ชุดฉุกเฉินเก็บไปเก็บมาเหมือนมด

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย 9อมตะ9, 8 มิถุนายน 2012.

  1. yard

    yard Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +66
    ไม่ทราบว่าแก๊สกระป๋องเก็บได้นานกี่ปีคะ ที่บ้านfairy3มีน้ำมันเบนซิน91 ใส่ถัง200ลิตร ไม่ได้ใช้เก็บปิดถังสนิทไว้นานเกือบ 5 ปีแล้ว ตอนนี้กะว่าจะสำรองไว้ใช้กับเครื่องปั่นไฟเวลาเกิดน้ำท่วม ไม่ทราบว่าน้ำมันที่เก็บไว้จะเสื่อมคุณภาพหรือเปล่าคะ^-^
     
  2. plypun

    plypun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +183
    ขออนุญาต แนะนำ

    สำหรับอาหารแห้ง ที่เก็บไว้ ควรเปลี่ยนชุด ทุกๆ 3 เดือน เช่น

    ซื้อมาม่าไว้ 20 ห่อ สำหรับประมาณ 1 อาทิตย์

    พอครบ 3 เดือน ท่านก็เอามาม่าชุดนั้นออกมาทะยอยรับประทาน
    แล้วก็ซื้อชุดใหม่ 20 ห่อ ใส่ไว้แทน

    นี่เป็นคำแนะนำสำหรับการเตรียม อาหารแห้งในชุดฉุกเฉินทั่วไป...


    คงทราบกันดีอยู่ทั่วไปว่า อาหารเก็บได้เป็นปี แต่การทะยอยเปลี่ยน ในกรณีไม่เกิดเหตภัยพิบัิต เป็นการ Recheck ด้วยว่าอาหารมีคุณภาพหรือไม่

    ไม่ใช่ว่าคุณเก็บอาหารลงเป้ ทิ้งไว้เลย สมมุติ เกิดเหตุอีกแปดเดือนถัดไปจากที่คุณซื้ออาหารไว้ คุณก็หิ้วเป้ใบนั้น อพยพ พอเิปิดมา.."กินไม่ได้" เพราะบูดหรือเน่าเสีย หรือมีบางส่วนทำให้หีบห่อฉีกขาด ลมเข้า หมดสภาพ

    นั่นเป็นเหตุผลว่า ชุดอาหารแห้งสำหรับอพยพ ควรทำการเปลี่ยนทุกๆ 2-3 เดือน
     
  3. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    เห็นด้วย...ครับ

    มาม่าเก็บไว้นานๆจะ...มีกลิ่นหืน

    ขอให้เวียนเอามาทานหรือแจกจ่ายไป

    เก็บเป็นข้าวที่ถุงเล็กๆแฟบๆ ถุงข้าวถูกดูดอากาศออก...ก็พอจะกันมอดได้ครับ (เขาดูดอากาศออกแล้วเติมก๊าซลงไป)

    [​IMG]


     
  4. marine24

    marine24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,223
    ค่าพลัง:
    +15,632
    น้ำมันทุกชนิดจะเกิดการะเหย เบนซินจะระเหยมากกว่าดีเซล น้ำมันก๊าด มันตรวจจำนวนให้พอเพียงและระวังอย่าให้ใกล้ไฟ ความร้อน ผมสำรองดีเซลถังละ 30 ลิตร 2 ถัง ตอนน้ำท่วมปั้มน้ำมันใกล้ปิด ต้องใช้น้ำมันสำรองเติมรถเพื่อขนย้ายของออกจากบ้าน
     
  5. 9อมตะ9

    9อมตะ9 อมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +1,288
    สุดยอดครับ........เยี่ยม
     
  6. suthipongnuy

    suthipongnuy ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    661
    ค่าพลัง:
    +1,428
    แต่ละคนจัดหนักกันทั้งน้านนนน :cool:

    ของที่ผมเตรียม รื้อเข้ารื้อออก หลายรอบแล้ว ตอนนี้กระจัดกระจายไปทั่ว
    เพราะแม่ศรีภรรยา เธอใจดี เก็บให้แล้ว แต่เธอจำไม่ได้ว่าเก็บไว้ที่ไหน :mad:
     
  7. yard

    yard Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +66
    น้ำมันเบนซินที่เก็บไว้ปิดอัดอย่างดีคะ ตรงฝาถังปิดด้วยซิลิโคลน น้ำมันยังอยู่เต็มถังคะ แล้วค่าอ๊อกแทนที่อยู่ในน้ำมันจะยังเหมือนเดิมไหมคะ(น้ำมันสีแดงคะ) ส่วนอีก5ถัง ถังละ30ลิตรน่าจะเกือบสองปีแล้วคะ ซื้อมาตอนเริ่มเปลี่ยนสีน้ำมันเบนซินจากสีแดงมาเป็นสีเหลือง (ปิดฝาและอัดซิลิโคลนอย่างดี)สีน้ำมันยังไม่เปลี่ยนเลยคะ
    หากว่าใช้เติมเครื่องปั่นไฟจะทำให้เครื่องพังหรือเปล่าคะ เพราะถ้าเครื่องพังขณะที่เกิดภัยพิบัติคงจะไม่ยุ่งอย่างเดียว คงจะถึงขั้นอดตายแน่เลยหละคะ เพราะสำรองเชื้อเพลิงคือน้ำมันอย่างเดียว เพราะเตรียมเครื่องปั่นไฟขนาด 800W.และ2500w. ไว้บนชั้น2และชั้น3ของบ้านแล้ว ส่วนน้ำมันก็เริ่มให้คนงานถ่ายใส่ถังเหล็กขนาด30ลิตรและเริ่มทยายขึ้นไปเก็บไว้บนชั้น2 และชั้น3 ในห้องที่มิดชิดห่างจากวัสดุที่ทำให้เกิดประกายไฟคะ แต่ยังไม่มั่นใจเรื่องคุณภาพของน้ำมันว่าจะยังใช้ได้อยู่หรือเปล่า เพราะเคยเข้่าไปหาข้อมูล เห็นว่า พวกแก๊สโซฮอล์ มีโอกาศเสียได้คะเพราะแอลกอฮอล์จะระเหยเป็นน้ำและอีกอย่าง เครื่องปั่นไฟก็ไม่แนะนำให้ใช้แก๊สโซฮอล์เพราะกัดลูกยางทำให้คันนมหนูและคาปูอะไรประมาณนี้แหละคะ(อันนี้ไม่ค่อยเข้าใจเรื่องเครื่องยนต์คะ) หากว่าน้ำมันเบนซิน91ที่เก็บไว้ เสื่อมสภาพแล้วเราจะมีวิธีจัดการอย่างไรคะ เพราะตอนซื้อนั้นเจ้าของปั๊มบอกว่า น้ำมันเบนซิน91เก็บได้ไม่จำกัดอายุ แต่มักจะระเหยหมด แต่พอเริ่มหาข้อมูล บางคนก็บอกว่า ค่าอ๊อกแทนมันจะระเหย แต่ถ้าเก็บอย่างดี ไม่ระเหยนี่จะยังใช้งานได้ปกติหรือเปล่าคะ ตอนนี้มีเตาน้ำมัน ตะเกียงน้ำมัน(ใช้เบนซินคะ) ตู้เย็นและตู้แช่แข็งเก็บไว้ชั้น3 และสายไฟ หลอดไฟให้ความสว่าง(ใช้กับเครื่องปั่นไฟ)ตอนนี้ชักเริ่มเครียดกับเรื่องคุณภาพน้ำมันที่มีอยู่เพราะหวังพึ่งน้ำมันและเครื่องปั่นไฟที่มีอยู่ และคิดว่าหากเกิดภัยพิบัติขึ้นจริง น้ำมันที่มีอยู่นี้ก็คงจะเป็นทางรอดเดียวคะ
    คิดว่าจะเตรียมตั้งรับอยู่ที่บ้านคะเพราะอยู่กัน 6 คน เตรียมน้ำใช้ชั้นล่าง มีถัง2000ลิตรอยู่ 10 ถัง 1500ลิตรอีก4ถัง ปั๊มน้ำบาดาลอีก2ตัวคะ ส่วนชั้น3 จะเป็นน้ำใช้ ถัง1000ลิตร อีก6ถัง เครื่องกรองน้ำและถังน้ำกินขนาด100และ200ลิตรอีกอย่างละ2ถังคะ ส่วนอาหารแห้งตอนนี้เริ่มทะยอยเก็บสะสมคะ ส่วนมากจะเป็นข้าวสาร ตอนนี้มีอยู่ประมาณ 200กิโล ปลากระป๋อง 1ลัง น้ำมันพืช 6ขวด มาม่า 4ลัง น้ำปลา1ขวด เกลือ2ถุงเล็ก ซอส2ขวดเล็ก (แบบว่ามีไว้กินกันตายจริงๆ) ส่วนที่เหลือยังคิดไม่ออกคะ คงต้องรอไอเดียจากหลายๆท่านนะคะ
    ปล.เรื่องของน้ำมันเบนซิน91 ท่านใดมีข้อเสนอแนะได้โปรดชี้โพรงให้กระรอกน้อยแสนสวยหน่อยนะคะ เพราะตอนนี้ชักเริ่มเครียดว่าจะขนน้ำมันขึ้นไปเก็บไว้ดีหรือเปล่า น้ำมันจะยังใช้ได้อยู่หรือเปล่า(cry).....ขอบคุณมากนะคะ (f)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2012
  8. อภิเดช

    อภิเดช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +910
    ผมก็ไม่แน่ใจนะครับ เรื่องคุณภาพหรืออายุของน้ำมันเบนซินหากเก็บไว้นาน
    ผมก็มีรุ่นที่เบนซินเป็นสีแดงแต่มีแค่ 15 ลิตร รุ่นใหม่จะเป็นสีเหลือง เก็บไว้เกือบ 200 ลิตรครับ
    โดยส่วนตัวไม่ค่อยกังวลว่ามันจะเสียหรือเสื่อมเท่าไร กลัวระเหยเสียมากกว่า เพราะของผมเป็นแกลลอนพลาสติกธรรมดา อาจมีการสูญเสียหรือระเหยบ้างเล็กน้อย

    ยังไงก็ลองหาตัวเลือกสำรองอื่นเผื่อไว้ก็ดีนะครับ บางครั้งเราอาจจะต้องกลับไปใช้วิถีชีวิตแบบคนโบราณระยะนึง
    แต่ช่วงนี้ผมจะเก็บเกี่ยวสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบันเอาไปใช้ประโยชน์ในช่วงที่เกิดเหตุภัยพิบัติ จำลองเหตุการณ์ดูว่าเมื่อถึงวันนั้น เราต้องการอะไรบ้าง ก็เตรียมจัดหามาไว้แต่เนิ่นๆ
    ซึ่งสิ่งของที่เราเห็นเกลื่อนกลาดในปัจจุบันเราอาจจะมองข้ามมันไป
    แต่ถึงวันนั้นสิ่งของหลายอย่างก็จะดูมีค่าอย่างไม่น่าเชื่อครับ แม้กระทั่งขวดใส่น้ำเปล่า

    แต่เท่าที่ดูคุณ yard ก็เตรียมการได้ดีในระดับนึงเลยนะครับ
    ยังไงซะในครอบครัวของเรา อย่างน้อยก็ขอให้มีซักคนที่ได้เตรียมตัวรับเหตุฉุกเฉินที่อาจจะเกิดได้ทุกเมื่อครับ
    อาจจะดูเหนื่อยหน่อย แต่ตอนหลังจะรู้ว่าสนุกครับ และจะสุขใจมากเมื่อถึงวันนั้น วันที่เราได้รู้ว่าเราคิดถูก ว่าการเตรียมการของเราได้ยังประโยชน์แก่ครอบครัว บุคคลอันเป็นที่รัก และเพื่อนร่วมโลกของเราครับ ^^
     
  9. 9อมตะ9

    9อมตะ9 อมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +1,288
    น้ำมันที่เก็บไว้ในถังจะมีการขยายตัวของอากาศในถัง..ทำให้ถังพองตัวเหมือนจะระเบิด(หรือเปล่า)แต่ที่ผมเก็บไว้มันเป็นอย่างนี้...ต้องเปิดฝาถังให้อากาศระบายออก.....ซึ่งผู้รู้ช่วยดูให้หน่อยครับว่าจะเป็นอันตรายหรือเปล่า....กูรูอิอิ:cool:
     
  10. sunny430

    sunny430 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,299
    ค่าพลัง:
    +5,425
    ต้องสังเกตุตะกอนน้ำมันที่ก้นครับ หากแขวนตะกอนมากท่าจะไม่ดีครับ
     
  11. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    สถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง ลักษณะที่ 3


    วันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2011 เวลา 00:00 น. ผู้ดูแลระบบ
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    [​IMG]

    สถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง ลักษณะที่ 3
    (โรงงานขนาดเล็กหรือเพื่อการเกษตร) เป็นสถานที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด ประกอบด้วยน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก มีปริมาณเกิน 40 ลิตร แต่ไม่เกิน 454 ลิตร หรือชนิดไวไฟปานกลาง มีปริมาณเกิน 227 ลิตร แต่ไม่เกิน 1,000 ลิตร หรือชนิดไวไฟน้อยมีปริมาณเกิน 454 ลิตร แต่ไม่เกิน 15,000 ลิตร

    <table class="tablelist" border="0"> <tbody> <tr> <th class="sectiontableheader">ชนิดน้ำมัน</th> <th class="sectiontableheader">ภาชนะบรรจุน้ำมัน</th><th class="sectiontableheader">ปริมาณน้ำมัน</th> </tr> <tr class="sectiontableentry1"> <td>ไวไฟมาก</td> <td>ขวด , กระป๋อง , ถัง
    </td> <td>เกิน 40 ลิตร แต่ไม่เกิน 454 ลิตร หรือ</td> </tr> <tr class="sectiontableentry2"> <td>ไวไฟปานกลาง</td> <td>ขวด , กระป๋อง , ถัง , ถังเก็บน้ำมันขนาดเล็ก
    </td> <td>เกิน 227 ลิตร แต่ไม่เกิน 1,000 ลิตรหรือ</td> </tr> <tr class="sectiontableentry1"> <td>ไวไฟน้อย</td> <td>ขวด , กระป๋อง , ถัง , ถังเก็บขนาดเล็ก , ถังน้ำมันบนดินขนาดใหญ่
    </td> <td>เกิน 454 ลิตร แต่ไม่เกิน 15,000 ลิตร ชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือหลายชนิด</td> </tr> </tbody> </table>
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    ระยะปลอดภัยในการเก็บภาชนะบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในอาคาร

    <table class="tablelist" border="0"> <tbody> <tr> <th class="sectiontableheader">ชนิดน้ำมันเชื้อเพลิง</th> <th class="sectiontableheader">ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง</th> <th class="sectiontableheader">ระยะห่างจากช่องเปิด เช่น ประตู หน้าต่าง </th><th class="sectiontableheader">ระยะห่างจากขอบผนังอาคาร</th><th class="sectiontableheader">ระยะห่างจากเขตสถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง</th> </tr> <tr class="sectiontableentry1"> <td> ชนิดไวไฟมาก
    ชนิดไวไฟปานกลาง
    หรือชนิดไวไฟน้อย
    ที่มีจุดวาบไฟไม่เกิน
    93 องศาเซลเซียส
    </td> <td> ไม่เกิน 1000 ลิตร
    เกิน 1,000 - 3,000 ลิตร
    เกิน 3,000 - 15,000 ลิตร
    </td> <td> ไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร
    ไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร
    ไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร
    </td> <td> ไม่น้อยกว่า 0.6 เมตร
    ไม่น้อยกว่า 0.6 เมตร
    ไม่น้อยกว่า 0.6 เมตร
    </td> <td> ไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร
    ไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร
    ไม่น้อยกว่า 4.50 เมตร
    </td> </tr> <tr class="sectiontableentry2"> <td> ชนิดไวไฟน้อยที่มีจุดวาบไฟ
    เกิน 93 องศาเซลเซียส
    </td> <td> ไม่เกิน 7,500 ลิตร
    เกิน 7,500 - 15,000 ลิตร
    </td> <td> ไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร
    ไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร
    </td> <td> ไม่น้อยกว่า 0.6 เมตร
    ไม่น้อยกว่า 0.6 เมตร
    </td> <td> ไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร
    ไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร
    </td> </tr> </tbody> </table>
    ระยะปลอดภัยในการเก็บภาชนะบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงไว้นอกอาคาร

    <table class="tablelist" border="0"> <tbody> <tr> <th class="sectiontableheader">ชนิดน้ำมันเชื้อเพลิง</th> <th class="sectiontableheader">ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง</th> <th class="sectiontableheader">ระยะห่างจากเขตสถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง</th> </tr> <tr class="sectiontableentry1"> <td> ชนิดไวไฟมาก ชนิดไวไฟปานกลาง หรือชนิดไวไฟน้อยที่มีจุดวาบไฟไม่เกิน 93 องศาเซลเซียส
    </td> <td> ไม่เกิน 1000 ลิตร
    เกิน 1,000 - 3,000 ลิตร
    เกิน 3,000 - 15,000 ลิตร
    </td> <td> ไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร
    ไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร
    ไม่น้อยกว่า 4.50 เมตร
    </td> </tr> <tr class="sectiontableentry2"> <td> ชนิดไวไฟน้อยที่มีจุดวาบไฟเกิน 93 องศาเซลเซียส
    </td> <td> ไม่เกิน 7,500 ลิตร
    เกิน 7,500 - 15,000 ลิตร
    </td> <td> ไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร
    ไม่น้อยกว่า 3.00 เมตร
    </td> </tr> </tbody> </table>
    สถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง ลักษณะที่ 2
    ต้องมี
    - แผนผังโดยสังเขปแสดงตำแหน่งที่ตั้ง พร้อมสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่อยู่รอบเขตสถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงภายในระยะ ไม่น้อยกว่า 50.00 เมตร
    - แผนผังบริเวณ แสดงเขตสถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง ภาชนะบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิง แนวท่อน้ำมันเชื้อเพลิง และอาคารเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
    - แบบก่อสร้างถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ที่มีปริมาณ ความจุเกิน 2,500 ลิตรขึ้นไป

    ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง

    - ต้องออกแบบและก่อสร้าง ให้สามารถรับน้ำหนักของตัวถังและน้ำมันเชื้อเพลิงที่บรรจุอยู่ในถัง รวมทั้งน้ำหนักอื่นๆ ที่กระทำบนตัวถังได้โดยปลอดภัย
    - ต้องทำการทดสอบการรั่วซึมของตัวถังและข้อต่อต่างๆ โดยใช้แรงดันน้ำ แรงดันอากาศ หรือก๊าซเฉื่อย
    - กรณีที่พบการรั่วซึม ให้ตรวจสอบหารอยรั่วซึมแล้วทำการแก้ไขและทำการทดสอบตามวรรคหนึ่งซ้ำ จนกระทั่งไม่ปรากฏการรั่วซึม
    - ให้ทำการทดสอบถังทุกสิบปี

    ระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิงและอุปกรณ์ที่ใช้กับถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
    ต้องออกแบบและก่อสร้างให้สามารถรับแรงและน้ำหนักต่างๆ ที่มากระทำต่อระบบท่อได้โดยปลอดภัย

    ก่อนการใช้งานระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิงและอุปกรณ์
    ต้องทำการตรวจสอบและทดสอบ ดังต่อไปนี้
    - ตรวจพินิจวัสดุ หรือชิ้นส่วนประกอบต่าง ๆ ของระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิงว่าอยู่ในสภาพดีและได้มาตรฐาน
    - ทำการทดสอบการรั่วซึมโดยใช้แรงดันน้ำ แรงดันอากาศ หรือก๊าซเฉื่อย

    ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย

    - ภาชนะบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงต้องปิดฝาไว้ตลอดเวลาที่ไม่ใช้งาน
    - ห้ามทำการถ่ายเท หรือแบ่งบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงภายในบริเวณที่มีการจำหน่าย หรือขายน้ำมันเชื้อเพลิง
    - ห้ามต่อท่อน้ำมันเชื้อเพลิงระหว่างถังน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าด้วยกัน

    [​IMG]
    [​IMG]

    - บริเวณที่ตั้งภาชนะบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก ชนิดไวไฟปานกลาง หรือชนิดไวไฟน้อยที่มีจุดวาบไฟ ไม่เกิน 93 องศาเซลเซียสเพื่อการจำหน่าย ต้องจัดให้มี

    1) เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งหรือน้ำยาดับเพลิงขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า 6.80 กิโลกรัม จำนวนไม่น้อยกว่า 2 เครื่อง
    2) ทรายในปริมาณไม่น้อยกว่า 200 ลิตร
    3) ป้ายคำเตือน ต้องมองเห็นได้ชัดเจนและอ่านได้ง่าย

    [​IMG]

    แสดงผังบริเวณสถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง ลักษณะที่ี 3



    สถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง ลักษณะที่ 3 เป็นกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ตาม พ.ร.บ.ควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นกิจการที่ต้องขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน จึงสามารถประกอบการได้

    การขออนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ณ สถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง ลักษณะที่ 3 กรมธุรกิจพลังงานยังไม่ได้ถ่ายโอนภารกิจดังกล่าวนี้ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้น การยื่นขออนุญาตให้ยื่นต่ออธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กรณีที่ตั้งสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร หรือยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ที่สถานประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่



    แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม 2012 เวลา 17:24 น.

    .
     
  12. yard

    yard Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +66
    ที่บ้านใช้ถังน้ำมันแบบเหล็กขนาด30ลิตรคะ ฝาปิดอัดด้วยซิลิโคลน เก็บไว้หลายปี น้ำมันไม่ระเหยคะ ส่วนถ้าใส่ถังพลาสติก ถังมักจะบวม ลองปล่อยให้ถังขยายตัวเต็มที่แล้วเติมน้ำมันให้ถึงขีดที่กำหนดแล้วปิดฝาให้สนิทพันดัวยเทปกาวส่วนปากถังเอาถุงพลาสติกคลุมทับอีก2ชั้น ผลปรากฎว่าเวลาผ่านไปประมาณหนึ่งเดือน น้ำมันก็ยังระเหยออกไปได้ประมาณ5% แต่ถ้าใส่ถังเหล็กหรือขวดแก้วและอัดปากถังดีๆน้ำมันกลับไม่ระเหยตัวคะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. 9อมตะ9

    9อมตะ9 อมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +1,288
    ระเหย...ไม่กลัวครับ...กลัวเขาระเบิด...งานเข้าเลย:'(
     
  14. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    ขอแจมด้วยคนค่ะ...

    เป็นคนหนึ่งที่ตุนของสำหรับภัย ... คนที่ไม่เชื่อก็จะมีแต่บอกว่า เปลืองเงิน ไร้สาระ ฯลฯ... แต่เมื่อน้ำท่วมบ้าน (อยู่นนท์) ต้องอพยพขึ้นมาอยู่กันชั้น ๒... ออกไปไหนไม่ได้ เพราะน้ำที่ถนนในบ้านสูงประมาณ ๑ เมตร ส่วนน้ำที่ถนนอกบ้านนั่นไม่ต้องพูดถึงเลย...

    ที่บ้าน มีผู้ใหญ่ ๔ เด็กเล็ก ๓ หมาอีก ประมาณ ๑๕ ตัว (ตอนนั้นเพิ่งมีลูกหมาเพิ่มมา ๒ ครอกพอดี)... ของที่ตุนไว้ ที่คิดว่ามากแล้ว น่าจะอยู่ได้สัก ๓ เดือนสบาย ๆ... ทั้งน้ำ ข้าวสาร อาหารแห้ง...

    พอเอาเข้าจริง.... คนในครอบครัวที่เหลือ (ยกเว้นเราคนเดียว) เขาชินกับการใช้ชีวิตปกติสุข... ถึงแม้น้ำจะรอบบ้าน และเราบอกว่าต้องช่วยกันประหยัดนะ... ทุกคนรับรู้.... แต่... พอถึงเวลาหิวขึ้นมา... ด้วยความเคยชิน (โดยเฉพาะเด็กๆ) ก็ฟาดเรียบ...

    ของที่ว่า น่าจะอยู่ได้ใน ๓ เดือน... แค่เดือนเดียวก็เรียบร้อย...

    โชคดีที่น้ำมันท่วมมากจนออกไปไหนไม่ได้แค่เดือนเดียวพอดี... ไม่งั้นคงยุ่งน่าดู...

    ยังไงเตรียมของเผื่อในกรณีที่คนอื่นที่อยู่กับเรา เขายังปรับตัวไม่ได้ด้วยก็ดีค่ะ... ช่วงแรกๆ ทุกคนจะรู้สึกเหมือนกับกำลังได้ตั้งแคมป์ จะสนุก อยากทดลองนั่นนี่... ไม่ว่าจะเป็นทั้งอาหาร หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ....

    ในขณะที่ทุกคนยังเห็นว่ามีอาหารอยู่ และทุกคนคิดกันเองว่า น้ำคงท่วมไม่เกิน อาทิตย์สองอาทิตย์หรอก... อย่าซีเรียสนักเลย... เดี๋ยวน้ำก็ลด....

    ถ้าเราเข้มงวดมากเกิน (เพราะเราเป็นคนซื้อของตุน) บรรยากาศในบ้านกฝ้จะมีแต่ความหงุดหงิด... สถานการณ์ก็จะยิ่งไปกันใหญ่... ก็เลย เอาน่ะ...


    ค่อบๆ ทยอยของออกมาใช้เท่าที่จำเป็น... ถ้ามันท่วมนานนัก... ของใกล้จะไม่พอจริงๆ เราค่อยหาวิธีใหม่...

    ทำให้เข้าใจเลยค่ะ ว่าถ้าภัยใหญ่มาจริง ๆ (น้ำท่วมคราวที่แล้ว แค่น้ำจิ้มเองนี่) จะมีแต่ความตึงเครียดมากขนาดไหน...

    ว่าแล้ว... คงต้องหาโอกาสไปซื้อของตุนเพิ่มสำหรับคราวต่อไปอีกแล้ว...

    โชคดีทุกท่านค่ะ... ^ ^
     
  15. marine24

    marine24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,223
    ค่าพลัง:
    +15,632
    อย่าเก็บถังน้ำมันไว้ใกล้ไฟ เครื่องใช้ไฟฟ้า สายไฟ เพราะไอระเหยน้ำมันเจอประกายไฟอาจจะลุกไหม้ อย่าให้ถังน้ำมันตากแดดจัด ในถังน้ำมันจะมีแรงดัน ยิ่งถังขนาดใหญ่เขาจะมีท่อระบายอากาศ ต้องเก็บในที่ร่มมีอากาศถ่ายเท จะมีการระเหยต้องมั่นตรวจบ่อยๆ
     
  16. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,374
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,649
    เห็นคุณธรตอบคำถาม...แบบนี้

    แสดงว่า....ปีนี้พร้อม !!!

    555

    .
     
  17. อภิเดช

    อภิเดช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +910
    ผมก็รู้สึกว่าตัวเองก็เตรียมตัวเต็มที่และก็พร้อมที่จะเผชิญกับภัยพิบัติที่กำลังจะเกิดขึ้น โชคดีปีนี้งานดีเงินดี สามารถจัดเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆไว้ได้อย่างที่ใจต้องการเลยครับ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ อุปกรณ์เครื่องใช้ และปัจจัย 4 เหมือนอะไรๆก็เอื้ออำนวยซะทุกอย่าง
    หลังจากที่เตรียมตัวได้พอสมควรแล้ว หลังจากนี้ก็จะเริ่มเตรียมใจแล้วครับ ขอเริ่มจับลมหายใจก่อนดีกว่า 555
     
  18. บุญญาภา

    บุญญาภา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    28
    ค่าพลัง:
    +69
    นับถือจริงๆ ค่ะ คุณมีประสบการณ์เตรียมมานาน ขอทราบว่าเตรียมอะไรบ้าง รอดูอยู่นะคะ :cool:
     
  19. บุญญาภา

    บุญญาภา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    28
    ค่าพลัง:
    +69
    อยากทราบว่าถ้าแพ้ถั่วเหลืองอาการจะเป็นอย่างไรค่ะ รบกวนบอกด้วยค่ะ
     
  20. ชนินทร

    ชนินทร พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,725
    ค่าพลัง:
    +6,384
    พร้อมไม่พร้อม... ก็คงต้องพยายามเอาให้รอดแหละค่ะ... ^ ^

    อย่างน้อย... ปีนี้ก็ไม่มีกวางให้ต้องคอยเป็นกังวลอีก... มีแต่กระต่าย ๔ ตัว กับลูกหมาที่เพิ่งเกิดใหม่อีก ๙ ตัว.... O O"

    เตรียมท่อพีวีซีใหญ่มาคอยรองรับเรืออีกที.... เผื่อคนนั่งจะใหญ่ขึ้นโดยไม่รู้ตัว... อิอิ...

    แต่ไม่รู้สิคะ.... คุณสนั่นรู้สึกเหมือนธรรึเปล่า...

    ทำไมพอมีภัย (น้ำจิ้ม) มาประเดิมแบบนั้น... ธรกลับรู้สึกสนุกที่จะได้ทำโน่นทำนี่... (นอกจากห่วงคนดื้อ ที่อาจจะมีในครอบครัวบ้าง ^___^ นิ้ดหน่อย)

    แต่ไม่รู้ว่าถ้าอาหารจานหลักมา... จะต้องกินจนจุกรึเปล่า...

    แต่ที่แน่ ๆ... ธรคงไม่ไปไหน.... ปักหลักอยู่ที่บ้าน... จนกว่าจะอยู่ไม่ได้จริง ๆ นั่นแหละค่ะ...

    คราวนี้... ถ้าเหลือบ่ากว่าแรงจริงๆ อาจต้องตะแล็บแก็บไปขอความช่วยเหลือจากทีมคุณสนั่น คุณภู ก็ได้นะคะ... ^ ^

    ได้มีโอกาสเป็นทั้งผู้ถูกช่วย และผู้ที่ช่วยคนอื่น... นับว่าชาตินี้ไม่เสียชาติเกิดแล้วค่ะ...

    คุณสนั่นเอง คงพร้อมเต็มร้อยแน่เลย...

    เอาใจช่วยนะคะ ^ ^
     

แชร์หน้านี้

Loading...