supatach
ความเคลื่อนไหวล่าสุด:
17 ธันวาคม 2016
วันที่สมัครสมาชิก:
30 กรกฎาคม 2006
โพสต์:
1,638
พลัง:
6,666

โพสต์เรตติ้ง

ได้รับ: ให้:
ถูกใจ 6,659 15,056
อนุโมทนา 7 0
รักเลย 0 0
ฮ่าๆ 0 0
ว้าว 0 0
เศร้า 0 0
โกรธ 0 0
ไม่เห็นด้วย 0 0

แชร์หน้านี้

supatach

เป็นที่รู้จักกันดี

supatach เห็นครั้งสุดท้าย:
17 ธันวาคม 2016
    1. พัฒนาตน
      พัฒนาตน
    2. สาวปีใหม่
      สาวปีใหม่
      จิตใจที่ดีงามจะคงอยู่ตลอดไป
      วิชชาที่จะทำให้อยู่รอดจากยุคสมัยแห่งภัยพิบัติ
      http://board.palungjit.com/showthread.php?t=44604

      อยากให้ลองเข้าไปอ่านดูค่ะ มีสิ่งดีๆอยู่ในนั้นค่ะ ถ้าน้องอยากศึกษามโนยิทธิ สายหลวงพ่อฤาษีลิงดำ พี่เอ๋แนะนำให้ลองเข้ามาอ่านดูที่ ในกระทู้เหล่านี้ดูก่อนนะคะ
    3. สาวปีใหม่
      สาวปีใหม่
      ขอเพิ่มเติมหน่อยเป็น ส่วนของเคล็ด ในการใช้คาถา "มงกุฏพระพุทธเจ้า"ครับ

      เนื่องจากตอนนี้หลายๆคนถูกรบกวนจากเจ้ากรรนายเวรกัน มีหลายรูปแบบ ซึ่งก็ปรากฏว่า ได้ใช้คาถาบทนี้กันโดยอัตโนมัติและได้ผลครับ

      คาถามี อยู่ว่า

      "อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตัง พุทธปิติอิ"

      ว่า 3 จบ 9 จบ สำหรับอานิสงค์ของคาถานี้เป็น คาถาครอบจักรวาล เรานำไปใช้ในทางกุศลได้ทุกๆเรื่อง

      โดยมีประวัติของการใช้คาถานี้มายาวนาน ส่วนใหญ่ในราชสำนัก แม้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า รัชกาลที่ 5 ท่านก็ทรงพระคาถานี้เป็นประจำ มีที่ปรากฏเป้นปาฏิหาริย์ ก็ครั้งที่ ถูกทูตต่างประเทศนำ ม้าเทศตัวใหญ่แต่เป็นม้าพยศ มาท้าให้ท่าน ทรง

      พระองค์ท่านได้ใช้พระคาถานี้ เสกหญ้าให้ม้ากินก่อน ม้าตัวนั้นก็กลับเชื่องให้พระองค์ทรงม้า แต่โดยดี

      เรื่องนี้ทำให้ รัชกาลที่หก ผู้ทรงสร้างพระบรมรูปทรงม้าถวายเสด็จพ่อของท่าน ได้ทรงแฝงนัยยะ แห่งกฤษดาอภินิหารนี้เพื่อเทิดทูนพระคุณท่านเอาไว้

      คราวนี้ เรามาดูว่าเคล็ด ในการว่าคาถาบทนี้กัน

      หลักในการว่า คาถาให้มีความศักดิ์สิทธิ์นั้น มีพื้นฐานจาก "จิต" เป็นสำคัญ หากจิตมีสมาธิสูง ตั้งมั่นคาถาก็ยิ่งทรงความศักดิ์สิทธิ์

      ดังนั้นระหว่างที่ว่าคาถาให้จับลมหายใจสบายพร้อมๆกับการภาวนาคาถาบทนี้

      เป็นขั้นที่ หนึ่ง

      ระดับสูงกว่านี้ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ท่านใช้คาถาบทนี้ โดยมีนิมิตรกำกับคาถา โดยทรงพุทธนิมิตรไว้ดังนี้ โดยตั้งกำลังใจว่า เราขอกราบอาราธณาบารมีพระพุทธเจ้าเสด็จประทับเหนือเศียรเกล้าของข้าพเจ้า เพื่อ.......ปกปักรักษาคุ้มครองข้าพเจ้าด้วยเทอญ

      จากนั้นทำตามได้เลยครับ

      "อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตัง พุทธปิติอิ"


      เมื่อว่าคาถาจบ คาบที่หนึ่ง ก็กำหนดอาราธณาพุทธนิมิตรอยู่เบื้องหน้าของศีรษะของเรา และทรงพุทธนิมิตรนี้เอาไว้

      "อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตัง พุทธปิติอิ"


      ว่าคาถาจบที่สอง ก็กำหนดพุทธนิมิตรอีกพระองค์หนึ่ง อยู่เบื้องขวาของศีรษะของเรา และทรงพุทธนิมิตรทั้งหมดเอาไว้

      "อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตัง พุทธปิติอิ"


      ว่าคาถาจบที่สาม ก็กำนดพุทธนิมิตรอีกพระองค์อยู่ด้านหลังของศีรษะเราและทรงพุทธนิมิตรเอาไว้

      "อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตัง พุทธปิติอิ"


      ว่าคาถาจบที่สี่ ก็กำหนดพุทธนิมิตรอีกพระองค์ อยู่ด้านซ้ายและทรงพุทธนิมิตรเอาไว้

      "อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตัง พุทธปิติอิ"


      ว่าคาถาจบที่ห้า ก็กำหนด พุทธนิมิตรอีกพระองค์ อยู่ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของศีรษะของเราและทรงพุทธนิมิตรเอาไว้

      "อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตัง พุทธปิติอิ"


      ว่าคาถาจบที่หก ก็กำหนดพุทธนิมิตรอีกพระองค์ อยู่ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของศีรษะของเรา และทรงพุทธนิมิตรเอาไว้

      "อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตัง พุทธปิติอิ"


      ว่าคาถาจบที่เจ็ด ก็กำหนดพุทธนิมิตรอีกพระองค์ อยู่ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของศีรษะของเรา และทรงพุทธนิมิตรเอาไว้

      "อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตัง พุทธปิติอิ"


      ว่าคาถาจบที่แปด ก็กำหนดพุทธนิมิตรอีกพระองค์อยู่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของศีรษะของเราและทรง พุทธนิมิตรเอาไว้ ทั้งแปดพระองค์เรียงวนรอบศีรษะของเรา

      "อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตัง พุทธปิติอิ"


      ว่าคาถาจบที่เก้า กำหนดพุทธนิมิตรพระพุทธเจ้าองค์ใหญ่เสด็จประทับกึ่งกลางศีรษะเป็นยอดมงกุฏ เปร่งประกายพรึกทุกๆพระองค์เป็น มงกุฏเพชรพระพุทธเจ้าทั้งเก้าพระองค์ บนเศียรเกล้าของเรา

      เมื่อทำได้แล้ว จะเข้าใจได้ทันทีว่าคาถานี้ทำไมจึงมีชื่อว่า คาถามงกุฏพระพุทธเจ้า

      และให้ทรง มงกุฏพระพุทธเจ้านี้เอาไว้ตลอดเวลา เป็นการทรงอารมณ์ในพุทธานุสติกรรมฐาน

      คืนเดียวเห็นผลมีความก้าวหน้า มาเล่าให้เพื่อนๆท่านอื่นฟังด้วยครับ
      __________________
      จิตใจที่ดีงามจะคงอยู่ตลอดไป
      วิชชาที่จะทำให้อยู่รอดจากยุคสมัยแห่งภัยพิบัติ
      http://board.palungjit.com/showthread.php?t=44604

      งานอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของเวบพลังจิต
      http://board.palungjit.com/showthread.php?t=79786
      บัญชี เพื่อกองทุนพลังจิตพิชิตภัยพิบัติ คณานันท์ ทวีโภคบัญชีออมทรัพย์ ธ.กรุงเทพ สาขาคลองสานเลขที่ 151-0-91868-1
      บัญชี เพื่องานพระบรมสารีริกธาตุ และการสร้างสมเด็จองค์ปฐมทันใจ ธ.กรุงเทพ สาขาสยามพารากอน เลขที่ 855-0-14998

      พี่เอ๋ส่งมาช้าหน่อยนะคะ เพราะมีปัญหาเรื่อง com นิดหน่อยค่ะ
    4. เกสรช์
      เกสรช์
      โมทนาสาธุด้วยคะ
    5. เกสรช์
      เกสรช์
      สวัสดีคะคุณsupatach

      คุณเข้าไปที่ แผงควบคุมส่วนตัว

      เห็นไหมคะตรงมุมบนซ้ายคลิกไปเลยคะ ตรงไฮไลต์สีน้ำเงินฟ้าๆน่ะคะ

      อยู่ใต้รูปพระพุทธเจ้าโลโก้ของเวปนะคะ

      ถ้าคลิกเข้าไปแล้ว

      จะมีคำว่า แก้ไขลายเซ็นต์

      คุณก็คลิกไปเลย

      แล้วก็จัดการตกแต่งตามใจได้เลยคะ

      (แต่คุณต้องไปcopyที่ลิ้งค์ที่คุณต้องการก่อนนะคะเช่นลิ้งค์พระเจ้าใหญ่องค์แสน)

      หรือไม่ก็คุณก็copyลายเซ็นต์เกสรช์ทั้งหมดแล้วก็มาใส่ไว้ที่ลายเซนต์คุณคะ(คือต้องคลิกเมาท์ด้านซ้ายเพื่อกวาดตัวอักษรทั้งหมดก่อนแล้วค่อยคลิกเมาท์ขวาจะมีคำว่าcopyคุณก็คลิกแล้วไปที่แผงควบคุมส่วนตัวคุณเลย แล้วก็คลิกที่แก้ไขลายเซ็นต์นะคะ)
      แล้วคุณก็ค่อยตกแต่งเอาตามใจว่าจะเติมอะไรเข้าไป

      แต่อย่าพิมพ์เยอะนะคะเพราะทางเจ้าหน้าที่เขาจะเตือนว่าอย่ายาวไปก็ตามเกสรช์ก็ได้ง่ายดีเนอะ คุณจะเปลี่ยนตัวหนังสือตามที่คุณชอบก็ได้คะ

      เพราะมันจะล้นตรงช่องอนุโมทนาสาธุน่ะคะ

      ถ้าได้ยังไงบอกหน่อยนะคะ

      โมทนาสาธุด้วยคะ
    6. supatach
      supatach
      5555555+ I totally agree with you
      จิตติดบุญ ดีกว่า ติดชั่วติดบาป
      บางทีผมก็จะถูกมองว่าบ้าทำบุญเหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้ว่าอะไรใคร เพราะสิ่งที่จะติดตัวเราไปทุกภพทุกชาติคือบุญกุศลที่เราได้สร้างไว้ มีคนเคยกล่าวไว้ (อย่าถามนะครับว่าใคร จำไม่ได้) เค้ากล่าวว่า เกิดมาชาตินึงได้เจอพระพุทธศาสนาถือว่าคุ้ม ไม่เสียชาติเกิดแล้ว
      ป.ล. ผมนับถือหลวงพ่อฤาษีลิงดำ กำลังจะหาเวลาไปฝึกมโนมยิทธิ หนังสือหลวงพ่อก็มีอ่านบ้าง ถ้าคุณเกสร์ซสงสัยอะไรพูดคุยกันได้นะครับ แต่ผมยังไม่เก่งนะ แค่เคยอ่านผ่านตามาบ้างก็เท่านั้น
    7. เกสรช์
      เกสรช์
      โมทนาสาธุคะ

      คนเราจะทำบุญไม่เกี่ยวกับเงินน้อยหรือมากหรอกนะคะ

      ถ้าใจมันศรัทธาแรงกล้าซะอย่าง

      เกสรช์ก็ทำบุญตามกำลังทรัพย์นะคะ

      แต่ใจศรัทธาในพระรัตนตรัยเหลือเกิน

      อาจจะมีบางคนบอกว่า ติดบุญ เหมือนกับเรายังยึดติดอยู่

      แต่ยังไงก็ยังดีกว่า ติดชั่วติดบาป นะเออ นะเออ
    8. เกสรช์
      เกสรช์
      สวัสดีวันจันทร์ค์คะ คุณ supatach

      แหมคุณนี่จิตติดบุญไม่ยอมห่างเลยนะคะ(อิอิ แซวเล่นจ้า)

      เกสรช์เข้าไปงานบุญต่างๆ

      คุณนี่ไม่พลาดเลยนะคะ

      เกสรช์ไปเจองานบุญที่คุณร่วมบุญปิดทองสมเด็จองค์ปฐม

      เกสรช์ขออนุโมทนาสาธุกับุญของคุณทุกประการด้วยคะ

      เกสรช์ก็ไม่พลาดงานนี้เหมือนกันจ้า

      เดี๋ยวตกขบวนบัญชีทอง 555
    9. สันโดษ
      สันโดษ
      กรุณาเปิด จดหมาย >>>>> เด็กแห่งอนาคต

      [IMG]
    10. satan
      satan
      ครับผม...บทคงามเหล่านี้ผมพิมพ์ดวยตัวเองเพื่อเผยแพร่ธรรมะครับ ก็ช่วยแจกต่อๆไปด้วยนะครับผม


      กระบวนการหยั่งรู้ความจริง ( จากหนังสือ ปัญหาในการปฏิบัติธรรม โดย ท่าน มุนี ชอบพนา พระภิกษุผู้ปฏิบัติวิเวกเพียงลำพัง )

      แท้ที่จริงแล้ว สิ่งทั้งหลายทั้งปวงก็มีการดำรงอยู่ตามสภาวะธรมชาติของมันอยู่แล้ว เป็นไปตามความเป็นจริงของมันโดยไม่มีการบิดเบือน อีกทั้งความจริงดังกล่าวก็พร้อมที่จะเปิดเผยตัวของมันเองอยู่ตลอดเวลาว่า มันนั้นไม่เที่ยง ทนได้ยาก ไม่ใช่ตัวตน รอเพียงแต่ว่า เมือ่ไหร่มนุษย์จะรู้จักวิธีการเข้าไปกำหนดรู้มันกันเสียที

      แต่มนุษย์กลับปิดบังจิตใจตนเอง ปล่อยให้กิเลสหลอกลวงจนมองภาพของสิ่งทั้งหลายบิดเบือนไปจากความเป็นจริง เป็นการถูกหลอดลวงกันมาด้วยเวลาอันยาวนาน นานจนเกิดความเคยชิน กลายเป็นอาสวะ อนุสัยสืบเนื่องอยู่ในสันดาน

      การเจริญวิปัสสนาจึงเป็นการแก้ไขความเคยชินเก่าๆหรือการกวาดล้างกิเลสอันเป็นเหตุให้จิตไขว้เขว โดยใช้หลักธรรมื้เรียกว่า สติปัฏฐาน ( ที่ตั้งของสติ )

      หลักการของสติปัฏฐานไม่ใช่มีแต่เพียงแค่เรื่องของสติ แต่เป็นกระบวนการที่มีจุดเริ่มต้นจากสติ โดยเฉพาะการทำงานร่วมกันของ สติ สมาธิ ปัญญา ที่มีความพร้อมเพรียงและกลมกลืนเป็นบาทฐานให้แก่กันอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงที่สุด ในขณะเดียวกันต่างก้มีหน้าที่ประจำเฉพาะตนอย่างชัดเจน

      สติ มีหน้าที่กำหนดจิตไว้กับอารมณ์
      สมาธิ คืออาการที่จิตตั้งอยู่ได้ในอารมณ์นั้นๆ
      ปัญญามีหน้าที่พิจารณาตรวจสอบอารมณ์นั้นให้เห็นตามที่เป็นจริง

      ในทางสมถะสติจะมีหน้าที่กำหนดจิตไว้กับอารมณ์ก็เพียงเพื่อให้จิตแน่วแน่อยู่กับอารมณ์นั้น ไม่ให้แส่ส่ายไปที่อื่น ถ้าทำได้ก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า สมาธิ และถ้าทำได้อย่างแนบสนิทเต็มที่ระดับสมาธิในภาวะจิตเช่นนั้นเรียกว่า ฌาณ เป็นอันสำเร็จกิจของสมถะ

      ในทางวิปัสสนา สติจะมีหน้าที่อันดับแรกในการเสนออารมณ์ให้แก่ปัญญา โดยกำหนดจิตไว้กับอารมณ์ สมาธิจะมีหน้าที่ส่งเสริมการนำเสนออารมณ์ด้วยอาการที่สามารถรักษาการกำหนดจิตในอารมณ์นั้นให้ตั้งอยู่ได้ และปัญญาจะมีหน้าที่พิจารณาตรวจสอบอารมณ์นั้นให้เห็นตามที่เป้นจริง ในที่สุดทำได้สำเร็จก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า ญาณ

      ตัวอย่าง
      การเจริญอาณาปาณสติ การกำหนดลมหายใจเข้าออกซึ่งมีความรู้สึกเด่นชัดอยู่ 3 จุดคือ อาการกระทบเข้า-กระทบออก ที่ผิวช่องจมูก อาการขยายขึ้น-ยวบลง ที่หน้าอก อาการพอง-ยุบ ที่หน้าท้อง

      ธรรมทั้งสามจะร่วมกันทำงานคือ
      สติ มีหน้าที่กำหนดจิตไว้กับลมหายใจเข้าออก ( ที่จุดใดจุดหนึ่ ) ถือเป็นเบื้องต้นในการนำเสนออารมณ์ให้แก่ปัญญา

      สมาธิ คืออาการที่สามารถรักษาจิตให้กำหนดตั้งอยู่ได้ในลมหายใจเข้าออก เพื่อให้ปัญญามีเวลาตรวจสอบ ( เบื้องต้นแค่ขณิกสมาธิก็เพียงพอแก่ปัญญาแล้ว )

      ปัญญา จะทำหนาที่ตรวจสอบพิจารณาลมหายใจเข้าออกให้เห็นตามความเป็นจริง เช่นเห็นอาการ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของลมหายใจเข้าออกเป็นต้น

      มีข้อพึงสังเกตุว่า
      ถ้าเป็นสมถะ สติจะกำหนดจิตไว้กับลมหายใจเข้าออกก็เพียงเพื่อให้จิตตั้งอยู่ได้ในลมหายใจเข้าออกเท่านั้น คือหยุดจบแค่เพียงสมาธิ
      ถ้าเป็นวิปัสสนา จะพลิกอีกเพียงนิดเดียว คือจะเพิ่มปัญญาเข้าไปเห็นอาการตามที่เป็นจริงของลมหายใจเข้าออกด้วย

      ดังนั้น การกำหนดแม้ในอารมณ์เดียวกันนั้น ผู้เข้าใจย่อมจะสามารถปรับเปลี่ยนการปฏิบัติระหว่างสมถะและวิปัสสนาได้โดยง่าย ประดุจพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ แต่สำหรับผู้ที่ไม่เข้าใจแล้วหน้ามือกับหลังมือก็อยู่ตรงข้ามกันชนิดไม่อาจพบกันได้เลย

      ปัญญาในวิปัสสนานั้น จะเห็นความจริงด้วยความรู้สึกไม่ใช่การนึกคิด การตรวจสอบดังกล่าว ไม่ใช่การยกหัวข้อธรรมะขึ้นมานึกคิดไตร่ตรอง ไม่ใช่จินตมยปัญญา ไม่ใช่นึกว่า ลมหายใจเข้าออกนี้เป็น อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา หรือลมหายใจเข้าออกนี้ เกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป ไม่ใช่อย่างนั้น

      การนึกคิดไปเช่นนั้น ทำให้จิตตกไปจากลมหายใจเข้าออกซึ่งเป็น โผฏฐัพพารมณ์ ไปอยู่ที่การนึกคิดซึ่งเป็น ธรรมารมณ์ เมื่อลมหายใจเข้าออกไม่ได้ถูกกำหนดเป็น อารมณ์ปัจจุบัน แล้วปัญญาจะเข้าไปเห็นความจริงของลมหายใจเข้าออกได้อย่างไร การนึกคิดมากๆ ท่านเรียกว่า ความฟุ้งซ่าน ถึงแม้จะนึกธรรมะก็อาจจะกลายเป็น ฟุ้งในธรรม ก็ได้

      ดังนั้นในขั้นตอนของภาวนามยปัญญา ปัญญาจะต้องรู้โดยไม่มีภาษาสมมติใดๆทั้งสิ้น ไม่มีคำว่า อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา หรือคำอื่นใดอยู่ในนั้นเลย เป็นการเห็นแต่สภาวะธรรมล้วนๆเห็นอย่างเงียบกริบ

      อย่างไรก็ดี ในการปฏิบัตินั้น อารมณ์ปัจจุบันเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าจิตตกจากอารมณ์ปัจจุบัน ปัญญาก็ไม่สามารถทำงานในอารมณ์นั้นได้ ผู้ปฏิบัติที่จะกำหนดอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งให้เป็น อารมณ์ปัจจุบัน อย่างต่อเนื่อง จะต้องเข้าใจในธรรมชาติของจิตด้วย ธรรมชาติของจิตนั้นรู้ได้ทีละอารมณ์เท่านั้น

      อย่างเช่น การกำหนดอารมณ์หนึ่งพร้อมกับนึกคำบริกรรมในใจอีกอารมณ์หนึ่งไปด้วย รวมเป็นสองอารมณ์ย่อมขัดกับธรรมชาติของจิตที่ว่ารู้ได้ทีละอารมณ์ แต่ที่ดูเหมือนรู้ทั้งสองอารมณ์หรือหลายๆอารมณ์ไปพร้อมๆกัน ก็เพราะจิตนั้นไวมาก สามารถยักย้ายไปมาระหว่างอารมณ์ต่างๆได้รวดเร็วอย่างคาดไม่ถึง ผู้ที่ไม่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์พอไม่อาจรู้เท่าทันธรรมชาติอันนี้ได้เลย ภาวนาก็เลยเป็นภาวนึกไป

      ถ้าการปฏิบัติได้เป็นไปอย่างถูกหลักการและเหตุผลแล้ว การพัฒนากระบวนการหยั่งรู้ความจริงที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอจนได้ระยะเวลาที่เหมาะสม จะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า ญาณทัสสนะ คือความหยั่งรู้หยั่งเห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง

      ตรงนี้แหละที่เรียกได้เต็มปากว่า รู้ปฏิบัติ ไม่ใช่รู้ปริยัติแต่เพียงอย่างเดียว

      โอกาสที่จิตจะหลุดพ้นได้ก้ตรงนี้ ตรงที่จิตมันได้ประจักษ์แจ้งในความจริงด้วยตัวจิตเองโดยตรง ไม่มีอะไรปิดบังหรือบิดเบือนอีก เพราะเหตุที่ว่า เป็นผู้พิจารณาเห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงอยู่เป็นประจำ ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นและเสื่อมไปของสิ่งทั้งหลาย สติที่ตั้งมั่นจึงดำรงไว้แต่เพียง สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าอาศัยระลึก เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิอาศัยไม่ได้ ถอนความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกไปเสียได้ จึงเป็นผู้ปราศจากความยึดมั่นถือมั่นอะไรๆในโลก

      ถ้าได้พิมพ์บทความอีกก็จะนำเสนอ อีกในหัวข้อของ รูปแบบการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น สาธุ ^^
      --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
      รูปแบบการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น ( จากหนังสือ ปัญหาในการปฏิบัติธรรม โดย ท่าน มุนี ชอบพนา พระภิกษุผู้ปฏิบัติวิเวกเพียงลำพัง )

      ในการเดินเข้าสู่เส้นทางแห่งการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น ผู้ปฏิบัติไม่ควรเข้าไปเพ่งเล็งยึดถือใน รูปแบบการปฏิบัติ เฉพาะที่เป็นมติของตนหรือแห่งอาจารย์ตนโดยส่วนเดียว เพราะวิญญูชนผู้จะรักษาไว้ซึ่งความจริงนั้น ไม่พึงถึงการสันนิษฐานโดยส่วนเดียวว่า

      อย่างนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเปล่าหมดเลย

      การละจิตที่คับแคบ เพื่อมาศึกษาแนวทางการปฏิบัติอันกว้างขวางของพระบรมศาสดา จะทำให้ทราบว่ากระแสการปฏิบัติเพื่อความสิ้นอาสวะนั้น ประกอบไปด้วยรูปแบบอันควรแก่การสนใจที่จะนำมาประพฤติปฏิบัติให้เหมาะสมกับจริตนิสัยและสถานภาพของแต่ละบุคคล

      ฉะนั้นในลำดับต่อไปจะได้ตั้งข้อสังเกตุในเรื่องรูปแบบการปฏิบัติต่างๆ ที่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น ที่พอจะได้สรุปได้จากแนวพุทธดำรัสที่ทรงแสดงไว้แต่โดยสังเขป คือ

      1.แบบอาศัยสัญญาสมาบัติเจ็ดเป็นบาท
      สัญญาสมาบัติเจ็ด หรือฌาณที่มีสัญญาประกอบไปด้วย รูปฌาณสี่คือ ปฐมฌาณ ทุติยฌาณ ตติยฌาณ จตุตถฌาณ และอรูปฌาณสาม คือ อากาสานัญจายตนะ ( กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ ) วิญญาณัญจายตนะ ( กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ ) อากิญจัญญายตนะ ( กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆเป็นอารมณ์ )

      สำหรับวิธีการปฏิบัติในรูปแบบนี้ผู้ปฏิบัติจะอาศัยฌาณที่มีสัญญาดังกล่าวเป็นฐานแห่งวิปัสสนาได้ในตัวเอง คือเมื่อปฏิบัติได้ฌาณขั้นใดขั้นหนึ่งในเจ็ดนั้นก็น้อมกำหนดพิจารณา ขันธ์ อันเนื่องอยู่ในฌาณนั้น โดยอาการแห่งธรรมลักษณะมีอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นต้น ( มิใช่ถอนออกจากฌาณมากำหนดธรรมภายนอก ) จนมีผลถึงความสิ้นอาสวะหรือถึงความเป็นพระอนาคามี

      พุทธพจน์อันเป็นตัวอย่างที่ทรงแสดงลักษณะขั้นตอนการปฏิบัติในรูปแบบนี้ เช่น
      1.สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึง ปฐมฌาณ อันมีวิตก วิจาร ปิติและสุข อันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่
      2.ในปฐมฌาณนั้นมีธรรม คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เธอนั้นตามเห็นธรรม ( คือขันธ์ ) เหล่านั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน ( ธรรมลักษณะ 11 ประการ )
      3.เธอดำรงจิตด้วยธรรมเหล่านั้น แล้วจึงน้อมจิตไปสู่ อมตธาตุ ( คือ นิพพาน ) ด้วยการกำหนดว่า นั่นสงบระงับ นั่นประณีต นั่นคือธรรมชาติ เป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นสลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลายเป็นความดับ เป็นนิพพาน
      4.เธอดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีปฐมฌาณเป็นบาทนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ถ้าไม่ถึงความสิ้นอาสวะก็เป็นโอปาติกะอนาคามี ผู้ปรินิพพานในภพนั้น
      5.สำหรับในกรณีแห่งทุตยฌาณ ตติยฌาณ จตุตถฌาณและอรูปฌาณทั้งสาม คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ ก้มีลักษณะขั้นตอนโดยทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่ง ปฐมฌาณ ดังกล่าวข้างต้นนั้น ต่างกันแต่ว่าในพวกรูปฌาณนั้นจะมีขันธ์ครบห้าคือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ส่วนในอรูปฌาณ ทั้งสามมีขันธ์เพียงสี่ คือ ขาดรูปขันธ์

      นอกจากนั้นยังทรงกล่าวย้ำถึงรูปปฏิบัติแบบนี้ไว้อีกว่า เป็นอันกล่าวได้ว่า สัญญาสมาบัติ มีประมาณเท่าใด อัญญาปฏิเวธ ( การแทงตลอดอรหัตตผล ) ก็มีประมาณเท่านั้น ที่จริงแล้วรูปแบบการปฏิบัติอันอาศัยสัญญาสมาบัติเจ็ด เป็นบาทนี้อาจแยกออกจากกันเป็นเจ็ดรูปแบบก็ได้คือ ถ้าใช้สมาบัติขั้นใดเป็นบาทก็จัดว่าเป็นรูปแบบหนึ่ง แต่เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่าแม้ระดับกำลังสมาบัติจะต่างกัน แต่ขั้นตอนวิธีการกำหนดพิจารณาเหมือนกัน จึงได้นำมาสรุปรวมไว้ในแบบเดียวกัน

      2.แบบบรรลุผ่านสองสมาบัติสูงสุด
      มีสมาบัติสูงสุดสองอย่างซึ่งถัดขึ้นไปจากสัญญาสมาบัติเจ็ด คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ( ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ) และสัญญาเวทยิตนิโรธ ( การดับสัญญาและเวทนา ) ไม่มีทางที่จะกำหนดขันธ์โดยลักษณะใดๆได้เลยเพราะความไม่มีสัญญา

      แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่บรรลุผ่านรูปฌาณทั้งสี่แล้วก้าวขึ้นสู่อรูปฌาณครบทั้งสี่ รวมเป็นสมาบัติแปด บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วอาสวะสิ้นไปได้ก็มีเช่นกัน ดังทรงกล่าวไว้ว่า " เธอก้าวล่วง เนวสัญญานาสัญญาตนะ โดยประการทั้งปวง เข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่และเพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายของเธอก็สิ้นไปรอบ "

      และยังทรงกล่าวถึงในกรณีนี้อีกว่า

      อายตนะ 2 ประการ กล่าวคือ เนวสัญญานาสัญญายตนะสมาบัติ และ สัญญาเวทยิตนิโรธ ซึ่งอาศัยสัญญาสมาบัติ ( 7 ประการ ) เหล่านั้น เรากล่าวว่าเป็นสิ่งที่ฌายีภิกษุ ( ภิกษุผู้บำเพ็ญฌาณ ) ผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ ฉลาดในการออกสมาบัติ จะพึงเข้าสมาบัติออกจากสมาบัติแล้วกล่าวว่าเป็นอะไรได้เองโดยชอบ

      ความหมายดังที่ทรงกล่าวข้างต้นทำให้สังเกตเห็นความแตกต่างระหว่างแบบที่อาศัยสมาบัติเจ็ดเป็นบาท ซึ่งทรงยืนยันไว้เลยว่ามีความสิ้นอาสวะ แต่ในส่วนของสมาบัติสองอย่างท้ายนี้ทรงปล่อยไว้ให้ผู้ที่ได้เข้าแล้วออกแล้ว เป็นผู้รู้เฉพาะตนว่ามีการสิ้นอาสวะหรือไม่ ซึ่งแสดงว่าอาจจะมีการสิ้นอาสวะหรือไม่มีการสิ้นอาสวะก็ได้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

      แต่อย่างไรก็ดี สัญญาเวทยิตนิโรธ หรือ นิโรธสมาบัติ นี้มิใช่ของสาธารณะแก่บุคคลทั่วไป มีแต่พระอหันต์และพระอนาคามีที่ได้สมาบัติแปดเท่านั้นจึงจะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธได้ ฉะนั้นเป็นอันกล่าวได้ว่าท่านผู้เข้าออกสมาบัติทั้งสองนี้แล้วจะสิ้นอาสวะหรือไม่สิ้นก็ตามที ก็เป็นอันรู้กันได้ว่าอย่างต่ำต้องเป็นพระอนาคามีแล้วอย่างแน่นอน

      3.แบบจากจตุฌาณไปสู่อาสวักขยญาณ
      คำว่า อาสวะ หมายถึง กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน จะไหลซึมซ่านไปย้อมจิตเมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ อาสวักขยญาณ เป็นญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่ง อาสวะทั้งหลายดังกล่าวนั้น

      รูปแบบการปฏิบัติในแบบนี้เป็นการบรรลุถึงจตุถฌาณแล้วน้อมจิตไปเฉพาะต่อ อาสวักขยญาณ โดยตรง จนถึงความสิ้นอาสวะ มีตัวอย่างขั้นตอนดังตรัสไว้ว่า

      1.เธอเข้าถึงปฐมฌาณ ทุติยฌาณ ตติยฌาณ จตุตถฌาณ แล้วแลอยู่
      2.เธอนั้นครั้งจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้ถึงความหวั่นไหวเช่นนี้แล้ว ก็น้อมจิตไปเฉพาะต่อ อาสวักขยญาณ
      3.เธอย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
      4.เธอย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ
      5.เมื่อรู้อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้จิตก็หลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ

      4.รูปแบบจากจตุตถฌาณผ่านวิชชาสามวิชชาแปด
      รูปแบบนี้เป็นที่รู้จักกันดีในลีลาการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเป็นแบบที่เมื่อบรรลุจตุตถฌาณแล้วน้อมจิตไปเพื่อ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ จุตูปปาตญาณ และ อาสวักขยญาณ ตามลำดับ ถึงความสิ้นอสวะ

      ในส่วนของอาสวักขยญาณนั้นได้แสดงไว้แล้วในแบบก่อน ส่วนสำหรับปุพเพนิวาสานุสสติญาณ และจุตูปปาตญาณ นั้นเป็นคุณสมบัติพิเศษสำหรับบางท่านไม่ใช่ส่วนแห่งการกำจัดกิเลสโดยตรง

      นอกจากวิชชาสามแล้ว ยังมีบางท่านผ่าน วิชชาแปด คือ ญาณทัสนะ มโนมยิทธิ อิทธิวิธี ทิพพโสต เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ จุตูปปาตญาณหรือทิพพจักขุ อาสวักขยญาณ บางท่านผ่านได้หมด บางท่านผ่านบางอย่างแล้วแต่อุปนิสัยของแต่ละบุคคล

      อย่างไรก็ดี มีเพียง ญาณทัสสนะและอาสวักขยญาณ เท่านั้นที่เป็นญาณอันเกี่ยวข้องกับการกำจัดกิเลสโดยตรง จึงจะขอแสดงคุณของลักษณะของ ญาณทัสสนะ ตามที่มีพุทธดำรัส คือ

      1.ภิกษุนั้นครั้นมีจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งอยู่อย่างไม่หวั่นไหวเช่นนี้แล้ว เธอชักนำจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ
      2.เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้ มีรูปประกอบด้วยมหาภูตทั้งสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ มีมารดาเป็นแดนเกิด เจริญขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด ต้องห่อหุ้มนวดฟั่นอยู่เนืองนิจ แต่ก็ยังมีการแตกทำลายสึกกร่อนเป็นธรรมดา แต่วิญญาณของเรานี้ อาศัยอยู่ในกายนั้น เนื่องอยู่ในกายนั้น
      3.เปรียบเหมือนมณีไพทูรย์อันสวยงาม สมชาติแก้วแปดเหลี่ยมเจียรไนดีแล้ว สดใส ผ่องใส ถึงพร้อมด้วยคุณค่าทั้งปวง ในแก้วนั้นมีด้ายร้อยอยู่ สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง สีส้มบ้าง บุรุษผู้มีตาดีวางแก้วนั้นลงในมือแล้ว ก็จะเห็นโดยประจักษ์ว่า มณีไพทูรย์นี้เป็นของสวย สมชาติแก้วแปดเหลี่ยมเจียรไนดีแล้ว สดใส ผ่องใส ถึงพร้อมด้วยคุณค่าทั้งปวง ในแก้วนั้นมีด้ายร้อยอยู่ สีเขียวบ้าง สีเหลืองบ้าง สีแดงบ้าง สีขาวบ้าง สีส้มบ้าง ฉันนั้นเหมือนกัน

      5.แบบเจริญวิปัสสนาโดยตรง
      การปฏิบัติในรูปแบบนี้ ผู้ปฏิบัติไม่จำเป็นต้องมีฌาณเสียก่อน หรือผู้มีฌาณแล้วจะถอนจากฌาณมาปฏิบัติในรูปแบบนี้ก็ไม่ผิดกติกาอะไร โดยเฉพาะผู้ได้ฌาณแต่ไม่เชี่ยวชาญ ( ไม่มีวสี ) ไม่สามารถเข้าไปกำหนดธรรมอันเนื่องอยู่ในฌาณได้ ก็จำเป็นต้องมาเจริญวิปัสสนาโดยอาศัยธรรมภายนอกฌาณ ( ส่วนผู้ที่ชำนาญในฌาณแล้วก็ไม่จำเป็นต้องถอนออกมาพิจารณาธรรมภายนอก ควรปฏิบัติตามนัยที่กล่าวไว้แล้วในแบบที่หนึ่ง ถ้าไม่เช่นนั้นแล้วก็ไม่รู้จะทำฌาณไปทำไมให้เสียเวลา

      รูปแบบที่ห้านี้นับเป็นสาธารณะ ที่บุคคลทั้งหลายสามารถปฏิบัติได้ เป็นวิธีการที่รวบรัดและตรงไปสู่การกำจัดกิเลสโดยตรง จึงเชื่อว่าเป็นรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับคนทั่วๆไป

      วิธีการปฏิบัติในรูปแบบนี้เป็นการเข้าไปกำหนดพิจารณา ( ตามรู้ตามเห็น ) ในธรรมทั้งหลาย อาทิเช่น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ เป็นต้น โดยอาการแห่งธรรมลักษณะ มีไตรลักษณ์ เป็นต้น จนเกิดกระแสแห่งญาณเป็นลำดับต่อไป เมื่อบรรลุแล้วก็อาจจะประกอบอยู่ด้วยปฏิสัมภิทา ( ปัญญาแตกแานในอรรถ ในธรรม ในนิรุกติ ในปฏิภาณ ) ก็ได้ถ้าอุปนิสัยแห่งความเป็นอย่างนั้นมีอยู่ ซึ่งอันนี้ก็เป็นเพียงคุณสมบัติพิเศษเท่านั้น

      มีตัวอย่างพอเป็นที่สังเกตในส่วนของการกำหนด ขันธ์ห้า ที่ทรงแสดงไว้เช่น
      1.รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ชนิดใดชนิดหนึ่งมีอยู่ ขันธ์ทั้งหมดนั้น บุคคลพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
      2.เมื่อเห็นอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ ย่อมเกิดเบื่อหน่ายในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ
      3.เมื่อเบื่อหน่ายย่อมจางคลายความกำหนัดรัดรึง เพราะจางคลายไปแห่งความกำหนัด ย่อมหลุดพ้นไปได้ เมื่อหลุดพ้นแล้วก็มีญาณหยั่งรู้ขึ้นว่าหลุดพ้นแล้ว

      และอีกตัวอย่างหนึ่งในการกำหนด อายตนะ

      1.จงกระทำในใจซึ่งรูป ( หรือ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์ ) ทั้งหลาย โดยแยบคายและจงตามดูความไม่เที่ยงแห่งรูปทั้งหลาย ( เป็นต้น ) ให้เห็นตามที่เป็นจริง
      2.เมื่อกระทำในใจซึ่งรูปทั้งหลายโดยแยบคายอยู่ ตามดูความไม่เที่ยงแห่งรูปทั้งหลายให้เห็นตามที่เป็นจริงอยู่ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปทั้งหลาย
      3.เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ ( ความเพลิน ) ย่อมมีความสิ้นราคะ ( ความติด ) เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ ย่อมมีความสิ้นนันทิ เพราะมีความสิ้นนันทิ และราคะ ก็กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี

      ในรูปแบบการใช้วิปัสสนาโดยตรงนี้ พระบรมศาสดาได้ทรงแสดงไว้อย่างมากมายกว้างขวางมากทั้งอย่างพิสดารและอย่างสรุป โดยเฉพาะ มหาสติปัฏฐานสูตร ถือว่ามีเนื้อธรรมครอบคลุมธรรมเทศนาในบทอื่นๆไว้แทบทั้งสิ้น ดังนั้นนักวิปัสสนาจึงนิยมนำมหาสติปัฏฐานสูตร มาศึกษาปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย ฉะนั้นผู้สนใจในรูปแบบการปฏิบัติวิปัสสนาโดยตรงพึงศึกษาธรรมะสูตรนี้โดยละเอียด

      มีข้อพึงสังเกตในการปฏิบัติรูปแบบนี้ประการหนึ่งคือ พระผู้มีพระภาคจะไม่ได้ทรงกล่าวถึงฌาณหรือสมาธิในธรรมเทศนาแนวนี้โดยตรงเลยแต่ก็ไมได้หมายความว่า ผู้ปฏิบัติจะไม่ได้อาศัยสมาธิโดยสิ้นเชิง

      แต่สมาธิของผู้ปฏิบัติอาจจะเริ่มต้นด้วย ขณิกสมาธิ ซึ่งเป็นสมาธิอย่างน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นเพื่อให้การกำหนดพิจารณาดำเนินไปได้ เมื่อการเจริญภาวนาดำเนินต่อไป สมาธิก็จะพลอยได้รับการฝึกอบรมปด้วย สมาธิกับปัญญาประกบแฝงเจริญก้าวหน้าตามกันไปโดยตลอด ถึงตอนต่อไปอาจจะกำหนดพิจารณาด้วย อุปจารสมาธิ ก็ได้ จนในที่สุดเมื่อถึงขณะที่บรรลุมรรคผลหรือขณะแห่ง มรรคจิต สมาธินั้นก็จะแน่วแน่แนบสนิทเป็น อัปปนาสมาธิ ( อย่างน้อยถึงปฐมฌาณ ) อันจะสอดคล้องกับหลักอริยมรรคมีองค์แปด ซึ่งมี สัมมาสมาธิ ร่วมอยู่ด้วยองค์หนึ่ง โดยเฉพาะว่าการประหารกิเลสนั้นมรรคจะต้องครบสมบูรณ์ทั้งแปดองค์เรียกว่า มรรคสังคี จะขาดองค์ใดองค์หนึ่งเป็นไปไม่ได้เลย

      ก็เป็นอันว่า รูปแบบการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น ซึ่งเป็นข้อสังเกตที่สรุปได้จากพุทธดำรัสที่ทรงแสดงไปแล้วนั้น ถือได้ว่าเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งสำหรับผู้สนใจในธรรมปฏิบัติ ส่วนการดำเนินเข้าสู่กระแสการปฏิบัติที่ถูกต้องแท้จริงนั้น คงเป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาค้นคว้ากันต่อไป จนกว่าจะถึงความสิ้นทุกข์อันเป็นที่สุดของพรหมจรรย์
    11. เกสรช์
      เกสรช์
      สวัสดีคะคุณsupatach

      คุณก็ขยันใฝ่ทำบุญเช่นกันนะคะ

      เกสรช์ก็อาศัยอนุโมทนาบุญกับคนอื่นๆเช่นกันคะ

      เกสรช์ก็จะติดตามทำบุญกับคุณปาล์มตลอดไป

      เพราะเขาทำให้เราได้ตาสว่าง

      ในบางเรื่องที่เราไม่เคยรู้มาก่อน

      ธรรมะรักษานะคะ
    12. satan
      satan
      จิตตานุปัสสนา จากหนังสือพระพุทธเจ้าสอนกรรมฐาน / โดยคุณ ไชย ณ พล

      เห็นจิตในจิตภายใน (ตน)
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นจิตภายในเนืองๆอยู่เป็นอย่างไร

      - ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้เมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตของเรามีราคะ หรือเมื่อจิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราปราศจากราคะ

      - เมื่อจิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตของเรามีโทสะ หรือเมื่อจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราปราศจากโทสะ

      - เมื่อจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่าจิตของเรามีโมหะ หรือเมื่อจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราปราศจากโมหะ

      - เมื่อจิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่าจิตของเราหดหู่ หรือเมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตของเราฟุ้งซ่าน

      - เมื่อจิตยิ่งใหญ่ ก็รู้ชัดว่าจิตของเรายิ่งใหญ่ หรือเมื่อจิตไม่ยิ่งใหญ่ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราไม่ยิ่งใหญ่

      - เมื่อจิตมีขอบเขต ก็รู้ชัดว่าจิตของเรามีขอบเขต หรือเมื่อจิตไร้ขอบเขต ก็รู้ชัดว่า จิตของเราไร้ขอบเขต

      - เมื่อจิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่าจิตของเราตั้งมั่น หรือเมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตของเราไม่ตั้งมั่น

      - เมื่อจิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าจิตของเราหลุดพ้น หรือเมื่อจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตของเรายังไม่หลุดพ้น

      - ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น ภิกษุนั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าไปในจิตภายนอก


      -------------------------------------------
      เห็นจิตในจิตภายนอก (ตน)
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกเนืองๆอยู่เป็นอย่างไร

      - ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาบุคคลอื่นอยู่ เมื่อจิตของเขาผู้นั้นมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตของเขาผู้นั้นมีราคะ หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นปราศจากราคะ

      - เมื่อจิตของเขาผู้นั้นมีโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตของเขาผู้นั้นมีโทสะ หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นปราศจากโทสะ

      - เมื่อจิตของเขาผู้นั้นมีโมหะ ก็รู้ชัดว่าจิตของเขาผู้นั้นมีโมหะ หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นปราศจากโมหะ

      - เมื่อจิตของเขาผู้นั้นหดหู่ ก็รู้ชัดว่าจิตของเขาผู้นั้นหดหู่ หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นฟุ้งซ่าน

      - เมื่อจิตของเขาผู้นั้นยิ่งใหญ่ ก็รู้ชัดว่าจิตของเขาผู้นั้นยิ่งใหญ่ หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นไม่ยิ่งใหญ่ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นไม่ยิ่งใหญ่

      - เมื่อจิตของเขาผู้นั้นมีขอบเขต ก็รู้ชัดว่าจิตของเขาผู้นั้นมีขอบเขต หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นไร้ขอบเขต ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นไร้ขอบเขต

      - เมื่อจิตของเขาผู้นั้นตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่าจิตของของเขาผู้นั้นตั้งมั่น หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นไม่ตั้งมั่น

      - เมื่อจิตของเขาผู้นั้นหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าจิตของเขาผู้นั้นหลุดพ้น หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นยังไม่หลุดพ้น

      - ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น ภิกษุนั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าไปในจิตทั้งภายนอกและภายนอก

      ------------------------------


      เห็นจิตในจิตภายใน (ตน)และภายนอก (ตน)

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในและภายนอกเนืองๆอยู่เป็นอย่างไร

      - ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้พิจารณาอยู่ เมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ เมื่อจิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากราคะ

      - เมื่อจิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีโทสะ เมื่อจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโทสะ

      - เมื่อจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีโมหะ เมื่อจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโมหะ

      - เมื่อจิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่าจิตหดหู่ เมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน

      - เมื่อจิตยิ่งใหญ่ ก็รู้ชัดว่าจิตยิ่งใหญ่ เมื่อจิตไม่ยิ่งใหญ่ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่ยิ่งใหญ่

      - เมื่อจิตมีขอบเขต ก็รู้ชัดว่าจิตมีขอบเขต เมื่อจิตไม่มีขอบเขต ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีขอบเขต

      - เมื่อจิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่าจิตตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตไม่ตั้งมั่น

      - เมื่อจิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าจิตหลุดพ้น เมื่อจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตไม่หลุดพ้น

      - ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณา เห็นจิตในจิตทั้งภายในและภายนอกเนืองๆอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก

      -------------------------------------------------------------
      ภูมิแห่งฤทธิ์ มีมูล16 ประการที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ จากหนังสือพระพุทธเจ้าสอนกรรมฐาน / คุณ ไชย ณ พล

      1.จิตไม่ฟุบลง ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน
      2.จิตไม่ฟูขึ้น ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะอุจธัจจะ
      3.จิตไม่ยินดี ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะราคะ
      4.จิตไม่มุ่งร้าย ย่อมไม่หวั่นไหว เพราะพยาบาท
      5.จิตอันความคิดเห็นไม่อาศัย ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความคิดเห็น
      6.จิตไม่พัวพัน ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะ ฉันทะราคะ
      7.จิตหลุดพ้น ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกามราคะ
      8.จิตไม่เกาะเกี่ยว ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกิเลส
      9.จิตปราสจากเครื่องครอบงำ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะถูกกิเลสครอบงำ
      10.เอกัคคตาจิต ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกิเลสต่างๆ
      11.จิตที่กำหนดด้วยศัทธา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเป็นผู้ไม่ศรัทธา
      12.จิตที่กำหนดด้วยวิริยะ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน
      13.จิตที่กำหนดด้วยสติ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท
      14.จิตที่กำหนดด้วยสมาธิ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะ อุจธัจจะ
      15.จิตที่กำหนดด้วยปัญญา ย่อมมไหวั่นไหวเพราะอวิชชา
      16.จิตที่ถึงความสว่างไสว ย่อมมไหวั่นไหวเพราะความมืดอวิชชา
    13. satan
      satan
      หวัดดีครับท่าน ไม่ได้เจอกันนานเช่นกันครับ อิอิอิ ผมมีอะไรจะมอบให้ครับ วิชาดูจิต

      จิตตานุปัสสนา จากหนังสือพระพุทธเจ้าสอนกรรมฐาน / โดยคุณ ไชย ณ พล

      เห็นจิตในจิตภายใน (ตน)
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นจิตภายในเนืองๆอยู่เป็นอย่างไร

      - ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้เมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตของเรามีราคะ หรือเมื่อจิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราปราศจากราคะ

      - เมื่อจิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตของเรามีโทสะ หรือเมื่อจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราปราศจากโทสะ

      - เมื่อจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่าจิตของเรามีโมหะ หรือเมื่อจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราปราศจากโมหะ

      - เมื่อจิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่าจิตของเราหดหู่ หรือเมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตของเราฟุ้งซ่าน

      - เมื่อจิตยิ่งใหญ่ ก็รู้ชัดว่าจิตของเรายิ่งใหญ่ หรือเมื่อจิตไม่ยิ่งใหญ่ ก็รู้ชัดว่า จิตของเราไม่ยิ่งใหญ่

      - เมื่อจิตมีขอบเขต ก็รู้ชัดว่าจิตของเรามีขอบเขต หรือเมื่อจิตไร้ขอบเขต ก็รู้ชัดว่า จิตของเราไร้ขอบเขต

      - เมื่อจิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่าจิตของเราตั้งมั่น หรือเมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตของเราไม่ตั้งมั่น

      - เมื่อจิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าจิตของเราหลุดพ้น หรือเมื่อจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตของเรายังไม่หลุดพ้น

      - ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น ภิกษุนั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าไปในจิตภายนอก


      -------------------------------------------
      เห็นจิตในจิตภายนอก (ตน)
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกเนืองๆอยู่เป็นอย่างไร

      - ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาบุคคลอื่นอยู่ เมื่อจิตของเขาผู้นั้นมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตของเขาผู้นั้นมีราคะ หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นปราศจากราคะ

      - เมื่อจิตของเขาผู้นั้นมีโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตของเขาผู้นั้นมีโทสะ หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นปราศจากโทสะ

      - เมื่อจิตของเขาผู้นั้นมีโมหะ ก็รู้ชัดว่าจิตของเขาผู้นั้นมีโมหะ หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นปราศจากโมหะ

      - เมื่อจิตของเขาผู้นั้นหดหู่ ก็รู้ชัดว่าจิตของเขาผู้นั้นหดหู่ หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นฟุ้งซ่าน

      - เมื่อจิตของเขาผู้นั้นยิ่งใหญ่ ก็รู้ชัดว่าจิตของเขาผู้นั้นยิ่งใหญ่ หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นไม่ยิ่งใหญ่ ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นไม่ยิ่งใหญ่

      - เมื่อจิตของเขาผู้นั้นมีขอบเขต ก็รู้ชัดว่าจิตของเขาผู้นั้นมีขอบเขต หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นไร้ขอบเขต ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นไร้ขอบเขต

      - เมื่อจิตของเขาผู้นั้นตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่าจิตของของเขาผู้นั้นตั้งมั่น หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นไม่ตั้งมั่น

      - เมื่อจิตของเขาผู้นั้นหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าจิตของเขาผู้นั้นหลุดพ้น หรือเมื่อจิตของเขาผู้นั้นยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตของเขาผู้นั้นยังไม่หลุดพ้น

      - ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น ภิกษุนั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้าไปในจิตทั้งภายนอกและภายนอก

      ------------------------------


      เห็นจิตในจิตภายใน (ตน)และภายนอก (ตน)

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในและภายนอกเนืองๆอยู่เป็นอย่างไร

      - ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้พิจารณาอยู่ เมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ เมื่อจิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากราคะ

      - เมื่อจิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีโทสะ เมื่อจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโทสะ

      - เมื่อจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีโมหะ เมื่อจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโมหะ

      - เมื่อจิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่าจิตหดหู่ เมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน

      - เมื่อจิตยิ่งใหญ่ ก็รู้ชัดว่าจิตยิ่งใหญ่ เมื่อจิตไม่ยิ่งใหญ่ ก็รู้ชัดว่า จิตไม่ยิ่งใหญ่

      - เมื่อจิตมีขอบเขต ก็รู้ชัดว่าจิตมีขอบเขต เมื่อจิตไม่มีขอบเขต ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีขอบเขต

      - เมื่อจิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่าจิตตั้งมั่น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตไม่ตั้งมั่น

      - เมื่อจิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่าจิตหลุดพ้น เมื่อจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตไม่หลุดพ้น

      - ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณา เห็นจิตในจิตทั้งภายในและภายนอกเนืองๆอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก

      -------------------------------------------------------------
      ภูมิแห่งฤทธิ์ มีมูล16 ประการที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ จากหนังสือพระพุทธเจ้าสอนกรรมฐาน / คุณ ไชย ณ พล

      1.จิตไม่ฟุบลง ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน
      2.จิตไม่ฟูขึ้น ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะอุจธัจจะ
      3.จิตไม่ยินดี ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะราคะ
      4.จิตไม่มุ่งร้าย ย่อมไม่หวั่นไหว เพราะพยาบาท
      5.จิตอันความคิดเห็นไม่อาศัย ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความคิดเห็น
      6.จิตไม่พัวพัน ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะ ฉันทะราคะ
      7.จิตหลุดพ้น ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกามราคะ
      8.จิตไม่เกาะเกี่ยว ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกิเลส
      9.จิตปราสจากเครื่องครอบงำ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะถูกกิเลสครอบงำ
      10.เอกัคคตาจิต ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกิเลสต่างๆ
      11.จิตที่กำหนดด้วยศัทธา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเป็นผู้ไม่ศรัทธา
      12.จิตที่กำหนดด้วยวิริยะ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน
      13.จิตที่กำหนดด้วยสติ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท
      14.จิตที่กำหนดด้วยสมาธิ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะ อุจธัจจะ
      15.จิตที่กำหนดด้วยปัญญา ย่อมมไหวั่นไหวเพราะอวิชชา
      16.จิตที่ถึงความสว่างไสว ย่อมมไหวั่นไหวเพราะความมืดอวิชชา
    14. เกสรช์
      เกสรช์
      สวัสดีคะ คุณsupatach

      แฟนคลับคุณปาล์มเหมือนกันนะคะ

      เราคงเกี่ยวเนื่องกันมาก่อน

      ถึงได้มาเจอกันเนอะ ดีคะ

      ก็คำๆนั้น เกสรช์ก็ได้มาจากวัดที่เคยบวชชีพราหมณ์น่ะคะ

      พออ่านปุ๊ปก็ใช่เลย

      ตั้งแต่นั้นมาก็กระตือรือร้นหมั่นเร่งสร้างบุญ

      ให้มากที่สุดในชีวิตนี้เลยแหละคะ

      ธรรมะรักษานะคะ
    15. สันโดษ
      สันโดษ
      แค่อยากจะพาไปบอกว่า >>>>> คุณสำคัญเสมอ


      [IMG]
    16. เกสรช์
      เกสรช์
      คะ ท่านเน้นเรื่องความตาย

      ให้เราไม่ประมาท

      เหมือนกับหลวงพ่อฤาษีฯท่านก็ให้ระลึกถึงความตายทุกวัน

      จะได้รีบเร่งสร้างบุญบารมีและความดีให้มากๆ

      เราเกิดมาเจอพระพุทธศาสนาแล้วถือว่าโชคดี

      เกิดมาชาตินี้แล้ว อย่าให้ชีวิตขาดทุน

      เพื่อมุ่งสู่พระนิพพานโดยเร็ว

      ธรรมะรักษาคะ
    17. สันโดษ
      สันโดษ
    18. เกสรช์
      เกสรช์
      สวัสดีคะคุณsupatach

      ขอบคุณที่มาเยี่ยมคะ

      อย่าลืมทำบุญนี้นะคะดีมากๆๆเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์คะ

      เรื่องประวัติของท้าวเวสสุวรรณดีมากๆนะคะขอบคุณที่ให้ความรู้คะ

      ทำบุญสังฆทานเทียนเข้าพรรษา81วัด สร้างพระพุทธรูป 19 ศอก บุญเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์(คลิกดูรายละเอียดได้เลยคะ)
      http://board.palungjit.com/showthread.php?t=134195

      โมทนาสาธุคะ
    19. สันโดษ
      สันโดษ
      สำหรับที่นี้ คือที่ที่สันโดษเเละ เพื่อนๆจินตนาการว่า

      ถอดจิตจากโลก มนุษย์ คะ

      พวกเรา เข้าไปเล่นตามห้องนู่น ออกห้องนี้ จินตนาการเอาว่าเป็น สวรรค์คะ

      ไม่ว่า พวกเราปราถนานิพพาน หรือ พุทธภูมิก็เเล้วแต่ นะคะ ก็ดีทั้งนั้นเลยคะ

      สำหรับสันโดษเวลาเข้ามาที่นี้ .......

      สันโดษจะปิดมือถือ ปิดการติดต่อ และ ให้ ตนเองเป็นเหมือน จิต

      จิตที่ปราถนาดีเเละมอบสิ่งดีๆ ผ่านโดย คุณตัวอักษรทั้งหลาย

      มนุษย์ปัจจุบันได้ใช้เวลากับอินเตอร์เน็ต วันละหลายชั่วโมง

      ดังนั้นความคิดคุณธรรมและการหล่อหลอม

      ความเป็นคนไม่ว่าจะดีหรือไม่ได้เกิดที่นี้

      สันโดษจึงตั้งใจหาสิ่งดีๆ และ ตัวหนังสือที่ดีๆ เพื่อจรรโลงใจเพื่อนๆ

      ให้ มี จินตนาการที่สวยงาม อย่างไร้ขอบเขต เเห่งการสร้างความดี

      สันโดษ คิดว่า ทำดี สำหรับ คนที่สันโดษรู้จัก จาก 1 เป็น 2

      จนตอนนี้ ความดี ที่สันโดษสร้าง ขยาย มากขึ้นเรื่อยๆ

      ถึงเเม้ ตัวอักษร จะ ไม่มีราคา ไม่มีความหมาย

      แต่ ชั่วขณะหนึ่ง เรา สามารถ ทำให้คน บ้างคน หยุดคิด หยุดทุกข์ได้

      เเม้ เพียง วินาทีเดียว ที่ทำให้คนมีความสุข

      เท่านี้ โลกเรา ก็ ความสุข 1 คน ในวินาทีนั้นคะ

      ขอให้ มีความสุข และ รักตัวเองก็พอนะคะ

      เเม้เพียงวินาทีเดียว ก็ดีกว่า ไม่รู้จักกับคำว่า ความสุขเลยคะ
    20. สาวปีใหม่
      สาวปีใหม่
      [IMG]

      ฝากรูปสวยๆค่ะ
  • Loading...
  • Loading...
Loading...