ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    วันนี้ขอเสนอ

    "โพธิปักขิยธรรม"
    ธรรมสูงสุดแห่งความรู้แจ้ง 37 ประการ
    โดย พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)

    เป็นหนังสือที่เพิ่งได้รับมาจากหลวงพ่อที่รู้จักกันครับ
    ขอท่านไว้ครับ
    เมื่อวานไปไหว้ท่านครับ
    ท่านจึงให้มาครับ

    ความว่าดังนี้


    อิทธิบาท 4 : คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย
    1. ฉันทะ ความพอใจ
    2. วิริยะ ความเพียร
    3. จิตตะ ความคิด
    4. วิมังสา ความไตร่ตรองหรือทดลอง


    สัมมัปปธาน 4 : ความเพียร
    1. สังวรปธาน เพียรระวังหรือเพียรปิดกั้น
    2. ปหานปธาน เพียรละหรือเพียรกำจัด
    3. ภาวนาปธาน เพียรเจริญหรือเพียรก่อให้เกิด
    4. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษา


    สติปัฏฐาน 4 : การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้เห็นตามจริง
    1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย
    2. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา
    3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต
    4. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม


    อินทรีย์ 5 และ พละ 5 : ธรรมอันเป็นใหญ่และเป็นกำลัง
    1. ศรัทธา ความเชื่อ
    2. วิริยะ ความเพียร
    3. สติ ความระลึกได้
    4. สมาธิ ความตั้งจิตมั่น
    5. ปัญญา ความรู้ทั่วชัด


    โพชฌงค์ 7 และอริมรรคมีองค์ 8

    โพชฌงค์ 7 : ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้
    1. สติ ความระลึกได้
    2. ธัมมวิจยะ ความเฟ้นธรรม
    3. วิริยะ ความเพียร
    4. ปีติ ความอิ่มใจ
    5. ปัสสัทธิ ความสงบกายสงบใจ
    6. สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น
    7. อุเบกขา ความมีใจเป็นกลาง


    อริยมรรคมีองค์ 8 : ทางมีองค์แปดประการอันประเสริฐ
    1. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ
    2. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ
    3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ
    4. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ
    5. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ
    6. สัมมาวายามะ พยายามชอบ
    7. สัมมาสติ ระลึกชอบ
    8. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ


    สาธุครับ
     
  2. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    สาธุ....



    นั่งสมาธิ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)


    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->[​IMG]

    นั่งสมาธิ
    โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

    วัดหินหมากเป้ง
    ต.พระพุทธบาท อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย


    การทำสมาธิทำให้จิตแก่กล้า แล้วมันทำให้ร่างกายสมบูรณ์สุขภาพดีได้เหมือนกัน ถึงแม้เราไม่ต้องการว่าจะสมบูรณ์หรือไม่สมบูรณ์ก็ตาม แต่ว่ามันเป็นของมันเอง

    กาย เป็นของรองรับซึ่งทุกข์ทั้งหลาย อยากอยู่นานๆ อยากได้อายุยืนนาน ก็อยากทุกข์น่ะซี อายุ 80 ปี 90 ปี 100 ปี อายุนานเท่าใดมันก็ทุกข์นานเท่านั้น คนปรารถนาทุกข์เหลือเกิน เหตุนั้นเรามาทำภาวนาสมาธิดีกว่า ฝึกอบรมสมาธิให้สุขภาพจิตมันดียิ่งขึ้นไป ส่วนร่างกายเราไม่อาลัยอาวรณ์มันหรอก นั่งลงไปมันจะเจ็บปวดร้าวด้วยประการต่างๆ ไม่ต้องอาลัยกังวลเกี่ยวข้องกับมน ขอให้จิตอยู่นิ่งก็แล้วกัน เมื่อจิตสงบแล้วกายมันก็อยู่นิ่งของมันเอง จิตวางกายแล้ว ไม่ปรากฏเลยว่า นั่นนอนหรือเป็นอะไรต่างๆ มันไม่ปรากฏ มันปรากฏเพียงจิตอันเดียว นั่นแหละจิตทิ้งกายแล้ว ทีนี้มันค่อยสบายเป็นสุข

    การทำสมาธิมีอานิสงส์มากมายหลวงหลาย ทำสมาธิให้เป็นเสียก่อนแล้วจึงจะค่อยรู้เรื่อง หากไม่ทำเองใครจะพูดอย่างไร เท่าใดมันก็ไม่รู้เรื่องหรอก ต้องเห็นประจักษ์ด้วยตนเองเสียก่อนจึงจะรู้จะเข้าใจ เช่นว่าเราไม่เคยนั่งเลย นั่งทีแรกมันก็ต้องเจ็บต้องปวดอะไรต่างๆ ครั้งฝึดหัดนั่งสมาธิจนเห็นความสุขสงบ หรือจากการยืนหรือเดินก็ตาม เมื่อจิตปล่อยวางกายหมดทุกสิ่งทุกอย่าง ได้ความสงบอย่างยิ่งแล้ว จะชอบอกชอบใจอยากทำ ทีแรกมันต้องบังคับฝืน ครั้นภาวนาเป็นสมาธิแล้ว ทีนี้ไม่ต้องบังคับหรอก มันอยากทำ มันขยันเอง

    การทำสมาธิต้องฝึกหัดจิตตัวนี้แหละ ไม่ต้องทำอย่างอื่นฝึกฝนอบรมจิตอันเดียวนี้ แต่ไหนแต่ไรมาจิตไม่เคยฝึกฝนอบรมจิตนี้หากเราไม่ฝึกฝนอบรมก็ไม่มีวันเป็นสมาธิได้สักที แล้วไม่มีใครทำให้ได้ด้วย ไม่เหมือนสิ่งอื่น วัตถุอื่น เช่นทำเรือกสวนไร่นาทำการงานต่างๆ คนอื่นทำให้ได้ แต่ทำสมาธิคนอื่นทำให้ไม่ได้ ตนเองทำจึงค่อยได้ แล้วเห็นด้วยตนเองคนอื่นไม่เห็น

    เหตุนั้นจึงว่า การทำสมาธินั้นจะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย ที่ว่ายากคือจิตใจของเรานั่นอยากให้เป็นสมาธิ ทำอย่างไรจึงจะเป็นสมาธิ ก็ดิ้นรนกระเสือกกระสนด้วยประการต่างๆ ก็เลยไม่เป็นซ้ำ นั่นแหละเรียกว่ามันยาก ที่ว่าง่ายนั้นก็คือ มันไม่ต้องการอะไร ไม่อยากอะไร ปล่อยวางเฉยๆ ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆ เรื่องราวต่างๆ มันก็อยู่ตามเรื่องของมัน เอาแต่จิตของเรา เมื่อจิตมันวางอารมณ์ต่างๆ แล้ว มันสงบนิ่งก็เป็นสมาธิ ไม่ได้นึกได้คิดว่าจะเป็น แต่ว่ามันเป็นเอง นั่นแหละที่ว่าง่ายก็ง่าย

    เหตุนั้นการทำสมาธิคือ หาอุบายที่จะจับจิตให้ได้ จิต คือผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุงแต่ง สารพัดทุกอย่างนั่นแหละ มันไม่อยู่กับที่ เมื่อมันไม่อยู่นิ่งก็เดือดร้อน ดิ้นรนกระสับกระส่าย ของเหล่านั้นล้วนแต่จิตทั้งนั้น มันส่งส่ายไปในที่ทั้งปวงหมด ถ้าเราเห็นโทษ ก็ปล่อยวางอันที่มันวุ่นวายอยู่นั่นทุกสิ้งทุกอย่าง ไม่เอาแล้ว ปล่อยไปตามเรื่องของมัน เมื่อปล่อยวางหมดแล้ว มันจะมีอะไรอีก ? มันก็ยังเหลือแต่จิตเท่านั้น มันก็สงบอยู่ในที่เดียวนั่น มีแต่ความนิ่ง อันนั้นคือ ความรู้ หรือ ธาตุรู้ ก็เรียกหรือจะเรียก ผู้รู้ ก็ได้ นั่นได้ชื่อว่าถึงตัวของเราแล้ว รักษาตัวได้แล้ว ตัวของเราอยู่กับตัวแล้ว นั่นแหละจึงเห็น "ตัวแท้" คือธาตุรู้นั่นเอง เมื่อเข้าถึงตรงนั้นแล้ว ทีนี้ใครจะทำอะไร ใครจะคิด ใครจะพูดอะไร ก็ไม่กระทบกระเทือนแล้ว ใครจะดีชั่ว หรือถูกผิดก็ไม่กระทบกระเทือน ไม่ว่าอะไรหรอก เข้าถึงตรงนั้นแล้วมันไม่มองดูใครทั้งนั้น เอาเฉพาะแต่ตัวของมันเอง

    หัดให้มันได้อย่างนี้บ่อยๆ ได้ชื่อว่าทำจิตของเราให้มันแก่กล้า ทำจิตของเราให้เป็นคนแก่คนเฒ่า มันจะหมดเรื่องแล้วคราวนี้ ไม่มีกังวลเกี่ยวข้องอะไรทั้งปวง มันอยู่สงบเฉย ทำถึงสมาธิแล้วมันหมดเอง เข้าของเงินทองสมบัติพัสถานอะไรทั้งปวงหมดไม่มีในที่นั้นเลย ยังอยู่แต่ ผู้รู้ ผู้เดียว ไม่คิดไม่นึก ที่สุดของพุทธศาสนาอยู่ตรงนั้นแหละ อย่าไปหาที่อื่นเลย ไปเห็นตรงนั้นแล้วมันหมดที่ไป

    จึงว่าการไม่คิด ไม่นึก ไม่ปรุง ไม่แต่ง อันนั้นแหละเป็นที่สุดของโลก การปรุงการแต่งนั่นเป็นเรื่องของโลก การคิดการนึกก็เป็นเรื่องของโลก ไม่คิด ไม่นึก ไม่ปรุง ไม่แต่ง แต่ว่ารู้ตัวอยู่เฉยๆ อันนั้นมันก็เหนือโลก เรียกว่า โลกุตระ ทำได้อย่างนั้นแล้วจะเอาอย่างไรนอกเหนือจากนั้นอีก

    เอาละ ทำภาวนากัน.
    http://palungjit.org/showthread.php?t=137149


    แถมท้าย เหรียญท่านรุ่นนี้ ราคาไม่แพงครับ






    [​IMG]
    [​IMG]

    ด้านหลัง "ผู้ใดทำใจให้เป็นกลางได้ ผู้นั้นจะพ้นจากทุกข์ทั้งปวง"

    ใจที่เป็นกลางหมายถึงใจแท้ ที่รู้เจตสิกแล้วละ มีสติคอยดูอยู่ จะโปร่งสบาย ใส และเย็น แล้วยังงี้ทุกข์จะเกิดได้อย่างไรกัน...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กรกฎาคม 2008
  3. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <TABLE class=tableBorder style="TABLE-LAYOUT: fixed" cellSpacing=1 cellPadding=3 align=center><TBODY><TR><TD class=msgEvenTableRow vAlign=top></TD></TR><TR class=msgEvenTableRow><TD class=msgLineDevider vAlign=top height=150><!-- Start Member Post -->

    หลวงพ่อสนธิ์ อนาลโย
    วัดพุทธบูชา แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ




    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]

    http://www.watkoh.com/kratoo/forum_posts.asp?TID=3057

    พระดีที่กราบไหว้ได้สนิทใจ มาที่วัดท่าน มีวัตถุมงคลที่พ่อแม่ครูอาจารย์สายท่านอาจารย์มั่นได้อธิษฐานจิตไว้ให้บูชาหลายรายการ ไม่นานมานี้เช่าเหรียญที่มีอยู่ในตู้ของวัดราคาไม่กี่ร้อยบาท (ประมาณ 350) ให้พี่ใหญ่ของทุนนิธิฯ ตรวจ ไม่ทันบอกอะไร พี่ใหญ่บอกว่า นั่งเสกกันเต็มเลยวุ๊ย... สนใจพระสายอีสานมาได้ไม่ผิดหวัง หลวงปู่ท่อน หลวงพ่อทอง วัดอโศการาม หลวงปู่สรวงฯลฯ เสก เหลือเฟือแล้ว

    แต่ก่อนเมื่อสัก 5 ปีมาแล้ว เคยมานั่งฝึกกรรมฐานกับท่านในโบสถ์มีกันอยู่ 3 คน บ้าง 5 คนบ้าง ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุ เราอายุน้อยที่สุด นั่งกันเงียบๆ ในโบสถ์ บางทีโอกาสดีๆท่านก็จะอบรมกรรมฐานให้ได้คิดกัน พอลุกขึ้นมา โอ้โฮ ยุงเกลื่อนไปหมด กินจนอ้วน แล้วบินไม่ไหว สาเหตุก็คือฟังธรรมจนเพลิน ทั้งพระทั้งฆราวาสเลยเสร็จยุงหมด พระประธานในโบสถ์ก็ใช่ที่ บนขอเอาเถิด ได้ทราบมาว่าก็หลวงปู่เทสก์ท่านมาเพ่งให้ตั้งนานสองนาน ยามเมื่อสร้างเสร็จใหม่ๆ พระดีในกรุงเทพมากันเองเน้อ..แถมได้เช่าหาวัตถุมงคล และรับกับมือท่านเลย ส่วนใหญ่เสาร์-อาทิตย์ท่านจะอยู่วัดรับแขกง่าย ไม่มีใครคอยกันด้วยครับ


    <CENTER>กำหนดการทำบุญตักบาตรและฟังธรรมพระกัมมัฏฐาน - วัดพุทธบูชา ประจำปี พ.ศ.2551

    </CENTER> กำหนดการทำบุญตักบาตรและฟังธรรมพระกัมมัฏฐาน (สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตตะเถระ)
    ประจำปี พ.ศ.2551 ณ ศาลาการเปรียญ วัดพุทธบูชา
    ถนนพุทธบูชา แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร
    เวลา 07.00 – 10.30 น.


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center><TBODY><TR><TD>
    วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม 2551

    1. หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ
    2. หลวงปู่ประสาร สุมโน
    3. หลวงปู่แปลง สุนทโร
    4. หลวงพ่อสนธิ์ อนาลโย
    5. พระราชญาณเวที (หลวงปู่พัลลพ)
    6. หลวงพ่อไม อินทสิริ
    7. หลวงพ่อบุญกู้ อนุวัทฒโน
    8. หลวงพ่ออุทัย ศิริธโร
    9. หลวงพ่อเลื่อน โอภาโส
    10. พระอาจารย์จิราวัฒน์ อัตตรักโข
    11. หลวงพ่อนิพนธ์ อภิปสันโน
    12. หลวงพ่อมนตรี คณโสภโณ และพระติดตาม

    วันเสาร์ที่ 6 กันยายน 2551

    1. หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ
    2. หลวงปู่ประสาร สุมโน
    3. หลวงปู่แปลง สุนทโร
    4. หลวงพ่อสนธิ์ อนาลโย
    5. พระราชญาณเวที (หลวงปู่พัลลพ)
    6. หลวงพ่อไม อินทสิริ
    7. หลวงพ่อชนะ อุตตมลาโภ
    8. พระราชวรคุณ
    9. หลวงพ่อวิชัย เขมิโย
    10. หลวงพ่อคูณ สุเมโธ และพระติดตาม

    วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม 2551

    1. หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ
    2. หลวงปู่ประสาร สุมโน
    3. หลวงปู่แปลง สุนทโร
    4. หลวงพ่อสนธิ์ อนาลโย
    5. หลวงพ่อไม อินทสิริ
    6. หลวงปู่เจริญ ญาณวุฒโธ
    7. หลวงปู่ทอง จันทสิริ
    8. หลวงพ่อบุญกู้ อนุวัทฒโน
    9. หลวงพ่อแผลง สุจิตโต
    10. หลวงพ่อเลี่ยม ฐิตธัมโม
    11. หลวงพ่อคูณ ติกขวีโร และพระติดตาม

    วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2551

    1. หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ
    2. หลวงปู่ประสาร สุมโน
    3. หลวงปู่แปลง สุนทโร
    4. หลวงพ่อสนธิ์ อนาลโย
    5. พระราชญาณเวที (หลวงปู่พัลลพ)
    6. หลวงพ่อไม อินทสิริ
    7. หลวงปู่สมภาร ปัญญาวโร
    8. หลวงปู่วิไลย์ เขมิโย
    9. หลวงพ่อทองคำ กาญจนวัณโณ
    10. หลวงพ่อเทียมศักดิ์ ชิตมาโร
    11. หลวงพ่อมนตรี คณโสภโณ และพระติดตาม

    วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม 2551

    1. หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ
    2. หลวงปู่ประสาร สุมโน
    3. หลวงปู่แปลง สุนทโร
    4. หลวงพ่อสนธิ์ อนาลโย
    5. พระราชญาณเวที (หลวงปู่พัลลพ)
    6. หลวงพ่อไม อินทสิริ
    7. หลวงพ่อเปลี่ยน ปัญญาปทีโป
    8. หลวงปู่ทูล ขิปปปัญโญ
    9. หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล
    10. หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
    11. หลวงพ่อวิชัย เขมิโย และพระติดตาม

    *****

    รายชื่อพระสงฆ์ที่ปรากฏเป็นสีชมพู หมายความว่าได้กราบนิมนต์เป็นองค์แสดงพระธรรมเทศนาไว้แล้ว

    ได้รับการอุปถัมภ์จากหลวงพ่อสนธิ์ อนาลโย (พระราชภาวนาพินิจ) เจ้าอาวาสวัดพุทธบูชา บางมด

    คณะผู้ประสานงาน:
    คุณสุคนธ์ โฆษิตวรรณ โทร. 02-513 4368
    คุณบุญเตือน ศรีพนม โทร. 081-847 1815
    รศ.ดร.จุไรรัตน์ ดวงเดือน โทร. 081-825 3365
    รศ. มานพ ตันตระบัณฑิตย์ โทร. 089-063 3863

    แผนที่วัดพุทธบูชา :
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=2231


    </TD></TR><TR><TD align=right></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กรกฎาคม 2008
  4. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    อาทิตย์นี้ทำบุญเข้าพรรษากันแล้ว อาทิตย์หน้าวันที่ 27/7/51 อย่าลืม ไปทำบุญที่ รพ.สงฆ์กันเหมือนเดิมเน้อ...สำหรับนักเรียนดูพระ คราวต่อไปทบทวนการดูพระพิมพ์สมเด็จปัญจสิริและ สมเด็จปีระกาป่วงใหญ่ อีกนิดนึง ใครที่จองพระไว้ รอรับได้ไปเลือกกันเอาเอง เสร็จงานบุญแล้วหัดดูพระพิมพ์สมเด็จเพิ่มเติมอีก 3 ตระกูลคือ ตระกูลพระพิมพ์สมเด็จเจ้าคุณกรมท่า ตระกูลพระพิมพ์สมเด็จเจ้าฟ้า อันมีสมเด็จพิมพ์อัสนีฯ หรือสมเด็จฟ้าผ่าเป็นหลัก และพระพิมพ์สมเด็จเนื้อปูนสออันเกรียงไกร ใครมีกล้องส่องพระเตรียมไปด้วยก็ละกัน จะได้ไม่ต้องแย่งเพื่อนดู เจอกันที่เก่าเวลาเดิม เริ่ม 7.30 น. พระสงฆ์ 200 รูป ข่าวอื่นๆ จะประชาสัมพันธ์ให้ทราบเป็นระยะๆ เพราะสัปดาห์หน้าจะหายตัวไป 2 วัน คือวันจันทร์กับวันอังคาร จะไประยอง เจอกันอีกทีวันพุธครับผม...

    พันวฤทธิ์
    19/7/51
     
  5. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ก่อนจบ เผอิญเจอบทความนี้ใน blog อ่านแล้วรู้สึกว่ามีอะไรมาเอ่อที่ดวงตาครับ..ลองอ่านดู

    'อย่าหนีนะ ไอ้เด็กขี้ขโมย'

    <!-- Main -->[SIZE=-1]อ่านแล้วได้ข้อคิดดีค่ะ ไม่ว่าจะเรื่องจริงหรือเรื่องแต่งก็ตาม

    <CENTER>**++**++**++**++**++**++**++**++**++**++**++**++**</CENTER>

    'อย่าหนีนะ ไอ้เด็กขี้ขโมย'

    เสียงผู้หญิงวัยกลางคนคนหนึ่งตะโกน ลั่น พร้อมกับมีเด็กคนหนึ่งกับผู้หญิงอีกคนหนึ่งวิ่งผ่านฉันกับแม่ที่กำลังซื้อเนื้อหมูในตลาดไปอย่างรวดเร็ว ทั้งแม่และฉันหันไปดูทันเห็นหน้าผู้หญิงคนนั้นแค่แวบเดียว แม่ถามฉันว่า

    'อ้าว นั่นป้าร้านขายของไม่ใช่ เหรอ'

    'ใช่จ้ะแม่ แกวิ่งไล่ใครกันล่ะ'

    ป้าคนนั้นชื่อว่า 'ป้าหนอม' เป็นแม่ค้าขายของชำสารพัดอย่างในตัวตลาดในอำเภอที่ฉันอยู่ มีฐานะจัดว่าดีกว่าแม่ค้าคน อื่นๆ ในละแวกเดียวกัน และเป็นที่รู้จักกันว่าแกเป็นคนที่ขี้เหนียวอย่างร้ายกาจ แถมปากจัดที่สุดในตลาด! อีกด้วย ใครต่อราคาของมากเกินไปหรือถามราคาแล้วไม่ซื้อป้าแกจะโวยวายชนิดต้องรีบเผ่นออกจากร้านแทบไม่ทันทีเดียว เสียงเอะอะดังมากขึ้น ฉันหันไปมองป้าหนอมจับข้อมือเด็กผู้ชายคนหนึ่งอายุประมาณ 12-13 ปีไล่เลี่ยกับฉันซึ่งกำลังดิ้นรนอยู่ และป้าแกกำลังจะลงไม้ลงมือ แม่จึงเดินเข้าไปถาม

    'พี่หนอม มีอะไรหรอคะ'

    'ก็ไอ้เด็กเวรนี่นะสิ มันมาทำทีขอซื้อยาแก้ปวดกับยาธาตุ พอฉันหยิบส่งให้มันก็วิ่งหนีมาเลย เงินก็ไม่จ่าย'

    พูดจบป้าหนอมก็ตบหัวเด็กคนนั้นอย่างแรงหนึ่งที และคงจะมีตามมาอีกหลายทีแน่ถ้าแม่ฉันไม่ห้ามไว้

    'ตายแล้วพี่หนอม อย่าถึงกับลงไม้ลงมือกันเลยนะ แล้วนี่จะทำไงต่อ' แม่รีบตัดบทเพราะเห็นว่าเรื่องราวชักจะไปกัน ใหญ่

    'เรียกตำรวจมาเอามันไปเข้าคุกนะสิ เสียนิสัย พ่อแม่ไม่สั่งสอน ยังเด็กตัวแค่นี้ก็ริจะเป็นขโมยซะแล้ว ต่อไปก็คงต้องปล้นเขากินหละ'

    ฉันสะกิดแม่ทันทีพร้อมกับมองพลางส่ายหัวน้อยๆทำนองว่าอย่าไปยุ่งดีกว่า แม่มองฉันแล้วมองเด็กคนนั้นซึ่งท่าทางเหมือนกำลังจะร้องไห้ แม่นิ่งคิดอยู่ครู่หนึ่ง แล้วหันไปพูดกับป้าหนอมว่า

    'อย่าให้ถึงอย่างนั้นเลยนะพี่หนอม เด็กมันคงอยากซื้อยาแต่ไม่มีเงินนะ เอาเป็นว่าฉันจ่ายให้ละกันนะ กี่บาทกันล่ะ'

    ในที่สุดเรื่องก็จบลงโดยการที่แม่ยอมจ่ายเงินค่ายาแก้ปวดกับยาธาตุ แล้วแม่ก็จูงเด็กคนนั้นออกมาจากตลาด แต่ป้าหนอมยังไม่วายเตือนแม่

    ' ใจดีกับเด็กขี้โขมยแบบนี้ ระวังจะ เสียใจทีหลังนะเธอ'

    แม่ไม่ได้ตอบอะไร แต่พอเดินห่าง จากร้านพอสมควรแล้วก็ถามว่า

    'ทำไมหนูขโมยของป้าเขาละ'

    เด็กคนนั้นเงยหน้าที่เต็มไปด้วยน้ำตาขึ้นมองแม่ แล้วตอบสะอึกสะอื้นว่า

    'แม่ผมปวดท้องมากเลยครับ แล้วแม่ก็ไม่มีเงินไปหาหมอ ผมก็เลยต้อง...'

    แม่มองหน้าเด็กคนนั้นอยู่ครู่หนึ่ง แล้วยื่นผลไม้ที่ซื้อมาให้เด็กคนนั้นถุงหนึ่ง แล้วบอกว่า

    'ทีหลังอย่าโขมยของใครนะ ถ้าไม่มีเงินมาขอเงินน้าไปซื้อก็ได้นะ น้าชื่อสมพรเปิดร้านเย็บผ้าอยู่ใกล้ๆนี่เอง ถามคนแถวนี้ก็ได้รู้จักน้าแทบทุกคนเลยแหละ เอ้า...เอาส้มไป ฝากคุณแม่ซิ คนป่วยนะต้อง กินผลไม้มากๆ จะได้หาย! ไวๆรู้มั้ย'

    แม่เสริมพร้อมกับยิ้ม เด็กคนนั้นอึ้งอยู่ครู่หนึ่งก่อนที่จะรับส้มพร้อมกับพูดขอบคุณแม่แล้วเดินจากไป หลังจากนั้นพอกลับมาถึงบ้าน ฉันก็ถามแม่ทันที

    'ทำไมแม่ต้องช่วยเด็กคนนันด้วยล่ะ รู้จักกันหรอจ๊ะ'

    แม่ยิ้มแล้วตอบฉันว่า

    'ไม่รู้จักหรอก แต่แม่เห็นเด็กคนนั้นรับจ้างหาบขนมขายอยู่แถวบ้านเราน่ะลูก แต่แกคงจำแม่ไม่ได้หรอก แม่ซื้อขนมแกอยู่ไม่กี่ครั้งเอง'

    'แต่นั่นก็ไม่ใช่เหตุผลที่จะต้องช่วยเหลือเขาถ้าเขาเป็นขโมยนี่แม่'

    ฉันถามต่อ แม่มองหน้าฉันแล้วพูดว่า

    'แม่เชื่อว่าเด็กที่เคยหาเงินด้วยตัวเองมาก่อนตั้งแต่อายุเท่าๆกับลูกจะต้องเป็นเด็กที่มีความรับผิดชอบ รู้คุณค่าของเงินทุกบาททุกสตางค์ว่ากว่าจะได้มามันเหนื่อยยากขนาดไหน และคนที่มีความรับผิดชอบนะจะไม่มีทางขโมยของใครนอกจากจะจำเป็นจริงๆ เมื่อเขาไม่มีทางอื่นให้เลือกแล้วเท่านั้น'

    ฉันฟังแล้วก็ถามแม่ต่อว่า

    'แล้วต่อไปถ้าเขามาขอเงินแม่ไปซื้อยาอีกแม่จะให้เขารึเปล่า'

    'ให้สิลูกถ้ามันไม่มากไม่มายอะไร'

    'แล้วแม่ไม่เสียดายเงินหรอ บ้านเราก็ไม่ได้ร่ำรวยเหมือนบ้านป้าหนอมเขานะแม่'

    'ถึงแม่จะไม่มีเงินทองมากนัก แต่การที่ได้ช่วยเหลือคนที่กำลังลำบากน่ะ มันทำให้แม่มีความสุข แล้วยังได้บุญอีกด้วยนะ แค่นี้แม่ก็พอใจแล้ว ไม่อยากได้อะไรตอบแทนหรอก'

    แล้วแม่ก็พูดต่ออีกว่า

    'จำไว้นะลูก คนเรานะต้องรู้จักให้อภัยและให้โอกาสคนอื่นแก้ตัวเสมอ อย่างเด็กคนนั้น แม่มั่นใจว่าแกทำไปเพราะรักคุณแม่ของแกจริงๆ แม่ถึงช่วยแกเอาไว้'

    แล้วแม่ก็พูดต่อว่า

    'ลูกอาจจะบอกว่าขโมยเป็นสิ่งที่ผิด ใช่...แม่ไม่เถียง แต่บางครั้งคนเราก็ต้องมองด้านอื่นๆบ้าง อย่าคิดแต่เรื่องทรัพย์สินเงินทอง ตอนนี้ลูกอาจจะยังฟังไม่เข้าใจ แต่แม่เชื่อว่าสักวันลูกจะเข้าใจเองแหละ'

    หลังจากนั้น ฉันกับแม่ก็หันไปคุยเรื่องอื่นๆกันต่อฉันเองไม่เคยคิดเรื่องนี้อีกเลย จนเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นทำให้ฉันต้องย้อนกลับมาคิดถึงเรื่องนี้อีกครั้งทั้งน้ำตาว่าคำพูดของแม่ในครั้งนี้ถูกต้องที่สุดจริงๆ

    หลังจากนั้นฉันเรียนจบระดับปริญญาตรีจากสถาบันราชภัฏแห่งหนึ่งในตัวจังหวัด แล้วฉันก็ได้งานทำในโรงงานแห่งหนึ่งในตัวจังหวัดนั้นเอง เงินเดือนก็พอประมาณ สามารถเลี้ยงดูแม่ได้โดยไม่ขัดสนนัก ฉันก็เลยขอร้องให้แม่หยุดรับจ้างเย็บผ้า เพราะอยากให้แม่พักผ่อนบ้างหลังจากทำงานหนักมาเกือบ 20 ปีเพื่อส่งฉันเรียน แม่ยอมปิดร้าน แต่ก็ยังรับงานเล็กๆน้อยๆของเพื่อนบ้านมาทำบ้างโดยไม่คิดเงิน แม่บอกว่าถ้าไม่ได้ทำอะไรเลยจะรู้สึกเบื่อ ฉันก็เลยต้องยอมตามใจแม่

    ฉันทำงานอยู่ประมาณ 2-3 ปี แม่ก็เริ่มรู้สึกไม่สบาย เริ่มจากปวดหัวบ่อยขึ้น ช่วงแรกๆ ไม่กี่วันก็หาย หลังจากนั้นก็เริ่มเป็นนานขึ้นเรื่อยๆ ฉันบอกให้แม่ไปหาหมอ แล้วฉันก็พาแม่ไปหาหมอในเมือง หมอบอกว่าไม่เป็นอะไรมากแค่ทำงานหนักมากเกินไป หมอให้ยามาชุดหนึ่งพร้อมกำชับให้พักผ่อนมากๆจะได้หายเร็วๆ หลังจากกินยาตามที่หมอสั่ง อาการปวดหัวของแม่ก็หายไป ฉันเริ่มสบายใจขึ้น และหลังจากไปหาหมอได้ประมาณหนึ่งเดือนแม่ก็เริ่มกลับมาปวดหัวอีก คราวนี้เป็นหนักมากกว่าครั้งที่แล้ว ยาที่เคยกินแล้วได้ผลมาก่อนก็ไม่ได้ผล ฉันกังวลใจมาก พอถามหมอ หมอก็บอกว่าต้องไปตรวจที่โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ เพราะว่าเครื่องไม้เครื่องมือพร้อมกว่าโรงพยาบาลต่างจังหวัด

    หลังจากนั้นฉันรีบพาแม่ไปกรุงเทพฯ ทันที ไปยังโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง เมื่อหมอตรวจแล้วบอกว่ามีเนื้องอกในสมองต้องผ่าตัดโดยด่วน หากปล่อยทิ้งไว้อาจไปทับเส้นประสาททำให้เป็นอัมพาตได้หรือถ้าผ่าตัดไม่ทันก็อาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต ฉันตกใจมากขอให้หมอผ่าตัดให้ทันที แต่หมอบอกว่าโรงพยาบาลที่มีหมอผ่าตัดสมองที่มีความพร้อมที่จะผ่าตัดเนื้องอกในสมองเป็นอีกโรงพยาบาลหนึ่งซึ่งมีชื่อเสียงมากกว่า ดังนั้นหมอจึงต้องส่งตัวคนไข้ไปยังโรงพยาบาลนั้น ฉันก็ตกลง

    หลังจากถูกส่งตัวมายังโรงพยาบาลดังกล่าวแล้ว แม่ก็ถูกส่งตัวเข้าห้องผ่าตัดทันที ขณะที่ฉันรออย่างกังวลใจอยู่ด้านนอก ทั้งเรื่องอาการป่วยของแม่ และจากคำพูดของหมอที่ทิ้งท้ายไว้ก่อนส่งตัวแม่มาที่โรงพยาบาลแห่งนี้ หมอบอกให้ทำใจไว้บ้าง เพราะการผ่าตัดสมองเป็นการผ่าตัดที่เสี่ยงมาก โอกาสที่คน ไข้จะเสียชีวิตมีมาก แม้การผ่าตัดจะประสบความสำเร็จก็ตาม อีกเรื่องก็คือค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดสมองค่อนข้างสูงเป็นหลักแสนบาท เมื่อรวมกับค่ายาระหว่างพักฟื้นคิดแล้วน่าจะต้องใช้เงินราวๆห้าแสนบาท ฉันได้ยินแล้วแทบลมจับ ฉันจะไปหาเงินห้าแสนบาทมาจากไหน ลำพังเงินเก็บของฉันกับแม่ยังมีไม่ถึงห้าหมื่นบาทเลย แต่ยังไงฉันก็ต้องรักษาแม่ให้หาย ส่วนเรื่องเงินไว้คิดทีหลัง

    หลังการผ่าตัดเสร็จสิ้นลง เป็นโชคดีของแม่ที่การผ่าตัดประสบผลสำเร็จ และไม่มีอาการแทรกซ้อนใดๆ ทางโรงพยาบาลบอกให้พักฟื้นประมาณหนึ่งเดือนก็สามารถไปพักฟื้นที่บ้านได้ ทางโรงพยาบาลแจ้งรายการค่าใช้จ่ายทั้งหมดมาให้ฉัน ปรากฎว่าเป็นเงินจำนวนไม่ถึงหนึ่งพันบาทเป็นค่าติดต่อประสานงานเท่านั้น ฉันแปลกใจมาก จึงสอบถามกับนางพยาบาล นางพยาบาลบอกว่าคุณหมอที่เป็นคนผ่าตัดและเป็นเจ้าของไข้บอกไม่ให้คิดเงินกับฉันและแม่ โดยที่ทางโรงพยาบาลก็ไม่ทราบสาเหตุ ฉันจึงขอพบคุณหมอคนนั้นเพื่อขอบคุณ นางพยาบาลบอกว่าหลังจากผ่าตัดเสร็จคุณหมอก็ถูกส่งตัวไปต่างประเทศทันทีเพื่อศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการผ่าตัดสมองที่อเมริกา แต่คุณหมอได้ฝากจดหมายไว้ให้ฉันกับแม่โดยกำชับกับทางโรงพยาบาลให้ฝากให้ฉันพร้อมกับใบเสร็จค่าใช้จ่ายอื่นๆของทางโรงพยาบาลในวันที่แม่ สามารถออกจากโรงพยาบาลได้ เมื่อกลับถึงบ้าน ฉันกับแม่ก็เปิดอ่านจดหมายของคุณหมอคนนั้น เมื่ออ่านจบทั้งฉันและแม่ก็ร้องไห้ออกมาพร้อมกัน เนื้อความในจดหมายมีดังนี้

    'ข้าพเจ้านายแพทย์เดชา ทองวิจิตร แพทย์ผู้ผ่าตัด นางสมพร ภู่จันทร์ ขอสรุปค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดทั้งหมดดังนี้
    ค่าผ่าตัด 0 บาท
    ค่ายาทั้งหมด 0 บาท
    ค่าใช้จ่ายอื่นที่เหลือ 0 บาท
    รวมเป็นเงินทั้ง หมด 0 บาท

    ป.ล. ค่าใช้จ่ายทั้งหมดได้รับแล้ว เมื่อยี่สิบปีก่อนด้วยยาแก้ปวด ยาธาตุ ส้มหนึ่งถุง ขอให้สุขภาพแข็งแรงไปอีกนานๆ นะครับคุณน้า

    นายแพทย์เดชา ทองวิจิตร'
    [/SIZE]



    เป็นไงบ้างครับบทความนี้
    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=chularaa&month=16-07-2008&group=6&gblog=21
     
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๓๐ : ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา
    <!-- Main -->[SIZE=-1]พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๓๐ : ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา

    ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา

    พระมหาบุรุษทรงค้นคว้าหาทางตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณด้วยวิธีการต่างๆ โดยเน้นการบำเพ็ญเพียรทางทุกกรกิริยา ทรมานกายให้ลำบากอย่างเคร่งครัด อยู่เป็นเวลา 6 ปี โดยวิธีทรมานพระกายและหักห้ามความต้องการตามธรรมชาติเสียหมด พระองค์ไม่เคยหลบเลี่ยงหาที่กำบังพระวรกายจากสายลม แสงแดด หรือสายฝน ทรงปล่อยให้เหลือบ ไร ยุงและแมลงกัดต่อยพระองค์ไปตามธรรมชาติ พระมหาบุรุษทรงทดลองทรมานกายทุกอย่าง เริ่มตั้งแต่ ทรงขบฟันด้วยฟัน อัดเพดานปากด้วยลิ้น ผ่อนลมหายใจเข้าออกให้เหลือน้อยๆ แล้วกลั้นลมหายใจนานๆ จนตัวร้อนเป็นไฟเหงื่อไหลย้อย หัวใจสวิงสวาย แม้พระกระยาหารก็ผ่อนเสวยวันละน้อยลงๆ ที่สุดถึงวันละ1เมล็ด จนพระวรกายเหี่ยวแห้ง พระฉวีเศร้าหมอง พระกายซูบผอม พระอัฐปรากฏทั่วพระกาย พระโลมา(ขน) รากเน่าหลุดออกมา เหลือแต่หนังหุ้มกระดูก เวลาเสด็จดำเนินถึงกับซวนเซล้มลงแทบสิ้นพระชนม์ นับว่าเป็นความเพียรอย่างยิ่ง ยากที่นักพรตใดๆจะทำได้ แต่วิธีนี้ก็ไม่อาจทำให้สำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณไม่ ทรงทดลองดูสิ้นแล้ว ก็ทรงประจักษ์ความจริงว่า วิธีบำเพ็ญทุกกรกิริยาไม่ใช่ทางแห่งการตรัสรู้ได้ จึงเลิกปฏิบัติและกลับเสวยพระกระยาหารบำรุงพระองค์ให้มีกำลังแข็งแรงต่อไปตามเดิม

    [​IMG]

    เหล่าปัญจวัคคีย์เห็นพระโพธิสัตว์เลิกบำเพ็ญทุกกรกิริยา ก็เสื่อมศรัทธาไม่เลื่อมใสจึงทิ้งพระองค์พากันไปพำนักอยู่ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ซึ่งในปัจจุบันนี้เรียกว่าสารนาท แขวงเมืองพาราณสี
    [/SIZE]
     
  7. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์

    031 ทำอย่างไรจะเข้าถึงแก่นพระศาสนา

    ปัญหา ธรรมดาต้นไม้ใหญ่ย่อมมีทั้งใบอ่อน สะเก็ด เปลือก กระพี้ และแก่น พระพุทธศาสนาซึ่งเปรียบเสมือนต้นไม้ใหญ่ ก็น่าจะมีเครื่องประกอบเหล่านี้อะไรคือใบอ่อน สะเก็ด เปลือก กระพี้ และแก่นของพระพุทธศาสนา? ภิกษุในพระพุทธศาสนาควรจะปฏิบัติอย่างไร จึงจะเข้าถึงแก่นพระศาสนา ?

    พุทธดำรัสตอบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กรกฎาคม 2008
  8. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    1. เรื่องเล่าที่ผ่านมา

    มีอยู่วันหนึ่งก็ได้ไปพบพี่ใหญ่ และพี่ๆ ท่าน

    วันนั้นพี่ท่านได้พระมา 1 องค์ ที่แน่ๆ ท่านก็ดูเป็น

    หมายถึง 1. พระภายใน 2. อิทธิคุณไปทางด้านไหน 3. และเห็นพระท่านด้วย

    พี่ใหญ่ท่านก็เห็น เช่นนั้น จุดก็อยู่ที่พระที่พี่สองท่านเห็น ท่านไม่บอกว่าท่านชื่อว่าอะไร

    ผมเองก็ไม่รู้เรื่องกะเขากันครับ

    แต่พี่ๆ ท่านก็ช่วยกันค้นหาชื่อพระท่าน พี่ใหญ่บออกแต่เพียงว่า ท่านยิ้มครับ

    แต่ท่านก็ไม่บอกว่าท่าน ชื่ออะไร และท่านยิ้ม

    ค้นหากันอยู่พักหนึ่ง ก็หากันไม่เจอ ก็วางกันไป ไม่รู้ว่า ตอนนี้พี่ท่านทราบหรือยัง



    ผมเองขอบอกว่า นั่นแหละของจริง พี่ๆ ท่านเก่งจริงๆ เก่งมาก ในทัศนะของผม

    จุดไม่ได้อยู่ที่ ดูพระเป็นหรอกครับ ในตอนนี้ความคิดของผมเปลี่ยนครับ

    ก่อนๆ ก็ นึกไม่ออกว่า พี่ๆ ท่านเขารู้ได้อย่างไร จนบัดนี้ตัวผมก็ได้แค่สัมผัสเล็กๆ น้อยๆ

    ที่ไม่แน่นอน ก็เลยอยากจะเป็นอย่างเขา คือดูเป็น หมายถึงดูภายในครับ

    ส่วนภายนอกนั้น ไม่ได้เรื่องได้ราวกะใครๆ ครับ



    ตอนนี้ที่ความคิดเปลี่ยน คือ สามารถคุยกับท่านได้ นี่ซิ ดีกว่ามากๆ ครับ

    จักได้เปิดความคิด เปิดใจ เดินให้ถูกทางครับ

    ปฏิบัติให้ถูกที่ครับ และช่วยให้ความคิดกับคนที่ถูกต้องถูกทาง เขาจะได้ทำดีๆ กัน




    2. เรื่องนี้ได้รับฟังมาจากพี่ใหญ่ครับ

    ชื่อเรื่องว่า อะไรก็ไม่ดีกว่าบุญที่เราสร้างละกันครับ


    ในวันหนึ่ง พระท่าน

    (ขอสงวนนามครับ กลัวกรรมครับ ลูกขอขมาครับขอเล่าเป็นเกร็ดของการสร้างบุญทำดีครับ)

    พระท่านนั่งสมาธิ เห็นว่า เณร (ลูกศิษย์) ไม่เกิน 7 วัน ก็ตาย

    จึงไล่เณร กลับไปหา แม่ ระยะเวลา 7 วัน

    ระหว่างทาง เณร พบปลาอยู่ระหว่างการกลับไปหาแม่

    จึงได้เอาจีวรช้อนปลา ไปปล่อยที่ หนองน้ำ

    และก็ไปหาแม่ พอครบ 7 วัน เณรท่านนั้นก็กลับมาหา พระท่าน

    พระท่านก็ตกใจ ว่าเป็นไปได้อย่างไร เพราะว่าเห็นในสมาธิ

    จึงได้ย้อนกลับไปดู ก็พบว่า เณรได้ช่วยชีวิตปลา


    นี่ละ อะไรก็ไม่ได้ดีกว่าการทำบุญครับ

    สาธุครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กรกฎาคม 2008
  9. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    วันนี้มาต่อด้วยเสียงสะท้อนจากกลอนธรรมครับ

    ทุกข์

    ทุกข์จะมี ก็เพราะอยาก
    ทุกข์จะมาก ก็เพราะยึด
    ทุกข์จะยืด ก็เพราะพลอย
    ทุกข์จะน้อย ก็เพราะลด
    ทุกข์จะหมด ก็เพราะละ


    สุข - ทุกข์อยู่ที่ใจ 1

    อยู่เรือนน้อยยังดีถ้ามีสุข
    ดีกว่าทุกข์อยู่ในเรือนใหญ่กว้าง
    อันสุขทุกข์อยู่ที่จิตคิดปล่อยวาง
    เราก็สร้างสุขได้ถ้าไม่ยึด
    (สุธา ธรรมชาติ)



    สุข - ทุกข์อยู่ที่ใจ 2

    สุขทุกข์อยู่ที่ใจใครใครคิด
    อยู่ที่จิตใครมองเห็นเป็นสุขสันต์
    อยู่ที่ใจใครมองเห็นเป็นทุกข์กัน
    คิดให้มันสุขสดใสใจก็สุข
    (จีรชา ใจเปี่ยม)


    สุข - ทุกข์อยู่ที่ใจ 3

    สุขให้เป็นก็จะเห็นว่าเป็นสุข
    ไม่ต้องทุกข์จนอับสรรพสิ่ง
    สุขทุกข์อยู่ที่ใจใช่ความจริง
    ถ้าใจวิ่งไปเก็บทุกข์สุจหมดเอย.
    (ภู. ภัทรชนน)

    สาธุครับ
     
  10. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    วันนี้ขอเสนอ บทสวดสำหรับบรรเทาโรคภัยไข้เจ็บ

    พี่ใหญ่ท่านบอกต่อมาอีกทีหนึ่งครับ

    และบอกว่าเป็นของหลวงปู่พระอาจารย์ชีวกโกมาภัจจ์


    "นะอะ นะวะ โรคาพยาธิ วินาสสันติ"


    เวลาสวดก็สวดเรื่อยๆ ครับ ผมเองได้ทดลองดูแล้ว บรรเทาอาการตัวร้อนได้ครับ
    เพราะใช้ตอนเวลาเป็นไข้ พอไม่สวดไข้ก็จะกลับมาครับ

    สาธุครับ
     
  11. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    910
    ค่าพลัง:
    +4,284
    พระกริ่งใหญ่ มงคลบพิตร

    สร้างโด อ.อนันต์ สวัสดิสวนีย์ อดีตผู้อำนวยการกองช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ด้วยพิมพ์พระกริ่งจีนใหญ่ ราชวงศ์ถังที่ยืมพระกริ่งองค์จริงของคุณชินพร สุขสถิตย์มาถอดเช่นเดียวกับพระกริ่งปฐวีธาตุ อันโด่งดัง แต่ได้แต่งบัวให้เต็มและอุดริ้วรอยดั้งเดิมให้สวยงามยิ่งขึ้น เททองด้วยเนื้อสัมฤทธิ์ส่วนที่เป็น"พระกร"(แขน) ของพระมงคลบพิตร พระราชวังโบราณ จ.พระนครศรีอยุธยาเกือบล้วนๆ ซึ่งมีความกรอบมาก ทำให้พระกริ่งมีความพรุนและชำรุดระหว่างเทไปมาก จากยอดพระที่กะสร้าง 108 องค์ เลยได้จริงๆเพียง 32 องค์เท่านั้น

    [​IMG]
    ด้านหลังจะตอกโค้ดตัว"มะ อุณาโลม"เป็นสัญญลักษณ์ <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=25> </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    "พระกริ่งใหญ่ เนื้อพระมงคลบพิตร" ซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์ในเนื้อหาอย่างสูงถึงขั้น"ปลิงไม่ได้กินเลือด"ของอ.อนันต์ สวัสดิสวนีย์ชุดนี้ สร้างและเททองในพิธีเดียวกับ "พระกริ่งใหญ่ หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ" ที่คุณชินพร สุขสถิตย์สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2530 ทุกประการ แต่ได้อุดผงชันเพชร บุษบกพระแก้วมรกต,ผงจิตรลดา,เกศาครูบาอาจารย์ 32 องค์ เป็นกรณีพิเศษและได้นำไปเสกเพิ่มเติมตามวัดต่างๆอีกหลายที่หลายแห่งด้วยกัน <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=25> </TD></TR></TBODY></TABLE>


    โดยหนึ่งในพระเถระสำคัญที่ได้อัญเชิญพระกริ่งไปขอรับการอธิษฐานจิตปลุกเสกที่ควรจะจารึกให้ปรากฏนามสืบไปด้วยก็คือ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยานั่นเอง...
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=25></TD></TR></TBODY></TABLE>

    ปัจจุบัน พระกริ่งใหญ่ มงคลบพิตร จัดเป็นพระเครื่องดีที่น้อยคนนักจักล่วงรู้ อีกทั้งยังหาได้ยากยิ่งกว่าพระกริ่งปฐวีธาตุอันเลื่องชื่อเสียอีก ใครได้ไว้ในครอบครอง ถือว่าเป็นวาสนาอย่างยิ่งเสียจริงๆ.



    ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บพุทธวงศ์
     
  12. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    910
    ค่าพลัง:
    +4,284
    ใครว่า..ชาตินี้ร่ำรวยยิ่งใหญ่แล้ว ชาติหน้าจะดีวิเศษเหมือนเก่า.?????

    พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภนางลูกสุกร
    กินคูถตัวหนึ่งตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ยถาปิ มูเล " เป็นต้น.
    พระศาสดาตรัสบุรพกรรมของนางลูกสุกร
    ได้ยินว่า วันหนึ่ง พระศาสดาเสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ เพื่อบิณฑบาต ทอดพระเนตรเห็นนางลูกสุกรตัวหนึ่ง จึงได้ทรงทำการแย้ม(พระโอษฐ์) ให้ปรากฏ. เมื่อพระองค์ทรงทำการแย้ม (พระโอษฐ์) อยู่
    พระอานนทเถระได้เห็นมณฑลแห่งทัสสโนภาส ซึ่งเปล่งออกจากช่องพระโอษฐ์ จึงทูลถามเหตุแห่งการแย้ม (พระโอษฐ์) ว่า
    " พระเจ้าข้า อะไรหนอแลเป็นเหตุ ? อะไรเป็นปัจจัยแห่งการทำการแย้มให้ปรากฏ."
    ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพระอานนท์นั้นว่า
    " อานนท์ เธอเห็นนางลูกสุกรนั่นไหม ? "
    พระอานนท์. เห็น พระเจ้าข้า.
    พระศาสดา.
    นางลูกสุกรนั้น ได้เกิดเป็นแม่ไก่ อยู่ในที่ใกล้โรงฉัน
    แห่งหนึ่ง ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากกุสันธะ, นางไก่นั้น ฟังเสียงประกาศธรรมของภิกษุผู้เป็นโยคาวจรรูปหนึ่งสาธยายวิปัสสนากัมมัฏฐานอยู่ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้เกิดในราชตระกูล เป็นราชธิดาพระนามว่า อุพพรี.....
    ในกาลต่อมา พระนางเสด็จเข้าไปยังสถานเป็นที่ถ่ายอุจจาระ ทอดพระเนตรเห็นหมู่หนอนแล้วยังปุฬวกสัญญาให้เกิดขึ้นในที่นั้น ได้ปฐมฌานแล้ว, พระนางดำรงอยู่ในอัตภาพนั้นจนสิ้นอายุ

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 282
    จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดในพรหมโลก, ก็แลพระนางครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว สับสนอยู่ด้วยอำนาจคติ จึงเกิดในกำเนิดสุกรในบัดนี้, เราเห็นเหตุนี้ จึงได้ทำการแย้มให้ปรากฏ.
    ภิกษุทั้งหลายมีพระอานนทเถระเป็นประมุข สดับเรื่องนั้นแล้วได้ความสังเวชเป็นอันมาก.
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

     
  13. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    910
    ค่าพลัง:
    +4,284
    กระดาษยันต์สารพัดกันที่"ไม่ธรรมดา"

    ไม่น่าเชื่อเลยว่า ลำพัง"กระดาษยันต์สารพัดกัน"ของหลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ ระยอง ซึ่งตามสภาพแล้ว ไม่น่าจะมีค่านิยมที่แพง เพราะไม่อาจจะนับเป็นพระเครื่องที่ถาวร และก็ไม่ใช่ผ้ายันต์ตามปกติที่วงการนิยม จะมีราคาค่านิยมที่แพงจัดอย่างเหลือเชื่อจนถึงหลักพันในเวลานี้ได้ <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=30></TD></TR></TBODY></TABLE>

    อาจจะเป็นเพราะมีจำนวนมากถึง 60,000 กว่าใบประการหนึ่ง และบุญญาบารมีของหลวงปู่ทิมท่านเองอีกประการหนึ่ง ประกอบกับผู้สร้างมีมาตรการกันปลอมได้อย่างรัดกุมอีกสถานหนึ่ง ทำให้มีผู้แม้มีรายได้น้อยสามารถนำไปบูชาได้อย่างสะดวกดายโดยถ้วนทั่ว จึงมีโอกาสให้ได้ประสพกับเหตุอภินิหารอย่างมากมายที่สุดจนลือลั่น จนทำให้กระดาษธรรมดาที่ปกติแล้ว น่าจะมีราคาไม่ถึง 1 บาท กลับกลายมีอัตราค่าแลกเปลี่ยนถึงหลักพัน(1-2,000 บาท)ได้อย่างเหนือความคาดหมายที่สุดดังว่า <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=25> </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ซึ่งนั่น ก็หมายถึงกระดาษยันต์ปกติธรรมดาๆทั่วๆไป ก็เช่าหากันแพงระยับดังว่าแล้ว แต่สำหรับกระดาษยันต์ใบนี้ นอกจากจะมีตรายันต์ 5 (ของเก่า) ประทับพร้อมกับตรามูลนิธิหลวงปู่ทิม(ปั๊มซ้ำในภายหลัง) คู่กัน แถมด้านหน้าก็ยังมี "โค้ดศาลา" ซึ่งเป็นโค้ดเดียวกับที่ตอกพระกริ่งชินบัญชรอันโด่งดังกำกับไว้อีกต่างหาก จะ"พิเศษสุดๆ"ถึงอย่างใด และเป็น"หนึ่งในหมื่น" ถึงเพียงไหน ก็ลองพิจารณาดูเอาเองเทอญ... <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=25></TD></TR></TBODY></TABLE>


    "กระดาษยันต์นี้ 1 แผ่น มีค่าเท่ากับตะกรุด 1 ดอกน๊ะ..!!!"
    (หลวงปู่ทิม อิสริโก)
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    นับเป็นของดีที่ราคายังไม่แพงเกินไปเมื่อเทียบกับพระเครื่องรุ่นอื่นๆของหลวงปู่ทิมท่าน รีบๆหามาไว้บูชาเถอะครับก่อนที่ราคาจะพุ่งขึ้นไปอีก
    ส่วนวิธีดูกระดาษยันต์นี้ว่าของแท้หรือปลอมนอกจากโค๊ตที่ปั้มหรือตอกลงที่กระดาษยันต์แล้วยังมีวิธีดูอีกอย่างหนึ่งถ้าท่านใดต้องการรู้ก็ PM มาหาผมจะตอบเป็นการส่วนตัวแล้วกันนะครับ


    ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บพุทธวงศ์
     
  14. โอลีฟ

    โอลีฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +257
    ได้โอนเงินมาร่วมทำบุญดังรายละเอียดข้างล่างค่ะ

    วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
    ดีเอนก, นงลักษณ์ และ สืบศักดิ์ โอฬารวณิช
    รวมจำนวนเงิน 1,200 บาท ค่ะ

    อนุโมทนากับทุกท่านค่ะ
     
  15. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    วันนี้กลับจากทำงานที่ระยองขากลับเข้าเมืองชลแวะบ้าน อ.ประถมฯ แวะเอาขนมไปฝาก อาจารย์เลยได้เข้าร่วมก๊วนใหญ่กลุ่มลูกศิษย์ของ อ.ประถมอีก 2-3 คน ได้ฟังเรื่องพิสดารเยอะแยะในเรื่องพระพิมพ์ตระกูลต่างๆ เช่นพระพิมพ์สมเด็จเจ้าฟ้าที่จะมีการสอนกันในวันอาทิตย์นี้ ท่าน อ.ประถมบอกว่าพระพิมพ์นี้เก่งมาก พระพิมพ์ตระกูลนี้ (สมเด็จเจ้าฟ้า) จะประกอบด้วยพระพิมพ์สมเด็จปูนสอที่พบตามวังต่างๆ หรือพบที่วัดทองนพคุณ วัดกลางคลองข่อย รวมถึงพระพิมพ์อสนีบาต (เขียนตามพจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตสถาน แปลว่าฟ้าผ่า) ซึ่งมีหลายพิมพ์เช่นพิมพ์ใหญ่ พิมพ์อรหัง ฯลฯ แถมท่าน อ.ประถมฯ ก็ได้เห็นด้วยที่ทุนนิธิฯ ได้ริเริ่มให้มีการสอนให้รู้ประวัติพระพิมพ์ การดู และการวิเคราะห์เนื้อหาในพระพิมพ์ต่างๆ เช่นพระพิมพ์สมเด็จปัญจสิริ พระพิมพ์สมเด็จเจ้าคุณกรมท่าฯ พระพิมพ์สมเด็จปีระกาฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะได้ขยายองก์ความรู้กันมากขึ้นไปอีก เพราะนี่คือสิ่งที่บรรพชน ผู้มีเอนกชาติคุณต่อชาติและพระศาสนาได้กรุณาสร้างไว้ให้เรารุ่นหลังไว้บูชาและคุ้มตัว เสร็จแล้ว มีลูกศิษย์อาจารย์คือพี่สิทธิพร ควักพระพิมพ์มาให้ดูองค์หนึ่ง ซึ่งดูยังไงก็เป็นพระพิมพ์มงคลมหาลาภของวัดสัมพันธวงศ์ เพียงแต่ว่าเป็นเนื้อผงสีช๊อคโกแลต ไม่ใช่ผงสีขาว ท่าน อ.ประถมฯ ได้กรุณาเปิดเผยความลับของพระพิมพ์นี้องค์นี้ให้ฟังว่า พระผงพิมพ์นี้ ใช้แม่พิมพ์ของวัดสัมพันธวงศ์เหมือนกับพระพิมพ์มงคลมหาลาภ แต่เนื้อหาได้ผสมผงของวัดสัมพันธวงศ์เอง ผสมกับเกศาธาตุของหลวงปู่แหวน และจัดสร้างโดยพระครูวินัยธร ชินเทพ แห่งวัดสัมพันธ์วงศ์ สร้างเสร็จก็รับหน้าที่นำให้ท่านหลวงปู่แหวนอธิษฐานจิต ซึ่งไม่เกี่ยวกับพระผงมงคลมหาลาภแต่อย่างใด แต่หากเจอในสนามแล้วไซร้ ให้เก็บไว้เลยเป็นพระแท้ ผ่านการอธิษฐานจิตจากหลวงปู่แหวน ราคาขณะนี้ไม่เกิน 200.-บาท ครับ องค์จริงตอนนี้อยู่กับผมแล้ว วันอาทิตย์นี้นักเรียนดูพระได้ดูองค์จริงที่ รพ.สงฆ์กันครับ องค์เล็กสวยมาก


    ข้อมูลตามข้างล่างนี้ กับประวัติกับรูปพระพิมพ์ตามที่ อ.ประถมฯ เล่าให้ฟังคนละเรื่องกันครับ (พระมงคลมหาลาภตามพิธีเสกที่เชิญโสฬสมหาพรหมลงมาผงเป็นสีขาว ส่วนผงของวัดสัมพันธวงศ์ที่ผสมเกศาธาตุของหลวงปู่แหวน แล้วอธิษฐานจิตโดยหลวงปู่แหวน เป็นตามรูปด้านล่างนี้ครับ)


    ประวัติพระมงคลมหาลาภ พ.ศ.2499 ของวัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
    <!-- Main -->[SIZE=-1]พระมงคลมหาลาภ พ.ศ.2499[/SIZE]

    [SIZE=-1]ของวัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร[/SIZE]

    [SIZE=-1]เป็นพระสมเด็จแบบสมเด็จพระพุฒาจารย์ พระแบบสมเด็จพระพุฒาจารย์ [/SIZE]

    [SIZE=-1]พระพุทโธเล็ก พระวัดตะไกร และพระแบบวัดนางพระยา ฯลฯ[/SIZE]

    [SIZE=-1]พระเครื่องเหล่านี้สร้างเป็นที่ระลึกในงานสมโภชพระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี [/SIZE]

    [SIZE=-1]ซึ่งสร้างที่ วัดสัมพันธวงศ์ พระนคร แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานเป็นพระประธาน [/SIZE]

    [SIZE=-1]ณ วัดสารนาถธรรมราม อ.แกลง จ.ระยอง พร้อมด้วยพระอัครสาวกซ้ายขวา [/SIZE]

    [SIZE=-1]เมื่อวันที่ 5-31 มีนาคม 2495นั้น บางท่านยังไปทราบประวัติที่ควรทราบ [/SIZE]

    [SIZE=-1]ซึ่งเป็นเหตุจะให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา เพื่อได้เคารพบูชาแนบแน่น [/SIZE]

    [SIZE=-1]สมกับเป็นปูชนียวัตถุที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นมงคลเหตุเครื่องเจริญอายุ วรรณะ พละ แลลาภยศ สรรญเสริญ สมบัติเกียรติศักดิ์ แลคุณธรรม คือเป็นสือสำคัญที่ที่จะให้เข้าถึงอิฐผลนั้นๆ อันนับว่าเป็นกำลังอันยิ่งใหญ่สำหรับชีวิต สามารถให้ถึงภาวะอันเป็นอิสระเต็มที่ มีความเกษมนิรันดร[/SIZE]

    [SIZE=-1]เมื่อสร้างแจ้งให้ทราบแต่การประกอบพิธีบันจุพุทธมนต์ เป็นพิเศษที่ยิ่งใหญ่โดยสังเขป [/SIZE]

    [SIZE=-1]ซึ่งยังไม่เคยเห็นทำที่ไหน คือจัดที่บูชาพร้อมเครื่องสังเวยต่างๆมีเทียนธูป [/SIZE]

    [SIZE=-1]ข้าวตอก ดอกไม้7สี แลอาหารผลไม้ถึงอย่างละ 375 ที่มีเบญจา มีเศวตฉัตร 9 ชั้น [/SIZE]

    [SIZE=-1]สูง 6 ศอก 8 ต้น บายศรีเงิน-บายศรีทอง 9 ชั้น สูง 6 ศอก อย่างละ 8 ต้น [/SIZE]

    [SIZE=-1]บันจุพระพุทธมนต์ลงไปในน้ำ และผงที่จะสร้างพระนั้น โดยนิมนต์อาจารย์[/SIZE]

    [SIZE=-1]ผู้มีชื่อเสียงหลายวัดทำพิธีประจุมนต์ เข้าพิธีปลุกเสกมีพระเกจิที่มีชื่อเสียงเช่น[/SIZE]

    [SIZE=-1]พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) วัดบวรนิเวศวิหาร[/SIZE]

    [SIZE=-1]พระวรเวทย์คุณาจารย์ (เมี้ยน ปภสสโร) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม[/SIZE]

    [SIZE=-1]พระมหารัชชมังคลาจารย์[/SIZE]

    [SIZE=-1]พระมงคลเทพมุนนี จนฺทสโร (สด มีแก้วน้อย) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ[/SIZE]

    [SIZE=-1]พระครูวินัยธรเฟื้อง (ญาณปปทีโป)[/SIZE]

    [SIZE=-1]หลวงพ่อลี วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ (ช่วยทำพิธีและประสานงานด้วย)[/SIZE]

    [SIZE=-1]พระสอาด อภิวัฑฒโน วัดสัมพันธวงศ์[/SIZE]

    [SIZE=-1]พระครูนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา[/SIZE]

    [SIZE=-1]พระอาจารย์บุ่ง วัดใหม่ทองเสน[/SIZE]

    [SIZE=-1]พระชอบ สัมจารี วัดอาวุธวิธกสิตาราม ธนบุรี เป็นต้น[/SIZE]

    [SIZE=-1]พร้อมด้วยบันจุเทพมนต์พรหมมนต์ โดยเชิญเทพแลพรหมผู้มีชื่อเสียงเก่าๆ [/SIZE]

    [SIZE=-1]มาเข้าพิธีอธิษฐานบันจุมนต์ลงด้วย และบันจุมนต์โยคีโดยโยคีฮาเร็บ [/SIZE]

    [SIZE=-1](อาจารย์ชื่น จันทรเพ็ชร) ผู้มีชื่อเสียงและ พ.ต.อ.ชะลอ อุทกภาชน์ [/SIZE]

    [SIZE=-1]ผู้เป็นศิษย์เป็นผู้ทำพิธีบรรจุ เสร็จพิธีแล้ว จึงได้ใช้ผงประสมทำเป็น[/SIZE]

    [SIZE=-1]องค์พระได้มงคลฤกษ์ จึงได้ทำพิธีปลุกเสกพระเครื่องนั้นอีกครั้งหนึ่ง[/SIZE]

    [SIZE=-1]พระเครื่องที่จะทำพิธีปลุกเสกนั้น ห่อด้วยผ้าขาว 7 ชั้น ผ้าเขียว 7 ชั้น [/SIZE]

    [SIZE=-1]พิธีนอกนั้นเหมือนเมื่อเมื่อบันจุมนต์ลงในผงแลน้ำที่ จะสร้างพระ [/SIZE]

    [SIZE=-1]ตั้งน้ำมนต์สำหรับแจกผู้ที่ต้องการซึ่งมาร่วมพิธี 40 ตุ่ม แต่ไม่ได้กล่าวถึงผงที่นำมาประสมสร้างพระนั้นว่ามีอะไรบ้าง [/SIZE]

    [SIZE=-1]มีผู้สนใจต้องการทราบอยู่เป็นจำนวนมา จึงสมควรเขียนประวัติ [/SIZE]

    [SIZE=-1]เนื่องด้วยผงที่นำมาประสมสร้างพระเครื่องนั้น ให้ท่านทราบไว้ด้วย ดังต่อไปนี้[/SIZE]

    [SIZE=-1]1.ผงขอจากพระอาจารย์ต่างๆ ที่ท่านทำและรวบรวมไว้หลายวัด [/SIZE]

    [SIZE=-1]เช่น วัดพระเชตุพน วัดตรีทศเทพ และวัดสัมพันธวงศ์ ฯลฯ [/SIZE]

    [SIZE=-1]ผงแป้งที่ทำเลผงจากพระของเก่าบ้าง[/SIZE]

    [SIZE=-1]2.ผงพระที่ทำด้วยว่านต่างๆ ที่นิยมว่าเป็นมงคลศักดิ์สิทธิ์ 108 อย่าง [/SIZE]

    [SIZE=-1]ทำจากดอกไม้บูชาพระต่างๆ 108 อย่าง[/SIZE]

    [SIZE=-1]3.ผงที่ทำด้วยดินจากท่าน้ำ 7 ท่าและจากสระน้ำ 7 สระ[/SIZE]

    [SIZE=-1]4.ผงที่ทำด้วยเอาคัมภีร์เก่าๆ ทั้งใบลานและสมุดข่อยมาเผาบด ตั้งแต่หมายเลข 1-5 นี้ประสมสร้างพระผงรุ่นก่อนแล้วเอามาบดผสมเข้ากัน กับผงใหม่ที่นำมาเข้าพิธีด้วย[/SIZE]

    [SIZE=-1]5.ผงที่ได้จากดินสังเวยชนียสถาน 4 แห่งในอินเดียคือ[/SIZE]

    [SIZE=-1]5.1 ดินที่ลุมพินีระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และเทวทหะ ซึงเป็นที่ประสูติของพระพุทธเจ้า[/SIZE]

    [SIZE=-1]5.2 ดินที่มหาโพธิ์ พุทธคยาที่ตรัสรู้[/SIZE]

    [SIZE=-1]5.3 ดินที่สารนาถ มฤคทายวัน เมืองพาราณสี ซึ่งเป็นที่พระพุทธเจ้า[/SIZE]

    [SIZE=-1]ทรงแสดงธรรมจักร 5.4 ดินที่กุสินารา ซึ่งเป็นที่พระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพาน[/SIZE]

    [SIZE=-1]6.ดินจากสถานที่สำคัญ 9 แห่ง คือดินจากสถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จ[/SIZE]

    [SIZE=-1]เสวยวิมุตติสุข 7 แห่ง บริเวณพุทธคยา มีที่รัตนะจงกลม แลที่สระมุจลิน [/SIZE]

    [SIZE=-1]เป็นต้น แลดินที่พระคันธกุฏีที่ประทับของพระพุทธเจ้าที่บนเขา คิชกูฏ [/SIZE]

    [SIZE=-1](เมืองราชคฤห์) ดินที่ที่พระคันธกุฏีที่ประทับในเมืองสาวัตถี ซึ่งพระครูสุภารพินิจ (โทน สุขพโล) วัดสัมพันธวงศ์ [/SIZE]
    [SIZE=-1]ได้ไปนมัสการปูชนียสถานนั้นๆ และได้นำมาเมื่อปี พ.ศ.2497 [/SIZE]

    [SIZE=-1]ผู้ที่มีพระเครื่องแบบพุทธมงคลมหาลาภ พระแบบสมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นต้นไว้บูชา เป็นอันได้ระลึกถึงแลบูชา สังเวชนียสถาน[/SIZE]

    [SIZE=-1]7.ผงปูนหินขาว ราชบุรี[/SIZE]

    [SIZE=-1]8.ผงปูนซีเมนต์ขาว และนอกจากนี้ ก็ยังมีดินเหนียวอย่างดี สีเหลือง และน้ำอ้อยเป็นต้น[/SIZE]

    [SIZE=-1]ผงเหล่านี้นั้น ประสมกันมากบ้างน้อยมาก แล้วบดให้ละเอียดแร่งกรองด้วยผ้าป่าน สำเร็จเป็นผงที่จะสร้างพระเครื่องใช้น้ำมนต์ที่ทำไว้ นั้นประสมกับของที่จะทำพระให้[/SIZE]

    [SIZE=-1]พระมีคุณภาพดี สวยงามทนทาน ศักดิ์สิทธิ์ต่อไป ประสมผงพิมพ์เป็นรูปพระพุทธมงคลมหาลาภบ้าง สมเด็จบ้าง[/SIZE]

    [SIZE=-1]ส่วนพระเครื่องอื่นสร้างด้วยดินประสมผงเผาแล้วนำมา [/SIZE]

    [SIZE=-1]เข้าพิธีปลุกเสกในคราวเดียวกันกับพระพุทธมงคลมหาลาภ [/SIZE]

    [SIZE=-1]เสร็จแล้วแจกจ่ายในงานสมโภชพระพุทโธภาสชินราชจอมมุนี พร้อมด้วยพระอัครสาวก ในการต่อมา พระเครื่องเหล่านี้ [/SIZE]

    [SIZE=-1]เมื่อแจกจ่ายแก่ผู้จำนงในงานผูกพัทธสีมา อุโบสวัดสารนาถธรรมารามแล้ว [/SIZE]

    [SIZE=-1]ก็จะได้จัดการทำบันจุในอุโบสถ หรือเจดีย์ตามสมควรเพื่อเป็นมิ่งขวัญแก่สารนาถธรรมาราม อันเป็นมหาปูชนียสถานในกาลต่อไปฯ[/SIZE]

    [SIZE=-1]พระมหารัชชมังคลาจารย์ ( เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ )[/SIZE]

    [SIZE=-1]ข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับพระมงคลมหาลาภ[/SIZE]

    [SIZE=-1]เป็นพระนาคปรกสี่เหลี่ยม เนื้อผงขาว (และส่วนผสมดังกล่าวแล้ว) [/SIZE]

    [SIZE=-1]ด้านหลังเป็นยันต์เฑาะดอกบัว อะอุมะ พิมพ์ใหญ่กลางเล็ก จำนวน 84,000 องค์ ซึ่ง “พระรัชชมงคลมุนี” (พระมหารัชชมังคลาจารย์) [/SIZE]

    [SIZE=-1]อดีตเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ ได้มอบให้ “พระชอบ สัมมาจารี” วัดอาวุธวิกสิตาราม กรุงเทพฯ สร้าง เพื่อนำมาแจกในงานสมโภชพระประธาน [/SIZE]

    [SIZE=-1]โดยส่ง “ผงอิทธิเจ ผงพุทธคุณต่าง ๆ เป็นแท่ง ๆ ประทับตรา “วัดสัมพันธวงศ์” ให้นำมาผสม โดยเรียก “พระนาคปรก” นี้ว่า “พระมงคลมหาลาภ” ซึ่งมีชื่อของท่านคือ [/SIZE]

    [SIZE=-1]“พระรัชชมงคลมุนี” อยู่ในชื่อพระด้วย ในพิธีนี้แม่ชีบุญเรืยนได้อธิษฐานจิตร่วมอยู่ในพิธีด ้วย[/SIZE]

    [SIZE=-1]หลวงพ่อลี วัดอโศกการาม จ.สมุทรปราการ องค์ประสานงานพิธีพุทธาภิเษกครั้งนี้ [/SIZE]

    [SIZE=-1]ได้บอกศิษย์ว่า “พระผงนี้ดีมาก มีรังสี สีขาว และเหลืองกระจายออกสว่างไสว” [/SIZE]

    [SIZE=-1]นอกนั้น ท่านยังได้ขอพระผงมงคลมหาลาภที่ชำรุดประมาณ 1 บาตรพระ นำไปบดใส่ “พระใบโพธิ์เนื้อดิน พ.ศ. 2500”ของท่านด้วย ขนาดขององค์พระ พิมพ์ใหญ่ ฐานกว้างประมาณ 2.5-3.8 ซม. หนา 0.5 ซม. [/SIZE]

    [SIZE=-1]พิมพ์เล็ก ฐานกว้างประมาณ 2.2-2.5 ซม. หนา 0.5 ซม. [/SIZE]

    [SIZE=-1]ด้านหลัง มีตราวัดสัมพันธวงศ์ “เฑาะรัศมีดอกบัว อ.อุ.ม. ประทับลงในเนื้อเป็นตรารูปไข่ [/SIZE]

    [SIZE=-1]ขนาดของ ความหนาไม่แน่นอน หนาบ้าง บางเฉียบบ้าง แล้วแต่ขนาด[/SIZE]

    [SIZE=-1]พระพิมพ์นี้ คนระยอง คนจันทบุรี คนตราด อีกทั้งชาวประมงแถบภาคตะวันออก ห้อยองค์เดียวรู้ถึงพุทธคุณเป็นอย่างดีโดยเฉพาะช่วงท ี่มีใต้ฝุ่นเข้าแหลมตะลุมพุก ผู้ที่แขวนพระองค์นี้ลอยอย่างปาฏิหาริย์ จึงเป็นที่แสวงหากันมาก[/SIZE]

    [SIZE=-1]ข้อมูลจากคำบอกเล่าของท่านเจ้าคุณ พระราชรัชมงคลโกวิท[/SIZE]

    [SIZE=-1]พระราชรัชมงคลโกวิท เจ้าอาวาสวัดสารนาถธรรมาราม จ.ระยอง องค์ปัจจุบัน [/SIZE]

    [SIZE=-1]เล่าว่า พิธีพุทธาภิเษกครั้งนี้ พระกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทตโต [/SIZE]

    [SIZE=-1]กว่าร้อยรูป มี พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์วัน อุตตโม พระอาจารย์ลี วัดอโศการาม [/SIZE]

    [SIZE=-1]เป็นต้น ทำพิธีนั่งปรกพุทธาภิเษกพระประธาน และพระเครื่องต่าง ๆ [/SIZE]

    [SIZE=-1]มีพระมงคลมหาลาภ พระพุทโธน้อย เป็นต้น โดยทำพิธี 18 วัน 18 คืน [/SIZE]

    [SIZE=-1]ท่านเล่าต่ออีกว่า ในชีวิตที่ท่านเกิดมา ยังไม่เคยเห็นพิธีพุทธาภิเษกที่ไหนใหญ่โตเท่าครั้งนี้อีกเลย(ปัจจุบันท่านอายุ 80 ปี) [/SIZE]
    [SIZE=-1][​IMG][/SIZE]
    [SIZE=-1][​IMG][​IMG][/SIZE]
    [SIZE=-1][​IMG][​IMG][/SIZE]

    เรื่องประกอบพร้อมรูปภาพพระพิมพ์ฯ นำมาจาก
    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=apps
    <!-- End main-->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กรกฎาคม 2008
  16. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    หลวงปู่มั่นกล่าวถึง "พิธีปลุกเสกพระพุทธรูป"

    [​IMG]


    ปฏิปทาของหลวงปู่มั่นทอดสะพานให้ลูกๆหลานๆ ยังมีอีกมากมายนัก การเรี่ยไรแผ่ๆขอๆ ในทางตรง

    และทางอ้อม และจัดงานขึ้นในวัดเพื่อหารายได้สมทบทุนการก่อสร้างหรือซ่อมแซมเกี่ยวกับตัวเงินๆ ไม่มี

    ในขันธสันดานขององค์หลวงปู่เลย เครื่องรางของขลังไม่มีในปฏิปทา รูปเหรียญขายพระเล็พระน้อยพุทธา

    ภิเษกก็ไม่มีในปฏิปทาขององค์ท่านเลยนา วิชาปลุกเสกแกะหู แกะตา แคะหูแคะตาให้พระพุทธรูป หรือทำ

    พิธีบวชให้พระพุทธรูป ก็ไม่มีในสันติวิธีขององค์ท่าน



    องค์ท่านกล่าวว่า " สมมุติเป็นพระพุทธรูปแล้วก็เสร็จกัน เราดีอย่างไรจึงจะไปบวชให้องค์ท่าน

    องค์ท่านบวชก่อนเราแล้ว เราดีอย่างไรจึงจะไปปลุกท่านให้ตื่น ท่านตื่นก่อนเราเข้าสู่อนุปาทิเส

    สนิพพานแล้ว เราดีอย่างไรจึงจะไปแคะหูแคะตาให้องค์ท่าน ตานอกตาใน หูนอกหูในขององค์

    ท่านดีก่วาเราแล้ว จะภิเษกภิษันให้องค์ท่านเป็นอะไรอีก องค์ท่านเป็นพระพุทธเจ้าเต็มภาคภูมิ

    แล้ว จะเอาไสยศาสตร์ไปพอกไปทาองค์ท่านทำไม นั้นแหละเป็นตัวบาป นั้นแหละขุมนรก ขุม

    มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดเต็มภาคภูมิแล้วยังสำคัญว่าเห็นชอบ เข้าข้างตัวเองแต่ไม่เข้าข้างธรรมวินัย

    เพียงเท่านี้ก็ยังไม่รู้จักผิดรู้จักถูกแล้ว ธรรมอันละเอียดลออก็ยังมีขึ้นไปกว่านี้มากไฉนจะรู้ได้"



    พูดไปมากเป็นภัย แต่มีประโยชนแก่นักปราชญ์ แต่บาดหูผู้ไม่ชอบ และจะถูกกล่าวตู่ว่าขัด

    ขวางรายได้แห่งวัตถุตัว ง. แต่เมื่อไม่พูดยามมีชีวิตอยู่ก็ไม่รู้จะพูดเวลาไหน เพราะตายแล้วพูด

    ไม่ได้ และคนเราเป็นส่วนมากมักจะเข้าใจผิดไป


    ที่มา - หนังสือหลวงปู่หล้า เขมปัตโต
     
  17. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    “คนเรามันรักสุข เกลียดทุกข์นี่ หนักก็หนักอยู่ตรงนี้แหละ ไม่รับความจริง” เราเกิดมา นินทา สรรเสริญก็ดี อย่าไปรับเอามาหมักไว้ในใจ ปล่อยผ่านไปเสีย…ความรัก ความชัง ความโลภ ความหลง เกิดขึ้นก็เพราะกิเลสมันเสวนากันอยู่…จาโค ปฏินิสฺสคฺโค สละคืนถอนออกจากใจนี้เสีย…

    หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

    ขอขอบคุณ www.pranippan.com
     
  18. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0 color="#000000"><TBODY><TR><TD align=middle width="100%" colSpan=2 height=80><CENTER>มหาชนก ๕ </CENTER><TR><TD align=middle width="100%" colSpan=2 height=80>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle width="100%" colSpan=2 height=40></TD></TR><TR><TD width="100%">
    <TABLE borderColor=#663300 width=850 border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff>[​IMG] แล้วตรัสให้คนไปรับพระมารดามาจากเมืองกาลจัมปา พร้อมกับให้รางวัลท่านอาจารย์ที่มารดาของพระองค์ไปอาศัยอยู่ ความจริงได้ปรากฎออกมาว่าพระองค์ไม่ใช่ใครอื่นเลยแท้ที่จริงเป็นพระโอรสชองพระเจ้าอริฎฐาชนกนั่นเอง แล้วจึงให้มีการสมโภชในการเสวยราชสมบัติ เมื่อออยู่พระองค์เดียวก็ทรงรำพึงว่า เพราะพระองค์ไม่ทอดทิ้งความเพียรพยายามในการที่เอาตัวรอดจากภัยอันตรายจึงได้ประสบสุขถึงเพียงนี้ ฉะนั้นเกิดเป็นคนควรพยายามเรื่อยไปจนกว่าจะสำเร็จความประสงค์ พระองค์ได้เสวยราชสมบัติอยู่ช้านาน จนมีพระโอรสทรงพระนามว่า ทีฆาวุ เมื่ออายุเจริญวัยแล้วก็ได้ตั้งให้เป็นอุปราช </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE borderColor=#663300 width=850 border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff>[​IMG] [​IMG] [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#a8defb width=850 border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff>วันหนึ่งเจ้าพนักงานพระอุทยาน ได้นำพืชพรรณชนิดต่าง ๆ มาถวาย ทรงถามได้ความว่า นำมาจากพระราชอุทยานก็คิดจะไปประพาส จึงตรัสสั่งให้ข้าราชบริพารจัดกระบวนไปเสด็จประพาส ในขณะที่ทรงช้างเสด็จถึงประตูสวนก็เห็นมะม่วงต้นหนึ่งมีลูกดก แลดูเต็มต้นไปทั้งต้น กำลังอยากเลยเสด็จลุกขึ้นยืนบนหลังช้าง เก็บมะม่วงลูกหนึ่งมาเสวย แล้วก็เลยเข้าไปประพาสในพระราชอุทยาน ทรงสำราญอยู่ในพระราชอุทยานนั้นจนกระทั่งเย็นจึงเสด็จออกมา พอถึงประตูสวน พระองค์ก็แปลกพระทัยเพราะปรากฎว่ามาม่วงต้นที่มีลูกเต็มไปหมดนั้น จะหาแม้แต่ลูกเดียวก็ไม่พบ แถมข้างล่างยังเต็มไปด้วยกิ่งก้านสาขาที่หัก ใบอ่อนใบแก่หล่นเกลื่อนกลาดไปทั้งบริเวณโคนต้น จึงตรัสถามผู้รักษาสวนว่าเป็นเพราะเหตุอะไรจึงเป็นเช่นนั้น เขากราบทูลให้ทราบว่า เพราะประชาชนเห็นว่ามะม่วงต้นนั้นพระองค์เสวยแล้ว เขาพากันมาเก็บ ต่างยื้อแย่งกัน สภาพของต้นมะม่วงจึงเป็นอย่างที่ทอดพระเนตรบัดนี้ พระองค์ได้ทรงสดับ จึงเกิดความคิดขึ้นว่า มะม่วงต้นนี้เพราะมีลูกจึงต้องมีสภาพเช่นนี้ ถ้าไม่มีลูกก็คงจะไม่ต้องหักยับเยินอย่างนี้ ถ้าเราไม่มีราช สมบัติเสียก็จะหาคนปองร้ายมิได้ พระราชาเสด็จพระนคร เสด็จขึ้นปราสาท. ประทับที่พระทวารปราสาท ทรงมนสิการถึงวาจาของนางมณีเมขลา ในกาลที่นางอุ้มพระมหาสัตว์ขึ้นจากมหาสมุทร. พระราชาทรงจดจำคำพูดของเทวดาไม่ได้ทุกถ้วยคำ เพราะพระสรีระเศร้าหมองด้วยน้ำเค็มตลอดเจ็ดวัน. แต่ทรงทราบว่า เทวดากล่าวชี้ว่าพระองค์จะยังเข้ามรรคาแห่งความสุขไม่ได้ หากไม่กล่าวธรรมให้สาธุชนได้สดับ.
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE borderColor=#663300 width=850 border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff>[​IMG]
    นางมณีเมขลาให้พระองค์ตั้งสถาบันการศึกษา ให้ชื่อว่า ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย. แม้ในกาลนั้นก็จะสำเร็จกิจและได้มรรคาแห่งบรมสุข. พระมหาสัตว์ทรงดำริว่า : "ทุกบุคคลจะเป็นพ่อค้าวาณิช เกษตรกร กษัตริย์ หรือสมณะ ต้องทำหน้าที่ทั้งนั้น. อย่างไรก็ตาม ก่อนอื่นเราต้องหาทางฟื้นฟูต้นมะม่วงที่มีผล. เมื่อพระองค์ดำริฉะนี้แล้ว พอเสด็จเข้ามาถึงพระราชวังก็ตรัสเรียกอำมาตย์มาสั่งว่า
    “ต่อไปนี้ไปปราสาทของเราห้ามคนไปมา นอกจากผู้ที่จะนำอาหารเข้ามาให้เราเท่านั้น เมื่อมีราชกิจใดมีมาพวกท่านจงช่วยกันพิจารณาจัดไปตามความคิด เราจะจำศีลภาวนาสักระยะหนึ่ง” และนับแต่นั้น พระมหาชนกก็บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในพระปรางค์ประสาทมิได้เสด็จไปทางใดเลย พวกพสกนิกรทั้งหลายพากันสงสัยสนเท่ห์ว่าพระราชาของพวกเขาเสด็จไปอยู่แห่งใด เคยสนุกสนานรื่นเริงในการดูมหรสพก็มิได้มี
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE borderColor=#663300 width=850 border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff>[​IMG]
    บัดนี้พระองค์ไปที่ใดหรือจะสิ้นพระชนม์เสียแล้ว พากันปรับทุกข์และเล่าลือไปต่าง ๆ นานา แม้จะมีเสียงเล่าลือใด ๆ แต่พระองค์ตรัสห้ามข่าวสารทั้งปวงสิ้น เมื่อบำเพ็ญสมธรรมอยู่ในปราสาทนาน ๆ เข้าก็คิดจะออกไปอยู่ป่า เพราะในพระราชวังยังมีเสียงอื้ออึงไม่มีความสงบ วันหนึ่งนายกัลบกมาเพื่อชำระพระเกศา พระมัสสุได้ทรงตรัสให้ปลงเสียทั้งหมด แล้วทรงนุ่งห่ทผ้ากาสาวะ เสด็จประทับอยู่ในปราสาท ตั้งพระทัยว่ารุ่งขึ้นจะเสด็จออกไปบำเพ็ญพรตในป่า ในวันนั้นเองพระสิวลีเทวีผู้อัครชายา คิดว่าเรามิได้พบเห็นพระสวามีของเราถึง ๕ เดือนแล้ว ควรจะไปเยี่ยมเยือนเสียที จึงสั่งให้นางสนมกำนัลตกแต่งร่างกาย แล้วพาไป ณ ปรางค์ปราสาทของพระเจ้ามหาชนก พอย่างขึ้นบนปรางค์ปราสาทก็ให้นึกเอะใจ เพราะปรากฎว่าเส้นพระเกศาซึ่งนายภูษามาลาเก็บรวบรวมไว้ยังมิได้นำไปที่อื่น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    เพิ่งรู้เหมือนกัน.....นี่ล่ะทำให้ใจเยือกเย็น และบุญเต็ม ก็เพราะเต็มใจ และตั้งใจมาตั้งแต่ต้นนั่นเอง

    วิธีพับดอกบัวถวายพระ 15 แบบ

    <!-- Main -->[SIZE=-1]<CENTER>ดีใจจังได้แบบวิธีพับดอกบัว กะว่าจะเอาไปให้แม่ดูเป็นตัวอย่างค่ะ [​IMG]

    1. ดาวกระจาย

    [​IMG]

    2. ตรีมณี

    [​IMG]

    3. บานพับ (อันนี้ตั้งเองค่ะ)

    [​IMG]

    4. สุโขทัย

    [​IMG]

    5. สุวรรณี

    [​IMG]

    6. เดือนฉาย

    [​IMG]

    7. เล็บครุฑ

    [​IMG]

    8. กมลฉัตร

    [​IMG]

    9. กลีบพิกุล

    [​IMG]

    10. กลีบพุดตาน

    [​IMG]

    11. กลีบมรกต

    [​IMG]

    12. กังหัน

    [​IMG]

    13. ตรีรัตน์

    [​IMG]

    14. บานชื่น

    [​IMG]

    15. มะลิ

    [​IMG]


    ขอขอบคุณเว็บฟังธรรม
    </CENTER><CENTER>http://www.fungdham.com
    และ http://picasaweb.google.com/dhammavoice/
    [/SIZE]</CENTER>
     
  20. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    เสี่ยบุญหลาย ตัวไม่เหมือนใคร แต่หัวใจไม่พิการ ....... เรื่องของคนดี ๆ เราต้องเก็บไว้


    <!-- Main -->[SIZE=-1]<CENTER>[​IMG][/SIZE]

    [SIZE=-1][​IMG][/SIZE]

    [SIZE=-1][​IMG]</CENTER>[/SIZE]

    [SIZE=-1]ในขณะที่คนปกติ มีอวัยวะครบ 32 กำลังท้อแท้สิ้นหวังกับชีวิต แต่ในมุมเล็กๆ ของอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร กลับมีอีกชีวิตหนึ่งที่แม้ว่าร่างกายไม่สมประกอบ แต่หัวใจของ "บุญหลาย" พ่อค้าเร่แห่งบ้านหนองเลิงคำ กลับไม่เคยย่อท้อในความไม่สมบูรณ์ของตัวเอง ตรงกันข้ามเขากลับมีหัวใจที่ยิ่งใหญ่ และเป็น "เสี่ย" ที่หลายๆ คนรักใคร่ [/SIZE]

    [SIZE=-1]เด็กชายบุญหลายเติบโตขึ้นมาท่ามกลางความยากจนข้นแค้นของครอบครัว นางทองฉัน บุญแสง หญิงชาวนา วัย 54 ปี บอกเล่าเรื่องราวของ บุญหลาย หรือ โชติ ลูกชายคนสุดท้องให้ฟังว่า เมื่อ 25 ปีก่อน หลังให้กำเนิดลูกคนนี้มาเพียงเจ็ดวัน เขาก็เกิดอาการชัก ตัวเกร็ง ซีดเหลือง กัดฟันแน่น พาไปหาหมอทั้งทางการแพทย์และไสยศาสตร์ ก็ไม่สามารถบอกได้ว่าเขาเป็นโรคอะไร จนกระทั่งเขาอายุได้ 12 ปี ก็เกิดอาการชักขึ้นอีก ตอนนั้นโรงพยาบาลประจำอำเภอเพิ่งสร้าง เราเลยพาไปหา หมอก็บอกว่าอาการที่เกิดกับเขาคือ "โรคพิการทางสมอง" [/SIZE]



    [SIZE=-1]<CENTER>[​IMG]</CENTER>[/SIZE]

    [SIZE=-1]นอกจากเรื่องอาการชักที่ติดตัวมาแต่กำเนิด บุญหลาย ยังมีพัฒนาการและการเคลื่อนไหวทางร่างกายที่ช้ากว่าเด็กคนอื่น สองขาที่เล็กลีบ รวมทั้งสมองที่สั่งการช้ากว่าปกติ ทำให้เขาเดินเหิน และสื่อสารกับคนทั่วไปได้ไม่สะดวกนัก และทันทีที่ บุญหลาย เดินได้ในวัยแปดขวบ ทองฉัน ตัดสินใจนำลูกชายเข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนในหมู่บ้าน ทว่าเมื่อเวลาผ่านไปเพียงเจ็ดวัน ครูใหญ่ของโรงเรียนก็มาหาที่บ้าน บอกว่าไม่สามารถให้บุญหลายร่วมชั้นเรียนได้ เพราะเขาไม่ยอมหยุดเดินในขณะเรียน ครูว่าก็ไม่ยอมนั่ง ทำให้เพื่อนๆ ในห้องไม่ได้เรียน และหลังลูกชายสิ้นสุดชีวิตการเป็นนักเรียนแค่เพียงเจ็ดวัน ชาวนาการศึกษา ป.4 อย่างทองฉันก็หันมาสอนหนังสือขั้นพื้นฐานให้ลูกเอง เท่าที่ความรู้ความสามารถจะเอื้ออำนวย โดยใช้เวลาตอนกลางคืนหลังกลับจากทำนา [/SIZE]

    [SIZE=-1]"เขาเขียนหนังสือไม่ได้ ถึงตอนนี้ก็ยังเขียนไม่ได้ ถ้าลองให้เขียนชื่อตัวเองนี่ คือเต็มหน้ากระดาษเลยนะ เพราะมือเขาแข็งเกร็ง ไม่ใช่แค่เรื่องการเขียนนะ แต่เรื่องการสะกดคำหรืออะไรที่เกี่ยวกับตัวอักษรนี่หัวเขาจะไม่รับแล้วก็ไม่สนใจเลย" นางทองฉัน กล่าว [/SIZE]



    [SIZE=-1]<CENTER>[​IMG][/SIZE]

    [SIZE=-1][​IMG]</CENTER>[/SIZE]

    [SIZE=-1]อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความไม่สมบูรณ์ กลับมีบางสิ่งบางอย่างที่บุญหลายพอจะเข้าใจมันได้อย่างรวดเร็ว และสิ่งนั้นก็กลายเป็นพื้นฐานที่ทำให้เขาหาเลี้ยงชีพ และยืนอยู่บนลำแข้งของตัวเองได้อย่างทระนงองอาจ ทั้งๆ ที่ชีวิตอาจไม่ได้โสภาสง่างามมากนัก [/SIZE]

    [SIZE=-1]ปัจจุบัน "บุญหลาย" ในวัยเบญจเพส มีกิจการเล็กๆ เป็นของตัวเอง ด้วยการรับซื้อพืชผักต่างๆ เช่น พริก กระเทียม มะนาว หัวหอม ฯลฯ มาตระเวนขาย เขาเรียนรู้วิชาทำอยู่ทำกินจากบุพการี สมัยเมื่ออายุได้ 14 ปี และยึดเป็นอาชีพนับแต่นั้นมา โดยก่อนหน้านี้บุญหลายช่วยพ่อแม่ขายผักได้สองสามปี ก็เริ่มหันมารับซื้อของเก่าจำพวกลวดทองแดง เศษเหล็กตามหมู่บ้าน โดยช่วงแรกนั้นเด็กชายยืมเงินพี่มาลงทุน ครั้นทำได้ไม่กี่ปีหนี้สินดังกล่าวก็หมดไป กระทั่งเริ่มมีเงินก้อนแรกเป็นของตัวเอง [/SIZE]

    [SIZE=-1]"แรกๆ เขาไปขายเอาเปอร์เซ็นต์ก่อน เจ้าของคอยเก็บตังค์อย่างเดียว เสร็จแล้วก็จะแบ่งกำไรให้บุญหลาย ซึ่งเราก็ไม่รู้หรอก มารู้อีกทีตอนที่เถ้าแก่เขาเอาเงินมาให้ เขาเอาเงินมาให้ทีเดียว 20,000 บาท แล้วบอกเงินของบุญหลาย เราเห็นก็งง ไม่กล้ารับเงิน เถ้าแก่เขาก็เลยอธิบายให้ฟัง เลยรู้ว่าเป็นของเขาจริง เถ้าแก่พวกนี้รักบุญหลายกันทุกคน พวกเขาบอกว่าบุญหลายเป็นคนซื่อสัตย์ ขยันทำงาน แล้วก็ไม่เคยโกงเงินแม้แต่บาทเดียว หลังจากทำไปได้ราวสี่ปีคนอื่นๆ หันมาทำกันมากขึ้น บุญหลายจึงเบนเข็มหันมาขายผักในตลาดแทน" ทองฉัน บอกเล่าเรื่องราวของลูกชายด้วยรอยยิ้ม [/SIZE]



    [SIZE=-1]<CENTER>[​IMG][/SIZE]

    [SIZE=-1][​IMG]</CENTER>[/SIZE]

    [SIZE=-1]ทุกๆ วัน บุญหลายจะตื่นนอนก่อนไก่ขันตั้งแต่ตีสาม ออกไปคนเดียวท่ามกลางความมืด ค่อยๆ ใช้สองขาลีบเล็กผิดรูป ปั่นจักรยานไม่มีเบรกด้วยความรวดเร็ว ขณะที่แขนข้างหนึ่งยกขึ้นปาดเหงื่อที่ไหลโซมกายเป็นระยะ สายตาจ้องมองพื้นถนนมากกว่าเส้นทางเบื้องหน้า เป็นระยะทาง 12 กิโลเมตร เพื่อเลือกซื้อของจากพ่อค้าขายส่งในตลาด แล้วนำไปขายปลีกตามหมู่บ้านต่างๆ ซึ่งแม้สินค้าของบุญหลายอาจไม่ได้ขายดีแบบเทน้ำเทท่า แต่ก็ไม่มีสักครั้งทีจะมีของเหลือติดตัวกลับมาบ้าน หากเขาไม่ได้ตั้งใจนำกลับมาให้ญาติพี่น้อง [/SIZE]

    [SIZE=-1]"มอ สระอี นอ กระเทียม มอ สระอี นอ บักนาว (มะนาว) มาแล้ว หะ... หะ... ห้าหน่วยสิบบาท เร็วว..." พ่อค้าหนุ่มลูกอีสานผู้อยู่ในทรงผมแบบบรูซ ลี กำลังป่าวประกาศเสียงดังถึงสินค้าที่อยู่ท้ายจักรยาน ซึ่งนอกจากจะสะกดคำผิดแล้ว ดูเหมือนคำว่ามะนาวกับกระเทียมของเขาจะเขียนเหมือนกันอีกต่างหาก [/SIZE]



    [SIZE=-1]<CENTER>[​IMG]</CENTER>[/SIZE]

    [SIZE=-1]สาเหตุที่สินค้าของบุญหลายขายดีจนหมดเกลี้ยงทุกวัน ไม่ได้เป็นเพราะความเห็นอกเห็นใจของผู้ซื้อ แต่ยุทธวิธีการขายแบบไม่เอากำไรมาก เน้นขายได้เยอะๆ คือ ขายถูกกว่าราคาตลาดเกือบทั่วตัว ลูกค้าส่วนใหญ่จึงหันมาซื้อของของเขา เพราะมันถูกกว่า พูดง่ายๆ ว่า กินน้อยๆ แต่กินนานๆ กินได้ตลอด [/SIZE]

    [SIZE=-1]"กำไรนิดๆ หน่อยๆ ก็พอแล้วไม่ต้องเอาม่า... ม่า... มากหรอก บางคนสนิทกัน ผมก็ถุ... แถมให้เขาบ้าง ขายแบบนี้ คนเขาก็ซื้อเราเยอะ ไม่ต้องใช้เวลานา... นา... นานก็หมด" [/SIZE]

    [SIZE=-1]นอกจากวิธีถูกเข้าว่า บุญหลายยังใช้วิธีการสับเปลี่ยนสินค้าไปตามราคาของตลาด เขาจะสำรวจราคาของอยู่ตลอดเวลาว่าช่วงไหนผักหรือผลไม้แต่ละชนิดมีราคาเท่าใด เพื่อที่จะนำสินค้าราคาถูกมาขายในช่วงนั้น ซึ่งวิธีการนี้ทำให้เขาไม่ต้องประสบภาวะข้าวยากหมากแพงดังเช่นพ่อค้าคนอื่นๆ เพราะไม่ว่าราคาข้าวของจะขึ้นลงยังไง ยอดขายและกำไรของเขาก็ยังคงอยู่เท่าเดิม [/SIZE]



    [SIZE=-1]<CENTER>[​IMG][/SIZE]

    [SIZE=-1][​IMG][/SIZE]

    [SIZE=-1][​IMG]</CENTER>[/SIZE]

    [SIZE=-1]สำหรับที่ไปที่มาของฉายา "เสี่ย" ที่ชาวเลิงนกทามอบหลายๆ คนเรียกนั้น วิเชียร เนาวนิตย์ พ่อค้าขายส่งผักเล่าว่า ผมว่าคนสมองดีๆ อย่างเราๆ นี่ยังทำงาน ยังขยันสู้เขาไม่ได้เลยนะ ของเรานี่ยังเหลือ ของเขาขายหมดทุกวัน คนที่นี่บางคนเห็นเขาขยันทำงานขายของหมด มีเงินมีทอง ทั้งๆ ที่ร่างกายไม่ดี ก็เลยแซวแล้วก็เรียกเขาติดปากว่า "เสี่ยบุญหลาย" แล้วที่เป็นเสี่ยอีกอย่าง คือ ความที่บุญหลายชอบเลี้ยงคนอื่น ใครแถว บขส. (บริษัท ขนส่ง จำกัด) อยากกินอะไรเขาก็เลี้ยงหรือเวลามีเทศกาล งานประจำปี เขาก็มักจะซื้อลูกอมเป็นถุงไปหว่านแจกที่หน้าเวทีเลย ทั้งเด็กๆ และคนแถวนั้นก็จะแย่งกันเก็บ [/SIZE]

    [SIZE=-1]นอกจากน้ำใจที่แผ่เผื่อไปถึงเพื่อนมนุษย์นอกบ้านแล้ว พ่อค้าหนุ่มรู้ดีว่าการดูแลคนอื่นจะไม่มีประโยชน์ หากคนที่บ้านไม่เคยได้รับสิ่งดีๆ จากเขา โดยทองฉันเล่าถึงวัตรปฏิบัติของลูกชายว่า ทุกวันเขาจะซื้อกับข้าวมาให้เรา บางทีก็ซื้อขนมติดไม้ติดมือมาให้หลานๆ ยิ่งถ้าช่วงต้นเดือนเขาจะซื้อของกินของใช้มาเป็นลังเผื่อเอาไว้เลย แล้วเขาไม่ได้ซื้อให้แต่พ่อกับแม่นะ พี่และญาติคนอื่นๆ เขาก็ซื้อให้ด้วย [/SIZE]


    [SIZE=-1]<CENTER>[​IMG][/SIZE]

    [SIZE=-1][​IMG]</CENTER>[/SIZE]

    [SIZE=-1]ตลอดเวลาที่ผ่านมา บุญหลายมีท่ารถบขส. เป็นบ้านหลังที่สอง มันเปรียบได้กับอาณาจักรส่วนตัวและโลกอีกใบหนึ่งของเขา แทบทุกวัน หลังบ่ายโมง หากใครต้องการพบบุญหลาย เป็นอันรู้กันว่าให้ไปหาตัวได้ที่ท่ารถ บขส. ที่นี่ชายหนุ่มจะทำตัวตามสบาย ยิ้มแย้ม แจ่มใส ซึ่งหากว่างจากการโบกรถให้ผู้โดยสาร เขาก็จะไล่แซวหยอกล้อกับพ่อค้าแม่ค้าแถวนั้นอย่างสนุกสนานเป็นกันเอง นอกจากจะมาโบกรถและไล่แซวแม่ค้าจนกลายเป็นความบันเทิงของชีวิต บุญหลายยังมาที่นี่เพื่อจะนั่งรถโดยสารออกไปดูโลกกว้าง บ่อยครั้งที่เขามักขอติดรถไปเที่ยวยังจังหวัดอื่นๆ เพราะบุญหลายเป็นหนุ่มชอบเที่ยว เขาออกเดินทางมาแล้วหลายจังหวัด ซึ่งเวลาเดินทางแต่ละครั้งเขาจะพกเงินไปเองครั้งละ 1,000-1,500 บาท ซึ่งเป็นเงินของเขาเองติดตัวไปด้วย [/SIZE]

    [SIZE=-1]"เขาบอกว่าเขาคงจะดีใจมากถ้าแม่ได้ไปเที่ยวกับเขา เพราะเขาอยากให้แม่ได้เห็นเหมือนที่เขาเห็น" ทองฉันเล่าถึงความฝันลึกๆ ของลูกชายที่มีต่อตนเอง [/SIZE]

    [SIZE=-1]ท่ามกลางลมหายใจและเวลาชีวิตที่น้อยลงทุกวัน มนุษย์ที่มีศักยภาพอันสมบูรณ์บางจำพวกกลับไม่กล้าแม้แต่จะลุกขึ้นมาใช้ชีวิตอย่างที่ตัวเองต้องการ แต่สำหรับ "บุญหลาย" หนุ่มลูกอีสานคนนี้เลือกที่จะออกไปใช้ชีวิตตามแรงปรารถนาของหัวใจ แม้ชีวิตอาจจะไม่ได้มีแต้มต่อใดๆ เลยก็ตาม[/SIZE]


    [SIZE=-1]เรื่องราวจาก blog ดีๆ ที่น่าเข้าไปเยี่ยมชม[/SIZE]
    [SIZE=-1]http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=zeri&group=25[/SIZE]
     

แชร์หน้านี้

Loading...