คชสีห์๙บารมี๙บารมี๙แผ่นดินหลวงปู่หมุนเสก

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 30 สิงหาคม 2010.

  1. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,468
    ค่าพลัง:
    +21,327
    ประวัติหลวงปู่เย็น ทานรโต
    นามเดิม เย็น ศรีศาสตร์
    ชาติภูมิ บิดา นายถิ่น ศรีศาสตร์ มารดา นางเเช่ม ศรีศาสตร์
    เป็นชาวเดิมบางนางบวช สุพรรณบุรี เกิด วันเสาร์ ที่ ๒๑ มีนาคม ๒๔๔๕ เป็นบุตรคนโต ในจำนวนพี่น้อง ๖ คน

    อาชีพ ช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพกสิกรรม มีฝีมือทางช่างไม้ ช่างปูน เเละมีความสามารถออกเเบบบ้าน วัดวาอาราม

    อุปสมบท อายุครบบวช ณ วัดเดิมบาง สุพรรณบุรี เเละได้ย้านมาอยู่ วัดระฆังโฆสิตาราม เรียนพระธรรมวินัย ภาษาบาลี เเละภาษาขอม

    วิทยฐานะ สอบได้นักธรรมเอก เปรียญสี่ประโยค

    ผลงาน บูรณะวัดร้าง วัดกลางชูศรีเจริญสุข อำเภอบางระจัน สิงห์บุรี

    บูรณะวัดร้าง วัดสระเปรียญ สรรคบุรี ชัยนาท
    สร้างสถานีอนามัยชั้นหนึ่ง สถานีอนามัยหัวเด่น สรรคบุรี

    อาพาธ ตั้งเเต่ปี๒๕๓๔ ระบบขับถ่ายไม่ปรกติ โรคหอบ ถุงลมโป่งพอง เข้าออกโรงพยาบาลเสมอ ครั้งสุดท้ายที่โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชการ เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๓๙

    มรณภาพ ด้วยอาการสงบ ในวันอาทิตย์ที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๓๙ เวลา ๑๓.๔๕ รวมอายุได้ ๙๔ปี ๒เดือน ๑๑วัน
    อุปนิสัย มีความเมตตาสูง อารมณ์ดี ยิ้มเเย้มตลอด พูดตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อม นอบน้อมถ่อมตน มีวิธีสอนธรรมะอย่างสนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ ให้กำลังใจต่อศิษย์ในการต่อสู้ชีวิต เเละอุปสรรคต่างๆ

    หมายเหตุ หลวงปู่เคยลาสิขามีครอบครัว สมรสกับนางลมัย อิ่มสำราญ ชาวบางระจัน สิงห์บุรี มีบุตรธิดา ๖ คน หลังจากเห็นภัยในวัฎฎะ หลวงปู่จึงออกบวชอีกครั้ง จนมรณภาพ ส่วนคุณเเม่ลมัย เมื่อหลวงปู่ออกบวชก็มิได้ทัดทาน เเต่ยังอนุโมทนากับหลวงปู่ด้วย ตอนที่หลวงปู่มาบูรณวัดร้าง วัดกลางชูศรี คุณเเม่ลมัยก็ได้บวชเป็นชีพราหมณ์ที่วัดด้วย คอยดูเเละเรื่องอาหารขบฉัน เเม้หลวงปู่จะย้ายมาวัดสระเปรียญ คุณเเม่ลมัยก็ยังตามาดูเเลเสมอ หลังจากสุขภาพไม่ดี คุณเเม่ก็ไปอยู่กับลูกสาว ปัจจุบันคุณเเม่สมัยอายุ๘๑ปี(พ.ศ.๒๕๓๙)

    พระธุดงค์ลึกลับ
    สมัยที่ หวงปู่จำพรรษาอยู่ที่วัดระฆังนั้น วันนึงท่านเห็นพระธุดงค์รูปนึง เเบกกลด สะพายย่ามผ่านมา ท่านเห็น เกิดความรู้สึกเลื่อมใส ศรัทธา จึงเข้าไปกราบขอนิมนต์ให้ท่านเข้ามาพักในกุฎิก่อนเเละให้การต้อนรับ ท่านอย่างดี
    ระหว่างการสนทนา หลวงปู่ได้ขอให้ท่านเล่าถึงเรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวกับการธุดงค์ของท่านให้ ฟัง พระธุดงค์เล่าว่า ท่านธุดงค์ไปถึงฝั่งลาว ผ่านป่าใหญ่ที่เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายเเละไข้ป่า ที่ร้ายกว่านั้นคือ ท่านผ่านเข้าไปยังหมู่บ้านหนึ่งชื่อว่า บ้านเเก้ว ซึ่งเป็นที่เลื่องลือในเรื่องยาพิษเเละยาสั่ง คนที่ผ่านเข้าไปจะต้องถูกลองด้วยยาสั่งเเละยาพิษเสมอ น้อยคนนักที่จะรอดมาได้อย่างปลอดภัย หลวงปู่ได้ฟัง จึงเกิดความสงสัย ถามว่า ไม่กลัวเขาทำให้ตายเหรอ พระธุดงค์ตอบว่า เขาทำให้ตาย กินข้าวได้ เราไม่กลัว
    พระธุดงค์ตอบเป็นปริศนา เเม้หลวงปู่เย็นไม่เข้าใจนักเเต่ก็มิได้ซักถามต่อ เมื่อได้สนทนาต่อไปเรื่อยๆ จึงเริ่มรู้ว่า พระธุดงค์รูปนี้ ไม่ธรรมดา เเต่เป็นพระที่ทรงอภิญญาเเละเรืองวิทยาอาคมยิ่งองค์นึง ท่านจึงไม่เกรงกลัวอะไรทั้งสิ้น ไม่ว่าสัตว์ร้าย ไข้ป่า หรือเเม้กระทั้งคน ท่านได้ธุดงค์ไปเเล้วทั่วเเผ่นดินไทย ไปถึงเมืองญวณ เขมร ลาวเเละพม่า ก่อนจากกัน ท่านได้มอบสิ่งของบางอย่างให้กับหลวงปู่เย็น ท่านบอกว่าเป็นเเก้วสารพัดนึก สามารถดลบันดาลให้เป็นไปได้ตามปรารถนาได้ทุกประการ หลวงปู่เย็นได้กราบด้วยความสำนึกในความมีเมตตาของท่าน เเต่พอหหลวงปู่เงยหน้ามา พระรูปนั้นก็ได้อันตรธานหายไปอย่างไร้ร่องรอย

    ตัว พ มหัศจรรย์
    ตอน ที่พระธุดงค์บอกกับหลวงปู่ว่า มีขอวิเศษจะมอบให้ ท่านได้เอื้อมมือๆไปหยิบก้านธูปในกระถางรูปบูชาพระ เเล้วเอามาหักเป็นอักษรตัว พ จากนั้น เอาด้ายสายสิญณ์ มาพันก้านธูปกลับไปกลับมา พร้อมบริกรรม คาถากำกับลงไปตลอดเวลา เมื่อเสร็จเเล้วก็มอบให้หลวงปู่เย็น เเละบอกว่า นี่คือเเก้วสารพัดนึก

    พระ ธุดงค์ได้สาธยายคุณวิเศษของตัว พ ว่า เป็น ตัวเเทนของพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ เเละพระสังฆคุณ เป็นของวิเศษดุจดังเเก้วสาพัดนึก หากปรารถนาสิ่งใด ให้ ยกตัว พ ขึ้นจบ เเล้ว ภาวนาขอบารมีเเห่ง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บันดาลให้เป็นไปตามที่ปรารถนาก็จะได้ สมดังตั้งใจ

    เมื่อหลวงปู่เย็น ขอเรียนวิชา ท่านก็ถ่ายทอดให้ พอหลวงปู่ก้มลงกราบขอบพระคุณท่าน พอเงยหน้ามา ก็ไม่เห็นท่านเสียเเล้ว เป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างยิ่งที่ท่านได้เห็นครั้งเเรกในชีวิต ถือว่า พระธุดงค์เป็นพระรูปเเรกที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ท่าน

    หลวงปู่บอก ว่า ท่านชื่ออะไรไม่รู้ เเต่ท่านก็จำหน้าพระธุดงค์ได้อย่างเเม่นยำ ท่านมารู้ทีหลังก็เมื่อได้เห็นรูปท่าน หลวงปู่ท่านชี้ให้ดูรูป พระครูโลกอุดร ที่ท่านได้ใส่กรอบบูชาไว้ที่หัวนอน เเละได้กล่าวว่า อาจารย์องค์นี้เเหละ ที่ทำให้กูสร้างวัดได้สำเร็จ
    เสาะหาอาจารย์ดี
    หลวง ปู่เย็น อยู่วัดระฆังได้ ๙ พรรษา ก็พยายามหาอาจารย์ดีอยู่เสมอ ท่านได้ข่าวว่าหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา เป็นพระเกจิที่ทรงอาคมเเก่กล้า จึงเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์ โดยไม่ร้อช้า เเล้วก็ถ่ายทอดวิทยาการต่างๆให้ ทั้งทางด้านวิทยาคม การผสมธาตุสำหรับนำมาสร้างเครื่องรางของขลัง ตลอดจนวิชาเเพทย์เเผนโบราณการผสมยา
    ด้วยความวิริยะอุตสาหะ ขยันขันเเข็ง ไม่นานต่อมาหลวงปู่เย็นก็สามารถเรียนวิชาต่างจากหลวงพ่ออิ่มได้หมด เเต่หลวงปู่เย็นยังอยากเรียนวิชาอีก หลวงพ่ออิ่มจึงได้ฝากฝังให้ไปเรียนต่อกับหลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ ผู้ซึ่งเป็นพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเเละเป็นอาจารย์ของพระเกจิหลาย รูป อาทิเช่น หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ หลวงพ่อกวย วัดบ้านเเค หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม หลวงพ่อพิมพ์ วัดวิหารทอง หลวงพ่อเเพ วัดพิกุลทอง เป็นต้น หลวงปู่ได้อยู่เรียนวิชา ปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อศรีด้วยความขยันขันเเข็ง ท่านจึงได้เมตตาสอนวิชาความรู้ต่างๆให้หลวงปู่เย็นจนหมดสิ้น

    วัดกลางชูศรี
    ปี ๒๕๐๗ หลวงปู่เย็นได้ออกธุดงค์ ไปทางอำเภอบางระจัน จ.สิงห์บุรี พบเจดีย์เก่าในพงหญ้ารกครึ้ม ในสภาพทรุดโทรม จึงรู้ว่าที่เเห่งนี้เป็นวัดร้าง ด้วยจิตกุศลอันเเรงกล้า ท่านจึงมีความตั้งใจที่จะบูรณะก่อสร้างขึ้นใหม่ หลวงปู่จึงขายที่นาที่เป็นมรดกตกทอดหลายเเปลง นำเงินที่ได้มาซื้ออิฐ หิน ปูน วัสดุก่อสร้างต่างๆ ด้วยที่ท่านมีฝีมือในการก่อสร้าง จึงสร้างกุฎิสงฆ์ ศาลาประกอบศาสนกิจ หอสวดมนต์ ขุดสระ บูรณจนวัดมีสภาพที่ดีเเละมีความเจริญรุ่งเรือง เเละมีนามว่า วัดกลางชูศรีเจริญสุข
    ในการบูรณะวัด นอกจากใช้ทุนทรัพย์ส่วนตัวจากการขายที่ดิน หลวงปู่ยังได้สร้างตัว พ ไว้ให้เเก่ผู้ที่นำวัสดุก่อสร้างมาถวาย ผู้ใดถวายปูนหนึ่งถุง ท่านจะมอบตัว พ ให้หนึ่งตัว ต่อมาผู้ที่ได้รับตัว พ ไป นั้น ตัว พ ได้ก่ออภินิหาร มีประสบการณ์มากมาย ผู้ที่บูชานำไปตั้งจิตอธิษฐาน มักสมหวังในสิ่งที่ตั้งใจเสมอ จนเป็นที่เลื่องลือ จนมีผู้คนมากมายมาขอตัว พอจากหลวงปู่กันมากมาย สมัยก่อน ปูนถุงละ ๒๐ บาท ใครถวายปูนหนึ่งถุง ท่านก็จะให้ตัว พ หนึ่งตัว เมื่อปูนขึ้นราคา ตัว พ ก็ขึ้นราคาตามไปด้วย เเต่สมัยก่อน ชาวบ้านนึกถึงในเรื่องการทำบุญ ไม่ได้คิดถึงพุทธพาณิชย์เเต่อย่างใด เเต่หลวงปู่จะพูดเสมอว่า ตัว พ ของท่านเป็นพุทธพาณิชย์ เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า เงินทุกบาททุกสตางค์ที่ได้มา จะถูกใช้ในการก่อสร้างถาวรวัตุต่างๆภายในวัดทั้งสิ้น พูดได้ว่า หลวงปู่สร้างวัดด้วยตัว พ จริงๆ
    ในช่วงบูรณวัด หลวงปู่จะทำงาน ก่อสร้าง ลงมือด้วยตัวท่านเอง ถ้ามีญาติโยมเจ็บป่วยมา ท่านก็จะช่วยรักษาให้ ใช้ยาเเผนโบราณบ้าง น้ำมนต์บ้าง กลางคืน หลังจากสวดมนต์ไหว้พระ หลวงปู่จะนั่งหักก้านธูปทำตัว พ ไว้เเจกจ่ายสมนาคุณเเก่ผู้ที่มาทำบุญ

    นิมนต์หลวงปู่บุดดา
    ครั้ง นึงหลวงปู่ได้รับกิจนิมนต์ ไปพบพระรูปนึงที่มีสำเนียงการเทศน์ที่น่าฟังยิ่ง กริยาสงบน่าเลื่อมใส บ่งบอกถึงความเป็นนักธรรมปฎิบัติ เกิดความผูกพันธ์ อยากเชิญชวนให้ท่านมาอยู่วัดที่ท่านกำลังสร้างอยู่ หลังจากเสร็จกิจสงฆ์ หลวงปู่จึงเข้าไปนมัสการเเละนิมนต์ให้ท่านมาอยู่วัดกลางชูศรี เพื่อช่วยกันพัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป พระภิกษุรูปนั้นก็รับปาก พระสงฆ์ที่หลวงปู่นิมนต์มาอยู่ด้วย เป็นที่รู้จักกันทั่วไป ท่านคือ หลวงปู่บุดดา ถาวโร
    หลังจากหลวงปู่บุดดมาอยู่ด้วย วัดกลางชูศรีก็กลายเป็นวัดของนักปฎิบัติธรรมโดยเเท้จริง โดยมีหลวงปู่เย็นเป็นผู้นำในการเจริญวิปัสนากรรมฐาน หลวงปู่กล่าวเสมอว่า ตราบใดที่หลวงปู่บุดดายังอยู่ที่วัด ความเจริญรุ่งเรืองก็จะมาเรื่อยๆ เพราะหลวงปู่บุดดาเป็นพระเเท้ ไม่ต้องทำอะไร ลาภสักการะก็จะไหลมาเทมา พูดได้ว่า ยามหลับได้เงินหมื่น ยามตื่นได้เงินเเสน จริงอย่างที่กล่าว ครั้งใดที่ญาติโยมมากราบขณะที่หลวงปู่บุดดาจำวัด ทุกคนจะเกรงใจ ไม่กล้ารบกวนท่าน โดยจะถวายปัจจัยใส่ซองไว้ที่ใกล้ตัวท่าน หลังจากที่วัดมีความเจริญรุ่งเรืองสมดังปณิธาน หลวงปู่ได้ถวายวัดให้กับหลวงปู่บุดดา ตัวท่านเองก็ออกเสาะหาวัดร้างที่จะบูรณะต่อไป
    วัดร้างการเปรียญ
    ที่ ตำบลบางขุด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ไม่ไกลจากวัดบ้านเเคของพระเกจิที่ทรงคุณวิเศษเเละเป็นที่เคารพของ ศิษยานุศิษย์ท่านนึง คือ หลวงปู่กวย ชุตินธโร มีวัดเก่าเเก่วัดนึง เป็นวัดร้าง ชื่อว่า วัดการเปรียญ ตอนที่หลวงปู่เย็นไปพบ กรมศาสนาได้ขึ้นทะเบียนให้เป็นวัดร้างมาเเล้วประมาณ ๖๐ ถึง ๗๐ ปี
    จากคำบอกเล่าของคนเก่าเเก่ สมัยก่อนมักมีคนมาขุดหาของเก่า ของมีค่าเเละได้ไปจำนวนไม่น้อย
    เดิม วัดการเปรียญมีเนื้อที่ธรณีสงฆ์อยู่ ๙๐ ไร่ หลังจากการบูรณเป็นวัดใหม่ มีเนื้อที่เหลือเพียง ๗๐ ไร่ ในบริเวณวัด มีสระน้ำสองสระ ถมไปหนึ่ง เหลืออีกหนึ่งสระ เชื่อกันว่าเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ในการบูรณะทำการขุดลอกสระ มีการค้นพบเสาไม้ใหญ่ คงเป็นเสาหอไตรที่สร้างไว้กลางสระสมัยก่อน สระนี้ไม่มีใครกล้าลงไป เคยมีคนตักน้ำไปใช้เเล้วเกิดอาเพศภายใน ๓ วัน ๗ วัน บางคนลงไปอาบ ต่อมาตามตัวผิวหนังตกสะเก็ดเหมือนปลา บางคนเป็นผดผื่น รักษาไม่หาย ต้องไปจุดธูปขอขมาที่สระ จึงจะหาย เป็นที่อัศจรรย์
    ในการสร้างพระ เครื่องของวัดสระเปรียญ อาจารย์หนูศิษย์ที่ใกล้ชิดหลวงปู่เย็นมากที่สุด จะลงไปเอาดินในสระมาเป็นส่วนผสมเสมอ เเละไม่เกิดเหตุอะไรเลย เเต่ถ้าคนอื่นลงไป มักเกิดอาเพศทุกครั้ง หลังจากที่วัดได้รับการบูรณะจนดูสวยงามร่มรื่น หลวงปุ่ได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่ว่า วัดสระเปรียญ มีเเรงจูงใจมาจากที่ว่าวัดนั้นเคยมีหอไตรอยู่กลางสระน้ำนั้นเอง
    หลวงปู่เคยกล่าวไว้ว่า ท่านสร้างวัดกลางชูศรีมาเเล้ว ท่านจะสร้างวัดการเปรียญขึ้นมาใหม่ เเล้วท่านก็ทำได้จริง

    [​IMG]


    ประสิทธิ์ตัว พ
    หลวง ปู่เป็นพระใจดีมีเมตตาต่อสาธุชนทุกคน เเม้ตัวท่านจะมีโรคประจำตัว กลางวันท่านจะรับเเขก โปรดญาติโยมด้วยความเมตตา กลางคืน ท่านจะนั่งทำตัว พ ไว้เเจกจ่ายเเละมอบให้กับปผู้ที่มากราบเเละทำบุญ ใครที่มารับตัว พ หลวงปู่จะประสิทธิ์ให้อย่างเสียงดังว่า พ่อจงมาโปรดลูกคนนี้ ให้เขากินอิ่มนอนหลับ พ่อจงมาโปรดลูกคนนี้ เขาจะเอาอะไร ก็ขอให้เขาได้สมปรารถนา พระเจ้าพ่อจงมาโปรดลูกคนนี้ พระเจ้าเเม่จงมาโปรดลูกคนนี้ พุทธเตเชนะ ธัมมะเตเชนะ สังฆะเตเชนะ ความใดอย่าให้ถูก ปติเสรามิ พุทธเมตตาจิต ธัมมะเมตตาจิต สังฆะเมตตาจิต นะเมตตา โมกรุณา พุทปราณี ธายินดี ยะเอ็นดู อิสวาสุ สุสวาอิ พุทธปิติอิ

    มรณภาพ
    หลวง ปู่เย็นอาพาธด้วยโรคหอบเเละถึงลมโป่งพอง ระบบขับถ่ายไม่ปรกติ ต้องเข้าออกโรงพยาบาลเสมอ เข้ารับการรักษาครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๙ ในความดูเเลของนายเเพทย์ประเจิด เเละเเพทย์พยาบาลจากโรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชการ หลวงปู่มรณภาพโดยอาการสงบเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ เวลา ๑๓.๔๕ น. สิริรวมอายุได้ ๙๔ ปี ๒ เดือน ๑๑ วัน หลวงปู่ได้สั่งไว้ก่อนมรณภาพว่า ถ้าท่านตายให้เอาร่างท่านไปบรรจุไว้ที่เเท่นที่ท่านทำไว้ ลักษณะเป็นเเท่นเเบบฮวงซุ้ย หลวงปู่ได้ก่อปูนทำด้วยตัวท่านเอง อยู่ใกล้กุฎิที่ท่านสร้างไว้ที่วัดกลางชูศรี ปัจจุบัน สังขารหลวงปู่ ถูกบรรจุไว้ที่โลงเเก้ว อยู่ที่ศาลาเอนกประสงฆ์ของวัดสระเปรียญ



    ขอบคุณท่านเจ้าของบทความและข้อมูลอย่างสูงครับ



    เหรียญหลวงปู่เย็น วัดสระเปรียญ หลังพ .พาน

    ให้บูชาองค์ละ 200 บาทค่าจัดส่ง EMS 50 บาทครับ(ปิดรายการ)

    [​IMG] [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2012
  2. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,468
    ค่าพลัง:
    +21,327
    [​IMG]

    คัดจากหนังสือคุณทองทิว สุวรรณทัต

    บรรดาเกจิ อาจารย์ทั้งหลายซึ่งมีอภินิหารหรือคุณธรรมอันวิเศษที่มรณภาพไปแล้วนั้น ถ้าใครเอ่ยถึง หลวงพ่อโอภาสี ก็คงจะอดอัศจรรย์ในคุณวิเศษอันสืบเนื่องจากผลการปฏิบัติของท่านไม่ได้ และด้วยเหตุนี้จึงมีผู้อ่านหลายท่านขอให้ผู้เขียนนำประวัติของท่านมาเล่าสู่ ให้ฟังกันบ้าง

    ระหว่างปี 2484-2485 ผู้เขียนยังเรียนหนังสืออยู่จำได้ว่าผู้คนทั้งในกรุงเทพฯและจังหวัดใกล้ เคียงพากันไปชุมนุมที่หน้าวัดบวรนิเวศวรวิหาร นับแต่ถนนหน้าวัดบวรฯไปจนจรดตลาดบางลำภูมีคนเข้าแถวเต็มไปหมด ได้ความภายหลังว่ามารอหลวงพ่อโอภาสี แจกพระเครื่องที่ท่านทำพิธีปลุกเสก
    ใน ครั้งนั้น ชื่อเสียงของ หลวงพ่อโอภาสี โด่งดังไปทั่งสารทิศ เพราะพิธีกรรมของท่านแปลกพิสดารเกินกว่าคนธรรมดาจะกระทำได้ กล่าวคือ ท่านขนเอาสมบัติพัสถานในกุฏิของท่าน ไม่ว่าจะเป็นตู้โต๊ะ หนังสือตำรา ถ้วยโถโอชามอันเป็นของเก่าแก่มีราคา ตลอดจนกองธนบัตรที่มีคนมาถวาย มากองสุม ณ บริเวณสนามหญ้า แล้วจุดไฟเผาท่ามกลางความตกตะลึงของพระภิกษุสามเณร และผู้คนที่พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง พอไฟมอดลงแล้วท่านก็เดินหายไปในกุฏิเพื่อสวดมนต์ภาวนาของท่านต่อไป
    การ ประกอบพิธีกรรมอันประหลาดของท่านซึ่งมีติดต่อกันหลายครั้งในสมัยนั้น ทำให้วัดบวรนิเวศวรวิหารพลุกพล่านไปด้วยผู้คนเป็นประวัติการณ์ จึงเป็นเหตุให้หลวงพ่อโอภาสีต้องออกจาวัดบวรฯในเวลาต่อมา และในที่สุดท่านก็ไปอยู่ที่อาศรม ณ ตำบลบางมด
    เรื่องราวอันน่ามหัศจรรย์ ของพระภิกษุผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีความรู้ในพระธรรม พระวินัย จนสอบได้เปรียบแปดประโยคท่านนี้ ผู้เขียนได้พยายามรวบรวมเรื่องราวของท่านจากหนังสือบางเล่ม และจากท่านผู้รู้บางท่าน พอได้ใจความมาเสนอดังต่อไปนี้
    หลวงพ่อโอภาสี หรือ พระมหาชวน โอภาสี (ป.8)เกิดที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ.2441 เรียนหนังสือจบขั้นมัธยมปีที่ 6 แล้วบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดโพธิ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช สอบได้นักธรรมโทจึงเดินทางมาศึกษาบาลีควบคู่ไปกับนักธรรมเอก ณ วัดบวรนิเวศวรวิหาร กรุงเทพฯ จนสอบได้เปรียญ 8 ประโยค จากนั้นได้หันมาปฏิบัติตามลำพัง เป็นสำคัญกระทั่งในวันหนึ่งท่านได้ประกาศว่า
    "มหาชวนนั้นตายไปแล้ว บัดนี้เหลือแต่โอภาสีผู้ปรารถนาในความหมดสิ้นจากอาสวะทั้งหลาย"
    ท่านเจ้าคุณราชธรรมนิเทศ เคยเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า
    "มี สิ่งที่น่าประหลาดอยู่เรื่องหนึ่ง ที่เกี่ยวกับหลวงพ่อโอภาสีเห็นเขาพูดกันว่า เมื่อครั้งท่านยังเป็นพระมหาชวนนั้นที่แก้มซีกขวาของท่านยังไม่มีไฝฝ้า แต่ครั้นมาเป็นหลวงพ่อโอภาสีกลับมีปานดำขึ้นที่แก้มจนเห็นได้ชัด ไม่ทราบว่าปานนั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร เพราะคนเรามักจะมีปานหรือไฝก็มีกันแต่เล็กแต่น้อย นี่ท่านเป็นผู้ใหญ่แล้ว อายุตอนนั้นประมาณ 40 ทำไมปานเกิดขึ้นมาได้ก็ไม่ทราบ"
    เกี่ยวกับเรื่อง อภินิหารของหลวงพ่อโอภาสีนั้นดูจะมีหลายประการ โดยเฉพาะได้แก่การมีหูทิพย์ ตาทิพย์ และวาจาสิทธิ์ ท่านกล่าวคำใดออกมาไม่ใคร่จะพลาดจากคำนั้น ซึ่งอาจจะสืบจากผลการปฏิบัติอย่างแรงกล้าของท่านก็เป็นได้
    มีเรื่องเล่า ว่า เคยมีสุภาพสตรีสูงอายุท่านหนึ่ง มีความศรัทธาหลวงพ่อโอภาสีเหลือเกิน ถึงแก่ปรารถกับญาติพี่น้องที่บ้านว่า อยากได้เส้นผมของหลวงพ่อไว้บูชา ครั้นต่อมาสุภาพสตรีท่านนั้นไปนมัสการหลวงพ่อ พอก้มลงกราบ ยังไม่ทันจะกล่าวอะไรหลวงพ่อก็ยกมือจับเส้นผมของท่าน พร้อมกับบอกว่า
    "ผมของอาตมาสั้นออกอย่างนี้ จะตัดไปให้โยมได้อย่างไร"
    สุภาพสตรีท่านนั้นถึงแก่นั่งตกตะลึงพูดไม่ออก
    ครั้ง หนึ่งได้มีสุภาพสตรีผู้สูงด้วยอำนาจวาสนาท่านหนึ่งพาบริวารไปนมัสการหลวงพ่อ ที่สวนส้มบางมด ได้สนทนาปราศรัยกับท่านเป็นอันดี ชั่วครู่หลวงพ่อเหลือบไปเห็นแหวนเพชรในนิ้วมือของสุภาพสตรีท่านนั้น เปล่งประกายสุกสกาวจึงถามว่า
    "ถ้าอาตมาจะขอแหวนวงนี้จากคุณโยม จะเสียดายไหม"
    สุภาพ สตรีท่านนั้นถอดแหวนออกจากนิ้วนางประเคนท่านแทนคำตอบทันที ท่ามกลางความชื่มชมของบริวาร หลวงพ่อรับไว้ หยิบพลิกดูไปมาแล้วหันไปหยิบค้อนที่อยู่ข้างหลัง วางแหวนเพชรที่ไม่รู้ว่ากี่กะรัตลงบนพื้นแล้วตอกด้วยค้อนบัดนี้!
    สุภาพสตรีท่านนั้นเกือบเป็นลม
    หลวงพ่อโอภาสีมองหน้าพลางเปรยออกมาว่า
    "ของดีๆอย่างนี้ จะสูญได้อย่างไร"
    สุภาพสตรีผู้นั้นหมดกำลังใจจะสนทนาต่อ อ้อมแอ้มๆออกมาสอง-สามประโยค ก็นมัสการลากลับไม่เหลียวหลัง
    ปรากฏ ว่าเย็นวันนั้น หลังจากอาบน้ำชำระกายเรียบร้อยแล้ว เปิดโถแป้งออกมา ตั้งใจจะหยิบแป้งขึ้นมาผัด กลับเห็นแหวนเพชรวงที่หลวงพ่อโอภาสีทุบจนแตกกระจายเป็นเสื่ยงๆวางอยู่ในนั้น ชัดแจ้ง...เป็นวงแหวนสมบูรณ์เหมือนเดิมไม่ผิดเพี้ยน!
    อีกคราวหนึ่ง คุณหลวงประเสริฐรัฐวิจารณ์ เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ขององค์การท่าเรือฯ ผู้รู้จักคุ้นเคยกับหลวงพ่อมาช้านาน ได้เข้าไปนมัสการและสนทนาด้วย จนได้เวลาพอสมควรจะลากลับหลวงพ่อกลับบอกว่าประเดี๋ยวก่อน แล้วท่านก็ลุกเข้าไปในอาศรมถือธนบัตรใบละ 100 จำนวนสองใบมายื่นให้คุณหลวงพลางบอกว่า "เก็บไว้ให้ดี เป็นเงินก้นถุง"
    คุณ หลวงก้มลงกราบรับไว้ด้วยความปิติยินดี แต่เมื่อกลับมาบ้านแล้ว ท่านนึกไปถึงเพื่อนคนหนึ่งซึ่งไปรับราชการอยู่ที่กรุงวอชิงตัน อเมริกาในขณะนั้น เพราะเพื่อนผู้นี้เคยปรารถกับท่านว่าอยากได้เงินก้นถุงของหลวงพ่อโอภาสีมา นานแล้วแต่ไม่มีโอกาสจะได้กับเขา คุณหลวงประเสริฐคิดถึงเพื่อนผุ้นั้นก็อยากจะสละเงินก้นถุงที่ตนได้มาให้แก่ เพื่อนไปก่อน ด้วยคิดว่าท่านอยู่ใกล้กับหลวงพ่อ วันหน้าคงจะมีโอกาสขอได้ใหม่ ท่านจึงจัดแจงจดหมายเลขธนบัตรเอาไว้ แล้วส่งเงินนั้นไปให้เพื่อนที่วอชิงตันทันที
    ต่อมาอีกสามสี่วัน คุณหลวงไปนมัสการหลวงพ่ออีกครั้ง พอหลวงพ่อเห็นหน้าท่านก็หยิบธนบัตรใบละ 100 สองใบส่งให้คุณหลวง พลางหัวเราะบอกว่า
    "ไม่ต้องตกใจดอกคุณหลวง เขาไปเที่ยววอชิงตันมา!"
    ก่อน ที่หลวงพ่อจะมรณภาพเพียงไม่กี่วัน พุทธสมาคมแห่งประเทศอินเดียได้นิมนต์ให้หลวงพ่อเดินทางไปร่วมประชุมสงฆ์ทั่ว โลก หลวงพ่อรับนิมนต์ ทั้งได้ส่งสานุศิษย์ผู้ติดตามอันได้แก่ นายสนิท วชิรสาร กับ นายยี.อี.เอิร์ด เดินทางล่วงหน้าไปก่อนหนึ่งสัปดาห์ ส่วนหลวงพ่อจะเดินทางไปโดยลำพังในวันที่ 31 ตุลาคม 2498
    หลวงพ่อบ๋าวเอิง ทราบข่าวว่า หลวงพ่อโอภาสีจะไปอินเดียก็จะขอติดตามไปด้วย แต่หลวงพ่อบอกว่า
    "ขณะนี้ท่านมีธุระมาก อย่าเพิ่งไปดีกว่า และอาตมาไปครั้งนี้ก็ไม่ต้องใช้พาสปอร์ตเหมือนคนอื่นเขา จึงให้ร่วมไปไม่ได้"
    ภาย หลังจาก นายสนิท วชิรสาร กับ นาย ยี.อี.เอิร์ดเดินทางไปถึงอินเดีย ได้พำนักอยู่ในพุทธวิหารแห่งหนึ่ง ซึ่งทางพุทธสมาคมอินเดียจัดไว้รับรอง ครั้นเวลาเช้าตรู่ของวันที่ 31 ตุลาคม 2498 นายยี.อี.เอิร์ด ได้เห็นภาพของหลวงพ่อโอภาสีลอยเด่นอยู่เหนือศีรษะ ใบหน้าของท่านอิ่มเอิบสดใส ภาพนั้นปรากฏเพียงชั่วครู่ก็เลือนหายไป
    ครั้น ตกบ่ายได้มีคนเข้ามาบอกแก่คนทั้งสองว่า มีพระแก่รูปหนึ่งรอพบอยู่ข้างนอก จึงรีบชวนกันออกไป กลับพบหลวงพ่อโอภาสียืนรออยู่! ท่านบอกว่า
    "ฉันมาตามคำพูด ไม่มีอะไรมาห้ามฉันได้ อย่าแปลกใจเลย"
    ศิษย์ ทั้งสองดีอกดีใจ รีบพาหลวงพ่อเข้าไปยังพุทธวิหารพลางขอตัวเพื่อไปเอาของในห้องพักของตน เตรียมจะนำหลวงพ่อออกชมบ้านเมืองอินเดีย แต่ในขณะนั้นเอง มีบุรุษไปรษณีย์นำโทรเลขมาส่ง คนทั้งสองเปิดโทรเลขอ่านดูแล้วต้องยืนตัวแข็งเพราะข้อความมีว่า "หลวงพ่อโอภาสีมรณภาพเช้าวันที่ 31 ตุลาคม 2498 กลับด่วน"
    ปัจจุบันศพของหลวงพ่อโอภาสียังคงอยู่ในอาศรมบางมดเชิญผู้มีจิตศรัทธาไปนมัสการได้


    ขอบคุณท่านเจ้าของบทความและข้อมูลอย่างสูงครับ



    เหรียญหลวงพ่อโอภาสีเนื้อนวะ

    ให้บูชาองค์ละ 300 บาทค่าจัดส่ง EMS 50 บาทครับ(ปิดรายการ)

    [​IMG] [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2012
  3. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,468
    ค่าพลัง:
    +21,327
    วันนี้จัดส่ง

    EI 6643 1811 5 TH เชียงใหม่

    ขอบคุณครับ
     
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,468
    ค่าพลัง:
    +21,327
    เบอร์บัญชีผมครับ
    เบอร์บัญชีธ.กรุงไทย KTB125-0-08923-9 supachai thu
    โอนเงินแล้วช่วยแจ้งวันเวลาที่โอนในกระทู้เพื่อง่ายในการตรวจสอบหรือทางPMแล้วจะรีบดำเนินการจัดส่งEMSไปให้โดยด่วนนะครับ..หลายรายการก็ค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    กฎการรับประกันตามหลักสากลครับ
    1 วัตถุมงคลที่บูชาจากผมไปถ้าเก๊และพิสูจน์ได้ตามหลักสากล คืนเงินท่านทันทีครับ

    2รับประกันความพอใจภายใน 7 วัน ไม่ชอบใจส่งวัตถุมงคลคืนส่งเงินคืนเช่นกันครับ หัก 50 บาท

    รับประกันนอกเหนือจากสากลวงการพระเครื่องแบบที่เขาไม่ทำกันแต่ผมจะทำให้

    1 จับไม่มีพลัง พลังอ่อน สินแซ่ จิตสัมผัส สัมผัสกรรมแสกนกรรม ถ่ายออร่าแล้วไม่มีแสง ทรงเจ้าเข้าผีดิบ หมอผีไทย หมอผีีจีน หมอผีเขมร หมอผีแขก หมอผีฝรั่ง หมอผีอียิปค์ไอยคุปย์ หมอผีแอฟริกา(ไม่นับหมอนวด) หรือจะให้บาทหลวง แม่ชี อะไรก็ได้ ถ้าไม่มีพลังรับคืนภายใน3วันหลังจากได้รับพระไป หัก 100 บาทถ้าตรวจสอบพลังหลังจากที่ได้รับพระเกิน 3 วันผมไม่คืนและแนะนำให้ผู้ที่ตรวจสอบไปตรวจระบบประสาทเพิ่มเติมครับ
    ในกรณีที่พิมพ์ทรงถูกต้องแต่ไม่มีพลังงานเท่านั้นสำหรับท่านที่กลัวของเสริมแต่ถ้าพิมพ์ทรงไม่ใช้ก็เข้ากฎคืนเต็มอยู่แล้วครับ

    **หมายเหตุ**

    ทุกกรณี
    ขอให้วัตถุมงคลอยู่ในสภาพเดิมไม่ล้างผิว ขัดผิว ถูผิวให้วัตถุมงคลเปลี่ยนสภาพหรือแตกหัก คืนแน่นอนครับ
    ไม่มีปัญหามั่นใจได้ครับ

    ท่านที่จะบูชาพิจรารูปภาพวัตถุมงคลและตรวจสอบให้ดีด้วยตนเองก่อนครับผมถ่าย รูปให้ชัดเจน และเมื่อบูชาแล้วควร save รูปภาพเก็บไว้ด้วยครับเพื่อผลประโยชน์ของท่านเองครับในรูปจะมีลายเซ้นต์ชื่อ ผมไว้จะได้ยืนยันหลักฐานได้ครับในกรณีที่วัตถุมงคลไม่แท้ ท่านสามารถนำรูปนั้นจัดการตรวจสอบยืนยันกับผมได้ครับ
    ผมไม่ใช้ผู้รู้ทุกสายเมื่อผิดพลาดพร้อมรับผิดชอบไม่มีเจตนาคดโกง
    ติดต่อ 081...70...4...72...64
    _
     
  5. numthip

    numthip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2008
    โพสต์:
    7,094
    ค่าพลัง:
    +65,143
    รายการนี้ปิดไปหรือยังครับ ถ้ายังผมปิด หรือถ้ามีอย่างอื่นของหลวงพ่อทองใบ รบกวนแจ้งทางพีเอ็มด้วยครับ
     
  6. ครรชิต วิมลจันทร์

    ครรชิต วิมลจันทร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    572
    ค่าพลัง:
    +2,865
    เหรียญหลวงปู่เย็น วัดสระเปรียญ หลังพ .พาน

    ขอบูชาเหรียญนี้ครับ
     
  7. MooDam

    MooDam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    1,604
    ค่าพลัง:
    +4,845
    ท่าน Jumbo A ผมจอง

    ๑. พระผงรูปเหมือนหลวงพ่อเคน วัดเขาอีโต้ ปราจีนบุรี
    ๒. เหรียญหลวงพ่อโอภาสีเนื้อนวะ
     
  8. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,468
    ค่าพลัง:
    +21,327
    [FONT=Arial,MS Sans Serif]ประวัติหลวงพ่อขอม ( อนิโชภิกขุ )

    ไกลออกไปจากเมืองหลวงเมื่อหลายสิบปีมาแล้วบริเวณทุ่งแถบนั้นเต็มไปด้วยต้น ข้าวที่กำลังออกรวงเหลืองอร่าม ข้าวแต่ละรวงเบ่งบานและอวบโต จนลำต้นไม่อาจทานน้ำหนักของเมล็ดข้าวได้ ต้องโน้มทอดลงสู่พื้นดิน บริเวณนั้นมีชื่อเรียกว่า “บ้านไผ่เดาะ” อยู่ในตำบลบางตะเคียน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดนี้เองนับแล้วก็คืออู่ข้าวอู่น้ำของเมืองไทยก็คงไม่ผิด
    บ้านไผ่เดาะ เป็นชุมนุมชนที่หนาแน่นพอสมควร อาชีพหลักของผู้คนที่นั่นคือการทำนา อันเป็นอาชีพดั้งเดิมที่บรรพบุรุษได้มอบให้ไว้ เนื่องจากเป็นดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ ทำนาได้ผลมากมาย ความสงบสุขจึงปรากฎให้เห็นอยู่ทั่วไป
    ณ. ที่นี่แหละ คือถิ่นกำเนิดของเด็กคนหนึ่งที่มีชื่อว่า “ เป้า ” เด็กชายเป้าผู้นี้ เมื่อเติบใหญ่ได้กลายเป็นผู้ที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงอย่างมาก น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก แต่ก่อนจะถึงเวลานั้นขอให้เราย้อนกลับไปสู่ครั้งปฐมวัยของเด็กน้อยผู้นี้กัน ก่อนเถอะ
    เด็กชายเป้าเป็นบุตรของชาวนาโดยตรงผู้หนึ่ง บิดาชื่อว่า “นายช้าง” มารดาชื่อว่า “นางเปรม” มีพี่น้องรวมทั้งสิ้น ๘ คน เป้าเป็นบุตรคนที่ ๕ เมื่อเป้าเกิด ทั้งพ่อแม่ญาติพี่น้อง ก็รู้ว่าเป้าไม่ใช่คนแข็งแรงอะไรนัก เพราะเป้าเป็นเด็กผอม พุงป่อง และเจ็บออดๆ แอดๆ เสมอ แต่ว่าอาการนั้นก็ไม่หนักหนาอะไร คงเลี้ยงดูกันได้เรื่อยมา ชีวิตในวัยเด็กนั้นเป้าก็เหมือนกับเด็กอื่นๆทั่วไป คือชอบเล่นฝุ่นสนุกซุกซนตะลอนๆ ไปตามชายทุ่ง และดำผุดดำว่ายอยู่ในคลองบึงที่ไม่ห่างจากบ้านนัก ทั้งๆ ที่เป็นเด็กซึ่งพ่อแม่ออกจะเป็นห่วงอยู่ เพราะเกรงว่าโรคภัยจะแทรกแซง เนื่องจากความอ่อนแอ แต่เป้าก็คงซุกซนและเจริญวัยเรื่อยมา พร้อมกับอายุที่เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ เป้าก็เริ่มมีภาระเล็กๆ น้อยๆ คือติดตามผู้ใหญ่ออกไปทำนา ตามแรงความสามารถเท่าที่จะทำได้ ซึ่งถือว่าเป็นการสอนวิชาชีพที่จะกลายเป็นสมบัติติดตัวไปข้างหน้าวิธีหนึ่ง

    หลวงพ่อขอม ( อนิโชภิกขุ )

    แต่กับพ่อกับแม่ของเป้าแล้วคิดไปไกลกว่านั้นอีก คือชีวิตของชาวนาจะมีอะไรมากไปกว่า ตื่นเช้าออกสู่เส้นทุ่งกว้าง เย็นลงก็กลับบ้าน วิชาความรู้อย่างอื่นนั้นคงไม่มี ในเมื่อหาเวลาที่จะร่ำเรียนมิได้ ความคิดที่วูบขึ้นมาเช่นนั้น ในขณะนั้น ทำให้พ่อแม่ของเป้าตัดสินใจส่งลูกชายน้อยๆ ไปขอรับวิชาความรู้ จากแหล่งรวมของสรรพวิชาทั้งหลาย นั่นก็คือวัด วัดแรกที่เป้าได้ร่ำเรียนคือวัดใกล้ๆ บ้านนั่นเอง เป้าได้รับรู้ธรรมเนียมใหม่ กล่าวคือเป้าต้องรับใช้ปรนนิบัติพระภิกษุผู้เป็นอาจารย์ด้วย หลังจากเลิกเรียนแล้ว ซึ่งก็หาได้ทำให้เด็กน้อยเบื่อหน่ายไม่ การรับใช้อาจารย์ก็เหมือนรับใช้พ่อแม่ ดังนั้นเป้าจึงมิได้รังเกียจ ตรงกันข้ามกลับมีความกระตือรือร้น เมื่ออาจารย์เรียกหา
    ความรู้ในด้านอ่านออกเขียนภาษาไทยของเด็กชายเป้าก็ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว จนอ่านเขียนได้คล่องแคล่ว และด้วยความกระตือรือร้นของเด็กผู้นี้ ทำให้อาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาบังเกิดความเมตตา สอนเด็กชายเป้าให้รู้จักอ่านเขียนภาษาขอมต่อไป
    ว่ากันว่าใครก็ตามในสมัยนั้นยุคนั้น ถ้าเรียนภาษาขอมก็ถือว่าเป็นการเรียนในชั้นสูง แต่เรียนไปได้ไม่นาน เป็นก็จำต้องย้ายวัดเพื่อการศึกษาต่อไป ตามธรรมเนียมของนักเรียนใหม่ พระอาจารย์ย่อมจะปล่อยให้ผ่านไปไม่ได้เป้าจึงต้องย้อนเรียนภาษาไทยอีกครั้ง เป็นการทบทวน ดูเหมือนว่าความรู้ในภาษาไทยที่เป้ามีอยู่แล้ว จะเป็นที่รับรองของพระอาจารย์ เป้าจึงได้ก้าวต่อไปสู่ชั้นสูงคือเรียนภาษาขอมอีกครั้ง
    และในครั้งนี้เด็กน้อยผู้นี้ได้แสดงความสามารถให้ประจักษ์อีกครั้งหนึ่ง เพราะชั่วเวลาไม่นาน เป้าก็อ่านเขียนหนังสือขอมเลยหน้าเด็กๆ รุ่นเดียวกันจนเป็นที่เลื่องลือยกย่อง อาจารย์เองก็ถึงกับออกปากชมไม่ขาดปากเลย เพื่อนๆ ของเป้าถึงกับออกปากอย่างล้อเลียนว่า เป้าน่ากลัวไม่ใช่คนไทย แต่เป็นขอม จึงอ่านเขียนหนังสือขอมได้คล่องแคล่วนัก และแล้วฉายาว่า “ขอม” ก็ปรากฎขึ้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา แต่เมื่อเรียกกันไปนานๆ ชื่อเป้าก็ชักเลือนหายไปทุกทีๆ เพื่อนฝูงและผู้รู้จักมักคุ้น ตลอดจนคนที่สูงอายุกว่า ต่างยอมรับเอาฉายาขอมเข้าไว้อย่างสะดวกปาก คำหนึ่งก็ขอมสองคำก็ขอมที่สุด ชื่อเป้าอันเป็นชื่อเดิมของเด็กน้อยผู้นี้ ก็สูญหายไปจากปากอย่างเด็ดขาด กลายเป็นเด็กชายขอมขึ้นมาแทนที่
    กล่าวถึงการศึกษาที่วัด อันเสมือนโรงเรียนสำหรับยุคนั้นเปรียบได้กับการศึกษาของนักเรียนประจำในยุค นี้ กล่าวคือต้องพำนักอยู่ที่วัดตลอดไป โดยมีอาจารย์ที่เป็นทั้งครูและผู้ปกครองไปพร้อมๆกัน แต่นั่นก็หาใช่ว่านักเรียนของวัดจะไม่มีโอกาสได้กลับบ้าน ที่จริงเมื่อถึงเวลาอันสมควร นักเรียนวัดก็กลับบ้านกันทั้งนั้น เป้า หรือบัดนี้มีชื่อใหม่ตามความนิยมว่า “ ขอม” ก็กลับบ้านเหมือนกัน เมื่อถึงบ้านความซุกซนแบบเดิมๆ ที่เป้าเคยเล่นซุกซนก็หายไป เป้าหรือขอมกลายเป็นเด็กที่มีระเบียบ รู้จักการปรนนิบัติรับใช้ผู้สูงอายุกว่า การพูดจาก็ฉาดฉาน จะอ่านจะเขียนก็คล่องแคล่ว สร้างความชื่นใจให้กับผู้ที่เป็นพ่อแม่เป็นอย่างยิ่ง จนทำให้นายช้างและนางเปรมลงความเห็นพ้องต้องกันว่า ตนนั้นได้แก้วไว้ในมือแล้ว สมควรที่จะได้รับการเจียรไนต่อไป ดังนั้นหลังจากที่ศึกษาอยู่ ณ วัดบางสามได้ระยะหนึ่ง ขอมก็ถูกส่งตัวเข้ากรุง ซึ่งเป็นการเผชิญชีวิตครั้งใหญ่สำหรับเด็กเล็กๆ คนหนึ่งที่ไม่เคยจากบ้านไปไหนไกลเกินกว่าวัดบางสาม แต่การไปครั้งนี้หมายถึงอนาคตที่จะชี้บอกว่า ต่อไปจะได้เป็นเจ้าคนนายคน ดังคำเปรียบเทียบที่ผู้ใหญ่ชอบพูดกันหรือไม่ แทนที่จะเป็นเพียงชาวไร่ชาวนาดังบรรพบุรุษของตน และแน่ล่ะกรุงเทพฯ ช่างเป็นคำที่หวานหูเสียนี่กระไร สวรรค์สำหรับทุกคน ใครได้ไปแล้วมักไม่ยอมกลับกัน
    ขอมถูกพ่อแม่พามาฝากไว้วัดสระเกศ เนื่องจากมีภิกษุที่รู้จักคุ้นเคยกับทางบ้านจำพรรษาอยู่ที่นั่น วัดสระเกศก็เลยได้เป็นบ้านที่สองของเด็กขอม พร้อมๆ กับการเข้าโรงเรียนประถมศึกษาซึ่งตั้งอยู่ที่วัดนั้นด้วย บัดนี้แทนที่จะเรียนแบบแผนเก่า แต่ขอมได้เรียนหลักสูตรการศึกษาแบบใหม่ ที่หลวงท่านกำหนดให้อนุชนได้เล่าเรียน ชีวิตอันเป็นประจำวันของขอม ในกรุงเทพฯ ก็เริ่มต้นด้วยการตื่นแต่เช้าตรู่ หาอาหารใส่ปากใส่ท้องแต่พออิ่ม แล้วก็มุ่งหน้าไปยังโรงเรียน คร่ำเคร่งอยู่กับการเรียนไปจนบ่ายคล้อยจึงกลับวัด คอยปรนนิบัติรับใช้พระอาจารย์ที่ขอมอาศัยอยู่ด้วย และได้อาศัยข้าวก้นบาตรของพระอาจารย์นั้นเอง เป็นอาหารยังชีพเรื่อยมา
    เวลาผ่านไป จากวันเป็นสัปดาห์ จากสัปดาห์เป็นเดือน และจากเดือนเป็นปี ขอมคงปฏิบัติตนเสมอต้นเสมอปลายกับการศึกษา ขณะที่การรับใช้พระอาจารย์ก็รักษาไว้ มิให้ขาดตกบกพร่อง เป็นอยู่เช่นนี้ล่วงได้ 3 ปี ขอมจบการศึกษาในชั้นประถมปีที่ 3 ก็เดินทางกลับคืนสู่อ้อมอกของพ่อแม่อีกครั้งหนึ่ง
    ขอมกลับบ้านอย่างคนที่ไปชุบตัวในเมืองหลวงมาแล้วเมื่อย่างก้าวไปทางใด ก็มีแต่คนนิยมชมชอบ จะพูดจาก็มีคนนับถือ และแม้ว่าชีวิตเริ่มเข้าสู่วัยหนุ่ม ซึ่งหมายถึงวัยแห่งความกระตือรือร้น และการเที่ยวเตร่สนุกสนานเฮฮากับเพื่อนฝูงและสาวพื้นบ้านเป็นสิ่งที่หลีก เลี่ยงไม่ได้ก็ตาม แต่หนุ่มน้อยขอมก็ไม่ยอมปล่อยใจให้ล่องลอยไปเกินกว่าขอบเขต สิ่งที่ขอมคิดมากในขณะนั้นคือ ทำนาช่วยภาระของพ่อแม่ แต่คนเรานั้นหาได้เป็นคนโดยสมบูรณ์ไม่หากยังไม่ได้บวชเรียน ดังนั้นเมื่อขอมอายุครบบวช พ่อแม่ก็จัดการบวชให้ที่วัดบางสาม อันเป็นวัดใกล้บ้านและสถานศึกษาเดิมของขอม เพราะระยะเวลานี้ ขอมมีนิสัยไปในทางรักสันโดษ ชอบพินิจพิเคราะห์ตรึงตรองต่างกว่าเพื่อนวัยเดียวกันคนอื่นๆ
    พิธีอุปสมบทขอมจัดทำกันอย่างเต็มที่ เท่าที่ฐานะจะอำนวยได้ และท่ามกลางความชื่นชมของทุกคน เนื่องจากพ่อแม่ของขอมเป็นผู้ที่กว้างขวางมีคนไปมาคบหาด้วยจำนวนมาก การบวชคราวนี้จีงมีพระครูวินยานุโยคแห่งวัดสองพี่น้อง เป็นองค์อุปัชฌาย์ พระอาจารย์กอนวัดบางสาม เป็นกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์เผือก วัดบางซอ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ขอมได้รับฉายาที่พระอุปัชฌาย์ตั้งให้คือ “อนิโชภิกขุ”
    นวกะภิกษุอนิโช หรือ เด็กชายเป้า ที่เพื่อนๆ เรียกกันว่า “ ขอม” ก็ได้ก้าวเข้าสู่ร่มกาสาวพัตร์ตั้งแต่บัดนั้นพระขอม หรือ อนิโชภิกษุ เมื่อจำพรรษาอยู่ที่วัดบางสาม ก็ตั้งหน้าตั้งตาศึกษาพระธรรมวินัย ด้วยความเอาใจใส่อย่างยิ่ง และได้ปฏิบัติตนในศีลจารวัตร เป็นอย่างดี อยู่หลายปีจนกระทั่งเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลงก็มาถึง ยังมีสำนักสงฆ์สร้างขึ้นใหม่แห่งหนึ่ง มีชื่อเรียกตามความนิยมของชาวบ้านว่า “ วัดไผ่โรงวัว” ที่นี้ไม่มีสมภารเจ้าวัด บรรดาชาวบ้านย่านนั้นซึ่งจับตาดูพระขอมมาตั้งแต่ต้น ลงความเห็นพ้องต้องกันว่า ผู้ทีสมควรได้ตำแหน่งสมภารวัดใหม่นี้ไม่มีท่านใดเหมาะเท่า พระขอม เมื่อลงความเห็นกันดังนี้ ต่างก็พากันกันไปนิมนต์ อนิโชภิกษุ หรือ พระขอม ให้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดไผ่โรงวัวก่อน พระขอมซึ่งเคยเป็นที่คุ้นเคยกับพุทธบริษัทที่นั่น ไม่อาจขัดศรัทธาได้ จึงได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดนั้นเป็นเวลา 2 ปี
    ชีวิตของท่านอนิโชในช่วงนี้ หากจะขาดก็คือขาดสถานศึกษาเล่าเรียนพระพุทธศาสนา เพราะวัดไผ่โรงวัวเป็นวัดใหม่ ขาดสถานศึกษาเล่าเรียน สิ่งนี้ทำให้พระขอมได้พิจารณาตนเอง และเห็นว่าอันธรรมวินัยของพระศาสดานั้น ท่านยังเข้าไม่ถึงพอที่จะเป็นสมภารเจ้าวัดได้ หากผู้ศรัทธายังประสงค์จะให้ท่านเป็นผู้นำของวัดนี้อยู่ ท่านก็จำต้องเสาะแสวงหาความรู้เพิ่มเติม ดังนั้นท่านจึงขอย้ายไปจำพรรษาที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งอยู่ในตัวเมืองสุพรรณบุรี แล้วไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดประตูสารใกล้ๆ กับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุที่ท่านจำพรรษาอยู่นั่นเอง การศึกษาพระปริยัติธรรมของพระขอมดำเนินไป 3 ปี ก็สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก อันเป็นความรู้ชั้นเถรภูมิ
    คราวนี้ท่านกลับมาสู่วัดไผ่โรงวัวอีกครั้งหนึ่งอย่างสมภาคภูมิ กลับมาอย่างผู้พร้อมที่จะบริหารกิจให้พระศาสนาเต็มที่ ดังได้กล่าวแล้วว่าวัดไผ่โรงวัวเป็นวัดใหม่ความใหม่นี้เอง เป็นความใหม่ที่ยังไม่ถึงพร้อมกล่าวง่ายๆ คือไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน กุฏิที่อยู่จำพรรษาของภิกษุสามเณร ก็เป็นกระต๊อบมุงจากเก่าๆ มีอยู่เพียง 2 หลัง ศาลาการเปรียญที่จะเป็นที่บำเพ็ญกุศลของทายกทายิกา เป็นเพียงโรงทำด้วยไม้ไผ่หลังคามุงจาก อาศัยพื้นดินเป็นพื้นของศาลาน่าอนาถใจยิ่ง
    ภาระของพระขอมคือ ปรับปรุงศาสนสถานแห่งนี้ให้น่าพักพิงสมกับเป็นวัดเสียก่อน เพื่อจะได้เป็นหนทางนำไปซึ่งการปรับปรุงจิตใจของชาวบ้านผู้ศรัทธาเป็นชั้น ที่สอง และเนื่องจากบรรดาชาวบ้านต่างมีศรัทธาพระขอมเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว งานปรับปรุงก่อสร้างชั้นแรกจึงผ่านไปได้ไม่ยาก เริ่มด้วยการถมดินไม่ให้น้ำท่วมวัดได้ เพราะบริเวณดังกล่าวนี้เป็นที่ลุ่มมาก ถึงฤดูฝนคราใด น้ำท่วมทุกปีและท่วมมากขนาดเรือยนต์เรือแจวแล่นถึงกุฏิได้ เมื่อถมดินเสร็จท่านได้จัดการขุดสระน้ำสำหรับเป็นที่สรงน้ำและดื่มน้ำของพระ ภิกษุสามเณร และเพื่อชาวบ้านทั้งหลายจะได้อาศัยอาบกินโดยทั่วไป แล้วซ่อมกุฏิที่ชำรุดทรุดโทรม สร้างศาลาการเปรียญ สร้างโบสถ์ จัดสรรให้เหมาะสมเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม สมกับคำว่า “ วัด” ศรัทธาของประชาชนก็เพิ่มมากขึ้น
    นับตั้งแต่พระขอม สละเพศฆาราวาสมาสู่พระพุทธศาสนา ท่านมีความตั้งใจมั่น ดังที่เรียกว่ามโนปณิธานเรื่องนี้ท่านกล่าวกับผู้ใกล้ชิดว่า “..อาตมาได้ฟังพระท่านเทศน์ว่า บุคคลผู้ใดเลื่อมใส ได้สร้างพระพุทธรูป จะเล็กเท่าต้นคาก็ดี โตกว่าต้นคาก็ดี ผู้นั้นจะได้เป็นพรหม เป็นอินทร์ หมื่นชาติแสนชาติ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ หมื่นชาติแสนชาติ ผู้นั้นจะไม่เป็นผู้ตกต่ำเลยจนตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน ถ้าผู้ใดสร้างพระพุทธรูปด้วยทองคำ ผู้นั้นจะได้เกิดเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า..” ด้วยมโนปณิธานนี้เองทำให้ท่านขอมคิดเริ่มสร้างพระพุทธโคดมด้วยทองสัมฤทธิ์ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก พ.ศ. 2500 ท่านขอมก็เริ่มบอกบุญแก่ญาติโยมใช้เวลา 2 ปีกว่าจะเริ่มสร้างได้ เนื่องจากเป็นงานใหญ่นั่นเอง ถึงต้องใช้เวลาสร้างทั้งหมด 12 ปีด้วยกัน จนแล้วเสร็จ พ.ศ. 2512 หลังจากนั้นท่านขอมก็เริ่มสร้างสิ่งก่อสร้างอีกหลายอย่างอาทิเช่น สังเวชนียสถาน 4 ตำบล แดนสวรรค์ นรกภูมิ เมืองกบิลพัสดุ์และอีกหลายๆ อย่างด้วยกันดังที่เห็นกันอยู่กันเท่าทุกวันนี้
    ถ้าถามว่าหลวงพ่อขอมจะสร้างสิ่งก่อสร้างไว้มากมายเพื่ออะไร ท่านก็ตอบว่าอาตมาสร้างไว้เพื่อให้ผู้ศรัทธาและอนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรื่อง ราวของพุทธประวัติ นอกจากงานก่อสร้างแล้วหลวงพ่อขอมท่านก็ยังเป็นนักเขียน นักแต่ง ที่มีความสามารถไม่ยิ่งไม่หย่อนไปกว่าด้านงานก่อสร้าง ผลงานของท่านปรากฎอยู่หลายเรื่องเฉพาะที่จัดพิมพ์แจกเป็นธรรมทานไปแล้วก็มี เรื่อง ธรรมทูตเถื่อน พุทธไกรฤกษ์ สมถะและวิปัสสนา
    จนมาถึงวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๓ เวลา ๑๖.๕๕ หลวงพ่อขอมก็มรณภาพลงด้วยโรคหัวใจล้มเหลว รวมสิริอายุ ๘๘ ปี ๖๘ พรรษา ทำให้นึกถึงคำปฏิญานของท่านอนิโชที่กล่าวไว้ ๕ ข้อคือ ๑. ชีวิตของเราที่เหลือขอช่วยพระพุทธองค์ไปจนตาย ๒. เมื่อมีชีวิตอยู่ ถ้าเรามีเงินส่วนตัวสัก ๑ บาท เราจะอายพุทธบริษัทเป็นอย่างยิ่ง ๓. เราจะให้รูปพระองค์เกลื่อนไปในพื้นธรณี ๔. โอ..โลกนี้ไม่ใช่ของฉัน ๕. เราต้องตาย ตายใต้ผ้าเหลืองของเรา
    บัดนี้ท่านอนิโชนั้น ได้ทำคำปฏิญานของท่านให้สมบูรณ์แล้วทุกประการ ท่านพระครูผู้นี้ จะเป็นใครไปไม่ได้นอกจากเด็กชายเป้าในอดีต ซึ่งบัดนี้สละทุกสิ่งเพื่อเจริญรอยบาทพระพุทธองค์ ท่านคือศิษย์พระตถาคตผู้มุ่งมั่น
    [/FONT]

    แหนบและรูปถ่ายหลังตะกรุดสามกษัตย์หลวงพ่อขอม สภาพสวเดิมๆครับให้บูชาคู่กัน



    ให้บูชา 350 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ


    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  9. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,468
    ค่าพลัง:
    +21,327
    เชิญอ่านประวัติตามนี้ครับ
    http://palungjit.org/threads/%E0%...87.320197/

    [​IMG]


    เหรียญสวยๆสถาพเดิมๆครับ ผิวขึ้นรุ้ง

    ให้บูชา 600 บาทค่าจัดส่ง EMS 50 บาทครับ

    [​IMG] [​IMG]
     
  10. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,468
    ค่าพลัง:
    +21,327
    พระสมเด็จเนื้อดินเผาและเนื้อผงน้ำมัน วัดดาวเรืองจัดสร้า้ง ตั้งแต่ปี2515

    อธิฐานจิตจากหลวงพ่อกวย วัดบ้านแค หลวงพ่อฟุ้ง วัดสะเดา

    หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม ข้อมูลในอดีจ ปัจจุบุนมีข้อมูลแย้งว่า ถ้าด้านหลัง

    เป็นองค์ไหนองค์นั้นเสก แต่ถ้าถามกลับว่าแล้วองค์ที่ไม่มีด้านหลังองค์ไหน

    ท่านใดเสก บางท่านได้รับจากหลวงพ่อแป๋ว วัดดาวเรือง ศิษย์หลวงพ่อกวยอีก

    ท่าน ก็มีข้อมูลจากผู้ที่ได้รับว่าหลวงพ่อแป๋วท่านว่าหลวงพ่อกวยร่วมเสก

    ทั้งหมดคือข้อมูลที่พบหาได้ตามเวปต่างๆ ผิดถูกยังไหงท่านที่จะบูชาวิเคราะห์

    ข้อมูลตามความเชื่อด้วยตนเองจะดีที่สุดครับ


    1 พิมพ์ใหญ่เนื้อดินเผาหลังหลวงพ่อฟุ้ง

    ให้บูชา 450 บาทค่าจัดส่ง EMS 50 บาทครับ


    [​IMG]

    [​IMG]


    2 พระสมเด็จหลังดาวยันต์นะโมพุทธายะ

    ให้บูชา 450 บาทค่าจัดส่ง EMS 50 บาทครับ


    [​IMG]

    [​IMG]


    3 พระสมเด็จเนื้อดินเผาหลังดาว

    ให้บูชา 450 บาทค่าจัดส่ง EMS 50 บาทครับ

    [​IMG]

    [​IMG]

    4 พระสมเด็จเนื้อดินเผาหลังหลวงพ่อจวน

    ให้บูชา 400 บาทค่าจัดส่ง EMS 50 บาทครับ


    [​IMG]

    [​IMG]

    5 พระสมเด็จเนื้อผงน้ำมันหลังหลวงพ่อจวน

    ให้บูชา 400 บาทค่าจัดส่ง EMS 50 บาทครับ

    [​IMG]

    [​IMG]

    6 พระสมเด็จเนื้อผงน้ำมันหลังหลวงพ่อฟุ้ง วัดสะเดา

    ให้บูชา 450 บาทค่าจัดส่ง EMS 50 บาทครับ

    [​IMG]

    [​IMG]


    7 พระสมเด็จเนื้อผงน้ำมันหลังหลวงพ่อฟุ้ง วัดสะเดา

    ให้บูชา 450 บาทค่าจัดส่ง EMS 50 บาทครับ

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  11. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,468
    ค่าพลัง:
    +21,327
    เจ้าคุณสนิท วัดศีลขันธาราม อ่างทอง


    ให้บูชาคู่กัน2องค์ 300 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ

    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]
     
  12. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,468
    ค่าพลัง:
    +21,327
    [​IMG]

    หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านจานเขื่อง อุบลราชธานี

    เหรียญสวยเดิมๆครับ

    ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ

    [​IMG] [​IMG]
     
  13. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,468
    ค่าพลัง:
    +21,327
  14. MooDam

    MooDam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    1,604
    ค่าพลัง:
    +4,845
    โอนเงินเข้า บช ให้แล้วนะครับ จำนวน ๘๕๐ บาท ส่งที่ ศรีราชา นะครับ
     
  15. vwwoow

    vwwoow สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    60
    ค่าพลัง:
    +14
    ส่งที่ิิอยู่จัดส่งให้ทางPMแล้วนะครับ
    เฉลิมพล
     
  16. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,468
    ค่าพลัง:
    +21,327
    [FONT=Arial,MS Sans Serif]ประวัติหลวงพ่อขอม ( อนิโชภิกขุ )

    ไกลออกไปจากเมืองหลวงเมื่อหลายสิบปีมาแล้วบริเวณทุ่งแถบนั้นเต็มไปด้วยต้น ข้าวที่กำลังออกรวงเหลืองอร่าม ข้าวแต่ละรวงเบ่งบานและอวบโต จนลำต้นไม่อาจทานน้ำหนักของเมล็ดข้าวได้ ต้องโน้มทอดลงสู่พื้นดิน บริเวณนั้นมีชื่อเรียกว่า “บ้านไผ่เดาะ” อยู่ในตำบลบางตะเคียน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดนี้เองนับแล้วก็คืออู่ข้าวอู่น้ำของเมืองไทยก็คงไม่ผิด
    บ้านไผ่เดาะ เป็นชุมนุมชนที่หนาแน่นพอสมควร อาชีพหลักของผู้คนที่นั่นคือการทำนา อันเป็นอาชีพดั้งเดิมที่บรรพบุรุษได้มอบให้ไว้ เนื่องจากเป็นดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ ทำนาได้ผลมากมาย ความสงบสุขจึงปรากฎให้เห็นอยู่ทั่วไป
    ณ. ที่นี่แหละ คือถิ่นกำเนิดของเด็กคนหนึ่งที่มีชื่อว่า “ เป้า ” เด็กชายเป้าผู้นี้ เมื่อเติบใหญ่ได้กลายเป็นผู้ที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงอย่างมาก น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก แต่ก่อนจะถึงเวลานั้นขอให้เราย้อนกลับไปสู่ครั้งปฐมวัยของเด็กน้อยผู้นี้กัน ก่อนเถอะ
    เด็กชายเป้าเป็นบุตรของชาวนาโดยตรงผู้หนึ่ง บิดาชื่อว่า “นายช้าง” มารดาชื่อว่า “นางเปรม” มีพี่น้องรวมทั้งสิ้น ๘ คน เป้าเป็นบุตรคนที่ ๕ เมื่อเป้าเกิด ทั้งพ่อแม่ญาติพี่น้อง ก็รู้ว่าเป้าไม่ใช่คนแข็งแรงอะไรนัก เพราะเป้าเป็นเด็กผอม พุงป่อง และเจ็บออดๆ แอดๆ เสมอ แต่ว่าอาการนั้นก็ไม่หนักหนาอะไร คงเลี้ยงดูกันได้เรื่อยมา ชีวิตในวัยเด็กนั้นเป้าก็เหมือนกับเด็กอื่นๆทั่วไป คือชอบเล่นฝุ่นสนุกซุกซนตะลอนๆ ไปตามชายทุ่ง และดำผุดดำว่ายอยู่ในคลองบึงที่ไม่ห่างจากบ้านนัก ทั้งๆ ที่เป็นเด็กซึ่งพ่อแม่ออกจะเป็นห่วงอยู่ เพราะเกรงว่าโรคภัยจะแทรกแซง เนื่องจากความอ่อนแอ แต่เป้าก็คงซุกซนและเจริญวัยเรื่อยมา พร้อมกับอายุที่เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ เป้าก็เริ่มมีภาระเล็กๆ น้อยๆ คือติดตามผู้ใหญ่ออกไปทำนา ตามแรงความสามารถเท่าที่จะทำได้ ซึ่งถือว่าเป็นการสอนวิชาชีพที่จะกลายเป็นสมบัติติดตัวไปข้างหน้าวิธีหนึ่ง

    หลวงพ่อขอม ( อนิโชภิกขุ )

    แต่กับพ่อกับแม่ของเป้าแล้วคิดไปไกลกว่านั้นอีก คือชีวิตของชาวนาจะมีอะไรมากไปกว่า ตื่นเช้าออกสู่เส้นทุ่งกว้าง เย็นลงก็กลับบ้าน วิชาความรู้อย่างอื่นนั้นคงไม่มี ในเมื่อหาเวลาที่จะร่ำเรียนมิได้ ความคิดที่วูบขึ้นมาเช่นนั้น ในขณะนั้น ทำให้พ่อแม่ของเป้าตัดสินใจส่งลูกชายน้อยๆ ไปขอรับวิชาความรู้ จากแหล่งรวมของสรรพวิชาทั้งหลาย นั่นก็คือวัด วัดแรกที่เป้าได้ร่ำเรียนคือวัดใกล้ๆ บ้านนั่นเอง เป้าได้รับรู้ธรรมเนียมใหม่ กล่าวคือเป้าต้องรับใช้ปรนนิบัติพระภิกษุผู้เป็นอาจารย์ด้วย หลังจากเลิกเรียนแล้ว ซึ่งก็หาได้ทำให้เด็กน้อยเบื่อหน่ายไม่ การรับใช้อาจารย์ก็เหมือนรับใช้พ่อแม่ ดังนั้นเป้าจึงมิได้รังเกียจ ตรงกันข้ามกลับมีความกระตือรือร้น เมื่ออาจารย์เรียกหา
    ความรู้ในด้านอ่านออกเขียนภาษาไทยของเด็กชายเป้าก็ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว จนอ่านเขียนได้คล่องแคล่ว และด้วยความกระตือรือร้นของเด็กผู้นี้ ทำให้อาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาบังเกิดความเมตตา สอนเด็กชายเป้าให้รู้จักอ่านเขียนภาษาขอมต่อไป
    ว่ากันว่าใครก็ตามในสมัยนั้นยุคนั้น ถ้าเรียนภาษาขอมก็ถือว่าเป็นการเรียนในชั้นสูง แต่เรียนไปได้ไม่นาน เป็นก็จำต้องย้ายวัดเพื่อการศึกษาต่อไป ตามธรรมเนียมของนักเรียนใหม่ พระอาจารย์ย่อมจะปล่อยให้ผ่านไปไม่ได้เป้าจึงต้องย้อนเรียนภาษาไทยอีกครั้ง เป็นการทบทวน ดูเหมือนว่าความรู้ในภาษาไทยที่เป้ามีอยู่แล้ว จะเป็นที่รับรองของพระอาจารย์ เป้าจึงได้ก้าวต่อไปสู่ชั้นสูงคือเรียนภาษาขอมอีกครั้ง
    และในครั้งนี้เด็กน้อยผู้นี้ได้แสดงความสามารถให้ประจักษ์อีกครั้งหนึ่ง เพราะชั่วเวลาไม่นาน เป้าก็อ่านเขียนหนังสือขอมเลยหน้าเด็กๆ รุ่นเดียวกันจนเป็นที่เลื่องลือยกย่อง อาจารย์เองก็ถึงกับออกปากชมไม่ขาดปากเลย เพื่อนๆ ของเป้าถึงกับออกปากอย่างล้อเลียนว่า เป้าน่ากลัวไม่ใช่คนไทย แต่เป็นขอม จึงอ่านเขียนหนังสือขอมได้คล่องแคล่วนัก และแล้วฉายาว่า “ขอม” ก็ปรากฎขึ้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา แต่เมื่อเรียกกันไปนานๆ ชื่อเป้าก็ชักเลือนหายไปทุกทีๆ เพื่อนฝูงและผู้รู้จักมักคุ้น ตลอดจนคนที่สูงอายุกว่า ต่างยอมรับเอาฉายาขอมเข้าไว้อย่างสะดวกปาก คำหนึ่งก็ขอมสองคำก็ขอมที่สุด ชื่อเป้าอันเป็นชื่อเดิมของเด็กน้อยผู้นี้ ก็สูญหายไปจากปากอย่างเด็ดขาด กลายเป็นเด็กชายขอมขึ้นมาแทนที่
    กล่าวถึงการศึกษาที่วัด อันเสมือนโรงเรียนสำหรับยุคนั้นเปรียบได้กับการศึกษาของนักเรียนประจำในยุค นี้ กล่าวคือต้องพำนักอยู่ที่วัดตลอดไป โดยมีอาจารย์ที่เป็นทั้งครูและผู้ปกครองไปพร้อมๆกัน แต่นั่นก็หาใช่ว่านักเรียนของวัดจะไม่มีโอกาสได้กลับบ้าน ที่จริงเมื่อถึงเวลาอันสมควร นักเรียนวัดก็กลับบ้านกันทั้งนั้น เป้า หรือบัดนี้มีชื่อใหม่ตามความนิยมว่า “ ขอม” ก็กลับบ้านเหมือนกัน เมื่อถึงบ้านความซุกซนแบบเดิมๆ ที่เป้าเคยเล่นซุกซนก็หายไป เป้าหรือขอมกลายเป็นเด็กที่มีระเบียบ รู้จักการปรนนิบัติรับใช้ผู้สูงอายุกว่า การพูดจาก็ฉาดฉาน จะอ่านจะเขียนก็คล่องแคล่ว สร้างความชื่นใจให้กับผู้ที่เป็นพ่อแม่เป็นอย่างยิ่ง จนทำให้นายช้างและนางเปรมลงความเห็นพ้องต้องกันว่า ตนนั้นได้แก้วไว้ในมือแล้ว สมควรที่จะได้รับการเจียรไนต่อไป ดังนั้นหลังจากที่ศึกษาอยู่ ณ วัดบางสามได้ระยะหนึ่ง ขอมก็ถูกส่งตัวเข้ากรุง ซึ่งเป็นการเผชิญชีวิตครั้งใหญ่สำหรับเด็กเล็กๆ คนหนึ่งที่ไม่เคยจากบ้านไปไหนไกลเกินกว่าวัดบางสาม แต่การไปครั้งนี้หมายถึงอนาคตที่จะชี้บอกว่า ต่อไปจะได้เป็นเจ้าคนนายคน ดังคำเปรียบเทียบที่ผู้ใหญ่ชอบพูดกันหรือไม่ แทนที่จะเป็นเพียงชาวไร่ชาวนาดังบรรพบุรุษของตน และแน่ล่ะกรุงเทพฯ ช่างเป็นคำที่หวานหูเสียนี่กระไร สวรรค์สำหรับทุกคน ใครได้ไปแล้วมักไม่ยอมกลับกัน
    ขอมถูกพ่อแม่พามาฝากไว้วัดสระเกศ เนื่องจากมีภิกษุที่รู้จักคุ้นเคยกับทางบ้านจำพรรษาอยู่ที่นั่น วัดสระเกศก็เลยได้เป็นบ้านที่สองของเด็กขอม พร้อมๆ กับการเข้าโรงเรียนประถมศึกษาซึ่งตั้งอยู่ที่วัดนั้นด้วย บัดนี้แทนที่จะเรียนแบบแผนเก่า แต่ขอมได้เรียนหลักสูตรการศึกษาแบบใหม่ ที่หลวงท่านกำหนดให้อนุชนได้เล่าเรียน ชีวิตอันเป็นประจำวันของขอม ในกรุงเทพฯ ก็เริ่มต้นด้วยการตื่นแต่เช้าตรู่ หาอาหารใส่ปากใส่ท้องแต่พออิ่ม แล้วก็มุ่งหน้าไปยังโรงเรียน คร่ำเคร่งอยู่กับการเรียนไปจนบ่ายคล้อยจึงกลับวัด คอยปรนนิบัติรับใช้พระอาจารย์ที่ขอมอาศัยอยู่ด้วย และได้อาศัยข้าวก้นบาตรของพระอาจารย์นั้นเอง เป็นอาหารยังชีพเรื่อยมา
    เวลาผ่านไป จากวันเป็นสัปดาห์ จากสัปดาห์เป็นเดือน และจากเดือนเป็นปี ขอมคงปฏิบัติตนเสมอต้นเสมอปลายกับการศึกษา ขณะที่การรับใช้พระอาจารย์ก็รักษาไว้ มิให้ขาดตกบกพร่อง เป็นอยู่เช่นนี้ล่วงได้ 3 ปี ขอมจบการศึกษาในชั้นประถมปีที่ 3 ก็เดินทางกลับคืนสู่อ้อมอกของพ่อแม่อีกครั้งหนึ่ง
    ขอมกลับบ้านอย่างคนที่ไปชุบตัวในเมืองหลวงมาแล้วเมื่อย่างก้าวไปทางใด ก็มีแต่คนนิยมชมชอบ จะพูดจาก็มีคนนับถือ และแม้ว่าชีวิตเริ่มเข้าสู่วัยหนุ่ม ซึ่งหมายถึงวัยแห่งความกระตือรือร้น และการเที่ยวเตร่สนุกสนานเฮฮากับเพื่อนฝูงและสาวพื้นบ้านเป็นสิ่งที่หลีก เลี่ยงไม่ได้ก็ตาม แต่หนุ่มน้อยขอมก็ไม่ยอมปล่อยใจให้ล่องลอยไปเกินกว่าขอบเขต สิ่งที่ขอมคิดมากในขณะนั้นคือ ทำนาช่วยภาระของพ่อแม่ แต่คนเรานั้นหาได้เป็นคนโดยสมบูรณ์ไม่หากยังไม่ได้บวชเรียน ดังนั้นเมื่อขอมอายุครบบวช พ่อแม่ก็จัดการบวชให้ที่วัดบางสาม อันเป็นวัดใกล้บ้านและสถานศึกษาเดิมของขอม เพราะระยะเวลานี้ ขอมมีนิสัยไปในทางรักสันโดษ ชอบพินิจพิเคราะห์ตรึงตรองต่างกว่าเพื่อนวัยเดียวกันคนอื่นๆ
    พิธีอุปสมบทขอมจัดทำกันอย่างเต็มที่ เท่าที่ฐานะจะอำนวยได้ และท่ามกลางความชื่นชมของทุกคน เนื่องจากพ่อแม่ของขอมเป็นผู้ที่กว้างขวางมีคนไปมาคบหาด้วยจำนวนมาก การบวชคราวนี้จีงมีพระครูวินยานุโยคแห่งวัดสองพี่น้อง เป็นองค์อุปัชฌาย์ พระอาจารย์กอนวัดบางสาม เป็นกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์เผือก วัดบางซอ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ขอมได้รับฉายาที่พระอุปัชฌาย์ตั้งให้คือ “อนิโชภิกขุ”
    นวกะภิกษุอนิโช หรือ เด็กชายเป้า ที่เพื่อนๆ เรียกกันว่า “ ขอม” ก็ได้ก้าวเข้าสู่ร่มกาสาวพัตร์ตั้งแต่บัดนั้นพระขอม หรือ อนิโชภิกษุ เมื่อจำพรรษาอยู่ที่วัดบางสาม ก็ตั้งหน้าตั้งตาศึกษาพระธรรมวินัย ด้วยความเอาใจใส่อย่างยิ่ง และได้ปฏิบัติตนในศีลจารวัตร เป็นอย่างดี อยู่หลายปีจนกระทั่งเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลงก็มาถึง ยังมีสำนักสงฆ์สร้างขึ้นใหม่แห่งหนึ่ง มีชื่อเรียกตามความนิยมของชาวบ้านว่า “ วัดไผ่โรงวัว” ที่นี้ไม่มีสมภารเจ้าวัด บรรดาชาวบ้านย่านนั้นซึ่งจับตาดูพระขอมมาตั้งแต่ต้น ลงความเห็นพ้องต้องกันว่า ผู้ทีสมควรได้ตำแหน่งสมภารวัดใหม่นี้ไม่มีท่านใดเหมาะเท่า พระขอม เมื่อลงความเห็นกันดังนี้ ต่างก็พากันกันไปนิมนต์ อนิโชภิกษุ หรือ พระขอม ให้ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดไผ่โรงวัวก่อน พระขอมซึ่งเคยเป็นที่คุ้นเคยกับพุทธบริษัทที่นั่น ไม่อาจขัดศรัทธาได้ จึงได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดนั้นเป็นเวลา 2 ปี
    ชีวิตของท่านอนิโชในช่วงนี้ หากจะขาดก็คือขาดสถานศึกษาเล่าเรียนพระพุทธศาสนา เพราะวัดไผ่โรงวัวเป็นวัดใหม่ ขาดสถานศึกษาเล่าเรียน สิ่งนี้ทำให้พระขอมได้พิจารณาตนเอง และเห็นว่าอันธรรมวินัยของพระศาสดานั้น ท่านยังเข้าไม่ถึงพอที่จะเป็นสมภารเจ้าวัดได้ หากผู้ศรัทธายังประสงค์จะให้ท่านเป็นผู้นำของวัดนี้อยู่ ท่านก็จำต้องเสาะแสวงหาความรู้เพิ่มเติม ดังนั้นท่านจึงขอย้ายไปจำพรรษาที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งอยู่ในตัวเมืองสุพรรณบุรี แล้วไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดประตูสารใกล้ๆ กับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุที่ท่านจำพรรษาอยู่นั่นเอง การศึกษาพระปริยัติธรรมของพระขอมดำเนินไป 3 ปี ก็สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก อันเป็นความรู้ชั้นเถรภูมิ
    คราวนี้ท่านกลับมาสู่วัดไผ่โรงวัวอีกครั้งหนึ่งอย่างสมภาคภูมิ กลับมาอย่างผู้พร้อมที่จะบริหารกิจให้พระศาสนาเต็มที่ ดังได้กล่าวแล้วว่าวัดไผ่โรงวัวเป็นวัดใหม่ความใหม่นี้เอง เป็นความใหม่ที่ยังไม่ถึงพร้อมกล่าวง่ายๆ คือไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน กุฏิที่อยู่จำพรรษาของภิกษุสามเณร ก็เป็นกระต๊อบมุงจากเก่าๆ มีอยู่เพียง 2 หลัง ศาลาการเปรียญที่จะเป็นที่บำเพ็ญกุศลของทายกทายิกา เป็นเพียงโรงทำด้วยไม้ไผ่หลังคามุงจาก อาศัยพื้นดินเป็นพื้นของศาลาน่าอนาถใจยิ่ง
    ภาระของพระขอมคือ ปรับปรุงศาสนสถานแห่งนี้ให้น่าพักพิงสมกับเป็นวัดเสียก่อน เพื่อจะได้เป็นหนทางนำไปซึ่งการปรับปรุงจิตใจของชาวบ้านผู้ศรัทธาเป็นชั้น ที่สอง และเนื่องจากบรรดาชาวบ้านต่างมีศรัทธาพระขอมเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว งานปรับปรุงก่อสร้างชั้นแรกจึงผ่านไปได้ไม่ยาก เริ่มด้วยการถมดินไม่ให้น้ำท่วมวัดได้ เพราะบริเวณดังกล่าวนี้เป็นที่ลุ่มมาก ถึงฤดูฝนคราใด น้ำท่วมทุกปีและท่วมมากขนาดเรือยนต์เรือแจวแล่นถึงกุฏิได้ เมื่อถมดินเสร็จท่านได้จัดการขุดสระน้ำสำหรับเป็นที่สรงน้ำและดื่มน้ำของพระ ภิกษุสามเณร และเพื่อชาวบ้านทั้งหลายจะได้อาศัยอาบกินโดยทั่วไป แล้วซ่อมกุฏิที่ชำรุดทรุดโทรม สร้างศาลาการเปรียญ สร้างโบสถ์ จัดสรรให้เหมาะสมเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม สมกับคำว่า “ วัด” ศรัทธาของประชาชนก็เพิ่มมากขึ้น
    นับตั้งแต่พระขอม สละเพศฆาราวาสมาสู่พระพุทธศาสนา ท่านมีความตั้งใจมั่น ดังที่เรียกว่ามโนปณิธานเรื่องนี้ท่านกล่าวกับผู้ใกล้ชิดว่า “..อาตมาได้ฟังพระท่านเทศน์ว่า บุคคลผู้ใดเลื่อมใส ได้สร้างพระพุทธรูป จะเล็กเท่าต้นคาก็ดี โตกว่าต้นคาก็ดี ผู้นั้นจะได้เป็นพรหม เป็นอินทร์ หมื่นชาติแสนชาติ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ หมื่นชาติแสนชาติ ผู้นั้นจะไม่เป็นผู้ตกต่ำเลยจนตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน ถ้าผู้ใดสร้างพระพุทธรูปด้วยทองคำ ผู้นั้นจะได้เกิดเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า..” ด้วยมโนปณิธานนี้เองทำให้ท่านขอมคิดเริ่มสร้างพระพุทธโคดมด้วยทองสัมฤทธิ์ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก พ.ศ. 2500 ท่านขอมก็เริ่มบอกบุญแก่ญาติโยมใช้เวลา 2 ปีกว่าจะเริ่มสร้างได้ เนื่องจากเป็นงานใหญ่นั่นเอง ถึงต้องใช้เวลาสร้างทั้งหมด 12 ปีด้วยกัน จนแล้วเสร็จ พ.ศ. 2512 หลังจากนั้นท่านขอมก็เริ่มสร้างสิ่งก่อสร้างอีกหลายอย่างอาทิเช่น สังเวชนียสถาน 4 ตำบล แดนสวรรค์ นรกภูมิ เมืองกบิลพัสดุ์และอีกหลายๆ อย่างด้วยกันดังที่เห็นกันอยู่กันเท่าทุกวันนี้
    ถ้าถามว่าหลวงพ่อขอมจะสร้างสิ่งก่อสร้างไว้มากมายเพื่ออะไร ท่านก็ตอบว่าอาตมาสร้างไว้เพื่อให้ผู้ศรัทธาและอนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรื่อง ราวของพุทธประวัติ นอกจากงานก่อสร้างแล้วหลวงพ่อขอมท่านก็ยังเป็นนักเขียน นักแต่ง ที่มีความสามารถไม่ยิ่งไม่หย่อนไปกว่าด้านงานก่อสร้าง ผลงานของท่านปรากฎอยู่หลายเรื่องเฉพาะที่จัดพิมพ์แจกเป็นธรรมทานไปแล้วก็มี เรื่อง ธรรมทูตเถื่อน พุทธไกรฤกษ์ สมถะและวิปัสสนา
    จนมาถึงวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๓ เวลา ๑๖.๕๕ หลวงพ่อขอมก็มรณภาพลงด้วยโรคหัวใจล้มเหลว รวมสิริอายุ ๘๘ ปี ๖๘ พรรษา ทำให้นึกถึงคำปฏิญานของท่านอนิโชที่กล่าวไว้ ๕ ข้อคือ ๑. ชีวิตของเราที่เหลือขอช่วยพระพุทธองค์ไปจนตาย ๒. เมื่อมีชีวิตอยู่ ถ้าเรามีเงินส่วนตัวสัก ๑ บาท เราจะอายพุทธบริษัทเป็นอย่างยิ่ง ๓. เราจะให้รูปพระองค์เกลื่อนไปในพื้นธรณี ๔. โอ..โลกนี้ไม่ใช่ของฉัน ๕. เราต้องตาย ตายใต้ผ้าเหลืองของเรา
    บัดนี้ท่านอนิโชนั้น ได้ทำคำปฏิญานของท่านให้สมบูรณ์แล้วทุกประการ ท่านพระครูผู้นี้ จะเป็นใครไปไม่ได้นอกจากเด็กชายเป้าในอดีต ซึ่งบัดนี้สละทุกสิ่งเพื่อเจริญรอยบาทพระพุทธองค์ ท่านคือศิษย์พระตถาคตผู้มุ่งมั่น
    [/FONT]

    แหนบและรูปถ่ายหลังตะกรุดสามกษัตย์หลวงพ่อขอม สภาพสวเดิมๆครับให้บูชาคู่กัน



    ให้บูชา 350 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ


    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG]




    เจ้าคุณสนิท วัดศีลขันธาราม อ่างทอง


    ให้บูชาคู่กัน2องค์ 300 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ

    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]


    เชิญอ่านประวัติตามนี้ครับ
    http://palungjit.org/threads/%E0%...87.320197/

    [​IMG]


    เหรียญสวยๆสถาพเดิมๆครับ ผิวขึ้นรุ้ง

    ให้บูชา 600 บาทค่าจัดส่ง EMS 50 บาทครับ

    [​IMG] [​IMG]


    [​IMG]

    หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านจานเขื่อง อุบลราชธานี

    เหรียญสวยเดิมๆครับ

    ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ

    [​IMG]


    [​IMG]



    หลวงปู่นิล อิสริโก วัดครบุรี นครราชสีมา

    ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งEMS50บาทครับ



    เชิญเข้าไปอ่านประวัติปฎฺปทาและฟังข้อมูลครับ



    [​IMG] [​IMG]
     
  17. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,468
    ค่าพลัง:
    +21,327
    พระสมเด็จหลวงพ่อเก็บวัดดอนเจดีย์ หลังยุทธหัตถี สุพรรณบุรี

    พิธีใหญ่ หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ร่วมอธิฐานจิต และสายสุพรรณบุรียุคนั้นครับสภาพสวเดิม

    เนื้อผงน้ำมัน

    ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่ง EMS 50 บาทครับ


    [​IMG] [​IMG]
     
  18. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,468
    ค่าพลัง:
    +21,327
    [​IMG]
    เจ้าคุณนรรัตน์ ราชมานิต

    หากเอ่ยชื่อวัดเทพศิรินทราวาส แล้วนักนิยมพระเครื่องร้อยทั้งร้อยนึกถึงท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ราชมานิต
    พระภิกษุอีกรูปหนึ่งที่ได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชน(ในยุคนั้น)
    ว่าเป็นอริยะสงฆ์ผู้สำเร็จในยุคกึ่งพุทธกาล ด้วยจริยาวัตรอันงดงามของท่านที่เคร่งครัดและไม่ยึดติดในลาภ
    ยศ ชื่อเสียง แม้ในช่วงที่ท่านอยู่ในเพศฆราวาส (ก่อนอุปสมบท) มียศถึงเจ้าพระยา
    กลับได้ชื่อว่าเป็นมหาดเล็กที่สมถะมักน้อยที่สุด เช่นการแต่งกาย ของท่านก็เป็นไปอย่างเรียบง่ายชอบสงบ
    ยามว่างท่านจะนั่งสมาธิตามลำพังเสมอ นับได้ว่าท่านเป็นผู้ถือศีล บริสุทธิ์
    มาตั้งแต่สมัยเป็นฆราวาสทีเดียวและเมื่อท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุท่านก็ไม่ปราถนาชื่อเสียง
    แต่กลับเป็นภิกษุที่มีชื่อเป็นอมตะจนทุกวันนี้
    ผู้ที่ได้รับใช้ใกล้ชิดท่านนั้นเชื่อกันว่าท่านน่าจะสำเร็จญาณชั้นสูง แต่จะถึงอรหันต์หรือไม่นั้น
    ไม่มีใครตอบได้เพราะท่านเป็นพระที่ไม่โอ้อวด แต่ที่แน่ใจได้อย่างนึงก็คือ ท่านรู้วันมรณะของตนเอง

    สังเกต ได้จากก่อนที่ท่านจะมรณภาพเพียงไม่กี่วันท่านได้สั่งให้คุณปลัดโกศลผู้เป็นหลานหากรวดที่ อ.บางบ่อ
    มาให้เพื่อที่จะปลุกเสกเป็นพระแม่ธรณีปฐวีธาตุ (นับได้ว่าเป็นวัตถุมงคลชนิดเดียวที่ท่านสั่งให้ทำขึ้น)
    แต่หลานของท่านก็ลืม วันต่อมาท่านจึงย้ำเตือนให้หามาด่วนเดี๋ยวจะไม่ทันการณ์ ซึ่งหลานท่านก็หามาจนได้
    (ที่น่าแปลกอีกอย่างคือ ท่านไม่เคยออกนอกบริเวณวัดแต่ท่านกลับบอกสถานที่ ที่ให้เก็บกรวดได้ถูกต้อง )
    และได้ทำการปลุกเสกทั้งหมด ๓ รอบวันที่ ๔ มกราคม รอบหนึ่งแล้วให้หามาอีก วันที่ ๕ มกราคม
    อีกรอบแล้วท่านก็ให้หามาอีก วันที่ ๗ มกราคม เป็นรอบสุดท้าย
    (ในขณะที่ท่านปลุกเสกท่านจะถือพานใส่ก้อนปฐวีธาตุตลอด หลานของท่านจึงใส่แต่น้อยเพราะกลัวท่านจะหนัก)
    และหลังจากที่
    ท่านปลุกเสกครั้งหลังท่านพูดกับหลานท่านว่าคงเท่านี้ไม่ค่อยสบายเหนื่อยเหลือเกินโดยที่ไม่มีใครเฉลียวใจ
    เช้าวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๑๔ ก่อนที่ท่านลงทำวัตรเช้าท่านจะได้รับอาหารที่หลานชายของท่านนำมาถวาย
    ท่านกลับปฏิเสธและบอกกับหลานชายท่านว่า วันนี้ไม่ฉัน

    และให้นำอาหารกลับไป และในเช้าวันนั้นเองท่านก็ไม่ลงทำวัตรเช้าดังที่เคยปฏิบัติมาตลอด ๔๕
    พรรษาและเย็นวันนั้นท่านก็ไม่ลงทำวัตรอีกจนกระทั่งเวลาประมาณ ๒๐.๐๐ น.เศษ
    แพทยที่มารักษาแผลจึงเปิดประตูกุฏิท่านดูก็พบว่าไม่ได้ลงกลอนไว้อย่างที่เคยปฏิบัติ(ตามปรกติ
    ท่านจะลงกลอนทุกครั้ง)จึงขึ้นไปดูข้างบนจึงพบว่าท่านนอนจำวัดอยู่
    ในมุ้งกายของท่านห่มจีวรอยู่ในอาการสงบนิ่ง แพทย์ให้ข้อสันนิษฐานว่าท่านมรณภาพในเวลาประมาณ ๑๑.๐๐ น.เศษ
    เมื่อศึกษาประวัติและวัตรปฏิปทาของท่านโดยตลอดแล้ว
    จะเห็นได้ว่าท่านน่าจะได้เป็นอริยสงฆ์ดังคำที่ร่ำลือกล่าวขวัญกันทุกมุมเมือง
    เพราะท่านเป็นผู้ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์โดยแท้จริง
    จึงเป็นผู้ที่ควรแก่การกราบไหว้สักการะบูชาอย่างยิ่ง

    และให้นำอาหารกลับไป และในเช้าวันนั้นเองท่านก็ไม่ลงทำวัตรเช้าดังที่เคยปฏิบัติมาตลอด ๔๕
    พรรษาและเย็นวันนั้นท่านก็ไม่ลงทำวัตรอีกจนกระทั่งเวลาประมาณ ๒๐.๐๐ น.เศษ
    แพทยที่มารักษาแผลจึงเปิดประตูกุฏิท่านดูก็พบว่าไม่ได้ลงกลอนไว้อย่างที่เคยปฏิบัติ(ตามปรกติ
    ท่านจะลงกลอนทุกครั้ง)จึงขึ้นไปดูข้างบนจึงพบว่าท่านนอนจำวัดอยู่
    ในมุ้งกายของท่านห่มจีวรอยู่ในอาการสงบนิ่ง แพทย์ให้ข้อสันนิษฐานว่าท่านมรณภาพในเวลาประมาณ ๑๑.๐๐ น.เศษ
    ประวัติโดยสังเขป
    พระภิกษุธัมมวิตกโกภิกขุ เดิมชื่อ ตรึก จินตยานนท์ เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๐
    ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๓ ปีระกา เวลาประมาณ ๗.๔๐ น. (ตรงกับวันมาฆะบูชา)
    เป็นบุตรคนโตของคุณพระนรราชภักดี (ตรอง จินตยานนท์) มารดาชื่อ ภุก จินตยานนท์
    ส่วนสถานที่กำเนิดของท่านคือ บ้านเลขที่ ๙๒ ถนนพะเนียง หลังวัดโสมนัสวิหาร อ.ป้อมปรบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ
    เมื่อเจริญขึ้นท่านก็ได้เข้าศึกษาวิชาเบื้องต้นที่โรงเรียนวัดโสมนัส จนจบชั้นประถม
    (ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดในสมัยนั้น) และได้เข้าศึกษาชั้นมัธยมที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร
    สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมด้วยการสอบได้ที่ ๑ ของสนามสอบ(การสอบในสนามสอบ ในสมัยนั้นเป็นการสอบรวมกันหลาย
    ๆ โรงเรียนโดยใช้ข้อสอบเดียวกัน ฉะนั้นอาจจะกล่าวได้ว่าท่านสอบได้ที่ ๑ ของประเทศในสมัยนั้น)
    และได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนข้าราชการพลเรือน (ปัจจุบันคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
    โดยเลือกเรียนวิชารัฐศาสตร์ ซึ่งไม่ค่อยตรงกับที่ท่านตั้งใจไว้เพราะแต่เดิมท่านสนใจในวิชาแพทย์
    แต่ด้วยบิดาท่านเป็นนักปกครอง อยากจะให้ท่านเป็นนักปกครองตามท่านจึงเลือกเรียนตามความประสงค์ของบิดา
    และในขณะที่ท่านศึกษาอยู่เมื่อมีเวลาว่าง ท่านก็จะเข้าเรียนพิเศษภาษาอังกฤษกับครูเฉลิม
    สำหรับการเรียนวิชารัฐศาตร์ของท่านนั้นท่านจบด้วยการสอบไล่ได้ที่ ๑ ของชั้นเรียน
    ภายหลังจากการที่ท่านศึกษาอยู่ในปีสุดท้าย นักศึกษาในปีนั้นต้องเข้ารับการซ้อมรบเสือป่า
    ในฐานะนักเรียนเสือป่ารักษาพระองค์ และในการซ้อมรบครั้งนี้เองทำให้ชีวิตของท่านเปลี่ยนแปลงไป
    เดิมนั้นต้องการเป็นข้าราชการปกครองกลับต้องมาเป็นข้าราชการในสำนักฯ เพียงเพราะล้นเกล้า รัชกาลที่ ๖
    เห็นท่านรูปร่างเล็กจึงทรงรับสั่งถามว่า ตัวเล็ก ๆ อย่างนี้ถ้าเกิดข้าศึกดักทำร้ายแล้วจะสู้เขาไหวหรือ
    ท่านจึงกราบบังคมทูลว่า ต้องขอลองสู้ดูก่อน ส่วนจะไหวหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่งขอรับ
    ถ้อยคำกราบบังคมทูลในครั้งนั้นเป็นที่พอพระราชหฤทัยของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ มาก
    หลังจากซ้อมรบเสือป่าเสร็จสิ้นแล้วก็ทรงโปรดให้
    ท่านเป็นฝ่ายในและโปรดเกล้าให้ท่านเข้าไปรับใช้ประจำห้องบรรทมในที่สุด
    และด้วยความจงรักภักดีที่ท่านมีต่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖
    ท่านจึงปฏิบัติรับใช้ด้วยความขยันและซื่อสัตย์จนเป็นที่โปรดปรานของล้นเกล้าฯ
    จนได้รับโปรดเกล้าพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาพานทองที่พระยานรรัตน์ราชมานิต เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๒

    (ขณะนั้นท่านอายุเพียง ๒๕ ปีเท่านั้น) และได้พระราชทานสายสะพาย ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
    กล่าวกันว่าในงานพระราชทานสายสะพายในครั้งนั้นมีท่านเพียงคนเดียวที่ยังหนุ่มอยู่ เพราะผู้ที่
    ได้รับพระราชทานสายสะพายโดยมากจะเป็นข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ทั้งสิ้นการที่ล้นเกล้าฯ
    ทรงประทานความเมตตาอย่างพิเศษนั้น ทำให้ท่านต้องผจญความริษยาของบรรดาข้าราชบริพารอื่น ๆ
    ทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และผู้น้อยอย่างรุนแรง แต่ก็ใช้ความมีอุเบกขาเข้าต่อสู้
    ประกอบกับที่ท่านมีนิสัยสมถะมักน้อย ไม่ยินดียินร้ายกับใครทั้งสิ้น อยู่อย่างสันโดษ
    ยามว่าท่านจะศึกษาวิชาโยคศาตร์และการเพ่งกสิณด้วยที่ว่าวิชานี้
    เพิ่มความสงบให้แก่ท่านอย่างมากทีเดียวตลอดระยะเวลาที่ท่านอยู่ในวังไม่เคยปรากฏว่าท่านจะอาละวาดเอาความก
    ับใคร จะมีเพียงครั้งเดียวที่ท่านอาละวาดขึ้นมาอย่างดุเดือด ทั้งบริภาษด้วยถ้อยคำรุนแรงทั้งลงมือลงเท้า
    เตะต่อยข้าราชบริพารกลุ่มหนึ่ง แตกกระเจิดกระเจิง นั่นคือตอนที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖
    ทรงประชวรหนักใกล้จะเสด็จสู่สวรรคาลัย
    พวกข้าตาชบริพารเหล่านั้นนอกจากจะไม่ถวายความจงรักภักดีแล้วยังหยอกล้อเล่นกันดังเข้ามาถึงห้องประชวร
    แถมบางคนยังมาสูบบุหรี่โขมงในห้องเสียอีก ท่านทนต่อความไร้มารยาทนนั้นไม่ไหวก็เลยลงมือลงเท้าเอา
    ซึ่งทำให้เข้าใจกันว่าท่านเกิดวิกลจริตขึ้นมา (เพราะธรรมดาท่านจะอยู่อย่างสงบไม่เคยมีปากเสียงกับใคร)
    คุณท้าวอินทร์สุริยาบริพารผู้ใหญ่ฝ่ายในต้องมาขอให้ท่านแม่ของท่านไปปลอบโยนท่านให้ใจคอเยือกเย็นลง
    ภายหลังล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ สวรรคตแล้ว ท่านจึงตัดสินใจบวชอย่างเงียบ ๆ
    เป็นการถวายพระราชกุศลต่อรัชกาลที่ ๖ ในวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๔๖๘
    โดยครั้งแรกนั้นท่านลาบวชเพียงพรรษาเดียว จากนั้นท่านก็พลัดเป็นสองพรรษา สามพรรษา แม้กระทั่งรัชกาลที่ ๗
    ท่านทรงเห็นว่า พระยานรรัตน์ราชมานิต เป็นผู้ที่ซื่อสัตย์ มั่นคงทั้งสูงด้วยความกตัญญูกตเวที
    ทั้งเป็นผู้ที่มีความรู้สูง สมควรที่จะแต่งตั้งให้รับราชการต่อไป
    ดังในสัญญาบัตรแต่งตั้งตอนหนึ่งมีใจความว่า ขอประกาศแก่ท่านทั้งหลายทั้งปวงฤาผู้หนึ่งผู้ใด
    ซึ่งจะได้พบอ่านคำประกาศนี้ให้ทราบว่า เราได้ตั้งใจให้จางวางตรีเจ้าพระยานรรัตน์ราชมานิต (ตรึก
    จินตยานนท์) ปม.ท.จมว.ม.ล.มว.ป.ร.ต. ซึ่งเป็นที่รักใคร่ไว้วางใจของเรา
    เป็นองคมนตรีรับปรึกษาราชการในตัวเรา เพิ่มศักดินาขึ้นอีก ๑,๐๐๐ เพื่อจะได้ช่วยเราคิดทำนุบำรุงแผ่นดิน
    ให้เป็นคุณประโยชน์ มีความเจริญสมบูรณ์ ฯลฯ
    แต่ท่านก็ไม่ยอมลาสิกขาออกไปรับตำแหน่ง
    คงยังพลัดยืดกาลาสิกขาออกไปอย่างไม่มีกำหนดจนกระทั่งถึงแก่กาลมรณภาพ ในวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๑๔ สิริรวมอายุ


    เหรียญ ร.6 ปี 2505 (เจ้าคุณนรฯ ส่งกระแสจิตปลุกเสก)

    ปี พ.ศ. 2505 ทางกรมการรักษาดินแดนได้จัดสร้างเหรียญ ร.6 ขึ้น ทำการพุทธาภิเษกตามโดยนิมนต์พระคณาจารย์ที่มีชื่อเข้าร่วมทำพิธีปลุกเสก คือ

    หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร,
    หลวงพ่อปู่อาคม วัดสุทัศน์ฯ,
    หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม,
    หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม,
    หลวงปู่นาค วัดระฆัง,
    พระสุธรรมธีระคุณ วัดสระเกศ,
    หลวงพ่อคล้าย วัดจันดี,
    หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก,
    พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดสามปลื้ม

    ยัง ได้กระทำพิธีอัญเชิญดวง พระวิญญาณของอดีตพระมหากษัตริย์ไทยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ ร.1 ถึง ร.8 มาประทับทรงในพิธีปลุกเสกนี้ด้วย ในการนี้ได้ไปนิมนต์ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ให้เข้าพิธีพุทธาภิเษกด้วย แต่คณะกรรมการก็ได้รับความผิดหวังเพราะท่านเจ้าคุณนรรัตน์ไม่ยอมรับนิมนต์ ออกนอกเขตวัดท่านเจ้าคุณนรรัตน์ได้บอกกับคณะกรรมการชุดนั้นว่า "อาตมาจะขอนั่งปรกปลุกเสกอยู่ในกุฏินี้เพื่อส่งกระแสจิตไปร่วมพุทธาภิเษก ด้วยในครั้งนี้จนกระทั่งเสร็จพิธี" พอเสร็จพิธีได้มีหลวงพ่ออยู่องค์หนึ่งท่านนั่งปรกอยู่ข้างอาสนะที่ว่าง ท่านได้สอบถามเจ้ากรมรักษาดินแดนว่าเป็นพระรูปใดที่มานั่งปรกอาสนะข้างท่าน ท่านเจ้ากรมจึงกราบเรียนว่าเป็นอาสนะของท่านเจ้าคุณนรฯ ท่านบอกว่าเห็นมานั่งปรกอยู่เสร็จแล้วก็ได้หายไปเฉย ๆ ยังความแปลกใจให้กับทุกคนที่ได้ยินและได้ฟัง เพราะต่างเห็นว่าว่างเปล่า ไม่เห็นมีใครมานั่งอยู่บนอาสนะนั้น ถือว่าเป็นของดีมีทั้งเกจิอาจารย์ที่เรืองวิทยาคมหลายรูปรวมทั้งเจ้าคุณนรฯ ปลุกเสก เมื่อประชาชนนำเหรียญ ร.6 ไปพกติดตัว ต่างก็ปรากฏอภินิหารต่างๆ นานา ทั้งทางอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาดและโชคลาภจนโจษขานกันทั่ว

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความและข้อมูลอย่างสูงครับ


    เหรียญดีพิธีใหญ่ เหมาะสำหรับผู้ที่เคารพและเทิดทูนในล้นเกล้าพระมหากษัตริย์

    ของไทยและครูบาอาจารย์ที่มาร่วมอธิฐานจิต และท่านเจ้าคุณนร



    ให้บูชา 400 บาทค่าจัดส่ง EMS 50 บาทครับ

    [​IMG] [​IMG]
     
  19. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,468
    ค่าพลัง:
    +21,327
    [​IMG]

    เหรียญเสมาหลวงพ่อจวนวัดหนองสุ่ม เหรียญรุ่นนี้ออกแบบได้สวยเหมือนหลวงพ่ออย่างมาก

    ครับ


    ให้บูชา300 บาทค่าจัดส่ง EMS 50 บาทครับ มอบเหรียญเล็กให้ไปด้วยครับ

    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  20. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,468
    ค่าพลัง:
    +21,327
    วันนี้จัดส่ง

    EI 6668 4924 4 TH บางพลี

    EI 6668 4925 8 TH อ่าวอุดม

    EI 6668 4926 1 TH กระทุ่มล้ม


    ขอบคุณครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...