จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. watjojoj

    watjojoj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    562
    ค่าพลัง:
    +9,793
    ว่าจะเขียนตอบครูเพ็ญแต่ดันไม่รู้ว่าจะเขียนอะไรดี แฮะๆๆๆๆๆ อุตส่าห์ตั้งท่าจะเขียน
     
  2. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    ขอตอบด้วยคนค่ะ

    "จิตบุญ" ยังตื่นเต้นเรื่องน้ำฝนอยู่ไหม?
    เฉยๆค่ะ เมื่อวานยังนึกแปลกใจตัวเอง เมื่อก่อนเห็นฝนตกขนาดนี้ คงรีบไปซื้ออาหารมาเก็บไว้ แต่เมื่อวานคิดว่า อาหารที่มีอยู่ก็ืทานให้หมดก่อนก็แล้วกัน

    แต่ความคิดสงเคราะห์ผู้อื่นตอนเกิดเหตุ ยังมีอยู่
    ถ้าเกิดเหตุจริงๆก็คงออกไปช่วยเหมือนครั้งก่อนๆ
    ช่วยเพราะมีฉันทะที่จะไปช่วย ไม่ได้หวังอะไรแม้แต่กุศล

    "จิตบุญ" ยังตื่นเต้นเรื่องข่าวภัยพิบัติอยู่ไหม?
    เฉยๆค่ะ อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด
    สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

    "จิตบุญ" ยังเชื่อในสิ่งที่ยังพิสูจน์ไม่ได้อีกไหม?
    คงต้องไตร่ตรองดูก่อน บางเรื่องอาจมี แต่เราไม่ทราบ ก็ไม่ไปออกความเห็น
    บางเรื่องจะมีหรือไม่มีก็ไม่สนใจ ช่างมัน

    "จิตบุญ" ยังเชื่อในสิ่งที่ยังมาไม่ถึงอีกไหม?
    ช่างมัน อยู่กับปัจจุบัน ทำปัจจุบันให้ดี ดีกว่า

    "จิตบุญ" จิตพร้อมรับทุกสถานการณ์ไหม?
    พร้อม อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด
    มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ บังคับไม่ได้
    มันเป็นธรรมดา ซ้อมเตรียมตัวตายอยู่เนืองๆ
    เวลาสำหรับการสอบครั้งสุดท้ายจะมาเมื่อไรไม่ทราบ
    ทราบแต่ว่ามันสั้นลงทุกๆวัน


    จบ ๓๑ ;aa57
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กันยายน 2012
  3. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    สวัสดีครับ
    วันนี้มีปุจฉาจะมาถามคือ
    ทำไมผู้ปฎิบัติธรรม ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง (ผู้ชายหายไปไหนกันหมด..)
    ขอเชิญท่านๆร่วมวิสัชชนาตามประสบการณ์และมุมมองของท่านเองครับ..

    ปล.ข้อมูลสถิตินะครับ จิตบุญชายมีเพียง1ใน3 จิตบุญหญิงมี2ใน3..
     
  4. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    ปัจฉิมโอวาทก่อนปรินิพพาน

    “ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เป็นวาระสุดท้ายแห่งเราแล้ว เราขอเตือนพวกเธอทั้งหลายให้จำมั่นไว้ว่าสิ่งทั้งปวงมีเสื่อมและสิ้นไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด ”

    ลูกขอนอบน้อมกราบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระรัตนตรัยด้วยเศียรเกล้า




     
  5. บัวบุษกร

    บัวบุษกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +565

    อยากจะตอบว่า เฉยๆ ไม่รู้สึกกลัว แต่ถ้าเป็นเมื่อ5เดือนที่แล้ว คงเป็นคนแรกๆที่หนีก่อน ความเร็วประมาณสี่คูณร้อยเมตร อย่างไรอย่างนั้น...

    ทุกชีวิตล้วนก้าวย่างไปสู่ความเสื่อม และ นาทีสุดท้ายของชีวิต กายนี้ของเราก็หาไม่ จิตต่างหากที่ต้องไปต่อ ถ้ารู้ว่าจิตมีที่ไป ที่ซึ่งสว่าง สงบ ระงับซึ่งทุกข์ทั้งปวงแล้ว ไยต้องกลัวอะไรอีกเล่า


    จิตบุญใหม่จึงต้องหมั่นเจริญสติ สมาธิ และพิจารณากฎไตรลักษณ์อยู่เนือง ๆ ทำทุกวัน ทำทุกเวลานาทีที่เจอกระทบกับกิเลสโลก แล้วใช้ปัญญาฟาดฟันกิเลสให้ขาดสะบั้นห้ำหั่นอย่าให้เหลือซากคือความคิดชั่ว ๆ แม้คิดก็ไม่มีตัวตน ควรหรือที่จะไปยึดถือเอาคิดนั้นมาเป็นของเราจิต ขอให้พิจารณาใคร่ควรญธรรมให้ถี่ถ้วนและแจ้งในธรรมกันเทอญ

    โดนมากๆครูเพ็ญขา.... สงสัยตั้งแต่ครูวิทย์และครูปลื้มแล้ว เหมือนครูจิตบุญอ่านความคิด อ่านใจเราออก เวลาคิดหรือพิจารณาเรื่องอะไรอยู่ ท่านส่งคำตอบมาให้ ยังไม่ได้ถามเล้ย...โอเคค่ะ แจ่ม+แจ้ง แล้ว

    บัว


    <TABLE style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px" class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR title="Post 6700896" vAlign=top><TD class=alt1></TD></TR><TR><TD class=thead colSpan=2></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px" class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR title="Post 6700896" vAlign=top><TD class=alt1></TD></TR><TR><TD class=thead colSpan=2></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    บรรดาสัตว์ทั้งหลายนั้น เมื่อไม่มีทุกข์ มาถึงตัว
    มักไม่เห็น คุณพระศาสนา มัวเมาประมาท
    ปล่อยกายปล่อยใจ ให้ประพฤติทุจริต
    ผิดศีลธรรมอยู่เป็นประจำนิสัย
    เห็นผิดเป็นถูก เห็นกงจักรเป็นดอกบัว
    ...

    ต่อเมื่อ ได้รับทุกข์เข้า ที่พึ่งอื่นไม่มี
    นั่นแหละ จึงได้คิดถึงพระ คิดถึงศาสนา
    แต่ก็เป็นเวลาที่สายไปแล้ว

    หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

     
  7. บัวบุษกร

    บัวบุษกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +565
    นึกถึงเรื่องที่เคยอ่านเลยค่ะ (ขออภัยจำไม่ได้ว่าจากไหน หรือว่าจากทู้นี้นะ)

    เมื่อเครื่องบินเจอสถานการณ์ฉุกเฉิน อยู่ระหว่างความเป็นความตาย

    ผู้โดยสารทุกคนพากันสวดมนต์ อ้อนวอน ขอพระช่วย คุ้มครอง ฯลฯ

    แต่เมื่อกัปตันนำเครื่องบินลงจอดได้อย่างปลอดภัย

    ใครๆพากันเดินไปขอบคุณแอร์ฯ ซะงั้น

    อ้าว! แล้วที่สวดขอไว้ล่ะ...

    คนเราก็เป็นซะแบบนี้
    นึกถึงพระแค่เวลาต้องการให่ท่านช่วย
    (คุ้นๆว่าตัวเองก็เคยเป็น แหะ แหะ)

    ไม่ดีกว่าหรือ
    ถ้าเรานึกถึงท่านทุกขณะจิต
    มีพระอยู่ในใจ
    แบบไปไหนไปด้วย
    ...................

    แค่นึก ก็อุ่นใจ
     
  8. Espanda

    Espanda เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +720

    [​IMG]

    ขำ ๆ นะครับ อย่าคิดมาก ฮ่า ๆ ๆ
    ที่จริงผู้หญิงในโลกก็มากกว่าผู้ชายอยู่แล้วตั้ง 3:1
     
  9. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    5555555555..
    ถ้าจะจริงอย่างท่านแพนด้า ว่ามา..55555
     
  10. UncleGee

    UncleGee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2012
    โพสต์:
    4,016
    ค่าพลัง:
    +10,241
    ขอตอบว่า นอกจากผู้หญิงจะมีจำนวนมากกว่าผู้ชายแล้ว
    ผู้หญิงยังเผชิญกับความทุกข์มากกว่าผู้ชายด้วยครับ
     
  11. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ขอโมทนาบุญกับคุณบัวบุษกร ลูกศิษย์ครูวิทย์ กับคุณปลื้ม(อุไรรัตน์)ด้วยนะครับ ดีใจแทนดวงจิตท่านจริงๆ คือจิตผู้รอดพ้น มิใช่กายนะ จงอย่าเข้าใจผิด เพราะจิตเป็นใหญ่ จิตเป็นประธาน หรือจิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว แต่คนส่วนใหญ่นั้นเห็นกายเป็นใหญ่เสียแล้ว ก็เลยต้องหลงทางกันเข้าไปใหญ่ มัวแต่ไปสนใจที่มิใช่เรื่องจิต ก็ยิ่งนับว่าผู้นั้นดำเนินกิจยิ่งไปไกลลิบ คือไกลจากความจริงเข้าไปทุกๆวัน แล้วสักกี่ปี กี่ชาติ กี่ภพจึงจะหูตาสว่าง จึงจะรู้แจ้งเห็นจริงหรือแทงตลอดดั่งพระพุทธองค์กันเล่า..
     
  12. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ผู้เจริญ ผู้ขึ้นชื่อผู้มีปัญญาเป็นของตนเองแล้ว ไยเจ้าจะไปไขว่คว้า หรือแสดงหาเอาความสุขภายนอก หรือความสุขทางโลกกันไปไยเล่า ความสุขที่แท้จริงนั้นก็อยู่ภายในจิตใจของทุกคนนั้น ภายในนั้นมีทั้งสุข ทั้งทุกข์ ทั้งเฉย พวกเราก็เลือกเอากันเองกันทั้งนั้น มัวไปคิดโทษโจษคนอื่นไปไยเล่า จงมาทบทวนจิต จงอยู่กับตนเองนานๆแล้วตาจะสว่าง คนเราส่วนใหญ่มันวุ่นวายก็เพราะเหตุจิตเดียวเท่านั้นที่มัน ไม่นิ่ง ตราบใดที่จิตของเราไม่นิ่งได้ ผู้นั้นก็จะไม่มีโอกาสจะได้รับรู้เรื่องราวแห่งความเป็นจริงกันได้เลย แถมมีแต่ทุกข์อย่างเดียวและทำท่าจะดับทุกข์ก็เป็น คนที่หลงทางมัวแต่จะไปแก้ไขเอาปลายเหตุ พระพุทธองค์ท่านได้ทรงตรัสสอนให้พวกเรามาเรียนรู้เรื่องทุกข์ อย่าหนีทุกข์ วิ่งหาสุขกันเลย อันนั้นสำหรับผู้คิดผิดก็ต้องทำผิดเป็นธรรมดา ตราบใดที่พวกเรายังมีจิตที่เป็นมิจฉาทิฎฐิ เมื่อความคิดของเราผิดอย่างเดียว และทุกๆอย่างที่จะลงมือกระทำสิ่งใดก็พลอยทำให้ผิดเป้าหมายตามไปด้วย นั่นเอง ตราบใดผู้ที่ยังไม่ดำเนินไปตามมรคคมีองค์แปดที่ว่ากันนี้ ขอเตือนทุกท่านในนี้ว่า พวกท่านกำลังเดินหลงทางกันอยู่นั้น แม้นกระทั่งผู้ที่กำลังเดินสายมรรคอยู่นี้ก็เหมือนกัน คือเดินตรงไม่เป็น ทำไมพวกเราชอบแวะ ชอบเลี้ยว ชอบเดินอ้อมกันเสียจริง ครูบอก ครูพูดเข้าไปเห่อ บางคนทำหูทวนลม แต่ถ้าเมื่อก่อนเป็นวัยรุ่นนะ บ้องหูเลยครับ แต่ตอนนี้ทำไม่ได้แล้ว เตือนได้อย่างเดียว แต่ถ้าเตือนแล้วไม่ยอมฟังก็เข้าอุเบกขาญาณไปเลย ไม่สนแล้ว ปล่อยให้ไปตามกฎแห่งกรรม เพราะเขากำลังทำงานทุกลมหายใจอยู่แล้ว เราจะไปเดือดร้อนทำไม มากลับดู มาอยู่กับจิตของตนเองดีกว่า ดูว่าความเลวยังอยู่ที่จิตของตนเองอยู่ไหม๊ กิเลสตัวละเอียด อย่างเช่น มานะยังมีอยู่หรือไม่ แต่ถ้าผู้ปฎิบัติสามารถกำจัดกิเลสตัวละเอียดกันนี้ได้นะ จิตมันจะเบามากเลย เพราะใครจะด่าว่าหรือนินทาสักปานใด มันก็มิได้เป็นทุกข์แต่อย่างใด เพราะจิตเห็นความเป็นอนัตตาไปทั้งหมดแล้วนั่นเอง แต่สำหรับผู้ปฎิบัติยังละไม่ได้ นี่ก็น่าสงสารมากอยู่เหมือนกัน เพราะจิตเขายังไปไม่สุดซอยอนัตตานั่นเอง จิตไม่เข้าใจยังไปไม่ถึงอนัตตาที่ว่ากล่าวมานั้น จิตก็ยังคงปล่อยวางยาก และก็จะมีผลโดยตรงกับจิตใจของผู้นั้น เมื่อไม่รู้จักคำว่า ปล่อยวาง หรือปล่อยวางไม่เป็น ก็เท่ากับทุกข์เท่านั้นเอง เพิ่งรู้ตัวว่าตนเองพร่ำไปดีกว่า..เดี๋ยวคุณลินดามาแย๊ววว...
     
  13. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ๕.ความสุขทางใจ

    "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย! การแสวงหาทางออกอย่างพวกเธอนี้เป็นเรื่องประเสริฐแท้การแก่งแย่งกันเป็นใหญ่ เป็นโตนั้นในที่สุดทุกคนก็รู้เองว่าเหมือนแย่งกันเข้าไปกอดกองไฟมีแต่ความ เร่าร้อนกระวนกระวาย เสนาบดีดื่มน้ำด้วยภาชนะทองคำ กับคนจน ๆดื่มน้ำด้วยภาชนะที่ทำด้วยกะลามะพร้าว เมื่อมีความพอใจย่อมมีความสุขเท่ากัน
    นี่เป็นข้อยืนยันว่า ความสุขนั้น...อยู่ที่ความรู้สึกทางใจเป็นสำคัญอย่างพวกเธออยู่ที่นี่มีแต่ ความพอใจแม้กระท่อมจะมุงด้วยใบไม้ก็รู้สึกมีความสุขกว่าอยู่ในพระราชฐานอัน โอ่อ่าแน่นอนทีเดียวคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตนั้นมิใช่คนใหญ่คนโตแต่เป็น คนที่รู้สึกว่าชีวิตของตนมีความสุข สงบเยือกเย็นปราศจากความเร่าร้อนกระวนกระวาย"


    *วันนี้ปลอดคนดี แต่ไม่ปลอดธรรมทาน
     
  14. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    คุณTPC คุณอย่าหายไปไหนนานนักนะ ผมว่าจะขออนุญาตครูทุกท่านช่วยกันยกจิตของท่านผู้นี้ที่บนกระทู้เป็นบุคคลที่ #2 เพราะท่าน(จิต)เก่งทางธรรมโดยเฉพาะเรื่องปริยัติและฌานสมาบัติ (แต่สำหรับผู้ที่ยกจิตยกบนกระทู้เป็นบุคคล#1 ก็คือ คุณหมออุษาวดี เพราะท่านเก่งทางโลก เพราะถือว่าประสบความสำเร็จทางโลกมากกว่าผู้อื่นในกระทู้นี้ โดยเฉพาะสายสาขาอาชีพของท่าน) กรุณารอสักครู่ ผมมีคำตอบบางอย่างให้กับคุณTPCแล้ว แต่ยังไม่มีเวลานำมาลงให้ แต่ผมอยากให้ครูลูกพลังช่วยมาตอบให้กับท่านนี้ด้วย เพราะเห็นว่ามีพื้นดีโดยเฉพาะฌานสมาบัติ ท่านทั้งสองนี้รู้สึกว่าจะถนัดเรื่องฌานเป็นพิเศษ(expert Contemplation) ก็เลยอยากจะยกมาให้กับพวกเรา เพราะจะได้เปรียบเทียบกับนักภาวนาหรือผู้ปฎิบัติอื่น ที่ถือเอาแนวทางปฎิบัติอื่นๆ ที่มิใช่การปฎิบัติจิตเกาะพระ คราวนี้มาดูกันให้เห็นกันจะๆ ทำไมผมจึงอยากให้คุณลูกพลังมาช่วยตอบแทนด้วย เพราะเมื่อก่อนคุณลูกพลังก็คล้ายๆกับคุณTPC นี่แหล่ะ จริตและนิสัยก็คล้ายๆกัน เมื่อก่อนคุณลูกพลังท่านก็เคยทำฌานไปได้ถึง อรูปฌาน(ฌาน๕ ขึ้นไปโน้น สงสัยท่านอยากจะได้สมาบัติ ๘ อยากได้ฤทธิ์เดช อยากได้อภิญญา นั่นเอง ในขณะที่คนอื่นทำกันได้แค่ รูปฌาน(ฌาน๑,๒,๓,๔)เท่านั้นก็หรูแล้ว วันนี้ผมขอมาขาย เอ๊ย เฉลยความลับเรื่องของคุณลูกพลังว่า ก่อนหน้านั้นคุณลูกพลังPMมาหาผม ตอบกันไปมาสักพักนึง ผมก็ทำหน้าที่ต่อก็คือ โยนลูกไปให้ครูเพ็ญ..อิอิ เพราะก่อนหน้านั้น ผมตกลงหน้าที่กับครูเพ็ญไว้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ว่า..ผมมีหน้าที่อย่างหนึ่ง แต่ครูมีหน้าที่สอนเป็นหลัก หรือในเบื้องต้น คือหน้าที่หลักยังไม่สำเร็จ ผมจะมาทำหน้าที่รองก่อนก็คือ โยนลูกให้กับครูเพ็ญ หมายถึง คอยกลั่นกรองผู้ปฎิบัติว่าจิตเขาพร้อมปฎิบัติหรือไม่ แต่ครูเพ็ญจะโปรดลูกศิษย์ว่านอนสอนง่าย และคนที่บอกว่าเบื่อทุกข์สุดๆ เบื่อการเกิดสุดๆ และโดยเฉพาะคนที่พูด คำว่า "อยากไปพระนิพพาน" คำๆนี้ ใครอย่าไปพูดสุ่มสี่สุ่มห้ากับครูเพ็ญนะ เพราะท่านจะหลงคำพูดนี้มาก คือท่านจะตั้งใจ+ทุ่มเทสอนโดยไม่คิดชีวิตเลย นี่ก็คือ จริตครูเพ็ญ แต่จะขอเตือนซะก่อนนะว่า คนที่ไม่เอาจริงได้โปรดอย่าไปเข้าใกล้ในรัศมี เดี๋ยวท่านจะฟัดเอา ฮ่าๆ ไม่เชื่อลองดูดิ โดนมาหลายคนแล้วมั้ง ลืมขอเล่าเรื่องคุณลูกพลังต่อเลย โม้เรื่องอื่นซะนานเชียว เรื่องตอบคุณTPCเอาไว้ฉบับหน้า แค่นี้หลายคนเริ่มบ่นแล้ว เล่าต่อๆครูเพ็ญเริ่มบ่นกับผมแล้วว่า คุณลูกพลังเริ่มออกนอกลู่อีกแล้ว โดยเฉพาะท่านจะไปเอาแต่อรูปฌานอะไรของท่าน ตอนแรกผมนึกจะเตือนโดยตรง แต่ไม่เอาดีกว่า เพราะครูเพ็ญช่วยจะสำเร็จอยู่แล้ว ผมก็เลยคุยกับครูเพ็ญเรื่อง อรูปฌานนี่แหล่ะ และตรงนี้แหล่ะผมถึงอยากให้คุณลูกพลังไปเตือนคุณTPC บ้าง ที่ท่านกำลังนั่งหลับตาปี๋ทำฌานอยู่ในขณะนี้ อันนั้นท่านกำลังจะเดินอ้อมคำว่านิพพพานแล้ว แต่ถ้าท่านไม่ปราถนานิพพาน จะเอาแค่ฤทธิ์ทางใจ แต่อยากจะไปนิพพานในแนวการปฎิบัติจิตเกาะพระก็ไม่ว่ากัน บุคคลิคหรือนิสัยก็คล้ายๆกับคุณลูกพลัง นอกจากมีความรู้ปริยัติดีแล้ว ท่านทั้งสองยังมีความเฉลียวฉลาดอยู่มาก โดยเฉพาะอัตตา/มานะจะเหลือน้อยมาก ดูได้จากความอ่อนน้อมถ่อมตน มารยาทน่ารัก ครูที่ไหนจะไม่รักไม่หลงจริงไหม๊ แต่ถ้าชาวจิตเกาะพระทำการยกจิตให้กับคุณTPC ก็จะมีประโยชน์มาก เพราะบอกไปแล้วว่า อนาคตกาลโน้นจะมีผู้ปฎิบัติหลายสาย เพราะฉะนั้นครูผู้สอนจิตเกาะพระนั้น จึงมีความจำเป็นจะต้องมีครูหลายสาย เช่นกัน เพราะตามปรกตินั้น สายอรหันต์มีทั้งหมด 4 สายด้วย อันได้แก่...

    1.) พระสุกขวิปัสสก (ไม่มีญาณวิเศษใดๆ นอกจากรู้การทำอาสวะให้สิ้นไป (อาสวักขยญาณ) อย่างเดียว) อานิสงค์จากการที่ปฏิบัติวิปัสสนาเพียงอย่างเดียว
    2.) พระเตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา 3 คือบุพเพนิวาสานุสสติญาณ (รู้ระลึกชาติได้)จุตูปปาตญาณ (รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย)อันเป็นที่เกิดจากการเข้าใจในกฎแห่งกรรมอย่างแท้จริงจึงรู้เหตุการณ์ที่จะเป็นไปได้ทั้งสิ้น อาสวักขยญาณ (รู้ทำอาสวะให้สิ้น) อานิสงค์จากการที่ปฏิบัติวิปัสสนา และถือวัตรธุดงค์
    3.) พระฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา 6 คือ ทิพฺพจักขุ ทิพยโสต อิทธิวิธี (แสดงฤทธิ์ได้) เจโตปริยญาณ(ทายใจผู้อื่นได้) บุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ระลึกชาติได้ ) และอาสวักขยะญาณ(ญานที่ทำให้อาสวะสิ้นไป) อานิสงค์จากการปฏิบัติวิปัสสนาและเจริญสมาธิจนได้ฌานสมาปัตติ
    4.) พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4) คือแตกฉานในความรู้อันยิ่ง 4 ประการ ได้แก่ อัตถปฏิสัมภิทา(ความแตกฉานในอรรถ) ธัมมะปฏิสัมภิทา(ความแตกฉานในธรรม) นิรุตติปฏิสัมภิทา(ความแตกฉานในภาษา) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา(ความแตกฉานในปฏิภาณไหวพริบ)

     
  15. jate2029

    jate2029 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2008
    โพสต์:
    391
    ค่าพลัง:
    +729
    สวัสดีครับ ผมเพิ่งเข้ามาใหม่
    ยังไม่มีความรู้อะไรเลย รบกวนสั่งสอนด้วย ครับ
     
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,500
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    ครูDhammanee อยู่นี่เอง รับท่านJateเลยสิคะ หรือครูดัช ยินดีต้อนรับค่ะ คุณมาถูกทางแล้ว wel lcome_pink_Friend_
     
  17. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    สวัสดีและยินดีต้อนรับค่ะ คุณJate2029 ส่งเมล์ทาง pm เลยนะค่ะ

    ได้เลยค่ะ คุณพี่สุภาทร :cool:({):cool:
     
  18. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    อริยสัจ4

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือ อริยสัจ ๔ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อริยสัจ ๔ อย่างไรเล่า? ภิกษุในพระศาสนานี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. ดังพรรณนามาฉะนี้. ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฎฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่.


    ทุกขอริยสัจ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ 
    แม้โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็เป็นทุกข์ ความประจวบ กับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน? 
    - ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง เกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆอันนี้เรียกว่า ชาติ 

    ก็ชราเป็นไฉน?
    - ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังย่น ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่า ชรา 

    ก็มรณะเป็นไฉน? 
    - ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพไว้ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่า มรณะ

    ก็โสกะเป็นไฉน? 
    - ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะของบุคคลผู้แห้งใจ ความผาก ณ ภายในความแห้งผาก ณ ภายใน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรม คือ ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่า โสกะ

    ก็ปริเทวะเป็นไฉน?
    - ความคร่ำครวญ ความร่ำไร รำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ กิริยาที่ร่ำไรรำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่า ปริเทวะ

    ก็ทุกข์เป็นไฉน? 
    - ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์ ซึ่งเกิดแต่กายสัมผัส อันนี้เรียกว่าทุกข์

    ก็โทมนัสเป็นไฉน?
    - ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความเสวยอารมณ์อันไม่ดี ที่เป็นทุกข์ ซึ่งเกิดแต่มโนสัมผัส อันนี้เรียกว่า โทมนัส

    ก็อุปายาสเป็นไฉน? 
    - ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความ พิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรม คือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่า อุปายาส

    ก็ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน? 
    - ความประสบ ความพรั่งพร้อม ความร่วม ความระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่เกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ 

    ก็ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน? 
    - ความไม่ประสบ ความไม่พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม ความไม่ระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก ปรารถนาความเกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อำมาตย์ หรือญาติสาโลหิต อันนี้เรียกว่า ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์

    ก็ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน? 
    - ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความเกิดเป็นธรรมดา ขอความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดาความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดา ... ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสเป็นธรรมดา ขอโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้น สัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ 

    ก็โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์เป็นไฉน? 
    - อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ 

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียก ทุกขอริยสัจ.


    ------------------------------------------------------------------------

    สมุทัยอริยสัจ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นไฉน?
    - ตัณหานี้ใด อันให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยนันทิราคะ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ก็ตัณหานั้น 

    เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่ไหน?
    -ที่ใดเป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นั้นเมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้ง
    อยู่ในที่นั้น 

    อะไร เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก?
    - ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นั้น เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นั้น 

    - รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้ 

    - จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้

    - จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้ 

    - จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้ 

    - รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้

    - รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้

    - รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้

    - รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา
    เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้ 

    - รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ที่นี้ 

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ.

    ------------------------------------------------------------------------
     
  19. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    อริยสัจ4 (ต่อ)

    ------------------------------------------------------------------------
    (ต่อ)

    นิโรธอริยสัจ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นไฉน? 
    - ความดับด้วยสามารถ ความสำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความสละคืน ความปล่อยวาง ความไม่มีอาลัย ในตัณหานั้น

    ก็ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่ไหน เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่ไหน?
    - ที่ใดเป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นั้น เมื่อจะดับ ย่อม
    ดับได้ที่นั้น 

    - ก็อะไรเป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้

    - รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้ 

    - จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้

    - จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้

    - รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้

    - รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับที่นี้

    - รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้ 

    - รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รัก ที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้ 

    - รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รัก ที่เจริญใจ ในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับที่นี้ 

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ.

    ------------------------------------------------------------------------

    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นไฉน?
    - อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ 

    ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน?
    - ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุให้ทุกข์เกิด ความรู้ในความดับทุกข์ ความรู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ

    สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน?
    - ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในความไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ 

    สัมมาวาจาเป็นไฉน?
    - การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ อันนี้เรียกว่า สัมมาวาจา 

    สัมมากัมมันตะเป็นไฉน?
    - การงดเว้นจากการล้างผลาญชีวิต งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม อันนี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ 

    สัมมาอาชีวะเป็นไฉน?
    - อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิด สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ 

    สัมมาวายามะเป็นไฉน? 
    - ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ให้เกิดฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่า สัมมาวายามะ

    สัมมาสติเป็นไฉน ?
    - ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ 

    สัมมาสมาธิเป็นไฉน?
    - ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมบรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไปบรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุขเธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ 

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.



     ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้างย่อมอยู่ อนึ่ง สติของเธอ ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อริยสัจ ๔ อยู่

    ------------------------------------------------------------------------
     
  20. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    การพ้นทุกข์โดยไม่รู้อริยสัจนั้น ไม่เป็นฐานะที่จักมีได้

    การพ้นทุกข์โดยไม่รู้อริยสัจนั้น ไม่เป็นฐานะที่จักมีได้ 

    ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวว่า “ฉันไม่ต้องทำพื้นฐานรากในเบื้องล่างของเรือนดอก แต่ฉันจักทำตัวเรือนข้างบนได้” ดังนี้ : นี่ไม่เป็นฐานะที่จักมีได้ฉันใด ; ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่จักมีได้ ฉันนั้น คือข้อที่ผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวว่า “ฉันไม่ต้องรู้จักความจริงอันประเสริฐ คือ ความจริงเรื่องทุกข์, เรื่องเหตุให้เกิดทุกข์ , เรื่องความดับไม่เหลือของทุกข์ และเรื่องทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์นั้นดอก แต่ฉันจักทำความสิ้นสุดแห่งทุกข์ได้ โดยถูกต้อง ;” ดังนี้.

    ภิกษุ ท. ! และเปรียบเหมือนผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวว่า “ฉันต้องทำฐานรากของเรือนตอนล่างเสียก่อน จึงจักทำตัวเรือนข้างบนได้” ดังนี้ : นี่เป็นฐานะที่จักมีได้ ฉันใด ; ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จักมีได้ ฉันนั้น คือข้อที่ผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวว่า “ฉันครั้นรู้ความจริงอันประเสริฐ คือความจริงเรื่องทุกข์, เรื่องเหตุให้เกิดทุกข์, เรื่องความดับไม่เหลือของทุกข์ และเรื่องทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ นั้นแล้ว จึงจักทำความสิ้นสุดแห่งทุกข์ได้ โดยถูกต้อง ;” 

    ดังนี้.ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์”ดังนี้เถิด.


    (มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๖๔/๑๗๓๕-๖.)
     

แชร์หน้านี้

Loading...