จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ขออนุโมทนา กับคุณคนฝั่งโขงค่ะ ที่เอาธรรมะสอนตน ของหลวงปู่สิม มาลงเพื่อเป็นธรรมทาน เพราะคนเราถ้าจะเริ่มเรียน เราต้องเรียนรู้ถึงตัวเราเองก่อน
    ให้พิจจารณถึงตัวเองก่อนว่าเราได้เรียนรู้ถึงตัวเราเองและสอนตนเองได้หรือยัง
    ธรรมะนี้จะสอนให้เรา. สอนตนเองได้ ถ้าเราใช้ความ ขยันมั่นเพียรเรียนรู้กับตัว
    เราเองให้ทั่วๆทุกชอกทุกมุมในตัวเราจนเกิดปัญญาสอนตัวเองได้ ให้เหมือน
    ธรรมะหลวงปู่สิม พุธาจาโร ท่านได้ฝากไว้ ลูกขอน้อมรับไว้เจ้าค่ะ สาธุ สาธุ สาู
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2012
  2. ลุงไชย

    ลุงไชย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +2,436
    หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

    [​IMG]

    เวลาเหลืออีกไม่มากแล้ว ให้รีบพากันปฏิบัติ..
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 139_resize.jpg
      139_resize.jpg
      ขนาดไฟล์:
      27.8 KB
      เปิดดู:
      245
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 ธันวาคม 2012
  3. NOKMAM

    NOKMAM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    300
    ค่าพลัง:
    +6,157
    พุทธสุภาษิต วัดหนองป่าพง หลวงปู่ชา สุภัทโธ จ.อุบลราชธานี


    [​IMG]
     
  4. NOKMAM

    NOKMAM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    300
    ค่าพลัง:
    +6,157
    พุทธสุภาษิต วัดหนองป่าพง หลวงปู่ชา สุภัทโธ จ.อุบลราชธานี

    [​IMG]
     
  5. NOKMAM

    NOKMAM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    300
    ค่าพลัง:
    +6,157
    [​IMG]
     
  6. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    วาทะพระมหาเถระ
    พระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์. พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี.
    ท่านกล่าวไว้ ว่า ธรรมะเป็นเครื่องชำระจิตทำให้ผ่องใสสะอาด ธรรมะคำสั่งสอนของพระสัมมา
    สัมพุทธเจ้า. ทำตนของเราผู้ประพฤติให้เป็นคนดีขึ้น โดยลำดับ. เพราะฉะนั้นเป็นการจำเป็น
    ที่สุด. ที่เราจะต้องฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า. ถ้าหากไม่มีธรรมเป็นเครื่องแทรกซึมเข้ากับจิตกับใจ จิตใจของเรามันหันเหไปทางอื่น คือไปทางโลกเสียเป็นส่วนมาก ขอฝากไว้กับผู้อ่านทุกๆท่านค่ะสาธุ
     
  7. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ขออภิมหาโมทนาสาธุๆๆ
    จิตเดิมแท้ของพระ...เริ่มออกมาฉายแววแร๊ะ
    เอาอีกๆๆ ควักปัญญาเดิมๆของเจ้าออกมากๆ เยอะๆๆๆๆ
    เอาไปๆๆๆๆๆๆๆ
     
  8. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ธรรมะ ธรรมดา ธรรมะ สบายๆ

    ก็คือ ธรรมะใกล้ตัวของเรานี่เอง
    แต่ถ้าจิตของผู้ปฎิบัติ เข้าถึงธรรมชาติแห่งจิตตนเองนะ(กระแสจิต)
    กระแสธรรมก็อยู่ตรงนี้แหล่ะ
    แต่กว่าจะหาเจอกัน พวกเราจะต้องรู้จักวิธีที่จะทำให้จิตตนเองนิ่งมากๆเสียก่อน

    คนส่วนใหญ่มันเป็นทุกข์กัน ก็เพราะว่า จิตมันไม่นิ่ง
    ตราบใด เมื่อคนเรายังไม่รู้จัก คำว่า จิตนิ่ง
    ก็ยากจะพบเจอกับความสุขที่แท้จริงได้
    เพราะคนส่วนใหญ่ทุกวันนี้ เห็นมีแต่ความสุข ลุ่มๆดอนๆ หรือ สุขแบบชาวโลก
    คือสุขๆ ทุกข์ๆ สลับไปมาอยู่แบบนั้น

    เพราะฉะนั้น
    ความสุขของชาวโลก หรือ ปุถุชน ส่วนใหญ่มีความสุขกันแบบชั่วคราว
    เผลอๆ ถ้านับรวมกันหรือหักลบกลบหนี้กับความทุกข์แล้ว ภายในหนึ่งเดือนหรือหนึ่งปี
    ปรากฎว่า ความสุขมีไม่ถึงครึ่งของความทุกข์เลย

    แต่ความสุขของอริยบุคคล ((จิต)พระโสดาบัน-อรหันต์)
    ความสุขส่วนใหญ่มักเกิดจาก จิตนิ่ง จิตสงบสงัด จิตปลีกวิเวก
    แต่จะสุขมากน้อยเพียงใด ก็ไม่เท่ากันอีก
    เพราะความละเอียดของจิตผู้นั้น จิตยิ่งละเอียดมากย่อมเท่ากับ จิตว่างมากเท่านั้น
    จิตว่างมาก ก็แปลว่า จิตปราศจากกิเลสรบกวนมากเท่านั้น
    แต่จิตจะว่างมาก ก็ต่อเมื่อจิตรู้สึกปล่อยวางมากเท่านั้น
    เช่น จิตอรหันต์ย่อมมีสุขเหนือสุขมากกว่า จิตพระโสดาบัน เป็นต้น

    ผู้ปฎิบัติอย่าลืมนะว่า ผู้ที่ทำหน้าที่ละ-ปล่อย-วาง จากสรรพสิ่งทั้งหลาย ทั้งปวงนั้น
    ก็คือ จิต มิใช่เรา หรือ สติเรา

    เพราะฉะนั้น
    เมื่อพวกเรารู้อย่างนี้แล้วว่า ความสุขจากข้างนอกจิตนั้น ไม่มีจริง มีแค่ความสุขหลอก(ชั่วคราว)
    เพราะความสุขที่แท้จริง ก็คือ จิตว่าง หรือ จิตที่ปราศจากกิเลสเท่านั้น
    บางที่เขาไม่ได้เรียกว่า ความสุขนะ แต่เขาเรียกว่า สุขเหนือสุข บรมสุข
    เพราะจิตตั้งแต่จิตอรหันต์นั้น จิตท่านนอกจากจะอยู่เหนือทุกข์แล้ว ก็ต้องอยู่เหนือ คำว่า สุขด้วย
    เรียกง่ายๆก็คือ จิตไม่เอาทั้งทุกข์และสุข ไม่ยินดีหรือยินร้ายกับผู้ใดหรืออะไรทั้งนั้น

    แต่กว่าจิตผู้ใดจะมาถึงตรงนี้ได้ จิตจะต้องได้ปัญญาณ ไม่ใช่แค่ปัญญาเฉยๆ
    หรือปัญญาที่เกิดจากฌาน เพราะเมื่อฌานถอย ปัญญาหายไปด้วย แล้วก็กลับมาทุกข์ได้ดังเดิม
    อันนี้ยังถือว่า ใช้ไม่ได้
    และไม่ต้องมาพูดกันมากแล้วว่า ปัญญานั้นมาจากที่ไหน
    นี่ไง๊เล่า...ศีล สมาธิ ปัญญา หรือ มรรคมีองค์ ๘
    เดินตามรอยอริยมรรคนี้ หรือเดินตามสายกลางนี้นะ
    ส่วนปัญญาทางโลกไม่ใช่นะ เพราะปัญญาทางโลกเปรียบได้แค่ สัญญาในทางธรรมเท่านั้น
    เพราะปัญญาทางโลก หรือความรู้ทางโลก ซึ่งเกิดจากสมองจำ อันนั้นใช้ไม่ได้
    แต่ทางโลกทิพย์ หรือ ผู้ปฎิบัติท่านนั้นจะต้องนำจิตไปเดิน ไปเรียนรู้+ปฎิบัติตามมรรคที่กล่าวมาแล้ว

    ปล.ผู้ใดถวายโค กระบือ หรือ บริจาคควาย(ความหลง)ของตนเองได้
    ก็มีสิทธิ์ไปพระนิพพานกันได้ทุกคน
    เพราะว่าบบ.กำลังจะสอนให้พวกเราไปพระนิพพานง่ายๆ แต่ไปอบายภูมิยาก

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 ธันวาคม 2012
  9. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    จิตอิ่มอารมณ์พิจารณาปัญญาได้ง่าย. ธรรมะจากหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน.
    ท่านได้กล่าวไว้ว่า สติเป็นเรื่องสำคัญมากนะ เรื่องสตินี้เว้นไม่ได้ ไม่ว่าไม่ว่าจะอยู่ที่ใดของนักภาวนา จะเผลอไปไม่ได้ นี่คือหลักภาวนาเพื่อจะให้จิตสงบ ถือเรื่องความปรุงความแต่งเป็นข้าศึกของใจ เป็นข้าศึกของสมาธิภาวนา สติให้รู้ แม้ทำการทำงานอะไรอยู่ก็ให้เป็นสัม
    ปชัญญะ คือ ให้ความรู้อยู่กับตัวๆ ผู้เป็นนักภาวนาต้องเป็นอย่างนั้น จึงต้องลำบาก จิตนี่ต้องถูกควบคุมอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าอิริยาบถใด นอกจากหลับเท่านั้น ต้องถูกควบคุมอยู่ตลอดจึงเรียกว่า ผู้รักษาใจ. เมื่อควบคุมด้วยสติแล้ว จิตย่อมจะเ้ข้าสู่ความสงบเย็นใจสบาย
    ได้ สบายหลายครั้งหลายหน. สงบหลายครั้งหลายหน ก็เป็นฐานแน่นหนามั่นคงขึ้นมาที่ใจ
    แน่นปึ๋ง แน่นปึ๋ง นั่นแหล่ะใจสมาธิ. จากความสงบหลายครั้งหลายหน สร้างฐานขึ้นมาในตัวเองให้เกิดความมั่นคงขึ้นได้ เพียงขั้นนี้ก็สบายแล้ว ไม่มีอะไรกวน อะไรจะกวน นอกจาก รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสำผัส ไดยหมายเอารูปข้างนอกมาเป็นสัญญาอารมณ์. ทั้งๆที่ใจ
    เป็นไปปรุงไปแต่งเรื่องราวเหล่านั้นขึ้นมา รูปไม่ทราบเขาอยู่ที่ใหน เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส ไม่ทราบเขาอยู่ที่ใหน แต่ผู้นี้ปรุงขึ้นมาสดๆ ร้อนๆ เผาตัวเอง มันจึงเกิดความทุกข์
    ขึ้นมา. เมื่อความสงบมันทับหัวใจอยู่แล้ว มันก็ไม่ปรุงไม่แต่ง แล้วก็อิ่มอารมณ์ในตัวเอง คือ ใจอิ่มในตัวเอง ได้อาหาร คือ ความสงบ เป็นเครื่องดื่ม เป็นเครื่องเสวย จึงไม่หิวโหยในอารมณ์ทั้งหลายซึ่งเป็นพิษเป็นภัยเหล่านั้น ใจสบาย นี่เรียกว่า ใจอิ่ตัว เมื่ออิ่มตัวแล้วจะ
    พาก้าวไปทางปัญญาจึงง่าย เพราะอะไร เพราะไม่เถลไถล นี่คือจิตอารมณ์พิจารณาปัญญาง่าย. ธรรมะจากหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนท่านได้ฝากปัญญาไว้ค่ะ ผู้เขียน
    ขอน้อมรับไว้เจ้าค่ะ กราบขอบพระคุณหลวงตาเจ้าค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ธันวาคม 2012
  10. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    อานิสงค์แห่ง"ความว่าง"

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

    ๖. อากังเขยยสูตร
    ว่าด้วยข้อที่พึงหวังได้ ๑๗ อย่าง



    [๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
    อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี.

    ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า.

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพุทธพจน์นี้ว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีศีลอันสมบูรณ์
    มีปาติโมกข์อันสมบูรณ์อยู่เถิด จงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์
    ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่เถิด
    จงเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย
    สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด.


    -------------------------------------

    [๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
    ขอเราพึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ
    และเป็นผู้ควรยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายเถิด

    ดังนี้ ภิกษุนั้น พึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล
    หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง
    ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

    -------------------------------------

    [๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
    ขอเราพึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเถิด ดังนี้
    ภิกษุนั้น พึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
    ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

    -------------------------------------

    [๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
    เราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของเทวดาหรือมนุษย์เหล่าใด
    สักการะเหล่านั้นของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นพึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่เถิด ดังนี้
    ภิกษุนั้นพึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
    ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

    -------------------------------------

    [๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
    ญาติและสาโลหิตของเราเหล่าใด ล่วงลับทำกาละไปแล้ว มีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงอยู่
    ความระลึกถึงด้วยจิตอันเลื่อมใส ของญาติและสาโลหิตเหล่านั้น
    พึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่เถิด ดังนี้
    ภิกษุนั้นพึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
    ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

    -------------------------------------

    [๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
    เราพึงเป็นผู้ข่มความไม่ยินดีและความยินดีได้
    อนึ่ง ความไม่ยินดีอย่าพึงครอบงำเราได้เลย
    เราพึงครอบงำย่ำยี ความไม่ยินดีอันเกิดขึ้นแล้วได้อยู่เถิด ดังนี้
    ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
    ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

    -------------------------------------

    [๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงหวังว่า
    เราพึงเป็นผู้ข่มความกลัวและความขลาดได้
    อนึ่ง ความกลัวและความขลาด อย่าพึงครอบงำเราได้เลย
    เราพึงครอบงำ ย่ำยี ความกลัวและความขลาดที่เกิดขึ้นแล้วได้อยู่เถิด ดังนี้
    ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
    ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

    -------------------------------------

    [๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
    เราพึงเป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเกิดขึ้นเพราะจิตยิ่ง เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม
    ตามความปรารถนาพึงได้ไม่ยาก ไม่ลำบากเถิด ดังนี้
    ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
    ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

    -------------------------------------

    [๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
    เราพึงถูกต้องด้วยกายซึ่งวิโมกข์อันก้าวล่วงรูปาวจรฌานแล้ว
    เป็นธรรมไม่มีรูปสงบระงับอยู่เถิด ดังนี้ ภิกษุนั้น
    พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
    ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

    -------------------------------------

    [๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
    เราพึงเป็นโสดาบันเพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ๓ พึงเป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
    เป็นผู้เที่ยงมีอันตรัสรู้เป็นเบื้องหน้าเถิด ดังนี้
    ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
    ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

    -------------------------------------

    [๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
    เราพึงเป็นพระสกทาคามี เพราะความ สิ้นไปแห่งสังโยชน์ ๓ [และ]
    เพราะราคะ โทสะ โมหะ เป็นสภาพเบาบาง พึงมาสู่โลกนี้ เพียงครั้งเดียว
    แล้วพึงทำที่สุดทุกข์ได้เถิด ดังนี้
    ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
    ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

    -------------------------------------

    [๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
    เราพึงเป็นอุปปาติกสัตว์ เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
    พึงปรินิพพานในพรหมโลกนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดาเถิด ดังนี้
    ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
    ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

    -------------------------------------

    [๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
    เราพึงบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวพึงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนพึงเป็นคนเดียวก็ได้
    ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัด
    เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ พึงผุดขึ้น ดำลง แม้ในแผ่นดิน เหมือนในน้ำก็ได้
    พึงเดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้
    ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้
    ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้เถิด ดังนี้
    ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
    ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

    -------------------------------------

    [๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
    เราพึงได้ยินเสียงทั้ง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์
    ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์เถิด ดังนี้
    ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
    ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

    -------------------------------------

    [๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
    เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ
    คือ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ
    จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ
    จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ
    จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
    จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต
    จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
    จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ
    จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้นเถิด ดังนี้
    ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
    ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

    -------------------------------------

    [๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
    เราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ พึงระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง
    สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง
    สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง
    ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง
    ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น
    มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ
    มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น
    แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
    มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
    ครั้นจุติจากภพ นั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราพึงระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก
    พร้อมทั้งอาการพร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้เถิด ดังนี้
    ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
    ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

    -------------------------------------

    [๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
    เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติเลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม
    ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์
    พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต
    วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ
    ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาถึงเข้าอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

    ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต
    ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ
    เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้
    เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม
    ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็น
    ไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้เถิด ดังนี้
    ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
    ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.

    -------------------------------------

    [๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า
    เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
    เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่เถิด ดังนี้

    ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
    ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา
    พอกพูนสุญญาคาร.

    -------------------------------------

    คำใดที่เรากล่าวแล้วว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีศีลอันถึงพร้อม มีปาติโมกข์อันถึงพร้อมแล้วอยู่เถิด
    เธอทั้งหลายจงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์
    ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรอยู่เถิด

    เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย
    สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด ดังนี้

    คำนั้น อันเราอาศัยอำนาจประโยชน์นี้ จึงได้กล่าวแล้ว ฉะนี้แล.

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
    ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.

    -------------------------------------


    หากเรามี"มหาสติ"หมั่นละวางในสรรพสิ่งต่างๆออกจากจิตตนเองได้มากแล้ว..
    "ความว่าง" ในจิตก็ย่อมที่จะพอกพูนมากยิ่งๆขึ้น ตามลำดับแห่งวาระจิตที่พัฒนาไป..
    "ความว่าง" อันเกิดจากวิปัสสนาญาณ ปัญญาญาณ รู้-วางสรรพสิ่งทั้งปวงลงได้
    จึงจักเป็นความว่างที่มีความเสถียร คงตัว และทรงตัวได้เป็นอัตโนมัติแห่งจิต
    นี้แล.. จึงจะเป็นการทรง"วิหารธรรมสูญญตา"อยู่ตลอดทุกเวลานาที อย่างแท้จริง
    เชกเช่นพระพุทธเจ้า พระอรหันต์สาวกเจ้าทั้งหลาย ซึ่งทรงวิหารธรรมนี้อยู่ตลอดทุกลมหายใจ..


    ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ.. สาธุสวัสดี
     
  11. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    พระโสดาบันบุคคล คิดว่าท่านรู้และละได้โดยข้ออุปมาว่า

    มีบุรุษผู้หนึ่งเดินทางเข้าไปในป่าลึก ไปพบบึงแห่งหนึ่งมีน้ำใสสะอาดและมีรสจืดสนิทดี แต่น้ำนั้นถูกจอกแหนปกคลุมไว้ ไม่สามารถจะมองเห็นน้ำโดยชัดเจน

    เขาคนนั้นจึงแหวกจอกแหนที่ปกคลุมน้ำนั้นออกแล้วก็มองเห็นน้ำภายในบึงนั้นใสสะอาดและเป็นที่น่าดื่ม จึงตักขึ้นมาดื่มทดลองดู ก็รู้ว่าน้ำในบึงนั้นมีรสจืดสนิทดี เขาก็ตั้งหน้าดื่มจนเพียงพอกับความต้องการที่เขากระหายมาเป็นเวลานาน


    เมื่อดื่มพอกับความต้องการแล้วก็จากไป ส่วนจอกแหนที่ถูกเขาแหวกออกจากน้ำก็ไหลเข้ามาปกคลุมน้ำตามเดิม

    เขาคนนั้นแม้จากไปแล้วก็ยังมีความติดใจ และคิดถึงน้ำในบึงนั้นอยู่เสมอ และทุกครั้งที่เขาเข้าไปในป่านั้น ต้องตรงไปที่บึงและแหวกจอกแหนออก แล้วตักขึ้นมาอาบดื่มและชำระล้างตามสบายทุก ๆ ครั้งที่เขาต้องการ เวลาเขาจากไปแล้วแม้น้ำในบึงนั้นจะถูกจอกแหนปกคลุมไว้อย่างมิดชิดก็ตาม

    แต่ความเชื่อที่เคยฝังอยู่ในใจเขาว่า น้ำในบึงนั้นมีอยู่อย่างสมบูรณ์หนึ่ง น้ำในบึงนั้นใสสะอาดหนึ่ง น้ำในบึงนั้นมีรสจืดสนิทหนึ่ง ความเชื่อทั้งนี้ของเขาจะไม่มีวันถอนตลอดกาล

    ข้อนี้ เทียบกันได้กับโยคาวจร ภาวนาพิจารณาส่วนต่างๆ ของร่างกายชัดเจนด้วยปัญญาในขณะนั้นแล้ว จิตปล่อยวางจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หยั่งเข้าสู่ความสงบหมดจดโดยเฉพาะ ไม่มีความสัมพันธ์กับขันธ์ทั้งหลายเลย

    และขณะนั้น ขันธ์ทั้งห้าไม่ทำงานประสานกับจิต คือต่างอันต่างอยู่ เพราะถูกความเพียรแยกจากกันโดยเด็ดขาดแล้ว ขณะนั้นแลเป็นขณะที่เกิดความแปลกประหลาดและอัศจรรย์ขึ้นมาอย่างไม่มีสมัยใดๆ เสมอเหมือนได้ นับแต่วันเกิดและวันปฏิบัติมา แต่ก็ได้เห็นสิ่งมหัศจรรย์ปรากฏขึ้นในเวลานั้น

    จิตก็ได้ทรงตัวอยู่ในความสงบสุขชั่วระยะกาล แล้วจึงถอนขึ้นมา พอจิตถอนขึ้นมาจากที่นั้นแล้ว ขันธ์กับจิตก็เข้าประสานกันตามเดิม..


    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี
     
  12. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    ตนไม่ยอมชนะใจตน ตนไม่ฝึกตน
    ตนไม่เป็นที่พึ่งแห่งตน แล้วใครจะพึ่งตนได้


    "... น้ำครำต้องบำบัดอย่างไรให้น้ำสะอาด ขยะมูลฝอยเขาทำอย่างไรให้สะอาด ไม่ใช่ของง่าย จิตนั้นสกปรกกว่าขยะ หมักหมมกว่าน้ำคลำเสียอีก จึงจำเป็นจะต้องขู่เข็ญตะคอกเอาเป็นเอาตายกับมัน ถ้าไม่หยุดคิด ไม่อยู่กับองค์ภาวนา จะไม่ยอมเลิกรากัน เอาเป็นเอาตายกัน นั่นเป็นนิสัยของหัวใจสิงห์ คือหัวใจผู้ที่จะได้มรรคผลนิพพาน

    พวกที่ใจอ่อนแอขี้แยพวกนี้ไม่ได้อะไร เกิดมาเสียชาติเปล่า ตายเสียดีกว่าอย่าอยู่เลย เพราะเป็นพวกไม่เอาจริงเอาจัง อยู่ไปก็รกโลกหาประโยชน์มิได้เลย ถึงให้ทานทำความดีซักปานใด ประโยชน์นั้นก็ไม่ถึงแห่งแดนพระนิพพาน เพราะเหตุแห่งว่าตนไม่ยอมชนะใจตน ตนไม่ฝึกตน ตนไม่เป็นที่พึ่งแห่งตน แล้วใครจะพึ่งตนได้ แม้ตนเองยังพึ่งตนไม่ได้ จะให้ใครมาพึ่งนั้น ก็เห็นจะไม่ได้เช่นเดียวกัน..."

    พระธรรมเทศนา โดย พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงพ่อครูบาเจ้าเพชร วชิรมโน
    ขออนุโมทนาในธรรมทานจาก Paron Yodkraisri | Facebook
     
  13. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    “... ขันติที่ถูกต้องบริสุทธิ์ คือ
    อดทนด้วยความเต็มใจและพอใจในปัจจุบัน
    ไม่ใช่ทนด้วยใจที่เป็นทุกข์
    แต่ ทำใจได้ รักษาใจเป็นปกติได้ ...”

    พระอาจารย์ มิตซูโอะ คเวสโก
     
  14. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    "หยุดชั่ว มันก็ดี" โดย หลวงพ่อชา สุภัทโท

    คนเราบางคน บางทีก็อยากจะเอาบุญ
    เช่น ผ้ายังสกปรกอยู่...ยังไม่ได้ทำความสะอาด
    แต่อยากจะย้อมสีซะแล้ว

    ลองเอาผ้าเช็ดเท้าที่ยังไม่ได้ฟอกไปย้อมสีดูซิ...มันจะสวยไหม ?

    การไม่กระทำบาปนั้น...มันเลิศที่สุด
    บางคนบางคราว โจรมันก็ให้ได้ มันก็แจกได้
    แต่ว่าจะพยายามสอนให้มันหยุดเป็นโจรนั่นนะ มันยากที่สุด

    การจะละความชั่ว ไม่กระทำผิด...มันยาก
    "การทำบุญ" โจรมันก็ทำได้ มันเป็น..."ปลายเหตุ"
    "การไม่กระทำบาป" ทั้งหลายทั้งปวงนั้นนะ เป็น..."ต้นเหตุ"​
     
  15. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    "การไม่กระทำบาป" ทั้งหลายทั้งปวงนั้นนะ เป็น..."ต้นเหตุ"

    นี่เป็นเหตุผลว่า ทำไมการรักษาศีล จึงจำเป็น
    ไม่รักษาศีล ทำยังไง สัมมาสมาธิ สัมมาปัญญาก็เกิดยาก


    กราบหลวงพ่อชาด้วยเศียรเกล้า
     
  16. aomnitta

    aomnitta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2012
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +100
    สาธุ ค่ะ พี่ต้อย
     
  17. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    ตอบการบ้าน

    อันนี้ล่ะค่ะที่ตัวเองสับสนตั้งแต่เริ่มจิตเกาะพระ และยังสับสนมาจนทุกวันนี้

    แต่ก่อนก็จะฝึกดูกาย จิตอยู่กับกาย แต่พอฝึกจิตเกาะพระ เหมือนเราต้องส่งจิตไปนึกภาพพระ ไปอยู่กับพระ เลยไม่ค่อยได้อยู่ที่กาย ที่เคยบ่นกับครูบ่อยๆ ว่า เราต้องส่งจิตออกนอก ถึงแม้จะนำภาพพระมาอยู่ในท้อง ก็เหมือนกับส่งจิตเข้าข้างใน ก็จะไม่เห็นกายทำงานอีก เหมือนกับเวลาที่เรานึกอะไรสักอย่าง ณ ขณะนั้นเราก็จะลืมกาย ลืมใจไปชั่วขณะ คล้ายๆ คนใจลอย เลยไม่รู้ว่า จริงๆ แล้วเค้านึกภาพพระกันยังไง ถึงมีสติกัน ไม่เข้าใจจริงๆ ค่ะ :eek:



    เราเอาจิตแว๊บไปนึกถึงพระ 6-8 ครั้ง/ชม. แล้วช่วงอื่นทำอะไร ก็ดูกายดูจิตไป ตอนพิมพ์ก็ดูกาย สติรับรู้สัมผัสที่ key board ไม่ใช่พิมพ์ไป ไปคิดเรื่องอี่น แต่พิมพ์ไปด้วย คือมีสติรับรู้กับสิ่งที่ทำ เวลาเดินไปซื้อของตาก็ดูไปแต่เวลาเดินเท้ากระทบก็มีสติรับรู้ เป็นการฝึกแยกกายแยกจิตค่ะ ถ้าทำได้อย่างนี้จะไป shopping สัก 3 ชม. ก็ยังถือว่าปฏิบัติธรรมอยู่ และนึกถึงพระไว้ด้วย แค่คิดแว๊บๆ

    พอเห็นเสื้อสวยๆอยากได้ ก็มาดูจิตรับรู้ที่ความอยากได้ ดูความอยากอยู่นานไหม มันดับไปเมื่อไร ถ้าไม่ได้ซื้อแล้วกลับมายังนึกถึงมันอีก ก็จงรู้ไว้เถิดว่าโดนไฟกิเลสแผดเผาแล้ว อิอิ หรือบางทีเกิดเห็นขึ้นมาว่าเสื้อนี้ใหม่ในวันนี้ ต่อไปก็เก่าในวันหน้าก็แสดงว่าวิปัสสนาญานเกิดแล้ว (rose)

    ถ้าไม่ clear ก็ถามมาใหม่ได้ค่ะ
     
  18. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ของฝากสำหรับจิตบุญ

    บบ.สั่งเด็ดขาด
    จิตบุญท่านใดที่เจริญสติไม่พอ ชอบเผลอเลอ หรือ
    คิดว่าตนเองจิตยกไปแล้ว ก็เลยลืมอารมณ์ในขณะที่จิตยกใหม่ๆ(อารมณ์นิพพาน)
    จิตยกไปแล้ว ทุกข์ก็ยังมีอยู่กับขันธ์ ๕ แต่่ไม่มีผลกับจิตโดยตรง
    แต่จะมีผลโดยตรงกับจิตเฉพาะ ผู้ที่ชอบตกฌาน คือขาดการเจริญสติภาวนา
    สติจึงไม่ต่อเนื่อง จิตปัญญาก็เลยไม่เกิด
    เมื่อมีสิ่งกระทบจิตเข้ามาก บางครั้งเราเองก็รับไม่ไหว

    จิตบุญต้องมีสติอยู่ทุกอริยบถ
    ในเมื่อเราไม่ทิ้งสติ สติก็จะไม่ทิ้งเรา

    ถ้าเรามีสติอย่างต่อเนื่องแล้ว ปัญญาเราก็จะเกิด
    แต่ถ้าเราเผลอสติ ควายก็จะออกมาแทนสติ

    แต่ถ้าหากเจริญปัญญามาก จากจิตมนุษย์ก็จะค่อยๆเปลี่ยนเป็น จิตพระโพธิสัตว์

    แต่ถ้าใครชอบเผลอสติบ่อย หรือไม่เอาควายออกมาเพ่นพ่าน
    เดี๋ยวพี่ภูจะเอาควายออกกระทู้แทน
    อย่าให้พูดบ่อย มันเสียเวลา งานทางโลกทิพย์รออยู่อีกมาก
    โดยเฉพาะ จิตบุญผู้ที่จะถวายงานท่านพ่อ ต้องตื่นตัว
    ลูกพระพุทธเจ้า จะต้องทรงฌานเป็นปกติ เจริญปัญญา(วิปัสสนา)เป็นนิจ
    หรือ จะต้องเป็นผู้ที่มีปัญญามาก

    บบ.รู้นะว่า..จิตบุญคิดอะไรกันอยู่
     
  19. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    โมทนาสาธุกับธรรมาทานของคุณหมอด้วย
    ท่านกล่าวถูกและชอบแล้ว
    ศีลไม่แน่น สมาธิและปัญญาก็เกิดยาก
    ทำทั้งที ปฎิบัติทั้งที เจริญสติภาวนาทั้งที หรือเจริญรอยตามมรรคกันทั้งที
    ก็ขอให้กระทำด้วยความรักเคารพ เลื่อมใส ศรัทธา และความเพียรหรือตั้งใจ
    โดยเฉพาะกับผู้ปฎิบัติเพื่อมรรคผลนิพพาน ศีลต้องมาอันดับหนึ่ง

    สำหรับผู้ที่ผ่านเรื่องศีลไปแล้ว เข้าถึงธรรมชาติแห่งจิต(กระแสจิต)
    และเข้าถึงธรรม(กระแสธรรม)ไปแล้ว
    ต่อไปก็ขอใหเพัฒนาไปถึงจุดสูงสุด นั่นก็คือ จิตพุทธะ
    หรือจิตพบ..พระตถาคต
    และโมทนาสาธุ ในขณะนี้มีจิตบุญหลายท่าน กำลังเข้าถึงความเป็นจิตพุทธะ
    ต่อไปจิตจะมีอินทรีย์แก่กล้า ปัญญามาก ละ(ตัด)ขันธ์๕ได้เด็ดขาด
    และลืมความเป็นคราบของมนุษย์ไปในที่สุด เดี๋ยวจะเข้าเขตจิตพระโพธิสัตว์ในที่สุด
    โดยเฉพาะผู้ที่จะมาทำหน้าที่ตรง จิตจะต้องเป็นจิตพระโพธิสัตว์
    เพราะผู้มาทำหน้าที่กันตรงนี้ได้นั้น จะไม่หวังผลตอบแทนใดๆ
    นอกจากพระนิพพานเท่านั้น
    แต่ก่อนจะดับขันธ์ จะขอถวายงานหรือรับใช้เบื้องบน
    เพื่อตอบแทนท่านพ่อ ที่พระองค์ท่านทรงประทานจิตเกาะพระมาให้กับพวกเรา จนถึงทุกวันนี้
    และคาดว่า จะไม่มีอะไรหยุดยั้งความตั้งใจในการทำหน้าที่ของพวกเรา


     
  20. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ประกาศ!


    ขอให้จิตบุญ จิตบำเพ็ญ จิตเกาะพระ หรือ ผู้เจริญทั้งหลาย
    จงร่วมกันกล่าวโมทนากับชาวคณะเหล่า "จิตเกาะพระ"

    โดยเฉพาะ ครูผู้ฝึกสอนทุกท่าน ที่ท่านอุตส่าห์เสียสละเวลาส่วนตัว
    เพื่องานสัมมนาจิตเกาะพระสัญญจร รอบปกติ(ทุกเดือน)
    เพื่อถวายงานเบื้องบน
    โดยเฉพาะสมเด็จพ่อองค์ปฐม พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ และครูบาอาจารย์ทุกท่าน
    โดยเฉพาะพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน เป็นต้น

    ชาวคณะจิตเกาะพระ โดยเฉพาะครูผู้ฝึกสอน
    ได้แก่...
    1.ครูวิทย์ (ผู้นำบุญเคลื่อนที่ เรือลำนี้จะไม่จม)
    2.ครูปลื้ม (ผู้อำนวยการและเอื้อเฟื้อสถานที่+อาหาร)
    3.ครูน้องหนู
    4.ครูพี่เมศ
    5.ครูลูกหว้า
    5/6.ครูวัฒนา + คนรู้จิต
    7.จิตบุญ108 พี่น้อง
    8.คุณพี่จินดาพระ
    9.คุณปิง
    10.คุณแหม่ม
    11/12/13.คุณกิตติ์ธัญญา+สามี + คุณตูน
    14/15.คุณตุ้มและน้องสาว(สายครูหนุ่ม)
    16.คุณเล็ก(สายจิตบุญแป้ง)

    ปล.ถ้าหากมีสิ่งใดตกบกพร่อง พี่ภูขอกราบอภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วย
    และได้โปรดแจ้งเพิ่มเติม ให้ทราบทั่วกันด้วย
    และจะน้อมนำเอาข้อบกพร่องทั้งหมดนี้ ไปแก้ไขให้ดีที่สุดต่อไปครับ

    คุณแม่สุมาลี พี่ภูและครูเพ็ญ ขอแสดงความยินดี ซาบซึ้งใจ
    และขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง ที่ทุกท่านให้ความร่วมมือ
    แทนท่านพ่อและพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ด้วย

    ขอให้พวกเรา โดยเฉพาะจิตบุญ เจริญมหาเมตตาตามท่านพ่อด้วย
    ขอให้ทุกท่าน สุขกาย สบายใจ และเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ
    ขอโมทนา..สาธุๆๆ อีกครั้ง

    ภูทยานฌาน2
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 ธันวาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...