จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    นำจดหมายบางส่วนที่แนะนำและตอบให้น้องคนหนึ่งมาลงในกระทู้เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติบางท่านนะค่ะ. สวัสดีจ้า วันนี้เลิกงานเร็วเลยเข้ามาทักทายตอบตามความรู้เท่าที่พี่มีนะค่ะ บางทีถ้าเรามีสติตามจิตทันจิตเขาจะเปลี่ยนเหมือนถ้าวันไหนจิตเราเป็นกุศลมากๆเราเหมือนจะมีจิตดวงใหม่ที่เบาสบายแต่ที่จริงก็จิตดวงเดิมนั่นแหละมันเห็นความเกิดดับอยู่ตลอดเวลาและเราได้ล้างกิเลสออกด้วยสมาธิวิปัสนาจิตเขาเลยเอ๋อๆเหมือนเขาเป็นคนใหม่ในโลกนี้แต่ถ้าวันไหนเราเอาสติตามอารมณ์จิตไม่ทันเราก็เสร็จกิเลสเหมือนเดิมการปฏิธรรมต้องมีลูกล่อลูกชนกับจิตตนเองต้องมีทั้งพระเดชและก็พระคุณพี่หมายถึงต้องฝึกสติให้ต่อเนื่องและจะจับอารมณ์ต่างๆของจิตและวิปัสนาได้เร็วแล้วจะปล่อยวางได้เร็วขึ้นเรื่อยๆจนกระทั้งทุกสิ่งทุกอย่างไม่กระทบอายตนะทั้งหกของเราอีกต่อไปเห็นอะไรก็รู้ดูไปเฉยๆนำพรหมวิหาร4ปักอยู่ที่จิตเราให้ครบทั้ง4 แล้วเราจะรู้ว่าอันนี้เราจะทำอย่างไงอันนั้นเราจะตัดสินใจอย่างไรดีด้วยคามเห็นในจิตของตนเองนะจ๊ะ เขียนซะยาวเลยอย่าพึ่งเบื่ออ่านนะจ้า ขอให้น้องเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปจ้า อนุโมทนาสาธุxxx
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      46.4 KB
      เปิดดู:
      161
  2. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    นำอีเมลที่ตอบการบ้านให้ผู้เรียนจิตเกาะพระมาให้อ่านเผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้ามาอ่านในกระทู้นี้นะค่ะ. สาธุค่ะ
    สวัสดีค่ะ น้องแพท
    วันนี้ นำเงินแพท ไปาต่อยอด กฐิณแล้วนะค่ะ โมธานสาธุด้วยนะค่ะวันนี้พี่ก็พยายมนึกถึงรูปพระ ตลอด ก็ยังไม่ทัน ยิ่งตอนทำอะไรเร็วๆ ก็จะไม่ได้ดูตัวเองสมองคิดว่าจะต้องทำอะไรบ้างซื้ออะไรบ้างช่วงเร่งรีบนี่สติตามกายไม่ทันมันหายไปเลย แต่พอเสร็จ ก็มาเริ่มต้น นึกภาพ พระใหม่อีก ตอนี้เวลาดูหนังก็พยายบอกตัว่าดูหนัง บ้างครั้งสับสนว่า เราทำอะไรหลายๆอย่าง พร้อมๆกัน นึกไม่ทัน าตนนี้พี่พยาม อูย่ เหมือนทำงานอะไรหลายๆมันต้องคิดระหว่าคิดมันก็ลืมไปที่จะนึกถึงถาพพระ สติไม่ทันสับสน แต่จะพยายามอีกค่ะ ขอบคุมากค่ะน้องแพท สาธุ and good night naka bye ka

    -----Original Message-----
    From: pattranit.chance@sky.com
    Sent: Tue, 28 Oct 2014 19:51:48 +0000
    To: noik@inbox.com
    Subject: Re: สวัสดีคะพี่น้อย ขอต้อนรับเข้าสู่บ้านจิตเกาะพระนะค่ะ

    สวัสดีค่ะพี่น้อย
    ขออนุโมทนาสาธุในความตั้งใจจริงของพี่น้อยด้วยนะคะ
    ดีแล้วจ้านึกถึงภาพพระแบบสบายๆมีสติรู้ว่านึกถึงภาพพระก็รู้
    ภาพพระหลุดก็รู้นี่คือการมีสติตามรู้ตามดูจิตของเราไงค่ะ
    การทำอะไรก็แล้วแต่ถ้าเราจดจ่ออยู่กับสิ่งที่เราทำจิตเราก็จะไม่ส่งออกนอกหรือไปคิดฟุ้งซ่านกับเรื่องอื่นๆนะจ้าแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราต้องมีสติตลอดเวลาเพราะจิตนี้ส่องออกนอกไวมากให้พี่น้อยตามรู้ตามดูจิตแบบนี้ถูกแล้วจ้า
    และขอให้เริ่มพิจารณาในสิ่งที่เห็นหรือกระทำอยู่เพื่อมาวิปัสนาให้เกิดปัญญานะค่ะ
    นั่งปั่นไก่เพื่อทำลูกชิ้นอยู่ ก็แนะนำเป็นตัวอย่างการวิปัสนาว่าสัตว์ที่เรากินอยู่นี้เขาก็มีชืวิตจิตใจแต่เพียงแต่เขาเกิดมาเป็นสัตวที่ต้องเกิดมาเป็นอาหารของคนเมื่อก่อนตอนแพทยังไม่ได้ปฏิบัติธรรมก็กินโดยไม่ได้นึกถึงเลยว่าเราเบียดเบียนชีวิตสัตว์อื่น
    พอเข้ามาปฏิบัติธรรมเราก็พิจารณาถึงจิตใจเราจิตใจเขาก็เข้าใจอะไรชัดแจ้งขึ้นมากตอนนี้เวลาจะทานอาหารก็จะแผ่เมตตาให้ดวงจิตวิญญานพวกเขาเหล่านั้นตลอด
    เห็นทุกสิ่งทุกอย่างในปัจจุบันก็ขอให้พี่น้อยพยายามพิจารณาเข้ามาหาตนเองนะจ้า
    มีอะไรถามมาได้ตลอดเวลาเลยจ้า ยินดีตอบทุกคำถาม
    ขอให้การปฏิบัติจิตเกาะพระของพี่น้อยเจริญยิ่งๆขึ้นไปและถึงซึ่งนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเทอญ
    อนุโมทนาสาธุๆๆ
    แพทจ้า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      584.7 KB
      เปิดดู:
      43
  3. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    สิ่งใดที่จะเป็นประโยชน์ในการเจริญธรรมขอให้ทุกท่านได้รับสิ่งนั้นด้วยเทอญ
    สาธุ...
    สัวสดีค่ะ น้องแพท
    วันนี้พี่ตื่น นอนมาแต่สาย ก็มีสติดี คอยจับภาพ พระบ่อยๆ
    แต่พอลุกจากเตียงก็หลุดๆ ตามไม่ข้อยทัน ตอนี้ กำลังปั่นไก่ ทำ ลูกชิ้นไก่
    ดูที วีไปด้วย นานๆจับภาพพระทีหนิ่ง
    แต่จิตไม่ฝุ่งซ่านเพราะต้องคอยเติมเครื่องปรุง ดังนั้นจึงต้องห้ามลืม
    ก็เลยไม่ฟุ้งไกรจ้า ตอนนี้เบรค มาส่งข่าวก่อน ค่ะ
    เดี๋ยวพี่ขอกลับไปทำให่เสร็จก่อนนะค่ะ ขอบคุณมากค่ะ ด้วยรัก จุบ๊ๆๆ

    -----Original Message-----
    From: pattranit.chance@sky.com
    Sent: Sat, 25 Oct 2014 12:03:52 +0100
    To: noik@inbox.com
    Subject: Re: สวัสดีคะพี่น้อย ขอต้อนรับเข้าสู่บ้านจิตเกาะพระนะค่ะ



    Sent from my iPhone

    On 22 Oct 2014, at 21:30, Noi kanhan <noik@inbox.com> wrote:

    สวัสดีค่ะ น้องแพท
    ขอโทษ นะค่ะที่ ส่งช้า วันนี้้ ตอนเช้าตื่นนอน ฝันว่า โดนหมากัด จำได้ก็
    เลยนอนคิดถึงฝัน ในฝัน พี่บอกกับเจ้าของหมาว่ามันกัดพี่
    เจ้าของก็พยายามเอายามาใส่ให้ แต่ไม่ยอมพูดว่าจะจ่าายเงินทำทขวัญให้
    ยังไงก็ไม่ยอมพูภึง ในฝันโกรด เจ้าของหมามาก ที่ไม่มีนำ้ใจจะพูว่าจะ
    ให้เงินทำขวัญ ก็ไมได้อยากได้แต่อยากให้เขาแสดงยำ้ใจ แต่กลับไม่พูดอะไร
    ประมานว่าไม่ยอม เสียเงินสักแดงเดียว พี่โกรดมาก หาอะไร ปา
    เข้าไปในบ้านเขา แล้วก็ตื่น ก็ คิดว่าเอ๊นี่เราโกรด ในฝันนี่
    เราโกรดด้วยหรือ สติกลับมา ทำไมต้องโกรธนะ พอสักพัก ก็ รู้ตัวว่าเรา
    กำลังขาด สติ ก็กลับมามองดูร่างกายนอนอยู่ ลุก จากเตียงนอนก็ตามดูร่างกาย
    ได้บ้าง หลุดบ้าง วันี้ ไม่ค้อยไ้ด้จับภาพพระเลย ดูหนังมากไป อารมณ์
    ตามหนัง ออ้ ตอนสาย เข้าครัวกินข้าว ได้ พบคำที่ แพทพูดว่า จิต เห็น
    จิตแล้ว คิด่าใช่นะ คือว่า พี่กำลังตักข้าวอู่ย ใจมันร้องเพลง จิตอีกดวง
    ก็บอกว่า ดูซิกายมันตักข้าว แต่ใจมันร้องเพลง นั่นแหละ ใช่ไหมค่ะ คำว่า
    จิตรเห็นจิตร ทั้งว้นสติหลุด ตลอดแหละ ยิ้งเวลาทำอะไรเร็ว นะ
    ตามไม่ทันเลย
    แค่แปลก พอเข้าห้องน้าที่ไร สติกลับมา ทุกที่ เข้าห้องนำ้ทีไร ได้ สติ
    ทุกที่ พอลุกไป ก็หลุด ทั้งวัน ล่ะ ขอบคุณมากค่ะ

    From: pattranit.chance@sky.com
    Sent: Mon, 20 Oct 2014 22:21:21 +0100
    To: noik@inbox.com
    Subject: Re: สวัสดีคะพี่น้อย ขอต้อนรับเข้าสู่บ้านจิตเกาะพระนะค่ะ

    เอาเป็นว่าเรามาเริ่มกันเลยนะคะ
    เริ่มแรกพี่น้อยต้องมีความศรัทธาในตัวเองให้มากนะคะว่าพี่น้อยทำได้
    และจะไม่ยอมเกิดอีกแล้วขอชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย
    มีศรัทธาในพระรัตนตรัยค่ะ
    อันนี้พี่น้อยมีแน่นอนอยู่แล้ว มีศรัทธาในครูผู้สอน
    อันนี้สำคัญในการเรียนมากค่ะ ขอให้พี่น้อยอธิฐานจิต
    ขอลาพุทธภูมิเพราะอาจจะเคยอธิฐานจิตในชาติแต่ปางก่อนมานะค่ะ
    วันนี้เริ่มเรียนแบบง่ายๆสบายๆก่อนคือให้พี่น้อยเริ่มนึกถึงภานพระทุก20นาทีใน1ชั่วโมงให้จิตจับภาพพระประมาณ5ครั้งให้มองภาพพระแบบสบายๆอย่าจ้องหรือเพ่งนะค่ะ
    วันนี้ลองแค่นี้ก่อนค่ะ ขอให้ส่งการบ้านทุกวันค่ะอย่างน้อยวันละรอบนะค่ะ
    ไม่เข้าใจตรงไหนพี่น้อยถามแพทได้ตลอดเวลาจ้า
    เป็นกำลังใจให้สุดๆเลยค่ะ อนุโมทนาสาธุๆ
    On 20 Oct 2014, at 14:41, Noi kanhan <noik@inbox.com> wrote:

    สวัสดี ค่ะ น้องแพท ได้รับข้อความแล้วตอบ ดว้ยนะค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

    ____________________________________________________________
    Can't remember your password? Do you need a strong and secure
    password?
    Use Password manager! It stores your passwords & protects your
    account.
    Check it out at Cookies Support Required | My Secure Logon

    ____________________________________________________________
    Can't remember your password? Do you need a strong and secure
    password?
    Use Password manager! It stores your passwords & protects your
    account.
    Check it out at Cookies Support Required | My Secure Logon
    สวัสดีค่ะพี่น้อย ขอโทษมากๆเลยจ้าตอบอีเมลช้ามัวแต่ยุ่งกับงานทางโลกนะค่ะ
    ความฝันบางครั้งก็คือสิ่งมาทดสอบอารมณ์จิตของเรานะค่ะก็อย่างที่แพทบอกพี่น้อยไปและจ้าว่าสติกับจิตพี่น้อยประกบกันอยู่บางครั้งก็ตามทันบางครั้งก็ตามไม่ทันแต่เมื่อไรที่พี่น้อยฝึกสติให้รู้เท่าทันกิเลสหรืออารมณ์ที่จิตหลุดไปคิดและสามารถดึงกลับมาได้ไวขึ้น
    อารมณ์โทสะ โมหะ ก็จะลดน้อยลงไปตามสติกำลังที่ทำได้
    แต่พี่น้อยทำได้ดีมากแล้วพึงทำใหม่ๆทำได้แค่นี้ก็ถือว่าใช้ได้และถึงสติจะตามจิตช้าแต่ยังตามทันนำมาวิปัสนาตัดลงกฏไตรลักษณ์คือทุกอย่างมีการเกิดขึ้น
    ตั้งอยู่ ดับไปเป็นธรรมดา
    เพราะเราไปยึดความไม่เที่ยงจึงทำให้เราเป็นทุกข์
    เมื่อใดที่เราเข้าใจว่าเมื่อไม่เที่ยงย่อมไม่มีอยู่จริงเราก็จะไม่เป็นทุกข์กับทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้นะคะ
    ถ้าพี่น้อยปฏิบัติธรรมมาถึงจุดที่อยู่ในความเข้าใจเวลาดูละครก็จะวิปัสนาถึงสิ่งต่างๆในโลกประหนึ่งว่าดูละครและย้อนกลับมาหาตัวเราเพราะละครก็สร้างมาจากชีวิตจริงนะค่ะมีต้นเรื่องก็ต้องมีตอนจบเรื่อง
    แต่ในระหว่างที่แสดงอยู่นะมีอะไรเกิดขึ้นต้องมากมายไม่เคยซ้ำสักตอนก็เหมือนชีวิตคนเราที่ต้องเจออะไรต้องมากมายมีทั้งดีและไม่ดี
    ถ้าเราได้เข้ามาปฏิบัติธรรมเราก็จะอยู่แบบเข้าใจในทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้หนีไม่พ้นกฏไตรลักษณ์
    เกิด แก่ เจ็บ
    ตายเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคนต้องเจอและไม่มีใครหนีพ้นเพราะฉนั้นจะอยู่แบบไหนที่ไม่ประมาท
    เล่ายาวและพอแค่นี้ก่อนนะ
    อ้าวมีอีกจ้า ก่อนนอน หรือตื่นนอนให้พี่น้อยนึกถึงภาพพระ
    และอธิฐานจิตหรือภาวนาก็ได้ ว่าวันนี้เราจะคิดดี พูดดีมีจิตเป็นกุศล
    จะรักษาศีล จะไม่ทำผิดศีลด้วยตัวเอง จะไม่ยุยงค์ส่งเสริมให้คนอื่นทำผิดศีล
    จะไม่เป็นศรัทตรูกับใคร จะรักรักทุกคนเหมือนกับเรารักตัวเอง
    ถ้าเห็นใครตกทุกข์ได้ยากถ้าไม่เหนือบ่ากว่าแรงยินดีที่จะช่วย
    เพราะพวกเขาคือเพื่อนมนุษย์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
    ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกไม่เที่ยง ความตายเป็นของเที่ยง
    ถ้าลูกต้องตายเวลาไหนก็แล้วแต่ ลูกขอกลับถึงนิพพานด้วยเถิดพระพุทธเจ้าค่ะ
    นิพพานัง ปรมัง สุขขัง.
    นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      207.6 KB
      เปิดดู:
      62
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,409
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
    [​IMG]
    คติธรรม คำสอน - ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

    เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ

    ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต ) กล่าวว่า
    เคล็ดลับสู่ความสำเร็จสุดยอดในทางธรรม คือ

    จะต้องมีสัจจะอันแน่วแน่ และมีขันติธรรมอันมั่นคง
    จึงจะฝ่าฟันอุปสรรค บรรลุความสำเร็จได้

    อาตมามีกฎอยู่ว่า เช้าตีห้าไม่ว่าฝนจะตก ฟ้าจะร้อง อากาศจะหนาว
    ต้องตื่นทันที ไม่มีการผลัดเวลา แล้วเข้าสรงน้ำ ชำระกายให้สะอาด
    แล้วจึงได้สวดมนต์ และปฏิบัติสมถกรรมฐานหนึ่งชั่วโมง

    พอหกโมงตรงก็ออกบิณฑบาต เพื่อปฏิบัติตามปฏิปทาของ
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ฝึกจิตให้ได้ผลต้องตรงต่อเวลา กลับจากบิณฑบาตแล้ว
    ก็เอาอาหารตั้งไว้ ตักน้ำใส่ตุ่ม เสร็จแล้วฉันอาหารเช้า
    โดยปกติอาตมาฉันมื้อเดียว เว้นไว้มีกิจนิมนต์ จึงฉันสองมื้อ
    สี่โมงเช้าถึงเที่ยง ถ้ามีรายการไปเทศน์ ก็ไปเทศน์ตามที่นัดไว้
    วันไหนไม่ติดเทศน์ก็จะปิดประตูกุฏิทันที ไม่ให้ใครๆเข้าไป

    ในช่วงเวลานั้นเป็นเวลาศึกษาตำรา เวลาบ่ายโมงจึงออกรับแขก
    บ่ายสามโมง ไม่ว่าใครจะมาอาตมา จะให้ออกจากกุฏิไปหมด
    เพราะถึงเวลาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

    ฉะนั้น จุดสำคัญจงจำไว้ เราจะปฏิบัติเพื่อหลุดพ้น ต้องมีสัจจะเพื่อตน
    โดยไม่เห็นแก่หน้าใคร ถึงเวลาทำสมาธิต้องทำ ไม่มีการผัดผ่อนใดๆ ทั้งสิ้น

    หลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

    ๑. จะต้องมีสัจจะต่อตนเอง
    ๒. จะต้องไม่คล้อยตามอารมณ์ของมนุษย์
    ๓. พยายามตัดงานในด้านสังคมออก และไม่นัดหมายใคร
    ในเวลาปฏิบัติกรรมฐาน ดังนั้น เมื่อจะเป็นนักปฏิบัติธรรม
    จำเป็นจะต้องมีกฎเกณฑ์ของเราเพื่อฝึกจิตให้เข้มแข็ง


    คติธรรม คำสอน
    ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    "กูไม่ต้องการอะไรอีกแล้ว เพราะกูมีทุกอย่างแล้ว
    ...กูมีความเพียร ความสมถะ ความศรัทธา มีเมตตา
    มีศีล มีความรักเพื่อนมนุษย์ และมีธรรมะในหัวใจ"

    คำกล่าวของหลวงพ่อคูณ จารึกในพิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ. กราบอนุโมทนาสาธุเจ้าค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      55 KB
      เปิดดู:
      85
  6. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสถึงบทพระอาการวัตตาสูตรว่า อานิสงส์ดังนี้
    จะพ้นจากภัย ๓๐ ประการคือภัยอันเกิดแต่ งูพิษ สุนัขป่า สุนัขบ้าน โคบ้าน และโคป่า กระบือบ้านและกระบือเถื่อน
    พยัคฆะ หมู เสือ สิงห์ และภัยอันเกิดแต่คชสารอัสดรพาชี จตุรงคชาติของพระราชา ผู้เป็นจอมของ
    นรชน ภัยอันเกิดแต่น้ำและเพลิงเกิดแต่มนุษย์และอมอุษย์ภูตผีปิศาจเกิดแต่อาชญาของแผ่นดินเกิดแต่
    ยักษ์กุมภัณฑ์ และคนธรรพ์อารักขเทวตา เกิดแต่มาร ๕ ประการที่ผลาญให้วิการต่าง ๆ เกิดแต่วิชาธร
    ผู้ทรงคุณวิทยากรและภัยที่จะเกิดแต่มเหศวรเทวราช ผู้เป็นใหญ่ในเทวโลกรวมเป็นภัย ๓๐ ประการ
    อันตรธานพินาศไป ทั้งโรคภัยที่เสียดแทงอวัยวะน้อยใหญ่ ก็จะวินาศเสื่อมคลายหายไปด้วยอำนาจ
    เคารพนับถือในพระอาการวัตตาสูตรนี้แล ดูกรสารีบุตรบุคคลผู้นั้นเมื่อยังท่องเที่ยวอยู่ในสังสรวัฏฏ์ จะ
    เป็นผู้มีปัญญาละเอียดสุขุม มีชนมายุยืนยงคงทนนาน จนเท่าถึงอายุไขยเป็นกำหนดจึงตายจะตายด้วยอุ
    ปัททวันอันตราย นั้นหามิได้ ครั้นเมื่อสิ้นชีพแล้วจะได้ไปอุบัติขึ้นบนสวรรค์ร่างกายก็จะมีฉวีวรรณอัน
    ผ่องใจดุจทองคำธรรมชาติ จักษุประสาทก็จะรุ่งเรืองงามมองดูได้ไกลมิได้วิปริต จะได้เป็นพระอินทร์
    ๓๖ กัลปเป็นประมาณ จะได้สมบัติพระยาจักรพรรดิราชาธิราช ๑๖ กัลป คับครั่งไปด้วยรัตนะ ๗
    ประการก็ด้วยอานิสงส์ที่ได้สวดสาธยายอยู่เนืองนิตย์ “ทุคฺคตึ โส น คจฺฉติ” แม้แต่สดับฟังท่านอื่น
    เทศนา ด้วยจิตประสันนาการเลื่อมใสก็ไม่ไปสู่ทุคติตลอดยืดยาวนานถึง ๙๐ แสนกัลป์

    คาถาอาการวัตตาสูตร

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ( 3 จบ )
    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา ราชะคะเห วิหะระติ คิชฌะกูเฏ ปัพพะเต
    เตนะ โข ปะนะ สะมะเยนะ สัพพะสัตตานัง พุทธะคุโณ ธัมมะคุโณ สังฆะคุโณ
    อายัสมา อานันโท อะนุรุทโธ สารีปุตโต โมคคัลลาโน
    มะหิทธิโก มะหานุภาเวนะ สัตตานัง เอตะทะโวจะฯ

    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง
    อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ
    อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต
    อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
    อิติปิ โส ภะคะวา สัตถาเทวะมะนุสสานัง
    อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ
    อิติปิ โส ภะคะวา ภะคะวาติ
    ( พุทธะคุณะวัคโค ปะฐะโม จบวรรคที่ 1 )

    อิติปิ โส ภะคะวา อะภินิหาระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อุฬารัชฌาสะยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะณิธานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา มะหากะรุณา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะโยคะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ยุติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ชุตติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะโอกกันติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะฐิติ ปาระมิสัมปันโน
    ( อะภินิหาระวัคโค ทุติโย จบวรรคที่ 2 )

    อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะวุฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คัพภะมะละวิระหิตะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อุตตะมะชาติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คะติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะภิรูปะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สุวัณณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา มะหาสิริ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อาโรหะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะริณามะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สุนิฏฐะ ปาระมิสัมปันโน
    ( คัพภะวุฏฐานะวัคโค ตะติโย จบวรรคที่ 3 )

    อิติปิ โส ภะคะวา อะภิสัมโพธิ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สีละขันธะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะมาธิขันธะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญญาขันธะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ทะวัตติงสะมะหาปุริสะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    ( อะภิสัมโพธิวัคโค จะตุตโถ จบวรรที่ 4 )

    อิติปิ โส ภะคะวา มะหาปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุถุปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา หาสะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ชะวะนะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ติกขะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา นิพเพธิกะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะจักขุ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อัฏฐาระสะพุทธะกะระ ปาระมิสัมปันโน
    ( มะหาปัญญาวัคโค ปัญจะโม จบวรรคที่ 5 )

    อิติปิ โส ภะคะวา ทานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สีละ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา เนกขัมมะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิริยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ขันติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัจจะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะธิฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา เมตตา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อุเปกขา ปาระมิสัมปันโน
    ( ปาระมิวัคโค ฉัฏโฐ จบวรรคที่ 6 )

    อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะอุปะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะมะติงสะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ตังตังฌานะฌานังคะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะภิญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะมาธิ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิมุตติญาณะทัสสะนะ ปาระมิสัมปันโน
    ( ทะสะปาระมิวัคโค สัตตะโม จบวรรคที่ 7 )

    อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิปัสสะนาญาณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา มะโนมะยิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อิทธิวิธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ทิพพะโสตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะระจิตตะปะริยะญาณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ทิพพะจักขุวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะระณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะระณะธัมมะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนุปุพพะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
    ( วิชชาวัคโค อัฏฐะโม จบวรรคที่ 8 )

    อิติปิ โส ภะคะวา ปะริญญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะหานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะริญญาปะหานะ สัจฉิกิริยาภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะตุธัมมะสัจจะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะฏิสัมภิทาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    ( ปะริญญาวัคโค นะวะโม จบวรรคที่ 9 )

    อิติปิ โส ภะคะวา โพธิปักขิยะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะติปัฏฐานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัมมัปปะธานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อิทธิปาทะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อินทรียะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พะละปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา โพชฌังคะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อัฏฐังคิกะมัคคะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา มะหาปุริสะกิริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนาวะระณะวิโมกขะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะผะละวิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
    ( โพธิปักขิยะธัมมะวัคโค ทะสะโม จบวรรคที่ 10 )

    อิติปิ โส ภะคะวา ทะสะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ฐานาฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิปากะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัพพัตถะคามินีปะฏิปะทาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา นานาธาตุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัตตานังนานาธิมุตติกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อินทรียะปะโรปะริยัตติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา นิโรธะวุฏฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จุตูปะปาตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    ( ทะสะพะละญาณะวัคโค เอกาทะสะโม จบวรรคที่ 11 )

    อิติปิ โส ภะคะวา โกฏิสะหัสสานังปะโกฏิสะหัสสานัง หัตถีนัง พะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะโกฏิทะสะสะ หัสสานังพะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะจักขุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สีละคุณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คุณะปาระมิสะมาปัตติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญญาคุณะ ปาระมิสัมปันโน
    ( กายะพะละวัคโค ทะวาทะสะโม จบวรรคที่ 12 )

    อิติปิ โส ภะคะวา ถามะพะละ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ถามะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พะละ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะตุละยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อุสสาหะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คะเวสิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    ( ถามะพะละวัคโค เตระสะโม จบวรรคที่ 13 )

    อิติปิ โส ภะคะวา จะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา โลกัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา โลกัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ญาตัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ญาตัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พุทธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พุทธะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ติวิธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปาระมิอุปะปาระมิ ปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
    ( จะริยาวัคโค จะตุททะสะโม จบวรรคที่ 14 )

    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุ อะนิจจะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุ ทุกขะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุ อะนัตตะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อายะตะเนสุ ติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อัฏฐาระสะธาตู สุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิปะริณามะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    ( ลักขะณะวัคโค ปัญจะทะสะโม จบวรรคที่ 15 )

    อิติปิ โส ภะคะวา คะตัฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา คะตัฏฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วะสีตะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วะสีตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สิกขา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สิกขาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สังวะระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สังวะระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    ( คะตัฏฐานะวัคโค โสฬะสะโม จบวรรคที่ 16 )

    อิติปิ โส ภะคะวา พุทธะปะเวณิ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา พุทธะปะเวณิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะตุพรหมะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนาวะระณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะปะริยันตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สัพพัญญุตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะตุวีสะติโกฏิสะตะวะชิระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    ( ปะเวณิวัคโค สัตตะระสะโม จบ 17 วรรค บริบูรณ์ )

    ***************************************************

    (คำแปล) พระสูตรว่าด้วยพระอาการที่เป็นไปแห่งพระพุทธเจ้า
    คำแปล พระพุทธคุณวรรคที่1 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงครอบงำความทุกข์ได้ ทรงไม่มีความลับ ทรงบริสุทธิ์ หมดจดดี เป็นผู้ไกลจากกิเลส ทรงฝึกฝนจิตจนถึงแก่น
    ทรงฝึกฝนจิตจนรู้ชอบ ทรงปฏิบัติจิตจนเห็นแจ้งด้วยตนเอง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
    ทรงสมบูรณ์พร้อมด้วยวิชชา การแสดงคุณค่าของจิตให้ปรากฎจรณะ เครื่องอาศัยให้วิชชาได้ปรากฎ
    ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ทรงดำเนินไปในทางดี คือ อริยมรรค-ปฏิปทา เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี ทรงรู้แจ้งโลก
    เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง ทรงบังคับยานขึ้นจากหล่มได้อย่างยอดเยี่ยม
    เป็นผู้ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า ทรงนำเวไนยนิกร ออกจากแดนมนุษย์และแดนเทพ
    เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงฝึกฝนจิตจนถึงแก่น ทรงปฏิบัติจิตจนรู้แจ้งจิต
    ทรงพลังการฝึกปรืออันถูกชอบเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม
    พระผู้ทรงธรรมเป็นผู้จำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์

    คำแปลอภินิหารวรรคที่2 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีคือ พระบารมีเกี่ยวกับอภินิหาร พระบารมีเกี่ยวกับอัชฌาสัยอันโอฬาร
    พระบารมีเกี่ยวกับพระปณิธาน พระบารมีเกี่ยวกับพระมหากรุณา พระบารมีเกี่ยวกับพระญาณ
    พระบารมีเกี่ยวกับการประกอบความเพียร พระบารมีเกี่ยวกับข้อยุติของข้องใจ พระบารมีเกี่ยวกับจิตใจ
    โชติช่วงชัชวาลย์ พระบารมีลงสู่พระครรภ์ พระบารมีดำรงอยู่ในพระครรภ์

    คำแปล คัพภวุฏฐานวรรคที่3 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีอยู่รอดจากพระครรภ์ พระบารมีปราศจากมลทินในการคลอด พระบารมี
    มีพระชาติอันอุดม พระบารมีที่ทรงดำเนินไป พระบารมีทรงพระรูปอันยิ่งใหญ่ พระบารมีทรงมีผิวพรรณงาม
    พระบารมีทรงมิ่งขวัญอันยิ่งใหญ่หลวง พระบารมีเจริญวัยขึ้น พระบารมีผันแปร พระบารมีในการคลอดสำเร็จ

    คำแปล อภิสัมโพธิวรรคที่4 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในการตรัสรู้เองยิ่ง พระบารมีในกองศีล พระบารมีในกองสมาธิ
    พระบารมีในกองปัญญา พระบารมีในมหาปุริสลักขณะสามสิบสอง

    คำแปล มะหาปัญญาวรรคที่5 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในมหาปัญญา พระบารมีในปัญญาอันหนาแน่น พระบารมีในปัญญาอันร่าเริง
    พระบารมีในปัญญาอันแล่นเร็ว พระบารมีในปัญญาอันกล้าแข็ง พระบารมีในดวงตาทั้งห้า คือ ตาเนื้อ ทิพพจักษุ
    ปัญญาจักษุ ธรรมจักษุ พระบารมีในการทำพุทธอัฏฐารส

    คำแปล ปาระมิวรรคที่6 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในการให้ปัน พระบารมีในการรักษากาย วาจา ใจ ให้เป็นปกติ
    พระบารมีในการเว้น ขาดจากความประพฤติแบบประชาชนผู้ครองเรือน พระบารมีกำกับศรัทธาคือปัญญา
    พระบารมีในความกล้าผจญทุกสิ่งด้วยความมีสติความพากเพียร พระบารมีในความต้องการเป็นพุทธะด้วยความมีสัจจะ
    ความจริงใจต่อตนเองและผู้อื่น พระบารมีในการตั้งจิตไว้ในฐานอันยิ่ง พระบารมีในความเมตตา
    พระบารมีในความอดทน พระบารมีในความวางใจตนได้

    คำแปล ทสบารมีวรรคที่7 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีสิบขั้นต้นบำเพ็ญด้วยวัตถุสิ่งของ
    พระบารมีสิบขั้นกลางบำเพ็ญด้วยอวัยวะร่างกาย พระบารมีปรมัตถ์สิบขั้นสูงบำเพ็ญด้วยชีวิต
    พระบารมีสามสิบทัศสมบูรณ์ พระบารมีในฌาน และองค์ฌานนั้นๆ พระบารมีทรงญาณอภิญญายิ่ง พระบารมี
    มีสติรักษาจิต พระบารมีทรงสมาธิมั่นคง พระบารมีในวิมุตติความหลุดพ้น
    พระบารมีที่รู้เห็นความหลุดพ้นของจิต

    คำแปล วิชชาวรรคที่8 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในวิปัสสนา วิชชาในวิชชา3 และจระณะ15 พระบารมีในวิชชามโนมยิทธิ
    พระบารมีในอิทธิวิชชา พระบารมีในทิพพโสตวิชชา พระบารมีในปรจิตตวิชชา พระบารมีในปุพพนิวาสานุสสติวิชชา
    พระบารมีในทิพพจักขุวิชชา พระบารมีในจรณวิชชา พระบารมีในวิชชาจรณธรรมวิชชา พระบารมีในอนุปุพพวิหารเก้า

    คำแปล ปริญญาณวรรคที่9 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมในพระบารมี คือ พระบารมีกำหนดรู้ทุกข์ พระบารมีละเหตุให้เกิดทุกข์ คือ ตัณหา
    พระบารมีทำจิตให้แจ่มแจ้ง คือ นิโรธ พระบารมีอันเป็นมรรคภาวนา
    พระบารมีในการกำหนดรู้การละการทำให้แจ้งและการอบรมให้มีให้เป็น พระบารมีในธรรมสัจจะทั้งสี่
    พระบารมีในปฏิสัมภิทาญาณ

    คำแปล โพธิปักขิยะวรรคที่10 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในโพธิปักขิยธรรม พระบารมี มีพระปัญญาในสติปัฏ-ฐาน พระบารมี
    มีพระปัญญาในสัมมัปปธาน พระบารมี มีพระปัญญาในอิทธิบาท พระบารมี มีพระปัญญาในอินทรีย์หก พระบารมี
    มีพระปัญญาในพละห้า พระบารมี มีพระปัญญาในโพชฌงค์เจ็ด พระบารมี มีพระปัญญาในมรรคแปด
    พระบารมีในการทำแจ้งในมหาบุรุษ พระบารมีในอนาวรณวิโมกข์ พระบารมีในวิมุตติอรหัตตผล

    คำแปล ทศพลญาณวรรคที่11 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระทศพลญาณบารมีอันได้แก่ พระบารมีรู้ฐานะและอฐานะ
    พระบารมีรู้วิบากโดยฐานะโดยเหตุ พระบารมีรู้ปฏิปทายังสัตว์ไปสู่ภูมิทั้งปวง
    รู้โลกมีธาตุอย่างเดียวและมากอย่าง พระบารมีรู้อธิมุตของสัตว์ทั้งหลาย
    พระบารมีรู้อินทรีย์ยิ่งและหย่อนของสัตว์ พระบารมีรู้ความเศร้าหมองและความผ่องแผ้วเป็นต้น
    แห่งธรรมมีฌานเป็นต้น พระบารมีรู้ระลึกชาติได้ พระบารมีรู้จุติและอุบัติของสัตว์
    พระบารมีรู้การกระทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้

    คำแปล กายพลวรรคที่12 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีทรงกำลังช้างทั้งหลายตั้งพันโกฏิพันปโกฏิ
    พระบารมีทรงพลังแห่งบุรุษตั้งหมื่นคน พระบารมีหยั่งรู้จักขุห้า คือ ตาเนื้อ ตาทิพย์ ตาญาณ ตาปัญญา
    ตาธรรม พระบารมีรู้การทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีในสีลคุณ พระบารมีแห่งคุณค่าและสมาบัติ

    คำแปล ถามพลวรรคที่13 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีที่เป็นกำลังเรี่ยวแรงแห่งจิต พระบารมีกำลังเรี่ยวแรง
    พระบารมีที่เป็นพลังภายใน พระบารมีเรี่ยวแรงแห่งจิต พระบารมีรู้กำลังเรี่ยวแรง พระบารมีที่เป็นพลังภายใน
    พระบารมีรู้กำลังภายใน พระบารมีไม่มีเครื่องชั่ง พระบารมีญาณ พระบารมีอุตสาหะ
    พระบารมีการแสวงหาทางตรัสรู้

    คำแปล จริยาวรรคที่14 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีที่ทรงประพฤติ พระบารมีรู้การที่ทรงประพฤติ
    พระบารมีที่ทรงประทานให้เป็นประโยชน์แก่ชาวโลก(สังคมโลก) พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติแก่ชาวโลก
    พระบารมีที่ควรประพฤติแก่ญาติวงศ์ พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่พระญาติพระวงศ์
    พระบารมีที่เป็นพุทธ-จริยา พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติโดยฐานเป็นพระพุทธเจ้า พระบารมีครบทั้งสามอย่าง
    พระบารมีครบทั้งบารมีอุปบารมีและปรมัตถบารมี

    คำแปล ลักขณวรรคที่15 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีเห็นอนิจจลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า
    พระบารมีเห็นทุกขลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า พระบารมีเห็นอนัตตลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า
    พระบารมีรู้ลักษณะสามในอายตนะทั้งหลาย พระบารมีรู้ลักษณะสามในธาตุสิบแปดทั้งหลาย
    พระบารมีรู้ลักษณะอันแปรปรวนไป

    คำแปล คตัฏฐานวรรคที่16 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในสถานที่ไปแล้ว พระบารมีหยั่งรู้สถานที่ไป
    พระบารมีอยู่จบพรหมจรรย์ แล้วพระบารมีหยั่งรู้ว่าอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว พระบารมีในการตระหนัก
    พระบารมีรู้ในการตระหนัก พระบารมีสำรวมระวังอินทรีย์ พระบารมีรู้ในการสำรวมระวังอินทรีย์

    คำแปล ปเวณิวรรคที่17 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
    ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในพุทธประเวณี พระบารมีรู้ถึงพุทธประเวณี
    พระบารมีในการทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีรู้ในการทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีการอยู่อย่างประเสริฐ
    พระบารมีรู้อย่างไม่มีอะไรกั้นกาง พระบารมีรู้อย่างไม่มีขอบเขต พระบารมีรู้สรรพสิ่งทั้งปวง
    พระบารมีวชิรญาณประมาณยี่สิบสี่โกฏิกัปป์หนึ่งร้อย

    **************************************************
    หลวงพ่อใหญ่(หลวงปู่สังวาลย์)เล่าให้ฟัง
    วันพระแรม 8 ค่ำ เดือน 3 ปีมะแม
    บทอาการวัตตาสูตรนี่นะ เทวดาจะหมดอายุแล้วจะต้องจุติ เสียใจก็เที่ยวถามหมู่เทพเทวดาทั้งหลาย
    เทวดาผู้ใหญ่บอกให้เอาอาการวัตตาสูตรมาสวด สามารถอายุยืนได้
    เราอยากจะช่วยรักษาบทสวดนี้เอาไว้ ไม่ให้สูญหาย พิมพ์ตัวโตๆนะ จะได้สวดกัน
    ก่อนนี้เราอยู่ในป่าช้า แรมค่ำหนึ่งหรือสองค่ำ เดือนยังไม่ทันพ้นยอดไม้ เรากำลังนั่งสมาธิอยู่
    ฝันว่ามีคนมาสวดอาการวัตตาสูตรให้กับเรา บอกจะป้องกันไว้ให้ ป่าช้าก็สะท้านหวั่นไหว
    เหมือนพายุพัดอึกทึกเหมือนวัวควายมันกำลังวิ่งมา หมาที่อยู่ที่นั่นมันก็เห่าแบบกลัวเลยนะ
    แต่เราก็ไม่หวั่นไหวเลย นั่งเฉย พอรุ่งเช้าเราไปดูก็เห็นกิ่งยางกับต้นไม้ในป่าช้าหักจริงๆ พออีก 2 วัน
    ก็ฝันว่าให้เราท่องมนต์บทนี้ ทั้งๆ ที่เราสวดไม่ได้ พอรุ่งขึ้นในบิณฑบาตก็มีคนมาใส่บาตร
    เอาบทสวดนี้มาให้กับเรา เราก็เลยสวด สวดจนขึ้นใจ แบบท่องปาติโมกข์ พอได้กรรมฐาน เลยไม่ได้สวดเลย
    ท่องบทนี้ไปที่ไหนไม่อดอยากนะ ใครท่องแล้วไปไหนจะไม่อดอยาก จะไม่ตายโหง หมาบ้าควายบ้าจะไม่ทำลายได้
    มีอานุภาพดี


    บทสวดที่มา: วัดสังฆทาน นนทบุรี
    กราบ อนุโมทนาสาธุค่ะ
     
  7. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    พระราชพรหมยาน
    (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง อ.เมือง จ.อุทัยธานี
    ขออนุญาตนำประวัติหลวงพ่อ และพระมหาเมตตาของหลวงพ่อฤษีที่มีต่อบริษัททั้งสี่มาให้พวกเราท่านได้กราบอนุโมทนาสาธุร่วมกันนะค่ะ ลูกขอก้มกราบแทบเท้าพ่อด้วยเศียรเกล้าเจ้าค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ

    เกิดเมื่อ วัน พฤหัสบดีที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๐ เดิมชื่อสังเวียน เป็นบุตรคนที่ ๓ ของนายควง นางสมบุญ สังข์สุวรรณ เกิดที่ตำบลสาลี อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี มีพี่น้อง ๕ คน เมื่ออายุ ๖ ขวบ เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาล วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนจบชั้นประถมปีที่ ๔ เมื่ออายุ ๑๕ ปี เข้ามาอยู่กับท่านยายที่บ้านหน้าวัดเรไร อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี ในสมัยนั้น และได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณ อายุ ๑๙ ปี เข้าเป็นเภสัชกรทหารเรือ สังกัดกรมการแพทย์ทหารเรือ พออายุครบบวช



    อุปสมบท เมื่อ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ วัดบางนมโค โดยมีพระครูรัตนาภิรมย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวิหารกิจจานุการ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์เล็ก เกสโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อายุ ๒๑ ปี สอบได้นักธรรมตรี อายุ ๒๒ ปี สอบได้นักธรรมโท อายุ ๒๓ ปี สอบได้ นักธรรมเอก



    ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๘๑ ได้ศ ึกษาพระกรรมฐาน จากครูบาอาจารย์หลายท่าน อาทิเช่นหลวงพ่อปาน โสนันโท วัดบางนมโค, หลวงพ่อจง พุทธสโร วัดหน้าต่างนอก, พระอาจารย์เล็ก เกสโร วัดบางนมโค, พระครูรัตนาภิรมย์ วัดบ้านแพน, พระครูอุดมสมาจารย์ วัดน้ำเต้า, หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ, หลวงพ่อเนียม วัดน้อย, หลวงพ่อโหน่ง วัดอัมพวัน (วัดคลองมะดัน) และหลวงพ่อเรื่อง วัดใหม่พิณสุวรรณ



    พ.ศ. ๒๔๘๑ เข้า มาจำพรรษาที่วัดช่างเหล็ก อำเภอตลิ่งชัน ธนบุรี เพื่อเรียนบาลี ต่อมา สอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ได้ย้ายมาอยู่ที่วัดอนงคาราม หลังจากนั้นได้เป็นรองเจ้าคณะ ๔ วัดประยูรวงศาวาส เป็นเจ้าอาวาสวัดบางนมโค และย้ายไปอยู่อีกหลายวัด



    พ.ศ. ๒๕๑๑ จึง มาอยู่วัดท่าซุง บูรณะซ่อมสร้างและขยายวัดท่าซุง จากเดิมมีพื้นที่ ๖ ไร่เศษ จนกระทั่งเป็นวัดที่มีบริเวณพื้นที่ประมาณ ๒๘๙ ไร่



    พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ "พระสุธรรมยานเถร"



    พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ "พระราชพรหมยาน ไพศาลภาวนานุสิฐ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี"



    มรณภาพ
    ตุลาคม ๒๕๓๕ พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ได้อาพาธด้วยโรคปอดบวมอย่างแรง และติดเชื้อในกระแสโลหิต เข้ารักษาที่โรงพยาบาลศิริราช และมรณภาพที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันศุกร์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๓๕ เวลา ๑๖.๑๐ น.



    ตลอดระยะเวลาที่อุปสมบทอยู่ หลวงพ่อพระราชพรหมยานได้ทำหน้าที่ของพระสงฆ์ ในพระพุทธศาสนาอย่างสมบูรณ์ กล่าวคือ

    ทางด้านชาติ ได้ สร้างโรงพยาบาล , สร้างโรงเรียน , จัดตั้งธนาคารข้าว , ออกเยี่ยมเยียน ทหารหาญของชาติและตำรวจตระเวณชายแดนตามหน่วยต่างๆ เพื่อปลุกปลอบขวัญและกำลังใจ และ แจกอาหาร , ยา , อุปกรณ์อำนวยความสะดวก และวัตถุมงคลทั่วประเทศ



    ทางด้านพระศาสนา ได้ สั่งสอนพุทธบริษัทศิษยานุศิษย์ให้มุ่งพระนิพพานเป็นหลัก โดยให้ประพฤติปฏิบัติกาย , วาจา , ใจ , ในทาน , ในศีลและในกรรมฐาน ๑๐ ทัศ และมหาสติปัฏฐานสูตร ได้พิมพ์หนังสือคำสอนกว่า ๑๕ เรื่อง และบันทึกเทปคำสอนกว่า ๑,๐๐๐ เรื่อง นอกจากนี้ยังได้แสดงธรรม เทศนาทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เป็นครั้งคราว นอกจากนี้ ยังเดินทางไปสงเคราะห์คณะศิษย์ในต่างจังหวัดและต่างประเทศทุกๆ ปี



    ทางด้านวัตถุ ท่าน ได้ช่วยสร้างพระพุทธรูปและถาวรวัตถุไว้ในพระพุทธศาสนามากกว่า ๓๐ วัด รวมทั้งการบูรณะฟื้นฟูวัดท่าซุงด้วยเงินกว่า ๖๐๐ ล้านบาท ได้สร้างพระไตรปิฎก , หนังสือมูลกัจจายน์ และถวายผ้าไตรแก่วัดต่างๆ ปีละไม่ต่ำกว่า ๒๐๐ ไตร



    ทางด้านพระมหากษัตริย์ท่าน ได้สนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยการจัดตั้งศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชประสงค์พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ศูนย์ฯ นี้ได้ดำเนินการสงเคราะห์ราษฎรในถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ งานของศูนย์ฯ รวมทั้งการแจกเสื้อผ้า , อาหาร และยารักษาโรคแก่ราษฎรผู้ยากจน , การช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยทางธรรมชาติ , การส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกรักษาพยาบาลราษฎรผู้เจ็บป่วย , การให้ทุน นักเรียนที่เรียนดีแต่ยากจน , การบริจาคทุนทรัพย์ให้แก่มูลนิธิและโรงพยาบาลต่างๆ ฯลฯ



    นับ ได้ว่าพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยานเป็นปูชนียบุคคลผู้อยู่ด้วยความ กรุณา เป็นปกติ พร่ำสอนธรรมะและสิ่งทีเป็นประโยชน์และสงเคราะห์เกื้อกูลมหาชนด้วยเมตตา มหาศาลสมกับ เป็น ศากยบุตรพุทธชิโนรส แท้องค์หนึ่ง
     
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,409
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
    [​IMG]
    หลวงพ่อพระราชพรหมยานLinks

    นานาเรื่องราวหลวงพ่อพระราชพรหมยาน


    http://palungjit.org/threads/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99.538477/

    หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ

    หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ - PaLungJit.org
    รูปถ่ายเก่าๆ ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง

    http://palungjit.org/threads/รูปถ่ายเก่าๆ-ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ-วัดท่าซุง.551079/

    เวปแดนนิพพาน

    �ǻᴹ�Ծ�ҹ : ����ҷء�ǧ�Ե �֧���ᴹ�Ծ�ҹ

    วัดจันทาราม (ท่าซุง)

    �Ѵ�ѹ����� (��ҫا) - FLASHDRIVE ������͹�ͧ��ǧ��������ԧ��
    ศูนย์พุทธศรัทธา

    ศูนย์พุทธศรัทธา

    คำสอนสมเด็จองค์ปฐม-หลวงพ่<wbr>อพระราชพรหมยาน

    https://www.facebook.com/<wbr>groups/292791650903164/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กรกฎาคม 2015
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,409
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
    [​IMG]
    บันทึกของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

    บันทึกของเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์


    เจอบันทึกนี้ให้เอาคำต่อไปนี้ของกูไปประกาศให้คนรู้ว่า
    "กูกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์"
    ผู้เป็นโอรสของพระปิยะมหาราช ขอประกาศให้พวกมึงรับรู้ไว้ว่า
    แผ่นดินสยามนี้ บรรพบุรุษได้เอาเลือด เอาเนื้อ เอาชีวิตเข้าแลกไว้
    ไอ้อีมันผู้ใด คิดบังอาจทำลายแผ่นดิน ทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
    ฤๅ กระทำการทุจริตก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อส่วนรวม
    จงหยุดการกระทำนั้นเสียโดยเร็ว
    ก่อนที่กูจะสั่งทหารผลาญสิ้นทั้งโครต
    ให้หมดเสนียดของแผ่นดินสยามอันเป็นที่รักของกู
    ตราบใดที่คำว่า "อาภากร" ยังยืนหยัดอยู่ในโลก
    กูจะรักษาผืนแผ่นดินสยามของกู
    ลูกหลานทั้งหลาย แผ่นดินใดให้เรากำเนิดมา
    แผ่นดินใดให้ที่ซุกหัวนอน ให้ความร่มเย็นเป็นสุข
    มิให้อนาทรร้อนใจ จงซื่อสัตย์ต่อแผ่นดินนั้น.



    คาถาบูชากรมหลวงชุมพร
    (คาถาบูชาเสด็จเตี่ย)
    ตั้งนะโม 3 จบ
    โอมชุมพรจุติ อิทธิกรณัง สุขโข
    นะโมพุทธายา นะมะพะทะ จะพะกะสะ มะอะอุ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
    วิภังคปกรณ์






    อภิธรรมภาชนีย์
    [๔๕๘] สติปัฏฐาน ๔ คือ ๑. ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ ๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ ๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ ๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่
    [เห็นกายในกาย]
    [๔๕๙] ก็ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วย วิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติสติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่าสติปัฏฐาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน
    [เห็นเวทนาในเวทนา]
    ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆอยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่าสติปัฏฐานธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน
    [เห็นจิตในจิต]
    ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก-อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนืองในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่าสติปัฏฐาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน
    [เห็นธรรมในธรรม]
    ก็ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆอยู่ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐานธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน ในธรรมเหล่านั้น สติปัฏฐาน เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลกให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆอยู่ ในสมัยใด สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่าสติปัฏฐานธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน [๔๖๐] สติปัฏฐาน ๔ คือ ๑. ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ ๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ ๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ ๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่


    [๔๖๑] ก็ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร
    ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
    ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก
    อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข
    อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ
    อวิกเขปะ มีในสมัยใด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล
    ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
    อันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌาน อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล
    ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธา-
    *ภิญญา ชนิดสุญญตะ พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ ในสมัยใด สติ ความ
    ตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่อง
    ในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า
    ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน


    [เห็นเวทนาในเวทนา]
    ก็ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร
    ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
    ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก
    อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข
    อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ
    อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล
    ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
    อันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌาน อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล
    ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธา-
    *ภิญญา ชนิดสุญญตะ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ ในสมัยใด สติ
    ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับ
    เนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ
    เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน


    [เห็นจิตในจิต]
    ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร
    ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
    ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก
    อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข
    อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ
    อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล
    ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
    อันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌาน อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล
    ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธา-
    *ภิญญา ชนิดสุญญตะ พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ ในสมัยใด สติ ความ
    ตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่อง
    ในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียก
    ว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน


    [เห็นธรรมในธรรม]
    ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร
    ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
    ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก
    อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข
    อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ
    อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล
    ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
    อันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌาน อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล
    ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธา-
    *ภิญญา ชนิดสุญญตะ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ ในสมัยใด สติ
    ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับ
    เนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ
    เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน
    ในธรรมเหล่านั้น สติปัฏฐาน เป็นไฉน
    ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก
    ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก
    อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและ
    สุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ
    อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล
    ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน อัน
    เป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌาน อันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญแล้วนั้นแล ประ
    กอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา
    ชนิดสุญญตะ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ ในสมัยใด สติ ความตาม-
    *ระลึก ฯลฯ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
    ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สติปัฏฐาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรม
    ที่สัมปยุตด้วยสติปัฏฐาน


    อภิธรรมภาชนีย์ จบ


    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๖๒๖๐ - ๖๓๘๔. หน้าที่ ๒๗๐ - ๒๗๕.
    อนุโมทนาสาธุ ขอทุกท่านสุขกายสบายใจเจริญในพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ สาธุค่ะ
     
  11. nangkaw

    nangkaw สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2015
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +11
    ข้อมูลของทุกท่าน เข้าลึกถึงหัวใจจริงๆค่ะ
     
  12. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    นำการปฏิบัติจากการวิปัสนาและบันทึกไว้เพื่อจะมีประโยชน์ต่อผู้ที่เข้ามาอ่านกระทู้นะค่ะ สิ่งที่คิดอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ใช่อาจจะไม่ได้คิด สิ่งที่หวังอาจจะไม่ได้สิ่งที่ได้อาจไม่ต้องหวัง จิตบอกว่าเราจะไม่ยึดถืออายตนะภายนอก อายตนะภายในเราจะไม่ยึดถือสิ่งใดๆในโลกนี้ เราจะไม่ยึดถือสิ่งใดๆในโลกหน้า เราจะไม่ยึดถือขันธ์ทั้ง5 ผุดขึ้นมาเตือนอยู่ในจิตเราตลอดเวลา อะไรจะเกิดขึ้นกับเราก็ตามตอนนี้ยอมรับได้หมดแล้วนะค่ะไม่หนีแล้วค่ะเดินหน้ายอมรับความจริง คิดอยู่เสมอว่าถ้าเรามีความเพียรซะอย่างความสำเร็จก็อยู่ที่นั่น บางครั้งจิตมันคิดไปสารพัด108สติเราบอกจิตเธอคิดไปเลยนะอยากคิดๆไปเลยอย่าหยุดคิดนะฉันห้ามเธอแล้วไม่ฟังฉันไม่ตามเธอด้วยพอจิตได้ฟังเช่นนั้นกลับนิ่งสงบอยู่เฉยบางครั้งเราก็ต้องบังคับจิตให้เข้าใจในสตินะค่ะคือจิตกายสติต้องสัมพันธ์กันนะค่ะรู้อยู่ว่าเป็นอย่างไงแต่อาจจะอธิบายที่ผ่านมาเราเรียนรู้ทุกข์เข้าใจในทุกข์ปล่อยวางทุกข์จิตเขาต้องเข้าไปเรียนรู้บทบาทของความเป็นจริงเพื่อพิสูจธ์ที่มาที่ไปไม่ใช่สมองกับใจหรือพูดแต่ปากเท่านั้นจิตเท่านั้นที่ต้องเข้าไปถึงแก่นแท้ทุกเรื่องเรียนรู้เอง เดินเอง เจอเอง ทุกอย่างที่สัมพันธ์อยู่กับจิตทำแทนจิตไม่ได้เลย จิตเท่านั้นที่เป็นผู้รู้จิตเท่านั้นที่เป็นผู้ปล่อยวาง...


    ขอทุกท่านสุขกายสบายใจเจริญทั้งทางโลกและทางธรรมยิ่งขึ้นไปเทอญ
    อนุโมทนาสาธุค่ะ(f)(f)
     
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,409
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,409
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
    . .
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,409
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
    Found on youtube.

    So here's a joke for Ajahn Brahm to try on his audience.

    There's three rings associated with marriage:
    Firstly - the engagement ring
    Secondly - the wedding ring
    Thirdly - the suffering.

    ;);aa44
    A Buddhist monk goes and gets a vegetarian burger at the local sandwich shop. He asks for everything on it, gets his burger, and hands the man behind the counter a 20 dollars bill. The monk waits for a bit then asks the man for his change... The man behind the counter says "change comes from within".
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กรกฎาคม 2015
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,409
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
    . .[​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,409
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
    คุณสมบัติของทายก

    ทายกแปลว่าผู้ให้คุณสมบัติของทายกจึงหมายถึงคุณสมบัติที่ถูก ต้องของผู้ให้ได้แก่ผู้ให้ทานผู้บริจาคสิ่งของผู้ให้กำลังคือทรัพย์รวมตลอด จึงผู้ให้กำลังคือปัญญาด้วย
    หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ได้กำหนดทานของสัตบุรุษ หรือการให้อย่างสัตบุรุษ เรียกว่า สัปปุริสทาน มี 8 ประการ ซึ่งอาจกำหนดว่าเป็นคุณสมบัติของทายกคือผู้ให้ได้ ดังต่อไปนี้

    1. สุจึ เทติ ให้ของสะอาด
    2. ปณีตํ เทติ ให้ของประณีต
    3. กาเลน เทติ ให้เหมาะกาล ให้ถูกกาล
    4. กปฺปิยํ เทติ ให้ของสมควร ให้ของที่ควรให้แก่เขา ซึ่งเขาจะใช้ได้
    5. วิเจยฺย เทติ พิจารณาเลือกให้ ให้ด้วยวิจารณญาณ เลือกของ เลือกคนที่จะให้ ให้เกิดประโยชน์มาก
    6. อภิณฺหํ เทติ ให้เนืองนิตย์ ให้ประจำ หรือให้สม่ำเสมอ
    7. ททํ จิตฺตํ ปสาเทติ เมื่อให้ ทำจิตผ่องใส
    8. ทตฺวา อตฺตมโน โหติ ให้แล้ว เบิกบานใจ
    สัปปุริสทาน 8 ประการนี้ หากบุคคลใดประพฤติปฏิบัติอย่างครบถ้วน สมบูรณ์ จึงนับได้ว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติของทายก คือผู้ให้อย่างแท้จริง

    คุณสมบัติของปฏิคาหก

    ปฏิคาหก แปลว่า ผู้รับ ผู้รับทาน หรือผู้รับของถวาย คุณสมบัติของปฏิคาหก จึงหมายถึง ผู้ที่สมควรรับทาน หรือผู้ที่สมควรรับของถวายจากทายก คือผู้ให้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย 10 ประการดังนี้คือ

    1. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นชอบ
    2. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสังกัปปะ มีดำริชอบ
    3. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวาจา มีวาจาชอบ
    4. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมากัมมันตะ มีการงานชอบ
    5. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาอาชีวะ ประกอบอาชีพชอบ
    6. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวายามะ มีความเพียรชอบ
    7. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสติ ระลึกชอบ
    8. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ
    9. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาณาณะ มีความรู้ชอบ
    10. เป็นผู้ประกอบด้วยสัมมาวิมุตติ หลุดพ้นชอบ
    บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมทั้ง 10 ประการนี้ จึงเป็นผู้ที่ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่การทักษิณา (ของทำบุญ) และเป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี

    Untitled Document
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • BuaBuddha.jpg
      BuaBuddha.jpg
      ขนาดไฟล์:
      11.6 KB
      เปิดดู:
      48
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,409
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
    ' .
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,409
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
    . .[​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,409
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,035
    [​IMG]

    วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ
    ตอนที่๑ ความประสงค์ที่เจริญสมาธิ และอารมณ์ที่ต้องการในขณะที่ปฏิบัติ
    โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง

    อันดับแรก


    ขอให้ท่านผู้สนใจจงเข้าใจคำว่าสมาธิก่อนสมาธิ แปลว่า ตั้งใจมั่น หมายถึง
    การตั้งใจแบบเอาจริงเอาจังนั่นเอง ตามภาษาพูดเรียกว่า เอาจริงเอาจัง คือ ตั้งใจว่าจะทำอย่างไร

    ก็ทำอย่างนั้นอย่างเคร่งครัด ไม่เลิกล้มความตั้งใจ


    ความประสงค์ที่เจริญสมาธิ


    ความประสงค์ที่เจริญสมาธิก็คือ ต้องการให้อารมณ์สงัดและเยือกเย็น ไม่มีความวุ่นวายต่ออารมณ์ที่ไม่ต้องการ และความประสงค์ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ อยากให้พ้นอบายภูมิคือ ไม่เกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกายสัตว์เดียรัจฉาน อย่างต่ำถ้าเกิดใหม่ขอเกิดเป็นมนุษย์และต้องการเป็นมนุษย์ชั้นดี คือ

    ๑. เป็นมนุษย์ ที่มีรูปสวย ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน ไม่มีอายุสั้นพลันตาย
    ๒. เป็นมนุษย์ ที่มีความสมบูรณ์ด้วยทรัพย์ ทรัพย์สินไม่เสียหายด้วยไฟไหม้, โจรเบียดเบียน, น้ำท่วม หรือลมพัดทำลายให้เสียหาย
    ๓. เป็นมนุษย์ ที่มีคนในปกครองอยู่ในโอวาทไม่ดื้อด้านดันทุรัง ให้มีทุกข์เสียทรัพย์สินและเสียชื่อเสียง
    ๔. เป็นมนุษย์ ที่มีวาจาไพเราะ เมื่อพูดออกไปเป็นที่พอใจของผู้รับฟัง
    ๕. เป็นมนุษย์ ที่ไม่มีอาการปวดประสาท คือปวดศีรษะมากเกินไป ไม่เป็นโรคประสาท ไม่เป็นบ้าคลั่งเสียสติ


    รวมความว่าโดยย่อก็คือ ต้องการเป็นมนุษย์ที่มีความสงบสุขทุกประการ เป็นมนุษย์ที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สินทุกประการ ทรัพย์ไม่มีอะไรเสียหายจากภัย ๔ ประการคือ ไฟไหม้ ลมพัด โจรรบกวน น้ำท่วม และเป็นมนุษย์ที่มีความสงบสุข ไม่เดือดร้อนด้วยเหตุทุกประการ ฯลฯประสงค์ให้เกิดเป็นเทวดาหรือนางฟ้าบนสวรรค์

    บางท่านก็ต้องการไปเกิดบนสวรรค์เป็นนางฟ้าหรือเทวดาที่มีร่างกายเป็นทิพย์ มีที่อยู่และสมบัติเป็นทิพย์ไม่มีคำว่าแก่, ป่วยและยากจน (ความปรารถนาไม่สมหวัง) เพราะเทวดาหรือนางฟ้าไม่มีความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย มีความปรารถนาสมหวังเสมอ

    บางท่านก็อยากไปเกิดเป็นพรหม ซึ่งมีความสุขและอานุภาพมากกว่าเทวดาและนางฟ้า บางท่านก็อยากไปนิพพาน

    เป็นอันว่าความหวังทุกประการตามที่กล่าวมาแล้วนั้นจะมีผลแก่ทุกท่านแน่นอน ถ้าท่านตั้งใจทำจริง และปฏิบัติตามขั้นตอน

    แบบที่บอกว่าง่ายๆ นี้ถ้าปฏิบัติได้ครบถ้วน ท่านจะได้ทุกอย่างตามที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด โดยใช้เวลาไม่นานนัก จะช้าหรือเร็วอยู่ที่ท่านทำจริงตามคำแนะนำหรือไม่เท่านั้นเอง


    อารมณ์ที่ต้องการในขณะปฏิบัติ


    สำหรับอารมณ์ที่ต้องการในขณะปฏิบัติ ท่านต้องเข้าใจเสียก่อนว่า เวลานั้นต้องการอารมณ์สบาย ไม่ใช่อารมณ์เครียด เมื่อมีอารมณ์เป็นสุขถือว่าใช้ได้ อารมณ์เป็นสุขไม่ใช่อารมณ์ดับสนิทจนไม่รู้อะไร เป็นอารมณ์ธรรมดาแต่มีความสบายเท่านั้นเอง ยังมีความรู้สึกตามปกติทุกอย่าง


    เริ่มทำสมาธิ


    เริ่มทำสมาธิใช้วิธีง่าย ๆ ไม่ต้องมีพิธีรีตองมาก ใช้ธูปเทียนเท่าที่มีบูชาพระ
    ใช้เครื่องแต่งกายตามที่ท่านแต่งอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องแต่งตัวสีขาว ฯลฯ เป็นต้นเพราะไม่สำคัญที่เครื่องแต่งตัว ความสำคัญจริง ๆ อยู่ที่ใจ ให้คุมอารมณ์ใจให้อยู่ตามที่เราต้องการก็ใช้ได้


    อาการนั่ง


    อาการนั่ง ถ้าอยู่ที่บ้านของท่านตามลำพัง ท่านจะนั่งอย่างไรก็ได้ตามสบาย จะนั่งขัดสมาธินั่งพับเพียบ นั่งห้อยเท้าบนเก้าอี้ หรือ นอน ยืน เดิน ตามแต่ท่านจะสบาย ทั้งนี้หมายถึงหลังจากที่ท่านบูชาพระแล้ว เสร็จแล้วก็เริ่มกำหนดรู้ลมหายใจเข้า และหายใจออก คำว่า กำหนดรู้ คือหายใจเข้าก็รู้หายใจออกก็รู้ ถ้าต้องการให้ดีมาก ก็ให้สังเกตด้วยว่าหายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวหรือสั้นขณะที่รู้ลมหายใจนี้ และเวลานั้นจิตใจไม่คิดถึงเรื่องอื่นๆ เข้าแทรกแซง ก็ถือว่าท่านมีสมาธิแล้ว

    การทรงอารมณ์รู้เฉพาะลมหายใจเข้าออก โดยที่อารมณ์อื่นไม่แทรกแซง คือไม่คิดเรื่องอื่นในเวลานั้น จะมีเวลามากหรือน้อยก็ตาม ชื่อว่าท่านมีสมาธิแล้ว คือตั้งใจรู้ลมหายใจโดยเฉพาะ


    ภาวนา


    การเจริญกรรมฐานโดยทั่วไปนิยมใช้คำภาวนาด้วย เรื่องคำภาวนานี้อาตมาไม่จำกัดว่าต้องภาวนาอย่างไร เพราะแต่ละคนมีอารมณ์ไม่เหมือนกัน บางท่านนิยมภาวนาด้วยถ้อยคำสั้น ๆ บางท่านนิยมใช้คำภาวนายาว ๆ ทั้งนี้ก็สุดแล้วแต่ท่านจะพอใจ อาตมาจะแนะนำคำภาวนาอย่างง่ายคือ "พุทโธ" คำภาวนาบทนี้ ง่าย สั้น เหมาะแก่ผู้ฝึกใหม่ มีอานุภาพและมีอานิสงส์มากเพราะเป็นพระนามของพระพุทธเจ้า การนึกถึงชื่อของพระพุทธเจ้าเฉย พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในเรื่อง มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร ว่าคนที่นึกถึงชื่อท่านอย่างเดียว ตายไปเกิดเป็นเทวดาหรือนางฟ้าบนสวรรค์ไม่ใช่นับร้อยนับพัน พระองค์ตรัสว่านับเป็นโกฏิ ๆ เรื่องนี้จะนำมาเล่าข้างหน้าเมื่อถึงวาระนั้น


    เมื่อภาวนาควบคู่กับรู้ลมหายใจจงทำดังนี้ เวลาหายใจเข้านึกว่า "พุท" เวลาหายใจออกนึกว่า "โธ" ภาวนาควบคู่กับรู้ลมหายใจตามนี้เรื่อย ๆ ไปตามสบาย ถ้าอารมณ์ใจสบายก็ภาวนาเรื่อย ๆ ไป แต่ถ้าเกิดอารมณ์ใจหงุดหงิดหรือฟุ้งจนตั้งอารมณ์ไม่อยู่ก็จงเลิกเสีย จะเลิกเฉย ๆหรือดูโทรทัศน์ หรือฟังวิทยุหรือหาเพื่อนคุยให้อารมณ์สบายก็ได้ (เพื่อเป็นการผ่อนคลายอารมณ์) อย่ากำหนดเวลาตายตัวว่าต้องนั่งให้ครบเวลาเท่านั้นเท่านี้แล้วจึงจะเลิก ถ้ากำหนดอย่างนั้นเกิดอารมณ์ฟุ้งซ่านขึ้นมาจะเลิกก็เกรงว่าจะเสียสัจจะที่ กำหนดไว้ ใจก็เพิ่มการฟุ้งซ่านมากขึ้น ถ้าเป็นเช่นนี้บ่อย ๆ ก็จะเกิดเป็นโรคประสาทหรือเป็นโรคบ้า ขอทุกท่านจงอย่าทนทำอย่างนั้น



    _________________________________________
    จากหนังสือวิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ หน้า ๑ - ๖ โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดจันทาราม(ท่าซุง) ต.น้ำซึม อ.เมือง จ.อุทัยธานี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • LpRuesrismile.jpg
      LpRuesrismile.jpg
      ขนาดไฟล์:
      37.8 KB
      เปิดดู:
      604
    • Sadhu.jpg
      Sadhu.jpg
      ขนาดไฟล์:
      6.7 KB
      เปิดดู:
      38

แชร์หน้านี้

Loading...