จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. Wittayapon

    Wittayapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +19,233
    หว้าคุง เป็นไงบ้าง คิดถึงหญิงเล็กนะ
    ดูแลตัวเองด้วย อย่ากินเยอะ เดี๋ยวจะ อ้วนนนา อิอิ
     
  2. Wittayapon

    Wittayapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +19,233
    ผมช่วยทำก้อได้ครับพี่ภู อิอิ
     
  3. Wittayapon

    Wittayapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +19,233
    แค่คิดท่านก้อรู้แล้วครับ ครู ดชน ...อิอิ เอิ้กๆๆๆๆๆ
     
  4. Wittayapon

    Wittayapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +19,233
    ดอกไม้อย่างเดียวไม่พอ....ขอของอร่อยๆๆด้วยครับ จิตบุญตุ้นนุ้ยเราชอบบบบบบบบบบ 5555
     
  5. savesafe

    savesafe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +442
    โมทนา สาธุครับ อธิษฐานขอพร สมเด็จพ่อองค์ปฐมขอให้ข้าพเจ้าเข้าถึงพระนิพพานในชาตินี้ด้วยเทอญ

    สวัสดีครับ คุณครูทุกท่าน ติดตามอ่านและปฏิบัติอยู่นะครับ นักเรียนขั้นอนุบาลมารายงานตัวครับ
     
  6. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ภาควิชาการ
    ภาคปริยัติ เรื่องจิต (Mind)​


    [356] จิต 89 หรือ 121
    (ธรรมชาติที่รู้อารมณ์, สภาพที่นึกคิด, ความคิด, ใจ, วิญญาณ
    — mind; thought; consciousness; a state of consciousness)

    “จิต” มีไวพจน์ คือ คำที่ต่างเพียงรูป แต่มีความหมายเหมือนกันหรือคล้ายกัน ใช้แทนกันได้หลายคำ เช่น มโน มานัส หทัย บัณฑร มนายตนะ มนินทรีย์ และ วิญญาณ เป็นต้น (อภิ.สํ. 34/21/10; ฯลฯ) คำเหล่านี้มีความหมายเกยกัน มิใช่ตรงกันโดยสมบูรณ์ ใช้แทนกันได้ในบางโอกาส มิใช่เสมอไป
    เมื่อจัดแบ่งสภาวธรรมทั้งหลายเป็นประเภทๆ ที่เรียกว่า ขันธ์ 5 จิตได้แก่ วิญญาณขันธ์
    แต่ในคัมภีร์อภิธรรมยุคต่อมา นิยมประมวลสภาวธรรมเข้าเป็น 4 อย่าง เรียกว่า ปรมัตถธรรม 4 จิต เป็นปรมัตถธรรมอย่างที่ 1; ดู [157] ปรมัตถธรรม 4; [216] ขันธ์ 5.
    คัมภีร์อภิธรรมรุ่นอรรถกถา ประมวลเรื่องจิตที่แสดงไว้ในพระอภิธรรมปิฎกแล้ว แจงนับสภาพจิตทั้งหลายไว้ว่ามีจำนวน 89 หรือโดยพิสดารมี 121 เรียกว่า จิต 89 หรือ 121
    เบื้องต้นนี้ จะประมวลจิตทั้งหมดไว้เป็นหมวดหมู่ใหญ่ๆ ก่อน เพื่อสะดวกในการศึกษากำหนดจดจำและทบทวนต่อไป ในที่นี้ พึงทราบวิธีจำแนกประเภท 2 แบบ เปรียบเทียบกัน ดังนี้ *
    ----------------------------------------------
    ก. โดยชาติประเภท
    1. อกุศลจิต 12
    - โลภมูลจิต 8
    - โทสมูลจิต 2
    - โมหมูลจิต 2
    2. กุศลจิต 21 (37)
    - มหากุศลจิต 8
    - รูปาวจรกุศลจิต 5
    - อรูปาวจรกุศลจิต 4
    - โลกุตตรกุศลจิต 4 (20)
    3. วิปากจิต 36 (52)
    - อกุศลวิบากจิต 7
    - กุศลวิบากอเหตุกจิต 8
    - มหาวิบากจิต 8
    - รูปาวจรวิบากจิต 5
    - อรูปาวจรวิบากจิต 4
    - โลกุตตรวิบากจิต 4 (20)
    4. กิริยาจิต 20
    - อเหตุกกิริยาจิต 3
    - มหากิริยาจิต 8
    - รูปาวจรกิริยาจิต 5
    - อรูปาวจรกิริยาจิต 4

    ข. โดยภูมิประเภท
    1. กามาวจรจิต 54
    1) อกุศลจิต 12
    - โลภมูลจิต 8
    - โทสมูลจิต 2
    - โมหมูลจิต 2
    2) อเหตุกจิต 18
    - อกุศลวิบากจิต 7
    - กุศลวิบากอเหตุกจิต 8
    - อเหตุกกิริยาจิต 3
    3) กามาวจรโสภณจิต 24
    - มหากุศลจิต 8
    - มหาวิบากจิต 8
    - มหากิริยาจิต 8
    2. รูปาวจรจิต 15
    1) รูปาวจรกุศลจิต 5
    2) รูปาวจรวิบากจิต 5
    3) รูปาวจรกิริยาจิต 5
    3. อรูปาวจรจิต 12
    1) อรูปาวจรกุศลจิต 4
    2) อรูปาวจรวิบากจิต 4
    3) อรูปาวจรกิริยาจิต 4
    4. โลกุตตรจิต 8 (x ฌาน 5 = 40)
    1) โลกุตตรกุศลจิต 4 (20)
    2) โลกุตตรวิบากจิต 4 (20)

    หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บ ( ) หมายถึงจำนวนอย่างพิสดาร เมื่อนับจิตเป็น 121 (พึงสังเกตว่าจำนวนจะเพิ่มเฉพาะ โลกุตตรจิต อย่างเดียว คือ โลกุตตรจิต อย่างย่อมี 8 อย่างพิสดารจำแนกออกไปตามฌานทั้ง 5 เป็น 40)​

    อ่านต่อ และที่มา:
    http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=356
     
  7. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    โดยปรกติจิตก็มีดวงเดียว

    จิตจะเป็นต่างๆ ก็เพราะ มีเจตสิก
    แปลว่า ธรรมะที่มีในใจ มีเจตสิกเป็นอย่างไรจิตก็เป็นอย่างนั้น
    เจตสิกจึงเป็นสิ่งที่มีผสมอยู่ในจิต
    เทียบเหมือนดั่งว่าน้ำกับสีที่ผสมอยู่ในน้ำ น้ำโดยปรกติก็เป็นอย่างเดียว แต่เมื่อใส่สีลงไปน้ำจึงเป็นน้ำสีนั้น น้ำสีนี้
    ฉะนั้น
    ในอภิธรรมที่แจกจิตไว้ถึง ๘๙ ดวง ก็ด้วยอำนาจของเจตสิกนี้เอง บกเจตสิกออกแล้ว จิตก็เป็นอันเดียวเท่านั้น แจกออกไปเป็นอย่างไรมิได้ แต่ว่าทั้งจิตและเจตสิกนี้ก็อาศัยอยู่กับรูป รูปที่อาศัยของจิตและเจตสิก ถ้าจะเทียบก็เหมือนอย่างว่าน้ำ เหมือนอย่างว่าขวดน้ำแตก น้ำก็หมดที่อาศัย และนิพพานนั้นก็เป็นกามาวจรจิต จิตที่ท่องเที่ยวไปหรือหยั่งลงในกามเป็นรูปาวจรจิต จิตที่หยั่งลงในรูปคือรูปฌาน อรูปาวจรจิต จิตที่หยั่งลงไปในอรูปฌาน โลกุตตรจิต จิตที่เป็นโลกุตตระคือมรรคผล ก็บรรลุนิพพานเป็นที่สุด เพราะฉะนั้น จึงประมวลหัวข้อเป็น จิต เจตสิก รูป นิพพาน แล้วก็จัดธรรมะในอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์นั้น ใส่เข้าในหัวข้อทั้งสิ้น.

    ทั้ง ๗ คัมภีร์นี้เราเรียกย่อกันว่า สัง, วิ, ธา, ปุ, กะ, ยะ, ปะ
    คือเอาอักษรต้นเรียกว่าเป็น หัวใจอภิธรรม เหมือนอย่าง จิต เจตสิก รูป นิพพาน เรียกว่า จิ, เจ, รุ, นิ หรือ
    อริยสัจ ก็เรียกว่า ทุ, สุ, นิ, ม, คือเอาอักษรแรก ความจริงนั้นเพื่อกำหนดง่าย เมื่อจำได้เพียงเท่านี้ก็เป็นอันว่าเพียงพอ แต่ก็มาเรียกกันว่า หัวใจ เราก็ใช้เขียนลงในเหรียญในเครื่องรางต่างๆ วัตถุประสงค์ในทีแรกก็เพื่อจะเป็นเครื่องกำหนดง่ายเท่านั้น.​


    ที่มา:
    http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/somdej/somdej-01-02.htm
     
  8. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    จิต มโนหรือวิญญาณนี้
    เกิด ดับอยู่เรื่อย ทั้งคืน ทั้งวัน นั้น หมายความว่า ใจคนมักปรวนแปรง่าย มีอารมณ์/อาการเปลี่ยนไปตลอดเวลา
    เดี่ยวโกรธ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวร้องไห้ เกิด ดับอยู่เรื่อย ทั้งคืน ทั้งวัน ไม่ได้หมายความว่า ตัวจิตมี 89 หรือ 121 ดวง แต่เป็นอารมณ์ของจิต/อาการของจิต/สภาพจิต ที่คิดปรุงแต่งไปมี 89 หรือ 121 แบบ
    ส่วนจิตนั้นมีดวงเดียว


    คัมภีร์อภิธรรมรุ่นอรรถกถา
    ประมวลเรื่องจิตที่แสดงไว้ในพระอภิธรรมปิฎกแล้ว แจงนับสภาพจิตทั้งหลายไว้ว่ามีจำนวน 89 หรือโดยพิสดารมี 121 เรียกว่า จิต 89 หรือ 121"

    ทั้งเรื่อง จิต และ เจตสิกที่ว่ากล่าวกันมาแล้วนี้ นำเสนอเพื่อเป็นความรู้กันเฉยๆ ไม่ไม่ต้องไปจดจำ ขอให้เรารู้แล้ววาง
    แต่ถ้าเราปฎิบัติถึง ณ.จุดๆหนึ่งกันแล้ว จิตของเราก็จะรู้ไปหมด เราก็สามารถอธิบายได้หมด แต่จะพูดไม่เหมือนกัน เท่านั้นเอง
    แต่ถ้าพวกเราเอาแต่อ่านจากตำรากัน แต่ไม่นำมาการปฎิบัติกันแล้ว ก็จะไม่เกิดผลใด เพราะถ้าเราเกาะตำราไปจนวันตายกัน เราก็มิอาจทำให้มีดวงตาเห็นธรรม หรือหลุดพ้น(ทุกข์ หรือวัฎฎะ) หรือไปพระนิพพานกันได้

    สรุปแล้ว
    พวกเราจึงต้องพากันปฎิบัตินำปริยัติ หรือซึ่งนำความลังเล สงสัยของตนเอง เพราะหนทางนี้ จึงจะถูกต้อง
    แต่เรามิได้หมายถึงไม่ยอมอ่านจากตำราสักทีเดียว แต่บางเรื่องก็ต้องศึกษามาก่อน
    โดยเฉพาะเรื่องการภาวนา หรือการดูจิต เราจำเป็นจะต้องศึกษา เรียนรู้หลักการปฎิบัติอย่างถูกต้องกันเสียก่อน เพราะว่า ถ้าเราหลับตาไปแล้ว เราไม่มีตำรา ครูบาอาจารย์สอน แต่ยังดีที่มีเพื่อนที่ดีของจิต นั่นก็คือ สติ
    เพราะฉะนั้น ผู้ปฎิบัติที่ดูจิตเก่งๆกันนั้น เราจะต้องทำให้สติเกิดขึ้นบ่อยๆ เราถึงจะเข้าไปดูสภาวะจิต หรือเข้าไปถึงธรรมชาติแห่งของตนเองได้อย่างง่ายดาย หรือสำเร็จอย่างง่ายดาย

    สูตรสำเร็จย่อๆดังนี้ฯ
    สติ-จิต-สมาธิ-ฌาน-ปัญญา-วิปัสสนา-ปัญญาญาณ-ญาณ= การหยั่งรู้= คือ รู้ตามความเป็นจริง หรือการเข้าไปถึงสภาวะจิต สภาวะธรรม (รู้กันแค่นี้ก่อน ที่เหลือไปต่อยอดกันเองทีหลัง)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 พฤษภาคม 2012
  9. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    เจตสิก ๕๒​
    (อ่านว่า เจตะสิก) แปลว่า ธรรมที่ประกอบกับจิต, สิ่งที่เกิดในใจ, ทางใจ

    เจตสิกหมายถึงองค์ประกอบของจิต อาการหรือการแสดงออกของจิต จัดเป็นสมรรถนะหรือคุณสมบัติของจิต
    เจตสิกแยกเป็นขันธ์ ได้ 3 ขันธ์ เวทนาเจตสิกเป็นเวทนาขันธ์ (คือความแปรปรวนทางนามธาตุ)
    สัญญาเจตสิกเป็นสัญญาขันธ์ (เปรียบเช่นภูมิคุ้มกันของร่างกายที่จดจำการแก้ทุกขัง) เจตสิกที่เหลืออีก 50 เป็น สังขารขันธ์ (ได้แก่นามธาตุต่างๆมีสภาวะเป็นข้อมูล ที่เป็นกฎเกณฑ์ให้เป็นไปทั่วของจิต อันเป็นดุจรหัสพันธุ์กรรมของจิต )

    เจตสิก หมายถึง ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิตให้มีความเป็นไปต่าง ๆ อาการที่ประกอบกับจิตนั้น มีลักษณะ 4 ประการ คือ
    เกิดพร้อมกับจิต
    ดับพร้อมกับจิต
    มีอารมณ์เดียวกับจิต
    อาศัยวัตถุเดียวกับจิต​

     
  10. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    จิตและเจตสิกที่อิงอาศัยกันนี้
    ถ้าเปรียบจิตเป็นน้ำ
    เจตสิกเป็นสีแดง ผสมกันเป็นน้ำแดง เมื่อผสมกันแล้วไม่สามารถแยกน้ำออกจากสีแดงได้ฉันใด
    จิตและเจตสิกก็ไม่สามารถแยกออกจากกันเป็นอิสระได้ฉันนั้น
    สภาวธรรม รวม 4 ประการของเจตสิก มีดังนี้
    ลักษณะของเจตสิกคือ มีการอาศัยจิตเกิดขึ้น
    กิจการงานของเจตสิกคือ เกิดร่วมกับจิต
    ผลงานของเจตสิกคือ เป็นอารมณ์ของจิต
    เหตุที่ทำให้เจตสิกเกิดขึ้นได้ คือ การเกิดขึ้นของจิต

    กล่าวโดยสรุป
    ธรรมชาติของเจตสิกนั้นเกิดพร้อมกับจิต หรือประกอบกับจิตเป็นนิตย์ เมื่อประกอบแล้ว ทำให้จิตเป็นบุญ(กุศล) หรือเป็นบาป(อกุศล)
    เจตสิกแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ
    กลุ่มที่ 1 คือ เจตสิกฝ่ายกลาง เข้าได้กับจิตทุกกลุ่ม มี 13 ดวง
    กลุ่มที่ 2 คือ เจตสิกฝ่ายอกุศลมี 14 ดวง
    กลุ่มที่ 3 คือ เจตสิกฝ่ายดีงาม มี 25 ดวง

    อ่านต่อ และที่มา:
    เจตสิก - วิกิพีเดีย
     
  11. Linda2009

    Linda2009 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +9,998
    คคค..คือว่า ไม่ถนัดทางโภชนาการอ่ะค่ะ เรื่องอาหารการรับประทานสงสัยต้องมอบให้น้องลูกหว้า อิฉันนั้นชอบปลูกดอกไม้ และงานกรรมกรแบกหามทั่วไปค่ะ แต่ไหนๆก็ไหนๆ ขอเสริฟ ของหวานเล็กๆน้อยๆเป็นการขอบคุณสักครั้ง
    อ้วนแล้วอย่ามาว่ากันนา ..หนมหวานๆจ้า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. Wittayapon

    Wittayapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +19,233
    เอาใจช่วยท่านลูกพลังนะครับ
    ซุ่มต่อไป กอดเอวพี่เพ็ญแน่นๆ
    รับรอง....ไปโลดดดดดด
    ขอส่งแรงใจช่วยครับ
     
  13. Linda2009

    Linda2009 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +9,998
    ตบท้าย ล้างปากด้วยผลไม้ หิหิ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ds.bmp
      ขนาดไฟล์:
      148.6 KB
      เปิดดู:
      55
    • imagesCAWW13GD.jpg
      imagesCAWW13GD.jpg
      ขนาดไฟล์:
      6.4 KB
      เปิดดู:
      67
  14. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    แอบมาจกหนมหวานๆ ก่อนนอน

    แทนที่พวกเราจิตจะเกาะพระกัน สงสัยจิตไปเกาะขนมหวานกัน
    อย่านะๆ
    ไวไวนะ ภัยพิบัติกำลังตามเก็บคนจิตตก ตกจิต จิตออกนอก ไม่สนใจจิต ไม่สนใจศีล ไม่สนใจธรรม
    ไม่สนใจพระ
    ระวังกันให้ดีๆ
    โดยเฉพาะประเภทผู้ปฎิบัติ หวานเจี๊ยบ!!!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 พฤษภาคม 2012
  15. porpao

    porpao เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    47
    ค่าพลัง:
    +506
    มารายงานตัวบ้างค่ะ ลองทำตามที่่พี่ภูบอกว่าจับภาพในหลวงของเรา รึพระอริยะสงฆ์ก็จะภาพเห็นชัดเจนมากกว่า สมเด็จองค์ปฐมค่ะ จิตน้องมันดื้อเกินไปยังจับภาพพระไม่ค่อยได้ ขอจับในหลวงไปพลาง ๆ ก่อน
     
  16. แสงจันทร

    แสงจันทร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2012
    โพสต์:
    156
    ค่าพลัง:
    +2,618
    ขออนุญาตเก็บเกี่ยวข้อมูลไว้นะค่ะ จะได้มีความรู้บ้าง ขอบพระคุณค่ะ
     
  17. แสงจันทร

    แสงจันทร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2012
    โพสต์:
    156
    ค่าพลัง:
    +2,618
    สวัสดีค่ะ พี่ภู ครูเพ็ญ ครูดชน คุณวิทย์ คุณหว้า คุณอัญญะมณีและทุกท่านค่ะ เมื่อวานวันพระ ปกติวันพระตัวแสงจันทรเองจะทำบุญใส่บาตร ไม่ทานเนื้อสัตว์ จะไหว้พระด้วยอาหาร ขนม ผลไม้ ดอกไม้และพวงมาลัย แปลกที่เมื่อวานนี้ไม่หิวเลยค่ะ ไม่ได้ทานข้าวเลย ทานน้ำนมถั่วเหลือง 2 กล่อง ขนมแกงบวชเผือก ปาท่องโก๋ ขนมปังโฮสวีต 1 แผ่น และมื้อเย็นแค่ผลไม้นิดหน่อยเท่านั้น รู้สึกดีจัง สงสัยคงได้รับผลบุญที่พี่ภู ครูเพ็ญ ครูดชน คุณวิทย์ส่งให้เลยทำให้อิ่มทิพย์ มีความสุขถึงแม้จะเหนื่อยมากก็ตาม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤษภาคม 2012
  18. thakornt

    thakornt Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2009
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +88
    สวัสดีครับ มาส่งการบ้านครับ
    ช่วงนี้ห่างหายไปนานเนื่องจากภารกิจทางโลกเยอะ แต่ก็ยังฝึกจิตเกาะพระตลอดครับ มีขี้เกียจบ้าง แต่ตอนนี้ทำสมาธิได้ง่ายขึ้น พอนึกถึงพระได้ไม่นานจิตก็รู้สึกมีความสุข สงบ เย็นสบาย อย่างนี้มันคือ ฌาน ใช่ไหมครับ? และพอเกิดแบบนี้ผมแค่ทำสติรู้อยู่ใช่ไหมครับ? ไม่ต้องปรุงแต่งอะไรเพิ่มเติม

    ปล. ขอบคุณพี่เพ็ญสำหรับคำแนะนำและกำลังใจนะครับ
     
  19. watta chan

    watta chan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    71
    ค่าพลัง:
    +586
    หวัดดีครับพี่ภู ครูเพ็ญ ฯ เมื่อวานจับภาพพระองค์ขาว แล้วอยู่ๆ ก็เปลี่ยน
    เป็นภาพพระพุทธชินราช รู้สึกปีติมากๆ เลยครับ แต่วันนี้ กลับจับภาพไม่ได้เลย
    เป็นงั้นไปเนาะ ...จิตเราเอาแน่ไม่ได้เลย
     
  20. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    จิตไม่เที่ยง
    เพราะเกิดแล้วก็ต้องดับไปเป็นธรรมดา จิตใครเข้าถึงความเป็นธรรมดา คนนั้นก็อยู่เป็นสุขได้อย่าง ถาวร และคนเราที่เป็นทุกข์กันมาก เพราะว่าจิตไปเกาะสิ่งที่ไม่ธรรมดา คือทำแต่สิ่งที่ฝืนใจกัน โดยที่เราก็ไม่รู้ตัวกันด้วยซ้ำไป

    สติก็ ไม่เที่ยง เราจักต้องทำให้เกิดบ่อย เพราะถือว่าเป็นฝ่ายดี เป็นบุญกุศล สติครบ ศีลก็ครบเมื่อนั้น คอยสังเกตให้ดี

    กิเลส ได้แก่ ความโกรธเรา ก็ยังไม่เที่ยง เราจักต้องกำหนดรู้ พิจารณาด้วยสติปัญญาให้ดี กิเลสถือเป็นฝ่ายไม่ดี เป็นบาป เป็นอกุศล ให้พวกเราพากันละเสีย แต่ถ้าใครไปสนใจ หรือไปหลงวิ่งตาม มันจะมีแต่จะทำให้จิตใจของเราเป็นทุกข์ เท่านั้นเอง

    ความตายเป็นของเที่ยง หมั่นท่องจำกันเข้าให้ดีๆ
    เพราะถ้าสักวันนึง ความตายไปพบเจอกับท่านผู้ใดแล้ว ขอให้เราตั้งมั่นสติ และพยายามระลึกถึงพระ ระลึกถึงบุญที่ตนเองได้กระทำกันมา ในเมื่อครั้งยังมีลมหายใจกันอยู่ นะพวกเรา
    เพราะความตายมันชอบเล่นมาทีเผลอ เพราะฉะนั้น ถ้าใครเผลอจิต เผลอกาย เผลอสติกันอยู่เนื่องนิจ ผู้นั้นจึงถือได้ว่า เป็นผู้ประมาททั้งสิ้น

    พวกเราผู้ปฎิบัติควรนำจิตของตนเข้าไปแดน ที่เราเรียกว่า ฝ่ายบุญ กุศลกันให้ได้บ่อยๆกัน เพราะจิตพวกเราจะไม่ต้องไปหลงอยู่กับกระแสโลกมากนัก
    ทางนั้นมิใช่หนทางแห่งความสว่าง ทางไร้สติปัญญา

    แต่ทางสว่าง คือเส้นทางบุญ คือเส้นทางสายกลาง
    จิตพวกเราหลงกันมานับชาติไม่ถ้วนกันแล้ว
    วันนี้ และทุกๆวัน ผมกับคณะชาวจิตบุญ ซึ่งมีเจตนาดี และพยายามช่วยยกจิตพวกเราให้สูงขึ้น จากจิตคนธรรมดา สามัญชนที่จิตไร้ศีล ไร้ธรรม ให้เป็นจิตมนุษย์ผู้ประเสริฐ หรือ จิตอริยบุคคลกันให้ได้

    เพราะโลกหน้ากันโน้น มีแต่บุญกับบาป ที่จะต้องติดตามเราไปกัน
    แล้วทุกวันนี้ท่านกำลังทำอะไรกันอยู่ หรือ
    จิตกำลังตั้งอยู่ในแดนบุญ หรือบาป ทุกท่านทราบกันดี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 พฤษภาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...