 23 มีนาคม ถึงวันที่ 6 เมษายน 2554)
    พื้นที่ประสบภัย 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี ตรัง ชุมพร สงขลา กระบี่ พังงา สตูล และจังหวัดนราธิวาส 100 อําเภอ 650 ตําบล 5,378 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 603,486 ครัวเรือน จำนวน 2,021,131 คน
    ที่มา : ตัดเฉพาะส่วนมาจากรายงานสรุปสถานการณ์สาธารณภัยประจำสัปดาห์ กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย http://www.disaster.go.th/

    การคาดการณ์และติดตามสภาพอากาศ
    1.ภาพคาดการณ์ฝน


    [ ดูภาพจากด้านล่าง ]

    ภาพที่ ข-12ภาพคาดการณ์ฝนช่วงวันที่ 26 - 29 มีนาคม 2554

    จากภาพที่ ข-12 คาดการณ์ได้ว่า ช่วงวันที่ 26 - 29 มีนาคม 2554 จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ โดยเฉพาะในวันที่ 28 และ 29 มีนาคม บริเวณจังหวัดพังงา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร ระนอง กระบี่ และพัทลุง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณจังหวัดพังงา อาจมีปริมาณฝนตกสูงถึง 150 มิลลิเมตร

    2.ภาพคาดการณ์ลมและฝน


    [ ดูภาพจากด้านล่าง ]

    ภาพที่ ข-13ภาพคาดการณ์ลมจากแบบจำลอง WRF ช่วงวันที่ 28 - 30 มีนาคม 2554


    [ ดูภาพจากด้านล่าง ]

    ภาพที่ ข-14ภาพคาดการณ์ฝนจากแบบจำลอง WRF ช่วงวันที่ 28 - 30 มีนาคม 2554

    จากภาพที่ ข-13 และ ข-14 คาดการณ์ได้ว่า ช่วงวันที่ 28 - 30 มีนาคม 2554 จะมีลมแรงและฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ตลอดช่วง ซึ่งสอดคล้องกับภาพคาดการณ์ฝนจาก Hamweather (ภาพที่ ข-12)

    3.ภาพถ่ายจากดาวเทียม GOES9


    [ ดูภาพจากด้านล่าง ]

    ภาพที่ ข-15ภาพถ่ายจากดาวเทียม GOES9 ช่วงวันที่ 26 - 29 มีนาคม 2554

    จากภาพที่ ข-15 พบว่ามีกลุ่มเมฆปกคลุมหนาแน่นบริเวณภาคใต้ตลอดช่วง เนื่องจากมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณดังกล่าวตลอดช่วง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมาก และจะส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่


    4.ภาพแผนที่อากาศ


    [ ดูภาพจากด้านล่าง ]

    ภาพที่ ข-16ภาพแผนที่อากาศกรมอุตุนิยมวิทยา ช่วงวันที่ 26 - 29 มีนาคม 2554

    จากภาพที่ ข-16 พบว่า มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมพื้นที่ภาคใต้อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดฝนตกหนัก และเกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่


    5.ภาพความสูงและทิศทางของคลื่นทะเล


    [ ดูภาพจากด้านล่าง ]

    ภาพที่ ข-17ภาพความสูงและทิศทางของคลื่นทะเล ช่วงวันที่ 26 - 29 มีนาคม 2554


    จากภาพที่ ข-17 พบว่าบริเวณฝั่งอ่าวไทยมีคลื่นแรงตลอดช่วง โดยทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร และพัดเข้าฝั่งตลอดช่วง ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง

    1784 (24 ชม.)


    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 001.jpg
      001.jpg
      ขนาดไฟล์:
      145.1 KB
      เปิดดู:
      1,187
    • 002.jpg
      002.jpg
      ขนาดไฟล์:
      130.5 KB
      เปิดดู:
      1,180
    • 003.jpg
      003.jpg
      ขนาดไฟล์:
      127.6 KB
      เปิดดู:
      1,177
    • 004.jpg
      004.jpg
      ขนาดไฟล์:
      86.7 KB
      เปิดดู:
      1,199
    • 005.jpg
      005.jpg
      ขนาดไฟล์:
      101 KB
      เปิดดู:
      1,084
    • 006.jpg
      006.jpg
      ขนาดไฟล์:
      147.3 KB
      เปิดดู:
      1,219
    • 007.jpg
      007.jpg
      ขนาดไฟล์:
      112.5 KB
      เปิดดู:
      1,153
    • 008.jpg
      008.jpg
      ขนาดไฟล์:
      61.1 KB
      เปิดดู:
      1,138
    • 009.jpg
      009.jpg
      ขนาดไฟล์:
      84.7 KB
      เปิดดู:
      1,262
    • 010.jpg
      010.jpg
      ขนาดไฟล์:
      118.5 KB
      เปิดดู:
      1,159
    • 011.jpg
      011.jpg
      ขนาดไฟล์:
      101.7 KB
      เปิดดู:
      1,044
    • 012.jpg
      012.jpg
      ขนาดไฟล์:
      101 KB
      เปิดดู:
      1,139
    • 013.jpg
      013.jpg
      ขนาดไฟล์:
      90 KB
      เปิดดู:
      1,123
    • 014.jpg
      014.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.9 KB
      เปิดดู:
      1,138
    • 015.jpg
      015.jpg
      ขนาดไฟล์:
      107.2 KB
      เปิดดู:
      1,299
    • 016.jpg
      016.jpg
      ขนาดไฟล์:
      91.9 KB
      เปิดดู:
      1,257
    • 017.jpg
      017.jpg
      ขนาดไฟล์:
      82.6 KB
      เปิดดู:
      1,225
    • 018.jpg
      018.jpg
      ขนาดไฟล์:
      90.3 KB
      เปิดดู:
      1,151
    • 019.jpg
      019.jpg
      ขนาดไฟล์:
      59.9 KB
      เปิดดู:
      1,097
    • 020.jpg
      020.jpg
      ขนาดไฟล์:
      68 KB
      เปิดดู:
      1,140
    • 021.jpg
      021.jpg
      ขนาดไฟล์:
      73 KB
      เปิดดู:
      999
    • 022.jpg
      022.jpg
      ขนาดไฟล์:
      78 KB
      เปิดดู:
      1,082
    • B1.jpg
      B1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      171.6 KB
      เปิดดู:
      1,051
    • B2.jpg
      B2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      55.2 KB
      เปิดดู:
      1,077
    • B3.jpg
      B3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      75.2 KB
      เปิดดู:
      1,106
    • B4.jpg
      B4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      68.2 KB
      เปิดดู:
      1,092
    • B5.jpg
      B5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      136.9 KB
      เปิดดู:
      1,120
    • B7.jpg
      B7.jpg
      ขนาดไฟล์:
      114 KB
      เปิดดู:
      1,079
    • B8.jpg
      B8.jpg
      ขนาดไฟล์:
      74.2 KB
      เปิดดู:
      1,084
    • B9.jpg
      B9.jpg
      ขนาดไฟล์:
      69.9 KB
      เปิดดู:
      1,118
    • B10.jpg
      B10.jpg
      ขนาดไฟล์:
      104.2 KB
      เปิดดู:
      35
    • B12.jpg
      B12.jpg
      ขนาดไฟล์:
      111.8 KB
      เปิดดู:
      34
    • B13.jpg
      B13.jpg
      ขนาดไฟล์:
      149 KB
      เปิดดู:
      25
    • B14.jpg
      B14.jpg
      ขนาดไฟล์:
      95.5 KB
      เปิดดู:
      31
    • B15.jpg
      B15.jpg
      ขนาดไฟล์:
      70.3 KB
      เปิดดู:
      31
    • B16.jpg
      B16.jpg
      ขนาดไฟล์:
      73.2 KB
      เปิดดู:
      27
    • B17.jpg
      B17.jpg
      ขนาดไฟล์:
      80.8 KB
      เปิดดู:
      25
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2013
  9. sunny430

    sunny430 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,299
    ค่าพลัง:
    +5,425
    ิbreaking กบฏซีเรียปะทะดุเดือดกับกองกำลังฝ่ายรัฐบาลบนที่ราบสูงโกลัน ซึ่งมีทหารสหประชาชาติลาดตระเวนอยู่ ทำให้ออสเตรียตัดสินใจถอนทหาร ขณะที่อิสราเอลได้ส่งรถถังเข้าไปคุมเชิงแล้ว
     
  10. md626

    md626 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,081
    ค่าพลัง:
    +1,394
    แวะเข้ามาให้กำลังใจคุณsunny40 คุณengineer03 และนักเฝ้าระวังภัยทุกท่านนะคะ
    เห็นชื่อกระทู้แล้วก็อดไม่ไดที่จะเข้ามา ชื่อนี้อ่านแล้วโดนจิต ตื่นเต้นระทึกใจจริงๆเลยค่ะและขอบคุณข้อมูลดีๆทุกข้อมูลที่ช่วยให้เราตื่นตัวอยู่เสมอค่ะ
    สู้ๆ นะคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 มิถุนายน 2013
  11. engineer03

    engineer03 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    4,961
    ค่าพลัง:
    +44,308
    อัพเดท หย่อมความกดอากาศต่ำ กำลังปานกลาง 98W ฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มทวีกำลังขึ้นอีก

    [​IMG]

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2013
  12. ชัยบวร

    ชัยบวร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2011
    โพสต์:
    928
    ค่าพลัง:
    +1,642
    ข้อมูลแน่นปึกเชียวนะคุณ Engineer03
     
  13. engineer03

    engineer03 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    4,961
    ค่าพลัง:
    +44,308
    08-06-2013


    ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา
    "ฝนตกหนักและคลื่นลมแรง"
    ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 08 มิถุนายน 2556


    มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย
    ทำให้ประเทศไทยมีฝนอยู่ในเกณฑ์เป็นแห่งๆ ในระยะนี้

    ในช่วงวันที่ 9-13 มิ.ย. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรง ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศลาวและเวียดนาม ทำให้มีร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านประเทศไทยตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบน ขอให้เพิ่มความระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ และเรือเล็กในทะเลอันดามัน ควรงดออกจากฝั่ง

    ประกาศ ณ วันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เวลา 05.00 น.
     
  14. engineer03

    engineer03 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    4,961
    ค่าพลัง:
    +44,308
    ภาพดาวเทียมล่าสุดขณะนี้จาก JTWC หย่อมความกดอากาศต่ำ 98W ใกล้ฟิลิปปินส์ กำลังจะก่อตัวเป็นพายุ ทิศทางการเคลื่อนตัวค่อนไปทางทิศเหนือ

    [​IMG]
     
  15. engineer03

    engineer03 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    4,961
    ค่าพลัง:
    +44,308
    [​IMG]
     
  16. Nirvana

    Nirvana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    8,188
    ค่าพลัง:
    +20,865
    จริงๆเรื่องนี้พิสูจน์ไม่ยาก ครับ

    เอาตัวอย่างคราบน้ำมันที่ชายหาดมาดู
    ผู้ชำนาญจะทราบทันทีว่าเป็นน้ำมันที่ใช้แล้ว
    ถ่ายออกจากเรือทิ้งทะเลด้วยความมักง่าย

    หรือจะเป็นคราบน้ำมันดิบจากแท่นขุดเจาะ
    ระหว่างทำการปิดหลุมจะต้องมีน้ำมันดิบพุ่งออกมา
    จากหลุมบ้าง ถ้าไม่ระวังหรือกำจัดไม่หมด
    ก็ลอยมาส่งผลกระทบได้เหมือนกัน

    รายการแบบนี้ทางบ้านเมืองคงต้องเอาจริง
    จัดการขั้นเด้ดขาด เพราะบ่อนทำลายการท่องเที่ยวร้ายแรง
    มีผลกระทบกับผู่้คนมากมายในธุรกิจท่องเที่ยว
     
  17. engineer03

    engineer03 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    4,961
    ค่าพลัง:
    +44,308
    09-06-2013


    ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา
    "ฝนตกหนักและคลื่นลมแรง"
    ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 09 มิถุนายน 2556

    มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรง ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมตอนบนของประเทศไทย ทำให้ร่องมรสุมจะพาดผ่านประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ทั่วประเทศมีฝนหนาแน่นเพิ่มมากขึ้น และมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ โดยจะมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงและฝนตกหนักในช่วงวันที่ 9-14 มิถุนายน 2556 สำหรับทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณดังกล่าวเพิ่มความระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ และเรือเล็กในทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันดังกล่าวไว้ด้วย


    ประกาศ ณ วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เวลา 05.00 น.

    (ลงชื่อ) วรพัฒน์ ทิวถนอม

    (นายวรพัฒน์ ทิวถนอม)

    อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา
     
  18. engineer03

    engineer03 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    4,961
    ค่าพลัง:
    +44,308
    [​IMG]
     
  19. engineer03

    engineer03 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    4,961
    ค่าพลัง:
    +44,308
    จาก TSR. พายุดีเพรสชั่นยางิ บริเวณทะเลฟิลิปปินส์ ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 35 น็อต ทิศทางพายุเคลื่อนขึ้นเหนือ เข้าหาประเทศญี่ปุ่น

    [​IMG]

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มิถุนายน 2013
  20. ironman

    ironman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +508
    โอ้ว! ภาพทวีปแอนตาร์กติกา ในวันที่ไร้น้ำแข็ง

    [​IMG]

    [​IMG]

    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก British Antarctic Survey และ NASA

    เมื่อพูดถึงทวีปแอนตาร์กติกา แน่นอนว่าหลาย ๆ คนเป็นต้องนึกถึงแผ่นน้ำแข็งหนาเตอะปกคลุมทั่วไปหมดแน่นอนอยู่แล้ว แต่ภาพใหม่ของมันที่กระปุกดอทคอมนำมาให้คุณได้ชมกันวันนี้ จะทำให้คุณได้เห็นในมุมมองที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน โดยมันเป็นภาพที่มีชื่อว่า Bedmap2 ซึ่งจำลองภาพแอนตาร์กติกาไร้น้ำแข็งขึ้น ด้วยฝีมือนักวิทยาศาสตร์ของ British Antarctic Survey (BAS)

    ซึ่งรูปดังกล่าวนั้นเกิดมาจากการดึงข้อมูลภาพจากดาวเทียมของ NASA ชื่อว่า ICESat รวมทั้งการวิเคราะห์ความหนาแน่นของชั้นน้ำแข็งผ่านคลื่นความถี่วิทยุ, การวัดค่าความสั่นสะเทือน และนำเอาข้อมูลการทำแผนที่มารวมเข้าด้วยกัน จนออกมาเป็นภาพที่สมบูรณ์มากขึ้นกว่า Bedmap1 แผนที่เดิมที่เคยถูกใช้มาเป็นเวลานานกว่า 10 ปีแล้ว ซึ่งการจำลองภาพดังกล่าวช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ได้ข้อมูลใหม่ ๆ มาศึกษาเกี่ยวกับพื้นที่นี้มากขึ้น และแจกแจงออกมาเป็นรายละเอียดได้ตามนี้

    ปริมาณของน้ำแข็งในแอนตาร์กติกานั้นมากกว่าที่เคยวิเคราะห์กันเอาไว้ถึง 4.6%

    จุดกึ่งกลางของแผ่นน้ำแข็งที่ความสูง 95 เมตร มีความหนาแน่นของแผ่นน้ำแข็งน้อยกว่าที่คาดไว้ถึง 60 เมตร

    น้ำแข็งที่ถูกกักอยู่ใต้แผ่นน้ำแข็ง โดยอยู่ใต้ระดับน้ำทะเลอีกที มีปริมาณมากกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ถึง 23% เลยทีเดียว ซึ่งนั่นหมายความว่าน้ำแข็งที่ไวต่อการละลาย จากการถูกน้ำทะเลอุ่นกัดเซาะ มีจำนวนมหาศาลกว่าที่คิด

    การรวมตัวของน้ำแข็งที่ละลายจากแอนตาร์กติกา มีโอกาสจะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นถึง 58 เมตร ใกล้เคียงกับที่ได้มีการวิเคราะห์เอาไว้ก่อนหน้านี้แล้ว

    จุดที่คาดว่าอยู่ลึกที่สุดในธารน้ำแข็ง อยู่ลึกกว่าที่เคยถูกระบุเอาไว้ถึง 400 เมตร

    โดย ดร.ฮามิช พริทชาร์ด หนึ่งในหัวหน้าโครงการวิจัยนี้กล่าวว่า Bedmap2 ไม่ได้แค่ช่วยให้เราเห็นลักษณะพื้นผิวที่แท้จริงใต้น้ำแข็งของที่นี่เท่านั้น แต่ข้อมูลเกี่ยวกับความสูงและความหนาแน่นของน้ำแข็ง จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถคาดคะเนรูปแบบการเปลี่ยนแปลงของน้ำแข็งได้แม่นยำชัดเจนมากขึ้น

    และมันเป็นเรื่องที่สำคัญมาก โดยเฉพาะเรื่องของการคำนวณระดับน้ำทะเลที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต จากการที่มีน้ำแข็งบางส่วนละลายอย่างรวดเร็ว จนอาจส่งผลกระทบกับชีวิตความเป็นอยู่ของเราได้ และเขาเชื่อว่าแผนที่นี้เป็นอีกก้าวหนึ่ง ที่จะทำให้มนุษย์สามารถคำนวณระดับน้ำทะเลล่วงหน้าเพื่อเตรียมรับมือกับปัญหาได้นั่นเอง

    ภาพทวีปแอนตาร์กติกา ในวันที่ไร้น้ำแข็ง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • antarcticaice.jpg
      antarcticaice.jpg
      ขนาดไฟล์:
      140.5 KB
      เปิดดู:
      328
    • q3_26.jpg
      q3_26.jpg
      ขนาดไฟล์:
      162.9 KB
      เปิดดู:
      331
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มิถุนายน 2013

แชร์หน้านี้

Loading...