ดูจิต ดวงจิตจริงมันดวงเดียว

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Saber, 10 พฤษภาคม 2015.

  1. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    อิอิ....ไม่ต้องมีร่ม....ก็มีเงาอยู่...นะ
     
  2. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ในหมู่ชนที่ชอบปกปิดความจริง....คนที่ชอบเปิดเผย...อยู่เฉยๆ ก็ผิด
    ในหมู่ชนที่สกปรกขี้เหร่...คนสวยคนงาม อยู่เฉยๆก็ผิด

    ในหมู่ชนที่มีทุกข์เดือดร้อน...คนเฉยๆอยู่เฉยๆ...ก็ผิด
     
  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    แปลกนะ ถ้าไม่มีอวิชชา ก็ไม่มีจิต เป็นไปได้หรือ?

    จิต คือ ผู้รู้ ทรงไว้ซึ่งความรู้ ใช่หรือไม่? แต่

    คนฉลาดที่มีวิชชา เรียกว่า จิตมีความรู้ที่ถูกต้อง

    คือรู้จักอริยสัจ๔ตามความเป็นจริง

    คนหลงไหล งมงาย ที่เรียกว่า"โง๋" คือคนที่มีอวิชชาใช่หรือไม่?

    อย่าบอกนะว่า อวิชชาแปลว่าไม่รู้ แบบที่ชอบแปลกันแบบผิดๆ ไม่ใช่นะ

    ถ้าแปลอวิชชาว่า "ไม่รู้" ก็ไม่ต้องกลัวเกรงอวิชชาเลยใช่หรือไม่?

    เมื่อไม่รู้ ก็ไม่ผิด เพราะไม่มีใครถือสา เนื่องจากทำไปด้วยความไม่รู้

    แม้พระพุทธองค์ยังยกเว้นสำหรับผู้ไม่รู้ ถ้ารู้แล้วยังทำเรียกว่า "รู้ผิด"

    คนโง่หลงไหล งมงาย เรียกว่า จิตที่รู้ผิดไปจากความเป็นจริงใช่หรือไม่?

    ที่รู้ผิดไปจากความเป็นจริงเพราะอะไร?

    เพราะไม่รู้จักอริยสัจ๔ตามความเป็นจริง

    มีอวิชชาเข้ามาครอบงำในภายหลังใช่หรือไม่? มีพระพุทธพจน์รับรองไว้

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  4. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ไม่แปลกหรอก...ไม่มีจิตคิดสั้น ไม่มีจิตคิดร้าย ไม่มีจิตพยาบาทอาฆาต..ไม่มีจิตที่หลงตัวเอง(จิตหลงในจิตว่าเป็นตนเอง)

    รูปนาม คืออายตนะกายและอายตนะใจ....ถึงไม่มีจิต ก็มีใจไง

    ที่ผมอธิบายมา อ่านแล้ว พอเข้าใจมั้ยครับ...ไม่เข้าใจตรงไหนก็ถามมาได้เลย
     
  5. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ในคำที่ว่า...รูป จิต เจตสิก นิพพาน

    ธัมมาพูด คิดว่า...อะไร นิพพาน....รูปนิพานได้มั้ย จิตนิพพานได้มั้ย เจตสิกนิพพานได้มั้ย

    ถ้าทุกอย่างที่พูดมา นิพพานได้....แล้ว จะเหลือ จิต....อยู่ ได้ ยังไงล่ะ
     
  6. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,421
    ค่าพลัง:
    +3,204
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอาร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ นี้
    โดยความเป็นตน ยังชอบกว่า แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
    เพราะร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง
    สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้างร้อยปีบ้าง
    ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
    ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ฯ..

    คำว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง น่าจะหมายถึงตัววิญญาณธาตุ นะคะ

    เพราะรูปธรรม นามธรรม ที่เรียกว่า ร่างกาย และจิตใจ คือ การรวมตัวของธาตุทั้ง 6

    คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ

    เพราะสภาพของธาตุเป็นของประจำโลก เป็นไตรลักษณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับ

    ดังที่ทรงตรัสเกี่ยวกับธาตุ 6 ไว้อย่างนี้คะ

    ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้วดูกรภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ อย่าง คือ
    ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ...ฯลฯ

    ดูกรภิกษุ ก็ปฐวีธาตุเป็นไฉน คือ ปฐวีธาตุภายในก็มี ภายนอกก็มีก็ปฐวีธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่แค่นแข็ง...ฯลฯ

    ดูกรภิกษุ ก็อาโปธาตุเป็นไฉน คืออาโปธาตุภายในก็มี ภายนอกก็มีก็อาโปธาตุภายใน เป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบไป...ฯลฯ

    ดูกรภิกษุ ก็เตโชธาตุเป็นไฉน คือ เตโชธาตุภายในก็มี ภายนอกก็มีก็เตโชธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน...ฯลฯ

    ดูกรภิกษุ ก็วาโยธาตุเป็นไฉน คือ วาโยธาตุภายในก็มี ภายนอกก็มีก็วาโยธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่พัดผันไป...ฯลฯ

    ดูกรภิกษุ ก็อากาสธาตุเป็นไฉน คือ อากาสธาตุภายในก็มี ภายนอกก็มีก็อากาสธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่ว่าง ปรุโปร่ง...ฯลฯ

    ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือวิญญาณอันบริสุทธิ์ผุดผ่องบุคคลย่อมรู้อะไรๆ ได้ด้วยวิญญาณนั้น คือ รู้ชัดว่า ...........ฯลฯ

    ^ณ ตรงนี้กล่าวถึง วิญญาณธาตุ ( ไม่ใช่วิญญาณขันธ์ )บุคคลย่อมรู้อะไรๆได้ ด้วยวิญญาณ(ธาตุ) คือ รู้ชัดว่า.........
     
  7. VERAJAK

    VERAJAK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    998
    ค่าพลัง:
    +1,579
    ในนี้มีหลายประเภท ท่านต้องคัดสรรเองสิ่งสำคัญวางเถอะครับ ตัวใครตัวมัน สิ่งดีมีสาระเยอะครับ สิ่งไม่ดีไม่มีสาระก็ไม่น้อย รับทั้งสองอย่างดีนำมาปฏิบัติ ไม่ดีปล่อยให้อยู่กับเค้าคนทำก็จบ เราเลือกเสพได้ เลือกและแยกแยะได้ครับ คนที่เราว่าไม่ดีก็ช่วยกันอย่าสนใจ อย่าคุยด้วย ถ้าเข้ามาคุยกับใครก็ช่วยๆกันไล่ รึวางเฉยก็แค่นั้น ส่วนคนที่ดีก็เป็นกัลยามิตรที่ดีต่อกันครับ. สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤษภาคม 2015
  8. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    มันมีความแตกต่างกัน ฮับ ระหว่างการ ทำธรรมสากัจฉา เพื่อ มรรคผลนิพพาน

    กลุ่มดูจิต ถูกตั้งข้อหามากมายจากหลายกลุ่ม แต่ โลกเขารู้กัน และเขาใช้แนว
    การถกของ พระวัดป่า เป็นเกณฑ์ เพราะคนเขามั่นใจว่า คนที่ย้อนแย้ง
    นั้นมี มรรคผลนิพพานแน่นอน

    กลุ่มวัดป่า ที่ตั้งข้อหา กลุ่มดูจิต หรือ กลุ่มคนภาวนาเป็น และ ถกเพื่อ
    ธรรม เขาตั้งประเด็น กลุ่มดูจิต อย่างไร ผมว่า คุณก็น่าจะทราบ

    1. กลุ่มดูจิต เป็น กลุ่มติดตำรา พูดเหมือนตำรา พูดแปลกแหวกแนว
    อย่างไร พระวัดป่าท่าน ชี้เปรี้ยงว่า ลอกตำราเป๊ะ !!!

    2. กลุ่มดูจิต พอติดตำรา ถูกจับได้ว่าพูดตรงตำรา ก็อ้าง ห้ามย้อนแย้ง
    ทำให้ พระท่านชี้เพิ่มว่า กลุ่มดูจิตอ้าง พุทธพจน์ พุทธพจน์ กิเลสอ้างพระไตรปิฏก

    เนี่ยะ เอาแค่ สองข้นี้ ก็ชี้ได้แล้วว่า ที่คุณตั้งประเด็น ฟาดกลุ่มดูจิต
    คุณเล่น สร้างความแหวกแนว ให้แตกต่างจาก ประเด็นที่ เขารู้กันทั่วประเทศ

    3. นิพพาน นี่ยิ่งหนัก พระวัดป่าชี้เปรี้ยงด้วยคำว่า แชรนิพพาน นั้นหมาย
    ถึง กลุ่มดูจิตเอาแต่พูดถึง นิพพานธาตุ เรียก แจกกันเลย

    เนี่ยะ ประเด็นที่สาม เนี่ยะ ก็แตกต่างเข้าไปอีก

    ผมเลย จนใจ จำต้องปรักปรำว่า คุณไม่ได้ถกเพื่อ มรรคผล นิพพาน
    เป็นการ สร้างแนวย้อนแย้งแปลกๆ ใหม่ๆ ไม่เหมือนใคร

    กลุ่มวัดป่าที่ย้อนแย้ง กลุ่มดูจิต ท่านก็ไม่ได้สุ่มสี่สุ่มห้า หน่าคร้าบ เพราะมี
    กลุ่มฆารวาส หลายกลุ่มทีเดียว ที่ เอาหลักฐาน ทั้งคน ทั้งหนังสือ ทั้งซีดี
    ไปให้ท่านตรวจสอบ ....ผลการตรวจสอบ ก็อย่างที่บอก

    กลุ่มดูจิต พูดตรงตำราเป๊ะ แถม เอาแต่พูด รูป จิต เจตสิก นิพพาน แบบอภิธรรม
    เล่นแร่แปรธาตุ อีกต่างหาก

    ซึ่งให้พระท่านย้อนแย้ง ยังมันส์กว่าอีก แต่......ท่านย้อนแย้ง เพื่อให้เล็งเห็นวิธี
    การภาวนา นี่มันมันส์ตรงนี้ และ ไม่ใช่เรื่องการฟาดกัน ขึ้นกูขึ้นมึง เพื่อปรามาสกัน
    เพื่อเอาเขาผิดเราถูก แน่นอน ใครติดตรงไหนก็แกะได้ตรงนั้น เพราะ ทุกสายย่อมมี
    คนเข้าใจผิดอยู่แล้ว

    ธรรมะนั้น ฟังยาก หากเข้าใจว่า ฟังง่าย เอาตามตัวอักษร เละหมดแหละ ติดสัญญา
    ไม่รู้จักสมาธิธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤษภาคม 2015
  9. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    คงเข้าใจ นะ ฮับ

    ประเด็นการถกกันเรื่อง ดูจิต ผิด หรือ ถูก ที่ผมไม่ ถกเพิ่ม ตามประเด็นให้วุ่นวาย
    นั่นก็เพราะ

    พระวัดป่า ท่าน ทำทาง นำให้หมดแล้ว ทุกประเด็น วันนี้ เวลานี้ ก็ยังสามารถติดตาม
    ได้อยู่

    เราจึงไม่จำเป็น ต้องสร้าง วาทะกรรมเพิ่ม หากมีประเด็นใด สงสัย ก็ ฟังธรรมของ พระวัดป่า
    สลับกับ ฟัง ซีดี สลับไป สลับมา กลับไป กลับมา

    ก็จะได้ อานิสงคตรงตามที่ พระท่าน ปรวนาว่า ทำทางให้เห็น หนทางถกธรรมเพื่อ มรรคผลนิพพาน



    ปล. หากสนทนาธรรมกับผมบ่อยๆ คุณก็จะ ยกประเด็น เหมือน เพื่อนๆ สมาชิกเก๋าๆ ในเว็บนี้
    ที่มองข้าม ภาษาแปลกๆ ของผมไปได้ แล้ว เริ่มเห็นด้วยเลยว่า " ผมติดตำรา "
    เอาแต่พูด ตรงตำรา เป๊ะ !!! ฮะเอ่อ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤษภาคม 2015
  10. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    จิตนั้นมีดวงเดียว ในคัมภีร์พระอภิธรรมท่านได้แสดงตามลักษณะประเภทของจิต
    จึงมี ๘๙ - ๑๒๑ ดวง เช่น จิตโลภก็อย่างหนึ่ง จิตโกรธก็อย่างหนึ่ง จิตที่หลงก็อย่างหนึ่ง เป็นต้น
    เหล่านี้ซึ่งเป็นจิตที่ไม่เหมือนกัน เช่นว่า จิตโลภก็ไม่ใช่จิตที่โกรธ จิตที่โกรธก็ไม่ใช่จิตโลภจริงไหม
    ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นจิตคนละประเภทกัน หรืออาจพูดได้ว่าเป็นจิตคนละดวงกันก็ได้

    เพราะจิตดวงที่มีความโลภดับไปแล้ว ก็มาเป็นจิตดวงที่โกรธเกิดขึ้นอีก
    ก็สลับสับเปลี่ยนอยู่เรื่อยๆ อย่างนี้ตลอดเวลา เดียวโกรธ เดียวโลภ เดียวดีใจ
    เดียวเสียใจ เดียวเป็นทุกข์ เดียวเป็นสุข เหล่านี้แหละที่เรียกว่าจิตหลายดวง
    ตามแต่สังขารเจตสิกจะปรุงแต่งให้เป็นไป

    แม้แต่จิตที่มีความโลภยังจำแนกออกได้ถึง ๘ ประเภทด้วยกัน ซึ่งเป็นความลึกซึ้งประเภทของจิต
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ef0a8145.jpg
      ef0a8145.jpg
      ขนาดไฟล์:
      206 KB
      เปิดดู:
      25
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 พฤษภาคม 2015
  11. ucando

    ucando สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +15
    catt3

    https://www.youtube.com/watch?v=jGtiYJ5zFWg

    thx1
     
  12. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,421
    ค่าพลัง:
    +3,204
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น
    ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด
    ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า
    จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น
    ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉันนั้นแล ฯ

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
    สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๒๓๒]

    อีกประการหนึ่ง ........

    ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม สมัยนั้น จิตนั้นย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน
    เป็นจิตเกิดดวงเดียว ****** ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอเธอย่อมเสพ เจริญ
    กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
    ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
    บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัต
    ในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ ประการนี้ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใด
    อย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้ ฯ

    พระไตรปิฎกเล่มที่ 21 พระสุตันตปิฎกเล่มที่ 13 อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต


    ที่ทรงตรัสว่า จิตที่เกิดดับนั้น ถ้าตั้งมั่นอยู่ เรียกว่าจิตดวงเดียว มรรคย่อมเกิดขึ้น
    แก่เธอ เป็นการวิปัสนาเห็นการเกิดดับของจิต ก็รู้ชัด ......เป็นลักษณะอย่างนี้นะคะ
     
  13. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    เนื้อความพระสูตร ละไว้ เอาตรง ความเห็น การแทงตลอดในการเห็น

    เอา จิตดวงเดียว เนี่ยะ มายกอีกที

    พึงทราบว่า จิตมันคว้าจิต มารู้ได้ ดังนั้น จิตดวงเดียว มันหมุนวนรู้ตัวมันเอง
    ประมาณว่า พอจิตพ้นแล้ว ก็เกิดอาการ เอ๊ะใครพ้น ก็ จ้องไปที่จิต หมายว่าจิตพ้น
    การไป หมายๆ (สัญญา)ว่า จิตพ้น เท่านั้นแหละ ฉิ..หายเลย อุปทานในจิต
    [ ตรงนี้ หากมี อุปกิเลส10 เช่น โอภาส นิกันติ จะเห็นเแสงสว่างไปทั่วจักรวาล หรือ ไปเห็น
    ช่อง เห็นจุด เห็นสถาณที่ ก็จะสำคัญไปว่า นั่นคือ ปฐมธาตุ ต้นกำเหนิด พระบิดง บิดา ฉิ..หายกันไป นักต่อนัก ]


    ดังนั้น

    ภาษาปฏิบัติ เวลา คนอิ่ม ให้ระวัง วิถีจิตที่ เคลื่อนไปถามว่า ใครอิ่ม นั่นจะโดน
    ขันธ์มารเด็กๆ มนหลอกเอา จังหนับ กลายเป็น ทำมาปู๊ด เจ้าสำนักจิตเที่ยงแห่ง pantip
    เป๋มังโกโร่ ชัยแยง ขำเปียก .....ด่าอภิธรรมปิฏก ขุดสุตตันตะ ว่า ประกาศ นิพพาน ทำเฮีย
    อะไรในเมือ จิตบริสุทธดวงเดียว นี่ก็คือ ธรรมแท้แล้ว



    ภาษาปฏิบัติ เวลา คนอิ่ม จิตมันไม่ต้องถามหาเลยว่า อะไรอิ่ม นิ่งเป็นใบ้ นี่แหละ
    ของจริง แต่..................


    ต้องเสริมด้วย " ความไม่ประมาท " ด้วย หาก ไม่ถามว่าใครอิ่ม นิ่งเงียบได้ก็
    จริงอยู่ แต่ถ้า จิตมีความประมาท ก็ ฉิ...หาย เหมือนกัน

    เหตุผลนั้น อย่าไปหมายๆ อย่าค้นคว้า คนที่ถึงธรรม จะรู้เอง ไม่ต้องเคลื่อน
    และ ไม่ประมาท พอดิบพอดี เอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤษภาคม 2015
  14. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,421
    ค่าพลัง:
    +3,204
    ถึงกระนั้นยังทรงตรัสว่า เมื่อจิตตั้งมั่น หลุดพ้นแล้ว
    ย่อมพิจารณาเห็น ความเกิดดับของจิตนั้นด้วย ดังนี้.....

    ภ.-พระพุทธเจ้าข้า พ.-แม้หากรูปารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยจักษุ
    ผ่านมาสู่คลองจักษุของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้
    ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์
    ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
    และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้น           
    แม้หากสัททารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยโสต ....           
    แม้หากคันธารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยฆานะ ....           
    แม้หากรสารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยชิวหา ....           
    แม้หากโผฏฐัพพารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยกาย ....           
    แม้หากธรรมารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยมโน ผ่านมาสู่คลองใจ
    ของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย 
    จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
    และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้น.....

    พระไตรปิฎกเล่มที่ 5 พระวินัยปิฎกเล่มที่ 5 มหาวรรคภาค 3

    และ......

    ภิกษุน้อมไปสู่บรรพชา ๑ ผู้น้อมไปสู่ความเงียบสงัด  แห่งใจ ๑
    ผู้น้อมไปสู่ความไม่เบียดเบียน ๑ ผู้น้อมไปสู่ความสิ้นอุปาทาน ๑
    ผู้น้อมไปสู่ความสิ้นตัณหา ๑ ผู้น้อมไปสู่ความไม่หลงไหลแห่งใจ ๑
    ย่อมมีจิตหลุดพ้นโดยชอบ เพราะเห็นความเกิด และความดับแห่งอายตนะ 
    ภิกษุมีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบ มีจิตสงบนั้น ไม่ต้องกลับสะสมทำกิจ
    ที่ได้ทำแล้ว กิจที่จำจะต้องทำก็ไม่มี  เปรียบเหมือนภูเขาที่ล้วนแล้ว
    ด้วยศิลาเป็นแท่งทึบอันเดียวกันย่อมไม่สะเทือนด้วยลม ฉันใด
    รูป เสียง กลิ่น รสผัสสะ และธรรมารมณ์ ทั้งที่น่าปรารถนา
    และไม่น่าปรารถนาทั้งสิ้น ย่อมทำท่านผู้คงที่ให้หวั่นไหวไม่ได้
    ฉันนั้น  จิตของท่านตั้งมั่น หลุดพ้นแล้ว ท่านย่อมพิจารณา
    เห็นความเกิด และความดับของจิตนั้นด้วย.

    พระไตรปิฎกเล่มที่ 5 พระวินัยปิฎกเล่มที่ 5 มหาวรรค ภาค 2
    นิยมคาถา (4)
     
  15. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    คุงจิกยิ้ม ต้องอดทนฟังธรรม ต้องไม่รีบร้อนเอาผล วางใจร่มๆ

    จิตปล่อยจิต เห็นจิตคว้าจิต หรือ เห็นจิตดวงเดียว นี่ยังไม่เกิด สมาธิเลย

    จิตยังไม่ถึงฐาน

    จนกว่า จิตจะเห็นได้ว่า ตัวจิตเองก็ไม่เที่ยง ญาณเริ่มสัมปยุต กินข้าว
    หนึ่งคำ ก็รับรู้ได้ถึงความอิ่ม จิตไม่เคลื่อนถามว่า " รู้อะไร " "อะไรรู้ " [ ภาษาพระไตรปิฏก จะใช้คำว่า ล่วงส่วน หรือ ตกกระแส ]

    เนี่ยะ ขณิกสมาธิ พึ่งเริ่มต้น !!!

    สัมมาสมาธิ จึงไม่ใช่ ฌาณ เหนือกว่า ฌาณ แบบ ฟ้ากับหุบเหว

    ความเหนือกว่า ฌาณ ไม่ใช่ต้องสำเร็จ ฌาณ แต่ หมายเอาว่า รู้ถ้วนในเหตุของ
    การเกิดฌาณ และน้อมได้หากปราถนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤษภาคม 2015
  16. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    เวลาเครียดๆ เข้ามาบอร์ดพลังจิตแล้วรู้สึกสนุกสนานครื้นเครง คิกๆๆ
     
  17. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    นะ ดีฮับ

    พยายาม ย้ำตรงนี้ไปเลย จะเป็นสัญญา ก็ไม่ต้องกลัว อย่าไป
    กลัวว่า สัทธรรม จะเป็นอันตราย

    อย่าให้ คนชนใด มากล่าวให้เราห่างจาก สัทธรรม ที่เรายกขึ้น เพื่อสอบสวน
    เพื่อพิสูจน์

    เรายกเพื่อพิสูจน์ สัจจะนั้น เราไม่ได้ยกมาเพื่อ ก๊อปปี้ หรือ ได้ชื่อว่า ยก


    เมื่อเรา พิสูจน์ได้ ทำตามการเชิญชวนของพระพุทธองค์ที่ ทรงท้า ให้ทดสอบ
    เราจะรู้เลยว่า กิจที่ควรทำ ที่พระองค์ท่านปรารภนั้น มีคุณค่าแท้จริง อย่างไร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤษภาคม 2015
  18. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    นะ

    ถ้าพอเห็น

    ก็จะชี้ให้เห็น รสของการยก สัทธรรมมาแสดง

    การยกสัทธรรมาแสดง แนวอวดจำ มันจะ รสหนึ่ง

    การยกสัทธรรมาแสดง แนว ท้าพิสูจน์ จะอีกรสหนึ่ง ต่างกันมาก เพราะ รสแห่ง
    การยกแบบท้าพิสูจน์ บีบเค้น ผลักดัน ผู้พลัดดันไม่ใช่ ตัวโฆษก( พาหนะ )

    ผู้ผลักดัน ท้าพิสูจน์ มี พระองค์เดียว คือ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น !




    ปล. พระที่สอนผม พอท่านพูดคำว่า โฆษก ท่านจะพูดถึง ท่านท้าวโฆษก ซึ่งก็คือ
    " สุนัขตัวหนึ่ง " ที่ชอบฟังธรรม ชอบเห่า ....จำเรื่องราวไม่ได้หมด จำได้แต่ว่า
    พอ สุนัขนั้นทำกาละ(ตาย) ก็ไปเกิดเป็น เทวดาชื่อโฆษก ทำให้ คนไยหยิบ
    ยืมคำว่า โฆษก มาใช้ ซึ่งก็หมายถึง สุนัข ดีๆ ตัวนั้นตามท้องเรื่อง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤษภาคม 2015
  19. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,421
    ค่าพลัง:
    +3,204
    ไหน ๆ ก็ ไหน ๆ แล้วพูดเรื่องจิตตามที่เข้าใจให้มันจบไปเลยนะคะ
    ที่จริงไม่มีความรู้อะไรเลยนะคะ เพียงแต่มีความบังเอิญเกิดขึ้นบ่อยมาก
    อย่างกรณี ที่บอกว่า จิต คือ ตัววิญญาณธาตุ พิมพ์ลงกระทู้ไปแล้วเมื่อ
    วานก่อน ก็มานั่งนึกทีหลังว่า ความรู้นี้มาแต่ใด ไม่เห็นมีที่มาอ้างอิงเลย
    จึงลบออกก่อน แต่ก็ติดใจอยู่ ก็เลยค้นหาข้อมูล ก็เป็นให้เจอคำสอนของ
    พระพุทธองค์คะ ที่ออกตัวก่อน เดี๋ยวไม่มีใครกล้าสอนนะคะ
     
  20. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ทีหลังอย่าไปลบ

    เวลาเห็น สภาวะ " ทิฏฐิปัตตะ " การผุดขึ้นของ ทิฏฐิ แม้นทิฏฐินั้นเป็น ธรรม
    ก็ให้กำหนดรู้

    เอารสของ " สิ่งที่แหวกออกมาจากความว่าง " ยกขึ้นรู้ เหมือน ตาเห็นรูป ฉะนั้น

    อาการของจิตมันเคลื่อน มันไหลไปคิด คือ ตัวอาการนี้ ยกขึ้นเพื่อเอามาอาศัย
    ระลึก เห็นความเกิด ความดับ

    พอยก อาการทิฏฐิธรรมแหวกออกมาจากความว่าง เพื่อ ตามเห็นความเกิด ความดับ

    ตัวการระลึกได้ว่า มันเกิดดับ ตัวนั้น จะเป็น ตัวสมาธิจิตถึงฐาน เริ่ม ขณิกสมาธิ

    ถ้าไหลไปตรึกธรรม ไหลไปสำคัญว่ามาจากไหน จะเห็นเลย มันพาเรา ลังเลสงสัย
    นี่โดน นิวรณ์กระทืบ เข้าแล้ว

    เราไม่ได้ปฏิบัติเพื่อ " เอาความรู้ใดๆ ออกมาจากความว่าง " นั่นมัน ของหลอก
    เด็ก อาการ ดำริ ที่มาร มันอาศัย ช่อง เข้ากระทืบ

    นะ

    ลองไป ยกดู

    แต่อย่าไปจ้อง อย่าไปกลัวการ ดำริ จนนิ่ง

    เนื้อหาหลัก เราจะอาศัย ระลึก เห็นความเกิด ความดับ ดังนั้น ปัญญาพูดได้
    นั้น เราจะรู้ของเราว่า เราหลงมันไหม เราโดนมันย้อมติด โดนมันหลอกไหม
     

แชร์หน้านี้

Loading...