จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,428
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำเล่าเรื่อง | เข้าเฝ้าในหลวง 2

    photo.jpg
    FungKhorKid

    Published on Oct 10, 2016
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • sadhu2.jpg
      sadhu2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.9 KB
      เปิดดู:
      780
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2017
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,428
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    สารคดี สัมภาษณ์ในหลวง หาดูยาก แชร์ให้คนไทยได้ดู


    Mr.P;-Published on Oct 13, 2016
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2017
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,428
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    77 เรื่องของในหลวง ที่เราอาจไม่เคยรู้


    สองยาม ;-Published on Apr 4, 2016

    เรื่องของ ในหลวง ที่เรา(อาจ)ไม่เคยรู้
    เกร็ดความรู้ เกี่ยวกับ ในหลวง ตั้งแต่เมื่อทรง พระเยาว์ พระอัจฉริยภาพ ในหลวง งานของในหลวง ของทรงโปรด ในหลวง และเรื่องส่วนพระองค์ …

    ขอบคุณแหล่งที่มา http://www.correct.go.th/popnogb/Abou...

    ติดตามเราได้ที่
    https://www.facebook.com/Songyams
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2017
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,428
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เรื่อง การปฎิบัติศีลบริสุทธิ์เป็นปัจจัยให้เกิดความสุขอย่างยิ่ง(อนุสติ5)

    photo.jpg
    Buddhism Channel
    Published on Aug 10, 2017
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2017
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,428
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    King Bhumibol of Thailand Documentary of his life RIp

    Love Pattaya Thailand
    Published on Oct 17, 2016
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Kingandtwodogs.jpg
      Kingandtwodogs.jpg
      ขนาดไฟล์:
      43 KB
      เปิดดู:
      96
    • Sadhu.jpg
      Sadhu.jpg
      ขนาดไฟล์:
      6.7 KB
      เปิดดู:
      92
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2017
  6. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +16,491
    [​IMG]

    สาธุ ๆ ๆ ฟังธรรมะ มรณะสัญญา ของท่านหลวงพ่อฤาษีลิงดำ เพลินไปเลยคะพี่ต้อย..
     
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,428
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    ชาววังทอง จ.พิษณุโลก ซาบซึ้งในหลวงพระราชทานพระคาถาเตือนสติ - คนชาติไทย จะรักษาความเป็นไทยอยู่ได้ ด้วยมีสติ
    ที่วัดวังทองวราราม อ.วังทอง จ.พิษณุโลก นายสมศักดิ์ บัวคำ อายุ 57 ปี ชาว อ.วังทอง ได้เล่าถึงประสบการณ์ในวัยเยาว์ ที่ตนเองได้มีโอกาสทำงาน “ปิดทองหลังพระ” จัดเตรียมสถานที่รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อปี พ.ศ. 2519 ที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนิน ตัดหวายลูกนิมิตอุโบสถวัดวังทองวราราม โดย นายสมศักดิ์ เล่าว่า ความเป็นมาของอุโบสถหลังนี้ เกิดขึ้นจากความรักความสามัคคี ของชาว อ.วังทอง อย่างแท้จริง เพราะเป็นอุโบสถที่ชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจกันสร้าง โดยได้มีการขอพระราชทานแบบพระอุโบสถมาจากสำนักราชวัง ใช้เวลาถึง 5 ปี จึงสร้างแล้วเสร็จ

    ผู้นำชาวบ้านในครั้งนั้นจึงได้ทำหนังสือไปยังสำนักราชวัง กราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นองค์ประธานตัดหวายลูกนิมิต ความทราบถึงพระองค์ท่านถึงความสามัคคีของชาวอำเภอวังทอง ที่สามารถสร้างอุโบสถหลังนี้สำเร็จได้ด้วยความสามัคคี พระองค์จึงได้พระราชทานหน้าบันพระอุโบสถ ภ.ป.ร. จารึกคาถา “ทยยชาติยา สามคฺคิยํ สติสญฺชานเน โภชิสิยํ รกฺขนฺติ” คนชาติไทย จะรักษาความเป็นไทยอยู่ได้ ด้วยมีสติ สำนึกอยู่ในความสามัคคี และเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี ตัดหวายลูกนิมิตอุโบสถวัดวังทองวราราม เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2519 และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ 30,000 บาท เพื่อบูรณะอุโบสถ เป็นสถานที่ศึกษาประวัติศาสตร์ ในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงทอดพระเนตร คูหาพระพุทธชินราชจำลอง พระพุทธปฏิมากรประธาน ประจำอุโบสถ ทรงรับสั่งว่า “งดงามมาก”


    ขอบพระคุณที่มา พิษณุโลก-ในหลวงพระราชทานพระคาถาเตือนสติ : INN News
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,428
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    เช้านี้ประเทศไทย Thu พฤหัสบดี 20 ตุลาคม 2559 HD

    <iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/S-vgHzeCzZY" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
    NewsThai19;-Published on Oct 20, 2016

    Cr.ข่าว ท.ท.บ 5
    อย่าลิมกด "สมัครรับข้อมูล (Subscribe)" เพื่อติดตามรายการสนุกๆ กับทางเรานะจ๊ะ
    ติดตามเราได้ที่ http://goo.gl/TLZ75N
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,428
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    [​IMG]
    อริยสัจที่ใครๆควรรอบรู้ ควรละ ควรทำให้แจ้ง ควรทำให้เกิดมี

    ภิกษุ ท.!
    อริยสัจที่ใครๆควรรอบรู้นั้น ได้แก่ อริยสัจ คือ ทุกข์ ;
    อริยสัจที่ใคร ๆ ควรละนั้น ได้แก่อริยสัจ คือ เหตุให้เกิดทุกข์ ;
    อริยสัจที่ใคร ๆ ควรทำให้แจ้งนั้น ได้แก่อริยสัจ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ ;
    อริยสัจที่ใคร ๆ ควรทำให้เกิดมีนั้นได้แก่ อริยสัจ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.

    ภิกษุ ท.! เพราะฉะนั้น ในกรณีนี้. พวกเธอทั้งหลาย พึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามที่เป็นจริง
    ว่า “ทุกข์ เป็นเช่นนี้ ๆ,” ดังนี้ ;
    ว่า “เหตุให้เกิดทุกข์ เป็นเช่นนี้ ๆ,” ดังนี้ ;
    ว่า “ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นเช่นนี้ ๆ,”ดังนี้ ;
    ว่า “ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นเช่นนี้ ๆ ;” ดังนี้เถิด.
    - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๖/๑๗๐๙.
    อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า ๑๔๘๙


    http://www.84000.org/tipitaka/read/?19/1709
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,428
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    อาจารย์ยอด : เซียมซีใบสุดท้าย [กรรม]

    <iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/ErxCVUzeyws" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
    อาจารย์ยอด
    Published on Sep 11, 2016

    กดติดตามไว้ กดแชร์ตามอัทธยาศัย มีเรื่องใหม่เล่าให้ฟังทุกเช้าครับ
    youtube.com/c/อาจารย์ยอด
    youtube.com/c/คติธรรม
    youtube.com/c/tvakane

    ขอเชิญทุกท่านร่วมกับ อาจารย์ยอด สร้างแผ่นบันทึกเสียง
    กฏแห่งกรรมและเรื่องเล่าชาวบ้าน ถวายวัดวาอาราม
    มอบให้สถานีวิทยุชุมชนทั่วประเทศ มอบให้โรงเรียนและหอกระจายข่าว
    และภิกษุสามเณรที่สนใจ ติดต่อร่วมบุญได้ที่
    อาจารย์ยอด หมายเลขโทรศัพท์ 084 643 8770
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,428
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    เหตุใด ? พระบรมศพ ในหลวง ร.9 มิทรงประทับบรรจุลงในพระบรมโกศ | เกร็ดสาระน่ารู้กับ Double Colour # EP.2
    <iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/xc6GnofF554" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    Double Colour;-Published on Oct 21, 2016

    คุณรู้หรือไม่ พระบรมโกศ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทนั้น แท้จริงแล้ว มิได้บรรจุพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล เนื่องจาก............

    ติดตามชมได้ใน เกร็ดสาระน่ารู้ กับ Double Colour EP.2
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • KingWaveFull.jpg
      KingWaveFull.jpg
      ขนาดไฟล์:
      126.9 KB
      เปิดดู:
      176
    • Sadhu.jpg
      Sadhu.jpg
      ขนาดไฟล์:
      6.7 KB
      เปิดดู:
      77
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,428
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    a.3744112.jpg
    ประวัติ พระโมฆราชเถระ
    ๑. สถานะเดิม พระโมฆราชเถระ ชื่อเดิม โมฆราช เป็นวรรณะกษัตริย์ เป็นชาวโกศล บิดาและมารดาไม่ปรากฎชื่อ เพราะมีโรคประจำตัวที่รักษาไม่หาย ได้รับความทุกข์ทรมานมาก แม้จะเป็นคนใหญ่โตและมีทรัพย์สมบัติมากมายก็ช่วยไม่ได้ จึงได้ชื่อว่า โมฆราช แปลว่า ราชาผู้หาความสุขไม่ได้
    ๒. ชีวิตก่อนบวชในพระพุทธศาสนา เพราะท่านได้เห็นโทษของร่างกาย จึงออกบวชเป็นฤาษีมอบตัวเป็นศิษย์ของพราหมณ์พาวรี พราหมณ์พาวรีนั้นมีศิษย์เป็นจำนวนมาก ท่านกล่าวว่ามีถึง ๑๖,๐๐๐ คน แต่ที่เป็นศิษย์ผู้ใหญ่มีอยู่ ๑๖ คน คือ อชิตะ ติสสะ เมตเตยยะ ปุณณกะ เมตตคู โธตกะ อุปสีวะ นันทะ เหมกะ โตเทยยะ กัปป์ปะ ชาตุกัณณี ภัทราวุธ อุทยะ โปสาละ โมฆราช ปิงคิยะ
    ๓. มูลเหตุแห่งการบวชในพระพุทธศาสนา พราหมณ์พาวรีได้ทราบข่าวว่า พระสิทธัตถกุมารเสด็จออกบรรพชา ปฏิญาณว่าเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ สนใจใคร่จะสอบสวนหาความจริง จึงเรียกศิษย์ทั้ง ๑๖ คน มีอชิตะเป็นหัวหน้า ผูกปัญหาให้คนละหมวด ส่งไปเฝ้าพระศาสดาซึ่งประทับอยู่ที่ปาสาณเจดีย์ เพื่อทูลถามปัญหา ศิษย์ทั้ง ๑๖ คน ได้ปฏิบัติตามคำของอาจารย์ เมื่อพระศาสดาแก้ปัญหาของพวกเขาจบลง ๑๕ คน ได้บรรลุพระอรหัตผล ส่วนปิงคิยมาณพได้บรรลุเพียงโสดาปัตติผล เพราะจิตใจสับสนไม่แน่วแน่ ห่วงแต่พราหมณ์พาวรี ผู้ที่เป็นทั้งลุงและอาจารย์ ไม่ได้ส่งญาณตามเทศนาโดยตลอด เฉพาะโมฆราชมาณพได้ทูลถามปัญหาว่า ข้าพระองค์จะพิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราชจึงจะไม่เห็น พระศาสดาได้ตรัสตอบว่า ดูก่อนโมฆราช ท่านจงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ พิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของว่างเปล่า ถอนความเห็นว่าตัวตนเสีย บุคคลพึงข้ามพ้นมัจจุราชไปได้ด้วยอุบายเช่นนี้ ท่านพิจารณาเห็นโลกอย่างนี้ มัจจุราชจึงจะไม่เห็น
    ๔. วิธีอุปสมบท เมื่อโมฆราชมาณพฟังพระศาสดาแก้ปัญหาจบลง จิตของเขาก็หลุดพ้นจากอาสวะ ทั้งปวง ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน จึงได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบทกับพระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอข้าพระองค์ พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค พระศาสดาตรัสแก่เขาว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมวินัยเรากล่าวไว้ดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด
    ๕. งานประกาศพระศาสนา พระโมฆราชเถระ เพราะท่านมีร่างกายเป็นแผลที่รักษาไม่หาย จึงถูกกีดกันไม่ให้เข้าอยู่ในเสนาสนะของสงฆ์ ท่านจึงอยู่ตามโคนไม้และที่แจ้ง ไปเก็บผ้าตามกองขยะมาทำไตรจีวรนุ่งห่ม ทำให้เป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของบุคคลประเภทลูขัปปมาณิกา คือผู้ศรัทธาเลื่อมใสหนักไปทางใช้ชีวิตปอน ๆ นับว่าท่านได้เป็นกำลังสำคัญรูปหนึ่งในการประกาศพระศาสนาด้วยปฏิปทาปอน ๆ ของท่านทั้งในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ และเป็นทิฏฐานุคติแก่คนที่เกิดมาภายหลัง เมื่อท่านนิพพานไปแล้ว
    ๖. เอตทัคคะ พระโมฆราชเถระนี้ ตั้งแต่บวชในพระพุทธศาสนา ได้ใช้จีวรที่ปอนมาตลอด ต่อมาพระศาสดาประทับอยู่ที่พระเชตวัน ทรงตั้งพระเถระทั้งหลายไว้ในฐานันดรต่าง ๆ ได้ตั้งท่านไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่า ภิกษุทั้งหลาย ผู้ทรงจีวรอันเศร้าหมองในศาสนาของพระองค์
    ๗. บุญญาธิการ พระโมฆราชเถระ ได้สร้างสมคุณความดีที่เป็นเหตุแห่งนิพพานมาสิ้นกาลนาน ในสมัย พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ได้เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งที่เลิศกว่า ภิกษุทั้งหลาย ผู้ทรงจีวรบังสุกุล จึงได้สร้างสมคุณความดีแลัวปรารถนาตำแหน่งนั้น ได้ทำบุญมาตลอดหลายพุทธันดร จนชาติสุดท้ายได้ถือกำเนิดเกิดในเรือนพราหมณ์ในพระนครสาวัตถี ก่อนที่พระทศพลของเราทั้งหลายจะเสด็จอุบัติ และได้ถึงฝั่งแห่งสาวกบารมีญาณตามปณิธานที่ได้ตั้งเอาไว้ดังกล่าวแล้ว
    ๘. ธรรมวาทะ เราได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว ก็เบิกบานใจ ถวายบังคมพระพิชิตมารด้วยเศียรเกล้าทำแต่กรรมที่ดีงามในศาสนาของพระชินเจ้า ตราบเท่าสิ้นชีวิต เพราะกรรมที่ได้ทำไว้ดีแล้วนั้น และเพราะการตั้งเจตน์จำนงเอาไว้ เราละร่างมนุษย์แล้วได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพราะกรรมคือการเอาไฟเผาลนพื้นหอฉัน เราจึงถูกทุกขเวทนาเบียดเบียน ไหม้ในนรกพันปี ด้วยเศษกรรมนั้นที่ยังเหลือ เราเกิดเป็นมนุษย์ ต้องมีรอยตำหนิในร่างกายถึง ๕๐๐ ชาติ เพราะอำนาจของกรรมนั้น เราเป็นโรคเรื้อนอย่างหนัก เสวยมหันตทุกข์ถึง ๕๐๐ ชาติ
    ๙. นิพพาน พระโมฆราชเถระ ครั้นบรรลุพระอรหัตผลอันเป็นประธาน และได้ช่วยพระศาสดาประกาศพุทธศาสนาตามความสามารถแล้ว ก็ได้นิพพานไปตามสัจธรรมของชีวิต
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ตุลาคม 2016
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,428
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    อาจารย์ยอด : อรหันต์ 7 ขวบ Exclusive
    <iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/TPIZ-JAg_Wg" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

    Published on Oct 21, 2016

    กดติดตามไว้ กดแชร์ตามอัทธยาศัย มีเรื่องใหม่เล่าให้ฟังทุกเช้าครับ
    ขอเชิญทุกท่านร่วมกับ อาจารย์ยอด สร้างแผ่นบันทึกเสียง
    กฏแห่งกรรมและเรื่องเล่าชาวบ้าน ถวายวัดวาอาราม
    มอบให้สถานีวิทยุชุมชนทั่วประเทศ มอบให้โรงเรียนและหอกระจายข่าว
    และภิกษุสามเณรที่สนใจ ติดต่อร่วมบุญได้ที่
    อาจารย์ยอด หมายเลขโทรศัพท์ 084 643 8770
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,428
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    [​IMG]
    ประวัติพระบุญนาคเที่ยวกรรมฐาน ๑(เมฆพัตรระดับ ป.ตรี)

    หนังสือ “ประวัติพระบุญนาคเที่ยวกรรมฐาน” ลงวันที่ ๑๖ เดือน ๙ ขึ้น ๙ ค่ำ วันจันทร์ พ.ศ. ๒๔๘๐ เผอิญมี พระเดชพระคุณท่านเจ้าจอมมารดาทับทิม ที่วังกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช พร้อมด้วยคุณนายอ้นและโยมเข็ม ขอประวัติการณ์ความเป็นมาแล้วของอาตมภาพในเวลาหนึ่งโมงเช้า ๗ นาฬิกา ก่อนรับบิณฑบาต อยู่ ณ ที่ตำหนักในวังนั้น

    ก่อนพระเดชพระคุณจะบัญชาให้เขียนประวัติความเป็นมาของอาตมภาพ ในเวลา ๙ ทุ่มวันนั้น (ตี ๓) ส่วนอาตมภาพกลับมาจากเดินจงกรม ในลานพระเจดีย์แล้วมาเข้าที่นั่งสมาธิในห้องได้รับปุพนิมิต เห็นบุรุษแก่คนหนึ่งมาประกาศชื่อของตนว่า โยมนี้มีชื่อว่า อะสะกรรมบุรุษ แล้วห้างกระแทะเทียมโค (ขี่เกวียนเทียมโค) แล้วว่านิมนต์พระผู้เป็นเจ้าขึ้นนั่ง ครั้งเมื่ออาตมภาพนั่งเสร็จแล้วปรากฏว่า ณ ที่ทั้งปวงเกิดเป็นห้วงน้ำทั้งหมด บุรุษนั้นก็ขับกระแทะเทียมโค นำพาข้ามน้ำนั้นไป พอพ้นฝั่ง บุรุษแก่คนนั้นแสดงตนเป็นผู้มีฤทธิ์ เกิดแสงสว่างรอบตัวแล้วสั่งอาตมภาพว่า จงระวังกิจที่จะทำในวันต่อไป กลัวจะเป็นภัยแก่ท่าน ดังนี้


    พอรุ่งเช้ามาเป็นเวลาย่ำรุ่ง ๓๐ นาที ก็ออกบิณฑบาต ครั้นไปถึงตำหนักที่พักของพระเดชพระคุณเป็นเวลาหนึ่งโมงเช้า พอนั่งลงประมาณสัก ๕ นาที พระเดชพระคุณท่านก็บัญชาขอให้เขียนประวัติการณ์ความเป็นมาของอาตมภาพตั้งแต่ยังรุ่นเยาว์ ครั้งแต่เป็นสามเณรเล็ก ๆ จนกระทั่งออกเที่ยวธุดงค์กรรมฐานมาจนบัดนี้

    ในประวัติความเป็นมาของอาตมภาพมีคนขอ ๒ ครั้งมาแล้ว แต่ยังมิได้เขียนให้สักคน ครั้งที่ ๑ ขุนอาจ กำนันอำเภอหยาดฟ้า ครั้งที่ ๒ ขุนประเทือง อุปราชเจ้าเมืองคำทอง แขวงดินแดนฝรั่งเศส ก็มิได้เขียนให้ บัดนี้เป็นครั้งที่ ๓ ซึ่งพระเดชพระคุณบัญชาขอประวัติความเป็นมาแห่งอาตมภาพ อาตมภาพจำต้องลิขิตเขียนเรียนมาเพื่อพระเดชพระคุณทราบตั้งแต่ต้นจนอวสาน ในประวัติการณ์แห่งอาตมภาพ ดังรายละเอียดเรียนมาในสมุดเล่มนี้

    พระบุญนาค โฆโส

    ๑๖ สิงหาคม ๒๔๘๐
    มารดาพาไปทำบุญวันเกิดที่วัด
    อาตมภาพเป็นบุตรคนสุดท้องของบิดามารดา เมื่ออายุได้ ๖ ขวบพอดี วันนั้นเป็นเดือน ๓ ขึ้น ๓ ค่ำ มารดานำพาไปทำบุญวันเกิดแห่งอาตมภาพที่วัด เผอิญหนาวจัด มองเห็นท่านพระครูปานห่มจีวรผืนใหญ่ เข้าใจว่าจะอุ่น ก็ร้องเรียกให้มารดาขอให้ มารดาบอกว่า ยังไม่บวช เอามาห่มไม่ได้ กลัวบาป อาตมภาพมองขึ้นไปข้างบน เห็นพระพุทธรูปที่พิมพ์ใส่แผ่นกระดาษเรียงลำดับ ๑๒ องค์ ซึ่งพระท่านติดไว้บนหัวนอน ถามมารดาว่า นั้นอะไร มารดาบอกว่า นั้นรูปพระเจ้า ดังนี้

    ต่อนั้น อาตมภาพก็นึกรักใคร่เลื่อมใสในพระพุทธรูปนั้น บอกมารดาขอให้ มารดาไม่ขอ ก็ร้องไห้ขึ้นในทันใดไม่หยุด ตกลงสมภารวัดได้เอามาให้ แล้วนำไปไว้ที่บ้าน วันหลังถามมารดาว่า แม่ เวลานี้พระเจ้าอยู่ที่ไหน แม่บอกว่า พระเจ้าไปนิพพานแล้ว จึงขอให้แม่นำไปนิพพานที่พระเจ้าอยู่ แม่บอกว่า ไปไม่ได้ นิพพานอยู่เมืองฟ้า
    ไปอยู่วัด
    ต่อมาวันหลัง เห็นพระเดินเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับกันมามาก ๆ องค์ คล้ายกับรูปที่ติดอยู่บนหัวนอน นึกว่าเป็นพระเจ้า จึงร้องบอกมารดาว่า แม่ นั่นพระเจ้ามาหน้าบ้านเรา มารดาโผล่ออกมาดูเห็นพระไปเที่ยวบิณฑบาต มารดาจึงร้องนิมนต์พระว่า นิมนต์ก่อนค่ะ พระก็ยืนเป็นแถวลำดับกันอยู่ ก็นึกเลื่อมใสมาก ครั้นมารดากลับมาจากใส่บาตร จึงถามว่า แม่ พระมาจากไหน มารดาบอกว่า ไปจากบ้านไปบวชอยู่ที่วัด เมื่อทราบว่า พระไปจากบ้านไปบวชอยู่ที่วัด ต่อนั้นอาตมภาพก็ขอให้มารดานำพาไปบวช มารดาบอกว่า ยังเล็ก ยังบวชไม่ได้ ก็อ้อนวอนขอให้มารดานำพาไปฝากไว้วัด มารดาก็ห้ามเป็นครั้งที่ ๒ ว่ายังเล็กเกินไป ก็ขอไป ไม่หยุด ต่อมา มารดาไม่พูดด้วย ก็ร้องไห้ว่า อยากไปอยู่วัด ทั้งบ่นทั้งร้องไห้ แต่เช้าจนเที่ยง จนไม่กินข้าวสาย เพราะเสียใจ กลัวมารดาจะไม่ไปฝากที่วัด

    ตกลงมารดาก็นำพาไปวัด เผดียงต่อสมภารว่า อ้ายหนูร้องไห้ อยากมาอยู่วัด ไม่รู้จะทำอย่างไร

    สมภารก็เรียกไปถาม อาตมภาพตอบว่า อยากบวช ท่านจึงถามอีกว่า อยู่กับเราไปก่อนไหม ใหญ่จึงบวช จึงตอบท่านว่า อยู่

    มารดาก็มอบให้อยู่กับพระแต่วันนั้นเป็นต้นมา อยู่กับพระไป ๒ เดือน บิดามาจากขายกระบือ ไม่เห็น ก็ถามหา มารดาบอกว่า แกไปอยู่วัด บิดาก็ออกไปเที่ยววัด ถามว่า แกอยากเข้าไปนอนบ้านไหม จึงบอกกับพ่อว่า ไม่อยากไป พ่อก็มอบให้พระเป็นครั้งที่ ๒

    ครั้นจนเข้าพรรษา อาจารย์ก็พาไปจำพรรษาที่วัดป่า อำเภอยโสธร ไกลจากบ้านเดิมประมาณ ๓ พันเส้น (๑๒๐ กม.) คนเดิน ๓ คืนจึงจะถึง ขณะขี่เกวียนไปตามทาง อาจารย์บอกว่า อีก ๓ ปีจึงบวช ไปอยู่ในเมืองเรียนหนังสือกับเขาก่อน แต่นั้นก็นึกดีใจมาก เพราะอาจารย์กำหนดจะบวชให้ในระหว่าง ๓ ปี แต่ยังไม่รู้ว่าอะไรเป็นปี เป็นเดือน ตื่นเช้ามาก็ถามอาจารย์ทุกวันว่า ถึง ๓ ปีหรือยัง อาจารย์ก็หัวเราะทุกวัน นานเข้าท่านรำคาญ ท่านบอกว่า ถ้าถึง ๓ ปีจะบอกให้ดอกน๊ะ และจะบวชให้พร้อม ต่อนี้ไปอย่าถามอีกนะ จงเรียนหนังสือเข้าให้มาก ๆ จึงบวช
    บรรพชา


    ต่อนั้น อาตมภาพก็ตั้งใจเรียนหนังสือในสำนักอาจารย์ต่อไป จนอายุได้แปดขวบพอดี ตรงกับเดือน ๓ ขึ้น ๓ ค่ำ กลางคืนวันนั้น ฝันเห็นพระเจ้าพร้อมทั้งรัศมีสว่างไสว ตื่นนอนขึ้นมารู้สึกคิดถึงมาก จึงกราบพระสวดมนต์ แล้วก็ปรารถนาเป็นพระเจ้าอีกองค์หนึ่ง ต่อนั้นไปทุก ๆ วัน ก็ตั้งใจเก็บดอกไม้มาบูชา แล้วปรารถนาเป็นพระเจ้า จนอายุ ๙ ขวบ อาจารย์ก็บวชให้เป็นสามเณร พอบวชแล้วก็เรียนหนังสือกับอาจารย์ ต่อไปอีกเป็นเวลา ๖ ปี พอดีอายุครบ ๑๔ ขวบเต็ม ๑๕ ปีย่าง เผอิญพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งชักชวนทำปาณาติบาต ฆ่าแย้ ๑ ตัว

    พอกลับมาถึงวัด ค่ำสวดมนต์ไหว้พระแล้ว ต่อไปประมาณ ๔ ทุ่ม ก็จำวัดแล้วนิมิตฝันเห็นพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระภิกษุ ๒๓ องค์นั่งประชุมอยู่ใต้ร่มไม้หว้าชุมพู และท่านแสดงธรรมว่า

    “จะเป็นสมณะเพราะศีรษะโล้นก็หามิได้ คนจะเป็นสมณะเพราะผ้าเหลืองก็หามิได้ จะเป็นสมณะเพราะไม่มีภรรยาก็หามิได้ จะเป็นสมณะเพราะเรียนรู้มากก็หามิได้ ผู้เที่ยวไปไม่มีอาลัยในชีวิตและถึงพร้อมด้วยความเป็นอยู่และที่อาศัยเช่นนี้ จึงได้นามว่าเป็นสมณะ”

    ขณะที่ฝันนั้นปรากฏว่าแดดร้อนจัด อาตมภาพก็เข้าไปอาศัยอยู่ในร่มนั้นเย็นดี แล้วท่านเอาน้ำให้ฉัน น้ำนั้นเมื่อฉันเข้าแสบสมอง คล้ายกลิ่นสุราและแสบจมูกมาก เลยตื่นขึ้น ขณะนั้นเป็นเวลา ๗ ทุ่ม (ตี ๑) เงียบสงัดและเดือนหงายแจ้งสว่าง มองไปเห็นเพื่อนบรรพชิตทั้งพระและสามเณรนอนเกลื่อนกล่น อยู่บนพนักเล็กข้างนอกกุฏิ เพราะฤดูนั้นเป็นฤดูร้อน เป็นเดือน ๔ แรม ๓ ค่ำ ต่อนั้นอาตมภาพจึงลงจากพนักกุฏิเล็ก ไปนั่งอยู่ใต้ร่มมะม่วง หวนคิดถึงคำฝันที่ปรากฏทั้ง ๔ ข้อ แล้วนึกถึงมารยาท ความเป็นอยู่ของพระสาวกและพระศาสดา คงไม่ตลกคะนองเกลื่อนกันเช่นนี้ พอนึกแล้วก็ตกลงใจว่า เราจะต้องหลีกออกไปบำเพ็ญความสงบและมารยาทที่ปรากฏฝันเห็นนี้ให้จงได้ นึกแล้วนึกเล่าจนนอนไม่หลับอีกในคืนนั้น
    ลาอาจารย์เข้าป่าเที่ยวกรรมฐาน

    พอรุ่งเช้าขึ้นมา ฉันแล้วก็ลาพระอาจารย์ ท่านก็ไม่อนุญาต บอกพระอาจารย์ว่า ผมตกลงแล้วแต่คืนนี้ ผมเห็นจะไม่อยู่ ว่าแล้วก็ขอขมาโทษต่ออาจารย์ วางขันดอกไม้ไว้ซึ่งหน้าท่านแล้วก็หลีกไป วันแรก เดือน ๔ แรม ๔ ค่ำ ไปพักป่าช้าบ้านหนองแสง ตอนค่ำลงนึกกลัวผี ได้พิจารณาว่า

    “อะไรเป็นผี ได้ความว่า ใจเป็นผี เพราะร่างกระดูกเขาเผาและฝังหมดเสียแล้ว ตกลงว่าไม่จริง วัว, ควาย, หมู, ไก่ ก็มีใจทั้งนั้น ทำไมคนกินเนื้อมันได้ เช่นวัว ควาย ยิ่งตัวใหญ่ ไม่กลัวผีมันหลอกหรือ ทำไมกินเนื้อมันได้ ขนเอาเนื้อ เอากระดูกมันไปเก็บไว้ที่บ้าน ทั้งกินเสียด้วย จนกระทั่ง ปู, ปลา ก็มีใจทั้งนั้น หากว่าใจสัตว์ที่ตายแล้วเป็นผี อยู่กับซากศพที่ฝังไว้แล้วนั้น เป็นผีหลอกคน ถ้าเช่นนั้น คนที่ฝังซากวัว, ซากควายลงที่ท้องของตน ก็จะไม่เป็นอันอยู่ อันนอน เพราะผีมันจะหลอก เปล่าทั้งนั้น ไม่ปรากฏเลยว่า ค่ำมา คนนั้นคนนี้ถูกผีวัวหลอก หรือผีหมู ผีไก่หลอก ก็เปล่าทั้งนั้น

    ตกลงว่ามนุษย์นี้หลอกกันทั้งนั้น สิ่งใดกินเนื้อมันเห็นว่าไม่มีผีมันหลอกดังนี้ มนุษย์ที่ตายแล้วฝังอยู่ป่าช้า เช่นนี้ยิ่งแล้ว เพราะมันกลัวป่าช้า ตายแล้ว ที่ไหนมันจะมา ถ้าใจของคนยังมีติดอยู่ที่กาย ทำไมมันจะตาย ใจคนหนีแล้วแต่อยู่เรือนขณะมันตายทีแรก นั้นมิใช่หรือ มันจึงตาย”


    เดินธุดงค์เข้าในป่าดงพงไพร

    เมื่อพิจารณาเช่นนี้ แต่วันนั้นมา ขึ้นชื่อว่าป่าช้า อยู่ได้ทุกแห่งไป ไม่ต้องกลัวผีอีก เดินเที่ยวพักไปตามป่าช้าบ้านอื่น ๆ ต่อไปได้ ๙ คืน ถึงฝั่งแม่น้ำโขงซึ่งเป็นแดนของฝรั่งเศส (ในขณะนั้น ประเทศลาวอยู่ใต้ปกครองของฝรั่งเศส) เป็นเวลา ๕ โมงเศษ ข้ามเรือแกวคนหนึ่ง พอข้ามไปถึงฝั่งนั้นบ้านเล็กตั้งริมฝั่งแม่น้ำโขง ยังไม่มีวัด ทั้งอยู่ใกล้ริมภูเขา ชื่อบ้านแก้งกะอาก

    พอไปถึงบ้านนั้นมืด พอดีผู้ใหญ่บ้านเขานิมนต์ให้ขึ้นพักจำวัดที่เรือน เพราะกลัวช้างป่า เขาบอกว่ามันเข้ามารบกวนบ้านนั้นทุกวัน เมื่อได้ยินเขาเล่าเช่นนั้น อาตมภาพก็ยืนพักพิจารณาอยู่ครู่หนึ่ง ได้ความว่า

    “บัดนี้เราเป็นบุตรของพระศาสดา เราจะเชื่อความเป็นพ่อของเรา ในข้อที่ว่าอย่าลุอำนาจแก่ความกลัวอันมีประจำใจมาแล้วแต่วันเกิด ทุกตัวสัตว์จะนำพาคนได้ดี (อย่างไร) เพราะความกลัว แล้วมนุษย์และสัตว์ทั้งโลกนี้มีความกลัวอยู่เช่นนี้ ตกลงว่าหัวใจเราก็จะแค่หัวใจสัตว์เท่านั้น ไม่เห็นแปลกจากสันดานสัตว์”

    นึกแล้วก็ตั้งใจอดทนต่อความกลัวเดินผ่านบ้านนั้นไป

    คนในบ้านนั้นทักท้วงว่า พระกรรมฐาน ท่านไม่พักเรือนคน (หรือ?) แต่ขณะนั้นก็มีความกลัวอยู่อย่างระส่ำระสาย แต่นึกถึงว่า ความอดทนคือขันติบารมี ก็เป็นธรรมอันจะพึงบำเพ็ญส่วนหนึ่ง ตกลงว่าเวลานั้นจำเป็นจำไป ก็คืออดทนต่อความกลัวต่อสัตว์ร้ายนั้นไป มิใช่ไปด้วยความหมดกลัว อย่างไม่กลัวผี
    ช้างกระทืบกลด

    พอไปถึงที่แห่งหนึ่ง เป็นหนทางช้างเดิน แถบทรายภูเขา ขณะนั้นยังไม่รู้ว่าที่นั้นเป็นทางช้าง เห็นแต่ว่าที่นี้เตียนดี เมื่อเราต้องการเดินจงกรม ก็จะได้เดินตามแนวนี้ และที่นั้นมีต้นตะเคียนใหญ่ และมีเครือหวายเป็นพุ่มห้อยล้อมต้นตะเคียนดกหนาเป็นร่มดี

    ฝ่ายว่าอาตมภาพจึงตรึงกั้นมุ้งลงเพื่ออาศัยในที่นั้น เสร็จแล้วก็นั่งสมาธิต่อไปในที่นั้น

    ต่อมาตอนดึกจวนรุ่ง เวลา ๙ ทุ่ม (ตี ๓) เผอิญมีช้างตัวหนึ่งเป็นประธานในช้างทั้งหลาย เดินผ่านเชือกเผือก (เชือก) ที่แขวนกลด (ทำ)ให้ขาดตกลง แล้ว ได้ยินเสียงช้างพับหูดังโปะ ก็นึกตกใจ ว่านี้เป็นเสียงอะไร เปิดมุ้งขึ้นดู เห็นช้างยืนเทียมกลด ก็นึกตกใจจนหายใจไม่ออก แน่นหน้าอกขึ้นมาแล้ว ก็ค่อยคลานออกจากมุ้ง เข้าไปอาศัยพุ่มหวายที่รกห้อมล้อมต้นตะเคียนอยู่ ไม่ช้าช้างก็ฉวยเอามุ้งขึ้นฟาดบนศีรษะช้างเอง แล้วจับเหวี่ยงลงมา แล้วก็เอาเท้าขยี้ ไม้ช้าจับเอามุ้งขึ้นฟาดบนศีรษะของตนแล้วดึงลงมาขยี้ ทำดังนี้ จนมุ้งและกลดมุ่นสลาย หยิบไม่ถูกแล้ว ช้างก็ยืนอยู่ครู่หนึ่ง แล้วก็หันหน้าไปเข้าไปทางต้นตะเคียน แล้วก็ดึงเครือหวายที่นั้นกินเป็นอาหาร ตกลงเวลานั้น ซ่อนตัวอยู่ในพุ่มหวายใต้คางช้าง

    อีกไม่ช้า หมู่ของช้างเดินตามกันมาอีก ๒๑ ตัว มาทันช้างตัวที่กินหวายอยู่ก่อนนั้น ต่างตัวก็มายืนห้อมล้อมต้นตะเคียน ดึงเครือหวายลงมากินเป็นอาหาร

    ฝ่ายว่าอาตมภาพ ทั้งนี้รู้สึกว่าแค้นใจอยู่ คือแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก เพราะความกลัวอยู่สักครู่หนึ่ง นึกขึ้นได้ว่า

    “มาคราวนี้เพื่อบำเพ็ญกิจของศาสนา ฉะนั้น ขออันตรายทั้งหลายจงพินาศฉิบหายไปด้วยอำนาจคุณพระรัตนตรัย”

    พออธิษฐานเสร็จแล้วก็เกิดคันตามลำคอ และแสบจมูกขึ้นมา ทนไม่ได้ก็ไอ และกระแอมขึ้นด้วยเสียงอันดัง ฝ่ายว่าช้างทั้งหลายเหล่านั้น ตื่นเสียงไอพากันวิ่งแตกตื่นหนีไป ขณะนั้น ก็พอสว่าง ออกมามองดูบาตรและห่อผ้า เห็นไปอยู่ในเหวซึ่งช้างมันเหวี่ยงลงไป ก็ค่อย ๆ คลานลงไปที่เหวเอาบาตร และผ้าขึ้นมาได้ แล้วก็ครองผ้าและบาตร เข้าไปบิณฑบาตในบ้านนั้น

    นายดีผู้ใหญ่บ้านถามว่า คุณพักที่ไหน ช้างไม่รบกวนคุณหรือ ฝ่ายว่าอาตมภาพก็ทำดุจนิ่งอยู่ ไม่พูดและไม่ตอบว่ากระไร แกก็แปลกใจบ่นว่า พระเณรอะไร ถามไม่พูด แกก็ตามออกไปดูที่อยู่ เห็นรอยช้างมันขยี้กลดและมุ้งแตกสลาย แกจึงถามอีกเป็นครั้งที่สองว่า เวลาช้างมันมาทำลายของท่าน ใต้เท้าไปอยู่ที่ไหน ช้างจึงไม่ทำร้ายตัวของใต้เท้าด้วย

    ฝ่ายว่าอาตมภาพก็นั่งฉันข้าวเรื่อยไป มิได้พูดและตอบแก่โยมคนนั้นคำใดหนึ่งเลย พอฉันเสร็จแล้วก็ตะพายบาตรไต่ชายเขาไปประมาณ ๘๐ เส้น พบบึงน้ำ มีบัวหลวง บัวทอง จอกแหนต่าง ๆ มีร่มไม้สดชื่นหลายอย่างตามริมบึง แต่บึงนั้นมีฝั่งชันและสูง มีท่าลง ๕ แห่ง เป็นที่อาศัยแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นต้นว่า เสือ, ช้าง, หมี, ลิง, กระทิง สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นในป่านั้นย่อมอาศัยมากินน้ำในบึงนั้น

    ฝ่ายว่าอาตมภาพไปถึงเข้าก็พิจารณาว่า ที่นี้มีน้ำใสดีและป่าไม้ก็สดชื่น ควรแล้วอันเราผู้ต้องการความสงบจะต้องพักบำเพ็ญอยู่ที่นี้ แล้วก็หลีกไปอาศัยอยู่ร่มไทรที่จับอยู่ชายเขา ห่างจากบึงประมาณ ๑๐ เส้น

    ลิงมานอนบนตัก
    พอตะวันค่ำลง ประมาณ ๕ โมงเย็น เผอิญมีเสียงเสือร้องฮ้าวฮือ ๆ ฮ้าวฮือ ๆ ร้องจากหลังเขา มากินน้ำในบึงนั้น เสียงเสือร้องดังก้องมาในทิศทั้งสี่ ฝ่ายว่าอาตมภาพได้ยินเข้าก็ตกใจ พิจารณาไปว่า บัดนี้เรานำชีวิตมาสู่อันตรายด้วยหวังเพื่อบารมี เมื่อตกลงใจเช่นนี้ เกิดขนพองสยองเกล้าอย่างพิศวงใจ คือปรากฏว่าขนทั้งตัวยาวออกข้างละแขน ตั้งขึ้นตั้งลง
    เสียงเสือยิ่งร้องใกล้เข้ามาทั้ง ๖ ตัว มาตัวละทิศ ขณะนั้นเกิดแน่นใจ ลำคอแข็ง น้ำตาทั้งสองข้างไหลหยดหยาดออกมา หยิบจีวรในบาตรมาห่มคลุมปิดทั้งตัวทั้งศีรษะ นั่งขัดสมาธิแล้วนึกอะไรยังไม่ออก เพราะยังแน่นหน้าอก นึกอะไรก็ไม่ออก อยู่ประมาณ ๕ ทุ่ม ยังมีลิงไม่ใหญ่ไม่เล็กขนาดกลาง ๆ ลงมาจากต้นไทร มาร้องโวก เวียนอ้อม ๓ รอบ แล้วเข้ามานอนข้างที่บนหน้าตัก เอาศีรษะหนุนเข่าขวา ร้องเรียกโวก ๆ ดังนั้นอยู่เรื่อยไป จนกว่าประมาณ ๖ ทุ่ม จึงนึกได้ว่า จะเป็นเช่นนี้กระมังโบราณท่านว่า ผีสม่อยกินไส้พุงคนนอนค้างเข้ากลางคืน พอนึกได้เช่นนี้แล้ว อาการแน่นหน้าอกก็ค่อยทุเลาลง พอให้นึกอะไรต่อไปได้ จึงได้ตั้งสัจจอธิษฐานว่า
    “สาธุ สาธุ สาธุ ข้าแต่เทพยดาทั้งหลาย พร้อมด้วยคุณพระรัตนตรัย หากว่าข้าพเจ้ายังมีกรรมเวรกับสัตว์ตัวหนึ่งตัวใดแล้ว ขอสัตว์เหล่านั้นมาล้างผลาญทำลายในชีวิตแห่งข้าพเจ้าให้เป็นไปตามยถากรรมนั้น ๆ หากว่าข้าพเจ้ามิได้มีกรรมเวรกับสัตว์ตัวหนึ่งตัวใดแล้ว ส่วนปฏิปทาการบำเพ็ญบารมีของข้าพเจ้าจงเป็นไป อย่าได้ขัดข้องต่ออันตรายทั้งหลาย อันจะพึงมีในเบื้องหน้า” พออธิษฐานเสร็จลง ลิงตัวนั้นก็กระโดดออกไปขึ้นบนต้นไทรทันใด ก็นึกขึ้นได้ว่า เราคงจะไม่มีเวรเลย พอสำเร็จอธิษฐาน ลิงก็ออกหนีทันที ก็นึกดีใจขึ้นมาได้ บริกรรมกำหนดนึกพุทโธ ๆ ตามหายใจเข้า หายใจออกอยู่เรื่อยไป
    พอจวนสว่างเสือก็ร้อง ฮ้าวฮือ ๆ ขึ้น ก็แน่นหน้าอกขึ้นอีก น้ำตาทั้งสองข้างก็ไหลหยดหยาดซึมซาบออกมา ไม่ช้าช้างพัด (คำว่า “พัด” หมายถึง “ก็”) ร้องเสียงดังเอ๊ก ๆ เอ๊กขึ้นอีก ขณะนั้นใจสะดุ้งขึ้นมาแค้นค้างอยู่ที่ต้นคอ หูดังอื้ออยู่ครู่หนึ่ง ปรากฏลิ้นแข็ง ฟันออกมาที่ริมปากแล้วก็หูดับ แล้วไม่รู้อะไร ในระหว่างนั้นคล้าย ๆ กับนอนหลับไม่ฝัน ก่อนจะรู้สึกตัวคล้ายกับนอนฝัน แต่ยังนั่งอยู่ ปรากฏว่ายังมีหญิงสาวหนุ่มคู่หนึ่ง ถือดอกบัวมาอันหนึ่ง มาถวายแล้วบอกว่า ท่านจงทนไปเถิด ท่านจะเป็นผู้หมดเวรในชาตินี้ ดังนี้ แล้วก็รู้สึกขึ้นทันที
    พอดีสว่าง ก็ไปเที่ยวบิณฑบาตบ้านนั้นอีก พอไปถึงบ้าน นายดี ผู้ใหญ่บ้านบอกแก่ชาวบ้านนั้นว่า ท่านองค์นี้ท่านมาบิณฑบาต ใครมีศรัทธาก็จงใส่บาตรให้ท่านไปเถิด ใครไม่มีศรัทธาก็แล้วไป ส่วนตัวเราเข้าใจว่าจะเป็นคนบ้ากระมัง ถามไม่พูด มิฉะนั้นก็เป็นคนพิกล มาจากแห่งหนึ่งแห่งใดเป็นแน่ วันนั้นมีคนใส่บาตรให้ ๒ คน ได้ข้าวประมาณเท่า ๒ ฟองไข่เป็ดแล้วกลับไปฉัน พอฉันเสร็จตอนกลางวันก็นั่งสมาธิและเดินจงกรมไปตามเคย
    ครั้นค่ำลงตอนเย็น เสือมันร้องเสียงดัง ฮ้าวฮือ ๆ ทุกวัน ๆ พอได้ยินเสียงเสือร้องขึ้น ก็เกิดแน่นหน้าอก น้ำตาไหลซึมซาบออกมาดังนั้นทุกวันไป ตอนกลางคืนนอนไม่หลับเลยสักนิด นั่งอย่างไรก็อยู่อย่างนั้น หากจะติง (ขยับ) ตัว หรือเดินไปมาในเวลากลางคืน ก็นึกว่าเสือหรืออะไรมันจะมองเห็น เอาผ้าจีวรห่อคลุมศีรษะ แล้วก็นั่งนิ่งอยู่ เพื่อว่าจะให้สัตว์ที่มามองเห็นว่าเป็นตอไม้ไป มันจึงจะไม่ทำอันตรายแก่เรา ทำอย่างนั้นอยู่ในที่นั้น ๓ วัน ส่วนเวลากลางวัน ก็เดินจงกรมบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้างตามธรรมดา ส่วนกลางคืนนั่งทำพิธีเป็นตอไม้ไปเลย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ตุลาคม 2016
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,428
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    (ต่อ)

    ลงนั่งริมบึงให้เสือกิน

    อยู่ต่อมาถึงวันคำรบ ๔ คิดปรารภอันจะกลับบ้านและสำนักวัดเดิม ไม่ช้าในขณะคิดจะกลับคืนสู่สำนักวัดเดิมนั้น ยังมีตะขาบใหญ่ตัวหนึ่ง วิ่งออกมาจากรูหิน มาตรงเฉพาะหน้า แล้วก็กัดสะดือกินไส้ของตนจนจะขาดเป็นท่อนแล้วก็ตายไป ก็นั่งพิจารณาอาการของสัตว์นั้นอยู่ ไม่ช้ายังมีเต่าใหญ่ตัวหนึ่งคาบผลมะสั้นลูกโต ๆ เข้ามาวางจรดกับเข่า หยุดอยู่ครู่หนึ่งแล้วก็หลีกไป อาตมภาพก็นั่งพิจารณาอาการสัตว์ทั้งสอง ที่ปรากฏขณะนั้น ได้ความว่า หากเราเพียรทำลายความกลัวของเราได้แล้ว เราก็จะมีผลดังเต่า ตัวโง่ ๆ ทำไมมันยังเอาผลไม้มาให้เราดูได้ ถึงความกลัวนี้ไม่หาย เราก็อดทนต่อความกลัวอยู่ต่อไป ต่างก็ได้บำเพ็ญขันติบารมี คือว่าจะกลัวเพียงใด ก็อดทนอยู่นั้นเอง ทนต่อความกลัวอยู่ที่นั้น ตอนค่ำมาพอเสือร้อง ๒ เสียงดังฮ้าวอือ ๆ ก็แน่นหน้าอกน้ำตาไหลออกมาอยู่เช่นนั้นได้ ๑๐ วัน

    ในวันคำรบ ๑๐ ตอนเย็นเสือร้องที่บนเขา ก็แน่นหน้าอกเข้าอีก จึงนึกขึ้นมาว่า

    เราทนต่อความกลัวมาเป็นเวลา ๑๐ วันแล้วไม่เห็นหายสักที เป็นทุกข์อยู่ดังนี้ร่ำไป หากจะกลับบ้านก็กลัวเพื่อนบรรพชิตพร้อมทั้งอาจารย์จะดูถูกเรา ว่าไปไม่กี่วันก็กลับมา แล้วไม่เห็นเป็นอะไรไปได้ที่ไหน เราก็จะอายขายหน้าและรำคาญหู คืนไปสู่สำนักวัดให้คนอื่นเขาดูถูกปฏิปทาของศาสนา ทั้งเราก็จะเป็นทุกข์ต่อไปเพราะจะรำคาญหู เขาจะเย้ยเล่นว่าเราเป็นกรรมฐานด้วยก้อม (คำว่า "ก้อม" หมายถึง ค่อม เตี้ย สั้น)

    ตกลงถึงจะอยู่ที่นี้ก็เป็นทุกข์ จะกลับคืนสู่สำนักวัดก็เป็นทุกข์ กลัวเขาจะไม่เชื่อถือข้อประพฤติของเราต่อไปอีก คือเป็นคนไม่จริงกลับกลอก แหนงว่าเราไปให้เสือกัดตายในวันนี้เสียดีกว่าจะทนทุกข์อยู่ดังนี้หลายวันไปอีก ถ้าเรายังไม่ตายอยู่ต่อไปอีก พรุ่งนี้ หรือมะรืนนี้ก็จะเป็นทุกข์ เพราะความกลัวเช่นนี้ต่อไป หากว่าเสือกัดให้เราตายเสียแล้วในวันนี้ ก็ใครเล่าจะมากลัวให้เป็นทุกข์อยู่ที่นี้อีก ตกลงว่าเอาเถิด เป็นทุกข์เพราะเสือกัด ไม่กี่ชั่วโมง แล้วก็ตายไป ดีกว่าเราทนทุกข์อยู่เช่นนี้ต่อไปหลายวันอีก คิดตกลงแล้ว ก็เตรียมครองผ้าให้เรียบร้อยเป็นปริมณฑล แล้วก็ตรงไปยัง ท่าน้ำที่บึง ที่เสือเคยลงกินน้ำทุกวัน

    เดินเข้าไปให้เสือกิน

    พอลงไปถึงริมน้ำแล้วก็นั่งขัดสมาธิ พิจารณาว่า เมื่อมันมากินเรามันก็คงกัดที่ตรงคอของเรานี้ ประเดี๋ยว ๆ ก็ตายเท่านั้น ไม่ต้องลำบากอีกหลายวัน คิดแล้วก็ตั้งปณิธานปรารถนาว่า

    "หากข้าพเจ้าตายลงในวันนี้ ด้วยอำนาจแห่งคุณธรรมทั้งหลาย มีผลแห่งการรักษาศีลเป็นต้น จงดลบันดาลยังข้าพเจ้าให้ได้ถึงสุคติมีสวรรค์เป็นเบื้องหน้า"


    อธิษฐานเสร็จก็นั่งอยู่ ไม่ช้าเสือก็มาถึง นั่งหลับตาอยู่ได้ยินเสียงหายใจเสือดังกึกฮือ ๆ เข้าก็ลืมตาขึ้น เห็นเสือตัวใหญ่สีมุ่ม (สีลูกตาล) มองดูเท้าหน้าทั้งสองของเสือใหญ่เท่าต้นคอของเรา นึกแล้วก็แน่นหน้าอกขึ้นทันที น้ำตาก็หยดหยาดลงในขณะนั้น แล้วตระครุบลงหมอบอยู่ คอยให้เสือเข้ามากัด ไม่ช้าเสือครางขึ้นเสียงดังกึกฮือ ๆ แล้วก็คว๊ากฝุ่นดินมาใส่ ถูกศีรษะ ๓ ที แล้ว เสือก็กระโดดขึ้นบนฝั่งบึงแล้วร้องเสียงดังอ้าวฮือ ๆ ไกลออกไปจึงเงยขึ้น นึกได้ว่า เสือมันไม่กินเรา เพราะอันตรายยังไม่มาถึง นึกแล้วก็ขึ้นฝั่งบึง เดินตามหลังเสือขึ้นมา ห่างกันประมาณ ๑๐ กว่า ๆ วา พอเสือมองเห็น ก็ทำท่าตะครุบ ก็เดินตรงเข้าไปหาเสือ ยังอีกประมาณ ๒ ก้าวขา เสือก็กระโดดแล้วจึงไปตามชายเขา

    ส่วนว่าอาตมภาพครั้งนั้นก็เดินกลับไปยังที่พักร่มไทร ขณะนั้นกำลังเดินไปพลางพิจารณาว่า ขึ้นชื่อว่ามนุษย์คือสัตว์วิเศษ แปลว่าพวกใจสูง พร้อมด้วยบุญญาภิสังขารจึงได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ตกลงว่า ใครทั้งหมดในโลกนี้จะอยู่ได้ทน เพราะความกลัวตายก็หามิได้ หรือว่านึกอยากตายแล้วก็ตายลงทันทีหามิได้ ข้อนี้ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์คงตั้งอยู่ได้หรือตายลงก็ดี ต้องเป็นไปตามยถากรรมของสัตว์ตามให้ผลเท่านั้น

    พิจารณาเช่นนี้แล้วก็ถึงร่มไทร นั่งลงที่ก้อนหินที่เคยพักแล้ว ก็พิจารณาต่อไปว่า

    "เช่นเราเวลานี้คิดอยากตาย ทั้งไปให้เสือกัดกินเสียด้วย ข้อนี้กรรมยังรักษาอยู่ยังไม่ให้ผลในความตายมาถึง จึงไม่ตายเช่นคนอื่นเล่า ที่เขาตายแล้วก่อนเรายังอยู่ในบ้านเรือนเสียด้วย มีพี่น้องญาติวงศ์รักษาไม่อยากให้เขาตาย คนที่ตายไปนั้นเขาก็ไม่อยากตาย แล้วก็ไม่เห็นว่ามีใครทำเขาตาย ทำไมเขาตายไปแล้ว ข้อนี้ ความเป็นอยู่ได้ หรือความตายไป เหล่านี้มิได้อยู่ในความปกครองต้องการของใครเสียแล้ว ความเป็นอยู่หรือความตายไปเป็นเรื่องของกรรมจะให้ผลเป็นส่วนพิเศษ นอกจากความปกครองของใจต่างหาก มิใช่ว่าใจนี้ปกครองชีวิตได้โดยเด็ดขาด เช่นใจยังไม่อยากตายเลย พอเจ็บปวดที่ไหน เจ้าใจต้องนึกหายามาใส่ ผลที่สุดก็ตาย เช่นใจของเราเวลานี้ นึกอยากตาย ก็ไม่เห็นมันตาย ข้อนี้อย่าเลยเจ้าใจเอ๋ย ชีวิตความเป็นอยู่นี้หรือจะตายลงเมื่อไร มิได้เป็นกรรมสิทธิ์ในเจ้าเสียแล้ว ฉะนั้นควรแล้วหรือ เราจะมานึกกลัวตาย หรืออยากตาย ให้เป็นทุกข์เปล่า ๆ มิเข้าเรื่องเข้าการ ความเป็นอยู่หรือความตายไป มีตัวกรรมเป็นเจ้าของ ทำหน้าที่นั้นเป็นส่วนพิเศษ เราจะไปหวงแหนช่วยเขา ให้เขาทำให้ดีขึ้นกว่านี้ก็เปล่า หรือนึกจะทำลายของเขาจนนำไปยอมให้เสือกัด เสือก็ไม่กัด เพราะเจ้าของเขารักษาอยู่”

    เมื่อพิจารณาตกลงเช่นนี้แล้วก็รู้สึกหายกลัว แล้วก็ค่ำเข้าประมาณ ๑ ทุ่มรู้สึกง่วงนอนมาก ก็นอนทับลงที่ลานหินนั้น เงยหน้าขึ้นมองดูดวงดาวสดใสสว่างดี ก็นึกสบายใจขึ้นประการเดียวเท่านั้น ชั่วครู่เสือก็ครางขึ้นใกล้ ๆ เสียงอ้าวฮือ ๆ ใจก็นึกขึ้นทันที

    “ว่าบัดนี้ข้าพเจ้ารู้ดีแล้วชีวิตนี้มิได้มีกรรมสิทธิ์ในข้าพเจ้า ใจนึกสั่งเจ้าของชีวิตคือเจ้ากรรม ว่าเจ้ากรรมเอ๋ย ผู้เป็นเจ้าของแห่งชีวิต บัดนี้เสือมาใกล้เข้าแล้ว เห็นสมควรเช่นไร เจ้าก็คงจัดการไปตามเรื่องนั้นแหละหนอ”

    นึกแล้วก็นอนหลับต่อ ขณะหลับอยู่นั้น ฝันว่าช้างเผือกมาจับยกเอาทั้งตัวขึ้นนั่งบนศีรษะ แล้วก็เดินขึ้นหลังเขาไปพัก อยู่ร่มไม้ใหญ่เย็นเงียบ

    ไม่ช้าก็ตื่น พอตื่นขึ้นก็นึกพยากรณ์คำฝันของตนว่า ฝันเช่นนี้ปฏิปทาของเราจะเจริญยิ่ง ๆ ต่อไป จึงพึงพิจารณาต่อไปว่า แต่ก่อนเรามีความกลัวมาปิดกั้นสันดาน จนนึกอะไรไม่ออก บัดนี้ ความกลัวอันนั้นก็ถึงความพ่ายแพ้ไปแล้ว บัดนี้เราควรจะบำเพ็ญธรรมบทไหนหนอ พิจารณาไปมาก ๆ ระลึกขึ้นได้ว่า

    “สติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงรับรองว่าเป็นธรรมอันบุคคลพาเจริญให้มากแล้ว ได้บรรลุธัมมาภิสมัย ภายใน ๗ ปีบ้าง ๗ เดือนบ้าง ๗ วันบ้าง”
    ต่อมา อาตมภาพนั่งสมาธิพิจารณาต่อไปว่า กายก็สักเพียงว่าแต่กาย ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนเราเขา เรียก กายานุปัสสนา และเวทนาสุขทุกข์ ก็ไม่ใช่เรา เรียก เวทนานุปัสสนา และจิตก็ไม่ใช่เรา เรียก จิตตานุปัสสนา และธรรมารมณ์ที่คิดพล่านกับจิตก็ไม่ใช่เรา เรียก ธรรมานุปัสสนา

    เมื่อพิจารณาเสร็จลง ก็เกิดความสนใจมากขึ้นว่า เราปฏิบัติเพื่อจะละกายอันเป็นมนุษย์ที่เจืออยู่ด้วยความทุกข์ เพื่อจะได้ความสุข เวทนาอันเกิดแก่ทิพสมบัติสุขนั้นก็มิใช่เรา และของเราเสียแล้ว หรือจิตผู้จะเสวยความสุขก็ไม่ใช่ และไม่เป็นของเราเสียแล้ว และธรรมารมณ์ผู้จะรับรู้ซึ่งความสุขอันเราพึงได้ก็ไม่ใช่เรา และไม่เป็นของเราเสียแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ ปฏิปทาที่บำเพ็ญอยู่ด้วยความลำบากถึงเพียงนี้ เราจะเมื่อไรหนอเป็นคุณสมบัติอันพึงได้พึงถึง เพราะว่ากายก็ดี เวทนาก็ดี จิตก็ดี ธรรมก็ดี พระเจ้าท่านตรัสไว้ว่า ไม่ใช่เราและไม่เป็นของเราเสียแล้ว ผลจะพึงได้อันเกิดแต่การรักษาศีลและเมตตาภาวนาจะพึงมีที่ไหนหนอ

    พิจารณาไม่ตกลง ก็เกิดความสนใจมากขึ้น พอดีสว่าง รุ่งเช้าขึ้นก็เดินไปบิณฑบาต ขณะเดินไปบิณฑบาตก็พิจารณาไปพลางว่า

    ทุกข์อันเกิดแต่ความรำคาญก็ปรากฏอยู่ที่เรา สุขอันเกิดจากแต่ความชื่นใจก็ปรากฏอยู่ที่ ความเฉย ๆ ไม่รำคาญใจ และได้ชื่นใจก็ปรากฏอยู่ที่เรา หากสุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี อุเบกขาเวทนาก็ดี พระพุทธเจ้าท่านว่าไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ทำไม่หนอ จึงปรากฏอยู่ในสันดานของข้าพเจ้าไม่รู้สิ้นรู้สุด ดังนี้

    พอเข้าไปถึงบ้าน เผอิญนายดี ผู้ใหญ่บ้านแกลงมาบอกว่า คนเช่นคุณไม่รู้บ้าหรือคนทำกลอย่างหนึ่งอย่างใดไม่รู้ จะอยู่อาศัยบ้านนี้ไปนานไม่ได้ จงหลีกไปเถิด

    พอกลับจากบิณฑบาต ฉันเสร็จ ก็เตรียมของหลีกไปในวันนั้น
    เห็นเสือกำลังกินคน

    เดินข้ามเขาไป ๒ ลูก ไปถึงดงตะเบิงนาง พอดีตอนเที่ยง รู้สึกหิวน้ำก็แวะลงไปในคลองกลางดงนั้น พอลงไปท่าน้ำ เห็นเสือกัดบุรุษคนหนึ่ง เสือกำลังดึงกัดกินแต่ต้นขาขวาเท่านั้น แล้วก็ยืนพิจารณาว่า เจ้ากรรมเอ๋ย กรรมเช่นนี้เจ้าเคยทำหรือไม่ หากเจ้าการมันถึงพร้อมแล้วก็ตามยถากรรม มิใช่การถึงพร้อมแล้ว คือ ไม่เคยทำเวรกันมาแต่ก่อน ก็ขอปฏิปทา ของข้าพเจ้าจงเป็นไปในศาสนาอย่าได้ขัดข้อง พออธิษฐานเสร็จแล้วก็นั่งลงฉันน้ำ ส่วนเสือก็กระโดดมาจากคนที่ตายอยู่นั้น ข้ามศีรษะขึ้นริมฝั่ง ส่วนว่าอาตมภาพนั้นฉันน้ำเสร็จแล้วก็ขึ้นฝั่งคลองตามหลังเสือ พอเสือมองเห็นก็วิ่งออกหน้าไปก่อนประมาณ ๒๐ เส้น เดินตามไปไม่ช้าก็พบเสือตัวนั้นหมอบอยู่ทำท่าจะตะครุบ จึงพิจารณาขึ้นว่า หากเราทั้งสองเคยเป็นกรรมกันมาแล้วอย่างใดก็จงเป็นเช่นนี้เถิด หากไม่เคยเป็นกรรมหรือเบียดเบียนกันแล้วก็จงอยู่อย่าได้เบียดเบียนกันเลย อธิษฐานเสร็จแล้วก็ตรงไปหาเสือประมาณ ๕ ศอก เสือกระโดดเข้าป่าเงียบ จึงเดินตามเข้าดงนั้นไป

    ชาวบ้านจะฆ่า


    ประมาณ ๓ ทุ่มเศษ ก็พ้นจากดงไปถึงบ้านชื่อนาบันได เป็นบ้านของข่า ไม่มีศาสนา มองเห็นศาลเจ้าของเขา นึกว่าเป็นศาลาที่พักนอกบ้าน ก็ขึ้นพักที่นั้น ไม่รู้การปฏิบัติของเขา ชาวบ้านเขามองเห็น ก็ถือตะบองและหอกดาบหลาวแหลนต่าง ๆ มาทำท่าจะทุบตีบ้าง จะฟันบ้าง จะแทงบ้าง แล้วพูดขึ้นไม่รู้ภาษากัน เป็นแต่สั่นศีรษะเท่านั้น เขาจึงไปตามคนภาษาเขามาถามเป็นภาษาลาวว่า จะไปไหน จึงได้บอกกับเขาว่า จะไปกรรมฐาน แต่คนนั้นบอกว่า เจ้ามาอยู่ที่นี่ เจ้าจุดไฟผิดผีของพวกบ้านแล้ว เจ้าจงไปหาซื้อควายมาเลี้ยงผีก่อนจึงไปได้

    อาตมภาพบอกว่า ไม่มีเงิน แต่คนนั้นจึงขอคลี่ดูย่ามและบาตรและสายคาดเอว เห็นไม่มีเงิน แกจึงขอมีดโกนกับผ้าสบง ได้ยอมให้แต่ผ้าสบง และเขาให้ตัดผ้าสบงผืนนั้นออกเป็น ๑๖ ท่อนแล้ว เขาแจกกันในคืนวันนั้น จึงได้อาศัยอยู่นั้นตลอดรุ่ง

    พอสว่างตอนเช้าก็เข้าไปบิณฑบาต ก็มีเฉพาะแต่คนภาษาลาวเขาใส่ให้ข้าวก้อนหนึ่งประมาณเท่าไข่เป็ด จึงกลับไปฉันที่ศาลา เสร็จแล้วก็เดินต่อไป เข้าเขาส้มโรงในวันนั้น ข้ามเขาไปได้ ๔ ลูก เลียบไปตามชายเขา

    พอประมาณ ๕ โมงเย็นมองหาที่พัก เผอิญมองไปเห็นสามเณรองค์หนึ่ง นั่งนับลูกประคำอยู่ เข้าไปถาม ไม่พูดด้วย เป็นแต่เขียนหนังสือบอกว่า

    "ผมอยู่เมืองหงสาวดี เที่ยวธุดงค์ไปกับอาจารย์ บัดนี้อาจารย์ตายเสียแล้ว ยังเหลือแต่ผมคนเดียว บัดนี้อายุผมได้ ๑๗ ปี จะเที่ยวไปไม่อาลัย ผมชื่อเณรจวง"

    ดังนี้ จึงพักอาศัยอยู่ในถ้ำเดียวกันในคืนวันนั้นจนตลอดรุ่ง

    พอสว่างรุ่งเช้าขึ้น สามเณรรูปนั้นจึงกวักมือเรียกอาตมภาพว่า สามเณรท่านจงเข้ามานี้ ครั้งอาตมภาพเข้าไปถึง สามเณรรูปนั้นจึงพูดว่า ต่อไปนี้บ้านมนุษย์ห่าง เมื่อท่านต้องการอาหารแล้ว รุ่งเช้าขึ้นท่านจงฟังเสียงชะนีมันร้อง เมื่อชะนีร้องมากชุมที่ไหน ท่านจงเข้าไปที่นั้น เพราะชะนีกินผลไม้เป็นอาหาร ท่านไปถึง เมื่อท่านต้องการ ท่านก็จะได้ฉันผลไม้นั้นเป็นอาหาร ว่าแล้วก็นั่งนิ่งอยู่

    อาตมภาพจึงขอลาท่านไป สามเณรนั้นจึงพูดว่า "ท่านจะเดินต่อไป ท่านจงเรียนพระพุทธมนต์ ๕ พระองค์ด้วยผมก่อน ท่านจะไปด้วยความสวัสดิภาพ" ดังนี้

    อาตมภาพถามว่า พุทธมนต์นั้นอย่างไร

    สามเณรจึงบอกว่า "นะเมตตา โมกรุณา พุทปรานี ธายินดี ยะเอ็นดู" ดังนี้ ท่านจงเจริญบ่อย ๆ ท่านจะปลอดภัย ดังนี้

    ต่อนั้น อาตมภาพจึงลาเณร แล้วเที่ยวต่อไปอีก ๓ วันยังไม่พบบ้านคน ฉันผลไม้เป็นอาหาร วันคำรบ ๔ เดินไปมองขึ้นไปบนยอดภูเขาเห็นต้นยาใหญ่ มองไกลคล้าย ๆ กับเจดีย์ เพราะฤดูนั้นเป็นฤดูใบยาร่วงเสียหมด เป็นพัก ๆ คล้ายกับต้นมะพร้าว แต่ต้นมันใหญ่ปลายต้นเล็ก คล้ายกับยอดเจดีย์ อาตมภาพจึงอุตส่าห์ขึ้นไปดู เห็นใบพร้อมทั้งเปลือกเข้าใจแน่ได้ว่าเป็นยาแท้ จึงเก็บเอาใบแห้งมาสูบดู ก็เป็นรสเมาอย่างยาที่มีอยู่ตามบ้านคน อาตมภาพจึงเอามีดโต้เล่มเล็ก ๆ ที่ติดย่ามไปนั้นบากต้นยาได้สองกีบก็ถือไป จวนค่ำก็ถึงบ้านแห่งหนึ่ง ๖ หลังคาเรือน ไม่รู้ชื่อบ้าน เพราะคนเหล่านั้นเป็นข่าไม่รู้ภาษากัน อาตมภาพจึงแวะเข้าจำวัด อาศัยเงือบหินที่ชายเขา
    รุ่งเช้า ก็เข้าไปบิณฑบาต เห็นคนแก่คนหนึ่งนั่งหลามข้าวโพดสาลีอยู่ ผ้าก็ไม่นุ่งห่มเลย อาตมภาพจึงไปยืนหน้าบ้านแก ๆ ก็คว้าไม้ท่อนฟืนตรงเข้ามาหา ทำท่าจะตีอาตมภาพ ๆ มองเห็นเช่นนั้นก็หลับตายืนตรงอยู่กับที่ ไม่ช้าแกตรงเข้าไปจับชายจีวร แล้วพูดขึ้น แต่ไม่รู้ภาษา อาตมภาพจึงตรงเข้าจี้มือลงในกระบั้งหลามข้าวโพด แกก็เอามาให้หมดทั้งกระบั้ง อาตมภาพก็หลีกไปนั่งฉันอยู่ ณ ลานหินทิศตะวันออกบ้านของคนเหล่านั้น แกก็ตามไปดู แล้วก็คลานเข้ามาจับฝ่าเท้าของอาตมภาพแสดงความรักใคร่ คือแกหัวเราะขึ้นแล้วก็กลับเข้าไปในบ้าน เรียกเพื่อนบ้านมาดูทั้งหญิงทั้งชาย แต่ไม่มีผ้านุ่งห่มทั้งนั้น
    หญิงเปลือยกายจะเข้ามาจับต้อง

    ผลที่สุดผู้หญิงก็จะเข้ามาใกล้ ๆ จับขาอย่างตาแก่คนนั้น อาตมภาพจึงโบกมือห้าม แล้วตรงไปจับเอาแต่นิ้วมือคนผู้ชายด้วยกันเข้าให้ใกล้ แล้วโบกมือห้ามผู้หญิงไม่ให้เขาจับ ผู้ชายคนเหล่านั้นก็รู้นัย เขาจึงห้ามผู้หญิงไม่ให้เข้ามาใกล้และจับ

    บ่ายพอสายนั้น อาตมภาพก็เข้าไปอาศัยอยู่เงือบหินที่อาศัยนอน คนเหล่านั้นก็ตามไปดู ที่นั้นมีร่มไทรและต้นตะเคียนมีบ่อน้ำ ใบไม้สดชื่น อาตมภาพจึงพิจารณาว่าที่นี้จะเป็นที่สบาย แก่การบำเพ็ญสมณธรรม ตกลงพักรั้งแรมทำความเพียรเจริญอานาปานสติอยู่ที่นั้น ๑๙ วัน แล้วจึงเดินข้ามเขาไปอีกวันตลอดค่ำ

    ไปถึงบ้านข่าแห่งหนึ่งประมาณ ๙ หลังคาเรือน ซึ่งเป็นข่าตะโอ่ย เข้าไปตั้งอยู่ใหม่ ยังมีข่าสองคนพอส่งภาษาลาวได้ มาถามว่า เจ้าอยากไปไส ถ้าคำไทยว่า คุณจะไปไหน ดังนี้ อาตมภาพตอบว่า จะไปเที่ยวกรรมฐาน แกจึงบอกว่า ต่อไปข้างหน้าบ้านคนห่างและส่งภาษากันไม่ถูกเลย อย่าไปดีกว่า ตกลงอาตมภาพก็ไปหาถ้ำอาศัยจำพรรษาอยู่ที่นั้น ก็มีคนสองคนนั้นใส่บาตรให้ฉัน อาหารบิณฑบาตเป็นข้าวโพดหลามด้วยกระบั้งไม้พุ่ง อาตมภาพก็อาศัยจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำนั้น บำเพ็ญเพียรเพ่งอาโปกสิณ คือเพ่งน้ำเป็นอารมณ์ บำเพ็ญอารมณ์ทั้งสองนี้เป็นที่สบายใจ อยู่จำพรรษาในที่นั้นนับว่าปลอดภัย ไม่มีอันตรายมาเบียดเบียน

    ตอนออกพรรษาแล้ว ๕ วัน จึงเที่ยวต่อไปอีก ข้ามเขา ๓ ลูกแล้ว จวนจะค่ำยังไม่พบบ้านคน อาตมภาพก็แวะขึ้นเขา หาน้ำฉัน เพื่ออันจะพักจำวัดที่นั้นด้วย เผอิญไปพบพระหลวงตาองค์หนึ่ง หาบตะกร้าใหญ่ เที่ยวเก็บผลไม้มะเดื่ออยู่หน้าถ้ำ อาตมภาพจึงถามท่านว่า อยู่ที่ไหน ท่านตอบว่า ผมอยู่ในจักรวาล อาตมภาพจึงตะกายขึ้นไปพักที่ถ้ำ วางบาตรไว้แล้วจึงไปสรงน้ำเสร็จกลับมา พระหลวงตาองค์นั้นก็มาพักที่ถ้ำอันเดียวกัน จำวัดด้วยกันในถ้ำนั้น ท่านเรียกอาตมภาพไปเรียนคาถาด้วย ท่านว่าคาถาสำเร็จ คือปรารถนาอะไรก็สำเร็จตามประสงค์ดังนี้ ใจความว่า

    "โอม อุ อะ มะ นะโม พุทธายะ ชะ สุ มัง"

    ท่านบอกว่าให้เณรเจริญเป็นนิตย์ เณรจะสมหวังดังความตั้งใจในชาตินี้และชาติหน้า ดังนี้

    พออาตมภาพเรียนจำไว้แล้ว ท่านก็ลงไปในเวลา ๗ ทุ่ม คือตี ๑ ในกลางคืนวันนั้น อาตมภาพถามว่า ท่านจะไปไหน ท่านตอบว่า จะไปเที่ยวในจักรวาล อาตมภาพถามว่า ท่านชื่ออะไร ท่านตอบว่า ผมชื่อพระ ดังนี้ แล้วก็เดินเรื่อยไปตามชายเขา อาตมภาพจำวัดอยู่ที่นั้นจนสว่าง
    งูรัดสามเณร


    ยังมีงูตัวหนึ่งโตประมาณ ๑ จับ เลื้อยมาเอาหางสอดเข้าที่น่องเท้าของอาตมภาพ แล้วรัดเข้าให้แน่นอยู่ ไม่ช้าก็แลบหางออกมาแหย่ไปตามตัว ตามรักแร้ อยู่นาน สว่างขึ้น มันจึงวางพื้นตัวออก แล้วก็เลื้อยเข้าไปในถ้ำนั้น ต่อมาอาตมภาพก็ลุกขึ้นฟังเสียงชะนีร้องมากที่ไหน ต้องไปที่นั้นเพื่ออาศัยฉันผลไม้เป็นอาหาร เพราะว่าป่าดงเหล่านั้นมีผลไม้ครบทุกชนิด เช่นกล้วย หรือขนุน ผลส้ม ลูกฝรั่ง ลูกมะเดื่อ หรือส้มจีนมีมากมายชนิด ชะนีก็กินไม่หวัดไม่ไหว อาตมภาพก็เก็บผลไม้นั้นฉันเป็นอาหาร และเดินต่อไปอีก ๓ คืน ยังไม่พบบ้านคน
    ถูกเจ้าอาวาสไล่หนี

    ไปพบคนจำนวนหนึ่ง ไม่มีบ้านไม่มีเรือน อาศัยอยู่ตามถ้ำ ตามเขา กินผลไม้เปลือกไม้เป็นอาหาร ไม่ห่มผ้าห่มผ่อนเลย ส่วนลูกอ่อนของเขาเอารังผึ้งที่มันร้างแล้วมาห่มให้และปูให้เด็กนั้นนอน พอไปพบเข้าเขากลัวแตกตื่นวิ่งหนี ทิ้งไม้สีไฟและเครื่องมือใช้สอยและรังผึ้งร้าง อาตมภาพก็เข้าไปตรวจดูเห็นแน่ได้ว่าพวกนี้เขากินผลไม้ และเปลือกไม้เป็นอาหาร

    อาตมภาพก็เดินผ่านข้ามเขานั้นไปอีก เป็นเวลา ๓ คืน ถึงเมืองพาบัง มีวัดและเจดีย์ โบสถ์ และศาลา มีพระพุทธศาสนาอย่างเมืองเรา แต่พระเณรเมืองนั้นฉันข้าวค่ำ และจับต้องสตรีในอาวาสไม่เป็นอาบัติ จับต้องสตรีนอกอาวาสจึงเป็นอาบัติ ดังนี้ อาตมภาพจึงพักอยู่ที่นั้น ๑๖ วัน ถูกเจ้าอาวาสไล่หนี เพราะเห็นว่าแข่งดีเขา เพราะฉันหนเดียว

    ประเทศนั้นเป็นคนยาง มีคนลาวเมืองหล่มคนหนึ่งไปอยู่ที่นั้น พอส่งภาษากันได้ อาตมภาพจึงหนีจากที่นั้นเดินข้ามเขามาอีก ๒ คืน ไปพบบ้านหนึ่งชื่อ บ้านป่าเหล็ก มี ๔๐ หลังคาเรือน เป็นคนพวน ส่งภาษาลาวได้ แต่ไม่มีวัด พวกนี้ทำไร่ข้าวโพดกินเป็นอาหาร และมีบึงน้ำใหญ่ในระหว่างดงป่าไม้ใกล้กับตีนเขา อาตมภาพพิจารณาเห็นว่าที่นี้เป็นที่บำเพ็ญสมณธรรมดี อาตมภาพจึงพักอยู่ที่นั้นอีกประมาณ ๑๓ เดือน

    ตกลงจำพรรษาที่นั้นอีกพรรษาหนึ่งบำเพ็ญให้ใจนิ่งอยู่ที่ลมสุด คือที่ว่างตรงสะดือ รู้สึกว่าได้ความสบาย เพราะจิตนิ่งอยู่ที่อันเดียว ได้ความว่า

    ทั้งโลกนี้เป็นทุกข์เพราะใจทำงาน คือคิดไม่หยุด ตกลงคนทั้งโลกนี้ก็เป็นทุกข์เพราะใจเท่านั้น จะเป็นสุขก็เพราะใจเท่านั้น จิตนี้นำมาซึ่งอารมณ์เป็นที่พอใจก็เป็นสุขขึ้น เมื่อจิตนำมาซึ่งอารมณ์เป็นที่ไม่พอใจก็เป็นทุกข์ขึ้นเท่านั้น สาธุชนผู้ปฏิบัติทางใจ มีสติเป็นหลักฐานพอเป็นที่อาศัยจิต ให้จิตเฉยอยู่ มิให้จิตนำมาซึ่งอารมณ์เป็นที่พอใจ และอารมณ์ที่ไม่เป็นที่พอใจ ได้ดักจิตเฉยอยู่ที่อารมณ์อันเดียว ทั้งกลางวันกลางคืนจนจิตไม่นำมาซึ่งอารมณ์ทั้งสอง ทั้งส่วนเป็นที่พอใจและไม่พอใจไม่แล้ว ทุกข์จะมาทางไหน เมื่อจิตเฉยอยู่ที่อันเดียวนั้นได้ศัพท์ว่า วิหะระติ แปลว่า ย่อมอยู่สบาย สบาย ศัพท์นี้ ไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ เฉย ๆ นั้นเอง

    ตกลงอาตมภาพบำเพ็ญเพียรโดยวิธีดักจิต อยู่ถ้ำชื่อนางแพง
    [/COLOR]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ตุลาคม 2016
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,428
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    (ต่อ)

    พบสัตว์ประหลาดคล้ายปลาไหล

    อยู่พอพ้นเขตพรรษาแล้ว ก็เที่ยวไปตามภูเขาอีกประมาณ ๕ วัน ไปถึงเขาลูกหนึ่งชื่อภูเขาอ่าง เพราะมีหนังสือจารึกแผ่นศิลาเป็นตัวลาว อ่านได้ความว่า "นี้ภูเขาอ่างเงิน เป็นที่พักของพระองค์เจ้าเมต" ดังนี้ และที่นั้นมีบ่อน้ำใหญ่ไหลออกมาจากภูเขา แต่น้ำนั้นฉันไม่ได้ เพราะมีกลิ่นคาวคล้ายกับน้ำล้างไส้เดือน ถึงจะล้างมือล้างเท้าก็ติดมือติดเท้า พอถูกกลิ่นก็ทนอาเจียนไม่ได้

    อาตมภาพเห็นน้ำเหม็นเช่นนั้นจึงพักพิสูจน์ดูว่าน้ำนี้จะเป็นเพราะอะไรจึงคาวนัก นั่งเข้าที่อยู่ที่นั้นประมาณ ๕ โมงเย็น เสียงน้ำงดไหล ลืมตาขึ้นไม่เห็นน้ำไหลจริง ไม่ช้าเห็นสัตว์ชนิดหนึ่งตัวคล้ายกับปลาไหลออกมาจากรูนั้น ใหญ่ประมาณ ๔ จับ ยาวประมาณ ๑๒ ศอก มีสีแสดอิฐบ้าง เหลืองบ้าง แดงบ้าง สีน้ำเงินบ้าง เลื้อยลงสู่บึงที่มีในภูเขานั้น

    พบพระชำนาญเวทย์เดินบนน้ำได้

    ต่อจากนั้น อาตมภาพจึงเดินขึ้นเขาไป เพื่อหาถ้ำที่สำหรับจำวัด เพราะเดือนมืดจะเดินกลางคืนก็เห็นจะลำบาก พอขึ้นไปบนหลังเขา ไปพบพระองค์หนึ่งชื่อ สาธุวันดี ท่านบอกว่าท่านอยู่เมืองหลวงพระบาง ขณะนั้นอายุของท่านองค์นั้นกำลัง ๒๕ ปี ท่านถามอาตมภาพว่า เณรเที่ยวมานานแล้วได้คุณวุฒิอะไรบ้าง อาตมาก็เล่าเรื่องที่เป็นมาของตนให้กับท่านฟัง ท่านจึงแนะนำว่า

    "บุคคลซึ่งบำเพ็ญเพียรอันเป็นบุพเพของตนเป็นมาแล้วอย่างไร คนนั้นจะมีความเพียรก้าวหน้าไม่ท้อถอย เพราะว่าชาติที่เป็นมาแล้ว สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ดีบ้าง ชั่วบ้าง เป็นสัตว์บ้าง เป็นมนุษย์บ้าง เมื่อเห็นเช่นนี้ว่า ความเกิดเป็นมนุษย์และสัตว์ในโลกมีภพอันไปปรกติ ผู้นั้นจึงกล้าต่อความเพียรนั้นอีกในโลกนี้ เหตุนั้นผู้เห็นบุพเพนิวาสานุสสติ แล้วจึงมีความเพียรก้าวหน้าไม่หยุด ผู้บำเพ็ญทั้งหลาย เมื่อชำนาญการดักจิตแล้ว ควรบำเพ็ญปัญญาจักษุอันนี้ให้เจริญขึ้น จึงจะไม่ท้อถอยต่อการบำเพ็ญ" ดังนี้

    ต่อไปนั้นอาตมภาพจึงถามท่านว่า ปฏิบัติแค่ผมควรบำเพ็ญแล้วหรือยัง

    ท่านตอบว่า การดักจิตของเณรก็ชำนาญบ้างแล้ว แต่ขาดปัญญาจักษุ เหตุนั้น ควรอบรมปัญญาจักษุให้กล้าก่อนจึงควรต่อไป

    จากนั้น ท่านก็แนะนำทางปัญญาจักษุพอสมควร แล้วท่านจึงแสดงฤทธิ์ของท่านบางสิ่งบางอย่าง เช่น หายตัว คือขณะนั้นไปเที่ยวบิณฑบาตด้วยกันกับอาตมภาพ ๆ เดินตามหลังท่านเดินก่อน ทายกเขาไม่เห็น ข้าวบิณฑบาตก็ไม่ได้ ได้เฉพาะแต่อาตมภาพผู้เดินหลัง ที่ถ้ำนั้นมีบ้านอาศัยบิณฑบาต ๕ หลังคาเรือน ทำไร่ข้าวเป็นอาชีพของคนชาติพวน

    ต่อนั้นไป อาตมภาพพักศึกษากรรมฐานกับท่านองค์นั้นอยู่ ๑๖ วัน จากนั้นท่านออกเดินตามครองน้ำ ชายฝั่งเป็นถนน คือ ท่านเดินไต่หลังน้ำไป เป็นของสุดวิสัยของอาตมภาพที่จะตามได้ จึงเป็นอันว่าหมดหนทางจะตามไปด้วยท่าน

    ต่อนั้นไป อาตมภาพก็เดินตามเขาอีก ๒ วันไปถึงเมืองวัง ไปพักอยู่ถ้ำเต่างอย ไปเที่ยวบิณฑบาตบ้านแดง ทางประมาณ ๑๐๐ เส้น ที่นั้นมีบ่อน้ำอาศัยเป็นที่สบายแก่การบำเพ็ญสมณธรรม อาตมภาพพักทำความเพียรเพ่งกสิณอาโปธาตุบ้าง เพ่งอากาศธาตุบ้าง บำเพ็ญอยู่ที่นั้น ๒ พรรษา เกิดเรื่องอธิกรณ์ ๔ ครั้ง
    เจ้าคณะแขวงเรียกตัวไปสอบถาม

    คือไปอยู่ทีแรก เจ้าคณะแขวงเรียกเข้าไปในเมืองตรวจดูใบสุทธิ อาตมภาพบอกว่า ไม่มีอุปัชฌายะ เจ้าคณะแขวงบอกว่า เณรต้องเข้ามาอยู่วัดด้วยหมู่คณะ อย่าไปอยู่ถ้ำอยู่เขาคนเดียวไม่สมควร อาตมภาพบอกว่า ผมบำเพ็ญกรรมฐาน ขอใต้เท้าจงให้โอกาสแก่ผมบ้าง ท่านตอบว่า บำเพ็ญอะไรข้าไม่รู้ ถ้าเป็นพระเป็นเณรแล้วควรเข้าไปอยู่ในวัดทั้งนั้น
    อาตมภาพได้ยินคำนี้นึกขึ้นได้ว่า ที่นี้จะเป็นอุปสรรคแก่การบำเพ็ญสมณธรรม แต่เราทนอยู่ได้ เราก็จะได้บำเพ็ญขันติบารมี เมื่อนึกขึ้นมาเช่นนี้ อาตมภาพจึงกราบลาท่าน เพื่อจะออกไปอยู่ถ้ำตามเดิม ท่านบอกว่า พรุ่งนี้ต้องเข้าอยู่วัดนะ อย่าไปอยู่ป่าอยู่เถื่อนตามลำพังของตน เพราะเป็นเณรต้องอยู่บังคับของพระ อาตมภาพก็นิ่งไม่พูด ออกจากวัดของท่าน ก็กลับเข้าไปอยู่ถ้ำตามเดิม อธิษฐานไม่พูด จะบำเพ็ญแต่สมณธรรมอย่างเดียว ใครจะว่าอะไรไม่พูดด้วย ต่อนั้นก็ตั้งหน้าบำเพ็ญความเพียรส่วนเดียวอีก ๑๐ กว่าวัน เจ้าคณะแขวงใช้พระให้ไปบอกให้เข้ามาอยู่วัด อาตมภาพก็นั่งเข้าที่ทำสมาธิเรื่อยไป ไม่พูดด้วย พระที่ไปถ้ำมาบอกแก่เจ้าคณะแขวงว่า เณรเป็นแต่นั่งสมาธิหลับตาอยู่ ไม่พูดด้วย

    นายอำเภอนำตัวไปสอบสวน

    วันหลังต่อมา เจ้าคณะแขวงให้นายตำบลไปบอกให้หนี ถ้าไม่หนีต้องเข้าไปหาเจ้าคณะแขวงในวันนี้ อาตมภาพก็เข้าไปหาเจ้าคณะแขวงในเมือง แต่ไม่พูด ท่านถามว่า จะหนีหรือ ก็ไม่พูด จะเข้ามาอยู่ในอาวาสด้วยไหม ก็ไม่พูด ท่านถามอะไร ๆ ก็ไม่พูด ท่านดุด้วยคำหยาบหลายอย่างหลายประการ หนักเข้า นั่งสมาธิอยู่ที่นั้น วันตลอดค่ำคืนตลอดรุ่ง ดักจิตอยู่ไม่ให้จิตตามเอาอารมณ์อะไรทั้งหมดเข้ามาสิงอยู่ภายในใจ รู้สึกสบาย และทำความเข้าใจว่า

    คำพูดอะไรทั้งหมดเป็นสักเพียงแต่เสียง เป็นธาตุอันหนึ่ง ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา เป็นแต่ว่าเสียงนั้นเป็นที่พอใจของตน ก็ว่าเสียงนั้นดี เสียงอันใดไม่เป็นที่พอใจของตน ก็ว่าเสียงนั้นชั่ว ที่จริงเสียงนั้นจะให้เป็นรูป เป็นกาย เป็นหญิง เป็นชาย ก็หามิได้

    ตกลงทั้งโลกนี้จะสงัดจากเสียงไม่มี เพราะหูเรายังมีอยู่ เข้าบ้านก็เสียงคน ออกป่าดงก็เสียงสัตว์ เช่นอยู่ป่า สัตว์บางชนิดร้องเสียงเพราะเป็นที่พอใจเราก็ว่าเสียงดี บางทีเสียงสัตว์บางตัวร้องขึ้น ไม่เป็นที่พอใจเรา ก็ว่าเสียงนั้นชั่วร้าย ผลที่สุดลมพัดต้นไม้เสียงออดแอดซะนิดหน่อยเป็นที่พอใจน่าฟัง ก็ว่าเสียงนั้นดี หากพายุมันพัดมาแรง เสียงอืดอาดครึกครื้น เรากลัว ก็ว่าเสียงนั้นร้ายหรือชั่ว ที่จริงเสียงหรือหูเท่านั้นเป็นไปตามธรรมดาของโลก เช่นหู ถ้าเสียงดังขึ้น ไม่ฟังก็ได้ยิน เช่น เสียงไม่ดี หูไม่ได้ต้องการฟัง มันก็ดังขึ้นเอง เหตุนั้น มิเป็นการควรละหรือที่เราทำโทษหูที่ได้ยินและเสียงที่ดังนั้น อันเป็นไปตามธรรมดาวิสัยของโลก

    เมื่ออาตมภาพได้พิจารณาเช่นนี้ ยังมีความอิ่มอกอิ่มใจ มิได้โศกเศร้าเสียใจ ในกิริยาอันที่ท่านขู่เข็ญดุดันต่าง ๆ

    ไม่ช้าอาตมภาพก็ไปพักจำวัดอยู่ที่โบสถ์ หลับไปฝันเห็นเทวดาเหาะมาทางอากาศ มาบอกอาตมภาพว่า ดูกรเจ้าสามเณร จะมีผู้มาขัดขวางต่อปฏิปทาของท่านอย่างน่าพิศวงใจ ดังนี้

    อาตมภาพก็ตื่นนอนขึ้นมา แล้วพิจารณาว่า อะไรจะขัดขวางข้อปฏิปทาของข้าพเจ้ายิ่งกว่าความตายไม่มี แม้แต่เสือทำท่าจะกัดอยู่เดี๋ยวนี้ ข้าพเจ้าสละชีวิตมาหลายหนแล้ว มิได้ทอดธุระเลยว่าไม่ปฏิบัติศีลธรรมต่อไปอีก นี้มนุษย์เหมือนกัน ที่สุดท่านก็คงฆ่าให้ตายเท่านั้น ชีวิตนี้ถึงไม่มีคนฆ่ามันก็จะตายเองอยู่แล้ว ส่วนความดีคือศีลธรรม เราไม่ปฏิบัติเอาก็ไม่ได้ ตกลงเราจะหวงชีวิตอันจะตายอยู่เองเปล่า ๆ มาละศีลธรรมอันเป็นที่พึ่ง ทั้งในภพนี้และภพหน้า มิเป็นการควรเลย
    เมื่ออาตมภาพตกลงเช่นนี้แล้วก็
    <wbr>ออกจากโบสถ์ เข้าสู่ถ้ำที่อยู่ตามเดิม บำเพ็ญเพียรพิจารณาอนั<wbr>ตตาธรรมเป็นลำดับไป มิได้เพ่งกสินอย่างเดิม โดยเหตุที่ว่าปัญญาเกิดขึ้น ทั้งนี้ก็เนื่องจากอุปสรรคเช่<wbr>นนั้น จะเป็นอันตรายแก่ข้อปฏิบัติ บำเพ็ญอยู่ที่นั้นตลอดจนฤดูแล้ง

    ต่อมา ฤดูฝนจวนเข้าพรรษา ญาหลวงเมืองวัง (ไทยเรียกนายอำเภอ) ต้องการอยากพบสามเณรกรรมฐาน ไม่พูด อยู่ถ้ำเต่างอย จึงใช้ปุริด (ไทยเรียกตำรวจ) ไปนำตัวของอาตมภาพไปที่ว่
    <wbr>าการอำเภอ แล้วซักไล่ไต่ถาม ด้วยอรรถ ด้วยธรรม เป็นต้นว่า ศีล ๑๐ กรรมบถ ๑๐ เหล่านี้ เป็นต้น และกรรมฐาน ๔๐ คืออะไรบ้าง ดังนี้ อาตมภาพก็นั่งพิจารณาว่า คนเช่นนี้มิใช่ผู้ถามเพื่อปฏิบั<wbr>ติ มาถามเพื่อทดลองเล่นเท่านั้น เมื่อจะกล่าวแก้หรือ ก็ไม่เห็นประโยชน์แก่ผู้มาถามด้<wbr>วยความประมาทเช่นนี้ ทั้งเราก็เปล่าทั้งนั้น ก็คงเป็นสักเพียงแต่จะพูดให้<wbr>เขาเห็นดีตนเท่านั้น ตกลงดีหรือชั่วก็เราปฏิบัติ<wbr>เอาเท่านั้น จะได้มาจากคำพูดให้ผู้อื่นเห็<wbr>นดีให้ก่อนจึงจะดีก็หามิได้ เมื่อพิจารณาเช่นนี้อาตมภาพก็นั่<wbr>งนิ่งไม่พูด

    นายอำเภอแกก็ว่า คนเช่นนี่จะเป็นพระเป็นเณรอย่
    <wbr>างไรได้ ทั้งดื้อทั้งหนวกทั้งบ้า ดังนี้

    อาตมภาพก็พิจารณาขึ้นทันที ทักท้วงภายในจิตของตนว่า นี้เขาว่ากับใคร จิตรับว่าให้ธาตุ ๔ คือรูป เมื่อไม่มีธาตุ ๔ คือรูปนี้ เราก็ไม่เห็น เขาก็ไม่ว่า เพราะข้าพเจ้าคือจิตไม่มี ตัวเขาก็ไม่เห็น เมื่อไม่เห็นเขาจะว่าใคร หูเท่านั้นเป็นผู้ได้ยิน เขาดูถูกก้อนธาตุ เขาไม่ได้ดูถูกใจ เพราะใจไม่มีตัว เขามองไม่เห็น เขาจะเอาถูกได้อย่าง ตกลงผู้ว่าเขาก็คงมองเห็นก้
    <wbr>อนธาตุคือหน้าตานี้เป็นเรานั้<wbr>นละเขาจึงว่า ตกลงเขามองเห็นก้อนธาตุ ๔ เขาก็ว่าไปตามพอใจของเขา จะยุ่งอะไรนัก

    ต่อนั้นอาตมภาพก็หลับตาลง นั่งขัดสมาธิขึ้นในทันใด อยู่ที่นั้นวันตลอดรุ่ง จนคืนตลอดรุ่งสว่างพอดี ก็ออกไปนั่งอยู่ที่วัด มีคนเขาหาข้าวมาให้ฉัน อาตมภาพฉันแล้วก็กลับไปสู่ถ้ำ
    <wbr>ตามเคย ต่อนั้นก็บำเพ็ญเพียรพิจารณาวิ<wbr>ปัสสนาภูมิตั้งแต่ขันธ์ ๕ เป็นต้นไป อยู่ต่อไปจวนวันเข้าพรรษา
    เข้าพรรษาแล้ว ๒ วัน ญาหลวง คือนายอำเภอเมืองวังจึงใช้ปุริด คือตำรวจ ไปเรียกอาตมภาพไปยังที่ว่
    <wbr>าการอำเภออีก พอไปถึงแกสั่งว่า เณรจงเข้าจำพรรษาที่วัดเดิมด้<wbr>วยพระทั้งหลายได้เป็นการดี ได้ยินไหม อาตมภาพก็เป็นแต่ยิ้มเท่านั้น ไม่พูดด้วย แกก็หัวเราะด้วยว่า คนพูดได้ยินกันอยู่ ไม่ตอบกันให้ได้ ก็สุดเรื่องเท่านั้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ตุลาคม 2016
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,428
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    (ต่อ)
    สามเณรถูกขังกรง
    นายอำเภอบอกว่า การอยู่เช่นนั้น มันผิดต่อการปกครองบ้านเมือง เหตุนั้น ขอเจ้าสามเณรจงกลับไปอยู่อาวาสตามเดิม พูดไปมา อาตมภาพก็นั่งหลับตาขัดสมาธิตามเคย แกจึงบอกแก่ปุริดคือตำรวจว่า เณรอวดดีแต่หลับตาเท่านั้น จงเอาไปขังไว้ที่ห้องขังสัก ๒-๓ วัน ดูซิจะใช่คนบ้าหรือคนดี
    ต่อนั้นไป ปุริดก็จับนิ้วมือของอาตมภาพไปยังห้องขังแล้วขังไว้ อาตมภาพก็นั่งสมาธิไปตามเคย แล้วพิจารณาว่า อุปสรรคเกิดขึ้นเช่นนี้ เขาขังเราครั้งนี้เพื่อจะสังเกตว่า เราบ้าหรือคนดี ตกลงในใจว่าควรทำตนให้เป็นคนบ้าเสียดีกว่า เพื่อป้องกันความปลอดภัยแก่ปฏิปทาของตน เมื่อเห็นว่าเราเป็นบ้าแล้ว เขาจะปล่อยไปตามเรื่อง

    ต่อนั้น อาตมภาพทำเหมือนดุจบ้า พูดขึ้นคนเดียวบ้าง หัวเราะขึ้นคนเดียวบ้าง เมื่อเขาเอาอาหารมาให้ ก็พูดกับถ้วยชามไปตามเรื่อง ปุริดคือตำรวจได้เห็นอาการเช่นนั้น ก็นำเอาความนั้นไปบอกแก่นายอำเภอว่า บ้าแน่นอน จะเอาเรื่องกับคนบ้าก็จะได้หรือ เสียผลประโยชน์เปล่า ๆ บอกในบัญชีว่าบ้าก็แล้วกัน ปล่อยไปตามเรื่อง
    ต่อนั้น เขาก็ปล่อยอาตมภาพ ๆ ก็กลับไปอยู่ที่ถ้ำตามเคย แล้วก็ทำเป็นคนดี แต่ไม่พูด ต่อนั้นไป คนนอกเมืองทั้งในเมือง บางคนก็ว่าบ้า บางคนก็ว่าไม่ใช่บ้า ตกลงเป็นส่วนมากว่าไม่ใช่บ้า บ้าทำไมจะประพฤติศีลธรรมเรียบร้อยนัก มีผู้ไปหารู้จักห่มผ้าสบงจีวร ทำท่านั่งรับแขกอย่างเรียบร้อยแต่ไม่พูดเท่านั้น ต่อมา กลางพรรษา มีคนมาทำบุญด้วย ๑๐ กว่าคน แสดงตนว่า ผมเชื่อว่าท่านไม่ใช่คนบ้า โดยเหตุท่านรักษาศีลธรรม และมีมรรยาททั้งนั่งทั้งเดิน พร้อมกับการเที่ยวบิณฑบาตก็มีอินทรีย์สงบเสงี่ยม แต่ข้าพเจ้าอยากทราบความจริง ขอผู้เป็นเจ้าจงแก้ความสงสัยแก่ข้าพเจ้าบ้าง
    ต่อนั้น อาตมภาพก็กระทำหัวเราะดุจยิ้ม ๆ เท่านั้น แกก็น้อมอาหารบิณฑบาตถวาย อาตมภาพรับฉันเสร็จแล้วก็ ยถาสัพพี โมทนาให้พรแก่โยมคนนั้น แล้วอาตมภาพจึงเตือนกับโยมคนนั้นว่า โยมเอ๋ย จงรู้ได้โดยเหตุมีประมาณเท่านั้นก่อน ต่อจะรู้ได้ใกล้ชิดเมื่ออีกพรรษาที่ ๒ ตกลง อาตมภาพจะจำพรรษาบำเพ็ญบารมีอยู่ที่นี้ประมาณเพียง ๒ พรรษาเท่านั้น ว่าแล้วอาตมภาพก็นั่งนิ่งอยู่
    โยมแกบอกว่า โยมเฒ่าหมดความสงสัยว่าบ้าแล้ว เชื่อว่าไม่ใช่บ้า โยมเฒ่าขอเป็นโยมอุปัฏฐาก จนกว่าเจ้าสามาเณรจะหลีกไป ต่อนั้น โยมเฒ่าคนนั้น แกก็อุตส่าห์ไปใส่บาตร และสำรับทุกวัน
    ต่อจากนั้น มีพวกคณะญาติของโยมนั้นมีความเชื่อถืออาตมภาพมากขึ้นว่าไม่ใช่บ้า อาตมภาพเที่ยวบำเพ็ญบุญบารมีของอาตมภาพ ต่างคนก็ต่างมีความเชื่อถือมากขึ้น มาทำบุญวันละหลาย ๆ คน จนตลอดพรรษาอยู่ต่อไป เมื่อออกพรรษาแล้ว นายอำเภอได้ข่าวว่า มีคนไปทำบุญด้วยวันละมากคน จึงนำคนเหล่านั้นไปสอบสวนที่ว่าการว่า พวกเธอทั้งหลายไปเชื่อถือสามเณรบ้าด้วยเหตุอย่างไร โยมแก่คนนั้นตอบนายอำเภอว่าเณรไม่ใช่บ้า เณรเที่ยวบำเพ็ญบุญบารมีในศาสนานี้ นายอำเภอจึงให้คนนำตัวของอาตมภาพไปยังที่ว่าการอีก เมื่อไปถึงคราวนี้นายอำเภอทำการปฏิสันถาร มีน้ำฉันและหมากพลูบุหรี่ แล้วอาราธนาศีลขึ้น อาตมภาพก็ให้ศีลแก่พวกข้าราชการหลายคน ซึ่งอยู่ในที่ว่าการนั้นเสร็จลง แกจึงอาราธนาเทศน์ต่อไป

    อาตมภาพพิจารณาอยู่ในใจว่า หากเราแสดงธรรมขึ้นในเวลานี้ บางคนก็จะเชื่อถือมากขึ้น บางคนก็จะนินทาและเบียดเบียนว่า เราอวดรู้อวดฉลาด ตกลงเชื่อถือก็จะเป็นภัยแก่ความสงบอย่างหนึ่ง คือมาคบหาสมาคมเพื่อฟังเทศนาบ่อย ๆ เราก็จะมัวแต่รับแขก มิได้ทำความสงบ ส่วนผู้นินทาว่าเราอวดรู้อวดฉลาด เขาก็จะนำเรื่องอันนี้ไปเล่าโดยความไม่พอใจของคนต่าง ๆ ว่า เราแสดงตนเป็นคนมีบุญอย่างนั้นอย่างนี้ เราก็จะถูกไต่สวน เป็นอันตรายแก่ความสงบอีกอย่างหนึ่ง

    พิจารณาเช่นนี้แล้วอาตมภาพก็นั่งนิ่งอยู่ มิได้ทำอะไร นายอำเภอบอกว่านิมนต์แสดงธรรมครับ อาตมภาพพูดว่า การแสดงธรรมนี้ อาตมภาพของดไว้ เมื่อไปข้างหน้าคือพรรษาที่ ๒ เมื่อออกพรรษาแล้ว ๓๖ วัน นั้นแหละอาตมภาพจึงจะแสดงธรรมที่ถ้ำเต่างอย เมื่อท่านทั้งหลาย มีประสงค์จะฟังแล้ว จงไปฟังที่นั้น

    ต่อนั้น อาตมภาพก็นั่งนิ่งมิได้พูดต่อไปอีก นายอำเภอแกนิมนต์อีกเป็นครั้งที่ ๒ ว่า ขอท่านจงแสดงเดี๋ยวนี้ ต่อนั้นไปอาตมภาพก็หลับตาลง นั่งขัดสมาธิเท่านั้น มิได้พูดต่อไปอยู่ประมาณ ๑ ชั่วโมง คนก็เลิกไปเสียหมด อาตมภาพก็กลับไปสู่ถ้ำตามเคย บำเพ็ญสมณธรรมต่อไป จนตลอดฤดูแล้งและฤดูฝน นับว่าได้รับความสงบ ทั้งภายนอกและภายในใจต่อไป จนออกพรรษา รวมเป็นพรรษาที่ ๔ แห่งการออกเที่ยวธุดงค์คราวนั้น
    สามเณรแสดงธรรมขั้นวิปัสสนา

    แต่นั้นออกพรรษาแล้วเดือน ๑๒ วันเพ็ญ ก็มีผู้คนไปทำบุญเพื่อจะฟังธรรมเทศนาด้วย จนกระทั่งนายอำเภอเมืองวังก็ออกไปด้วย เมื่อฉันเสร็จก็มีคนอาราธนาธรรม อาตมภาพจึงได้แสดงธรรมในข้อที่ว่า

    "สุขินทริยัง ทุกขินทริยัง มายุปะมา วิญญานัง"

    อธิบายว่า ความสุข ซึ่งเป็นของมีจริง ทั้งเป็นใหญ่ด้วย แต่ไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ทางกายทางใจก็มีจริง ทั้งเป็นใหญ่ด้วย แต่ไม่เที่ยง ถูกหลอก เจ้ามายา คือวิญญาณัง เจ้าวิญญาณตามรู้แจ้งว่าสิ่งนี้เป็นสุขเข้าอาศัย ความสุขที่มาถึงพร้อมชั่วขณะจิตดูแล้วก็หายไป เพราะความสุข อันเกิดจากความพอใจ เนื่องมาจากความคิดในอารมณ์ อันเป็นที่พอใจแล้วก็สุข หรืออิ่มใจขึ้นประเดี๋ยวเดียวเท่านั้น แล้วก็เสื่อมไป เพราะเขาเป็นของไม่เที่ยง ประเดี๋ยวก็ไปฉวยเอาความคิด และอารมณ์อันไม่เป็นที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ขึ้นเท่านั้น ประเดี๋ยวทุกข์นี้ก็หายไป ก็ไปฉวยเอาอารมณ์อันอื่นอีก ตกลงความสุขอันเกิดจากความยินดี และพอใจในสิ่งที่ตนต้องประสงค์เท่านั้น จัดเป็นที่พึ่งแน่นอนยังไม่ได้ คือ บรรดาสาธุชนในโลกนี้ ต้องการความสุขทุกขณะจิตมิใช่หรือ ก็ความสุขและความอิ่มใจต่างก็เคยพบเคยเห็น เคยมีความสุขความอิ่มใจ มาแล้วทุกคนมิใช่หรือ ความสุขและความอิ่มใจนั้นต่างคนก็รู้แล้วว่าเป็นของดี ทำไมจึงไม่คิดและถือเอาความสุขนั้นไว้ ประจำสันดาน จนตลอดชีวิตนี้ เนื่องมาจากความไม่เที่ยง อันเป็นความจริงของโลกนั้นเอง มาตัดรอนให้จิตใจแปรผันไปหน่วงเหนี่ยวยึดถือ เอาความคิดความเห็น อันไม่เป็นที่พอใจ มาปรากฏขึ้นในสันดาน แล้วก็รู้แจ้งขึ้นว่าเป็นทุกข์ ใจคอไม่สบายประเดี๋ยวเท่านั้นได้พบ หรือไม่เห็นสิ่งเป็นที่หัวเราะพอใจก็กลับมีความสุขแช่มชื่นขึ้นอีก เหตุนั้น เจ้าสังขารคือความคิดความนึกอันปรับปรุงขึ้นมาก็เป็นเจ้ามายา เจ้าเล่ห์ เจ้ากล

    อีกอันหนึ่ง โดยศัพท์ว่า

    "มายุปมา จะ สังขารา"

    แปลว่า เจ้าสังขารผู้ช่างนึกช่างคิด ปรับปรุงประจำสันดานนี้ ก็เจ้ามายาใหญ่ คือ ประเดี๋ยวก็ปรับปรุงและคิดอารมณ์อันเป็นที่พอใจขึ้นมา เจ้าวิญญาณรับรู้ว่าเป็นสุขก็เข้าอาศัยและยึดถือ ประเดี๋ยวก็นึกคิดปรับปรุงอารมณ์ไม่เป็นที่พอใจขึ้น มาพล่าอารมณ์ที่ดี คือความพอใจอันนั้นให้เสื่อมหายไป เจ้าวิญญาณก็รับรู้ว่าใจคอไม่สบาย ยุ่งและจุกจิกคือทุกข์ใจขึ้นมา ตกลงว่าความเป็นอยู่ของสาธุชนทุกจำพวก ยกแต่พระอริยเจ้าผู้ได้ประสพสันติสุขเสีย ล้วนแต่ถูกสังขารหลอกทั้งนั้น แล้วแต่เจ้าสังขารปรุงหรือคิดขึ้นมาอย่างก็เป็นไปตาม ปรุงความสุขขึ้นมาก็พลอยสุขไปตาม ประเดี๋ยวปรุงความทุกข์ขึ้นมาก็พลอยทุกข์ไปตาม ตกลงถึงจะมีชีวิตอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี ๑,๐๐๐ ปี ก็ดี ปรุงแต่สุขหรือทุกข์เท่านั้นลวงตนเล่นอยู่หาที่พึ่งมิได้ แล้วแต่เจ้าสังขารจะปรุงให้ร้องให้ก็ร้องให้ เจ้าสังขารจะปรุงให้หัวเราะก็หัวเราะขึ้นเท่านั้น ตกลงอำนาจของจิตไม่มี เพราะเจ้าสังขารลวงเล่นไม่มีเวลาหยุด

    ฉะนั้น สมเด็จพระศาสนาจึงตรัสเทศนาสรรเสริญความสงบจิต เอาอาโยโค ความเข้าไปสงบจิต เป็นยอดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อจิตสงบกายและสงบวาจา เมื่อกายวาจาสงบก็เป็นศีลสังวรเสร็จอยู่ที่ใจสงบเท่านั้นไม่ต้องไปอ่านหรือนับว่านี้ศีล นี้สมาธิ นี้ปัญญา เมื่อรักษาจิตให้สงบแล้วก็บริบูรณ์พร้อมทั้ง ศีล สมาธิ ปัญญา เท่านั้น เมื่อไม่มีปัญญาจิตก็ไม่สงบ เมื่อปัญญาทำให้จิตสงบได้แล้ว ศีล สมาธิก็บริบูรณ์ขึ้นในขณะนั้น เหตุนั้น สาธุชนผู้ต้องการอยากเป็นผู้มีศีล มีสมาธิในศาสนาของพระพุทธเจ้าแล้ว ขอท่านจงแสวงหาครูอาจารย์แนะนำทางปัญญา หาอุบายจะทำให้จิตสงบลงเมื่อใด ก็เมื่อนั้นท่านจะเป็นผู้บริบูรณ์ไปด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา ดังรับประทานวิสัชนามา ก็สมควรแก่กาลเวลา ดังนี้

    ต่อไป อาตมภาพก็นั่งสมาธิหลับตาไปเรื่อย ก็ยังมีศรัทธา (โยม) ขอปรารถนาเป็นอุปัฏฐาก และขอขมาโทษที่ได้ดูหมิ่นประมาทต่าง ๆ ขอเณรจงงดโทษแก่ฝูงข้าทั้งหลาย แต่ก็ข้าเผอิญดังนี้ ต่อไป มีคนมาทำบุญมากและขอฟังธรรมทุกวัน อาตมภาพอยู่ไปอีก ๓ วันเท่านั้น พิจารณาเห็นว่าเราก็เป็นผู้ฝึกหัดอยู่ จะมาตั้งตัวเป็นคนรับแขกและคลุกคลีอยู่เช่นนี้ เป็นอันตรายแก่ความสงบ เป็นที่ตั้งแห่งความกำเริบของวิญญาณ ฉะนั้น เราควรหลีกไปเสียดีกว่า
    ประวาทะกับพระครูเขียว

    ต่อมา เป็นวันคำรบ ๘ บิณฑบาตเสร็จ อาตมภาพก็ลาโยมเหล่านั้นไป รู้สึกว่ามีบางคนบ่นว่า เราไม่รู้จักว่าท่านมาบำเพ็ญบุญบารมีเลย ต่างคนก็เข้าใจว่าบ้าทั้งบ้านทั้งเมือง ดังนี้ ต่อนั้น อาตมภาพจึงเที่ยวไปทางหนองน้ำจันทร์ ไปพักที่ป่าช้า บ้านหนองน้ำจันทร์อยู่ ๙ วัน พระครูเขียวไปไล่หนีว่า เณรนี้หรือเขาว่าเป็นบ้าอยู่เมืองวัง เรารู้เรื่องของเณรแล้ว คือเธอนี้แหละ เขาบอกว่าเป็นบ้า จะได้เป็นสามเณรในศาสนาก็หามิได้ เหตุนั้นเณรจงหลีกไปเถิด อย่าได้อยู่ท้องถิ่นที่นี้เลย
    อาตมภาพได้ตอบท่านองค์นั้นว่า สามเณรมาจากสมณศัพท์ แปลว่าผู้สงบ ใครเป็นผู้สงบ ผู้นั้นแหละพระพุทธเจ้าเรียกว่าสามเณรหรือสมณะ บุคคลผู้มีอิสสาและโลภอยู่ คนนั้นจะศีรษะโล้นก็ไม่ชื่อว่าสมณะ โดยพระพุทธภาษิตว่า "อัพพะโต อะลิกัง ภะณัง อิจฉาโลภะสะมาปันโน แปลว่า บุคคลผู้มีอิจฉาและมีความโลภอยู่ ไม่รักษาธุดงควัตร จะชื่อสมณะอย่างไรได้" *
    * พระบาลีที่มีมาจากคำภีร์ธรรมบท ตอนนี้ มีคาถาเต็มว่า

    น มุณฺฑเกน สมโณ อพฺพโต อลิกํ ภณํ

    อิจฺฉาโลภสมาปนฺโน สมโณ กึ ภวิสฺสติ

    แปลว่า

    "ผู้ไม่มีวัตร (คือไม่มีศีลวัตรและธุดงควัตร) พูดจา

    เหลาะแหละ ไม่ชื่อว่าสมณะ เพราะศีรษะโล้น ผู้มี

    ความริษยาและความโลภ จะเป็นสมณะได้อย่างไร"
    ครั้งเมื่อท่านได้ยินเช่นนี้ ท่านก็โกรธหาว่าดูหมิ่นท่าน ผู้ไม่รักษาธุดงค์ก็ไม่ชื่อว่าสมณะหรือเณร
    อาตมภาพตอบว่า ท่าน ๑. เป็นผู้มีความอิจฉา ๒. โลภ ๓. ไม่รักษาธุดงค์คือความสงบ ผู้ขาดคุณสมบัติทั้ง ๓ นี้แหละครับ พระพุทธเจ้าตรัสว่าไม่ชื่อว่าสมณะ ตามบาลีที่มีมาในธรรมบทภาค ๗ ธัมมัฏฐวรรค ว่าดังนี้แหละครับ
    ท่านก็โกรธว่า "บ้าอะไรมาอ้างศัพท์อ้างแสง อ้างคัมภีร์ธรรมบทภาคนี้ จะมาแข่งดีกับพระหนองน้ำจันทร์หรือเณร"

    อาตมภาพตอบว่า "การแข่งดีกันเป็นอุปกิเลส ๑๖ ในข้อ ๑๒ ว่าสารัมภะ การแข่งดีเป็นกิเลสอันหนึ่ง ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่ได้สรรเสริญเลยครับ ผมพูดในที่นี้ผมพูดตามศัพท์บาลีหรือความเป็นจริงเท่านั้น คนที่มีกิเลสในสันดาน ได้ยินเข้าก็น้อมเป็นกิเลสทั้งนั้น เพราะความจริงเข้าไปถึงสันดาน คนที่เป็นกิเลสก็ดิ้นรนออกมาเท่านั้นครับ"

    ท่านพระครูเขียวยิ่งโกรธใหญ่หาว่า อาตมภาพดูหมิ่นท่านว่าไม่ใช่สมณะ ทั้งเป็นเจ้ากิเลสด้วย ท่านจึงนำตัวของอาตมภาพเข้าไปที่วัดของท่านแล้วขังไว้ในโบสถ์ เพื่อไต่สวนในขณะนั้นต่อไป อาตมภาพก็นั่งสมาธิและเดินจงกรมในโบสถ์เรื่อย ไม่พูดด้วยกับใคร
    ต่อไปอีก ๒ วัน ท่านนำตัวไปไต่สวน อาตมภาพก็ไม่พูด ก็แต่นั่งหลับตาทำสมาธิ ผลที่สุดท่านก็ตัดสินลงโทษว่าให้อาตมภาพขนดิน ขนทรายเข้าวัด แล้วถามว่า เณรยอมตัวไหม อาตมภาพก็ไม่พูด เป็นแต่นั่งหลับตาดักจิตไว้ภายในใจเรื่อยไป
    ตกลงท่านก็มอบให้ฝ่ายบ้างเมือง นำตัวไปพิสูจน์ว่าเป็นคนอย่างไรแน่ ปุริดคือนายตำรวจ ก็นำตัวของอาตมภาพ ไปขังไว้ในเรือนจำ ของศาลเมืองสองครได้สองวัน นายอำเภอเมืองสองคร จึงนำตัวของอาตมภาพไปยังศาล เพื่อชำระคดีเรื่องนั้นกับท่านพระครูเขียว เจ้าคณะแขวง
    นายอำเภอเมืองสองครอ่านคดีฟ้องเสร็จแล้ว ถามอาตมภาพว่า "ได้ว่าให้ท่านพระครูเขียวเช่นนี้หรือไม่"
    อาตมภาพตอบว่า "ได้ว่าอย่างนั้นจริง แต่ไม่ว่าให้ท่านพระครู"
    นายอำเภอจึงถามต่อไปว่า "เณรว่าให้ใคร"
    อาตมภาพตอบว่า "อาตมาว่าที่ปากของอาตมาเองไม่ได้ว่าให้ใคร และไม่ได้ออกชื่อของใคร ว่าคนชื่อนี้ไม่รักษาธุดงค์ และมีความโลภและความอิจฉา ไม่ชื่อว่าสมณะดังนี้ เป็นแต่อาตมาว่าไปตามคาถาธรรมบท ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เท่านั้น"
    ท่านพระครูเขียวท่านก็ว่า "บ้ากืก" (คำว่า "กืก" หมายถึง พิลึก ผิดปกติมาก แปลกประหลาด เงียบ) "ถ้าไม่พูด มันก็ไม่พูด ถ้าพูด มันก็พูดเล่นสำนวน จริงหรือไม่เณร"
    อาตมภาพตอบว่า "จริงครับ ตามความประสงค์ของท่านแล้ว แต่จะจริงตามคำของพระพุทธเจ้าก็หามิได้"
    ท่านถามต่อไปว่า "จริงตามคำของพระพุทธเจ้านั้นอย่างไร"
    อาตมภาพตอบว่า "จริง คือความดับนั้นแหละ เป็นความจริงของพระพุทธเจ้า"
    ท่านถามต่อไปว่า "ดับอะไร?"
    อาตมภาพตอบว่า "ดับความโกรธและความจองล้างจองผลาญจึงได้นามว่า สาวกะ คือสาวกผู้ฟังคำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้า"
    ท่านถามต่อไปว่า "เณรดับได้และฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วหรือยัง"
    อาตมภาพตอบว่า "ถ้าผมดับความโกรธและความจองล้างจองผลาญกับคนอื่นได้ ก็ได้ชื่อว่าผมดับและฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าผมดับไม่ได้ ผมก็คงยังไม่ดับนั้นเอง"
    ท่านจึงถามต่อไปว่า "เดี๋ยวนี้เณรดับได้ไหม"
    อาตมภาพตอบว่า "ถ้าผมดับความโกรธของผมได้เดี๋ยวนี้ผมก็ดับได้ ถ้าผมดับยังไม่ได้ ผมก็ยังอยู่นั้นเอง"
    "ถ้าเช่นนั้นเณรเป็นอรหันต์แล้วหรือ"
    อาตมภาพตอบว่า "ถ้าผมสิ้นไปแล้วจากอาสวะ อาสวะก็สิ้นไปจากผม ถ้าผมยังไม่สิ้นจากอาสวะ อาสวะก็ยังอยู่ที่ผม"
    ต่อนั้น นายอำเภอเมืองสองครจึงว่า หยุดก่อนครับ ท่านพระครูเขียว อย่าเร่งถามเณรนักในเรื่องเช่นนี้ ผมเข้าใจดีว่าเณรไม่ใช่คนกืกและบ้าเลย ท่านองค์นี้เป็นนักพรตคือผู้บำเพ็ญเพียรในศาสนาแน่นอน

    ต่อนั้น นายอำเภอจึงถามว่า เณรอายุเท่าไร อาตมภาพตอบว่า เวลานี้อายุของสังขาร ๑๘ ปีนี้ นายอำเภอจึงว่า ผมขอนิมนต์เณรอยู่วัดในเมืองนี้ ได้หรือเปล่า อาตมภาพตอบว่า ได้แต่เฉพาะวัดที่อาตมาอยู่ ถ้าอาตมาหนีแล้วก็เป็นว่าไม่ได้
    ต่อนั้นไป ทางศาสนาก็ตัดสินยกเลิกว่า ไม่จำเป็นจะเกี่ยวข้องในท่านผู้เช่นนี้ เพราะท่านเที่ยวบำเพ็ญส่วนกุศลเท่านั้น ท่านไม่หวังว่า จะอยู่ในท้องถิ่นเขตแดนของใคร จะไปหรือจะอยู่ก็แล้วแต่เรื่องของท่านเท่านั้น ต่อนั้นก็เลิกแล้วกันไป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • BuaBuddha.jpg
      BuaBuddha.jpg
      ขนาดไฟล์:
      11.6 KB
      เปิดดู:
      96
    • angryness.jpg
      angryness.jpg
      ขนาดไฟล์:
      36.6 KB
      เปิดดู:
      174
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ตุลาคม 2016
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,428
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    (ต่อ)
    บำเพ็ญขันติด้วย ๓ วันฉันข้าวหนหนึ่ง

    ฝ่ายอาตมภาพจึงเที่ยวไปแขวงสุวรรณเขต แล้วข้ามฝั่งแม่น้ำโขง เที่ยวไปตามดงปังอี่ ไปถึงเขาสีถาน พักบำเพ็ญอยู่ที่นั้นภายใน ๓ เดือน มีบ้านข่าอยู่ตามชายเขาทั้งหลายหลังคาเรือน และมีหลายบ้าน การบำเพ็ญอยู่ที่นั้นได้ทดลองกำลังใจด้วยวิธีอดข้าว ๓ วัน จึงฉันหนหนึ่ง เพราะอยากทราบว่า เราปฏิบัติมานานปีเพียงนี้ เราจะมีกำลังของขันติมากน้อยเพียงไร เราอาจจะมีอุบายระงับเวทนาแก้หิวเท่านี้ได้หรือไม่ เมื่อเวทนาใหญ่คือความตายจะมาถึง จะไม่ซ้ำร้ายกว่าหิวข้าว ๓ วันนี้หรือ เราทดลองในเวลาเช่นนี้ เมื่อเวทนากล้าจนถึงตายมาถึงเข้า เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เราอาจดักจิตให้ล่วงทุกเวทนาเช่นนี้ได้หรือไม่

    พบอาจารย์ผู้ได้เจโตปริยญาณ

    เมื่อพิจารณาเช่นนี้ แล้วก็ตั้งหน้าบำเพ็ญเพียรด้วยวิธีสามวันจึงฉันหนหนึ่ง อยู่ที่นั้นสิ้น ๓ เดือน เผอิญพวกข่าพากันแตกตื่นว่า เป็นผู้มีบุญไม่ฉัน ๓ วันยังเดินได้คล่อง ๆ ต่างก็พากันมาเฝ้าแน่นดูอยู่มากมาย อาตมภาพบอกเขาว่า อาตมาบำเพ็ญขันติบารมี ไม่ใช่ผู้มีบุญมีบาปอะไรดอก เป็นสามเณรภาวะในศาสนาของพระพุทธเจ้า เสมอด้วยสามเณรทั้งหลายที่มีอยู่ทั่วไป เขาก็ไม่เชื่อ ยิ่งแตกตื่นกันมามาก เฝ้าอยู่ทั้งกลางวันกลางคืน
    อาตมภาพพิจารณาเห็นเป็นอันตรายแก่ความสงบ จึงหลีกไปเสียจากที่นั้น ข้ามไปทางภูเขาคัว แขวงอำเภอนาแก ไปพบท่านองค์หนึ่ง เป็นพระกรรมฐาน พักอยู่ถ้ำพระเวส ชื่ออาจารย์หลาย ซึ่งคนเล่าลือว่าท่านรู้หัวใจคนผู้ไปหา

    อาตมภาพคิดปัญหา ๔ ข้อว่าจะไปศึกษาท่าน คือ

    "จิตรวม ๑ จิตอยู่ ๑ จิตเข้าสู่ภวังค์ ๑ จิตเป็นสมาธิ ๑ ต่างกันอย่างไร ? และคุณสมบัติจะพึงได้ถึง ของขณะจิตทั้ง ๔ นี้ต่างกันบ้างหรือไม่"

    พอคิดไว้แล้วก็เดินเข้าไปหาท่าน พอกราบลงเท่านั้นท่านหัวเราะยิ้ม ๆ แล้วพูดว่า

    "อย่างไรปัญหา ๔ ข้อ ที่ทำความสงสัยมานั้นยกขึ้นสนทนากันได้"

    ที่จริงอาตมภาพยังไม่ได้ถาม ท่านยกขึ้นมาปรารภก่อน ส่วนอาตมภาพทั้งนี้ก็กระดากใจขึ้นมาว่า แม้ท่านรู้จริง ๆ แล้ว อาตมภาพก็จึงขออาราธนาให้ท่านแสดงมีนัยต่างกัน พร้อมทั้งคุณสมบัติของจิตทั้ง ๔ ขณะจิต ต่อนั้นอาตมภาพก็มีความเลื่อมใสในข้อปฏิบัติของท่าน อาตมภาพขอเรียนกรรมฐานอยู่ด้วยท่าน ๑๖ วันพอดี อาตมภาพก็ป่วยหนักลง ท่านก็จากไปวันนั้น
    เคยเกิดเป็นเสือติดกันมา ๑๑๐ ชาติ

    ก่อนท่านจะไปท่านสั่งว่า
    ถึงป่วยหนักก็ไม่เป็นไรในชีวิตนี้ เณรจะต้องได้บวชเป็นพระภิกษุ แต่ก่อน ๆ มาทุกชาติ เณรได้บวช และบำเพ็ญมาดังนี้ ได้ ๑๑๑ ชาติแล้ว แต่ยังไม่ได้บวชเป็นพระสักที ครบอายุ ๑๘-๑๙ ก็ตายเสีย ด้วยบุพกรรมของเณร เคยได้เป็นเสือโคร่งใหญ่มา ๑๑๐ ชาติ ทำลายชีวิตสัตว์ที่มีคุณทั้งหลาย ๑๐ ตัวมาเป็นอาหาร ด้วยกรรมอันนั้นมาขีดคั่น ทำให้ชีวิตสั้น จึงยังไม่ได้อุปสมบทเป็นพระสักที บัดนี้เณรพ้นจากเวร เช่นนั้นแล้ว ต่อไปก็จะมีปฏิปทาอันสะดวกดี และพึงได้อุปสมบทเป็นพระแต่ชาตินี้เป็นต้นไป

    และท่านทำนายต่อไปว่า

    เณรมีนิสัยเสือโคร่งเป็นสันดาน เพราะเณรเกิดเป็นชาติเสือติด ๆ กันทั้ง ๑๑๐ ชาติ ๑. น้ำใจกล้าหาญ ๒. ชอบเที่ยวกลางคืนสบายกว่ากลางวัน ๓. ถ้าได้อยู่ในที่ซ่อนเร้นสงัดจากคน จิตเป็นที่สบาย ๔. ได้ลงมือทำอะไรแล้ว ผิด หรือ ถูก ก็ถอนได้ยาก เพราะทำอะไรมักอยากอยู่ในกำมือของตน ค่อนข้างกล้าไปด้วยโทสะสักหน่อย แต่ว่าพยายามไปเถิด อายุ ๒๐ ปีจะมีความรู้ความเห็นเป็นที่อุ่นใจดังนี้
    ต่อนั้นท่านก็เที่ยวไปตามชายภูเขา ฝ่ายว่าอาตมภาพก็นอนป่วยอยู่นั้น ๔ วันก็รู้สึกทุเลาลงพอจะเดินไปบิณฑบาตได้

    อาตมภาพก็ทำความเพียรอยู่นั้น สิ้น ๑ ปี กับ ๖ เดือน และได้รับความสบายใจมาก ทางอาศัยบิณฑบาตบ้านแก้งมะหับ ทางจากถ้ำถึงบ้าน ๑๐๐ เส้น
    ระหว่างบำเพ็ญอยู่ที่นั้นได้ ๑๑ เดือน ฝันเห็นคนมาบอกไปเอาพระพุทธรูปออกจากถ้ำไทรทุก ๆ วัน จนแทบจะนอนไม่หลับ หลับลง ก็ปรากฏคนมาบอกในทันใด
    ตกลงอาตมภาพก็เข้าไปในถ้ำนั้นดู เข้าไปประมาณ ๓ เส้นเศษ เห็นแผ่นทองฝังตั้งอยู่ ดูจารเป็นตัวลาว ใจความว่า พระภิกษุอ่อน พรรษา ๗ ได้สร้างพระพุทธรูปบรรจุไว้ที่นี้ แต่พระพุทธเจ้านิพพานแล้ว ๕๒๑ ปี
    ต่อนั้น อาตมภาพก็คลานเข้าไปอีกประมาณ ๒ เส้น เห็นพระพุทธรูป ตั้งอยู่กับ เสือเหลืองตัวหนึ่ง งูเหลือมตัวหนึ่ง ที่อาศัยในถ้ำนั้น อาตมภาพก็หยิบเอาแต่พระพุทธรูปองค์หนึ่ง เป็นพระปรอทมาไว้เป็นที่สักการะ แต่อยู่ในถ้ำก็หลายวัน อาตมภาพถือเอาเฉพาะแต่พระปรอท อันหนึ่งกับดาบเล่มหนึ่ง กับแผ่นทองนั้นหนัก ๑๒ บาท นายฮ้อยอุ่น บ้านซอง ไปล่าเนื้อ ไปแวะ เห็นเข้าขอดู ว่าเป็นทองแท้ แล้วก็ขอ อาตมภาพก็ให้ไป ส่วนพระปรอทนั้น ถึงกำหนดที่อาตมภาพจะเที่ยวหลีกไปจากที่นั้น มานิมิตฝันว่า มีคนมาห้าม ไม่ให้เอาพระปรอทไปด้วยพร้อมทั้งดาบ อาตมาก็คืนไว้ที่คงเดิม แล้วเที่ยวไปที่ภูเขาค้อที่ถ้ำไทร อาศัยบิณฑบาตบ้านคิ้ว ไปพักทำความเพียรที่นั้นด้วย ได้รับนิมิตฝันเห็นแต่งูมารัดแทบทุกวัน บางวันก็จนละเมอร้องไห้ก็มี เพราะฝันเห็นแล้วก็กลัว ฝันว่างูรัดแน่นไป จนจะหายใจไม่ออกแล้ว ก็ละเมอร้อง ทั้งแรงก็มี เมื่อตื่นนอนขึ้นมาแล้วก็ไหว้พระแล้วอธิษฐานว่า

    “ข้าพเจ้ามาบำเพ็ญบารมีอยู่ที่นี้ เป็นเพราะเหตุไรหนอจึงฝันเช่นนี้ทุกวัน หากข้าพเจ้า จะถึงแก่ความเสื่อม หรือความเจริญสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้ว ด้วยอำนาจคุณพระรัตนตรัย จงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าทราบแห่งเหตุอันนี้ขึ้น ในวันต่อไปแก่ข้า เทอญ” ดังนี้
    พบคู่วาสนา

    พอค่ำวันนั้นประมาณ ๗ ทุ่มก็จำวัด ฝันเห็นพระหลวงตาแก่ ๆ มาบอกว่า จงระวัง เณร มาอยู่ที่นี้ แล้วอีก ๔ วัน เณรจะเห็นคู่วาสนา แล้วเณรจะร้อน เพราะผู้หญิงคนนั้น ก็พอดีตื่นนอน ต่อนั้น อาตมภาพก็ลุกขึ้นทำความเพียร เดินจงกรมไปตามเรื่อง
    อีก ๔ วันพอดี บิณฑบาตกลับมา เผอิญผู้ใหญ่บ้านคิ้วมาทำบุญกับลูกสาวคนหนึ่งอายุ ๒๐ ปี พอมานั่งลงเท่านั้น มองเห็นหน้าหญิงคนนั้น ยังไม่ได้พูดอะไร เกิดประหม่าใจขึ้น ดูเหมือนรักก็ไม่ใช่ เกลียดก็ไม่เชิง ใจคอว้าเหว่จนรู้สึกว่า หายใจไม่รู้อิ่ม ใจคอก็ไม่หนักแน่นอย่างแต่ก่อน
    อาตมภาพก็นั่งพิจารณาอยู่ จะเป็นนี้กระมัง ตรงความฝันของเราเมื่อวันที่แล้วมานี้ ว่าจะพบคู่วาสนา ต่อนั้นโยมผู้ใหญ่บ้านคนนั้นก็ถามหาบ้านเกิด เมืองเกิด ถามทั้งบิดามารดา แล้วแกก็ปรารภว่า ไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร ผมเห็นคุณเณรไปเที่ยวบิณฑบาตแต่วันมา ถึงทีแรกจนบัดนี้รู้สึกคิดรักคุณเณรคล้ายกับบุตรของตนจริง ๆ ดังนี้

    ส่วนหญิงหนุ่ม (หมายถึงรุ่นสาว) ลูกสาวคนนั้นพูดว่า

    “ฉันเองก็ไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร นับแต่วันได้เห็นท่านเข้าไปบิณฑบาต จนบัดนี้รู้สึกคิดรักท่าน ยิ่งกว่าพี่ชายน้องชายของตน ท่านก็เป็นคนหนุ่ม ๆ ทำไมเที่ยวกรรมฐาน นอนตามถ้ำตามเขาคนเดียว ข้อนี้เองยิ่งเป็นเหตุให้ดิฉันคิดสงสารมากขึ้น แทบน้ำตาจะร่วงออก” ดังนี้
    ต่อนี้ อาตมภาพก็นั่งพิจารณาในใจว่า นับแต่วันเราเกิดเป็นมนุษย์มา ไม่มีเลยที่เราจะมาคิดชอบคิดรักกับคน จนหายใจไม่อิ่มอย่างนี้ ไม่มีเลย แต่ไม่พูดอันนี้ เป็นแต่คิดในใจเท่านั้น แล้วพิจารณาต่อไปว่า เราจะหาคำพูดอันหนึ่งอันใด มิให้เป็นที่พอใจรักใคร่กันต่อไปอีก จึงนึกได้ขึ้นมา แล้วก็ข่มใจพูด ดูประหนึ่งว่า ไม่มีความยินดีสักนิดเดียว พูดว่า โยมผู้ใหญ่พร้อมทั้งนางสาวนั้น เป็นคนโง่หาปัญญามิได้ ทำไมจะมารักของทิ้ง คือรูปโฉมทั้งสาระร่างกายนี้ ทั้งของโยมทั้งสอง ทั้งของอาตมานี้ ต่างก็จะพากันเอาไปฝังดินทิ้งอยู่แล้ว ก็ประโยชน์อะไรมาคิดรักของทิ้งกันเล่นเปล่า ๆ ใครก็อยู่ไปจนกว่าจะเอาไปทิ้งเท่านั้น สิ่งที่ควรรักก็คือศีลธรรมเท่านั้น ไม่ควรรักร่างกายกระดูก คือรูปโฉมอันเป็นของจะทิ้งลงสู่แผ่นดินทุกคนไป ว่าแล้วอาตมภาพก็ฉันบิณฑบาตนั้นเรื่อยไป
    พออิ่มเสร็จแล้ว แกจึงถามว่า คุณเณรดูเหมือนจะไม่สึกสักทีแหละหรือ
    อาตมภาพจึงตอบขึ้นในทันใดว่า อาตมภาพไม่ได้บวชเพื่อจะสึก บวชเพื่อจะบำเพ็ญกุศลบารมีเท่านั้น คืออาการของสึกยังไม่ได้คิดไว้เสียแล้ว อาตมาได้คิดไว้แต่เพียงว่าการบวชของเรามีประโยชน์ และธุระจะบำเพ็ญส่วนกุศลเท่านั้น ธุระหรืออะไรนอกนั้นไม่ใช่การงานของนักบวชจึงมิได้คิดไว้ ว่าแล้วอาตมภาพก็ให้พรยถาสัพพี
    พอเสร็จ หญิงหนุ่มคนนั้นพูดสอดขึ้นว่า คุณเณรมัวแต่จะสร้างบารมีนานเข้าจะลืมคิดสึก เดี๋ยวจะแก่เสียก่อน ดังนี้
    ต่อนั้น อาตมภาพนึกขึ้นได้ว่าพูดในเรื่องเช่นนี้ จะเป็นอันตรายแก่ความสงบ ต่อนั้นก็นั่งสมาธิเรื่อยไปไม่พูด คนทั้งสองพ่อลูกเห็นอาการเช่นนั้น ก็ชวนกันกลับบ้าน
    ตัดความรักด้วยการอดข้าว
    ฝ่ายว่าอาตมภาพ ทั้งนี้พอคนทั้งสองหลีกไปแล้ว ก็รู้สึกคิดถึงหญิงคนนั้นจนรู้สึกหายใจไม่อิ่ม และใจคอว้าเหว่มากนั่งไม่นาน นอนก็ไม่หลับ ฉันข้าวก็ไม่ได้ เพราะปรากฏว่าลูกหัวใจแขวนเหวี่ยงไปเหวี่ยงมา เป็นอยู่เช่นนี้ ๒ วัน รู้สึกเป็นทุกข์มาก อาตมภาพจึงดำริว่า ประโยชน์อะไร เราจะอยู่ด้วยความเป็นทุกข์เช่นนี้ เราตายเสียในเร็ว ๆ นี้จะไม่ดีกว่าหรือ หากเราจะสึกไปมีครอบครัวของฆราวาส ต้องทำปาณาติบาตเป็นอาชีพ เราก็จะสร้างบาปกรรมขึ้นอีก ไม่ใช่เล่น สู้ว่าเราตายเสียก่อน อย่าให้ทันได้ทำบาปเลย ฉวยเอาศีลธรรมที่เราได้ประพฤติมาแล้วนี้ เป็นที่อาศัย ไปเสียก่อนดีกว่า เราจะสึกออกไป สร้างเอาบาปกรรมต่อไปอีกตั้งหลายปีหลายเดือนไปอีก
    เมื่อพิจารณาตกลงเช่นนี้แล้ว จึงตั้งสัจอธิษฐานว่า หากความรักกับหญิงคนนี้ ไม่ตายไปจากจิตจากใจของข้าพเจ้าแล้ว ขอให้ข้าพเจ้า จงได้ตายไปเสียก่อนภายใน ๑๐ วันนี้ ข้าพเจ้าจงอย่าทันได้สึก ไปทำบาปทั้งหลายเหล่าอื่น ต่อไปอีก

    เมื่ออธิษฐานเสร็จแล้วก็ตั้งใจว่า “หากไม่หาย จากความรักหญิงคนนี้ เราจะไม่ฉันข้าวแต่วันนี้เป็นต้นไป จนกว่าให้ชีวิตนี้ตายไปเสียก่อน”

    ต่อนั้น อาตมภาพก็ตั้งหน้าไม่ฉันข้าวไปได้ ๕ วัน แต่ฉันน้ำอยู่ถึง ๕ วัน จึงสังเกตภายในจิตว่า ความรักและคิดถึงเช่นนั้น เบาลงแล้วหรือยัง

    (ยัง)รู้สึกว่าหนักแน่นอยู่เสมอเก่า จึงนึกขึ้นมาว่า เมื่อเรายังฉันน้ำอยู่ ชีวิตนี้ก็จะตั้งอยู่ได้นาน ความรักอันนี้จะกำเริบเรื่อยไป มิฉะนั้นอย่าเลย ต่อแต่นี้ไป เราจะไม่ฉันทั้งข้าวทั้งน้ำ ให้ชีวิตนี้ตายไปเสียเร็ว ๆ หากความรักอันนี้ยังไม่เบาลง หรือหายไปจากสันดานของเราเมื่อไร เราก็จะไม่ฉันทั้งน้ำทั้งข้าว จนกว่าจะถึงวันตาย หรือจนกว่าความรักจะหายไปจากสันดาน
    ต่อไปเมื่ออดทั้งข้าวทั้งน้ำอยู่อีกภายใน ๒ วัน รู้สึกว่าเมื่อนอนหลับไป หายใจเข้าออก ลำคอแห้ง เสียงหายใจดังโวด ๆ ตื่นนอนขึ้นจึงพิจารณาต่อไปว่า
    “แม้ความรักใคร่และความกระสันอันนี้ จะมีรากลึกลงไปแค่กับชีวิตนี้แหละหรือ ตกลงว่าเอาเถิด ชีวิตกับความรักอันนี้ จะถอนจากความเป็นอยู่ในชีวิตนี้พร้อมกัน แล้วตายไปก็ตาม ขอแต่อย่าทันได้สึกออกไปทำบาปกรรมเหล่าอื่นอีก หากเราตายไปเสียเวลานี้ยังดี เพราะเราเกิดมาในชาตินี้เรายังมิได้สร้างบาป บาปก็จะมิได้มีแต่เรา เราได้สร้างแต่ส่วนเป็นกุศลคือศีลธรรม ก็บุญกุศลคือธรรมที่เราสร้างไว้นี้ จะเป็นของเรา เพราะเราได้สร้างไว้แล้ว สู้ว่าเราตายไปแล้ว ฉวยเอาบุญไปสู่สุคติก่อน อย่าให้ทันให้ดึงเอาเราไปสร้างวัตถุที่เป็นบาปเลย”

    เมื่อพิจารณาเช่นนั้นแล้ว ก็ตั้งหน้าอดทนต่อความหิวนั้นอีกวันหนึ่ง จวนค่ำรู้สึกหายใจไม่ไหวติงถึงสะดือเลย แต่อย่างนั้นความกระสัน ก็ปรากฏอยู่บ้าง แต่บางลง ที่สุดต่อไปตอนกลางคืนประมาณ ๕ ทุ่ม รู้สึกหายใจขัดไหล่ทั้งสอง หอบขึ้นด้วย คือ สูบเอาลมหายใจแรง ๆ ก็ไม่ปรากฏว่า มีลมเข้าไป ปรากฏแต่ลมออกเป็นส่วนมาก ขณะนั้นจึงรู้สึกว่าความกระสันหายไป เป็นเย็นขึ้นตามเนื้อตามตัว สวิงสวายเป็นที่วิง ๆ เวียน ๆ คล้ายกับ จะอาเจียน แต่ไม่อาเจียน เป็นแต่เย็นขึ้นมา ไม่ช้ารู้สึกหายใจสูบลมเข้าไปทั้งแรง รู้สึกถึงแค่หน้าอกขึ้นมาลำคอ ไม่ถึงท้องอย่างแต่ก่อน หนักเข้า หายใจเข้าออกทั้งแรงก็ปรากฏว่ามีลมเข้าออกด้วย รู้สึกปลายจมูกตึง แล้วก็เหงื่อไหลออกที่ริมสบง และทั่วไปทั้งศีรษะ รู้สึกว่า ความรักความกระสัน เช่นนั้น ขาดไปจากสันดาน คือความเป็นอยู่ในขณะนั้น
    ไม่ช้าปรากฏมีแสงคล้ายกับแสงหิ่งห้อยออกจากตา และลืมตาอยู่ก็ไม่เห็นอันอื่น เห็นแต่แสง ชนิดนั้น หลั่งไหลออกจากลูกตา มีทั้งสีแสด สีแดง, ดำ, ขาว, เขียว ครบทุกชนิด ลอยขึ้นข้างบนลูกตาก็เหลือกขึ้นข้างบน ตามแสงอันนั้น รู้สึกว่า อันนี้ไม่ใช่อื่น วิญญาณทางตาของเราออกไปแล้ว ไม่ช้าวิญญาณทางหูก็จะดับ ก็เป็นอันว่าเราตายไปเท่านั้น ที่นี้ความกระสันยิ่งไม่ปรากฏ จึงนึกทดลองน้ำใจดูว่าสึกไปเอานางสาวนั้นเถิด รู้สึกขณะนั้นจิตใจไม่เกี่ยวข้องด้วยเลยเป็นอันขาด เป็นแต่สวิงสวายไปเท่านั้น จึงกำหนดได้ว่า เรายังไม่ตาย ความรักความกระสันเช่นนั้น ตายไปก่อนแล้ว ฉะนั้น เราควรจะฉันน้ำเสียในเวลานี้ พอให้ชีวิตนี้ตั้งอยู่ (จน)กว่าจะถึงเวลาเช้า จึงไปบิณฑบาตมาฉัน

    นึกแล้วก็คว้าเอาน้ำอยู่ในกระบอกไม้ไผ่มาฉัน เมื่อฉันน้ำลงไปในท้อง รู้สึกท้องสั่นดังวุบวับ ปรากฏลำไส้ข้างในครู้ยเป็นขด ๆ ขึ้นมา แล้วเรอออก ๒-๓ พัก รู้สึกหายใจสะดวกดี ลงถึงที่สะดือเมื่อหายใจสูบลงแรง ๆ ก็ดูเหมือนที่สะดือพุ่งออกและหยุดเข้า รู้สึกมีกำลังพอที่จะดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้
    ต่อนั้นก็คลานไปที่บ่อน้ำ ฉันน้ำให้อิ่ม สรงน้ำพร้อมเสร็จแล้วแต่เช้าตรู่ ยิ่งรู้สึกสบายขึ้น เดินได้แข็งแรงพอสมควรก็ไปบิณฑบาตวันนั้น ต่อนั้นฉันข้าววันละ ๗ คำ อยู่ ๑๕ วัน รู้สึกเบากายเบาใจ หายจากความอาลัยในความกระสันรักใคร่ ต่อนั้นก็เที่ยวไปตามหลังเขาได้ ๓ วันถึงภูผากูด พักบำเพ็ญเพียรอยู่ที่นั้น เกิดสัญญาวิปลาสสัญญาว่าตนพ้นวิเศษ ก็จำพรรษาอยู่ที่นั้น

    พิจารณาความเสื่อมของพระศาสนา

    ในกลางพรรษานั้น ได้พิจารณาเรื่องราวของศาสนา ได้ความว่า
    เวลานี้มีภิกษุเป็นมหาโจรปล้นพระศาสนา คือภิกษุประพฤติผิดพระธรรมวินัย ทำการซื้อถูกขายแพง ประจบประแจงกับชาวบ้าน และซื้อม้าวัวควายขับขี่เป็นพาหนะ สะสมเงินทองสิ่งของไว้เป็นทุนเป็นกำไร อาศัยได้ทรัพย์ไปจากพระพุทธศาสนา ที่เขานำมาบูชา เมื่อตนยังเป็นบรรพชิตอยู่ พอได้แล้วก็ลาสิกขา นำเครื่องบูชาที่เขาให้แต่ยังเป็นพระ ไปเป็นทุนกำไรค้าขาย ในคราวที่ตนสึกออกไปเท่านั้น ตกลงผู้บวชในศาสนา จะแสวงหาพระนิพพานนั้นเป็นส่วนน้อย ผู้บวชแสวงหาแต่ลาภยศเป็นส่วนมาก พระพุทธศาสนา คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า จะเป็นลัทธิอันนี้พระพุทธเจ้าวางไว้ เพื่อกุลบุตรผู้ต้องการความพ้นทุกข์เท่านั้น มิได้วางไว้เพื่อเป็นทางหากิน ของบุคคล ผู้เพ่งต่อความโลภ บัดนี้ มีพระภิกษุบวชอาศัยในพระพุทธศาสนาเพ่งต่อความโลภมาก จนเป็นหมอดู และหมอยารักษาไข้ เอาปัจจัยเงินทอง ของชาวบ้าน ยังมีการซื้อถูกขายแพงเข้า อีกหลายอย่างหลายประการ เป็นอันตรายแก่พระพุทธศาสนา เมื่อพิจารณาเช่นนี้แล้ว ตกลงออกพรรษาแล้ว จะเที่ยวประกาศพระพุทธศาสนาพร้อมทำสังคายนา

    แสดงธรรมย่ำยีผู้ทำลายศาสนา

    ครั้งเมื่อออกพรรษาแล้ว ก็ลงไปจากเขาไปบ้านชักชวนพี่ชายออกเที่ยวกรรมฐาน ไม่ช้าจะนำพาสังคายนา พี่ชายก็ติดตามไปถึงอำเภอท่าบุ่ง ยังมีโยมหลายคนมาฟังธรรมเทศนา มีนายพิมพ์และนายอินเป็นต้น จึงได้แสดงธรรมเทศนาเพื่อประกาศพระศาสนาตามความสำคัญวิปลาสของตนว่า

    ปุพเพ ธัมมะวาทิโน ทุพพะลา โหนติ อิทานิ อวินะยะ วาทิโน พะละวันโต โหนติ

    แปลเอาเนื้อความว่า ในกาลก่อนพระธรรมวาทีมีกำลังกล้า รักษาธรรมวินัยในศาสนานี้เรียบร้อยเป็นน่าเลื่อมใสบูชา บัดนี้อธรรมวาที คือภิกษุโจรปล้นพระศาสนามามีกำลังกล้าเบียดเบียน ประพฤติย่ำยีพระธรรมวินัยให้เสื่อมสูญ เป็นตัวอย่างแก่กุลบุตรผู้บวชเมื่อภายหลัง ฝ่ายญาติโยมกลายเป็นเดียรถีย์ให้กำลังแก่พระอลัชชีประพฤติย่ำยีพระพุทธศาสนา เช่นนำพระให้เป็นหมอดู และหมอขับภูติผี และทำการติดต่อยืมทองของพระไปเป็นทุนซื้อขาย แบ่งทุนแบ่งกำไรกันและกัน นี้แหละฝ่ายพระก็เป็นอลัชชี ฝ่ายโยมก็เป็นเดียรถีย์ไม่รู้เนื้อรู้ตัว ช่วยกันย่ำยีพระพุทธศาสนา เป็นมหาโจรปล้นพระศาสนาทั้งนั้น ตกลงว่าท่านเหล่านี้กำลัง กัตวา (เป็นผู้กระทำ) ครั้นทำกาลกิริยาตายไปแล้วจะไปตกมหาอเวจีนรก ด้วยโทษประพฤติเป็นอลัชชี ย่ำยีพระธรรมวินัยให้เสื่อมทรุดชำรุดไป
    พระบาลีข้างต้นนั้น เป็นพระบาลีที่ท่านได้ตัดตอนมาจากคัมภีร์จุลวรรคแห่งวินัยปิฎก ซึ่งพระมหากัสสปเถระได้กล่าวปรารภแก่ภิกษุทั้งหลาย ก่อนการทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่หนึ่งว่า

    “หนฺท มยํ อาวุโส ธมฺมญฺจ วินยญฺจ สงฺคายาม ปุเร อธมฺโม ทิปฺปติ ธมฺโม ปฏิพาหิยติ อวินโย ทิปฺปติ วินโย ปฏิพาหิยติ ปุเร อธมฺมวาทิโน พลวนฺโต โหนฺติ ธมฺมทิวาโน ทุพฺพลา โหนฺติ อวินยวาทิโน พลวนฺโต โหนฺติ วินยวาทิโน ทุพฺพลา โหนฺติฯ

    แปลว่า

    อาวุโสทั้งหลาย เชิญพวกเรามาทำสังคายนาพระธรรมและวินัยกันเถิด เพราะต่อไปในภายหน้า อธรรมจะรุ่งเรือง พระธรรมจะเสื่อมถอย อวินัยจะรุ่งเรือง พระวินัยจะเสื่อมถอย อธรรมวาทีบุคคลทั้งหลายจะมีกำลัง ธรรมวาทีบุคคลทั้งหลายจะมีกำลังน้อย พระภิกษุทั้งหลายที่เป็นอวินัยวาทีจะมีกำลังกล้า พระภิกษุทั้งหลายที่เป็นวินัยวาทีจะมีกำลังน้อย”
    ต่อนั้น ก็แสดงไปหลายนัยเอนกประการ เมื่อเทศนาจบลง มีคนแสดงความเลื่อมใส มาขอปฏิญาณตนเป็นอุบาสกในพระศาสนาเสียใหม่ เพื่อชำระบาปกรรมที่ได้กระทำกันมาแล้ว ดังนี้

    ต่อนั้น ยังมีขุนคีรีสมันการ ปลัดขวาอีกคนหนึ่งเห็นพร้อม นอกนั้นเขาก็ว่าแสดงธรรมกระทบ ทั้งไม่เรียบร้อย จนกระทั่งเจ้าคณะแขวงก็เข้าใจว่าแกล้งแสดงธรรมกระทบท่าน สั่งไปกับปลัดขวาว่า ให้สามเณรหนีเสียดีกว่า มิฉะนั้นจะเดือดร้อนทั้ง ๒ ฝ่าย ขุนคีรีสมันการก็นำเอาความอันนั้นมาแนะนำว่า เจ้าคณะแขวงท่านเคือง ขอเณรจงหลีกไปเสียก่อน

    ต่อนั้น ขุนคีรีสมันการจึงเล่าให้ฟังว่า บัดนี้ยังมีอาจารย์ ๒ ท่าน คือ พระอาจารย์สิงห์ องค์หนึ่ง พระมหาปิ่น องค์หนึ่ง ท่านใฝ่ใจในทางนี้ ขอท่านสามเณรจงหลีกไปหาท่านเหล่านั้นเถิด เวลานี้ท่านอยู่จังหวัดขอนแก่น

    อาตมภาพได้ทราบข่าวว่า ท่านเหล่านี้รักษาธุดงค์และมุ่งประโยชน์ในพระศาสนา อาตมภาพก็เดินจากอำเภอท่าบุ่ง ๘ คืนไปถึงจังหวัดขอนแก่น ได้ทราบว่าพระอาจารย์สิงห์และอาจารย์มหาปิ่นพักอยู่ที่ป่าช้า อาตมภาพก็ตรงเข้าไปศึกษา ได้ความว่าพระเถระทั้งสองพร้อมด้วยสานุศิษย์ทั้งหลาย ๗๐ รูป ปฏิบัติตรงตามพระธรรมวินัย ต่อนั้น อาตมภาพก็น้อมตนเป็นศิษย์ของท่านพระเถระทั้งสอง แล้วก็ลาท่านไปบำเพ็ญอยู่ในป่าช้าบ้านโนนรังพรรษาหนึ่ง

    ในกลางพรรษานั้น บำเพ็ญเพียรไปก็เพียงแต่ตระหนักไว้ในใจว่า เมื่อออกพรรษาแล้ว เราจะออกเที่ยวแสดงธรรมประกาศพระศาสนา ให้พวกอลัชชีและพวกเดียรถีย์รู้ตัวสักหน่อย

    ครั้นเมื่อออกพรรษาแล้วก็เที่ยวมาจังหวัดกาฬสินธุ์ ไปพักอยู่ที่บ้านหนองสะพัง และบ้านหนองมันปลา แสดงเรื่องพระเป็นอลัชชี โยมเป็นเดียรถีย์ รู้สึกว่ามีคนเลื่อมใสและเห็นด้วย คือนายสุวรรณ ผู้ใหญ่บ้านหนองสะพัง เขาก็นำลูกบ้านมาฟังธรรม และมาขอปฏิญาณตนเป็นอุบาสกในศาสนา จะไม่ถืออื่นเป็นที่พึ่งจนตลอดชีวิต และนายบุญมา ผู้ใหญ่บ้านหนองมันปลา ก็นำลูกบ้านมาปฏิญาณตนเป็นอุบาสกในศาสนา ว่าจะไม่ถือภูตผีปีศาจต่อไปอีก ปฏิญาณว่าจะถือเฉพาะคุณพระรัตนตรัย เท่านั้นเป็นที่พึ่ง จนตลอดชีวิต

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,428
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    (ต่อ)
    พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล
    อีกฝ่ายภิกษุยาคู พระเจ้าคณะหมวด ก็นำพระมาฟังธรรมที่ป่าช้าทุก ๆ วัน และมายอมตัวพร้อมด้วยสานุศิษย์ว่า จะปฏิบัติตามพระธรรมวินัยต่อไป และนำพาสานุศิษย์มาฝึกหัดกรรมฐานด้วยทุก ๆ วัน แต่ก่อนท่านองค์นี้ ท่านเลี้ยงหมูขายบ้าง เลี้ยงไก่ขายบ้าง เลี้ยงม้าไว้ขี่บ้าง ซื้อโคให้คนไปขายเอากำไรแบ่งกันบ้าง ต่อเมื่อได้ฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งอาตมภาพนำไปแสดงว่าเป็นลัทธิของพระอลัชชี แต่นั้นท่านก็ให้คนนำเอาหมู เอาไก่ เอาม้า โค ออกหนีจากวัดให้หมด ประพฤติตนตั้งอยู่พระธรรมวินัย
    ต่อนั้นยังกำเริบใหญ่ พิจารณาไปว่า เรานี้จะรื้อพระศาสนาให้เจริญได้จริง ๆ เพราะมีคนเห็นพร้อมด้วยแล้วเป็นส่วนมาก เท่าที่ได้ยินฟังก็นับว่ามีคนเชื่อถือมาก ต่อนั้นก็ตั้งใจเที่ยวธุดงค์ไปอีก ๒ คืน ถึงจังหวัดกาฬสินธุ์ ไปพักอยู่ป่าไม้ทิศตะวันตกเมือง อยู่ภายใน ๓ วันเท่านั้น นายอัม ผู้ใหญ่บ้านหัวขัวมาฟังธรรม ก็เกิดความเลื่อมใสปฏิญาณตนเป็นอุบาสกในศาสนา ต่อมาวันหลังก็นำลูกบ้านทั้งหมดมาปวารณาและปฏิญาณตนเป็นอุบาสกพร้อมทั้งลูกบ้าน
    ต่อมาอีก ๒ วัน มีนายหอม นักปราชญ์บ้านดงเมือง เคยเป็นครูสอนบาลีและมูลกัจจายน์มาหลายปี ครั้นมาเห็นเข้าก็ปฏิญาณด้วยวจีเภทอันเลื่อมใส ว่าจำเดิมแต่ข้าพเจ้าเกิดมาอายุ ๕๕ ปีนี้พึ่งได้พบตัวศาสนาในวันนี้ เหตุนั้นขอท่านสามเณรจงจำไว้ว่า ข้าพเจ้าเป็นอุบาสกในพระพุทธศาสนาอันหมดจด แต่วันนี้เป็นต้นไป จนตลอดชีวิต ดังนี้
    วันหลังต่อมา นายหอม นักปราชญ์ ก็นำเพื่อนพร้อมทั้งผู้ใหญ่บ้านมาฟังธรรม ก็มีความเลื่อมใสทุก ๆ คน มิได้แสดงความขัดขวางอันหนึ่งอันใด
    ต่อนั้น อาตมภาพก็แสดงธรรมด้วยความหวังใจจะประกาศพระธรรมตามความสำคัญของตนว่า

    “อนิจจา อนิจจา สมเด็จพระมหากรุณาธิคุณเจ้า ดับขันธ์เสด็จเข้าสู่ปรินิพพานนานมาได้ ๒๔๗๓ ปีเท่านั้น บัดนี้ฝ่ายโยมก็กลายเป็นเดียรถีย์ ฝ่ายพระก็เป็นอลัชชี ประพฤติย่ำยีพระธรรมวินัยอันเป็นพระพุทธศาสนา ของสมเด็จพระมหากรุณาธิคุณเจ้า ให้เศร้าหมองเสื่อมสูญอันตรธาน จะมิตั้งอยู่ได้นาน เหตุนั้น บัดนี้ มาเถิดท่านอุบาสก จงช่วยยกพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองวัฒนาถาวร ธัมมวาทิโน ทุพพลา โหนติ อวินยวาทิโน พลวันโต โหนติ บัดนี้ภิกษุผู้เป็นยุคเป็นธรรม ทุพพลภาพมีกำลังน้อยเสื่อมถอยลงมิอาจจะกล่าวแก่อลัชชี ฝ่ายมหาโจรปล้นพระศาสนามีกำลังกล้าสนุกประพฤติฝ่าฝืนพระธรรมวินัย เล่นทุก เล่นกระสาย เล่นถั่ว เล่นโป เที่ยวเกี้ยวสีกาตามทุ่งตามนา ซื้อถูกขายแพงหาทุนกำไรสั่งสมปัจจัยไว้ เพื่อญาติเพื่อวงศ์ มิได้ครอง ต่ออริยมรรคธรรมวินัย ประพฤติหยาบ ๆ ล่วงสิกขาบท นี้แหละท่านทายกอุบาสกอุบาสิกา เห็นเป็นการควรและหรือ ที่ท่านทั้งหลายจะสมคบให้กำลังแก่พวกอลัชชีย่ำยีพระศาสนา ให้กำเริบมากมายขึ้นทุกวัน ฉะนั้น ควรแล้วท่านทั้งหลายจะกลับตัวเสียจากการยืมเงินทองของพระของเณรไปเป็นทุนซื้อทุนขาย แบ่งทุนกำไรซึ่งกันและกันอันเป็นทางแห่งอบาย”
    โต้หลักพระศาสนากับพระสมุห์
    เมื่อเทศน์จบลง ยังมีนายอาจารย์เรื่อง และครูโรงเรียนชื่อนายแก้ว ซึ่งอาศัยกินอยู่กับเจ้าคณะจังหวัด ท่านพระครูสังฆปาโมกขทวาจารย์ นำเอาเนื้อความซึ่งอาตมภาพกล่าวว่า โยมทั้งหลายเป็นเดียรถีย์ พระทั้งหลายก็เป็นอลัชชี ไปเรียนท่านพระครูสังฆปาโมกขทวาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อท่านได้ทราบท่านก็โกรธใหญ่ ให้พระสมุห์ภัยไปไล่ให้หนี บอกว่าสามเณรจะมาแข่งดีกับจังหวัดกาฬสินธุ์หรือเณร อย่ามาทำอย่างนี้เลย เณรจงหลีกไปเถิด เดี๋ยวจะถูกจับสึก
    อาตมภาพตอบว่า ผมนี้มาแล้วจากอุบลจนถึงนี้ จะให้ผมหนีอย่างไรอีก ท่านสมุห์เล่าหนีแล้วหรือยัง ผมเห็นว่าท่านสมุห์ก็ควรหนีไปเที่ยวธุดงค์บ้างตามอริยประเพณี
    ท่านถามว่า เณรเดินตามอริยประเพณีแล้วหรือยัง
    อาตมภาพตอบว่า ผมเข้าใจว่าอริยประเพณีเป็นมา ดังนี้
    อาตมภาพตอบว่า มี ๕ อย่างคือ ๑. ไม่ฆ่าสัตว์อื่น ๒. ไม่เข้าไปว่าร้ายและล้างผลาญคนอื่น ๓. สำรวมในพระปาฏิโมกข์ ๔. นั่งนอนเสนาอันสงัด ๕.เป็นใหญ่ในจิตของตน ๕ อย่างนี้แหละเรียกว่าอริยประเพณี
    ท่านถามว่า ถ้าเณรเดินตามอริยประเพณีแล้ว ทำไมว่าเขาเป็นเดียรถีย์ เป็นพระอลัชชี ไม่ชื่อว่าเบียดเบียนเขาหรือ
    อาตมภาพตอบว่า เปล่าผมไม่ได้เบียดเบียน หากจะมีคนเดียรถีย์และพระอลัชชีแล้ว ผมสงสารเขาจะไปตกนรก ผมกล่าวขึ้นเพื่อบุคคลเช่นนั้นรู้สึกตัวสักหน่อย เพื่อจะให้เขากลับสำรวมในพระธรรมวินัยในพระศาสนานี้
    ท่านจึงถามว่า เณรเข้าใจว่าใครเป็นเดียรถีย์ ท่านองค์ไหนเป็นอลัชชี
    อาตมภาพตอบว่า บุคคลไม่ถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งบุคคลนั้นเป็นเดียรถีย์ ท่านองค์ไหนแกล้งประพฤติล่วงเกินพระธรรมวินัย ท่านองค์นั้นชื่อว่าอลัชชี
    ท่านตอบว่า เช่นฉัน เณรเห็นว่าเป็น อลัชชี หรือ ลัชชีบุตร
    อาตมภาพตอบว่า ถ้าท่านสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ท่านก็เป็น ลัชชีบุตร หากท่านไม่สำรวมในพระปาฏิโมกข์ ละเมิดล่วงเกินในพระธรรมวินัย ท่านก็เป็นอลัชชี
    ท่านจึงถามต่อไปว่า เณรเป็นอรหันต์หรือ ?
    อาตมภาพตอบว่า ถ้าผมสำเร็จอรหันต์ ผมก็เป็นอรหันต์เท่านั้น ถ้าผมยังไม่สำเร็จอรหันต์ ผมก็ยังเป็นปุถุชนอยู่
    ท่านจึงถามอีกว่า ธรรมอะไรทำให้บุคคลให้เป็นอรหันต์ ?
    อาตมภาพตอบว่า ผู้เห็นจริงในอริยสัจทั้ง ๔ ข้อ ชื่อว่า พระอรหันต์
    ท่านจึงถามต่อไปว่า เณรเห็นอริยสัจทั้ง ๔ แจ้งแล้วหรือยัง ?
    อาตมภาพตอบว่า ความรู้จริงในอริยสัจทั้ง ๔ ข้อ เป็นความรู้ความเห็นของพระอริยเจ้า หากผมเป็นพระอริยเจ้า ผมก็รู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจทั้ง ๔ ข้อ อยู่ตราบนั้น
    ท่านจึงพูดขึ้นว่า ถ้าเช่นนั้นเณรก็เป็นทั้งปุถุชนทั้งอริยะ ใช่ไหม ?
    อาตมภาพตอบว่า ธรรมดาผู้บำเพ็ญพรตในศาสนาพระพุทธเจ้า แรกก็เป็นปุถุชนปฏิบัติเพื่ออริยมรรคนั่นเอง
    ท่านสมุห์ภัยถามต่อไปว่า เณรได้อริยมรรคแล้วหรือยัง ?
    อาตมภาพตอบว่า ผมจำได้ซึ่งองค์อริยมรรค ๘ ประการ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น สัมมาสมาธิเป็นที่สุด
    ท่านจึงบ่นต่อไปว่า ความจำองค์อริยมรรค ๘ ได้เท่านั้นจะสำคัญตนเป็นผู้วิเศษไป อ้ายพันนี้มันบ้าจริง ๆ ตัวของเณรนี้แหละเป็นตัวอลัชชีใหญ่ แกบวชเข้ามาเบียดเบียนหมู่พวกภิกษุสามเณร ดูหมิ่นดูถูกเพื่อนบรรพชิตด้วยกันทั้งหมด ว่าพวกนั้นเป็นอลัชชี พวกนี้เป็นลัชชีบุตร เดี๋ยวแกยุแหย่ ให้สงฆ์แตกร้าว เป็นอนันตริยกรรม ตัวของเณรเองจะเป็นโทษถึงอนันตริยกรรม ตายแล้วแกก็ไปตกอเวจีมหานรกเท่านั้น แต่เดี๋ยวนี้แกก็ไม่ควรเป็นเณรแล้ว การติเตียนพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์เป็นนาสนังคะ ขาดครองเณรมิใช่หรือ ตกลงเณรนี้แกไม่ใช่เป็นเณรแล้ว แกติเตียนพระสงฆ์ นี้ท่านอุบาสก อุบาสิกา เธอคนนี้ไม่ใช่เณรแล้ว พวกเจ้าทั้งหลายอย่าพากันเชื่อถือมาก พวกเจ้าจะนำพากันเป็นบ้า ไปตามเธอคนนี้ ทั้งหมดใช้ไม่ได้ พวกเจ้าจะพากันติเตียนพระสงฆ์แล้ว พวกเจ้าจะพากันไปทำบุญที่ไหน เพราะพระสงฆ์เท่านั้นเป็นบุญเขตของโลก
    ต่อนั้น ท่านจึงผินหน้ามาถามอาตมภาพว่า ใช่ไหมเธอ หรือเธอเห็นเป็นอย่างไรอีก ?
    อาตมภาพตอบว่า ท่านจะถามถึงความเห็นของผมแล้วก็มีความเห็นอยู่หลายอย่าง หลายประการ มีนัยอันจะพูดอยู่มากมายมิใช่เล่น
    ท่านสมุห์ภัยท่านจึงบอกว่า แกมีความเห็นมากมายนั้นเห็นอย่างไร จะพูดได้มากมายนั้น แกจะพูดได้อย่างไรจงพูดขึ้นมา อาตมภาพพูดต่อไปว่า เท่าที่ท่านสมุห์จะมาโทษว่า ผมขาดจากเณรทีเดียว ด้วยเหตุแห่งการติเตียนพระอลัชชีเท่านั้นผมไม่เห็นด้วย เพราะผมมิใช่ติเตียนพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ผมพูดเพื่อจะให้พระอลัชชีรู้ความผิดของตนเท่านั้น ส่วนพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผมไหว้อยู่ทุกวันว่า สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ จนถึง สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ผู้ปฏิบัติดีและผู้ปฏิบัติชอบนั้นแหละ ถือว่าพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ผมมิได้ติเตียนพระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ผมกล่าวตามโทษของบุคคลผู้กระทำผิดพระวินัย ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ท่านเคืองอะไรหนักหนาหรือท่านประพฤติผิดพระธรรมวินัยกับเขาบ้าง
    ท่านตอบว่า ไม่ว่าแต่ฉันเลย เจ้าคณะแขวงก็มีม้า มีวัว มีเงินตั้งหลายพันบาท ไม่เห็นว่าท่านเป็นพระอลัชชี อาตมาตอบท่านว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลายค่อนข้างเป็นพระอลัชชีไปแล้วมิใช่หรือ พระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้ามิได้ยกเว้นเจ้าคณะแขวงให้ประพฤติผิดพระธรรมวินัยมิใช่หรือ ใครต่อใครก็ตาม ครั้นเมื่อบวชแล้วก็มีศีลสังวร ๒๒๗ ข้อเสมอภาคกันมิใช่หรือ หรือท่านยกเว้นที่ไหนบ้าง
    ท่านสมุห์จึงพูดว่า ขี่ม้าเท่านั้น จับเงินขายทอง และซื้อของบางสิ่งบางอย่างเท่านั้น จะขาดความเป็นสมณะด้วยหรือเณร
    อาตมภาพตอบว่า ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะด้วยเหตุแห่งการเบียดเบียนสัตว์อื่นนั้นเอง ดังมีในภาษิตว่า นะ หิ ปัพพชิโต ปะรูปะฆาตี สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต แปลว่า ผู้ฆ่าสัตว์อื่นเบียดเบียนสัตว์อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย ดังนี้ครับ
    ท่านโกรธใหญ่ว่า ถ้าเช่นนั้นเณรก็คงเหมาพระทั้งหมดไม่ชื่อว่าเป็นสมณะทั้งนั้นใช่ไหม ?อาตมภาพตอบว่า ผมไม่ได้เหมาใครเลย เป็นแต่ผมแสดงธรรมไปตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น
    ท่านสมุห์ภัยจึงพูดขึ้นว่า เรื่องอื่นมีถมไป ทำไมเณรไม่เทศน์ ทำไมเณรจึงเทศน์เรื่องส่อเสียดพระเจ้าพระสงฆ์ อาตมภาพตอบว่า อันที่จริงผมต้องการประกาศศาสนา ในเรื่องนี้ผมพิจารณาเห็นว่า ผู้บวชในศาสนาทุกวันนี้ถือกันเป็นแค่เจ้าลัทธิเท่านั้น สำคัญว่าได้บวชแล้วก็เป็นตัวบุญเท่านั้น คือถือเอาแค่ลัทธิศีรษะโล้นห่มผ้าเหลืองเท่านั้น เป็นอันว่าสำเร็จในการบำเพ็ญบุญมาแล้ว ก็ประพฤติผิดพระธรรมวินัยไปต่าง ๆ เพราะสำคัญว่าเราเป็นพระแล้ว ทำไปบ้างก็ไม่เป็นไร เพราะใครเขาคงจะไม่อาจว่าเราได้ง่าย ๆ เพราะเราเป็นพระ ถ้าเขาดูหมิ่นเราโดยเหตุเล็กน้อยเท่านั้น เขาก็กลัวบาปเพราะเราเป็นพระแล้ว ข้อนี้แหละเป็นเหตุให้ศาสนาเสื่อม ฝ่ายพระก็ทนงตัวว่าเราเป็นพระ ใครไม่อาจดูหมิ่นเราได้ ฝ่ายโยมเห็นความผิดของพระก็ไม่กล้าทักท้วงเพราะกลัวเป็นบาปนี้เอง ทั้งฝ่ายพระก็ไม่มีความละอายกลายเป็นพระอลัชชี ทั้งฝ่ายโยมก็เห็นผิดกลายเป็นเดียรถีย์ ต่างก็พากันมาสำคัญลัทธิที่ผิด ๆ เท่านี้ว่าเป็นบุญกุศล มิได้ประพฤติหาความจริงของพระพุทธศาสนา ต่างก็มาสำคัญว่าเป็นปฏิปทาของพระพุทธศาสนาหมด วิธีทำกันเท่านั้นแล้วก็นอนใจอยู่ มิหนำซ้ำยังประพฤติย่ำยีพระพุทธศาสนาให้ถึงแก่ความคร่ำคร่าลงไป จะได้นามว่าพุทธบริษัทคือหมู่เหล่าของท่านผู้รู้วิเศษอย่างไรได้
    ถูกเจ้าคณะจังหวัดกักตัว
    ต่อนั้น ฝ่ายคณะสงฆ์จังหวัดกาฬสินธุ์ มีท่านพระครูสังฆปาโมกขทวาจารย์ เป็นประธานกักตัวของอาตมภาพแล้วยื่นคำร้องมาเรียน พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพรหมมุนี (คือสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) วัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร) เมื่อท่านดำรงค์สมณศักดิ์เป็น พระโพธิวงศาจารย์ อยู่จังหวัดนครราชสีมา หาว่าอาตมภาพดูหมิ่นผู้ประพฤติพุทธศาสนาทั่วไปในสังฆมณฑล ตกลงเวลานั้นถูกกัก พร้อมทั้งการไต่สวน อยู่ที่นั้น ๑ เดือนกับ ๑๔ วัน พระสงฆ์ในจังหวัดกาฬสินธุ์อุทธรณ์ ๒ ครั้ง หมายว่าจะให้ฉิบหายจากศาสนาเลย ทั้งบังคับให้สึก ขู่เข็ญหลายอย่าง หลายประการ

    อาตมภาพปฏิญาณตนว่า เมื่อชีวิตนี้ยังอยู่ตราบใด จะไม่เปลื้องผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากกาย หากท่านทั้งหลาย จะสึกผมแล้ว จงทำศีรษะของผมให้ขาดออกจากร่างกายนี้เป็น ๒ ท่อนก่อนจึงค่อยเปลื้องผ้าเหลืองออก จึงจะเป็นอันสึก หากดวงชีวิตนี้ยังอยู่ อย่าเลย ท่านทั้งหลายเอ๋ย ในชีวิตนี้เป็นไปไม่ได้เสียแล้วในการสึกของผม ถึงไหนถึงกัน หากจะล้างผลาญชีวิตของผม ให้ตายลงวันนี้ก็ยอมตาย หากจะให้สึกไม่ย่อมสึกเป็นอันขาด ในชีวิตนี้ ท่านทั้งหลายต้องการอย่างไรทำไปเถิด หากผมไม่ได้มอบชีวิตนี้ถวายแก่พรหมจรรย์แล้ว ที่ไหนผมจะมาแสดงในข้อว่าท่านทั้งหลายประพฤติค่อนข้างเป็นอลัชชี ท่านทั้งหลายจงฟังดูเถิด คำพูดอันนี้เป็นคำพูดหมิ่นพระอลัชชีโดยตรงอยู่แล้ว ท่านทั้งหลายเห็นใครอื่นเขาพูดกันไหม เพราะเขากลัวผิดกลัวตายกันอยู่ จึงช่วยนิยมความประพฤติผิดพระธรรมวินัยเป็นถูกนิยมกันอยู่เท่านั้น ส่วนผมเล่าเอาเถอะ ในชีวิตนี้จะตายลงวันไหนก็ตาม ขอแต่ได้ประพฤติพระธรรมวินัยให้เป็นไปอยู่ และได้นำความจริงของศาสนามาประกาศตามเป็นจริงอยู่เช่นนี้ ผมมิได้ห่วงในชีวิต อันทำกิจของพรหมจรรย์ให้เป็นไปอยู่ เพราะผมได้มอบชีวิตแล้วแก่พรหมจรรย์อย่างแน่นแฟ้น เรื่องของศาสนานี้ ผมมิได้หวาดหวั่นแล้ว อย่าหาว่าแต่ ท่านทั้งหลาย จะมาขู่ให้ผมสึก หรือให้เห็นตามข้อประพฤติที่ผิด ๆ ของท่านทั้งหลายมิได้มี และท่านทั้งหลายเอ๋ย คนเช่นผม ถ้าไม่แน่นอนในใจแล้ว ทั้งไม่ประพฤติ ทั้งไม่พูดในเรื่องนั้น ๆ ถ้าประพฤติหรือพูดลงแล้ว ยอมสละชีวิตลงแทนคำพูด และความประพฤติของตน อย่างเด็ดหัวตัวขาดทีเดียว คำพูดทั้งหมดที่ผมแสดงไปว่า พระทั้งหลายเป็นอลัชชี โยมทั้งหลายกลายเป็นเดียรถีย์ ข้อนี้นั้นผมเผดียงหาตัวพระอลัชชี เท่านั้น มิใช่ผมพูดด้วยความเห่อเหิม ของคนนับถือเท่านั้น บัดนี้ ผมขอประกาศอีกเป็นครั้งที่ ๒ ว่า ตัวผมเองได้มองเห็นมลทินของศาสนา คือ พระเณรประพฤติไม่เป็นธรรมแล้ว แต่ครั้งผมจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำภูผากูดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ จึงได้เที่ยวธุดงค์ออกมาเพื่อประกาศพระพุทธศาสนา ทั้งเผดียงหาตัวพระอลัชชี พึ่งมาพบ เมื่อเดือน ๓ ขึ้น ๓ ค่ำ ปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ในจังหวัดกาฬสินธุ์นี้เอง ก็ชอบกลอยู่แล้ว ข้าพเจ้าเกิดก็เกิดเดือน ๓ ขึ้น ๓ ค่ำ ตั้งใจจะทำกิจของศาสนา ก็มีการ อันถึงพร้อม ในกำหนดอันเดียวกัน บางที ต่อไปข้างหน้าหากชีวิตของข้าพเจ้ายังตั้งอยู่ไปนาน อาจจะบริหารพระพุทธศาสนานี้ ให้เป็นยุค เป็นธรรม ก็อาจเป็นได้
    นี่แหละฟังดูเถิดท่านทั้งหลายเอ๋ย ความตั้งใจของผมได้เป็นมาแล้วอย่างนี้ ที่ไหนผมจะหวั่นไหว ต่อความกระทบกระทั่งของท่านทั้งหลาย ด้วยฝีปากเท่านั้น มิได้มีเลยแม้แต่ชีวิตนี้ผมก็ได้สละลงแล้ว เพื่อกิจของศาสนาอันมีคุณานุภาพอันยิ่งใหญ่ไพศาล
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    49,428
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,051
    (ต่อ)
    อุบายแนะนำของอาจารย์

    ครั้นเมื่ออาตมภาพหยุดพูดนิ่งอยู่ ฝ่ายคณะสงฆ์ก็เขียนคำร้องอุทธรณ์มาเป็นครั้งที่ ๒ ผลที่สุดพระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณพรหมมุนี ที่อยู่วัดบรมนิวาสทุกวันนี้ จึงตัดสินใจให้ตัวอาตมภาพลงไปชำระที่จังหวัดนครราชสีมา อาตมภาพจึงมีจดหมายไปเรียนท่านอาจารย์สิงห์ และอาจารย์มหาปิ่น พร้อมกับท่านพระครูวิเศษสุตคุณ เจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น ตกลงท่านอาจารย์สิงห์และอาจารย์มหาปิ่นก็ลงมาแก้ไขช่วยที พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพรหมมุนี ที่จังหวัดนครราชสีมา ตกลงท่านก็ตัดสินยกเลิก และเรียกเอาตัวของอาตมภาพ กลับไปอบรมปฏิปทา ของศาสนาในสำนักของท่านอาจารย์สิงห์และท่านอาจารย์มหาปิ่นอีก ครั้นเมื่อกลับมาถึงสำนักของท่านอาจารย์สิงห์แล้ว ท่านก็แนะนำอุบายให้ว่า บัดนี้คณะปฏิบัติยังไม่มีความกล้าหาญเสมอภาคกัน ยังเริ่มริอยู่ จงปฏิบัติเรื่อย ๆ ไป ต่อเมื่อได้มีกาลอันถึงพร้อมจงทำกัน หากไม่มีโอกาสอันเหมาะแล้ว จงแสวงหาความพ้นทุกข์โดยส่วนตัวนั้นเถิด เพราะเวลานี้พวกปฏิบัติยังอ่อน เท่ากับกำลังหว่านข้าวกล้าลงในนานั่นเอง
    ครั้นเมื่ออาตมภาพได้รับโอวาทท่านแล้ว จึงขอลาท่านไปจำพรรษาอยู่ที่ภูเขาฝายพญานาค ในพรรษานั้น ตั้งใจบำเพ็ญความสงบส่วนตัว ก็นับว่าได้ความสบายใจ มิได้มีอุปสรรคอันหนึ่งอันใดเลย
    ถ้าสึกจะมอบสมบัติและลูกสาวให้
    ครั้นเมื่อออกพรรษาแล้ว เที่ยวธุดงค์ไปทางจังหวัดมหาสารคาม ไปพักอยู่ที่บ้านแห่งหนึ่ง ยังมีคนตระกูลหนึ่งเขาเป็นคนมีทรัพย์พอสมควร เขาก็นิมนต์ให้พักอยู่ที่ป่าช้าได้ ๒๐ วัน แกคนนั้นเป็นคนเข้าออกปฏิบัติทั้งแม่ทั้งลูก
    ครั้นต่อมาโยมคนนั้นจึงเล่าความเป็นมาของเขาว่า ผมก็แก่แล้ว การไปมาก็ไม่สะดวก และผมเป็นทุกข์อยู่อย่างหนึ่งคือ หากผมตายลงไป กลัวจะไม่มีใครจะพาลูกของผมอยู่ เพราะผมมีลูกสาวคนเดียวเท่านั้น ทรัพย์สิ่งของก็มากมาย ไม่รู้ว่าใครจะมาช่วยรักษาและพาลูกของผมอยู่กินไปล่วงหน้า คนโดยมากไม่ตั้งอยู่ในศีลธรรม เป็นแต่นักเล่นถั่วเล่นโป และนักเลงสุรา หากจะเอาคนพวกนั้นมาปกครองรักษาทรัพย์ ก็เป็นอันว่าถึงความฉิบหายเท่านั้น ท่านคุณเณรก็ยังดูน้อยยังหนุ่มนัก ขอให้อยู่ไปนาน ๆ ก่อน อย่าไปเที่ยวไปทางอื่นอีก หรือหากจะสึกออกมา พ่อก็จะมอบสมบัติให้ครอบครอง ดังนี้
    ต่อไป อาตมภาพก็นั่งนิ่งอยู่มิได้พูดคำหนึ่งคำใด ทำดุจกับว่านั่งสมาธิ ดูเหมือนว่าแกคนนั้นมีความละอายขึ้น แล้วก็ลากลับขึ้นบ้าน ครั้นเมื่อคำลงวันนั้นอาตมภาพจึงพิจารณาต่อไปว่า บัดนี้เรามีอายุเพียง ๒๐ ปีเท่านั้น บัดนี้เราหนุ่มนักจะอยู่ในศาสนาตลอดชีวิตไหม ครั้นพิจารณาเช่นนี้ก็รู้สึกขึ้นทันทีว่า บัดนี้จิตของเราเอนเอียงเป็นไปตามความชักนำของโยมคนนั้น ครั้นระลึกขึ้นได้ ทำความประดุจหนึ่งว่า ขู่จิตของตนว่าแม้เราปฏิบัติหาทางพ้นทุกข์เป็นเวลา ๗ ปี นี้เรื่องการอะไรหนอจะมาสงสัยกับมาตุคามอยู่เช่นนี้ อย่าเลยนะสถานที่นี้เป็นอัปมงคลแล้ว เราควรหนีเสียเดี๋ยวนี้แหละดีกว่า ครั้นพิจารณาแล้วก็หนีไปในกลางคืนวันนั้น
    ครั้นเดินไปตามทางกลางคืน วันนั้นตั้งใจพิจารณาว่า เจ้าอวิชชาอยู่ลุ่มลึกนัก หากมาทำความวิจิกิจฉาสงสัยขึ้นมิเข้าเรื่องเข้าการ อย่าเลยนะเราจะต้องเข้าป่าช้าเข้ารกเพื่อดัดสันดานความลุ่มหลงตอนนี้ให้แยบคายลงไป
    ๗ วันฉันข้าว ๑ หน
    ครั้นเมื่อพิจารณาตกลงเช่นนั้นก็เที่ยวไปหาที่สงบอีก ๕ วัน ถึงแม่น้ำโขงแล้วก็เดินไปตามภูเขา อาศัยบิณฑบาตฉันตามบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อยู่ตามชายเขา อีก ๓ วันถึงภูเขาคง แขวงเมืองคำทองก็พักทำความเพียรอยู่ถ้ำแห่งหนึ่งชื่อถ้ำสองห้องและพักจำพรรษาอยู่ที่นั้น ในกลางพรรษานั้นบำเพ็ญทรมานอดข้าว ๗ วัน ฉันหนหนึ่งจนตลอดพรรษา ในเดือนแรกนึกว่าชีวิตนี้จะตั้งอยู่ไม่ตลอด ๓ เดือน เพราะมีอาการเหน็บชา ไปทั่วร่างกาย ครั้นถึงวันคำรบ ก็ฉันข้าว ขณะที่ฉันลงไปประมาณครึ่งอิ่ม เกิดอาการอยากนอนขึ้น ครั้นฉันจนอิ่ม ก็มีอาการมืดหน้ามืดตา ถึงจะลืมตา อยู่ก็มองไม่เห็นอะไร มืดไปหมดถึงจะลืมตาดูตะวันก็ไม่เห็นตะวัน เป็นแต่จะนอนเสียให้ได้ นอนอิ่มหนึ่งแล้วตื่นนอนขึ้นมาแล้ว จึงมองเห็น อะไร ต่ออะไรได้
    ครั้นต่อมาเดือนที่ ๒ ก็ทำอย่างนั้นเรื่อยไป คือ ๗ วันฉันหนหนึ่งถึงวันคำรบ ๗ แล้วก็ออกบิณฑบาตมาฉัน ครั้นฉันก็มีรสดี แต่ฉันมากไม่ได้ ถ้าฉันมากอาเจียนเสียหมด แต่ไม่ถึงกับมืดหน้ามืดตาอย่างก่อน ต่อนั้นก็อุตส่าห์บำเพ็ญต่อไประหว่าง วันไหนยังไม่ถึงวันกำหนดฉัน ตื่นขึ้นแต่เช้า รู้สึกเหน็บชาขึ้นแต่ปลายเท้าจนถึงหนังศีรษะ ครั้นต่อไปจนตลอดพรรษา ส่วนร่างกายรู้สึกซีดผอมเหี่ยวแห้งมาก ออกพรรษาแล้วก็กลับฉันทุกวันได้ ๑๖ วัน ปรากฏว่าเหงื่อซึมปลายเท้าปลายมือและริมฝีปาก ส่วนผิวหนังยังยุบเหี่ยวเปราะลอกออกได้ยาว ๆ ตามหลังมือหรือศอกแขน ผิวหนังที่ลอก ออกมามองส่องตะวันเห็นรูขนเป็นแถว ๆ ได้พิจารณาเป็นอนิจจังว่าดวงชีวิตยังตั้งอยู่ภายในกายนี้ แต่ผิวหนังที่ลอกออกมานี้ เขาตายไปแล้วจาก ความอยู่แห่งชีวิต ครั้นพิจารณาดังนี้ก็เกิดความสังเวชขึ้น รู้สึกจิตดิ่งลงไปตั้งอยู่ปกติ
    ต่อไปนั้นก็พิจารณาความสงบอันนั้นให้นิ่งอยู่ นิมิตปรากฏเห็น ช้างสารใหญ่ทั้ง ๒ ตัว เข้ามาจับตัวอาตมภาพขึ้นนั่งบนหลังแล้วพาขึ้นไปบนภูเขาสูง ๆ แล้วคว้าเอาผ้าไตรจีวร มาวางลงไหล่ขวา แห่งอาตมภาพ แล้วยกลงวางไว้ที่บนก้อนหินที่เป็นยอดภูเขา ต่อนั้นก็รู้สึกตัว ก็ยังนั่งสมาธินิ่งอยู่ที่ก้อนหิน ต่อนั้นก็พิจารณาต่อไป นี้เรื่องอะไร ได้คำตอบความว่า การอุปสมบทเป็นพระของเรา จะเป็นผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย ท่านจะโปรดอนุเคราะห์
    ต่อนั้นอาตมภาพก็เที่ยวธุดงค์มาจากเมืองคำทอง แดนของฝรั่งเศส เรื่อยมาถึงกรุงเทพฯ นี้ เมื่อเดือน ๔ ขึ้น ๘ ค่ำ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ครั้นมาถึงในวันนั้น พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพรหมมุนีจึงเรียกเข้าไปถามว่า “เณรนี้หรือถูกเจ้าคณะแขวง จังหวัดกาฬสินธุ์กักตัว” อาตมภาพก็รับตามเป็นจริง ท่านจึงจับไปดูลายมือ ลักษณะที่มีอยู่บนฝ่ามือ แล้วท่านก็สั่งว่า จงหัดขานนาคเสีย

    อุปสมบท
    เจ้าจอมมารดาทับทิม
    "ท่านที่วัง"

    พอใกล้อุปสมบทแล้ว ครั้นวันหนึ่ง ท่านก็สั่งไปกับแม่ชีเป๋าว่า เรียนท่านที่วังให้ทราบว่า อาตมาจะบวชพระรูปหนึ่ง หวังว่าคงไม่เหลือวิสัย ต่อนั้น คุณเป๋าก็มาเรียนพระเดชพระคุณท่านที่วัง ก็รับอนุเคราะห์จัดการสมณบริขาร อุปสมบทอาตมภาพเป็นภิกษุขึ้นในศาสนา เมื่อเดือน ๕ ขึ้น ๕ ค่ำ ใน พ.ศ. นั้น
    ครั้นบวชแล้วก็อยู่ในกรุงเทพฯ นี้ไม่กี่วัน เดือน ๕ ข้างแรม ท่านเจ้าคุณนำตัวของอาตมภาพกลับที่โคราช อาตมภาพได้จำพรรษา ที่วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมานั้น
    ครั้นออกพรรษาแล้ว อาตมภาพก็เที่ยวลงมาทางพระบาทสระบุรี เตลิดเข้ามาที่กรุงเทพ อยู่ ๘ วัน อาตมภาพก็ขอเจริญพร ลาพระเดชพระคุณ โปรดช่วยอนุเคราะห์ค่าโดยสารรถ เสร็จแล้วอาตมภาพก็กลับไปจำพรรษาที่วัดป่าสาลวันกับอาจารย์สิงห์ที่โคราชอีก ในระหว่างกลางพรรษาที่ ๒ เกิดโรคเหน็บชา อ่อนเพลีย บางวันก็ออกไปบิณฑบาตไม่ได้ บางวันก็ไปได้ นึกว่าหายาที่ไหนมาฉันก็ไม่หาย นึกรำคาญใจขึ้นมา ก็นึกว่าจะไม่ฉันอาหาร เสียเลย ให้มันตายเสียดีกว่า จะอยู่เป็นทุกข์ไปหลายวัน ครั้นพิจารณาตกลง

    (ยังมีต่อเล่ม ๒ แต่หาต้นฉบับได้แต่เพียงเล่ม ๑ เท่านั้น)

    หมายเหตุ : "เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่บันทึกของท่าน มีอันเป็นต้องจบลงกลางคัน เพราะท่านอาพาธและถึงแก่มรณภาพในที่สุด ณ วัดบรมนิวาส จังหวัดพระนครนี่เอง ราวพ.ศ. ๒๔๘๑"
    เรื่องเล่าบันเทิงธรรม : พระบุญนาคเที่ยวกรรมฐาน ก็มีอันต้องจบลงเท่านี้ ขออนุโมทนา กับทุกท่านที่เข้ามาอ่าน หวังว่าจะได้ความบันเทิงและแง่คิดธรรมะดีๆไปบ้าง ไม่มากก็น้อย

    ขอคุณงามความดีจงเกิดมีกับทุกท่าน


    ลิงค์ข้อมูล

    http://www.dharma-gateway.com/monk-pra-boonak-index-page.htm

    หลวงปู่เพ็ง พุทฺธธมฺโม ได้เล่าถึงครูบาอาจารย์ของท่าน ดังนี้
    “สำหรับชีวิตของอาตมาที่ผ่านมาแล้ว อาตมาก็ได้ครูบาอาจารย์หลายองค์ พอจะลำดับได้ ดังนี้
    พระอาจารย์ฝ่ายกรรมฐานองค์แรกของอาตมา คือ พระบุญนาค โฆโส (สามเณรบุญนาคเที่ยวกรรมฐาน) อาตมาไปพบท่านที่จังหวัดมหาสารคาม วัดพูลศรีสารคาม เป็นชื่อวัดสมัยนั้น
    พระอาจารย์บุญนาค นี่ ประวัติของท่านเดินธุดงค์มากมายทีเดียว (ท่านที่สนใจหาอ่านได้จากหนังสือสามเณรบุญนาคเที่ยวกรรมฐานซึ่งพิมพ์แพร่หลายทั่วไป)
    อาตมาได้ออกธุดงค์กับท่านมาก่อน การปฏิบัติของท่านนี้ดีที่สุดละ อาตมาเคยไปกับท่าน พอมาระยะหลังอาตมาได้แยกทางกับท่านในครั้งที่ท่านเดินธุดงค์ที่ฝั่งลาวโน่น ท่านเป็นคนอีสานหรือเปล่าไม่รู้ แต่ท่านก็พูดอีสานได้ดี
    ภายหลังมีคนเล่าให้ฟัง อาตมาก็ฟังแต่ไม่เชื่อ เขาว่าพบท่านที่กรุงเทพฯ สมัยนั้นนะ มีแม่หม้ายคนหนึ่งร่ำรวยมีห้องแถว แล้วมานิมนต์ท่านสึก จะยกห้องแถวให้ ถ้าไม่สึกจะได้มอบให้รัฐบาล ท่านก็บอกว่ายกให้รัฐบาลเสียเถิด
    อยู่ต่อมาอีก มียายแก่ๆ คนหนึ่งในกรุงเทพฯ ขี้เหร่มาก กินหมากมีน้ำหมากไหลออกมามุมปากฟันก็เหยิน มีลูกสาวและลูกชายหน้าตาสวยงามโก้เก๋ ลูกสาวเป็นครู เงินเดือน ๘๐ บาท สมัยนั้นลูกชายนี่เป็นร้อยตรี แต่ก่อนไม่เคยเข้าวัด
    ต่อมา พระอาจารย์บุญนาคนี่แหละ ไปได้ผ้าประเจียดของหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล มาหนึ่งผืน เอามาให้ พอได้ผ้าแล้วลูกชายที่เป็นร้อยตรีไปสงครามอินโดจีน ขึ้นเครื่องบินไปต่อสู้กัน ลูกปืนข้าศึกยิงมาไม่ถูกเครื่องบินแม้แต่นิดเดียว พอกลับมาแล้วก็พากันมากราบพระอาจารย์บุญนาคกันทั้งบ้านนี่แหละ ทั้งแม่ ลูกสาว ลูกชาย
    ปกติพระอาจารย์บุญนาค ท่านพูดตรงไปตรงมา เมื่อมาถึงท่านก็ทักถามว่า นี่ใครนะ ลูกสาวลูกชายหรือ ทำไมแม่ขี้เหร่แท้ ลูกสาวลูกชายโก้กว่า...
    ก็ลูกสาวคนนี้แหละ ได้เข้ามาขอเรียนกรรมฐานกับท่าน ท่านอาจารย์บุญนาคพูดว่า ไม่ต้องหรอก เสียเวลา...”
    (หมายความว่า ท่านคงรู้เจตนาซ่อนเร้นอะไรบางอย่าง ดูตามประวัติแล้ว มีเรื่องหญิงสาวพยายามจะสึกท่าน มีเรื่องพ่อแม่พยายามจะยกลูกสาวให้หลายครั้ง ท่านต้องหาอุบายหนีเรื่องมีครอบครัวอยู่หลายครั้ง- ผู้เขียน)
    “พระอาจารย์บุญนาคนี้ รูปร่างเหมือนผู้หญิง สูงโปร่ง เดินเหินนี่เหมือนช้างเดิน คลุมผ้านี่เรียบร้อย สง่ามาก กิริยางดงามจริงๆ
    ส่วนเรื่องสอนพระกรรมฐานนี่ ไม่มีอื่นไกล สอนให้ตั้งสติกำหนดนิ่งอยู่สงบเท่านั้น
    ************************
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤศจิกายน 2016

แชร์หน้านี้

Loading...