คุณคิดว่าใครอยู่เบื้องหลังระหว่างการรบระหว่างไทยกับกัมพูชา

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย thanan, 28 เมษายน 2011.

?
  1. 1.ควรลบเก็บ

    0 vote(s)
    0.0%
  2. 2.ย้ายไปแสดงความเห็นในหลุมดำ

    0 vote(s)
    0.0%
  3. 3.เอาไว้อย่างนี้ แต่ให้ระวังเรื่องระเบียบ เช่นการด่ากันฯ

    0 vote(s)
    0.0%
  1. นิลมังกร

    นิลมังกร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +72
    33. ข้อเสนอของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย?
    ตอบ:
    1.ลาออกจากภาคีอนุสัญญามรดกโลก เพื่อแสดงการปฏิเสธมติคณะกรรมการมรดกโลกและองค์การยูเนสโกที่ได้ละเมิดอธิปไตยไทยและไม่ฟังคำทักท้วง

    2.ผลักดันชุมชนและทหารกัมพูชาออกจากดินแดนไทย พร้อมทั้งทวงคืนแผ่นดินไทยกลับมาดังเดิม

    3.ยกเลิกและหยุดยั้งข้อผูกพันทั้งปวงที่เกี่ยวเนื่องกับแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2แสน
     
  2. นิลมังกร

    นิลมังกร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +72
    เปรียบเทียบ 20 จุดยืนของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์
    กับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกรณีเขตแดนไทย-กัมพูชา

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=641><TBODY><TR><TD vAlign=top width=641 align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. นิลมังกร

    นิลมังกร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +72
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=642><TBODY><TR><TD vAlign=top width=642 align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. นิลมังกร

    นิลมังกร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +72
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=640><TBODY><TR><TD vAlign=top width=640 align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. นิลมังกร

    นิลมังกร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +72
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=643><TBODY><TR><TD vAlign=top width=643 align=middle>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=5 vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=641><TBODY><TR><TD vAlign=top width=641 align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. นิลมังกร

    นิลมังกร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +72
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=643><TBODY><TR><TD vAlign=top width=643 align=middle>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=5 vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=643><TBODY><TR><TD vAlign=top width=643 align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. นิลมังกร

    นิลมังกร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +72
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=642><TBODY><TR><TD vAlign=top width=642 align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. นิลมังกร

    นิลมังกร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +72
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=625><TBODY><TR><TD vAlign=top width=625 align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    คือ 1.เส้นเขตแดนถาวรที่ใช้สันปันน้ำและหน้าผาที่มีความชัดเจนตามธรรมชาติ จากหลักเขตที่ 1 ช่องสะงำ จ.ศรีสะเกษ ไปทางทิศตะวันออกจนสุดที่ช่องบก จ.อุบลราชธานี ความยาว 195 กิโลเมตร (เส้นสีน้ำเงิน) 2.เส้นเขตแดนที่ไม่ชัดเจนและมีการทำหลักเขตแดน ตั้งแต่ช่องสะงำ จ.ศรีสะเกษ ไปทางทิศตะวันตกและลงมาทางใต้จนสุด บ้านหาดเล็ก จ.ตราด ความยาว 603 กิโลเมตร มีการจัดทำหลักเขตแดนทางบกตั้งแต่หลักที่ 1 ถึง 73 (เส้นสีแดง)
     
  9. นิลมังกร

    นิลมังกร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +72
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=625><TBODY><TR><TD vAlign=top width=625 align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. นิลมังกร

    นิลมังกร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +72
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=623><TBODY><TR><TD vAlign=top width=623 align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. นิลมังกร

    นิลมังกร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +72
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>



    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=641><TBODY><TR><TD vAlign=top width=641 align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=636><TBODY><TR><TD vAlign=top width=636 align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. นิลมังกร

    นิลมังกร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +72
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=492><TBODY><TR><TD vAlign=top width=492 align=middle>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=5 vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=625><TBODY><TR><TD vAlign=top width=625 align=middle>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD height=5 vAlign=top align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. นิลมังกร

    นิลมังกร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +72
    เปิดเอกสาร “เบื้องหลัง” ที่มาของ MOU 2543 !?

    รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีได้เคยพยายามอธิบายว่าบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก พ.ศ. 2543 หรือ MOU 2543 นั้นมีความสำคัญเพราะเป็นเครื่องมือที่ทำให้ปัญหาเรื่องเขตแดนไทย-กัมพูชานั้น ยังคงจำกัดอยู่ในการเจรจาระดับทวิภาคี หรือการเจรจาจะจำกัดอยู่เพียงแค่ 2 ประเทศ ราวกับว่าถ้าไม่มี MOU 2543 แล้ว ประเทศไทยและกัมพูชาไม่สามารถที่จะเจรจากันสองประเทศได้

    ซึ่งคำพูดลักษณะดังกล่าวนั้นไม่ใช่เรื่องจริง

    เพราะความจริงแล้วไทย-กัมพูชาได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) เป็นกลไกการเจรจาทวิภาคีกันได้ก่อนจะมี MOU 2543 เสียอีก

    ก่อนมี MOU 2543 นั้นปรากฏว่าประเทศไทยกับกัมพูชาสามารถเจรจาและพูดคุยกันในเรื่องเขตแดนไทย-กัมพูชากันได้ โดยมีหลักฐานคือ:

    “หนังสือด่วนที่สุด จากกระทรวงการต่างประเทศลงนามโดย ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ถึงนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี หนังสือเลขที่ กต. 063/1574 ลงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2543 เรื่อง “ผลการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) ครั้งที่ 2”

    จากเอกสารชิ้นดังกล่าวทำให้เราได้ข้อมูลเพิ่มเติมในที่มาของ MOU 2543 ว่าไม่ได้ถูกออกแบบและจัดทำขึ้นในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัยชุดที่ 2 เท่านั้น แต่ได้มีการเตรียมการมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัยชุดที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2537

    เอกสารดังกล่าวได้ระบุที่ไปที่มาว่า นายชวน หลีกภัย ในสมัยเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งแรก ได้ไปเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 12-14 มกราคม พ.ศ. 2537 ปรากฏว่าได้มีการออกแถลงการณ์ร่วมฉบับลงวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2537 ระบุว่าทั้งสองฝ่ายจะจัดตั้งคณะกรรมการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ขึ้นภายในระยะเวลาอันสมควรเพื่อแก้ไขปัญหาเขตแดน อย่างไรก็ดีที่ผ่านมาฝ่ายกัมพูชายังไม่มีความพร้อมเพราะมีปัญหาเขมรแดงและความขัดแย้งทางการเมือง

    ไม่มีใครได้ทราบรายละเอียดหลังจากนั้นว่า ฝ่ายไทยและกัมพูชาได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) ตั้งแต่เมื่อใด มาเห็นอีกครั้งหนึ่งก็ปรากฏตามเอกสารของ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงการต่างประเทศที่ทำถึงนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2543 ว่าได้มีการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) 2 ครั้งไปแล้ว โดยปรากฏข้อความในการเกริ่นนำว่า

    “ตามที่รัฐบาลกัมพูชาได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (Joint Commission on Demarcation for Land Boundary หรือ Joint Boundary Commission :JBC) ไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 2 ณ กรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ 5-7 มิถุนายน 2543 นั้น กระทรวงการต่างประเทศใคร่ขอกราบเรียนรายงานผลการประชุมโดยสรุปดังนี้....”

    โปรดสังเกตว่า บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างไทย-กัมพูชา พ.ศ. 2543 หรือ MOU 2543 นั้น ไทยกับกัมพูชาลงนามกันวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2543 แต่ก่อนหน้านั้น ไทยและกัมพูชาได้มีการพูดคุยผ่านกลไกทวิภาคีของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) ถึง 2 ครั้งมาแล้ว

    แปลว่า JBC ไทย-กัมพูชา เกิดขึ้นมาก่อน แต่ MOU 2543 เกิดขึ้นมาในภายหลัง

    หมายความว่าแม้ถ้าไม่มี MOU 2543 ไทยกับกัมพูชาก็มีกลไกการเจรจากัน 2 ประเทศอยู่แล้ว และถ้าสมมติว่าจะยกเลิก MOU 2543 ไทย-กัมพูชาจะยังสามารถเจรจากันอีกภายใต้การเจรจาของ JBC (ยกเว้นว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่อยากเจรจาแล้ว)

    หนังสือของ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่ทำถึงนายชวน หลีกภัย เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2543 นั้น ยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยคือ “สำเนาบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 2” ด้วย

    ข้อความนี้ย่อมแสดงว่าไทยและกัมพูชาต่างมีบันทึกการประชุมครั้งนี้เป็นหลักฐานอยู่ด้วยกันทั้งสองฝ่าย ที่จะใช้สำหรับเป็นข้ออ้างได้ว่ามีการตกลงกันอย่างไรในการประชุม

    อีกทั้งในหนังสือดังกล่าวยังระบุด้วยว่า ที่ประชุมสามารถตกลงกันได้ในเรื่องต่างๆ ในเรื่อง MOU 2543 จนถึงขั้นสามารถ “ลงนามย่อ (ad referendum)” บันทึกความเข้าใจฯ (ภาคผนวก 6 ของสิ่งที่ส่งมาด้วย) ซึ่งมีสาระสรุปสำคัญดังนี้

    “พื้นฐานทางกฎหมาย การสำรวจและจัดทำ (ปัก) หลักเขตแดนทางบก จะดำเนินการโดย ใช้บรรดาเอกสารหลักฐานที่ผูกพันไทยกับกัมพูชาตามกฎหมายระหว่างประเทศ คือ อนุสัญญาฉบับลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1904 สนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 กับพิธีสารแนบท้าย และ แผนที่แสดงเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชามาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งจัดทำขึ้นตามผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้ (application) อนุสัญญาและสนธิสัญญาดังกล่าว”

    ถ้าบันทึกการประชุม JBC ระหว่างไทย-กัมพูชาครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 5 - 7 มิถุนายน พ.ศ. 2543 ปรากฏข้อความเช่นนี้ ก็แปลว่ากัมพูชาก็ต้องมีบันทึกผลการประชุมเช่นเดียวกับไทยที่ระบุสาระสำคัญ 2 ประการเป็นเอกสารประกอบที่มาของ MOU 2543 ว่า

    1. ไทยยอมรับเป็นครั้งแรกว่าแผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน โดยไม่มีการระบุว่ายกเว้นระวางใด ทั้งๆ ที่แผนที่มาตราส่วน 1:200,000 นั้นฝ่ายสยามไม่เคยลงนามยอมรับแผนที่ดังกล่าวในทุกระวาง และฝ่ายไทยยังได้ต่อสู้ในคดีปราสาทพระวิหารในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2505 มาตลอดว่าแผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 ในระวางดงรักนั้นฝ่ายสยามไม่เคยลงนามยอมรับ และถือว่าเป็นผลงานของฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว ดังปรากฏความตอนหนึ่งในคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 ความตอนหนึ่งว่า:

    “ในระยะนี้ศาลกล่าวถึงเฉพาะข้อต่อสู้ของฝ่ายไทยในประการแรกก่อน ข้อต่อสู้นี้อาศัยเหตุผลซึ่งศาลพิจารณาเห็นว่า ถูกต้อง ที่ว่าแผนที่ฉบับนี้ไม่เคยได้รับการรับรองเป็นทางการจากคณะกรรมการผสมชุดแรก เพราะเหตุว่าคณะกรรมการชุดนี้ได้หยุดปฏิบัติงานไปเป็นเวลาหลายเดือนก่อนที่จะจัดทำแผนที่ขึ้น เอกสารหลักฐานมิได้แสดงว่าแผนที่และเส้นเขตแดนนั้นได้กระทำขึ้นโดยอาศัยคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของคณะกรรมการที่ได้ให้ไว้แก่คณะเจ้าหน้าที่สำรวจ ในขณะที่คณะกรรมการยังคงปฏิบัติงานอยู่...ศาลจำต้องลงความเห็นว่าในระยะแรกเริ่มและขณะที่จัดทำแผนที่ขึ้นนั้น แผนที่ฉบับนี้ ไม่มีลักษณะผูกพันใดๆ”

    2. ไทยยอมรับเป็นครั้งแรกว่าแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ว่าเป็นเอกสารหลักฐานที่ผูกพันไทยกับกัมพูชา โดยไม่มีการยกเว้นในระวางใดทั้งสิ้น ทั้งๆ ที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศก็ไม่เคยพิพากษาสถานภาพของแผนที่และเส้นเขตแดนตามแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ในระวางดงรัก ในคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 ตามที่กัมพูชาร้องขอแต่ประการใด ปรากฏตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศท้ายสุดที่ได้สรุปในเรื่องขอบเขตของคำพิพากษาเกี่ยวกับแผนที่และเส้นเขตแดนตามแผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 ความตอนหนึ่งว่า:

    “คำแถลงสรุปข้อที่หนึ่งและข้อที่สองของกัมพูชาที่ขอให้ศาลพิพากษาชี้ขาดในเรื่องสภาพทางกฎหมายของแผนที่ภาคผนวก 1 (แผนที่มาตราส่วน 1: 200,000) และในเรื่องเส้นเขตแดนในอาณาบริเวณที่พิพาท จะรับฟังได้ก็แต่เพียงในฐานที่เป็นการแสดงเหตุผลและมิใช่ข้อเรียกร้องที่จะต้องกล่าวถึงในบทปฏิบัติการของคำพิพากษา”

    จึงถือว่าผลการประชุม JBC ไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 5 - 7 มิถุนายน พ.ศ. 2543 นั้น มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือเขตอำนาจแห่งรัฐอย่างชัดเจน

    ในตอนท้ายของหนังสือฉบับนี้ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่ได้ทำเสนอไปยัง นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี เพื่อทราบและพิจารณาเพื่อขออนุมัติเรื่องการลงนามใน MOU 2543 ความว่า: “จึงกราบเรียนมาเพื่อกรุณาทราบและพิจารณา

    1. อนุมัติให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (ฝ่ายไทย) ลงนามบันทึกความเข้าใจดังกล่าวที่กรุงพนมเปญ ในระหว่างการเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีระหว่างวันที่ 14-16 มิถุนายน ศกนี้ โดยกระทรวงการต่างประเทศกำลังดำเนินการจัดทำบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับภาษาไทย เพื่อประโยชน์ในการนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบในโอกาสต่อไป”

    ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศจึงถือว่าเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบในกรณีนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ใช่มาทำเป็นรับผิดชอบการพยายามจะให้เทศกิจมารื้อส้วมผู้ชุมนุมที่กำลังออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาความผิดพลาดทั้งปวงเกี่ยวกับ MOU 2543

    วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2543 นายวรากรณ์ สามโกเศศ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติราชการแทนเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้ทำหนังสือกราบเรียน นายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอมา และลงท้ายด้วยข้อเสนอของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีว่า:

    “เห็นควรอนุมัติข้อเสนอของกระทรวงการต่างประเทศ และนำเรื่องเสนอเข้า ครม. เพื่อทราบต่อไป”

    นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ลงนามเซ็นเอาไว้ในวันที่ 12 มิถุนายน 2543 ด้วยข้อความสั้นๆ ว่า “อนุมัติ”

    ที่ไม่น่าเชื่อก็ตรงที่ว่าเรื่องที่มีความสำคัญขนาดนี้ และมีความเสี่ยงที่บทจะเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจรัฐขนาดนี้ กลับไม่ขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี แต่กลับแจ้งเพื่อทราบเท่านั้น ซึ่งอาจเข้าข่ายเป็นการไม่ถือปฏิบัติในอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534!!?

    วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2543 ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝ่ายไทย จึงได้ไปลงนาม กับนายวาร์ คิม ฮง ที่ปรึกษารัฐบาลผู้รับผิดชอบกิจการชายแดนกัมพูชา ในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก พ.ศ. 2543 หรือ MOU 2543 จนเป็นที่มาของความวุ่นวาย และจุดเริ่มต้นของการรุกรานแผ่นดินไทยโดยกัมพูชาจนถึงทุกวันนี้

    ในขณะที่ลงนามใน MOU 2543 ประเทศไทยได้มีการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งได้บัญญัติเอาไว้อย่างชัดเจนในมาตรา 224 ว่า:

    “พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่น กับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ

    หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือเขตอำนาจแห่งรัฐ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามสัญญา ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา”

    ในความเห็นของผมแล้วเมื่อ MOU 2543 ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และปราศจากพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้องถือว่า MOU 2543 นั้นขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และเป็นโมฆะมาตั้งแต่ตอนต้น

    แต่ถ้ายึดตาม MOU 2543 อย่างเคร่งครัด ก็ต้องถือว่าฝ่ายกัมพูชาได้เป็นฝ่ายละเมิด MOU 2543 จำนวนมากจนกระทรวงการต่างประเทศของไทยได้ทำหนังสือประท้วงกัมพูชานับร้อยกว่าฉบับแล้ว และสามารถนำมาใช้หลักฐานเพื่อยกเป็นเหตุอ้างในการยกเลิก MOU 2543 ที่มีความชอบธรรมทางการเมืองและถูกต้องตามกฎหมายระหว่างประเทศ และถือโอกาสลบล้างความเสียเปรียบและความผิดพลาดทั้งปวงจาก MOU 2543 และเริ่มการเจรจากันใหม่ในคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC)

    ก่อนการเจรจากันใหม่ไทยไม่ควรเสียค่าโง่ใดๆ อีก และควรผลักดันกัมพูชาที่ทั้งละเมิดอธิปไตยไทย และกระทำความผิดตาม MOU 2543 ออกไปจากแผ่นดินไทย!!!
     
  14. นิลมังกร

    นิลมังกร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +72
    ต้องผลักดันเขมรออกไปก่อน จึงจะชนะในเกมการเมืองระหว่างประเทศได้

    เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 กัมพูชาได้ออกแถลงการณ์ตอบโต้ฝ่ายไทย โดยได้สรุปในยุทธวิธีการเจรจาความเมืองระหว่างประเทศ โดยยกเรื่องบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างไทย-กัมพูชา พ.ศ. 2543 (MOU 2543) ว่าไทยและกัมพูชามีข้อผูกพันที่มีสภาพบังคับให้นำแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 มาพิจารณาในการจัดทำหลักเขตแดนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และเมื่อกัมพูชานำการพรรณาและการบรรยายของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 ถึงเหตุผลที่ปราสาทพระวิหารต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชานั้น เพราะไทยโดนกฎหมายปิดปากอันมีสาเหตุมาจากการนิ่งเฉยกับแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ดังนั้นไทยและกัมพูชาจึงมีสภาพที่ต้องยึดแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 เป็นเส้นเขตแดนประเภทเดียวในการจัดทำหลักเขตแดน

    ความหมายแถลงการณ์เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ก็คือ MOU 2543 + การบรรยายคำพิพากษาของศาลโลกในคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 = ไทยและกัมพูชาต้องใช้แผนที่มาตราส่วน 1:200,000 แต่เพียงอย่างเดียวตลอดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา

    การออกแถลงการณ์ของกัมพูชาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เสมือนเป็นการประลองกำลังด้วยเหตุผลแบบเปิดเผยให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ไปทั่วโลก หลังจากเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554 ฝ่ายไทยได้ออกแถลงการณ์ว่าแผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 ใน MOU 2543 นั้นไม่รวมระวางดงรัก อีกทั้งบริเวณวัดแก้วสิขะคีรีสะวารานั้นอยู่บนแผ่นดินไทย ดังนั้นกัมพูชาต้องรื้อถอนธงชาติกัมพูชาและวัดดังกล่าวออกจากแผ่นดินไทยด้วย

    แต่ภายหลังการโต้แย้งด้วยแถลงการณ์อย่างเปิดเผยของกัมพูชาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ปรากฏว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยไม่ตอบโต้กลับ จึงทำให้คิดได้เพียงแค่ว่า 1. โต้เหตุผลของแถลงการณ์กัมพูชากลับไม่ได้ และ/หรือ 2. โต้แย้งกลับกัมพูชาได้แต่ตั้งใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ และ/หรือ 3. สมรู้ร่วมคิดกับกัมพูชายอมพ่ายแพ้ในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ

    ไม่ว่าเบื้องหลังจะเป็นอย่างไร แต่การที่ฝ่ายไทยนิ่งเฉยต่อแถลงการณ์ของกัมพูชาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 มาจนถึงปัจจุบันนั้น ทำให้กัมพูชามั่นใจว่าภายใต้ MOU 2543 ฝ่ายไทยไม่สามารถสู้เหตุผลในการยืนยันเส้นเขตแดนตามแผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 ในทางนานาชาติได้แล้ว

    นั่นจึงเป็นสาเหตุและแรงจูงใจแรกที่กัมพูชาได้ยิงอาวุธสงครามถล่มใส่ทหารไทยและราษฎรไทยระหว่างวันที่ 4-6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 สร้างสถานการณ์เพื่อให้ทำให้เกิดการปะทะ และทำทุกวิถีทางให้นานาชาติเข้ามาแทรกแซง อันจะเป็นจุดเริ่มต้นให้มี “คนกลาง” ที่เป็นมหาอำนาจหรือศาลโลกเข้ามาตัดสิน โดยกัมพูชามีเป้าหมายต้องการนำเหตุผลของกัมพูชาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ฝ่ายไทยไม่สามารถโต้แย้งได้มาขยายผลหาแนวร่วมในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ

    ไทยจึงตกอยู่ในสภาพเหมือนถูก “รุกคืบ” และ “รุกฆาต” ซ้ำแล้วซ้ำเล่า หลังจากความพ่ายแพ้ต่อกัมพูชาในการประลองกำลังกันด้วย “แถลงการณ์” เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

    เพราะหากฝ่ายไทยไม่ยิงตอบโต้ก็จะมีทหารและราษฎรไทยได้ต้องบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก ต้องอพยพหลบหนีออกจากแผ่นดินไทย อีกทั้งทรัพย์สินต้องเสียหายอย่างมหาศาล แต่หากฝ่ายไทยยิงตอบโต้อย่างรุนแรงรัฐบาลไทยก็กลัวกัมพูชาขยายผลไปในเวทีนานาชาติประจานความพ่ายแพ้ของไทยในการใช้ MOU 2543 ที่ทำให้ไทยและกัมพูชาต้องใช้แผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 ในการจัดทำหลักเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชาแต่เพียงอย่างเดียว

    ผลลัพธ์หลังสร้างสถานการณ์ของกัมพูชา ได้ทำให้กัมพูชายิ่งมั่นใจขึ้นไปอีก เพราะเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ฝ่ายกัมพูชาได้ออกถ้อยแถลงไปยังคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพื่อยืนยันเส้นเขตแดนของกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ตามที่เคยออกแถลงการณ์ไปแล้วเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 (ซึ่งฝ่ายไทยไม่สามารรถโต้แย้งกลับได้) และเมื่อยืนยันเส้นเขตแดนของตัวเองได้จึงสามารถกล่าวให้ร้ายประเทศไทยว่าเป็นฝ่ายรุกรานกัมพูชา ในขณะที่ฝ่ายไทยออกถ้อยแถลงยาวเหยียด “แต่ไม่ยืนยันเส้นเขตแดนของตัวเอง”แต่กลับไปสู้ในประเด็นที่ว่ากัมพูชาเป็นฝ่ายยิงก่อน และหลักเขตแดนไทย-กัมพูชายังไม่แล้วเสร็จ ละทิ้งสาระสำคัญที่ว่ากัมพูชาละเมิด MOU 2543 และเป็นฝ่ายรุกรานยึดครองแผ่นดินไทย

    จากถ้อยแถลงของไทยและกัมพูชา ทำให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่สหประชาชาติจึงได้ออกข้อเรียกร้องให้ไทยและกัมพูชาทำข้อตกลงหยุดยิงถาวร โดยไม่สนใจว่ากัมพูชาเป็นฝ่ายยึดครองแผ่นดินไทยอยู่ ยิ่งเมื่อคราวประชุมอย่างไม่เป็นทางการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอาเซียนเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ฝ่ายไทยและกัมพูชากลับยินดีไปเชื้อเชิญอินโดนีเซียให้มาเป็นตัวแทนอาเซียนเข้ามาสังเกตการณ์ในพื้นที่ “อย่างมีวัตถุประสงค์”เพื่อไม่ให้ทั้งสองฝ่ายมีการปะทะกันอีก โดยฝ่ายไทยไม่มีการสู้ในข้อเท็จจริงแม้แต่น้อยนิดว่ากัมพูชาเป็นฝ่ายยึดครองแผ่นดินไทยอยู่

    ที่พูดไม่ได้ว่ากัมพูชาเป็นฝ่ายยึดครองแผ่นดินไทยอยู่ เพราะแม้แต่เส้นเขตแดนของไทยเองยังยืนยันไม่ได้ในเวทีสำคัญในระดับนานาชาติ เพราะไทยเข็ดขยายในการจะโต้แย้งเรื่องแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ใน MOU 2543 ให้พ่ายแพ้ในเวทีนานาชาติซ้ำอีก เหมือนกับการไม่สามารถโต้แย้งถ้อยแถลงของกัมพูชาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ใช่หรือไม่?

    การมีผู้สังเกตการณ์ชาติที่ 3 เข้ามาสังเกตการณ์ในแผ่นดินไทยนั้น กัมพูชาเป็นฝ่ายตีปีกและยิ่งได้ใจมากขึ้น เพราะยิ่งมีชาติที่ 3 เข้ามาสังเกตการณ์ในขณะที่กัมพูชาเป็นฝ่ายยึดครองแผ่นดินไทยโดยห้ามทั้งสองฝ่ายยิงปะทะต่อกันจนกว่าการเจรจาจะได้ข้อยุติ ก็มีความหมายเท่ากับว่าไทยต้องเสียดินแดนส่วนนั้นให้กับกัมพูชาไปอย่างถาวรแล้ว เพราะหากผลการเจรจาไม่เป็นที่พอใจของกัมพูชา กัมพูชาก็จะอาศัยครอบครองแผ่นดินที่ยึดครองไปแล้วได้ไปตลอดกาลโดยมีประเทศอินโดนีเซียในนามอาเซียนมาเป็นสักขีพยานอีกด้วย

    นับว่ายังดีที่ภาคประชาชนเคลื่อนไหวจนทำให้ทหารตื่นตัวแล้วหันมา “กลับลำ” ไม่ต้อนรับอินโดนีเซียเข้ามาสังเกตการณ์ และบีบทำให้รัฐบาลต้อง “กลับลำ”ตามทหารด้วย แต่ไทยก็ถูกมองว่า “เป็นฝ่ายเกร” เพราะไม่เคยยืนยันเส้นเขตแดนของตัวเอง แล้วยังไม่ทำตามที่ได้ตกลงกันในเวทีอาเซียนเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 อีกด้วย

    แต่สำหรับกัมพูชาเมื่อมาถึงเวลานี้จึงเห็นได้ชัดเจนว่า ได้มีแนวทางยุทธศาสตร์ “ยึดครองแผ่นดินไทย” เพื่อให้ได้รับชัยชนะในการเมืองภายในของกัมพูชาเป็นพื้นฐานสำคัญ โดยมีลำดับขั้นตอนหลังลงนามใน MOU 2543 ดังนี้

    1. สร้างถนน กระเช้าลอยฟ้า เพื่อขนทหารพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ขึ้นมาจากตีนหน้าผาฝั่งกัมพูชา ซึ่งไม่ใช่ยุทธภูมิที่จะยิงปะทะกับทหารและราษฎรไทยได้ ให้ขึ้นมาอยู่บนจุดสูงข่มบริเวณยอดหน้าผาฝั่งไทย ทั้งวัดแก้วสิขะคีรีสะวารา ภูมะเขือ ปราสาทตาควาย ปราสาทตาเมือนธม ทำให้เปลี่ยนกลายเป็นสถานภาพที่พร้อมปะทะสร้างสถานการณ์กับไทยได้

    2. รุกคืบและยึดครองเข้ามาในแผ่นดินไทยเพิ่มเติม สร้างชุมชน สร้างวัด ตลอดจนสร้างหลักฐานในการแสดงอำนาจอธิปไตยบนแผ่นดินไทย เพื่อสร้างความชอบธรรมในการที่จะอ้างว่าเป็นแผ่นดินของกัมพูชา

    ใน 2 ข้อนี้พบว่าฝ่ายไทยได้ปฏิบัติตาม MOU 2543 อย่างเคร่งครัด ไม่ใช่กำลังทหารปกป้องแผ่นดินไทย แต่ใช้วิธีการประท้วงด้วยเอกสารไม่ต่ำกว่า 125 ครั้งแล้ว ซึ่งทำกัมพูชามั่นใจว่าจะสามารถยึดครองแผ่นดินไทยได้ในทางปฏิบัติอย่างแน่นอน

    3. เดินหน้านำโบราณสถานให้ขึ้นทะเบียนมรดกโลก เพื่อนำองค์กรระหว่างประเทศเข้ามาชี้ขาดยืนยันเส้นเขตแดนของกัมพูชา ตามแผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 โดยอ้าง MOU 2543 + การพรรณาคำพิพากษาของศาลโลกในคดีปราสาทพระวิหาร โดยที่ได้ขึ้นทะเบียนไปแล้วคือปราสาทพระวิหาร และกำลังดำเนินการนำปราสาทตาเมือนธมขึ้นทะเบียนต่อด้วย

    4. หากไทยเริ่มต่อต้านขัดขวางมรดกโลก กัมพูชาก็ใช้กำลังทหารตามที่ได้เคลื่อนกำลังมาอยู่บนยอดหน้าผาฝั่งไทยสำเร็จแล้วจากข้อ 1. ยิงปะทะใส่ทหารและราษฎรไทย เพื่อสร้างสถานการณ์ให้ประเทศที่ 3 เข้ามาแทรกแซง จะเป็นลักษณะการยิงที่ไม่หยุด ยิงทำร้ายทหารและพลเรือน เพราะต้องการการตอบโต้จากฝ่ายไทย โดยมีแรงจูงใจในวันนี้ใน 2 ลักษณะ คือ

    แรงจูงใจลักษณะแรก คือต้องการให้ประเทศที่ 3 มาตัดสินเส้นเขตแดนตามแผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 ใน MOU 2543 ที่ฝ่ายไทยไม่สามารถโต้แย้งเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
    ส่วนแรงจูงใจลักษณะที่สอง คือต้องการให้ประเทศที่ 3 เข้ามาสังเกตการณ์และห้ามทหารทั้งสองฝ่ายปะทะต่อกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อไม่ให้ทหารไทยผลักดันทหารกัมพูชาออกจากแผ่นดินไทย ซึ่งจะเป็นผลทำให้กัมพูชาสามารถยึดครองแผ่นดินไทยได้อย่างไม่มีกำหนดระยะเวลา

    5. เมื่อผู้สังเกตการณ์จากชาติที่ 3 เข้ามาทำให้พื้นที่บริเวณที่กัมพูชายึดครองแผ่นดินไทย โดยมีวัตถุประสงค์ให้หยุดการยิงอย่างถาวรแล้ว ปราสาทพระวิหารก็จะพ้นความเป็นมรดกโลกอันตรายและมีชาติที่ 3 มาเป็นหลักประกันทำให้กลายเป็นพื้นที่สันติภาพถาวร และทำให้กัมพูชาสามารถเดินหน้าแผนบริหารจัดการมรดกโลกต่อไปได้ และหากยังขึ้นทะเบียนไม่ได้อย่างน้อยก็กัมพูชาก็ยังสามารถยึดครองแผ่นดินไทยได้อย่างไม่มีกำหนดระยะเวลา

    6. หลังจากนายฮุน เซน ได้ชัยชนะตามข้อ 5 แล้ว ก็จะสามารถนำไปใช้หาเสียงได้รับความนิยมจากชาวกัมพูชาในฐานะวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ปูฐานให้ฮุน มาเน็ท บุตรชายสืบทอดอำนาจในฐานะนักรบผู้ยึดครองโบราณสถานศักดิ์สิทธิ์จากไทย และกัมพูชาก็จะเดินหน้าแบ่งปันผลประโยชน์ในอ่าวไทยกับมหาอำนาจเป็นการแลกเปลี่ยน

    วิธีการเดียวที่จะทำให้แผนของกัมพูชาทั้งหมดนี้ยุติลงก็คือต้อง “ทำลายแรงจูงใจ” ในยุทธศาสตร์ของกัมพูชาในจังหวะที่กัมพูชาเป็นฝ่ายเปิดเกมยิงไทยก่อน โดยการผลักดันกัมพูชาพ้นออกจากจุดสูงข่มบนผืนแผ่นดินไทยให้ไปอยู่ตีนหน้าผาฝั่งกัมพูชาเหมือนเดิม เพื่อทำให้ทหารกัมพูชาหยุดสร้างสถานการณ์ยิงปะทะทหารและทำร้ายราษฎรไทยโดยเร็วที่สุด

    เมื่อทวงคืนแผ่นดินไทยกลับมาได้แล้ว ไทยก็ย่อมสามารถเป็นฝ่ายรุกกัมพูชาคืนบ้างในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ เรียกร้องให้หยุดยิงถาวร เรียกร้องสันติภาพ และพร้อมยินดีอย่างยิ่งหากจะมีผู้สังเกตการณ์จากชาติที่สามที่มีวัตถุประสงค์ในการให้หยุดยิงถาวรโดยเร็วที่สุด โดยเรียนเชิญผู้สังเกตการณ์มายืนอยู่บนยอดหน้าผาฝั่งไทย

    และจะให้ดีก็ถือโอกาสอ้างเหตุที่กัมพูชาละเมิด MOU 2543 มาถึง 125 ครั้ง ยกเลิก MOU 2543 เพื่อทำให้ปัญหาแผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 ซึ่งไทยเพลี่ยงพล้ำในเวทีนานาชาติยุติลงเสียที
     
  15. นิลมังกร

    นิลมังกร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +72
    ความดื้อด้านชา ของนายอภิสิทธิ์ ทุกวันนี้ยอมเสียดินแดน แต่ไม่ยอมเสียหน้าแล้วยังพวกนักการเมืองในพรรครัฐบาลบางคนและ นายทหารบางคนที่อาจมีผลประโยชน์ตามแนวชายแดน ถึงกับ ยอมสังเวย ชีวิตทหาร ให้ชาวบ้านต้องรับกรรม ต้องอพยพหนีภัยสงคราม เป็นครั้งแรกเท่าที่เคยได้ยินมา

    นั่นเป็นเพราะอะไร เป็นเพราะความดื้อด้านไม่ยอมรับความจริง ถึงภัยอันตราย ของ MOU 2543 ใช่หรือไม่ ? หรือเป็นเพราะผลประโยชน์ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชาใช่หรือไม่ ?
     
  16. grinny

    grinny Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    67
    ค่าพลัง:
    +84
    นี่เวปพลังจิต ใช่ไหมเอ่ย...
     

แชร์หน้านี้

Loading...