จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,650
    ค่าพลัง:
    +20,326
    จิตมีเพียงดวงเดียว แต่อาการของจิต จริตของจิต สังขารวิญญาณของจิต เจตสิก มีมากมายเพราะเหตุแห่งเครื่องปรุงแต่งที่มีมากมายนี่เอง อันเป็นเครื่องฉาบทาให้จิตไหลไปตาม การที่จะนำจิตออกจากเครื่องปรุงแต่ง [กิเลสตัณหา] ก็เห็นจะมีเพียง สติและปัญญาเท่านั้นครับ ฝึกมันให้มากทำมันให้มากครับ เมื่อไหร่ได้มหาสติ มหาปัญญาเกิดพร้อมเป็นเกราะให้จิตแล้ว เมื่อนั้น กิเลสตัณหา เครื่องปรุงแต่ง มันก็ไม่สามารถมาฉาบทา หรือรบกวนจิตเราได้อีก จะได้หลุดพ้นสักทีครับ สาธุ




    Tj Pc Js มหาสติ มหาปัญญา จะเกิดเป็นเกราะแก้วกำแพงแก้วให้จิตได้ ก็ต้องอาศัย ศีล สมาธิ เป็นบาทฐาน อาศัยศีล สมาธิที่ต่อเนื่อง ศีล สมาธิที่ต่อเนื่อง หมายถึงต้องทรงฌาณ ทรงสมถะ ฌาณและ สมถะวิปัสสนา ที่ต่อเนื่องได้เมื่อไหร่ ปัญญาก็เกิดต่อเนื่องได้ ปัญญาที่เกิดต่อเนื่องได้เกราะกำแพงแก้ว ก็เกิดต่อเนื่อง เมื่อเกิดต่อเนื่อง จนเกิดแบบเป็นส่วนหนึ่งของจิตไปแล้ว รวมเป็นจิตไปแล้ว จิตสภาวะนี้ก็เป็นประกายพฤตเหมือนกำแพงแก้วที่ห่อหุ้มอยู่ จิตจึงกลับสูจิตเดิมแล้ว ประภัสสรดังเดิมแล้ว เช่นนี้แล้ว จึงได้ชื่อว่า จิตห่างไกลหลุดพ้นแล้วจากกิเลสตัณหาทั้งปวงได้ในที่สุดครับ สาธุครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2013
  2. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ...ลองพิจารณาดูเถิด...ความไม่สมหวัง...

    ...ความพลัดพราก...ความสูญเสีย...ในชีวิตประจำวัน...

    ...ของเรา...มันคือแบบฝึกหัดอย่างดี...

    ...สำหรับการเผชิญ...ความห่วง...ความกังวล...

    ...ที่มีอยู่ในใจเรา...ความเกิดแก่ เจ็บตาย...

    ...เราห่วงนัก...ห่วงหนา...กับเหตุการณ์...ที่ยังมาไม่ถึง...

    ...ให้คิดเสียว่า...มันเป็นธรรมชาติ...และธรรมดา...

    ...สิ่งมีชีวิตทุกอย่าง...ทุกชนิด...จะต้องเจอคำว่า...

    ...เกิดแก่เจ็บตายนั้นไม่มีใครหลีกพ้น...

    ...ไม่ต้องไปแบกมันไว้...และไม่ต้องไปคิดถึงมัน...

    ...ซึ่งเป็นวันพรุ่งนี้...จงทำวันนี้ให้ดีที่สุด...เพราะเวลา...

    ...ของวันนี้นั้นมีค่า...จงปล่อยและวางสิ่งทำให้เศร้าหมอง...

    ...คิดและทำสิ่งที่ทำ...ให้ตัวเจ้าของมีความสุขก็พอ...

    ...เมื่อเราคิดได้อย่างนี้...นี่แหละคือใจของเราปล่อยวางได้แล้ว...

    ...ขอฝากข้อคิดดีๆ...ไว้เพื่อให้เห็นคุณค่าของเวลานาที...

    ...จากใจผู้เขียนที่ห่วงใย...สวัสดีค่ะ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2013
  3. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ...อะไรจะเลิศยิ่งกว่าจิต...

    และอะไรจะเร็วร้ายยิ่งกว่าจิต...ที่พริกสองอย่าง

    จิตถ้าได้รับการอบรบแล้วดีๆ...ดีและเยี่ยม

    ถ้าปล่อยเนื้อปล่อยตัว...ทั้งเนื้อทั้งตัว...แล้วปล่อยปละละเลย

    ไม่สนใจและหมดคุณค่าแล้ว...เลวๆๆๆๆ...จำไว้นะลูกหลาน

    ...........ใจนี้สำคัญจำไว้...โอวาทธรรม หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน.

    ...กราบองค์หลวงตาเจ้าค่ะสาธุ...
     
  4. dutchanee

    dutchanee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,127
    ค่าพลัง:
    +12,745
    ของฝากจากห้องเจริญสติ
    เมื่อเราฝึกเจริญสติมาถึงระดับหนึ่งที่จิตเริ่มรวมกับสติได้อย่างเต็มที่
    (ที่เราบอกว่า จิตเรารวมกับสตินั้น อาจเป็นได้แต่ก็บางครั้ง)
    จะทำให้รู้ถึงความเป็นโดดๆ ดังที่ท่านว่า..อยู่กับหมู่มาก ก็เหมือน
    อยู่ตัวคนเดียว..อาการโดดๆจะรู้สึกอยู่กับตัวอยู่กับใจตน แต่ก็ยัง
    ไม่ถึงกับเป็นมหาสติ ความรู้สึกในตอนนั้นเราจะอยากอยู่คนเดียวอยาก
    ปลีกวิเวก เห็นสิ่งใดๆก็วางอุเบกขาไป ไม่อยากยุ่งสุงสิง และอารมณ์
    ไม่แคร์ไม่สนใจต่อใดๆก็จะเกิดขึ้น เหมือนคนเห็นแก่ตัว ซึ่งต่างกับการ
    เห็นแก่ตัวโดยทั่วไปคือ มีสติอยู่ตลอด ดังเช่น ก้อนหินใต้น้ำที่แข็งแกร่ง
    คงทน แม้จะถูกน้ำโล้ไปพายมาก็ไม่ยีหระ แต่ที่ไหนได้ ก้อนหินก้อนนั้น
    จะต่างจากก้อนหินบนบกที่ผู้คนได้เห็น ได้ชม ได้ใช้ ได้โชว์ ก้อนหิน
    ใต้น้ำจะไม่ต้องการได้เห็น ได้ชม ได้ใช้ ได้โชว์ เพราะอยู่ใต้น้ำ แต่ถามว่ากร่อนมั้ย
    ...ไม่ เพราะไม่โดนแดด โดนฝน มีแต่แกร่ง แต่อีกนั่นแหละในความแข็งแกร่ง
    นั้น ก็ไม่เคยแข็งกร้าวเลย เห็นได้ดังที่ปล่อยให้ตะใคร้น้ำขึ้น สาหร่ายขึ้น ปะการังขึ้น
    ความเมตตายังมีอยู่เต็มเปี่ยม แต่เมื่อต้องเดินเข้าสู่กฎไตรลักษณ์ สุนามิมา
    พืชเหล่านั้นถูกซัดออกไปหมด หินก้อนนั้นก็ยังแกร่งเป็นหินตั้งอยู่ที่เดิม
    ดังเดิม โดยที่ไม่แตกสลายไปกับพืชที่เคยชินเคยเกาะอยู่ หินก้อนนั้น
    ตั้งมั่น ตั้งอยู่ได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาใคร ต่อสู้ ยืนหยัดต่อไป
    อย่างไม่ยีหระต่อใดๆทั้งสิ้น หินก้อนนั้น ใครจะเป็นได้ต้องเพียรสู้กับกระแส
    น้ำที่มากระทบมาโล้มาพายจนแกร่งขึ้นมาในวันหนึ่ง จิตคนเราก็เช่นเดียวกัน
    หากแกร่งจริง ...ต้องมั่น......................
    โมทนาสาธุ
     
  5. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    ขออนุโมทนา สาธุค่ะครูพี่ภู ที่ท่านได้นําโอวาทของพระพุทธเจ้ามาลงเรื่อง "ศีล สมาธิ และปัญญา" คือสามอย่างนี้สําคัญมากๆเลย เพราะถ้าคนที่ไม่รักษาศีลแล้วปฏิบัติอย่างไรก็ไม่สามารถจะเข้าถึ่งแก่นได้...เพราะศีลนั้นจะต้องมีก่อนเพราะถ้าศีลไม่รักษาแล้วก็จะไม่สามารถทําจิตใจให้สงบได้เลย... เพราะผู้ไม่มีศีลจะเป็นคนที่ร้อน(ร้อนในที่นี่หมายถึงใจร้อนรุ่มไม่เกิดสมาธิได้สักแต่นั่งไปใจก็จะไม่สงบได้เลย) เพราะยังไม่มีศีลนั้นเองก็เหมือนผ้าขาวที่สกปรกก็ซักก่อนจึงจะนํามาใช้ได้ถ้าไม่ซักล้างก็ยังมองเห็นรอยเปื้อนอยู่นั้นเอง...
     
  6. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    [​IMG]

    “จิตเป็นสิ่งสำคัญมาก ความคิดชั่ววูบเดียวอาจทำให้ฆ่าคนได้ ในทำนองเดียวกัน ความคิดดีวูบเดียวในขณะจิตเดียวเท่านั้น ก็อาจประจวบถึงบรรลุธรรมได้เหมือนกัน มันก็ขณะจิตเดียวเท่านั้น ฉะนั้น อย่าประมาทของเล็ก ๆ น้อย ๆ จงเพียรพยายามให้หนัก จึงจะได้ชื่อว่าอยู่กับพระ เข้าใกล้พระ ให้พิจารณา ถึงจะรู้จักพระ เข้าใจพระ ให้ทำความเข้าใจดี ๆ”

    หลวงปู่ชา สุภัทโท
    ลูกขอน้อมกราบหลวงปู่ด้วยเศียรเกล้า
     
  7. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    วัฏฏะ คือความหมุนเวี่ยนเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่ในจิตก่อให้เกิด"วัฏจิต"ที่เป็นสมุทัยก็เหมือนหมุนไปในทางเป็นทุกข์เพราะตัวทุกข์ออกทํางานของมันโดยไม่ต้องฝืนเพราะมันเหนียวแน่นอยู่แล้วตั้งแต่เกิดเพราะมันเป็นเจ้าครองหัวใจของสัตว์โลกมาไม่รู้กี่กัปป์ กี่กัณฑ์แล้ว จึงต้องลงมือฆ่ามันด้วยการภาวนา"คือการพิจารณาหาสาเหตุของมันว่ามาจากไหนก็เหมือนเราหาเถาวัลย์นั้นแหล่ะพอได้เงื่อนมันแล้วก็จับเอาไว้หรือตามมันไปจนเจอรากเหง้าก็จับถอนขึ้นเลยที่แล้วนั้นแหล่ะตัวสิ้นภพก็ขาดสะบั้นไป เพราะได้ถอนรากมันขึ้นอะไรละจะพาเกิดให้ตายอีกก็หมดหน้าที่เท่านั้น...วัฏจักร วัฏจิตก็หมดสิ้นไป...
    ที่มา จากเทปองค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    ลูกขอน้อมกราบองค์หลวงตาด้วยเศียรเกล้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2013
  8. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    [​IMG]

    ที่มาfb
     
  9. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    มรรคมีองค์ ๘ หรือ สติ สมาธิ ปัญญา
    (มีอยู่ ณ ที่ใด)

    สติ สมาธิ ปัญญา
    ธรรมหรือแก้วทั้ง 3 ประการนี้ เราไม่ต้องไปค้นหา หรือตามหา ณ สถานที่แห่งใด
    ที่แท้ก็อยู่ที่กายและจิตใจของเราเอง ทั้งนั้นเลย

    เราเจริญสติภาวนา เพื่ออะไร เคยถามตนเองไหม?
    เจริญสติก็เพื่อ ให้เรารู้สึกตัวบ่อยๆ แล้วเราจะได้อะไร?
    เมื่อเจริญสติบ่อยๆแล้ว จิตเราจะได้นิ่งหรือสงบเสียที
    นี่ไง๊ ปฎิบัติธรรมมันยากตรงที่ทำจิตนิ่งหรือสงบกันนี่แหล่ะ อย่างอื่นไม่ยากหรอก

    เพราะตราบใด ที่เราไม่เจริญสติบ่อยๆ จิตเราก็ไม่นิ่งหรือไม่สงบกันสักที
    แล้วเมื่อไหร่ เราจะได้ตัวปัญญา ที่พวกเรากำลังตามหากันสักที
    เพราะตัวปัญญานี้ จะทำให้เรารู้เท่าทันการเกิดกิเลสต่างๆ หรือ มองเห็นการเกิดและดับของจิต(เจตสิก)

    แต่ทุกวันนี้ ผู้ปฎิบัติไม่ค่อยเจริญในศีล ในธรรมกัน ก็เพราะว่า???
    แค่เจริญสติ หรือสร้างสติเพียงตัวเดียว ก็ยังไปไม่ถึงไหนกันเลย
    นับประสาอะไร จะไปทำให้จิตเรานิ่งหรือสงบกันได้อย่างไร
    หรือ แค่สติตนเอง ก็ยังสร้างขึ้นมาให้มากๆ เยอะๆ ยังไม่ได้
    นับประสาอะไร๊ จะไปหาหรือพบเจอดวงจิตตนเองกันได้อย่างไร

    ในเมื่อเราเอง ก็ยังหาดวงจิตของเรายังไม่พบ หรือ ไม่สามารถทำให้จิตตนเองนิ่งหรือสงบได้เลย
    แล้วเราจะพบความสุขทางใจกันได้อย่างไร หรือ ปัญญาของตนจะเกิดสักทีนึง
    เพราะวันๆนึง แค่สติก็ยังไม่มี หรืออาจจะมี แต่ไม่มากพอที่จะนำไปพิจารณาธรรม

    เพราะทุกวันนี้ คนเรามีสติกันแค่ เดินให้ตรงทาง ขับรถได้ ทำงานได้ เลี้ยงครอบได้
    แค่สติธรรมดาๆ แค่นั้น มันไม่พอกับการพิจารณาในข้อธรรม
    การพิจารณาธรรมต่างๆ หรือให้รู้ตามความเป็นจริงนั้น เราจำเป็นต้องใช้ปัญญา
    แต่ถ้าให้รู้แจ้งแทงตลอด เราจำเป็นจะต้องใช้ปัญญาระดับ ปัญญาญาณ
    เราจึงจะทำลายตัวกิเลสละเอียด หรือ อัตตาละเอียดของตนเองได้

    ผู้เขียนขอแสดงธรรมซื่อๆ ใสซื่อ บริสุทธิ์ ธรรมดาๆ ธรรมะแบบชาวบ้านๆ
    อ่านปั๊บก็รู้ปั๊บ คือ เน้นเข้าใจง่าย ไม่ต้องแปลให้มันยุ่งยาก
    นี่แหล่ะ ผู้ปฎิบัติต้องนำจิตมาเดินมรรคได้ถูกต้องเสียก่อน

    ผู้ปฎิบัติทุกท่าน ย่อมมีสติหรือศีล สมาธิ ปัญญา หรือธรรมะเป็นของตนเอง
    เพราะสิ่งเหล่านี้ก็มิใช่ของใครเลย มันเป็นของผู้ปฎิบัติเอง ทั้งนั้น
    แทบไม่จำเป็นจะต้องไปอ่าน ไปฟัง ไปใช้ปัญญาจากใครหรือที่ไหนกันเลย
    เพียงขอให้ผู้ปฎิบัติ (พยายาม)อยู่กับกาย กับจิตหรือใจของตนเองให้มากๆ
    ถ้าเป็นไปได้ควรพยายามอยู่ปลีกวิเวก เพราะจะได้มีสติมากๆ สมาธิและปัญญาจะได้เกิดบ่อยๆ
    ผู้ปฎิบัติธรรม ฝ่ายฆราวาสจะเสียเปรียบพระภิกษุสงฆ์ ตรงสติกันนี่แหล่ะ
    เพราะทุกวันเวลาต้องอยู่กับทางโลกมาก เช่น ทำงาน หาเงินและความรัก เป็นต้น
    วันๆนึง อยู่กับสิ่งสมมุติเหล่านี้ หรือ
    อยู่กับ กลิ้งกับตัวกิเลส(รัก โลภ โกรธ หลง) ตัวตัณหาและตัวอุปาทาน กันทั้งวัน ทั้งคืน
    จนไม่มีเวลาจะเจริญสติภาวนากันเลย
    คนที่อยู่คนเดียว มักจะได้เปรียบในเรื่องการเจริญภาวนา เพราะมีเวลาอยู่กายใจตนเองมาก
    แต่ก็อย่างว่าแหล่ะ เหตุผลมนุษย์มีมากกว่า 108 ประการ จะอ้างแบบไหนก็ได้

    แต่สำหรับผู้ปฎิบัติเอากันจริงๆจังๆละก้อ บอกได้คำเดียวว่า สำเร็จแน่ มีดวงตาเห็นธรรมแน่ๆ
    ผู้เขียนขอยืนยัน นั่งยัน นอนยัน ใครทำจริงย่อมได้ของจริงๆ

    เพราะฉะนั้น คำว่า ตั้งใจ สนใจ มีอยู่ในใจตนเองกันไหม๊?
    เพราะถ้าไม่มี ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ไม่สำเร็จ เพราะสำเร็จเกิดขึ้นได้ด้วยใจตนเอง ทั้งนั้นเลย

    ดูคนที่เขาตั้งใจเรียนกันสิ! ดูคนที่เขาตั้งใจทำงานกันสิ! ดูคนที่เขาตั้งใจปฎิบัติธรรมกันสิ!

    แล้วหันกลับมาถามตนเองสิว่า เรามีความตั้งใจหรือสนใจมากหรือปล่าว?

    (ขอให้ตอบตนเอง)
     
  10. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    เพราะสุดท้ายแล้ว...
    ขอให้ผู้ปฎิบัติทุกท่าน คอยหมั่นถามตนเอง คอยเช็คผลการปฎิบัติของตนเองไปด้วย
    ว่าที่เราปฎิบัติธรรมมาตั้งนานหรือจนถึงทุกวันนี้ฯ

    ขอให้ดูที่จิตใจของตนเองเป็นหลักว่า...
    ทุกข์ของเรายังมีอยู่ไหม? หมายถึงออกจากทุกข์ตนเองได้
    แต่ความเป็นจริงนั้น ทุกข์มิได้หายไปจากเราที่ไหนหรอก
    ทุกข์ทั้งหลาย ทุกข์ทั้งปวงนั้น มีอยู่ในขันธ์ ๕ ของตนเอง นี่แหล่ะ!
    ทุกท่านคงจะเคยได้ยินธรรมที่ว่า...

    "ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป"

    เพราะฉะนั้นแล้ว ผู้ที่เห็นธรรม หรือผู้ที่มีดวงตาเห็นธรรมนั้น
    พวกเขาย่อมอยู่กับทุกข์หรือตัวทุกข์ ที่เกิดจากขันธ์ ๕ ของตนเองได้
    แบบไม่เป็นทุกข์ หรือไม่ได้รู้สึกว่าตนเองทุกข์อีกต่อไปแล้ว
    ก็เพราะว่าจิตเขารู้และเข้าใจแล้ว จิตเป็นผู้ปล่อยวางกับสิ่งที่เราเรียกว่า สมมุติทั้งหลาย ทั้งปวงกันได้หมดแล้ว
    จิตปล่อยวางเดี๋ยวนี้ ทุกข์ก็คลายหรือหายไป เดี๋ยวนี้
    แต่ถ้าหากผู้ใด ยังรู้สึกว่าตนเองยังมีทุกข์ รู้สึกทุกข์ หรือหนักอยู่ ไม่ค่อยสบายใจ
    ไม่เบาใจ ไม่สุขใจ ก็เพราะว่า จิตของเรา มิได้ ปล่อยวางดังที่กล่าวไปแล้ว นั่นเอง

    ขอให้ผู้ปฎิบัติคอยหมั่นตรวจสอบปฎิเวธ(ผลการปฎิบัติ)ไปพร้อมกับการปฎิบัติของตนเอไปด้วย
    เพราะไม่มีอะไรเป็นเครื่องทดสอบ ว่าที่เราปฎิบัติมาแล้วนี้ เราสอบผ่านหรือไม่ผ่าน
    ตรวจสอบกันง่ายๆ ก็คือ ดูสิ่งที่มากระทบจิตตนเอง และหันไปดูจิตตนเอง(เท่านั้น)

    เช่น เวลามีด่าหรือนินทาเรา แต่อย่าไปดูว่า ใครด่า ใครนินทา ตรูฟ๊ะ!
    ขอให้ดูที่จิตตนเอง ว่าจิตเรายังวิ่งตามสิ่งที่มากระทบหรือไม่ หรือว่าเฉยๆ
    และเฉยแบบไหน เฉยแบบธรรมะเข้าข่ม หรือทำใจแบบข้างในใจยังร้อนรุ่มหรือหัวใจยังเต้นแรง
    อันนี้ถือว่ายังใช้ไม่ได้ หรือสอบไม่ผ่าน และเราอย่าไปหวังว่า ทำครั้งเดียวจะได้หรือทำใจกันได้เลย ไม่มีทาง
    เพราะเผื่อจะสอบผ่านได้ จิตต้องได้ปัญญาหรือปัญญาญาณ เท่านั้น
    จิตจึงจะปล่อยวางได้ง่าย หรือ อภัยได้ง่าย และอภัยง่าย แม้นกระทั่งผู้เห็นต่างหรือศัตรูเราเอง
    เพราะถ้าจิตผู้นั้นเป็นพรหม(พรหมวิหาร)

    ขอแนะนำธรรมแบบชาวบ้านๆ
    ผู้ปฎิบัติแบบชาวบ้านๆ จะได้เข้าใจและเข้าถึงธรรมปฎิบัติกันได้ง่ายๆ
    ส่วนผู้ปฎิบัติท่านใดเก่งแล้ว ก็ขอให้มองข้ามไปนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 กุมภาพันธ์ 2013
  11. phiung_ay

    phiung_ay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +895
    กราบนมัสการท่านพ่อ สมเด็จองค์ปฐมต้นด้วยเศียรเกล้า และสวัสดีพี่ๆทุกคนนะคะ
    ทำไมกิจกรรมทางโลกมันช่างมากมาย จนเหมือนพายเรือวนไปวนมา ผ่านคลื่นสูงๆต่ำๆ
    ผ่านภูเขาที่ต้องตะเกียกตะกายปีนป่ายเพื่อเอาตัวรอด กว่าจะมาถึงพื้นราบ แวะพักใต้ร่มไม้ กินน้ำใสๆ มันช่างยากเย็น บางทีเหมือนผึ้งหลุดออกไปอยู่ในดินแดนอะไรก้อไม่รู้ ที่มีแต่ความสับสนวุ่นวาย ล้อมไปด้วยกิเลส ผู้คนโหวกเหวกโวยวาย พูดจากันก้อไม่ค่อยจะรู้เรื่อง บางทีเราใช้จิตฟัง ไม่ใช่ใช้หูฟัง มันเลยกลายเป็นความวุ่นวาย ที่จิตไม่เอา ทำอย่างไรผึ้งจะแหวกสิ่งเหล่านี้ออกมารับลมเย็นๆแห่งความสงบเหมือนก่อน พอย้อนกลับไปจิตก้อรู้ว่ามันไม่เที่ยง เมื่อก่อนสงบเยือกเย็น มีเวลาอยู่กับธรรมะ เดี๋ยวนี้ เวลาจะนอนยังไม่มีเยย อาศัยเปิดเพลงสวดมนต์ฟัง แต่บางครั้งวุ่นวายจนขันธ์ จับเอาแต่เรื่องของทางโลกอย่างเดียว ทิ้งธรรมะไปก้อมี ขอข้อคิดดีๆ จากทุกท่านบ้างนะคะ ผึ้งอยากอ่านมากมายค่ะ
     
  12. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ภาคเพียรปฎิบัติกันต่อไป
    จนกว่าจิตเขาจะปล่อยวางกับสิ่งสมมุติกันให้ได้
    วางได้เมื่อไหร่ เราก็ออกจากทุกข์กันได้เมื่อนั้น

    ปฎิบัติกันไปจนกว่า จะรู้ว่าทุกธรรมหนีไม่พ้นคำว่า ไตรลักษณ์
    ก็คือ กฎธรรมดาๆ นี่เอง

    อย่าลืมกันนะว่า..
    จิตนะจิต มิใช่สตินะสติ ที่จะเป็นผู้ทำหน้าที่ ละ-ปล่อย-วาง กับสรรพสิ่งสมมุตินั้น
    วางเมื่อไหร่ ก็รู้สึกเบาเมื่อนั้น ไร้ทุกข์เมื่อนั้น
    และความสุขจึงจะตามมาทันที หลังจากที่เราละทุกข์ เข้าใจทุกข์ตนเองได้

    นักภาวนา หรือ ผู้ปฎิบัติ ตั้งหน้า ตั้งตากันเจริญสติภาวนา กันก็เพื่อ???
    ทำให้จิตตนเองนิ่ง จิตเป็นสมาธิหรือฌาน จิตจึงจะเกิดปัญญา(ทางธรรม)
    เพียงแ่ค่อยากเห็นปรมัตถธรรม หรือมีดวงตาเห็นธรรม หรือมองเห็นสิ่งที่เป็นความจริง เท่านั้น
    เพราะการมองเห็นปรมัตถธรรมนั้น ต้องมองด้วย อริยจักษุ

    ปรมัตถธรรม - วิกิพีเดีย


    สรุปแล้ว
    เราปฎิบัติธรรม ก็เพียงแค่อยากมองเห็นสรรพสิ่งทั้งหลาย ทั้งปวงนั้น เป็นธรรมดาอย่างนั้นเอง
    ผลได้ที่ตามมา ก็คือ ปราศจากกิเลส ปราศจากทุกข์ทั้งปวง หรือ
    เพื่อความสุข สงบสงัดภายในจิตใจของตนเอง เท่านั้นเอง

    เพราะฉะนั้น ให้ปฎิบัติไป หรือเจริญสติภาวนาไป ตราบจนสิ้นอายุขัยตนเอง
    อย่าไปสนใจคำบัญญัติหรือสมมุตินั้น เช่น โสดาบันปัตติผล หรือ อรหัตมรรคผล
    อย่าไปหวังผลให้มาก ในการเห็นนิมิต หรือ ได้อภิญญา
    ก้มหน้า ก้มตา ก้มยาย ทำไปๆ ปฎิบัติๆๆ ถึงเมื่อไหร่ ถึงตอนไหน ก็ขอให้ผู้ปฎิบัติตอบตนเองกันให้ได้
    แต่ถ้าตอบตนเองยังไม่ได้ ก็ให้กลับไปทบทวนการปฎิบัติกันใหม่
    หรือไปทบทวนตั้งแต่เรื่องศีล-สังโยชน์ และถือซะว่า เราสอบไม่ผ่าน
    สอบตกก็ซ่อมกันใหม่เท่านั้นเอง ไม่เห็นเป็นไรเลย
    ไม่เหมือนเรียนในมหาวิทยาลัย แต่ถ้าสอบตก คือจะต้องเสียตังค์ลงค่าหน่วยกิจกันใหม่ อย่างนี้เป็นต้น
    ดีกว่าปฎิบัติธรรมกันแบบดันทุรัง คือฝืนจิต ฝืนใจปฎิบัติ เพราะอย่าลืมกันนะว่า
    ผลของการปฎิบัติก็คือ ความสุข ความเยือกเย็นใจ นี่เอง
    อย่าไปบ้าบอคอแตก ว่าจะต้องได้ระดับนั้น ระดับนี้ จงพอใจในผลการปฎิบัติแห่งตน
    อย่าปฎิบัติผิดหลักธรรม ดูง่ายที่สุดก็คือ ขอให้ดูที่จิตใจของตนเอง
    มันมีความสุขใจ เยือกเย็นใจกันไหม๊?
    หรือ มีแต่ความร้อนรุ่มภายในจิตใจ อึดอัดใจ ท้อแท้ใจ อันนี้ผิดทางแร๊ะ
    ผิดทางหรือเดินทางผิด ง่ายนิดเดียว คือเริ่มต้นใหม่

    ลืมไปแล้วหรือยังว่า...

    " จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว "
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 กุมภาพันธ์ 2013
  13. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    นิพพานของคนตาบอด
    (มิจฉาทิฏฐิ)


    "ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! น่าอัศจรรย์ จริงไม่เคยมีมาแต่ก่อน คือข้อที่พระ-
    สมณโคดมได้กล่าวคำนี้ว่า 'ลาภทั้งหลายมีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง, นิพพาน เป็น
    สุขอย่างยิ่ง' ดังนี้. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าก็ได้เคยฟังคำกล่าวนี้ ของ
    ปริพพาชกผู้เป็นอาจารย์แห่งอาจารย์ในกาลก่อน กล่าวอยู่ว่า 'ลาภทั้งหลาย มีความไม่มี
    โรคเป็นอย่างยิ่ง, นิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง' ดังนี้ด้วยเหมือนกัน. ข้าแต่พระโคดม
    ผู้เจริญ ! ข้อนี้ช่างตรงกันแท้".

    มาคัณฑิยะ! ข้อนี้ท่านฟังมาแต่ปริพพาชกผู้เป็นอาจารย์แห่งอาจารย์
    ในกาลก่อน ที่กล่าวอยู่ว่า "ลาภทั้งหลาย มีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง, นิพพาน
    เป็นสุขอย่างยิ่ง" ดังนี้นั้น อะไรเล่าคือความไม่มีโรคนั้น อะไรเล่าคือนิพพานนั้น ?

    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว มาคัณฑิยปริพพาชก ได้ลูบร่างกายของตน
    ด้วยฝ่ามือ แล้วร้องขึ้นว่า "ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ! นี่ยังไงล่ะ ความไม่มีโรค ! นี่ยังไงล่ะ
    นิพพาน ! พระโคดมผู้เจริญ ! เวลานี้ ข้าพเจ้าเป็นสุข ไม่มีโรค ไม่มีอาพาธไร ๆ".

    มาคัณฑิยะ ! ข้อนี้เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดมาแต่กำ เนิด เขาไม่
    อาจเป็นรูปดำ ขาว รูปเขียว รูปเหลือง รูปแดง รูปสีส้ม ไม่อาจเห็นที่ขรุขระ
    ไม่อาจเห็นดวงดาว ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์. เขาได้ยินคนตาดีกล่าวอยู่ว่า
    "ท่านผู้เจริญ! ผ้าขาวผ่อง สะอาด ไม่มีมลทิน งามนักหนอ". บุรุษตาบอดนั้น
    ก็เที่ยวแสวงหาผ้าขาว. บุรุษคนหนึ่งลวงเขาด้วยผ้าเก่าเปื้อนเขม่าน้ำ มันว่า
    "บุรุษผู้เจริญ ! นี้ ผ้าขาวผ่อง สะอาด ไม่มีมลทิน งามนัก สำหรับท่าน". บุรุษ
    ตาบอดนั้น รับผ้านั้นไปห่ม แล้วเที่ยวประกาศความพอใจของตนว่า "ท่านผู้เจริญ
    ทั้งหลายเอ๋ย! นี่ ผ้าขาวผ่อง สะอาด ไม่มีมลทิน งามนักหนอ" ดังนี้. มาคัณทิยะ !
    ท่านจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : บุรุษตาบอดแต่กำเนิดนั้นรู้อยู่เห็นอยู่ แล้ว
    รับเอาผ้าเก่าเปื้อนเขม่าน้ำมันไปห่ม แล้วเที่ยวคุยอวดอยู่ว่า "ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
    เอ๋ย ! นี่ ผ้าขาวผ่อง สะอาด ไม่มีมลทิน งามนักหนอ" ดังนี้หรือ ? หรือว่า
    เขากล่าวเช่นนั้นเพราะเชื่อคนตาดีที่ลวงเขา ?

    "ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ! เขากล่าวเช่นนั้น เพราะเชื่อคนตาดีที่ลวงเขาเท่านั้น"

    มาคัณฑิยะ ! ฉันใดก็ฉันนั้น ที่ปริพพาชกเดียรถีย์เหล่าอื่นเป็นคน
    บอดไม่มีจักษุ ไม่รู้จักความไม่มีโรค ไม่เห็นนิพพาน ก็ยังมากล่าวคำนี้ว่า "ลาภ
    ทั้งหลาย มีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง, นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง" ดังนี้.

    มาคัณฑิยะ ! คาถานี้ เป็นคาถาที่พระหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า
    ทั้งหลายกล่าวกันแล้วในกาลก่อน ว่า :-

    "จากทั้งหลาย มีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง, นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง,
    อัฎฐังคิกมรรค เป็นทางอันเกษมกว่าทางทั้งหลาย ซึ่งเป็นเครื่องให้ถึงอมตะ"

    ดังนี้นั้น บัดนี้ ได้มากลายเป็นคาถาของบุถุชนกล่าวไปเสียแล้ว. มาคัณฑิยะ !
    กายนี้นะหรือ เป็นโรค เป็นหัวผี เป็นลูกศร เป็นความลำ บาก เป็นอาพาธ,
    ท่านก็มากล่าวมันว่าเป็นความ ไม่มีโรค เป็นนิพ พ าน. ม าคัณ ฑิยะเอ๋ย !
    อริยจักษุสำหรับจะรู้จักความไม่มีโรค จะเห็นนิพพาน ของท่านไม่มี.


    - ม. ม. ๑๓/๒๘๑-๒๘๓/๒๘๗-๒๘๘.

    ( ปริพพาชกผู้นี้ สำคัญตัวเขาเองว่า เป็นความไม่มีโรคเป็นนิพพาน ดังนั้นจึงต้อง
    เรียกว่า นิพพานของคนตาบอด, เช่นเดียวกับคนตาบอดในอุปมานี้ สำคัญผ้าสกปรกว่าเป็นผ้าขาว ).


    ที่มา:
    http://pobbuddha.com/tripitaka/upload/files/1456/index.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 กุมภาพันธ์ 2013
  14. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976

    ขออนุโมทนา กับคุณผึ้ง...ที่ได้รู้อารมณ์ของตนเองเพราะเวลาปฏิบัติธรรมข้ันได้รับความสงบนั้นเราก็จะพึงพอใจกับความสงบนั้นและพอเรายึดในอารมณ์ที่สงบไว้คือไม่อยากอยู่กับความวุ่นวายนั้นๆจิตเรามันได้ตั้งโปรแกรมเอาไว้แล้ว...พอเจออารมณ์ที่ไม่ชอบคือความวุ่นวายจิตก็จะไม่อยากรับมันก็เลยทําให้เกิดความทุกข์หรือเกิดการ"แอนตี้"นั้นก็ว่าได้แต่ถ้าเราฝึกจิตจนรับอารมณ์ที่มากระทบได้บ่อยๆคือการจะทําได้อย่างนี้เราต้องมีสมาธิค่อยข้างจะสูงแต่สมาธิเป็นของฝึกได้...คือฝึกการรับรู้อารมณ์นั้นๆจนชินชาก็ว่าได้แล้วจิตก็จะทําหน้าที่ปล่อยวางของเขาเอง...แต่การจะปล่อยได้นั้นเราจะต้องเข้าใจกฏของธรรมชาติหรือธรรมดาก่อนว่า"โลกนี้ก็คือโลกแห่งความวุ่นวายถ้าเราอยู่กับความวุ่นวายไม่ได้แล้วเราจะอยู่กับความโลกได้อย่างไร? ขอให้คุณฝึกจิตให้รับรู้อารมณ์เหล่านี้ที่เกิดโดยไม่ต้องฝืนมันแล้วมองมันเป็นสิ่งที่มาทดสอบคุณได้เป็นอย่างดี...เพราะถ้าเราเกิดอารมณ์นั้นขึ้นมาแล้วก็น้อมอารมณ์นั้นเข้ามาที่ใจแล้วถามใจว่าทําไม?ต้องรับรําคาญ แล้วเราจะไปแก้ที่เหตุคือ...คนก่อกวนไม่ได้ต้องแก้ที่เราคือปลายเหตุไม่ให้กําเริบคือทําใจนั้นเอง...ขอตอบตามความคิดเห็นและหวังว่าคุณคงไม่คิดว่าสอนนะค่ะขอเป็นแค่กัลยาณมิตรคนหนึ่งเท่านั้นค่ะ สาธุค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กุมภาพันธ์ 2013
  15. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    [​IMG]


    โดย หลวงปู่ดูลย์ อตุโล



    วิปัสสนูปกิเลส

    ในการปฏิบัติพระกัมมัฏฐานนั้น ในบางครั้งก็มีอุปสรรคขัดข้องต่างๆ รวมทั้งเกิดการหลงผิดบ้างก็มี ซึ่งหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ก็ได้ให้ความช่วยเหลือแนะนำและช่วยแก้ไขแก่ลูกศิษย์ลูกหาได้ทันท่วงที ดังตัวอย่างที่ยกมานี้

    มีอยู่ครั้งหนึ่งเกิดปัญหาเกี่ยวกับ “วิปัสสนูปกิเลส” ซึ่งหลวงปู่เคยอธิบายเรื่องนี้ว่า เมื่อได้ทำสมาธิจนสมาธิเกิดขึ้น และได้รับความสุขอันเกิดแต่ความสงบพอสมควรแล้ว จิตก็ค่อยๆ หยั่งลงสู่สมาธิส่วนลึก นักปฏิบัติบางคนจะพบอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่ง เรียกว่า วิปัสสนูปกิเลส ซึ่งมี ๑๖ อย่าง มี “โอภาส” คือ แสงสว่าง และ “อธิโมกข์” คือ ความน้อมใจเชื่อ เป็นต้น

    พลังแห่งโอภาสนั้นสามารถนำจิตไปสู่สภาวะต่างๆได้อย่างน่าพิศวง เช่น จิตอยากรู้อยากเห็นอะไรก็ได้เห็นได้รู้ในสิ่งนั้น แม้แต่กระทั่งได้กราบได้สนทนากับพระพุทธเจ้าก็มี

    เจ้าวิปัสสนูปกิเลสนี้มีอิทธิพลและอำนาจ จะทำให้เกิดความน้อมใจเชื่ออย่างรุนแรง โดยไม่รู้เท่าทันว่าเป็นการสำคัญผิด ซึ่งเป็นการสำคัญผิดอย่างสนิทสนมแนบเนียน และเกิดความภูมิใจในตัวเองอยู่เงียบๆ บางคน ถึงกับสำคัญตนว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งด้วยซ้ำ บางรายสำคัญผิด อย่างมีจิตกำเริบยโสโอหังถึงขนาดที่เรียกว่าเป็นบ้าวิกลจริตก็มี

    อย่างไรก็ตาม วิปัสสนูปกิเลสไม่ได้เป็นการวิกลจริต แม้บางครั้งจะมีอาการคล้ายคลึงคนบ้าก็ตาม แต่คงเป็นเพียงสติวิกล อันเนื่องจากการที่จิตตั้งมั่นอยู่กับอารมณ์ภายนอก แล้วสติตามควบคุมไม่ทัน ไม่ได้สัด ไม่ได้ส่วนกันเท่านั้น ถ้าสติตั้งไว้ได้สัดส่วนกัน จิตก็จะสงบเป็นสมาธิลึกลงไปอีก โดยยังคงมีสิ่งอันเป็นภายนอกเป็นอารมณ์อยู่นั่นเอง

    เช่นเดียวกับการฝึกสมาธิของพวกฤาษีชีไพรที่ใช้วิธีเพ่งกสิณ เพื่อให้เกิดสมาธิ ในขณะแห่งสมาธิเช่นนี้ เราเรียกอารมณ์นั้นว่า ปฏิภาคนิมิต และเมื่อเพิกอารมณ์นั้นออกโดยการย้อนกลับไปสู่ “ผู้เห็นนิมิต” นั้น นั่นคือย้อนสู่ต้นตอคือ จิต นั่นเอง จิตก็จะบรรลุถึงสมาธิขั้นอัปปนาสมาธิ อันเป็นสมาธิจิตขั้นสูงสุดได้ทันที

    ในทางปฏิบัติที่มั่นคงและปลอดภัยนั้น หลวงปู่ดูลย์ท่านแนะนำว่า “การปฏิบัติแบบจิตเห็นจิต เป็นแนวทางปฏิบัติที่ลัดสั้น และบรรลุเป้าหมายได้ฉับพลัน ก้าวล่วงภยันตรายได้สิ้นเชิง ทันทีที่กำหนดจิตใจได้ถูกต้อง แม้เพียงเริ่มต้น ผู้ปฏิบัติก็จะเกิดความรู้ความเข้าใจได้ด้วยตนเองเป็นลำดับๆ ไป โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยครูบาอาจารย์อีก”

    ในประวัติของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล พอจะเห็นตัวอย่างของวิปัสสนูปกิเลส ๒ ตัวอย่าง คือกรณีของท่านหลวงตาพวง และกรณีของท่านพระอาจารย์เสร็จ จะขอยกกรณีของหลวงตาพวงมาเล่าเพื่อประดับความรู้ต่อไป

    ศิษย์ของหลวงปู่ชื่อ “หลวงตาพวง” ได้มาบวชตอนวัยชรา นับเป็นผู้บุกเบิก สำนักปฏิบัติธรรมบนเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์

    หลวงตาพวงได้ทุ่มเทชีวิตจิตใจให้แก่การประพฤติปฏิบัติ เพราะท่านสำนึก ตนว่ามาบวชเมื่อแก่ มีเวลาแห่งชีวิตเหลือน้อย จึงเร่งความเพียรตลอดวัน ตลอดคืน

    พอเริ่มได้ผล เกิดความสงบ ก็เผชิญกับวิปัสสนูปกิเลสอย่างร้ายแรง เกิดความสำคัญผิดเชื่อมั่นอย่างสนิทว่าตนเองได้บรรลุอรหัตผล เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง เป็นผู้สำเร็จผู้เปี่ยมด้วยบุญญาธิการ ได้เล็งญาณ (คิดเอง) ไปจนทั่วสากลโลก เห็นว่าไม่มีใครรู้หรือเข้าถึงธรรมเสมอด้วยตน ดังนั้น หลวงตาพวงจึงได้เดินทางด้วยเท้าเปล่ามาจากเขาพนมรุ้ง เดินทางข้ามจังหวัดมาไม่ต่ำกว่า ๘๐ กิโลเมตร มาจนถึงวัดบูรพาราม หวังจะแสดงธรรมให้หลวงปู่ฟัง

    หลวงตาพวงมาถึงวัดบูรพาราม เวลา ๖ ทุ่มกว่า กุฏิทุกหลังปิดประตูหน้าต่าง หมดแล้ว พระเณรจำวัดกันหมด หลวงปู่ก็เข้าห้องไปแล้ว ท่านก็มาร้องเรียก หลวงปู่ด้วยเสียงอันดัง

    ตอนนั้นท่านเจ้าคุณพระโพธินันทมุนียังเป็นสามเณรอยู่ ได้ยินเสียงเรียกดังลั่นว่า “หลวงพ่อ หลวงพ่อ หลวงพ่อดูลย์.....” ก็จำได้ว่าเป็นเสียงของหลวงตาพวง จึงลุกไปเปิดประตูรับ

    สังเกตดูอากัปกิริยาก็ไม่เห็นมีอะไรผิดแปลก เพียงแต่รู้สึกแปลกใจว่า ตาม ธรรมดาท่านหลวงตาพวงมีความเคารพอ่อนน้อมต่อหลวงปู่ พูดเสียงเบา ไม่บังอาจระบุชื่อของท่าน แต่คืนนี้ค่อนข้างจะพูดเสียงดังและระบุชื่อด้วยว่า

    “หลวงตาดูลย์ ออกมาเดี๋ยวนี้ พระอรหันต์มาแล้ว”

    ครั้นเมื่อหลวงปู่ออกมาแล้ว ตามธรรมดาหลวงตาพวงจะต้องกราบหลวงปู่ แต่คราวนี้ไม่กราบ แถมยังต่อว่าเสียอีก “อ้าว ! ไม่เห็นกราบท่านผู้สำเร็จมาแล้ว ไม่เห็นกราบ”

    เข้าใจว่าหลวงปู่ท่านคงทราบโดยตลอดในทันทีนั้นว่าอะไรเป็นอะไร ท่านจึงนั่งเฉย ไม่พูดอะไรแม้แต่คำเดียว ปล่อยให้หลวงตาพวงพูดไปเรื่อยๆ

    หลวงตาพวงสำทับว่า “รู้ไหมว่าเดี๋ยวนี้ผู้สำเร็จอุบัติขึ้นแล้ว ที่มานี่ก็ด้วย เมตตา ต้องการจะมาโปรด ต้องการจะมาชี้แจงแสดงธรรมปฏิบัติให้เข้าใจ”

    หลวงปู่ยังคงวางเฉย ปล่อยให้ท่านพูดไปเป็นชั่วโมงทีเดียว สำหรับพวกเรา พระเณรที่ไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ ก็พากันตกอกตกใจกันใหญ่ ด้วยไม่รู้ว่ามันเป็นอะไรกันแน่

    ครั้นปล่อยให้หลวงตาพวงพูดนานพอสมควรแล้ว หลวงปู่ก็ซักถามเป็นเชิง คล้อยตามเอาใจว่า “ที่ว่าอย่างนั้นๆ เป็นอย่างไร และหมายความว่าอย่างไร” หลวงตาพวงก็ตอบตะกุกตะกัก ผิดๆ ถูกๆ แต่ก็อุตส่าห์ตอบ

    เมื่อหลวงปู่เห็นว่าอาการรุนแรงมากเช่นนั้น จึงสั่งว่า “เออ เณรพาหลวงตาไปพักผ่อนที่โบสถ์ ไปโน่น ที่พระอุโบสถ”

    ท่านเณร (เจ้าคุณพระโพธินันทมุนี) ก็พาหลวงตาไปที่โบสถ์ ไปเรียกพระ องค์นั้นองค์นี้ที่ท่านรู้จักให้ลุกขึ้นมาฟังเทศน์ฟังธรรม รบกวนพระเณรตลอดทั้งคืน

    หลวงปู่พยายามแก้ไขหลวงตาพวงด้วยอุบายวิธีต่างๆ หลอกล่อให้หลวงตา นั่งสมาธิ ให้นั่งสงบแล้วย้อนจิตมาดูที่ต้นตอ มิให้จิตแล่นไปข้างหน้า จนกระทั่ง สองวันก็แล้ว สามวันก็แล้วไม่สำเร็จ

    หลวงปู่จึงใช้อีกวิธีหนึ่ง ซึ่งคงเป็นวิธีของท่านเอง ด้วยการพูดแรงให้โกรธ หลายครั้งก็ไม่ได้ผล ผ่านมาอีกหลายวันก็ยังสงบลงไม่ได้ หลวงปู่เลยพูดให้โกรธด้วยการด่าว่า “เออ ! สัตว์นรก สัตว์นรก ไปเดี๋ยวนี้ ออกจากกุฏิเดี๋ยวนี้”

    ทำให้หลวงตาพวงโกรธอย่างแรง ลุกพรวดพราดขึ้นไปหยิบเอาบาตร จีวร และกลดของท่านลงจากกุฏิ มุ่งหน้าไปวัดป่าโยธาประสิทธิ์ซึ่งอยู่ห่างจาก วัดบูรพารามไปทางใต้ประมาณ ๓ - ๔ กิโลเมตร ซึ่งขณะนั้นท่านเจ้าคุณพระราชสุทธาจารย์ (โชติ คุณสมฺปนฺโน) ยังพำนักอยู่ที่นั่น

    ที่เข้าใจว่าหลวงตาพวงโกรธนั้น เพราะเห็นท่านมือไม้สั่น หยิบของผิดๆ ถูกๆ คว้าเอาไต้ (สำหรับจุดไฟ) ดุ้นหนึ่ง นึกว่าเป็นกลด และยังเปล่งวาจาออกมา อย่างน่าขำว่า “เออ ! กูจะไปเดี๋ยวนี้ หลวงตาดูลย์ไม่ใช่แม่กู” เสร็จแล้วก็คว้า เอาบาตร จีวร และหยิบเอาไต้ดุ้นยาวขึ้นแบกไว้บนบ่า คงนึกว่าเป็นคันกลด ของท่าน แถมคว้าเอาไม้กวาดไปด้ามหนึ่งด้วย ไม่รู้เอาไปทำไม

    ครั้นหลวงตาพวงไปถึงวัดป่า ทันทีที่ย่างเท้าเข้าสู่บริเวณวัดป่านี่เอง อาการของจิตที่น้อมไปติดมั่นอยู่กับอารมณ์ภายนอก โดยปราศจากการควบคุมของ สติที่ได้สัดส่วนกันก็แตกทำลายลง เพราะถูกกระแทกด้วยอานุภาพแห่งความ โกรธ อันเป็นอารมณ์ที่รุนแรงกว่า ยังสติสัมปชัญญะให้บังเกิดขึ้น ระลึกย้อนกลับ ได้ว่า ตนเองได้ทำอะไรลงไปบ้าง ผิดถูกอย่างไร สำคัญตนผิดอย่างไร และได้ พูดวาจาไม่สมควรอย่างไรออกมาบ้าง

    เมื่อหลวงตาพวงได้สติสำนึกแล้ว ก็ได้เข้าพบท่านเจ้าคุณพระราชสุทธาจารย์ และเล่าเรื่องต่างๆ ให้ท่านทราบ ท่านเจ้าคุณฯ ก็ได้ช่วยแนะนำและเตือนสติ เพิ่มเติมอีก ทำให้หลวงตาพวงได้สติคืนมาอย่างสมบูรณ์ และบังเกิดความ ละอายใจเป็นอย่างยิ่ง

    หลังจากได้พักผ่อนเป็นเวลาพอสมควรแล้ว ก็ย้อนกลับมาขอขมาหลวงปู่ กราบเรียนว่าท่านจำคำพูดและการกระทำทุกอย่างได้หมด และรู้สึกละอายใจมากที่ตนทำอย่างนั้น

    หลวงปู่ได้แนะทางปฏิบัติให้ และบอกว่า “สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ว่าถึงประโยชน์ ก็มีประโยชน์เหมือนกัน มีส่วนดีอยู่เหมือนกัน คือจะได้เป็นบรรทัดฐาน เป็นเครื่องนำสติมิให้ตกสู่ภาวะนี้อีก เป็นแนวทางตรงที่จะได้นำมาประกอบ การปฏิบัติให้ดำเนินไปอย่างมั่นคงในแนวทางตรงต่อไป”



    คัดลอกบางตอนมาจาก...หนังสือสมาธิ
    เรื่องการเจริญสมาธิด้วยการกำหนดรู้และละอารมณ์
    ::

    ขอขอบคุณ คุณโมกขทรัพย์ ..fb
     
  16. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,650
    ค่าพลัง:
    +20,326
    เมื่อคืนเจริญสมาธิมีปัญญาเห็นว่า ธรรมอันเป็นทางสายกลาง[ก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้] เป็นอย่างไร
    ธรรมอันเป็นทางสายกลาง อันหมายถึงธรรมอันตั้งอยู่ด้วยความชอบคืออยู่ด้วยความพอดี คือไม่ตึงเกินไปไม่หย่อนยานเกินไป หรือกล่าวได้ว่าเป็นธรรมอันตั้งอยู่ด้วยความไม่ประมาทนี่เอง[ปัจฉิมโอวาทก่อนพุทธปรินิพพาน]

    แล้วธรรมอันเป็นเหตุแห่งความไม่ประมาทเป็นอย่างไร
    เราขอกล่าวว่าธรรมอันเป็นเหตุแห่งความไม่ประมาท อันนี้หมายถึง ธรรมเป็นหนทาง หรือธรรมอันเป็นเครื่องป้องกันไม่ให้กิเลสมารเข้ามาครอบงำหรือปรุงแต่งให้จิตตกลงไปสู่ที่ต่ำหรือที่ชั่วหรือไม่ให้หลงทาง

    ธรรมอันเป็นเหตุแห่งความไม่ประมาทนั้น คืออะไร เราขอกล่าวว่าธรรมอันเป็นเหตุแห่งความไม่ประมาทนั้น ก็คือ อริยะมรรคมีองค์8 อันอริยะมรรคมีองค์8เป็นอย่างไรขอกล่าวว่า อริยะมรรคมีองค์8นั้นคือธรรมอันประกอบความชอบหรือความถูกต้อง8ประการคือ
    ..........1. สัมมาทิฏฐิ คือความคิดชอบเห็นชอบ คิดถูกเข้าใจถูกต้อง
    ..........2. สัมมาสังกัปปะ คือความใฝ่ใจชอบ หรือไฝ่ใจถูกต้อง
    ..........3. สัมมาวาจา คือการพูดจาที่ชอบหรือถูกต้อง
    ..........4. สัมมากัมมันตะ คือการกระทำชอบหรือถูกต้อง
    ..........5. สัมมาอาชีวะ คือการดำรงชีพชอบหรือถูกต้อง
    ..........6. สัมมาวายามะ คือความพากเพียรชอบหรือถูกต้อง
    ..........7. สัมมาสติ คือการระลึกประจำใจชอบหรือถูกต้อง
    ..........8. สัมมาสมาคือ การตั้งใจมั่นที่ชอบหรือถูกต้อง
    ผู้ใดถึงพร้อมด้วยอริยะมรรคมีองค์8 ผู้นั้นย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาท เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยทางอันก้าวไปสู่ ความดีทั้งปวง เป็นทางอันก้าวไปสู่ความเจริญยิ่งในธรรม เป็นทางอันก้าวตรงไปสู่อรหันตมรรค เป็นทางอันก้าวไปสู่อรหันตผล เป็นทางตรงอันก้าวไปสู่พระนิพพานเป็นที่สุด ผู้ใดเจริญอยู่ด้วยอริยะมรรคมีองค์8จึงนับได้ว่าเป็นผู้เดินทางสายกลาง เป็นผู้ไม่ประมาทในธรรมทั้งปวง เป็นผู้ไม่หลงทาง เป็นผู้กำลังมุ่งตรงสู่พระนิพพาน ครับสาธุ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,650
    ค่าพลัง:
    +20,326
    =======

    เมื่อท่านศึกษามาก็ดี ปฏิบัติธรรมมาแล้วก็ดี ปัญญเกิดแล้ว นิมิตเกิดแล้ว อภิญญาเกิดแล้ว ธรรมารมณ์เกิดแล้ว ปัญญาในธรรมทั้งหลายเกิดแล้ว
    ท่านอย่าลืมนำสัมมาทิฏฐิเข้าไปประกอบรู้อยู่ในธรรมทั้งหลายเหล่านั้นด้วยเสมอว่า
    อันนิมิตเหล่านั้น อภิญญาเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้น ปัญญาในธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ดีงาม ชอบแล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งตน และผู้อื่น เป็นเครื่องป้องกันกิเลสมารไม่ให้เข้ามาครอบงำ เป็นเครื่องรักษาไว้ไม่ให้จิตตกลงสู่ที่ต่ำหรือที่ชั่ว เป็นเครื่องชำระจิตให้สะอาดบริสุทธิ์ อันปัญญาท้งหลายเหล่านั้นเป็นปัญญาที่ดี ที่ถูกต้อง ที่ชอบแล้ว ถูกต้องแล้วตามกฏไตรลักษณ์ ถูกต้องแล้วสอดคล้องตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า เช่นนี้แล้วจึงมั่นใจได้ว่า อันปัญญาในธรรมทั้งหลายที่เกิดที่มีที่ได้นั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ คือชอบแล้วถูกต้องแล้วดีงามแล้ว
    หากไม่ใช่ หรือตรงกันข้าม พึงเข้าใจว่า นั้นคือมิจฉาทิฏฐิ ให้ละปล่อยวาง เพราะเป็นธรรมฝ่ายอกุศล เมื่อละปล่อยวางได้แล้ว อันกิเลสมาร พยามารผู้มีมิจฉาทิฏฐิทั้งหลายย่อมแพ้พ่ายปราชัยแก่เรา

    เช่นนี้แล้วด้วยสัมมาทิฏฐิจึงกล่าวได้ว่าทำให้เราเป็นผู้ไม่ประมาทในธรรมและเป็นผู้ไม่หลงทางอีกต่อไปครับ สาธุ

     
  18. ไผ่มรกต

    ไผ่มรกต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,896
    การเจริญสมาถะกรรมฐานแบบพลิกฝ่ามือของท่านพระคุณเจ้าดาบส สุมโน
    การฝึกจิต ด้วยการเดินสติแบบตามรู้ ด้วยการรู้ว่าใครเป็นผู้รู้ ใครเป็นผู้เพ่ง ใครเป็นเป็นเดิน จิตดูจิต จิตอยู่เหนือสังขารทั้งหลาย จิตอยู่เหนือความเป็นโลก จิตอยู่เหนือความเป็นทิพย์ ทุกอย่างเกิดขึ้นได้เพราะมีผู้รู้ และดับลงไปก็รู้อยู่ โดยตามเห็นว่าใครเป็นผู้รู้ ใครกันเล่าเป็นผู้เพ่ง เหมือนรอยไถที่เปลี่ยนหน้าดินอันเจริญแล้วซึ่งทุกอย่าง ให้กลับพลิกลงไปสู่ใต้ดิน มีเพียงผู้รู้คอยดูอยู่ ซึ่งคันไถเองก็ไม่ใช่ผู้รู้ เป็นเพียงเครื่องมือของผู้รู้ แผ่นดินอันอุดมไปด้วยสรรพสิ่ง ก็ไม่ใช่ผู้รู้ แต่ผู้รู้อยู่เหนือสังขารทั้งหลาย ดั่งพระพุทธองค์ทรงเป็นพุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ควรแล้วที่กุลบุตรอย่างชาวจิตเกาะพระทั้งหลายควรที่จะเจริญตาม
    เมตตาธรรม โดยครูบาพุฒิ หวันมูล อาศรมไผ่มรกต
    รู้แล้ววาง วางแล้วว่าง ว่างแล้วอยู่ อยู่แล้วพุทธะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ...ยากกว่าการเกิด...

    ...ในการที่เรเกิดมา...

    ...ชีวิตแห่งการเกิดนั้นง่าย...

    ...แต่ชีวิตแห่งการอยู่นั้นสิยาก...

    ...จะทำอย่างไรให้อยู่ได้อย่างสุขสบาย...

    ...เมื่อเราเกิดมาแล้ว...พ่อแม่ก็ตอ้งอุ้มชูเลี้ยงดู...

    ...เราให้มีควมสุข...คอยอบรมให้เราเป็นคนดี...

    ...คนที่ลืมตาดูโลกมานั้นง่าย...เพราะยังเป็นเด็กไร้เดียงสา...

    ...ทำอะไรก็ไม่เป็น...ไม่ต้องคิดไม่ต้องทำอะไรจึงง่าย...

    ...การอยู่ยากนั้น...เพราะการมีชีวิตอยู่ถ้าอยู่กับผู้นำที่ดี...

    ...อบรมสั่งสอนดีปลูกฝั่งความดี...ให้ตั้งแต่เริ่มต้น...

    ...ผู้ที่ถูกอบรมมาดี...เจอสิ่งแวดล้อมที่ดีมาตลอด...

    ...เขาก็จะเริ่มต้นชีวิต...ในทางถูกต้องเพราะเป็นคนมีศีลธรรม...

    ...เมื่อเขาเป็นคนมีศีลธรรม...ประจำใจเขาก็จะไม่ทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง...

    ...เขาผู้นั้นก็จะพบแต่ความสุข...ในชีวิตและดูแลครอบครัวได้ดี...

    ...ให้ครอบครัวมีความสุขตลอดไป...ขอฝากเป็นข้อคิดว่า...

    ...จะยากหรือง่ายนั้นอยู่ที่ตัวผู้นำ...และตัวผู้ฝึก...

    ...ขอให้ผู้อ่านทุกๆท่านอ่านแล้วสบายใจและได้ข้อคิดดีๆ.สวัสดีค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กุมภาพันธ์ 2013
  20. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    (ยึดจึงเดือดร้อน)

    ...ทุกวันนี้ เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อน...ก็เพราะมนุษย์...ไปยึดโน่นยึดนี่...

    ยึดพวกยึดพ้อง...ยึดหมู่ ยึดคณะ...ยึดประเทศ...เป็นสรณะโดยไม่คำนึงถึงกรรม

    สากลจักรวาล...โลกมนุษย์นี้...ทุกคนมีกรรมตามวาระ...ตามกรรมจึงเกิดมาเป็นสัตวโลก

    สัตวโลกทุกคนต้องใช้กรรมตามวาระ...ตามกรรมถ้าทุกคนยึดถือเป็นอารมณ์ก็จะเกิดการ

    เข่นฆ่ากันเกิดการฆ่าฟันกัน...เพราะอารมณ์แห่งการยึดถืออายตนะ...ฉนั้นต้องพิจารณา

    ให้ถ่องแท้ว่าสิ่งใดดี...สิ่งใดชั่วแล้วสัตวโลกจะมีความสุขหรือไม่...สิ่งนั้นควรทำ...

    พระธรรมคำสอนของหลวงปู่ทวด. ลูกขอน้อมกราบหลวงปู่ด้วยเศียรเกล้าเจ้าค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กุมภาพันธ์ 2013

แชร์หน้านี้

Loading...