คชสีห์๙บารมี๙บารมี๙แผ่นดินหลวงปู่หมุนเสก

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 30 สิงหาคม 2010.

  1. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,466
    ค่าพลัง:
    +21,327
    [​IMG]
    หลวงพ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง
    พระครูภาวนาภิรมย์ พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง นับว่าเป็นอริยะสงฆ์แดนทักษิณอีกองค์หนึ่งของเมืองนครศรีธรรมราช ตลอดชีวิตร้อยกว่าปีของท่านมีแต่เมตตาธรรมต่อผู้ที่ได้ไปกราบท่าน

    สำหรับความศักดิ์สิทธิ์ของท่านนั้น ขนาด
    พ่อท่านคล้าย แห่งวัดสวนขัน ยังกล่าวยกย่อง พ่อท่านคลิ้งเสมอ เช่นว่า มีชาวบ้านจาก อ.ร่อนพิบูลย์ไปกราบพ่อท่านคล้าย พอท่านทราบว่ามาจากร่อนพิบูลย์ ท่านก็จะกล่าวว่า “ทีหลังไม่ต้องมาไกลถึงนี้หรอก ไปหาท่านคลิ้งนั้นแหละ ท่านคลิ้ง(หลวงพ่อคลิ้ง)ให้พรดีเหมือนเหมือนฉัน” หรือ แม้แต่พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา ก็ยังกล่าวยกย่อง พ่อท่านคลิ้ง อยู่เสมอ



    ประวัติพ่อท่านคลิ้ง จันทสิริ วัดถลุงทอง
    เกิด 29 สิงหาคม พ.ศ.2429
    บรรพชา พ.ศ.2435 ขณะอายุ 8 ปี
    อุปสมบท พ.ศ.2447 ขณะอายุ 20 ปี
    ละสังขาร 21 มกราคม พ.ศ.2533
    รวมสิริอายุ 104 ปี 84 พรรษา



    พ่อท่านคลิ้ง เป็นคณาจารย์ที่อายุยืนนานอีกองค์หนึ่ง พระเครื่อง วัตถุมงคลที่ท่านได้เมตตาปลุกเสกเอาไว้มีหลายชนิด เช่น เหรียญ ลูกอมชานหมาก พระปิดตาเนื้อผงผสมว่าน วัตถุมงคลพ่อท่านคลิ้งท่านเด่นทางด้าน เมตตามหานิยม โภคทรัพย์ แคล้วคลาด


    วัดถลุงทอง เป็นวัดที่เงียบสงบอยู่ห่างจากถนนเอเชียสายหลัก ระหว่างร่อนพิบูลย์-นครศรีธรรมราช เข้าไปประมาณ 9 กิโลเมตร ระหว่างทางจะผ่านสวนผลไม้ ไร่นาและบ้านของชาวบ้าน บริเวณวัดสงบร่มเย็น อยู่ใกล้กับเทือกเขา ชาวบ้านบริเวณนั้นจะนับถือพ่อท่านคลิ้งมาก เพราะท่านเป็นพระที่มีเมตตาต่อทุกๆคน


    ประวัติหลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง
    หลวงพ่อคลิ้งจันทสิริ” เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นพระเถระที่มีวิชาอาคมอีกรูปหนึ่ง นอกจากนี้หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทองท่านยังมีอายุยืนนานถึง ๑๐๔ ปี เพราะ[FONT=Tahoma][COLOR=#984806][FONT=Cordia New][COLOR=#000000][B]พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง[/B][/COLOR][/FONT][/COLOR][/FONT] ท่านเกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙ และมรณภาพใน ปี พ.ศ. ๒๕๓๓ โดยออกบวชเป็นสามเณรขณะอายุ ๘ ขวบ แล้วก็ครองเพศเป็นบรรพชิตมาตลอดจวบกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต หากนับพรรษาต่อเนื่องตั้งแต่บวชเป็นสามเณรกระทั่งเป็นพระภิกษุ “[COLOR=#000000][B]หลวงพ่อคลิ้ง[/B][/COLOR]” ก็จะครองพรรษาได้ถึง ๙๖ พรรษา เลยทีเดียว



    ส่วนทางด้านเรื่องราวอภินิหารของ “[B][COLOR=#000000]พ่อท่านคลิ้ง[/COLOR][/B]” ที่จะนำมาเล่าขานวันนี้เป็นเรื่องราวของพระเครื่องหลวงพ่อคลิ้ง “เหรียญรูปเหมือน[FONT=Cordia New][B][SIZE=2][COLOR=#000000]พ่อท่านคลิ้ง[/COLOR][/SIZE][/B] [/FONT]หลัง ภปร” ซึ่งจัดเป็นเหรียญ ที่อุดมด้วยสิริมงคลเพราะจัดสร้างในวาระฉลองอายุครบ ๙๓ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑ โดย “พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภานุพันธ์ยุคล” หรือ “เสด็จพระองค์ชายใหญ่” พระโอรสของ “จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯกรมหลวง ลพบุรีราเมศวร์” อดีตผู้สำเร็จราชการมณฑลทักษิณ พร้อมทั้งได้กราบบังคมทูล พระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตอัญเชิญตราสัญลักษณ์ “พระปรมาภิไธยย่อ ภปร” ประดิษฐานที่ด้านหลังเหรียญจึงนับเป็นสิริมงคลอันสูงสุด ดังที่ทราบ กันดีในวงการนักสะสมว่าวัตถุมงคลที่มีความเกี่ยวเนื่อง “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” รัชกาลปัจจุบันล้วนเป็นที่นิยม ต่อนักสะสมซึ่งถึงแม้ว่า ขั้นตอนการสร้าง “เหรียญของพ่อท่านคลิ้ง” รุ่นนี้ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” มิได้เสด็จฯทรงประกอบพิธีแต่ก็ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อ “พ่อท่านคลิ้ง” ได้ทรงพระสุหร่ายและทรงเจิม “โลหะธาตุมหามงคล” แล้วพระราชทานให้นำมาหล่อหลอมผสมกับแผ่นทองลงอักขระเลขยันต์ของ “พ่อท่านคลิ้ง” นับเป็นร้อย ๆ แผ่นและโลหะสัมฤทธิ์เก่าสมัยบ้านเชียงที่มีอายุกว่า ๔,๐๐๐ ปี รวมถึงโลหะสัมฤทธิ์อันเป็น ชิ้นส่วนของพระพุทธรูปโบราณหลายสมัย เช่น ลพบุรี, ทวารวดี, สุโขทัย ฯลฯ


    [COLOR=#000000]และจากพิธีสร้างที่ดีเยี่ยมนี้เองจึง เป็นเหรียญ[FONT=Tahoma][COLOR=#984806][FONT=Cordia New][B][SIZE=2][COLOR=#000000]พ่อท่านคลิ้ง [/COLOR][/SIZE][/B][/FONT][/COLOR][/FONT]ที่มีประสบการณ์มากมายอย่างเช่น “นายสุนทร บุญชอุ่ม” ชาวตำบลคานโพธิ์ อ.เมือง จ.สตูล ได้เล่าให้ฟังว่า ตัวเขานั้นมีอาชีพเป็น “ไต้ก๋งเรือ” ประมงขนาดเล็กที่ออกหาปลาในแถบ “ทะเลอันดามัน” โดยมีลูกเรือเพียง ๕ คน ซึ่งช่วงที่พบประสบการณ์นั้น “นายสุนทร” จำได้แม่นว่าเป็นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘ เพราะเป็นฤดูมรสุมทางภาคใต้โดยขณะนำเรือออกหาปลาช่วงเวลาประมาณสองทุ่มเศษ ปรากฏคลื่นขนาดยักษ์ถล่มเรือประมงของเขาอับปางลง “นายสุนทร” พร้อมลูกเรือต่างกระจัดกระจายไปคนละทิศละทางโดย “นายสุนทร” ที่เคยเป็นลูกเรือมาก่อนจึงช่วยเหลือตัวเองด้วยการเกาะเศษไม้จากเรือที่ อับปางคอยพยุงตัวเองลอยคออยู่กลางทะเลถึง “๒ วัน ๒ คืน” โดยขณะนั้นได้แต่ภาวนาให้ “[B]พ่อท่านคลิ้ง[/B]” ช่วยเหลือเนื่องจากในคอแขวน “เหรียญพ่อท่านคลิ้งหลัง ภปร” เพียงเหรียญเดียว กระทั่งเช้าตรู่วันที่สาม ขณะจวนจะหมดแรงอยู่แล้ว ก็มีเรือประมงขนาดใหญ่มาช่วยไว้และหลังจากฟังเรื่องราวของ “นายสุนทร” ทุกคนบนเรือประมงที่มาช่วยต่างสงสัยไปตาม ๆ กันว่า “นายสุนทร” รอดได้อย่างไรเพราะเป็นที่รู้กันดีในหมู่ชาวประมงหากเรือประมงขนาดเล็ก อับปางลงยังกลางทะเล ยากที่จะมีคนรอดได้แม้จะเก่งด้านว่ายน้ำแค่ไหนก็ตาม เพราะการว่ายน้ำข้ามวันข้ามคืนจะทำให้หมดแรงไปเองซึ่งตัว “นายสุนทร” เองก็ไม่รู้เช่นกันว่ารอดได้อย่างไรเพราะช่วงที่ลอยคออยู่ในทะเลนั้น คลื่นแรงมากปะทะหน้าอกเจ็บระบมไปหมดจึงได้แต่ภาวนาขอให้ “เหรียญ[B]พ่อท่านคลิ้ง[/B] ภปร” ที่แขวนอยู่ในคอช่วยแล้วกัดฟันว่ายน้ำไป[/COLOR]


    [SIZE=2]ส่วนอีกเรื่อง “นายฉลอง สง่าวงศ์” อาชีพทำไร่อยู่บ้านเลขที่ ๕๕๑ หมู่ ๔ ต.ไร่ใหม่ อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เล่าว่าตัวเขาชนะคดีความพิพาทกับเพื่อนบ้านเรื่องที่ดิน จึงถูกเพื่อนบ้านผู้นั้นเจ็บแค้นมาตลอด วันหนึ่งในเดือน มิ.ย. ๒๕๔๗ เวลาประมาณสามทุ่มเศษ ขณะ “นายฉลอง” เดินไปตามถนนในหมู่บ้านที่ทั้งมืดและเปลี่ยวปรากฏมีมือปืนมาซุ่มยิงด้วย “ปืนลูกซองกระสุนลูกโดด” (ปกติลูกซองจะเป็นกระสุนลูกปราย) สองนัดปรากฏว่าลูกกระสุนโดนลำตัวนายฉลองอย่างจังแต่นายฉลองกลับไม่เป็นอะไร มือปืนจึงยิงอีก ๒ นัด แต่กระสุนปืนก็ทำอะไรนายฉลองไม่ได้เช่นเคย มือปืนที่ซุ่มยิงจึงวิ่งเข้าหานายฉลองแล้วใช้ด้ามปืนตีท้ายทอยนายฉลอง ที่ยืนงงอยู่กับที่ถึงกับสลบเหมือดแล้วมือปืนจึงหนีไป กระทั่งเช้าวันรุ่งขึ้นจึงมีคนมาพบจึงพยุงนายฉลองกลับบ้าน ปรากฏว่านายฉลองโดนยิงลำตัวถึง ๓ นัด แต่กระสุนไม่เข้าเป็นเพียง “รอยช้ำแดง” เท่านั้นนายฉลองจึงเชื่อมั่นว่าเป็นเพราะ [/SIZE][FONT=MS Sans Serif][SIZE=2][COLOR=#000000]พระเครื่องหลวงพ่อคลิ้ง[/COLOR][/SIZE][/FONT][SIZE=2]“เหรียญพ่อท่านคลิ้งหลัง ภปร” ที่ใส่ตลับสเตนเลสแขวนคอไว้เพียงเหรียญเดียวช่วยไว้....[/SIZE][COLOR=#000000]'แฉ่ง บางกระเบา'[/COLOR]
    [FONT=MS Sans Serif] [B]พ่อท่านคลิ้ง [/B]พระอริยสงฆ์แห่งแดนทักษิณอีกรูปหนึ่ง นาม[B]พ่อท่านคลิ้ง จันทสิริ[/B] แห่งวัดถลุงทอง อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ตลอดช่วงชีวิตในกาสาวพัสตร์ 86 ปีของท่านเปี่ยมไปด้วยความเมตตาต่อผู้ไปกราบนมัสการท่าน กล่าวในด้านความศักดิ์สิทธิ์ของ[B]พ่อท่านคลิ้ง[/B]นั้น ในสมัยที่พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน ยังมีชีวิตอยู่ เมื่อชาวอำเภอร่อนพิบูลย์ไปกราบนมัสการท่านถึงวัดสวนขัน ท่านมักกล่าวว่า [B]"ทีหลังไม่ต้องมาไกลถึงนี้หรอก ไปหาท่านคลิ้งนั้นแหละ ท่านคลิ้งให้พรดีเหมือนฉัน"[/B][/FONT]
    [SIZE=2]เหรียญปั๊มรูปเหมือนหลัง ภปร.[FONT=Tahoma][COLOR=#984806][FONT=Cordia New][B][SIZE=2][COLOR=#000000]พ่อท่านคลิ้ง[/COLOR][/SIZE][/B] [URL="http://www.tumsrivichai.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87"][SIZE=2][COLOR=#000000]พระเครื่อง[/COLOR][/SIZE][/URL][/FONT][/COLOR][/FONT]ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2521 ซึ่งเหรียญ[B]พ่อท่านคลิ้ง[/B] หลัง ภปร.นี้ เป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ ด้านหน้าเป็นรูปเหมือน[B]พ่อท่านคลิ้ง[/B]หันข้างครึ่งรูป มีอักษรโดยรอบเหรียญว่า "[B]พ่อท่านคลิ้ง[/B] จันทสิริ อายุครบ 93 ปี วัดถลุงทอง นครศรีธรรมราช พ.ศ.2521" ด้านหลังเป็นพระปรมาภิไธยย่อ ภปร.และอักขระขอมเหรียญ [B]พ่อท่านคลิ้ง[/B] หลัง ภปร.นับเป็นเหรียญดี พิธีเด่นเหรียญหนึ่งทีเดียว กล่าวคือ เป็นเหรียญที่พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล หรือเสด็จพระองค์ชายใหญ่ ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตอัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. ประดิษฐานที่ด้านหลังเหรียญ[B]พ่อท่านคลิ้ง[/B] จึงนับว่าเป็นสิริมงคลอันสูงสุด เหรียญที่มีตราพระปรมาภิไธยย่อในวงการสะสมบูชาพระเครื่องล้วนเป็นที่นิยม ด้วยมีความเกี่ยวเนื่องในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ทรงพระสุหร่ายและทรงเจิมโลหธาตุมหามงคล แล้วพระราชทานหล่อหลอมรวมกับแผ่นทองลงอักขระเลขยันต์ของ[B]พ่อท่านคลิ้ง [/B]นับร้อย แผ่น และโลหะสัมฤทธิ์เก่าสมัยบ้านเชียง อายุกว่า 4,000 ปี และชิ้นส่วนพระพุทธรูปโบราณสมัยทวารวดี, ลพบุรี, สุโขทัยได้ทำพิธีพุทธาภิเษก ณ อุโบสถวัดถลุงทอง เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2521 มี[B]พ่อท่านคลิ้ง [/B]เป็นประธานจุดเทียนชัย และนั่งปรก มีพระเกจิอาจารย์ร่วมปลุกเสก คือ พ่อท่านจันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้มีวัตรปฏิบัติอันดีและเคยก่อเกิดปาฏิหาริย์ระหว่างการปลุกเสกมาหลายครั้ง หลายหน พ่อท่านผอม วัดหญ้าปล้อง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช พระเกจิอาจารย์รูปนี้มีสมาธิแรงกล้ามาก วิทยาคมเป็นที่เลื่องลือ พ่อท่านหนูจันทร์ วัดพันธเสมา อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช พระเกจิอาจารย์ผู้นิยมอยู่ในป่าช้าเป็นที่พำนัก พระครูกาชาด วัดพระบรมธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้มีสมาธิอันสูงส่ง พระครูกาชาด (บุญทอง) วัดดอนศาลา อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ศิษย์สำนักวัดเขาอ้ออันเลื่องชื่อ พระอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา ศิษย์สำนักเขาอ้ออีกรูปหนึ่ง หลวงพ่อบุญรอด วัดประดู่พัฒนาราม จังหวัดนครศรีธรรมราช พระเกจิอาจารย์รูปนี้มีทหารเป็นศิษย์มากมาย เพราะวัตถุมงคลของท่านเลื่องชื่อ มีวัตรปฏิบัติไม่ฉันเนื้อสัตว์ และไม่รับนิมนต์ไปในงานที่มีการเลี้ยงเหล้า และฆ่าสัตว์ เล่นการพนันนอก จากนั้น ยังมีหลวงพ่อเจิม วัดใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช พระครูสังข์ วัดดอนตรอ อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช พระอาจารย์แอบ วัดปากน้ำ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ร่วมปลุกเสก มีขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นเจ้าพิธีฝ่ายฆารวาส ปลุกเสกเหรียญ[B]พ่อท่านคลิ้ง[/B][/SIZE]



    [SIZE=2]สำหรับใครที่ยังไม่เคยไปกราบไหว้ [B][URL="http://www.tumsrivichai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539682&Ntype=5"][B][COLOR=#000000]พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง[/COLOR][/B][/URL][/B] ถ้ามีโอกาสลองแวะเข้าไปกราบไหว้สรีระพระอริยะสงฆ์แดนทักษิณ ดูนะครับเพื่อขอพรและความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว[/SIZE]


    ขอขอบคุณที่มาข้อมูลเจ้าของบทความอย่างสูงครับ


    พระผงรูปเหมือนพ่อท่านคลิ้ง เลี่ยมพลาสติคกันน้ำอย่างดี



    ให้บูชา 1000 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ


    [​IMG] [​IMG]


     
  2. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,466
    ค่าพลัง:
    +21,327
    พระของขวัญ วัดปากน้ำ รุ่นซื้อที่ดิน เนื้อโลหะ สภาพเดิมๆพร้อมกล่อง

    ให้บูชา 450 บาทค่าจัดส่ง EMS 50 บาทครับ

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  3. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,466
    ค่าพลัง:
    +21,327
    พระสมเด็จเนื้อดินเผาวัดสุทาโภชน์

    เนื้อดินเผาหายาก ไม่ค่อยเจอ ของดีที่หลายคนไม่รู้จัก

    ให้บูชา 500 บาทค่าจัดส่ง EMS 50 บาทครับ

    [​IMG] [​IMG]
     
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,466
    ค่าพลัง:
    +21,327
    [​IMG]

    หลวงพ่อเสือ วัดสามง่าม

    ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2515 จนถึงหลวงพ่อเต๋ สิ้น ในปี พ.ศ. 2524 ศิษย์เอกหลวงพ่อเต๋ ที่ท่านไว้วางใจให้ทำธุรกรรมต่างๆทางด้านพุทธาคมแทนท่าน ในช่วงที่ท่านติดกิจนิมนต์ หรือในช่วงปลายชีวิตท่านที่ท่านต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อยครั้ง ก็คือ อาจารย์เสือ
    เหรียญรุ่นแรก อาจารย์เสือ สร้างในปี พ.ศ. 2518 ( ปีเดียวกับที่หลวงพ่อแย้ม ออกเหรียญรุ่นแรกของท่าน ) โดยผู้ที่สร้างถวายท่าน เป็นสตรีชาวสิงคโปร์ ที่ให้ความเคารพนับถือในตัวของ อาจารย์เสือ อย่างมาก โดยอาจารย์เสือ ได้ถอดพิมพ์ เหรียญห่มคลุมหลวงพ่อเต๋ ที่สร้างในปีเดียวกัน เหรียญรุ่นแรกของอาจารย์เสือนี้ ท่านได้ลงเหล็กจารด้วยตัวของท่านเอง ทุกองค์ ที่สำคัญ อาจารย์เสือได้ ดำน้ำลงไปจาร ด้วยตัวของท่านเองทุกเหรียญ เรื่องอาจารย์เสือดดำน้ำลงเหล็กจารนี้ ลูกศิษย์ในยุคนั้นต่างก็ เห็นด้วยตาของตนเอง หลายคน สามารถเชื่อถือได้
    อาจารย์ เสือ ท่านเป็นพระที่ ร้อนวิชา องค์นึง พุทธาคมของท่านจะหนักไปในด้านของ คงกระพันชาตรี จนเป็นที่เชื่อถือของบรรดาลูกศิษย์หลวงพ่อเต๋ ในช่วงที่ อาจารย์เสือ จำวัดอยู่ที่วัดสามง่าม กุฏิของท่านจะอยู่ด้านหน้าวัดก่อนกุฏิหลวงพ่อเต๋ อาจารย์วัดสามง่ามที่เป็นผู้หญิงหลายคนได้เล่าให้ฟังว่า ในช่วงที่ อาจารย์เสือ อยู่ที่วัดสามง่าม ผู้หญิง ไม่ค่อยกล้าเข้าวัดสามง่าม เพราะว่าลูกศิษย์ของอาจารย์เสือแต่ละคนที่มาให้ท่านสัก หรือขอของดีจากท่าน ล้วนแล้วแต่ น่ากลัวทั้งสิ้น หน้าตาดุเหมือนเสือ จนยุคนั้นผู้หญิงไม่กล้าเข้าวัดสามง่าม ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ
    อาจารย์เสือ ท่านเป็นคนพื้นเพอยู่ที่วัดสามง่าม ท่านจะมีอายุ น้อยกว่า หลวงพ่อแย้ม ประมาณ 10 - 12 ปี เรียกได้ว่า เมื่อตอนที่่หลวงพ่อแย้มบวช อาจารย์เสือ ยังเป็นเด็ก วิ่ิงซนอยู่ในวัดสามง่ามนั่นเอง อาจารย์เสือ ท่านได้บวชเมื่ออายุครบบวช ตามปกติ แรกทีเดียวท่านคิดจะบวชแค่พรรษาเดียว เมื่อครบพรรษาท่านได้ไปขอสึกกับหลวงพ่อเต๋ ชะรอยว่าหลวงพ่อเต๋ท่านคงทราบด้วญญาณของท่าน ว่าอาจารย์เสือจะเป็นเสาหลักของวัดสามง่ามได้ในอนาคต ท่านจึงขอให้อาจารย์เสือบวชไปก่อน อาจารย์เสือจึงต้องบวชต่อไป และได้ทำการศึกษาพุทธาคมกับหลวงพ่อเต๋ จนท่านไม่ได้สึกและมรณภาพในผ้าเหลือง
    น่าเสียดายที่ อาจารย์เสือ ท่านอายุสั้น ท่านเสียหลังจากหลวงพ่อเต๋เสียได้แค่ 2 ปี อาจารย์เสือท่านเสียในปี พ.ศ. 2526 ในขณะที่ท่านมีอายุได้ประมาณ 56 - 58 ปี เท่านั้น ดังที่คนโบราณเคยกล่าวไว้ว่า หลวงพ่อที่พุทธคุณหนักทางด้านคงกระพันชาตรี ถ้าไม่มีบุญมากพอ อายุจะสั้น แต่ก่อนที่ อาจารย์เสือจะมรณภาพ ประมาณ ่2 -3 ปี ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็น เจ้าอาวาส วัดหัวถนน แต่ท่านไม่สามารถไปครองวัดหัวถนนได้ เนื่องจากในช่วงนั้นท่านป่วยหนัก ต้องทำการรักษาตัว จนท่านมรณภาพ ในปี พ.ศ. 2526 ในช่วงประมาณ ปี พ.ศ. 2530 เศษ การประกวดพระในส่วนกลาง มักจะมี รายการพระของอาจารย์เสือ บรรจุอยู่ในรายการ 2-3 รายการ เป็นอย่างต่ำเสมอ จนเวลาผ่านมา 20 ปี เศษ ในปีประมาณ พ.ศ. 2538 หลวงพ่อแย้ม จึงได้ขึ้นมา มีชื่อเสียงแทนท่าน ชื่อเสียงของ อาจารย์เสือ ก็ได้เลือนหายไปจากความทรงจำ ของบรรดาลูกศิษย์ และเซียนพระรุ่นเก่า ยิ่งถ้าเป็นเซียนพระรุ่นใหม่ๆ นี่ไม่มีใครรู้จักอาจารย์เสือ เลยซักคน
    เป็นความจริง ที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2518 ที่ทั้ง อาจารย์เสือ และหลวงพ่อแ้ย้ม ได้ออกเหรียญรุ่นแรกพร้อมกัน แต่เพราะว่าพระของ อาจารย์เสือ ได้ไปอยู่ที่สิงคโปร เป็นจำนวนมาก ทำให้เหรียญของอาจารย์เสือ มีคนเสาะหากันมาก เนื่องจากมีคนแขวนเหรียญร่นแรกของท่านไปโดนยิงมาแล้ว ไม่เข้า ทำให้ มีการให้ราคากันหลายร้อยทีเดียว แต่ในขณะที่ เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อแย้ม ไม่มีใครต้องการ จนถึงปี ประมาณ พ.ศ. 2545 เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อแย้ม เริ่มมี ราคาในสนามพระนครปฐม ซื้อขายกันอยู่ที่หลักร้อยต้นๆ เท่านั้นเอง แต่ก็ไม่มีใครสนใจเท่าไหร่ เนื่องจากขายไม่ได้นั่นเอง จนเมือปี พ.ศ. 2548 เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อแย้มจึงมีคนต้องการกันมากขึ้น เนื่องจากท่านมีชื่อเสียงมากขึ้นเรียกว่าอยู่ในระดับประเทศนั่นเอง เหรียญรุ่นแรกของท่านสภาพสวยอยู่ในราคา 3,000 บาท แต่ในปัจจุบันราคาอยู่ที่ 10,000 บาท ครับ
    เหรียญห่มคลุม หลวงพ่อเต๋นี้ ในปี พ.ศ. 2518 ถือเป็นเหรียญที่ออกแบบได้สวยงามมากเหรียญหนึ่ง โดยถอดแบบมาจากรูปโปสการ์ด หลวงพ่อเต๋ เป็นเหรียญรุ่นนิยม อีกรุ่นหนึงของหลวงพ่อเต๋ ที่สำคัญเหรียญนี้เคยมีคนไปโดนยิงมาแล้วไม่เข้า เลยเป็นที่เสาะหากันมากในยุคนั้น
    หลวงพ่อแย้ม เดิมชื่อ แย้ม เดชมาก เกิดเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ.2458 บ้านเดิมท่านอยู่แถววัดดอนตูม ซึ่งอยู่ห่างจากวัดสามง่ามไป ประมาณ 8 -10 กม.

    หลวงพ่อแย้มท่านบวชเมื่อ วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2481 ในช่วงแรกนั้นท่านตั้งใจบวชแค่พรรษาเดียว แต่ไม่ทราบด้วยสาเหตุอันใด ทำให้ท่านตัดสินใจบวชไม่สึก แต่เพราะว่าท่าน ไม่ได้เรียนหนังสือ ทำให้ท่านอ่านและเขียนหนังสือไทยไม่ได้ หลังจากที่ท่านตัดสินใจบวชไม่สึก ท่านจึงต้องเริ่มมา เรียนหนังสือไทย ใหม่ ชนิดที่เรียกได้ว่าเริ่มต้นเรียน ก.ไก่ กันเลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้ ทำให้ท่านเริ่มต้นเรียนพุทธาคมได้ช้ากว่าลูกศิษย์หลวงพ่อเต๋องค์อื่นๆ ที่สำคัญในช่วงปี พ.ศ. 2490 เศษ ชื่อเสียงหลวงพ่อเต๋ โด่งดังมาก ชนิดที่เรียกได้ว่า ในนครปฐม ท่านเป็นพระที่ดังที่สุดและดังทั่วประ้เทศไทยเลยทีเดียว ท่่านดังมาก่อนหลวงพ่อเงิน และหลวงพ่อน้อยหลายปีทีเดียว ท่านน่าจะเป็นพระสงฆ์องค์แรกๆ ทีเดียวที่รับกิจนิมนต์ ไปต่างประเทศ วัดสามง่ามในช่วงนั้น มีพระสงฆ์จำพรรษา 70 -80 องค์ เลยทีเดียว การปกครองสงฆ์ต้องแบ่งเป็นคณะ หลายคณะทีเดียว พระสงฆ์ที่มาเรียนพุทธาคมกับหลวงพ่อเต๋ต้องช่วยตัวเองอย่างมาก เพราะท่านไม่มีเวลามาเอาใจใส่ได้อย่างทั่วถึง เรียกได้ว่าถ้าพระองค์ใดสนใจก็จะได้ ถ้าไม่สนใจก็ไม่ได้
    ที่สำคัญ หลวงพ่อแย้ม ท่านไม่ค่อยให้ความสนใจในเรื่องการสร้างพระเครื่อง และกุมารทอง เรียกได้ว่าค่อนข้างจะ แอนตี้ ด้วยซ้ำ ทำให้พุทธาคมของท่าน ก้าวหน้าสู้ลูกศิษย์หลวงพ่อเต๋องค์อื่นๆไม่ได้ ยิ่งในช่วงบั้นปลายชีวิตหลวงพ่อเต๋ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส ทำให้หลวงพ่อแย้มต้องติดตาม หลวงพ่อเต๋ ตลอด ไม่่ว่าหลวงพ่อเต๋จะรับกิจนิมนต์ไปที่ใด หรือไม่ก็ต้องคอยดูแลความเรียบร้อยภายในวัด ทำให้ อาจารย์เสือ ที่บวชหลังท่านเป็นสิบปี ก้าวหน้าไปกว่าท่าน จนเป็นที่ยอมรับของ หลวงพ่อเต๋ และบรรดาลูกศิษย์ จนเมื่อหลวงพ่อเต๋มรณภาพ หลวงพ่อแย้มได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส แต่ในช่วงนั้นท่านก็ไม่ได้รับการยอมรับของบรรดาลูกศิษย์หลวงพ่อเต๋ แต่อาจารย์เสือกลับมีชื่อเสียงโด่งดังมาก จนถึงปี พ.ศ. 2538 ท่านได้สร้างพระเครื่อง ออกแจกแก่ลูกศิษย์ เนื่องในวาระอายุครบ 80 ปี และหนังสือมหาโพธิ์ เอาชีวประวัติ ของท่านไปเผยแพร่พร้อมกับพระเครื่องของท่าน ทำให้ลูกศิษย์หลวงพ่อเต่ทั่วประเทศ ได้รู้ว่า มีศิษย์ของท่าน สืบทอด การสร้างกุมารทอง นางกวัก และตะกรุด อยู่ที่วัดสามง่าม ลูกศิษย์หลวงพ่อเต๋ก็เริ่มมาหาท่านที่วัด และมาร่วมงานไหว้ครูที่วัดสามง่ามกันมากขึ้น และได้สัมผัสกับพุทธาคมของหลวงพ่อแย้ม จนเป็นที่ยอมรับกัน
    แต่ก็เป็น ที่ยอมรับกันในหมู่ลูกศิษย์ เก่าๆ ของหลวงพ่อเต๋ ว่า ศิษย์เอกของหลวงพ่อเต๋ที่เป็นที่ยอมรับกันในช่วงนั้น ก็คือ อาจารย์เสือ วัดสามง่าม ถัดจากอาจารย์เสือ ก็คือ อาจารย์แกละ วัดลำลูกบัว ซึ่งในช่วงปี 2520 - 2538 อาจารย์เสือ และอาจารย์แกละ ท่านโด่งดังมากในเขตอำเภอดอนตูม และใกล้เคียง พอสิ้นทั้งสององค์ หลวงพ่อแย้ม จึงขึ้นมาแทน และเป็นที่ยอมรับในหมู่ลูกศิษย์สายวัดสามง่ามในเวลาต่อมา เรียกได้ว่า ปัจจุบันท่านถือว่าเป็นเกจิติดอันดับหนึ่งของประเทศก็ว่าได้ หลวงพ่อแย้มเคยพูดให้ลูกศิษย์ใกล้ชิดฟังเสมอๆ ว่า พระของท่านปลุกเสกมากกว่าของเกจิองค์อื่น ถึงแม้จะไม่มีพิธีพุทธาภิเษกก็ตาม เพราะท่านปลุกเสกของท่าน ทุกคืน ๆ นึงประมาณ 30 นาที ครับ



    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลอย่างสูงและที่มาจากเวป

    http://www.pantown.com/board.php?id=34549&area=4&name=board4&topic=437&action=view

    เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อแย้ม วัดสามง่ามสร้า้งปีเดียวกกันปัจจุบันบุชากันหลายหมื่นหลวงพ่อเสือ ศิษย์

    วัดสามง่ามเช่นกันครับสร้า้งปีเดียวกัน


    เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อเสือ วัดสามง่าม

    (ปิดรายการ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มิถุนายน 2014
  5. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,466
    ค่าพลัง:
    +21,327
    เหรียญหลวงปู่เสงี่ยม วัดสุวรรณเจดีย์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มิถุนายน 2014
  6. ฺBumnet28

    ฺBumnet28 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2011
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +264
     
  7. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,466
    ค่าพลัง:
    +21,327
    [​IMG]

    หลวงพ่อคลี่ วัดประชาโฆษิตาราม

    อ่านประัติเรื่องราวของท่านจากเวปพลังจิตนี้ครับ

    http://palungjit.org/threads/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%86%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1.276585/

    และเวป http://watpracha.siam2web.com .:: [Powered by Siam2Web.com]


    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลอย่างสูงและที่มาจากเวป ทุกเวปครับ


    เหรียบญหลวงพ่อคลี่ปี๒๕๑๔ สภาพสวยสมบูรณ์เดิมๆ


    ให้บูชา 600 บาทค่าจัดส่ง EMS 50 บาทครับ

    [​IMG] [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มิถุนายน 2012
  8. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,466
    ค่าพลัง:
    +21,327
    [​IMG]

    พระอาจารย์ บุญทัน ฐิตสีโล
    วัดเขาเจริญธรรม ตำบลหนองแจง อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์
    พระอาจารย์บุญทัน ฐิตสีโล นาม เดิม บุญทัน ชาเพ็ง เกิดที่บ้านหนองสระ ต.วังใหญ่ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ เกิดเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493

    บิดาชื่อสำลี มารดาชื่อปิ่น มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 2 คน

    เมื่อท่านอายุได้ 7 ขวบ มารดาได้เสียชีวิตลง บิดาได้แต่งงานใหม่ และมีบุตรธิดากับภรรยาใหม่

    จำนวน 7 คน

    พ.ศ. 2507 ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบ้านหนองสระ 3 พรรษา ละลาสิกขามาช่วยบิดามารดา

    ทำงานจนอายุครบบวช คือ 20 ปีบริบูรณ์ จึงเข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ ณ วัดเพชรวรา

    ราม อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ โดยมี “พระครูประสาท พุทธปริตร” เป็นพระอุปัชฌาย์ “พระอาจารย์บุญ

    เวียง ปิยวาโร” เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ฐิตสีโล” ซึ่งตรงกับวันที่ 10 กรกฎาคม

    พ.ศ. 2513 หลังอุปสมบทได้ไปอยู่จำพรรษากับ “หลวงพ่อเพ็ง พุทธธัมโม” ที่วัดเขาเจริญธรรม

    เป็นเวลา 2 พรรษา

    พ.ศ. 2515 อยู่จำพรรษาที่วัดป่าบ้านตาด น้อมรับอุบายภาวนาจาก “หลวงตาพระมหาบัว ญาณ

    สัมปันโน” 3 พรรษา

    พ.ศ. 2518-2522 จำพรรษาใต้ร่มบารมีธรรมของ “หลวงปู่หล้า เขมปัตโต” ที่วัดภูจ้อก้อใหญ่

    และภูจ้อก้อน้อย รวม 5 พรรษา


    พ.ศ. 2523 กลับมาจำพรรษาที่วัดเขาเจริญธรรม ต.หนองแจง อ.บึงสาม

    พัน จ.เพชรบูรณ์ และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวั
    ดเขาเจริญธรรมจวบจนกระทั่งปัจจุบัน.​

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลอย่างสูงและที่มาจากเวป

    http://www.saccadham.com/Page3.php?id=28

    เหรียญพระพุทธชินราชรุ่น๑ วัดเขาเจริญธรรม

    ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่ง EMS 50 บาทครับมีเหรียญครับ

    [​IMG] [​IMG]
     
  9. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,466
    ค่าพลัง:
    +21,327
    พระสมเด็จพุทธภูมิและพระสมเด็จกำแพงแก้ว
    วัดรัมภาราม ( บ้านกล้วย )
    อำเภอท่าวุ้ง จ.ลพบุรี
    พ.ศ.๒๕๐๔
    เนื้อผงน้ำมัน
    …………………………………………………..


    เป็นพระสมเด็จที่สร้างขึ้นในสมัยพระครูโสภิตธรรมสาส์น อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ ๓ ( พ.ศ.๒๔๙๓ - ๒๕๑๘ ) พร้อมกับพระสมเด็จกำแพงแก้ว ท่านพระครูโสภิตธรรมสาส์นได้จัดสร้างพระสมเด็จพุทธภูมิและพระสมเด็จกำแพง แก้วขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแจกเป็นของสมนาคุณแก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาค ทรัพย์ตั้งมูลนิธิเลี้ยงพระ เณร และนักศึกษาในวัด ด้วยเหตุนี้ จึงนับได้ว่าทั้งพระสมเด็จพุทธภูมิและพระสมเด็จกำแพงแก้วนี้ ต่างก็เป็นพระเครื่องที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดสร้างที่ดี

    พระสมเด็จพุทธภูมิและพระสมเด็จกำแพงแก้ว นับเป็นพระเครื่องที่มีความโดดเด่นและมีชื่อเสียงในวงการนักนิยมสะสมพระ เครื่องมานานจวบถึงถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ มิใช่เป็นเพียงเพราะการเป็นพระพิมพ์สมเด็จที่มีการประยุกต์ให้ดีขึ้นจากต้น แบบเดิมเท่านั้น หากแต่ยังเป็นเพราะว่าได้มีนำรูปพระแก้วมรกตมาจำลองแบบไว้ภายในครอบแก้วด้วย นั่นเอง ซึ่งเดิมทีแล้ว ทางวัดได้ทำการแจกจ่ายออกไปโดยที่มิได้มุ่งหวังความโด่งดังอะไรเลย แต่ผลปรากฎที่ออกมากลับเป็นที่น่าชื่นชมอย่างยิ่ง กล่าวคือใครก็ตามที่ได้พบเห็นพระสมเด็จพุทธภูมิและพระสมเด็จกำแพงแก้วไม่ว่า จะ ณ ที่ใดก็ตาม จะรู้สึกเหมือนมีอะไรดึงดูดใจให้ต้องเข้าไปชะโงกดูใกล้ ๆ แล้วก็พากันยอมรับในฝีมือช่างโดยปราศจากข้อกังขา แม้ว่าจะมีผู้สร้างพระสมเด็จออกมาเป็นล้าน ๆ องค์ แต่ก็หาใช่เรื่องง่ายเลยที่จะมีพระพิมพ์สมเด็จของใครสร้างออกมาได้อย่างเป็น ที่โดดเด่น มีเอกลักษณ์เฉพาะเช่นนี้ และที่สำคัญมวลสารที่นำมาจัดสร้างทั้งพระสมเด็จพุทธภูมิและพระสมเด็จกำแพง แก้ว ก็นับเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความขลังได้ไม่น้อยเลยที่เดียว

    มวลสารที่นำมาจัดสร้าง :

    - ดินเก่าในกรุวัดราชบูรณะ จ.อยุธยา

    - ดินเก่าวัดพระรูป จ.สุพรรณบุรี

    - ดินเก่าวัดมหาธาตุ จ.ลพบุรี

    - ดินกรุวัดหินตั้ง จ.สุโขทัย

    - ดินกรุวัดอรัญญิก จ.พิษณุโลก

    - ดินกรุวัดนครชุม จ.พิจิตร

    - ดินกรุวัดบรมธาตุทุ่งเศรษฐี จ.กำแพงเพชร

    - ไคลสีมาวัดโพธิ์แก้วนพคุณ จ.สิงห์บุรี

    - ไคลสีมาวัดเกาะแก้ว จ.ลพบุรี

    - ไคลสีมาวัดเขาแก้ว จ.ลพบุรี

    - ไคลสีมาวัดป่าแก้ว จ.อยุธยา

    - ไคลสีมาวัดชุมแก้ว จ.ปทุมธานี

    - ไคลสีมาวัดอ่างแก้ว จ.สมุทรสาคร

    - ไคลสีมาวัดแก้ว จ.ลพบุรี

    - ดินสังเวชนียสถานจากอินเดีย ๗ ตำบล

    - ทรายจากกระถางธูปในสถานที่ที่มีผู้คนสักการะบูชา ๗ แห่ง

    - เกสรดอกไม้บูชาพระ ๗ แห่ง

    - ใบโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่นำมาปลูกในประเทศไทย ๗ ต้น

    - คัมภีร์พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ตัวขอมผูกอาราธนาหลวงพ่อผู้ทรงคุณพิเศษ ๗ รูป

    - ดินจอมปลวก ๗ จอม

    - น้ำมนต์ ๗ วัดเป็นตัวประสานมวลสาร

    พิธีพุทธาภิเษก :

    ได้มีการจัดพิธีตรงกับวันเสาร์ขึ้น ๙ ค่ำโดยได้มีการอัญเชิญองค์พระแก้วมรกตจำลองสู่โรงพิธี จากนั้นพระสงฆ์ ๗ รูปเจริญพระพุทธมนต์เย็น พอตะวันตกดิน พระสงฆ์เริ่มสวดพุทธาภิเษก คณาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษนั่งปรกปลุกเสกตลอด ๗ คืน หลังจากนั้น พอขึ้น ๑๔ ค่ำก็สวดเดินธาตุและสวดญัตติตามคัมภีร์โบราณก่อนจะนำออกให้ชาวบ้านญาติโยม บูชาต่อไป

    อนึ่ง ก่อนหน้านั้น ทางวัดได้อาราธนาหลวงพ่อผู้เป็นที่ยอมรับนับถือของคนไทยทั้งประเทศในสมัย นั้น ๗ องค์มาร่วมทำการปลุกเสกอันได้แก่ :-

    ๑.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.อยุธยา

    ๒.หลวงปู่คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์ จ.ลพบุรี

    ๓.หลวงพ่อชม วัดตลุก จ.ชัยนาท

    ๔.หลวงพ่อมี วัดเขาสมอคอน จ.ลพบุรี

    ๕.หลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว จ.สิงห์บุรี

    ๖.หลวงพ่อโสภิตธรรมสาส์น วัดรัมภาราม จ.ลพบุรี

    ๗.หลวงพ่อสมดี จ.สิงห์บุรี

    เมื่อสร้างและทำพิธีปลุกเสกเสร็จสมบูรณ์แล้ว ทางวัดก็ได้มอบพระสมเด็จพุทธภูมิและพระสมเด็จกำ แพงแก้วให้แก่พระเกจิอาจารย์ทั้ง ๗ รูปไปจำนวนหนึ่ง ซึ่งไม่ทราบเหมือนกันว่ามากน้อยเท่าใด แต่โดยเฉพาะหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอกนั้น น่าจะได้มากกว่าเกจิอาจารย์รูปอื่น ๆ เนื่องจากปรากฎภายหลังว่าหลวงพ่อจงท่านได้นำเอาพระสมเด็จกำแพงแก้วแจกแก่ ลูกศิษย์ลูกหาไปจำนวนหนึ่งไม่น้อยเลยทีเดียว และภายหลังปรากฎว่าพระสมเด็จทีแจกไปนั้น เป็นที่นิยมศรัทธาอย่างสูง โดยผู้ที่ได้รับแจกต่างพากันเข้าใจไปว่าเป็นพระสมเด็จสร้างโดยหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ทั้งแท้ที่จริงแล้วเป็นของวัดรัมภารามนั่นเอง

    ของปลอม :

    เนื่องจากพระสมเด็จรุ่นนี้ เป็นที่ได้รับความนิยมศรัทธาอย่างมาก จึงสันนิษฐานว่าส่วนหนึ่งอาจจะมีการทำปลอมแปลงออกมาต้มตุ๋นหมูสนาม ดังนั้น ในการเล่นหาจึงควรพึงระวังให้มาก ให้จำไว้อย่างหนึ่งว่าพระสมเด็จพุทธภูมิและพระสมเด็จกำแพงแก้ว เป็นพระ “เนื้อผงน้ำมัน“ ที่มีความแกร่งต่างจากพระผงน้ำมันสำนักอื่น ๆ โดยสีสันวรรณะขององค์พระนั้น มีหลายสีไม่เหมือนกันโดยเท่าที่พบ จะมีทั้งสีขาวอมชมพู , สีขาวออกเทา , สีกลีบดอกจำปี , สีช็อคโกแลต , สีแดงคล้ายสีดินเผา , และสีขาวอมฟ้า

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลอย่างสูงและที่มาจากเวป

    พระสมเด็จกำแพงแก้วสภาพยังพอสมบูรณ์ไม่ต้องกลัวของปลอมของเก๊หลอกหมู

    สนามรับประกันมั่นใจได้เก๊คืนได้คืนเต็ม


    (ปิดรายการครับ)

    [​IMG] [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ตุลาคม 2012
  10. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,466
    ค่าพลัง:
    +21,327
    เหรียญหลวงพ่อวัดมาบฉลูด หลวงปู่ทิมร่วมอธิฐานจิตปลุกเสกปี๒๕๑๔

    นับเป็นอีก 1 วัตถุมงคลชุดนอกวัดในองค์หลวงปู่ทิม อิสริโก


    (ปิดรายการครับ)

    [​IMG] [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2012
  11. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,466
    ค่าพลัง:
    +21,327
    วันนี้จัดส่ง

    EI 388164716TH ยโสธร คุณนิรันดร



    EI 388164720TH พังโคน คุณกฤษฎากรณ์



    ขอบคุณครับ
     
  12. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,466
    ค่าพลัง:
    +21,327
    เหรียญสมเด็จองค์ปฐม หลวงปู่บุญศรี

    ให้บูชา 500 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ(ปิดรายการ)
    [​IMG]


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤษภาคม 2012
  13. วิโรจน์999

    วิโรจน์999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +3,918
    ปิด...เหรียญสมเด็จองค์ปฐม หลวงปู่บุญศรี ครับ
     
  14. pong-sit

    pong-sit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,626
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +17,781
    เหรียญสมเด็จองค์ปฐม หลวงปู่บุญศรี

    มีอีกไหมครับ
     
  15. pong-sit

    pong-sit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,626
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +17,781
    เหรียญสมเด็จองค์ปฐม หลวงปู่บุญศรี

    มีอีกไหมครับ
     
  16. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,466
    ค่าพลัง:
    +21,327
    รับทราบครับ ขอบคุณครับ

    ที่ให้บูชาหมดแล้วครับท่าน

    ขอบคุณครับ
     
  17. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,466
    ค่าพลัง:
    +21,327
    วันนี้จัดส่ง

    EI 7649 0074 3TH ตากฟ้า


    EI 7649 0075 7TH บำเหน็จนรงค์


    EI 7649 0076 5TH ปทุมธานี


    RF 9265 9028 1 TH หลักสี่

    ขอบคุณครับ
     
  18. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,466
    ค่าพลัง:
    +21,327
    [​IMG]


    วัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนา)
    ลาดพร้าว บางกะปิ กรุงเทพฯ (2458 ปัจจุบัน)
    [FONT=&quot]ที่มา : http://www.kaskaew.com[/FONT]​
    [​IMG]
    นามเดิม หลอด ขุริมน
    เกิด วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2458 ปีเถาะ จ.ศ. 1277 กำเนิด ณ บ้านขาม ต.หัวนา อ.หนองบัวลำภู จ. อุดรธานี
    โยมบิดา คุณพ่อบัวลา ขุริมน
    โยมมารดา คุณแม่แหล้ (แร่ ขุริมน) มีพี่น้องร่วมอุทรเดียวกัน 3 คน คือ
    1. นายเกิ่ง ขุริมน (ถึงแก่กรรม)
    2. นางประสงค์ ขุริมน (ถึงแก่กรรม)
    3. พระครูปราโมทย์ธรรมธาดา (หลวงปู่หลอด ปโมทิโต)
    การศึกษา
    เมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่ มีอายุครบเกณฑ์ที่จะเข้าศึกษาเล่าเรียนในชั้นประถมศึกษา คุณพ่อบัวลาจึงได้พาไปฝากเรียนที่โรงเรียนประชาบาลวัดบ้านหิน ตำบลหัวนา อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำหมู่บ้าน จนกระทั่งท่านได้จบการศึกษาตามหลักสูตรในสมัยนั้น คือชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พออ่านออกเขียนได้ ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่อายุได้ 16 ปี ก็เรียกได้ว่ากำลังหนุ่มแน่น มีกำลังแรงงานดี จึงเป็นแรงสำคัญของทางบ้านในการทำเรือกสวนไร่นา แต่ก็เป็นอันต้องมีเหตุให้เกิดความเศร้าเสียใจเป็นอย่างมาก เมื่อคุณแม่แหล้ผู้เป็นมารดาล้มป่วยอย่างหนัก และถึงแก่กรรมในที่สุด พระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านตั้งใจไว้ว่าจะบรรพชา เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่มารดาเมื่อถึงเวลาอันสมควร
    บรรพชา
    เมื่อหลวงปู่อายุได้ 18 ปี ก็ได้มีโอกาสเข้าบรรพชาเป็นสามเณรสมดังใจตั้งมั่นที่วัดศรีบุญเรือง ตำบลหัวนา อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระอธิการคูณ เจ้าอาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ และเมื่อบวชเณรอยู่ได้ไม่นาน บิดาก็มาเสียชีวิตไป เมื่อคุณพ่อบัวลามาด่วนจากไปเสียอีกคน หลวงปู่ท่านจึงต้องลาสิกขาออกมาเพื่อช่วยพี่ ๆ ทำเรือกสวนไร่นาต่อไป
    อุปสมบท
    เมื่อความคิดอยากจะบวชอีกครั้งยังมีอยู่ ยังไม่ลบเลือนไปจากจิตใจ สองปีต่อมาหลวงปู่จึงได้หาโอกาสที่จะปล่อยวางงานและภาระทางบ้าน เพื่อมาบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนา
    พระเดชพระคุณหลวงปู่ได้ก้าวเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ สังกัดมหานิกาย ณ พัทธสีมาวัดธาตุหันเทาว์ ตำบลบ้านขาม บ้านเกิดของหลวงปู่นั่นเอง เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2479 ตรงกับวันจันทร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือนสาม ปีจอ โดยมีพระอาจารย์ชาลีวัดโพธิ์ชัยสะอาด บ้านจิก อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์ขาน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และได้พำนักที่วัดธาตุหันเทาว์ ในขณะนั้นมีพระอาจารย์มหาตัน สุตตาโนเป็นเจ้าอาวาส
    เมื่อหลวงปู่บวชได้แล้วประมาณ 3 เดือน พอขึ้นเดือนมิถุนายน หลวงปู่ก็ได้มีโอกาสพบกับพระอาจารย์มณฑา ซึ่งท่านเดินทางมาจากวัดบ้านโกทา จังหวัดขอนแก่น และก็ได้ปรึกษากันว่าจะพากันไปศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์ ในตัวจังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีพระเดชพระคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นเจ้าอาวาสปกครองดูแลอยู่ นับว่าเป็นสำนักเรียนที่มีชื่อเสียงที่สุดในภาคอีสานในขณะนั้นก็ว่าได้
    พรรษาที่ 1-3 (พ.ศ.2479-2482) หลวงปู่ได้เดินทางมาถึงวัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี ในเดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ.2479 เมื่อหลวงปู่ได้พำนักอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่านจึงได้สมัครเรียนนักธรรม และพระบาลีตามประกาศของสำนักเรียนในวัดโพธิ์ฯ เมื่อเปิดเรียนไม่นาน หลวงปู่ก็ลาออกจากการเรียนพระบาลี เหลือแต่นักธรรมอย่างเดียว
    แปรญัตติเป็นธรรมยุติ
    เนื่องจากการที่ท่านเป็นพระมหานิกาย จึงทำให้เกิดความไม่สะดวกต่อการทำสังฆกรรม เช่นการลงประชุมฟังพระปาติโมกข์ หลวงปู่ก็มิได้ลงร่วมฟังสังฆกรรมดังกล่าว เมื่อเป็นเช่นนั้น หลวงปู่ท่านรู้สึกไม่ค่อยสะดวกและสบายใจเท่าไรนัก จึงได้ตัดสินใจที่จะขอแปรญัตติเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2479 โดยมีท่านเจ้าคุณพระเทพกวี (จูม พนฺธโล) ภายหลังได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ที่พระธรรมเจดีย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูศาสนูปกรณ์ วัดโพธิสมภรณ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และท่านพระครูประสาทคณานุกิจ วัดโพธิสมภรณ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ปโมทิโต” หมายถึง ผู้มีความบันเทิง ผู้ปลื้มใจ ผู้มีใจอันเบิกบาน ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่มีอายุ 21 ปี
    การอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์ในยุคโน้น นับว่าเป็นโชคดีแก่ชีวิตหลายอย่าง เพราะนอกจากจะเป็นสำนักเรียนที่มีชื่อเสียงแล้ว ยังมีพระเถระผู้ใหญ่ ผู้มีบทบาท และมีชื่อเสียงโด่งดังในด้านการปกครอง ด้านการเผยแผ่ ตลอดทั้งด้านสมถะและวิปัสสนามาพำนักอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์อยู่เรื่อยมา จึงทำให้หลวงปู่ได้มีโอกาสได้พบเห็นและฟังการอบรมจากพระเถระเหล่านั้นมากท่านและหลายครั้ง และมีหลักในการปฏิบัติกับตนได้เป็นอย่างดี
    หลวงปู่ได้อยู่วัดโพธิสมภรณ์ไปถึงเดือนมิถุนายน 2481 หลวงปู่ได้เดินทางกลับไปวัดธาตุหันเทาว์ และก็ได้ถูกมอบหมายหน้าที่ให้เป็นครูสอนนักธรรมตรี ซึ่งขณะนั้นกำลังขาดแคลนครูสอน ท่านเจ้าคุณพิศาลเถระ เจ้าคณะหนองบัวลำภู จึงได้ขอร้องให้หลวงปู่อยู่จำพรรษาที่วัดธาตุหันเทาว์ เพื่อเป็นครูสอนนักธรรม หลวงปู่ท่านเลยรับคำอยู่ช่วยสอนนักธรรมตรีจนออกพรรษาและสอบธรรมสนามหลวงประจำปี 2481 แล้วเสร็จ ท่านจึงได้เดินทางกลับมาที่วัดโพธิสมภรณ์เหมือนเดิม เพื่อมาศึกษานักธรรมโทต่อที่วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี และสอบได้ในปีนั้นเอง จากนั้นก็สมัครสอบนักธรรมเอกในปีต่อมา
    พรรษาที่ 4 (พ.ศ.2483) ในพรรษาที่ 3 ปี พ.ศ. 2482 หลังจากออกพรรษาและสอบนักธรรมเสร็จ หลวงปู่ท่านได้มีโอกาสพบกับเพื่อภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อพระอาจารย์วิฤทธิ์ ปุญฺญมาโน ซึ่งท่านเคยอยู่วัดโพธิสมภรณ์มาก่อน และก็ได้ชวนหลวงปู่ให้ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมด้วยกัน ก็เป็นอันตกลง และในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2482 จึงได้พากันออกเดินธุดงค์โดยมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก ตั้งจุดหมายปลายทางคือ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งต้องผ่านไปทางบ้านปากดง บ้านหนองขุ่ม บ้านนาแอ่ง การเดินธุดงค์ครั้งนี้ หลวงปู่มีความประทับใจไม่รู้ลืม ที่ได้สัมผัสกับธรรมชาติ เสียงของสัตว์นานาชนิด ป่าดงพงไพรยังอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำที่ใสและเย็นสดชื่นให้ได้เห็นมากแห่ง เป็นสิ่งที่หายากยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากการทำลายป่าและความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ การเดินธุดงค์ในครั้งนี้เป็นการเดินธุดงค์หาวิเวกเพื่อปฏิบัติธรรมจริง ๆ หากพบสถานที่ใดที่มีความสงบวิเวก เหมาะแก่การปฏิบัติบำเพ็ญเพียรแล้ว ก็จะพักปฏิบัติธรรมอยู่ระยะหนึ่ง จึงค่อยย้ายจากไปหาที่ใหม่ เพื่อจะได้ไม่ติดในสถานที่ และจิตใจจะได้มีการตื่นตัว แปลกที่อยู่เสมอ ทำให้การทำความเพียรได้ผลดีมาก
    ท่านเดินทางธุดงค์ไปในที่ต่าง ๆ และหยุดพักปฏิบัติธรรมในที่เห็นว่าสมควร และในที่สุดก็ได้มาพักอยู่ที่วัดสามัคคีพัฒนา อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งอาจารย์โชติ กาญจโน เป็นเจ้าอาวาส เป็นอันว่าในพรรษาของปี พ.ศ. 2483 พรรษาที่ 4 ของหลวงปู่ ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ และในพรรษานี้เอง หลวงปู่ได้ตั้งสัจจะปวารณาถือเนสัชชิก (อาการสาม ยืน เดิน นั่ง) โดยเอาแบบอย่างการปฏิบัติของหลวงปู่ซามา โดยจะไม่ยอมให้หลังแตะพื้น จะเป็นอย่างไรจะไม่ยอมให้หลังนี้สัมผัสพื้นเลย หลวงปู่ท่านปฏิบัติอยู่อย่างนี้ตลอดพรรษามิได้ขาด และการปฏิบัติของท่านก้าวหน้าไปด้วยดี
    พรรษาที่ 5-7 (พ.ศ.2484-2486) พอออกพรรษา หลวงปู่ก็ออกธุดงค์หาวิเวกไปในถิ่นต่าง ๆ ภายในเขตอำเภอหล่มสัก ต่อมาเมื่อใกล้จะเข้าพรรษาในปี พ.ศ.2484 หลวงปู่ตั้งใจว่าจะกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดสามัคคีพัฒนาเหมือนเดิม แต่เนื่องจากทางวัดเกาะแก้ว ตำบลน้ำเฮี้ย อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ มีพระที่จำพรรษาไม่ครบ 5 รูป ทางพระอาจารย์สิงห์ทอง สุวณฺณธมฺโม เจ้าอาวาสในขณะนั้น จึงได้มากราบเรียนขอความอนุเคราะห์ และได้หลวงปู่ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดในพรรษานี้เอง หลวงปู่ท่านตั้งใจจะเพียรพยายามท่องปาติโมกข์ให้ได้ เนื่องจากท่านตั้งใจจะเป็นผู้สวดปาติโมกข์ในวันออกพรรษาเอง และท่านก็ทำได้สำเร็จสามารถท่องพระปาติโมกข์ได้จบ
    ก่อนจะถึงวันออกพรรษา หลังจากออกพรรษามาไม่นาน หลวงปู่ก็กลับมาพักอยู่ที่วัดสามัคคีพัฒนา ในขณะที่ท่านกลับมาพักที่นี่ ก็มีคณะญาติโยมจากบ้านหนองไขว่ บ้านน้ำกร้อ บ้านน้ำชุน บ้านโนนทอง บ้านปากดุก บ้านดงเมือง มานิมนต์หลวงปู่ไปช่วยเทศน์อบรมชาวบ้านในหมู่บ้านของตน ซึ่งหลวงปู่ก็รับนิมนต์แล้วก็ย้ายไปเรื่อย ๆ ตามแนวริมผั่งแม่น้ำป่าสัก ตลอดระยะเวลา 4 เดือนในหน้าแล้ง พอถึงหน้าฝน หลวงปู่ก็ย้อนกลับมาวัดสามัคคีพัฒนาอีก รวมแล้วหลวงปู่ได้อยู่จำพรรษาและได้เที่ยวตระเวนธุดงค์ไปเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นระยะเวลา 3 ปีเต็มๆ หลังจากนั้นในพรรษาที่ 6 หลวงปู่ก็ได้เดินทางออกจากจังหวัดเพชรบูรณ์มาจำพรรษาที่วัดโนนนิเวศน์ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีหลวงปู่ภูมี ฐิตธมฺโม เป็นเจ้าอาวาส จนกระทั่งเดือนมกราคม พ.ศ. 2486 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมและสะดวกแก่การออกธุดงค์
    และในระหว่างที่กำลังธุดงค์อยู่ในเขตจังหวัดอุดรธานีนั้น นับเป็นความโชคดีของหลวงปู่ที่ได้พบครูบาอาจารย์ผู้มีประสบการณ์ทางพระกรรมฐานมากอีกองค์หนึ่ง คือพระอาจารย์อ่อนศรี สีลขนฺโธ ซึ่งท่านเคยปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่มั่นที่อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่เป็นเวลาหลายปี ท่านจึงได้ชวนกันไปเดินธุดงค์มุ่งหน้าไปทางอำเภอบ้านผือ และก็ได้ธุดงค์ไปในที่ต่าง ๆ และก็ได้กลับไปพักที่วัดโนนนิเวศน์ และก็ได้พบกับพระอาจารย์คำภา จุนโท จึงได้ชวนกันออกวิเวกไปแถบตำบลหนองหาร ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของท่าน และก็เดินทางผ่านไปจนถึงบ้านเชียง เห็นว่าจวนเข้าพรรษาแล้ว จึงตกลงกันอยู่จำพรรษาที่ป่าช้าบ้านเชียง (พรรษาที่ 7) และที่นี่เองท่านได้ผจญกับมารทางจิตแทบเอาตัวไม่รอดในเรื่องของสตรีเพศ ในที่สุดท่านก็ใช้หลักมหาสติปัฏฐานมาแก้ปัญหาดังกล่าว และก็สามารถชนะอารมณ์กามคุณดังกล่าวได้สำเร็จ
    พรรษาที่ 8 (พ.ศ.2487) ได้พบพระผู้เป็นบิดาแห่งกองทัพธรรม (พระบูรพาจารย์) เมื่อออกพรรษาแล้วคณะธุดงค์ของหลวงปู่และพระอาจารย์คำภาก็ยังคงปักหลักอยู่ที่ป่าช้าบ้านเชียงนั้นต่อไปอีก ประมาณ 2-3 เดือน จากนั้นเพื่อสหธรรมมิกผู้ร่วมธุดงค์ จึงได้มาชวนหลวงปู่ไปกราบนมัสการ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่วัดป่าบ้านโคก (ปัจจุบันคือ วัดป่าวิสุทธิธรรม อำเภอโคกสีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร) จึงออกเดินทางจากอุดร ราววันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2487 ในระหว่างที่อยู่กับหลวงปู่มั่น ท่านได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนทัศนธรรมกับพระอาจารย์ต่าง ๆ ที่ร่วมอยู่ในระหว่างนั้น ซึ่งพระอาจารย์เหล่านั้นก็มีชื่อเสียงโด่งดังในปัจจุบัน เช่น อาจารย์สุวัจน์ สุวจฺโจ หลวงตามหาบัว เป็นต้น จึงถือว่าพรรษานี้หลวงปู่ได้รับประโยชน์อย่างมหาศาล ที่ได้มีโอกาสปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์มั่น ผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งกองทัพธรรม หลังจากนั้นมาระยะหนึ่ง หลวงปู่และพระอาจารย์บัวพา ปญฺญาพาโส ก็ตกลงกันว่าจะออกวิเวกร่วมกัน จึงได้เข้าไปกราบขออนุญาตลาหลวงปู่มั่นเพื่อออกธุดงค์หาประสบการณ์ ซึ่งหลวงปู่มั่นก็ได้อนุญาตการธุดงค์
    ครั้งนั้นหลวงปู่ได้มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก ล่องลงมาตามเขาภูพานในเขตจังหวัดสกลนคร เข้าสู่อำเภอเมือง และก็ได้ดั้นด้นลงถึงเชิงเขาภูพานที่บ้านกวนบุ่น และไม่ห่างไกลจากหมู่บ้านนี้นัก มีถ้ำพอพักอาศัยปฏิบัติได้ ท่านจึงได้พักอาศัยปฏิบัติอยู่ที่ถ้ำนี้ และก็ได้สอนให้ชาวบ้านในหมู่บ้านนี้เลิกนับถือผี และหันมาสนใจพระพุทธศาสนากันมากขึ้น หลวงปู่กับหลวงปู่บัวพาอยู่บำเพ็ญสมณธรรมที่บ้านกวนบุ่นเป็นระยะเวลาสองเดือนเศษ เมื่อย่างเข้าเดือนเมษายน หลวงปู่เกิดอาการอาพาธด้วยโรคไข้ป่า อาการหนักมาก เมื่ออาการยังไม่ดีขึ้น จึงได้ตกลงกับอาจารย์บัวพาว่าจะกับไปที่บ้านโคก เพื่อกราบพึงบารมีหลวงปู่มั่น ซึ่งหลวงปู่มั่นท่านไม่ให้ฉันยา ท่านให้ภาวนารักษาตัว อย่าไปยึดติด ที่สุดหลวงปู่ก็หายได้ด้วยกำลังของภาวนา
    การได้พบกับหลวงปู่มั่นนั้นทำให้หลวงปู่ได้รับอุบายธรรมต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมาย ทำให้สติปัญญาสว่างไสวมากขึ้น เป็นอันว่าพรรษานี้ (พรรษาที่ 8 ปี พ.ศ.2487) หลวงปู่ก็ได้อยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่น และได้รับธรรมคำสั่งสอนของหลวงปู่มั่น ชนิดที่เรียกว่าเป็นธรรมอันล้ำค่าทีเดียว
    พรรษาที่ 9-10 (พ.ศ.2488 – 2489) เมื่อพ้นจากฤดูกาลเข้าพรรษาในปี พ.ศ. 2487 แล้ว หลวงปู่ก็ได้ชักชวนเพื่อนพรหมจรรย์ด้วยกันออกธุดงค์อีก ครั้งนั้นได้พากันธุดงค์มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก เดินทางไปพักอยู่ที่ถ้ำขาม ซึ่งขณะนั้นยังไม่ได้รับการปรับปรุง ไม่มีพระเณรอยู่ประจำ ต่อมาพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ก็ได้พาคณะพระเณรมาปรับปรุงถ้ำขามจึงน่าอยู่มาก และมีพระเณรอยู่รักษาเป็นประจำจนกระทั่งทุกวันนี้ ถ้ำแห่งนี้เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมเป็นอย่างมาก ถ้ำแห่งนี้เคยเป็นที่พำนักพักพิงของครูบาอาจารย์มาแล้วหลายรูป เช่น พระอาจารย์ขาว อนาลโย แห่งวัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี และพระอาจารย์เทสก์ เทสฺรํสี ในช่วงบั้นปลายชีวิตของท่าน ท่านก็ได้มาพำนัก ณ ที่ถ้ำขามแห่งนี้จนกระทั่งมรณภาพ
    หลวงปู่ท่านพักอยู่เพียงคืนเดียว รุ่งขึ้นท่านก็รีบเดินทางต่อ มุ่งไปทางอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ขณะนั้นอาการอาพาธจากไข้ป่าของหลวงปู่ก็ได้กำเริบขึ้นอีก หลวงปู่ก็พยายามอดทน และได้เดินทางออกวิเวกไปยังอำเภอหนองบัวลำภู ถิ่นกำเนิด ไปถึงป่าช้าบ้านขาม (วัดป่าศรีสว่างในปัจจุบัน) หลวงปู่ได้พักรักษาตัวอยู่ที่ป่าช้าบ้านขาม (วัดป่าศรีสว่าง) ประมาณหนึ่งเดือนอาการป่วยจึงหายเป็นปกติ ก็ออกตามหาพระอาจารย์คำภา เพื่อนธุดงค์คู่ทุกข์คู่ยาก จนในที่สุดก็ได้พบกันที่วัดป่าบ้านบก ก็ได้พากันออกวิเวกไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติธรรมและอบรมประชาชน โดยแวะพักหมู่บ้านละคืนสองคืนเรื่อยไป และมุ่งหน้าไปทางจังหวัดเลยและเพชรบูรณ์ ซึ่งมากายไปด้วยภูเขา ถ้ำและเหว อันเหมาะแก่การปฏิบัติบำเพ็ญเพียร พอใกล้เข้าพรรษา (พรรษาที่ 9) หลวงปู่จำพรรษาที่วัดป่าบ้านหนองบัว พอออกพรรษา หลวงปู่ก็ได้ออกวิเวกไปหาพระอาจารย์คำภา ซึ่งจำพรรษาอยู่สำนักสงฆ์บ้านปากเหมือนใหม่ ต.ลานป่า อ.หล่มสัก ต่อมาหลวงปู่และคณะก็ตระเวนวิเวกและอบรมประชาชนไปตามที่ต่าง ๆ และประมาณเกือบ 15 วัน จะเข้าพรรษา ชาวบ้านน้ำเล็นมากราบขอพระไปอยู่จำพรรษาที่บ้านน้ำเล็น พระอาจารย์คำภาจึงตกลงในหลวงปู่ไปจำพรรษาอยู่ที่นั้น
    เป็นอันว่า ปี 2489 (พรรษาที่ 10) หลวงปู่จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบ้านน้ำเล็น รวมแล้วหลวงปู่ท่านได้พำนักจำพรรษาอยู่ในเขตอำเภอหล่มสักติดต่อกันสองพรรษา
    พรรษาที่ 11-13 (พ.ศ. 2490-2492) ครั้นพอได้เวลาออกพรรษา หลวงปู่ก็ออกจาริกธุดงค์ต่อ ได้ตั้งใจบำเพ็ญภาวนาและอบรมศีลธรรมแก่ญาติโยมตามเส้นทางที่ผ่านไปเท่าที่มีโอกาส ในระหว่างที่วิเวกนั้นท่านไปเพียงรูปเดียว หลวงปู่ได้ปรึกษากับพระอาจารย์คำภาว่า ปี 2490 นี้ จะขอให้ธุดงค์ ทางภาคเหนือ ดังนั้น ราวต้นเดือนเมษายน ปี 2490 หลวงปู่ได้เดินทางมุ่งสู่ภาคเหนือ ท่านได้ไปพักอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่หลายคืน เพื่อสืบเสาะหาวัดกรรมฐานที่อยู่ภายในจังหวัดเชียงใหม่ ก็ทราบว่ามีอยู่หลายแห่ง หลวงปู่ท่านจึงได้เริ่มต้นจากสำนักสงฆ์สันต้นเปา อำเภอสันกำแพง ท่านได้พักที่นี่หนึ่งเดือน และที่นี้เองหลวงปู่ได้พบตำราเล่มหนึ่ง คือโลกนิติคำกาพย์ ภาษาลาว และกาพย์ปู่สอนหลาน ซึ่งประพันธ์ขึ้นโดยหลวงปู่เจ้าคุณอุบาลี คุณูปมาจารย์ จากนั้นหลวงปู่ท่านก็ย้ายไปพำนักอยู่เพื่อศึกษาธรรมกับหลวงปู่สิม พุทฺธจาโร แห่งวัดป่าโรงธรรมสามัคคี อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ และในปี พ.ศ.2490 หลวงปู่จึงได้จำพรรษาที่วัดป่าโรงธรรมสามัคคี (พรรษาที่ 11) ในพรรษานี้หลวงปู่ตั้งสัจจะ จะไม่นอนทอดหลังจนตลอดภายในพรรษา ผลของการปฏิบัติภาวนาของหลวงปู่ในพรรษานี้มีความก้าวหน้าอย่างมาก ท่านทำความเพียรได้มากขึ้นจนเป็นที่น่าพอใจ
    ในราวเดือนธันวาคมของปี พ.ศ.2490 หลวงปู่ได้ออกเดินทางจากวัดป่าโรงธรรมสามัคคี อำเภอสันกำแพง ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศใต้ ประมาณ 30 กิโลเมตร ท่านได้ออกวิเวกไปตามป่าในแถบนั้นเรื่อยไป หลวงปู่ท่านอยู่วิเวกในละแวกอำเภอสันป่าตอง ส่วนมากท่านก็จะพักปักกลดอยู่ตามป่าช้า จนถึงเดือนมิถุนายน 2491 ขณะที่ท่านพำนักอยู่ใกล้บ้านสันขะยอม ก็มีญาติโยมสนใจปฏิบัติฟังธรรมมาขอรับการอบรมจากท่านมาก เมื่อหลวงปู่ท่านพิจารณาแล้วว่าในแถบนี้ เป็นสถานที่สัปปายะเหมาะแก่การเจริญภาวนา ญาติโยมสนใจภาวนาดี ท่านจึงได้สร้างกุฏิเล็ก ๆ ได้ 3 หลัง และศาลาโรงธรรม แล้วจึงตกลงใจอยู่จำพรรษา (พรรษาที่ 12 พ.ศ. 2491) ณ ที่นี้ ท่านอยู่ที่ป่าช้า บ้านสันขะยอมได้ 7 วัน ชาวบ้านพอทราบข่าว ก็มีศรัทธาหลั่งไหลมาฟังธรรมและชมบารมีหลวงปู่ทุกวัน ระยะแรกเข้าพรรษาไปได้ไม่กี่วัน คณะของท่านก็ได้ถูกพวกมารศาสนาผจญเอาอย่างหนัก พยายามเบียดเบียนรังแกสารพัดวิธี เพื่อให้คณะของท่านทนอยู่ไม่ได้ ต้องหนีไปจากที่นั่น เพราะไปขัดลาภสักการะของเขา อีกทั้งยังมีศีลาจารวัตรอันแตกต่าง ทำให้เกิดการเปรียบเทียบและช่องว่างขึ้นมา แต่คณะของท่านก็อดทนด้วยขันติตลอดมา โดยยึดมั่นอยู่ในศาสนธรรม ไม่มุ่งเบียดเบียนใคร มีแต่แผ่เมตตาและกระทำประโยชน์ให้เกิดแก่หมู่ชนเท่านั้น
    เมื่อป่าช้าบ้านสันขะยอมไม่ใช่สถาน ที่ ๆ สัปปายะอีกต่อไปแล้ว ทั้งยังคับแคบเนื่องจากขณะนั้นมีญาติโยมมาขอฟังและปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มากมาย ชาวบ้านสันขะยอมจึงเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะหาที่สร้างสำนักสงฆ์แห่งใหม่ และชาวบ้านหลาย ๆ คนเห็นว่า สวนมะม่วงและสวนลำไยซึ่งอยู่ไม่ห่างจากป่าช้าสันขะยอมมากนัก และเจ้าของที่ก็ได้ถวายที่ดินซึ่งเป็นสวนมะม่วงแห่งนั้นให้กับหลวงปู่ พร้อมกันนั้นชาวบ้านก็รวบรวมปัจจัยและมาช่วยสร้างสำนักสงฆ์กันอย่างมากมาย เพียงไม่กี่วันก็กลายเป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การปฏิบัติภาวนา หลวงปู่สร้างเสร็จสมบูรณ์ภายในไม่ถึง 2 ปี เพราะญาติโยมที่นั่นเขาศรัทธาหลวงปู่มาก
    เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว หลวงปู่จึงได้ให้ชื่อสถานที่แห่งนี้ว่า สำนักสงฆ์อัมพวัน (ปัจจุบันคือวัดป่าเจริญธรรมนั่นเอง) และหลวงปู่ได้นิมนต์พระอาจารย์น้อย สุภโร เป็นประธานสงฆ์แทน ส่วนตัวหลวงปู่เองก็ออกวิเวกไปในอำเภอสันป่าตอง การวิเวกนั้นมักใช้ป่าช้าเป็นที่พำนักพักพิง เพราะเงียบสงัดดี แต่ละแห่งในเวลากลางคืนก็มักจะมีประชาชนไปฟังเทศน์ฟังธรรมกันมากมาย
    เมื่อหลวงปู่ทราบว่า พระอาจารย์แว่น ธนปาโล ได้พาคณะไปบูรณะถ้ำพระสบาย ที่อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง มาประมาณ 6 เดือนแล้ว ท่านจึงได้ไปตรวจดูถ้ำที่นั่นและก็พอใจเป็นอย่างมาก แห่งเห็นว่าเหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรเป็นอย่างยิ่ง หลวงปู่จึงตัดสินใจอยู่จำพรรษา(พรรษาที่ 13 พ.ศ.2492) ที่นี้ และสาเหตุที่ถ้ำนี้ชื่อว่าถ้ำพระสบาย ก็เนื่องจากหลวงปู่สิม พุทฺธจาโร ท่านเป็นผู้ตั้งชื่อ โดยท่านปรารภว่าถ้ำนี้เย็นเงียบสงัด อากาศปลอดโปร่งทั้งกลางวันกลางคืน พระที่อยู่ก็รู้สึกสบาย ท่านจึงตั้งชื่อว่าถ้ำพระสบาย คนอื่นก็เรียกตาม ๆ กันมาจนถึงทุกวันนี้
    พรรษาที่ 14-15 (พ.ศ. 2493-2494) ในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 11 ทางวัดป่าสำราญนิวาสมีงานทอดกฐิน ทางวัดได้นิมนต์ให้คณะของหลวงปู่จากถ้ำพระสบายไปร่วมงานด้วย ระหว่างนี้หลวงปู่ท่านก็ไป ๆ มา ๆ ระหว่างถ้ำพระสบายกับวัดป่าสำราญนิวาส หลังจากเสร็จงานแล้ว หลวงปู่ก็ลาหลวงปู่แว่นและหลวงปู่หลวง เพื่อเดินทางไปเยี่ยมหลวงปู่เหรียญ ที่สำนักสงฆ์นันทวนาราม อำเภอเถิน หลวงปู่ไปช่วยบูรณะวัดร่วมกับพระอาจารย์เหรียญ ต่อมาจากนั้นอีก 15 ปี คณะกรรมการวัดก็ปรึกษากันและมีมติให้เปลี่ยนชื่อวัดจากเดิมคือวัดนันทวนาราม มาเป็นวัดสันติสุขาราม จนเท่าทุกวันนี้
    ขณะที่หลวงปู่ได้พำนักอยู่ที่สำนักสงฆ์นันทวนารามนั้น ได้ทราบข่าวมาว่า ห่างจากอำเภอเถินไปประมาณ 10 ปิโลเมตร มีถ้ำสวยงามมากมาย หลวงปู่จึงเดินทางไปสำรวจ และพอใจในถ้ำแม่แก่งมาก และตั้งใจจะไปปฏิบัติธรรมที่ถ้ำนี้ หลวงปู่จึงได้ตัดสินใจว่าจะมาพัฒนาถ้ำแม่แก่ง และถ้ำใกล้เคียงให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม โดยมีชาวบ้านมากมายที่ศรัทธาหลวงปู่ มาช่วยกันสร้างที่พักชั่วคราวให้ตามริมฝั่งแม่น้ำแก่ง กลางคืนก็มีชาวบ้านพากันไปฟังเทศน์ ฝึกสมาธิ เป็นประจำ
    เมื่อหลวงปู่ปรับปรุงบันไดขึ้นสู่ถ้ำอินทร์โขงเรียบร้อยแล้ว ก็ย้ายขึ้นไปอยู่ถ้ำอินทร์โขง สำหรับเสนาสนะถ้ำอินทร์โขง หลวงปู่ท่านใช้เวลาบุกเบิกประมาณเกือบ 2 ปี จนมีกุฏิที่พักโยม ศาลาโรงธรรม ครบสมบูรณ์พอเป็นสถานที่บำเพ็ญสมณธรรม และอบรมสั่งสอนญาติโยมได้อย่างสะดวกสบาย ในระหว่างที่หลวงปู่มาอยู่ที่นี้ ก็มีญาติโยมออกมาปฏิบัติฟังธรรมมากมาย ซึ่งก็บรรลุวัตถุประสงค์ในการมาของท่านจริง ๆ
    เป็นอันว่า หลวงปู่ได้จำพรรษาที่ 14 ที่ถ้ำอินทร์โขง ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.2493 และขณะที่หลวงปู่พักอยู่ที่ถ้ำอินทร์โขงนั่นเอง ก่อนออกพรรษาไม่นาน ท่านได้อาพาธเป็นไข้ป่าอีกครั้ง อาการหนักมาก ไม่ว่าจะรักษาประการใดอาการก็ไม่ดีขึ้น หลวงปู่จึงได้สัตตาหะไประหว่างพรรษา เพื่อความสะดวกในการรักษา จึงได้ไปพักที่วัดอุ่มลองในอำเภอเถิน ใกล้คลีนิคหมอผู้เป็นเจ้าของไข้ อาการก็ทุเลาลงมาก เมื่อครบ 7 วัน คือครบสัตตาหะ จึงต้องกลับถ้ำอินทร์โขง เพื่อประกอบพิธีออกพรรษาแล้วอาการก็ยังไม่ดีขึ้น ประกอบกับมีอาการหัวใจเต้นไม่ปกติควบคู่กันด้วย เมื่อหมอแนะว่าไข้หนักและมีโรคแทรกซ้อนด้วย จึงควรไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลใหญ่ที่เชียงใหม่ หลวงปู่จึงได้ออกจากถ้ำอินทร์โขงมุ่งไปแวะพักที่สำนักสงฆ์นันทวนาราม อำเภอเถิน พักอยู่ 4-5 วัน ก็ออกเดินทางต่อไปพักอยู่ที่วัดเจริญธรรม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ พักรักษาตัวอยู่ 4-5 เดือน อาการโรคหายเกือบปกติ
    ขึ้นปี 2494 คณะญาติโยมจากอำเภอเถิน จึงตามมานิมนต์ให้กลับไปอยู่จำพรรษา (พรรษาที่ 15) ที่วัดนันทวนาราม หรือวัดสันติสุขาราม ในปัจจุบัน ซึ่งหลวงปู่ท่านก็รับนิมนต์ ในพรรษาท่านได้บำเพ็ญเพียรอย่างเต็มที่ พอออกพรรษาในปี พ.ศ.2494 หลวงปู่และเพื่อสหธรรมิกก็ได้ออกธุดงค์แสวงหาวิเวกเช่นเคย โดยวิเวกไปทางใต้ ผ่านบ้านนาเกลือ บ้านสันต้นขิง จนกระทั่งถึงอำเภอแม่พริก แล้วจึงกลับไปพักอยู่ที่วัดนันทวนารามตามเดิม
    พรรษาที่ 16-18 (พ.ศ.2495-2597) ขึ้นปี พ.ศ.2494 พระอาจารย์แส่ว (กุศล) กุสลจิตฺโต พร้อมด้วยญาติโยมจากอำเภอหล่มเก่า ไปนิมนต์หลวงปู่ถึงอำเภอเถิน เพื่อให้หลวงปู่ไปช่วยก่อสร้างสำนักสงฆ์ที่อำเภอหล่มเก่า เดือนกุมภาพันธ์ท่านจึงออกเดินทาง สถานที่ที่จะสร้างสำนักสงฆ์นั่นเป็นเนินเล็ก ๆ อยู่ทางทิศตะวันออกของหล่มเก่า ซึ่งก็มีพวกต่อต้านสร้างปัญหาไม่เว้นแต่ละวัน จนญาติโยมที่มาช่วยงานต่างก็ท้อแท้ไปตาม ๆ กัน ถึงกระนั้นก็ยังมานะพยายามสร้างจนแล้วเสร็จ จนสามารถทำให้สำนักสงฆ์นฤมลวัฒนาเกิดขึ้นที่หล่มเก่า เมื่อปี พ.ศ.2495 ในเนื้อที่ 18 ไร่
    เมื่อสำนักสงฆ์แห่งนี้เสร็จตามประสงค์แล้ว หลวงปู่ได้อยู่จำพรรษา ณ ที่แห่งนี้เป็นเวลา 3 พรรษา ติดต่อกัน โดยมิได้ย้ายไปวิเวก ณ ที่แห่งใดเลย และดูเหมือนว่าหลวงปู่จะชอบสถานที่แห่งนี้เป็นพิเศษ จึงเป็นอันว่าหลวงปู่ได้มาสร้างมาพัฒนาวัดนฤมลพัฒนาเป็นเวลา 3 ปี (พ.ศ. 2495-2497) ศาลาการเปรียญหลังเก่านั้น สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2496 ส่วนศาลาอเนกประสงค์หลังใหม่ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2539 ซึ่งสร้างพร้อมกับปโมทิตะเจดีย์ ที่หนองบัวลำภู ครั้นเมื่อออกพรรษาปี พ.ศ. 2497 หลวงปู่ก็หวนคิดถึงถิ่นมาตุภูมิ หลวงปู่จึงได้เดินทางกลับมาตุภูมิ โดยไปพักที่ป่าช้าศรีสว่าง (ป่าช้าบ้านขาม) ตำบลบ้านขาม อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี
    พรรษาที่ 19-24 (พ.ศ.2498-2503) ท่านพักอยู่ที่ป่าช้าศรีสว่างประมาณ 2-3 ปี (พรรษาที่ 19-20) ก็ได้ทราบข่าวจากเพื่อนสหธรรมิกของท่านว่า ท่านพ่อลี ธมฺมโร ได้ไปสร้างวัดพัฒนาเสนาสนะอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ ชื่อวัดอโศการาม หลวงปู่ท่านเคารพนับถือท่านพ่อลีเป็นเสมือนครูบาอาจารย์ และเคยอยู่ร่วมปฏิบัติกับท่านพ่อลี ไม่ว่าจะเป็นที่ห้วยน้ำริน จังหวัดเชียงใหม่ วัดนฤมล หล่มเก่า และภูกระดึง และนอกจากจะทราบว่าท่านพ่อลีไปสร้างวัดอโศการาม ท่านยังทราบอีกว่าท่านจะจัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ อย่างใหญ่โตมโหฬารในปี พ.ศ.2500 รับสมัครผู้บวชเณร 5,000 กว่าคน บวชพราหมโณ พราหมณี 5,000 คน หลวงปู่จึงตัดสินใจไปร่วมงานในครั้งนี้ด้วย เพราะคิดว่าคงมีพระอาจารย์ผู้มีชื่อเสียง ไปร่วมในงานใหญ่โตมโหฬารเช่นนี้มากมาย เรียกว่าเป็นงานประวัติศาสตร์ซึ่งหาจัดและดูได้ยากยิ่ง ดังนั้นในปี พ.ศ. 2500 นี้เอง หลวงปู่จึงได้อยู่จำพรรษากับท่านพ่อลีที่วัดอโศการาม ครั้นออกพรรษาแล้ว คณะญาติโยมจากอำเภอเถินก็ตามมานิมนต์หลวงปู่ถึงวัดอโศการาม เพื่อกลับไปอยู่ที่วัดนันทวนารามอีก ซึ่งหลวงปู่ก็รับนิมนต์ เป็นวันว่าปี พ.ศ. 2501 หลวงปู่ก็กลับมาจำพรรษาที่วัดนันทวนาราม อำเภอเถิน ให้การอบรมแก่ญาติโยมและพระเณร โดยเน้นหนักทางด้านการปฏิบัติ
    ต่อมาในปี พ.ศ. 2502 หลวงปู่จึงได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดนฤมลวัฒนา ได้พัฒนาและจัดสร้างเสนาสนะที่ค้างอยู่จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีเป็นที่น่าพอใจ และพอจวนจะเข้าพรรษาในปี พ.ศ. 2503 หลวงปู่จึงเดินทางมาพักจำพรรษาที่วัดอโศการามอีกครั้งหนึ่ง
    พรรษาที่ 25-29 (พ.ศ.2504-2508) ครั้นในปี พ.ศ. 2504 และ 2505 หลวงปู่ได้กลับไปจำพรรษาที่วัดนฤมลวัฒนา คราวนี้หลวงปู่ท่านเร่งพัฒนาทั้งทางวัตถุและบุคคล ที่ว่าวัตถุนั้นคือท่านพัฒนาเสนาสนะภายในวัดในส่วนที่ท่านยังทำค้างคาอยู่ และด้านบุคคลคือท่านอบรมสั่งสอนชาวบ้านโป่งตูม และหมู่บ้านใกล้เคียง เน้นการเจริญภาวนา อีกทั้งเรื่องไตรสิกขา ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกันกับหลวงปู่มั่นทุกประการ จากนั้นหลวงปู่ท่านได้กลับไปวัดป่าศรีสว่าง จังหวัดอุดรธานี ในราวต้นปี พ.ศ.2506 เพื่อรวมงานฉลองศาลาการเปรียญ เมื่อเสร็จงานหลวงปู่จึงได้ชักชวนหลวงปู่อ่อนสี จุนฺโทวัดบ้านอูบมุง (วัดป่ารัตนมงคล) อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ไปวิเวกปฏิบัติธรรมทางจังหวัดหนองคาย ได้ไปแวะพักที่วัดอรัญญวาสี ในเขตอำเภอท่าบ่อ ซึ่งวัดนี้ท่านหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น และครูบาอาจารย์ในสายกรรมฐานอีกหลายรูปเคยมาพำนักปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดนี้ จึงเป็นอันว่าหลวงปู่ท่านพำนักอยู่ที่วัดอรัญญวาสี ถึง 3 พรรษาติดต่อกัน คือ พ.ศ. 2506-2508 หลังจากออกพรรษาในปี พ.ศ. 2508 แล้ว หลวงปู่ก็ได้ออกธุดงค์วิเวกในแถบอำเภอใกล้เคียง คือ อำเภอบ้านผือ อำเภอศรีเชียงใหม่ อยู่ประมาณ 2-4 เดือน แล้วจึงกลับมาพักอยู่ที่วัดอรัญญวาสี อีกระยะหนึ่ง
    พรรษาที่ 30-32 (พ.ศ. 2509-2511) ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2509 หลวงปู่ตัดสินใจจะเข้าอยู่กรุงเทพฯ โดยการชักชวนของเพื่อนพรหมจรรย์ ที่เคยร่วมทุกข์ร่วมยากกันมา ในที่สุดหลวงปู่ก็ตัดสินใจเข้าอยู่จำพรรษาที่วัดธรรมมงคล พระโขนง กรุงเทพฯ กับเจ้าคุณวิริยังค์ ซึ่งในอดีต หลวงปู่เคยอยู่ด้วยที่วัดป่าบ้านโคกนามน ตำบลตองโขบ จังหวัดสกลนคร โดยขณะนั้นพระอาจารย์ใหญ่ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เป็นประธานสงฆ์ ส่วนเจ้าอาวาสคือพระอาจารย์กงมา ส่วนวัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ เพิ่งสร้างเมื่อปี พ.ศ.2506 หลวงปู่ได้จำพรรษาที่วัดนี้เมื่อปี พ.ศ.2509 และหลังจากออกพรรษาในปี พ.ศ.2511 แล้ว หลวงปู่จึงได้เดินทางไปประเทศอินเดีย ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2511 เพื่อไปสถานที่ต่าง ๆ ที่พระพุทธเจ้าเคยประทับ นับเป็นการเดินทางที่หลวงปู่ประทับใจมิรู้ลืมจนกระทั่งทุกวันนี้
    พรรษาที่ 33-ปัจจุบัน (พ.ศ.2512-ปัจจุบัน) หลวงปู่อยู่ที่วัดธรรมมงคลเพียง 3 ปี (พ.ศ.2509-2511) พอปี พ.ศ.2512 ได้มีผู้ใจบุญถวายที่ดินจำนวน 6 ไร่ กับอีก 33 วา แก่พระเทพเจติยาจารย์ (ท่านเจ้าคุณวิริยังค์ สิรินฺธโร) หลวงพ่อวิริยังค์จึงให้หลวงปู่มาช่วยสร้างวัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนา) ในที่ดังกล่าว และขอร้องให้มาอยู่ เดิมทีนั้นหลวงปู่ได้มาสร้างวัดสิริกมลาวาส ในฐานะรักษาการเจ้าอาวาส ต่อมาเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2517 ท่านก็ได้รับพระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระครูสามัญที่ “พระครูปราโมทย์ ธรรมธาดา” พร้อมกันนั้นท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดสิริกมลาวาส โดยถูกต้อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ อีกทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธียกช่อฟ้า และตัดหวายลูกนิมิตในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 เวลา 16.19 น.
    ต่อมาในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2519 ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ท่านก็ได้รับการพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรพัดยศในทินนามเดิม คือ พระครูปราโมทย์ธรรมธาดา ถึงแม้ว่าหลวงปู่ท่านจะไม่ค่อยถนัดในงานด้านคันถธุระมากนัก แต่ท่านก็ได้เพียรพยายามปฏิบัติหน้าที่ตลอดมาจนเป็นที่ยอมรับของพระภิกษุสามเณรและฆราวาสทั่วไป ส่วนทางด้านวิปัสสนาธุระนั้น ท่านก็มิได้ทิ้ง คงส่งเสริมให้มีการปฏิบัติกรรมฐานทุกวันในช่วงเวลาค่ำ หลังจากที่ได้สวดมนต์ทำวัตรเย็นกันเสร็จแล้ว โดยจะเริ่มในเวลาประมาณ 19.00 น. เรื่อยไปจนถึงเวลา 21.00 น. โดยที่หลวงปู่ท่านจะเป็นผู้นำพาญาติโยมปฏิบัติธรรมทุกวัน เว้นแต่เหตุจำเป็นและอาพาธ ซึ่งเป็นความเมตตาอย่างหาประมาณมิได้โดยแท้


    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลอย่างสูงและที่มาจากเวป


    พระผงรูปเหมือนหลวงปู่หลอดสภาพองค์พระไม่สวยสมบูรณ์มากนัก เลี่ยมอยู่ใน
    กรอบพลาสติค

    ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ


    [​IMG] [​IMG]
     
  19. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,466
    ค่าพลัง:
    +21,327
    [​IMG]

    ประวัติ
    หลวงพ่อสีหมอก สถานะเดิมชื่อ สีหมอก เที่ยงตรงเป็นบุตร นายสอน นางเอี่ยม เที่ยงตรง เกิดเมื่อ วันอังคารที่ ๖ มกราคม ๒๔๔๔ ณ บ้านตำบลคลอง ๑๙ จังหวัด ฉะเชิงเทรา อาชีพทำนา มีพี่น้องจำนวน ๓ คน เมื่ออายุครบบวช ๒๐ ปี ได้เข้าอุปสมบทตามประเพณี ๑ พรรษา แล้วลาสิกขามาประกอบอาชีพทำเนา จนกระทั่งอายุได้ ๕๐ ปี เริ่มเบื่อหน่ายในเพศฆราวาส จึงตัดสินใจอุปสมบทอีกครั้ง สาเหตุที่อุปสมบทเป็นครั้งที่ ๒ นี้เพราะท่านได้พบกับหลวงพ้อโอภาสี ได้สนทนาธรรมแล้วเกิดความเลื่อมใสศรัธทา จึงได้อุปสมบทแล้วเดินทางไปศึกษาธรรม และวิชาต่างๆจากหลวงพ่อโอภาสีอยู่เป็นประจำ ในปีพ.ศ.๒๔๙๗ ท่านได้เดินทางมาจำพรรษา ณ วัดเขาวังตะโก อ.เมือง จ.ชลบุรี ท่านได้ทำงานด้วยเผยแพร่และพัฒนาวัดเขาวังตะโกเจริญรุ่งเรืองในหลาย ๆ ด้าน ด้วยบุญบารมีของท่าน ท่านได้สร้างเรือสำเภาตั้งตระหง่านอยู่ ณ ยอดเขาวังตะโก เป็นสำเภาแก้ว สำเภาทอง นำสัตว์ลอยล่องข้ามพ้นถึงฝั่งข้ามด้วยอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ท่านได้เดินทางไปประเทศอินเดียถึง ๔ ครั้ง เพื่อศึกษาความเจริญ และความเสื่อมของพระพุทธศาสนาในอินเดีย เปรียบเทียบให้ชาวพุทธในเมืองไทยได้รู้ได้เห็นเป็นตัวอย่าง หลวงพ่อสีหมอก ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่เผยแพร่พระพุทธศาสนา ยังให้ประชาชนชาวพุทธเกิดความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาจำนวนมาก ตลอดจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตท่านได้มรณภาพลงเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๒ รวม สิริอายุได้ ๙๙ ปี พรรษา ๔๙

    ขอบคุณข้อมูลจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชลบุรีครับ
    จากข้อมูลตามเวปเคยมีคนเล่าว่าเห็นท่านลอยสูงจากพื้นในงานปลุกเสกพระที่วัดแห่งหนึ่ง

    เหรียญหลวงปู่สีหมอกสภาพเดิมๆเก่าเก็บ...

    ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ

    [​IMG] [​IMG]
     
  20. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,466
    ค่าพลัง:
    +21,327
    [​IMG]ประวัติ หลวงพ่อจุล ท่านเจ้าคุณพระวชิรสารโสภณ นามเดิม จุล พุทธชาติ เกิดเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2437 ตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น 10 ค่ำ ปีมะเมีย ที่บ้านสลกบาตร ตำบลสลกบาตร ท่าเป็นบุตรคนโตของครอบครัว บิดาชื่อ เนตร มารดา (ไม่ทราบชื่อ) น้องๆ ของท่านเจ้าคุณเป็นชายทั้งหมดรวม 4 คนคือ นายแก้ว นายกัน นายเริ่ม และนายสงบ เมื่อเยาว์วัยการศึกษาของท่าน เหมือนกับบุคคลทั่วไปคือ เรียนหนังสือที่วัดพออ่านออกเขียนได้ ครั้นจบชั้นประถม ก็ออกจากวัดมาช่วยพ่อแม่ทำมาหากิน ปี พ.ศ. 2458 อายุ 21 ปี ได้ไปเป็นศิษย์วัด ที่จังหวัดตาก นานถึง 2 ปี ปี พ.ศ. 2460 อายุ 23 ปี ได้เข้ารับการอุปสมบทเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ณ พระอุโบสถ วัดหงษ์ทอง โดยมีท่าน พระครูติธรรมสมาทาน (เลื่อน) วัดอุดมศรัทธาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ ภายหลังอุปสมบท ได้อยู่จำพรรษาและศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดสิงคาราม แต่ก็ยังไปมาระหว่างวัดหงษ์ทองกับวัดสิงคาราม เมื่อบวชได้ 3 พรรษา ได้กราบลาพระอุปัชฌาย์ท่านพระครูติธรรมสมาทานเพื่อไปศึกษาวิชาต่อ ณ วัดบ้านแก่ง เป็นศิษย์ท่าน พระครูนิวุตถ์พรหมจรรย์ (ทองอยู่) อ. เมือง จ. นครสวรรค์ หลวงพ่อทองอยู่ วัดบ้านแก่ง มีกิตติคุณและชื่อเสียงว่า ท่านเป็นพระที่มีคาถาอาคมขลัง ด้านพระปริยัติธรรมท่านก็มีความรู้ดี ในแต่ละปี จะมีพระภิกษุสงฆ์จากเมือง นครสวรรค์ กำแพงเพชร ไปฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อขอให้ท่านถ่ายทอดวิชาความรู้ต่างๆ ให้ ศิษย์ของหลวงพ่อทองอยู่บางท่านกล่าวว่า “หลวงพ่อทองอยู่ วัดบ้านแก่ง” เป็นศิษย์ท่านพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม) วัดหนองโพธิ์ แต่บางท่านกล่าวว่า หลวงพ่อทองอยู่ เป็นสหายทางธรรมกับหลวงพ่อเดิม พระภิกษุ จุล อิสฺสรญาโณ ได้มาศึกษาในสำนักพระอาจารย์ทองอยู่หลายพรรษา ฉะนั้นวิชาความรู้ต่างๆ จึงได้ไปครบทุกอย่างคือด้านคันถธุระและวิปสสนาธุระก็แตกฉานในด้านไสยศาสตร์ มนต์คาถาก็ได้รับการถ่ายทอดวิชาไปด้วย กาลต่อมา เมื่อวัดหงษ์ทองว่างสมภารและจะหาพระภิกษุสงฆ์ ที่เหมาะสมเพื่อเป็นเจ้าอาวาสก็ไม่มี มรรคทายกพร้อมด้วยชาวบ้านสลกบาตร ได้ประชุมปรึกษาหารือเพื่อจะสรรหาเจ้าอาวาสที่มีความสามารถมากจะได้พัฒนาวัด ให้เจริญก้าวหน้าในที่สุดเห็นพ้องต้องกันว่า พระภิกษุจุล อิสฺสรยาโณ เป็นพระภิกษุสงฆ์ในท้องถิ่นและเคยอยู่วัดหงษ์ทองมาก่อน และมีความเหมาะสมด้วยประการทั้งปวง ฉะนั้นชาวบ้านสลกบาตรจึงพร้อมใจกันเดินทางไปนิมนต์พระภิกษุจุล อิสฺสรญาโณ จึงเดินทางมาจำพรรษา และรับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดหงษ์ทองสืบต่อมา สมณศักดิ์ และตำแหน่งหน้าที่การงาน ปี พ.ศ. 2478 พระฐานานุกรมของพระวิบูลย์วชิรธรรม ตำแหน่งพระใบฏีกา ปี พ.ศ. 2480 ได้รับเลื่อนขึ้นเป็นพระสมุห์ ปี พ.ศ. 2481 ได้รับสมณศักดิ์ ที่พระครูวิกรมวชิรสาร ปี พ.ศ. 2502 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระวชิรสารโสภณ หน้าที่การบริหาร ที่สำคัญ มีดังนี้ ปี พ.ศ. 2470 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดหงษ์ทอง จังหวัดกำแพงเพชร ปี พ.ศ. 2471 เจ้าคณะตำบลสลกบาตร ปี พ.ศ. 2478 ได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ปี พ.ศ. 2487 ได้รับการแต่งตั้งเป็นสาธารณูปการจังหวัด และเป็นกรรมการตรวจสอบนักธรรม ชีวิตบั้นปลายและการมรณภาพ ท่านเจ้าคุณฯพระวชิรสารโสภณ จุล อิสฺสรญาโณ เป็นพระที่พัฒนาและสร้างสรรค์ความเจริญให้กับวัดหงษ์ทองเป็นอย่างมาก เมื่อท่านมีอายุมาก สังขารร่วงโรย หลวงพ่อได้ป่วยเป็นเบาหวานและโรคปอด ญาติและศิษย์ได้ช่วยกันนำท่านไปทำการรักษา ที่โรงพยาบาลค่ายจิระประวัติ อาการป่วยของท่านเจ้าคุณฯไม่บรรเทา ในที่สุดก็ได้ถึงกาลมรณภาพเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2512 ตรงกับวันอาทิตย์สิริอายุ คำนวณ ได้ 74 ปี 51 พรรษา ที่มา สารานุกรมเหรียญยอดนิยม 76 จังหวัด โดย เพชร ท่าพระจันทร์
    ขอขอบคุณที่มาข้อมูลเจ้าของบทความอย่างสูง

    เหรียญหลวงพ่อจุลปี ๒๕๐๗ สภาพผ่านการบูชา หลวงพ่อสว่างวัดท่าพุทธราร่วมเสกครับ


    (ปิดรายการ)


    [​IMG]

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2012

แชร์หน้านี้

Loading...