ขออนุญาติเปิดกระทู้เกี่ยวกับ lhc เลยละกัน

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย จักรพนธ์, 31 กรกฎาคม 2008.

  1. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    เมื่อกี้ลองถามเพื่อนฝรั่งหลายๆ คน ในหลายๆ ประเทศดูนะ ฝรั่งหลายๆ คนเ้ค้าไม่คิดว่ามันจะเกิดอะไรไม่ดีขึ้น มีฝรั่งคนหนึ่งเค้าตอบมาลองอ่านดู

    Oa
    :
    hi..havey ou heard of LHC project?
    Oa : http://www.bbc.co.uk/radio4/bigbang/
    richardowen: oh yes
    richardowen: no
    richardowen: part of my degree is physics
    Oa : really
    richardowen1000: tomorrow is just the day they turn it on
    richardowen1000: they don't start using properly until next year and it may take 10 years to find anything out

    เค้าบอกว่า พรุ่งนี้แค่เปิดเครื่องเอง เค้ายังไม่ได้เริ่มใช้อย่างเป็นเรื่องเป็นราวจนกระทั่งปีหน้า หรือบางทีอาจใช้เวลาเป็น 10 ปี เพื่อหาบางสิ่งบางอย่าง

    [​IMG]
     
  2. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left>[FONT=Tahoma,]วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11141 มติชนรายวัน


    "เซิร์น" พลิกโฉมวิทยาศาสตร์โลก ไขปริศนากำเนิดจักรวาล


    โดย เชตวัน เตือประโคน



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    ภาพทางอากาศที่ตั้งของ "เซิร์น" เส้นวงกลมสีขาวคือ ตำแหน่งของอุโมงค์ยาว 27 กม. ส่วนจุดประ คือชายแดนระหว่างตอนเหนือของฝรั่งเศสและตอนใต้ของสวิส

    </TD></TR></TBODY></TABLE>วันนี้ (10 กันยายน) นับเป็นอีกวันที่วงการวิทยาศาสตร์โลกต้องจดจำ!!

    กับคำถามมากมายที่ติดใจผู้คนมาแสนนานว่า เอกภพหรือจักรวาลเกิดจากอะไร? ประกอบขึ้นด้วยอะไรบ้าง?

    ทฤษฎี "บิ๊กแบง" (Big Bang) หรือ "การระเบิดครั้งใหญ่" เมื่อ 1.37 หมื่นล้านปีก่อน ที่ได้รับการเชื่อถือมากที่สุดว่าเป็นต้นตอของการเกิดจักรวาล ก็ยังมีช่องโหว่เรื่องสสาร (Matter) และ ปฏิสสาร (Antimatter) ที่ก่อให้เกิดการระเบิด คือโดยธรรมชาติแล้ว ทั้ง 2 มีมวลเท่ากัน แต่ประจุตรงกันข้ามกัน เมื่อเกิดปฏิกิริยาแล้วก็จะหักล้างกันเองอย่างสมบูรณ์ ไม่น่าจะมี จักรวาล กาแล็กซี่ ดวงดาว โลก หรือแม้แต่สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้

    บางครั้ง การเปิดเดิน เครื่องเร่งอนุภาคแบบหมุน (Large Hadron Collider) หรือ "LHC" ของ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปยุโรป เพื่อวิจัยและพัฒนาทางด้านนิวเคลียร์ (European Center for Nuclear Research) หรือ "เซิร์น" (CERN) อาจให้คำตอบ

    เพราะตามที่ ปีเตอร์ ฮิกก์ส (Peter Higgs) นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับอนุภาค "ฮิกก์ส" โดยพยายามอธิบายเรื่องอนุภาคพื้นฐานและแรงพื้นฐานในธรรมชาติ (ที่ก่อให้เกิดการระเบิด) ซึ่งบางอนุภาคมีมวล และบางอนุภาคที่ไม่มีมวล และการทดลอง "เซิร์น" ครั้งนี้ อาจทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้คำตอบ

    ลองจิตนาการว่า มีการลอบวางระเบิดในตู้โทรศัพท์แห่งหนึ่ง

    การทดลองของ "เซิร์น" ครั้งนี้ คือการเก็บรวบรวมหลักฐานในการระเบิด จากชิ้นส่วนต่างๆ เพื่อดูว่า ระเบิดลูกนั้นคือ ระเบิดชนิดใด ประกอบขึ้นด้วยอะไรบ้าง และในการทดลองตามทฤษฎีแล้วต้องพบอนุภาคที่เราเรียกขึ้นลอยๆ ว่า "ฮิกก์ส" ด้วย

    จึงอาจกล่าวได้ว่า การทดลองครั้งนี้ เป็นไปเพื่อพิสูจน์ทฤษฎีของนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษผู้นี้นั่นเอง

    "ทฤษฎีมีอยู่แล้ว แต่ยังขาดการทดลองสนับสนุน" อรรถกฤต ฉัตรภูมิ อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว และเล่าให้ฟังว่า การทดลองครั้งนี้ คือการเดินเครื่องเร่งอนุภาค แอลเอชซี เพื่อให้ลำอนุภาคของโปรตอน 2 ตัววิ่งมาชนกัน โดยให้โปรตอนทั้งสองนี้ เคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงกันข้าม ตามท่อที่วางไว้ ภายใต้ภาวะสุญญากาศ แล้วชนกันที่ความเร็วเกือบจะเท่าความเร็วแสง ที่พลังงานสูงระดับล้านล้านอิเล็กตรอนโวลต์

    ทุกคนต่างลุ้นระทึก ว่าหลังการชนนี่แหละจะเกิดอะไรขึ้น

    "ด้วยความเร็วระดับนี้ พลังงานสูงระดับนี้ ตามทฤษฎีควอนตัมแล้ว การชนกันของอนุภาคโปรตอนสองลำนี้จะทำให้เราพบอะไรบางอย่างหลังการชน เพราะถ้าไม่เป็นไปตามนั้น แสดงว่ามีความผิดพลาดในทฤษฎีควอนตัม นักวิทยาศาสตร์ต้องกลับไปขบคิดกันใหม่ <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    (ซ้าย) ภายในเครื่องเร่งอนุภาค "แอลเอชซี" เป็นขดลวดเพื่อสร้างสนามแม่เหล็กขนาดยักษ์ให้โปรตอน 2 ตัววิ่งชนกันด้วยความเร็วเกือบเท่าความเร็วแสง (ขวา) สถานี ALICE ทำหน้าที่ตรวจวัดสถานะที่เกิดขึ้นหลังบิ๊กแบง

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    "แต่ตามทฤษฎีแล้วหลังจากการชน น่าจะทำให้นักวิทยาศาสตร์พบอะไรบางอย่าง"

    และหากสิ่งนั้นคือ สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่เคยค้นพบมาก่อน (อนุภาคฮิกก์ส) ก็เท่ากับว่า เราได้ค้นพบแล้ว ซึ่งต้นกำเนิดแห่งมวลในจักรวาล สิ่งที่ทำให้เราเป็นเราทุกวันนี้

    แต่สิ่งที่ผู้คนกังวล จากการทดลองครั้งประวัติศาสตร์ของ "เซิร์น" ครั้งนี้ คือ การเดินเครื่องเร่งอนุภาค ให้เกิดการชนกันของลำอนุภาคโปรตอน 2 ตัว นอกจากจะทำให้ค้นพบอนุภาคฮิกก์สนี้แล้ว จะก่อให้เกิดสิ่งอื่นหรือใหม่ เป็นต้นว่า "หลุมดำ" ที่จะกลืนโลกทั้งโลก!!

    "เป็นไปได้ว่าจะเกิดหลุมดำ" อาจารย์จากรั้วจามจุรีให้คำตอบ "แต่ก็คงเป็นหลุมดำขนาดเล็กๆ เกิดมาเพียงแวบเดียวก็หายไปแล้ว ไม่น่าจะสามารถดูดกลืนโลกได้ เพราะในธรรมชาตินั้นก็เกิดหลุมดำขนาดเล็กๆ เป็นปกติ พวกรังสีพลังงานสูงๆ จากนอกโลกก็ทำให้เกิดหลุมดำได้ เกิดแล้วก็หายไป ส่วนหลุมดำขนาดใหญ่ที่เกิดในอวกาศ เกิดจากการระเบิดของดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ ซึ่งก็ไม่ได้อันตราย หากไม่เข้าไปใกล้" เป็นข้อคิดเห็นของอาจารย์อรรถกฤต

    ขณะที่อีกคน "ดร.พิเชษฐ์ กิจธารา" จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดฉากเรื่องของปฏิบัติการวันที่ 10 กันยายน 2551 ว่า

    เป็นความร่วมมือของนักวิทยาศาสตร์หลายพันคนในเกือบร้อยประเทศ เป้าหมายของโครงการนี้ก็เพื่อทดสอบและยืนยันทฤษฎีที่เรามีอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวกับอนุภาคมูลฐาน และค้นหาหลักฐานต่างๆ ที่จะเป็น "กุญแจ" สร้างทฤษฎีใหม่เพื่อไขความลับของจักรวาล

    "หลักการ คือใช้ธรรมเนียมปฏิบัติของนักฟิสิกส์ที่มีมากว่าหลายสิบปี นั่นคือ เมื่อนักฟิสิกส์อยากรู้ว่าภายในวัตถุหรืออะตอมมีองค์ประกอบมูลฐานอะไรบ้าง ก็จับมันมาชนกันหรือยิงอะไรสักอย่างเข้าใส่มัน เพื่อให้เกิดการแตกตัวหรืออาจจะรวมตัวเกิดเป็นอนุภาคใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น รัทเทอร์

    ฟอร์ดยิงอนุภาคแอลฟาเข้าไปในแผ่นทองคำบางๆ ทำให้รู้ว่าอะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสขนาดเล็กตรงกลาง และอิเล็กตรอนโคจรอยู่รอบนอก การทดลองที่เซิร์นก็ใช้หลักการเดียวกัน มีการเร่งอนุภาคให้ชนกันแล้วดูว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง และมีการพัฒนาและปรับปรุงให้ระดับพลังงานของการชนสูงขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งได้เครื่อง LHC ในปัจจุบัน"

    ดร.พิเชษฐ์บอกว่า ปัจจุบันเรารู้ว่าอะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสและอิเล็กตรอน ภายในนิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน ภายในโปรตอน (และนิวตรอน) ประกอบด้วยอนุภาคที่เรียกว่า ควาร์ก (quark) จำนวน 3 ตัว เราเรียกอนุภาคที่ประกอบด้วยควาร์กว่าเป็น "อนุภาคประเภท Hadron" อนุภาคที่จะใช้ชนในเครื่อง LHC ทั้งหมดเป็น Hadron จึงเป็นที่มาของชื่อเครื่องนี้ <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    1.อาคารทรงกลม (ทางซ้ายด้านบท) คืออาคารที่ตั้งของการทดลองเซิร์นอยู่ท่ามกลางชนบท 2.นักวิจารณ์ว่า แอลเอสซีจะทำให้เกิดหลุมดำ ซึ่งจะขยายออกจนกลืนกินโลกใบนี้ 3.ภาพบิ๊กแบงในจินตนาการของศิลปิน เชื่อว่าเกิดขึ้นกับจักรวาลเมื่อ 15 ล้านล้านปีก่อน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ในขั้นแรกนี้จะใช้โปรตอนในการชน

    "อนุภาคโปรตอนทั้งหมดในการทดลองแต่ละครั้งรวมกันได้ประมาณเท่าเม็ดทรายเม็ดเล็กๆ แต่มีความเร็วสูงมากใกล้ความเร็วแสงและมีพลังงานเทียบเท่ารถไฟ 1 ขบวน สภาวะพลังงานสูงของอนุภาคที่กำลังชนกันดังกล่าวใกล้เคียงกับสภาวะตอนกำเนิดจักรวาล หรือ Big Bang สิ่งที่เราจะได้จากการทดลองนี้ คือการทดสอบทฤษฎีและการค้นหาหลักฐานเพื่อนำไปสู่ทฤษฎีใหม่ที่สมบูรณ์มากขึ้น"

    ด๊อกเตอร์จากมหิดล ยกตัวอย่างการค้นหาว่ามวลคืออะไร? มาจากไหน?

    "มวล" ในภาษาชาวบ้านก็คือเนื้อสสาร ซึ่งต่างจากน้ำหนักที่เกิดจากแรงดึงดูดของโลก เมื่อเราออกไปอยู่นอกโลกเราก็สามารถอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนักได้ แต่ยังมีมวลอยู่ นักฟิสิกส์คิดกันว่ากลไกที่ทำให้เกิดมวลคือ กลไกของฮิกก์ส (Higgs Mechanism) แต่ที่ผ่านมาเราไม่สามารถทดสอบและยืนยันได้ เนื่องจากระดับพลังงานไม่สูงพอ

    แต่วันนี้ LHC มีพลังงานที่น่าจะสูงพอสำหรับทดสอบกลไกของฮิกก์ส และค้นหาอนุภาคที่ชื่อว่า Higgs Boson

    "ในทางทฤษฎีเราเชื่อกันว่ามีแม่เหล็กขั้วเดี่ยว แต่เราไม่เคยพบในธรรมชาติ แม่เหล็กปกตินั้นจะมีสองขั้ว คือเหนือและใต้ หากนำมาหักเป็นสองท่อน แต่ละท่อนก็จะกลายเป็นแท่งแม่เหล็กเหนือใต้เหมือนเดิม เพียงแต่ขนาดเล็กลง ไม่ได้กลายเป็นขั้วเหนือและใต้เดี่ยวๆ แยกจากกัน ไม่ว่าจะหักเป็นท่อนเล็กๆ สักกี่ครั้งก็ตาม ซึ่งต่างกับกรณีของประจุไฟฟ้าที่เราพบประจุบวกและลบแยกเป็นอิสระจากกันได้ นักฟิสิกส์หลายคนหวังว่า ในระดับพลังงานที่สูงมากๆ ของ LHC เราอาจจะสร้างแม่เหล็กขั้วเดี่ยวได้ ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยคลี่คลายปริศนา"

    แล้วเรื่องของหลุมดำที่เกิดขึ้น?

    ด๊อกเตอร์ด้านฟิสิกส์จากมหิดลบอกว่าเรื่องนี้จริงๆ ไม่ใช่ประเด็นหลักของการทดลองในครั้งนี้ แต่มีหลายคนคิดไปว่าพลังงานของ LHC อาจจะสูงมากพอจนทำให้เกิดหลุมดำขนาดจิ๋วดูดกลืนโลกเข้าไป

    "ถ้ามันเกิดขึ้น เราคิดว่ามันสามารถวิ่งทะลุโลกได้โดยไม่ได้รับอันตราย อีกอย่างที่เราเชื่อถ้ามันเกิดขึ้นจริงมันควรจะหายไปในพริบตาไม่ส่งผลกระทบใดๆ ทั้งสิ้น สมมุติว่ามันเกิดขึ้นจริงแล้วมันหายไปมันจะให้ความรู้แก่เรามหาศาล เป็นบททดสอบทฤษฎีหลายอย่าง ทำให้เราเข้าในทฤษฎี

    ฟิสิกส์ใหม่ๆ มากขึ้นได้อนุภาคใหม่ๆ ออกมา โดยที่เราไม่เคยเจอมาก่อน และเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการจะทำให้เกิดน้ำท่วมโลกด้วย" ดร.พิเชษฐ์กล่าวพร้อมกับหัวเราะ

    หลังจากวันนี้แล้วมาเฝ้าดูกันว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร



    เกี่ยวกับ "เซิร์น"

    "เซิร์น" (CERN) หรือ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปยุโรป เพื่อวิจัยและพัฒนาทางด้านนิวเคลียร์ (European Center for Nuclear Research) ก่อตั้งมากว่า 50 ปีแล้ว โดยได้ทดลองเร่งอนุภาคในระดับพลังงานต่างๆ ตั้งแต่ไม่กี่สิบกิกะอิเล็กตรอนโวลต์ (GeV) ไปจนถึงหลายร้อย GeV และมีการค้นพบอนุภาคมูลฐานบางตัว รวมถึงการให้กำเนิด "เวริล์ด ไวล์ด เว็บ (www)" เมื่อปี 2533 ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของคนทั้งโลก

    เมื่อ 19 ปีที่แล้ว องค์กรนี้ได้ตัดสินใจสร้าง "เครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี" ซึ่งเป็นเครื่องเร่งอนุภาคขนาดใหญ่ที่อยู่ในอุโมงค์ใต้เมืองเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ และชายแดนฝรั่งเศสลึกลงไป 100 เมตร ขดเป็นวงกลมระยะทาง 27 กิโลเมตร และมีแม่เหล็กตัวนำยิ่งยวด (Superconducting Magnet) ทำหน้าที่ควบคุมลำอนุภาคให้แบนจนเป็นเส้นรอบวง

    ทั้งนี้ เครื่องเร่งอนุภาคแรกของเซิร์นซึ่งขดเป็นวงกลมเช่นเดียวกันนั้นมีความยาวเพียง 7 กิโลเมตร

    ภายในองค์กรวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งยุโรปนี้ จ้างนักวิทยาศาสตร์หลากหลายเชื้อชาติทำงานวิจัย เฉพาะเจ้าที่โดยตรงมีถึง 2,500 คน ขณะที่มีนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกอีกราว 8,000 คน ที่แวะเวียนมาทำงานวิจัยที่นี่

    ปัจจุบันเซิร์นมีสมาชิกจาก 20 ประเทศในยุโรป ซึ่งมีหน้าที่และได้รับสิทธิพิเศษ โดยประเทศเหล่านี้ต้องร่วมลงทุนในค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินงานของเซิร์น และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับองค์กรและกิจกรรมต่างๆ

    สำหรับประเทศไทยก็เกี่ยวข้องกับเซิร์นในฐานะที่เป็นประเทศกลุ่ม "ไม่ใช่สมาชิก" (non-Member States) ซึ่งมีอยู่หลายประเทศ อาทิ จีน เวียดนาม อิหร่าน เกาหลี ไต้หวัน เป็นต้น

    แม้ประเทศเหล่านี้ไม่ได้มีส่วนร่วมในการลงทุนหรือร่วมกำหนดทิศทางการวิจัย แต่ก็ได้ใช้ประโยชน์ทางการศึกษาวิจัยจากข้อมูลการทดลองของเซิร์น



    ควอนตัมจักรวาลใหม่

    ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกผลิตพลังงานของดวงอาทิตย์ และดาวอื่นๆ ทำให้เรามองลึกลงไปถึงธรรมชาติของจักรวาล อ่านง่ายไม่ซับซ้อน นำสู่แนวคิดสำคัญๆ และยิ่งกว่านั้นแสดงให้เห็นถึงผลกระทบของเรื่องพวกนี้ต่อชีวิตประจำวันของเรา, โทนี่ เฮย์ และแพ็ตทริก วอลเตอร์ส-เขียน ดร.พิเชษฐ กิจธารา แปล สำนักพิมพ์มติชน www.matichonbook.com โทร.0-2580-0021 ต่อ 3305, 3306
    [/FONT]

    [FONT=Tahoma,]หน้า 20[/FONT]

    </TD></TD></TR></TBODY></TABLE><!-- เริ่มภาพชุดทั้งหมด --><!-- จบภาพชุดทั้งหมด --><!-- เริ่มข่าวเกี่ยวเนื่อง --><!-- จบข่าวเกี่ยวเนื่อง -->
    <!-- ใส่แสดงความคิดเห็นท้ายข่าว --->
     
  3. พลังใจพิชิตภัยพิบัติ

    พลังใจพิชิตภัยพิบัติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +94
    ช่อง TNN
    และก็ช่อง 3 ครับ
    ถ่ายทอดสด
     
  4. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    รายงานสด LHC

    Pe7erMa5on: they just turned the proton beam onto the LHC
    Oa : [SIZE=+0][​IMG][/SIZE]
    Pe7erMa5on: it goes 3km through the ring so far. Now they have to adjust till it goes all the way round

    เค้าเริ่มหมุนโปรตอนบีม ไปที่ LHC
    ตอนนี้โปรตรอนไปได้แค่ 3 กิโลเมตร เค้าต้องปรับให้หมุนให้วิ่งไปได้รอบวง

    [​IMG]
    [​IMG]
    Beam tubes at the LHC will carry protons at near light speed along the 27km-long tunnel at Cern. Image: Cern
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กันยายน 2008
  5. ภูติอาคเนย์

    ภูติอาคเนย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    723
    ค่าพลัง:
    +1,326
    เวรกรรมผมก็หาตั้งนานนึกว่าไม่มีใครพูดถึงเรื่องนี้แล้วเลยแปะข่าวซ้ำเลยอิอิ

    ผมว่านี่คือจุดเริ่มของจุดจบแห่งมนุษย์ชาติ ไม่รู้คนอื่นคิดยังไงแต่เซ้นท์มันบอกว่านี่ล่ะใช่แน่เลยครับ
    วันนี้อาจจะไม่เกิดอะไรแต่ว่านี่คือจุดเริ่มครับ ความร้ายแรงของมันอาจจะไม่ใช่เรื่องหลุมดำด้วย
    แต่เป็นเรื่องที่เกิดข้อผิดพลาดระเบิดตูมตามหรือแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงตรงนั้นพอดี หรือเพราะว่า
    การที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ไว้ไม่พอ ซึ่งข้อผิดพลาดมีโอกาศสูงมากๆ แล้วยังกล้ามาเล่นกับพลังงานระดับนี้อีก
    ไอ้ที่ว่าการกระทบของอนุภาคมันเบากว่าภัยธรรมชาติผมว่าไม่จริง ถ้าใช้พลังงานแค่เบาๆจะสร้าหลุมดำหรือเปิดประตูมิติไม่ได้แน่ๆ
    อาจจะปีหน้าก็ได้มั้งครับ ที่ทุกอย่างจะเริ่มขึ้นและจบลง ยังไงเหตุมันก็ชัดเจนมากๆขึ้นทุกวันแล้ว v_v เหนื่อยใจ
    แต่อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป เป็นเช่นนั้นเองหนอ
     
  6. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    สำหรับกรณีการทดลองเครื่องเร่งอนุภาคของ SERN นั้น

    ในวันนี้เป็นการทดลองเปิดเครื่องครับ

    -ทดลองสเตปแรก เคลื่อนอนุภาคเป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร จากรอบวงแหวน ขนาด 27 กิโลเมตร

    -ทดลอง เคลื่อนอนุภาค ให้ครบรอบ เพื่อทดสอบ ว่าการเคลื่อนที่ไม่มีอะไรติดขัด ทำการเคลื่อนอนุภาค ในความเร็วยังไม่ถึงความเร็วแสงครับ

    วันนี้เพียงเท่านี้เป็นการวอร์ม หรืออุ่นเครื่องเท่านั้น



    การทดลองลำดับต่อไปก็คือ

    เคลื่อนที่อนุภาคหรือการเร่งอนุภาค ให้มีความเร็วกว่าแสง ในทิศทางเดียวก่อนเช่น ตามเข็มนาฬิกา

    จากนั้น เร่งอนุภาค ย้อนกลับทิศทางอีกครั้ง


    ส่วนไฟนอลก็คือ เร่งความเร็วของอนุภาค จากทั้งสองทิศทางให้มาชนกัน ที่ความเร็วเหนือแสง

    เพื่อดูการระเบิดแตกตัว ปลดปล่อยพลังงานก็ดี หรือ เพื่อจำลองการเกิดบิกแบงค์ก็ดี

    ดังนั้นวันนี้เป็นเพียงอุ่นเครื่องและล้างท่อเพื่อหาข้อบกพร่องครับ


    ประเด็นก็คือการสร้างสนามแม่เหล็ก ความเข้มข้นสูง มีการใช้ซูเปอร์คอนดัคเตอร์ หรือตัวนำไฟฟ้ายิ่งยวดมาใช้ สร้างสนามแม่เหล็กพลังงานสูงเพื่อผลักดันอนุภาคให้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วแสง
    มีการเคลื่อนที่ของโปรตรอนที่ความเร็วเหนือแสง จะเกิดผลกับสนามแม่เหล็กโลก มากน้อยเพียงใด


    และท้ายสุด พลังงานจากการชนกันของอนุภาค ณ วัน เวลา และ สถานที่แห่งนั้น จะเกิดผลกระทบอะไรบ้าง

    อย่าลืมว่า ความเร็วในการกลับทิศทางกัน หรือที่เราเรียกว่าการชนประสานงานั้น เท่ากับความเร็วสูงขึ้นเป็นสองเท่าครับ แม้ มวลเป็นเพียงอนุภาค แต่ความเร็วและความเร่งมหาศาล


    จากที่นักวิทยาศาสตร์คำนวนมา คาดว่าจะปลดปล่อย พลังงานจนเกิดความร้อนสูงกว่าแกนกลางของดวงอาทิตย์นับแสนเท่า


    แต่มีการอ้างว่า อาจเพียงแค่ มิลลิเซคเก่น

    ถึงกระนั้นหากพลังงานที่เกิดมหาศาลดันไปมีกระบวนการปฏิกริยาแบบลูกโซ่เข้า อะไรจะเกิดขึ้น

    สรุปแล้วยังมีให้ดูอีกหลายตอนครับ
    <!-- / message --><!-- sig -->__________________
     
  7. marine24

    marine24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,223
    ค่าพลัง:
    +15,632
    เคยอ่านข้อความในโพสต์นี้ว่า ฝรั่งเศส จะถูกโจมตีด้วยระเบิดนิวเคลียร์ หรือจะเป็นปฏิกิริยาของ LHC ทำให้เกิดการระเบิดแบบระเบิดนิวเคลียร์เพราะสถานที่ติดกับฝรั่งเศส
     
  8. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ผมมองนัยยสำคัญนี้เช่นกันครับพี่

    ตามคำสั่งของหลวงพ่อฤาษีท่านที่ได้บอกเอาไว้ว่า หากเกิดอะไรขึ้นกับฝรั่งเศส(ไม่ได้บอกว่า เกิด อะไร จะเป็นสงคราม หรือการถูกโจมตี หรือภัยธรรมชาติ)

    ท่านให้ลูกหลานไทยที่อยู่ในต่างประเทศทั้งหมด เดินทางกลับประเทศไทยได้ครับ

    ดูแล้วก็อาจเป็นเจ้า LHC นี่ได้ เนื่องจากขนาด เดินเครื่องแบบวอร์มๆ ยังเกิด แผ่นดินไหวถี่ขึ้นขนาดนี้

    รวมทั้งเอฟเฟคค์จากสนามแม่เหล็กแปรปรวนอย่างหนัก

    ส่งผลให้เกิดสภาพอากาศแปรปรวน ระบบนำร่องของเครื่องบินขัดข้อง (ทำให้ตกบ่อยขึ้น มากขึ้นได้)

    หากสองสามวันนี้ ยังมีการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ต่อเนื่อง ก็ต้องลองดูว่า เราเองสมควร อพยพกลับไทยหรือไม่ครับ
     
  9. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    <TABLE class=MsFont cellSpacing=0 cellPadding=0 width=750 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left bgColor=#dddddd height=7>
    อนุภาคที่วิ่งอยู่ในสนามแม่เหล็กคือ โปรตรอน 1 ตัว และ อิเล็กตรอน 1 ตัว โดยสภาพบรรยากาศภายในเป็นสูญญากาศใช่ไหมครับ อ.วอน

    และสิ่งที่ต้องการคืออะไรสักอย่างที่มันแตกกระจายออกมาหลังจากที่อนุภาคสองตัวนี้ชนกันและถ้าเราเห็นมันเราก็จะสามารถเอามาประยุกต์เพื่อสร้างสสารหรือมวลสารที่นอกเหนือตารางธาตุได้ซินะครับ

    สิ่งที่แตกกระจายออกมาจะมีแรงและพลังงานมหาสารจากสมการ E=MC2 และ E ที่ได้คงจะเพียงพอที่จะทำให้สะเก็ดของอนุภาควิ่งมากระทบอะตอมที่อยู่ใกล้ๆ จนแตกกระจายต่อเนื่อง และถ้าโชคร้ายมันจะแตกตัวไปเรื่อยๆ เยี้ยงเดียวกับระเบิดนิวเคลียร์ โลกอาจแหว่งเพราะเหตุนี้

    แต่ถ้าไม่แตกกระจายต่อเนื่องเราก็จะเห็นอนุมูล(quark)ของอนุภาคร่องลอยในสูญญากาศจำลองและนำมาพัฒนาตารางธาตุต่อไปได้อีกนับพันธาตุ

    บนความโชคดีที่มันไม่แตกกระจายต่อเนื่องก็มีสิ่งที่ไม่มีใครรู้อยู่อีกหนึ่งเรื่องคืออนุมูล(quark)ที่แตกออกจะมีสภาพเป็นอย่างไรและถ้ามันจำเป็นต้องจับคู่กันอยู่เช่นเดิมเพื่อให้คงที่ในรูปของอนุภาค และกอดกันเป็นอะตอม และอัดแน่นเป็นสสาร มันก็จะต้องวิ่งกลับเข้ามาหากันอีกครั้ง ด้วยพลังงานเท่ากับที่มันแตกตัวออกไป

    ความโชคร้ายกว่าคือถ้าหากอนุมูล(quark)หายไปหนึ่งตัวหรือมีตัวใดกลับมาช้ากว่าตัวอื่นๆ มันจะเกิดการเรียกหาอนุมูล(quark)ตัวนั้นจากอนุภาคหรืออะตอมข้างๆ การเรียกหานี้เปรียบเสมือนแรงดึงดูดกันและกัน เช่นเดียวกับ คนที่ไร้คู่และเที่ยววิ่งหาคู่โดยการแย่งคู่จากคนอื่น คู่ที่ไม่ลงตัวก็จะแก่งแย่งกันไปเรื่อยๆ ด้วยพลังงานที่เท่ากับการแตกตัวแรงดึงดูดที่ไม่รู้จากจบสิ้นเพราะหาคู่ไม่เจอก็คงไม่ต่างจากหลุมดำที่จะขยายตัวไปเรื่อยๆ

    และหากไม่สามารถจับคู่อนุมูล(quark)นั้นได้โลกก็จะถูกดูดเข้าไปและเราคงได้เห็นจุดจบและจุดเริ่มต้นจักรวาลอีกครั้งจนกว่ามันจะจับคู่สมบูรณ์ก็ได้

    การหยุดนิ่งของจักรวาลคือการจับคู่ที่ลงตัวแล้วถูกหรือเปล่าครับ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left bgColor=#dddddd height=10>
    [​IMG] จาก Degsure 118.174.140.157 เสาร์, 6/9/2551 เวลา : 22:5
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    จะเอาแบบไหนดีครับ เอาแบบให้ผมยกทฤษฎีมาขยายความ หรือจะเอาแบบเบาๆคุยเรื่องของ แดน บราว์นเรื่อง Angels & Demons ที่เขียนก่อน Davinci code ที่เป็นครั้งแรกที่ผมได้รู้จักโครงการนี้

    CERN ได้แอบสร้างลับๆโดยทุนมหาศาลจากสหรัฐ คนที่ติดตามประวัติของเท็คโนโลยีคงรู้ว่าอินเตอร์เน็ตที่ใช้อยู่ตอนนี้ค้นคิดโดย CERN


    ตอนที่ผมอ่านเรื่องนี้ของแดนบราว์น ผมคิดว่ามันโม้ได้เหมือนจริงดีวุ้ย พออ่านไซน์แอนด์ทิสเจอร์นัลที่ผมได้รับในเวลาต่อมาถึงได้รู้ว่าไอ้ที่อยู่ในนิยายของ แดนบราว์น มันจริงนี่หว่า ทำให้ผมพลอยเชื่อเรื่อง ดาวินซีโค๊ด ไปด้วย


    มีในสิ่งที่ไม่มี ไม่มีในสิ่งที่มี เป็นกุญแจที่แดนบราว์นเอามาเขียนในนิยาย เทวดากับปีศาจ เกี่ยวกับเครื่องเร่งอนุภาคตัวนี้ ทำให้ผมคิดถึง อัตตา อนัตตา ของพุทธศาสนา และ positron ที่มันหมุนสวนทางกับ electron และมีประจุบวก เมื่อไรที่ positron กับ electron มาชนกันมันจะให้พลังงานออกมาเหมือนที่คิดไว้หรือเปล่า

    และที่สำคัญคือเราจะหา Top Quark ได้พบหรือเปล่า เพราะมันคืออนุภาคกำเนิดจักวาลจากพลังงานของ big bang แปรเป็นสสาร

    ผมขยายความนิดหนึ่งว่า Quark มันมีหกชนิด เราพบแล้วห้าชนิด แต่ Top Quark เรายังไม่พบตัวจริงเสียงจริงได้แต่หวังว่าเราน่าจะพบมันก็งานนี้แหละ
     
  11. Tossaporn K.

    Tossaporn K. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,565
    ค่าพลัง:
    +7,747
    ช่วงที่น่ากลัวก็คือช่วงทดลองให้อนุภาคโปรตรอน 2 ชุด ให้วิ่งวนสวนทางกันที่ความเร็วแสงแล้วให้วกเข้ามาชนกัน ซึ่งมีโอกาสสูงมากที่อนุภาคโปรตรอน ของทั้งสองชุดจะวิ่งเข้าหลอมรวมกันเป็นฮีเลียมอิออน He+2 ซึ่งจะปดปล่อยพลังงานความร้อนมหาศาล(มันคือปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบฟิวชั่นนั่นเอง) และมีของแถมคือโปรซิตรอน e+ ซึ่งมีมวลเท่ากันกับอิเล็คตรอน e- แตมีประจุไฟฟ้าต่างกัน ซึ่ง e+นี้เราเรียกว่าปฏิสสาร(Anti-Matter)หากมันเจอกับ e-(ซึ่งมีอยู่แล้วที่เป็นโลหะเป็นอะโลหะหรือแม้แต่ในอากาศ)มันจะเกิดการระเบิดรุนแรงต่อเนื่องแบบลูกโซ่(Chain Reaction) ซึ่งจะทำให้เกิดการระเบิดรุนแรงมหาศาลจนทำให้บริเวณตรงจุดที่ชนในระยะรัศมี 10 กิโลเมตรพินาศภายในพริบตา ไม่ได้เกิดหลุมดำอย่างที่มีข่าวกันหรอกครับ นี่เป็นการวิจัยแบบแอบแฝงเพื่ออาวุธชนิดพิเศษอย่างไม่เคยมีมาก่อน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 กันยายน 2008
  12. bnbk

    bnbk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,047
    ค่าพลัง:
    +15,613
  13. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,681
    ค่าพลัง:
    +51,926
    *** The Action never die ****

    ทุกการกระทำ เสมือนถ่าย VDO เอาไว้ สมัยพุทธกาลเรียกว่า "ตัวกระทำ"
    ตัวกระทำมีจริง ตัวกระทำไม่ตาย ตัวกระทำมีผลตอบแทน
    นี่คือ "หลักสัจจะธรรม"

    เป็นเหตุผลในเรื่อง กฎแห่งกรรม
    เป็นเหตุผลในเรื่อง ตายแล้วเกิดใหม่
    เป็นเหตุผลของทุกเรื่อง ทุกสรรพสิ่งในจักรวาล

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  14. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,681
    ค่าพลัง:
    +51,926
    *** Truth ****

    ทุกการกระทำ...ไม่มีอะไรสูญสลาย
    กลายเป็น "ตัวกระทำ" ....ที่มองไม่เห็น
    และ มีผลย้อนกลับมาตอบแทน...แน่นอน

    สำคัญที่ว่า...การกระทำนั้น เป็นเรื่องเพื่อหลุดพ้นทุกข์หรือไม่ !!!!
    ถ้าไม่....ผลตอบแทนย่อมทำให้เกิดทุกข์แน่นอน

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  15. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,681
    ค่าพลัง:
    +51,926
    *** การทดลองที่ยิ่งใหญ่ ประเมินค่ามิได้ ****

    ขอเชิญทุกท่านทดลอง.... กำหนดสัจจะ ไม่โกรธ ไม่โมโห
    วันละ ๑ ชั่วโมง...มีกำหนด ตั้งแต่ วันนี้ ถึงวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๑

    ผู้ทำได้...ดวงตาย่อมเห็นธรรม
    แล้วจะเห็นตถาคต
    ใครทำได้....คือ การก้าวเข้าหาพระนิพพาน

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  16. sutatip_b

    sutatip_b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,197
    ค่าพลัง:
    +26,189
    ทำไมเห็นแผนที่นี้แล้วขนลุกเยือกๆ

    [​IMG] [​IMG]

    วันที่ ๑๐ กย. ๕๑ ลูกสาวกลับมาจากโรงเรียนฝรั่ง ทำการบ้านอยู่ดีๆ เจ้าหล่อนก็พูดว่า "ที่โรงเรียนเขาว่าวันนี้เป็นวันสิ้นโลก"
    ถามว่าได้ยินมาจากไหน ลูกบอก "ครูบอก มันจะมีหลุมดำดูดทุกอย่างน่ะแม่" คนพูดอายุ ๑๒

    บอกลูกว่ายังไม่สิ้นสุดหรอก วันที่ ๑๐ นี่แค่ dry run
    จะเริ่มของจริงอีกกว่าเดือน

    ตรงกับฤดูน้ำหลากพอดี..
    ขอให้ทุกท่านช่วยกันจับตา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กันยายน 2008
  17. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    เห็นแผนที่ ที่คุณหนูนำมาลงแล้ว หากเชี่ยวชาญเชิงสัญญลักษณ์ศาสตร์

    สามเหลี่ยมภายใต้วงกลม ก็คือ.......


    ลองดูหน่อยครับสำหรับพิกัด แลต ลอง ของตำแหน่ง ที่ทำการทดลอง

    มีนัยยะด้วยแน่นอน
     
  18. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=160><TABLE cellSpacing=4 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>เจ้าหน้าที่ตรวจตราตามสถานีต่างๆ ผ่านคอมพิวเตอร์ ถ้าแถบเครื่องมือต่างๆ ยังแสดงค่าออกมาเป็นสีเขียว ก็โล่งใจได้ (ภาพ CERN)</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ช่วยกันลุ้น ทั้งแขกรับเชิญ ผู้เกี่ยวข้องกับเซิร์นตั้งแต่อดีตกระทั่งปัจจุบัน รวมถึงสื่อมวลชนที่มาเฝ้าสังเกตการณ์อย่างคับคั่ง (ภาพ CERN)</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ห้องสังเกตการณ์ สำหรับสื่อมวลชนที่ต้องการเรื่องเทคนิคเน้นๆ (ภาพ CERN)</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ติดป้ายให้เห็นๆ ว่านี่เป็นวันแรกของลำแสงที่จะผ่านเครื่อง LHC (ภาพ CERN)</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>แผนผังเส้นทางห้องทดลองใต้ดิน ส่วนด้านล่างเป็นภาพตัดขวาง ให้เห็นลักษณะทางภูมิศาสตร์ (ภาพ CERN)</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=165 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=4 background=/images/linedot_vert3.gif>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=7 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>“เซิร์น” ตัดริบบิ้น เปิดเครื่องเร่งอนุภาคขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยการยิงลำแสงแรกทดสอบระบบ ก่อนวางแผนปล่อยอนุภาคชนกัน หา “อนุภาคพระเจ้า” ต้นตอมวลในเอกภพ นักฟิสิกส์ย้ำแม้เกิดหลุมดำจิ๋วก็สลายตัวอย่างรวดเร็ว ไม่ถึงขั้นกลืนกินโลก แต่หากอนุภาคเกินควบคุม แค่เครื่องพัง แต่ทุกอย่างยังอยู่ในอุโมงค์

    เสียงปรบมือของเหล่านักวิทยาศาสตร์ที่อยู่ ณ ที่ทำการ “เซิร์น” หรือ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปยุโรปเพื่อการวิจัยและพัฒนาทางด้านนิวเคลียร์ (European Organisation for Nuclear Research : CERN) ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดังขึ้นทันที ที่แสงโปรตอนลำแรก ถูกยิงเข้าสู่เครื่องเร่งอนุภาคยักษ์ เมื่อเวลา 09.35 น. ของวันที่ 10 ก.ย.51 ตามเวลาท้องถิ่น หรือตรงกับเวลา 14.35 น. ตามเวลาประเทศไทย ถือเป็นการตัดริบบิ้น เปิดภารกิจการทดลองเพื่อค้นหาต้นกำเนิดของจักรวาลอย่างเป็นทางการ

    โปรตอนลำแสงแรกถูกยิงออกไป สู่เครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี (Large Hadron Collider: LHC) เพื่อให้วิ่งเข้าสู่แนวท่อทดลองความยาว 27 กิโลเมตร ในทิศทางตามเข็มนาฬิกา โดยการเดินทางของโปรตอนครั้งนี้ จะช้ากว่าปกติ เพราะต้องการตรวจสอบระบบในแต่ละจุดว่า ทำงานตามที่คาดหมายหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามสถานีตรวจจับอนุภาคทั้ง 4 แห่งที่เป็นเสมือนหอคอยตั้งอยู่เป็นระยะ รายล้อมอุโมงค์

    อีกราว 1 ชั่วโมงให้หลัง ทั้งนักวิทยาศาสตร์และผู้สื่อข่าวในห้องควบคุมของเซิร์น ต่างก็ได้เห็นจุดขาว 2 จุดปรากฎบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงว่า โปรตอนได้เดินทางครบรอบวงแหวนท่อทดลองที่ลึกลงไปใต้ดิน 100 เมตร

    ลิน อีวานส์ (Lyn Evans) ผู้นำโครงการทดลอง ไม่รอช้าที่จะชวนเพื่อนร่วมงาน เปิดแชมเปญจ์ฉลองภารกิจครึ่งเช้า ที่รอคอยมานาน พร้อมๆ กับนักวิทยาศาสตร์ของกระทรวงพลังงานสหรัฐอเมริกา (U.S. Department of Energy : DOE) และมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งสหรัฐฯ (National Science Foundation :NSF) ที่ชมการทดลองโดยการถ่ายทอดสดผ่านดาวเทียม ที่ชิคาโก ในฐานะผู้มีส่วนร่วมคนสำคัญ ทั้งกำลังเงินและกำลังกาย ให้กับโครงการนี้ของเซิร์น

    อีก 4 ชั่วโมงถัดมา เมื่ออุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้พลังงานจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจำนวนมหาศาล เย็นตัวลง ลำแสงโปรตอนก็ถูกยิงเข้าสู่เครื่องเร่งอนุภาคอีกครั้งหนึ่ง แต่คราวนี้ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา เพื่อตรวจดูว่า หากโปรตอนใช้เส้นทางและทิศทางนี้ จะมีปัญหาใดหรือไม่ ซึ่งการเดินทางของแสงก็ผ่านไปได้ด้วยดี แม้จะมีการติดขัดเล็กน้อย ที่บางสถานีระหว่างทาง

    อีวานส์ซึ่งทำงานกับเซิร์นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2527 ดูผ่อนคลายขึ้น หลังจากด่านแรก ผ่านไปได้ด้วยดี เขากล่าวแก่บรรดานักข่าวว่า เครื่องกลชิ้นนี้มีความซับซ้อนอย่างมหาศาล ดังนั้นจึงอาจเกิดข้อผิดพลาดเมื่อใดก็ได้ แต่การทดสอบในช่วงเช้าทำให้เขาโล่งใจ

    อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะอยู่ในฐานะหัวหน้าโครงการ แต่อีวานส์ก็ยังไม่ฟันธงลงไปว่า จะจับอนุภาคชนกันในวันใด เพียงแต่ยืนยันว่าขณะนี้ นักวิทยาศาสตร์สามารถดำเนินการทดลองการชนกันได้แล้ว ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นภายในไม่กี่เดือนถัดจากนี้

    แท้จริงแล้วการทดลองดังกล่าว เป็นเพียงการเตรียมความพร้อม ก่อนที่จะเร่งให้อนุภาคชนกัน ซึ่งนรพัทธ์ ศรีมโนภาษณ์ นิสิตปริญญาเอก ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทำวิจัยร่วมกับเซิร์น และเคยเดินทางไปวิจัยอยู่ที่สถานีตรวจวัดอนุภาคของเซิร์น กล่าวว่า การทดลองครั้งนี้ เป็นเพียงการทดสอบดูว่า ลำอนุภาคสามารถวิ่งได้ครบรอบหรือไม่ ยังไม่มีการเร่งอนุภาคใดๆ และเป็นการประกาศถึงความพร้อมอย่างเป็นทางการ

    เครื่องเร่งอนุภาคถูกออกแบบขึ้นมา เพื่อให้ผลักลำโปรตอนเดินทางด้วยความเร็วเกือบเท่าแสง ซึ่งจะทำให้วิ่งวนรอบอุโมงค์ทดลองได้ 11,000 รอบต่อวินาที และเมื่อลำโปรตอน 2 ลำวิ่งจากคนละทิศทาง เข้าหากันในสภาวะสุญญากาศ ทั้งเย็นยะเยือกและว่างเปล่ากว่าห้วงอวกาศ ขณะที่ลำแสงตัดผ่านกัน อนุภาคโปรตอนส่วนหนึ่งจะชนกัน จากนั้น เครื่องตรวจวัดอนุภาคขนาดใหญ่ จะบันทึกข้อมูลนับล้านๆ ไว้ภายในเสี้ยววินาที

    อย่างไรก็ดี เมื่อถึงวันที่ลำโปรตอนชนกันจริง จะทำให้เกิดข้อมูลมากมายมหาศาล โดยระบบจะเลือกข้อมูลที่น่าสนใจออกมา เทียบได้เท่ากับความจุของแผ่นวีซีดี 1 แผ่นต่อ 1 วินาที ดังนั้นตลอดทั้งปี จะมีข้อมูลออกมาเทียบเท่าวีซีดีประมาณ 23 ล้านแผ่น ซึ่งข้อมูลมากมายขนาดนี้ เซิร์นจำเป็นต้องใช้ระบบคอมพิวเตอร์กริด เพื่อเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล โดยต้องเชื่อมกับศูนย์คอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่โยงกันกว่า 60,000 เครื่อง

    ทั้งนี้ หลายทศวรรษที่ผ่านมา เครื่องเร่งอนุภาคขนาดเล็กถูกนำมาใช้ตามห้องทดลองต่างๆ ทั่วโลก เพื่อให้นักฟิสิกส์ได้ค้นหาอนุภาคที่ก่อกำเนิดเป็นอะตอม โดยในช่วงไม่เกิน 100 ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า โปรตอนและนิวตรอนเป็นส่วนประกอบที่เล็กสุดที่อยู่ใจกลางอะตอม แต่ต่อมาเครื่องเร่งอนุภาคก็ทำให้ค้นพบว่า ยังมีอนุภาคที่เล็กลงไปกว่านั้น คือ ควาร์ก และ กลูออน รวมถึงแรงและอนุภาคอื่นๆ อีก แต่ก็ยังเชื่อว่า น่าจะมีอนุภาคมูลฐานซ่อนอยู่อีก

    ทำให้การทดลองของเซิร์นครั้งนี้ เป้าหมายสำคัญคือ การไขปริศนาจุดเริ่มต้นของกำเนิดจักรวาล ไม่ว่าจะเป็นการตอบคำถามว่า สสารต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรานั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งอนุภาค "ฮิกก์ส" ที่นำเสนอในปี พ.ศ. 2507 โดยปีเตอร์ ฮิกก์ส (Peter Higgs) นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ จนได้รับการขนานนามว่า เป็น "อนุภาคพระเจ้า" คือสิ่งสำคัญที่นักฟิสิกส์ต้องการค้นหาให้พบ เพื่อที่จะอธิบายว่ามวลเกิดขึ้นได้อย่างไร และทำไมบางอนุภาคจึงมีมวล ขณะที่บางอนุภาคไม่มีมวล อาทิ วัตถุมืด และพลังงานมืด

    นอกจากนี้ เครื่องเร่งอนุภาคของเซิร์น ยังเป็นเครื่องมือที่จะพิสูจน์ทฤษฎีฟิสิกส์อีกมากมาย โดยนรพัทธ์อธิบายว่า นักฟิสิกส์ต่างมีทฤษฎีที่เชื่อว่าเป็นจริง และต่างรอผลที่เกิดขึ้น จากการทดลองจับอนุภาคชนกัน เพื่อนำไปทดสอบทฤษฎีต่างๆ

    "เครื่องเร่งอนุภาค จะเหวี่ยงให้ลำอนุภาค 2 ลำ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเข้าใกล้ความเร็วแสง ในทิศทางตรงข้ามกัน เมื่อถึงระดับพลังงานที่ต้องการ ก็บังคับให้ลำอนุภาคชนกันบริเวณที่มีเครื่องตรวจวัดอนุภาค" นายนรพัทธ์อธิบาย และเมื่ออนุภาคชนกัน จะเปลี่ยนไปเป็นพลังงาน ในระยะที่เร็วกว่าเสี้ยววินาที ก่อนที่จะเปลี่ยนกลับเป็นอนุภาคต่างๆ ที่เรารู้จักและตรวจวัดได้

    สำหรับทฤษฎีอื่นๆ ที่รอพิสูจน์จากการทดลองของเซิร์น อาทิ ทฤษฎีสมมาตรยิ่งยวด ซึ่งอธิบายว่าอนุภาคมูลฐานนั้นมี “คู่ยิ่งยวด” ที่มีมวลมากกว่า เช่น สสารและปฏิสสาร โดยเชื่อกันว่าคู่ยิ่งยวดนี้ เกิดขึ้นและสลายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะมีมวลมากทำให้ไม่เสถียร และจะสร้างคู่ยิ่งยวดขึ้นมา ต้องสร้างเงื่อนไขให้คล้ายบิกแบง

    นอกจากนี้ยังมี ทฤษฎีซูเปอร์สตริง ซึ่งพยายามอธิบายอนุภาคและแรงพื้นฐานด้วยทฤษฎีเดียว โดยจำลองให้อนุภาคและแรงพื้นฐานเหล่านั้น คือการสั่นของเชือกเส้นเล็กๆ และแบบจำลองที่สมมติว่าเอกภพมีมากกว่า 4 มิติ โดยเรารับรู้ได้ถึงมิติของความกว้าง ยาว สูงและเวลา แต่ทฤษฎีนี้เสนอว่าเอกภพมีมิติมากกว่านี้

    โครงการเครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซีนี้ นำโดย 20 ประเทศในยุโรปที่เป็นสมาชิกเซิร์น โดยมีความร่วมมือกับนักวิจัยจาก 80 ประเทศ รวมถึงนักวิจัยอีกกว่า 1,200 คนในสหรัฐฯ และยังมีอีกหลายประเทศร่วมสังเกตการณ์ อาทิ ญี่ปุ่น ซึ่งร่วมลงขันไปไม่น้อย

    นักฟิสิกส์ต้องรอคอยมากกว่า 20 ปี กว่าจะได้ใช้เครื่องแอลเอชซีในวันนี้ เพราะความซับซ้อนในการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์ที่ทนทานต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง และตัวต้านทานระดับสูงอย่างซูเปอร์คอนดักเตอร์ ที่เพิ่งจะมีการพัฒนาใช้ได้เมื่อไม่นานมานี้ ทำให้ฤกษ์ลงมือสร้างเครื่องยักษ์เริ่มขึ้นในปี 2544 และเสร็จลงในปี 2548 อีกทั้งค่าใช้จ่ายสูงขึ้นกว่าที่ประมาณการณ์ไว้ถึง 25% ตามระยะเวลาที่เนิ่นนาน โดยต้องใช้ไปทั้งสิ้น 6 พันล้านฟรังค์สวิส (ประมาณ 14,000 ล้านบาท)

    ส่วนความกังวลว่าจะเกิดหลุมดำกลืนกินโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางอินเทอร์เน็ต (เวริล์ดไวด์เว็บที่เซิร์นได้พัฒนาขึ้น) มีสมมติฐานที่น่ากลัวเกิดขึ้นว่า ถ้าระหว่างการทดลองเกิดมีอนุภาคแปลกๆ หรือหลุมดำที่ควบคุมไม่ได้ ขยายขนาดจนกลืนกินโลกขึ้นมา จะเป็นอย่างไร ซึ่งทางคณะกรรมการของเซิร์น ได้ยืนยันการคำณวนและคาดการณ์ถึงความปลอดภัยของมวลมนุษยชาติในครั้งนี้ไว้เรียบร้อยแล้ว

    ขณะที่ ดร.อรรถกฤต ฉัตรภูติ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ศึกษาทฤษฎีสตริง ได้อธิบายไว้ว่า ในการทดลอง เป็นไปได้ที่จะเกิด “หลุมดำจิ๋ว” แต่หลุมดำที่เกิดขึ้นนี้ เล็กเกินกว่าจะดูดกลืนโลกหรืออนุภาคอื่นๆ และสลายตัวอย่างรวดเร็ว

    ส่วนโอกาสเกิดระเบิดล้างโลก จากการทดลองของแอลเอชซีนั้น เขากล่าวว่าไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะปฏิกิริยาในเครื่องเร่งอนุภาคนั้น มีมวลน้อยเกินกว่าจะเกิด “มวลวิกฤต” ที่ทำให้เกิดระเบิดเช่นเดียวกับระเบิดนิวเคลียร์

    อีกทั้งยังมี สตีเฟน ฮอว์กิง (Stephen Hawking) นักฟิสิกส์ชั้นนำของโลก ช่วยออกมายืนยันอีกแรงว่า การทดลองของเซิร์นนั้นปลอดภัยอย่างแน่นอน

    อย่างไรก็ดี โฆษกของเซิร์น แม้จะออกมาย้ำว่าเป็นเรื่อง "ไร้สาระ" แต่ก็อธิบายว่า หากเกิดควบคุมลำแสงไม่ได้จริงๆ ระหว่างการทดลอง สิ่งที่เสียหายก็จะเป็นเพียงแค่เครื่องเร่งอนุภาค และตัวท่อที่อยู่ในอุโมงค์เท่านั้น ซึ่งจากการทดลองให้แสงวิ่งผ่านในครั้งแรก ก็ดูเหมือนว่าไม่น่าจะมีปัญหาใดๆ จนถึงวันที่เซิร์นเดินเครื่องเต็มกำลัง.


    <CENTER>
    Special : "เซิร์น" กับปฏิบัติการค้นหาต้นตอจักรวาล
    </CENTER>

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. Tossaporn K.

    Tossaporn K. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,565
    ค่าพลัง:
    +7,747
    4 H+(Protron) ------------> He+2 + 2 e+(Prositron) + Emergy(E=MC2)

    2 e+ + 2 e- ------------> Only Energy (E=MC2) Anti-matter VS Matter


    เป็นการวิจัยเพื่อหาวิธีการสร้างโปรซิตรอน(Prositron)ขึ้นมาเนื่องจากไม่มีการพบเจอในธรรมชาตินั่นเองหากวิจัยควบคุมการเกิดของโปรซิตรอน(Prositron) ไม่ให้เกิดการเจอกับอิเล็คตรอน(Electron)ได้ และบังคับให้มันวิ่งเป็นลำไปชนกับวัตถุใดๆก็ตามวัตถุนั้นจะร้อนจนระเบิดกลายเป็นไอในพริบตา รถถังหุ้มเกราะกันกระสุนกันระเบิดหากเจอกับเจ้าโปรซิตรอนก็ระเบิดเรียบครับไม่มีเหลือซากด้วย เราคงเคยดูภาพยนตร์ไซไฟที่มีอาวุธแสงยิงโดนวัตถุไดก็ตามจะระเบิดหายวับไปก็ใกล้เคียงกันกับเจ้าลำแสงโปรซิตรอนนี้แหละครับแต่การระเบิดรุนแรงกว่าในภาพยนตร์ไซไฟเยอะมากและก็ไม่มีสารกัมมันตภาพรังสีตกค้างด้วยครับ

    การควบคุมโปรซิตรอนไม่ให้เกิดการเจอกับอิเล็คตรอนนั้นง่ายครับแค่ยิงลำแสงเลเสอร์นำร่องก่อนสัก 1 วินาทีก็จะเกิดเป็นช่องว่างในอากาศแล้วปล่อยให้ลำแสงโปรซิตรอนวิ่งไปตามหลังช่องแสงเลเสอร์ก็ใช้ได้แล้วครับ โปรซิตรอนก็ไม่เจอกับอิเล็คตรอนในอากาศ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 กันยายน 2008
  20. golf208

    golf208 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    466
    ค่าพลัง:
    +5,454
    เป็นการยิงโปรตอนด้วยความเร็วเทียบเท่าความเร็วแสงครับ 99.9999991% (จากข้อมูลบางแหล่ง) หลุมดำจะบีบวัตถุและมวลต่างๆให้เป็นอนุภาคเล็กๆ หลุมดำเกิดจากดาวที่มีขนาดใหญ่มากๆและหมดอายุลงดับสลายไปแล้วกลายเป็นหลุมดำ แม้แต่แสงสว่างที่ถูกดูดเข้าไปในหลุมดำก็ไม่สามารถออกมาจากหลุมดำได้ เพราะแสงก็มีมวลเหมือนกัน
    เพราะขนาดนักวิทยาศาสตร์ยืนยันได้ว่าแสนจะเดินทางช้าลงถ้ามีแรงมากระทำ ส่วนไอน์สไตน์บอกว่าแสงจะเดินด้วยความเร็วคงที่ในสภาพสูญญากาศ(แต่ไม่ได้บอกว่าจะเดินทางช้าลงถ้ามีแรงมากระทำ ปัจจุบันยังมีบางคนเถียงกันอยู่ในเว็บดาราศาสตร์) เพราะฉะนั้นผมคิดว่าแสงก็ย่อมมีมวลด้วยเหมือนกัน ดังนั้นแสงก็ออกมาจากหลุมดำไม่ได้เหมือนกับวัตถุต่างๆ และแรงดึงดูดของหลุมดำหลุมนึงมีแรงดึงดูดเป็นอนัตน์หรืออินฟินิตี้ เข้าไปยังไงก็ออกมาไม่ได้รวมทั้งคลื่นวิทยุและคลื่นต่างๆ

    ข้อมูลเหล่านี้เกี่ยวข้องกับทฤษฎีบิ๊กแบง หรือการเกิดของจักรวาล ลองไปหาอ่านดูครับ มีบางทฤษฎีกลาวถึงอนุภาคโปรตรอนและนิวตรอนมาชนกันแล้วเกิดอิเล็กตรอนขึ้น
    หลักการเหล่านี้นักวิทยาศาสตร์และนักฟิสิกส์ทั่วโลกทำได้เพียงทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติยังไม่เคยทำ และครั้งนี้ก็จึงลงทุนเพื่อทำการทดลองจริงในด้านปฏิบัติเพื่อสรุปผล และนำผลการทดสอบมาหาแนวคิดใหม่ๆ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ก็เป็นได้

    ปล.ข้อมูลบางอย่างอาจผิดพลาดเนื่องจากสิ่งที่เล่าเป็นสิ่งที่รู้มาคราวๆครับ หากผิดพลาดจึงขออภัย ต้องศึกษาจากข้อมูลหลายๆแหล่งกันเองครับ จึงจะรู้จริง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กันยายน 2008

แชร์หน้านี้

Loading...